Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๓-๙ หน้า ๕๑๙ - ๕๘๓

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓-๙ สุตตันตปิฎกที่ ๒๕ ขุททกนิกาย
อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์ จริยาปิฎก



พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๑. อัฏฐารสสหัสสขัตติยกัญญาเถรีนมปทาน
๔. ขัตติยกัญญาวรรค
หมวดว่าด้วยพระเถรีผู้เคยเป็นขัตติยกัญญาเป็นต้น
๑. อัฏฐารสสหัสสขัตติยกัญญาเถรีนมปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเถรี
ผู้เคยเป็นพระขัตติยกัญญา ๑๘,๐๐๐ รูป
(พระเถรีผู้เคยเป็นขัตติยกัญญา ๑๘,๐๐๐ รูป เมื่อจะประกาศประวัติในอดีต
ชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันทั้งหลายมีภพทั้งปวงสิ้นแล้ว
ปลดเปลื้องที่ต่อแห่งภพแล้ว
ไม่มีอาสวะทั้งปวงเลยขอกราบทูลว่า
[๒] ‘ข้าแต่พระมหามุนี บริกรรมที่เป็นกุศล
ความดีอย่างใดอย่างหนึ่งที่ตนปรารถนาไว้
และวัตถุที่เป็นเครื่องบริโภคหม่อมฉันทั้งหลายถวายแล้ว
เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๓] ข้าแต่พระมหามุนี ความดีที่ปรารถนาแล้ว
และวัตถุที่เป็นเครื่องบริโภคหม่อมฉันทั้งหลายถวายแล้วแด่พระพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย
ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๔] ข้าแต่พระมหามุนี กรรมที่สูงและต่ำหม่อมฉันทั้งหลายก็กระทำแล้ว
ความดีหม่อมฉันทั้งหลายก็ปรารถนาแล้ว
การบริกรรมในตระกูลสูงหม่อมฉันทั้งหลาย
ทำไว้แล้วเพื่อภิกษุทั้งหลาย’
[๕] หญิงเหล่านั้นถูกกุศลมูลนั้นนั่นแหละตักเตือนแล้ว
เป็นผู้พรั่งพร้อมไปด้วยกุศลกรรม
ล่วงสมบัติของมนุษย์แล้ว มาเกิดในตระกูลกษัตริย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๑. อัฏฐารสสหัสสขัตติยกัญญาเถรีนมปทาน
[๖] เมื่อกรรมที่หม่อมฉันทั้งหลายได้ร่วมกันสั่งสมสร้างไว้ในชาติเดียวกัน
ในภพสุดท้าย หม่อมฉันทั้งหลายสมภพในตระกูลกษัตริย์เกิดร่วมกัน
[๗] ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันทั้งหลายเป็นผู้มีรูปสมบัติ
มีโภคสมบัติ มีลาภสักการะ
อันมหาชนในภายในบุรีบูชาแล้ว
เหมือนนันทนวันอุทยานแห่งหมู่เทพอันมหาชนบูชาแล้ว
[๘] หม่อมฉันทั้งหลายพากันเบื่อหน่ายออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตสิ้นไป ๒-๓ วัน
ก็บรรลุถึงความดับทุกข์ทั้งหมดด้วยกัน
[๙] คนเป็นอันมากนำจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมากมาย
มาสักการบูชาหม่อมฉันทั้งหลายตลอดเวลา
[๑๐] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันทั้งหลายก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันทั้งหลายก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันทั้งหลายตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๑] การที่หม่อมฉันทั้งหลายมาในสำนัก
ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันทั้งหลายได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๒. จตุราสีติสหัสสพราหมณกัญญาเถรีนมปทาน
ได้ทราบว่า ภิกษุณีที่เคยเป็นขัตติยกัญญา ๑๘,๐๐๐ มีพระยสวดีเถรีเป็น
ประธาน ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค ด้วยประการฉะนี้
อัฏฐารสสหัสสขัตติยกัญญาเถริยาปทานที่ ๑ จบ
๒. จตุราสีติสหัสสพราหมณกัญญาเถรีนมปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเถรีพราหมณกัญญา ๘๔,๐๐๐ รูป
(พระเถรีพราหมณกัญญา ๘๔,๐๐๐ รูป เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของ
ตน จึงกล่าว่า)
[๑๓] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉัน ๘๔,๐๐๐ นาง
ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์
มีมือและเท้าละเอียดอ่อน เกิดในนคร(ศาสนา)ของพระองค์
[๑๔] เกิดในตระกูลแพศย์และตระกูลศูทร
ข้าแต่พระมหามุนี เหล่าเทพ นาค กินนร
และกัญญาจำนวนมากอยู่ในทวีปทั้ง ๔
เกิดในนคร(ศาสนา)ของพระองค์
[๑๕] หญิงบางพวกบวชแล้ว ได้เห็นธรรมทั้งปวงก็มีมาก
เหล่าเทพ กินนร นาค ก็จักตรัสรู้ในอนาคตกาล
[๑๖] ชนทั้งหลายได้เสวยเกียรติยศทั้งปวง ได้สมบัติทั้งปวง
ได้ความเลื่อมใสในพระองค์ ก็จักตรัสรู้ในอนาคต
[๑๗] ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้มีพระจักษุ
ส่วนหม่อมฉันทั้งหลายเกิดในตระกูลพราหมณ์
เป็นธิดาของพราหมณ์ เป็นผู้มีลักษณะดี
ขอกราบพระยุคลบาท
[๑๘] ภพทั้งปวงหม่อมฉันทั้งหลายก็ขจัดได้แล้ว
ตัณหาที่เป็นรากเหง้า(แห่งอกุศล) หม่อมฉันทั้งหลายก็ถอนได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๒. จตุราสีติสหัสสพราหมณกัญญาเถรีนมปทาน
อนุสัย๑หม่อมฉันทั้งหลายก็ตัดได้แล้ว
ปุญญาภิสังขาร หม่อมฉันทั้งหลายก็ทำลายได้แล้ว
[๑๙] หม่อมฉันทั้งปวงมีสมาธิเป็นอารมณ์
ชำนาญในสมาบัติเช่นกัน จักอยู่ด้วยฌาน
และความยินดีในธรรมทุกเมื่อ
[๒๐] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำ
หม่อมฉันทั้งหลายได้ทำตัณหาที่นำไปสู่ภพ
อวิชชา และแม้สังขารให้สิ้นไปแล้ว
ตามไปรู้แจ้งซึ่งบทที่รู้ได้แสนยาก
[๒๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ‘เธอทั้งหลายมีอุปการะแก่เรา
ผู้เดินทางไกลมาตลอดกาลนาน
จงตัดความสงสัยของบริษัท ๔ แล้วทั้งหมดจงนิพพานเถิด’
[๒๒] พระเถรีเหล่านั้น กราบพระยุคลบาทของพระมุนีแล้ว
แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ บางพวกแสดงแสงสว่าง
บางพวกแสดงความมืด บางพวกแสดงอย่างอื่น
[๒๓] บางพวกแสดงดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์
และทะเลพร้อมด้วยปลา บางพวกแสดงภูเขาสิเนรุ
ภูเขาสัตตบริภัณฑ์และต้นปาริฉัตตกะ
[๒๔] บางพวกแสดงภพดาวดึงส์
ยามาเทวโลกด้วยฤทธิ์
บางพวกเนรมิตตนเป็นเทวดาชั้นดุสิต
เป็นเทวดาชั้นนิมมานรดี
เป็นเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีผู้เป็นใหญ่ยิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ อนุสัย ในที่นี้หมายถึงปุญญาภิสังขาร ได้แก่ สภาพที่ปรุงแต่งคือบุญ (ดูเทียบ ที.ปา. (แปล)
๑๑/๓๐๕/๒๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๒. จตุราสีติสหัสสพราหมณกัญญาเถรีนมปทาน
[๒๕] บางพวกแสดงตนเป็นพรหม
บางพวกเนรมิตที่จงกรมมีค่ามาก
และเพศพระพรหม แสดงสุญญตธรรม๑อยู่
[๒๖] พระเถรีทั้งปวง ครั้นแสดงอิทธิฤทธิ์มีประการต่าง ๆ
แล้วก็แสดงพลังถวายพระศาสดา
ได้กราบพระยุคลบาทของพระศาสดา พลางกราบทูลว่า
[๒๗] ‘ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันทั้งหลาย
เป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุ และมีความชำนาญในเจโตปริยญาณ
[๒๘] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันทั้งหลายก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๒๙] ข้าแต่พระมหาวีระ อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณของหม่อมฉันทั้งหลาย
เกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์
[๓๐] ความพร้อมเพรียงแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก
พระองค์ทรงแสดงแล้ว
ข้าแต่พระมหามุนี อธิการเป็นอันมากของหม่อมฉันทั้งหลาย
เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๓๑] ข้าแต่พระมหาวีระผู้เป็นพระมุนี
ขอพระองค์ทรงหวนระลึกถึงกุศลกรรมเก่าของหม่อมฉันทั้งหลายเถิด
หม่อมฉันทั้งหลายสั่งสมบุญไว้ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์

เชิงอรรถ :
๑ สุญญตธรรม ในที่นี้หมายถึงฌาน (อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๓๒๓/๒๑๔,๓๘๕,๒๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๒. จตุราสีติสหัสสพราหมณกัญญาเถรีนมปทาน
[๓๒] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
มีกรุงชื่อว่าหงสวดี เป็นที่อยู่อาศัยแห่งตระกูล
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตตระ
[๓๓] มีแม่น้ำคงคาไหลผ่านที่หน้าประตูกรุงหงสวดีอยู่ตลอดเวลา
ภิกษุทั้งหลายเดือดร้อนไปไม่ได้เพราะแม่น้ำ
[๓๔] น้ำเต็มตลิ่งอยู่ ๑ วันบ้าง ๒ วันบ้าง ๓ วันบ้าง
๑ สัปดาห์บ้าง ๑ เดือนบ้าง ๔ เดือนบ้าง
ภิกษุเหล่านั้นจึงไปไม่ได้
[๓๕] ครั้งนั้น ชาวแว่นแคว้นผู้หนึ่งมีนามว่าชัชชิยะ
มีทรัพย์เป็นสาระเพื่อประโยชน์แก่ตน เห็นภิกษุทั้งหลาย
จึงได้สั่งให้นายช่างจัดสร้างสะพานข้ามแม่น้ำขึ้นที่ฝั่งด้านหน้าเมือง
[๓๖] ครั้งนั้น เขาได้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำคงคา
ด้วยทรัพย์หลายแสน
และได้ให้สร้างวิหารถวายสงฆ์ที่ฝั่งด้านตรงกันข้าม
[๓๗] ทั้งสตรี บุรุษ ตระกูลสูง และตระกูลต่ำเหล่านั้น
ได้ร่วมกันสร้างสะพานและวิหารเท่า ๆ กันกับนายชัชชิยะนั้น
[๓๘] หม่อมฉันทั้งหลายและหมู่มนุษย์เหล่าอื่น
ในนครและในชนบทล้วนมีจิตเลื่อมใส
เป็นธรรมทายาทของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
[๓๙] ทั้งสตรี บุรุษ เด็กชาย และเด็กหญิงจำนวนมากด้วยกัน
ต่างก็ช่วยกันเกลี่ยทรายลงที่สะพานและที่วิหาร
[๔๐] กวาดถนน แล้วตั้งต้นกล้วย
หม้อน้ำซึ่งมีน้ำเต็มเปี่ยมและปักธงขึ้น
จัดธูป จุรณและดอกไม้สักการะพระศาสดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๒. จตุราสีติสหัสสพราหมณกัญญาเถรีนมปทาน
[๔๑] หม่อมฉันทั้งหลายครั้นสร้างสะพานและวิหารเสร็จแล้ว
ได้ทูลนิมนต์พระผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ถวายมหาทาน แล้วปรารถนาสัมโพธิญาณ
[๔๒] ข้าแต่พระมหามุนี พระมหาวีระพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงเป็นที่เคารพของสรรพสัตว์
ทรงทำอนุโมทนาแล้ว ตรัสพยากรณ์ว่า
[๔๓] ‘เมื่อ ๑๐๐,๐๐๐ กัปล่วงไปแล้ว จักมีภัทรกัป
บุรุษนี้ได้ความสุขในภพน้อยภพใหญ่แล้ว จักบรรลุพระโพธิญาณ
[๔๔] บุรุษและสตรีที่ช่วยกันทำหัตถกรรมทั้งหมด
จักมีพร้อมหน้ากันในอนาคตกาล’
[๔๕] ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ชนเหล่านั้นเกิดในเทวโลกแล้ว จักเป็นคนรับใช้พระองค์
[๔๖] เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ เสวยสุขเป็นทิพย์
และเป็นของมนุษย์นับไม่ถ้วน ตลอดกาลนาน
[๔๗] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
กรรมสมบัติหม่อมฉันทั้งหลายก็ทำไว้ดีแล้ว
ในหมู่มนุษย์สุขุมาลชาติ และในเทวโลกที่ประเสริฐ
[๔๘] หม่อมฉันทั้งหลายย่อมได้รูปสมบัติ
โภคสมบัติ ยศ ความสรรเสริญ
และความสุขอันเป็นที่รัก ทั้งหมดเป็นกรรมสมบัติ
ที่หม่อมฉันทั้งหลายกระทำไว้ดีแล้ว อย่างต่อเนื่อง
[๔๙] เมื่อถึงภพสุดท้าย
หม่อมฉันทั้งหลายเกิดในตระกูลพราหมณ์
ในนิเวศน์ของเจ้าศากยบุตร เป็นผู้มีมือและเท้าละเอียดอ่อน
[๕๐] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันทั้งหลาย
ไม่เห็นแผ่นดินที่เขายังไม่ตกแต่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๒. จตุราสีติสหัสสพราหมณกัญญาเถรีนมปทาน
และไม่เห็นภาคพื้นที่เป็นทางเดินลื่น ๆ
แม้ตลอดกาลทั้งปวง
[๕๑] เมื่อหม่อมฉันยังครองเรือนอยู่
ชนทั้งหลายก็นำสักการะทุกอย่างที่เกิดขึ้นทุกฤดูกาลมาให้ทุกเมื่อ
เพราะผลแห่งบุพกรรมของหม่อมฉันทั้งหลาย
[๕๒] หม่อมฉันทั้งหลายละการครองเรือนแล้ว
บวชเป็นบรรพชิต ข้ามทางสังสารวัฏได้แล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๕๓] ทายกทายิกาหลายพันจากที่นั้น ๆ นำจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
มาถวายหม่อมฉันทั้งหลายตลอดเวลา
[๕๔] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันทั้งหลายก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันทั้งหลายก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันทั้งหลายตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๕] การที่หม่อมฉันทั้งหลายมาในสำนัก
ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันทั้งหลายได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ภิกษุณีบุตรีพราหมณ์ ๘๔,๐๐๐ รูปได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ เฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาค ด้วยประการฉะนี้
จตุราสีติสหัสสพราหมณกัญญาเถรีนมปทานที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๓. อุปปลทายิกาเถริยาปทาน
๓. อุปปลทายิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุปปลทายิกาเถรี
(พระอุปปลทายิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๗] ในกรุงอรุณวดี มีกษัตริย์พระองค์หนึ่งพระนามว่าอรุณ
หม่อมฉันเป็นพระมเหสีของท้าวเธอ
ย่อมสนทนากันเป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น
[๕๘] ครั้งนั้น หม่อมฉันนั่งอยู่ในที่สงัด คิดอย่างนี้ว่า
‘กุศลที่จะนำติดตัวไปซึ่งเราทำไว้ไม่มีเลย
[๕๙] เราต้องตกนรกที่มีความเร่าร้อนมาก
ทั้งเผ็ดร้อนร้ายกาจแสนจะทารุณอย่างแน่นอน
เราไม่มีความสงสัยในข้อนี้เลย’
[๖๐] ครั้นหม่อมฉันคิดอย่างนี้แล้ว
ทำจิตให้ร่าเริงเข้าเฝ้าพระราชาแล้ว กราบทูลดังนี้ว่า
[๖๑] ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นกษัตริย์
หม่อมฉันทั้งหลายชื่อว่าเป็นสตรี หม่อมฉันทั้งหลายไม่ใช่บุรุษ
ขอพระองค์ทรงพระราชทานพระสมณะ
แก่หม่อมฉันทั้งหลายสักองค์หนึ่งเถิด
หม่อมฉันทั้งหลายจักนิมนต์ท่านให้ฉัน”
[๖๒] ครั้งนั้น พระราชาได้พระราชทานพระสมณะ
ผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้วให้หม่อมฉัน
หม่อมฉันรับบาตรของท่านมาแล้ว
ใส่ภัตตาหารอย่างประณีตจนเต็ม
[๖๓] แล้วบรรจุอาหารอันประณีตของหอมและเครื่องลูบไล้
ไปพร้อมกัน มีใจยินดีได้ถวายให้ครองผ้าผืนใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๓. อุปปลทายิกาเถริยาปทาน
[๖๔] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้วจึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๖๕] ได้เป็นพระมเหสีของท้าวเทวราช ๑,๐๐๐ ชาติ
ได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ
[๖๖] และได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าประเทศราช
อันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
แต่นั้น ผลอื่นอีกมากมายหลายชนิด
เป็นผลกรรมแห่งทานนั้น
[๖๗] หม่อมฉันมีผิวพรรณเหมือนดอกอุบล
เป็นสตรีมีรูปงาม น่าดูน่าชม
มีองค์สมบัติทั้งปวงสมบูรณ์๑
เป็นอภิชาตบุตร ทรงไว้ซึ่งความเปล่งปลั่ง
[๖๘] เมื่อถึงภพสุดท้าย หม่อมฉันเกิดในศากยตระกูล
เป็นหัวหน้าของนารี ๑,๐๐๐ นาง
ของพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ
[๖๙] หม่อมฉันเบื่อหน่ายการครองเรือน
จึงออกบวชเป็นบรรพชิต เพียง ๗ ราตรี ก็ได้บรรลุสัจจะ ๔
[๗๐] หม่อมฉันไม่สามารถจะประมาณจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารได้
นี้เป็นผลแห่งการถวายบิณฑบาต
[๗๑] ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้เป็นพระมุนี
ขอพระองค์พึงหวนระลึกถึงกุศลกรรมเก่าของหม่อมฉันเถิด
หม่อมฉันได้สละวัตถุเป็นอันมาก ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์

เชิงอรรถ :
๑ องค์สมบัติทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงมีอวัยวะทุกส่วนสมบูรณ์ได้สัดส่วน (ขุ.อป.อ. ๑/๑๗๓/๒๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๓. อุปปลทายิกาเถริยาปทาน
[๗๒] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
หม่อมฉันได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายบิณฑบาต
[๗๓] หม่อมฉันรู้จักเพียง ๒ คติ
คือ (๑) คติเทวดา (๒) คติมนุษย์ คติอื่นหม่อมฉันไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายบิณฑบาต
[๗๔] หม่อมฉันรู้จักแต่ตระกูลสูงซึ่งเป็นตระกูลมหาศาลมีทรัพย์มาก
ตระกูลอื่น ๆ หม่อมฉันไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายบิณฑบาต
[๗๕] หม่อมฉันเวียนว่ายตายเกิดในภพน้อยภพใหญ่
ถูกกุศลมูลตักเตือนแล้ว ไม่เห็นสิ่งที่ไม่พอใจเลย
นี้เป็นผลแห่งโสมนัส
[๗๖] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุ และในเจโตปริยญาณ
[๗๗] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๗๘] ข้าแต่พระมหาวีระ อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณของหม่อมฉันที่มีอยู่
ล้วนเกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์
[๗๙] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๔. สิงคาลมาตุเถริยาปทาน
[๘๐] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระอุปปลทายิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุปปลทายิกาเถริยาปทานที่ ๓ จบ
๔. สิงคาลมาตุเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสิงคาลมาตาเถรี
(พระสิงคาลมาตาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๘๒] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๘๓] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในตระกูลอำมาตย์
ที่รุ่งเรืองด้วยรัตนะต่าง ๆ
เป็นตระกูลมั่งคั่ง เจริญ มีทรัพย์มาก ในกรุงหงสวดี
[๘๔] หม่อมฉันมีมหาชนห้อมล้อมไปกับบิดา
ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว บวชเป็นบรรพชิต
[๘๕] ครั้นบวชแล้ว เว้นบาปกรรมทางกาย
ละวจีทุจริต ชำระอาชีวะให้บริสุทธิ์
[๘๖] มีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า และพระธรรม
และมีความเคารพอย่างแรงกล้าในพระสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๔. สิงคาลมาตุเถริยาปทาน
ขวนขวายในการฟังพระสัทธรรม
มีการได้เห็นพระพุทธเจ้าเป็นปกติ
[๘๗] ครั้งนั้น หม่อมฉันได้ฟังภิกษุณีรูปหนึ่ง
ซึ่งเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ฝ่ายสัทธาธิมุต
จึงปรารถนาตำแหน่งนั้นแล้วบำเพ็ญไตรสิกขา๑ให้บริบูรณ์
[๘๘] ครั้งนั้น พระสุคตผู้มีพระอัธยาศัย
ประกอบด้วยพระกรุณา ตรัสกับหม่อมฉันว่า
‘บุคคลผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหวตั้งมั่นดีในพระตถาคต
มีศีลดีงามที่พระอริยเจ้าใคร่และสรรเสริญ
[๘๙] มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ มีความเห็นตรง
นักปราชญ์เรียกผู้นั้นว่า
เป็นผู้ไม่ขัดสน ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์’
[๙๐] เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญา
เมื่อมาระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พึงหมั่นประกอบศรัทธา ศีล ปสาทะ(ความเลื่อมใส)
และความเห็นที่ชอบธรรม
[๙๑] หม่อมฉันได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว มีความเบิกบานใจ
ได้ทูลถามถึงความปรารถนาของหม่อมฉัน
ในครั้งนั้น พระสุคตผู้ทรงเป็นผู้นำชั้นวิเศษ
ทรงมีปัญญาไม่ต่ำต้อย มีพระคุณนับไม่ถ้วน
ทรงพยากรณ์ว่า ‘เธอเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้มีธรรมอันงาม
จักได้ตำแหน่งนั้นที่เธอปรารถนาไว้แล้ว
[๙๒] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชตระกูลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก

เชิงอรรถ :
๑ ไตรสิกขา หมายถึงศีล สมาธิ และปัญญา (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๕/๒๗๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๔. สิงคาลมาตุเถริยาปทาน
[๙๓] สตรีผู้นี้จักมีนามว่าสิงคาลมาตา
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นสาวิกาของพระศาสดาพระองค์นั้น’
[๙๔] ครั้งนั้น หม่อมฉันได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว
เป็นผู้มีความยินดี มีจิตประกอบด้วยเมตตา
ปรนนิบัติพระชินเจ้า ผู้ทรงเป็นผู้นำ
ด้วยการปฏิบัติทั้งหลายจนตลอดชีวิต
[๙๕] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๙๖] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐี
มีความเจริญรุ่งเรือง สั่งสมรัตนะไว้เป็นอันมาก
ในกรุงราชคฤห์ ที่ประเสริฐสุด
[๙๗] บุตรของหม่อมฉันชื่อสิงคาลมาณพ มีความเห็นผิด
แล่นไปสู่มิจฉาทิฏฐิ มุ่งแต่การบูชาทิศ
[๙๘] นอบน้อมทิศต่าง ๆ พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำวิเศษ
เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนคร
ทอดพระเนตรเห็นเขาแล้ว ประทับยืนโอวาทที่หนทาง
[๙๙] เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรม บุตรของหม่อมฉัน
ส่งเสียงร้อง น่าประหลาดใจ
บุรุษสตรี ๒ โกฏิได้บรรลุธรรม
[๑๐๐] ครั้งนั้น หม่อมฉันได้เข้าไปยังที่ประชุมนั้น
ฟังภาษิตของพระสุคตแล้ว
ได้บรรลุโสดาปัตติผล ออกบวชเป็นบรรพชิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๔. สิงคาลมาตุเถริยาปทาน
[๑๐๑] ได้เห็นพระพุทธเจ้าเป็นปกติ
เจริญพุทธานุสสติอยู่ไม่นาน ก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๑๐๒] หม่อมฉันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นประจำ
เห็นพระรูปซึ่งเป็นที่เพลิดเพลินนัยนาก็ยังไม่เบื่อ
[๑๐๓] หม่อมฉันไม่เบื่อพระรูปที่เกิดจากบารมีทั้งปวง
เป็นที่อยู่อาศัยแห่งสิริที่ประเสริฐ
พรั่งพร้อมด้วยความงามทุกอย่าง
[๑๐๔] พระชินเจ้าทรงพอพระทัยในคุณสมบัตินั้น
จึงทรงตั้งหม่อมฉันผู้เป็นมารดาของสิงคาลมาณพไว้
ในเอตทัคคะว่า ‘เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายฝ่ายสัทธาธิมุต’
[๑๐๕] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุ และในเจโตปริยญาณ
[๑๐๖] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี
[๑๐๗] ข้าแต่พระมหาวีระ อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ของหม่อมฉันที่มีอยู่
ล้วนเกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์
[๑๐๘] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๕. สุกกาเถริยาปทาน
[๑๐๙] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๑๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ทราบว่า ท่านพระภิกษุณีมารดาสิงคาลมาณพได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สิงคาลมาตาเถริยาปทานที่ ๔ จบ
๕. สุกกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสุกกาเถรี
(พระสุกกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๑๑] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำพระนามว่าวิปัสสี
มีพระวรกายงดงาม ทรงเห็นแจ้งธรรมทั้งปวง เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๑๑๒] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในตระกูลหนึ่งในกรุงพันธุมดี
ได้ฟังธรรมของพระมุนีแล้ว ออกบวชเป็นบรรพชิต
[๑๑๓] เป็นพหูสูต ทรงธรรม มีปฏิภาณ
กล่าวธรรมีกถาอย่างไพเราะ
ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระชินเจ้า
[๑๑๔] ครั้งนั้น หม่อมฉันกล่าวธรรมเพื่อประโยชน์แก่หมู่ชนทุกสมัย
หม่อมฉันจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
ได้ไปเกิดเป็นเทพธิดาผู้มียศในสวรรค์ชั้นดุสิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๕. สุกกาเถริยาปทาน
[๑๑๕] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
พระชินเจ้าพระนามว่าสิขี มีพระรัศมีเปรียบด้วยเปลวเพลิง
ส่องโลกให้รุ่งเรืองด้วยยศ
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๑๑๖] แม้ในครั้งนั้น หม่อมฉันบวชแล้ว เป็นผู้ฉลาดในพุทธศาสนา
ทำพระพุทธพจน์ให้กระจ่างแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๑๗] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำพระนามว่าเวสสภู
มีพระปรีชาญาณมาก เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
แม้ในครั้งนั้น หม่อมฉันก็เป็นเหมือนอย่างในภพก่อน
[๑๑๘] ออกบวชแล้วเป็นผู้ทรงธรรม
ช่วยประกาศคำสั่งสอนของพระชินเจ้าให้รุ่งเรืองแล้ว
ไปเกิดในเมืองแห่งเทพที่น่ายินดี ได้เสวยความสุขมาก
[๑๑๙] ในภัทรกัปนี้ พระชินเจ้าผู้สูงสุดพระนามว่ากกุสันธะ
ทรงเป็นผู้สูงสุดแห่งนระ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
แม้ในครั้งนั้น หม่อมฉันก็เป็นเหมือนอย่างในภพก่อน
[๑๒๐] ออกบวชแล้ว ช่วยประกาศคำสั่งสอน
ของพระชินเจ้าให้รุ่งเรืองอยู่จนตลอดชีวิต
จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เหมือนไปสู่ที่อยู่ของตน
[๑๒๑] ในกัปนี้เอง พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำ
พระนามว่าโกนาคมนะ ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย
เป็นผู้สูงสุดแห่งสรรพสัตว์ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๑๒๒] แม้ครั้งนั้น หม่อมฉันก็ออกบวชในศาสนาของพระองค์
ผู้คงที่ เป็นพหูสูต ทรงธรรม
ช่วยประกาศคำสั่งสอนของพระชินเจ้าให้รุ่งเรือง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๕. สุกกาเถริยาปทาน
[๑๒๓] ในกัปนี้เอง พระมุนีพระนามว่ากัสสปะ
เป็นศาสดาผู้ประเสริฐ เป็นที่พึ่งของสัตว์โลก
ไม่มีข้าศึกคือกิเลส ถึงที่สุดแห่งมรณธรรม เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๑๒๔] หม่อมฉันบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้า
ทรงเป็นนระ ผู้เป็นปราชญ์พระองค์นั้น
ศึกษาพระสัทธรรมอย่างคล่องแคล่ว
มีความแกล้วกล้าในปริปุจฉา๑
[๑๒๕] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันมีศีลงาม มีความละอาย
ฉลาดในไตรสิกขา กล่าวธรรมเป็นอันมากจนตลอดชีวิต
[๑๒๖] ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นและด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๒๗] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย
หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐีที่เจริญมั่งคั่ง
สั่งสมรัตนะมากมาย ในกรุงราชคฤห์ที่ประเสริฐสุด
[๑๒๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นผู้นำ
มีภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปห้อมล้อม
ท้าวสหัสสนัยน์สรรเสริญแล้ว เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์
[๑๒๙] พระผู้มีพระภาคทรงฝึกอินทรีย์แล้ว
พ้นขาดจากสรรพกิเลส มีวรรณะเปล่งปลั่งดั่งแท่งทอง
เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ พร้อมทั้งพระขีณาสพ
ผู้เป็นปุราณชฎิล ผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว
พ้นเด็ดขาดจากสรรพกิเลส

เชิงอรรถ :
๑ ปริปุจฉา หมายถึงการถาม การไต่สวน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๕. สุกกาเถริยาปทาน
[๑๓๐] หม่อมฉันได้เห็นพุทธานุภาพ
และได้ฟังธรรมซึ่งเป็นที่สั่งสมคุณแล้ว
ทำจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
บูชาพระองค์ผู้มีพลธรรมมาก๑
[๑๓๑] ต่อมา หม่อมฉันได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ในสำนักของพระธรรมทินนาเถรี
[๑๓๒] หม่อมฉันเผากิเลสทั้งหลายได้ในขณะที่กำลังปลงผม
บวชแล้วไม่นาน ก็ศึกษาศาสนธรรมได้อย่างทั่วถึง
[๑๓๓] ต่อจากนั้น ได้แสดงธรรมในสมาคมแห่งมหาชน
เมื่อหม่อมฉันกำลังแสดงธรรมอยู่
การบรรลุธรรมก็ได้มี
[๑๓๔] มียักษ์ตนหนึ่ง ได้ทราบการตรัสรู้ธรรมนั้น
ของสัตว์หลายพันแล้ว เกิดอัศจรรย์ใจ
เลื่อมใสต่อหม่อมฉันได้ไปยังกรุงราชคฤห์
[๑๓๕] มนุษย์ทั้งหลายในกรุงราชคฤห์ที่ไม่ได้เข้าไปนั่งใกล้
พระเถรีชื่อว่าสุกกา ผู้แสดงอมตบทอยู่
หม่อมฉันจะให้ดื่มอมตบทเหมือนดื่มน้ำผึ้งได้อย่างไร
[๑๓๖] ก็แลพวกเขาผู้มีปัญญา คงจะดื่มอมตบทนั้น
อันมีสภาพไม่ถอยกลับ ให้เกิดความชื่นใจมีโอชาได้
เหมือนคนเดินทางไกลแสวงหาน้ำดื่ม
[๑๓๗] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุ และในเจโตปริยญาณ

เชิงอรรถ :
๑ พลธรรม หมายถึงธรรมอันเป็นกำลัง มี ๕ อย่าง (๑) สัทธา(ความเชื่อ) (๒) วิริยะ(ความเพียร)
(๓) สติ(ความระลึกได้) (๔) สมาธิ(ความตั้งจิตมั่น) (๕) ปัญญา(ความรู้แจ้ง) (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๓๑/๓๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๕. สุกกาเถริยาปทาน
[๑๓๘] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๑๓๙] ข้าแต่พระมหาวีระ อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ของหม่อมฉันที่มีอยู่
ล้วนเกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์
[๑๔๐] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๔๑] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๔๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระสุกกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ด้วยประการฉะนี้
สุกกาเถริยาปทานที่ ๕ จบ
ภาณวารที่ ๕ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๖. อภิรูปนันทาเถริยาปทาน
๖. อภิรูปนันทาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอภิรูปนันทาเถรี
(พระอภิรูปนันทาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๔๓] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำพระนามว่าวิปัสสี
ทรงมีพระวรกายงดงาม
มีพระจักษุในธรรมทั้งปวง เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๑๔๔] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในตระกูลใหญ่ที่มั่งคั่ง
มีความเจริญในกรุงพันธุมดี เป็นสตรี มีรูปงาม
น่าเอ็นดู และน่าบูชาของหมู่ชน
[๑๔๕] ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ทรงมีความเพียรมาก
ได้สดับพระธรรมแล้ว
ถึงพระองค์ทรงเป็นผู้นำของนรชน เป็นที่พึ่งที่ระลึก
[๑๔๖] หม่อมฉันสำรวมอยู่ในศีล เมื่อพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้สูงสุดแห่งนระ เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ได้ใช้ฉัตรทองบูชาไว้ ณ เบื้องบน
แห่งพระสถูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
[๑๔๗] หม่อมฉันเป็นผู้สละได้ขาดแล้ว
มีศีลจนตลอดชีวิต จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
ละกายมนุษย์จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๔๘] ครั้งนั้น หม่อมฉันครอบงำ(เทพธิดา)ได้ทั้งหมด
ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ (๑) รูป
(๒) เสียง (๓) กลิ่น (๔) รส (๕) โผฏฐัพพะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๖. อภิรูปนันทาเถริยาปทาน
[๑๔๙] (๖) อายุ (๗) วรรณะ (๘) สุข (๙) ยศ
(๑๐) ความเป็นอธิบดี รุ่งโรจน์อยู่
[๑๕๐] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย หม่อมฉันเกิดในกรุงกบิลพัสดุ์
เป็นธิดาแห่งเจ้าศากยะพระนามว่าเขมกะ
มีนามปรากฏว่านันทา
[๑๕๑] หมู่ชนกล่าวว่า หม่อมฉันเป็นผู้หนึ่ง
ซึ่งมีความถึงพร้อมด้วยรูปงาม น่าชม
ในคราวที่หม่อมฉันเติบโตเป็นสาว(รู้จัก)
มีรูปและผิวพรรณงดงาม
[๑๕๒] พวกเจ้าศากยะเกิดการวิวาทกันใหญ่โต
เพราะเรื่องแย่งตัวหม่อมฉันนี้
ครั้งนั้น พระบิดาของหม่อมฉันดำริว่า
‘พวกเจ้าศากยะ จงอย่าพินาศเลย’ จึงให้หม่อมฉันบวช
[๑๕๓] ครั้นหม่อมฉันบวชแล้ว ได้ฟังว่า
พระตถาคตเป็นผู้สูงสุดแห่งนรชน ทรงติเตียนรูป
จึงไม่ยอมเข้าเฝ้า เพราะหม่อมฉันมีความหลงใหลรูป
[๑๕๔] หม่อมฉันขลาดต่อการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า จึงไม่ยอมไปรับโอวาท
ครั้งนั้น พระชินเจ้าทรงให้หม่อมฉัน
เข้าไปสู่สำนักของพระองค์ด้วยอุบาย
[๑๕๕] พระองค์ผู้ทรงฉลาดในมรรค
ทรงเนรมิตหญิง ๓ คน ด้วยฤทธิ์
คือ (๑) หญิงสาวที่สวยเหมือนเทพอัปสร
(๒) หญิงชรา (๓) หญิงที่ตายแล้ว
[๑๕๖] หม่อมฉันเห็นหญิงทั้ง ๓ แล้วเกิดความสลดใจ
ไม่ยินดีในซากศพของหญิงที่ตายแล้ว
มีความเบื่อหน่ายในภพ ยืนเฉยอยู่
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้นำ ตรัสกับหม่อมฉันว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๖. อภิรูปนันทาเถริยาปทาน
[๑๕๗] ‘นันทา เธอจงดูรูปกายที่กระสับกระส่าย
ไม่สะอาด เปื่อยเน่า ไหลเข้าไหลออกอยู่
ที่พวกคนเขลาพากันปรารถนายิ่งนัก
[๑๕๘] เธอจงอบรมจิตให้เป็นสมาธิมีอารมณ์เดียวด้วยอสุภารมณ์เถิด
รูปนี้เป็นฉันใด รูปของเธอนั้นก็เป็นฉันนั้น
รูปของเธอนั้นเป็นฉันใด รูปนี้ก็เป็นฉันนั้น
[๑๕๙] เมื่อเธอพิจารณาเห็นรูปอยู่อย่างนี้
มิได้เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
แต่นั้น ก็จะเบื่อหน่ายอยู่ด้วยปัญญาของตน’
[๑๖๐] เมื่อหม่อมฉันไม่ประมาทแล้ว
พิจารณาในกายนี้อยู่โดยแยบคายว่า
กายนี้ทั้งภายในและภายนอก
เราได้เห็นแล้วตามความเป็นจริง
[๑๖๑] เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงเบื่อหน่ายในกาย
และคลายกำหนัดในภายใน ไม่ประมาท
ไม่เกาะเกี่ยว เป็นผู้สงบเย็นแล้ว
[๑๖๒] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุ และในเจโตปริยญาณ
[๑๖๓] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๑๖๔] ข้าแต่พระมหาวีระ อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ของหม่อมฉันที่มีอยู่
ล้วนเกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๗. อัฑฒกาสีเถริยาปทาน
[๑๖๕] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๖๖] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๖๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระอภิรูปนันทาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อภิรูปนันทาเถริยาปทานที่ ๖ จบ
๗. อัฑฒกาสีเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัฑฒกาสีเถรี
(พระอัฑฒกาสีเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๖๘] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพราหมณ์
พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร มีพระยศยิ่งใหญ่
ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๑๖๙] ครั้งนั้น หม่อมฉันบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สำรวมในพระปาฏิโมกข์ และอินทรีย์ ๕๑

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๒๐/๓๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๗. อัฑฒกาสีเถริยาปทาน
[๑๗๐] หม่อมฉันรู้จักประมาณในอาสนะต่ำ
ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เสมอ บำเพ็ญเพียรอยู่
[๑๗๑] ในกาลนั้น หม่อมฉันมีความคิดชั่ว
ได้ด่าภิกษุณีผู้ปราศจากอาสวะรูปหนึ่งครั้งเดียวว่า ‘นางแพศยา’
ต้องหมกไหม้อยู่ในนรก เพราะบาปกรรมนั้นนั่นเอง
[๑๗๒] เพราะเศษกรรมนั้นแล
หม่อมฉันเกิดในตระกูลหญิงแพศยา
อยู่อาศัยชายอื่นโดยมาก ในชาติสุดท้าย
[๑๗๓] หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐีในแคว้นกาสี
มีความงาม ดุจนางเทพอัปสรในหมู่เทวดา
ด้วยผลแห่งการประพฤติพรหมจรรย์
[๑๗๔] หมู่ชนเห็นหม่อมฉันมีรูปน่าชม
จึงตั้งหม่อมฉันในฐานะเป็นหญิงคณิกา
ในกรุงราชคฤห์ที่ประเสริฐสุด
เพราะผลกรรมที่ด่าภิกษุณีนั้นของหม่อมฉัน
[๑๗๕] หม่อมฉัน ได้ฟังพระสัทธรรมที่พระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุดตรัสแล้ว
ผู้สมบูรณ์ด้วยบุพวาสนา(บาปบุญที่ได้อบรมมาในกาลก่อน)
จึงได้บวชเป็นบรรพชิต
[๑๗๖] แต่เมื่อเดินทางไปสู่สำนักของพระชินเจ้าเพื่อจะอุปสมบท
พบพวกนักเลงดักอยู่ที่หนทาง จึงได้รับการอุปสมบทโดยทูต
[๑๗๗] กรรมทั้งหมดสิ้นไปแล้ว บุญ และบาปก็สิ้นไปแล้วเหมือนกัน
หม่อมฉันข้ามพ้นสังสารวัฏทั้งปวงได้แล้ว
และความเป็นหญิงคณิกาหม่อมฉันก็ให้สิ้นไปแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๘. ปุณณิกาเถริยาปทาน
[๑๗๘] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุ และในเจโตปริยญาณ
[๑๗๙] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๑๘๐] ข้าแต่พระมหาวีระ อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ของหม่อมฉันที่มีอยู่
ล้วนเกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์
[๑๘๑] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๘๒] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๘๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระอัฑฒกาสีภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อัฑฒกาสีเถริยาปทานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๘. ปุณณิกาเถริยาปทาน
๘. ปุณณิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปุณณิกาเถรี
(พระปุณณิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๘๔] พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้เป็นพระมุนี ผู้คงที่
ทรงพระนามว่าพระวิปัสสี ๑ พระสิขี ๑ พระเวสสภู ๑
พระกกุสันธะ ๑ พระโกนาคมนะ ๑ พระกัสสปะ ๑
[๑๘๕] หม่อมฉันบวชเป็นภิกษุณีในศาสนา
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีปัญญารักษาตน สำรวมอินทรีย์
[๑๘๖] เป็นพหูสูต ทรงธรรม สอบถามเหตุและผล
เล่าเรียน สดับธรรม เป็นผู้นั่งใกล้
[๑๘๗] หม่อมฉันแสดงคำสอนของพระชินเจ้าในท่ามกลางหมู่ชน
ได้เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก ดูหมิ่นเพราะความเป็นพหูสูตนั้น
[๑๘๘] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย หม่อมฉันเกิดในเรือนแห่งนางกุมภทาสี
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐีในกรุงสาวัตถีที่ประเสริฐสุด
[๑๘๙] หม่อมฉันไปตักน้ำ ได้เห็นโสตถิยพราหมณ์
นั่งหนาวสั่นอยู่ท่ามกลางน้ำ
ครั้นเห็นแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า ‘ฉันเป็นคนตักน้ำ
[๑๙๐] กลัวภัยต่ออาชญาของเจ้านาย
และถูกภัยคือวาจาที่เกรี้ยวกราดของเจ้านายเบียดเบียน
จึงต้องลงน้ำเป็นประจำในฤดูหนาว
[๑๙๑] พราหมณ์เอ๋ย ท่านกลัวใคร จึงต้องลงน้ำเป็นประจำ
มีร่างกายสั่นเทา รู้สึกหนาวรุนแรงใช่ไหม’
[๑๙๒] (พรามหณ์ได้กล่าวว่า) ‘นางปุณณิกาผู้เจริญ
เธอทั้งที่รู้อยู่ยังสอบถามเราผู้ทำกุศลกรรม
เพื่อกำจัดบาปกรรมอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๘. ปุณณิกาเถริยาปทาน
[๑๙๓] บุคคลใดเป็นผู้ใหญ่ก็ตาม เป็นเด็กก็ตาม ทำบาปกรรมไว้
บุคคลนั้น ๆ จะพ้นจากบาปกรรมได้ เพราะการอาบน้ำ’
[๑๙๔] เมื่อพราหมณ์นั้นขึ้นจากน้ำมา
หม่อมฉันได้บอกบทที่ประกอบด้วยเหตุและผล
พราหมณ์ได้ฟังบทแห่งธรรมนั้นแล้ว
มีความสลดใจ ออกบวชแล้วได้เป็นพระอรหันต์
[๑๙๕] เพราะหม่อมฉันเกิดในตระกูลทาสี
ครบจำนวนทาสี ๑๐๐ คนพอดี
เจ้านายจึงตั้งชื่อให้หม่อมฉันว่า ปุณณา
และปลดหม่อมฉัน(จากทาส)ให้เป็นไท
[๑๙๖] แต่นั้นหม่อมฉันอนุโมทนาเศรษฐีแล้ว
บวชเป็นบรรพชิต โดยกาลไม่นานนักก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๑๙๗] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุและในเจโตปริยญาณ
[๑๙๘] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๑๙๙] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ของหม่อมฉัน บริสุทธิ์ ไม่มีมลทิน
เพราะอำนาจของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด
[๒๐๐] หม่อมฉันมีปัญญามากเพราะการเจริญภาวนา
มีสุตะมากเพราะการเรียนรู้
เกิดในตระกูลต่ำเพราะมีมานะจัด
แต่กุศลกรรมมิได้วิบัติไปเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๙. อัมพปาลีเถริยาปทาน
[๒๐๑] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๐๒] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๐๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระปุณณิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปุณณิกาเถริยาปทานที่ ๘ จบ
๙. อัมพปาลีเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัมพปาลีเถรี
(พระอัมพปาลีเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๐๔] หม่อมฉันเกิดในตระกูลกษัตริย์
เป็นพระภคินีของพระมหามุนีพระนามว่าผุสสะ
ผู้มีพระรัศมีงาม รุ่งเรืองดุจเทริด
[๒๐๕] หม่อมฉันได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว
มีจิตผ่องใส ได้ถวายมหาทานแล้ว ปรารถนารูปสมบัติ
[๒๐๖] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
พระชินเจ้าพระนามว่าสิขี ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก
ทรงส่องโลกให้สว่างไสว ทรงเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกในไตรโลก
เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๙. อัมพปาลีเถริยาปทาน
[๒๐๗] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในตระกูลพราหมณ์
ในกรุงอรุณที่น่ารื่นรมย์ โกรธแล้ว
สาปแช่งภิกษุณีรูปหนึ่งผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วว่า
[๒๐๘] ‘ท่านเป็นหญิงแพศยา ประพฤติอนาจาร
ประทุษร้ายพระศาสนาของพระชินเจ้า’
ครั้นด่าอย่างนี้แล้ว เพราะกรรมชั่วที่ทำไว้นั้น
[๒๐๙] หม่อมฉันต้องตกนรกที่ร้ายกาจ
เพียบด้วยมหันตทุกข์ เคลื่อนจากนรกนั้นแล้ว
มาเกิดในหมู่มนุษย์ ก็มีความเดือดร้อนเป็นประจำ
[๒๑๐] ครองตำแหน่งหญิงแพศยาอยู่ถึง ๑๐,๐๐๐ ชาติ
ก็ยังไม่พ้นจากบาปกรรมนั้น
เปรียบเหมือนคนที่กลืนกินยาพิษอย่างร้ายแรง
[๒๑๑] หม่อมฉันได้ออกบวชเป็นภิกษุณี
มีเพศประเสริฐในศาสนาของพระชินเจ้าพระนามว่ากัสสปะ
ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะผลแห่งกรรมนั้น
[๒๑๒] เมื่อถึงภพสุดท้าย หม่อมฉันเกิดเป็นโอปปาติกะ๑
ที่ระหว่างกิ่งต้นมะม่วง
จึงมีชื่อว่าอัมพปาลี ตามนิมิตหมายนั้น
[๒๑๓] หม่อมฉันมีประชาชนหลายโกฏิ
แห่ห้อมล้อมมาบวชในศาสนาของพระชินเจ้า
เป็นลูกหญิงแห่งพระพุทธเจ้า
บรรลุถึงฐานะที่ไม่หวั่นไหว

เชิงอรรถ :
๑ โอปปาติกะ หมายถึงสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ (ตาย) ก็หายวับไปไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่น
เทวดา และสัตว์นรกเป็นต้น (ที.สี.อ. ๑/๑๗๑/๑๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๙. อัมพปาลีเถริยาปทาน
[๒๑๔] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุ และมีความชำนาญในเจโตปริยญาณ
[๒๑๕] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุ หม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๒๑๖] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ของหม่อมฉัน บริสุทธิ์ ไม่มีมลทิน
เพราะอำนาจของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๒๑๗] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๑๘] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาที่ดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๑๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระอัมพปาลีภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อัมพปาลีเถริยาปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๑๐. เสลาเถริยาปทาน
๑๐. เสลาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเสลาเถรี
(พระเสลาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๒๐] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
มีพระยศยิ่งใหญ่ พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๒๒๑] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในตระกูลอุบาสก
ในกรุงสาวัตถีซึ่งเป็นเมืองประเสริฐ
เห็นพระชินเจ้าผู้ประเสริฐพระองค์นั้น
และฟังพระธรรมเทศนาแล้ว
[๒๒๒] ถึงพระวีระพระองค์นั้นเป็นที่พึ่งที่ระลึกและสมาทานศีล
ครั้งหนึ่งในสมาคมแห่งมหาชน
พระมหาวีระพระองค์นั้น
[๒๒๓] ผู้องอาจกว่านรชน ทรงประกาศอภิสัมโพธิญาณของพระองค์
ในธรรมที่ไม่เคยฟังมาในกาลก่อน
และในอริยสัจมีทุกข์เป็นต้นว่า
[๒๒๔] ‘เรามีจักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา
และแสงสว่าง’ แก่หม่อมฉัน
หม่อมฉันสดับ เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว
จึงสอบถามภิกษุทั้งหลาย
[๒๒๕] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๑๐. เสลาเถริยาปทาน
[๒๒๖] บัดนี้ ภพนี้เป็นภพสุดท้าย
หม่อมฉันเกิดในตระกูลมหาเศรษฐี
ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังพระสัทธรรมอันประกอบด้วยมัจจุ
[๒๒๗] บวชแล้ว ค้นคว้าอรรถธรรมทั้งปวง
ทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไปแล้ว
ได้บรรลุอรหัตตผลโดยกาลไม่นานเลย
[๒๒๘] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุ และมีความชำนาญในเจโตปริยญาณ
[๒๒๙] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๒๓๐] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ของหม่อมฉัน บริสุทธิ์ไม่มีมลทิน
เพราะอำนาจของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๒๓๑] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๓๒] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
[๒๓๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเสลาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เสลาเถริยาปทานที่ ๑๐ จบ
ขัตติยกัญญาวรรคที่ ๔ จบ
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัฏฐารสสหัสสขัตติย- ๒. จตุราสีติสหัสสพราหมณกัญญา-
กัญญาเถริยาปทาน เถริยาปทาน
๓. อุปปลทายิกาเถริยาปทาน ๔. สิงคาลมาตุเถริยาปทาน
๕. สุกกาเถริยาปทาน ๖. อภิรูปนันทาเถริยาปทาน
๗. อัฑฒกาสีเถริยาปทาน ๘. ปุณณิกาเถริยาปทาน
๙. อัมพปาลีเถริยาปทาน ๑๐. เสลาเถริยาปทาน

รวมวรรคได้ ๔ วรรค คือ

๑. สุเมธาวรรค ๒. เอกูโปสถิกวรรค
๓. กุณฑลเกสีวรรค ๔. ขัตติยกัญญาวรรค

ในวรรคนี้ บัณฑิตประมวลคาถาไว้ได้ ๑,๓๔๗ คาถา พร้อมทั้งอุทานคาถา
นับได้ ๑,๓๕๗ คาถา
เถรีอปทาน จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย พุทธวงศ์
__________________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. รตนจังกมนกัณฑ์
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าทรงเนรมิตที่จงกรมแก้ว
[๑] ท้าวสหัมบดีพรหม ผู้เป็นใหญ่แห่งชาวโลก
ได้ประนมมือทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาค
ผู้ไม่มีใครประเสริฐยิ่งไปกว่า
สัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตาน้อย๑มีอยู่ในโลกนี้
ขอพระองค์โปรดอนุเคราะห์หมู่สัตว์นี้แสดงธรรมเถิด
พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นใหญ่แห่งชาวโลก เป็นผู้สูงสุดแห่งนระ
อันหมู่พรหมประนมมือทูลอาราธนาว่า
‘สัตว์ทั้งหลายผู้เป็นปราชญ์ มีธุลีในดวงตาน้อยมีอยู่ในโลกนี้
ขอพระองค์โปรดอนุเคราะห์หมู่สัตว์นี้แสดงธรรมเถิด
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำ
ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรม ขอพระองค์โปรดแสดงอมตบท
ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมเพื่ออนุเคราะห์ชาวโลกเถิด’
[๒] พระตถาคต ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้
ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ๒ ผู้คงที่

เชิงอรรถ :
๑ ธุลีในดวงตาน้อย หมายถึงมีธุลีคือราคะ โทสะ โมหะ ปิดบังดวงตาคือปัญญาเบาบาง (ขุ.พุทฺธ.อ. ๑/๑๘)
๒ วิชชา หมายถึงวิชชา ๓ และวิชชา ๘, จรณะ หมายถึงจรณะ ๑๕ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒/๒๐-๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
ผู้ทรงความรุ่งเรือง ทรงไว้ซึ่งพระวรกายครั้งสุดท้าย
ทรงเกิดความกรุณาในสรรพสัตว์
พระผู้มีพระภาค ผู้ศาสดา
ทรงสดับดังนั้นแล้วจึงตรัสพระดำรัสนี้ว่า
‘พรหม สัตว์เหล่าใดผู้มีโสตประสาท
จงปล่อยศรัทธามาเถิด
เรามิได้ปิดประตูอมตธรรมแก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น
เพราะเรารู้สำคัญว่าจะลำบาก
จึงมิได้แสดงธรรมที่ประณีต
คล่องแคล่วในหมู่มนุษย์‘๑
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐกว่ามุนี
เมื่อจะทรงอนุเคราะห์เหล่าเวไนยสัตว์๒
จึงเสด็จออกจากโคนต้นอชปาลนิโครธ
เสด็จถึงกรุงพาราณสี โดยการเสด็จดำเนินไปตามลำดับ
ก็ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนบัลลังก์ที่ประเสริฐนั้น
และทรงประกาศพระธรรมจักร
คือทุกขสัจ สมุทยสัจ นิโรธสัจ
และมรรคสัจ อันสูงสุด แก่ปัญจวัคคีย์
ในกาลนั้น พระผู้พระภาคทรงประกาศพระธรรมจักรนั้นแล้ว
ฤาษีปัญจวัคคีย์เหล่านั้น พร้อมด้วยหมู่พรหม
และเทวดาประมาณ ๑๘ โกฏิ
ได้บรรลุธรรมในการประชุมครั้งแรก
สมัยต่อมาฤาษีปัญจวัคคีย์ทั้งหมด
คือโกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ

เชิงอรรถ :
๑ ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๘๓/๓๐๘ และดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๙/๑๕, ที.ม. (แปล) ๑๐/๗๑/๔๑, สํ.ส. (แปล)
๑๕/๑๗๒/๒๓๒.
๒ เวไนยสัตว์ หมายถึงเหล่าสัตว์ที่จะแนะนำให้บรรลุอรหัตตมรรคได้ (ขุ.อป.อ. ๒/๙๙/๓๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
พร้อมด้วยหมู่พรหมและเทวดาประมาณ ๑๘ โกฏิ
อันพระผู้มีพระภาคทรงแนะนำให้วิเศษโดยลำดับ ในกาลนั้น
โสดาปัตติผลได้มี(แก่เหล่าเทวดา)ในการประชุมครั้งแรก
ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงกรุงราชคฤห์
โดยการเสด็จดำเนินไปตามลำดับ
พระพุทธองค์ผู้ประเสริฐกว่ามุนี
ประทับอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร
ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสดับความนั้น
ได้เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
มีบริวารเป็นจำนวนมากถึง ๑๑ นหุต
พระองค์ทรงใช้ประทีป ของหอม ธูป
และดอกไม้เป็นต้นบูชาพระผู้มีพระภาค
ในสมาคมนั้น พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงกามาทีนวกถา(ว่าด้วยโทษของกาม)
ในเวลาจบพระธรรมเทศนาครั้งนั้น
สัตว์ประมาณ ๘๔,๐๐๐ มีพระราชาเป็นประมุขได้บรรลุธรรม
พระราชบิดาได้ทรงสดับความนั้น จึงทรงส่งทูตไป ๙ นาย
ทูตเหล่านั้นพร้อมด้วยบริวาร ๙,๐๐๐
ทูลขอบรรพชากับพระมุนี ทูตเหล่านั้น
พร้อมด้วยบริวารทั้ง ๙,๐๐๐ ได้บรรลุอรหัตตผล
ครั้งสุดท้าย กาฬุทายีอำมาตย์กับบริวาร ๑,๐๐๐
ถือเพศภิกษุแล้ว นิมนต์พระผู้มีพระภาค
พระศากยมุนีผู้ประเสริฐ ทรงรับนิมนต์แล้ว
เสด็จดำเนินไปตามทางใหญ่
เสด็จพร้อมด้วยภิกษุ ๒๐,๐๐๐ รูป
พระพุทธองค์เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์
โดยการเสด็จดำเนินไปตามลำดับ
ได้ทรงทำปาฏิหาริย์ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำโรหิณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
พระผู้มีพระภาคผู้ศากยมุนี ผู้ประเสริฐ
ประทับนั่งท่ามกลางบัลลังก์นั้น
แสดงมหาเวสสันดรชาดก แก่พระราชบิดาท่ามกลางบัลลังก์นั้น
สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้บรรลุธรรม
[๓] (พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า)
มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาเหล่านี้ไม่รู้ว่า
พระพุทธเจ้าผู้เป็นผู้สูงสุดแห่งนรชนนี้เป็นเช่นไร
พระพุทธเจ้าผู้ทรงประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก
ทรงมีกำลังฤทธิ์ และกำลังปัญญาเช่นไร มีพุทธพลัง๑เช่นไร
[๔] มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาเหล่านี้ไม่รู้ว่า
พระพุทธเจ้าผู้สูงสุดแห่งนรชนนี้เป็นเช่นนี้
พระพุทธเจ้าผู้ทรงประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก
ทรงมีกำลังฤทธิ์และกำลังปัญญาเช่นนี้ มีพุทธพลังเช่นนี้
[๕] เอาละ เราจักแสดงพุทธพลังอันยอดเยี่ยม
จักเนรมิตที่จงกรมซึ่งประดับด้วยรัตนะในนภากาศ”
[๖] เทวดาประจำภาคพื้น เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา
ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี
ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี และเทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม
ต่างก็ยินดี ได้พากันส่งเสียงอื้ออึงกึกก้อง
[๗] พื้นแผ่นดินพร้อมทั้งเทวโลกสว่างไสว
โลกันตนรกจำนวนมากที่ไม่เชื่อมติดกัน
และความมืดอันหนาทึบถูกขจัดไปในกาลนั้น
เพราะเห็นปาฏิหาริย์อันน่าอัศจรรย์

เชิงอรรถ :
๑ พุทธพลัง หมายถึงพุทธานุภาพ ทศพลญาณ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๓-๕/๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
[๘] แสงสว่างเจิดจ้าอย่างโอฬาร ได้เกิดแผ่ซ่านไปในโลกทั้ง ๒
คือในโลกนี้และโลกอื่นพร้อมด้วยเทวดา
คนธรรพ์ มนุษย์ และรากษส
แผ่ไปตลอดพื้นที่กว้างขวางทั้งเบื้องล่าง เบื้องบน และเบื้องขวาง
[๙] พระศาสดาผู้ประเสริฐกว่าเหล่าสัตว์ ไม่มีใครประเสริฐยิ่งไปกว่า
ทรงเป็นผู้นำวิเศษ อันเทวดาและมนุษย์บูชา
ทรงมีอานุภาพมาก มีบุญลักษณะนับร้อย
ทรงแสดงปาฏิหาริย์๑ ที่น่าอัศจรรย์
ในสมาคมนั้น พระชินเจ้าผู้พระศาสดา
เสด็จเหาะขึ้นในนภากาศแล้ว
ทรงเนรมิตภูเขาสิเนรุราชให้เป็นที่จงกรมที่รื่นรมย์
ทวยเทพในโลกธาตุมีหมื่นจักรวาลนมัสการพระตถาคตแล้ว
กระทำการบูชาพุทธเจ้าในสำนักของพระชินเจ้า
[๑๐] ครั้งนั้น พระศาสดาผู้มีพระจักษุ
เป็นผู้สูงสุดแห่งนรชน ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
อันท้าวสหัมบดีพรหมผู้ประเสริฐกว่าเทวดาทูลอาราธนาแล้ว
ทรงพิจารณาเห็นประโยชน์
ทรงเนรมิตที่จงกรมอันสำเร็จด้วยรัตนะทุกชนิดสำเร็จดีแล้ว
[๑๑] พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงมีความชำนาญในปาฏิหาริย์ ๓ อย่างคือ
อิทธิปาฏิหาริย์๒ อาเทสนาปาฏิหาริย์๓

เชิงอรรถ :
๑ ปาฏิหาริย์ หมายถึงการกระทำที่กำจัดหรือทำให้ปฏิปักษ์ยอมได้ การกระทำที่ให้เห็นเป็นอัศจรรย์ หรือ
การกระทำที่ให้บังเกิดผลเป็นอัศจรรย์
๒ อิทธิปาฏิหาริย์ หมายถึงปาฏิหาริย์คือฤทธิ์, แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ (ที.สี. (แปล) ๙/๔๘๔/๒๑๔, ขุ.ปฏิ.
(แปล) ๓๑/๓๐/๔๓๖)
๓ อาเทสนาปาฏิหาริย์ หมายถึงปาฏิหาริย์คือการทายใจ, รอบรู้กระบวนการของจิตจนสามารถกำหนด
อาการที่หมายเล็กน้อยแล้วบอกสภาพจิต ความคิด อุปนิสัยได้ถูกต้อง เป็นอัศจรรย์ (ที.สี. (แปล) ๙/๔๘๕/
๒๑๕, ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๕/๒๗๕ ขุ.ป. (แปล) ๓๑/๓๐/๔๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
และอนุสาสนีปาฏิหาริย์๑
ทรงเนรมิตที่จงกรมอันสำเร็จด้วยรัตนะทุกชนิดสำเร็จดีแล้ว
[๑๒] ทรงแสดงภูเขาสิเนรุซึ่งสูงสุดในโลกธาตุมีหมื่นจักรวาล
เป็นดุจเสาเรียงกันไปตามลำดับในที่จงกรมซึ่งทำด้วยรัตนะ
[๑๓] พระชินเจ้าทรงเนรมิตที่จงกรมเลยขอบปากหมื่นจักรวาล
ชานทั้ง ๒ ด้าน ที่จงกรมที่สำเร็จด้วยรัตนะ สำเร็จด้วยทองคำล้วน
[๑๔] ทรงเนรมิตไพที๒ทองคำล้วน ลาดด้วยแผ่นทองคำ
อันเหมาะสมแก่ขื่อและเต้าไว้ทั้ง ๒ ข้าง
[๑๕] รัตนจงกรมที่ทรงเนรมิต เกลื่อนไปด้วยทรายแก้วมณี
ทรายแก้วมุกดา สว่างไปทั่วทิศ เหมือนดวงอาทิตย์อุทัย
[๑๖] พระชินสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๓
ทรงเปล่งปลั่งด้วยพระรัศมีที่รุ่งเรือง
เสด็จจงกรมอยู่ ณ ที่จงกรมนั้น
[๑๗] เทพทั้งปวงที่มาประชุมกัน
ต่างก็โปรยปรายดอกมณฑารพ ดอกปทุม
และดอกปาริฉัตตกะอันเป็นทิพย์ลงบนที่จงกรม
[๑๘] เทพทั้งหลายในหมื่นจักรวาล
ได้เห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นจึงได้มาประชุมกัน
ต่างก็ยินดีร่าเริงบันเทิงใจ หมอบลงกราบ
[๑๙] เทวดาทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต
ชั้นนิมมานรดี และชั้นปรนิมมิตวสวัตดี

เชิงอรรถ :
๑ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ หมายถึงคำสอนเป็นอัศจรรย์
๒ ดูเชิงอรรถหน้า ๘๖ ในเล่มนี้
๓ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
ต่างก็มีจิตเบิกบาน มีใจดี
พากันมองดูพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๒๐] นาค ครุฑ หรือแม้กินนร พร้อมด้วยเหล่าเทวดา
คนธรรพ์ มนุษย์ และรากษส ต่างก็ได้เห็นพระศาสดา
ผู้ทรงเกื้อกูล อนุเคราะห์สัตว์โลก
เหมือนดวงจันทร์ลอยเด่นอยู่ในนภากาศ
[๒๑] เหล่าอาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหม
และอกนิฏฐพรหม ต่างองค์ก็นุ่งผ้าขาวล้วนยืนประนมมือ
[๒๒] ต่างก็โปรยปรายดอกไม้ ๕ สี และดอกมณฑารพ๑
ที่เจือด้วยกระแจะจันทน์ และพากันโบกผ้าอยู่บนท้องฟ้า
ครั้งนั้น ทั้งหมดต่างก็เปล่งเสียงว่า
น่าอัศจรรย์ พระชินเจ้าผู้ทรงเกื้อกูล อนุเคราะห์สัตว์โลก
[๒๓] พระองค์ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์
ทรงเป็นพระศาสดา ปรากฏดังเสาธง
เป็นหลักชัย เป็นที่พึ่งอาศัย และเป็นประทีปของปวงสัตว์
[๒๔] เทวดาทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มากในหมื่นจักรวาล๒
ต่างก็ยินดีร่าเริงบันเทิงใจ พากันแวดล้อมถวายบังคม
[๒๕] เทพบุตรและเทพกัญญา ต่างก็เลื่อมใส
มีใจยินดี พากันบูชาพระผู้องอาจกว่านรชน ด้วยดอกไม้ ๕ สี
[๒๖] เทวดาทั้งหลาย ได้เห็นพระศาสดาพระองค์นั้น
ต่างก็เลื่อมใส มีใจยินดี
พากันบูชาพระองค์ผู้องอาจกว่านรชน
ด้วยดอกไม้ ๕ สี แล้วเปล่งเสียงว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดอกมณฑารพ หมายถึงดอกไม้ทิพย์ (ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๙๙/๑๔๘)
๒ ในหมื่นจักรวาล แปลมาจากศัพท์ว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุยา (ขุ.พุทฺธ.อ. ๑๘/๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
[๒๗] ‘โอ ! น่าอัศจรรย์ ขนพองสยองเกล้า
ไม่เคยปรากฏในโลก ความอัศจรรย์
ขนพองสยองเกล้าเช่นนี้ ไม่เคยปรากฏ’
[๒๘] เทวดาเหล่านั้นนั่งอยู่ในภพของตน ๆ
ได้เห็นความอัศจรรย์ในนภากาศแล้ว
พากันหัวเราะดังลั่น
[๒๙] เหล่าภุมมเทวดาที่ประจำอยู่ตามต้นไม้
และอากาสัฏฐเทวดาที่ประจำอยู่ตามดวงดาว
ต่างก็มีความยินดีร่าเริงบันเทิงใจ พากันประนมมือนมัสการ
[๓๐] แม้พวกนาคที่มีอายุยืน มีบุญญาธิการ มีฤทธิ์มาก
ต่างก็มีความบันเทิงใจ นมัสการ
บูชาพระศาสดาเป็นผู้สูงสุดแห่งนรชน
[๓๑] บรรเลงสังคีต ตีกลองกันอยู่ในอากาศกลางเวหา
เพราะเห็นเหตุอัศจรรย์ในนภากาศ
[๓๒] เทวดาจำนวนมาก เป่าสังข์ แกว่งบัณเฑาะว์
เคาะมโหระทึก บรรเลงอยู่ในนภากาศ
เพราะเห็นความมหัศจรรย์ในนภากาศ
[๓๓] เป็นความอัศจรรย์หนอไม่เคยปรากฏ
วันนี้เกิดขนพองสยองเกล้าขึ้นแล้ว
เราทั้งหลายได้ความสำเร็จประโยชน์ที่ยั่งยืน
ขณะเราทั้งหลายให้สำเร็จเฉพาะแล้ว’
[๓๔] เพราะได้สดับคำว่า “พุทโธ”
เทวดาเหล่านั้นเกิดปีติในขณะนั้น
ต่างก็ยืนประนมมือกล่าวว่า ‘พุทโธ พุทโธ‘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
[๓๕] สัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่ในฟากฟ้า
ต่างก็ประนมมือเปล่งเสียงสาธุการดังกระหึ่ม
และเสียงโห่ร้องบันลือลั่น
[๓๖] นาคทั้งหลายต่างก็ขับร้อง ประสานเสียง
ประโคม ปรบขนด ฟ้อนรำ
และต่างก็โปรยปรายดอกไม้ ๕ สี และดอกมณฑารพ
ที่เจือด้วยกระแจะจันทน์
[๓๗] กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระมหาวีระ
ที่พระยุคลบาทของพระองค์มีจักรลักษณะเป็นรูปธงชัย
รูปธงปฏาก รูปวชิราวุธ รูปแว่นแก้ว และรูปขอ
[๓๘] ไม่มีใครเทียบกับพระองค์ได้ในเพราะรูปกาย
ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ
อนึ่ง ไม่มีใครเสมอเหมือนกับพระองค์ได้
ในเพราะการประกาศพระธรรมจักร
[๓๙] กำลังกายของพญาช้าง ๑๐ เชือก
เท่ากับกำลังกายตามปกติของพระองค์
ไม่มีใครเสมอกับพระองค์ด้วยกำลังฤทธิ์
ทั้งไม่มีใครเสมอเหมือนกับพระองค์ได้
ในเพราะการประกาศพระธรรมจักร
[๔๐] ท่านทั้งหลายจงนมัสการพระมหามุนี
ผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติทุกประการ
ทรงประกอบด้วยองค์คุณทั้งปวง
ทรงมีพระกรุณา ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลกอย่างนี้
[๔๑] พระองค์ย่อมควรแก่การอภิวาท การสดุดี
การไหว้ การสรรเสริญ การนมัสการ
และการบูชาทุกอย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
[๔๒] ข้าแต่พระมหาวีระ บุคคลผู้ประเสริฐที่สุด
ในบรรดาบุคคลผู้ที่ต้องไหว้
และบุคคลที่ควรไหว้ทั้งหมดในโลกเช่นกับพระองค์ไม่มี
[๔๓] พระสารีบุตรผู้มีปัญญามาก
เป็นผู้ฉลาดในสมาธิและในฌาน ยืนอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ
ได้เห็นพระองค์ ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๔๔] มองดูพระองค์ผู้องอาจกว่านรชน
ผู้งามเหมือนต้นพญาไม้สาละที่มีดอกบานสะพรั่ง
เหมือนดวงจันทร์ในท้องฟ้า
และเหมือนดวงอาทิตย์ในยามเที่ยงวัน
[๔๕] เห็นพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ผู้เป็นนักปราชญ์
ซึ่งมีพระรัศมีแวดล้อมอยู่ด้านละวา
รุ่งเรืองเหมือนต้นพฤกษาประทีป
งามเด่นเหมือนดวงอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ
[๔๖] พระสารีบุตรได้นิมนต์ภิกษุ ๕๐๐ รูป
มีกิจอันกระทำแล้ว ผู้คงที่ ผู้เป็นพระขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทินให้มาประชุมกันในขณะนั้น
[๔๗] แล้วกล่าวว่า พระชินเจ้าทรงแสดงปาฏิหาริย์
อันทำสัตว์โลกทั้งผองให้เลื่อมใส
แม้เราทั้งหลายก็จักไปกราบไหว้พระชินเจ้า ณ ที่นั้น
[๔๘] มาเถิด เราทั้งปวงจักไปเฝ้าพระชินเจ้า
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก จักทูลถามให้บรรเทาความสงสัย
[๔๙] ภิกษุผู้มีปัญญารักษาตน สำรวมอินทรีย์เหล่านั้น
รับคำว่า “สาธุ” แล้วต่างก็ถือบาตรและจีวร
พากันเข้าไปหา(พระสารีบุตร)อย่างรีบเร่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
[๕๐] พระสารีบุตรผู้มีปัญญามาก
พร้อมด้วยพระขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน
ผู้ฝึกตนในการฝึกอันยอดเยี่ยม๑ พากันไปเฝ้าด้วยฤทธิ์
[๕๑] พระสารีบุตรผู้เป็นเจ้าคณะใหญ่อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อม
เข้าเฝ้าด้วยฤทธิ์ ดังเทวดาลอยมาในฟากฟ้า
[๕๒] ภิกษุเหล่านั้น ผู้มีวัตรงาม มีความเคารพยำเกรง
ไม่ไอ ไม่จาม พากันเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๕๓] ครั้นเข้าเฝ้าแล้ว เห็นพระสยัมภูวีรเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ลอยเด่นอยู่ในนภากาศเหมือนดวงจันทร์ในฟากฟ้า
[๕๔] เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้รุ่งเรืองดังต้นพฤกษาประทีป
เหมือนสายฟ้าในท้องฟ้า
และเหมือนดวงอาทิตย์ในยามเที่ยงวัน
[๕๕] ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูป เห็นพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ดังห้วงน้ำใสแจ๋ว
และดังปทุมชาติที่กำลังบาน
[๕๖] ต่างก็ยินดีร่าเริงบันเทิงใจ
ประนมมือหมอบลงนอบน้อม
แทบพระยุคลบาทที่มีจักรลักษณะของพระศาสดา
[๕๗] พระสารีบุตรผู้มีปัญญามาก
มีผิวพรรณเสมอเหมือนดอกหงอนไก่
เป็นผู้ฉลาดในสมาธิและในฌาน
ไหว้พระศาสดาผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๕๘] พระมหาโมคคัลลานะผู้มีฤทธิ์มาก
ไม่มีใครเสมอได้ด้วยกำลังฤทธิ์

เชิงอรรถ :
๑ อันยอดเยี่ยม หมายถึงพระอรหัตตผล (ขุ.พุทธ.อ. ๕๐-๕๑/๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
มีผิวพรรณเสมอเหมือนดอกอุบลเขียว
ได้บันลือมา(ด้วยวิสัยแห่งฤทธิ์)
เหมือนเมฆในฤดูฝนคำรนอยู่
[๕๙] แม้พระมหากัสสปเถระผู้ผิวพรรณดั่งทองที่หลอมอยู่ในเบ้า
พระศาสดาทรงสรรเสริญตั้งไว้ว่า
เป็นผู้เลิศในฝ่ายธุดงค์คุณ
[๖๐] พระอนุรุทธเถระผู้เป็นเจ้าคณะใหญ่
เลิศกว่าบรรดาภิกษุทั้งหลายฝ่ายทิพยจักษุ
เป็นพระญาติผู้ประเสริฐของพระผู้มีพระภาค ยืนอยู่ในที่ไม่ไกล
[๖๑] พระอุบาลีเถระผู้ฉลาดในอาบัติ อนาบัติ และสเตกิจฉา
พระศาสดาทรงสรรเสริญตั้งไว้ว่า
เป็นผู้เลิศในฝ่ายพระวินัย
[๖๒] พระเถระผู้ฤาษีปรากฏชื่อว่าปุณณมันตานีบุตร
ผู้รู้แจ้งในอรรถอันละเอียดสุขุม๑
ประเสริฐกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายพระธรรมกถึก เป็นหัวหน้าคณะ
[๖๓] พระมุนีมหาวีระผู้ทรงฉลาดในอุปมา ตัดความสงสัย
ทรงทราบจิตของท่านเหล่านั้นแล้ว
จึงตรัสถึงพระคุณของพระองค์ว่า
[๖๔] สิ่งที่นับไม่ได้ มีที่สุด
ที่บุคคลรู้ไม่ได้ ๔ อย่าง
คือ (๑) หมู่สัตว์ (๒) อากาศ (๓) อนันตจักรวาล
(๔) พระพุทธญาณที่หาประมาณมิได้
สิ่งเหล่านี้อันใคร ๆ ไม่อาจรู้แจ้งได้

เชิงอรรถ :
๑ รู้แจ้งในอรรถอันสุขุม หมายถึงญาณหยั่งรู้สัจจะ ๔ และนิพพาน ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ของตน (ขุ.เถร.อ.
๑/๔/๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
[๖๕] การที่เราจะแสดงฤทธิ์นี้ จะอัศจรรย์อะไรในโลกเล่า
เพราะความอัศจรรย์ที่ทำให้เกิดขนพองสยองเกล้าอย่างอื่น
ยังมีอยู่อีกมากมาย
[๖๖] ในกาลใด เราเป็นเทพอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต
ในกาลนั้น เรามีชื่อว่าสันดุสิตเทพบุตร
เทวดาในหมื่นจักรวาล ได้มาประชุมกันแล้ว
ประนมมือกล่าวอัญเชิญเราว่า
[๖๗] ข้าแต่พระมหาวีระ
บัดนี้ ถึงเวลาสมควรของพระองค์แล้ว
ขอเชิญพระองค์เสด็จอุบัติในพระครรภ์มารดา
ตรัสรู้อมตบทช่วยสัตว์โลกพร้อมทั้งเทวโลก
ให้ข้ามพ้น(สังสารวัฏ)เถิด
[๖๘] ขณะเมื่อเราจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตลงสู่ครรภ์นั้น
โลกธาตุมีหมื่นจักรวาล แผ่นดินก็ไหว
[๖๙] ขณะเมื่อเรามีความรู้สึกตัว ประสูติจากพระครรภ์มารดานั้น
ทวยเทพก็พากันสาธุการ หมื่นจักรวาลก็ไหว
[๗๐] ในการก้าวลงสู่พระครรภ์มารดา
และในการประสูติ ไม่มีใครเสมอด้วยเรา
เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในการตรัสรู้
และในการประกาศพระธรรมจักร
[๗๑] โอ ! ความอัศจรรย์ได้มีในโลก
เพราะพระพุทธเจ้าทรงพระคุณมาก
โลกธาตุมีหมื่นจักรวาลไหว ๖ ครั้ง
มีรัศมีสว่างจ้า น่าอัศจรรย์ขนพองสยองเกล้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
[๗๒] ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคชินเจ้า
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน
เสด็จจงกรมด้วยพระฤทธิ์ แสดงให้มนุษย์พร้อมทั้งเทวโลกเห็น
[๗๓] พระศาสดาผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เสด็จจงกรมอยู่ ในที่จงกรมนั่นเอง
ตรัสธรรมีกถา ไม่เสด็จกลับในระหว่าง
เหมือนเสด็จจงกรมอยู่ในที่จงกรมเพียง ๔ ศอก
[๗๔] พระสารีบุตรผู้มีปัญญามาก
เป็นผู้ฉลาดในสมาธิและฌาน
ถึงความบริบูรณ์ด้วยปัญญา
ได้ทูลถามพระศาสดาผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกว่า
[๗๕] ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นผู้สูงสุดแห่งนรชน
อภินิหารของพระองค์เป็นเช่นไร
ข้าแต่พระวีรเจ้า พระองค์ทรงปรารถนา
พระโพธิญาณอันสูงสุดในกาลไร
[๗๖] ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ
สัจจะ และอธิษฐานเป็นเช่นไร เมตตาและอุเบกขาเป็นเช่นไร
[๗๗] ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
บารมี ๑๐ เป็นอย่างไร อุปบารมี ๑๐ เต็มได้อย่างไร
และปรมัตถบารมี ๑๐ เต็มได้อย่างไร
เพราะทรงอธิษฐานกรรมอะไร เป็นอธิบดีได้อย่างไร
มีบารมีได้อย่างไร นักปราชญ์เป็นเช่นไร ในโลก
เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาเป็นเช่นไร
พระองค์ทรงบำเพ็ญพุทธการกธรรม
(ธรรมที่กระทำความเป็นพระพุทธเจ้า)
ให้บริบูรณ์สิ้นเชิงได้อย่างไร’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๗๘] พระศาสดา ผู้มีพระสุรเสียงไพเราะดังเสียงนกการเวก
อันพระสารีบุตรนั้นทูลถามแล้ว ทรงพยากรณ์ให้เย็นใจ
และทรงทำมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ร่าเริง
[๗๙] พระศาสดาทรงประกาศประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก
ที่พระพุทธชินเจ้าในอดีตทรงแสดงไว้ ทรงชมเชย
ที่นำสืบ ๆ กันมาของพระพุทธเจ้า
ด้วยพระพุทธญาณที่ไปตามปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกว่า
[๘๐] ท่านทั้งหลายจงทำจิตให้เกิดปีติปราโมทย์
ให้บรรเทาลูกศรคือความเศร้าโศก ให้ได้สมบัติทั้งปวงแล้วจงฟังเรา
[๘๑] ท่านทั้งหลายจงดำเนินไปตามมรรคที่ย่ำยีความเมา
บรรเทาความเศร้าโศก เปลื้องตนจากสงสาร
เป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวง โดยความเคารพเถิด
รตนจังกมนกัณฑ์ จบ
๒. สุเมธกถา
ว่าด้วยสุเมธพุทธเจ้า
[๑] ใน ๔ อสงไขย ๑๐๐,๐๐๐ กัป
มีนครหนึ่งชื่อว่าอมระ เป็นนครที่น่าชม น่ารื่นรมย์ใจ
[๒] เป็นนครที่สมบูรณ์ด้วยข้าว น้ำ
ไม่ว่างเว้นจากเสียง ๑๐ ประการ
คือ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงกลอง เสียงสังข์
เสียงรถ(เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงเพลงขับ เสียงฉิ่ง)
และเสียงเชื้อเชิญด้วยของกินและเครื่องดื่มว่า
เชิญท่านเคี้ยวกิน เชิญท่านดื่ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๓] เป็นนครที่สมบูรณ์ด้วยองค์คุณทั้งปวง
ประกอบด้วยการงานทุกอย่าง
สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ
คับคั่งไปด้วยหมู่ชนต่าง ๆ
เป็นนครที่อุดมสมบูรณ์เหมือนเทพนคร
เป็นที่อยู่ของผู้มีบุญ
[๔] เราเป็นพราหมณ์นามว่าสุเมธะ
อยู่ในกรุงอมรวดี สั่งสมทรัพย์ไว้หลายโกฏิ
มีทรัพย์สมบัติและธัญญาหารมากมาย
[๕] เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์ จบไตรเพท
ถึงความสำเร็จในคัมภีร์ทำนายลักษณะ๑
และอิติหาสะ๒และในธรรมของตน
[๖] นั่งอยู่ในที่สงัด คิดอย่างนี้ว่า
การเกิดในภพใหม่ และการแตกไปแห่งสรีระเป็นทุกข์
ความหลงตายเป็นทุกข์ ชีวิตถูกชราย่ำยี
[๗] ก็ครั้งนั้น เรามีความเกิด ความแก่
ความป่วยไข้เป็นธรรมดา
เราจักแสวงหาพระนิพพาน
ที่ไม่แก่ ไม่ตาย เป็นแดนเกษม
[๘] เอาเถิด เราควรเป็นผู้ไม่มีความห่วงใย
ไม่มีความต้องการ ละทิ้งร่างกายที่เปื่อยเน่า
เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ นี้ไปเสีย
[๙] มรรคนั้นไม่อาจจะไม่เป็นเหตุ มรรคนั้นที่มีอยู่ก็จักมี
เราจักแสวงหามรรคนั้น เพื่อหลุดพ้นไปจากภพ

เชิงอรรถ :
๑ ทำนายลักษณะ หมายถึงทำนายลักษณะหญิง ลักษณะชาย ลักษณะมหาบุรุษ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๕/๑๐๘)
๒ อิติหาสะ หมายถึงคัมภีร์พิเศษ ซึ่งเป็นคัมภีร์เก่าแก่ของพราหมณ์ว่าด้วยคำพูดว่าเป็นเช่นนี้ (ขุ.พุทฺธ.อ
๕/๑๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๑๐] เมื่อความทุกข์มี ชื่อว่าความสุขก็ต้องมีฉันใด
เมื่อภพมีอยู่ วิภพ๑ก็จำต้องปรารถนา ฉันนั้น
[๑๑] เมื่อความร้อนมี ความเย็นอย่างอื่นก็ต้องมีฉันใด
เมื่อไฟ ๓๒ อย่างมีอยู่
นิพพาน(ความดับ)ก็จำต้องปรารถนา ฉันนั้น
[๑๒] เมื่อความชั่วมี แม้ความดีก็ต้องมี ฉันใด
เมื่อความเกิดมีอยู่ ความไม่เกิดก็จำต้องปรารถนา ฉันนั้น
[๑๓] บุรุษผู้ตกไปในหลุมคูถเห็นสระน้ำเต็ม
ไม่เข้าไปยังสระน้ำนั้น นั้นไม่ใช่ความผิดของสระน้ำ ฉันใด
[๑๔] เมื่อสระน้ำอมฤต๓มีอยู่ บุคคลไม่แสวงหาสระน้ำนั้น
อันเป็นที่ชำระมลทินคือกิเลส
นั้นก็ไม่ใช่ความผิดของสระน้ำอมฤต ฉันนั้น
[๑๕] เมื่อทางไปมีอยู่ บุรุษนั้นถูกข้าศึกปิดล้อมไม่ยอมหนีไป
นั้นไม่ใช่ความผิดของหนทาง ฉันใด
[๑๖] เมื่อทางเกษมมีอยู่ บุคคลถูกกิเลสปิดล้อม
ไม่แสวงหาทางนั้น นั้นก็ไม่ใช่ความผิดของทางอันเกษม ฉันนั้น
[๑๗] คนป่วย เมื่อหมอมีอยู่ ก็ไม่ให้หมอเยียวยา
ความป่วยไข้นั้น นั้นไม่ใช่ความผิดของหมอ ฉันใด
[๑๘] คนมีทุกข์ถูกความป่วยไข้คือกิเลสเบียดเบียน
ไม่แสวงหาอาจารย์ นั้นก็ไม่ใช่ความผิดของอาจารย์ผู้แนะนำ

เชิงอรรถ :
๑ วิภพ หมายถึงธรรมที่ไม่ให้เกิด (ขุ.พุทธ.อ. ๑๐/๑๑๐)
๒ ไฟ ๓ หมายถึงไฟคือราคะ โทสะ และโมหะ (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๕/๒๖๘)
๓ สระน้ำอมฤต ในที่นี้หมายถึงนิพพาน ( ขุ.พุทฺธ.อ. ๑๔/๑๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
เอาเถิดเราควรเป็นผู้ไม่มีความห่วงใย
ไม่มีความต้องการ ละทิ้งร่างกายที่เปื่อยเน่า
เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ นี้ไปเสีย ฉันนั้น
[๑๙] คนปลดเปลื้องซากศพที่น่ารังเกียจที่ผูกไว้ที่คอแล้ว
ไปอยู่เป็นสุขอย่างเสรีตามลำพังตน ฉันใด
[๒๐] เราไม่มีความห่วงใย ไม่มีความต้องการ
ละทิ้งร่างกายที่เปื่อยเน่าเป็นที่รวมซากศพต่าง ๆ นี้ไปเสีย ฉันนั้น
[๒๑] คนชายหญิงถ่ายอุจจาระลงในส้วม
แล้วละทิ้งส้วมไปไม่มีความห่วงใย ไม่มีความต้องการ ฉันใด
[๒๒] เราจักละทิ้งร่างกายที่เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ นี้ไปเสีย
ดุจคนถ่ายอุจจาระ(ลงในส้วม) แล้วละทิ้งส้วมไป ฉันนั้น
[๒๓] เจ้าของเรือทิ้งเรือที่คร่ำคร่า ชำรุด น้ำไหลเข้าได้ไป
อย่างไม่มีความห่วงใย ไม่มีความต้องการ ฉันใด
[๒๔] เราจักละทิ้งร่างกายนี้ที่มีทวาร ๙
มีของไม่สะอาดไหลออกอยู่เป็นนิตย์ไปเสีย
ดุจเจ้าของเรือละทิ้งเรือที่คร่ำคร่าไป ฉันนั้น
[๒๕] บุรุษนำสิ่งของมีค่าไปกับพวกโจร
เห็นภัยคือการถูกปล้นสิ่งของจึงละทิ้ง(โจร)ไปเสีย ฉันใด
[๒๖] กายนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เปรียบเสมอด้วยมหาโจร
เราจักละกายนี้ไปเพราะกลัวแต่การปล้นกุศลธรรม ฉันนั้น
[๒๗] ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว ได้ให้ทรัพย์หลายร้อยโกฏิ
แก่คนมีที่พึ่งและไม่มีที่พึ่งแล้วเข้าไปยังภูเขาหิมพานต์
[๒๘] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อธรรมิกะ
เราสร้างอาศรมอย่างดี สร้างบรรณศาลาอย่างดีไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๒๙] ในที่นั้น เราสร้างที่จงกรมซึ่งเว้นโทษ ๕ ประการ๑
เป็นที่นำมาซึ่งอภิญญาพละประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ ๒
[๓๐] ละทิ้งผ้าสาฎกซึ่งประกอบด้วยโทษ ๙ ประการ๓เสีย
แล้วนุ่งผ้าคากรอง(ผ้าเปลือกไม้) ซึ่งประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการ
[๓๑] เราละทิ้งบรรณศาลาที่ประกอบไปด้วยโทษ ๘ ประการ๔เสีย
เข้าไปอาศัยโคนต้นไม้ซึ่งประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ๕
[๓๒] เราละทิ้งข้าวเปลือกที่หว่านไว้ ปลูกไว้เสียโดยไม่เหลือ
บริโภคผลไม้ที่หล่นเองซึ่งประกอบด้วยคุณหลายอย่าง
[๓๓] ในที่นั้น เราบำเพ็ญความเพียรอยู่ในที่นั่งที่ยืนและที่จงกรม
ภายในเวลา ๗ วัน ก็ได้บรรลุอภิญญาพละ
[๓๔] เมื่อเราบรรลุถึงความสำเร็จ
มีความชำนาญในศาสนาอย่างนี้แล้ว
พระชินเจ้าพระนามว่าทีปังกร ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๓๕] ในขณะที่พระชินเจ้าทรงปฏิสนธิ ประสูติ ตรัสรู้
และแสดงธรรม เราเป็นผู้เปี่ยมด้วยความยินดีในฌาน
จึงไม่ได้เห็นนิมิต ๔ ประการ

เชิงอรรถ :
๑ โทษ ๕ ประการ คือ (๑) ที่แข็งกระด้างขรุขระ (๒) มีต้นไม้อยู่ภายใน (๓) มีกอไม้ปกคลุม (๔) แคบเกินไป
(๕) กว้างเกินไป (ขุ.พุทธ.อ. ๒๙/๑๑๗)
๒ ประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ หมายถึงประกอบด้วยสุขของสมณะ ๘ ประการ (๑) มีจิตเป็นสมาธิ
(๒) บริสุทธิ์ (๓) ผุดผ่อง (๔) ไม่มีกิเลสยียวน (๕) ปราศจากกิเลส ที่เป็นเหตุให้เศร้าหมอง (๖) อ่อนโยน
(๗) ควรแก่การงาน (๘) ตั้งขึ้นไม่หวั่นไหว (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒๙/๑๑๗)
๓ ขุ.พุทฺธ.อ. ๓๐/๑๑๘
๔ ขุ.พุทฺธ.อ. ๓๐/๑๑๘
๕ ขุ.พุทฺธ.อ. ๓๑/๑๑๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๓๖] ในแคว้นปัจจันตประเทศ ชนทั้งหลาย
ทูลนิมนต์พระตถาคตแล้ว มีใจยินดี
ช่วยกันแผ้วถางทางสำหรับพระตถาคตเสด็จดำเนินมา
[๓๗] ครั้งนั้น เราออกจากอาศรมของตนแล้ว
สลัดผ้าคากรอง เหาะไปในท้องฟ้า
[๓๘] เห็นหมู่ชนผู้มีจิตโสมนัส ยินดีร่าเริงบันเทิงใจ
จึงลงจากท้องฟ้ามาถามมนุษย์ทั้งหลายในขณะนั้นว่า
[๓๙] มหาชนผู้มีจิตโสมนัส ยินดีร่าเริงบันเทิงใจ
ช่วยกันแผ้วถางทางสำหรับเดินเพื่อใคร
[๔๐] ชนเหล่านั้นถูกเราถามแล้วบอกว่า
‘พระพุทธชินเจ้าผู้ยอดเยี่ยม พระนามว่าทีปังกร
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก เสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
ชนทั้งหลายช่วยกันแผ้วถางทางสำหรับเสด็จดำเนินเพื่อพระองค์’
[๔๑] เดี๋ยวนั้น ปีติเกิดแก่เราเพราะได้ฟังคำว่า ‘พุทโธ‘
เราจึงกล่าวประกาศความโสมนัสว่า ‘พุทโธ พุทโธ‘
[๔๒] เราทั้งยินดี ทั้งตื้นตันใจ ยืนคิดอยู่ ณ ที่นั้นว่า
‘เราจักปลูกพืชคือบุญลงในที่นี้ ขณะอย่าได้ล่วงเลยไป’
[๔๓] แล้วกล่าวว่า ‘ถ้าท่านทั้งหลายช่วยกันแผ้วถางทางเพื่อพระพุทธเจ้า
ขอจงให้โอกาสหนึ่งแก่ข้าพเจ้า
แม้ข้าพเจ้าก็จะช่วยแผ้วถางทางสำหรับเสด็จดำเนิน’
[๔๔] ครั้งนั้น ชนเหล่านั้นได้ให้โอกาสแก่เราเพื่อการแผ้วถางทาง
เราแผ้วถางทางไปพลางคิดไปพลางว่า ‘พุทโธ พุทโธ‘
[๔๕] เมื่อโอกาสของเรายังไม่ทันเสร็จ
พระชินมหามุนีพระนามว่าทีปังกร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
กับพระขีณาสพ ๔๐๐,๐๐๐ รูป
ผู้ได้อภิญญา ๖ ผู้คงที่ ปราศจากมลทินก็เสด็จมาถึงทาง
[๔๖] การต้อนรับย่อมเป็นไป คนเป็นอันมากประโคมกลองเภรี
เทวดาและมนุษย์ต่างก็มีความชื่นชม เปล่งเสียงสาธุการ
[๔๗] เทวดาก็เห็นมนุษย์ มนุษย์ก็เห็นเทวดา
ทั้ง ๒ พวกนั้น พากันประนมมือเดินตามพระตถาคต
[๔๘] เทวดาทั้งหลายนำดนตรีทิพย์มาประโคม
มนุษย์ทั้งหลายนำดนตรีมนุษย์มาประโคม
ทั้ง ๒ พวกนั้นพากันประโคม
[๔๙] เทพผู้อยู่ในนภากาศ
ต่างก็โปรยปรายดอกมณฑารพ ดอกปทุม
ดอกปาริฉัตตกะอันเป็นทิพย์ลงมายังทิศน้อยทิศใหญ่
[๕๐] และโปรยปรายกระแจะจันทน์ และของหอมอย่างดี
ล้วนแต่เป็นของทิพย์ลงมายังทิศน้อยทิศใหญ่
[๕๑] มนุษย์ทั้งหลายผู้อยู่บนพื้นดิน ต่างก็โปรยปรายดอกจำปา
ดอกสน กระทุ่ม ดอกกากะทิง
ดอกบุนนาค ดอกการะเกดลงมายังทิศน้อยทิศใหญ่
[๕๒] เราสยายผมแล้วลาดผ้าคากรอง
และหนังสัตว์ลงบนเปือกตม
แล้วนอนคว่ำหน้าลงที่นั้น
[๕๓] ด้วยคิดว่า ‘พระพุทธเจ้าพร้อมทั้ง(สาวก)ผู้เป็นศิษย์
จงเหยียบเราเสด็จไปเถิด อย่าทรงเหยียบเปือกตมนั้นเลย
ข้อนั้นจักเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๕๔] เมื่อเรานอนอยู่ที่พื้นดิน มีความคิดอย่างนี้ว่า
เราเมื่อต้องการอยู่ ก็พึงเผากิเลสเราได้ ในวันนี้
[๕๕] (แต่)จะมีประโยชน์อะไรแก่เรา
ที่จะรู้แจ้งพระธรรมในศาสนานี้ โดยเพศที่คนอื่นไม่รู้จัก
เราจักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ พ้นแล้ว
พึงปลดเปลื้องมนุษย์พร้อมทั้งเทวดา
[๕๖] จะมีประโยชน์อะไรแก่เรา
ที่เป็นผู้ชายเห็นกำลังความสามารถ
จะข้ามพ้นแต่เพียงผู้เดียว
เราจักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
ช่วยมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ข้ามพ้นด้วย
[๕๗] ด้วยอธิการ(คือกุศลอันยิ่งใหญ่) นี้
ที่เราได้ทำแล้วในพระพุทธเจ้า ทรงเป็นสูงสุดแห่งบุรุษ
เราจะบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
จะช่วยหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามพ้น
[๕๘] เราจักตัดกระแสสังสารวัฏ๑ ทำลายภพทั้ง ๓๒
แล้วขึ้นสู่ธรรมนาวา๓(เรือคือธรรม)
ช่วยมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ข้ามพ้น
[๕๙] อภินิหารย่อมสำเร็จได้เพราะธรรม ๘ ประการ
ประชุมพร้อมกัน คือ ความเป็นมนุษย์ ๑
ความสมบูรณ์ด้วยบุรุษเพศ ๑

เชิงอรรถ :
๑ กระแสสังสารวัฏ ในที่นี้หมายถึง กำเนิด คติ วิญญาณฐิติ สัตตาวาส ๙ หรือกระแสตัณหา (ขุ.พุทฺธ.อ.
๕๘/๑๓๙)
๒ ภพทั้ง ๓ ได้แก่ กามภพ รูปภพ อรูปภพ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๕๘/๑๓๙)
๓ ธรรมนาวา ได้แก่ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๕๘/๑๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
เหตุที่จะทำให้สำเร็จพระอรหันต์ได้ในชาตินั้น ๑
การได้เห็นพระศาสดา ๑ การบรรพชา ๑
ความถึงพร้อมแห่งคุณ(คือสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕) ๑
อธิการคือการทำให้ยิ่ง ๑ ความเป็นผู้มีฉันทะ ๑
[๖๐] พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร
ผู้ทรงรู้แจ้งโลก สมควรรับเครื่องบูชา
ประทับยืนอยู่เหนือศีรษะเรา ตรัสพระดำรัสนี้ว่า
[๖๑] ‘เธอทั้งหลายจงดูชฎิลดาบสนี้ ผู้มีตบะแก่กล้า
ในกัปอันประมาณมิได้นับจากกัปนี้ไป
เขาจักเป็นพระพุทธเจ้าในโลก
[๖๒] พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
ทรงเริ่มตั้งความเพียรบำเพ็ญทุกรกิริยา
[๖๓] พระตถาคตจักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้นแล้ว
เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
[๖๔] พระชินเจ้าพระองค์นั้น จักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
[๖๕] จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
[๖๖] พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
[๖๗] พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
[๖๘] พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
[๖๙] จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี’
[๗๐] เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
[๗๑] สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
[๗๒] ‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
[๗๓] มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๗๔] เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
[๗๕] พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร ผู้ทรงรู้แจ้งโลก
สมควรรับเครื่องบูชา
ทรงประกาศกรรมของเราแล้ว
ทรงยกพระบาทเบื้องขวาขึ้น
[๗๖] สาวกของพระชินเจ้าที่อยู่ในที่นั้น
ได้ทำประทักษิณเราทุก ๆ องค์
เทวดา มนุษย์ อสูร ยักษ์ อภิวาทเราแล้ว พากันหลีกไป
[๗๗] ครั้งนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก พร้อมทั้งพระสงฆ์ล่วงคลองจักษุเราไป
เราลุกขึ้นจากการนอนแล้ว นั่งขัดสมาธิอยู่
[๗๘] เราสำราญใจด้วยความสุข บันเทิงใจด้วยความปราโมทย์
และดื่มด่ำด้วยปีติ นั่งขัดสมาธิอยู่ในกาลนั้น
[๗๙] ครั้งนั้น เรานั่งขัดสมาธิแล้วคิดอย่างนี้ว่า
‘เราเป็นผู้มีความชำนาญในฌาน ถึงความสำเร็จอภิญญา
[๘๐] ในโลกธาตุมีหมื่นจักรวาล ไม่มีฤาษีผู้เสมอกับเรา
ในธรรมคือฤทธิ์ ก็ไม่มีใครเสมอกับเรา เราได้สุขเช่นนี้’
[๘๑] ขณะที่เรานั่งขัดสมาธิอยู่
เทวดาผู้สถิตอยู่ในโลกธาตุมีหมื่นจักรวาล
พากันเปล่งเสียงอย่างกึกก้องว่า
‘ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๘๒] นิมิตเหล่าใดที่เคยปรากฏ
ในขณะที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
นั่งขัดสมาธิอย่างประเสริฐ
นิมิตเหล่านั้นก็ปรากฏในวันนี้
[๘๓] ความหนาวก็บำราศไป และความร้อนก็สงบ
นิมิตเหล่านั้นปรากฏในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๘๔] โลกธาตุมีหมื่นจักรวาล ปราศจากเสียง
หมดความวุ่นวาย นิมิตเหล่านั้นปรากฏในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๘๕] ลมพายุไม่พัด แม่น้ำทั้งหลายก็ไม่ไหล
นิมิตเหล่านั้นปรากฏในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๘๖] ดอกไม้ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นพันธุ์ไม้บก
และพันธุ์ไม้น้ำทุกชนิดต่างก็ผลิดอกในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ดอกไม้เหล่านั้นก็บานหมดทุกดอก
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๘๗] ไม้เถาหรือไม้ต้นต่างก็เผล็ดผลแล้วในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ ไม้ผลเหล่านั้นก็เผล็ดผลแล้วทุกต้น
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๘๘] รัตนะทั้งหลายที่อยู่ในอากาศ
และที่อยู่บนพื้นดินสว่างไสวแล้วในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ รัตนะเหล่านั้นก็สว่างไสว
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๘๙] ดนตรีทั้งหลาย ทั้งที่เป็นของมนุษย์
และเป็นของทิพย์ ต่างก็บรรเลงขึ้นแล้วในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ ดนตรีทั้ง ๒ อย่างนั้นก็บรรเลง
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๙๐] ทิพยบุปผชาติอันวิจิตร ต่างก็ตกลงจากท้องฟ้าในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ ทิพยบุปผชาติเหล่านั้นก็ปรากฏ
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๙๑] มหาสมุทรย่อมกระฉ่อน โลกธาตุมีหมื่นจักรวาลก็ไหว
แม้ในวันนี้ ทั้ง ๒ นั้น(มหาสมุทรและโลกธาตุ)ก็บันลือลั่น
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๙๒] ไฟนรกนับหมื่นดวงก็ดับลงในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ ไฟนรกนั้นก็ดับแล้ว
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๙๓] ดวงอาทิตย์ปราศจากมลทิน
ดาวทุกดวงต่างก็สุกสกาว
แม้ในวันนี้ ดวงอาทิตย์และดวงดาวต่างก็ผ่องแผ้วสุกใส
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๙๔] ทั้งที่ฝนไม่ตกเลย (แต่)น้ำในแม่น้ำ
กลับเอ่อขึ้นจากแผ่นดินในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ น้ำในแม่น้ำนั้นก็เอ่อขึ้นจากแผ่นดิน
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๙๕] หมู่ดาวนพเคราะห์และหมู่ดาวนักษัตร
เปล่งประกายสว่างทั่วท้องฟ้า
ดวงจันทร์ประกอบด้วยวิสาขฤกษ์แจ่มจรัส
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๙๖] สัตว์ทั้งหลายจำพวกที่อยู่ในรู
และจำพวกที่อาศัยอยู่ตามซอก
ต่างก็พากันออกจากที่อยู่ของตน
แม้ในวันนี้ สัตว์เหล่านั้นละทิ้งที่อยู่อาศัย
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๙๗] ความไม่พอใจมิได้มีแก่สัตว์ทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายต่างพากันยินดีอยู่ทั่วกันในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ สัตว์ทั้งหลายก็ยินดีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๙๘] โรคทั้งหลายต่างก็สงบระงับลง
และความหิวโหยก็หายไปในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ ภาวะทั้ง ๒ อย่างนั้นก็ปรากฏเหมือนกัน
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๙๙] ราคะก็เบาบางลงไป โทสะ และโมหะ
ต่างก็ถดถอยไปในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ กิเลสเหล่านั้นก็ปราศจากไปจนหมดสิ้น
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๑๐๐] ภัยมิได้มีในขณะนั้น แม้ในวันนี้ ก็ปรากฏอย่างนั้น
เพราะเหตุนั้นเราทั้งหลายจึงรู้ได้ว่า
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๑๐๑] ขณะนั้น ธุลีมิได้ฟุ้งขึ้นไปในอากาศ
แม้ในวันนี้ ก็ปรากฏอย่างนั้น
เพราะเครื่องหมายนั้น เราทั้งหลายจึงรู้ได้ว่า
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๑๐๒] กลิ่นที่ไม่น่าปรารถนาก็ปราศไปหมดสิ้น
กลิ่นทิพย์ก็หอมฟุ้งตลบไป(ในขณะนั้น)
แม้ในวันนี้ กลิ่นหอมก็ฟุ้งตลบไป
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๑๐๓] เทวดาทั้งปวงก็ได้พากันปรากฏกาย(ในขณะนั้น)
เว้นแต่อรูปพรหม แม้ในวันนี้ ก็ปรากฏอย่างนั้นทั้งหมด
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๑๐๔] นรกทั้งหลายมีประมาณเท่าใด
ก็ได้ปรากฏทั้งหมดเท่านั้น ในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ ก็ปรากฏทั้งหมด
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๑๐๕] กำแพง ประตู และภูเขา
ก็มิได้เป็นสิ่งที่ปิดกั้นได้ในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ ทั้งหมดก็เปิดโล่ง
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๑๐๖] การจุติและการอุบัติ๑ก็มิได้มีในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ การจุติและการอุบัติเหล่านั้นก็ปรากฏ
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
นิมิตเหล่านี้ย่อมปรากฏ
เพื่อประโยชน์แก่การตรัสรู้ของสัตว์ทั้งหลาย
[๑๐๗] ท่านจงบำเพ็ญความเพียรให้มั่นคง
อย่าถอยกลับ จงก้าวไปข้างหน้าเถิด
แม้เราทั้งหลายก็รู้ความเพียรนั้นอย่างแจ่มแจ้งว่า
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน’
[๑๐๘] เราได้สดับพระพุทธดำรัสและคำ
ของเทวดาในหมื่นจักรวาลทั้ง ๒ แล้ว
ก็ยินดีร่าเริงบันเทิงใจ ได้คิดอย่างนี้ในกาลนั้นว่า
[๑๐๙] ‘พระพุทธชินเจ้าทั้งหลาย มีพระดำรัสไม่เป็นสอง
มีพระดำรัสไม่เป็นโมฆะ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ไม่มีพระดำรัสไม่จริง เราคงจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

เชิงอรรถ :
๑ การจุติ หมายถึงการตาย การอุบัติ หมายถึงเกิด (ขุ.พุทฺธ.อ. ๑๐๖/๑๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๑๑๐] พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ย่อมเที่ยงแท้แน่นอน เหมือนก้อนดินที่โยนขึ้นไปบนท้องฟ้า
ย่อมตกลงมาที่พื้นดินเป็นแน่
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีพระดำรัสไม่จริง
เราคงจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๑๑๑] พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ย่อมเที่ยงแท้แน่นอน เหมือนสัตว์ทั้งปวง
ต้องมีความตายเที่ยงแท้แน่นอน
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีพระดำรัสไม่จริง
เราคงจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๑๑๒] พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ย่อมเที่ยงแท้แน่นอน
เหมือนสิ้นราตรีแล้ว อาทิตย์ต้องอุทัยแน่
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีพระดำรัสไม่จริง
เราคงจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๑๑๓] พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ย่อมเที่ยงแท้แน่นอน เหมือนราชสีห์ลุกออกจากที่นอน
ต้องมีการบันลือสีหนาทแน่
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีพระดำรัสไม่จริง
เราคงจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๑๑๔] พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ย่อมเที่ยงแท้แน่นอน เหมือนสตรีมีครรภ์แก่
จะต้องมีการคลอดบุตรในครรภ์เป็นแน่
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีพระดำรัสไม่จริง
เราคงจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๑๑๕] เอาเถิด เราจักค้นหาพุทธการกธรรม๑จากสิบทิศ
คือข้างนี้ ๆ เบื้องบน เบื้องล่าง ตลอดทั่วธรรมธาตุ
[๑๑๖] ครั้งนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นทานบารมีเป็นข้อที่ ๑
ซึ่งเป็นทางใหญ่ที่ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลายในปางก่อน
ได้อบรมสั่งสมมา จึงเตือนตนเองว่า
[๑๑๗] ‘ท่านจงยึดทานบารมีข้อที่ ๑ นี้ บำเพ็ญให้มั่นคงก่อน
ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ
ท่านก็จงบำเพ็ญทานบารมีเถิด
[๑๑๘] หม้อที่เต็มด้วยน้ำซึ่งผู้ใดผู้หนึ่งจับคว่ำลง
น้ำย่อมไหลออกหมด ไม่ขังอยู่ในหม้อนั้น ฉันใด
[๑๑๙] ท่านเห็นผู้ขอทั้งชั้นต่ำ ชั้นกลาง และชั้นสูงแล้ว
จงให้ทานอย่าให้เหลือ ดุจหม้อน้ำที่เขาคว่ำลง ฉันนั้น
[๑๒๐] แต่พุทธธรรมเหล่านี้จักมีเพียงเท่านี้ก็หามิได้
เราจักค้นหาธรรมที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป
[๑๒๑] ครั้งนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นศีลบารมีเป็นข้อที่ ๒
ที่ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลายในปางก่อน
ได้อบรมสั่งสมมา จึงเตือนตนเองว่า
[๑๒๒] ‘ท่านจงยึดศีลบารมีข้อที่ ๒ นี้ บำเพ็ญให้มั่นคงก่อน
ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ
ท่านก็จงบำเพ็ญศีลบารมีเถิด
[๑๒๓] จามรีย่อมรักษาขนหาง(ของตน)ที่ติดข้องอยู่ในที่ไร ๆ
ก็ยอมตายในที่นั้น ไม่ยอมให้ขนหางเสียไป ฉันใด

เชิงอรรถ :
๑ พุทธการกธรรม ได้แก่ ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้ามี ๑๐ ประการ คือ (๑) ทาน (๒) ศีล (๓) เนกขัมมะ
(๔) ปัญญา (๕) วิริยะ (๖) ขันติ (๗) สัจจะ (๘) อธิษฐาน (๙) เมตตา (๑๐) อุเบกขา (ขุ.พุทฺธ.อ. ๑๑๕/๑๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๘๓ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น