Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๓-๘ หน้า ๔๕๔ - ๕๑๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓-๘ สุตตันตปิฎกที่ ๒๕ ขุททกนิกาย
อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์ จริยาปิฎก



พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๑๐. ปฏาจาราเถริยาปทาน
[๕๐๐] ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสกับหม่อมฉันว่า
‘เธออย่าเศร้าโศกถึงบุตรเลย
จงผ่อนคลายบ้างเถิด จงแสวงหาตนเองเถิด
จะเดือดร้อนอย่างไร้ประโยชน์ไปทำไม
[๕๐๑] บุตร ธิดา ญาติและพวกพ้อง
มีไว้เพื่อต้านทานคนผู้ถึงที่ตายไม่ได้เลย
บรรดาหมู่ญาติ ผู้ที่จะต้านทานได้ก็ไม่มี’
[๕๐๒] หม่อมฉันได้ฟังพระดำรัสของพระมุนีนั้นแล้ว
ได้บรรลุโสดาปัตติผล
บวชแล้วไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๕๐๓] หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุและเจโตปริยญาณ
เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระศาสดา
[๕๐๔] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
หม่อมฉันทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไปแล้ว
เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดปราศจากมลทิน
[๕๐๕] ครั้งนั้น หม่อมฉันเรียนวินัยทั้งปวง
ในสำนักของพระผู้ทรงรู้เห็นธรรมทั้งปวง
และกล่าวอธิบายพระวินัยทั้งปวงได้อย่างพิสดารตามเป็นจริง
[๕๐๖] พระชินเจ้าทรงพอพระทัยในคุณสมบัตินั้น
จึงทรงตั้งหม่อมฉันไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า
‘ปฏาจาราภิกษุณีเพียงผู้เดียวเลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายผู้ทรงวินัย’
[๕๐๗] พระศาสดาหม่อมฉันก็ปรนนิบัติแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ทำสำเร็จแล้ว
ภาระอันหนักหม่อมฉันก็ปลงลงได้แล้ว
ตัณหาที่นำไปสู่ภพหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรคนี้
[๕๐๘] กุลบุตรกุลธิดาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นคือความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง
หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
[๕๐๙] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๑๐] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๑๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ปฏาจาราภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปฏาจาราเถริยาปทานที่ ๑๐ จบ
เอกูโปสถิกวรรคที่ ๒ จบบริบูรณ์
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอกูโปสถิกาเถริยาปทาน ๒. สลฬปุปผิกาเถริยาปทาน
๓. โมทกทายิกาเถริยาปทาน ๔. เอกาสนทายิกาเถริยาปทาน
๕. ปัญจทีปทายิกาเถริยาปทาน ๖. นฬมาลิกาเถริยาปทาน
๗. มหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทาน ๘. เขมาเถริยาปทาน
๙. อุปปลวัณณาเถริยาปทาน ๑๐. ปฏาจาราเถริยาปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับจำนวนคาถาได้ ๕๐๙ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑. กุณฑลเกสีเถริยาปทาน
๓. กุณฑลเกสีวรรค
หมวดว่าด้วยพระเถรีชื่อกุณฑลเกสีเป็นต้น
๑. กุณฑลเกสีเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกุณฑลเกสีเถรี
(พระกุณฑลเกสีเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๒] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐี
ที่มีความรุ่งเรืองด้วยรัตนะต่าง ๆ ในกรุงหงสวดี
เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความสุขมาก
[๓] หม่อมฉันได้เข้าเฝ้าพระมหาวีระพระองค์นั้นแล้วได้ฟังธรรมที่สูงสุด
แต่นั้นหม่อมฉันเกิดความเลื่อมใส
ได้ถึงพระชินเจ้าเป็นสรณะ
[๔] ครั้งนั้น พระชินเจ้าทรงเป็นผู้นำ พระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา
ทรงตั้งภิกษุณีรูปหนึ่งผู้มีปัญญาดีไว้ในเอตทัคคะว่า
‘เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายผู้ขิปปาภิญญา(รู้ฉับพลัน)’
[๕] หม่อมฉันได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว เป็นผู้เบิกบาน
ได้ถวายทานแด่พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ซบศีรษะลงแทบพระยุคลบาท ปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๖] พระมหาวีรพุทธเจ้าตรัสอนุโมทนาว่า
‘นางผู้เจริญ ตำแหน่งใดที่เธอปรารถนาแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑. กุณฑลเกสีเถริยาปทาน
ตำแหน่งนั้นทั้งปวงจักสำเร็จแก่เธอ
เธอจงเป็นผู้มีสุขนิพพานเถิด
[๗] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๘] สตรีผู้นี้จักมีนามว่ากุณฑลเกสี ผู้เจริญ
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวิกาของพระศาสดาพระองค์นั้น’
[๙] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๐] หม่อมฉันจุติจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นยามา
จุติจากสวรรค์ชั้นยามานั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตนั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี
จุติจากสวรรค์ชั้นนิมมานรดีนั้นแล้วไปเกิดในสวรรคชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
[๑๑] เพราะอำนาจแห่งกรรมนั้น หม่อมฉันเกิดในภพใด ๆ
ในภพนั้น ๆ ก็ได้เป็นพระมเหสีของพระราชา
[๑๒] หม่อมฉันจุติจากสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีนั้นแล้ว
มาเกิดในหมู่มนุษย์ ได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ
และได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน
[๑๓] เสวยสมบัติทั้งในเทวโลกและในมนุษยโลก
มีความสุขทุกชาติ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกัปเป็นอันมาก
[๑๔] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
มีพระยศยิ่งใหญ่ พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑. กุณฑลเกสีเถริยาปทาน
[๑๕] ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี
เป็นใหญ่กว่านรชนในกรุงพาราณสีที่ประเสริฐสุด
ทรงเป็นผู้อุปัฏฐากของพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๖] หม่อมฉันเป็นธิดาคนที่ ๔ ของพระองค์
มีนามปรากฏว่าภิกขุทาสี
ได้ฟังธรรมของพระชินเจ้าผู้เลิศแล้วพอใจการบรรพชา
[๑๗] แต่พระชนกนาถมิได้ทรงอนุญาตให้หม่อมฉันทั้งหลายบวช
ครั้งนั้น หม่อมฉันทั้งหลายไม่เกียจคร้านครองเรือนอยู่ ๒๐,๐๐๐ ปี
[๑๘] พระราชกัญญาทั้ง ๗ พระองค์
มีความสุข ประพฤติพรหมจรรย์ตั้งแต่ยังเป็นกุมารี
เพลิดเพลินยินดีอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า
[๑๙] คือ (๑) พระนางสมณี (๒) พระนางสมณคุตตา
(๓) พระนางภิกษุณี (๔) พระนางภิกขุทาสิกา
(๕) พระนางธรรมา (๖) พระนางสุธรรมา
(๗) พระนางสังฆทาสิกา
[๒๐] (พระราชธิดาทั้ง ๗ นั้น ได้กลับชาติมาเกิด)
คือ หม่อมฉัน ๑ พระเขมาเถรี ๑
พระอุบลวรรณาเถรี ๑ พระปฏาจาราเถรี ๑
พระกีสาโคตมีเถรี ๑ พระธรรมทินนาเถรี ๑
และคนที่ ๗ เป็นวิสาขามหาอุบาสิกา
[๒๑] ด้วยกรรมทั้งหลายที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๒๒] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐี
ที่มีความเจริญในกรุงราชคฤห์ที่อุดมสมบูรณ์
เมื่อครั้งหม่อมฉันยังเป็นสาว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑. กุณฑลเกสีเถริยาปทาน
[๒๓] ได้เห็นราชบุรุษนำโจรไปเพื่อประหาร มีความรักในโจรคนนั้น
บิดาของหม่อมฉันใช้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ ปลดเปลื้องโจรนั้น
ให้หลุดพ้นจากการถูกประหาร
[๒๔] บิดาทราบจิตใจของหม่อมฉันแล้ว จึงยกหม่อมฉันให้โจรนั้น
หม่อมฉันไว้วางใจ เอ็นดู เกื้อกูลโจรคนนั้นยิ่งนัก
[๒๕] โจรนั้น มีความโลภในเครื่องประดับของหม่อมฉัน
แล้วคิดจะฆ่าหม่อมฉันผู้ช่วยนำเครื่องบวงสรวง
ไปยังเหวทิ้งโจรบนภูเขา
[๒๖] เวลานั้น หม่อมฉันเมื่อจะรักษาชีวิตของตนไว้
จึงประนมมือไหว้โจรผู้เป็นศัตรูที่ร้ายกาจแล้วกล่าวว่า
[๒๗] ‘นายผู้เจริญ สร้อยคอทองคำ แก้วมุกดา
และแก้วไพฑูรย์เป็นจำนวนมาก
ทั้งหมดนี้ นายเอาไปเถิด จงปล่อยดิฉันไป
และจงประกาศดิฉันให้ทราบว่าเป็นทาสีเถิด’
[๒๘] (โจรกล่าวว่า) ‘นี่แม่นาง จงเปลื้องออกมา
อย่ามัวรำพันนักเลย เรารู้เพียงว่า
ไม่ฆ่าเจ้าผู้มาถึงป่าแล้วไม่ได้’
[๒๙] (หม่อมฉันกล่าวว่า) ‘ตั้งแต่ดิฉันรู้เดียงสา จำความได้
ยังไม่รู้จักรักชายอื่นยิ่งไปกว่าท่านเลย
[๓๐] มาเถิด ดิฉันจักกอดท่าน
ขอทำประทักษิณท่าน ไหว้ท่าน
เพราะดิฉันกับท่านจะไม่มีโอกาสอยู่ร่วมกันอีก’
[๓๑] (เทวดาซึ่งสถิตอยู่ในที่นั้นได้กล่าวว่า)
‘บุรุษเท่านั้นจะเป็นคนฉลาดในฐานะทั้งปวง ก็หาไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑. กุณฑลเกสีเถริยาปทาน
แม้สตรีผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ในฐานะนั้น ๆ
ก็เป็นคนฉลาดได้
[๓๒] บุรุษเท่านั้นจะเป็นคนฉลาดในฐานะทั้งปวง ก็หาไม่
แม้สตรีผู้คิดเนื้อความได้ฉับไว ก็เป็นคนฉลาดได้’
[๓๓] ครั้งนั้น หม่อมฉันคิดได้หลาย ๆ เรื่องอย่างรวดเร็วและฉับไว
ดุจบ่อเกิดแห่งปัญญาที่เต็มด้วยความคิดจึงได้ฆ่าศัตรูที่ร้ายกาจ
[๓๔] ผู้ใดไม่รู้จักเรื่องที่เกิดขึ้นได้อย่างฉับพลัน
ผู้นั้นเป็นคนเขลา ย่อมถูกเขาฆ่าตาย
เหมือนโจรซึ่งถูกฆ่าที่ปากเหว
[๓๕] ผู้ใดรู้จักเรื่องที่เกิดขึ้นได้อย่างฉับพลัน
ผู้นั้นก็พ้นจากพวกศัตรูเบียดเบียน
เหมือนที่หม่อมฉันพ้นจากโจรซึ่งเป็นศัตรูในครั้งนั้น
[๓๖] เมื่อหม่อมฉันผลักศัตรูตกเหวไปแล้ว
ได้เข้าไปบวชยังสำนักของปริพาชกที่ครองผ้าขาว
[๓๗] ครั้งนั้น พวกปริพาชกใช้แหนบถอนผมของหม่อมฉัน
จนหมดแล้วให้บวช สอนลัทธิให้เนือง ๆ
[๓๘] หม่อมฉันเรียนลัทธินั้นแล้ว นั่งคนเดียวคิดถึงลัทธิ
ซึ่งทำมนุษย์ให้เป็นเยี่ยงสุนัขนั้น
[๓๙] ปริพาชกถือผมที่ถอนแล้วโยนไว้ใกล้หม่อมฉันแล้วก็หลีกไป
หม่อมฉันเห็นแล้วได้นิมิตเหมือนหมู่หนอนตั้งอยู่
[๔๐] แต่นั้น หม่อมฉันมีความสลดใจลุกขึ้น
ได้สอบถามพวกปริพาชกที่มีลัทธิเดียวกัน
พวกนั้นบอกว่า
‘ภิกษุศากยบุตรทั้งหลายย่อมรู้เรื่องนั้น’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑. กุณฑลเกสีเถริยาปทาน
[๔๑] หม่อมฉันเข้าไปหาพุทธสาวกแล้วถามเรื่องนั้น
พุทธสาวกเหล่านั้นพาหม่อมฉัน
ไปยังสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๔๒] พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำ
ทรงแสดงธรรมแก่หม่อมฉันว่า ‘ขันธ์ อายตนะ
และธาตุทั้งหลาย ไม่งาม ไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา’
[๔๓] หม่อมฉันได้ฟังพระธรรมของพระองค์แล้ว
ชำระธรรมจักษุให้หมดจดโดยวิเศษ
รู้แจ้งพระสัทธรรมแล้วได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบท
[๔๔] ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าอันหม่อมฉันทูลขอแล้วได้ตรัสว่า
‘เธอจงเป็นภิกษุณีมาเถิด นางผู้เจริญ’
หม่อมฉันอุปสมบทแล้ว ได้เห็นน้ำ
[๔๕] รู้จักสังขารที่มีความเกิดและความดับไปด้วยน้ำล้างเท้า
คิดว่า ‘สังขารแม้ทั้งปวง ก็เป็นอย่างนั้น’
[๔๖] จากนั้นจิตของหม่อมฉันหลุดพ้นแล้ว
เพราะไม่ถือมั่นโดยประการทั้งปวง
ในครั้งนั้น พระชินเจ้าทรงตั้งหม่อมฉันไว้ในเอตทัคคะว่า
‘เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ผู้ขิปปาภิญญา’
[๔๗] หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุและในเจโตปริยญาณ
เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระศาสดา
[๔๘] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
หม่อมฉันทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไปแล้ว
เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดปราศจากมลทิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑. กุณฑลเกสีเถริยาปทาน
[๔๙] พระศาสดาหม่อมฉันก็ปรนนิบัติแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
ภาระอันหนักหม่อมฉันก็ปลงลงได้แล้ว
ตัณหาที่นำไปสู่ภพหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
[๕๐] กุลบุตรกุลธิดาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นคือความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง
หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
[๕๑] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาญ
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ของหม่อมฉัน บริสุทธิ์ไพบูลย์
ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๕๒] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๓] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระภัททากุณฑลเกสีภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
กุณฑลเกสีเถริยาปทานที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๒. กีสาโคตมีเถริยาปทาน
๒. กีสาโคตมีเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกีสาโคตมีเถรี
(พระกีสาโคตมีเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๕] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๕๖] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในตระกูลหนึ่งในกรุงหงสวดี
ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่านรชนพระองค์นั้น
แล้วได้ถึงพระองค์เป็นสรณะ
[๕๗] หม่อมฉันได้ฟังธรรมของพระองค์
ซึ่งประกอบด้วยสัจจะ ๔ ที่ไพเราะจับใจอย่างยิ่ง
นำมาซึ่งสันติสุขแห่งจิต
[๕๘] แม้ครั้งนั้น พระธีรเจ้าผู้สูงสุดแห่งบุรุษ
ทรงยกย่องตั้งภิกษุณีรูปหนึ่ง ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
ไว้ในเอตทัคคะ
[๕๙] หม่อมฉันได้ฟังคุณของภิกษุณีนั้นแล้ว เกิดปีติมิใช่น้อย
ทำสักการะพระพุทธเจ้าตามกำลังความสามารถ
[๖๐] หมอบลงใกล้พระธีรมุนีแล้ว ปรารถนาตำแหน่งนั้น
ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำ
ตรัสอนุโมทนาเพื่อการได้ตำแหน่งว่า
[๖๑] ‘ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๖๒] สตรีผู้นี้ จักมีนามปรากฏว่ากีสาโคตมี
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวิกาของพระศาสดาพระองค์นั้น’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๒. กีสาโคตมีเถริยาปทาน
[๖๓] ครั้งนั้น หม่อมฉันได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว
เป็นผู้มีความยินดี มีจิตประกอบด้วยเมตตา
บำรุงพระชินเจ้า ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ด้วยปัจจัยทั้งหลายจนตลอดชีวิต
[๖๔] ด้วยกรรมทั้งหลายที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๖๕] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
มีพระยศยิ่งใหญ่พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๖๖] ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี
ทรงเป็นใหญ่กว่านรชนในกรุงพาราณสีที่ประเสริฐสุด
ทรงเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๖๗] หม่อมฉันเป็นธิดาคนที่ ๕ ของพระองค์
มีนามปรากฏว่าธรรมา ได้ฟังธรรมของพระชินเจ้าผู้เลิศแล้ว
พอใจการบรรพชา
[๖๘] แต่พระชนกนาถมิได้ทรงอนุญาตให้หม่อมฉันทั้งหลายบวช
ครั้งนั้น หม่อมฉันทั้งหลายไม่เกียจคร้าน ครองเรือนอยู่ ๒๐,๐๐๐ ปี
[๖๙] พระราชกัญญาทั้ง ๗ พระองค์
มีความสุข ประพฤติพรหมจรรย์ตั้งแต่ยังเป็นกุมารี
เพลิดเพลินยินดีอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า
[๗๐] คือ (๑) พระนางสมณี (๒) พระนางสมณคุตตา
(๓) พระนางภิกษุณี (๔) พระนางภิกขุทาสิกา
(๕) พระนางธรรมา (๖) พระนางสุธรรมา
(๗) พระนางสังฆทาสิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๒. กีสาโคตมีเถริยาปทาน
[๗๑] (พระราชธิดาทั้ง ๗ นั้นได้กลับชาติมาเกิด)
คือพระเขมาเถรี ๑ พระอุบลวรรณาเถรี ๑
พระปฏาจาราเถรี ๑ พระกุณฑลเกสีเถรี ๑
หม่อมฉัน ๑ พระธรรมทินนาเถรี ๑
และคนที่ ๗ เป็นวิสาขามหาอุบาสิกา
[๗๒] ด้วยกรรมทั้งหลายที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๗๓] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐี
ที่ตกยาก จนทรัพย์ เป็นตระกูลที่ต่ำต้อย
ได้(แต่งงาน)ไปยังตระกูลที่มีทรัพย์
[๗๔] ชนทั้งหลายที่เหลือเว้นสามีของหม่อมฉัน
เกลียดชังว่าเป็นหญิงไม่มีทรัพย์
เมื่อหม่อมฉันคลอดบุตรแล้ว ก็เป็นที่ชื่นชอบของชนทั้งปวง
[๗๕] ในคราวที่บุตรยังเป็นเด็กอ่อน มีความสุข
เป็นที่รักใคร่ของหม่อมฉันเหมือนดังชีวิตของตน
ก็ตกไปยังอำนาจของพญายม(ตายไป)
[๗๖] หม่อมฉันอัดอั้นตันใจด้วยความเศร้าโศก
มีหน้าเศร้าหมอง ร้องไห้น้ำตานองหน้า
อุ้มศพลูกที่ตายแล้วเที่ยวพูดบ่นเพ้อไป
[๗๗] ครั้งนั้น หม่อมฉันอันบุรุษคนหนึ่งเห็นแล้ว
พาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นนายแพทย์ที่ประเสริฐที่สุด
จึงได้ทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระองค์โปรดประทานยาให้บุตรคืนชีพด้วยเถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๒. กีสาโคตมีเถริยาปทาน
[๗๘] พระชินเจ้าผู้ทรงฉลาดในอุบายแนะนำรับสั่งว่า
‘ในเรือนหลังใดไม่มีคนตาย
เธอจงไปนำเมล็ดพันธุ์ผักกาดจากเรือนหลังนั้นมา’
[๗๙] ครั้งนั้น หม่อมฉันไปจนทั่วกรุงสาวัตถี
ไม่ได้พบเรือนเช่นนั้นเลย
เพราะเหตุนั้น หม่อมฉันจึงกลับได้สติว่า
จักได้เมล็ดพันธุ์ผักกาดแต่ที่ไหน
[๘๐] จึงทิ้งศพแล้วเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก พระองค์ผู้มีพระสุรเสียงอันไพเราะ
ทอดพระเนตรเห็นหม่อมฉันแต่ที่ไกล แล้วตรัสว่า
[๘๑] ‘ก็ความเป็นอยู่เพียงวันเดียวของบุคคลผู้เห็นความเกิดขึ้น
และความเสื่อมไป ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี
ของบุคคลผู้มิได้เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป
[๘๒] ธรรมนี้ ไม่ใช่ธรรมสำหรับชาวบ้าน
ไม่ใช่ธรรมสำหรับชาวนิคม ไม่ใช่ธรรมสำหรับสกุลเดียว
แต่เป็นธรรมสำหรับชาวโลกทั้งปวงพร้อมทั้งเทวโลก
ธรรมนั่นคืออนิจจตา (ความไม่เที่ยง)’
[๘๓] หม่อมฉันได้ฟังคาถาเหล่านี้แล้ว
ได้ชำระธรรมจักษุให้หมดจดโดยพิเศษ
แต่นั้น รู้แจ้งพระสัทธรรมแล้วได้บวชเป็นบรรพชิต
[๘๔] แม้เมื่อบวชแล้วอย่างนั้น
ประกอบความเพียรในศาสนาของพระชินเจ้า
ไม่นานนักก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๘๕] หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุและในเจโตปริยญาณ
เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของศาสดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๒. กีสาโคตมีเถริยาปทาน
[๘๖] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
หม่อมฉันทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นแล้ว
เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดปราศจากมลทิน
[๘๗] พระศาสดาหม่อมฉันก็ปรนนิบัติแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
ภาระอันหนักหม่อมฉันก็ปลงลงได้แล้ว
ตัณหาที่นำไปสู่ภพหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
[๘๘] กุลบุตรกุลธิดาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นคือความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง
หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
[๘๙] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ของหม่อมฉันบริสุทธิ์ไพบูลย์
เพราะอำนาจของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๙๐] หม่อมฉันเก็บผ้ามาจากกองขยะ ป่าช้า ทางรถและทางเกวียน
แล้วทำเป็นผ้าสังฆาฏิจากผ้านั้น
ทรงจีวรที่เศร้าหมอง
[๙๑] พระชินเจ้า ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ทรงพอพระทัยในคุณสมบัติคือการทรงจีวรเศร้าหมองนั้น
จึงทรงแต่งตั้งหม่อมฉันไว้ในเอตทัคคะในบริษัททั้งหลาย
[๙๒] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็ได้เผาแล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๙๓] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๓. ธัมมทินนาเถริยาปทาน
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๙๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระกีสาโคตมีภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กีสาโคตมีเถริยาปทานที่ ๒ จบ
๓. ธัมมทินนาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระธรรมทินนาเถรี
(พระธรรมทินนาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙๕] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๙๖] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในตระกูลหนึ่งในกรุงหงสวดี
เป็นผู้มีปัญญา สำรวมอยู่ในศีล รับจ้างทำงานของคนอื่น
[๙๗] พระเถระนามว่าสุชาตะ
อัครสาวกของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ออกจากวิหารไปบิณฑบาต
[๙๘] ครั้งนั้น หม่อมฉันเป็นคนหาบน้ำ ถือหม้อน้ำเดินไปอยู่
เห็นท่านแล้วเลื่อมใส ได้ถวายขนมด้วยมือของตน
[๙๙] ท่านรับแล้วนั่งฉัน ณ ที่นั้นเอง
แต่นั้นหม่อมฉันนิมนต์ท่านไปยังเรือน
ได้ถวายโภชนาหารแก่ท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๓. ธัมมทินนาเถริยาปทาน
[๑๐๐] จากนั้น เจ้านายของหม่อมฉันมีความยินดีแล้ว
ได้แต่งหม่อมฉันเป็นลูกสะใภ้ของตน
หม่อมฉันได้ไปถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมกับแม่ผัว
[๑๐๑] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงประกาศแต่งตั้งภิกษุณีรูปหนึ่ง
ผู้เป็นธรรมกถึกไว้ในเอตทัคคะ
หม่อมฉันได้ฟังพุทธดำรัสนั้นแล้วมีความเบิกบาน
[๑๐๒] ได้ทูลนิมนต์พระสุคตทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก พร้อมทั้งพระสงฆ์
ถวายมหาทานแล้ว ปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๑๐๓] ลำดับนั้น พระสุคตผู้มีพระสุระเสียงไพเราะดุจเมฆคำรน
ได้ตรัสกับหม่อมฉันว่า ‘เธอจงยินดีบำรุง อังคาสเราพร้อมทั้งพระสงฆ์
[๑๐๔] ขวนขวายในการสดับพระสัทธรรม
มีใจเจริญด้วยคุณธรรม เธอผู้เจริญ
เธอจงเป็นผู้เบิกบานเถิด เธอจักได้ตำแหน่งนั้น
ซึ่งเป็นผลแห่งความปรารถนา
[๑๐๕] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๑๐๖] สตรีผู้นี้จักมีนามปรากฏว่าธรรมทินนา
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวิกาของพระศาสดาพระองค์นั้น’
[๑๐๗] หม่อมฉันได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้วเป็นผู้มีความยินดี
มีจิตประกอบด้วยเมตตา บำรุงพระมหามุนี
ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษด้วยปัจจัยทั้งหลายจนตลอดชีวิต
[๑๐๘] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๓. ธัมมทินนาเถริยาปทาน
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๐๙] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
มีพระยศยิ่งใหญ่ พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๑๑๐] ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี
ทรงเป็นใหญ่กว่านรชนในกรุงพาราณสีที่ประเสริฐสุด
ทรงเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๑๑] หม่อมฉันเป็นธิดาคนที่ ๖ ของพระองค์
มีนามปรากฏว่าสุธรรมา ได้ฟังธรรมของพระชินเจ้าผู้เลิศแล้ว
พอใจการบรรพชา
[๑๑๒] แต่พระชนกนาถมิได้ทรงอนุญาตให้หม่อมฉันทั้งหลายบวช
ครั้งนั้น หม่อมฉันทั้งหลายไม่เกียจคร้าน ครองเรือนอยู่ ๒๐,๐๐๐ ปี
ภาณวารที่ ๓ จบ
[๑๑๓] พระราชกัญญาทั้ง ๗ องค์
มีความสุข ประพฤติพรหมจรรย์ตั้งแต่ยังเป็นกุมารี
เพลิดเพลินยินดีอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า
[๑๑๔] คือ (๑) พระนางสมณี (๒) พระนางสมณคุตตา
(๓) พระนางภิกษุณี (๔) พระนางภิกขุทาสิกา
(๕) พระนางธรรมา (๖) พระนางสุธรรมา
(๗) พระนางสังฆทาสิกา
[๑๑๕] (พระราชธิดาทั้ง ๗ นั้นได้กลับชาติมาเกิด)
คือ พระเขมาเถรี ๑ พระอุบลวรรณาเถรี ๑
พระปฏาจาราเถรี ๑ พระกุณฑลเกสีเถรี ๑
หม่อมฉัน ๑ พระกีสาโคตมีเถรี ๑
และคนที่ ๗ เป็นวิสาขามหาอุบาสิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๓. ธัมมทินนาเถริยาปทาน
[๑๑๖] ด้วยกรรมทั้งหลายที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๑๗] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐี
ที่มีความเจริญมั่งคั่งให้สำเร็จความประสงค์ทั้งปวง
ในกรุงราชคฤห์ที่ประเสริฐสุด
[๑๑๘] ในคราวที่หม่อมฉันดำรงอยู่ในปฐมวัยรุ่นสาว
ประกอบด้วยรูปสมบัติ ได้ไปสู่ตระกูลอื่น (แต่งงาน)
เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความสุขอยู่
[๑๑๙] สามีของหม่อมฉันเป็นผู้มีความรู้ดี
เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลก
สดับพระธรรมเทศนาแล้วได้บรรลุอนาคามิผล
[๑๒๐] ครั้งนั้น หม่อมฉันได้ขออนุญาตสามีนั้นแล้ว
ออกบวชเป็นบรรพชิต โดยกาลไม่นานนักก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๑๒๑] ครั้งนั้น สามีผู้เป็นอุบาสกนั้นได้เข้าไปหาหม่อมฉันแล้ว
ได้ถามปัญหาที่ละเอียดลึกซึ้งมาก
หม่อมฉันแก้ปัญหาทั้งหมดนั้นได้
[๑๒๒] พระชินเจ้าทรงพอพระทัยในคุณสมบัตินั้น
จึงทรงตั้งหม่อมฉันไว้ในเอตทัคคะด้วยพระดำรัสว่า
‘เรามิได้เห็นภิกษุณีรูปอื่น ผู้เป็นพระธรรมกถึก
เหมือนภิกษุณีธัมมทินนานี้เลย
[๑๒๓] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำ
ภิกษุณีธรรมทินนาว่าเป็นนักปราชญ์’
หม่อมฉันอันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นผู้นำทรงอนุเคราะห์แล้ว
ชื่อว่าเป็นบัณฑิตอย่างนี้
[๑๒๔] พระศาสดาหม่อมฉันก็ปรนนิบัติแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันได้ทำแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๓. ธัมมทินนาเถริยาปทาน
ภาระอันหนักหม่อมฉันก็ปลงลงได้แล้ว
ตัณหาที่นำไปสู่ภพหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
[๑๒๕] กุลบุตรกุลธิดาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นคือความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง
หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
[๑๒๖] หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุและในเจโตปริยญาณ
เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
[๑๒๗] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
หม่อมฉันทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นแล้ว
เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดปราศจากมลทิน
[๑๒๘] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็ได้เผาแล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๒๙] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๓๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระธรรมทินนาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ธัมมทินนาเถริยาปทานที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๔. สกุลาเถริยาปทาน
๔. สกุลาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสกุลาเถรี
(พระสกุลาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๓๑] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๑๓๒] พระองค์เป็นผู้ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย
เป็นบุรุษอาชาไนย
ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข
เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
[๑๓๓] พระชินเจ้า ผู้มีพระยศอันเลิศ มีพระสิริ
มีพระเกียรติคุณฟุ้งขจรไป อันชาวโลกทั้งปวงบูชาแล้ว
มีพระคุณปรากฏไปทั่วทิศ
[๑๓๔] พระองค์ทรงข้ามพ้นความสงสัยแล้ว
ทรงล่วงความเคลือบแคลงแล้ว
มีความดำริในพระหทัยบริบูรณ์เต็มที่
ทรงบรรลุสัมโพธิญาณที่ประเสริฐสุด
[๑๓๕] พระองค์ทรงเป็นผู้สูงสุดแห่งนระ
ทรงทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก
ทรงทำธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดพร้อม
[๑๓๖] พระองค์ทรงรู้มรรค รู้แจ้งมรรค
ตรัสบอกมรรค เป็นผู้องอาจกว่านรชน
เป็นพระศาสดาผู้ฉลาดในมรรค
ผู้ประเสริฐสูงสุด ในบรรดาสารถีทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๔. สกุลาเถริยาปทาน
[๑๓๗] ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา ผู้เป็นที่พึ่ง ทรงเป็นผู้นำ
ทรงแสดงธรรมถอนเหล่าสัตว์ผู้จมอยู่ในเปือกตมคือกาม
[๑๓๘] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดเป็นนางกษัตริย์ในกรุงหงสวดี
มีนามว่านันทนา
มีรูปสวย รวยทรัพย์ น่าเอ็นดู มีสิริ
[๑๓๙] เป็นธิดาของมหาราชพระนามว่าอานันทะ งดงามอย่างยิ่ง
เป็นภคินีต่างมารดาของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
[๑๔๐] ห้อมล้อมด้วยราชกัญญาทั้งหลาย
ประดับด้วยเครื่องอาภรณ์ทุกชนิด
เข้าไปเฝ้าพระมหาวีระ ได้ฟังพระธรรมเทศนา
[๑๔๑] ครั้งนั้น พระมหาวีรเจ้าพระองค์นั้นผู้ทรงรู้แจ้งโลก
ทรงตั้งภิกษุณีรูปหนึ่ง ผู้มีทิพยจักษุไว้ในเอตทัคคะ
ในท่ามกลางบริษัท ๔
[๑๔๒] หม่อมฉันได้ฟังพุทธดำรัสนั้นแล้ว มีความร่าเริง
ถวายทานแด่พระศาสดาและบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ได้ปรารถนาทิพยจักษุ
[๑๔๓] จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสกับหม่อมฉันว่า
‘นันทนา เธอจักได้ตำแหน่งตามที่เธอปรารถนา
ตำแหน่งที่เธอปรารถนานี้เป็นผลแห่งประทีปธรรมและทาน
[๑๔๔] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๑๔๕] สตรีผู้นี้จักมีนามว่าสกุลา
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวิกาของพระศาสดาพระองค์นั้น’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๔. สกุลาเถริยาปทาน
[๑๔๖] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๔๗] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
มีพระยศยิ่งใหญ่พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๑๔๘] ครั้งนั้น หม่อมฉันเป็นปริพาชิกา ประพฤติอยู่ผู้เดียว
เที่ยวภิกขาจารได้เพียงน้ำมัน
[๑๔๙] มีใจผ่องใส ใช้น้ำมันนั้นตามประทีปบูชา
พระเจดีย์ชื่อว่าสัพพสังวร
ของพระพุทธเจ้าผู้เลิศกว่าเทวดาและมนุษย์
[๑๕๐] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๕๑] เพราะอำนาจแห่งกรรมนั้น หม่อมฉันเกิดในที่ใด ๆ
ประทีปเป็นอันมากส่องแสงสว่างเพื่อหม่อมฉันผู้อยู่ในที่นั้น ๆ
[๑๕๒] หม่อมฉันเห็นสิ่งที่อยู่นอกฝาหรือสิ่งที่อยู่นอกกำแพง
และเห็นทะลุภูเขาตามที่ปรารถนา
นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป
[๑๕๓] หม่อมฉันมีนัยน์ตาแจ่มใส รุ่งเรืองด้วยยศ
มีศรัทธา มีปัญญา
นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป
[๑๕๔] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย หม่อมฉันเกิดในตระกูลมหาศาล
มีทรัพย์และข้าวเปลือกมากมาย
ที่มหาชนยินดี พระราชาทรงบูชา (ยกย่อง)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๔. สกุลาเถริยาปทาน
[๑๕๕] หม่อมฉันผู้สมบูรณ์ด้วยอวัยวะทั้งปวง
ประดับด้วยเครื่องอาภรณ์ทุกชนิด ยืนอยู่ที่หน้าต่าง
ได้เห็นพระสุคตเสด็จเข้าไปในเมือง
[๑๕๖] พระองค์ทรงรุ่งเรืองด้วยพระยศ
อันเทวดาและมนุษย์สักการบูชา
ทรงสมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ
ประดับด้วยพระลักษณะทั้งหลาย
[๑๕๗] หม่อมฉันมีจิตเบิกบาน มีใจยินดี
บวชแล้วไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๑๕๘] หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุและในเจโตปริยญาณ
เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระศาสดา
[๑๕๙] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
หม่อมฉันทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นแล้ว
เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดปราศจากมลทิน
[๑๖๐] พระศาสดาหม่อมฉันก็ปรนนิบัติแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันได้ทำแล้ว
ภาระอันหนักหม่อมฉันก็ปลงลงได้แล้ว
ตัณหาที่นำไปสู่ภพหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
[๑๖๑] กุลบุตรกุลธิดาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นคือความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง
หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
[๑๖๒] จากนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา
ผู้สูงสุดแห่งนรชน ทรงตั้งหม่อมฉันไว้ในเอตทัคคะว่า
‘สกุลาภิกษุณีเป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุณีทั้งหลายฝ่ายผู้มีทิพยจักษุ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๕. นันทาเถริยาปทาน
[๑๖๓] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๖๔] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๖๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระสกุลาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สกุลาเถริยาปทานที่ ๔ จบ
๕. นันทาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนันทาเถรี
(พระนันทาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๖๖] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๑๖๗] พระองค์เป็นผู้ตรัสสอน ทรงแสดงธรรมให้สัตว์รู้ชัดได้
ทรงช่วยสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้น(วัฏฏสงสาร)
ทรงฉลาดในเทศนา เป็นพระพุทธเจ้า
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๕. นันทาเถริยาปทาน
[๑๖๘] พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา
ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลเพื่อสรรพสัตว์
ทรงทำเดียรถีย์ที่มาเฝ้าทั้งหมดให้ดำรงอยู่ในเบญจศีล
[๑๖๙] เมื่อเป็นเช่นนี้ ศาสนาจึงหมดความอากูล(หมดเสี้ยนหนาม)
ว่างจากพวกเดียรถีย์และงดงามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย
ผู้ได้วสี ผู้คงที่
[๑๗๐] พระมหามุนีพระองค์นั้นทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก
มีพระฉวีเปล่งปลั่งดังทองคำที่ล้ำค่า
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ
[๑๗๑] ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
พระชินสีห์พระองค์นั้น
ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๑๗๒] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐี
ที่มีความรุ่งเรืองด้วยรัตนะต่าง ๆ ในกรุงหงสวดี
เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความสุขมาก
[๑๗๓] หม่อมฉันได้เข้าเฝ้าพระมหาวีระพระองค์นั้นแล้ว
ได้ฟังพระธรรมเทศนาอันประกาศถึงปรมัตถธรรม
ที่ไพเราะอย่างจับใจยิ่งนัก ซึ่งเป็นอมตธรรม
[๑๗๔] ครั้งนั้น หม่อมฉันมีความเลื่อมใส
ได้ทูลนิมนต์พระพุทธผู้เจ้าทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกพร้อมทั้งพระสงฆ์
ได้ถวายมหาทานแด่พระองค์ด้วยมือของตน
[๑๗๕] ได้ซบศีรษะลงใกล้พระวีรเจ้า
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก พร้อมทั้งพระสงฆ์
ปรารถนาตำแหน่งที่เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายผู้เข้าฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๕. นันทาเถริยาปทาน
[๑๗๖] ครั้งนั้น พระสุคตผู้ฝึกนรชนที่ยังไม่ได้ฝึก
เป็นที่พึ่งของโลกทั้ง ๓ ทรงเป็นใหญ่
ทรงพยุงนรชนไว้เป็นอย่างดีตรัสพยากรณ์ว่า
‘เธอจักได้ตำแหน่งที่เธอปรารถนาไว้ดีแล้วนั้น
[๑๗๗] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๑๗๘] สตรีผู้นี้จักมีนามปรากฏว่านันทา
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นสาวิกาของพระศาสดาพระองค์นั้น’
[๑๗๙] ครั้งนั้น หม่อมฉันได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้วเป็นผู้มีความยินดี
มีจิตประกอบด้วยเมตตา บำรุงพระชินเจ้า ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ด้วยปัจจัยทั้งหลายจนตลอดชีวิต
[๑๘๐] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๘๑] หม่อมฉันจุติจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นยามา
จุติจากสวรรค์ชั้นยามานั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตนั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี
จุติจากสวรรค์ชั้นนิมมานรดีนั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
[๑๘๒] เพราะอำนาจแห่งกรรมนั้น หม่อมฉันเกิดในภพใด ๆ
ในภพนั้น ๆ ก็ได้เป็นพระมเหสีของพระราชา
[๑๘๓] หม่อมฉันจุติจากสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีนั้นแล้ว
มาเกิดในหมู่มนุษย์ ได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ
และได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าแผ่นดินหลายชาติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๕. นันทาเถริยาปทาน
[๑๘๔] เสวยสมบัติทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก
มีความสุขทุกชาติ
เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกัปเป็นอันมาก
[๑๘๕] เมื่อถึงภพสุดท้าย
หม่อมฉันเกิดเป็นธิดาของพระเจ้าสุทโธทนะ
ในกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นผู้มีรูปสมบัติอันใคร ๆ ไม่นินทา
[๑๘๖] ราชสกุลนั้นเห็นหม่อมฉันมีรูปงามดังดวงอาทิตย์
จึงพากันชื่นชม เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงมีนามว่านันทา
เป็นผู้มีรูปลักษณ์ที่งดงามประเสริฐ
[๑๘๗] ในกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นราชธานีที่รื่นรมย์นั้น
นอกจากพระนางยโสธราแล้ว
ปรากฏว่าหม่อมฉันมีความงามกว่ายุวนารีทุกคน
[๑๘๘] พระเชฏฐภาดาก็เป็นพระพุทธเจ้าผู้เลิศในโลก ๓
พระภาดาองค์สุดท้ายก็เป็นพระอรหันต์
หม่อมฉันเป็นสตรีเพียงผู้เดียวที่เป็นคฤหัสถ์
พระมารดาทรงตักเตือนว่า
[๑๘๙] ‘ลูกรัก เจ้าเกิดในศากยสกุล
เป็นน้องของพระพุทธเจ้า เมื่อเว้นจากนันทกุมารแล้ว
จักได้ประโยชน์อะไรในวังเล่า’
[๑๙๐] ความเป็นหนุ่มสาว ก็มีความแก่เป็นที่สุด
รูปบัณฑิตรู้กันว่าเป็นของไม่สะอาด
แม้ไม่มีโรค ก็มีโรคเป็นที่สุด
ชีวิตมีความตายเป็นที่สุด
[๑๙๑] รูปที่สวยงามของเธอแม้นี้ น่าใคร่ดังดวงจันทร์
จูงใจให้นิยม อลังการด้วยเครื่องประดับทั้งหลาย
คล้ายกำหนดรู้ได้ด้วยสิริ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๕. นันทาเถริยาปทาน
[๑๙๒] ดุจเป็นสิ่งสำคัญของชาวโลกที่เขาบูชากัน
เป็นที่ดึงดูดแห่งนัยนา
เป็นที่ก่อเกิดการสรรเสริญบุญ
เป็นที่ชื่นชมแห่งวงศ์โอกกากราช
[๑๙๓] โดยกาลไม่นานนัก ความแก่ก็จักมาครอบงำลูกรัก
ผู้มีรูปอันใคร ๆ ไม่นินทา จงละพระราชฐานและรูปกาย
ที่บัณฑิตตำหนิแล้วประพฤติธรรมเถิด
[๑๙๔] หม่อมฉันผู้ยังโลเลในรูปที่ยังเป็นสาว
ได้ฟังพระดำรัสของพระมารดาแล้ว
ก็ออกบวชเป็นบรรพชิตแต่เพียงกาย
แต่หาออกบวชด้วยจิตใจไม่
[๑๙๕] หม่อมฉันระลึกถึงตนด้วยความขวนขวายตรวจตราอย่างมาก
พระมารดาตรัสตักเตือนเพื่อให้ประพฤติธรรม
แต่หม่อมฉันมิได้สนใจขวนขวายในการประพฤติธรรมนั้นเลย
[๑๙๖] ครั้งนั้น พระชินเจ้าผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา
ทอดพระเนตรเห็นหม่อมฉันผู้มีผิวหน้าดังดอกบัว
เพื่อให้หม่อมฉันเกิดความเบื่อหน่ายในรูปกาย
[๑๙๗] จึงทรงเนรมิตหญิงคนหนึ่งมีความงามน่าชม น่าชอบใจยิ่งนัก
ซึ่งมีรูปงามกว่าหม่อมฉัน ให้อยู่ในคลองแห่งจักษุของหม่อมฉัน
ด้วยอานุภาพของพระองค์
[๑๙๘] หม่อมฉันอัศจรรย์ใจ เพราะเห็นหญิงที่มีเรือนร่าง
อันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ก็คิดว่า ‘เราเห็นหญิงมนุษย์ดังกล่าว
นี้มีผลดีและเป็นลาภแก่นัยน์ตาของเรา
[๑๙๙] เชิญเถิดแม่คนงาม แม่จงบอกสิ่งที่ต้องประสงค์แก่ฉัน
ฉันจะให้ แม่จงบอกสกุล นาม
โคตรของเธอแก่ฉัน ถ้าเธอพอใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๕. นันทาเถริยาปทาน
[๒๐๐] แม่คนงาม เวลานี้ยังไม่ใช่เวลาแห่งปัญหา
แม่จงนอนหนุนตักเรา
ทับซ้อนร่างกายเราหลับสักครู่หนึ่งเถิด’
[๒๐๑] จากนั้นแม่คนแสนสวยก็นอนพาดศีรษะบนตักหม่อมฉัน
ของแข็งขนาดใหญ่ตกไปที่หน้าผากของนาง
[๒๐๒] พร้อมกับของแข็งที่ตกมากระทบ รอยโปนก็ปรากฏขึ้น
และทั้งหนองทั้งเลือดก็ไหลออกจากซากศพที่แตก
[๒๐๓] แม้ใบหน้าที่แตกแล้วนั้น ก็มีกลิ่นคล้ายซากศพเน่าโชยออกมา
ทั่วทั้งสรีระพองขึ้นเขียวคล้ำ
[๒๐๔] แม่คนสวยมีสรรพางค์กายสั่น หายใจหอบถี่ ๆ
เสวยทุกข์ของตนอยู่ รำพันอย่างน่าสงสาร
[๒๐๕] หม่อมฉันเป็นทุกข์เพราะทุกข์นั้น ต้องเวทนาจมอยู่ในทุกข์ใหญ่
ขอพระองค์ทรงเป็นที่พึ่ง แม่นางเป็นเพื่อนของหม่อมฉัน
[๒๐๖] ใบหน้าที่งามของแม่หายไปไหน
จมูกที่โด่งงามของแม่หายไปไหน
ริมฝีปากที่สวยเหมือนสีลูกมะพลับสุกของแม่หายไปไหน
วงหน้าที่งดงามของแม่หายไปไหน
[๒๐๗] วรรณะที่เปล่งปลั่งดังดวงจันทร์หายไปไหน
และลำคอที่คล้ายปล้องทองคำของแม่หายไปไหน
ใบหูของแม่ดังพวงดอกไม้ก็หมดสีสันวรรณะไปเสียแล้ว
[๒๐๘] ถันที่กลมกลึงคล้ายดอกบัวตูมทั้งคู่ของแม่แตกแล้ว
มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไปคล้ายซากศพเน่า
[๒๐๙] นางมีเอวคอดกลม มีตะโพกผึ่งผาย
นำสิ่งชั่วร้ายมาให้เหมือนเขียง
เต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่สะอาด โอ ! รูปไม่เที่ยง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๕. นันทาเถริยาปทาน
[๒๑๐] อวัยวะที่เกิดจากสรีระทั้งหมดมีกลิ่นเหม็นเน่า
น่ากลัว น่าเกลียดเหมือนซากศพในป่าช้า
ที่พวกคนเขลาพากันยินดี
[๒๑๑] ครั้งนั้น พระภาดาของหม่อมฉันผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา
ทอดพระเนตรเห็นหม่อมฉันผู้มีจิตสังเวช
จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า
[๒๑๒] ‘นันทา เธอจงดูรูปกายที่กระสับกระส่าย
เปื่อยเน่าดังซากศพ จงอบรมจิตให้ตั้งมั่นด้วยดี
มีอารมณ์เดียว ด้วยอารมณ์อันไม่งาม
[๒๑๓] รูปนี้เป็นฉันใด รูปของเธอนั้นก็เป็นฉันนั้น
รูปของเธอนั้นเป็นฉันใด รูปนี้ก็เป็นฉันนั้น
มีกลิ่นเหม็นเน่าฟุ้งไป
ที่พวกคนเขลาพากันยินดียิ่งนัก
[๒๑๔] เธอไม่เกียจคร้าน
พิจารณาเห็นรูปเป็นอย่างนั้น ทั้งกลางคืนกลางวัน
แต่นั้นจะเบื่อหน่ายยิ่งนักเห็นด้วยปัญญาของตน’
[๒๑๕] จากนั้น หม่อมฉันมีจิตสลด เพราะฟังคาถาสุภาษิต
ยืนอยู่ ณ ที่นั้น ก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๒๑๖] หม่อมฉันเข้าฌานตลอดเวลา ไม่ว่าจะนั่งอยู่ ณ ที่ใด ๆ
พระชินเจ้าทรงพอพระทัยในคุณสมบัตินั้น
จึงทรงตั้งหม่อมฉันไว้ในเอตทัคคะ
[๒๑๗] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๖. โสณาเถริยาปทาน
[๒๑๘] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๑๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระนันทาภิกษุณีผู้เป็นชนบทกัลยาณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้
นันทาเถริยาปทานที่ ๕ จบ
๖. โสณาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโสณาเถรี
(พระโสณาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๒๐] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๒๒๑] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐี เป็นผู้มีความสุข
ถูกประดับตกแต่ง เป็นที่รัก
เข้าไปเฝ้าพระมุนีผู้ประเสริฐพระองค์นั้น
ได้ฟังพระดำรัสที่ไพเราะ
[๒๒๒] พระชินเจ้าทรงสรรเสริญภิกษุณีรูปหนึ่งว่า
เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร
หม่อมฉันได้ฟังพุทธดำรัสนั้นแล้วเป็นผู้มีความยินดี
ทำสักการะพระศาสดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๖. โสณาเถริยาปทาน
[๒๒๓] หม่อมฉันไหว้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ได้ปรารถนาตำแหน่งนั้นในกาลนั้น
พระมหาวีรพุทธเจ้าทรงอนุโมทนาว่า
‘ความตั้งใจปรารถนาของเธอจักสำเร็จ
[๒๒๔] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๒๒๕] สตรีผู้นี้จักมีนามปรากฏว่าโสณา
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวิกาของพระศาสดาพระองค์นั้น’
[๒๒๖] หม่อมฉันได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว
เป็นผู้มีความยินดี มีจิตประกอบด้วยเมตตา
บำรุงพระชินเจ้า ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ด้วยปัจจัยทั้งหลายโดยประการเช่นนั้นจนตลอดชีวิต
[๒๒๗] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๒๒๘] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย
หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐี เจริญมั่งคั่งด้วยทรัพย์มาก
ในกรุงสาวัตถีที่ประเสริฐ
[๒๒๙] เมื่อหม่อมฉันเจริญวัยเป็นสาวแล้ว
ได้ไปสู่ตระกูลสามี คลอดบุตรชาย ๑๐ คน
ล้วนแต่มีรูปงามยิ่งนัก
[๒๓๐] บุตรทุกคนนั้นดำรงอยู่ในความสุข
ติดตาตรึงใจผู้คนให้นิยม แม้แต่พวกศัตรูก็ชอบใจ
สำหรับหม่อมฉันไม่ต้องพูดถึง พวกเขาเป็นที่รัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๖. โสณาเถริยาปทาน
[๒๓๑] ครั้งนั้น โดยที่หม่อมฉันไม่ต้องการ
สามีหม่อมฉันพร้อมด้วยบุตรทั้ง ๑๐ คน
พากันไปบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
[๒๓๒] ในกาลนั้น หม่อมฉันอยู่แต่ผู้เดียวคิดว่า ‘พอละด้วยชีวิตของเรา
ผู้พลัดพรากจากสามีและบุตร เป็นคนแก่ น่าสงสาร
[๒๓๓] แม้เราก็จักไปยังอารามที่สามีเราไปถึง’
ครั้นคิดอย่างนี้แล้วจึงบวชเป็นบรรพชิต
[๒๓๔] ครั้งนั้น พวกภิกษุณีปล่อยหม่อมฉันไว้ในสำนักแต่เพียงผู้เดียว
สั่งหม่อมฉันว่า ‘เธอจงต้มน้ำไว้’ แล้วก็พากันจากไป
[๒๓๕] ขณะนั้น หม่อมฉันนำน้ำมาแล้ว ใส่ลงไปในหม้อ
ตั้งบนก้อนเส้าแล้วนั่ง จากนั้นก็ตั้งจิตให้เป็นสมาธิ
[๒๓๖] ได้พิจารณาเห็นขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
ทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไปแล้ว ก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๒๓๗] เมื่อภิกษุณีกลับมาได้ถามถึงน้ำร้อน
หม่อมฉันอธิษฐานเตโชธาตุให้น้ำร้อนเร็วพลัน
[๒๓๘] ภิกษุณีเหล่านั้นพากันอัศจรรย์ใจ
ไปกราบทูลพระชินเจ้าผู้ประเสริฐให้ทรงทราบเรื่องนั้น
พระผู้เป็นนาถะทรงสดับเรื่องนั้นแล้วทรงชื่นชม ได้ตรัสคาถานี้ว่า
[๒๓๙] ‘แท้จริง บุคคลผู้ปรารภความเพียรอย่างหนัก
มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ก็ประเสริฐกว่าคนเกียจคร้าน
และละทิ้งความเพียรมีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี’
[๒๔๐] พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันให้ทรงพอพระทัยแล้ว
เพราะการปฏิบัติดี พระมหามุนีพระองค์นั้น
ตรัสสรรเสริญหม่อมฉันว่าเป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุณีทั้งหลาย
ผู้ปรารภความเพียร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๗. ภัททกาปิลานีเถริยาปทาน
[๒๔๑] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๔๒] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๔๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระโสณาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โสณาเถริยาปทานที่ ๖ จบ
๗. ภัททกาปิลานีเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระภัททกาปิลานีเถรี
(พระภัททกาปิลานีเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๔๔] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๒๔๕] ครั้งนั้น หม่อมฉันเป็นภริยาของเศรษฐีชื่อว่าวิเทหะ
มีรัตนะมาก ในกรุงหงสวดี
[๒๔๖] บางคราวเศรษฐีนั้นพร้อมด้วยชนที่เป็นบริวาร
เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นดังสุริยเทพบุตร
ได้ฟังพระธรรมอันนำความสิ้นทุกข์ทั้งปวงมาให้
ของพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๗. ภัททกาปิลานีเถริยาปทาน
[๒๔๗] พระองค์ทรงเป็นผู้นำประกาศสรรเสริญภิกษุ
ผู้เป็นสาวกรูปหนึ่งว่า เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุทั้งหลายผู้ถือธุดงค์
หม่อมฉันได้ฟังแล้ว ได้ถวายทานแด่พระพุทธเจ้าผู้คงที่ตลอด ๗ วัน
[๒๔๘] แล้วซบศีรษะลงแทบพระยุคลบาทปรารถนาตำแหน่งนั้น
ก็ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐแห่งนระ
เมื่อจะทรงให้บริษัทร่าเริง
[๒๔๙] ได้ตรัสคาถาเหล่านี้ เพื่อทรงอนุเคราะห์เศรษฐีว่า
‘ดูก่อนบุตร เธอจักได้ตำแหน่งที่เธอปรารถนา
จงเป็นผู้เย็นใจเถิด
[๒๕๐] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๒๕๑] เธอจักมีนามปรากฏว่ากัสสปะ ตามโคตร
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น
[๒๕๒] เศรษฐีได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว
เป็นผู้มีความยินดี มีจิตประกอบด้วยเมตตา
บำรุงพระชินเจ้า ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ด้วยปัจจัยทั้งหลายจนตลอดชีวิต
[๒๕๓] พระองค์ทรงประกาศศาสนาให้รุ่งเรืองแล้ว
ย่ำยีเดียรถีย์ผู้หลอกลวงได้แล้ว
ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ (คือผู้ที่ควรแนะนำได้)
พระองค์พร้อมทั้งพระสาวกปรินิพพานแล้ว
[๒๕๔] เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้เลิศในโลกนั้นปรินิพพานแล้ว
เพื่อจะบูชาพระศาสดา เศรษฐีนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๗. ภัททกาปิลานีเถริยาปทาน
จึงเชิญญาติและมิตรมาประชุมแล้ว
พร้อมกับญาติและมิตรเหล่านั้นได้สร้าง
[๒๕๕] พระสถูปรัตนะสูงได้ ๗ โยชน์
ซึ่งมีความรุ่งเรืองเหมือนดวงอาทิตย์
และเหมือนต้นพญาไม้สาละที่กำลังมีดอกบานสะพรั่ง
[๒๕๖] หม่อมฉันได้ให้ช่าง ๗ คนใช้รัตนะ ๗ ประการ
ทำตุม ๗๐๐,๐๐๐ ใบ ซึ่งโชติช่วงเหมือนไฟไหม้ไม้อ้อ
[๒๕๗] หม่อมฉันบรรจุน้ำมันหอมจนเต็ม
ตามประทีปไว้ ณ พระสถูปนั้น
เพื่อบูชาพระศาสดา ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ผู้ทรงอนุเคราะห์สรรพสัตว์
[๒๕๘] หม่อมฉันให้ช่างทำหม้อ ๗๐๐,๐๐๐ ใบ
ใส่รัตนะต่าง ๆ จนเต็มครบทุกใบ
เพื่อบูชาพระศาสดา ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๕๙] ในระหว่างกลางหม้อทุก ๘ ใบ ยกพวงทองตั้งประดับไว้
ซึ่งมีรัศมีรุ่งโรจน์เหมือนดวงอาทิตย์ในสารทกาล
[๒๖๐] ที่ประตูทั้ง ๔ มีเสาระเนียดซึ่งทำด้วยรัตนะ
ทั้งมีแผ่นกระดานที่ทำด้วยรัตนะน่ารื่นรมย์
ยกขึ้นไว้ย่อมงดงาม
[๒๖๑] คูและปล่องที่สร้างไว้อย่างดี ก็รุ่งโรจน์
ธงรัตนะที่ยกขึ้นไว้ล้วนงามไพโรจน์
[๒๖๒] พระเจดีย์ที่สร้างด้วยรัตนะนั้น
สร้างไว้อย่างสวยงาม มีสีสุก
มีรัศมีรุ่งโรจน์ดุจดวงจันทร์และดวงอาทิตย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๗. ภัททกาปิลานีเถริยาปทาน
[๒๖๓] พระสถูปของหม่อมฉันมี ๓ ด้าน ด้านหนึ่งบรรจุหรดาล
ด้านหนึ่งบรรจุมโนศิลา ด้านหนึ่งบรรจุแร่พลวงไว้จนเต็ม
[๒๖๔] หม่อมฉันให้ช่างทำเครื่องบูชาที่น่ายินดีเช่นนี้แล้ว
ได้ถวายทานแก่พระสงฆ์ผู้กล่าวธรรมที่ประเสริฐ
ตามกำลัง จนตลอดชีวิต
[๒๖๕] หม่อมฉันกับเศรษฐีนั้น ทำบุญเหล่านั้น
โดยประการทั้งปวงจนตลอดชีวิต
แล้วได้ไปเกิดในสุคติภพร่วมกัน
[๒๖๖] เสวยสมบัติทั้งหลายทั้งในเทวดาและในมนุษย์
เวียนว่ายตายเกิดร่วมกับเศรษฐีนั้น
ปานประหนึ่งว่าเงาติดตามตัว
[๒๖๗] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงเป็นผู้นำ
ทรงมีพระเนตรงาม ทรงเห็นแจ้งธรรมทั้งปวง เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๒๖๘] ครั้งนั้น ท่านเศรษฐีได้เกิดเป็นพราหมณ์ ในกรุงพันธุมดี
เป็นที่รู้จักกันดีว่า เป็นผู้มั่งคั่งด้วยคุณธรรม
แต่เป็นคนจนแสนจนด้วยทรัพย์
[๒๖๙] แม้ครั้งนั้น หม่อมฉันก็เป็นพราหมณีของพราหมณ์นั้น
มีความคิดอย่างเดียวกัน
บางครั้งพราหมณ์นั้นเข้าเฝ้าพระมหามุนี
[๒๗๐] ซึ่งประทับนั่งทรงแสดงอมตบทอยู่ในหมู่ชน
ได้ฟังธรรมแล้วเบิกบานใจ ได้ถวายผ้าสาฎกผืนหนึ่ง
[๒๗๑] มีผ้านุ่งผืนเดียวกลับไปเรือน แล้วได้บอกหม่อมฉันว่า
‘น้องหญิง เชิญอนุโมทนามหาบุญเถิด
ผ้าสาฎกพี่ได้ถวายพระพุทธเจ้าไปแล้ว’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๗. ภัททกาปิลานีเถริยาปทาน
[๒๗๒] ขณะนั้น หม่อมฉันมีความเอิบอิ่มประนมมือ
อนุโมทนาว่า ‘ข้าแต่สามี ผ้าสาฎกท่านถวายดีแล้ว
แด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้คงที่’
[๒๗๓] พราหมณ์มีความสุข ประดับตกแต่งแล้ว
เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินในกรุงพาราณสีที่น่ารื่นรมย์
[๒๗๔] ครั้งนั้น หม่อมฉันเป็นพระมเหสีผู้ประเสริฐกว่าพวกนางสนม
เป็นที่โปรดปรานอย่างยิ่งของท้าวเธอ เพราะความรักที่มีในกาลก่อน
[๒๗๕] พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น
ทอดพระเนตรเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ พระองค์
ผู้เที่ยวบิณฑบาต ทรงเบิกบานพระทัย
ได้ถวายอาหารบิณฑบาตที่มีราคามาก
[๒๗๖] นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไว้
ทรงสร้างรัตนมณฑปซึ่งประดับด้วยทองมีรัศมีเปล่งปลั่ง
ที่พวกช่างทองได้ทำไว้ซึ่งสูงประมาณ ๑๐๐ ศอก
[๒๗๗] ท้าวเธอทรงเลื่อมใส รับสั่งให้นิมนต์
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหมด
แล้วได้ทรงถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น
ซึ่งเข้ามาในพระราชนิเวศน์ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง
[๒๗๘] แม้ครั้งนั้น หม่อมฉันก็ได้ร่วมถวายทานนั้นกับพระเจ้ากาสี
ได้เกิดในกาสิกคามในกรุงพาราณสีอีก
[๒๗๙] พระเจ้ากาสีกับพระภาดามีความสุขอยู่ในตระกูลกุฎุมพีที่เจริญ
หม่อมฉันเป็นภรรยาของพี่ชายคนโต ปรนนิบัติสามีอย่างดี
[๒๘๐] น้องชายของสามีหม่อมฉัน เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว
นำอาหารของพี่ชายไปถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น
เมื่อพี่ชายผู้ซึ่งเป็นสามีของหม่อมฉันมาถึงแล้ว จึงได้บอก(สามี)ให้ทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๗. ภัททกาปิลานีเถริยาปทาน
[๒๘๑] เขาไม่ยินดีทาน จากนั้น หม่อมฉันก็ได้ให้อาหาร
ที่ตนนำมาเพื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายแก่สามีนั้น
สามีนั้นได้ถวายอาหารนั้น
แก่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นอีก
[๒๘๒] ขณะนั้น หม่อมฉันโกรธจึงเทอาหาร
ที่ถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นทิ้งเสีย
ได้ถวายบาตรที่เต็มด้วยเปือกตม
แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้คงที่นั้น
[๒๘๓] ครั้งนั้น หม่อมฉันเห็นใบหน้า มีจิตสงบของท่าน
ทั้งในการให้ การรับ การเคารพ
และการประทุษร้าย จึงสลดใจมาก
[๒๘๔] หม่อมฉันมีจิตเลื่อมใสรับบาตรมาแล้ว
ใช้น้ำหอมอย่างดีล้างจนสะอาด
บรรจุน้ำตาลกรวดกับเปรียงจนเต็มบาตรแล้วถวายคืน
[๒๘๕] หม่อมฉันเกิดในภพใด ๆ ก็มีรูปงาม
เพราะถวายทาน แต่มีกลิ่นตัวเหม็น
เพราะการย่ำยีที่กระทำไม่สมควรแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า
[๒๘๖] เมื่อพระเจดีย์ของพระธีรเจ้าพระนามว่ากัสสปะ
ซึ่งสามีหม่อมฉันได้ให้สร้างสำเร็จแล้ว
หม่อมฉันมีความยินดี ได้ถวายแผ่นอิฐทองคำอย่างดีอีก
[๒๘๗] ชุบอิฐนั้นให้ชุ่มด้วยของหอม ๔ ชนิด
จึงพ้นจากโทษที่มีกลิ่นตัวเหม็น
กลายเป็นผู้มีรูปทรงสมส่วนไปทั่วสรรพางค์กาย
[๒๘๘] ให้ช่างใช้รัตนะ ๗ ประการทำถาด ๗,๐๐๐ ถาด
เต็มไปด้วยเปรียง และไส้เป็นพัน ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๗. ภัททกาปิลานีเถริยาปทาน
[๒๘๙] ใส่ไปแล้วตามประทีปตั้งไว้ ๗ แถว
เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลก ด้วยจิตที่เลื่อมใส
[๒๙๐] แม้ครั้งนั้น หม่อมฉันมีส่วนในบุญนั้นโดยพิเศษ
สามีของหม่อมฉันไปเกิดในแคว้นกาสี
มีนามปรากฏว่าสุมิตตะ
[๒๙๑] หม่อมฉันเป็นภรรยาของเขา
มีความสุขอันเขาประดับตกแต่งแล้ว เป็นที่รัก
ครั้งนั้น สามีของหม่อมฉันได้ถวายผ้าโพกศีรษะเนื้อดี
แก่พระปัจเจกมุนี
[๒๙๒] แม้หม่อมฉันก็มีส่วนแห่งทานนั้น อนุโมทนาทานที่ประเสริฐ
สามีได้ไปเกิดในกำเนิดแห่งชาวโกลิยะในแคว้นกาสีอีก
[๒๙๓] ครั้งนั้น สามีของหม่อมฉันพร้อมด้วยบุตร
ของชาวโกลิยะ ๕๐๐ คน
ได้บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์
[๒๙๔] นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น
ให้อยู่จำพรรษาตลอดไตรมาสแล้วได้ถวายไตรจีวร
ครั้งนั้น หม่อมฉันเป็นภรรยาของเขา
เป็นผู้ปฏิบัติกุศลกรรมบถ
[๒๙๕] สามีจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
ได้เป็นพระราชาพระนามว่านันทะ มียศมาก
แม้หม่อมฉันก็ได้เป็นพระมเหสีของท้าวเธอ
เป็นผู้มีสมบัติให้สำเร็จสิ่งที่ต้องประสงค์ทุกประการ
[๒๙๖] พระเจ้านันทะนั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินนามว่าพรหมทัต
ครั้งนั้น พระปัจเจกมุนี ๕๐๐ องค์ถ้วน
ผู้เป็นพระโอรสของนางปทุมวดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๗. ภัททกาปิลานีเถริยาปทาน
[๒๙๗] หม่อมฉันได้บำรุงจนตลอดชีวิต
นิมนต์ให้พักอยู่ในพระราชอุทยานแล้ว
และบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้นิพพานแล้ว
[๒๙๘] หม่อมฉันทั้ง ๒ ได้สร้างเจดีย์หลายองค์
แล้วก็พากันออกบวช เจริญอัปปมัญญา
แล้วได้ไปเกิดในพรหมโลก
[๒๙๙] จุติจากพรหมโลกแล้ว สามีของหม่อมฉัน
เกิดเป็นพราหมณ์ชื่อปิปผลายนะ
ที่ประเทศมหาติตถะ มารดาชื่อสุมนเทวี
บิดาเป็นพราหมณ์โกสิยโคตร
[๓๐๐] หม่อมฉันเป็นธิดาของกบิลพราหมณ์
มารดาชื่อสุจิมตี ในมัททชนบท นครสากละที่ประเสริฐสุด
[๓๐๑] บิดาหล่อรูปของหม่อมฉันด้วยทองคำแท่งแล้ว
ถวายรูปหล่อแก่พระกัสสปธีรเจ้า ผู้เว้นจากกามทั้งหลาย
[๓๐๒] พราหมณ์ปิปผลายนะนั้นเป็นหนุ่ม
ไปตรวจดูงานในกาลบางคราว
เห็นสัตว์ทั้งหลายที่ถูกกาเป็นต้นจิกกินแล้ว เกิดความสลดใจ
[๓๐๓] ครั้งนั้น หม่อมฉันเห็นเมล็ดงาที่มีอยู่ในเรือน
ซึ่งนำออกผึ่งแดด เห็นกาจิกกินหนอนอยู่ ได้ความสลดใจ
[๓๐๔] ครั้งนั้น พราหมณ์ปิปผลายนะผู้เป็นปราชญ์ออกบวช
หม่อมฉันก็ออกบวชตาม อยู่บำเพ็ญศีลพรตของปริพาชก ๕ ปี
[๓๐๕] เมื่อพระนางโคตมีผู้บำรุงเลี้ยงพระชินเจ้าทรงผนวชแล้ว
หม่อมฉันได้เข้าไปหาพระนาง และเป็นผู้อันพระพุทธเจ้าสั่งสอนแล้ว
[๓๐๖] โดยกาลไม่นานนัก หม่อมฉันก็ได้บรรลุอรหัตตผล
โอ ! เรามีพระมหากัสสปเถระผู้มีสิริ เป็นกัลยาณมิตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๗. ภัททกาปิลานีเถริยาปทาน
[๓๐๗] พระกัสสปเถระเป็นพุทธบุตร
เป็นทายาทของพระพุทธเจ้า
มีจิตตั้งมั่นดี รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
เห็นสวรรค์และอบาย
[๓๐๘] อนึ่ง ท่านถึงความสิ้นชาติ เป็นมุนีอยู่จบอภิญญา
ด้วยวิชชา ๓ เหล่านี้ จึงได้ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ผู้มีวิชชา ๓
[๓๐๙] ภัททกาปิลานีก็เหมือนกัน
ได้วิชชา ๓ ละมัจจุราชเสียได้ ทรงร่างกายนี้เป็นที่สุด
ชนะมารพร้อมทั้งเสนามารแล้ว
[๓๑๐] หม่อมฉันทั้ง ๒ เห็นโทษในโลกแล้วพากันบวช
เป็นผู้สิ้นอาสวะ ฝึกตนแล้ว มีความเย็น ดับสนิทแล้ว
[๓๑๑] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๑๒] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
[๓๑๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระภัททกาปิลานีภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ภัททกาปิลานีเถริยาปทานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๘. ยโสธราเถริยาปทาน
๘. ยโสธราเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระยโสธราเถรี
(พระยโสธราเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๑๔] สมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้ทรงเป็นผู้นำแห่งนรชน
ประทับอยู่ ณ เงื้อมภูเขาที่ประเสริฐแห่งหนึ่ง
ใกล้กรุงราชคฤห์ ที่น่ารื่นรมย์ มั่งคั่ง
[๓๑๕] ยโสธราภิกษุณี ผู้อยู่ในสำนักของภิกษุณี
ในนครที่น่ารื่นรมย์นั้น ได้มีความรำพึงอย่างนี้ว่า
[๓๑๖] ‘พระเจ้าสุทโธทนมหาราช
และพระนางมหาปชาบดีโคตมี
พระมหาเถระผู้มีชื่อเสียง และพระเถรีผู้มีฤทธิ์มาก
[๓๑๗] ท่านเหล่านั้น ล้วนนิพพานไปแล้ว
เหมือนเปลวประทีปหมดเชื้อดับไปฉะนั้น
เมื่อพระโลกนาถยังทรงพระชนม์อยู่
แม้เราก็จักบรรลุถึงสิวบท(นิพพาน)’
[๓๑๘] ยโสธราภิกษุณีนั้นครั้นคิดแล้ว
จึงพิจารณาดูอายุของตน เห็นอายุสังขาร
จะถึงความสิ้นไปในวันนั้นเอง
[๓๑๙] จึงถือบาตรและจีวรออกจากที่อยู่ของตน
มีภิกษุณี ๑๐๐,๐๐๐ รูปห้อมล้อม
[๓๒๐] มีฤทธิ์มาก มีปัญญามาก
เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถวายอภิวาท
ที่ลายลักษณ์กงจักรของพระศาสดาแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลคำนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๘. ยโสธราเถริยาปทาน
[๓๒๑] ‘หม่อมฉันมีอายุได้ ๗๘ ปี ล่วงเข้าปัจฉิมวัยแล้ว
ถึงความเป็นผู้มีกายค้อมลงโดยลำดับ ขอกราบทูลลาพระมหามุนี
[๓๒๒] หม่อมฉันมีวัยแก่หง่อม ชีวิตของหม่อมฉันมีอยู่นิดหน่อย
หม่อมฉันจักละพระองค์ไป ที่พึ่งของตนหม่อมฉันทำไว้แล้ว
[๓๒๓] ในกาลปัจฉิมวัยนี้ ความตายเข้ามาปิดล้อมไว้แล้ว
ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันจักนิพพานในคืนวันนี้
[๓๒๔] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันไม่มีชาติ
ชรา พยาธิ และมรณะ
หม่อมฉันจักเข้าถึงนิพพานที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
เป็นบุรีที่ไม่มีความแก่ ความตาย และไม่มีภัย
[๓๒๕] บริษัทที่เข้าเฝ้าพระองค์อยู่ รู้จักความผิด
จึงขอประทานโทษ เฉพาะพระพักตร์ของพระศาสดา
[๓๒๖] ข้าแต่พระมหาวีระ
เมื่อหม่อมฉันเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสงสาร
หากมีความผิดพลาดในพระองค์ หม่อมฉันกราบทูลว่า
ขอพระองค์โปรดยกโทษให้แก่หม่อมฉันด้วยเถิด’
[๓๒๗] พระจอมมุนีทรงสดับคำของพระยโสธราภิกษุณีแล้ว
จึงตรัสดังนี้ว่า ‘เมื่อเธอบอกว่าจะลานิพพาน
ตถาคตจะไปว่าอะไรเธอให้มากเล่า
[๓๒๘] เธอผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของเรา จงแสดงฤทธิ์
และตัดความสงสัยของบริษัททั้งปวงในศาสนาเถิด’
[๓๒๙] พระยโสธราภิกษุณีนั้น
ได้ฟังพระดำรัสของพระมุนีพระองค์นั้นแล้ว
จึงไหว้พระราชมุนีนั้นกราบทูลคำนี้ว่า
[๓๓๐] ‘ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันชื่อยโสธรา
เมื่อสมัยที่ยังทรงครองฆราวาสวิสัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๘. ยโสธราเถริยาปทาน
เป็นปชาบดีของพระองค์
เกิดในตระกูลศากยะ ตั้งอยู่ในองค์สมบัติของผู้หญิง
[๓๓๑] ข้าแต่พระมหาวีระ บรรดาหญิงจำนวน ๑๙๖,๐๐๐ นาง
หม่อมฉันเป็นประธาน เป็นใหญ่กว่าหญิงทั้งปวง
ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์
[๓๓๒] สตรีทั้งหมดประกอบด้วยรูปสมบัติและอาจารสมบัติ
แม้ดำรงอยู่ในวัยสาว ก็ยำเกรงหม่อมฉันทุกเมื่อ
เหมือนมนุษย์ทั้งหลายยำเกรงเทวดา
[๓๓๓] หญิงเหล่านั้นมีนางกษัตริย์ ๑,๐๐๐ นาง เป็นประธาน
ร่วมสุขร่วมทุกข์กันอยู่ในพระราชนิเวศน์ของศากยบุตร
ปานประหนึ่งเทวดาทั้งหลายในสวนนันทวัน
[๓๓๔] เว้นพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกแล้ว
เหล่าสตรีผู้ฉลาดล่วงเลยกามภูมิ ตั้งอยู่ในรูปภูมิ
มีรูปเช่นกับหม่อมฉันไม่มี’
[๓๓๕] พระยโสธราเถรี ถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
แสดงฤทธิ์ถวายพระศาสดา แล้วแสดงฤทธิ์มากมายหลายอย่าง
[๓๓๖] คือ แสดงกายเท่าภูเขาจักรวาล ศีรษะเท่าอุตตรกุรุทวีป
ทวีปทั้ง ๒ ให้เป็นปีกทั้ง ๒ ข้าง
ชมพูทวีปให้เป็นลำตัว
[๓๓๗] แสดงมหาสมุทรด้านทิศใต้ให้เป็นกำหาง
กิ่งไม้ต่าง ๆ ให้เป็นขนปีก
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ให้เป็นนัยน์ตา
ภูเขาพระสุเมรุให้เป็นหงอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๘. ยโสธราเถริยาปทาน
[๓๓๘] แสดงภูเขาจักรวาลให้เป็นจะงอยปาก นำต้นหว้า
พร้อมทั้งรากเข้ามาใกล้แล้วไหว้และพัดวีพระผู้เป็นผู้นำสัตว์โลก
[๓๓๙] แสดงเป็นช้าง ม้า ภูเขา ทะเล ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์ ภูเขาพระสุเมรุ และเป็นท้าวสักกะจอมเทพ
[๓๔๐] กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้มีพระจักษุ
หม่อมฉันชื่อว่ายโสธรา ขอกราบพระยุคลบาท’
แล้วใช้ดอกบัวบานปิด ๑,๐๐๐ โลกธาตุไว้
[๓๔๑] เนรมิตเป็นพรหมแสดงสุญญตธรรมอยู่
กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระวีระ ผู้มีพระจักษุ
หม่อมฉันชื่อว่ายโสธรา ขอกราบพระยุคลบาท’
[๓๔๒] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุ และมีความชำนาญในเจโตปริยญาณ
[๓๔๓] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี
[๓๔๔] ข้าแต่พระมหาวีระ อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณของหม่อมฉัน
เกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์
[๓๔๕] ความพร้อมเพรียงแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก พระองค์ทรงแสดงแล้ว
ข้าแต่พระมหามุนี อธิการเป็นอันมากของหม่อมฉัน
เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๓๔๖] ข้าแต่พระมหาวีระผู้เป็นพระมุนี
ขอพระองค์พึงหวนระลึกถึงกุศลกรรมเก่าของหม่อมฉันเถิด
หม่อมฉันสั่งสมบุญไว้ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๘. ยโสธราเถริยาปทาน
[๓๔๗] ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันงดเว้นอนาจารในสถานที่ไม่สมควร
แม้ชีวิตก็ยอมสละได้เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๓๔๘] ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ประทานหม่อมฉัน
เพื่อต้องการให้เป็นภรรยาของผู้อื่นหลายพันโกฏิกัป
ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
หม่อมฉันไม่เคยเสียใจในเรื่องนั้นเลย
[๓๔๙] ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ประทานหม่อมฉัน
เพื่ออุดหนุนผู้อื่นหลายพันโกฏิกัป
ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
หม่อมฉันไม่เคยเสียใจในเรื่องนั้นเลย
[๓๕๐] ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ประทานหม่อมฉัน
เพื่อประโยชน์เป็นอาหารหลายพันโกฏิกัป
ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
หม่อมฉันไม่เคยเสียใจในเรื่องนั้นเลย
[๓๕๑] หม่อมฉันยอมสละชีวิตหลายพันโกฏิกัป
ด้วยคิดว่าจักกระทำความพ้นภัย
จึงยอมสละชีวิตตนเอง
[๓๕๒] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันไม่เคยหวงเครื่องประดับ
มีผ้านานาชนิดที่ติดตัวอยู่และภัณฑะของหญิง
เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๓๕๓] ข้าแต่พระมหามุนี ทรัพย์ ข้าวเปลือก
ปัจจัยเครื่องบริจาค บ้าน นิคม ไร่ นา
บุตร ธิดา หม่อมฉันก็บริจาคแล้ว
[๓๕๔] ช้าง ม้า โค ทาสี นางบำเรอ มากมายนับไม่ถ้วน
หม่อมฉันก็บริจาคแล้ว เพื่อประโยชน์แก่พระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๘. ยโสธราเถริยาปทาน
[๓๕๕] พระองค์ทรงปรึกษาหม่อมฉันว่า
‘เราจะให้ทานแก่พวกยาจก’
เมื่อพระองค์ให้ทานที่ประเสริฐอยู่ หม่อมฉันก็ไม่เคยเสียใจ
[๓๕๖] ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันยอมรับทุกข์ทรมาน
มากมายหลายอย่างจนนับไม่ถ้วน ในสงสารเป็นอเนก
ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๓๕๗] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันได้รับสุขก็อนุโมทนา
และคราวที่ได้รับทุกข์ก็ไม่เสียใจ เป็นผู้ยินดีแล้วทุกอย่าง
เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๓๕๘] ข้าแต่พระมหามุนี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญธรรม
โดยมรรคที่สมควร เสวยสุขและทุกข์แล้ว
ได้บรรลุพระโพธิญาณ
[๓๕๙] การที่พระองค์และหม่อมฉันพบพระสัมพุทธเจ้า
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกพระนามว่าพรหมเทพ
และพระนามว่าโคดม แล้วพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นที่พึ่งสัตว์โลกเหล่าอื่นอีกก็มาก
[๓๖๐] ข้าแต่พระมหามุนี อธิการของหม่อมฉันมีมาก
เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ หม่อมฉันเมื่อแสวงหาพุทธธรรมอยู่
ก็ได้เป็นบาทบริจาริกาของพระองค์
[๓๖๑] ใน ๔ อสงไขยและอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัป
พระมหาวีระพระนามว่าทีปังกร
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๓๖๒] ประชาชนในปัจจันตประเทศ
ต่างมีใจยินดีทูลนิมนต์พระตถาคตแล้ว
ช่วยกันแผ้วถางทางซึ่งเป็นที่เสด็จพุทธดำเนิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๘. ยโสธราเถริยาปทาน
[๓๖๓] ครั้งนั้น พระองค์เกิดเป็นพราหมณ์นามว่าสุเมธะ
กำลังตกแต่งหนทางเพื่อพระสุคต
ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงกำลังเสด็จมา
[๓๖๔] ครั้งนั้น หม่อมฉันได้เกิดในตระกูลพราหมณ์
เป็นหญิงสาวมีนามว่าสุมิตตา เข้าไปสู่สมาคม
[๓๖๕] ถือดอกอุบลไป ๘ กำเพื่อบูชาพระศาสดา
ได้เห็นพระองค์ผู้เป็นฤาษีผู้ประเสริฐ ในท่ามกลางหมู่ชน
[๓๖๖] ครั้งนั้น หม่อมฉันได้เห็นพระองค์ผู้น่าพอใจ
ผู้มีความเอ็นดูประทับอยู่นาน ดำเนินผ่านไป
จึงได้สำคัญว่าชีวิตของเรามีผล
[๓๖๗] ครั้งนั้น หม่อมฉันเห็นความพยายามที่มีผล
ของพระองค์ผู้เป็นพระฤาษี ด้วยบุพกรรม
แม้จิตของหม่อมฉันก็เลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๓๖๘] หม่อมฉันทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระฤๅษี มีพระทัยเบิกบาน
ข้าแต่พระฤาษี หม่อมฉันมิได้เห็นสิ่งอื่นที่ควรถวาย
จึงถวายดอกอุบลแด่พระองค์ พร้อมกับกล่าวว่า
[๓๖๙] ‘ข้าแต่พระฤๅษี ดอกอุบล ๕ กำ จงเป็นของท่าน
ดอกอุบล ๓ กำ จงเป็นของหม่อมฉัน
ข้าแต่พระฤๅษี ดอกบัว ๓ กำของหม่อมฉัน
กับดอกบัว ๕ กำของท่านนั้น จงมีผลเสมอกัน
เพื่อประโยชน์แก่พระโพธิญาณของท่าน’
ภาณวารที่ ๔ จบ
[๓๗๐] สุเมธมหาฤาษีรับดอกอุบลแล้วบูชาพระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ มีบริวารยศมากมาย
เสด็จดำเนินมาท่ามกลางชุมชน เพื่อประโยชน์แก่พระโพธิญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๘. ยโสธราเถริยาปทาน
[๓๗๑] พระมหามุนีผู้มีความเพียรมากพระนามว่าวีรทีปังกร
ทอดพระเนตรเห็นพระฤาษี ผู้มีใจสูงแล้ว
จึงตรัสพยากรณ์ในท่ามกลางชุมชน
[๓๗๒] ข้าแต่พระมหามุนี ในกัปที่หาประมาณมิได้นับจากกัปนี้ไป
พระมหามุนีพระนามว่าทีปังกร ทรงพยากรณ์กรรม
คือความเป็นผู้ซื่อตรงของหม่อมฉันไว้ว่า
[๓๗๓] ‘ท่านฤาษีผู้เป็นใหญ่ อุบาสิกาผู้นี้จักเป็นผู้มีจิตเสมอกัน
มีการกระทำเสมอกัน มีปกติทำร่วมกัน
จักเป็นที่น่ารักเพราะการกระทำเพื่อประโยชน์แก่ท่าน
[๓๗๔] จักเป็นหญิงมีรูปร่างน่าดู น่าชม น่ารักยิ่ง
น่าชอบใจ มีวาจาอ่อนหวาน มีฤทธิ์
เป็นธรรมทายาทของท่าน
[๓๗๕] อุบาสิกาผู้นี้ จักรักษากุศลธรรมทั้งหลาย
เหมือนพวกเจ้าของรักษาเครื่องสมุก
[๓๗๖] จะอนุเคราะห์ท่าน จักบำเพ็ญบารมีเพื่อท่าน
ละกิเลสได้ดังพญาราชสีห์ละกรงแล้ว จักบรรลุพระโพธิญาณ’
[๓๗๗] ในกัปที่หาประมาณมิได้นับจากกัปนี้ไป
พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ดำรัสใดกับหม่อมฉัน
หม่อมฉันเมื่ออนุโมทนาพระดำรัสนั้น เป็นผู้ทำอย่างนี้
[๓๗๘] หม่อมฉันทำจิตให้เลื่อมใสในกุศลกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
ได้บังเกิดในกำเนิดเทวดาและมนุษย์มากมาย
[๓๗๙] ได้เสวยสุขและทุกข์ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เมื่อถึงภพสุดท้ายได้เกิดในศากยตระกูล
[๓๘๐] หม่อมฉันมีรูปสมบัติ มีโภคสมบัติ มียศ มีศีล
สมบูรณ์ด้วยองค์สมบัติทั้งปวง
แต่นั้นได้รับความยำเกรงจากเจ้านายในตระกูลทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๘. ยโสธราเถริยาปทาน
[๓๘๑] พรั่งพร้อมด้วยโลกธรรม คือ ลาภ สักการะ สรรเสริญ
มีจิตไม่ประกอบด้วยทุกข์ อยู่อย่างผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ
[๓๘๒] สมจริงตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
‘ข้าแต่พระพระองค์ผู้แกล้วกล้า ในครั้งนั้น
พระองค์ทรงแสดงอุปการะของนารีทั้งหลาย
ไว้ภายในพระราชมณเฑียรและในขัตติยบุรีว่า
[๓๘๓] นารีผู้มีอุปการะ ๑ นารีผู้เป็นเพื่อนร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑
นารีผู้แนะนำประโยชน์ให้ ๑ นารีผู้ทำความอนุเคราะห์ให้ ๑’
[๓๘๔] พระพุทธเจ้ามีจำนวนถึง ๕๐๐ โกฏิ และ ๙๐๐ โกฏิ
หม่อมฉันจัดถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น
[๓๘๕] ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงสดับอธิการ
ของหม่อมฉันมีมากมาย
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของชาวโลก
มีจำนวนถึง ๑,๑๐๐ โกฏิ
[๓๘๖] หม่อมฉันจัดถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ ข้าแต่มหาราช
ขอพระองค์จงสดับ
อธิการของหม่อมฉันมีมากมาย
[๓๘๗] หม่อมฉันจัดถวายมหาทานแก่พระพุทธเจ้า ๒,๐๐๐ โกฏิ
และแก่พระพุทธเจ้า ๓,๐๐๐ โกฏิ ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
[๓๘๘] ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์ทรงสดับอธิการ
ของหม่อมฉันมีมากมาย
พระพุทธเจ้ามีจำนวนถึง ๔,๐๐๐ โกฏิ และ ๕,๐๐๐ โกฏิ
[๓๘๙] หม่อมฉันจัดถวายมหาทานแก่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงสดับ
อธิการของหม่อมฉันมีมากมาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๘. ยโสธราเถริยาปทาน
[๓๙๐] พระพุทธเจ้ามีจำนวนถึง ๖,๐๐๐ โกฏิ และ ๗,๐๐๐ โกฏิ
หม่อมฉันจัดถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
[๓๙๑] ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงสดับอธิการ
ของหม่อมฉันมีมากมาย
พระพุทธเจ้ามีจำนวนถึง ๘,๐๐๐ โกฏิ และ ๙,๐๐๐ โกฏิ
[๓๙๒] หม่อมฉันจัดถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ ข้าแต่มหาราช
ขอพระองค์จงสดับอธิการของหม่อมฉันมีมากมาย
[๓๙๓] พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของชาวโลก
มีจำนวนถึง ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
หม่อมฉันจัดถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
[๓๙๔] ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงสดับอธิการ
ของหม่อมฉันมีมากมาย
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำอื่น ๆ มีจำนวนถึง ๙,๐๐๐ โกฏิ
[๓๙๕] หม่อมฉันจัดถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ ข้าแต่มหาราช
ขอพระองค์จงสดับอธิการของหม่อมฉันมีมากมาย
[๓๙๖] พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
๘๕ องค์ ๘,๕๐๐ โกฏิ ๓๐ โกฏิ
[๓๙๗] หม่อมฉันจัดถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ ข้าแต่มหาราช
ขอพระองค์จงสดับอธิการของหม่อมฉันมีมากมาย
[๓๙๘] หม่อมฉันจัดถวายมหาทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า
ผู้ปราศจากราคะจำนวน ๘๘ โกฏิ
ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์ทรงสดับอธิการของหม่อมฉันมีมากมาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๘. ยโสธราเถริยาปทาน
[๓๙๙] หม่อมฉันจัดถวายมหาทานแก่พระขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทิน ซึ่งเป็นพุทธสาวกมากมายนับไม่ถ้วน
ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์ทรงสดับอธิการหม่อมฉันมีมากมาย
[๔๐๐] หม่อมฉันจัดถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สั่งสมไว้ดีแล้วในธรรมทั้งหลาย
และแด่พระอริยสงฆ์ทั้งหลายผู้ประพฤติพระสัทธรรมทุกเมื่อ
ด้วยประการฉะนี้
บุคคลผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
[๔๐๑] บุคคลควรประพฤติธรรมให้สุจริต
ไม่ควรประพฤติธรรมให้ทุจริต
เพราะบุคคลผู้ประพฤติธรรม
ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
[๔๐๒] ข้าพระองค์เบื่อหน่ายในสังสารวัฏ
จึงออกบวชเป็นบรรพชิตพร้อมด้วยบริวาร ๑,๐๐๐
ครั้นบวชแล้วก็หมดกังวล๑
[๔๐๓] หม่อมฉันละการครองเรือนแล้วบวชเป็นบรรพชิต
ยังไม่ทันถึงกึ่งเดือน ก็ได้บรรลุสัจจะ ๔
[๔๐๔] ‘คนเป็นอันมากนำจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และปัจจัยเข้ามาถวายมากมายมิใช่น้อย
เหมือนคลื่นในมหาสมุทร
[๔๐๕] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

เชิงอรรถ :
๑ กังวล หมายถึงกังวล ๓ คือ (๑) กังวลคือราคะ (๒) กังวลคือโทสะ (๓) กังวลคือโมหะ (ดูเทียบ ที.ปา.
(แปล) ๑๑/๓๐๕/๒๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๙. ทสสหัสสเถริยาปทาน
[๔๐๖] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๐๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
[๔๐๘] หม่อมฉันได้รับทุกข์หลายอย่าง และสุขสมบัติหลายอย่าง
ถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์ ได้สมบัติทุกอย่างด้วยประการฉะนี้
[๔๐๙] บุคคลผู้ถวายตนของตนแด่พระพุทธเจ้า
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
เพื่อต้องการบุญก็ย่อมพรั่งพร้อมด้วยสหาย
บรรลุพระนิพพานซึ่งเป็นอสังขตะ
[๔๑๐] กรรมทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบันและอนาคตสิ้นไปแล้ว
กรรมทั้งปวงของหม่อมฉันสิ้นไปแล้ว
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ หม่อมฉันขอกราบไหว้พระยุคลบาท
ได้ทราบว่า พระยโสธราภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ เฉพาะพระพักตร์พระผู้
มีพระภาค ด้วยประการฉะนี้
ยโสธราเถริยาปทานที่ ๘ จบ
๙. ทสสหัสสเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเถรี ๑๐,๐๐๐ รูป
(พระเถรี ๑๐,๐๐๐ รูป เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๑๑] ใน ๔ อสงไขย และอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัป
พระชินเจ้าพระนามว่าทีปังกร
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๙. ทสสหัสสเถริยาปทาน
[๔๑๒] พระมหาวีรพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกรทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ทรงพยากรณ์ว่า ‘สุเมธบัณฑิตกับนางสุมิตตา
มีสุขและทุกข์ร่วมกัน’
[๔๑๓] เมื่อเสด็จเที่ยวไปยังมนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลก
ทอดพระเนตรเห็นมนุษย์พร้อมทั้งเทวดา
ได้เสด็จเข้ามาสู่สมาคม
ในเมื่อเรากล่าวสรรเสริญสุเมธบัณฑิตและนางสุมิตตานั้นอยู่
[๔๑๔] สุเมธบัณฑิตจะเป็นสามีของหม่อมฉันทั้งปวง
ในการพบกันในอนาคตแห่งหม่อมฉันทั้งหลาย
หม่อมฉันผู้เป็นภรรยาทั้งหมดของท่าน เป็นคนน่ารัก พูดจาไพเราะ
[๔๑๕] ข้าแต่พระมหามุนี ทานมัย ศีลมัย
ภาวนามัยทั้งปวงหม่อมฉันทั้งหลายบำเพ็ญดีแล้ว
หม่อมฉันทั้งหลายเสียสละวัตถุทานทุกอย่างนี้ตลอดกาลนาน
[๔๑๖] คือ ของหอม ระเบียบดอกไม้ เครื่องลูบไล้
และประทีปที่สำเร็จด้วยรัตนะ ข้าแต่พระมหามุนี
สิ่งที่ปรารถนาทุกอย่าง หม่อมฉันทั้งหลายก็สละแล้ว
[๔๑๗] ข้าแต่พระมหามุนี กรรมอย่างอื่น
และวัตถุเครื่องบริโภคที่เป็นของมนุษย์
หม่อมฉันทั้งหลายทำไว้แล้วทุกอย่าง
หม่อมฉันทั้งหลายได้สละตลอดกาลนาน
[๔๑๘] เพราะบุญเป็นอันมาก หม่อมฉันทั้งหลายได้ความเป็นใหญ่
เวียนว่ายตายเกิดในภพน้อยภพใหญ่
ตลอดสงสารเป็นอเนกชาติได้กระทำไว้แล้ว
[๔๑๙] เมื่อถึงภพสุดท้าย หม่อมฉันทั้งหลายเกิดในตระกูลต่าง ๆ
ในนิเวศน์ของศากยบุตร มีวรรณะงดงามน่าใคร่ ดุจนางอัปสร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๙. ทสสหัสสเถริยาปทาน
[๔๒๐] หม่อมฉันทั้งหลายมีลาภอย่างเลิศ ได้รับยศแล้ว
ได้รับการบูชาสักการะจากชนทั้งปวง
ได้ข้าวและน้ำ ได้รับการยอมรับนับถือทุกเมื่อ
[๔๒๑] หม่อมฉันทั้งหลายละการครองเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ยังไม่ทันถึงกึ่งเดือนก็ได้บรรลุความดับทุกข์ทั้งหมด
[๔๒๒] หม่อมฉันทั้งหลายได้ข้าว น้ำ ได้รับสักการะบูชาด้วยผ้า
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ที่เหล่าชนนำเข้ามาถวาย
[๔๒๓] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันทั้งหลายก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันทั้งหลายก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันทั้งหลายตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๒๔] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันทั้งหลายได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๒๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้แล
ทราบว่า ภิกษุณี ๑๐,๐๐๐ รูปมีพระยโสธราเถรีเป็นประธานได้ภาษิตคาถา
เหล่านี้ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค ด้วยประการฉะนี้
ทสสหัสสเถริยาปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑๐. อัฏฐารสเถรีสหัสสานมปทาน
๑๐. อัฏฐารสเถรีสหัสสานมปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเถรี ๑๘,๐๐๐ รูป
(พระเถรี ๑๘,๐๐๐ รูป เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๒๖] ภิกษุณีที่สมภพในศากยตระกูล ๑๘,๐๐๐ รูป
มีพระยโสธราเถรีเป็นประธาน
เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๔๒๗] ภิกษุณีทั้ง ๑๘,๐๐๐ รูป ล้วนเป็นผู้มีฤทธิ์มาก
กราบพระยุคลบาทของพระมุนีแล้ว
ได้กราบทูลตามกำลังว่า
[๔๒๘] ‘ข้าแต่พระมหามุนี ผู้ทรงเป็นผู้นำ
หม่อมฉันทั้งหลายมีชาติ ชรา พยาธิ และมรณะสิ้นแล้ว
ถึงอมตบทที่สงบ ไม่มีอาสวะ
[๔๒๙] ข้าแต่พระมหามุนีผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ในกาลก่อนความพลั้งพลาดของหม่อมฉันแม้ทั้งหมดก็มีอยู่
ชนทั้งหลายย่อมรู้ว่าเป็นความผิด
ขอพระองค์โปรดยกโทษแก่หม่อมฉันทั้งหลายด้วยเถิด’
[๔๓๐] (พระบรมศาสดาตรัสว่า) ‘เธอทั้งหลาย
ผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของเรา
จงแสดงฤทธิ์และตัดความสงสัยของบริษัททั้งมวลเท่าที่มีอยู่เถิด’
[๔๓๑] ข้าแต่พระมหาวีระ
พระยโสธราเถรีเป็นหญิงที่น่าพอพระทัยน่ารักน่าชม
ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันทั้งปวงเป็นปชาบดีของพระองค์
เมื่อสมัยที่ยังครองฆราวาสวิสัย
[๔๓๒] ข้าแต่พระมหาวีระ บรรดาหญิงจำนวน ๑๙๖,๐๐๐ นาง
หม่อมฉันทั้งหลายเป็นประธาน เป็นใหญ่กว่าหญิงทั้งปวง
ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑๐. อัฏฐารสเถรีสหัสสานมปทาน
[๔๓๓] สตรีทั้งหมดประกอบด้วยรูปสมบัติและอาจารสมบัติ
ดำรงอยู่ในวัยสาว พูดจาไพเราะ
ยำเกรงต่อหม่อมฉันทั้งหลาย
เหมือนพวกมนุษย์ยำเกรงเทวดา
[๔๓๔] ในกาลนั้น หม่อมฉันจำนวน ๑๘,๐๐๐ นาง
ทั้งหมด เป็นผู้สมภพในศากยตระกูล
พระยโสธราเถรีและหม่อมฉัน ๑,๐๐๐ นาง เป็นประธาน เป็นใหญ่
[๔๓๕] ข้าแต่พระมหามุนี บรรดาหม่อมฉัน ๑,๐๐๐ นาง
หม่อมฉันทั้งหลายผู้ก้าวล่วงกามธาตุ
ดำรงอยู่ในรูปธาตุ มีรูป(มีฤทธิ์)ไม่เหมือนกัน๑
[๔๓๖] พระเถรีเหล่านั้น ถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
แสดงฤทธิ์ถวายพระศาสดา
แสดงฤทธิ์มากมายหลายอย่างต่าง ๆ กัน
[๔๓๗] คือแสดงกายเท่าภูเขาจักรวาล ศีรษะเท่าอุตตรกุรุทวีป
ทวีปทั้ง ๒ ให้เป็นปีกทั้ง ๒ ข้าง
ชมพูทวีปให้เป็นลำตัว
[๔๓๘] แสดงมหาสมุทรด้านทิศใต้ให้เป็นกำหาง
กิ่งไม้ต่าง ๆ ให้เป็นขนปีก
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ให้เป็นนัยน์ตา
ภูเขาพระสุเมรุให้เป็นหงอน
[๔๓๙] แสดงภูเขาจักรวาลให้เป็นจะงอยปาก
นำต้นหว้าพร้อมทั้งราก
เข้ามาใกล้แล้วไหว้และพัดวีพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๕/๒๖๒, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๐๐๗-๑๐๑๖/๕๐๑-๕๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑๐. อัฏฐารสเถรีสหัสสานมปทาน
[๔๔๐] แสดงเป็นช้าง ม้า ภูเขา ทะเล ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์ ภูเขาพระสุเมรุและเป็นท้าวสักกจอมเทพ
[๔๔๑] กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระวีรเจ้า
ผู้มีพระจักษุ ทรงเป็นผู้นำของนรชน
หม่อมฉันทั้งหลายผู้ทรงไว้ซึ่งยศ
ซึ่งสำเร็จแล้วด้วยกุศลธรรมที่อบรมมานานเพื่อพระองค์
ขอกราบพระยุคลบาท
[๔๔๒] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันทั้งหลาย
เป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุ และมีความชำนาญในเจโตปริยญาณ
[๔๔๓] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันทั้งหลายก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๔๔๔] ข้าแต่พระมหาวีระ อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ของหม่อมฉันทั้งหลาย
เกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์
[๔๔๕] การพบพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของโลก พระองค์ก็ได้แสดงแล้วแก่หม่อมฉันทั้งหลาย
ข้าแต่พระมหามุนี อธิการจำนวนมากของหม่อมฉันทั้งหลาย
ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๔๔๖] ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้เป็นพระมุนี
ขอพระองค์พึงหวนระลึกถึงกุศลกรรมเก่า
ของหม่อมฉันทั้งหลายเถิด
หม่อมฉันทั้งหลายสั่งสมบุญไว้ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑๐. อัฏฐารสเถรีสหัสสานมปทาน
[๔๔๗] ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันทั้งหลาย
งดเว้นอนาจารในสถานที่ไม่สมควร
แม้ชีวิตก็ยอมสละแล้วเพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๔๔๘] ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ประทานหม่อมฉันทั้งหลาย
เพื่อต้องการให้เป็นภรรยาของผู้อื่นหลายพันโกฏิกัป
ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
หม่อมฉันทั้งหลายไม่เคยเสียใจในเรื่องนั้นเลย
[๔๔๙] ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ประทานหม่อมฉันทั้งหลาย
เพื่ออุดหนุนผู้อื่นหลายพันโกฏิกัป
ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
หม่อมฉันทั้งหลายไม่เคยเสียใจในเรื่องนั้นเลย
[๔๕๐] ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ประทานหม่อมฉันทั้งหลาย
เพื่อประโยชน์เป็นอาหารหลายพันโกฏิกัป
เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
หม่อมฉันทั้งหลายไม่เคยเสียใจในเรื่องนั้นเลย
[๔๕๑] หม่อมฉันทั้งหลายยอมสละชีวิตหลายพันโกฏิกัป
ด้วยคิดว่าจักทำความพ้นภัย จึงยอมสละชีวิต
[๔๕๒] ข้าแต่พระมหามุนี
หม่อมฉันทั้งหลายไม่เคยหวงเครื่องประดับ
ผ้านานาชนิดที่ติดตัวอยู่ และภัณฑะของหญิง
เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๔๕๓] ข้าแต่พระมหามุนี ทรัพย์ ข้าวเปลือก
ปัจจัยเครื่องบริจาค บ้าน นิคม ไร่ นา
บุตร ธิดา หม่อมฉันทั้งหลายก็บริจาคแล้ว
[๔๕๔] ช้าง ม้า โค ทาสี นางบำเรอ มากมายนับไม่ถ้วน
หม่อมฉันทั้งหลายก็บริจาคแล้ว เพื่อประโยชน์แก่พระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑๐. อัฏฐารสเถรีสหัสสานมปทาน
[๔๕๕] พระองค์ทรงปรึกษาหม่อมฉันทั้งหลายว่า
‘เราทั้งหลายจะให้ทานแก่พวกยาจก’
เมื่อพระองค์ให้ทานที่ประเสริฐอยู่
หม่อมฉันทั้งหลายก็ไม่เคยเสียใจ
[๔๕๖] ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันทั้งหลาย
ยอมรับทุกข์ทรมานมากมายหลายอย่างจนนับไม่ถ้วน
ในสงสารเป็นอเนก ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๔๕๗] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันทั้งหลายได้รับความสุข
ย่อมอนุโมทนา และคราวที่ได้รับทุกข์ก็ไม่เสียใจ
เป็นผู้ยินดีแล้วทุกอย่าง เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๔๕๘] ข้าแต่พระมหามุนี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญธรรม
โดยมรรคที่สมควร เสวยสุขและทุกข์แล้ว
ได้บรรลุซึ่งพระโพธิญาณ
[๔๕๙] การที่พระองค์และหม่อมฉันทั้งหลายพบพระสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกพระนามว่าพรหมเทพ
และพระนามว่าโคดมแล้วพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นที่พึ่งสัตว์โลกเหล่าอื่นอีกก็มาก
[๔๖๐] ข้าแต่พระมหามุนี อธิการของหม่อมฉันทั้งหลายมีมาก
เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
เมื่อพระองค์ทรงแสวงหาพุทธธรรมอยู่
หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้เป็นบาทบริจาริกาของพระองค์
[๔๖๑] ใน ๔ อสงไขย ๑๐๐,๐๐๐ กัป
พระมหาวีระพระนามว่าทีปังกร
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑๐. อัฏฐารสเถรีสหัสสานมปทาน
[๔๖๒] ประชาชนในปัจจันตประเทศต่างมีใจยินดี
ทูลนิมนต์พระตถาคตแล้ว
ช่วยกันแผ้วถางทางซึ่งเป็นที่เสด็จพุทธดำเนิน
[๔๖๓] ครั้งนั้น พระองค์เกิดเป็นพราหมณ์นามว่าสุเมธะ
กำลังตกแต่งหนทางเพื่อพระสุคต
ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงกำลังเสด็จมา
[๔๖๔] ครั้งนั้น หม่อมฉันทั้งหลายทั้งหมด
ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์
ถือดอกไม้ที่เกิดจากข้อไปสู่สมาคม
[๔๖๕] สมัยนั้น พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร
ผู้มีบริวารยศมาก เป็นพระมหาวีระ
ทรงพยากรณ์สุเมธดาบสผู้มีใจสูง
[๔๖๖] พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกรกำลังทรงประกาศกรรม
ของสุเมธดาบส ยกย่องฤาษีผู้มีใจสูงอยู่
แผ่นดินก็ไหวสะเทือนเลื่อนลั่นไปในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
[๔๖๗] เทพกัญญา มนุษย์ และหม่อมฉันทั้งหลาย
พร้อมทั้งเทวดา พากันใช้สิ่งของที่ควรบูชาต่าง ๆ
บูชาแล้วปรารถนา
[๔๖๘] พระพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่าทีปังกร
ทรงพยากรณ์เขาเหล่านั้นว่า
‘ในวันนี้ ชนเหล่าใดมีความปรารถนา
ชนเหล่านั้นจักสำเร็จพร้อมหน้ากัน
[๔๖๙] ในกัปซึ่งหาประมาณมิได้นับจากกัปนี้ไป
พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์พระดำรัสใดแก่หม่อมฉันทั้งหลาย
หม่อมฉันทั้งหลายเมื่ออนุโมทนาพระดำรัสนั้น
จึงเป็นผู้ทำอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑๐. อัฏฐารสเถรีสหัสสานมปทาน
[๔๗๐] หญิงทั้งหลายทำจิตให้เลื่อมใสในกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
จึงได้บังเกิดในกำเนิดเทวดาและมนุษย์นับชาติไม่ถ้วน
[๔๗๑] ครั้นเสวยสุขและทุกข์ในเทวดาและมนุษย์แล้ว
เมื่อถึงภพสุดท้าย จึงมาเกิดในศากยตระกูล
[๔๗๒] มีรูปสมบัติ โภคสมบัติ ยศ และศีล
สมบูรณ์ด้วยองค์สมบัติทั้งปวง
ได้รับสักการะอย่างยิ่งในตระกูลทั้งหลาย
[๔๗๓] พรั่งพร้อมไปด้วยโลกธรรม คือ ลาภ สรรเสริญ สักการะ
มีจิตไม่ประกอบด้วยทุกข์ อยู่อย่างผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ
[๔๗๔] สมจริงตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
‘ในครั้งนั้น พระองค์ทรงแสดงอุปการะของนารีทั้งหลาย
ไว้ภายในพระราชมณเฑียรและในขัตติยบุรีว่า
[๔๗๕] นารีผู้มีอุปการะ ๑ นารีผู้เป็นเพื่อนร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑
นารีผู้แนะนำประโยชน์ให้ ๑ นารีผู้ทำความอนุเคราะห์ให้ ๑
[๔๗๖] บุคคลควรประพฤติธรรมให้สุจริต
ไม่ควรประพฤติธรรมให้ทุจริต
เพราะบุคคลผู้ประพฤติธรรม
ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า’
[๔๗๗] หม่อมฉันทั้งหลายละการครองเรือนแล้วบวชเป็นบรรพชิต
ยังไม่ทันถึงกึ่งเดือนก็ได้บรรลุสัจจะ ๔
[๔๗๘] คนเป็นอันมากนำจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และปัจจัยมากมาย เข้ามาถวายหม่อมฉันทั้งหลาย
เหมือนคลื่นในมหาสมุทร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑๐. อัฏฐารสเถรีสหัสสานมปทาน
[๔๗๙] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันทั้งหลายก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันทั้งหลายก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันทั้งหลายตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๘๐] การที่หม่อมฉันทั้งหลายมาในสำนัก
ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันทั้งหลายได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๘๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๘๒] หม่อมฉันทั้งหลายได้รับทุกข์หลายอย่าง
และสุขสมบัติหลายอย่าง
ถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์
ได้สมบัติทุกอย่าง ด้วยประการฉะนี้
[๔๘๓] บุคคลผู้ถวายตนของตนแด่พระพุทธเจ้า
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
เพื่อต้องการบุญก็ย่อมพรั่งพร้อมด้วยสหาย
บรรลุพระนิพพานซึ่งเป็นอสังขตะ
[๔๘๔] กรรมทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบันและอนาคตสิ้นไปแล้ว
กรรมทั้งปวงของหม่อมฉันทั้งหลายสิ้นแล้ว
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ
หม่อมฉันทั้งหลายขอกราบไหว้พระยุคลบาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
[๔๘๕] พระพุทธเจ้าตรัสว่า ‘เมื่อเธอทั้งหลายบอกลาเพื่อจะนิพพาน
เราจะกล่าวอะไรให้มากเล่า
บุคคลที่เป็นทาสที่นับว่าสัตว์ก็บรรลุถึงอมตบทแล้ว’
ได้ทราบว่า ภิกษุณี ๑๘,๐๐๐ รูปมีพระยโสธราเถรีเป็นประธาน ได้ภาษิตคาถา
เหล่านี้ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค ด้วยประการฉะนี้
อัฏฐารสเถรีสหัสสานมปทานที่ ๑๐ จบ
กุณฑลเกสีวรรคที่ ๓ จบบริบูรณ์
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กุณฑลเกสีเถริยาปทาน ๒. กีสาโคตมีเถริยาปทาน
๓. ธัมมทินนาเถริยาปทาน ๔. สกุลาเถริยาปทาน
๕. นันทาเถริยาปทาน ๖. โสณาเถริยาปทาน
๗. ภัททกาปิลานีเถริยาปทาน ๘. ยโสธราเถริยาปทาน
๙. ทสสหัสสเถริยาปทาน ๑๐. อัฏฐารสเถรีสหัสสานมปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับจำนวนคาถาได้ ๔๗๘ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๑๘ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น