Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๓-๑๑ หน้า ๖๔๙ - ๗๑๓

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓-๑๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๕ ขุททกนิกาย
อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์ จริยาปิฎก



พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย พุทธวงศ์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๑. สุเมธพุทธวงศ์
ของพระชินเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๔] พระรามาเถรีและพระสุรามาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นสะเดา
[๒๕] อุรุเวลาอุบาสกและยสวาอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
ยโสธราอุบาสิกาและสิริมาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๖] พระมหามุนีทรงมีพระวรกายสูง ๘๘ ศอก
ทรงเปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศ เหมือนดวงจันทร์ในหมู่ดาว
[๒๗] พระรัตนะ๑ของพระองค์แผ่ไปตลอดโยชน์หนึ่งโดยรอบ
เหมือนแก้วมณีของพระเจ้าจักรพรรดิแผ่ไปโยชน์หนึ่ง
[๒๘] ขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๙๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๙] ศาสนาของพระองค์คับคั่งไปด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย
ล้วนแต่ผู้ได้วิชชา ๓ อภิญญา ๖ และพละ๒ ผู้คงที่
[๓๐] แม้ท่านทั้งหมดนั้นล้วนมียศนับไม่ถ้วน หลุดพ้นแล้ว
ไม่มีอุปธิมีพระยศอันยิ่งใหญ่ แสดงแสงสว่างแห่งญาณแล้วนิพพาน
[๓๑] พระชินพุทธเจ้าผู้ประเสริฐพระนามว่าสุเมธะ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่เมธาราม
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์
แผ่ไปอย่างกว้างขวางในนานาอารยประเทศ ฉะนี้แล
สุเมธพุทธวงศ์ที่ ๑๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ พระรัตนะ หมายถึงพระรัศมี (ขุ.พุทธ.อ. ๒๗/๒๙๓)
๒ พละ หมายถึงกำลังฤทธิ์ (ขุ.พุทธ.อ. ๒๗/๒๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๒. สุชาตพุทธวงศ์
๑๒. สุชาตพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระสุชาตพุทธเจ้า
[๑] ในมัณฑกัปนั้นแล ได้มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุชาตะ
ทรงเป็นผู้นำ มีพระหนุดังคางราชสีห์
มีลำพระศองามดุจลำคอโคอุสภะ
ทรงมีพระคุณหาประมาณมิได้ หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
[๒] พระองค์ไม่มีมลทิน บริสุทธิ์ดุจดวงจันทร์
มีพระวรกายงดงามดังดวงอาทิตย์
มีพระรัศมีรุ่งเรืองงดงามทุกเมื่ออย่างนี้
[๓] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบรรลุพระโพธิญาณ
อันประเสริฐอย่างสิ้นเชิงแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรที่สุมังคลนคร
[๔] เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุชาตะทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงแสดงพระธรรมอันประเสริฐ ในการแสดงธรรมครั้งที่ ๑
เทวดาและมนุษย์จำนวน ๘๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรม
[๕] ในคราวที่พระสุชาตพุทธเจ้าผู้มีพระยศหาประมาณมิได้
เสด็จจำพรรษาในเทวโลก
เทวดาและมนุษย์จำนวน ๓,๗๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรม ครั้งที่ ๒
[๖] ในคราวที่พระสุชาตพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
เสด็จเข้าไปยังสำนักของพุทธบิดา
เทวดาและมนุษย์จำนวน ๖,๐๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรม ครั้งที่ ๓
[๗] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุชาตะผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
มีการประชุมแห่งพระขีณาสพ ผู้ปราศจากมลทิน
มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๒. สุชาตพุทธวงศ์
[๘] พระขีณาสพล้วนบรรลุอภิญญาและพลธรรม
ผู้ที่ยังไม่บรรลุในภพน้อยภพใหญ่
ประมาณ ๖,๐๐๐,๐๐๐ รูป เหล่านั้นมาประชุมกัน ครั้งที่ ๑
[๙] ในการประชุมครั้งต่อมา
ในกาลเมื่อพระชินเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงสเทวโลก
มีพระขีณาสพประมาณ ๕,๐๐๐,๐๐๐ รูป
มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒
[๑๐] พระอัครสาวกพร้อมด้วยพระขีณาสพประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ รูป
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้องอาจกว่านรชน
[๑๑] สมัยนั้น เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีพลานุภาพมาก
เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ เหาะไปในอากาศได้
[๑๒] เรานั้น เห็นความอัศจรรย์น่าประหลาดใจ
ให้เกิดขนพองสยองเกล้าในโลก
จึงเข้าไปกราบพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุชาตะทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๑๓] เรามอบถวายราชสมบัติเป็นอันมากในทวีปทั้ง ๔
และรัตนะ ๗ ประการอันอุดมในพระพุทธเจ้าแล้ว
จึงบวชในสำนักของพระองค์
[๑๔] พวกคนรักษาอารามได้รวบรวมสิ่งที่เกิดขึ้นในชนบท
น้อมปัจจัย๑ ที่นอน ที่นั่งเข้าไปถวายภิกษุสงฆ์
[๑๕] ครั้งนั้น แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้เป็นใหญ่ในหมื่นจักรวาล
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
“ในที่สุด ๓๐,๐๐๐ กัป ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า”
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์

เชิงอรรถ :
๑ ปัจจัย หมายถึงปัจจัยต่าง ๆ มีจีวรเป็นต้น (ขุ.พุทธ.อ. ๑๔/๒๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๒. สุชาตพุทธวงศ์
[๑๖] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราแล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๒. สุชาตพุทธวงศ์
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
“ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๗] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำความยินดีให้เกิดขึ้นอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ ให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๘] เราได้เล่าเรียนพระสูตรและพระวินัย
อันเป็นนวังคสัตถุศาสน์ทั้งปวงแล้ว
ช่วยประกาศศาสนาของพระชินเจ้าให้รุ่งเรือง
[๑๙] เราเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ในคำสั่งสอนนั้น
เจริญพรหมวิหารภาวนา
ถึงความสำเร็จอภิญญาแล้ว ได้ไปเกิดในพรหมโลก
[๒๐] กรุงชื่อว่าสุมังคละ กษัตริย์พระนามว่าอุคคตะเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าประภาวดีเป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุชาตะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๒. สุชาตพุทธวงศ์
[๒๑] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๙,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือสิริปราสาท อุปสิริปราสาท และจันทปราสาท
[๒๒] มีนางสนมกำนัล ๒๓,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าสิรินันทา
พระราชโอรสพระนามว่าอุปเสนะ
[๒๓] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือม้าออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๙ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๒๔] พระมหาวีระพระนามว่าสุชาตะ ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ที่พระอุทยานสุมังคละ อันประเสริฐ
[๒๕] พระสุทัสสนเถระและพระสุเทวเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่านารทะเป็นอุปัฏฐาก
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุชาตะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๖] พระนาคาเถรีและพระนาคสมานาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นไผ่ใหญ่
[๒๗] และต้นไม้นั้น ลำต้นแข็งเป็นไผ่ตัน๑ มีใบแน่นหนา
ลำต้นตรงใหญ่ น่าดู น่ารื่นรมย์ใจ
[๒๘] ต้นหนึ่งเจริญงอกงามแล้วแตกกิ่งก้านสาขาออกไป
ต้นไม้นั้นย่อมงามเหมือนกำหางนกยูงที่ผูกไว้ดีแล้ว
[๒๙] ไม้ไผ่นั้นไม่มีหนาม มีช่องไม่ใหญ่
มีกิ่งชิดไม่ห่าง มีเงาทึบ น่ารื่นรมย์ใจ

เชิงอรรถ :
๑ ไผ่ตัน หมายถึงไผ่มีรูที่ปล้องเล็ก (ขุ.พุทธ.อ. ๒๗/๓๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๒. สุชาตพุทธวงศ์
[๓๐] สุทัตตอุบาสกและจิตตอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
สุภัททาอุบาสิกาและปทุมาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๓๑] พระชินเจ้าพระองค์นั้นทรงมีพระวรกายสูง ๕๐ ศอก
ประกอบด้วยพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
และทรงประกอบด้วยพระคุณทั้งปวง
[๓๒] ทรงมีพระรัศมีไม่มีอะไรเสมอเหมือน
ซ่านออกไปโดยรอบ ไม่มีประมาณ
ไม่มีอะไรเทียบเคียง หาอุปมามิได้
[๓๓] ขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๙๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๓๔] ครั้งนั้น ศาสนางดงามไปด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย
เหมือนคลื่นในสาคร และเหมือนดวงดาวในท้องฟ้า
ศาสนาของพระองค์คับคั่งไปด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย
ล้วนแต่ผู้ได้วิชชา ๓ อภิญญา ๖ และพละ ผู้คงที่
[๓๕] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น หาผู้เสมอเหมือนมิได้
และพระคุณเหล่านั้นก็หาอะไรเทียบเคียงมิได้
ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ
[๓๖] พระชินพุทธเจ้าผู้ประเสริฐพระนามว่าสุชาตะ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่เสลาราม
พระเจดีย์ของพระศาสดา
ที่เสลารามนั้น สูงถึง ๓ คาวุต ฉะนี้แล
สุชาตพุทธวงศ์ที่ ๑๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๓. ปิยทัสสีพุทธวงศ์
๑๓. ปิยทัสสีพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระปิยทัสสีพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุชาตะ
ได้มีพระสยัมภูพระนามว่าปิยทัสสี ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก ไม่มีผู้เสมอเหมือน มีพระยศยิ่งใหญ่
[๒] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้มียศอันนับมิได้
ทรงรุ่งเรืองดังดวงอาทิตย์ ทรงขจัดความมืดทั้งปวงแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร
[๓] (สาวก)ของพระพุทธเจ้าผู้มีพระเดชไม่มีอะไรเปรียบปาน
มีการบรรลุธรรม ๓ ครั้ง
เทวดาและมนุษย์จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๔] ท้าวสุทัสสนเทวราช มากราบทูลถึงมิจฉาทิฏฐิ
พระศาสดาเมื่อจะทรงบรรเทามิจฉาทิฏฐิ
ของท้าวเทวราชนั้นจึงทรงแสดงธรรม
[๕] ครั้งนั้น มหาชนได้มาประชุมกันมากมาย ประมาณไม่ได้
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๙,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒
[๖] ในกาลที่พระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นสารถีฝึกนรชน
ทรงฝึกช้างโทณมุข
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๘๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๗] แม้พระปิยทัสสีพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก็มีการประชุมสาวก ๓ ครั้ง
พระสาวกประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๑
[๘] พระมุนีขีณาสพประมาณ ๙๐ โกฏิ มาประชุมร่วมกัน
ในการประชุมครั้งที่ ๓ มีพระมุนีขีณาสพประมาณ ๘๐ โกฏิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๓. ปิยทัสสีพุทธวงศ์
[๙] สมัยนั้น เราเป็นมาณพมีชื่อว่ากัสสปะ
เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์ จบไตรเพท๑
[๑๐] เราได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว เกิดความเลื่อมใส
ได้บริจาคทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิสร้างสังฆาราม
[๑๑] ครั้นถวายอารามแก่พระองค์แล้ว ร่าเริง ตื้นตันใจ
ได้สมาทานสรณคมน์และเบญจศีลให้มั่นคง
[๑๒] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นประทับนั่ง ท่ามกลางสงฆ์
ทรงพยากรณ์เราว่า
“ใน ๑๑๘ กัป มาณพนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า”
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๓] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยาจักประทับนั่งโคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสที่ที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ

เชิงอรรถ :
๑ ไตรเพท หมายถึงบทสวดสรรเสริญเทพเจ้า ซึ่งรวบรวมเป็นหมวด ๆ เรียกชื่อว่า ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท
และอาถรรพเวท (ที.สี. (แปล) ๙/๒๕๖/๘๗-๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๓. ปิยทัสสีพุทธวงศ์
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวีจักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๓. ปิยทัสสีพุทธวงศ์
[๑๔] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๕] กรุงชื่อว่าสุธัญญะ กษัตริย์พระนามว่าสุทัตตะเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าสุจันทาเป็นพระชนนี
ของพระศาสดาพระนามว่าปิยทัสสี
[๑๖] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๙,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือสุนิมมลปราสาท วิมลปราสาท และคิริคูหาปราสาท
[๑๗] มีนางสนมกำนัล ๓๓,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าวิมลา
พระราชโอรสพระนามว่ากัญจนาเวฬะ
[๑๘] พระองค์ผู้สูงสุดแห่งบุรุษทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือรถออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๖ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๑๙] พระมหาวีรมหามุนีพระนามว่าปิยทัสสี
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ที่พระอุทยานอุสภวันน่ารื่นรมย์ใจ
[๒๐] พระปาลิตเถระและพระสัพพทัสสีเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าโสภิตะเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระศาสดาพระนามว่าปิยทัสสี
[๒๑] พระสุชาตาเถรีและพระธรรมทินนาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นกุ่ม
[๒๒] สันทกอุบาสกและธรรมิกอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
วิสาขาอุบาสิกาและธรรมทินนาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๔. อัตถทัสสีพุทธวงศ์
[๒๓] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้มีพระยศนับไม่ถ้วน
ทรงพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
มีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก ปรากฏดังต้นพญาไม้สาละ
[๒๔] รัศมีไฟ รัศมีดวงจันทร์ รัศมีดวงอาทิตย์
ก็ไม่เหมือนกับพระรัศมีพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
หาผู้เสมอมิได้ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๕] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
มีพระจักษุ ก็ดำรงพระชนมายุอยู่ในโลกประมาณ ๙๐,๐๐๐ ปี
[๒๖] แม้พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือนพระองค์นั้น
แม้คู่พระอัครสาวกซึ่งไม่มีผู้เทียบเคียงเหล่านั้น
ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ
[๒๗] พระมุนีผู้ประเสริฐพระนามว่าปิยทัสสี
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่อัสสัตถาราม
พระสถูปของพระชินเจ้านั้น
ที่อัสสัตถารามนั้น สูงถึง ๓ โยชน์ ฉะนี้แล
ปิยทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๓ จบ
๑๔. อัตถทัสสีพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระอัตถทัสสีพุทธเจ้า
[๑] ในมัณฑกัปนั้นแล ได้มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ทรงขจัดความมืด๒ใหญ่ออกไปแล้ว
ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้
๒ ความมืด หมายถึงความมืดคือโมหะ (ขุ.พุทธ.อ. ๒๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๔. อัตถทัสสีพุทธวงศ์
[๒] พระองค์ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร
ทรงช่วยชาวโลกในหมื่นจักรวาล
พร้อมทั้งเทวดาให้อิ่มหนำด้วยอมตธรรม
[๓] สาวกของพระองค์แม้นั้นผู้ทรงเป็นที่พึ่งของโลก
มีการบรรลุธรรม ๓ ครั้ง
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๔] ในกาลที่พระพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสีเสด็จจาริกไปในเทวโลก
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒
[๕] ต่อมา ในกาลที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม
ในราชสำนักของพระชนก
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๖] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ก็ได้มีการประชุมแห่งพระขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง
[๗] พระขีณาสพประมาณ ๙๘,๐๐๐ รูป
มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๑
พระขีณาสพประมาณ ๘๘,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒
[๘] พระขีณาสพผู้หลุดพ้น เพราะไม่ถือมั่น
ผู้ปราศจากมลทิน ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ประมาณ ๗๘,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๓
[๙] สมัยนั้น เราเป็นชฎิลมีชื่อว่าสุสิมะ ตามโคตร มีตบะแก่กล้า
ประชาชนยกย่องว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในแผ่นดิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๔. อัตถทัสสีพุทธวงศ์
[๑๐] เรานำดอกมณฑารพ ดอกปทุม และดอกปาริฉัตตกะ
อันเป็นทิพย์จากเทวโลก มาบูชาพระสัมพุทธเจ้า
[๑๑] แม้พระมหามุนีพุทธเจ้าพระองค์นั้นพระนามว่าอัตถทัสสี
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
“ใน ๑๑๘ กัป ชฎิลนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า”
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๒] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้น จักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๔. อัตถทัสสีพุทธวงศ์
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มีพระยศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๓] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ทั้งยินดี ทั้งตื้นตันใจ
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๔] กรุงชื่อว่าโสภณะ กษัตริย์พระนามว่าสาคระเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าสุทัสสนาเป็นพระชนนี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๔. อัตถทัสสีพุทธวงศ์
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๕] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๑๐,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คืออมรคิปราสาท สุรคิปราสาท และคิริพาหนาปราสาท
[๑๖] มีนางสนมกำนัล ๓๓,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าวิสาขา
พระราชโอรสพระนามว่าเสละ
[๑๗] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือม้าออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๑๘] พระมหาวีระพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้องอาจกว่านรชน
มีพระยศยิ่งใหญ่ ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรที่พระอุทยานอโนมา
[๑๙] พระสันตเถระและพระอุปสันตเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอภัยเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า
พระนามว่าอัตถทัสสี ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๐] พระธรรมาเถรีและพระสุธรรมาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นจำปา
[๒๑] นกุลอุบาสกและนิสภอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
มกิลาอุบาสิกาและสุนันทาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๒] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ทรงมีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก ทรงสง่างามดังต้นพญาไม้สาละ
เหมือนดวงจันทร์เต็มดวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๕. ธัมมทัสสีพุทธวงศ์
[๒๓] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นมีพระรัศมีหลายร้อยโกฏิตามปกติ
แผ่ไปตลอดโยชน์หนึ่งทั่ว ๑๐ ทิศทั้งเบื้องบนและเบื้องล่างตลอดเวลา
[๒๔] แม้พระพุทธมุนีพระองค์นั้น
ผู้องอาจกว่านรชน ผู้สูงสุดแห่งสรรพสัตว์
ผู้มีพระจักษุ ก็ดำรงอยู่ในโลกตลอด ๑๐๐,๐๐๐ ปี
[๒๕] แม้พระองค์ทรงแสดงพระรัศมีที่ไม่มีสิ่งอื่นเทียมทัน
ให้สว่างไสวรุ่งโรจน์ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกแล้ว
ก็ถึงสภาวะไม่เที่ยง(เสด็จดับขันธปรินิพพานไป)
ดังไฟสิ้นเชื้อดับไป ฉะนั้น
[๒๖] พระชินเจ้าผู้ประเสริฐพระนามว่าอัตถทัสสี
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่อโนมาราม
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์
แผ่ไปอย่างกว้างขวางในนานาอารยประเทศ ฉะนี้แล
อัตถทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๔ จบ
๑๕. ธัมมทัสสีพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า
[๑] ในมัณฑกัปนั้นแล ได้มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าธัมมทัสสี
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ทรงขจัดความมืดแล้ว
ทรงรุ่งเรืองอย่างยิ่งในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
[๒] แม้ในการที่พระองค์ผู้มีพระเดชไม่มีอะไรเปรียบเทียบ
ทรงประกาศพระธรรมจักร
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๓] ในกาลที่พระพุทธเจ้าพระนามว่าธัมมทัสสี
ทรงแนะนำสัญชัยฤาษี
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๙๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๕. ธัมมทัสสีพุทธวงศ์
[๔] ในกาลที่ท้าวสักกะพร้อมทั้งบริษัท
เสด็จเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำวิเศษ
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๘๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๕] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
ก็มีการประชุมแห่งพระขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน
มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง
[๖] ในกาลที่พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า
ทรงเสด็จจำพรรษาที่สรณนคร
พระขีณาสพประมาณ ๑,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๑
[๗] ต่อมา ในกาลที่พระพุทธเจ้า
เสด็จลงจากเทวโลกมายังโลกมนุษย์
พระขีณาสพประมาณ ๑๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒
[๘] ต่อมา ในกาลที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศธุดงค์คุณ
พระขีณาสพจำนวน ๘๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๓
[๙] สมัยนั้น เราเป็นท้าวสักกปุรินททะ๑
ได้บูชาด้วยของหอมมาลาและดนตรีทิพย์
[๑๐] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลางเทวดา
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
“ใน ๑๑๘ กัป ท้าวสักกปุรินททะนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า”
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๑] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา

เชิงอรรถ :
๑ ปุรินททะ หมายถึงผู้ให้ทานในชาติก่อน เป็นชื่อของท้าวสักกะ (ขุ.วิ.อ. ๙๗๘/๓๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๕. ธัมมทัสสีพุทธวงศ์
พระชินเจ้าพระองค์นั้น จักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราแล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวีจักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและขุชชุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๕. ธัมมทัสสีพุทธวงศ์
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๒] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๓] กรุงชื่อว่าสรณะ กษัตริย์พระนามว่าสรณะเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าสุนันทาเป็นพระชนนี
ของพระศาสดาพระนามว่าธัมมทัสสี
[๑๔] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๘,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คืออรชปราสาท วิรชปราสาท และสุทัศนปราสาท
[๑๕] มีนางสนมกำนัล ๔๐,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีนามว่าวิจิโกสี
พระราชโอรสพระนามว่าปุญญวัฑฒนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๕. ธัมมทัสสีพุทธวงศ์
[๑๖] พระองค์ผู้สูงสุดแห่งบุรุษทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงเสด็จออกจากปราสาทไปผนวช
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๑๗] พระมหาวีระพระนามว่าธัมมทัสสี ผู้องอาจกว่านรชน
เป็นผู้สูงสุดแห่งนรชน ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรที่มฤคทายวัน
[๑๘] พระปทุมเถระและพระปุสสเทวเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าสุทัตตะเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระศาสดานามว่าธัมมทัสสี
[๑๙] พระเขมาเถรีและพระสัจจนามาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นมะกล่ำหลวง
[๒๐] สุภัททอุบาสกและกฏิสสหอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
สาฬิสาอุบาสิกาและกฬิสสาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๑] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ทรงมีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก
ทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระเดชในโลกธาตุมีหมื่นจักรวาล
[๒๒] พระองค์ทรงงามสง่าดังต้นพญาไม้สาละที่มีดอกบานสะพรั่ง
เหมือนสายฟ้าในท้องฟ้า และเหมือนดวงอาทิตย์ในยามเที่ยงวัน
[๒๓] แม้พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ
มีพระเดชไม่มีอะไรเปรียบเทียบ
ทรงดำรงชีวิตอยู่ในโลก ๑๐๐,๐๐๐ ปีถ้วน
[๒๔] พระองค์พร้อมทั้งสาวก ทรงแสดงพระรัศมีอันสว่างไสว
ทำศาสนาให้ปราศจากมลทิน เสด็จดับขันธปรินิพพาน
ดังดวงจันทร์บนท้องฟ้าเคลื่อนลับไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๖. สิทธัตถพุทธวงศ์
[๒๕] พระมหาวีระพระนามว่าธัมมทัสสี
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่เกสาราม
พระสถูปอันประเสริฐของพระองค์นั้น สูงถึง ๓ โยชน์ ฉะนี้แล
ธัมมทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๕ จบ
๑๖. สิทธัตถพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระสิทธัตถพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าธัมมทัสสี
ได้มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง(ปรากฏ)
เหมือนดวงอาทิตย์อุทัย
[๒] แม้พระองค์ทรงบรรลุสัมโพธิญาณแล้ว
ทรงช่วยหมู่มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาให้ข้ามพ้น
ทรงบันดาลฝนคือธรรมให้ตก
ช่วยชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้เย็น
[๓] สาวกแม้ของพระองค์ผู้มีพระเดชไม่มีอะไรเปรียบเทียบ
ได้มีการบรรลุธรรม ๓ ครั้ง
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๔] ต่อมา ในกาลที่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงลั่นอมตเภรีที่ภีมรัฏฐนคร
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๙๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒
[๕] ในกาลที่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงเป็นนระผู้สูงสุด
ทรงแสดงธรรมที่เวภารบรรพต
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๙๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๖. สิทธัตถพุทธวงศ์
[๖] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ได้มีการประชุมแห่งพระขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง
[๗] ได้มีการประชุมของพระขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน ๓ ครั้งเหล่านี้
คือพระขีณาสพประมาณ ๑๐๐ โกฏิ ๑ ครั้ง
พระขีณาสพประมาณ ๙๐ โกฏิ ๑ ครั้ง
พระขีณาสพประมาณ ๘๐ โกฏิ ๑ ครั้ง
[๘] สมัยนั้น เราเป็นดาบสมีชื่อว่ามงคล มีเดชรุ่งเรือง
ข่มได้ยาก ทั้งประกอบด้วยอภิญญาและพละ
[๙] เราได้นำผลหว้ามาถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
พระองค์ทรงรับแล้ว ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า
[๑๐] จงดูชฎิลดาบสผู้มีตบะแก่กล้านี้ ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ชฎิลดาบสนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๑] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๖. สิทธัตถพุทธวงศ์
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวีจักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๖. สิทธัตถพุทธวงศ์
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๒] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๓] กรุงชื่อว่าเวภาระ กษัตริย์พระนามว่าอุเทนเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าสุผัสสาเป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๔] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๑๐,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือโกกาสปราสาท อุปลปราสาท และโกกนุทปราสาท
[๑๕] มีนางสนมกำนัล ๔๘,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าสุมนา
พระราชโอรสพระนามว่าอนุปมะ
[๑๖] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงวอทองออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๑๗] พระมหาวีระพระนามว่าสิทธัตถะทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงเป็นผู้สูงสุดแห่งนระ ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรที่มฤคทายวัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๖. สิทธัตถพุทธวงศ์
[๑๘] พระสัมพลเถระและพระสุมิตตเถระ เป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าเรวตะเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๙] พระสีวลาเถรีและพระสุรามาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นกรรณิการ์
[๒๐] สุปปิยอุบาสกและสมุททอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
รัมมาอุบาสิกาและสุรัมมาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๑] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระวรกายสูง ๖๐ ศอก
ทรงงดงามดังทองคำที่ล้ำค่า
รุ่งเรืองไปทั่วหมื่นจักรวาล
[๒๒] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
มีพระคุณนับไม่ได้ ไม่มีบุคคลเปรียบ ผู้มีพระจักษุ
ก็ดำรงพระชนมายุอยู่ในโลกประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
[๒๓] พระองค์ทรงแสดงพระรัศมีอย่างกว้างขวาง
ทรงทำสาวกทั้งหลายให้เบิกบาน
ทรงเยื้องกรายงดงามด้วยสมาบัติ
พร้อมทั้งสาวกเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
[๒๔] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะทรงเป็นมุนีผู้ประเสริฐ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่อโนมาราม
พระสถูปอันประเสริฐของพระองค์
ที่อโนมารามนั้น สูงถึง ๔ โยชน์ ฉะนี้แล
สิทธัตถพุทธวงศ์ที่ ๑๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๗. ติสสพุทธวงศ์
๑๗. ติสสพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระติสสพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
ได้มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ
ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีบุคคลเปรียบ
มีศีลหาที่สุดมิได้ มีพระยศนับมิได้
ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก
[๒] พระมหาวีระผู้มีพระจักษุ ผู้ทรงอนุเคราะห์
เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงขจัดความมืดได้แล้ว
ฉายพระรัศมีให้มนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลกสว่างไสว
[๓] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระฤทธิ์
ศีลและสมาธิอันหาสิ่งทัดเทียมมิได้
ทรงถึงความสำเร็จในธรรมทั้งปวงแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร
[๔] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงแสดงธรรม
ประกาศความบริสุทธิ์ไปในหมื่นจักรวาล
ในพระธรรมเทศนาครั้งที่ ๑
เทวดาและมนุษย์ ๑๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรม
[๕] เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๙๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒
ในการแสดงธรรมครั้งที่ ๓
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๖๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรม
ครั้งนั้นพระองค์ทรงเปลื้องเทวดาและมนุษย์
ที่มาประชุมกันให้หลุดพ้นจากเครื่องผูกพัน๑
[๖] พระติสสพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ได้มีการประชุมแห่งพระขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง

เชิงอรรถ :
๑ เครื่องผูกพัน หมายถึงสังโยชน์ ๑๐ (ขุ.พุทธ.อ. ๕/๓๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๗. ติสสพุทธวงศ์
[๗] พระขีณาสพประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ รูป
มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๑
พระขีณาสพประมาณ ๙,๐๐๐,๐๐๐ รูป
มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒
[๘] พระขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน
เบิกบานแล้วด้วยวิมุตติประมาณ ๘,๐๐๐,๐๐๐ รูป
มาประชุมกันเป็นครั้งที่ ๓
[๙] สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์มีนามว่าสุชาตะ
ละทิ้งโภคะเป็นอันมากแล้ว บวชเป็นฤๅษี
[๑๐] เมื่อเราบวชแล้ว พระพุทธเจ้า
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกเสด็จอุบัติขึ้น
เพราะได้ฟังเสียงว่า พุทโธ ปีติจึงเกิดแก่เรา
[๑๑] เราผู้กำจัดมานะแล้ว ใช้มือทั้ง ๒ ประคองดอกมณฑารพ
ดอกปทุม และดอกปาริฉัตตกะอันเป็นทิพย์เข้าเฝ้า
[๑๒] เราถือดอกไม้นั้น กั้นเหนือพระเศียร
พระชินเจ้าพระนามว่าติสสะ
ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก
ผู้แวดล้อมด้วยวรรณะทั้ง ๔๑
[๑๓] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประทับนั่งท่ามกลางประชุมชน
ทรงพยากรณ์เราว่า
‘ในกัปที่ ๙๒ จากกัปนี้ไป ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า’
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๔] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา

เชิงอรรถ :
๑ วรรณะ ๔ หมายถึง วรรณะกษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี และสมณะ (ขุ.พุทธ.อ. ๑๒/๓๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๗. ติสสพุทธวงศ์
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราแล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๗. ติสสพุทธวงศ์
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
[๑๕] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๖] กรุงชื่อว่าเขมกะ กษัตริย์พระนามว่าชนสันธะเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าปทุมาเป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๗] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๗,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือคุณเสลาปราสาท นาทิยปราสาท และนิสภปราสาท
[๑๘] มีนางสนมกำนัล ๓๐,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าสุภัททา
พระราชโอรสพระนามว่าอานันทะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๗. ติสสพุทธวงศ์
[๑๙] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือม้าออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ครึ่งเดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๒๐] พระมหาวีระพระนามว่าติสสะ ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรที่ยสวดีทายวันอันประเสริฐ
[๒๑] พระพรหมเทพเถระและพระอุทัยเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าสุมังคละเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๒] พระผุสสาเถรีและพระสุทัตตาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นประดู่
[๒๓] สัมพลอุบาสกและสิริอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
กีสาโคตมีอุบาสิกาและอุปเสนาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๔] พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงมีพระวรกายสูง ๖๐ ศอก
ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบ ผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน ทรงปรากฏดังภูเขา
[๒๕] แม้พระองค์ผู้มีเดชไม่มีอะไรเปรียบเทียบ ผู้มีพระจักษุ
ทรงดำรงพระชนมายุอยู่ในโลกประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
ไม่ยิ่งไปกว่านั้น๑
[๒๖] พระองค์พร้อมทั้งสาวก เสวยยศยิ่งใหญ่ อุดม ประเสริฐสุด
ทรงรุ่งเรืองดังกองเพลิงเสด็จดับขันธปรินิพพาน

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ยิ่งไปกว่านั้น หมายถึงไม่มากไม่น้อยไปกว่า ๑๐๐,๐๐๐ ปี (ขุ.พุทธ.อ. ๒๕/๓๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๘. ปุสสพุทธวงศ์
[๒๗] พระองค์พร้อมทั้งสาวก เสด็จดับขันธปรินิพพาน
ดังเมฆหายจางไปเพราะสายลม
ดังน้ำค้างเหือดแห้งไปเพราะดวงอาทิตย์
และดังความมืดหายไปเพราะดวงไฟ ฉะนั้น
[๒๘] พระชินพุทธเจ้าผู้ประเสริฐพระนามว่าติสสะ
เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วที่นันทาราม
พระสถูปของพระชินเจ้านั้น
ที่นันทารามนั้น สูงถึง ๓ โยชน์ ฉะนี้แล
ติสสพุทธวงศ์ที่ ๑๗ จบ
๑๘. ปุสสพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระปุสสพุทธเจ้า
[๑] ในมัณฑกัปนั้นแล ได้มีพระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมพระนามว่าปุสสะ
ไม่มีบุคคลเปรียบ ผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก
[๒] แม้พระองค์ก็ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง
ทรงสางความรกชัฏเป็นอันมาก๑แล้ว
ทรงยังน้ำอมฤต๒ให้ตก ช่วยมนุษย์
พร้อมทั้งเทวดาได้ดื่มจนสำราญ
[๓] เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ
ทรงประกาศพระธรรมจักรในนักขัตตมงคล
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑

เชิงอรรถ :
๑ ความรกชัฏเป็นอันมาก ได้แก่ ตัณหา (ขุ.พุทธ.อ. ๒/๓๓๕)
๒ น้ำอมฤต ได้แก่ ธรรมกถา (ขุ.พุทธ.อ. ๒/๓๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๘. ปุสสพุทธวงศ์
[๔] เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๙,๐๐๐,๐๐๐
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๘,๐๐๐,๐๐๐ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๕] พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่พระนามว่าปุสสะ
ได้มีการประชุมแห่งพระขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง
[๖] พระขีณาสพประมาณ ๖,๐๐๐,๐๐๐ รูป
มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๑
พระขีณาสพประมาณ ๕,๐๐๐,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒
[๗] พระขีณาสพประมาณ ๔,๐๐๐,๐๐๐ รูป
ล้วนแต่หลุดพ้นแล้วเพราะไม่ถือมั่น ตัดที่ต่อคือกิเลสได้แล้ว
มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๓
[๘] สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์มีนามว่าวิชิตะ
สละราชสมบัติเป็นอันมาก แล้วออกผนวชในสำนักของพระองค์
[๙] แม้พระพุทธเจ้าพระนามว่าปุสสะ
พระองค์นั้น ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของชาวโลก
ทรงพยากรณ์เราว่า
‘ในกัปที่ ๙๒ จากกัปนี้ไป ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า’
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๐] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราแล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๘. ปุสสพุทธวงศ์
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้น
จักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๘. ปุสสพุทธวงศ์
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๑] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๒] เราได้เล่าเรียนพระสูตรและพระวินัย
อันเป็นนวังคสัตถุศาสน์ทั้งปวงแล้ว
ช่วยประกาศศาสนาของพระชินเจ้าให้รุ่งเรือง
[๑๓] เราเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ในคำสั่งสอนนั้น
เจริญพรหมวิหารภาวนา
ถึงความสำเร็จอภิญญาแล้ว ได้ไปเกิดในพรหมโลก
[๑๔] กรุงชื่อว่ากาสิกะ กษัตริย์พระนามว่าชัยเสนเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าสิริมาเป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปุสสะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๕] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๙,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือครุฬปราสาท หังสปราสาท และสุวรรณดาราปราสาท
[๑๖] มีนางสนมกำนัล ๒๓,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่ากีสาโคตมี
พระราชโอรสพระนามว่าอนูปมะ
[๑๗] พระองค์ผู้สูงสุดแห่งบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือช้างออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วันเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๘. ปุสสพุทธวงศ์
[๑๘] พระมหาวีระพระนามว่าปุสสะ
ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก สูงสุดกว่านรชน
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรที่มฤคทายวัน
[๑๙] พระสุรักขิตเถระและพระธรรมเสนเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าสภิยะเป็นพระอุปัฏฐากของพระปุสสพุทธเจ้า
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๐] พระจาลาเถรีและพระอุปจาลาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่าต้นมะขามป้อม
[๒๑] ธนัญชัยอุบาสกและวิสาขอุบาสก เป็นอัครอุปัฏฐาก
ปทุมาอุบาสิกาและสิรินาคาอุบาสิกา เป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๒] พระมุนีพระองค์นั้นทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก
ทรงงดงามดังดวงอาทิตย์ และเหมือนดวงจันทร์ในวันเพ็ญ
[๒๓] ขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๙๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๔] แม้พระศาสดาผู้มีพระยศอันไม่มีใคร ๆ เสมอเหมือนพระองค์นั้น
ตรัสสอนเวไนยสัตว์เป็นจำนวนมาก
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
พระองค์ผู้เป็นไปกับสาวกเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
[๒๕] พระชินศาสดาผู้ประเสริฐพระนามว่าปุสสะ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่เสนาราม
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์
แผ่ไปอย่างกว้างขวางในนานาอารยประเทศ ฉะนี้แล
ปุสสพุทธวงศ์ที่ ๑๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๙. วิปัสสีพุทธวงศ์
๑๙. วิปัสสีพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระวิปัสสีพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าปุสสะ
ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ตามพระโคตร
ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์
ผู้มีพระจักษุ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก
[๒] พระองค์ทรงทำลายกระเปาะฟองไข่คืออวิชชาแล้ว
ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม เสด็จไปยังกรุงพันธุมดี
เพื่อทรงประกาศพระธรรมจักร
[๓] พระองค์ทรงเป็นผู้นำ ทรงประกาศพระธรรมจักร
ให้ราชบุตรและบุตรปุโรหิตทั้ง ๒ ได้บรรลุธรรม
การบรรลุธรรมครั้งที่ ๑ บอกจำนวนไม่ได้
[๔] ต่อมาพระองค์ผู้มีพระยศนับไม่ได้
ทรงประกาศอริยสัจ ๔ ในนครนั้น
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๘๔,๐๐๐ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒
[๕] กุลบุตรประมาณ ๘๔,๐๐๐ บวชตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์ผู้มีพระจักษุทรงแสดงธรรมแก่เขาเหล่านั้นผู้มาถึงอาราม
[๖] เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานธรรมทานตามอุปนิสัย
จึงประทับยืนตรัสโดยอาการทั้งปวง
แม้บรรพชิตเหล่านั้นก็ได้บรรลุธรรมอันประเสริฐ
จึงชื่อว่าได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๗] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ได้มีการประชุมพระขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน
มีจิตสงบระงับ คงที่ ๓ ครั้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๙. วิปัสสีพุทธวงศ์
[๘] ภิกษุประมาณ ๖,๘๐๐,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๑
ภิกษุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒
[๙] ภิกษุประมาณ ๘๐,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๓
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรุ่งเรืองยิ่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุนั้น
[๑๐] สมัยนั้น เราเป็นพญานาคผู้มีฤทธิ์มาก
มีบุญ มีความรุ่งเรือง มีนามว่าอตุละ ตามโคตร
[๑๑] ครั้งนั้น เรามีนาคหลายโกฏิแวดล้อม
เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้เจริญที่สุดในโลก
บรรเลงดนตรีทิพย์ถวาย
[๑๒] เราครั้นเข้าเฝ้าพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกแล้ว
ทูลนิมนต์พระองค์แล้ว ได้ถวายตั่งทอง
อันประดับด้วยแก้วมณีและแก้วมุกดา
ประดับด้วยอาภรณ์ทุกชนิดแก่พระองค์ผู้เป็นพระธรรมราชา
[๑๓] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์แล้ว
ทรงพยากรณ์เราว่า
‘ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป พญานาคนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า’
[๑๔] พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์แล้ว
ทรงเริ่มตั้งความเพียรบำเพ็ญทุกรกิริยา
[๑๕] พระตถาคตจักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
[๑๖] พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๙. วิปัสสีพุทธวงศ์
[๑๗] จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้สัมโพธิญาณที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
[๑๘] พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
[๑๙] พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
[๒๐] พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบระงับ
ตั้งมั่นดีจักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
[๒๑] จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
[๒๒] เทวดาและมนุษย์ ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๙. วิปัสสีพุทธวงศ์
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือ นมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๒๓] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๒๔] กรุงชื่อว่าพันธุมดี กษัตริย์พระนามว่าพันธุมะเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าพันธุมดีเป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๕] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๘,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือนันทปราสาท สุนันทปราสาท และสิริมาปราสาท
[๒๖] มีนางสนมกำนัล ๔๓,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าสุทัสสนา
พระราชโอรสพระนามว่าสมวัตตขันธ์
[๒๗] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือรถออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๙. วิปัสสีพุทธวงศ์
[๒๘] พระมหาวีระพระนามว่าวิปัสสี ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
สูงสุดกว่านรชน ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรที่มฤคทายวัน
[๒๙] พระขันธเถระและพระติสสนามเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอโสกะเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๓๐] พระจันทาเถรีและพระจันทมิตตาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นแคฝอย
[๓๑] ปุนัพพสุมิตตอุบาสกและนาคอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
สิริมาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๓๒] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงมีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก
พระองค์ทรงมีพระรัศมีเปล่งปลั่ง แผ่ไป ๗ โยชน์โดยรอบ
[๓๓] ขณะนั้น พระพุทธเจ้ามีพระชนมายุประมาณ ๘๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๓๔] ทรงเปลื้องเทวดาและมนุษย์เป็นจำนวนมาก
ให้พ้นจากเครื่องพันธนาการ
ตรัสบอกทางและมิใช่ทางแก่ปุถุชนที่เหลือ
[๓๕] พระองค์พร้อมทั้งสาวก ทรงแสดงแสงสว่าง แสดงอมตบท
ทรงรุ่งเรืองดังกองเพลิงเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
[๓๖] พระฤทธิ์และบุญอันประเสริฐ
พระลักษณะมีลายจักรที่สวยงาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๐. สิขีพุทธวงศ์
ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ
[๓๗] พระวีรเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงเป็นนระผู้ประเสริฐ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่สุมิตตาราม
พระสถูปอันประเสริฐของพระองค์
ที่สุมิตตารามนั้น สูงถึง ๗ โยชน์ ฉะนี้แล
วิปัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๙ จบ
๒๐. สิขีพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระสิขีพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้มีพระชินสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี
ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์
ผู้ไม่มีบุคคลเสมอ ไม่มีบุคคลเปรียบเทียบ
[๒] ทรงย่ำยีมารและเสนามารแล้ว
ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด
ทรงประกาศพระธรรมจักร เพื่ออนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย
[๓] เมื่อพระชินเจ้าผู้ประเสริฐพระนามว่าสิขี
ทรงประกาศพระธรรมจักร
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๔] เมื่อพระองค์ผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่คณะ
เป็นผู้สูงสุดแห่งนระ ทรงแสดงธรรมแม้อื่นอีก
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๙๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๐. สิขีพุทธวงศ์
[๕] เมื่อพระองค์ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ในมนุษย์โลกพร้อมเทวโลก
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๘๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๖] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขีผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ก็ได้มีการประชุมแห่งพระขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง
[๗] พระขีณาสพจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ รูป
มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๑
มีพระขีณาสพจำนวน ๘๐,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒
[๘] มีพระขีณาสพจำนวน ๗๐,๐๐๐ รูป
มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๓
ภิกษุที่มาประชุมกันแม้นั้น ไม่แปดเปื้อนด้วยโลกธรรม
เหมือนดอกบัวที่เจริญในน้ำก็ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำ
[๙] สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์มีนามว่าอรินทมะ
ได้อังคาสพระสงฆ์มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน
ให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ
[๑๐] ได้ถวายผ้าอย่างดีมากมายหลายโกฏิผืน
ได้ถวายพาหนะคือช้างซึ่งประดับแล้วอย่างดี
แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๑๑] เราได้ทำราชพาหนะคือช้างให้เป็นของสมควรแก่สมณะ
แล้วนำไปถวาย ทำจิตของเราให้ตั้งมั่นเป็นนิตย์
[๑๒] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขีพระองค์นั้น
ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
‘ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๐. สิขีพุทธวงศ์
[๑๓] พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์แล้ว
ทรงเริ่มตั้งความเพียร บำเพ็ญทุกรกิริยา
พระตถาคตจักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๐. สิขีพุทธวงศ์
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้น
จักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๔] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๕] กรุงชื่อว่าอรุณวดี กษัตริย์พระนามว่าอรุณเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าประภาวดีเป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๖] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๗,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือสุวัฑฒกปราสาท คิริปราสาท และวาหนปราสาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๐. สิขีพุทธวงศ์
[๑๗] มีนางสนมกำนัล ๒๔,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าสัพพกามา
พระราชโอรสพระนามว่าอตุละ
[๑๘] พระองค์เป็นผู้สูงสุดแห่งบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือช้างออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๑๙] พระมหาวีระ ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก
ผู้สูงสุดแห่งนรชนพระนามว่าสิขี
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทูลทรงประกาศพระธรรมจักรที่มฤคทายวัน
[๒๐] พระอภิภูเถระและพระสัมภวเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าเขมังกรเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๑] พระสขิลาเถรีและพระปทุมาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นกุ่มบก
[๒๒] สิริวัฑฒอุบาสกและนันทอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
จิตตาอุบาสิกาและสุจิตตาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๓] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระวรกายสูง ๗๐ ศอก
ทรงงดงามดังทองคำที่ล้ำค่า
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
[๒๔] แม้พระองค์ก็มีพระรัศมีประมาณวาหนึ่ง
ซ่านออกไปจากพระวรกายต่อเนื่องกันไป
พระรัศมีนั้นแผ่ไปยังทิศน้อยทิศใหญ่ถึง ๓ โยชน์

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๑. เวสสภูพุทธวงศ์
[๒๕] พระองค์ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่นั้น
มีพระชนมายุประมาณ ๗๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๖] พระองค์พร้อมทั้งสาวก
ทรงบันดาลฝนคือธรรมให้ตกลง
ช่วยเทวดาและมนุษย์ให้แช่มชื่น
ให้บรรรลุถึงความเกษมแล้ว
เสด็จดับขันธปรินิพพาน
[๒๗] พระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
ซึ่งสมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ
ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ
[๒๘] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ทรงเป็นมุนีผู้ประเสริฐ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่อัสสาราม
พระสถูปอันประเสริฐของพระองค์
ที่อัสสารามนั้น สูงถึง ๓ โยชน์ ฉะนี้แล
สิขีพุทธวงศ์ที่ ๒๐ จบ
๒๑. เวสสภูพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระเวสสภูพุทธเจ้า
[๑] ในมัณฑกัปนั้นแล ได้มีพระชินเจ้าพระนามว่าเวสสภู
ตามพระโคตร พระองค์ผู้ไม่มีบุคคลเสมอ ไม่มีบุคคลเปรียบ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๑. เวสสภูพุทธวงศ์
[๒] พระชินเจ้าพระองค์นั้น
ทรงทราบว่า ไฟคือราคะนี้เป็นของร้อน
เป็นแว่นแคว้นของตัณหา ทรงตัดกิเลสเครื่องผูก
ดุจช้างตัดเครื่องพันธนาการแล้ว
ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด
[๓] พระเวสสภูพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงประกาศพระธรรมจักรแล้ว
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๘๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๔] เมื่อพระนราสภะผู้เจริญที่สุดในโลก
เสด็จจาริกไปในแว่นแคว้น
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๗๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒
[๕] เมื่อพระองค์ทรงกระทำปาฏิหาริย์บรรเทาทิฏฐิอันสำคัญ
เทวดาและมนุษย์ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกในหมื่นจักรวาล
มาประชุมกัน
[๖] เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๖๐ โกฏิ
ได้เห็นความมหัศจรรย์ที่ไม่เคยมี
เป็นเหตุให้ขนพองสยองเกล้าแล้วบรรลุธรรม
[๗] พระชินเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่พระนามว่าเวสสภู
ได้มีการประชุมแห่งพระขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง
[๘] ภิกษุประมาณ ๘๐,๐๐๐ รูป ได้มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๑
ภิกษุประมาณ ๗๐,๐๐๐ รูป ได้มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒
[๙] ภิกษุประมาณ ๖๐,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๓
ล้วนกลัวภัยมีชราเป็นต้น เป็นโอรสของพระมเหสีเจ้า
[๑๐] สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์มีนามว่าสุทัสสนะ
ทูลอาราธนาพระมหาวีรเจ้า แล้วถวายทานอันมีค่ามาก
ได้บูชาพระชินเจ้าพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ด้วยข้าวน้ำและผ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๑. เวสสภูพุทธวงศ์
[๑๑] เราฟังพระธรรมจักรอันประณีต
อันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้ไม่มีบุคคลเสมอ ทรงประกาศแล้ว
จึงชอบใจการบรรพชา
[๑๒] เราบำเพ็ญมหาทานให้เป็นไป
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ทราบว่าการบวชถึงพร้อมด้วยคุณ
จึงบวชในสำนักของพระชินเจ้า
[๑๓] เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอาจารคุณ
ตั้งมั่นอยู่ในวัตรและศีล แสวงหาสัพพัญญุตญาณ
ยินดีในศาสนาของพระชินเจ้า
[๑๔] เราทำศรัทธาและปีติให้เกิดขึ้น
ไหว้พระพุทธเจ้าผู้พระศาสดา
ปีติเกิดขึ้นแก่เราเพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณนั่นเอง
[๑๕] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบว่า
เรามีจิตไม่หวนกลับ จึงได้ตรัสดังนี้ว่า
‘ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า’
[๑๖] พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
ทรงเริ่มตั้งความเพียร บำเพ็ญทุกรกิริยา
พระตถาคตจักประทับนั่ง ที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๑. เวสสภูพุทธวงศ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้น
จักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๑. เวสสภูพุทธวงศ์
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๗] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๘] กรุงชื่อว่าอโนมะ กษัตริย์พระนามว่าสุปปติตะเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่ายสวดีเป็นพระมารดา
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภู ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๙] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๖,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือรุจิปราสาท สุรติปราสาท และวัฑฒกปราสาท
[๒๐] มีนางสนมกำนัล ๓๐,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าสุจิตตา
พระราชโอรสพระนามว่าสุปปพุทธะ
[๒๑] พระองค์ผู้สูงสุดแห่งบุรุษ
ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงวอทองออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๖ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุสัมโพธิญาณ)
[๒๒] พระมหาวีระทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เป็นผู้สูงสุดแห่งนระ พระนามว่าเวสสภู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๑. เวสสภูพุทธวงศ์
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรที่อรุณาราม
[๒๓] พระโสณเถระและพระอุตตรเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอุปสันตะเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระชินเจ้าพระนามว่าเวสสภู
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๔] พระรามาเถรีและพระสมาลาเถรีเป็นอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอ้อยช้างใหญ่
[๒๕] โสตถิกอุบาสกและรัมมอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
โคตมีอุบาสิกาและสิริมาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๖] พระองค์ทรงมีพระวรกายสูง ๖๐ ศอก
เปรียบเสมอด้วยเสาทองคำ พระรัศมีเปล่งออกจากพระวรกาย
ดังไฟบนภูเขาในเวลากลางคืน
[๒๗] พระชินเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่พระองค์นั้น
มีพระชนมายุประมาณ ๖๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๘] พระองค์พร้อมทั้งสาวก ทรงจำแนกธรรมไว้อย่างพิสดาร
ประดิษฐานมหาชนไว้ในธรรมนาวาแล้ว๑
ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน
[๒๙] ชนทุกหมู่เหล่า พระวิหารและอิริยาบถที่น่าทัศนา
ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมนาวา ในที่นี้ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒๘/๓๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๒. กกุสันธพุทธวงศ์
[๓๐] พระชินศาสดาผู้ประเสริฐพระนามว่าเวสสภู
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่เขมาราม
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์
แผ่ไปอย่างกว้างขวางในนานาอารยประเทศ ฉะนี้แล
เวสสภูพุทธวงศ์ที่ ๒๑ จบ
๒๒. กกุสันธพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระกกุสันธพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภู
ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ ตามพระโคตร
ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์
มีพระคุณหาประมาณมิได้ หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
[๒] ทรงเพิกถอนภพทั้งปวง๑ ถึงที่สุดแห่งจริยา๒
ทรงทำลายกิเลส ดังราชสีห์ทำลายกรง๓แล้ว
ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันประเสริฐ
[๓] เมื่อพระกกุสันธพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงประกาศพระธรรมจักร
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๔๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๔] พระองค์แสดงฤทธิ์กระทำยมกปาฏิหาริย์ในอากาศกลางหาว
ทรงทำเทวดาและมนุษย์ประมาณ ๓๐,๐๐๐ โกฏิ ให้บรรลุธรรม
[๕] ในคราวประกาศอริยสัจ ๔ แก่ยักษ์นรเทพ
การบรรลุธรรมของยักษ์นั้น ไม่ได้คำนวณนับ

เชิงอรรถ :
๑ ภพทั้งปวง ได้แก่ ภพ ๙ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒/๓๖๘)
๒ จริยา หมายถึงบารมี (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒/๓๖๘)
๓ กรง หมายถึงภพ (ขุ.พุทธ.อ. ๒/๓๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๒. กกุสันธพุทธวงศ์
[๖] พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะ
ได้มีการประชุมแห่งพระขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน
มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ครั้งเดียว
[๗] ครั้งนั้น พระขีณาสพผู้บรรลุถึงภูมิที่ฝึกแล้ว
เพราะความสิ้นไปแห่งหมู่ข้าศึกคืออาสวะ
ประมาณ ๔๐,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน
[๘] สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์มีนามว่าเขมะ
ได้ถวายทานมิใช่น้อยในพระตถาคตและในสาวกผู้ชินบุตร
[๙] ถวายบาตร จีวร ยาหยอดตา ชะเอมเครือ
ถวายสิ่งนั้น สิ่งนี้ ที่ประเสริฐยอดเยี่ยม
ทุกอย่างตามที่ภิกษุสงฆ์ปรารถนา
[๑๐] แม้พระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะพระองค์นั้น
ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษก็ทรงพยากรณ์เราว่า
‘ในภัทรกัปนี้ ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า’
[๑๑] พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
ทรงเริ่มตั้งความเพียร บำเพ็ญทุกรกิริยา
พระตถาคตจักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๒. กกุสันธพุทธวงศ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวีจักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้น
จักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๒. กกุสันธพุทธวงศ์
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๒] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๓] กรุงชื่อว่าเขมวดี ครั้งนั้น เรามีชื่อว่าเขมะ
เมื่อแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ
จึงออกบวชในสำนักของพระองค์
[๑๔] อัคคิทัตตพราหมณ์นั้นเป็นพุทธบิดา
นางพราหมณีชื่อว่าวิสาขาเป็นมารดาของพระพุทธเจ้า
พระนามกกุสันธะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๕] ตระกูลใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นตระกูลที่ประเสริฐที่สุดของคนทั้งหลาย
มีชาติสูง มียศมาก อยู่ในเขมนครนั้น
[๑๖] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๔,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือกามวัฑฒปราสาท กามสุทธิปราสาท และรติวัฑฒปราสาท
[๑๗] มีนางสนมกำนัล ๓๐,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าโรปินี
พระราชโอรสพระนามว่าอุตตระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๒. กกุสันธพุทธวงศ์
[๑๘] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือรถออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๑๙] พระมหาวีระพระนามว่ากกุสันธะ
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก เป็นผู้สูงสุดแห่งนรชน
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ มฤคทายวัน
[๒๐] พระวิธุรเถระและพระสัญชีวนามเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าพุทธิชะเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๑] พระสามาเถรีและพระจัมปานามาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นซึก
[๒๒] อัจจุคคตอุบาสกและสุมนอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทาอุบาสิกาและสุนันทาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๓] พระมหามุนีทรงมีพระวรกายสูง ๔๐ ศอก
พระรัศมีเปล่งปลั่งดังทองคำ แผ่ออกไป ๑๐ โยชน์โดยรอบ
[๒๔] พระชินเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่พระองค์นั้น
มีพระชนมายุประมาณ ๔๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๕] พระองค์พร้อมทั้งสาวก ทรงแผ่ขยายตลาดธรรม๑
ให้แก่บุรุษและสตรี ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก

เชิงอรรถ :
๑ ทรงแผ่ขยายตลาดธรรม หมายถึง บอกกล่าวสอนพระพุทธพจน์ที่ประกอบด้วยองค์ ๙ โดยอรรถ
พยัญชนะ นัย เหตุ อุทาหรณ์ (มิลินฺท. ๓๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๓. โกนาคมนพุทธวงศ์
ทรงบันลือสีหนาท๑แล้ว
เสด็จดับขันธปรินิพพาน
[๒๖] พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยพระดำรัสอันมีองค์ ๘
มีศีลไม่ด่างพร้อยตลอดกาล ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว๒
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ
[๒๗] พระชินเจ้าผู้ประเสริฐพระนามว่ากกุสันธะ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่เขมาราม
พระสถูปอันประเสริฐของพระองค์
ที่เขมารามนั้น สูงถึง ๑ คาวุต ฉะนี้แล
กกุสันธพุทธวงศ์ที่ ๒๒ จบ
๒๓. โกนาคมนพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ
ได้มีพระชินสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ
ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์ ทรงองอาจกว่านรชน
เป็นผู้เจริญที่สุดในโลก
[๒] ทรงบำเพ็ญบารมีธรรม ๑๐ ประการให้บริบูรณ์
ข้ามทางกันดาร๓ได้แล้ว ลอยมลทิน๔ทั้งปวงแล้ว
ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันประเสริฐ

เชิงอรรถ :
๑ บันลือสีหนาท ในที่นี้ได้แก่ บันลือสีหนาท คือ ประกาศการให้อภัย (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒๕/๓๗๐)
๒ ได้แก่ ยุคของพระสาวกอันตรธานไป (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒๕/๓๗๑)
๓ ทางกันดาร คือชาติ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๑/๓๗๓)
๔ มลทินทั้งปวง ได้แก่ มลทิน ๓ มีราคะเป็นต้น (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒/๓๗๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๓. โกนาคมนพุทธวงศ์
[๓] เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ทรงประกาศพระธรรมจักร
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๓๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๔] เมื่อพระองค์ทรงทำปาฏิหาริย์ในการย่ำยีวาทะของผู้อื่น
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๒๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒
[๕] จากนั้น พระชินสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ
แล้วเสด็จไปยังเทวโลก
ประทับที่บัณฑุกัมพลสิลาอาสน์ในเทวโลกนั้น
[๖] พระมุนีนั้นทรงจำพรรษา ทรงแสดงพระอภิธรรม ๗ ปกรณ์
ทวยเทพประมาณ ๑๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๗] แม้พระพุทธเจ้าผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพพระองค์นั้น
ก็ได้มีการประชุมแห่งพระขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ครั้งเดียว
[๘] ครั้งนั้น ภิกษุ ๓๐,๐๐๐ รูป ผู้ข้ามโอฆะ
จะถูกมัจจุราชทำลาย มาประชุมกัน
[๙] สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์มีนามว่าปัพพตะ
พรั่งพร้อมด้วยมิตรและอำมาตย์ มีพลนิกายและพาหนะมิใช่น้อย
[๑๐] ไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ฟังธรรมอันยอดเยี่ยมแล้ว
นิมนต์พระสงฆ์พร้อมทั้งพระชินเจ้า ได้ถวายทานตามที่ตนปรารถนา
[๑๑] ได้ถวายผ้าปัตตุณณะ ผ้าเมืองจีน ผ้าไหม ผ้ากำพล
และฉลองพระบาททองคำแด่พระศาสดาและสาวก
[๑๒] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์แล้วทรงพยากรณ์เราว่า
‘ในภัทรกัปนี้ ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า’
[๑๓] พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
ทรงเริ่มตั้งความเพียร บำเพ็ญทุกรกิริยา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๓. โกนาคมนพุทธวงศ์
พระตถาคตจักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๓. โกนาคมนพุทธวงศ์
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้น
จักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๔] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๕] เราเป็นผู้สูงสุดแห่งนรชน เมื่อแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ
จึงให้ทาน สละราชสมบัติอันยิ่งใหญ่
บวชในสำนักของพระชินเจ้า
[๑๖] กรุงชื่อว่าโสภวดี กษัตริย์พระนามว่าโสภะ
ตระกูลใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็อยู่ในนครนั้น
[๑๗] ยัญญทัตตพราหมณ์นั้นเป็นพุทธบิดา
นางพราหมณีชื่อว่าอุตตราเป็นพระมารดา
ของพระศาสดาพระนามว่าโกนาคมนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๓. โกนาคมนพุทธวงศ์
[๑๘] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๓,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือดุสิตปราสาท สันดุสิตปราสาท และสันตุฏฐปราสาท
[๑๙] มีนางสนมกำนัล ๑๖,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่ารุจิคัตตา
พระราชโอรสพระนามว่าสัตถวาหะ
[๒๐] พระองค์เป็นผู้สูงสุดแห่งบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชยานพาหนะคือช้างออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๖ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๒๑] พระมหาวีระพระนามว่าโกนาคมนะ
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก เป็นผู้สูงสุดแห่งนรชน
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรที่มฤคทายวัน
[๒๒] พระภิยโยสเถระและพระอุตตรเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าโสตถิชะเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ ผู้มีพระยศ
[๒๓] พระสมุททาเถรีและพระอุตตราเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่าต้นมะเดื่อ
[๒๔] อุคคอุบาสกและโสมเทพอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
สีวลาอุบาสิกาและสามาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๕] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระวรกายสูง ๓๐ ศอก
ประดับด้วยพระรัศมีเปล่งปลั่งดังทองคำที่ปากเบ้า
[๒๖] ขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุประมาณ ๓๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ทรงดำรงพระชนมายุอยู่ประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๔. กัสสปพุทธวงศ์
[๒๗] พระองค์พร้อมทั้งสาวก ทรงยกธรรมเจดีย์
อันประดับด้วยผ้าคือธรรมแล้ว๑
ทรงร้อยพวงดอกไม้คือธรรมเสร็จแล้ว
เสด็จดับขันธปรินิพพาน
[๒๘] สาวกของพระองค์งดงามด้วยฤทธิ์อันยิ่งใหญ่
พระองค์ทรงประกาศศิริธรรม๒
ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ
[๒๙] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่ปัตตาราม
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์
แผ่ไปอย่างกว้างขวางในนานาอารยประเทศ ฉะนี้แล
โกนาคมนพุทธวงศ์ที่ ๒๓ จบ
๒๔. กัสสปพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระกัสสปพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ
ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์
ทรงเป็นธรรมราชา มีพระรัศมี
[๒] ทรัพย์อันเป็นมรดกของตระกูล ที่สัตว์เป็นอันมากบูชากัน
พระองค์ทรงสละให้ทานแก่พวกยาจก

เชิงอรรถ :
๑ ยกธรรมเจดีย์ หมายถึงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
อันประดับด้วยแผ่นผ้า หมายถึงประดับด้วยอริยสัจ ๔ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒๗/๓๗๗)
๒ ศิริธรรม ได้แก่ โลกุตตรธรรม (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒๘/๓๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๔. กัสสปพุทธวงศ์
ทำจิตให้เต็ม ทำลายกิเลสดังคอก
เหมือนโคอุสภะทำลายคอก ฉะนั้นแล้ว
ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันประเสริฐ
[๓] เมื่อพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นพระผู้นำสัตว์โลก
ประกาศพระธรรมจักร
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๒๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๔] ในคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปในโลกตลอด ๔ เดือน
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒
[๕] ในคราวเมื่อพระองค์ทรงทำยมกปาฏิหาริย์แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ
ประกาศพระญาณธาตุ๑
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๕,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๖] พระชินเจ้าทรงแสดงธรรมที่สุธรรมเทพนคร ที่รื่นรมย์นั้น
ทรงทำให้เทวดาประมาณ ๓,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรม
[๗] ในคราวที่ทรงแสดงธรรมแก่ยักษ์นรเทพ
อีกครั้งหนึ่ง
เทวดาเหล่านั้นได้บรรลุธรรมคำนวณนับไม่ได้
[๘] แม้พระพุทธเจ้าผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพพระองค์นั้น
ก็ได้มีการประชุมแห่งพระขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ครั้งเดียว
[๙] ครั้งนั้น ภิกษุประมาณ ๒๐,๐๐๐ รูป
ผู้ล่วงภพ ผู้คงที่ด้วยหิริและศีล มาประชุมกัน
[๑๐] ครั้งนั้น เราเป็นมาณพมีชื่อปรากฏว่าโชติปาละ
คงแก่เรียน ทรงมนตร์ จบไตรเพท

เชิงอรรถ :
๑ พระญาณธาตุ ได้แก่ สัพพัญญุตญาณ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๕/๓๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๔. กัสสปพุทธวงศ์
[๑๑] ถึงความสำเร็จในคัมภีร์ทำนายลักษณะและคัมภีร์อิติหาสะ
เป็นผู้ฉลาดในวิชาดูพื้นที่และอากาศ เป็นผู้ใช้วิชา ไม่มีทุกข์
[๑๒] ฆฏิการอุบาสก ผู้เป็นอุปัฏฐาก
ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ
เป็นผู้มีความเคารพยำเกรง เป็นพระอนาคามี
[๑๓] ฆฏิการอุบาสกได้พาเราเข้าเฝ้าพระชินเจ้าพระนามว่ากัสสปะ
เราได้ฟังธรรมของพระองค์แล้วจึงบวชในสำนักของพระองค์
[๑๔] เราเป็นผู้ปรารภความเพียร ฉลาดในวัตรน้อยวัตรใหญ่
ไม่เสื่อมในที่ไหน ๆ๑ ปฏิบัติตามคำสั่งสอน
ของพระชินเจ้าอย่างสมบูรณ์
[๑๕] เล่าเรียนนวังคสัตถุศาสน์ เท่าที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้วทุกอย่าง
ช่วยประกาศพระศาสนาของพระชินเจ้าให้งดงาม
[๑๖] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงเห็นความอัศจรรย์ของเราแล้ว
จึงทรงพยากรณ์เราว่า
‘ในภัทรกัปนี้ ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า’
[๑๗] พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
ทรงเริ่มตั้งความเพียร บำเพ็ญทุกรกิริยา
[๑๘] พระตถาคตจักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
[๑๙] พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ไม่เสื่อมในที่ไหน ๆ หมายถึงไม่เสื่อมในศีล สมาธิ และสมาบัติเป็นต้น (ขุ.พุทธ.อ. ๓๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๑๓ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น