Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๗-๔ หน้า ๑๙๐ - ๒๕๒

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗-๔ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ



พระอภิธรรมปิฎก
กถาวัตถุ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. อนาคตกับปัจจุบันเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อนาคตกับปัจจุบันเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็น(อนาคต) แล้วจึงเป็น(ปัจจุบัน) เป็น(ปัจจุบัน) แล้วจึง
เป็น(อนาคต) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็น(อนาคต) แล้วจึงเป็น(ปัจจุบัน) เป็น(ปัจจุบัน) แล้ว
จึงเป็น(อนาคต) ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ไม่เป็น(อนาคต) แล้วจึงไม่เป็น(ปัจจุบัน) ไม่เป็น(ปัจจุบัน)
แล้วจึงไม่เป็น(อนาคต) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นปัจจุบันแล้วจึงเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัจจุบันกับอดีตเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัจจุบันกับอดีตเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็น(ปัจจุบัน) แล้วจึงเป็น(อดีต) เป็น(อดีต) แล้วจึง
เป็น(ปัจจุบัน) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็น(ปัจจุบัน) แล้วจึงเป็น(อดีต) เป็น(อดีต) แล้วจึง
เป็น(ปัจจุบัน) ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ไม่เป็น(ปัจจุบัน) แล้วจึงไม่เป็น(อดีต) ไม่เป็น(อดีต)
แล้วจึงไม่เป็น(ปัจจุบัน) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นอนาคตแล้วจึงเป็นปัจจุบัน เป็นปัจจุบันแล้วจึงเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนาคต ปัจจุบัน และอดีตเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อนาคต ปัจจุบัน และอดีตเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตแล้วจึงเป็น(ปัจจุบันและอดีต) เป็น(ปัจจุบัน
และอดีต) แล้วจึงเป็น(อนาคต) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตแล้วจึงเป็น(ปัจจุบันและอดีต) เป็น(ปัจจุบัน
และอดีต) แล้วจึงเป็น(อนาคต) ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ไม่เป็นอนาคตแล้วจึงไม่เป็น(ปัจจุบันและอดีต) ไม่เป็น
(ปัจจุบันและอดีต) แล้วจึงไม่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
อตีตจักขุรูปาทิกถา
ว่าด้วยจักษุและรูปที่เป็นอดีต เป็นต้น
[๒๘๙] สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการ
ที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเห็นรูปที่เป็นอดีตได้ด้วยจักขุประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตประสาท สัททารมณ์ โสตวิญญาณ อากาสธาตุ มนสิการ
ที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลได้ยินเสียงที่เป็นอดีตได้ด้วยโสตประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ฆานประสาท คันธารมณ์ ฆานวิญญาณ วาโยธาตุ มนสิการ
ที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลดมกลิ่นที่เป็นอดีตได้ด้วยฆานประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชิวหาประสาท รสารมณ์ ชิวหาวิญญาณ อาโปธาตุ มนสิการ
ที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลลิ้มรสที่เป็นอดีตได้ด้วยชิวหาประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. กายประสาท โผฏฐัพพารมณ์ กายวิญญาณ ปฐวีธาตุ มนสิการ
ที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะที่เป็นอดีตได้ด้วยกายประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็นอดีต
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลรู้ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตได้ด้วยมโนทวารที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็นอนาคต
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเห็นรูปที่เป็นอนาคตได้ด้วยจักขุประสาทที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตประสาท ฯลฯ ฆานประสาท ฯลฯ ชิวหาประสาท ฯลฯ กาย-
ประสาท ฯลฯ มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็น
อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลรู้ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคตได้ด้วยมโนทวารที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็น
ปัจจุบันมีอยู่ บุคคลเห็นรูปที่เป็นปัจจุบันได้ด้วยจักขุประสาทที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็นอดีต
มีอยู่ บุคคลเห็นรูปที่เป็นอดีตได้ด้วยจักขุประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตประสาท ฯลฯ ฆานประสาท ฯลฯ ชิวหาประสาท ฯลฯ
กายประสาท ฯลฯ มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่
เป็นปัจจุบันมีอยู่ บุคคลรู้ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันได้ ด้วยมโนทวารที่เป็นปัจจุบัน
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็นอดีตมีอยู่
บุคคลรู้ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตได้ด้วยมโนทวารที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็น
ปัจจุบันมีอยู่ บุคคลเห็นรูปที่เป็นปัจจุบันได้ด้วยจักขุประสาทที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็นอนาคต
มีอยู่ บุคคลเห็นรูปที่เป็นอนาคตได้ด้วยจักขุประสาทที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตประสาท ฯลฯ ฆานประสาท ฯลฯ ชิวหาประสาท ฯลฯ
กายประสาท ฯลฯ มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่
เป็นปัจจุบันมีอยู่ บุคคลรู้ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันได้ ด้วยมโนทวารที่เป็นปัจจุบัน
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็นอนาคต
มีอยู่ บุคคลรู้ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคตได้ด้วยมโนทวารที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็นอดีต
มีอยู่ แต่บุคคลไม่เห็นรูปที่เป็นอดีตด้วยจักขุประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง และมนสิการที่เป็น
ปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลไม่เห็นรูปที่เป็นปัจจุบันด้วยจักขุประสาทที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตประสาท ฯลฯ ฆานประสาท ฯลฯ ชิวหาประสาท ฯลฯ กาย-
ประสาท ฯลฯ มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็น
อดีตมีอยู่ แต่บุคคลไม่รู้ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตด้วยมโนทวารที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็นปัจจุบัน
มีอยู่ แต่บุคคลไม่รู้ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันด้วยมโนทวารที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็นอนาคต
มีอยู่ แต่บุคคลไม่เห็นรูปที่เป็นอนาคตด้วยจักขุประสาทที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็นปัจจุบัน
มีอยู่ แต่บุคคลไม่เห็นรูปที่เป็นปัจจุบันด้วยจักขุประสาทที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. โสตประสาท ฯลฯ ฆานประสาท ฯลฯ ชิวหาประสาท ฯลฯ กาย-
ประสาท ฯลฯ มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่
เป็นอนาคตมีอยู่ แต่บุคคลไม่รู้ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคตด้วยมโนทวารที่เป็นอนาคต
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็น
ปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลไม่รู้ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันด้วยมโนทวารที่เป็นปัจจุบัน
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อตีตญาณาทิกถา
ว่าด้วยญาณที่เป็นอดีต เป็นต้น
[๒๙๐] สก. ญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคได้ด้วยญาณ
นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคได้ด้วยญาณ
นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้น
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ
เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ
เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณ
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. ญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ
เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ
เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ แต่บุคคลไม่ทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณ
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลไม่ทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วย
ญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ แต่บุคคลไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่ทำให้
แจ้งนิโรธ ไม่เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่ทำ
ให้แจ้งนิโรธ ไม่เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ แต่บุคคลไม่ทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วย
ญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลไม่ทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วย
ญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ แต่บุคคลไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่ทำให้
แจ้งนิโรธ ไม่เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่ทำให้
แจ้งนิโรธ ไม่เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อรหันตาทิกถา
ว่าด้วยพระอรหันต์ เป็นต้น
[๒๙๑] สก. ราคะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีราคะด้วยราคะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีโทสะด้วยโทสะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โมหะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มานะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีมานะด้วยมานะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีวิจิกิจฉาด้วยวิจิกิจฉานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ถีนะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีถีนะด้วยถีนะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อุทธัจจะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีอุทธัจจะด้วยอุทธัจจะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. อหิริกะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีอหิริกะด้วยอหิริกะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อโนตตัปปะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีอโนตตัปปะด้วยอโนตตัปปะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระอนาคามีมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ สีลัพพตปรามาสที่เป็นอดีต ฯลฯ กามราคะ
อย่างละเอียดที่เป็นอดีต ฯลฯ พยาบาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของพระอนาคามี
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระสกทาคามีมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ... สีลัพพตปรามาสที่เป็นอดีต ... กามราคะอย่าง
หยาบที่เป็นอดีต ... พยาบาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของพระสกทาคามีมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ... สีลัพพตปรามาสที่เป็นอดีต ... ราคะที่เป็นเหตุให้
สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีต ... โทสะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีต ... โมหะที่
เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๙๒] สก. ราคะที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีราคะด้วยราคะ
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่ามีราคะด้วยราคะ
นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. โทสะที่เป็นอดีต ฯลฯ อโนตตัปปะที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่า
มีอโนตตัปปะด้วยอโนตตัปปะนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโนตตัปปะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่ามีอโนตตัปปะ
ด้วยอโนตตัปปะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระอนาคามีมีอยู่ พระอนาคามีชื่อว่ามีทิฏฐิ
ด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ พยาบาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของปุถุชน
มีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พยาบาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของพระอนาคามีมีอยู่ พระอนาคามี
ชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระสกทาคามีมีอยู่ พระสกทาคามีชื่อว่ามีทิฏฐิ
ด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ พยาบาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่
ปุถุชนชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พยาบาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของพระสกทาคามีมีอยู่ พระสกทาคามี
ชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ พระโสดาบันชื่อว่ามีทิฏฐิ
ด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ โมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีตของ
ปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นใช่ไหม ปร. ใช่
สก. โมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ พระ
โสดาบันชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ แต่พระอรหันต์ไม่ชื่อว่ามีราคะ
ด้วยราคะนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามีราคะด้วยราคะนั้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. โทสะที่เป็นอดีต ฯลฯ อโนตตัปปะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ แต่
พระอรหันต์ไม่ชื่อว่ามีอโนตตัปปะด้วยอโนตตัปปะนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโนตตัปปะที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามีอโนตตัปปะ
ด้วยอโนตตัปปะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระอนาคามีมีอยู่ แต่พระอนาคามีไม่ชื่อว่ามี
ทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐิ
นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ พยาบาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของ
พระอนาคามีมีอยู่ แต่พระอนาคามีไม่ชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พยาบาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามี
จิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระสกทาคามีมีอยู่ แต่พระสกทาคามีไม่
ชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามีทิฏฐิด้วย
ทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ พยาบาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของ
พระสกทาคามีมีอยู่ แต่พระสกทาคามีไม่ชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พยาบาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามี
จิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ แต่พระโสดาบันไม่ชื่อว่า
มีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามีทิฏฐิด้วย
ทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ โมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีตของ
พระโสดาบันมีอยู่ แต่พระโสดาบันไม่ชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชน
ไม่ชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
อตีตหัตถาทิกถา
ว่าด้วยมือที่เป็นอดีต เป็นต้น
[๒๙๓] สก. มือที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อมือที่เป็นอดีตมีอยู่ การจับและการวางย่อมปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เท้าที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเท้าที่เป็นอดีตมีอยู่ การก้าวไปและถอยกลับย่อมปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ข้อพับที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อข้อพับที่เป็นอดีตมีอยู่ การคู้เข้าและเหยียดออกย่อมปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ท้องที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อท้องที่เป็นอดีตมีอยู่ ความหิวและกระหายย่อมปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายที่เป็นอดีตได้รับการยกย่องและการลงโทษ ได้รับการตัดและการทำลาย
เป็นของทั่วไปแก่ฝูงกา แร้ง เหยี่ยวใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงกล้ำกรายเข้าไปในกายที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายที่เป็นอดีตยังถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำคือขื่อคา เครื่องจองจำ
คือเชือก เครื่องจองจำคือโซ่ตรวน เครื่องจองจำคือบ้าน เครื่องจองจำคือนิคม
เครื่องจองจำคือนคร เครื่องจองจำคือชนบท ด้วยการจองจำมีการผูกที่คอเป็นที่ ๕๑
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. น้ำที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำกิจที่ต้องทำด้วยน้ำได้ด้วยน้ำนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ไฟที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยไฟได้ด้วยไฟนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ลมที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยลมได้ด้วยลมนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ การจองจำมีการผูกคอเป็นที่ ๕ คือ มือ ๒ เท้า ๒ คอ ๑ เรียกเครื่องจองจำนี้ว่า จำห้าประการ
ได้แก่ (๑) ตรวนใส่เท้า (๒) เท้าติดขื่อไม้ (๓) โซ่ล่ามคอ (๔) คาไม้ใส่คอทับโซ่ (๕) มือ ๒ ข้าง สอด
เข้าไปในคาและไปติดกับขื่อไม้ (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
อตีตักขันธาทิสโมธานกถา
ว่าด้วยการประมวลขันธ์ที่เป็นอดีต เป็นต้น
[๒๙๔] สก. รูปขันธ์ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปขันธ์มี ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ขันธ์มี ๑๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขายตนะที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะมี ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อายตนะ ๑๒ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อายตนะมี ๓๖ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุธาตุที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุธาตุมี ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. ธาตุ ๑๘ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ธาตุมี ๕๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุนทรีย์ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุนทรีย์มี ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อินทรีย์มี ๖๖ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระเจ้าจักรพรรดิที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระเจ้าจักรพรรดิทั้ง ๓ พระองค์ทรงพบกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ทรงพบกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
ปทโสธนกถา
ว่าด้วยการซักฟอกบท
[๒๙๕] สก. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. สภาวะที่มีอยู่ เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากอดีตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี ดังนั้น อดีตจึงไม่
เป็นอดีต สภาวะที่ไม่ใช่อดีตจึงเป็นอดีต ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า อดีตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี ดังนั้น
อดีตจึงไม่เป็นอดีต สภาวะที่ไม่ใช่อดีตจึงเป็นอดีต” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อดีตมีอยู่ สภาวะที่ไม่ใช่อดีต เป็นอดีต”
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี”
ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า อดีตมีอยู่ สภาวะที่มี
อยู่เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี ดังนั้น อดีตจึงไม่เป็นอดีต สภาวะที่ไม่เป็นอดีตจึง
เป็นอดีต” คำนั้นของท่านผิด
สก. อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตก็มี ไม่เป็นอนาคตก็มี
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากอนาคตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตก็มี ไม่เป็นอนาคตก็มี ดังนั้น
อนาคตจึงไม่เป็นอนาคต สภาวะที่ไม่เป็นอนาคตจึงเป็นอนาคต ท่านกล่าวคำขัด
แย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า อนาคตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตก็มี
ไม่เป็นอนาคตก็มี ดังนั้น อนาคตจึงไม่เป็นอนาคต สภาวะที่ไม่เป็นอนาคตจึงเป็น
อนาคต” คำนั้นของท่านผิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อนาคตไม่เป็นอนาคต สภาวะที่ไม่เป็นอนาคต
เป็นอนาคต” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อนาคตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่ เป็นอนาคตก็มี
ไม่เป็นอนาคตก็มี” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
อนาคตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตก็มี ไม่เป็นอนาคตก็มี ดังนั้น อนาคตจึงไม่
เป็นอนาคต สภาวะที่ไม่เป็นอนาคตจึงเป็นอนาคต” คำนั้นของท่านผิด
ปร. ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวะที่มีอยู่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี
ปร. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากปัจจุบันมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี ดังนั้น
ปัจจุบันจึงไม่เป็นปัจจุบัน สภาวะที่ไม่เป็นปัจจุบันจึงเป็นปัจจุบัน ท่านกล่าวคำ
ขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ปัจจุบันมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็น
ปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี ดังนั้น ปัจจุบันจึงไม่เป็นปัจจุบัน สภาวะที่ไม่เป็น
ปัจจุบันจึงเป็นปัจจุบัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ปัจจุบันไม่เป็นปัจจุบัน สภาวะที่ไม่เป็น
ปัจจุบันเป็นปัจจุบัน” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ปัจจุบันมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็น
ปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ปัจจุบันมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี ดังนั้น
ปัจจุบันจึงไม่เป็นปัจจุบัน สภาวะที่ไม่เป็นปัจจุบันจึงเป็นปัจจุบัน” คำนั้นของท่านผิด
ปร. นิพพานมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
ปร. สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานใช่ไหม
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพานก็มี
ปร. ท่านจงรับนิคคหะดังต่อไปนี้
หากนิพพานมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพานก็มี ดังนั้น
นิพพานจึงไม่ใช่นิพพาน สภาวะที่ไม่ใช่นิพพานจึงเป็นนิพพาน ท่านกล่าวคำขัด
แย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า นิพพานมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี
ไม่เป็นนิพพานก็มี ดังนั้น นิพพานจึงไม่ใช่นิพพาน สภาวะที่ไม่ใช่นิพพานจึงเป็น
นิพพาน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “นิพพานไม่ใช่นิพพาน สภาวะที่ไม่ใช่นิพพาน
เป็นนิพพาน” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “นิพพานมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี
ไม่เป็นนิพพานก็มี” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
นิพพานมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพานก็มี ดังนั้น นิพพานจึง
ไม่ใช่นิพพาน สภาวะที่ไม่ใช่นิพพานจึงเป็นนิพพาน” คำนั้นของท่านผิด
สุตตสาธนะ
ว่าด้วยการอ้างพระสูตร
[๒๙๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อดีตมีอยู่ อนาคตมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่าง
หนึ่ง คือ รูปที่เป็นอดีต รูปที่เป็นอนาคต รูปที่เป็นปัจจุบัน รูปที่เป็นภายในตน
รูปที่เป็นภายนอกตน รูปหยาบ รูปละเอียด รูปชั้นต่ำ รูปชั้นประณีต รูปไกล
หรือรูปใกล้ ประมวลเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า รูปขันธ์ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง คือวิญญาณที่เป็นอดีต วิญญาณ
ที่เป็นอนาคต วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน วิญญาณที่เป็นภายในตน วิญญาณที่เป็น
ภายนอกตน วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด วิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณชั้นประณีต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
วิญญาณไกล หรือวิญญาณใกล้ ประมวลเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า
วิญญาณขันธ์” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น อดีตจึงมีอยู่ อนาคตก็มีอยู่
สก. อดีตมีอยู่ อนาคตก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย หลักการ ๓
ประการนี้ คือ (๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ (๓) หลักการบัญญัติ ในอดีต
ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูก
ลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน หลักการ ๓ ประการ เป็นอย่างไร คือ (๑)
รูปใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกรูปนั้นว่า “ได้มีแล้ว” ตั้งชื่อรูปนั้นว่า
“ได้มีแล้ว” บัญญัติรูปนั้นว่า “ได้มีแล้ว” (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า “มีอยู่” ไม่เรียก
รูปนั้นว่า “จักมี” เวทนาใด ฯลฯ สัญญาใด ฯลฯ สังขารใด ฯลฯ วิญญาณใดล่วงไป
ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกวิญญาณนั้นว่า “ได้มีแล้ว” ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า
“ได้มีแล้ว” บัญญัติวิญญาณนั้นว่า “ได้มีแล้ว” (แต่) ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “มีอยู่”
ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “จักมี” (๒) รูปใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกรูปนั้นว่า
“จักมี” ตั้งชื่อรูปนั้นว่า “จักมี” บัญญัติรูปนั้นว่า “จักมี” (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า
“มีอยู่” ไม่เรียกรูปนั้นว่า “ได้มีแล้ว” เวทนาใด ฯลฯ สัญญาใด ฯลฯ สังขารใด
ฯลฯ วิญญาณใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกวิญญาณนั้นว่า “จักมี” ตั้งชื่อวิญญาณ
นั้นว่า “จักมี” บัญญัติวิญญาณนั้นว่า “จักมี” (แต่) ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “มีอยู่”
ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “ได้มีแล้ว” (๓) รูปใดเกิดอยู่ ปรากฏอยู่ เรียกรูปนั้นว่า
“มีอยู่” ตั้งชื่อรูปนั้นว่า “มีอยู่” บัญญัติรูปนั้นว่า “มีอยู่” (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า
“ได้มีแล้ว” ไม่เรียกรูปนั้นว่า “จักมี” เวทนาใด ฯลฯ สัญญาใด ฯลฯ สังขารใด

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๒-๓๑/๑-๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
ฯลฯ วิญญาณใดเกิดแล้ว ปรากฏอยู่ เรียกวิญญาณนั้นว่า “มีอยู่” ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า
“มีอยู่” บัญญัติวิญญาณนั้นว่า “มีอยู่” (แต่) ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “ได้มีแล้ว”
ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “จักมี” ภิกษุทั้งหลาย หลักการ ๓ ประการ คือ
(๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ (๓) หลักการบัญญัติ ในอดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว
ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูก
สมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ภิกษุทั้งหลาย แม้ชนชาวอุกกลชนบทกับชนชาววัสสภัญญชนบททั้ง ๒ พวก
เป็นผู้ถืออเหตุกวาทะ๑ เป็นผู้ถืออกิริยวาทะ๒ เป็นผู้ถือนัตถิกวาทะ๓ ได้สำคัญหลักการ
๓ ประการ คือ (๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ (๓) หลักการบัญญัติ ว่าไม่
ควรติเตียน ไม่ควรคัดค้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ใส่โทษและ
ถูกคัดค้าน” ๔ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่ อนาคตมีอยู่”
สก. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรนี้ว่า “ท่านพระผัคคุณะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ‘ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต ผู้ตัดธรรมเป็น
เครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว
ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยจักขุใด จักขุนั้นมีอยู่หรือ ฯลฯ ชิวหานั้นมีอยู่หรือ

เชิงอรรถ :
๑ อเหตุกวาทะ หมายถึงลัทธิที่ถือว่าเหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์บริสุทธิ์หรือเศร้าหมองไม่มี (สํ.ข.อ. ๒/๖๒/๓๐๗)
๒ อกิริยวาทะ หมายถึงลัทธิที่ถือว่าการกระทำทุกอย่างไม่มีผล ทำดีก็ไม่ได้ดี ทำชั่วก็ไม่ได้ชั่ว เป็นความ
เห็นที่ปฏิเสธกฎแห่งกรรม (ที.สี.อ. ๑/๑๖๖/๑๔๕, สํ.ข.อ. ๒/๖๒/๓๐๗)
๓ นัตถิกวาทะ หมายถึงลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์บริสุทธิ์หรือเศร้าหมอง (ที.สี.อ. ๑/๑๖๘/๑๔๖,
สํ.ข.อ. ๒/๖๒/๓๐๗)
๔ ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) ๑๗/๖๒/๑๐๐-๑๐๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
ฯลฯ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต ผู้ตัดธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า
ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว
พึงบัญญัติด้วยมโนใด มโนนั้นมีอยู่หรือ’
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ‘ผัคคุณะ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ในอดีต ผู้ตัดธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้
ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยจักขุใด จักขุนั้นไม่มีเลย
ฯลฯ ชิวหานั้นไม่มีเลย ฯลฯ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต
ผู้ตัดธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้นทุกข์
ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยมโนใด มโนนั้นไม่มีเลย”๑ มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่”
สก. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “ท่านพระนันทกะได้กล่าวดังนี้ว่า ‘เมื่อก่อนเรามีโลภะ
เรื่องนั้นเป็นสิ่งไม่ดี บัดนี้โลภะนั้นไม่มี เรื่องนั้นเป็นสิ่งที่ดี เมื่อก่อนเรามีโทสะ ฯลฯ
เมื่อก่อนเรามีโมหะ เรื่องนั้นเป็นสิ่งไม่ดี บัดนี้โมหะนั้นไม่มี เรื่องนั้นเป็นสิ่งที่ดี”๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๘๓/๗๖
๒ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๖๗/๒๖๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนาคตมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าราคะ(ความ
กำหนัด) นันทิ(ความเพลิดเพลิน) ตัณหา(ความทะยานอยาก) มีอยู่ในกวฬิงการาหาร
ไซร้ วิญญาณจะตั้งอยู่งอกงามในกวฬิงการาหารนั้น ที่ใดวิญญาณตั้งอยู่งอกงาม
ที่นั้นย่อมมีนามรูปหยั่งลง ที่ใดมีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมมีความเจริญแห่งสังขาร
ทั้งหลาย ที่ใดมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป
ที่ใดมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่นั้นย่อมมีชาติ ชรา และมรณะต่อไป ที่ใดมีชาติ
ชรา และมรณะต่อไป เรากล่าวว่า ‘ที่นั้นมีความโศก มีความกระวนกระวาย และ
มีความคับแค้น’ ถ้าราคะ นันทิ ตัณหามีอยู่ในผัสสาหาร ฯลฯ ถ้าราคะ นันทิ
ตัณหามีอยู่ในมโนสัญเจตนาหาร ฯลฯ ถ้าราคะ นันทิ ตัณหามีอยู่ในวิญญาณาหาร
ฯลฯ เรากล่าวว่า ‘ที่นั้นมีความโศก มีความกระวนกระวาย และมีความคับแค้น” ๑
มีอยู่จริงใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อนาคตมีอยู่”
สก. อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าราคะ นันทิ
ตัณหาไม่มีในกวฬิงการาหาร วิญญาณจะไม่ตั้งอยู่งอกงามในกวฬิงการาหารนั้น ที่ใด
วิญญาณไม่ตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมไม่มีนามรูปหยั่งลง ที่ใดไม่มีนามรูปหยั่งลง
ที่นั้นย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่ใดไม่มีความเจริญแห่งสังขาร

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๖๔/๑๒๓-๑๒๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ทั้งหลาย ที่นั้นย่อมไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่ใดไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป
ที่นั้นย่อมไม่มีชาติ ชรา และมรณะต่อไป ที่ใดไม่มีชาติ ชรา และมรณะต่อไป
เรากล่าวว่า ‘ที่นั้นไม่มีความโศก ไม่มีความกระวนกระวาย และไม่มีความคับแค้น’
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหาไม่มีในผัสสาหาร ฯลฯ ถ้าราคะ นันทิ ตัณหาไม่มี
ในมโนสัญเจตนาหาร ฯลฯ ถ้าราคะ นันทิ ตัณหาไม่มีในวิญญาณาหาร ฯลฯ
เรากล่าวว่า ที่นั้นไม่มีความโศก ไม่มีความกระวนกระวาย และไม่มีความคับแค้น”๑
มีอยู่จริงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “อนาคตมีอยู่”
สัพพมัตถีติกถา จบ
๖. อตีตักขันธาทิกถา
ว่าด้วยอดีตขันธ์ เป็นต้น
๑. นสุตตสาธนะ
ว่าด้วยการไม่อ้างพระสูตร
[๒๙๗] ปร. อดีตเป็นขันธ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๖๔/๑๒๓-๑๒๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. อดีตเป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อดีตเป็นธาตุใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อนาคตเป็นขันธ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อนาคตเป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อนาคตเป็นธาตุใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อนาคตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อดีตเป็นขันธ์ อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ปัจจุบันเป็นอายตนะ ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อดีตเป็นอายตนะ อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ปัจจุบันเป็นธาตุ ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อดีตเป็นธาตุ อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อนาคตเป็นขันธ์ อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ปัจจุบันเป็นอายตนะ ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อนาคตเป็นอายตนะ อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ปัจจุบันเป็นธาตุ ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อนาคตเป็นธาตุ อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อนาคตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อดีตเป็นขันธ์ อดีตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อดีตเป็นอายตนะ อดีตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. ปัจจุบันเป็นอายตนะ ปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อดีตเป็นธาตุ อดีตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปัจจุบันเป็นธาตุ ปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ อดีตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ ปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อนาคตเป็นขันธ์ อนาคตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อนาคตเป็นอายตนะ ฯลฯ อนาคตเป็นธาตุ ฯลฯ อนาคตเป็นขันธ์
เป็นธาตุ เป็นอายตนะ อนาคตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ ปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอดีตเป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอดีตเป็นธาตุใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอนาคตเป็นอายตนะ ฯลฯ รูปที่เป็นอนาคตเป็นธาตุ ฯลฯ
รูปที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นอายตนะ ฯลฯ รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นธาตุ ฯลฯ
รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นอายตนะ ฯลฯ รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นธาตุ ฯลฯ
รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ รูปที่เป็นอนาคตมี
อยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ รูปที่เป็นอดีตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ รูปที่เป็นปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอดีตเป็นอายตนะ ฯลฯ รูปที่เป็นอดีตเป็นธาตุ ฯลฯ รูปที่เป็น
อดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ รูปที่เป็นอดีตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ รูปที่เป็นปัจจุบันไม่มี
ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ รูปที่เป็นอนาคตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ รูปที่เป็นปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอนาคตเป็นอายตนะ ฯลฯ รูปที่เป็นอนาคตเป็นธาตุ ฯลฯ
รูปที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ รูปที่เป็นอนาคตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ รูปที่เป็นปัจจุบันไม่มี
ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. เวทนาที่เป็นอดีต ฯลฯ สัญญาที่เป็นอดีต ฯลฯ สังขารที่เป็นอดีต ฯลฯ
วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นธาตุ ฯลฯ
วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นธาตุ
ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็น
ธาตุ ฯลฯ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ วิญญาณที่เป็น
ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ วิญญาณที่เป็น
อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็น
ธาตุ ฯลฯ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ วิญญาณที่เป็น
ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ วิญญาณที่เป็น
อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นธาตุ ฯลฯ
วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ วิญญาณที่เป็น
ปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ วิญญาณที่เป็นอนาคตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นธาตุ
ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ วิญญาณที่เป็น
อนาคตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ วิญญาณที่เป็น
ปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
๒. สุตตสาธนะ
ว่าด้วยการอ้างพระสูตร
[๒๙๘] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ทั้งที่เป็นอดีตและ
อนาคตเหล่านี้ไม่มี” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย หลักการ ๓
ประการนี้ คือ (๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ (๓) หลักการบัญญัติ ฯลฯ
ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน๑ ฯลฯ” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ทั้งที่เป็นอดีตและ
อนาคตเหล่านี้ไม่มี”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) ๑๗/๖๒/๑๐๐-๑๐๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๗. เอกัจจมัตถีติกถา
ปร. ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเหล่านี้ไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปทั้งหมด ทั้งที่
เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ นี้เรียกว่า รูปขันธ์ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ วิญญาณทั้งหมด ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน นี้เรียกว่า
วิญญาณขันธ์” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ทั้งที่เป็นอดีต
และอนาคตเหล่านี้ไม่มีอยู่”
อตีตักขันธาทิกถา จบ
๗. เอกัจจมัตถีติกถา
ว่าด้วยบางอย่างมีอยู่
๑. อตีตาทิเอกัจจกถา
ว่าด้วยสภาวธรรมบางอย่างที่เป็นอดีต เป็นต้น
[๒๙๙] สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑สภาวธรรมที่เป็นอดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มี๒
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตบางอย่างดับไปแล้ว บางอย่างยังไม่ดับไป บาง
อย่างหายไปแล้ว บางอย่างยังไม่หายไป บางอย่างสูญไปแล้ว บางอย่างยังไม่สูญไป
บางอย่างดับสูญไปแล้ว บางอย่างยังไม่ดับสูญไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายกัสสปิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๙๙/๑๗๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า วิบากที่ยังไม่ให้ผล มีอยู่ ส่วนวิบากที่ให้ผลแล้ว ไม่มี (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๙๙/๑๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๗. เอกัจจมัตถีติกถา
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผล บางเหล่ามีอยู่ บางเหล่าไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลแล้ว บางเหล่ามีอยู่ บางเหล่าไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ไม่มีวิบาก บางเหล่ามีอยู่ บางเหล่าไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมอะไรมีอยู่ สภาวธรรมอะไรไม่มีอยู่
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่ สภาวธรรมที่เป็นอดีต
ที่ให้ผลแล้วเหล่านั้นไม่มีอยู่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๗. เอกัจจมัตถีติกถา
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ไม่มีผลเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ไม่มีผลเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่”
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๗. เอกัจจมัตถีติกถา
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ไม่มีผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ไม่มีผลดับไปแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีต ส่วนหนึ่งให้ผลแล้ว อีกส่วนหนึ่งยังไม่ให้ผล
ดับไปแล้วเหล่านั้น บางเหล่ามีอยู่ บางเหล่าไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลก็จักให้ผลมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลก็จักให้ผล ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๗. เอกัจจมัตถีติกถา
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลจักให้ผล” จึง
ยอมรับว่า “สภาวธรรมเหล่านั้นมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลจักให้ผล” จึง
ยอมรับว่า “สภาวธรรมเหล่านั้นเป็นปัจจุบัน” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลจักให้ผล” จึง
ยอมรับว่า “สภาวธรรมเหล่านั้นเป็นปัจจุบัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันจักดับ” จึงยอมรับว่า
“สภาวธรรมเหล่านั้นไม่มี” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
๒. อนาคตาทิเอกัจจกถา
ว่าด้วยสภาวธรรมบางอย่างที่เป็นอนาคต เป็นต้น
[๓๐๐] สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๒ บางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มี๓
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตบางอย่างเกิด บางอย่างไม่เกิด บางอย่างเกิด
อย่างดี บางอย่างไม่เกิดอย่างดี บางอย่างบังเกิด บางอย่างไม่บังเกิด บางอย่าง
ปรากฏ บางอย่างไม่ปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า กรรมที่สั่งสมไว้ซึ่งยังไม่ให้ผลเป็นสิ่งที่มีปรากฏจึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๙๙/๑๗๙)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายกัสสปิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๐/๑๗๕)
๓ เพราะมีความเห็นว่า วิปากธรรมบางอย่างจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๐/๑๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๗. เอกัจจมัตถีติกถา
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคต บางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น บางเหล่ามีอยู่ บางเหล่าไม่มี
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคต บางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักไม่เกิดขึ้น บางเหล่ามีอยู่ บางเหล่าไม่มี
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคต บางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมอะไรมีอยู่ สภาวธรรมอะไรไม่มี
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่ สภาวธรรมที่เป็น
อนาคตที่จักไม่เกิดขึ้นเหล่านั้นไม่มี
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักไม่เกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักไม่เกิดขึ้นเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๗. เอกัจจมัตถีติกถา
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นยังไม่เกิดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น ยังไม่เกิด ท่านก็ไม่ควรยอม
รับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่”
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นแต่ยังไม่เกิดเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักไม่เกิดขึ้น และยังไม่เกิดเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักไม่เกิดขึ้น และยังไม่เกิดเหล่านั้นไม่มี
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น แต่ยังไม่เกิดเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น จักเกิดขึ้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น จักเกิดขึ้น ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น จักเกิดขึ้น”
จึงยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นแน่นอนมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น จักเกิดขึ้น”
จึงยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นแน่นอนเป็นปัจจุบัน” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น จักเกิดขึ้น”
จึงยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นแน่นอนเป็นปัจจุบัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันจักดับ” จึงยอมรับว่า
“สภาวธรรมที่ปัจจุบันเหล่านั้นไม่มี” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
เอกัจจมัตถีติกถา จบ
๘. สติปัฏฐานกถา
ว่าด้วยสติปัฏฐาน
[๓๐๑] สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร.๑ใช่๒
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ
เป็นสติสัมโพชฌงค์ เป็นทางเดียว เป็นเหตุให้ถึงความสิ้นกิเลส ให้ถึงความตรัสรู้
ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ไม่เป็น
อารมณ์ของคันถะ ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็นอารมณ์

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๑/๑๗๙)
๒ เพราะมุ่งถึงธรรมที่เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๑/๑๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
ของนิวรณ์ ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลส สภาวธรรมทั้งปวงเป็นพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ อานาปานสติ มรณานุสสติ กายคตาสติ
อุปสมานุสสติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะเป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ เป็น
สติสัมโพชฌงค์ เป็นทางเดียว เป็นเหตุให้ถึงความสิ้นกิเลส ให้ถึงความตรัสรู้ ให้
ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็น
อารมณ์ของสังกิเลส จักขายตนะ เป็นพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ อานาปานสติ มรณานุสสติ กายคตาสติ
อุปสมานุสสติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ กายายตนะ
ฯลฯ รูปายตนะ ฯลฯ สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ ทิฏฐิ
ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ ถีนะ ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ
เป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่าสภาวธรรมบางอย่างไม่เป็นสติ จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๑/๑๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
สก. อโนตตัปปะเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโนตตัปปะเป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ ฯลฯ
เป็นกายคตาสติ เป็นอุปสมานุสสติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สติเป็นสติปัฏฐาน และสติที่เป็นสติปัฏฐานนั้นเป็นสติใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน และจักขายตนะที่เป็นสติปัฏฐานนั้นเป็นสติ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สติเป็นสติปัฏฐาน และสติที่เป็นสติปัฏฐานนั้นเป็นสติใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อโนตตัปปะเป็นสติปัฏฐาน
และอโนตตัปปะที่เป็นสติปัฏฐานนั้นเป็นสติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน แต่จักขายตนะที่เป็นสติปัฏฐานนั้นไม่เป็นสติ
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สติเป็นสติปัฏฐาน แต่สติที่เป็นสติปัฏฐานนั้นไม่เป็นสติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะเป็นสติปัฏฐาน แต่
อโนตตัปปะที่เป็นสติปัฏฐานนั้นไม่เป็นสติใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
สก. สติเป็นสติปัฏฐาน แต่สติที่เป็นสติปัฏฐานนั้นไม่เป็นสติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๐๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สติปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสติปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอม
รับว่า “สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน”
สก. สติปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ ดังนั้น สภาวธรรมทั้งปวงจึง
เป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ ดังนั้น สภาวธรรมทั้งปวง
จึงเป็นผัสสปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สติปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ ดังนั้น สภาวธรรมทั้งปวงจึง
เป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา
ฯลฯ จิตปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ เพราะเหตุนั้น สภาวธรรมทั้งปวง
จึงเป็นจิตตปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ทั้งปวงมีสติตั้งมั่น ประกอบด้วยสติ มั่นคงด้วยสติ สติปรากฏแก่
สัตว์ทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
[๓๐๓] สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่
เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่บรรลุอมตธรรม ชนเหล่าใดเจริญกายคตาสติ
ชนเหล่านั้นชื่อว่าบรรลุอมตธรรม” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. สัตว์ทั้งปวงเจริญ ได้เฉพาะ ซ่องเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งกายคตาสติ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทาง๒นี้เป็นทางเดียว๓
เพื่อความบริสุทธ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม๔ เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน ทางนี้คือสติปัฏฐาน ๔”๕ มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นทางสายเดียวใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๖๐๐/๕๔
๒ ทาง หมายถึงทางดำเนินไปสู่นิพพานหรือทางที่ผู้ต้องการนิพพานควรดำเนินไป (ที.ม.อ. ๒/๓๗๑/๓๖๑)
๓ ทางเดียว มีความหมาย ๔ นัย คือ (๑) ทางที่บุคคลผู้ละการเกี่ยวข้องกับหมู่คณะไปประพฤติธรรมอยู่
แต่ผู้เดียว (๒) ทางสายเดียวที่พระพุทธเจ้าทรงทำให้เกิดขึ้น เป็นทางของบุคคลผู้เดียวคือพระผู้มีพระภาค
(๓) ข้อปฏิบัติในศาสนาเดียวคือพระพุทธศาสนา (๔) ทางดำเนินไปสู่จุดหมายเดียวคือนิพพาน (ที.ม.อ.
๒/๓๗๓/๓๕๙, ม.มู.อ. ๑/๑๐๖/๒๔๔)
๔ ญายธรรม หมายถึงอริยมรรค (ที.ม.อ. ๒/๒๑๔/๑๙๗, ม.มู.อ. ๑/๑๐๖/๒๕๑)
๕ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๓๗๓/๓๐๑, ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๐๖/๑๐๑, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๓๖๗/๒๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะพระเจ้า
จักรพรรดิปรากฏ แก้ว ๗ ประการจึงปรากฏ แก้ว ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) จักรแก้ว (๒) ช้างแก้ว (๓) ม้าแก้ว (๔) มณีแก้ว (๕) นางแก้ว (๖) คหบดีแก้ว
(๗) ปริณายกแก้ว เพราะพระเจ้าจักรพรรดิปรากฏ แก้ว ๗ ประการนี้จึงปรากฏ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ แก้วคือโพชฌงค์
๗ ประการจึงปรากฏ แก้ว ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) แก้วคือสติสัมโพชฌงค์
(๒) แก้วคือธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (๓) แก้วคือวิริยสัมโพชฌงค์ (๔) แก้วคือปีติ-
สัมโพชฌงค์ (๕) แก้วคือปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (๖) แก้วคือสมาธิสัมโพชฌงค์
(๗) แก้วคืออุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ
แก้วคือโพชฌงค์ ๗ ประการนี้จึงปรากฏ” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. เพราะตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ สภาวธรรมทั้งปวงที่
เป็นแก้วคือสติสัมโพชฌงค์จึงปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสัมมัปปธาน ฯลฯ เป็นอิทธิบาท ฯลฯ เป็น
อินทรีย์ ฯลฯ เป็นพละ ฯลฯ เป็นโพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สติปัฏฐานกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๒๒๓/๑๕๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๙. เหวัตถีติกถา
๙. เหวัตถีติกถา
ว่าด้วยสภาวธรรมที่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
[๓๐๔] สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ แต่ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้๒
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ก็คือสภาวะที่มีอยู่
ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือความมีอยู่ บัญญัติว่า “มีอยู่” กับ
“ไม่มีอยู่” หรือบัญญัติว่า “ไม่มีอยู่” กับ “มีอยู่” นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะ
อย่างนี้
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๔/๑๘๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สภาวธรรมที่เป็นอดีตจะเปลี่ยนไปเป็นสภาวธรรมที่เป็นอนาคตและปัจจุบันไม่ได้กล่าว
คือสภาวธรรมที่เป็นอดีตก็มีอยู่โดยความเป็นอดีตอันเป็นสภาวะของตนเอง(สกภาว) ไม่เปลี่ยนเป็นอนาคต
และปัจจุบัน อันเป็นสภาวะอื่น(ปรภาว) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๔/๑๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๙. เหวัตถีติกถา
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ก็คือสภาวะที่มีอยู่
ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือความมีอยู่ บัญญัติว่า “มีอยู่” กับ
“ไม่มีอยู่” หรือบัญญัติว่า “ไม่มีอยู่” กับ “มีอยู่” นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
ปร. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ ฯลฯ นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๐๕] สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ แต่ไม่มีอยู่โดยสภาวะ
อย่างนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอดีต” ไม่มีอยู่
โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอนาคต” ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นปัจจุบัน”
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่ และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๙. เหวัตถีติกถา
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ก็คือสภาวะที่มีอยู่
ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือความมีอยู่ บัญญัติว่า “มีอยู่” กับ
“ไม่มีอยู่” หรือบัญญัติว่า “ไม่มีอยู่” กับ “มีอยู่” นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ แต่ไม่มีอยู่โดยสภาวะ
อย่างนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอนาคต” ไม่มี
อยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอดีต” ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นปัจจุบัน”
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ก็คือสภาวะที่มีอยู่ ฯลฯ
นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ แต่ไม่มีอยู่โดยสภาวะ
อย่างนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร
ปร. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นปัจจุบัน” ไม่มี
อยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอดีต” ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอนาคต”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๙. เหวัตถีติกถา
สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ ฯลฯ นี้นั้นมีความหมายอย่าง
เดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มี
อยู่โดยสภาวะอย่างนี้ สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดย
สภาวะอย่างนี้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอนาคต” มีอยู่
โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นปัจจุบัน” สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า
“เป็นอดีต” มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นปัจจุบัน” สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่
โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอดีต” มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอนาคต” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น สภาวธรรมที่เป็นอดีตก็มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดย
สภาวะอย่างนี้ สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะ
อย่างนี้ สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
[๓๐๖] สก. รูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
สก. รูปอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๙. เหวัตถีติกถา
สก. รูปอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ก็คือสภาวะที่มีอยู่
ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือความมีอยู่ บัญญัติว่า “มีอยู่” กับ
“ไม่มีอยู่” หรือบัญญัติว่า “ไม่มีอยู่” กับ “มีอยู่” นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
สก. วิญญาณอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ ฯลฯ เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มี
สภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปมีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร
ปร. รูปมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นรูป” รูปไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า
“เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร ฯลฯ เป็นวิญญาณ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๙. เหวัตถีติกถา
สก. รูปอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ ฯลฯ เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มี
สภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร
ปร. วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่าเป็น “วิญญาณ” วิญญาณไม่มีอยู่
โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นรูป ฯลฯ เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร”
สก. วิญญาณอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ ฯลฯ เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มี
สภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่
โดยสภาวะอย่างนี้” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
ปร. รูปมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ
เป็นสังขาร ฯลฯ เป็นวิญญาณ” เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
วิญญาณ มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นรูป” วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า
“เป็นเวทนา” วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นสัญญา” วิญญาณมีอยู่
โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นสังขาร” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น รูปจึงมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มี
อยู่โดยสภาวะอย่างนี้
เหวัตถีติกถา จบ
มหาวรรคที่ ๑ จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปุคคลกถา ๒. ปริหานิกถา
๓. พรหมจริยกถา (ก) ๓. โอธิโสกถา (ข)
๔. ชหติกถา ๕. สัพพมัตถีติกถา
๖. อตีตักขันธาทิกถา ๗. เอกัจจมัตถีติกถา
๘. สติปัฏฐานกถา ๙. เหวัตถีติกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
๒. ทุติยวรรค
๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
ว่าด้วยเรื่องที่บุคคลอื่นนำเข้าไปให้
[๓๐๗] สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ราคะ กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ
กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะ กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ
กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ของพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากราคะ กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ
กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ของพระอรหันต์ไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “น้ำอสุจิ
และการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของปุถุชนมีอยู่ และราคะ กามราคะ
กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ของ
ปุถุชนนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ และราคะ กามราคะ
กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ของพระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๗/๑๘๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าถูกมารดลใจ แม้พระอรหันต์ก็หลั่งน้ำอสุจิได้ จึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๗/๑๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ และราคะ กามราคะ
กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ของพระอรหันต์นั้นก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของปุถุชนมีอยู่ และราคะ กามราคะ
กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ของปุถุชนนั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะเหตุไร
ปร. เพราะว่า พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำ
อสุจิเข้าไปให้แก่พระอรหันต์
สก. พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิเข้าไป
ให้แก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารไม่มีน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารไม่มีน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อย
น้ำอสุจิเข้าไปให้แก่พระอรหันต์ได้”

เชิงอรรถ :
๑ เพราะปรวาทีมีความเห็นว่า คนผู้ไม่ใช่พระอรหันต์แต่ปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์เป็นต้นหลั่งน้ำอสุจิได้
จึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๗/๑๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิเข้าไป
ให้แก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิเข้าไป
ให้แก่ตน ให้แก่คนเหล่าอื่น แก่บุคคลนั้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิเข้าไป
ให้แก่ตน ให้แก่คนเหล่าอื่น ให้แก่บุคคลนั้นไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิ
เข้าไปให้แก่ตน ให้แก่คนเหล่าอื่น ให้แก่บุคคลนั้นไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พวกเทวดา ผู้นับเนื่องในหมู่มาร นำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิเข้าไปให้แก่พระ
อรหันต์ได้”
สก. พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิเข้าไป
ให้แก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นำเข้าไปทางขุมขนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๐๘] สก. พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิ
เข้าไปให้แก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. เพราะเหตุไร
ปร. เพราะจะให้ท่านสงสัย
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ใน
ส่วนเบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลาย ในส่วนเบื้องต้นและเบื้องปลาย ความสงสัยใน
ปฏิจจสมุปบาทที่ว่า “เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี” ของพระอรหันต์
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ใน
ส่วนเบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลาย ในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย ในปฏิจจ-
สมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากความสงสัยในพระศาสดา ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่า
เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ และความสงสัยในพระศาสดา ฯลฯ
ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของปุถุชน
นั้นก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๒ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น