Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๗-๓ หน้า ๑๒๗ - ๑๘๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗-๓ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ



พระอภิธรรมปิฎก
กถาวัตถุ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละสีลัพพตปรามาส ฯลฯ ละกามราคะ
อย่างหยาบ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้วยังเสื่อม
จากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้วยัง
เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๓] สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว
ยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละกามราคะอย่างหยาบ ฯลฯ ละ
พยาบาทอย่างหยาบได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้
แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๔] สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ละราคะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๕] สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากสกทาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์ละราคะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้วไม่เสื่อม
จากสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ละราคะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๖] สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ละราคะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้วไม่เสื่อม
จากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ละราคะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๗] สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๘] สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้วไม่เสื่อม
จากสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๙] สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๖๐] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูก
ตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะพระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ โมหะพระอรหันต์ละได้แล้ว ... มานะ
พระอรหันต์ละได้แล้ว ... ทิฏฐิพระอรหันต์ละได้แล้ว ... วิจิกิจฉาพระอรหันต์ละ
ได้แล้ว ... ถีนะพระอรหันต์ละได้แล้ว ... อุทธัจจะพระอรหันต์ละได้แล้ว ... อหิริกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
พระอรหันต์ละได้แล้ว ... อโนตตัปปะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอโนตตัปปะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่
ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เจริญมรรคเพื่อละราคะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญมรรคเพื่อละราคะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระ
อรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ เจริญสัมมัปปธาน ... เจริญอิทธิบาท
... เจริญอินทรีย์ ... เจริญพละ ... เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อละ
อโนตตัปปะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
[๒๖๑] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว
หลุดพ้นเพราะรู้ชอบแล้ว ถอดลิ่มสลัก กลบคู ถอนเสาระเนียดได้แล้ว ไม่มีบานประตู
เป็นพระอริยะ ปลดธงคือมานะ วางภาระคือขันธ์ หมดเครื่องผูกพัน ชนะอย่าง
วิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคแล้ว รู้ยิ่ง
ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควร
เจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้ง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
[๒๖๒] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุต๑ เสื่อมจากอรหัตตผลได้ ผู้เป็นอสมย-
วิมุต๒ ไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑-๒ ดูเทียบ อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑-๒/๑๔๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วยัง
เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วยัง
เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเจริญมรรค เพื่อละราคะ ยังเสื่อมจากอรหัตตผล
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเจริญมรรค เพื่อละราคะ ยังเสื่อมจากอรหัตตผล
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ เจริญสัมมัปปธาน ...
เจริญอิทธิบาท ... เจริญอินทรีย์ ... เจริญพละ ... เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ยังเสื่อม
จากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อ
ละราคะ ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละโทสะ
ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละ
อโนตตัปปะยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ทำกิจ
ที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเป็นเครื่อง
ผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นเพราะรู้ชอบแล้ว ถอดลิ่มสลัก กลบคู ถอนเสาระเนียด
ได้แล้ว ไม่มีบานประตู เป็นพระอริยะ ปลดธงคือมานะ วางภาระคือขันธ์ หมดเครื่อง
ผูกพัน ชนะอย่างวิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรค
แล้ว รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญธรรม
ที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
[๒๖๓] สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตละราคะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตละราคะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่
เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละ
ราคะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละ
ราคะแล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละโทสะ
ฯลฯ เจริญอโนตตัปปะแล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละ
อโนตตัปปะแล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๖๔] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสารีบุตรเถระเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระมหาโมคคัลลานเถระ ฯลฯ พระมหากัสสปเถระ ฯลฯ พระมหา
กัจจายนเถระ ฯลฯ พระมหาโกฏฐิกเถระ ฯลฯ พระมหาปันถกเถระ เสื่อมจาก
อรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระสารีบุตรเถระไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสารีบุตรเถระไม่เสื่อมจากอรหัตตผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระมหาโมคคัลลานเถระ ... พระมหากัสสปเถระ ... พระมหา
กัจจายนเถระ ... พระมหาโกฏฐิกเถระ ... พระมหาปันถกเถระ ไม่เสื่อมจาก
อรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระมหาโมคคัลลานเถระ ฯลฯ พระมหาปันถกเถระ ไม่เสื่อมจาก
อรหัตตผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
อริยปุคคลสังสันทนปริหานิ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
๓. สุตตสาธนปริหานิ
ว่าด้วยการอ้างพระสูตรในเรื่องความเสื่อม
[๒๖๕] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ปฏิปทาที่พระสมณะประกาศแล้วมีทั้งสูงและต่ำ
มุนีผู้ปฏิบัติจะไปถึงฝั่งถึง ๒ ครั้งหามิได้
ฝั่งนี้ผู้ปฏิบัติรู้ได้ครั้งเดียวก็หามิได้” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กิเลสวัฏที่พระอรหันต์ตัดได้แล้วยังมีบางอย่างที่ยังจะต้องตัดอีกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. กิเลสวัฏที่พระอรหันต์ตัดได้แล้วยังมีบางอย่างที่ยังจะต้องตัดอีกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๗๒๐/๖๗๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
“ท่านเป็นผู้ไม่มีตัณหา ไม่มีความถือมั่น
ไม่มีกิจที่ต้องทำ กิเลสวัฏท่านตัดแล้ว ไม่มีที่จะต้องตัดอีก
ห้วงน้ำและบ่วง๑ท่านถอนได้แล้ว”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “กิเลสวัฏที่พระอรหันต์ตัดแล้ว ยังมี
บางอย่างที่ยังจะต้องตัดอีก”
[๒๖๖] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กิจ๒ที่ทำแล้วต้องสั่งสมอีกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. กิจที่ทำแล้วต้องสั่งสมอีกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ภิกษุผู้มีจิตสงบระงับหลุดพ้นโดยชอบ
ย่อมไม่มีการสั่งสมกิจที่ทำแล้ว ทั้งไม่มีกิจที่จะต้องทำอีก
ภูเขาหินแท่งทึบย่อมไม่สะเทือนเพราะลม ฉันใด
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งมวล
ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์
ย่อมทำจิตของผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่ได้ ฉันนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ห้วงน้ำและบ่วง คำว่า ห้วงน้ำ ในที่นี้หมายถึงห้วงน้ำคือกิเลส (กิเลโสโฆ) และคำว่า บ่วง หมายถึงบ่วงแห่งกิเลส
(กิเลสปาโส) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๖๕/๑๖๕)
๒ กิจ ในที่นี้หมายถึงภาวนา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๖๖/๑๖๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
จิตของผู้คงที่นั้น เป็นจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
ไม่เกาะเกี่ยวด้วยอารมณ์อะไร
เพราะท่านผู้คงที่พิจารณาเห็นความเกิดดับของจิตนั้น” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “กิจที่ทำแล้วต้องสั่งสมอีกมีอยู่”
[๒๖๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นสมยวิมุต ธรรม ๕ ประการ คือ (๑)
ความเป็นผู้ชอบการงาน (๒) ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย (๓) ความเป็นผู้ชอบ
การนอนหลับ (๔) ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ (๕) ไม่พิจารณาจิตตาม
ที่หลุดพ้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม
แก่ภิกษุผู้เป็นสมยวิมุต” ๒ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น “พระอรหันต์จึงเสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. ความเป็นผู้ชอบการงานของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ความเป็นผู้ชอบการงานของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๒๔๕/๑๒-๑๓, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๕/๕๓๘-๕๓๙
๒ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๔๙/๒๔๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. ราคะ กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ
กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ ความเป็นผู้
ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะ กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ
กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
[๒๖๘] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ถูกอะไรกลุ้มรุมจึงเสื่อม
ปร. ถูกราคะกลุ้มรุมจึงเสื่อม
สก. ความกลุ้มรุมเกิดขึ้นเพราะอาศัยอะไร
ปร. เกิดขึ้นเพราะอาศัยอนุสัย
สก. อนุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อนุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย
ภวราคานุสัย (และ) อวิชชานุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ถูกอะไรกลุ้มรุมจึงเสื่อม
ปร. ถูกโทสะกลุ้มรุมจึงเสื่อม ฯลฯ ถูกโมหะกลุ้มรุมจึงเสื่อม
สก. ความกลุ้มรุมเกิดขึ้นเพราะอาศัยอะไร
ปร. เกิดขึ้นเพราะอาศัยอนุสัย
สก. อนุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อนุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคานุสัย ฯลฯ อวิชชานุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อพระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล อะไรก่อตัวขึ้น
ปร. ราคะก่อตัวขึ้น
สก. สักกายทิฏฐิก่อตัวขึ้น วิจิกิจฉาก่อตัวขึ้น สีลัพพตปรามาสก่อตัวขึ้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อพระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล อะไรก่อตัวขึ้น
ปร. โทสะก่อตัวขึ้น ฯลฯ
สก. เมื่อพระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล อะไรก่อตัวขึ้น
ปร. โมหะก่อตัวขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. สักกายทิฏฐิก่อตัวขึ้น วิจิกิจฉาก่อตัวขึ้น สีลัพพตปรามาสก่อตัวขึ้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ยังสะสม(จุติและปฏิสนธิ)อยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ไม่สะสมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ยังละอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ยังยึดมั่นอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ยังกำจัดอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ยังก่ออยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ยังทำลายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ยังปรับปรุงอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์ยังสะสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สะสมอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ไม่สะสมแล้วจึง
ดำรงอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ยังสะสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สะสมอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ไม่สะสม
แล้วจึงดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระอรหันต์ยังละอยู่ก็มิใช่ ยึดมั่นอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ละได้แล้วจึงดำรงอยู่
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ยังละอยู่ก็มิใช่ ยึดมั่นอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ละได้แล้วจึง
ดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระอรหันต์ยังกำจัดอยู่ก็มิใช่ ก่ออยู่ก็มิใช่ เป็นผู้กำจัดแล้วจึงดำรงอยู่
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ยังกำจัดอยู่ก็มิใช่ ก่ออยู่ก็มิใช่ เป็นผู้กำจัดจึงดำรงอยู่
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระอรหันต์ยังทำลายอยู่ก็มิใช่ ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ทำลายแล้วจึง
ดำรงอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ยังทำลายอยู่ก็มิใช่ ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ทำลายแล้ว
จึงดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
ปริหานิกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
๓. (ก) พรหมจริยกถา
ว่าด้วยพรหมจรรย์
๑. สุทธพรหมจริยกถา
ว่าด้วยพรหมจรรย์ล้วน ๆ
[๒๖๙] สก. ในหมู่เทวดา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์๑ ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. เทวดาทั้งหลายเป็นผู้โง่เขลา เบาปัญญา ไม่รู้เดียงสา ใช้ภาษาใบ้
ไม่สามารถจะรู้ความหมายของคำที่กล่าวดีหรือชั่วได้ ไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
พระธรรม พระสงฆ์ ไม่เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ไม่ทูลถามปัญหากับ
พระองค์ เมื่อพระองค์ทรงวิสัชนาปัญหาก็ไม่ชื่นชม เป็นผู้ประกอบด้วยเครื่องกั้น
คือกรรม เครื่องกั้นคือกิเลส เครื่องกั้นคือวิบาก ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญา
ทราม ไม่ควรที่จะก้าวลงสู่นิยามอันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้ฆ่ามารดา
ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ทำลายสงฆ์ให้
แตกกัน เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูด
คำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตคิดพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เทวดาทั้งหลายเป็นผู้ไม่โง่เขลา มีปัญญา รู้เดียงสา ไม่ใช้ภาษาใบ้
สามารถรู้ความหมายของคำที่กล่าวดีหรือชั่วได้ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม
พระสงฆ์ เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทูลถามปัญหากับพระองค์ เมื่อ
พระองค์ทรงวิสัชนาปัญหา ก็เป็นผู้ชื่นชม เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยเครื่องกั้นคือกรรม

เชิงอรรถ :
๑ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงการเจริญมรรคและการบรรพชา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๖๙/๑๖๖)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๖๙/๑๖๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ในหมู่เทวดา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ทั้ง ๒ อย่าง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๖๙/๑๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
เครื่องกั้นคือกิเลส เครื่องกั้นคือวิบาก เป็นผู้มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญา ควรที่
จะก้าวลงสู่นิยามอันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เป็นผู้ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา
ฆ่าพระอรหันต์ ไม่ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ไม่ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูด
คำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่เป็นผู้มากไปด้วยอภิชฌา ไม่มีจิตคิดพยาบาท เป็น
สัมมาทิฏฐิ มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากเทวดาทั้งหลายเป็นผู้ไม่โง่เขลา มีปัญญา รู้เดียงสา ไม่ใช้ภาษาใบ้
สามารถรู้ความหมายของคำที่กล่าวดีหรือชั่วได้ ฯลฯ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ฯลฯ
เป็นสัมมาทิฏฐิ มีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ในหมู่เทวดาไม่มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์”
[๒๗๐] ปร. ในหมู่เทวดา มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ใช่๑
ปร. ในหมู่เทวดานั้นมีการบรรพชา การปลงผม การครองผ้ากาสาวพัสตร์
การทรงบาตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติได้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ทั้งหลายอุบัติได้ คู่พระอัครสาวกก็อุบัติได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในหมู่เทวดาไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะเหตุนั้น ในหมู่เทวดา
จึงไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในที่ที่มีการบรรพชาเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่ไม่
มีการบรรพชา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า ในหมู่เทวดายังมีการเจริญมรรคอยู่ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๐/๑๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. ในที่ที่มีการบรรพชาเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่ไม่
มีการบรรพชา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้ที่บรรพชาเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ที่ไม่ได้บรรพชา
ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในหมู่เทวดาไม่มีการปลงผม เพราะเหตุนั้น ในหมู่เทวดาจึงไม่มีการอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในที่ที่มีการปลงผมเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่ไม่
มีการปลงผม ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในที่ที่มีการปลงผมเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่ไม่
มีการปลงผม ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เฉพาะผู้ที่ปลงผมเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ที่ไม่ปลงผม
ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในหมู่เทวดาไม่มีการครองผ้ากาสาวพัสตร์ เพราะเหตุนั้น ในหมู่
เทวดาจึงไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในที่ที่มีการครองผ้ากาสาวพัสตร์เท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ในที่ที่ไม่มีการครองผ้ากาสาวพัสตร์ ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. ในที่ที่มีการครองผ้ากาสาวพัสตร์เท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ในที่ที่ไม่มีการครองผ้ากาสาวพัสตร์ ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้ที่ครองผ้ากาสาวพัสตร์เท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ที่
ไม่ครองผ้ากาสาวพัสตร์ ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในหมู่เทวดาไม่มีการทรงบาตร เพราะเหตุนั้น ในหมู่เทวดาจึงไม่มีการอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในที่ที่มีการทรงบาตรเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ในที่ที่ไม่มีการทรงบาตร ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก ในที่ที่มีการทรงบาตรเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่
ไม่มีการทรงบาตร ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้ที่ทรงบาตรเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ที่ไม่ทรงบาตร
ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงอุบัติในหมู่เทวดา เพราะเหตุนั้น
ในหมู่เทวดาจึงไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. ในที่ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ ในที่ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงอุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในที่ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ ในที่ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงอุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคประสูติที่สวนลุมพินี ตรัสรู้ที่ควงไม้โพธิ์ ทรงประกาศ
ธรรมจักรที่กรุงพาราณสี ในที่นั้นเท่านั้นจึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่อื่น
ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไม่อุบัติในหมู่เทวดา เพราะเหตุนั้น ในหมู่
เทวดาจึงไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในที่ที่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ ในที่ที่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายไม่อุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในที่ที่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ ในที่ที่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายไม่อุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายอุบัติในมัชฌิมชนบท ในมัชฌิมชนบท
นั้นเท่านั้นจึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่อื่นไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คู่พระอัครสาวกไม่อุบัติในหมู่เทวดา เพราะเหตุนั้น ในหมู่เทวดาจึงไม่มี
การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในที่ที่คู่พระอัครสาวกอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ในที่ที่คู่พระอัครสาวกไม่อุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในที่ที่คู่พระอัครสาวกอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ในที่ที่คู่พระอัครสาวกไม่อุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในมคธรัฐซึ่งเป็นที่อุบัติของคู่พระอัครสาวกเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ ในที่อื่นไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๗๑] ปร. ในหมู่เทวดามีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ในหมู่เทวดาทั้งปวงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. ในหมู่มนุษย์มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า มีเทวดาจำพวกหนึ่งคือ อสัญญีสัตว์ประพฤติพรหมจรรย์ไม่ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๒๗๐/๑๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. ในหมู่มนุษย์ทั้งปวงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
ปร. ในหมู่เทวดามีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ในหมู่อสัญญสัตตพรหมมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในหมู่มนุษย์มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในชาวปัจจันตชนบทที่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง
และในพวกมิลักขะ๒ผู้ไม่รู้เดียงสา มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ในหมู่เทวดามีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ที่มีก็มี ที่ไม่มีก็มี
ปร. ในหมู่อสัญญสัตตพรหมที่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ที่ไม่มีการ
อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี และในหมู่สัญญสัตตพรหมที่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ก็มี ที่ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ในหมู่เทวดาที่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ที่ไม่มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ก็มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ที่ไหนมี ที่ไหนไม่มี

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า มีมนุษย์พวกหนึ่งซึ่งอยู่ในปัจจันตชนบท(ห่างไกลไม่มีภิกษุสงฆ์)ไม่มีการประพฤติ
พรหมจรรย์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๑/๑๖๖)
๒ มิลักขะ หมายถึงคนป่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. ในหมู่อสัญญสัตตพรหมไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ในหมู่
สัญญสัตตพรหมมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ปร. ในหมู่อสัญญสัตตพรหมไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ในหมู่สัญญสัตตพรหมไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ในหมู่สัญญสัตตพรหมมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ในหมู่อสัญญสัตตพรหมมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในหมู่มนุษย์มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ที่มีก็มี ที่ไม่มีก็มี
สก. ในชาวปัจจันตชนบทที่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง
และในพวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ไม่มีก็มี ใน
ชาวมัชฌิมชนบทมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ไม่มีก็มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในหมู่มนุษย์มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ไม่มีก็มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ไหนมี ที่ไหนไม่มี
ปร. ในชาวปัจจันตชนบทที่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง
และในพวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในชาวมัชฌิม
ชนบทมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. ในชาวปัจจันตชนบทที่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง
และในพวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในชาวมัชฌิมชนบทไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ในชาวมัชฌิมชนบทมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในชาวปัจจันตชนบทที่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง
และในพวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ในหมู่เทวดามีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพู
ทวีป เหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและเทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการ
คือ (๑) เป็นผู้แกล้วกล้า (๒) เป็นผู้มีสติ (๓) เป็นผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน
ชมพูทวีปนี้” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ในหมู่เทวดาจึงไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสที่กรุงสาวัตถีว่า ณ ที่นี้ มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๒๑/๔๗๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ มีแต่ในกรุงสาวัตถีเท่านั้น ในที่อื่นไม่มี
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
[๒๗๒] สก. อนาคามีบุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้แล้ว แต่ยังละ
สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ประการไม่ได้ เมื่อจุติจากโลกนี้แล้วไปปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสนั้น
อรหัตตผลเกิดขึ้นได้ ณ ที่ไหน
ปร. ในชั้นสุทธาวาสนั้นนั่นเอง
สก. หากอนาคามีบุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้แล้ว แต่ยังละ
สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ประการไม่ได้ เมื่อจุติจากโลกนี้แล้วไปปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสนั้น
อรหัตตผลเกิดขึ้นได้ในที่นั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ในหมู่เทวดาไม่มีการ อยู่
ประพฤติพรหมจรรย์”
สก. อนาคามีบุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้แล้ว แต่ยังละ
สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ประการไม่ได้ เมื่อจุติจากโลกนี้แล้วไปปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสนั้น
การปลงภาระ การกำหนดรู้ทุกข์ การละกิเลส การทำให้แจ้งนิโรธ การแทงตลอด
อกุปปธรรมมี ณ ที่ไหน
ปร. ในชั้นสุทธาวาสนั้นนั่นเอง
สก. หากอนาคามีบุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้แล้ว แต่ยังละ
สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ประการไม่ได้ เมื่อจุติจากโลกนี้แล้วไปปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสนั้น
การแทงตลอดอกุปปธรรมมีในที่นั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ในหมู่เทวดาไม่มี
การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์”
สก. อนาคามีบุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้แล้ว แต่ยังละสังโยชน์
เบื้องสูง ๕ ประการไม่ได้ เมื่อจุติจากโลกนี้แล้วไปปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสนั้น
การเกิดขึ้นแห่งอรหัตตผล การปลงภาระ การกำหนดรู้ทุกข์ การละกิเลส การ
ทำให้แจ้งนิโรธ การแทงตลอดอกุปปธรรมก็มีในที่นั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงยอมรับว่า
“ในหมู่เทวดาไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์”
ปร. เพราะว่า อนาคามีบุคคลทำให้แจ้งผลได้ในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่
ตนได้เจริญแล้วในโลกนี้
สุทธพรหมจริยกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
๒. สังสันทนพรหมจริยกถา
ว่าด้วยการเทียบเคียงพระอริยบุคคลในเรื่องพรหมจรรย์
[๒๗๓] สก. อนาคามีบุคคลทำให้แจ้งผลในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่ตน
เจริญแล้วในโลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. โสดาบันบุคคลทำให้แจ้งผลในโลกนี้ด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้วในพรหมโลก
นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อนาคามีบุคคลทำให้แจ้งผลในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้วใน
โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สกทาคามีบุคคลผู้ที่จะปรินิพพานในโลกนี้ ทำให้แจ้งผลในโลกนี้ด้วยมรรค
ที่ตนเจริญแล้วในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. โสดาบันบุคคลทำให้แจ้งผลในโลกนี้ได้ด้วยมรรคที่ตนได้เจริญแล้วในโลก
นี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนาคามีบุคคลทำให้แจ้งผลในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้ว
ในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า อนาคามีบุคคลสามารถบรรลุอรหัตตผลในชั้นสุทธาวาสได้ โดยอาศัยอนาคามิมรรค
ที่เคยเจริญแล้วในมนุษยโลก โดยไม่ต้องเจริญอรหัตตมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๓/๑๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. สกทาคามีบุคคลผู้ที่จะปรินิพพานในโลกนี้ ทำให้แจ้งผลในโลกนี้ด้วยมรรค
ที่ตนเจริญแล้วในโลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนาคามีบุคคลทำให้แจ้งผลในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้ว
ในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ เจริญมรรคแต่มิใช่ละกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เจริญมรรคแต่มิใช่ละกิเลส
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ เจริญมรรคแต่มิใช่ละกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
เจริญมรรคแต่มิใช่ละกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เจริญมรรคและละกิเลสได้ไม่
ก่อนไม่หลังกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ เจริญมรรคและละกิเลสได้ไม่ก่อนไม่หลัง
กันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ
ทำให้แจ้งอรหัตตผล เจริญมรรคและละกิเลสได้ไม่ก่อนไม่หลังกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ เจริญมรรคและละกิเลสได้ไม่ก่อนไม่หลัง
กันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อนาคามีบุคคลทำกิจที่ควรทำแล้ว เจริญภาวนาแล้วจึงเกิดในชั้น
สุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ยังเกิดอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ยังเกิดอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์มีการเกิดอีกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์มีการเกิดอีกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ออกจากภพไปสู่ภพ จากคติไปสู่คติ จากสงสารไปสู่สงสาร
จากการเกิดไปสู่การเกิดใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อนาคามีบุคคลทำกิจที่ควรทำแล้ว เจริญภาวนาแล้วยังไม่ปลงภาระ๑
เกิดในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ยังไม่ปลงภาระ ในที่นี้หมายถึงยังต้องทำกิจที่จะต้องทำเพื่อบรรลุธรรมในชั้นสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก (อภิ.ปญฺจ.อ.
๒๗๓/๑๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. ท่านยังเจริญมรรคอีกเพื่อปลงภาระใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อนาคามีบุคคลทำกิจที่ควรทำแล้ว เจริญภาวนาแล้ว แต่ยังไม่กำหนด
รู้ทุกข์ ยังละกิเลสไม่ได้ ยังไม่ทำให้แจ้งนิโรธ ยังไม่แทงตลอดอกุปปธรรม ไปเกิดใน
ชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านยังเจริญมรรคอีกเพื่อแทงตลอดอกุปปธรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อนาคามีบุคคลทำกิจที่ควรทำแล้ว เจริญภาวนาแล้ว แต่ยังไม่ปลงภาระ
ไปเกิดในชั้นสุทธาวาสนั้น และจะไม่เจริญมรรคอีกเพื่อปลงภาระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนึ่ง ท่านยังไม่ปลงภาระ ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อนาคามีบุคคลทำกิจที่ควรทำแล้ว เจริญภาวนาแล้ว แต่ยังไม่กำหนด
รู้ทุกข์ ยังละกิเลสไม่ได้ ยังไม่ทำให้แจ้งนิโรธ ยังไม่แทงตลอดอกุปปธรรม ไปเกิด
ในชั้นสุทธาวาสนั้น และไม่เจริญมรรคอีกเพื่อแทงตลอดอกุปปธรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนึ่ง ท่านยังไม่แทงตลอดอกุปปธรรม ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ข) โอธิโสกถา
ปร. เนื้อที่ถูกยิงด้วยลูกศรแม้จะไปได้ไกลก็ย่อมตาย ฉันใด อนาคามีบุคคลทำ
ให้แจ้งผลในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้วในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
สก. เนื้อที่ถูกยิงด้วยลูกศรแม้จะไปได้ไกลก็ตายทั้งที่มีลูกศรติดอยู่นั้นเอง ฉันใด
อนาคามีบุคคลปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้นทั้งที่ยังมีลูกศร (มรรค) ติดอยู่นั้นเอง
ด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้วในโลกนี้ ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พรหมจริยกถา จบ
๓. (ข) โอธิโสกถา
ว่าด้วยการละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ
[๒๗๔] สก. บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ ใช่ไหม
ปร.๑ใช่๒
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์
ปร. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวง
เดียวกันกับกิเลสทั้ง ๓ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบัน อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระ
โสดาบัน ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสโสดาปัตติผล
ด้วยกาย๓อยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบัน
ผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใสที่ไม่หวั่นไหว

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอื่นมีสมิติยะ เป็นต้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๔/๑๖๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอริยบุคคลไม่สามารถละกิเลสแต่ละชนิดได้สิ้นเชิงในขณะจิตเดียว (อภิ.ปญฺจ.อ.
๒๗๔/๑๖๘)
๓ กาย ในที่นี้หมายถึงนามกาย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ข) โอธิโสกถา
ในพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ
อีกส่วนหนึ่งไม่ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย
ปร. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และกิเลสที่มีอยู่ใน จิต
ดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๓ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบัน อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระโสดาบัน ฯลฯ ส่วนหนึ่งประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ อีกส่วนหนึ่งไม่
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นนิโรธ
ปร. ละวิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับ
กิเลสทั้ง ๒ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบัน อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระโสดาบัน ฯลฯ ส่วนหนึ่งประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ อีกส่วนหนึ่งไม่
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นมรรค
ปร. ละสีลัพพตปรามาสและกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับสีลัพพตปรามาส
นั้นได้บางส่วน

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า พระอริยบุคคลมีโสดาบันเป็นต้นที่เป็นส่วน ๆ ไม่มี (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๔/๑๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ข) โอธิโสกถา
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบัน อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระโสดาบัน ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัส
โสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็น
พระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใสที่
ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่
พระอริยะชอบใจ อีกส่วนหนึ่งไม่ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๗๕] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็น
ทุกข์
ปร. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ และกิเลสที่มีอยู่ในจิต
ดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระสกทาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระสกทาคามี ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัส
สกทาคามิผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย
ปร. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ และกิเลสที่มีอยู่ในจิต
ดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระสกทาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระสกทาคามี ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัส
สกทาคามิผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นนิโรธ
ปร. ละพยาบาทอย่างหยาบและกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับพยาบาท
นั้นได้บางส่วน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ข) โอธิโสกถา
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระสกทาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระสกทาคามี ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัส
สกทาคามิผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นมรรค
ปร. ละพยาบาทอย่างหยาบและกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับพยาบาทนั้นได้
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระสกทาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระสกทาคามี ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัส
สกทาคามิผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๗๖] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์
ปร. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด และ
กิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระอนาคามี ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอนาคามิ-
ผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามีผู้
อันตราปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อสังขารปรินิพพายี ฯลฯ
ผู้สสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามี
ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย
ปร. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด และกิเลสที่มีอยู่ใน
จิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้บางส่วน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ข) โอธิโสกถา
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระอนาคามี ฯลฯ ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี อีกส่วน
หนึ่งไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นนิโรธ
ปร. ละพยาบาทอย่างละเอียด และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับพยาบาท
นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระอนาคามี ฯลฯ ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี อีกส่วน
หนึ่งไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นมรรค
ปร. ละกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับกิเลสนั้นได้
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระอนาคามี ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัส
อนาคามิผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อสังขารปรินิพพายี
ฯลฯ ผู้สสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๗๗] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ละอะไรได้ด้วยการเห็น
ทุกข์
ปร. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา และกิเลสที่มีอยู่ใน
จิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๕ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอรหันต์ อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระ
อรหันต์ ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอรหัตตผลด้วยกายอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ข) โอธิโสกถา
อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ทำกิจ
ที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเป็นเครื่อง
ผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นเพราะรู้ชอบแล้ว ถอดลิ่มสลัก กลบคู ถอนเสาระ
เนียดได้แล้ว ไม่มีบานประตู เป็นพระอริยะ ปลดธงคือมานะ วางภาระคือขันธ์
หมดเครื่องผูกพัน ชนะอย่างวิเศษแล้ว กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ
เจริญมรรคแล้ว รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ
เจริญธรรมที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (ส่วนหนึ่งทำให้แจ้ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว) อีกส่วนหนึ่งไม่ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย
ปร. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา และ
กิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๕ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอรหันต์ อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระอรหันต์ ฯลฯ ส่วนหนึ่งทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง อีกส่วนหนึ่งไม่ทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นนิโรธ
ปร. ละมานะ อุทธัจจะ อวิชชา และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับกิเลส
ทั้ง ๓ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอรหันต์ อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระอรหันต์ ฯลฯ ส่วนหนึ่งทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง อีกส่วนหนึ่งไม่ทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นมรรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ข) โอธิโสกถา
ปร. ละอุทธัจจะ อวิชชา และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒
นั้นได้
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอรหันต์ อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระอรหันต์ ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอรหัตตผล
ด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ
โมหะ ทำกิจ ที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว หมดสิ้น
กิเลสเป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นเพราะรู้ชอบแล้ว ถอดลิ่มสลัก กลบคู
ถอนเสาระเนียด ได้แล้ว ไม่มีบานประตู เป็นพระอริยะ ปลดธงคือมานะ วางภาระ
คือขันธ์ หมดเครื่องผูกพัน ชนะอย่างวิเศษแล้ว กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้
แจ้งนิโรธ เจริญมรรค รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละ
ธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว อีก
ส่วนหนึ่งไม่ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๗๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ผู้มีปัญญาพึงกำจัดมลทินของตน
ทีละน้อย ๆ ในทุกขณะโดยลำดับ
เหมือนช่างทองกำจัดสนิมทอง” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ”
สก. บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๒๓๙/๑๐๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ข) โอธิโสกถา
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“พระโสดาบันละธรรม ๓ ประการ
คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
ได้อย่างสิ้นเชิง พร้อมกับการบรรลุโสดาปัตติมรรค
พระโสดาบันก็พ้นจากอบายทั้ง ๔ ภูมิ๑
และจะไม่ทำอภิฐาน ๖” ๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ”
สก. บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่ธรรมจักษุ
ที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อริยสาวกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิด
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่ง
โสดาปัตติมรรค อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส” ๓ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ”
โอธิโสกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ อบายทั้ง ๔ ภูมิ หมายถึงภูมิที่ปราศจากความเจริญมี ๔ คือ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เปรต และอสุรกาย
(ขุ.ขุ.อ. ๖/๑๖๕)
๒ อภิฐาน ๖ หมายถึงฐานะอันหนัก ๖ ประการ ได้แก่ (๑) ฆ่ามารดา (๒) ฆ่าบิดา (๓) ฆ่าพระอรหันต์
(๔) ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ (๕) ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน (๖) นิยตมิจฉาทิฏฐิ (ขุ.ขุ.อ.
๖/๑๖๗), และดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๑๐-๑๑/๑๒, ๒๓๕/๕๕๕
๓ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๕/๓๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๔. ชหติกถา
๔. ชหติกถา
ว่าด้วยการละ
๑. นสุตตาหรณกถา
ว่าด้วยการไม่ยกพระสูตรมาอ้าง
[๒๗๙] สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ใช่ไหม
ปร.๑ใช่ ๒
สก. ละได้เด็ดขาด ละได้อย่างไม่มีส่วนเหลือ ละได้อย่างไม่มีเยื่อใย ละได้
พร้อมทั้งมูล ละได้พร้อมทั้งตัณหา ละได้พร้อมทั้งอนุสัย ละได้ด้วยอริยญาณ ละได้
ด้วยอริยมรรค รู้แจ้งแทงตลอดอกุปปธรรมจึงละได้ ทำให้แจ้งอนาคามิผลจึงละได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนข่มกามราคะและพยาบาทได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ข่มได้เด็ดขาด ข่มได้อย่างไม่มีส่วนเหลือ ข่มได้อย่างไม่มีเยื่อใย ข่มได้
พร้อมทั้งมูล ข่มได้พร้อมทั้งตัณหา ข่มได้พร้อมทั้งอนุสัย ข่มได้ด้วยอริยญาณ
ข่มได้ด้วยอริยมรรค รู้แจ้งแทงตลอดอกุปปธรรมจึงข่มได้ ทำให้แจ้งอนาคามิผล
จึงข่มได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกามราคะพยาบาทได้
และละได้เด็ดขาด ละได้ไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลจึงละได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอื่นมี สมิติยะ เป็นต้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๙/๑๖๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ปุถุชนผู้ได้ฌานสามารถละกามราคะและโทสะได้เด็ดขาด (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๙/๑๖๙)
๑ เพราะมีความเห็นว่า ปุถุชนผู้ได้ฌานสามารถละกามราคะและพยาบาทได้ เมื่อบรรลุสัจจะก็จะเป็น
พระอนาคามีได้เลย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๘๐/๑๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๔. ชหติกถา
สก. ปุถุชนละกามราคะพยาบาทได้ และละได้เด็ดขาด ละได้อย่างไม่มีส่วน
เหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลจึงละได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ข่มกามราคะพยาบาทได้
และข่มได้เด็ดขาด ข่มได้อย่างไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลจึงข่มได้
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปุถุชนข่มกามราคะพยาบาทได้ และข่มได้เด็ดขาด ข่มได้อย่างไม่มีส่วน
เหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลจึงข่มได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ แต่ละไม่ได้เด็ดขาด ละไม่ได้
อย่างไม่มีส่วนเหลือ ละไม่ได้อย่างไม่มีเยื่อใย ละไม่ได้พร้อมทั้งมูล ละไม่ได้พร้อม
ทั้งตัณหา ละไม่ได้พร้อมทั้งอนุสัย ละไม่ได้ด้วยอริยญาณ ละไม่ได้ด้วยอริยมรรค
จะรู้แจ้งแทงตลอดอกุปปธรรมก็ละไม่ได้ ทำให้แจ้งอนาคามิผลก็ละไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกามราคะและพยาบาทได้
แต่ละไม่ได้เด็ดขาด ฯลฯ จะทำให้แจ้งอนาคามิผลก็ละไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนข่มกามราคะและพยาบาทได้ แต่ละไม่ได้เด็ดขาด ข่มไม่ได้อย่าง
ไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลก็ข่มไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ข่มกามราคะพยาบาทได้
และข่มไม่ได้เด็ดขาด ข่มไม่ได้อย่างไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลก็
ข่มไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๔. ชหติกถา
สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ละได้ด้วยมรรคไหน
ปร. ด้วยมรรคฝ่ายรูปาวจร
สก. มรรคฝ่ายรูปาวจรนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงความสิ้นกิเลส ให้ถึง
ความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็น
อารมณ์ของนิวรณ์ ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็น
อารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มรรคฝ่ายรูปาวจรไม่นำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส
ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากมรรคฝ่ายรูปาวจรไม่นำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส
ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ปุถุชนละกามราคะ
และพยาบาทได้ด้วยมรรคฝ่ายรูปาวจร”
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกามราคะและพยาบาทได้
ด้วยอนาคามิมรรค และมรรคนั้นนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงความสิ้นกิเลส
ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๔. ชหติกถา
สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ด้วยมรรคฝ่ายรูปาวจร และมรรคนั้น
นำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงความสิ้นกิเลส ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน
ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของ
สังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ด้วยมรรคฝ่ายรูปาวจร และมรรคนั้น
ไม่นำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึง
นิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของ
สังกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกามราคะและพยาบาทได้ด้วย
อนาคามิมรรค และมรรคนั้นไม่นำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส
ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๘๐] สก. ปุถุชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ดำรงอยู่ในอนาคามิผล
พร้อมกับการได้บรรลุธรรมใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. ดำรงอยู่ในอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พร้อม
กับการได้บรรลุธรรมใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า ปุถุชนผู้ได้ฌานสามารถละกามราคะและพยาบาทได้ เมื่อบรรลุสัจจะก็จะเป็น
พระอนาคามีได้เลย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๘๐/๑๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๔. ชหติกถา
สก. เจริญมรรคทั้ง ๓ ประการได้ไม่ก่อนไม่หลังใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เจริญมรรคทั้ง ๓ ประการได้ไม่ก่อนไม่หลังใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทำให้แจ้งสามัญญผลทั้ง ๓ ประการได้ไม่ก่อนไม่หลังใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทำให้แจ้งสามัญญผลทั้ง ๓ ประการได้ไม่ก่อนไม่หลังใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๓ เวทนา ๓ สัญญา ๓ เจตนา ๓ จิต ๓
สัทธา ๓ วิริยะ ๓ สติ ๓ สมาธิ ๓ ปัญญา ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ดำรงอยู่ในอนาคามิผลพร้อม
กับการได้บรรลุธรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ด้วยโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ด้วยสกทาคามิมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ด้วยมรรคไหน
ปร. ด้วยอนาคามิมรรค
สก. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ด้วยอนาคามิมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๔. ชหติกถา
๒. สุตตาหรณกถา
ว่าด้วยการยกพระสูตรมาอ้าง
[๒๘๑] สก. ปุถุชนละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ด้วย
อนาคามิมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสโสดาปัตติผล(ว่ามี) เพราะละสังโยชน์ ๓ ประการได้
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคตรัสโสดาปัตติผล(ว่ามี) เพราะละสังโยชน์ ๓
ประการได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
ได้ด้วยอนาคามิมรรค” ฯลฯ
สก. ปุถุชนละกามราคะอย่างหยาบและพยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอนาคามิ-
มรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละกามราคะอย่างหยาบและพยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอนาคามิมรรค
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสสกทาคามิผล(ว่ามี) เพราะความเบาบางแห่งกามราคะ
และพยาบาทมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคตรัสสกทาคามิผล(ว่ามี) เพราะความเบาบางแห่ง
กามราคะและพยาบาท ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ละกามราคะและพยาบาทอย่าง
หยาบได้ด้วยอนาคามิมรรค”
สก. ปุถุชนเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ดำรงอยู่ในอนาคามิผล
พร้อมกับการได้บรรลุธรรมใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๔. ชหติกถา
สก. เหล่าชนผู้บรรลุธรรมได้ทั้งหมด ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พร้อมกับการ
ได้บรรลุธรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ครูทั้ง ๖ ผู้มียศ ได้รับยกย่องว่าเป็นเจ้าลัทธิในอดีต
เป็นผู้หมดกลิ่นสาบ๑ มุ่งมั่นในกรุณา
ล่วงพ้นกามสังโยชน์ คลายกามราคะเสียได้
เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว
แม้สาวกหลายร้อยคนของครูเหล่านั้น
ก็เป็นผู้หมดกลิ่นสาบ มุ่งมั่นในกรุณา
ล่วงพ้นกามสังโยชน์ คลายกามราคะเสียได้
เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว” ๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ปุถุชนจึงละกามราคะและพยาบาทได้
สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า กลิ่นสาบ ในที่นี้หมายถึงความโกรธ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๔/๑๓๔)
๒ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๔/๕๓๐-๕๓๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๔. ชหติกถา
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ครูสุเนตรนั้นเป็น
ผู้มีอายุยืนนานอย่างนี้ เป็นผู้ดำรงอยู่ได้นานอย่างนี้ แต่ก็ไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เราจึงกล่าวว่า ไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดธรรม ๔ ประการ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ (๑) เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล (๒) เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ
(๓) เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา (๔) เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ เรา
ได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ เราถอนภวตัณหา
ได้แล้ว ภวเนตติสิ้นไปแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก”
(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า)
“พระโคดมผู้มียศ ตรัสรู้ธรรมเหล่านี้ คือ
ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติอันยอดเยี่ยม
ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกธรรม
แก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อความรู้ยิ่ง
พระศาสดาผู้มีพระจักษุ
ทรงทำที่สุดแห่งทุกข์ ปรินิพพานแล้ว”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้”
ชหติกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๘๖/๑๓๒-๑๓๓, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑/๒, องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๖๖/๑๓๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
๕. สัพพมัตถีติกถา
ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงมีอยู่
๑. วาทยุตติ
ว่าด้วยหลักการใช้วาทะ
[๒๘๒] สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ในโอกาส๓ทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ในกาลทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่โดยประการทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายสัพพัตถิกวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๘๒/๑๗๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สภาวธรรมทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตมีอยู่จริงเหมือนปัจจุบัน ซึ่งจัดเป็นสัสสตทิฏฐิ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๘๒/๑๗๐)
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๑ หน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ในสภาวธรรมทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สิ่งทั้งปวงไม่ประกอบกัน” จึงยอมรับว่า “สิ่งทั้งปวง
มีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้แต่สิ่งที่ไม่มีก็ชื่อว่ามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความเห็นอย่างนี้ว่า “ความเห็นที่เห็นว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ความเห็นนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ” มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น (ย่อ)
วาทยุตติ จบ
๒. กาลสังสันทนะ
ว่าด้วยการเทียบเคียงกาล
[๒๘๓] สก. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว ดับสูญไปแล้ว
มิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. หากอดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว ดับสูญ
ไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่”
สก. อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น
ยังไม่ปรากฏมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่
บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อนาคตมีอยู่”
สก. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันยังไม่ดับไป ยังไม่หายไป ยังไม่แปรผันไป ยังไม่
สูญไป ยังไม่ดับสูญไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อดีตมีอยู่ อดีตยังไม่ดับ ยังไม่หายไป ยังไม่แปรผันไป ยังไม่สูญไป
ยังไม่ดับสูญไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว
บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนาคตมีอยู่ อนาคตเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว
บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. อดีตมีอยู่ อดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว
ดับสูญไปแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว
ดับสูญไปแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อนาคตมีอยู่ อนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด
ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด
ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
[๒๘๔] สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว ดับสูญ
ไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ฯลฯ ดับสูญไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“รูปที่เป็นอดีตมีอยู่”
สก. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด
ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏมิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. หากรูปที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ฯลฯ ยังไม่ปรากฏ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่”
สก. รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ รูปที่เป็นปัจจุบันยังไม่ดับไป ยังไม่หายไป ยัง
ไม่แปรผันไป ยังไม่สูญไป ยังไม่ดับสูญไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตยังไม่ดับไป ยังไม่หายไป ยังไม่แปรผันไป
ยังไม่สูญไป ยังไม่ดับสูญไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ รูปที่เป็นปัจจุบันเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว
บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ รูปที่เป็นอนาคตเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว
บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว
สูญไปแล้ว ดับสูญไปแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ รูปที่เป็นปัจจุบันดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผัน
ไปแล้ว สูญไปแล้ว ดับสูญไปแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ รูปที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม
ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ รูปที่เป็นปัจจุบันยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม
ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. เวทนาที่เป็นอดีตมีอยู่ ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณที่เป็น
อดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว
ดับสูญไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ฯลฯ ดับสูญไปแล้ว ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่”
สก. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด
ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ฯลฯ ยังไม่ปรากฏ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่”
สก. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันยังไม่ดับไป ฯลฯ
ยังไม่ดับสูญไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตยังไม่ดับไป ฯลฯ ยังไม่
ดับสูญไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเกิดแล้ว เกิดมีแล้ว
ฯลฯ ปรากฏแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอนาคตเกิดแล้ว ฯลฯ ปรากฏ
แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ฯลฯ ดับสูญ
ไปแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันดับไปแล้ว ฯลฯ ดับ
สูญไปแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ฯลฯ ยังไม่
ปรากฏใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันยังไม่เกิด ยังไม่มี
ฯลฯ ยังไม่ปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
[๒๘๕] สก. เมื่อบัญญัติว่า ปัจจุบันกับรูป หรือบัญญัติว่ารูปกับปัจจุบันให้มี
ความหมายว่าปัจจุบันรูป โดยไม่แยก ปัจจุบันและรูปนี้นั้น มีความหมายอย่าง
เดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นปัจจุบันเมื่อดับไป ก็ละความเป็นปัจจุบันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. ละความเป็นรูปไปด้วยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อบัญญัติว่า ปัจจุบันกับรูป หรือบัญญัติว่า รูปกับปัจจุบันให้มีความ
หมายว่าปัจจุบันรูป โดยไม่แยก ปัจจุบันและรูปนี้นั้น มีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นปัจจุบันเมื่อดับไป ไม่ละความเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ไม่ละความเป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. เมื่อบัญญัติว่า สีขาวกับผ้า หรือบัญญัติว่าผ้ากับสีขาว ให้มีความหมาย
ว่า ผ้าสีขาว โดยไม่แยก สีขาวและผ้านี้นั้น มีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน
มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ผ้าขาวเมื่อถูกย้อมย่อมละความเป็นผ้าขาวไปด้วยใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ละความเป็นผ้าไปด้วยใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. เมื่อบัญญัติว่า สีขาวกับผ้า หรือบัญญัติว่าผ้ากับสีขาว ให้มีความหมาย
ว่า ผ้าสีขาว โดยไม่แยก สีขาวและผ้านี้นั้น มีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน
มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
ปร. ผ้าขาวเมื่อถูกย้อมย่อมไม่ละความเป็นผ้าไปด้วยใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ไม่ละความเป็นผ้าขาวใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๘๖] สก. รูปไม่ละความเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปละความเป็นรูปได้ เพราะเหตุนั้น รูปจึงไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่
มีความแปรผันไปเป็นธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปไม่ละความเป็นรูป”
สก. นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน เพราะเหตุนั้น นิพพานจึงชื่อว่าเที่ยง
ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปไม่ละความเป็นรูป เพราะเหตุนั้น รูปจึงชื่อว่าเที่ยง ยั่งยืน คงที่
ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปไม่ละความเป็นรูป เพราะเหตุนั้น รูปจึงชื่อว่าไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่
มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน เพราะเหตุนั้น นิพพานจึงชื่อว่าไม่เที่ยง
ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนาคตมีอยู่ อนาคตไม่ละความเป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันไม่ละความเป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อนาคตมีอยู่ อนาคตไม่ละความเป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันไม่ละความเป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. อดีตเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีต”
สก. นิพพานมีอยู่ นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน เพราะเหตุนั้น นิพพาน
จึงชื่อว่าเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีต เพราะเหตุนั้น อดีตจึงชื่อว่าเที่ยง
ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีต เพราะเหตุนั้น อดีตจึงชื่อว่าไม่เที่ยง
ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานมีอยู่ นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน เพราะเหตุนั้น นิพพาน
จึงชื่อว่าไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๘๗] สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ รูปที่เป็นอนาคตไม่ละความเป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ รูปที่เป็นปัจจุบันไม่ละความเป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ รูปที่เป็นอนาคตไม่ละความเป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ รูปที่เป็นปัจจุบันไม่ละความเป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอดีตเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็น
ธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ฯลฯ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีต”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. นิพพานมีอยู่ นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน นิพพานจึงเที่ยง ยั่งยืน
คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีต รูปที่เป็นอดีตจึง
เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีต รูปที่เป็นอดีตจึง
ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานมีอยู่ นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน นิพพานจึงไม่เที่ยง
ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนาที่เป็นอดีต ... สัญญาที่เป็นอดีต ... สังขารที่เป็นอดีต ฯลฯ
วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอนาคตไม่ละความเป็น
อนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันไม่ละความเป็น
ปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอนาคตไม่ละความเป็น
อนาคตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันไม่ละความเป็น
ปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็น
ธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็น
ธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไป
เป็นธรรมดา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็น
อดีตไม่ละความเป็นอดีต”
สก. นิพพานมีอยู่ นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน นิพพานจึงเที่ยง ยั่งยืน
คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีต
วิญญาณที่เป็นอดีตจึงเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีต
วิญญาณที่เป็นอดีตจึงไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานมีอยู่ นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน นิพพานจึงไม่เที่ยง
ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
วจนโสธนา
ว่าด้วยการซักฟอกถ้อยคำ
[๒๘๘] สก. อดีตไม่ใช่สภาวะที่มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอดีตไม่ใช่สภาวะที่มีอยู่ คำว่า “อดีตมีอยู่” ก็ผิด ก็หรือว่า
หากสภาวะที่มีอยู่ไม่ใช่อดีต คำว่า “สภาวะที่มีอยู่เป็นอดีต” ก็ผิด
สก. อนาคตไม่ใช่สภาวะที่มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอนาคตไม่ใช่สภาวะที่มีอยู่ คำว่า “อนาคตมีอยู่” ก็ผิด ก็หรือว่า
หากสภาวะที่มีอยู่มิใช่อนาคต คำว่า “สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคต” ก็ผิด
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตแล้วจึงเป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๙ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น