Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๗-๘ หน้า ๔๔๒ - ๕๐๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗-๘ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ



พระอภิธรรมปิฎก
กถาวัตถุ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว
ล่วงเลยสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ล่วงเลยโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว เป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยสภาวธรรมมีสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิ-
ผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว
ท่านไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยสกทาคามิผล”
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยสกทาคามิมรรคไปแล้ว
ล่วงเลยกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้แล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
กามราคะและพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
[๔๑๐] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
โสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไป
แล้ว ท่านไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล เป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล”
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว
ล่วงเลยสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ล่วงเลยโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว เป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยสภาวธรรมมีสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๑๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผล ๓” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ผล ๓ แล้ว ไม่เสื่อมจากผล ๓
นั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ผล ๓ แล้ว และไม่เสื่อม
จากผล ๓ นั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผล ๓”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยผล ๒” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลได้ผล ๒ แล้ว และไม่เสื่อม
จากผล ๒ นั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลได้ผล ๒ แล้ว และไม่เสื่อม
จากผล ๒ นั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผล ๒”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล เป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลได้โสดาปัตติผลแล้ว และไม่เสื่อม
จากโสดาปัตติผลนั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลได้โสดาปัตติผลแล้ว และ
ไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลนั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ
ทำให้แจ้งสกทาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล”
[๔๑๒] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ผล ๓ แล้ว และไม่เสื่อม
จากผล ๓ นั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล จึงเป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยผล ๓ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลได้มรรค ๔ แล้ว และไม่เสื่อมจาก
มรรค ๔ นั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล จึงเป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยมรรค ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๑๐. สัพพสัญโญชนัปปหานกถา (๔๒)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลได้ผล ๒ แล้ว และไม่เสื่อม
จากผล ๒ นั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล จึงเป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยผล ๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลได้มรรค ๓ แล้ว และไม่เสื่อม
จากมรรค ๓ นั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล จึงเป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยมรรค ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลได้โสดาปัตติผลแล้ว และไม่เสื่อม
จากโสดาปัตติผลนั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล จึงเป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลได้มรรค ๒ แล้ว และไม่เสื่อม
จากมรรค ๒ นั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล จึงเป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยมรรค ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อปราปิสมันนาคตกถา จบ
๑๐. สัพพสัญโญชนัปปหานกถา (๔๒)
ว่าด้วยการละสังโยชน์ทั้งปวง
[๔๑๓] สก. การละสังโยชน์ทั้งปวง เป็นอรหัตตผลใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๑๓/๒๐๗-๒๐๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า การละสังโยชน์ได้ทั้ง ๑๐ เป็นอรหัตตผล (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๑๓/๒๐๗-๒๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๑๐. สัพพสัญโญชนัปปหานกถา (๔๒)
สก. ละสังโยชน์ทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. ละสังโยชน์ทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การละสังโยชน์ ๓ อย่างได้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นโสดาปัตติผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากการละสังโยชน์ ๓ อย่างได้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นโสดาปัตติผล
ท่านไม่ยอมรับว่า “ละสังโยชน์ทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรค”
[๔๑๔] สก. ละสังโยชน์ทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๑๕] สก. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอรหัตต-
มรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็น
สกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า ละได้ด้วยมรรค ๓ เบื้องต่ำ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๑๓/๒๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๑๐. สัพพสัญโญชนัปปหานกถา (๔๒)
สก. หากความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เป็นสกทาคามิผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ละสังโยชน์ทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรค”
สก. ละสังโยชน์ทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียดได้ด้วยอรหัตตมรรค
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๑๖] สก. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียดได้ด้วย
อรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การละกามราคะและพยาบาทได้เด็ดขาด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็น
อนาคามิผลมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากการละกามราคะและพยาบาทได้เด็ดขาด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เป็นอนาคามิผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ละสังโยชน์ทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรค”
สก. ละสังโยชน์ทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาได้เด็ดขาด
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอรหัตตผลมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากการละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาได้เด็ดขาด
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอรหัตตผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ละสังโยชน์ทั้งปวง
ได้ด้วยอรหัตตมรรค”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
[๔๑๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ การละสังโยชน์ทั้งปวง เป็นอรหัตตผล” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สังโยชน์ทั้งปวง พระอรหันต์ละได้แล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสังโยชน์ทั้งปวงพระอรหันต์ละได้แล้ว ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“การละสังโยชน์ทั้งปวง เป็นอรหัตตผล”
สัพพสัญโญชนัปปหานกถา จบ
จตุตถวรรค จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. คิหิสสอรหาติกถา ๒. อุปปัตติกถา
๓. อนาสวกถา ๔. สมันนาคตกถา
๕. อุเปกขาสมันนาคตกถา ๖. โพธิยาพุทโธติกถา
๗. ลักขณกถา ๘. นิยาโมกกันติกถา
๙. อปราปิสมันนาคตกถา ๑๐. สัพพสัญโญชนัปปหานกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๑. วิมุตติกถา (๔๓)
๕. ปัญจมวรรค
๑. วิมุตติกถา (๔๓)
ว่าด้วยความหลุดพ้น
[๔๑๘] สก. วิมุตติญาณ๑ ชื่อว่าหลุดพ้นแล้วใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. วิมุตติญาณทั้งหมดนั้น ชื่อว่าหลุดพ้นแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณ ชื่อว่าหลุดพ้นแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัจจเวกขณญาณ ชื่อว่าหลุดพ้นแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณ ชื่อว่าหลุดพ้นแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิมุตติญาณของโคตรภูบุคคล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ วิมุตติญาณ หมายถึงญาณ ๔ คือ (๑) วิปัสสนาญาณ (๒) มรรคญาณ (๓) ผลญาณ (๔) ปัจจเวกขณญาณ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๑๘/๒๐๘)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๑๘/๒๐๘)
๓ เพราะมีความเห็นรวม ๆ ว่า วิมุตติญาณทั้ง ๔ อย่าง หลุดพ้นแล้ว ซึ่งต่างกับความเห็นของฝ่ายสกวาที
ที่เห็นว่า ผลญาณเท่านั้นหลุดพ้นแล้ว (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๑๘/๒๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๑. วิมุตติกถา (๔๓)
สก. ญาณของพระโสดาบัน เป็นญาณของผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง
โสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ชื่อว่าหลุด
พ้นแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณของพระสกทาคามี เป็นญาณของผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง
สกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณของพระอนาคามี เป็นญาณของผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง
อนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณของพระอรหันต์ เป็นญาณของผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้งอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๑๙] สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยโสดาปัตติผล ชื่อว่าหลุด
พ้นแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๑. วิมุตติกถา (๔๓)
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสกทาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยอนาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยอรหัตตผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๒๐] สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยโสดาปัตติผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว
และวิมุตติญาณนั้นเป็นญาณของผู้ได้บรรลุผลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๑. วิมุตติกถา (๔๓)
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้ว และวิมุตติญาณนั้นเป็นญาณของผู้ได้บรรลุผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสกทาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว
และวิมุตติญาณนั้นเป็นญาณของผู้ได้บรรลุผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้ว และวิมุตติญาณนั้นเป็นญาณของผู้ได้บรรลุผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยอนาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว
และวิมุตติญาณนั้นเป็นญาณของผู้ได้บรรลุผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้ว และวิมุตติญาณนั้นเป็นญาณของผู้ได้บรรลุผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยอรหัตตผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว
และวิมุตติญาณนั้นเป็นญาณของผู้ได้บรรลุผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้ว และวิมุตติญาณนั้นเป็นญาณของผู้ได้บรรลุผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
วิมุตติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๒. อเสกขญาณกถา (๔๔)
๒. อเสกขญาณกถา (๔๔)
ว่าด้วยญาณของพระอเสขะ
[๔๒๑] สก. พระเสขะมีญาณของพระอเสขะได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระเสขะย่อมรู้เห็นธรรมของพระอเสขะ เข้าถึงธรรมของพระอเสขะที่ตน
เห็น รู้ ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระเสขะไม่รู้ ไม่เห็นธรรมของพระอเสขะ ไม่เข้าถึงธรรมของพระอเสขะ
ที่ตนไม่เห็น ไม่รู้ ไม่ทำให้แจ้งแล้ว ไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระเสขะไม่รู้ ไม่เห็นธรรมของพระอเสขะ ไม่เข้าถึงธรรมของ
พระอเสขะที่ตนไม่เห็น ไม่รู้ ไม่ทำให้แจ้งแล้ว ไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “พระเสขะมีญาณของพระอเสขะได้”
สก. พระอเสขะมีญาณของพระอเสขะได้ พระอเสขะย่อมรู้ ย่อมเห็นธรรมของ
พระอเสขะ ย่อมเข้าถึงธรรมของพระอเสขะที่ตนเห็น รู้ ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้อง
ด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระเสขะมีญาณของพระอเสขะได้ พระเสขะย่อมรู้ ย่อมเห็นธรรมของ
พระอเสขะ ย่อมเข้าถึงธรรมของพระอเสขะที่ตนเห็น รู้ ทำให้แจ้ง ถูกต้องด้วยกายอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๑/๒๐๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระเสขะมีญาณของพระอเสขะได้ เช่น ท่านพระอานนท์ ซึ่งเป็นเพียงพระเสขะ แต่รู้
เรื่องของอเสขะได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๑/๒๐๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๒. อเสกขญาณกถา (๔๔)
[๔๒๒] สก. พระเสขะมีญาณของพระอเสขะ พระเสขะไม่รู้ ไม่เห็นธรรมของ
พระอเสขะ ไม่เข้าถึงธรรมของพระอเสขะที่ตนไม่เห็น ไม่รู้ ไม่ทำให้แจ้งแล้ว ไม่
ถูกต้องด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอเสขะมีญาณของพระอเสขะ พระอเสขะไม่รู้ ไม่เห็นธรรมของ
พระอเสขะ ไม่เข้าถึงธรรมของพระอเสขะที่ตนไม่เห็น ไม่รู้ ไม่ทำให้แจ้งแล้ว
ไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระเสขะมีญาณของพระอเสขะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โคตรภูบุคคลมีญาณในโสดาปัตติมรรคได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล มีญาณในโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งอนาคามิ-
ผล ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล มีญาณในอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๒๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระเสขะมีญาณของพระอเสขะได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านพระอานนท์ยังเป็นพระเสขะรู้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงมีพระคุณอันยิ่ง
พระสารีบุตรเถระ พระมหาโมคคัลลานเถระ ต่างก็มีคุณอันยิ่งมิใช่หรือ
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๓. วิปรีตกถา (๔๕)
ปร. หากท่านพระอานนท์ยังเป็นพระเสขะรู้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงมีพระ
คุณอันยิ่ง พระสารีบุตรเถระ พระมหาโมคคัลลานเถระ ต่างก็มีคุณอันยิ่ง ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระเสขะก็มีญาณของพระอเสขะได้”
อเสกขญาณกถา จบ
๓. วิปรีตกถา (๔๕)
ว่าด้วยญาณวิปริต
[๔๒๔] สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ความวิปลาสในสภาวธรรมที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความวิปลาสในสภาวธรรมที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ฯลฯ ที่เป็นอนัตตา ว่าเป็นอัตตา
ฯลฯ ที่ไม่งามว่างามได้มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๔/๒๐๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ผู้ที่เจริญปฐวีกสิณโดยเพ่งนิมิตของปฐวีจนเกิดญาณขึ้น ญาณนั้นชื่อว่าวิปริต เพราะรู้
เพียงนิมิตของปฐวี ไม่ใช่ตัวปฐวีโดยตรง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ญาณนั้นไม่ชื่อว่าวิปริตญาณ
ที่ชื่อว่าวิปริต เพราะเห็นผิดจากความเป็นจริง เช่น เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๔/๒๐๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๓. วิปรีตกถา (๔๕)
สก. เป็นกุศลมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากญาณเป็นกุศล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ญาณของผู้เข้า
สมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้”
สก. ความวิปลาสในสภาวธรรมที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง และความวิปลาสนั้น
เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ และญาณนั้น
เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความวิปลาสในสภาวธรรมที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ฯลฯ ที่เป็นอนัตตาว่า
เป็นอัตตา ฯลฯ ที่ไม่งามว่างาม และความวิปลาสนั้นเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ และญาณนั้น
เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๒๕] สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ และญาณ
นั้นเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความวิปลาสในสภาวธรรมที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง และความวิปลาสนั้นเป็น
อกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๓. วิปรีตกถา (๔๕)
สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ และญาณนั้น
เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความวิปลาสในสภาวธรรมที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ฯลฯ ที่เป็นอนัตตาว่า
เป็นอัตตา ฯลฯ ที่ไม่งามว่างาม และความวิปลาสนั้นเป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๒๖] สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ท่านก็ไม่ควรยอม
รับ ว่า “ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้”
สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ พระอรหันต์พึง
เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความวิปลาสของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความวิปลาสของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสของพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๓. วิปรีตกถา (๔๕)
สก. หากสัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสของพระอรหันต์ไม่มี ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความวิปลาสของพระอรหันต์มีอยู่”
[๔๒๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์
วิปริต” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปฐวีกสิณย่อมปรากฏแก่ผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นดิน
ล้วน ๆ ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์จึงวิปริต
สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ดินมีอยู่ และบางคนที่เข้าปฐวีกสิณจากดินก็มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากดินมีอยู่ และบางคนที่เข้าปฐวีกสิณจากดินก็มีอยู่ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้”
สก. ดินมีอยู่ และญาณของผู้เข้าปฐวีกสิณจากดิน วิปริตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานมีอยู่ แต่ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีนิพพานเป็นอารมณ์จากนิพพาน
ก็วิปริตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณ
เป็นอารมณ์ วิปริตได้”
วิปรีตกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๔. นิยามกถา (๔๖)
๔. นิยามกถา (๔๖)
ว่าด้วยนิยาม
[๔๒๘] สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอน๑ มีญาณเพื่อไปสู่นิยาม๒ ได้ใช่ไหม
ปร.๓ ใช่๔
สก. บุคคลผู้แน่นอน๕ มีญาณเพื่อไปสู่อนิยาม๖ ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่อนิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ บุคคลผู้ไม่แน่นอน ในที่นี้หมายถึงปุถุชนผู้มีคติไม่แน่นอน อาจไปเกิดในภูมิใดภูมิหนึ่งในภูมิ ๓ คือ
กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๓-๖๖๔/๒๖๙)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๔๐๓ หน้า ๔๒๘ ในเล่มนี้
๓ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๘/๒๑๐)
๔ เพราะมีความเห็นว่า แม้ปุถุชนก็มีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๘/๒๑๐)
๕ บุคคลผู้แน่นอน ในที่นี้หมายถึงพระอริยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๘/๒๑๐)
๖ อนิยาม ในที่นี้หมายถึงมิจฉัตตนิยาม คืออนันตริยกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๓-๖๖๔/๒๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๔. นิยามกถา (๔๖)
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่อนิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่อนิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๒๙] สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีนิยามเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีสติปัฏฐาน ฯลฯ มีสัมมัปปธาน ฯลฯ มีอิทธิบาท
ฯลฯ มีอินทรีย์ ฯลฯ มีพละ ฯลฯ มีโพชฌงค์ เพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีนิยามเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีนิยามเพื่อไปสู่นิยาม ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้”
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีสติปัฏฐาน ฯลฯ ไม่มีโพชฌงค์ เพื่อไปสู่นิยาม
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๔. นิยามกถา (๔๖)
สก. หากบุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีโพชฌงค์เพื่อไปสู่นิยาม ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้”
[๔๓๐] สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โคตรภูบุคคลมีญาณในโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลมีญาณในโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ
อรหัตตผล มีญาณในอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๓๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคทรงทราบได้ว่า “บุคคลนี้จักก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม๑
ควรเพื่อบรรลุธรรมได้” มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระผู้มีพระภาคทรงทราบได้ว่า “บุคคลนี้จักก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม
ควรเพื่อบรรลุธรรมได้” ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณ
เพื่อไปสู่นิยามได้”
นิยามกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ สัมมัตตนิยาม ในที่นี้หมายถึงอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๓-๖๖๔/๒๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๕. ปฏิสัมภิทากถา (๔๗)
๕. ปฏิสัมภิทากถา (๔๗)
ว่าด้วยปฏิสัมภิทา
[๔๓๒] สก. ญาณทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. สมมติญาณเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมมติญาณเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชนเหล่าใดรู้สมมติ ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เจโตปริยญาณ(ญาณที่กำหนดรู้ใจผู้อื่น) เป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เจโตปริยญาณเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชนเหล่าใดรู้จิตของผู้อื่น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๒/๒๑๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ญาณทั้งหมดของพระอริยะเป็นโลกุตตระ จึงจัดเป็นปฏิสัมภิทาญาณได้ทั้งหมด ซึ่ง
ต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ญาณของพระอริยะบางอย่างไม่จัดเป็นปฏิสัมภิทาญาณ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๔๓๒/๒๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๕. ปฏิสัมภิทากถา (๔๗)
สก. ญาณทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญาทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัญญาทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีปัญญา ปัญญานั้นเป็นปฏิสัมภิทา
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้เข้าสมาบัติที่มีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์
ฯลฯ มีวาโยกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีนีลกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีปีตกสิณเป็น
อารมณ์ ฯลฯ มีโลหิตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีอากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์
ฯลฯ ถวายทาน ฯลฯ จีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ ถวาย
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มีปัญญา ปัญญานั้นเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๓๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ญาณทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทา” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. โลกุตตรปัญญามีอยู่ โลกุตตรปัญญานั้นไม่เป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ญาณทั้งปวงจึงเป็นปฏิสัมภิทา
ปฏิสัมภิทากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๖. สมมติญาณกถา (๔๘)
๖. สมมติญาณกถา (๔๘)
ว่าด้วยสมมติญาณ๑
[๔๓๔] ปร.๒ ท่านไม่ยอมรับว่า “สมมติญาณมีสัจจะเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่
มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีญาณอยู่ และปฐวีกสิณเป็น
สมมติสัจจะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีญาณอยู่ และปฐวีกสิณเป็น
สมมติสัจจะ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สมมติญาณมีสัจจะเท่านั้นเป็นอารมณ์
ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สมมติญาณมีสัจจะเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรม
อื่นเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ผู้เข้าสมาบัติที่มีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์
ฯลฯ ผู้ถวายคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีญาณอยู่ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็น
สมมติสัจจะ มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากผู้ถวายคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีญาณอยู่ และคิลานปัจจยเภสัช-
บริขารเป็นสมมติสัจจะ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สมมติญาณมีสัจจะเท่านั้น
เป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”

เชิงอรรถ :
๑ สมมติญาณ หมายถึงญาณที่รู้สมมติบัญญัติ เช่น รู้บุคคล รู้ความจริงโดยสมมติ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๔/๔๖๔)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ ซึ่งมีความเห็นว่า สมมติญาณก็สามารถรู้สัจจะได้ คำว่า สัจจะ ในที่นี้
เป็นความหมายรวม ๆ ไม่แยกว่าเป็นสมมติสัจจะหรือปรมัตถสัจจะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๔/๒๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๗. จิตตารัมมณกถา (๔๙)
[๔๓๕] สก. สมมติญาณมีสัจจะเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคได้ด้วย
ญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สมมติญาณกถา จบ
๗. จิตตารัมมณกถา (๔๙)
ว่าด้วยญาณมีจิตเป็นอารมณ์
[๔๓๖] สก. เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็น
อารมณ์ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บางคนรู้ชัดจิตที่มีราคะว่า จิตมีราคะ มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบางคนรู้ชัดจิตที่มีราคะว่า จิตมีราคะ มีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
สก. บางคนรู้ชัดจิตที่ปราศจากราคะว่า จิตปราศจากราคะ ฯลฯ จิตมีโทสะ ฯลฯ
จิตปราศจากโทสะ ฯลฯ จิตมีโมหะ ฯลฯ จิตปราศจากโมหะ ฯลฯ จิตหดหู่ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๖/๒๑๓)
๒ เพราะซึ่งมีความเห็นว่า เจโตปริยญาณรู้ได้เฉพาะจิต แต่ไม่รู้เจตสิก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๖/๒๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๗. จิตตารัมมณกถา (๔๙)
จิตฟุ้งซ่าน ฯลฯ จิตเป็นมหัคคตะ ฯลฯ จิตไม่เป็นมหัคคตะ ฯลฯ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
ฯลฯ จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ฯลฯ จิตเป็นสมาธิ ฯลฯ จิตไม่เป็นสมาธิ ฯลฯ จิตหลุดพ้น
ฯลฯ จิตไม่หลุดพ้นว่า “จิตไม่หลุดพ้น” มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบางคนรู้ชัดจิตที่ไม่หลุดพ้นว่า “จิตไม่หลุดพ้น” มีอยู่ ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
[๔๓๗] สก. ญาณที่มีผัสสะเป็นอารมณ์ ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากญาณที่มีผัสสะเป็นอารมณ์ ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
สก. ญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีสัญญาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีเจตนา
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีจิตเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีสัทธาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีวิริยะเป็น
อารมณ์ ฯลฯ มีสติเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีสมาธิเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีปัญญา
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโทสะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโมหะ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอโนตตัปปะเป็นอารมณ์ ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากญาณมีอโนตตัปปะเป็นอารมณ์ ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
สก. ญาณที่มีผัสสะเป็นอารมณ์ ไม่ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณนั้นเป็นผัสสปริยญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณมีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีสัญญาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี
อโนตตัปปะเป็นอารมณ์ ไม่ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๘. อนาคตญาณกถา (๕๐)
สก. ญาณนั้นเป็นอโนตตัปปปริยญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๓๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มี
ธรรมอื่นเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เป็นเจโตปริยญาณมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเป็นเจโตปริยญาณ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เจโตปริย-
ญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
จิตตารัมมณกถา จบ
๘. อนาคตญาณกถา (๕๐)
ว่าด้วยอนาคตญาณ๑
[๔๓๙] สก. อนาคตญาณมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. อนาคตญาณนั้นรู้อนาคตได้โดยมูล โดยเหตุ โดยแหล่งกำเนิด โดยต้น
กำเนิด โดยบ่อเกิด โดยสมุฏฐาน โดยเหตุเครื่องหล่อเลี้ยง โดยอารมณ์ โดยปัจจัย
โดยสมุทัยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ อนาคตญาณ หมายถึงญาณที่หยั่งรู้อนาคต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๙/๒๑๓)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๙/๒๑๓)
๓ เพราะมีความเห็นว่า อนาคตญาณสามารถรู้อนาคตทั้งใกล้ตัว(อนนฺตร) และไกลตัว(อนฺตร)ได้ทั้งหมด ซึ่ง
ต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อนาคตญาณสามารถรู้อนาคตได้เฉพาะไกลตัวเท่านั้น คำว่า ใกล้ตัว
หมายถึงไม่มีช่องว่างระหว่างขณะจิตหนึ่งกับอีกขณะจิตหนึ่ง เช่น โคตรภูจิตกับมัคคจิต ส่วนคำว่า ไกลตัว
หมายถึงช่วงขณะจิตที่มีภวังคจิตหรือวิถีจิตอื่นคั่น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๙/๒๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๘. อนาคตญาณกถา (๕๐)
สก. อนาคตญาณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนาคตญาณนั้นรู้ความเป็นเหตุปัจจัย ความเป็นอารัมมณปัจจัย
ความเป็นอธิปติปัจจัย ความเป็นอนันตรปัจจัย ความเป็นสมนันตรปัจจัย ที่เป็น
อนาคตได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อนาคตญาณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โคตรภูบุคคลมีญาณในโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล มีญาณในโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ
อรหัตตผล มีญาณในอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๔๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนาคตญาณมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ อันตราย ๓ อย่าง คือ
(๑) อันตรายจากไฟ (๒) อันตรายจากน้ำ (๓) อันตรายจากการแตกความสามัคคี
จักมีแก่กรุงปาฏลีบุตร” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น อนาคตญาณจึงมีอยู่
อนาคตญาณกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๕๒/๙๖, ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๗๖/๓๓๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๙. ปัจจุปปันนญาณกถา (๕๑)
๙. ปัจจุปปันนญาณกถา (๕๑)
ว่าด้วยปัจจุปปันนญาณ
[๔๔๑] สก. ปัจจุปปันนญาณ๑มีอยู่ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่
สก. บุคคลรู้ญาณนั้นได้ด้วยปัจจุปันนญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลรู้ญาณนั้นได้ด้วยปัจจุปปันนญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลรู้ญาณนั้นว่าเป็นญาณ ได้ด้วยปัจจุปปันนญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รู้ญาณนั้นว่าเป็นญาณ ได้ด้วยปัจจุปปันนญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณนั้นเป็นอารมณ์ของปัจจุปปันนญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณนั้นเป็นอารมณ์ของปัจจุปปันนญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปัจจุปปันนญาณ หมายถึงญาณที่หยั่งรู้อารมณ์ปัจจุบันซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง คือ (๑) ขณะปัจจุบัน (ช่วง
ที่จิตดวงหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป) (๒) สันตติปัจจุบัน (ช่วงที่สืบต่อมาจากช่วงที่ ๑ ประมาณ ๒ หรือ ๓
วิถีจิต) (๓) อัทธานปัจจุบัน (ช่วงเวลาที่ยาวกว่า ๒ ช่วงแรกออกไป) ซึ่งฝ่ายปรวาทีเห็นว่า ปัจจุปปันนญาณ
สามารถรู้ปัจจุบันได้ทั้ง ๓ ช่วง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ปัจจุปปันนญาณสามารถรู้ได้เฉพาะ
ช่วงที่ ๒ กับ ช่วงที่ ๓ เท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๑/๒๑๔)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๑/๒๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๙. ปัจจุปปันนญาณกถา (๕๑)
สก. ถูกต้องผัสสะนั้นด้วยผัสสะนั้น เสวยเวทนานั้นด้วยเวทนานั้น จำ
สัญญานั้นด้วยสัญญานั้น จงใจเจตนานั้นด้วยเจตนานั้น คิดจิตนั้นด้วยจิตนั้น
ตรึกวิตกนั้นด้วยวิตกนั้น ตรองวิจารนั้นด้วยวิจารนั้น เอิบอิ่มปีตินั้นด้วยปีตินั้น
ระลึกสตินั้นด้วยสตินั้น รู้ชัดปัญญานั้นด้วยปัญญานั้น ตัดดาบนั้นด้วยดาบนั้น
ถากขวานนั้นด้วยขวานนั้น ถากผึ่งนั้นด้วยผึ่งนั้น ถากมีดนั้นด้วยมีดนั้น เย็บเข็ม
นั้นด้วยเข็มนั้น ลูบคลำปลายนิ้วมือนั้นด้วยปลายนิ้วมือนั้น ลูบคลำปลายจมูกนั้น
ด้วยปลายจมูกนั้น ลูบคลำกระหม่อมนั้นด้วยกระหม่อมนั้น ล้างคูถนั้นด้วยคูถนั้น
ล้างมูตรนั้นด้วยมูตรนั้น ล้างน้ำลายนั้นด้วยน้ำลายนั้น ล้างน้ำหนองนั้นด้วย
น้ำหนองนั้น ล้างเลือดนั้นด้วยเลือดนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๔๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ปัจจุปปันนญาณมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เมื่อพระโยคาวจรเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้วก็
เป็นอันเห็นญาณนั้น โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเมื่อพระโยคาวจรเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้ว
ก็เป็นอันเห็นญาณนั้นโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยง ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ปัจจุปปันนญาณมีอยู่”
ปัจจุปปันนญาณกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๑๐. ผลญาณกถา (๕๒)
๑๐. ผลญาณกถา (๕๒)
ว่าด้วยผลญาณ
[๔๔๓] สก. พระสาวกมีผลญาณ๑ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่
สก. พระสาวกกำหนดผลอันเป็นคุณสมบัติของตนได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสาวกมีผลญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งผล การรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์
การรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งบุคคล ของพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสาวกมีผลญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การบัญญัติขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์ บุคคล ของพระสาวก
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสาวกมีผลญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสาวกเป็นพระชินเจ้า เป็นพระศาสดา เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็นพระธัมมัสสามี เป็นพระธัมมปฏิสรณะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสาวกมีผลญาณใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ผลญาณ หมายถึงญาณหยั่งรู้ผลแห่งกรรมของสัตว์ทั้งหลาย ปรวาทีเห็นว่า พระสาวกก็สามารถมี
ผลญาณเหมือนกับพระพุทธเจ้า ส่วนสกวาทีเห็นว่าไม่เหมือนกัน
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๓/๒๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. พระสาวกเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ให้กำเนิดแก่มรรคที่ยังไม่
มีผู้ให้กำเนิด เป็นผู้บอกมรรคที่ยังไม่มีผู้บอก เป็นผู้รู้มรรค เข้าใจมรรค ฉลาดใน
มรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๔๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสาวกมีผลญาณ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสาวกเป็นผู้ไม่มีญาณใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น พระสาวกจึงมีผลญาณ ฯลฯ
ผลญาณกถา จบ
ปัญจมวรรค จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วิมุตติกถา ๒. อเสกขญาณกถา
๓. วิปรีตกถา ๔. นิยามกถา
๕. ปฏิสัมภิทากถา ๖. สมมติญาณกถา
๗. จิตตารัมมณกถา ๘. อนาคตญาณกถา
๙. ปัจจุปปันนญาณกถา ๑๐. ผลญาณกถา

มหาปัณณาสก์ จบ
รวมวรรคที่มีในมหาปัณณาสก์นี้ คือ
วรรคที่ ๑ เริ่มด้วยปุคคลกถา
วรรคที่ ๒ เริ่มด้วยปรูปหารกถา
วรรคที่ ๓ เริ่มด้วยพลกถา
วรรคที่ ๔ เริ่มด้วยคิหิสสอรหาติกถา
วรรคที่ ๕ เริ่มด้วยวิมุตติกถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๑. นิยามกถา (๕๓)
๖. ฉัฏฐวรรค
๑. นิยามกถา (๕๓)
ว่าด้วยนิยาม
[๔๔๕] สก. นิยาม๑เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. นิยามเป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่หมาย
เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ที่เร้นมี ๒ อย่าง ที่พึ่งมี ๒ อย่าง ที่หมาย
มี ๒ อย่าง ที่มั่นมี ๒ อย่าง อมตะมี ๒ อย่าง นิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ นิยาม ในที่นี้หมายถึงอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๕-๔๔๗/๒๑๖)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๕-๔๔๗/๒๑๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า นิยามเป็นของเที่ยง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า นิยามเป็นสภาวธรรม
ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๕-๔๔๗/๒๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๑. นิยามกถา (๕๓)
สก. นิพพานทั้ง ๒ อย่าง ยังมีความสูงต่ำ ความเลวและความประณีต
ความยิ่งและหย่อน เขตแดน ความแตกต่าง ร่องรอย ช่องว่างอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีบุคคลบางพวกก้าวลงสู่นิยาม ได้นิยาม ให้นิยามอุบัติขึ้น ให้อุบัติ
ขึ้นด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดโดยยิ่ง ให้เกิด ให้เกิด
ด้วยดีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางพวกก้าวลงสู่สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ได้สภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ให้สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งอุบัติขึ้น ให้อุบัติขึ้นด้วยดี
ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดโดยยิ่งให้เกิด ให้เกิดด้วยดีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๔๖] สก. นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มรรคเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิยามเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสดาปัตตินิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติมรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๑. นิยามกถา (๕๓)
สก. โสดาปัตติมรรคเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตตินิยามเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สกทาคามินิยาม ฯลฯ อนาคามินิยาม ฯลฯ อรหัตตนิยามเป็น
สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรหัตตมรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรหัตตมรรคเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรหัตตนิยามเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสดาปัตตินิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ อรหัตต-
นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๕ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มิจฉัตตนิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา (๕๔)
สก. มิจฉัตตนิยามเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมัตตนิยามเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๔๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เมื่อนิยามเกิดขึ้นแล้วดับไป บุคคลก็ยังเป็นผู้ไม่แน่นอนอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น นิยามจึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ปร. เมื่อมิจฉัตตนิยามเกิดขึ้นแล้วดับไป บุคคลก็ยังเป็นผู้ไม่แน่นอนอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น มิจฉัตตนิยามจึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
นิยามกถา จบ
๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา (๕๔)
ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท
[๔๔๘] สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)
ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นที่ดับ เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็น
ที่หมาย เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายมหิสาสกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๘/๒๑๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่เที่ยงแท้ ถาวร มีอยู่อย่างนั้นตลอดไป ไม่ว่าพระผู้
มีพระภาคจะเสด็จอุบัติขึ้นหรือไม่ก็ตาม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๘/๒๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา (๕๔)
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็น
สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ที่เร้นมี ๒ อย่าง ที่พึ่งมี ๒ อย่าง ที่หมาย
มี ๒ อย่าง ที่มั่นมี ๒ อย่าง อมตะมี ๒ อย่าง นิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานทั้ง ๒ อย่าง ยังมีความสูงต่ำ ความเลวและความประณีต
ความยิ่งและหย่อน เขตแดน ความแตกต่าง ร่องรอย ช่องว่างอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๔๙] สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชาเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชาเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา (๕๔)
สก. สังขารที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณที่เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นามรูปที่เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นามรูปที่เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา (๕๔)
สก. ชรามรณะที่เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะที่เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๕๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภิกษุ
ทั้งหลาย ชรามรณะที่เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย พระตถาคตทั้งหลายจะอุบัติหรือไม่
อุบัติก็ตาม ธาตุนั้นได้ตั้งอยู่แล้วโดยแท้ เป็นเหตุความดำรงอยู่แห่งธรรม เป็นเหตุ
กำหนดความแน่นอนแห่งธรรม คือความที่ธรรมนี้เป็นปัจจัย พระตถาคตตรัสรู้ยิ่ง
ได้บรรลุธาตุนั้น ครั้นตรัสรู้แล้ว จึงตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ ก่อตั้ง เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่ายขึ้น” ตรัสว่า “เธอทั้งหลายจงดู ชรามรณะที่เกิดเพราะชาติเป็น
ปัจจัย ชาติที่เกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
พระตถาคตทั้งหลายจะอุบัติหรือไม่อุบัติก็ตาม ธาตุนั้นได้ตั้งอยู่แล้วโดยแท้ ฯลฯ”
และตรัสว่า “เธอทั้งหลายจงดู สังขารที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยดังนี้แล ภิกษุ
ทั้งหลาย ความจริงแท้ ความไม่ผิด ความไม่เป็นอย่างอื่น คือความที่ธรรมนี้เป็น
ปัจจัย มีอยู่ในสภาวธรรมนั้น ด้วยประการฉะนี้ อันนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ปฏิจจสมุปบาทจึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
[๔๕๑] สก. ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอนแห่งธรรม
ในปฏิจจสมุปบาทข้อว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี” นั้น เป็นสภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒๐/๓๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา (๕๔)
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่๒
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอนแห่งธรรม ในปฏิจจ-
สมุปบาทข้อว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี” นั้น เป็นสภาวธรรมที่ไม่
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอนแห่งธรรม
ในปฏิจจสมุปบาทข้อว่า “เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี” นั้น เป็นสภาว
ธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๓ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๓ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๓ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๓ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอนแห่งธรรม ในปฏิจจ-
สมุปบาทข้อว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี” นั้น เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอนแห่งธรรม ใน
ปฏิจจสมุปบาทข้อว่า “เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี” นั้น เป็นสภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอน

เชิงอรรถ :
๑ เพราะเห็นว่า ไม่มีในพระสูตร (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๑/๒๑๘)
๒ เพราะเห็นคล้อยตามลัทธิที่ยึดถือ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๑/๒๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๓. สัจจกถา (๕๕)
แห่งธรรม ในปฏิจจสมุปบาทข้อว่า “เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี” นั้น
เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๑๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๑๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๑๒ อย่าง ที่เร้นมี ๑๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพาน
มี ๑๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปฏิจจสมุปปาทกถา จบ
๓. สัจจกถา (๕๕)
ว่าด้วยสัจจะ
[๔๕๒] สก. สัจจะ ๔ เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ที่ต้านทานมี ๔ อย่าง ที่เร้นมี ๔ อย่าง ที่พึ่งมี ๔ อย่าง ที่หมาย
มี ๔ อย่าง ที่มั่นมี ๔ อย่าง อมตะมี ๔ อย่าง นิพพานมี ๔ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๒/๒๑๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า อริยสัจ ๔ เป็นสภาวธรรมที่เที่ยงแท้ ถาวร ไม่เป็นอย่างอื่น โดยถือตามพระพุทธพจน์
ที่ว่า “สัจจะ ๔ เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ไม่เป็นอย่างอื่น อย่างไม่รอบคอบ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
สัจจะ ๔ เป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๒/๒๑๘, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๙๐/๖๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๓. สัจจกถา (๕๕)
สก. นิพพานมี ๔ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานทั้ง ๔ อย่าง ยังมีความสูงต่ำ ความเลวและความประณีต
ความยิ่งและหย่อน เขตแดน ความแตกต่าง ร่องรอย ช่องว่างอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกข์เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจ ความโศก ความคร่ำครวญ ความลำบากกาย
ความลำบากใจ ความคับแค้นใจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมุทัยเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มัคคสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๓. สัจจกถา (๕๕)
สก. มรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มัคคสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกข์เป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจ ความโศก ความคร่ำครวญ ความลำบากกาย
ความลำบากใจ ความคับแค้นใจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมุทัยเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มรรคเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๓. สัจจกถา (๕๕)
สก. มัคคสัจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มัคคสัจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๕๓] สก. นิโรธสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิโรธก็เป็นสภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ทุกข์ก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิโรธก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สมุทัยก็เป็นสภาวธรรมที่
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิโรธก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มัคคสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง มรรคก็เป็นสภาวธรรมที่
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แต่ทุกข์เป็นสภาวธรรมที่
ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๓. สัจจกถา (๕๕)
สก. นิโรธสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แต่นิโรธเป็นสภาวธรรม
ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แต่สมุทัยเป็นสภาวธรรม
ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิโรธสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แต่นิโรธเป็นสภาวธรรม
ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มัคคสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แต่มรรคเป็นสภาวธรรม
ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิโรธสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แต่นิโรธเป็นสภาวธรรม
ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๕๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สัจจะ ๔ เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุง
แต่ง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔ อย่างนี้
เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น สัจจะ ๔ อย่างอะไรบ้าง คือ (๑) คำว่า นี้ทุกข์
เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น (๒) คำว่า นี้สมุทัย ... (๓) คำว่า นี้ทุกขนิโรธ ...
(๔) คำว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ภิกษุทั้งหลาย
สัจจะ ๔ อย่างนี้ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น สัจจะ ๔ จึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
สัจจกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๙๐/๖๐๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๔. อารุปปกถา (๕๖)
๔. อารุปปกถา (๕๖)
ว่าด้วยอรูปฌาน
[๔๕๕] สก. อากาสานัญจายตนฌานเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. อากาสานัญจายตนฌาน เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็น
ที่พึ่ง เป็นที่หมาย เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อากาสานัญจายตนฌานเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพาน
ก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อากาสานัญจายตนฌานเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อากาสานัญจายตนฌาน เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร
เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๒-๔๕๔/๒๑๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า อรูปฌานเป็นอสังขตธรรม โดยยึดถือตามพระพุทธพจน์ที่ว่า “อรูปฌาน ๔ เป็น
สภาวะที่เที่ยงแท้ไม่หวั่นไหว” ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อรูปฌาน ๔ เป็นสภาวธรรมที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๕-๔๕๖/๒๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๔. อารุปปกถา (๕๖)
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่ง เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็น
สงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่เป็นเหตุเข้าถึงอากาสานัญจายตนฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่เป็นเหตุเข้าถึงสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่งมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่งมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอากาสานัญจายตนฌาน มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่ง มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอากาสานัญจายตนฌาน มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่ง มีเวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อากาสานัญจายตนฌานเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่งเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๕. นิโรธสมาปัตติกถา (๕๗)
[๔๕๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อรูปฌาน ๔ เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อรูปฌาน ๔ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมไม่หวั่นไหว มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากอรูปฌาน ๔ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมไม่หวั่นไหว ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “อรูปฌาน ๔ เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง”
อารุปปกถา จบ
๕. นิโรธสมาปัตติกถา (๕๗)
ว่าด้วยนิโรธสมาบัติ
[๔๕๗] สก. นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. นิโรธสมาบัติเป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็น
ที่หมาย เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๗/๒๑๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากนิโรธสมาบัติเป็นสภาวะที่ดับแล้ว จึงเป็นอสังขตะ ซึ่งต่างกับความเห็นของ
สกวาทีที่เห็นว่า นิโรธสมาบัติเป็นทั้งสังขตะ และอสังขตะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๗/๒๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๕. นิโรธสมาปัตติกถา (๕๗)
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางพวกเข้านิโรธสมาบัติ ได้นิโรธสมาบัติ ให้นิโรธสมาบัติ
อุบัติขึ้น ให้อุบัติขึ้นด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดโดยยิ่ง
ให้เกิด ให้เกิดด้วยดี มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางพวกเข้าสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ได้สภาวธรรมที่ไม่
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ให้สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งอุบัติขึ้น ให้อุบัติขึ้นด้วยดี ให้
ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดโดยยิ่ง ให้เกิด ให้เกิดด้วยดี มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๕๘] สก. ความผ่องแผ้ว ความออกจากนิโรธสมาบัติ ปรากฏได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความผ่องแผ้ว ความออกจากสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ปรากฏ
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วจีสังขารของผู้เข้านิโรธสมาบัติอยู่ดับไปก่อน ต่อจากนั้น กายสังขารจึงดับ
ต่อจากนั้น จิตสังขารจึงดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วจีสังขารของผู้เข้าสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งอยู่ดับไปก่อน ต่อจากนั้น
กายสังขารจึงดับ ต่อจากนั้น จิตตสังขารจึงดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๕. นิโรธสมาปัตติกถา (๕๗)
สก. จิตตสังขารของผู้ออกจากนิโรธสมาบัติเกิดขึ้นก่อน ต่อจากนั้น กาย-
สังขารจึงเกิด ต่อจากนั้น วจีสังขารจึงเกิดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตตสังขารของผู้ออกจากสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้นก่อน
ต่อจากนั้น กายสังขารจึงเกิด ต่อจากนั้น วจีสังขารจึงเกิดใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผัสสะทั้ง ๓ คือ (๑) สุญญตผัสสะ (๒) อนิมิตตผัสสะ (๓) อัปปณิหิต-
ผัสสะ ย่อมถูกต้องผู้ออกจากนิโรธแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะทั้ง ๓ คือ (๑) สุญญตผัสสะ (๒) อนิมิตตผัสสะ (๓) อัปปณิหิต-
ผัสสะ ย่อมถูกต้องผู้ออกจากสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตของผู้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้วย่อมน้อมไปสู่วิเวก โน้มไปสู่วิเวก
โอนไปสู่วิเวกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตของผู้ออกจากสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้วย่อมน้อมไปสู่วิเวก
โน้มไปสู่วิเวก โอนไปสู่ วิเวกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๕๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น นิโรธสมาบัติจึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
นิโรธสมาปัตติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๖. อากาสกถา (๕๘)
๖. อากาสกถา (๕๘)
ว่าด้วยอากาศ
[๔๖๐] สก. อากาศ๑เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. อากาศเป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่หมาย
เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อากาศเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อากาศเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ อากาศ มี ๓ ชนิด คือ (๑) ปริจเฉทากาศ (ช่องว่างระหว่างรูปกลาปหนึ่ง ๆ) (๒) กสิณุคฆาฏิมากาศ
(ความว่างของจิต หลังจากถอนจากกสิณหนึ่ง ๆ) (๓) อัชฌัตตากาศ (อากาศที่ทั่วไป) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖๐-
๔๖๒/๒๒๐)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะและนิกายมหิสาสกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖๐-๔๖๒/๒๒๐)
๓ เพราะมีความเห็นว่า อากาศทั้ง ๓ ชนิดนี้เป็นอสังขตะ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อากาศ
ชนิดแรกเป็นสังขตะ อีก ๒ ชนิดเป็นเพียงบัญญัติ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖๐-๔๖๒/๒๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๖. อากาสกถา (๕๘)
สก. มีบุคคลบางพวกทำสิ่งที่มิใช่อากาศให้เป็นอากาศได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีบุคคลบางพวกทำสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งให้เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีบุคคลบางพวกทำอากาศไม่ให้เป็นอากาศได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีบุคคลบางพวกทำสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งให้เป็นสภาวธรรม
ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอากาศ นกทั้งหลายบินไปได้ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โคจรไปได้
ดวงดาวทั้งหลายโคจรไปได้ ผู้มีฤทธิ์ทั้งหลายแสดงฤทธิ์ได้ ชนทั้งหลายแกว่งแขนได้
โบกมือได้ ขว้างก้อนดินไปได้ ขว้างลูกขลุบไปได้ แผลงฤทธิ์ได้ แผลงศรไปได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นกทั้งหลายบินไปได้ ดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์โคจรไปได้ ดวงดาวทั้งหลายโคจรไปได้ ผู้มีฤทธิ์ทั้งหลายแสดง
ฤทธิ์ได้ ชนทั้งหลายแกว่งแขนได้ โบกมือได้ ขว้างก้อนดินไปได้ ขว้างลูกขลุบไปได้
แผลงฤทธิ์ได้ แผลงศรไปได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๖๑] สก. ชนทั้งหลายล้อมอากาศทำให้เป็นเรือน ทำให้เป็นฉางได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชนทั้งหลายล้อมสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งทำให้เป็นเรือน ทำให้
เป็นฉางได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อขุดบ่อน้ำ ที่ที่มิใช่อากาศก็กลายเป็นอากาศได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๗. อากาโสสนิทัสสโนติกถา (๕๙)
สก. สภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็กลายเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อถมบ่อน้ำเปล่า บรรจุฉางเปล่า หม้อเปล่าให้เต็มอยู่ อากาศหายไป
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งหายไปได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๖๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อากาศเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อากาศเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น อากาศจึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อากาสกถา จบ
๗. อากาโสสนิทัสสโนติกถา (๕๙)
ว่าด้วยอากาศเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้
[๔๖๓] สก. อากาศเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. อากาศเป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ เป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง
สีขาว เป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ กระทบที่จักษุ มาสู่คลองจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖๓-๔๖๔/๒๒๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า อากาศชนิดที่ ๓ (อัชฌัตตากาศ) เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อัชฌัตตากาศจริง ๆ ก็เห็นไม่ได้ ที่เห็นได้ก็เพราะมีสิ่งอื่น เช่น ช่องหน้าต่าง
เป็นตัวกำหนด (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖๓-๔๖๔/๒๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๗. อากาโสสนิทัสสโนติกถา (๕๙)
สก. อากาศเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยจักษุและอากาศ จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยจักษุและอากาศ จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและอากาศ จึงเกิดจักขุวิญญาณ” มีอยู่
จริงหรือ
ปร. ไม่มี
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ”๑ มีอยู่จริง
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสูตรว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ”
มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอาศัยจักษุและอากาศ จึงเกิดจักขุวิญญาณ”
[๔๖๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อากาศเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านเห็นช่องของต้นไม้ ๒ ต้น ช่องเสา ๒ ต้น ช่องลูกดาล ช่องหน้าต่าง
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากท่านเห็นช่องของต้นไม้ ๒ ต้น ช่องเสา ๒ ต้น ช่องลูกดาล
ช่องหน้าต่างได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อากาศเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้”
โอกาโสสนิทัสสโนติกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๔๐๐/๔๓๑, ม.อุ. (แปล) ๑๔/๔๒๑/๔๗๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๘. ปฐวีธาตุสนิทัสสนาติอาทิกถา (๖๐)
๘. ปฐวีธาตุสนิทัสสนาติอาทิกถา (๖๐)
ว่าด้วยปฐวีธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ เป็นต้น
[๔๖๕] สก. ปฐวีธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ปฐวีธาตุเป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ เป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง
สีขาว เป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ กระทบที่จักษุ มาสู่คลองจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฐวีธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยจักษุและปฐวีธาตุ จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยจักษุและปฐวีธาตุ จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและปฐวีธาตุ จึงเกิดจักขุวิญญาณ” มี
อยู่จริงหรือ
ปร. ไม่มี

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖๕/๒๒๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า มหาภูตรูป ๔ เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาที
ที่เห็นว่า ธาตุที่ไม่มีสี เห็นไม่ได้ ต้องมีสีเท่านั้นจึงจะเห็นได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖๕/๒๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๘. ปฐวีธาตุสนิทัสสนาติอาทิกถา (๖๐)
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ” มีอยู่ จริงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ” มีอยู่
จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอาศัยจักษุและปฐวีธาตุ จึงเกิดจักขุวิญญาณ”
[๔๖๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ปฐวีธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านเห็นแผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขามิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากท่านเห็นแผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขา ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ปฐวีธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อาโปธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านเห็นน้ำมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากท่านเห็นน้ำได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อาโปธาตุเป็น
สภาวธรรมที่เห็นได้”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “เตโชธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านเห็นไฟที่ลุกโพลงอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๙. จักขุนทริยังสนิทัสสนันติอาทิกถา (๖๑)
ปร. หากท่านเห็นไฟที่ลุกโพลงอยู่ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า เตโชธาตุ
เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “วาโยธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านเห็นต้นไม้ที่ถูกลมพัดให้โยกโคลงอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากท่านเห็นต้นไม้ที่ถูกลมพัดให้โยกโคลงอยู่ได้ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “วาโยธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้”
ปฐวีธาตุสนิทัสสนาติอาทิกถา จบ
๙. จักขุนทริยังสนิทัสสนันติอาทิกถา (๖๑)
ว่าด้วยจักขุนทรีย์เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ เป็นต้น
[๔๖๗] สก. จักขุนทรีย์เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุนทรีย์เป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ ฯลฯ มาสู่คลองจักษุ
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุนทรีย์เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๙. จักขุนทริยังสนิทัสสนันติอาทิกถา (๖๑)
สก. เพราะอาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุวิญญาณ”
มีอยู่จริงหรือ
ปร. ไม่มี
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ” มีอยู่จริง
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ”
มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุ-
วิญญาณ”
[๔๖๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อินทรีย์ ๕ เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านเห็นจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากท่านเห็นจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“อินทรีย์ ๕ เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้”
จักขุนทริยังสนิทัสสนันติอาทิกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๑๐. กายกัมมังสนิททัสสนันติกถา (๖๒)
๑๐. กายกัมมังสนิทัสสนันติกถา (๖๒)
ว่าด้วยกายกรรมเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้
[๔๖๙] สก. กายกรรมเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายกรรม เป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ เป็นสีเขียว สีเหลือง
สีแดง สีขาว เป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ กระทบที่จักษุ มาสู่คลองจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายกรรมเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยจักษุและกายกรรม จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยจักษุและกายกรรม จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและกายกรรม จึงเกิดจักขุวิญญาณ”
มีอยู่จริงหรือ
ปร. ไม่มี
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ” มีอยู่
จริงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ” มีอยู่
จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอาศัยจักษุและกายกรรม จึงเกิดจักขุวิญญาณ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
[๔๗๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “กายกรรมเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านเห็นผู้ก้าวไป ถอยกลับ แลดู มองดู คู้เข้า เหยียดออกมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากท่านเห็นผู้ก้าวไป ถอยกลับ แลดู มองดู คู้เข้า เหยียดออก ดังนั้น
ท่านก็ควรยอมรับว่า “กายกรรมเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้”
กายกัมมังสนิทัสสนันติกถา จบ
เรื่องสุดท้ายพึงทราบว่า เริ่มต้นแต่ปฐวีสนิทัสสนะจนถึงกายกัมมสนิทัสสนะ
ฉัฏฐวรรค จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นิยามกถา ๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา
๓. สัจจกถา ๔. อารุปปกถา
๕. นิโรธสมาปัตติกถา ๖. อากาสกถา
๗. อากาโสสนิทัสสโนติกถา ๘. ปฐวีธาตุสนิทัสสนาติอาทิกถา
๙. จักขุนทริยังสนิทัสสนันติอาทิกถา ๑๐. กายกัมมังสนิทัสสนันติกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๑. สังคหิตกถา (๖๓)
๗. สัตตมวรรค
๑. สังคหิตกถา (๖๓)
ว่าด้วยสภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้
[๔๗๑] สก. สภาวธรรมบางเหล่าที่สงเคราะห์เข้าได้๑กับสภาวธรรมบางเหล่า
ไม่มีใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. สภาวธรรมบางเหล่าที่สงเคราะห์เข้าได้ จัดเข้าหัวข้อได้ นับเนื่องกับ
สภาวธรรมบางเหล่ามีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมบางเหล่าที่สงเคราะห์เข้าได้ จัดเข้าหัวข้อได้ นับเนื่อง
กับสภาวธรรมบางเหล่ามีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมบางเหล่าที่
สงเคราะห์เข้าได้กับสภาวธรรมบางเหล่าไม่มี”
สก. จักขายตนะสงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์
สก. หากจักขายตนะสงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“จักขายตนะสงเคราะห์เข้าได้กับรูปขันธ์”

เชิงอรรถ :
๑ สงเคราะห์เข้าได้ โดยทั่วไปเห็นว่า มีสภาวธรรมบางเหล่าที่สงเคราะห์เข้าได้และมีบางเหล่าที่สงเคราะห์เข้า
ไม่ได้ ดูรายละเอียดในธาตุกถา (แปล) ๓๖/๑/๑
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๑/๒๒๑)
๓ เพราะมีความเห็นว่า คำว่า สงเคราะห์ หมายถึงการรวมสภาวธรรมอย่างหนึ่งเข้ากับสภาวธรรมอีกอย่าง
หนึ่งให้เป็นอย่างเดียวกันตามรูปศัพท์จึงถือว่าทำไม่ได้ เพราะสภาวธรรมแต่ละอย่างมีลักษณะเป็นของ
ตนเองที่ไม่อาจจะเหมือนหรือเข้ากันได้กับสภาวธรรมอื่น เช่นเดียวกับการจับวัว ๒ ตัวมาร้อยเข้าด้วยกัน
ก็ไม่ชื่อว่าเป็นการสงเคราะห์เข้าด้วยกัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๑/๒๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๑. สังคหิตกถา (๖๓)
สก. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ กายายตนะ
สงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์
สก. หากกายายตนะสงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“กายายตนะสงเคราะห์เข้ากับรูปขันธ์”
สก. รูปายตนะ ฯลฯ สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะสงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์
สก. หากโผฏฐัพพายตนะสงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอม
รับว่า “โผฏฐัพพายตนะสงเคราะห์เข้าได้กับรูปขันธ์”
สก. สุขเวทนาสงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์
สก. หากสุขเวทนาสงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สุขเวทนาสงเคราะห์เข้าได้กับเวทนาขันธ์”
สก. ทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนาสงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์
สก. หากอทุกขมสุขเวทนาสงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์ ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “อทุกขมสุขเวทนาสงเคราะห์เข้าได้กับเวทนาขันธ์”
สก. สัญญาที่เกิดจากจักขุสัมผัส สงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในสัญญาขันธ์
สก. หากสัญญาที่เกิดจากจักขุสัมผัสสงเคราะห์เข้าในสัญญาขันธ์ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “สัญญาที่เกิดจากจักขุสัมผัสสงเคราะห์เข้าได้กับสัญญาขันธ์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๑. สังคหิตกถา (๖๓)
สก. สัญญาที่เกิดจากโสตสัมผัส ฯลฯ สัญญาที่เกิดจากมโนสัมผัสสงเคราะห์
เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในสัญญาขันธ์
สก. หากสัญญาที่เกิดจากมโนสัมผัสสงเคราะห์เข้าในสัญญาขันธ์ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “สัญญาที่เกิดจากมโนสัมผัสสงเคราะห์เข้าได้กับสัญญาขันธ์”
สก. เจตนาที่เกิดจากจักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิดจากมโนสัมผัสสงเคราะห์
เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์
สก. หากเจตนาที่เกิดจากมโนสัมผัสสงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “เจตนาที่เกิดจากมโนสัมผัสสงเคราะห์เข้าได้กับสังขารขันธ์”
สก. จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ สงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในวิญญาณขันธ์
สก. หากมโนวิญญาณสงเคราะห์เข้าในวิญญาณขันธ์ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “มโนวิญญาณสงเคราะห์เข้าได้กับวิญญาณขันธ์”
[๔๗๒] ปร. สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับสภาวธรรมเหล่านั้นเหมือน
อย่างคู่โคพลิพัทเขาร้อยไว้ด้วยสายทามหรือเชือก เหมือนบิณฑบาตเขาแขวนไว้
ด้วยสาแหรก หรือเหมือนสุนัขเขาผูกไว้ด้วยเชือกผูกสุนัข
สก. หากคู่โคพลิพัทเขาร้อยไว้ด้วยสายทามหรือเชือก บิณฑบาตแขวนไว้
ด้วยสาแหรก หรือสุนัขเขาผูกไว้ด้วยเชือกผูกสุนัข ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมบางเหล่าสงเคราะห์เข้าได้กับสภาวธรรมบางเหล่ามีอยู่”
สังคหิตกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๒. สัมปยุตตกถา (๖๔)
๒. สัมปยุตตกถา (๖๔)
ว่าด้วยสัมปยุตตธรรม
[๔๗๓] สก. สภาวธรรมบางเหล่าที่สัมปยุตด้วยสภาวธรรมบางเหล่าไม่มี
ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. สภาวธรรมบางเหล่าที่สหรคต เกิดร่วม ระคน เกิดพร้อมกัน ดับพร้อม
กัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับสภาวธรรมบางเหล่ามีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมบางเหล่าที่สหรคต เกิดร่วม ระคน เกิดพร้อมกัน ดับ
พร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับสภาวธรรมบางเหล่ามีอยู่
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมบางเหล่าที่สัมปยุตด้วยสภาวธรรมบางเหล่า
ไม่มี”
สก. เวทนาขันธ์เกิดร่วมกับสัญญาขันธ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเวทนาขันธ์เกิดร่วมกับสัญญาขันธ์ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“เวทนาขันธ์สัมปยุตด้วยสัญญาขันธ์”
สก. เวทนาขันธ์เกิดร่วมกับสังขารขันธ์(และ)วิญญาณขันธ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเวทนาขันธ์เกิดร่วมกับวิญญาณขันธ์ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“เวทนาขันธ์สัมปยุตด้วยวิญญาณขันธ์”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๓/๒๒๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เวทนาสัมปยุตด้วยนามธรรมไม่ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๓/๒๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๔ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น