Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๗-๙ หน้า ๕๐๕ - ๕๖๗

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗-๙ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ



พระอภิธรรมปิฎก
กถาวัตถุ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๓. เจตสิกกถา (๖๕)
สก. สัญญาขันธ์ ฯลฯ สังขารขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ เกิดร่วมกับ
เวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ สังขารขันธ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณขันธ์เกิดร่วมกับสังขารขันธ์ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“วิญญาณขันธ์สัมปยุตด้วยสังขารขันธ์”
[๔๗๔] ปร. สภาวธรรมเหล่านั้นแทรกซึมอยู่กับสภาวธรรมเหล่านั้น เหมือน
น้ำมันซึมซับอยู่ในเมล็ดงา น้ำอ้อยซึมซับอยู่ในต้นอ้อยใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สัมปยุตตกถา จบ
๓. เจตสิกกถา (๖๕)
ว่าด้วยเจตสิก
[๔๗๕] สก. สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกไม่มีใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. สภาวธรรมบางเหล่าที่สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน
ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมบางเหล่าที่สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิด
พร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตมีอยู่
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกไม่มี”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๕-๔๗๗/๒๒๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ไม่สามารถจะแยกสภาวธรรมที่เรียกว่า เจตสิกออกจากจิตได้ จึงถือว่าไม่มีเจตสิก
อยู่จริง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๕-๔๗๗/๒๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๓. เจตสิกกถา (๖๕)
สก. ผัสสะเกิดร่วมกับจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากผัสสะเกิดร่วมกับจิต ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ผัสสะเป็นเจตสิก”
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ
สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ
เกิดร่วมกับจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอโนตตัปปะเกิดร่วมกับจิต ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“อโนตตัปปะเป็นเจตสิก”
[๔๗๖] ปร. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมเกิดร่วมกับจิต” จึงยอมรับว่า
“สภาวธรรมเป็นเจตสิก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมเกิดร่วมกับผัสสะ” จึงยอมรับว่า
“สภาวธรรมเป็นผัสสิกะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมเกิดร่วมกับจิต” จึงยอมรับว่า
“สภาวธรรมเป็นเจตสิก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมเกิดร่วมกับเวทนา ฯลฯ เกิดร่วมกับ
สัญญา ฯลฯ เกิดร่วมกับเจตนา ฯลฯ เกิดร่วมกับสัทธา ฯลฯ เกิดร่วมกับวิริยะ
ฯลฯ เกิดร่วมกับสติ ฯลฯ เกิดร่วมกับสมาธิ ฯลฯ เกิดร่วมกับปัญญา ฯลฯ
เกิดร่วมกับราคะ ฯลฯ เกิดร่วมกับโทสะ ฯลฯ เกิดร่วมกับโมหะ ฯลฯ เกิดร่วม
กับอโนตตัปปะ” จึงยอมรับว่า “สภาวธรรมเป็นอโนตตัปปาสิกะ” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๓. เจตสิกกถา (๖๕)
[๔๗๗] สก. สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“จิตนี้และสภาวธรรมที่เป็นเจตสิก
ย่อมปรากฏแก่ผู้รู้แจ้งชัดแล้วโดยความเป็นอนัตตา
ครั้นรู้ชัดสภาวธรรมทั้ง ๒ นั้น ทั้งที่หยาบและประณีต
จึงเป็นผู้มีความเห็นโดยชอบ ทราบชัดว่า มีความแตกดับเป็นธรรมดา”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกจึงมีอยู่
สก. สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “เกวัฏฏะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
ทายจิต ทายเจตสิก ทายวิตกวิจาร ของสัตว์อื่น ๆ ของบุคคลอื่น ๆ ว่า ใจของ
ท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นไปโดยอาการอย่างนี้ ความคิดของท่านเป็นดังนี้”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกจึงมีอยู่
เจตสิกกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๑๔๘/๑๐๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๔. ทานกถา (๖๖)
๔. ทานกถา (๖๖)
ว่าด้วยทาน๑
[๔๗๘] สก. สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นทานได้ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่
สก. จะให้สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกแก่คนอื่น ๆ ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จะให้สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกแก่คนอื่น ๆ ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จะให้ผัสสะแก่คนอื่น ๆ ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จะให้เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ
สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา แก่คนอื่น ๆ ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๗๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นทานได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ทานมีผลไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์
เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ทาน โดยทั่วไปมี ๓ อย่าง คือ (๑) จาคเจตนา (เจตนาเป็นเหตุบริจาค) (๒) วิรัติ (การงดเว้น) (๓) ไทยธรรม
(การให้สิ่งของ) ทาน ๓ ประการนี้ย่นลงเป็น ๒ คือ (๑) เจตสิกธรรม (จาคเจตนาและวิรัติ) (๒) ไทยธรรม
ซึ่งฝ่ายปรวาทีมีความเห็นว่า เจตสิกธรรมเท่านั้น เรียกว่าทาน ส่วนไทยธรรมไม่เรียกว่า ทาน (อภิ.ปญฺจ.อ.
๔๗๘/๒๒๓)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๘/๒๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๔. ทานกถา (๖๖)
ปร. ทานมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบากมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากทานมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็น
กำไร มีสุขเป็นวิบาก ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็น
ทานได้”
สก. ทาน พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีผลน่าปรารถนา จีวรเป็นทาน ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จีวรมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทาน พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีผลน่าปรารถนา บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็นทาน ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผล
เยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๘๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นทานได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ธรรมเหล่านี้ คือ ศรัทธา หิริ
และทานที่เป็นกุศล อันสัตบุรุษดำเนินตามแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๔. ทานกถา (๖๖)
สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่าธรรม ๓ ประการนี้
เป็นทางไปสู่เทวโลก
เพราะธรรม ๓ ประการนี้แล บุคคลจึงไปสู่เทวโลกได้” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกจึงเป็นทานได้
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นทานได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการนี้
เป็นมหาทานที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ใน
อดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จัก
ไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน ทาน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ อริยสาวก
ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์แล้ว ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ให้ความไม่มี
เวร ให้ความไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ ย่อมเป็น
ผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนอัน
ไม่มีประมาณ นี้เป็นทานประการที่ ๑ เป็นมหาทาน ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ
รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ในอดีตไม่ถูกลบ
ล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็
จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
๒. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ
๓. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
๔. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ ฯลฯ
๕. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท อริยสาวกผู้เว้นขาดจากการเสพ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๓๒/๒๘๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๔. ทานกถา (๖๖)
ของมึนเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความประมาท ชื่อว่า
ให้ความไม่มีภัย ให้ความไม่มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้ง
หลายไม่มีประมาณ นี้เป็นทาน ประการที่ ๕ เป็นมหาทาน ที่รู้
กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่า เป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ใน
อดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง
ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการนี้ จัดเป็นมหาทาน ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กัน
มานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ในอดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง
ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกจึงเป็นทาน
[๔๘๑] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ไทยธรรมเป็นทานได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ข้าว
น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป” มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ไทยธรรมจึงเป็นทานได้
[๔๘๒] ปร. ไทยธรรมเป็นทานได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ไทยธรรมมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุข
เป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ทาน พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีผลน่าปรารถนา จีวรเป็นทาน ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๓๙/๓๐๐-๓๐๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)
ปร. จีวรมีผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ทาน พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีผลน่าปรารถนา บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็นทานใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผล
เยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ไทยธรรมเป็นทานได้”
ทานกถา จบ
๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)
ว่าด้วยบุญสำเร็จด้วยการบริโภค
[๔๘๓] สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค๑ เจริญได้ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
ที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค ในที่นี้หมายถึงบุญที่เกิดจากวัตถุทานที่ผู้รับ (ปฏิคาหก) นำไปใช้สอย (อภิ.ปญฺจ.อ.
๔๘๓/๒๒๔-๒๒๕)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๘๓/๒๒๕)
๓ เพราะมีความเห็นว่า วัตถุทานที่ผู้รับนำไปใช้สอยเท่านั้นจึงเกิดบุญ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
บุญเกิดจากจาคเจตนาใน ๓ กาล คือ (๑) ปุริมเจตนา (เจตนาก่อนให้) (๒) มุญจนเจตนา (เจตนากำลังให้)
(๓) อปราปรเจตนา (เจตนาหลังจากให้แล้ว) โดยไม่คำนึงถึงว่าจะใช้สอยวัตถุทานนั้นหรือไม่ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๔๘๓/๒๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)
สก. เจริญได้เหมือนเถาวัลย์ เหมือนเถาย่านทราย เหมือนต้นไม้ เหมือนหญ้า
เหมือนกองหญ้าปล้องใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๘๔] สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทายกถวายทานแล้วไม่ใฝ่ใจ ทานนั้นเป็นบุญใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทานของผู้ไม่นึกถึง ผู้ไม่ขวนขวาย ผู้ไม่สนใจ ผู้ไม่ใฝ่ใจ ผู้ไม่จงใจ ผู้
ไม่ต้องการ ผู้ไม่ปรารถนา เป็นบุญใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทานของผู้นึกถึง ผู้ขวนขวาย ผู้สนใจ ผู้ใฝ่ใจ ผู้จงใจ ผู้ต้องการ ผู้
ปรารถนา เป็นบุญมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากทานของผู้นึกถึง ผู้ขวนขวาย ผู้สนใจ ผู้ใฝ่ใจ ผู้จงใจ
ผู้ต้องการ ผู้ปรารถนา เป็นบุญ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุญที่สำเร็จด้วยการ
บริโภคเจริญได้”
[๔๘๕] สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทายกถวายทานแล้ว ตรึกถึงกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก
ทานนั้นเป็นบุญใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและ
ประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาวและเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและ
ประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาวและเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกล
กันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้
สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๑
๒. ฝั่งนี้กับฝั่งโน้นของทะเล นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่าง
ที่ ๒
๓. จุดที่ดวงอาทิตย์ขึ้นกับจุดที่ดวงอาทิตย์ตก นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกล
กันเหลือเกินอย่างที่ ๓
๔. ธรรมของสัตบุรุษ(คนดี)กับธรรมของอสัตบุรุษ(คนชั่ว) นี้เป็นสิ่งที่
อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า
ฟ้ากับดินอยู่ไกลกัน
ฝั่ง (ทั้ง ๒) ของทะเลอยู่ไกลกัน
จุดที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกก็อยู่ไกลกัน
บัณฑิตกล่าวว่า ธรรมของสัตบุรุษ
กับธรรมของอสัตบุรุษอยู่ไกลกันยิ่งกว่านั้น
สมาคมของสัตบุรุษยั่งยืนนาน
ดำรงอยู่ตราบนานเท่านาน
ส่วนสมาคมของอสัตบุรุษย่อมจืดจางเร็ว
เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษ
จึงห่างไกลกันกับธรรมของอสัตบุรุษ” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่
มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาวและเป็นฝ่ายมี
ส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้”
[๔๘๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ชนเหล่าใดปลูกสวนอันรื่นรมย์ ปลูกป่า สร้างสะพาน
ขุดสระน้ำ บ่อน้ำ และให้ที่พักอาศัย
บุญย่อมเจริญแก่ชนเหล่านั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๗/๗๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)
ทั้งกลางวันและกลางคืน
ชนเหล่านั้นดำรงอยู่ในธรรม
สมบูรณ์ด้วยศีลแล้วย่อมเป็นผู้ไปสู่สวรรค์๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภคจึงเจริญได้
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล๒ ๔
ประการนี้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์
เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุใช้สอยจีวรของทายกใด บรรลุเจโตสมาธิที่ประมาณไม่ได้อยู่
ห้วงบุญกุศลของทายกนั้นประมาณไม่ได้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้
ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อ
สุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
๒. ภิกษุฉันบิณฑบาตของทายกใด ฯลฯ
๓. ภิกษุใช้สอยเสนาสนะของทายกใด ฯลฯ
๔. ภิกษุบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของทายกใด บรรลุเจโตสมาธิ
ที่ประมาณไม่ได้อยู่ ห้วงบุญกุศลของทายกนั้นหาประมาณไม่ได้
นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์
เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๔๗/๕๖
๒ ห้วงบุญกุศล ในที่นี้หมายถึงผลวิบากที่เกิดขึ้นแห่งบุญกุศลซึ่งหลั่งไหลนำสุขมาให้ผู้บำเพ็ญไม่ขาดสาย
(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๑/๓๔๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๕๑/๓๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)
ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล ๔ ประการนี้แล นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้
อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค จึงเจริญได้
[๔๘๗] สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทายกถวายทาน ปฏิคาหกรับทานแล้วไม่บริโภค ทิ้งเสีย สละเสีย
ทานนั้นเป็นบุญใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากทายกถวายทาน ปฏิคาหกรับทานแล้วไม่บริโภค ทิ้งเสีย สละเสีย
ทานนั้นเป็นบุญ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้”
สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทายกถวายทาน เมื่อปฏิคาหกรับทานแล้ว พระราชาทรงริบไปเสีย
โจรลักไป ไฟไหม้ น้ำพัดไป หรือทายาทผู้ไม่เป็นที่รักกันนำไปเสีย ทานนั้นเป็น
บุญใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากทายกถวายทาน เมื่อปฏิคาหกรับทานแล้ว พระราชาทรงริบไปเสีย
โจรลักไป ไฟไหม้ น้ำพัดไป หรือทายาทผู้ไม่เป็นที่รักกันนำไปเสีย ทานนั้นเป็นบุญ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้”
ปริโภคมยปุญญกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๕๑-๕๒/๘๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๖. อิโตทินนกถา (๖๘)
๖. อิโตทินนกถา (๖๘)
ว่าด้วยทานที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้
[๔๘๘] สก. เปรตทั้งหลายดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วยทานที่บุคคลอุทิศให้
จากโลกนี้ได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ในเปตโลกนั้น เปรตทั้งหลายใช้สอยจีวรที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในเปตโลกนั้น เปรตทั้งหลายบริโภคบิณฑบาต เสนาสนะ คิลาน-
ปัจจัยเภสัชบริขาร ของขบเคี้ยว ของกิน ของดื่ม ที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เปรตทั้งหลายดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วยทานที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลหนึ่งกระทำให้อีกบุคคลหนึ่ง สุขและทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ บุคคล
หนึ่งกระทำ อีกบุคคลหนึ่งเสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๘๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “เปรตทั้งหลายดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วย
ทานที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๘๘/๒๒๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เปรตทั้งหลายสามารถรับสิ่งของที่บุคคลให้จากโลกนี้ได้โดยตรง (อภิ.ปญฺจ.อ.
๔๘๘/๒๒๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๖. อิโตทินนกถา (๖๘)
ปร. เปรตทั้งหลายอนุโมทนาทานที่เขาอุทิศให้เพื่อประโยชน์แก่ตน ทำจิตให้
เลื่อมใส ให้เกิดปีติ ได้โสมนัสมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเปรตทั้งหลายอนุโมทนาทานที่เขาอุทิศให้เพื่อประโยชน์แก่ตน ทำจิต
ให้เลื่อมใส ให้เกิดปีติ ได้โสมนัส ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เปรตทั้งหลาย
ดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วยทานที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้”
[๔๙๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “เปรตทั้งหลายดำรงชีพในเปตโลกนั้นด้วยทาน
ที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ฝนที่ตกลงบนที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด
ทานที่ทายกอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้
ย่อมสำเร็จผลแน่นอนแก่พวกเปรต ฉันนั้นเหมือนกัน
ห้วงน้ำที่เต็มย่อมยังสมุทรสาครให้เต็มเปี่ยม ฉันใด
ทานที่ทายกอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้
ย่อมสำเร็จผลแน่นอนแก่พวกเปรต ฉันนั้นเหมือนกัน
ในเปตวิสัย๑ นั้น ไม่มีกสิกรรม โครักขกรรม
พาณิชกรรมเช่นนั้น(และ)การแลกเปลี่ยนซื้อขายด้วยเงิน
ผู้ที่ตายไปเกิดเป็นเปรตในเปตวิสัยนั้น
ดำรงชีพด้วยผลทานที่พวกญาติอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้” ๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น เปรตทั้งหลายจึงดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วยทานที่บุคคลอุทิศ
ให้จากโลกนี้ได้

เชิงอรรถ :
๑ เปตวิสัย หมายถึงภูมิหรือกำเนิดแห่งเปรต (ขุ.ขุ.อ. ๗/๑๘๘)
๒ ดูเทียบ ขุ.ขุ. (แปล) ๒๕/๗-๘/๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๖. อิโตทินนกถา (๖๘)
[๔๙๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “เปรตทั้งหลายดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วย
ทานที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาเมื่อ
เห็นฐานะ ๕ ประการนี้ จึงปรารถนาบุตรผู้เกิดในตระกูล
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุตรที่เราเลี้ยงมาแล้วจักเลี้ยงเรา
๒. บุตรจักช่วยทำกิจของเรา
๓. วงศ์ตระกูลจักดำรงอยู่ได้นาน
๔. บุตรจักปฏิบัติตนให้สมควรรับทรัพย์มรดกไว้
๕. เมื่อเราทั้งสองตายไป บุตรจักทำบุญอุทิศให้
ภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาเมื่อเห็นฐานะ ๕ ประการนี้แล จึงปรารถนาบุตร
ผู้เกิดในตระกูล
มารดาบิดาผู้ฉลาด
เมื่อเห็นฐานะ ๕ ประการจึงปรารถนาบุตร
ด้วยหวังว่า บุตรที่เราเลี้ยงแล้วจักเลี้ยงเรา
จักช่วยทำกิจของเรา
วงศ์ตระกูลจักดำรงอยู่ได้นาน
จักปฏิบัติตนให้สมควรแก่การรับทรัพย์มรดก
และเมื่อเราทั้งสองตายแล้วจักทำบุญอุทิศให้
มารดาบิดาผู้ฉลาด
เมื่อเห็นฐานะเหล่านี้ จึงปรารถนาบุตร
เพราะฉะนั้น บุตรผู้เป็นสัตบุรุษ ผู้สงบ
เป็นกตัญญูกตเวทีบุคคล
เมื่อระลึกถึงคุณท่านที่ทำไว้ต่อเราก่อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา (๖๙)
จึงเลี้ยงมารดาบิดา ช่วยทำกิจของท่าน
เชื่อฟังโอวาท ตอบสนองพระคุณท่าน
ดำรงวงศ์ตระกูลสมกับที่ท่านเป็นบุพการี
บุตรผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล
ย่อมเป็นที่สรรเสริญ” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น เปรตทั้งหลายชื่อว่าย่อมดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วยทานที่
บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้
อิโตทินนกถา จบ
๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา (๖๙)
ว่าด้วยแผ่นดินเป็นกรรมวิบาก
[๔๙๒] สก. แผ่นดินเป็นกรรมวิบากใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. แผ่นดินมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วย
สุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัมปยุตด้วยเวทนา สัมปยุตด้วยสัญญา สัมปยุตด้วยเจตนา สัมปยุตด้วยจิต รับรู้
อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ มีความสนใจ มีความใฝ่ใจ มีความจงใจ
มีความปรารถนา มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๓๙/๖๐-๖๑
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๙๒/๒๒๗)
๓ เพราะมีความเห็นว่า แผ่นดิน มหาสมุทร เป็นต้น เป็นผลแห่งกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๙๒/๒๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา (๖๙)
สก. แผ่นดินไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ไม่มีอทุกขมสุขเวทนา ไม่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา ไม่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ไม่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ไม่สัมปยุตด้วยผัสสะ ไม่สัมปยุตด้วยเวทนา ไม่สัมปยุตด้วยสัญญา ไม่สัมปยุต
ด้วยเจตนา ไม่สัมปยุตด้วยจิต รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ
ไม่มีความสนใจ ไม่มีความใฝ่ใจ ไม่มีความปรารถนา ไม่มีความตั้งใจ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากแผ่นดินไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า แผ่นดินเป็นกรรม
วิบาก”
สก. ผัสสะเป็นกรรมวิบาก ผัสสะมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุข-
เวทนา สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ฯลฯ สัมปยุตด้วยอทุกขม-
สุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ สัมปยุตด้วยเวทนา สัมปยุตด้วยสัญญา สัมปยุตด้วย
เจตนา สัมปยุตด้วยจิต รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก แผ่นดินมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขม-
สุขเวทนา สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข-
เวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ สัมปยุตด้วยเวทนา สัมปยุตด้วยสัญญา สัมปยุตด้วย
เจตนา สัมปยุตด้วยจิต รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ มีความสนใจ
มีความใฝ่ใจ มีความจงใจ มีความปรารถนา มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก (ทั้ง ๆ ที่)แผ่นดินไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา
ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา (๖๙)
สก. ผัสสะเป็นกรรมวิบาก (ทั้ง ๆ ที่)ผัสสะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา
ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. แผ่นดิน เป็นกรรมวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แผ่นดิน เข้าถึงการยกย่องและการลงโทษ เข้าถึงการตัดและการทำลาย
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมวิบาก เข้าถึงการยกย่องและการลงโทษ เข้าถึงการตัดและการ
ทำลาย ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. แผ่นดิน บุคคลจะซื้อ จะขาย จะจำนอง จะรวบรวม จะสั่งสมได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมวิบาก บุคคลจะซื้อ จะขาย จะจำนอง จะรวบรวม จะสั่งสมได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๙๓] สก. แผ่นดินเป็นสมบัติทั่วไปแก่คนเหล่าอื่นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมวิบาก เป็นสมบัติทั่วไปแก่คนเหล่าอื่นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมวิบาก เป็นสมบัติทั่วไปแก่คนเหล่าอื่นใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา (๖๙)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ขุมทรัพย์คือบุญไม่ทั่วไปแก่คนอื่น โจรลักไปไม่ได้
สัตว์ผู้จะต้องตายเป็นธรรมดาพึงทำบุญ
ผู้นั้นแลพึงประพฤติสุจริต” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “กรรมวิบากเป็นสมบัติทั่วไปแก่คนอื่น”
สก. แผ่นดินเป็นกรรมวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แผ่นดินเกิดขึ้นก่อน สัตว์ทั้งหลายจึงเกิดขึ้นในภายหลังใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิบากเกิดขึ้นก่อน สัตว์ทั้งหลายจึงทำกรรมเพื่อวิบากในภายหลังใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. แผ่นดินเป็นกรรมวิบากของสรรพสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สรรพสัตว์อาศัยแผ่นดินใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สรรพสัตว์อาศัยแผ่นดินใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์บางพวกอาศัยแผ่นดินแล้วปรินิพพานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.ขุ. (แปล) ๒๕/๙/๑๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา (๖๙)
สก. สัตว์บางพวกใช้กรรมวิบากยังไม่หมดสิ้นแล้วปรินิพพานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. แผ่นดินเป็นกรรมวิบากของพระเจ้าจักรพรรดิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์เหล่าอื่นก็อาศัยแผ่นดินใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์เหล่าอื่นอาศัยกรรมวิบากของพระเจ้าจักรพรรดิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์เหล่าอื่นอาศัยกรรมวิบากของพระเจ้าจักรพรรดิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์เหล่าอื่นอาศัยผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สัทธา วิริยะ
สติ สมาธิ ปัญญา ของพระเจ้าจักรพรรดิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๙๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีอำนาจ กรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็น
ใหญ่ในแผ่นดินมีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากกรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีอำนาจ กรรมที่เป็นไปเพื่อความ
เป็นใหญ่มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก”
ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๘. ชรามรณังวิปาโกติกถา (๗๐)
๘. ชรามรณังวิปาโกติกถา (๗๐)
ว่าด้วยชรามรณะเป็นวิบาก
[๔๙๕] สก. ชรามรณะเป็นวิบากใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ชรามรณะมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วย
สุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัมปยุตด้วยเวทนา สัมปยุตด้วยสัญญา สัมปยุตด้วยเจตนา สัมปยุตด้วยจิต รับรู้
อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ มีความสนใจ มีความใฝ่ใจ มีความจงใจ
มีความปรารถนา มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากชรามรณะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ชรามรณะเป็น
วิบาก”
สก. ผัสสะเป็นวิบาก ผัสสะมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะเป็นวิบาก ชรามรณะมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้
อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๙๕-๔๙๗/๒๒๘-๒๒๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ชรามรณะเป็นผลแห่งกรรม ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ชรามรณะ
มิได้เกิดจากกรรม แต่เป็นธัมมนิยาม คือเป็นไปเองตามสภาวะ มิใช่เกิดจากการกระทำของผู้ใด (อภิ.ปญฺจ.อ.
๔๙๕-๔๙๗/๒๒๘-๒๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๘. ชรามรณังวิปาโกติกถา (๗๐)
สก. ชรามรณะเป็นวิบาก ชรามรณะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ
รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะเป็นวิบาก ผัสสะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้
อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๙๖] สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นอกุศล ก็เป็นวิบากแห่งสภาว-
ธรรมที่เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศล ก็เป็นวิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็น
กุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลมีอยู่ ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็น
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นอกุศลมีอยู่ ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็น
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นอกุศล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นวิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็น
อกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นวิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็น
กุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๘. ชรามรณังวิปาโกติกถา (๗๐)
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นอกุศลมีอยู่ ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็น
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลมีอยู่ ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็น
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นอกุศล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล เป็นวิบากแห่งสภาว-
ธรรมที่เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล เป็นวิบากแห่งสภาว-
ธรรมที่เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลมีอยู่ ท่านไม่ยอมรับว่า
“เป็นวิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลมีอยู่ ท่านไม่ยอมรับว่า
“เป็นวิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นอกุศล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๙๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ชรามรณะเป็นวิบาก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีผิวพรรณหม่นหมอง กรรมที่เป็นไปเพื่อ
ความเป็นผู้มีอายุสั้นมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากกรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีผิวพรรณหม่นหมอง กรรมที่เป็นไป
เพื่อความเป็นผู้มีอายุสั้นมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ชรามรณะเป็นวิบาก”
ชรามรณังวิปาโกติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๙. อริยธัมมวิปากกถา (๗๑)
๙. อริยธัมมวิปากกถา (๗๑)
ว่าด้วยวิบากแห่งอริยธรรม
[๔๙๘] สก. วิบากแห่งอริยธรรมไม่มีใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ความเป็นสมณะ๓มีผลมาก ความเป็นพราหมณ์๔มีผลมาก มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากความเป็นสมณะมีผลมาก ความเป็นพราหมณ์มีผลมาก ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “วิบากแห่งอริยธรรมไม่มี”
สก. วิบากแห่งอริยธรรมไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากโสดาปัตติผลมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “วิบากแห่งอริยธรรม
ไม่มี”
สก. สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผลมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอรหัตตผลมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “วิบากแห่งอริยธรรมไม่มี”
สก. โสดาปัตติผลไม่เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๙๘/๒๒๙-๒๓๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ผลของอริยมรรคเป็นเพียงการละกิเลสเท่านั้น หาใช่จิตและเจตสิกไม่ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๔๙๘/๒๒๙-๒๓๐)
๓-๔ ความเป็นสมณะ ความเป็นพราหมณ์ ในที่นี้หมายถึงอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๙๘/๒๒๙-๒๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๙. อริยธัมมวิปากกถา (๗๑)
สก. ผลแห่งทานไม่เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสดาปัตติผลไม่เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผลแห่งศีล ฯลฯ ผลแห่งภาวนา ไม่เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผล ไม่เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผลแห่งทานไม่เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรหัตตผลไม่เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผลแห่งศีล ฯลฯ ผลแห่งภาวนา ไม่เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผลแห่งทานเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผลแห่งทานเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผล เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผลแห่งศีล ฯลฯ ผลแห่งภาวนา เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๙. อริยธัมมวิปากกถา (๗๑)
สก. โสดาปัตติผลเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผลแห่งภาวนาเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผล เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๙๙] สก. กามาวจรกุศลมีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลกุตตรกุศลมีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปาวจรกุศล ฯลฯ อรูปาวจรกุศล มีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลกุตตรกุศลมีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลกุตตรกุศลไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามาวจรกุศลไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลกุตตรกุศลไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปาวจรกุศล ฯลฯ อรูปาวจรกุศล ไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๐๐] ปร. กามาวจรกุศลมีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติและ
ปฏิสนธิใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. โลกุตตรกุศลมีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติและปฏิสนธิ
ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๑๐. วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา (๗๒)
ปร. รูปาวจรกุศล ฯลฯ อรูปาวจรกุศล มีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็น
เหตุให้ถึงจุติและปฏิสนธิใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. โลกุตตรกุศลมีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติและปฏิสนธิ
ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. โลกุตตรกุศลมีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กามาวจรกุศลมีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. โลกุตตรกุศลมีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปาวจรกุศล ฯลฯ อรูปาวจรกุศล มีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุ
ให้ถึงนิพพานใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อริยธัมมวิปากกถา จบ
๑๐. วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา (๗๒)
ว่าด้วยวิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
[๕๐๑] สก. วิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๐๑/๒๓๐-๒๓๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า วิบากสามารถเป็นกรรมได้ โดยอ้างหลักการแห่งอัญญมัญญปัจจัยในปัฏฐาน ซึ่ง
ต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า วิบากเป็นเพียงปัจจัยเกื้อหนุนแก่กันและกันเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
๕๐๑/๒๓๐-๒๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๑๐. วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา (๗๒)
สก. วิบากแห่งวิบากนั้น เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิบากแห่งวิบากนั้น เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดจากวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน
ก็ไม่มีแก่วิบากแห่งวิบากที่เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าว
มานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บัญญัติว่าวิบากกับสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก หรือบัญญัติว่า
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากกับวิบาก นี้นั้น มีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน
มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิบากและสภาวธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก สภาวธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก
และวิบากสหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่าง
เดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อกุศลกับวิบากแห่งอกุศลเป็นอันเดียวกัน กุศลกับวิบากแห่งกุศลเป็น
อันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. วิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลถูกไหม้อยู่ในนรกด้วยจิตดวงที่เป็นเหตุฆ่าสัตว์เท่านั้น บันเทิงอยู่
ในสวรรค์ก็ด้วยจิตดวงที่เป็นเหตุให้ทานเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๐๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “วิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิบากคืออรูปขันธ์ ๔ เป็นอัญญมัญญปัจจัยมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากวิบากคืออรูปขันธ์ ๔ เป็นอัญญมัญญปัจจัย ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “วิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก”
วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา จบ
สัตตมวรรค จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังคหิตกถา ๒. สัมปยุตตกถา
๓. เจตสิกกถา ๔. ทานกถา
๕. ปริโภคมยปุญญกถา ๖. อิโตทินนกถา
๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา ๘. ชรามรณังวิปาโกติกถา
๙. อริยธัมมวิปากกถา ๑๐. วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๑. ฉคติกถา (๗๓)
๘. อัฏฐมวรรค
๑. ฉคติกถา (๗๓)
ว่าด้วยคติ ๖
[๕๐๓] สก. คติมี ๖ ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. คติ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๕ อย่าง คือ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
ภูมิแห่งเปรต มนุษย์ เทวดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากคติพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๕ อย่าง คือ นรก กำเนิดดิรัจฉาน
ภูมิแห่งเปรต มนุษย์ เทวดา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “คติมี ๖”
สก. คติมี ๖ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อสูรจำพวกกาลกัญชิกา มีรูปร่างเหมือนกัน มีการเสพกามเหมือนกัน
มีอาหารเหมือนกัน มีอายุเหมือนกันกับเปรตทั้งหลาย และแต่งงานกับเปรตทั้งหลาย
ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอสูรจำพวกกาลกัญชิกา มีรูปร่างเหมือนกัน มีการเสพกามเหมือนกัน
มีอาหารเหมือนกัน มีอายุเหมือนกันกับเปรตทั้งหลาย และแต่งงานกับเปรต
ทั้งหลายได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “คติมี ๖”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๐๓/๒๓๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า คติมี ๖ คือ (๑) เทวคติ (๒) มนุสสคติ (๓) เปตคติ (๔) อสุรกายคติ (แยก
มาจากนิรยคติ) (๕) ติรัจฉานคติ (๖) นิรยคติ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า คติมีเพียง ๕
โดยไม่แยกอสุรกายออกเป็นคติหนึ่งต่างหาก แต่จัดพวกอสุรกายฝ่ายชั่วเข้าในเปตคติ และจัดพวกอสุรกาย
ฝ่ายดีเข้าในเทวคติ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๐๓/๒๓๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๑. ฉคติกถา (๗๓)
สก. คติมี ๖ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พวกอสูรที่เป็นบริวารของท้าวเวปจิตติ มีรูปร่างเหมือนกัน มีการ
เสพกามเหมือนกัน มีอาหารเหมือนกัน มีอายุเหมือนกันกับเทวดาทั้งหลาย และ
แต่งงานกับเทวดาทั้งหลายได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพวกอสูรที่เป็นบริวารท้าวเวปจิตติ มีรูปร่างเหมือนกัน มีการเสพ
กามเหมือนกัน มีอาหารเหมือนกัน มีอายุเหมือนกันกับเทวดาทั้งหลาย และแต่ง
งานกับเทวดาทั้งหลายได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “คติมี ๖”
สก. คติมี ๖ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พวกอสูรที่เป็นบริวารของท้าวเวปจิตติเป็นเทวดามาก่อนมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพวกอสูรที่เป็นบริวารของท้าวเวปจิตติเป็นเทวดามาก่อน ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “คติมี ๖”
[๕๐๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “คติมี ๖” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อสุรกายมีมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากอสุรกายมี ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “คติมี ๖”
ฉคติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๒. อันตราภวกถา (๗๔)
๒. อันตราภวกถา (๗๔)
ว่าด้วยอันตรภพ
[๕๐๕] สก. อันตรภพ๑(ภพที่อยู่ในระหว่างตายกับเกิด)มีอยู่ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. เป็นกามภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นรูปภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นอรูปภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพมีอยู่ในระหว่างกามภพกับรูปภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๙๑ หน้า ๕๑ ในเล่มนี้
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๐๕/๒๓๓)
๓ เพราะมีความเห็นว่า สัตว์หลังจากตายไป วิญญาณจะล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่(ช่วงนี้เองที่เรียกว่า อันตรภพ)
ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า สัตว์หลังจากตายไป วิญญาณก็ปฏิสนธิทันที (อภิ.ปญฺจ.อ.
๕๐๕/๒๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๒. อันตราภวกถา (๗๔)
สก. อันตรภพมีอยู่ในระหว่างรูปภพกับอรูปภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพไม่มีในระหว่างกามภพกับรูปภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอันตรภพไม่มีในระหว่างกามภพกับรูปภพ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ ว่า
“อันตรภพมีอยู่”
สก. อันตรภพไม่มีในระหว่างรูปภพกับอรูปภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอันตรภพไม่มีในระหว่างรูปภพกับอรูปภพ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ ว่า
“อันตรภพมีอยู่”
[๕๐๖] สก. อันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพนั้นจัดเป็นกำเนิดที่ ๕ เป็นคติที่ ๖ เป็นวิญญาณฐิติที่ ๘
เป็นสัตตาวาสที่ ๑๐ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพจัดเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด
เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงอันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๒. อันตราภวกถา (๗๔)
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงอันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพมีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพมีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๐๗] สก. กามภพมีอยู่ กามภพเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร
เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพมีอยู่ อันตรภพเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร
เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงกามภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงอันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงกามภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงอันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในกามภพ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๒. อันตราภวกถา (๗๔)
สก. อันตรภพมีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในกามภพ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพมีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปภพมีอยู่ รูปภพเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็น
กำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพมีอยู่ อันตรภพเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร
เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงรูปภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงอันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงรูปภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงอันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๒. อันตราภวกถา (๗๔)
สก. ในรูปภพ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพมีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปภพ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในอันตรภพ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปภพมีอยู่ อรูปภพเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร
เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพมีอยู่ อันตรภพเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร
เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงอรูปภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงอันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงอรูปภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๒. อันตราภวกถา (๗๔)
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงอันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอรูปภพ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในอันตรภพ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอรูปภพ มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในอันตรภพ มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๐๘] สก. อันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ทั้งปวงนั่นแหละมีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ทั้งปวงนั่นแหละไม่มีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากสัตว์ทั้งปวงนั่นแหละไม่มีอันตรภพ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อันตรภพ
มีอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๒. อันตราภวกถา (๗๔)
สก. อันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ทำอนันตริยกรรมมีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ทำอนันตริยกรรมไม่มีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ทำอนันตริยกรรมไม่มีอันตรภพ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“อันตรภพมีอยู่”
สก. บุคคลผู้ไม่ทำอนันตริยกรรมมีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ทำอนันตริยกรรมมีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ทำอนันตริยกรรมไม่มีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่ทำอนันตริยกรรมไม่มีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้าถึงนรก ฯลฯ ผู้เข้าถึงอสัญญสัตว์ ฯลฯ ผู้เข้าถึงอรูปภพ
มีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้าถึงอรูปภพไม่มีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้เข้าถึงอรูปภพไม่มีอันตรภพ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“อันตรภพมีอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๒. อันตราภวกถา (๗๔)
สก. บุคคลผู้ไม่เข้าถึงอรูปภพมีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้เข้าถึงอรูปภพมีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้าถึงอรูปภพไม่มีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่เข้าถึงอรูปภพไม่มีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๐๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อันตรภพมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อันตราปรินิพพายีบุคคลมีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากอันตราปรินิพพายีบุคคลมีอยู่ ท่านจึงควรยอมรับว่า “อันตรภพมี
อยู่”
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “อันตราปรินิพพายีบุคคลมีอยู่” จึงยอมรับว่า
“อันตรภพมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “อุปหัจจปรินิพพายีบุคคลมีอยู่” จึงยอมรับว่า
“อุปหัจจภพมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “อันตราปรินิพพายีบุคคลมีอยู่” จึงยอมรับว่า
“อันตรภพมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๓. กามคุณกถา (๗๕)
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “อสังขารปรินิพพายีบุคคลมีอยู่ ฯลฯ สสังขาร-
ปรินิพพายีบุคคลมีอยู่” จึงยอมรับว่า “สสังขารภพมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อันตราภวกถา จบ
๓. กามคุณกถา (๗๕)
ว่าด้วยกามคุณ
[๕๑๐] สก. กามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ความพอใจที่เกี่ยวกับกามคุณ ๕ นั้นมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากความพอใจที่เกี่ยวกับกามคุณ ๕ นั้นมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“กามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุ”
สก. ความกำหนัด ความพอใจ ความพอใจและความกำหนัดที่เกี่ยวกับ
กามคุณ ๕ นั้น ... ความดำริ ความกำหนัด ความดำริและความกำหนัดที่เกี่ยวกับ
กามคุณ ๕ นั้น ... ปีติ โสมนัส ปีติและโสมนัส ที่เกี่ยวกับกามคุณ ๕ นั้นมีอยู่
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากปีติและโสมนัสที่เกี่ยวกับกามคุณ ๕ นั้นมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “กามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุ”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๐/๒๓๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า วัตถุกามเท่านั้นจัดเป็นกามธาตุ กิเลสกามไม่จัดเป็นกามธาตุ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๐/
๒๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๓. กามคุณกถา (๗๕)
สก. กามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักษุของมนุษย์ไม่เป็นกามธาตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ มโนของมนุษย์
ไม่เป็นกามธาตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนของมนุษย์ไม่เป็นกามธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“กามคุณ ๕ อันมีใจเป็นที่ ๖ ซึ่งมีอยู่ในโลก
เราประกาศไว้ชัดเจนแล้ว
สัตว์โลกคลายความพอใจในกามคุณ ๕ นี้ได้
ย่อมพ้นจากทุกข์ได้ ด้วยวิธีดังกล่าวนี้” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “มโนของมนุษย์ไม่เป็นกามธาตุ”
[๕๑๑] สก. กามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามคุณเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด
เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๑๗๓/๕๓๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๓. กามคุณกถา (๗๕)
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงกามคุณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงกามคุณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในกามคุณ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในกามคุณ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามคุณเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในกามคุณ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
คู่พระอัครสาวกอุบัติขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามธาตุเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด
เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามคุณเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด
เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงกามธาตุมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงกามคุณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๓. กามคุณกถา (๗๕)
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงกามธาตุมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงกามคุณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในกามธาตุ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในกามคุณ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในกามธาตุ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในกามคุณ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามธาตุเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามคุณเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในกามธาตุ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
คู่พระอัครสาวกอุบัติขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๓. กามคุณกถา (๗๕)
สก. ในกามคุณ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
คู่พระอัครสาวกอุบัติขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๑๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “กามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๑ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด (๒) เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ (๓)
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ (๔) รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ (๕) โผฏฐัพพะที่
พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจ
ให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้”๒ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น กามคุณ ๕ เท่านั้นจึงเป็นกามธาตุ
กามคุณกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ กามคุณ แยกอธิบายว่า ที่ชื่อว่ากาม เพราะมีความหมายว่าเป็นสิ่งที่บุคคลพึงใคร่ ที่ชื่อว่าคุณ เพราะมี
ความหมายว่าผูกพันไว้ ร้อยรัดไว้ เหมือนคำว่า อนฺตํ อนฺตคุณํ (ไส้ใหญ่ ไส้เล็ก ที.ม. (แปล) ๑๐/๓๗๗/
๒๕๑, ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๑๐/๗๙, ขุ.ขุ. (แปล) ๒๕/๓/๒, และเหมือนคำว่า กยิรา มาลาคุเณ พหู
(ช่างดอกไม้พึงร้อยพวงมาลัยไว้เป็นจำนวนมาก (ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๕๓/๒๖, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๓/๑๔๘)
๒ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๖๗/๒๙๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๔. กามกถา (๗๖)
๔. กามกถา (๗๖)
ว่าด้วยกาม
[๕๑๓] สก. อายตนะ ๕ เท่านั้นเป็นกามใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ความพอใจที่เกี่ยวกับอายตนะ ๕ นั้นมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากความพอใจเกี่ยวกับอายตนะ ๕ นั้นมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “อายตนะ ๕ เท่านั้นเป็นกาม”
สก. ความกำหนัด ความพอใจ ความกำหนัดและความพอใจที่เกี่ยวกับอายตนะ
๕ นั้น ... ความดำริ ความกำหนัด ความดำริและความกำหนัดที่เกี่ยวกับอายตนะ
๕ นั้น ... ปีติ โสมนัส ปีติและโสมนัสที่เกี่ยวกับอายตนะ ๕ นั้น มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากปีติและโสมนัสที่เกี่ยวกับอายตนะ ๕ นั้นมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอม
รับว่า “อายตนะ ๕ เท่านั้นเป็นกาม”
[๕๑๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อายตนะ ๕ เท่านั้นเป็นกาม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้
๕ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ (๕) โผฏฐัพพะที่พึงรู้
แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้”๓ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๓/๒๓๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า อายตนะ ๕ มีรูปายตนะ เป็นต้น ยกเว้นธัมมายตนะ ชื่อว่ากาม กิเลสกามไม่ชื่อว่า
กาม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๓/๒๓๖)
๓ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๖๗/๒๙๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๔. กามกถา (๗๖)
ปร. ดังนั้น อายตนะ ๕ เท่านั้นจึงเป็นกาม
สก. อายตนะ ๕ เท่านั้นเป็นกามใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ (๑) รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ (๕) โผฏฐัพพะ
ที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจ
ให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย แต่สิ่งเหล่านี้
ไม่เรียกว่ากาม สิ่งเหล่านี้เรียกว่ากามคุณ ในอริยวินัย
(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า)
สังกัปปราคะของบุรุษ ชื่อว่ากาม๑
อารมณ์ที่วิจิตรทั้งหลายในโลกไม่ชื่อว่ากาม
สังกัปปราคะของบุรุษ ชื่อว่ากาม
อารมณ์ที่วิจิตรทั้งหลายในโลก
ตั้งอยู่ตามสภาพของตนเท่านั้น
แต่ธีรชนทั้งหลาย ย่อมกำจัดความพอใจ
ในอารมณ์ที่วิจิตรเหล่านั้น” ๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “อายตนะ ๕ เท่านั้นเป็นกาม”
กามกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ กาม หมายถึงความกำหนัดด้วยอำนาจความดำริในวัตถุมีรูปร่างที่งดงาม เป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๓/
๑๔๘, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๖๓/๗๐) และเป็นชื่อเรียกกิเลสกามอีกชื่อหนึ่งในจำนวนชื่อเรียกกาม ๑๘ ชื่อ (ดูเทียบ
ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑/๒, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘/๖๖-๖๗)
๒ ดูเทียบ องฺ. ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๖๓/๕๗๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๕. รูปธาตุกถา (๗๗)
๕. รูปธาตุกถา (๗๗)
ว่าด้วยรูปธาตุ
[๕๑๕] สก. สภาวธรรมที่เป็นรูปเป็นรูปธาตุใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. รูปเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็น
วิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงรูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงรูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูป มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูป มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปธาตุเป็นภพ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นภพ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๕/๒๓๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า รูป ๒๘ เท่านั้น ชื่อว่ารูปธาตุ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า รูป ๒๘ เป็น
กามธาตุ ไม่ใช่รูปธาตุ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๕-๕๑๖/๒๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๕. รูปธาตุกถา (๗๗)
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงรูปธาตุมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงรูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงรูปธาตุมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงรูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูป มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูป มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปธาตุเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๖. อรูปธาตุกถา (๗๘)
[๕๑๖] สก. สภาวธรรมที่เป็นรูป เป็นรูปธาตุ ในกามธาตุ มีรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามธาตุกับรูปธาตุเป็นอันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามธาตุกับรูปธาตุเป็นอันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ประกอบด้วยกามภพ๑ ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยภพ ๒ คือ
กามภพและรูปภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
รูปธาตุกถา จบ
๖. อรูปธาตุกถา (๗๘)
ว่าด้วยอรูปธาตุ
[๕๑๗] สก. สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นอรูปธาตุใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. เวทนาเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็น
วิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงเวทนามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ประกอบด้วยกามภพ หมายถึงผู้เข้าถึงกามภพ
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๗-๕๑๘/๒๓๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า นามธรรมทั้งหมด ชื่อว่าอรูปธาตุ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า นามขันธ์
บางส่วนเท่านั้นเป็นอรูปธาตุ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๗-๕๑๘/๒๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๖. อรูปธาตุกถา (๗๘)
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงเวทนามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในเวทนา มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในเวทนา มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนาเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปธาตุเป็นภพ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาเป็นภพ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงอรูปธาตุมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงเวทนามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงอรูปธาตุมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงเวทนามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๖. อรูปธาตุกถา (๗๘)
สก. ในอรูปธาตุ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในเวทนา มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอรูปธาตุ มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในเวทนา มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปธาตุเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๑๘] สก. สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นอรูปธาตุ ในกามธาตุมีเวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามธาตุกับอรูปธาตุเป็นอันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามธาตุกับอรูปธาตุเป็นอันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๖. อรูปธาตุกถา (๗๘)
สก. บุคคลผู้ประกอบด้วยกามภพ ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยภพ ๒ คือ
กามภพและอรูปภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นรูปเป็นรูปธาตุ สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นอรูปธาตุ ใน
กามธาตุ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามธาตุ รูปธาตุ และอรูปธาตุเป็นอันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามธาตุ รูปธาตุ และอรูปธาตุเป็นอันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ประกอบด้วยกามภพ ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยภพ ๓ คือ
กามภพ รูปภพ และอรูปภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อรูปธาตุกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)
๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)
ว่าด้วยอายตนะในรูปธาตุ
[๕๑๙] สก. อัตภาพประกอบด้วยอายตนะ ๖ มีอยู่ในรูปธาตุใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีคันธายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีรสายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีคันธายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีฆานายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๙/๒๓๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า รูปพรหมมีอายตนะครบทั้ง ๖ มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาที
ที่เห็นว่า รูปพรหมมีอายตนะเพียง ๓ เท่านั้น คือ (๑) จักขายตนะ (๒) โสตายตนะ (๓) มนายตนะ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๙/๒๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)
สก. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีรสายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีชิวหายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีกายายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๒๐] สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะและรูปายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะและรูปายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะและรสายตนะ ฯลฯ มีกายายตนะและ
โผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะและสัททายตนะ ฯลฯ มีมนายตนะและ
ธัมมายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีมนายตนะและธัมมายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)
สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะและรสายตนะ ฯลฯ มีกายายตนะและ
โผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ แต่ไม่มีคันธายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ แต่ไม่มีรูปายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ แต่ไม่มีคันธายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ แต่ไม่มีสัททายตนะ ฯลฯ มีมนายตนะ
แต่ไม่มีธัมมายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ แต่ไม่มีรสายตนะ ฯลฯ มีกายายตนะ
แต่ไม่มีโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ แต่ไม่มีรูปายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ แต่ไม่มีโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ แต่ไม่มีสัททายตนะ ฯลฯ มีมนายตนะ
แต่ไม่มีธัมมายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๒๑] สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะและรูปายตนะ บุคคลเห็นรูปนั้นทาง
ตาใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะ บุคคลดมกลิ่นนั้นทางจมูก
นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะและรูปายตนะ บุคคลเห็นรูปนั้นทางตาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะและรสายตนะ บุคคลลิ้มรสนั้นทางลิ้น ฯลฯ
มีกายายตนะและโผฏฐัพพายตนะ บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นทางกายใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะและสัททายตนะ ฯลฯ มีมนายตนะและ
ธัมมายตนะ บุคคลรู้ธรรมารมณ์นั้นทางใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะ บุคคลดมกลิ่นนั้นทางจมูก
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีมนายตนะและธัมมายตนะ บุคคลรู้ธรรมารมณ์นั้นทางใจ
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะและรสายตนะ ฯลฯ มีกายายตนะและ
โผฏฐัพพายตนะ บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นทางกายใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะ แต่บุคคลไม่ได้ดมกลิ่นนั้น
ทางจมูกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะและรูปายตนะ แต่บุคคลไม่เห็นรูปนั้นทางตา
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะ แต่บุคคลไม่ได้ดมกลิ่นนั้น
ทางจมูกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะและสัททายตนะ ฯลฯ มีมนายตนะและ
ธัมมายตนะ แต่บุคคลไม่รู้ธรรมารมณ์นั้นทางใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะและรสายตนะ ฯลฯ มีกายายตนะและ
โผฏฐัพพายตนะ แต่บุคคลไม่ถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นทางกายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะและรูปายตนะ แต่บุคคลไม่เห็นรูปนั้นทางตา
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะและโผฏฐัพพายตนะ แต่บุคคลไม่ถูกต้อง
โผฏฐัพพะนั้นทางกายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะและสัททายตนะ ฯลฯ มีมนายตนะและ
ธัมมายตนะ แต่บุคคลไม่รู้ธรรมารมณ์นั้นทางใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๒๒] สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะ บุคคลดมกลิ่นนั้น
ทางจมูกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีกลิ่นที่เกิดจากราก เกิดจากแก่น เกิดจากเปลือก
เกิดจากใบ เกิดจากดอก เกิดจากผล มีกลิ่นคาว กลิ่นฉุน กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)
สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะและรสายตนะ บุคคลลิ้มรสนั้นทางลิ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีรสที่เกิดจากราก เกิดจากลำต้น เกิดจากเปลือก เกิด
จากใบ เกิดจากดอก เกิดจากผล มีรสเปรี้ยว รสหวาน รสขม รสเผ็ด รสเค็ม
รสพร่า รสหวานอมเปรี้ยว รสฝาด รสกลมกล่อม รสไม่กลมกล่อมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะและโผฏฐัพพายตนะ บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะ
นั้นได้ด้วยกายนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีสัมผัสที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ สบาย ไม่สบาย
หนัก เบาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๒๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อัตภาพที่ประกอบด้วยอายตนะ ๖ มีอยู่ใน
รูปธาตุนั้น” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ในรูปธาตุนั้น มีฆานนิมิต ชิวหานิมิต และกายนิมิตมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากในรูปธาตุนั้น มีฆานนิมิต ชิวหานิมิต และกายนิมิต ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “อัตภาพที่ประกอบด้วยอายตนะ ๖ มีอยู่ในรูปธาตุ”
รูปธาตุยาอายตนกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๘. อรูเปรูปกถา (๘๐)
๘. อรูเปรูปกถา (๘๐)
ว่าด้วยรูปในอรูป
[๕๒๔] สก. ในอรูปภพ รูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. อรูปภพนั้นเป็นรูปภพที่มีรูป เป็นคติที่มีรูป เป็นสัตตาวาสที่มีรูป
เป็นสงสารที่มีรูป เป็นกำเนิดที่มีรูป เป็นการได้อัตภาพที่มีรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปภพนั้นเป็นภพที่ไม่มีรูป เป็นคติที่ไม่มีรูป เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีรูป
เป็นสงสารที่ไม่มีรูป เป็นกำเนิดที่ไม่มีรูป เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีรูปมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอรูปภพนั้นเป็นภพที่ไม่มีรูป ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีรูป ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “ในอรูปภพ รูปมีอยู่”
สก. ในอรูปภพ รูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรูปภพนั้นเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ... เป็นสงสาร
เป็นกำเนิด ... เป็นวิญญาณฐิติ ... เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปภพนั้นเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๔
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอรูปภพนั้นเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพ
ที่มีขันธ์ ๔ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ในอรูปภพ รูปมีอยู่”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๒๘/๒๓๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ในอรูปภพก็มีรูป แต่เป็นรูปที่ละเอียด ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ไม่มี
รูป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๒๔/๒๓๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๘. อรูเปรูปกถา (๘๐)
[๕๒๕] สก. ในรูปธาตุ รูปมีอยู่ และรูปธาตุนั้นเป็นภพที่มีรูป เป็นคติที่มีรูป
เป็นสัตตาวาสที่มีรูป เป็นสงสารที่มีรูป เป็นกำเนิดที่มีรูป เป็นการได้อัตภาพ
ที่มีรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในอรูปภพ รูปมีอยู่ และอรูปภพนั้นเป็นภพที่มีรูป เป็นคติ ฯลฯ
เป็นการได้อัตภาพที่มีรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุ รูปมีอยู่ และรูปธาตุนั้นเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ เป็นคติ ฯลฯ
เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในอรูปภพ รูปมีอยู่ และอรูปภพนั้นเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ เป็นคติ ฯลฯ
เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอรูปภพ รูปมีอยู่ และภพนั้นเป็นภพที่ไม่มีอรูป เป็นคติที่ไม่มีรูป
เป็นสัตตวาสที่ไม่มีรูป เป็นสงสารที่ไม่มีรูป เป็นกำเนิดที่ไม่มีรูป เป็นการได้
อัตภาพที่ไม่มีรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในอรูปธาตุ รูปมีอยู่ และอรูปธาตุนั้นเป็นภพที่ไม่มีรูป เป็นคติที่
ไม่มีรูป ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอรูปภพ รูปมีอยู่ และอรูปภพนั้นเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ เป็นคติ ฯลฯ
เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในอรูปธาตุ รูปมีอยู่ และอรูปธาตุนั้นเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ เป็น
คติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
[๕๒๖] สก. ในอรูปภพ รูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การสลัดออกจากรูป พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นอรูปมิใช่หรือ”
ปร. ใช่
สก. หากการสลัดออกจากรูป พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นอรูป” ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “ในอรูปภพ รูปยังมีอยู่”
สก. การสลัดออกจากรูป พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นอรูป” โดย
มีพระประสงค์ว่า “ในอรูปภพ รูปยังมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การสลัดออกจากกาม พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นเนกขัมมะ”
โดยมีพระประสงค์ว่า “กามยังมีอยู่ในเนกขัมมะ อาสวะยังมีอยู่ในอนาสาวะ โลกิยธรรม
ยังมีอยู่ ในโลกุตตรธรรม” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อรูเปรูปกถา จบ
๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
ว่าด้วยรูปเป็นกรรม
[๕๒๗] สก. รูปที่เป็นกายกรรม๑ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. รูปที่เป็นกายกรรม เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มี
ความผูกใจ มีความสนใจ มีความใฝ่ใจ มีความจงใจ มีความปรารถนา มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ รูปที่เป็นกายกรรม ในที่นี้หมายถึงกายวิญญัติรูป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๒๗-๕๓๗/๒๓๘)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหิสาสกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๒๗/๒๓๘)
๓ เพราะมีความเห็นว่า รูปที่เป็นกายกรรม (กายวิญญัติ) และรูปที่เป็นวจีกรรม (วจีวิญญัติรูป) ที่เกิดจาก
กุศลจิต เป็นกุศลกรรม ส่วนรูปที่เกิดจากอกุศลจิต จัดเป็นอกุศลกรรม ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่
เห็นว่า เจตนาเท่านั้นจัดเป็นกรรม รูปไม่จัดเป็นกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๒๗/๒๓๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เป็นกายกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ไม่มีความผูกใจ ไม่มีความสนใจ ไม่มีความใฝ่ใจ ไม่มีความจงใจ ไม่มีความปรารถนา
ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปที่เป็นกายกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วย
จิตที่เป็นกุศลเป็นกุศล”
สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง
ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ... เจตนา ... สัทธา ... วิริยะ ... สติ ... สมาธิ
ฯลฯ ปัญญา ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง
ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นกายกรรมเกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๗ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น