Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๗-๑๐ หน้า ๕๖๘ - ๖๓๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗-๑๐ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ



พระอภิธรรมปิฎก
กถาวัตถุ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ... เจตนา ... สัทธา ... วิริยะ ... สติ ... สมาธิ
ฯลฯ ปัญญาที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๒๘] สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศลทั้งหมดนั้น เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่เกิดขึ้นด้วย
จิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่เกิดขึ้นด้วย
จิตที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๒๙] สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่เกิดขึ้นด้วย
จิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอัพยากฤต
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น
อัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่เกิดขึ้นด้วย
จิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น
อัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๓๐] สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลที่วิปปยุต
จากผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลที่วิปปยุตจาก
ผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่เกิดขึ้นด้วย
จิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุตจาก
ผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๗๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุต
จากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่เกิดขึ้นด้วย
จิตที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุต
จากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๓๑] สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
เป็นกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นกุศลที่วิปปยุต
จากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นกุศล
ที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่เกิดขึ้นด้วย
จิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอัพยากฤต
ที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๗๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น
อัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่เกิดขึ้นด้วย
จิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น
อัพยากฤต ที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๓๒] สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ
ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปที่เป็นวจีกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความ
นึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วย
จิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล”
สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๗๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ
สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ
ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๗๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล ทั้งหมดนั้นเป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พึงอธิบายรูปที่เป็นวจีกรรมให้พิสดารเหมือนรูปที่เป็นกายกรรม
[๕๓๓] สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นกายกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความ
ผูกใจ มีความสนใจ มีความใฝ่ใจ มีความจงใจ มีความปรารถนา มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นกายกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ไม่มีความผูกใจ ไม่มีความสนใจ ไม่มีความใฝ่ใจ ไม่มีความจงใจ ไม่มีความปรารถนา
ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปที่เป็นกายกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ไม่มีความผูกใจ ไม่มีความสนใจ ไม่มีความใฝ่ใจ ไม่มีความจงใจ ไม่มีความปรารถนา
ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็น
อกุศล เป็นอกุศล”
สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความ
นึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ
โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ ถีนะ ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ
อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๗๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ
ฯลฯ มานะฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ ถีนะ ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ อหิริกะ
ฯลฯ อโนตตัปปะ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล ทั้งหมดนั้นเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๓๔] สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๗๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ
ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากรูปที่เป็นวจีกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้น
ด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล”
สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความ
นึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ
ฯลฯ มานะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ ถีนะ ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ อหิริกะ
ฯลฯ อโนตตัปปะ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มี
ความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๗๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ
ฯลฯ มานะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ ถีนะ ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ อหิริกะ
ฯลฯ อโนตตัปปะ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่
มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล ทั้งหมดนั้นเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๓๕] สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อสุจิ ฯลฯ
น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๗๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อสุจิ ฯลฯ
น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๓๖] สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอกุศล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น
อกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อสุจิ ฯลฯ
น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอัพยากฤต
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๗๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น
อัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อสุจิ
ฯลฯ น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็น
อัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๓๗] สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลที่วิปปยุต
จากผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะใช่
ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลที่วิปปยุตจาก
ผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อสุจิ ฯลฯ
น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลที่วิปปยุต
จากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุตจาก
ผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๗๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น
อัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อสุจิ ฯลฯ
น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น
อัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น
อกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอกุศล
ที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น
อกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อสุจิ
ฯลฯ น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
เป็นอกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอัพยากฤต
ที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๘๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น
อัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อสุจิ
ฯลฯ น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น
อัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๓๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กายกรรม วจีกรรม เป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากกายกรรม วจีกรรม เป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “รูปเป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้”
สก. รูปเป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะเป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ
รูปายตนะ ฯลฯ สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ
ฯลฯ อสุจิ ฯลฯ น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ เป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๘๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. กายเป็นรูป กายกรรมก็เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มโนเป็นรูป มโนกรรมก็เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนเป็นนาม มโนกรรมก็เป็นนามใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายเป็นนาม กายกรรมก็เป็นนามใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายเป็นรูป แต่กายกรรมเป็นนามใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มโนเป็นรูป แต่มโนกรรมเป็นนามใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนเป็นนาม มโนกรรมก็เป็นนามใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายเป็นนาม กายกรรมก็เป็นนามใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายเป็นรูป เพราะเหตุนั้น กายกรรมจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะเป็นรูป เพราะเหตุนั้น จักขุวิญญาณจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายเป็นรูป เพราะเหตุนั้น กายกรรมจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสตายตนะเป็นรูป เพราะเหตุนั้น โสตวิญญาณจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๘๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. กายเป็นรูป เพราะเหตุนั้น กายกรรมจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ฆานายตนะเป็นรูป เพราะเหตุนั้น ฆานวิญญาณจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายเป็นรูป เพราะเหตุนั้น กายกรรมจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชิวหายตนะเป็นรูป เพราะเหตุนั้น ชิวหาวิญญาณจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายเป็นรูป เพราะเหตุนั้น กายกรรมจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายายตนะเป็นรูป เพราะเหตุนั้น กายวิญญาณจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๓๙] สก. รูปเป็นกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่า
เป็นตัวกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรม ด้วยกาย วาจา ใจ”๑ มีอยู่จริง มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นกรรม”
สก. รูปเป็นกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๖๓/๕๗๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๘๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ เมื่อกายมีอยู่ สุขและ
ทุกข์อันเป็นภายในจึงเกิดขึ้น เพราะกายสัญเจตนา(ความจงใจทางกาย) เป็น
เหตุ หรือว่าเมื่อวาจามีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในจึงเกิดขึ้น เพราะ
วจีสัญเจตนา(ความจงใจทางวาจา) เป็นเหตุ หรือว่า เมื่อใจมีอยู่ สุขและทุกข์อัน
เป็นภายใน จึงเกิดขึ้น เพราะมโนสัญเจตนา(ความจงใจทางใจ) เป็นเหตุ”๑ มีอยู่
จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นกรรม”
สก. รูปเป็นกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กายสัญเจตนา ๓
อย่าง เป็นกายกรรมฝ่ายอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก วจีสัญเจตนา ๔
อย่าง เป็นวจีกรรมฝ่ายอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก มโนสัญเจตนา ๓
อย่าง เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ภิกษุทั้งหลาย
กายสัญเจตนา ๓ อย่าง เป็นกายกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก
วจีสัญเจตนา ๔ อย่าง เป็นวจีกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก
มโนสัญเจตนา ๓ อย่าง เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นกรรม”
สก. รูปเป็นกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒๕/๕๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๘๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๑๐. ชีวิตินทริยกถา (๘๒)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ ถ้าโมฆบุรุษนามว่า
สมิทธินี้ ถูกปาตลีบุตรปริพาชกถามอย่างนี้ จะพึงตอบอย่างนี้ว่า ท่านปาตลีบุตร
บุคคลทำกรรมที่ประกอบด้วยความจงใจทางกาย ทางวาจา และทางใจ อันให้ผล
เป็นสุข ย่อมเสวยสุข บุคคลทำกรรมที่ประกอบด้วยความจงใจทางกาย ทางวาจา
และทางใจ อันให้ผลเป็นทุกข์ ย่อมเสวยทุกข์ บุคคลทำกรรมที่ประกอบด้วยความ
จงใจทางกาย ทางวาจา และทางใจ อันให้ผลเป็นอทุกขมสุข ย่อมเสวยผลเป็น
อทุกขมสุข อานนท์ โมฆบุรุษนามว่าสมิทธิเมื่อตอบอย่างนี้ ชื่อว่าตอบโดยชอบแก่
ปาตลีบุตรปริพาชก”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นกรรม”
รูปังกัมมันติกถา จบ
๑๐. ชีวิตินทริยกถา (๘๒)
ว่าด้วยชีวิตินทรีย์
[๕๔๐] สก. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปไม่มีใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่เป็นไป อาการที่สืบต่อ
ความเป็นอยู่ ความหล่อเลี้ยง ไม่มีแก่สภาวธรรมที่มีรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๓๐๐/๓๕๙-๓๖๐
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๔๐/๒๓๙)
๓เพราะมีความเห็นว่า ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปไม่มี มีแต่ที่เป็นนามเท่านั้น ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่
เห็นว่า ชีวิตินทรีย์มีทั้งที่เป็นนามและรูป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๔๐/๒๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๘๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๑๐. ชีวิตินทริยกถา (๘๒)
สก. อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่เป็นไป อาการที่สืบต่อ
ความเป็นอยู่ ความหล่อเลี้ยง มีอยู่แก่สภาวธรรมที่มีรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่เป็นไป อาการที่สืบต่อ
ความเป็นอยู่ ความหล่อเลี้ยง มีอยู่แก่สภาวธรรมที่มีรูป ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปไม่มี”
สก. อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่เป็นไป อาการที่สืบต่อ
ความเป็นอยู่ ความหล่อเลี้ยง มีอยู่แก่สภาวธรรมที่ไม่มีรูป ชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็นรูป
จึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่เป็นไป อาการที่สืบต่อ
ความเป็นอยู่ ความหล่อเลี้ยงมีอยู่แก่สภาวธรรมที่มีรูป ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปจึงมีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่เป็นไป อาการที่สืบต่อ
ความเป็นอยู่ ความหล่อเลี้ยงมีอยู่แก่สภาวธรรมที่มีรูป แต่ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปไม่มี
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่เป็นไป อาการที่สืบต่อ
ความเป็นอยู่ ความหล่อเลี้ยง มีอยู่แก่สภาวธรรมที่ไม่มีรูป แต่ชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็น
รูปไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อายุของสภาวธรรมที่ไม่มีรูป เป็นชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อายุของสภาวธรรมที่มีรูป เป็นชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๘๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๑๐. ชีวิตินทริยกถา (๘๒)
สก. อายุของสภาวธรรมที่มีรูป ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูป”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อายุของสภาวธรรมที่ไม่มีรูป ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นชีวิตินทรีย์ที่ไม่
เป็นรูป” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๔๑] สก. อายุของสภาวธรรมที่มีรูป เป็นชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อายุของสภาวธรรมที่ไม่มีรูป เป็นชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อายุของสภาวธรรมที่ไม่มีรูป ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นชีวิตินทรีย์ที่เป็น
รูป” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อายุของสภาวธรรมที่มีรูป ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็น
รูป” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อายุของสภาวธรรมทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป เป็นชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อายุของสภาวธรรมทั้งที่เป็นรูปและไม่เป็นรูป เป็นชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อายุของสภาวธรรมทั้งที่เป็นรูปและไม่เป็นรูป ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็น
ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูป” ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๘๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๑๐. ชีวิตินทริยกถา (๘๒)
สก. อายุของสภาวธรรมทั้งที่เป็นรูปและไม่เป็นรูป ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็น
ชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็นรูป” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติไม่มีชีวิตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๔๒] สก. บุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติมีชีวิตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติมีชีวิตินทรีย์อยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปไม่มี”
สก. บุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติมีชีวิตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชีวิตินทรีย์นั้นนับเนื่องในขันธ์ไหน
ปร. นับเนื่องในสังขารขันธ์
สก. บุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติมีสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติมีสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติมีเวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณ-
ขันธ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติมีเวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณ-
ขันธ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่เข้านิโรธสมาบัติมีเวทนาขันธ์ ฯลฯ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๘๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๑๐. ชีวิตินทริยกถา (๘๒)
[๕๔๓] สก. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อสัญญสัตว์ไม่มีชีวิตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อสัญญสัตว์มีชีวิตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอสัญญสัตว์มีชีวิตินทรีย์ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ชีวิตินทรีย์ที่
เป็นรูปไม่มี”
สก. อสัญญสัตว์มีชีวิตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชีวิตินทรีย์นับเนื่องในขันธ์ไหน
ปร. นับเนื่องในสังขารขันธ์
สก. อสัญญสัตว์มีสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อสัญญสัตว์มีสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อสัญญสัตว์มีเวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อสัญญสัตว์มีเวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ภพแห่งอสัญญสัตว์เป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๔๔] สก. เมื่อปฏิสนธิจิตดับไป ชีวิตินทรีย์ที่เกิดขึ้นด้วยปฏิสนธิจิต ย่อม
แตกดับไปส่วนหนึ่งใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๘๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๑๑. กัมมเหตุกถา (๘๓)
สก. เมื่อปฏิสนธิจิตดับ ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยปฏิสนธิจิต ย่อมแตกดับไปส่วน
หนึ่งไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อปฏิสนธิจิตดับไป ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยปฏิสนธิจิตย่อมแตกดับไปทั้งหมด
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อปฏิสนธิจิตดับไป ชีวิตินทรีย์ที่เกิดด้วยปฏิสนธิจิต ย่อมแตกดับไป
ทั้งหมดใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๔๕] ปร. ชีวิตินทรีย์มี ๒ อย่างใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลมีชีวิตอยู่ด้วยชีวิตินทรีย์ ๒ อย่าง ตายด้วยความตาย ๒
อย่างใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ชีวิตินทริยกถา จบ
๑๑. กัมมเหตุกถา (๘๓)
ว่าด้วยเหตุแห่งกรรม
[๕๔๖] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล เพราะเหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผล เพราะเหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๔๖/๒๔๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ผู้ที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว เสื่อมจากความเป็นพระอรหันต์ได้ เพราะกรรมที่ตน
เคยกล่าวตู่พระอรหันต์ในภพก่อน ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า พระอริยบุคคลตั้งแต่พระ
โสดาบันจนถึงพระอรหันต์ จะไม่เสื่อมจากคุณวิเศษที่ตนบรรลุแล้วไม่ว่าเพราะกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
๕๔๖/๒๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๙๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๑๑. กัมมเหตุกถา (๘๓)
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล เพราะเหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามี ฯลฯ พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผล เพราะ
เหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล เพราะเหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่เสื่อมจากอรหัตตผล เพราะเหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามี ฯลฯ พระอนาคามี ไม่เสื่อมจากอนาคามิผล เพราะ
เหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่เสื่อมจากอรหัตตผล เพราะเหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล เพราะเหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะเหตุแห่งกรรมคือการฆ่าสัตว์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะเหตุแห่งกรรมคือการลักทรัพย์ ฯลฯ เพราะเหตุแห่งกรรมคือ
การประพฤติผิดในกาม ฯลฯ เพราะเหตุแห่งกรรมคือการพูดเท็จ ฯลฯ เพราะ
เหตุแห่งกรรมคือการพูดส่อเสียด ฯลฯ เพราะเหตุแห่งกรรมคือการพูดคำหยาบ
ฯลฯ เพราะเหตุแห่งกรรมคือการพูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ เพราะเหตุแห่งกรรมคือการฆ่า
มารดา ฯลฯ เพราะเหตุแห่งกรรมคือการฆ่าบิดา ฯลฯ เพราะเหตุแห่งกรรมคือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๙๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
การฆ่าพระอรหันต์ ฯลฯ เพราะเหตุแห่งกรรมคือการทำร้ายพระพุทธเจ้าจนพระโลหิตห้อ
ฯลฯ เพราะเหตุแห่งกรรมคือการทำลายสงฆ์ให้แตกกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล เพราะเหตุแห่งกรรมอะไร
ปร. เพราะการกล่าวตู่พระอรหันต์ทั้งหลาย
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล เพราะเหตุแห่งกรรมคือการกล่าวตู่
พระอรหันต์ทั้งหลายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คนทุกคนที่กล่าวตู่พระอรหันต์ทั้งหลายทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
กัมมเหตุกถา จบ
อัฏฐมวรรค จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ฉคติกถา ๒. อันตราภวกถา
๓. กามคุณกถา ๔. กามกถา
๕. รูปธาตุกถา ๖. อรูปธาตุกถา
๗. รูปธาตุยาอายตนกถา ๘. อรูเปรูปกถา
๙. รูปังกัมมันติกถา ๑๐. ชีวิตินทริยกถา
๑๑. กัมมเหตุกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๙๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๑. อานิสังสทัสสาวีกถา (๘๔)
๙. นวมวรรค
๑. อานิสังสทัสสาวีกถา (๘๔)
ว่าด้วยผู้เห็นอานิสงส์(ในนิพพาน)
[๕๔๗] สก. บุคคลผู้เห็นอานิสงส์(ในนิพพาน) ละสังโยชน์ได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลผู้มนสิการสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยง ละสังโยชน์ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้มนสิการสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยง ละสังโยชน์ได้
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้เห็นอานิสงส์(ในนิพพาน) ละสังโยชน์ได้”
สก. บุคคลผู้มนสิการสังขารโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยความเป็นโรค ฯลฯ
โดยความเป็นฝี ฯลฯ โดยความเป็นของเสียดแทง ฯลฯ โดยความเป็นของลำเค็ญ
ฯลฯ โดยความเป็นอาพาธ ฯลฯ โดยความเป็นดังสิ่งอื่น ฯลฯ โดยความเป็น
ของเสื่อม ฯลฯ โดยความเป็นเสนียด ฯลฯ โดยความเป็นเครื่องเบียดเบียน ฯลฯ
โดยความเป็นภัย ฯลฯ โดยความเป็นอุปสรรค ฯลฯ โดยความเป็นของหวั่นไหว
ฯลฯ โดยความเป็นของเปื่อยพัง ฯลฯ โดยความเป็นของไม่ยั่งยืน ฯลฯ โดย
ความไม่เป็นที่ต้านทาน ฯลฯ โดยความไม่เป็นที่เร้น ฯลฯ โดยความไม่เป็นที่พึ่ง
ฯลฯ โดยความไม่เป็นที่อาศัย ฯลฯ โดยความเป็นของว่าง ฯลฯ โดยความเป็น
ของเปล่า ฯลฯ โดยความเป็นของสูญ ฯลฯ โดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ
โดยความเป็นโทษ ฯลฯ โดยความเป็นสภาวะมีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
ละสังโยชน์ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๔๗/๒๔๑-๒๔๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เพียงแต่เห็นอานิสงส์ในนิพพานก็สามารถละสังโยชน์ได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของ
สกวาทีที่เห็นว่า การละสังโยชน์ได้ จะต้องพิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นไตรลักษณ์และพิจารณาเห็น
อานิสงส์ในนิพพานจึงละสังโยชน์ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๔๗/๒๔๑-๒๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๙๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๑. อานิสังสทัสสาวีกถา (๘๔)
สก. หากบุคคลผู้มนสิการสังขารโดยความเป็นสภาวะมีความแปรผันไปเป็น
ธรรมดา ละสังโยชน์ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ผู้เห็นอานิสงส์(ในนิพพาน)ละ
สังโยชน์ได้”
สก. บุคคลมนสิการสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยง และเห็นอานิสงส์ใน
นิพพานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลมนสิการสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยง และเห็นอานิสงส์ใน
นิพพานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลมนสิการสังขารโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยความเป็นโรค ฯลฯ
โดยความเป็นสภาวะมีความแปรผันไปเป็นธรรมดา และเห็นอานิสงส์ในนิพพานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลมนสิการสังขารโดยความเป็นสภาวะมีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
และเห็นอานิสงส์ในนิพพานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๔๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ผู้เห็นอานิสงส์(ในนิพพาน) ละสังโยชน์ได้”
ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๙๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๒. อมตารัมมณกถา (๘๕)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นว่าเป็นสุข หมายรู้ว่าเป็นสุข รู้สึกว่าเป็นสุข มีใจน้อมไปเนือง ๆ
สม่ำเสมอ ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ในนิพพานอยู่”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้เห็นอานิสงส์(ในนิพพาน)จึงละสังโยชน์ได้
อานิสังสทัสสาวีกถา จบ
๒. อมตารัมมณกถา (๘๕)
ว่าด้วยสภาวธรรมมีอมตะ(นิพพาน)เป็นอารมณ์
[๕๔๙] สก. สังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. อมตะเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของ
โอฆะ เป็นอารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อมตะไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ ฯลฯ ไม่เป็น
อารมณ์ของสังกิเลสมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๑๙/๒๘
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๔๙/๒๔๓)
๓ เพราะมีความเห็นว่าสังโยชน์สามารถรับอมตะเป็นอารมณ์ได้ โดยยึดตามพระสูตรที่ว่า ‘นิพฺพานํ
เมติ มญฺ�ติ’ เป็นต้น (ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๖/๙) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อมตะ
ไม่สามารถเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๔๙/๒๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๙๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๒. อมตารัมมณกถา (๘๕)
สก. หากอมตะไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์”
สก. ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อมตะเป็นที่ตั้งแห่งราคะ เป็นเหตุแห่งความกำหนัด เป็นเหตุแห่งความ
ใคร่ เป็นเหตุแห่งความมัวเมา เป็นเหตุแห่งความผูกพัน เป็นเหตุแห่งความหลงใหลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ไม่เป็นเหตุแห่งความกำหนัด ไม่เป็นเหตุ
แห่งความใคร่ ไม่เป็นเหตุแห่งความมัวเมา ไม่เป็นเหตุแห่งความผูกพัน ไม่เป็น
เหตุแห่งความหลงใหลมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ไม่เป็นเหตุแห่งความกำหนัด ไม่เป็น
เหตุแห่งความใคร่ ไม่เป็นเหตุแห่งความมัวเมา ไม่เป็นเหตุแห่งความผูกพัน ไม่เป็น
เหตุแห่งความหลงใหล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้น”
สก. โทสะปรารภอมตะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อมตะเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ เป็นที่ตั้งแห่งความ
กระทบกระทั่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่เป็นที่ตั้งแห่ง
ความกระทบกระทั่งมิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๙๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๒. อมตารัมมณกถา (๘๕)
สก. หากอมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่เป็นที่
ตั้งแห่งความกระทบกระทั่ง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “โทสะปรารภอมตะเกิดขึ้น”
สก. โมหะปรารภอมตะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อมตะเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ทำความไม่รู้ ทำความไม่เห็น เป็นเหตุแห่ง
ความดับสนิทแห่งปัญญา เป็นไปในฝ่ายทำลายปัญญา ไม่เป็นไปเพื่อความดับ
กิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ มิใช่ทำความไม่รู้ มิใช่ทำความไม่เห็น เกื้อกูลแก่
ความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นไปในฝ่ายทำลายปัญญา เป็นไปเพื่อความดับกิเลสมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ มิใช่ทำความไม่รู้ ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
ความดับกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “โมหะปรารภอมตะเกิดขึ้น”
[๕๕๐] สก. สังโยชน์ปรารภรูปเกิดขึ้น รูปเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็น
อารมณ์ของคันถะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังโยชน์ปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์
ของคันถะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะปรารภรูปเกิดขึ้น รูปเป็นที่ตั้งแห่งราคะ เป็นเหตุแห่งความกำหนัด
เป็นเหตุแห่งความใคร่ เป็นเหตุแห่งความมัวเมา เป็นเหตุแห่งความผูกพัน เป็นเหตุ
แห่งความหลงใหลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๙๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๒. อมตารัมมณกถา (๘๕)
สก. ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะเป็นที่ตั้งแห่งราคะ ฯลฯ เป็นเหตุแห่ง
ความหลงใหลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะปรารภรูปเกิดขึ้น รูปเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ
เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระทั่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ เป็นที่ตั้งแห่งความ
โกรธ เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระทั่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โมหะปรารภรูปเกิดขึ้น รูปเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ทำความไม่รู้ ฯลฯ ไม่
เป็นไปเพื่อความดับกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โมหะปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ทำความไม่รู้ ฯลฯ
ไม่เป็นไปเพื่อความดับกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังโยชน์ปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ไม่เป็น
อารมณ์ของคันถะ ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็น
อารมณ์ของนิวรณ์ ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็น
อารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังโยชน์ปรารภรูปเกิดขึ้น รูปไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ไม่เป็นอารมณ์
ของคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๙๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๒. อมตารัมมณกถา (๘๕)
สก. ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ไม่เป็นเหตุแห่ง
ความกำหนัด ไม่เป็นเหตุแห่งความใคร่ ไม่เป็นเหตุแห่งความมัวเมา ไม่เป็นเหตุ
แห่งความผูกพัน ไม่เป็นเหตุแห่งความหลงใหลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะปรารภรูปเกิดขึ้น รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ฯลฯ ไม่เป็นเหตุแห่ง
ความหลงใหลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่ง
ความโกรธ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระทั่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะปรารภรูปเกิดขึ้น รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ
โกรธ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระทั่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โมหะปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ มิใช่ทำความไม่รู้
ฯลฯ เป็นไปเพื่อความดับกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โมหะปรารภรูปเกิดขึ้น รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ มิใช่ทำความไม่รู้ ฯลฯ
เป็นไปเพื่อความดับกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๕๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๙๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๓. รูปังสารัมมณันติกถา (๘๖)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ปุถุชนหมายรู้นิพพาน๑โดยความ
เป็นนิพพาน ครั้นหมายรู้นิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้วจึงกำหนดหมายนิพพาน
กำหนดหมายในนิพพาน กำหนดหมายโดยความเป็นนิพพาน กำหนดหมาย
นิพพานว่าเป็นของเรา ยินดีนิพพาน”๒ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น สังโยชน์จึงมีอมตะเป็นอารมณ์ได้
อมตารัมมณกถา จบ
๓. รูปังสารัมมณันติกถา (๘๖)
ว่าด้วยรูปที่รับรู้อารมณ์ได้
[๕๕๒] สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร.๓ ใช่๔
สก. รูปนั้นมีความนึกถึง ความผูกใจ ความสนใจ ความใฝ่ใจ ความจงใจ
ความปรารถนา ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปนั้นไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปนั้นไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้”

เชิงอรรถ :
๑ นิพพาน ในที่นี้หมายถึงนิพพานที่ปุถุชนเข้าใจผิดด้วยอำนาจตัณหา มานะ ทิฏฐิ คือเข้าใจว่าอัตตาที่
เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ เป็นนิพพานในปัจจุบัน นิพพานเป็นอัตตา อัตตาเป็นอย่างอื่นจากนิพพาน
ความสุขเป็นนิพพาน หรือนิพพานเป็นของเรา (ม.มู.อ. ๑/๔๒)
๒ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๖/๙, ที.สี. (แปล) ๙/๙๓-๙๘/๓๗-๓๘
๓ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๕๒-๕๕๓/๒๔๓)
๔ เพราะมีความเห็นว่า รูปทุกชนิดรับรู้อารมณ์ได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า รูปรับรู้อารมณ์
ไม่ได้ แต่เป็นอารัมมณปัจจัยได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๕๒-๕๕๓/๒๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๐๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๓. รูปังสารัมมณันติกถา (๘๖)
สก. ผัสสะเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ ฯลฯ
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ ฯลฯ
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ... สัญญา ... เจตนา ... จิต ... สัทธา ... วิริยะ ... สติ
... สมาธิ ... ปัญญา ... ราคะ ... โทสะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... วิจิกิจฉา
... ถีนะ ... อุทธัจจะ ... อหิริกะ ... อโนตตัปปะ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง มีความผูกใจ ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ ฯลฯ
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ ไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ ไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ ไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๐๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๔. อนุสยาอนารัมมณกถา (๘๗)
สก. เวทนา ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ ไม่มีความ
นึกถึง ไม่มีความผูกใจ ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๕๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปมีปัจจัยมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากรูปมีปัจจัย ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปเป็นสภาวธรรม
ที่รับรู้อารมณ์ได้”
รูปังสารัมมณันติกถา จบ
๔. อนุสยาอนารัมมณกถา (๘๗)
ว่าด้วยอนุสัยรับรู้อารมณ์ไม่ได้
[๕๕๔] สก. อนุสัยเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. อนุสัยเป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคานุสัยเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๕๔/๒๔๔)
๒ เพราะมีความเห็นว่า อนุสัยทั้ง ๗ วิปปยุตจากจิต เป็นอเหตุกะ เป็นอัพยากฤต จึงไม่สามารถรับรู้
อารมณ์ได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อนุสัยทั้ง ๗ สามารถรับรู้อารมณ์ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๕๕๔/๒๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๐๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๔. อนุสยาอนารัมมณกถา (๘๗)
สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ กามโยคะ
กามฉันทนิวรณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ กามโยคะ
กามฉันทนิวรณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคานุสัยเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคานุสัยเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นับเนื่องในขันธ์ไหน
ปร. นับเนื่องในสังขารขันธ์
สก. สังขารขันธ์เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารขันธ์เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๐๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๔. อนุสยาอนารัมมณกถา (๘๗)
สก. กามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
แต่กามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็น
สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็น
สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้
อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๕๕] สก. ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย
อวิชชานุสัย เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชา-
สังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๐๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๔. อนุสยาอนารัมมณกถา (๘๗)
สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ ฯลฯ อวิชชานิวรณ์ เป็นสภาวธรรม
ที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชานุสัยเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชานุสัยเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นับเนื่องในขันธ์ไหน
ปร. นับเนื่องในสังขารขันธ์
สก. สังขารขันธ์เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารขันธ์เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชานับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชานับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๐๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๔. อนุสยาอนารัมมณกถา (๘๗)
สก. อวิชชานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
แต่อวิชชานับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็น
สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็น
สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้
อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๕๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนุสัยเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตกำลังเป็นไปอยู่ ท่านยอม
รับว่า “เป็นผู้มีอนุสัย” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อนุสัยเหล่านั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น อนุสัยจึงเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๐๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๕. ญาณังอนารัมมณันติกถา (๘๘)
ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตกำลังเป็นไปอยู่ ท่านยอม
รับว่า “เป็นผู้มีราคะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ราคะนั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ราคะจึงเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
อนุสยาอนารัมมณกถา จบ
๕. ญาณังอนารัมมณันติกถา (๘๘)
ว่าด้วยญาณที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
[๕๕๗] สก. ญาณเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ญาณเป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๕๗-๕๕๘/๒๔๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ในขณะที่เห็นรูป เป็นต้น ญาณของพระอรหันต์ปรากฏอยู่ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ในขณะที่เห็นรูป เป็นต้น ญาณของพระอรหันต์ไม่ปรากฏ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๕๕๗-๕๕๘/๒๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๐๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๕. ญาณังอนารัมมณันติกถา (๘๘)
สก. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นับเนื่องในขันธ์ไหน
ปร. นับเนื่องในสังขารขันธ์
สก. สังขารขันธ์เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารขันธ์เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญานับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัญญานับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๐๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๕. ญาณังอนารัมมณันติกถา (๘๘)
สก. ญาณนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ แต่
ปัญญานับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็น
สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็น
สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้
อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๕๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ญาณเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์ผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ ท่านยอมรับว่า “เป็นผู้มีญาณ”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ญาณนั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ญาณจึงเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ปร. พระอรหันต์ผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ ท่านยอมรับว่า “เป็นผู้มี
ปัญญา” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๐๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๖. (ก) อตีตารัมมณกถา (๘๙)
ปร. ปัญญานั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ปัญญาจึงเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ญาณังอนารัมมณันติกถา จบ
๖. (ก) อตีตารัมมณกถา (๘๙)
ว่าด้วยจิตมีอดีตธรรมเป็นอารมณ์
[๕๕๙] สก. จิตที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. จิตมีอดีตธรรมเป็นอารมณ์มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากจิตมีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิตที่มี
อดีตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้” คำของท่านที่ว่า “จิต
ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้” จึงผิด ก็หรือว่าหาก
จิตเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิตมีอดีตธรรมเป็น
อารมณ์” คำของท่านที่ว่า “จิตที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ แต่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์” จึงผิด
สก. จิตที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอดีต มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอดีตมีอยู่ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “จิตที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้”
อตีตารัมมณกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๕๙-๕๖๑/๒๔๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า อดีตไม่มี ดังนั้น จิตที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ จึงรับรู้อารมณ์ไม่ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๕๕๙-๕๖๑/๒๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๑๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๖. (ข) อนาคตารัมมณกถา
๖. (ข) อนาคตารัมมณกถา
ว่าด้วยจิตมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์
[๕๖๐] สก. จิตที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. จิตมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากจิตมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิตที่มี
อนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้” คำของท่านที่ว่า
“จิตที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้” จึงผิด
ก็หรือว่าหากจิตเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิตมี
อนาคตธรรมเป็นอารมณ์” คำของท่านที่ว่า “จิตที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้มีอนาคตธรรม
เป็นอารมณ์” จึงผิด
สก. จิตที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจปรารภอนาคตมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอนาคตมีอยู่ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “จิตที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๕๙-๕๖๐/๒๔๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า อนาคตไม่มี ดังนั้น จิตที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์จึงรับรู้อารมณ์ไม่ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๕๕๙-๕๖๐/๒๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๑๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๖. (ข) อนาคตารัมมณกถา
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภปัจจุบันมีอยู่ จิตที่มีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอดีตมีอยู่ จิตที่มีอดีตธรรมเป็น
อารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภปัจจุบันมีอยู่ จิตที่มีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอนาคตมีอยู่ จิตที่มีอนาคตธรรม
เป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอดีตมีอยู่ จิตที่มีอดีตธรรมเป็น
อารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภปัจจุบันมีอยู่ จิตที่มีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอนาคตมีอยู่ จิตที่มีอนาคตธรรม
เป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภปัจจุบันมีอยู่ จิตที่มีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๑๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๗. วิตักกานุปติตกถา (๙๐)
[๕๖๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “จิตที่มีอดีตธรรมและอนาคตธรรมเป็นอารมณ์
เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคตไม่มีมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากอารมณ์ที่เป็นอดีตธรรมและอนาคตธรรมไม่มี ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “จิตที่มีอดีตธรรมและอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้
อารมณ์ไม่ได้” ฯลฯ
อนาคตารัมมณกถา จบ
๗. วิตักกานุปติตกถา (๙๐)
ว่าด้วยจิตเนื่องด้วยวิตก
[๕๖๒] สก. จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิตกใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิจาร เนื่องด้วยปีติ เนื่องด้วยสุข เนื่องด้วยทุกข์
เนื่องด้วยโสมนัส เนื่องด้วยโทมนัส เนื่องด้วยอุเบกขา เนื่องด้วยสัทธา เนื่องด้วย
วิริยะ เนื่องด้วยสติ เนื่องด้วยสมาธิ เนื่องด้วยปัญญา เนื่องด้วยราคะ เนื่องด้วยโทสะ
ฯลฯ เนื่องด้วยอโนตตัปปะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิตกใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๖๒/๒๔๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า จิตที่ปราศจากวิตกไม่มี ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า จิตบางดวงปราศจาก
วิตก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๖๒/๒๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๑๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๗. วิตักกานุปติตกถา (๙๐)
สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิตทุกดวง
เนื่องด้วยวิตก”
สก. จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิตกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิตทุกดวง
เนื่องด้วยวิตก”
สก. จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิตกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๓ อย่าง คือ (๑) สมาธิที่มีวิตกมีวิจาร
(๒) สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร (๓) สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสมาธิพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๓ อย่าง คือ (๑) สมาธิที่มีวิตก
มีวิจาร (๒) สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร (๓) สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิตก”
วิตักกานุปติตกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๑๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๘. วิตักกวิปผารสัททกถา (๙๑)
๘. วิตักกวิปผารสัททกถา (๙๑)
ว่าด้วยความแผ่ไปแห่งวิตกเป็นเสียง
[๕๖๓] สก. ทุกครั้งเมื่อตรึกอยู่ ตรองอยู่ ความแผ่ไปแห่งวิตกเป็นเสียงใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ทุกครั้งเมื่อถูกต้องอยู่ ความแผ่ไปแห่งผัสสะเป็นเสียง ฯลฯ ทุกครั้ง
เมื่อเสวยอารมณ์ ความแผ่ไปแห่งเวทนาเป็นเสียง ฯลฯ ทุกครั้งเมื่อจำได้ ความ
แผ่ไปแห่งสัญญาเป็นเสียง ฯลฯ ทุกครั้งเมื่อจงใจอยู่ ความแผ่ไปแห่งเจตนาเป็นเสียง
ฯลฯ ทุกครั้งเมื่อคิดอยู่ ความแผ่ไปแห่งจิตเป็นเสียง ฯลฯ ทุกครั้งเมื่อระลึกอยู่
ความแผ่ไปแห่งสติเป็นเสียง ฯลฯ ทุกครั้งเมื่อรู้อยู่ ความแผ่ไปแห่งปัญญาเป็น
เสียงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกครั้ง เมื่อตรึกอยู่ ตรองอยู่ ความแผ่ไปแห่งวิตกเป็นเสียงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความแผ่ไปแห่งวิตก เป็นเสียงที่พึงรู้ด้วยโสตวิญญาณ กระทบที่โสตะ
มาสู่คลองแห่งโสตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความแผ่ไปแห่งวิตกไม่เป็นเสียงที่พึงรู้ด้วยโสตวิญญาณ ไม่กระทบที่โสตะ
ไม่มาสู่คลองแห่งโสตะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากความแผ่ไปแห่งวิตกไม่เป็นเสียงที่พึงรู้ด้วยโสตวิญญาณ ไม่กระทบ
ที่โสตะ ไม่มาสู่คลองแห่งโสตะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทุกครั้งเมื่อตรึกอยู่
ตรองอยู่ ความแผ่ไปแห่งวิตกเป็นเสียง”
วิตักกวิปผารสัททกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๖๓/๒๔๖)
๒ เพราะปรวาทียึดเอาพระสูตรที่ว่า ‘วิตกวิจารเป็นวจีสังขาร’ จึงมีความเห็นว่า ขณะที่บุคคลตรึกอยู่
ตรองอยู่ ความแผ่ไปแห่งวิตกวิจารนั้นเป็นเสียงได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ความแผ่ไปแห่งวิตก
วิจารไม่เป็นเสียง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๖๓/๒๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๑๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๙. นยถาจิตตัสสวาจาติกถา (๙๒)
๙. นยถาจิตตัสสวาจาติกถา (๙๒)
ว่าด้วยวาจาไม่เป็นไปตามที่คิด
[๕๖๔] สก. วาจาไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. วาจามีได้แก่บุคคลผู้ไม่มีผัสสะ ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีเจตนา
ไม่มีจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วาจามีได้แก่บุคคลผู้มีผัสสะ มีเวทนา มีสัญญา มีเจตนา มีจิต มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวาจามีได้แก่บุคคลผู้มีผัสสะ ฯลฯ มีจิต ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“วาจาไม่เป็นไปตามที่คิด”
สก. วาจาไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วาจามีได้แก่บุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ผูกใจอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วาจามีได้แก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ผูกใจอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๖๔/๒๔๖-๒๔๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า วาจาที่เปล่งออกมาไม่อยู่ในการควบคุมของจิต จึงถือว่า วาจาไม่เป็นไปตามที่คิด
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๖๔/๒๔๖-๒๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๑๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๙. นยถาจิตตัสสวาจาติกถา (๙๒)
สก. หากวาจามีได้แก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ผูกใจอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “วาจาไม่เป็นไปตามที่คิด”
สก. วาจาไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วาจามีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต เกิดขณะเดียวกับจิตมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวาจามีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต เกิดขณะเดียวกับจิต ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “วาจาไม่เป็นไปตามที่คิด”
สก. วาจาไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลไม่ประสงค์จะกล่าวก็กล่าวได้ ไม่ประสงค์จะว่าก็ว่าได้ ไม่ประสงค์
จะร้องเรียกก็ร้องเรียกได้ ไม่ประสงค์จะพูดก็พูดได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลประสงค์จะกล่าวจึงกล่าวได้ ประสงค์จะว่าจึงว่าได้ ประสงค์จะ
ร้องเรียกจึงร้องเรียกได้ ประสงค์จะพูดจึงพูดได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลประสงค์จะกล่าวจึงกล่าวได้ ประสงค์จะว่าจึงว่าได้ ประสงค์
จะร้องเรียกจึงร้องเรียกได้ ประสงค์จะพูดจึงพูดได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “วาจา
ไม่เป็นไปตามที่คิด”
[๕๖๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “วาจาไม่เป็นไปตามที่คิด” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๑๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๑๐. นยถาจิตตัสสกายกัมมันติกถา (๙๓)
ปร. บางคนคิดว่า “จะกล่าวอย่างหนึ่ง” แต่กล่าวไปอีกอย่างหนึ่ง คิดว่า
“จะว่าอย่างหนึ่ง” แต่ว่าไปอีกอย่างหนึ่ง คิดว่า “จะร้องเรียกอย่างหนึ่ง” แต่ร้อง
เรียกไปอีกอย่างหนึ่ง คิดว่า “จะพูดอย่างหนึ่ง” แต่พูดไปอีกอย่างหนึ่ง มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบางคนคิดว่า “จะกล่าวอย่างหนึ่ง” แต่กล่าวไปอีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ
คิดว่า “จะพูดอย่างหนึ่ง” แต่พูดไปอีกอย่างหนึ่งมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“วาจาไม่เป็นไปตามที่คิด”
นยถาจิตตัสสวาจาติกถา จบ
๑๐. นยถาจิตตัสสกายกัมมันติกถา (๙๓)
ว่าด้วยกายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิด
[๕๖๖] สก. กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. กายกรรมมีได้แก่บุคคลผู้ไม่มีผัสสะ ฯลฯ ไม่มีจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายกรรมมีได้แก่บุคคลผู้มีผัสสะ ฯลฯ มีจิตมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกายกรรมมีได้แก่บุคคลผู้มีผัสสะ ฯลฯ มีจิต ท่านก็ไม่ควรยอม
รับว่า “กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิด”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๖๖/๒๔๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า การเคลื่อนไหวทางกายไม่เกี่ยวข้องกับจิต จึงถือว่า กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิด
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๖๖/๒๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๑๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๑๐. นยถาจิตตัสสกายกัมมันติกถา (๙๓)
สก. กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายกรรมมีได้แก่บุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายกรรมมีได้แก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกายกรรมมีได้แก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิด”
สก. กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายกรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต เกิดขณะเดียวกับจิตมิใช่
หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกายกรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต เกิดขณะเดียวกับจิต
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิด”
สก. กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลไม่ประสงค์จะก้าวไปก็ก้าวไปได้ ไม่ประสงค์จะถอยกลับก็ถอยกลับได้
ไม่ประสงค์จะแลดูก็แลดูได้ ไม่ประสงค์จะเหลียวดูก็เหลียวดูได้ ไม่ประสงค์จะคู้เข้าก็คู้เข้า
ได้ ไม่ประสงค์จะเหยียดออกก็เหยียดออกได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๑๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๑๐. นยถาจิตตัสสกายกัมมันติกถา (๙๓)
สก. บุคคลประสงค์จะก้าวไปจึงก้าวไปได้ ประสงค์จะถอยกลับจึงถอยกลับได้
ประสงค์จะแลดูจึงแลดูได้ ประสงค์จะเหลียวดูจึงเหลียวดูได้ ประสงค์จะคู้เข้าจึงคู้เข้า
ได้ ประสงค์จะเหยียดออกจึงเหยียดออกได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลประสงค์จะก้าวไปจึงก้าวไปได้ ฯลฯ ประสงค์จะเหยียดออก
จึงเหยียดออกได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิด”
[๕๖๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิด” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บางคนคิดว่า “จะไปในที่แห่งหนึ่ง” แต่ไปในที่อีกแห่งหนึ่ง ฯลฯ คิดว่า
“จะเหยียดแขนข้างหนึ่ง” แต่เหยียดแขนอีกข้างหนึ่ง มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบางคนคิดว่า “จะไปในที่แห่งหนึ่ง” แต่ไปในที่อีกแห่งหนึ่ง ฯลฯ
คิดว่า “จะเหยียดแขนข้างหนึ่ง” แต่เหยียดแขนอีกข้างหนึ่งมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิด”
นยถาจิตตัสสกายกัมมันติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๒๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๑๑. อตีตานาคตปัจจุปปันนกถา (๙๔)
๑๑. อตีตานาคตปัจจุปปันนกถา (๙๔)
ว่าด้วยอดีต อนาคต และปัจจุบัน๑
[๕๖๘] สก. บุคคลประกอบด้วยอดีตใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. อดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว ดับสูญไปแล้ว
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว ดับสูญ
ไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลประกอบด้วยอดีต”
สก. บุคคลประกอบด้วยอนาคตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น
ยังไม่ปรากฏมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่
บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลประกอบด้วยอนาคต”

เชิงอรรถ :
๑ ในอรรถกถา ชื่อกถานี้เป็น อตีตานาคตสมนฺนาคตกถา ว่าด้วยบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยนามรูปที่เป็นอดีต
และอนาคต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๖๘-๕๗๐/๒๔๘)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๖๘/๒๔๘)
๓ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลในปัจจุบันมีนามรูปที่เป็นอดีตและอนาคตได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๖๘/๒๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๒๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๑๑. อตีตานาคตปัจจุปปันนกถา (๙๔)
[๕๖๙] สก. บุคคลประกอบด้วยรูปขันธ์ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็น
ปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลประกอบด้วยรูปขันธ์ ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลประกอบด้วยขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลประกอบด้วยขันธ์ ๑๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลประกอบด้วยจักขายตนะที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลประกอบด้วยจักขายตนะ ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลประกอบด้วยอายตนะ ๑๒ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็น
ปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลประกอบด้วยอายตนะ ๓๖ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๒๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๑๑. อตีตานาคตปัจจุปปันนกถา (๙๔)
สก. บุคคลประกอบด้วยจักขุธาตุที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลประกอบด้วยจักขุธาตุ ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลประกอบด้วยธาตุ ๑๘ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลประกอบด้วยธาตุ ๕๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลประกอบด้วยจักขุนทรีย์ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลประกอบด้วยจักขุนทรีย์ ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลประกอบด้วยอินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็น
ปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลประกอบด้วยอินทรีย์ ๖๖ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๒๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
[๕๗๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลประกอบด้วยอดีตและอนาคต” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้เพ่งวิโมกข์ ๘ ได้ฌาน ๔ ตามปรารถนา ได้อนุปุพพวิหาร
สมาบัติ ๙ มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลผู้เพ่งวิโมกข์ ๘ ได้ฌาน ๔ ตามปรารถนา ได้อนุปุพพ-
วิหารสมาบัติ ๙ มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลประกอบด้วยอดีต
และอนาคต”
อตีตานาคตปัจจุปปันนกถา จบ
นวมวรรค จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อานิสังสทัสสาวีกถา ๒. อมตารัมมณกถา
๓. รูปังสารัมมณันติกถา ๔. อนุสยาอนารัมมณกถา
๕. ญาณังอนารัมมณันติกถา
๖. (ก) อตีตารัมมณกถา ๖. (ข) อนาคตารัมมณกถา
๗. วิตักกานุปติตกถา ๘. วิตักกวิปผารสัททกถา
๙. นยถาจิตตัสสวาจาติกถา ๑๐. นยถาจิตตัสสกายกัมมันติกถา
๑๑. อตีตานาคตปัจจุปปันนกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๒๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๑. นิโรธกถา (๙๕)
๑๐. ทสมวรรค
๑. นิโรธกถา (๙๕)
ว่าด้วยนิโรธ
[๕๗๑] สก. เมื่อขันธ์ ๕ ที่แสวงหาปฏิสนธิยังไม่ดับ ขันธ์ ๕ ที่เป็นกิริยา
ก็อุบัติใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. มีการประชุมแห่งขันธ์ ๑๐ ขันธ์ ๑๐ มารวมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการประชุมแห่งขันธ์ ๑๐ ขันธ์ ๑๐ มารวมกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อขันธ์ ๕ ที่แสวงหาปฏิสนธิยังไม่ดับ ขันธ์ ๔ ที่เป็นกิริยาก็อุบัติใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งขันธ์ ๙ ขันธ์ ๙ มารวมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการประชุมแห่งขันธ์ ๙ ขันธ์ ๙ มารวมกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๗๑/๒๔๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เมื่อขันธ์ ๕ ที่แสวงหาปฏิสนธิยังไม่ดับ กิริยาขันธ์ ๕ (ขันธ์ที่แสดงความเคลื่อนไหว)ใน
ภพใหม่ก็เกิดขึ้นได้ เช่น ขณะที่จิตดวงก่อนยังไม่ดับ จิตดวงใหม่ก็เกิดขึ้นมา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๗๑/๒๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๒๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๒. รูปังมัคโคติกถา (๙๖)
สก. เมื่อขันธ์ ๕ ที่แสวงหาปฏิสนธิยังไม่ดับ ญาณที่เป็นกิริยาก็อุบัติใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งขันธ์ ๖ ขันธ์ ๖ มารวมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการประชุมแห่งขันธ์ ๖ ขันธ์ ๖ มารวมกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๗๒] ปร. เมื่อขันธ์ ๕ ที่แสวงหาปฏิสนธิดับ มรรคก็อุบัติใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลตายแล้ว เจริญมรรคได้ บุคคลทำกาละแล้วเจริญมรรคได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
นิโรธกถา จบ
๒. รูปังมัคโคติกถา (๙๖)
ว่าด้วยรูปเป็นมรรค
[๕๗๓] สก. รูปของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นมรรคใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ความผูกใจ ความ
สนใจ ความใฝ่ใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหิสาสกะ นิกายสมิติยะ และนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๗๓/๒๔๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ทั้ง ๓ องค์นี้ เป็นรูป ไม่ใช่นาม และเนื่อง
จากมรรคทั้ง ๓ องค์นี้ นับเนื่องเข้าในมรรคมีองค์ ๘ จึงถือว่ารูปก็ชื่อว่ามรรคได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๗๓/๒๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๒๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๒. รูปังมัคโคติกถา (๙๖)
สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มี
ความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่
มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมรรค
เป็นมรรค”
สก. สัมมาวาจาเป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาวาจาเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มี
ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาวาจาเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ
ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสัมมาวาจาเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ
ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สัมมาวาจาเป็นมรรค”
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะเป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาอาชีวะเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มี
ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาอาชีวะเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ
ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๒๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๒. รูปังมัคโคติกถา (๙๖)
สก. หากสัมมาอาชีวะเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สัมมาอาชีวะเป็นมรรค”
[๕๗๔] สก. สัมมาทิฏฐิเป็นมรรค และสัมมาทิฏฐินั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้
อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาวาจาเป็นมรรค และสัมมาวาจานั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์
ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาทิฏฐิเป็นมรรค และสัมมาทิฏฐินั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์
ได้มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะเป็นมรรค และสัมมาอาชีวะนั้น
เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาวาจาเป็นมรรค และสัมมาวาจานั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาสมาธิเป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๒๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๒. รูปังมัคโคติกถา (๙๖)
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะเป็นมรรค และสัมมาอาชีวะนั้น
เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาวาจาเป็นมรรค และสัมมาวาจานั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาทิฏฐิเป็นมรรค และสัมมาทิฏฐินั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาวาจาเป็นมรรค และสัมมาวาจานั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะเป็นมรรค และสัมมาอาชีวะนั้นเป็น
สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ
ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๒๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๓. ปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคภาวนากถา (๙๗)
[๕๗๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมรรค
เป็นมรรค” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรคมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะเป็นมรรค ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “รูปของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมรรคเป็นมรรค”
รูปังมัคโคติกถา จบ
๓. ปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคภาวนากถา (๙๗)
ว่าด้วยการเจริญมรรคของผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณ ๕
[๕๗๖] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณ ๕ มีการเจริญมรรคใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็น
อารมณ์๓ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณ ๕ มีการเจริญมรรคได้”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๗๖/๒๕๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลสามารถเจริญมรรคได้ในเวลาเห็นรูป ได้ยินเสียง เป็นต้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
๕๗๖/๒๕๐)
๓ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๗๖๒/๔๙๖-๔๙๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๓๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น