Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๒-๖ หน้า ๓๐๗ - ๓๖๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๒-๖ วินัยปิฎกที่ ๐๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒



พระวินัยปิฎก
มหาวิภังค์ ภาค ๒
___________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๘.เวหาสกุฏิสิกขาบท บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๑๓๐] ก็ ภิกษุใดนั่ง หรือนอนบนเตียง หรือบนตั่งอันมีเท้าเสียบ บนกุฎี
ชั้นลอยในวิหารของสงฆ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุ ๒ รูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๓๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
วิหารที่ชื่อว่า ของสงฆ์ ได้แก่ วิหารที่มีผู้ถวาย บริจาคแก่สงฆ์
ที่ชื่อว่า กุฎีชั้นลอย ได้แก่ กุฎีชั้นลอยสูงจนศีรษะบุรุษกลางคนไม่กระทบ
เตียงที่ชื่อว่า มีเท้าเสียบ คือ สอดเท้าเสียบติดไว้ในตัวเตียง
ตั่งที่ชื่อว่า มีเท้าเสียบ คือ สอดเท้าเสียบติดไว้ในตัวตั่ง
คำว่า นั่ง คือ ภิกษุนั่งบนเตียงหรือบนตั่งนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า นอน คือ ภิกษุนอนบนเตียงหรือบนตั่งนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๓๒] วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ นั่ง หรือนอนบนเตียงหรือ
บนตั่งมีเท้าเสียบบนกุฎีชั้นลอย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
วิหารของสงฆ์ ภิกษุไม่แน่ใจ นั่ง หรือนอนบนเตียงหรือบนตั่งมีเท้าเสียบบนกุฎี
ชั้นลอย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๐๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๘.เวหาสกุฏิสิกขาบท อนาปัตติวาร
วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล นั่ง หรือนอนบนเตียงหรือ
บนตั่งมีเท้าเสียบบนกุฎีชั้นลอย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
วิหารส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารส่วนบุคคล ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ
เป็นของส่วนบุคคลของผู้อื่น วิหารส่วนบุคคลของตน ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๓๓] ๑. ภิกษุนั่งบนที่ที่ไม่ใช่กุฎีชั้นลอย
๒. ภิกษุนั่งบนกุฎีชั้นลอยสูงพอกระทบศีรษะ
๓. ภิกษุนั่งบนที่ที่ข้างล่างไม่เป็นที่อยู่
๔. ภิกษุนั่งบนกุฎีชั้นลอยปูพื้นไว้
๕. ภิกษุนั่งบนกุฎีชั้นลอยมีเท้าเตียงหรือเท้าตั่งตรึงสลักกับตัว
๖. ภิกษุยืนบนเตียงหรือตั่งหยิบหรือพาดจีวรได้
๗. ภิกษุวิกลจริต
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
เวหาสกุฏิสิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๐๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๙.มหัลลกวิหารสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ภูตคามวรรค
๙. มหัลลกวิหารสิกขาบท
ว่าด้วยการสร้างวิหารใหญ่
เรื่องพระฉันนะ
[๑๓๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขต
กรุงโกสัมพี ครั้งนั้น มหาอมาตย์ผู้เป็นอุปัฏฐากของท่านพระฉันนะ สร้างวิหารถวาย
ท่านพระฉันนะ ทีนั้น ท่านพระฉันนะสั่งให้มุงให้ฉาบทาวิหารที่สร้างเสร็จแล้วหลาย ๆ
ครั้ง วิหารมีน้ำหนักมากจึงพังลงมา ต่อมา ท่านพระฉันนะจึงหาเก็บหญ้าและไม้ ทำ
ให้นาข้าวเหนียวของพราหมณ์คนหนึ่งเสียหาย พราหมณ์นั้นตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลายจึงทำนาข้าวเหนียวของเราให้เสียหายเล่า”
ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินพราหมณ์ตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระฉันนะจึงให้มุง
ให้ฉาบทาวิหารที่สร้างเสร็จแล้วหลาย ๆ ครั้งเล่า วิหารมีน้ำหนักมาก จึงพังลงมา”
ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระฉันนะโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระฉันนะว่า “ฉันนะ ทราบว่า เธอให้มุงให้ฉาบทาวิหารที่สร้างเสร็จ
แล้วหลาย ๆ ครั้ง วิหารมีน้ำหนักมาก จึงพังลงมา จริงหรือ” ท่านพระฉันนะทูลรับว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉน
เธอจึงให้มุงให้ฉาบทาวิหารที่สร้างเสร็จแล้วหลาย ๆ ครั้ง จนวิหารรับน้ำหนักมาก
พังลงมาเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๐๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๙.มหัลลกวิหารสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๑๓๕] ก็ ภิกษุจะสร้างวิหารหลังใหญ่ จะติดตั้งบานประตูใกล้วงกบประตู
และตบแต่งบานหน้าต่าง๑ ควรยืนในที่ที่ปราศจากของเขียว ดำเนินการมุง
หลังคาได้ ๒-๓ ชั้น๒ ถ้าเธอดำเนินการเกินกว่านั้น แม้จะยืนในที่ที่ปราศจาก
ของเขียว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉันนะ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๓๖] วิหารที่ชื่อว่า หลังใหญ่ ท่านกล่าวถึงวิหารที่มีเจ้าของ
ที่ชื่อว่า วิหาร ได้แก่ ที่อยู่ซึ่งโบกฉาบภายในหรือภายนอก หรือโบกฉาบ
ทั้งภายในภายนอก
คำว่า สร้าง คือ สร้างเอง หรือใช้คนอื่นสร้าง
คำว่า ใกล้วงกบประตู คือ ชั่วระยะหัตถบาสรอบวงกบ
คำว่า จะติดตั้งบานประตู คือ วางบานประตู
คำว่า ตบแต่งบานหน้าต่าง คือ ฉาบทาบานหน้าต่างให้มีสีขาว ให้มีสีดำ
ให้มีสียางไม้ เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร หรือ
เขียนลวดลายดอกจอก

เชิงอรรถ :
๑ บานประตูและบานหน้าต่างวิหาร ต้องเปิด-ปิด เมื่อเปิดจะกระทบฝาผนังวิหาร เมื่อปิดจะกระทบวงกบ ทำ
ให้ฝาผนังสั่นสะเทือนจนดินเหนียวที่พอกฝาผนังกะเทาะตกลงมา พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ฉาบทา
พอกฝาผนังบริเวณใกล้ ๆ บานประตู บานหน้าต่างวิหารได้ เพื่อทำให้คงทนถาวร (วิ.อ. ๒/๑๓/๓๑๑-๓๑๒,
กงฺขา.อ. ๒๔๔) เมื่อภิกษุพอกฝาผนังนอกจากบริเวณใกล้ ๆ บานประตูและบานหน้าต่างซ้ำเกิน ๓ ครั้ง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑๓๕/๔๐, วิมติ.ฏีกา ๒/๑๓๕/๒๓, กงฺขา.ฏีกา ๓๙๒)
๒ ในการมุงหลังคาก็เช่นกัน ภิกษุเข้าใจว่า เมื่อมุงหลายครั้ง จะป้องกันฝนรั่วรดได้นาน จึงใช้อิฐ ศิลา
ปูนขาว หญ้า หรือใบไม้มุงหลังคา แต่จะมุงได้ไม่เกิน ๓ ชั้น (วิ.อ. ๒/๑๓๕-๑๓๖/๓๑๒-๓๑๓, สารตฺถ.
ฏีกา ๓/๑๓๕-๑๓๖/๔๐-๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๙.มหัลลกวิหารสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า ยืนในที่ที่ปราศจากของเขียวดำเนินการมุงหลังคาได้ ๒-๓ ชั้น
ความว่า ที่ชื่อว่าของเขียว ได้แก่ บุพพัณชาติและอปรัณชาติ๑
ถ้าภิกษุยืนดำเนินการในที่ที่มีของเขียว ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเมื่อจะมุงตามแนว พึงดำเนินการ ๒ แนว สั่งแนวที่ ๓ แล้วจากไป
ภิกษุเมื่อจะมุงเป็นชั้น พึงดำเนินการ ๒ รอบ สั่งรอบที่ ๓ แล้วจากไป
[๑๓๗] คำว่า ถ้าเธอดำเนินการเกินว่านั้น แม้จะยืนในที่ที่ปราศจากของ
เขียว ความว่า ภิกษุเมื่อมุงด้วยอิฐ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ก้อน เมื่อมุง
ด้วยแผ่นศิลา ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ก้อน เมื่อมุงด้วยปูนขาว ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ ก้อน เมื่อมุงด้วยหญ้า ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ กำหญ้า เมื่อ
มุงด้วยใบไม้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ใบ
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
เกิน ๒-๓ ชั้น ภิกษุสำคัญว่าเกิน ดำเนินการ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เกิน ๒-๓ ชั้น ภิกษุไม่แน่ใจ ดำเนินการ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เกิน ๒-๓ ชั้น ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ดำเนินการ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
หย่อนกว่า ๒-๓ ชั้น ภิกษุสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ
หย่อนกว่า ๒-๓ ชั้น ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
หย่อนกว่า ๒-๓ ชั้น ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ไม่ต้องอาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ บุพพัณชาติ ได้แก่ ธัญชาติ ๗ อย่าง คือ ข้าวสาลี ข้าวเจ้า หญ้ากับแก้ ข้าวละมาน ลูกเดือย ข้าวเหนียว
และข้าวฟ่าง อปรัณชาติ ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วราชมาส งา พืชผักที่กินหลังอาหาร (วิ.อ. ๑/๑๐๔/๓๖๘,
สารตฺถ.ฏีกา ๒/๑๐๔/๑๗๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๙.มหัลลกวิหารสิกขาบท อนาปปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๓๘] ๑. ภิกษุมุงเพียง ๒-๓ ชั้น
๒. ภิกษุมุงหย่อนกว่า ๒-๓ ชั้น
๓. ภิกษุมุงเงื้อมผามีประตู
๔. ภิกษุตบแต่งถ้ำ
๕. ภิกษุมุงกุฎีหญ้า
๖. ภิกษุมุงกุฎีเพื่อภิกษุอื่น
๗. ภิกษุมุงด้วยทรัพย์ตนเอง
๘. ภิกษุมุงอาคารนอกจากนั้น๑ ยกเว้นอาคารที่พักของตน
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
มหัลลกวิหารสิกขาบทที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อาคารนอกจากนั้น คือ โรงอุโบสถ เรือนไผ โรงฉัน โรงไฟ (วิ.อ. ๒/๓๖๔/๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๑๐.สัปปาณกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ภูตคามวรรค
๑๐. สัปปาณกสิกขาบท
ว่าด้วยสิ่งมีชีวิต
เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวี
[๑๓๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขต
เมืองอาฬาวี ครั้งนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีกำลังช่วยกันก่อสร้าง รู้อยู่ว่าน้ำมีสิ่ง
มีชีวิต รดหญ้าบ้าง ดินบ้าง ใช้ให้รดหญ้าบ้าง ดินบ้าง
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุ
ชาวเมืองอาฬวีรู้อยู่ว่าน้ำมีสิ่งมีชีวิต รดหญ้าบ้าง ดินบ้าง ใช้ให้รดหญ้าบ้าง ดินบ้าง
เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอรู้อยู่ว่าน้ำมี
สิ่งมีชีวิต รดหญ้าบ้าง ดินบ้าง ใช้ให้รดหญ้าบ้าง ดินบ้าง จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ
โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอรู้อยู่ว่าน้ำมีสิ่งมีชีวิต จึงรดหญ้าบ้าง ดินบ้าง ใช้ให้
รดหญ้าบ้าง ดินบ้างเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๑๐. สัปปาณกสิกขาบท บชภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๑๔๐] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ว่าน้ำมีสิ่งมีชีวิต รด หรือใช้ให้รดหญ้าหรือดิน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๔๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ ได้แก่ ภิกษุนั้นรู้เอง หรือผู้อื่นบอกให้ภิกษุนั้นรู้
คำว่า รด คือ ภิกษุรดเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ใช้ให้รด คือ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้รด ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ผู้รับคำสั่งครั้งเดียวแต่รดหลายครั้ง ภิกษุผู้สั่งต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
[๑๔๒] น้ำมีสิ่งมีชีวิต ภิกษุสำคัญว่ามีสิ่งมีชีวิต รด หรือใช้ให้รดหญ้าหรือดิน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
น้ำมีสิ่งมีชีวิต ภิกษุไม่แน่ใจ รด หรือใช้ให้รดหญ้าหรือดิน ต้องอาบัติทุกกฏ
น้ำมีสิ่งมีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าไม่มีสิ่งมีชีวิต รด หรือใช้ให้รดหญ้าหรือดิน ไม่
ต้องอาบัติ
น้ำไม่มีสิ่งมีชีวิต ภิกษุสำคัญว่ามีสิ่งมีชีวิต ต้องอาบัติทุกกฏ
น้ำไม่มีสิ่งมีชีวิต ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
น้ำไม่มีสิ่งมีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าไม่มีสิ่งมีชีวิต ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค รวมสิกขาบทที่มีในภูตคามวรรค
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๔๓] ๑. ภิกษุไม่จงใจ
๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุต้นบัญญัติ
สัปปาณกสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ภูตคามวรรคที่ ๒ จบ
รวมสิกขาบทที่มีในภูตคามวรรค
ภูตคามวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ

๑. ภูตคามสิกขาบท ว่าด้วยการพรากภูตคาม
๒. อัญญวาทกสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวกลบเกลื่อน
๓. อุชฌาปนกสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวให้เพ่งโทษ
๔. ปฐมเสนาสนสิกขาบท ว่าด้วยเสนาสนะข้อที่ ๑
๕. ทุติยเสนาสนสิกขาบท ว่าด้วยเสนาสนะข้อที่ ๒
๖. อนุปขัชชสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าไปแทรกแซง
๗. นิกกัฑฒนสิกขาบท ว่าด้วยการฉุดลากออก
๘. เวหาสกุฏิสิกขาบท ว่าด้วยกุฎีชั้นลอย
๙. มหัลลกวิหารสิกขาบท ว่าด้วยการสร้างวิหารใหญ่
๑๐. สัปปาณกสิกขาบท ว่าด้วยสิ่งมีชีวิต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค
หมวดว่าด้วยโอวาท
๑. โอวาทสิกขาบท
ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณี
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๔๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายสั่งสอน
พวกภิกษุณี ย่อมได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ทีนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้มีการปรึกษากันดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย บัดนี้ภิกษุ
ผู้เป็นเถระทั้งหลายสั่งสอนพวกภิกษุณี ย่อมได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านทั้งหลาย มาเถิด แม้พวกเราก็จะสั่งสอนพวกภิกษุณี
บ้าง” ครั้นแล้วพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงได้เข้าไปหาพวกภิกษุณี แล้วได้กล่าวดังนี้ว่า
“มาเถิด น้องหญิงทั้งหลาย พวกเธอจงเข้าไปหาพวกอาตมาบ้าง พวกอาตมาจักสั่ง
สอนให้บ้าง”
หลังจากนั้น พวกภิกษุณีเหล่านั้นได้พากันเข้าไปหาพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถึงที่อยู่
ครั้นถึงแล้วได้ไหว้พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ทีนั้นพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ได้แสดงธรรมีกถาเพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการ
สนทนาเกี่ยวกับดิรัจฉานกถา๑ แล้วส่งกลับด้วยกล่าวว่า “พวกเธอกลับไปเถิด น้อง
หญิงทั้งหลาย”

เชิงอรรถ :
๑ ดิรัจฉานกถา คือถ้อยคำที่ขัดขวางทางไปสู่สวรรค์นิพพาน ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อถกเถียงสนทนากัน
(วิ.อ. ๒/๑๔๔/๓๑๕, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑๔๔/๔๓) มี ๒๘ อย่าง (วิ.ม. ๕/๒๕๐/๑๓-๑๔, ที.สี. ๙/๑๗/๘,
ที.ปา. ๑๑/๕๐/๓๐, ม.ม. ๑๓/๒๒๓/๑๙๗, สํ.ม. ๑๙/๑๐๘๐/๓๖๕-๓๖๖, องฺ. ทสก. ๒๔/๖๙/๑๐๒, ขุ.ม.
๒๙/๑๕๗/๓๐๖) ดู รตนวรรค สิกขาบทที่ ๓ ข้อ ๕๐๘ หน้า ๕๙๙ (ในเล่มนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท นิทานวัตถุ
ต่อมา พวกภิกษุณีเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว
ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับ
พวกภิกษุณีผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรเหล่านั้นดังนี้ว่า “การสั่งสอนพวกภิกษุณีสัมฤทธิผล
ดีหรือ”
พวกภิกษุณีกราบทูลว่า “การสั่งสอนจะสัมฤทธิผลได้แต่ที่ไหนกัน พระพุทธ
เจ้าข้า พระคุณเจ้าฉัพพัคคีย์แสดงธรรมีกถาเพียงเล็กน้อย แล้วให้วันเวลาผ่านไป
ด้วยการสนทนาเกี่ยวกับดิรัจฉานกถา แล้วส่งให้กลับ”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พวกภิกษุณีเหล่านั้นเห็นชัด ชวนให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา ภิกษุณีเหล่านั้นครั้นพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวน
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา แล้วจึงลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วทำประทักษิณ
จากไป
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอแสดงธรรมีกถา
เพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการสนทนาเกี่ยวกับ
ดิรัจฉานกถาแล้วส่งให้กลับ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธ
เจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวก
เธอจึงแสดงธรรมีกถาเพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการ
สนทนาเกี่ยวกับดิรัจฉานกถาแล้วส่งให้กลับเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้
เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วได้ทรงแสดงธรรมีกถา แล้วจึงรับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี”
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท พระบัญญัติ
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจาแต่งตั้งภิกษุสั่งสอนภิกษุณี
เบื้องต้นพึงขอให้ภิกษุรับ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์
ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๔๕] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้ง
ภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่ ๒ ฯลฯ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่ ๓
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึง
ตรัสโทษความเป็นคนเลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๔๖] ก็ ภิกษุใดไม่ได้รับแต่งตั้ง พึงสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๔๗] สมัยนั้น ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายผู้ได้รับแต่งตั้งแล้วสั่งสอนพวก
ภิกษุณียังได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอยู่เหมือนเดิม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท พระบัญญัติ
ครั้งนั้นพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้มีการปรึกษากันดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย บัดนี้ ภิกษุ
ผู้เป็นเถระทั้งหลายผู้ได้รับแต่งตั้งแล้วสั่งสอนพวกภิกษุณียังได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอยู่เหมือนเดิม ท่านทั้งหลาย มาเถิด แม้
พวกเราก็จะไปนอกสีมา แต่งตั้งกันและกันให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี แล้วสั่งสอนพวก
ภิกษุณีบ้าง” ครั้นแล้วพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงได้พากันไปนอกสีมา ได้แต่งตั้งกันและ
กันให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีแล้วเข้าไปหาภิกษุณีทั้งหลาย ได้กล่าวดังนี้ว่า “น้องหญิง
ทั้งหลาย พวกอาตมาได้รับแต่งตั้งแล้ว พวกเธอจงเข้าไปหาพวกอาตมาบ้าง พวก
อาตมาจักสั่งสอนให้บ้าง”
ต่อมา พวกภิกษุณีเหล่านั้นได้พากันเข้าไปหาพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถึงที่อยู่ ครั้น
ถึงแล้วได้ไหว้พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ทีนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้
แสดงธรรมีกถาเพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการสนทนา
เกี่ยวกับดิรัจฉานกถา แล้วส่งกลับด้วยกล่าวว่า “พวกเธอกลับไปเถิด น้องหญิง
ทั้งหลาย”
ต่อมา พวกภิกษุณีเหล่านั้นได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึง
แล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
กับพวกภิกษุณีผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรเหล่านั้นดังนี้ว่า “การสั่งสอนพวกภิกษุณีสัมฤทธิผล
ดีหรือ”
พวกภิกษุณีกราบทูลว่า “การสั่งสอนจะสัมฤทธิผลได้แต่ที่ไหนกัน พระ
พุทธเจ้าข้า พระคุณเจ้าฉัพพัคคีย์แสดงธรรมีกถาเพียงเล็กน้อย แล้วให้วันเวลาผ่าน
ไปด้วยการสนทนาเกี่ยวกับดิรัจฉานกถา แล้วส่งให้กลับ”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พวกภิกษุณีเหล่านั้นเห็นชัด ชวนให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา ภิกษุณีเหล่านั้นครั้นพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวน
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาแล้วจึงลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วทำประทักษิณ
จากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท พระบัญญัติ
ทรงประชุมสงฆ์แต่งตั้งภิกษุสั่งสอนภิกษุณี
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอแสดงธรรมีกถา
เพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการสนทนาเกี่ยวกับดิรัจฉาน
กถา แล้วส่งให้กลับ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึง
แสดงธรรมีกถาเพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการสนทนา
เกี่ยวกับดิรัจฉานกถา แล้วส่งให้กลับเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้
ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วได้ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วจึงรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ ๘ อย่าง เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี คือ
คุณสมบัติของภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณี ๘ อย่าง
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกขสังวรศีล ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
เห็นภัยในความผิดแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงสุตะ (จำสิ่งที่ได้เล่าเรียนมา) สั่งสมสุตะ (สั่งสมสิ่งที่ได้
เล่าเรียนมา) เธอได้ยินได้ฟังธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม
ในที่สุด อันประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ ครบ
ถ้วน บริบูรณ์มาก ทรงจำได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดแล้วด้วยทิฏฐิ
๓. เป็นผู้ชำนาญปาติโมกข์ทั้งสอง แจกแจงได้ถูกต้อง คล่องแคล่ว วินิจฉัยได้
เรียบร้อยทั้งโดยสูตรและโดยอนุพยัญชนะ๑
๔. เป็นผู้มีวาจาสละสลวย มีเสียงไพเราะ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “โดยสูตร” ในที่นี้หมายถึงคัมภีร์ขันธกะและบริวารแห่งพระวินัยปิฎก คำว่า “อนุพยัญชนะ” คือ
บทอักษรบริบูรณ์ไม่ตกหล่น (วิ.อ. ๒/๑๕๔-๗/๓๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
๕. เป็นที่นิยมชมชอบของพวกภิกษุณีโดยส่วนมาก
๖. เป็นผู้สามารถสั่งสอนพวกภิกษุณีได้
๗. เป็นผู้ไม่เคยประพฤติล่วงครุธรรมในสตรีผู้นุ่งห่มผ้ากาสายะบวชอุทิศพระ
ผู้มีพระภาคพระองค์นั้น๑
๘. เป็นผู้มีพรรษา ๒๐ หรือเกินกว่า ๒๐
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ ๘ อย่างนี้ เป็นผู้สั่ง
สอนภิกษุณี”
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๔๘] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ไม่ได้รับแต่งตั้ง คือ สงฆ์ยังไม่ได้แต่งตั้งด้วยญัตติจตุตถกรรม
ที่ชื่อว่า ภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
คำว่า สั่งสอน ความว่า ภิกษุสั่งสอนครุธรรม ๘ อย่าง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สั่งสอนธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ สั่งสอนภิกษุณีที่อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว
ต้องอาบัติทุกกฏ
[๑๔๙] ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งแล้วนั้นพึงกวาดบริเวณ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ ปูอาสนะ
ไว้ ชวนเพื่อนภิกษุไปนั่งด้วย
ภิกษุณีทั้งหลายพึงไปที่นั้น แล้วไหว้ภิกษุนั้น แล้วนั่ง ณ ที่สมควร

เชิงอรรถ :
๑ ในสมัยที่เป็นคฤหัสถ์ก่อนบวช ไม่เคยจับต้องกายกับภิกษุณี ไม่เคยประพฤติผิดทางประเวณีกับสิกขมานา
หรือสามเณรี (วิ.อ. ๒/๑๔๕-๑๔๗/๓๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งแล้วนั้นพึงถามภิกษุณีทั้งหลายว่า “น้องหญิงทั้งหลาย
พวกเธอพร้อมเพรียงกันแล้วหรือ”
ถ้าพวกภิกษุณีตอบว่า “พวกดิฉันพร้อมเพรียงกันแล้ว เจ้าข้า”
พึงถามว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ครุธรรม ๘ ข้อยังจำกันได้อยู่หรือ”
ถ้าพวกภิกษุณีตอบว่า “ยังจำกันได้อยู่ เจ้าข้า”
พึงกล่าวว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ธรรมนี่เป็นโอวาท” แล้วพึงมอบหมาย
ถ้าพวกภิกษุณีตอบว่า “จำกันไม่ได้ เจ้าข้า”
พึงสวดครุธรรมดังนี้ว่า
ครุธรรม ๘ ข้อ
๑. ภิกษุณีถึงจะบวชได้ ๑๐๐ พรรษา ก็ต้องทำการกราบไหว้ ต้อนรับ ทำ
อัญชลีกรรม ทำสามีจิกรรมแก่ภิกษุผู้บวชแม้ในวันนั้น ธรรมข้อนี้ภิกษุณี
พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึง
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๓. ภิกษุณีพึงหวังธรรม ๒ อย่าง คือ ถามอุโบสถและไปรับโอวาทจากภิกษุ
สงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่
พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๔. ภิกษุณีจำพรรษาแล้วพึงปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย โดยสถาน ๓ คือ ได้เห็น
ได้ฟัง หรือได้นึกสงสัย ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๕. ภิกษุณีต้องครุธรรมแล้วพึงประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ธรรมข้อนี้
ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๖. ภิกษุณีพึงแสวงหาการอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่ายให้แก่สิกขมานาที่ศึกษา
ธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ
บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุ ไม่ว่ากรณีใดๆ ธรรมข้อนี้ภิกษุณี
พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ห้ามภิกษุณีสั่งสอนภิกษุ แต่ไม่ห้ามภิกษุสั่งสอน
ภิกษุณี ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วง
ละเมิดจนตลอดชีวิต
ถ้าพวกภิกษุณีตอบว่า “พวกดิฉันพร้อมเพรียงกันแล้ว เจ้าข้า” ภิกษุผู้ได้รับ
แต่งตั้งแล้ว สั่งสอนธรรมอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ถ้าพวกภิกษุณีตอบว่า “พวกดิฉันยังไม่พร้อมเพรียงกัน เจ้าข้า” ภิกษุผู้ได้รับ
แต่งตั้งแล้ว สั่งสอนครุธรรม ๘ ข้อ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุไม่ให้โอวาท สั่งสอนธรรม
อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
บทภาชนีย์
[๑๕๐] กรรม๑ ที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง
ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่
พร้อมเพรียงกัน ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่
พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุ
สำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุ
สำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ กรรม คือการแต่งตั้งภิกษุสั่งสอนภิกษุณี (วิ.อ. ๒/๑๕๐/๓๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่
พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ
สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม
เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ
สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกันแล้ว ภิกษุ
สำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุ
สำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้วสั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม
เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ
สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
[๑๕๑] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณี
สงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่
พร้อมเพรียงกัน ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่
พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญ
ว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่า
พร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่
พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ
สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม
เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ
สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท อนาปัตติวาร
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญ
ว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่า
พร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม
เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม
เพรียงกันแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม
เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๕๒] ๑. ภิกษุให้อุทเทส
๒. ภิกษุให้ปริปุจฉา๑
๓. ภิกษุที่ภิกษุณีกล่าวขอว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าสวดเถิด” สวดอยู่
๔. ภิกษุถามปัญหา
๕. ภิกษุถูกถามปัญหาแล้วตอบปัญหา
๖. ภิกษุสั่งสอนผู้อื่นแต่มีภิกษุณีฟังอยู่ด้วย
๗. ภิกษุสั่งสอนสิกขมานา
๘. ภิกษุสั่งสอนสามเณรี
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
โอวาทสิกขาบทที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ให้อุทเทส คือ สอนพระบาลีครุธรรม ๘ ให้ปริปุจฉา คือ สอนคำอธิบายพระบาลีครุธรรม ๘ (วิ.อ.
๒/๑๕๒/๓๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๒.อัตถังคตสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค
๒. อัตถังคตสิกขาบท
ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีในเวลาที่ดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว
เรื่องพระจูฬปันถก
[๑๕๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุผู้เป็นเถระผลัดเปลี่ยนกัน
สั่งสอนพวกภิกษุณี
ครั้งนั้น ถึงวาระที่ท่านพระจูฬปันถกจะสั่งสอนพวกภิกษุณี พวกภิกษุณี
กล่าวกันอย่างนี้ว่า “วันนี้เห็นทีการสั่งสอนจะไม่สัมฤทธิผล ประเดี๋ยวพระคุณเจ้า
จูฬปันถกก็คงจะเปล่งอุทานซ้ำซากเหมือนเดิม” ครั้นแล้วพวกภิกษุณีได้พากันไปหา
พระจูฬปันถกถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้ไหว้ท่านพระจูฬบันถกแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระจูฬปันถกได้กล่าวกับพวกภิกษุณีผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้วดังนี้ว่า
“น้องหญิงทั้งหลาย พวกเธอพร้อมเพรียงกันแล้วหรือ”
พวกภิกษุณีตอบว่า “พวกดิฉันพร้อมเพรียงกันแล้ว เจ้าข้า”
พระจูฬปันถกถามว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ครุธรรม ๘ ข้อ ยังจำกันได้อยู่หรือ”
พวกภิกษุณีตอบว่า “ยังจำกันได้อยู่ เจ้าข้า”
พระจูฬปันถกมอบหมายว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ธรรมนี่เป็นโอวาท” แล้ว
เปล่งอุทานซ้ำว่า
“มุนีผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท ศึกษาทางแห่งความเป็นมุนี๑
ผู้คงที่ สงบ มีสติทุกขณะ ย่อมเป็นผู้ไม่เศร้าโศก”๒

เชิงอรรถ :
๑ ทางแห่งความเป็นมุนี หมายถึงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ หรือไตรสิกขา (วิ.อ. ๒/๑๕๓/๓๓๒)
๒ ขุ.ธ. ๒๕/๓๗/๑๕๒, ขุ.เถร. ๒๖/๖๘/๒๗๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๒.อัตถังคตสิกขาบท นิทานวัตถุ
พวกภิกษุณีกล่าวอย่างนี้ว่า “พวกเราได้กล่าวแล้วมิใช่หรือว่า วันนี้เห็นทีการ
สั่งสอนจะไม่สัมฤทธิผล ประเดี๋ยวพระคุณเจ้าจูฬปันถกก็คงจะเปล่งอุทานซ้ำซาก
เหมือนเดิม”
ท่านพระจูฬปันถกได้ยินคำสนทนานี้ของพวกภิกษุณีเหล่านั้นแล้ว จึงเหาะขึ้น
ไปสู่อากาศ จงกรมบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง บันดาลให้ควันฟุ้งตลบบ้าง
บันดาลให้ไฟโพลงบ้าง หายตัวบ้าง ในอากาศ เปล่งอุทานนั้นนั่นแหละ และกล่าว
พระพุทธพจน์อื่น ๆ เป็นอันมาก
พวกภิกษุณีพากันกล่าวอย่างนี้ว่า “น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี การสั่งสอนก่อนหน้า
นี้ไม่เคยสัมฤทธิผลแก่พวกเราเหมือนการสั่งสอนของพระคุณเจ้าจูฬปันถกเลย”
คราวนั้น ท่านพระจูฬปันถกสั่งสอนพวกภิกษุณีอยู่จนพลบค่ำแล้วส่งกลับด้วย
กล่าวว่า “พวกเธอกลับไปเถิด น้องหญิงทั้งหลาย”
ครั้งนั้น เมื่อเจ้าหน้าที่ปิดประตูเมืองแล้ว พวกภิกษุณีได้พักแรมอยู่นอกเมือง
รุ่งเช้าจึงพากันเข้าเมือง
พวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ภิกษุณีพวกนี้เป็นผู้ไม่ประพฤติ
พรหมจรรย์ พักแรมกับพวกภิกษุในอารามเพิ่งจะกลับเข้าเมืองเดี๋ยวนี้เอง”
พวกภิกษุได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เมื่อดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว ไฉนท่านพระ
จูฬปันถกยังสั่งสอนพวกภิกษุณีอยู่เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระจูฬบันถก
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระจูฬปันถกว่า “จูฬปันถก ทราบว่า เมื่อดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว เธอ
ยังสั่งสอนพวกภิกษุณีอยู่ จริงหรือ” ท่านพระจูฬปันถกทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้า
ข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ จูฬปันถก ไฉนเมื่อดวงอาทิตย์
อัสดงแล้ว เธอจึงยังสั่งสอนพวกภิกษุณีอยู่เล่า จูฬปันถก การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๒.อัตถังคตสิกขาบท บทภาชนีย์
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๕๔] ถ้าภิกษุแม้ได้รับการแต่งตั้งแล้ว เมื่อดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว ยัง
สั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายอยู่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระจูฬปันถก จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๕๕] ภิกษุที่ชื่อว่า ได้รับการแต่งตั้งแล้ว คือได้รับการแต่งตั้งด้วยญัตติ
จตุตถกรรมวาจาแล้ว
คำว่า เมื่อดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว คือ เมื่อดวงอาทิตย์ตกแล้ว
ที่ชื่อว่า ภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ มาตุคามผู้ที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
คำว่า สั่งสอน ความว่า ภิกษุสั่งสอนครุธรรม ๘ อย่าง หรือธรรมอย่างอื่น
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๕๖] ดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว ภิกษุสำคัญว่าอัสดงแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่อัสดง สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๒.อัตถังคตสิกขาบท อนาปัตติวาร
ติกทุกกฏ
ภิกษุสั่งสอนภิกษุณีที่อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ
ดวงอาทิตย์ยังไม่อัสดง ภิกษุสำคัญว่าอัสดงแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
ดวงอาทิตย์ยังไม่อัสดง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ดวงอาทิตย์ยังไม่อัสดง ภิกษุสำคัญว่ายังไม่อัสดง ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๕๗] ๑. ภิกษุให้อุทเทส
๒. ภิกษุให้ปริปุจฉา
๓. ภิกษุที่ภิกษุณีกล่าวขอว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าสวดเถิด” สวดอยู่
๔. ภิกษุถามปัญหา
๕. ภิกษุถูกถามปัญหาแล้วตอบปัญหา
๖. ภิกษุสั่งสอนผู้อื่นแต่มีภิกษุณีฟังอยู่ด้วย
๗. ภิกษุสั่งสอนสิกขมานา
๘. ภิกษุสั่งสอนสามเณรี
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
อัตถังคตสิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๓.ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค
๓. ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท
ว่าด้วยการไปสั่งสอนภิกษุณีถึงที่สำนัก
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๕๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขต
กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปที่สำนักของภิกษุณี
สั่งสอนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
พวกภิกษุณีได้กล่าวกับพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ดังนี้ว่า “มาเถิด แม่คุณทั้งหลาย
พวกเราจะไปรับโอวาทกัน”
พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “ทำไมพวกเราจะต้องไปรับโอวาท พวกพระ
คุณเจ้าฉัพพัคคีย์มาสั่งสอนพวกเราถึงที่นี่ทีเดียว”
พวกภิกษุณีจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
จึงเข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายเล่า” แล้วแจ้งเรื่องนี้ให้ภิกษุ
ทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงเข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายเล่า” ครั้นภิกษุ
เหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอเข้าไปที่สำนัก
ภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๓.ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท พระบัญญัติ
ไฉนพวกเธอจึงเข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายเล่า โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึง
รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดเข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมีเป็นไข้
[๑๕๙] สมัยนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเป็นไข้ ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลาย
เข้าไปเยี่ยมถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับพระนางมหาปชาบดีโคตมีดังนี้ว่า “ท่าน
ยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ”
พระนางมหาปชาบดีโคตมีตอบว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันกำลังไม่สบาย
จะเป็นอยู่ไม่ได้แล้ว ขอนิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายแสดงธรรมเถิดเจ้าข้า”
พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า “การเข้ามาที่สำนักภิกษุณีแล้วแสดงธรรมแก่
ภิกษุณีไม่สมควร” พากันมีความยำเกรงอยู่ไม่แสดงธรรม
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเสด็จ
เข้าไปเยี่ยมพระนางมหาปชาบดีถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัด
ไว้แล้ว ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งแล้ว ได้ตรัสกับพระนางมหาปชาบดีโคตมีนั้น
ดังนี้ว่า “โคตมี ท่านสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ”
พระนางมหาปชาบดีโคตมีกราบทูลว่า “เมื่อก่อน ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายมา
แสดงธรรม หม่อมฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ‘พระองค์
ทรงห้าม’ มีความยำเกรงอยู่ไม่แสดงธรรม เหตุนั้นหม่อมฉันจึงไม่มีความผาสุก
พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๓.ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีเห็นชัด ชวน
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจากอาสนะเสด็จไป
ต่อมาพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอน
ภิกษุณีเป็นไข้ได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๑๖๐] อนึ่ง ภิกษุใดเข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย
นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สมัยในข้อนั้น คือ ภิกษุณีเป็นไข้ นี้เป็นสมัย
ในข้อนั้น
เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี จบ
[๑๖๑] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ที่สำนักภิกษุณี ได้แก่ สถานที่ที่ภิกษุณีพักแม้คืนเดียว
คำว่า เข้าไป คือ ไปในที่นั้น
ที่ชื่อว่า ภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
คำว่า สั่งสอน ความว่า ภิกษุสั่งสอนครุธรรม ๘ อย่าง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า นอกสมัย คือ ยกเว้นสมัย
ที่ชื่อว่า ภิกษุณีเป็นไข้ ได้แก่ ภิกษุณีไม่สามารถไปรับโอวาทหรือร่วม
ประชุมได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๓.ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๖๒] อุปสัมบัน๑ ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้ว
สั่งสอนนอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนนอกสมัย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน๒ เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้ว สั่งสอนนอก
สมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุสั่งสอนธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุสั่งสอนภิกษุณีที่อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๖๓] ๑. ภิกษุสอนในสมัย
๒. ภิกษุให้อุทเทส
๓. ภิกษุให้ปริปุจฉา

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “อุปสัมบัน” ในที่นี้หมายถึงภิกษุณี
๒ คือสำคัญว่ามิใช่ภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค อนาปัตติวาร
๔. ภิกษุที่ภิกษุณีกล่าวขอว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าสวดเถิด” สวดอยู่
๕. ภิกษุถามปัญหา
๖. ภิกษุถูกถามปัญหาแล้วตอบปัญหา
๗. ภิกษุสั่งสอนผู้อื่นแต่มีภิกษุณีฟังอยู่ด้วย
๘. ภิกษุสั่งสอนสิกขมานา
๙. ภิกษุสั่งสอนสามเณรี
๑๐. ภิกษุวิกลจริต
๑๑. ภิกษุต้นบัญญัติ
ภิกขุนูปัสสยสิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๔.อามิสสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค
๔. อามิสสิกขาบท
ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีเพราะเห็นแก่อามิส
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๖๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายสั่งสอน
พวกภิกษุณี ย่อมได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายไม่ตั้งใจสั่งสอน
ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายก็เพราะเห็นแก่
อามิส”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายไม่ตั้งใจสั่งสอนภิกษุณี
ทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายก็เพราะเห็นแก่อามิสเล่า”
ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอกล่าวอย่างนี้ว่า
ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายไม่ตั้งใจสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลาย
สั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายก็เพราะเห็นแก่อามิส จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับ
ว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายไม่ตั้งใจสั่งสอน
ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายก็เพราะเห็นแก่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๔.อามิสสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
อามิสเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๖๕] ก็ ภิกษุใดกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุ(ผู้เป็นเถระ)ทั้งหลายสั่งสอน
ภิกษุณีทั้งหลายเพราะเห็นแก่อามิส ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๖๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า เพราะเห็นแก่อามิส คือ เพราะเห็นแก่จีวร เพราะเห็นแก่บิณฑบาต
เพราะเห็นแก่เสนาสนะ เพราะเห็นแก่คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเห็นแก่สักการะ
เพราะเห็นแก่ความเคารพ เพราะเห็นแก่ความนับถือ เพราะเห็นแก่การกราบไหว้
เพราะเห็นแก่การบูชา
คำว่า กล่าวอย่างนี้ ความว่า ภิกษุต้องการจะทำให้เสียชื่อ ต้องการจะทำให้
อัปยศ ต้องการจะทำอุปสัมบันที่สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีให้เก้อเขิน จึง
กล่าวหาอย่างนี้ว่า “ภิกษุนั้นสั่งสอนเพราะเห็นแก่จีวร เพราะเห็นแก่บิณฑบาต
เพราะเห็นแก่เสนาสนะ เพราะเห็นแก่คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเห็นแก่
สักการะ เพราะเห็นแก่ความเคารพ เพราะเห็นแก่ความนับถือ เพราะเห็นแก่การ
กราบไหว้ เพราะเห็นแก่การบูชา” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๔.อามิสสิกขาบท บทภาชนีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๖๗] กรรม๑ ที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง กล่าวอย่าง
นี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ กล่าวอย่างนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง กล่าวอย่างนี้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
ภิกษุต้องการจะทำให้เสียชื่อ ต้องการจะทำให้อัปยศ ต้องการจะทำอุปสัมบันที่
สงฆ์ไม่ได้แต่งตั้งให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีให้เก้อเขิน จึงกล่าวหาอย่างนี้ว่า “ภิกษุ
นั้นสั่งสอนเพราะเห็นแก่จีวร เพราะเห็นแก่บิณฑบาต เพราะเห็นแก่เสนาสนะ เพราะ
เห็นแก่คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเห็นแก่สักการะ เพราะเห็นแก่ความเคารพ
เพราะเห็นแก่ความนับถือ เพราะเห็นแก่การกราบไหว้ เพราะเห็นแก่การบูชา” ต้อง
อาบัติทุกกฏ
ภิกษุต้องการจะทำให้เสียชื่อ ต้องการจะทำให้อัปยศ ต้องการจะทำ
อนุปสัมบันที่สงฆ์แต่งตั้งหรือไม่ได้แต่งตั้งให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีให้เก้อเขิน จึงกล่าว
หาอย่างนี้ว่า “อนุปสัมบันนั้นสั่งสอนเพราะเห็นแก่จีวร เพราะเห็นแก่บิณฑบาต
เพราะเห็นแก่เสนาสนะ เพราะเห็นแก่คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเห็นแก่สักการะ
เพราะเห็นแก่ความเคารพ เพราะเห็นแก่ความนับถือ เพราะเห็นแก่การกราบไหว้
เพราะเห็นแก่การบูชา” ต้องอาบัติทุกกฏ

เชิงอรรถ :
๑ กรรม คือการแต่งตั้งภิกษุสั่งสอนพวกภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๔.อามิสสิกขาบท อนาปัตติวาร
ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง กล่าวอย่างนี้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ กล่าวอย่างนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง กล่าวอย่างนี้
ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๖๘] ๑. ภิกษุกล่าวหาภิกษุผู้สั่งสอนเพราะเห็นแก่จีวร เพราะเห็นแก่
บิณฑบาต เพราะเห็นแก่เสนาสนะ เพราะเห็นแก่คิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร เพราะเห็นแก่สักการะ เพราะเห็นแก่ความเคารพ
เพราะเห็นแก่ความนับถือ เพราะเห็นแก่การกราบไหว้ เพราะ
เห็นแก่การบูชาตามปกติ
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
อามิสสิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๕.จีวรทานสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค
๕. จีวรทานสิกขาบท
ว่าด้วยการถวายจีวร
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๑๖๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตไป
ตามถนนสายหนึ่ง ภิกษุณีรูปหนึ่งก็เที่ยวบิณฑบาตไปตามถนนสายเดียวกันนั้น
ทีนั้น ภิกษุได้กล่าวกับภิกษุณีรูปนั้นดังนี้ว่า “ไปเถิด น้องหญิง ที่โน้นมีผู้ถวาย
ภิกษา” ภิกษุณีก็กล่าวอย่างนี้ว่า “ไปเถิด พระคุณเจ้า ที่โน้นมีผู้ถวายภิกษา” ภิกษุ
และภิกษุณีทั้ง ๒ รูปนั้นจึงเป็นเพื่อนกัน เพราะพบกันอยู่เนือง ๆ
ต่อมา ภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวรกำลังแจกจีวรของสงฆ์ ภิกษุณีรูปนั้นไปรับ
โอวาท แล้วเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้ไหว้ภิกษุรูปนั้น แล้วยืน ณ
ที่สมควร
ภิกษุผู้เป็นเพื่อนรูปนั้นได้กล่าวกับภิกษุณีรูปนั้นผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรว่า “น้อง
หญิง นี้จีวรส่วนแบ่งของเรา เธอจะรับหรือไม่”
ภิกษุณีตอบว่า “รับ เจ้าข้า เพราะดิฉันมีจีวรเก่า”
ทีนั้น ภิกษุนั้นจึงได้ให้จีวรแก่ภิกษุณีรูปนั้น ส่วนตนเองก็ยังคงใช้จีวรเก่า
ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ท่าน บัดนี้ท่านจงตัดเย็บจีวรของ
ท่าน”
ลำดับนั้น ภิกษุรูปนั้นจึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
จึงให้จีวรแก่ภิกษุณีเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่าง ๆ แล้ว
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๕.จีวรทานสิกขาบท พระบัญญัติ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอให้จีวรแก่ภิกษุณีจริงหรือ” ภิกษุนั้นทูล
รับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ ภิกษุณีนั้นเป็น
ญาติของเธอหรือไม่ใช่ญาติ” ภิกษุนั้นทูลรับว่า “ไม่ใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า” พระ
ผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ภิกษุผู้ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้ความเหมาะสมหรือ
ไม่เหมาะสม ความน่าเลื่อมใสหรือไม่น่าเลื่อมใส ของที่มีอยู่หรือไม่มีอยู่ของภิกษุณี
ผู้ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติเล่า โมฆบุรุษ การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๑๗๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายพากันมีความยำเกรง จึงไม่ยอมให้จีวรแลก
เปลี่ยนกับภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า
“ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงไม่ยอมให้จีวรแลกเปลี่ยนกับพวกเราเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินภิกษุณีทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยนจีวรได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สหธรรมิก ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๕.จีวรทานสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขมานา สามเณร สามเณรี ให้จีวรแลกเปลี่ยนกันได้ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้สหธรรมิก ๕ เหล่านี้ ให้จีวรแลกเปลี่ยนกันได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๑๗๑] อนึ่ง ภิกษุใดให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๗๒] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ว่า อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดพอที่จะทำ
วิกัปได้เป็นอย่างต่ำ
คำว่า เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน คือ ภิกษุให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ยกเว้น
แลกเปลี่ยนกัน
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๗๓] ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ให้จีวร ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๕.จีวรทานสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ให้จีวร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่แลก
เปลี่ยนกัน
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้จีวร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้น
ไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน
ติกทุกกฏ
ภิกษุณีที่อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว ภิกษุให้จีวร ต้องอาบัติทุกกฏ เว้นไว้แต่
แลกเปลี่ยนกัน
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ให้จีวร ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ให้จีวร ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้จีวร ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๗๔] ๑. ภิกษุผู้ให้แก่ภิกษุณีที่เป็นญาติ
๒. ภิกษุแลก คือ เอาจีวรราคาถูกแลกจีวรราคาแพง หรือจีวรราคา
แพงแลกจีวรราคาถูก
๓. ภิกษุเจ้าของจีวรที่ภิกษุณีถือวิสาสะเอาไป
๔. ภิกษุเจ้าของจีวรที่ภิกษุณีขอยืมไป
๕. ภิกษุให้บริขารอื่น นอกจากจีวร
๖. ภิกษุให้แก่สิกขมานา
๗. ภิกษุให้แก่สามเณรี
๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ
จีวรทานสิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๖.จีวรสิพพนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค
๖. จีวรสิพพนสิกขาบท
ว่าด้วยการเย็บจีวรให้ภิกษุณี
เรื่องพระอุทายี
[๑๗๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีเป็นผู้ชำนาญ
การตัดเย็บจีวร ภิกษุณีรูปหนึ่งเข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าว
กับท่านพระอุทายีดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า ดิฉันขอโอกาส พระคุณเจ้า ช่วยเย็บจีวร
ให้ด้วยเถิด เจ้าข้า”
ทีนั้น ท่านพระอุทายีจึงได้เย็บจีวรให้นางภิกษุณีนั้น ย้อมอย่างดี เรียบร้อยดี
เขียนภาพตามจินตนาการตรงกลางแล้วพับเก็บไว้
ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปนั้นได้เข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าว
กับท่านพระอุทายีดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า จีวรนั้นอยู่ที่ไหน เจ้าค่ะ”
ท่านพระอุทายีตอบว่า “น้องหญิง มาเถิด เธอนำจีวรผืนนี้ไปตามที่พับเก็บไว้
แล้ว จงห่มจีวรผืนนี้เดินตามหลังภิกษุณีสงฆ์มาในเวลาที่ภิกษุณีสงฆ์มารับโอวาท”
ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปนั้นได้นำจีวรไปเก็บไว้ตามที่พับ แล้วได้ห่มจีวรผืนนั้นเดิน
ตามหลังภิกษุณีสงฆ์มาในเวลาที่ภิกษุณีสงฆ์มารับโอวาท
พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พวกภิกษุณีไม่กลัวบาป
ใจถึง ไร้ยางอาย จนถึงกับได้เขียนภาพตามจินตนาการไว้ที่จีวร”
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “ภาพนี้ใครเขียน”
ภิกษุณีนั้นตอบว่า “พระคุณเจ้าอุทายี”
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า “ภาพตามจินตนาการประเภทนี้ ถึงพวกนักเลง
ตัดช่องย่องเบา ไม่กลัวบาป ก็ยังไม่เห็นว่างาม ไฉนพระคุณเจ้าอุทายีจึงเห็นว่างาม
เล่า” ครั้นแล้วภิกษุณีเหล่านั้นจึงบอกเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๖.จีวรสิพพนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระอุทายีจึงเย็บจีวรให้ภิกษุณีเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุทายีโดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอเย็บจีวรให้ภิกษุณี จริงหรือ” ท่าน
พระอุทายีทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อุทายี
ภิกษุณีนั้นเป็นญาติของเธอหรือไม่ใช่ญาติ” ท่านพระอุทายีกราบทูลว่า “ไม่ใช่ญาติ
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ภิกษุผู้ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้
ความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ความน่าเลื่อมใสหรือไม่น่าเลื่อมใสของภิกษุณีผู้
ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงเย็บจีวรให้แก่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติเล่า โมฆบุรุษ การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๗๖] ก็ ภิกษุใดเย็บหรือใช้ให้เย็บจีวรให้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องพระอุทายี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๗๗] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๖.จีวรสิพพนสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดพอที่จะทำ
วิกัปได้เป็นอย่างต่ำ
คำว่า เย็บ คือ ภิกษุเย็บให้เอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ รอยเข็ม
คำว่า ใช้ให้เย็บ คือ ภิกษุใช้ให้ผู้อื่นเย็บให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ผู้รับคำสั่ง
ครั้งเดียว แต่เย็บมากครั้ง ภิกษุผู้สั่งต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๗๘] ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ เย็บหรือใช้ให้เย็บจีวร
ให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ เย็บหรือใช้ให้เย็บจีวรให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เย็บหรือใช้ให้เย็บจีวรให้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
ภิกษุณีที่อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว ภิกษุเย็บหรือใช้ให้เย็บจีวรให้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ เย็บหรือให้เย็บจีวรให้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ เย็บหรือใช้ให้เย็บจีวรให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เย็บหรือใช้ให้เย็บจีวร ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๖.จีวรสิพพนสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๗๙] ๑. ภิกษุเย็บจีวรให้ภิกษุณีผู้เป็นญาติ
๒. ภิกษุเย็บหรือใช้ให้เย็บบริขารอื่นให้ นอกจากจีวร
๓. ภิกษุเย็บจีวรให้สิกขมานา
๔. ภิกษุเย็บจีวรให้สามเณรี
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ
จีวรสิพพนสิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๗.สังวิธานสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค
๗. สังวิธานสิกขาบท
ว่าด้วยการชักชวนเดินทางร่วมกัน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๘๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชักชวนกันเดิน
ทางไกลร่วมกันกับภิกษุณีทั้งหลาย พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนา
ว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเที่ยวไปกับภิกษุณีทั้งหลาย เหมือนพวกเรากับ
ภรรยาเที่ยวไปด้วยกัน”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงชักชวนกันเดิน
ทางไกลร่วมกันกับภิกษุณีทั้งหลายเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอชักชวนกันเดินทาง
ไกลร่วมกันกับภิกษุณีทั้งหลาย จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระ
พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับภิกษุณีทั้งหลายเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๗.สังวิธานสิกขาบท พระบัญญัติ
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับภิกษุณี โดยที่สุดแม้ชั่วละแวก
หมู่บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป
[๑๘๑] สมัยนั้น พวกภิกษุและพวกภิกษุณีหลายรูปจะเดินทางไกลจากเมือง
สาเกตไปกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า
“พวกดิฉันจะขอเดินทางไปกับพระคุณเจ้าทั้งหลาย”
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า “น้องหญิงทั้งหลาย การชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกัน
กับภิกษุณีไม่สมควร พวกเธอจักไปก่อน หรือพวกเราจักไปก่อน”
ภิกษุณีทั้งหลายตอบว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลายเป็นบุรุษผู้ล้ำเลิศ นิมนต์ล่วง
หน้าไปก่อนเถิด เจ้าข้า”
ครั้งนั้น เมื่อภิกษุณีเหล่านั้นเดินทางไปภายหลัง พวกโจรจึงปล้นและทำร้ายใน
ระหว่างทาง ทีนั้น ครั้นภิกษุณีเหล่านั้นเดินทางถึงกรุงสาวัตถีจึงบอกเรื่องนั้นแก่
ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่านั้นจึงบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นได้
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงอนุญาตให้เดินทางร่วมกัน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย หนทางที่จะพึงไปด้วยกองเกวียน ที่รู้กัน
ว่าน่าหวาดระแวง มีภัยน่ากลัว เราอนุญาตให้ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับ
ภิกษุณีได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๗.สังวิธานสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระอนุบัญญัติ
[๑๘๒] อนึ่ง ภิกษุใดชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับภิกษุณี โดยที่สุด
แม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สมัยในข้อนั้น คือ
เป็นหนทางที่จะพึงไปด้วยกองเกวียน ที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง มีภัยน่ากลัว นี้
เป็นสมัยในข้อนั้น
เรื่องภิกษุและนางภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๘๓] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ว่า อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า ชักชวนกัน คือ ชักชวนกันว่า พวกเราไปกันเถิด น้องหญิง พวกเรา
ไปกันเถิด พระคุณเจ้า ไปกันเถิด พระคุณเจ้า พวกเราไปกันเถิด น้องหญิง พวก
เราจะไปวันนี้ พรุ่งนี้ หรือวันมะรืนนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
คำว่า โดยที่สุดแม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง คือ หมู่บ้านหนึ่งกำหนดชั่วไก่บิน
ตก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ละแวกหมู่บ้าน ในป่าที่ไม่มีหมู่บ้าน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ กึ่งโยชน์
คำว่า นอกสมัย คือ ยกเว้นสมัย
ที่ชื่อว่า หนทางที่จะพึงไปด้วยกองเกวียน คือ ไม่สามารถจะไปได้ เว้นไว้
แต่ไปด้วยกองเกวียน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๗.สังวิธานสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า น่าหวาดระแวง คือ ในหนทางนั้น ปรากฏที่อยู่ ปรากฏที่กิน
ปรากฏที่ยืน ปรากฏที่นั่ง ปรากฏที่นอนของพวกโจร
ที่ชื่อว่า มีภัยน่ากลัว คือ ในหนทางนั้น ปรากฏมีมนุษย์ถูกพวกโจรฆ่า
ปรากฏมีมนุษย์ถูกปล้น ปรากฏมีมนุษย์ถูกทุบตี
ภิกษุพาไปตลอดทางที่มีภัยน่ากลัว พอเห็นที่ปลอดภัยพึงส่งภิกษุณีทั้งหลาย
ไปด้วยกล่าวว่า “พวกเธอจงไปเถิด”
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๘๔] ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าชักชวนกันแล้ว เดินทางไกลด้วยกัน
โดยที่สุดแม้ชั่วระยะหมู่บ้านหนึ่ง นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ชักชวนกันแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ เดินทางไกลด้วยกันโดยที่สุดแม้ชั่วระยะหมู่บ้าน
หนึ่ง นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวน เดินทางไกลด้วยกันโดยที่สุดแม้
ชั่วระยะหมู่บ้านหนึ่ง นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
ภิกษุชักชวน ภิกษุณีไม่ได้ชักชวน ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าชักชวน ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้ชักชวน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวน ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๗.สังวิธานสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๘๕] ๑. ภิกษุและภิกษุณีไปในสมัยที่ทรงอนุญาต
๒. ภิกษุและภิกษุณีไม่ได้ชักชวนกันไป
๓. ภิกษุไม่ได้ชักชวนแต่ภิกษุณีชักชวน
๔. ภิกษุและภิกษุณีไปด้วยกันโดยมิได้นัดหมายกัน
๕. ภิกษุและภิกษุณีไปในคราวมีเหตุขัดข้อง
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สังวิธานสิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๘.นาวาภิรูหนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค
๘. นาวาภิรูหนสิกขาบท
ว่าด้วยการโดยสารเรือลำเดียวกัน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๘๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชักชวนภิกษุณี
ทั้งหลายโดยสารเรือลำเดียวกัน
พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากย
บุตรเหล่านี้ชักชวนภิกษุณีทั้งหลายเล่นเรือลำเดียวกัน เหมือนพวกเรากับภรรยาเล่น
เรือลำเดียวกัน”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงชักชวน
ภิกษุณีทั้งหลายโดยสารเรือลำเดียวกันเล่า” ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ทราบว่า พวกเธอชักชวนภิกษุณีทั้งหลายโดยสารเรือลำเดียวกัน จริงหรือ” พวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ
ว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงชักชวนภิกษุณีทั้งหลายโดยสารเรือ
ลำเดียวกันเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๘.นาวาภิรูหนสิกขาบท พระบัญญัติ
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดชักชวนภิกษุณีโดยสารเรือลำเดียวกัน ไปทวนน้ำก็ตาม ไปตาม
น้ำก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป
[๑๘๗] สมัยนั้น พวกภิกษุและพวกภิกษุณีหลายรูปจะเดินทางไกลจากเมือง
สาเกตไปกรุงสาวัตถี ระหว่างทางมีแม่น้ำที่ต้องข้าม ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นได้กล่าว
กับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “พวกดิฉันจะขอข้ามไปพร้อมกับพระคุณเจ้าทั้งหลาย”
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า “น้องหญิงทั้งหลาย การชักชวนภิกษุณีโดยสารเรือ
ลำเดียวกันไม่สมควร พวกเธอจักข้ามไปก่อน หรือพวกเราจักข้ามไปก่อน”
ภิกษุณีทั้งหลายตอบว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลายเป็นบุรุษผู้ล้ำเลิศ นิมนต์ข้ามไป
ก่อนเถิด เจ้าข้า”
ครั้งนั้น เมื่อภิกษุณีเหล่านั้นข้ามไปภายหลัง พวกโจรจึงปล้นและทำร้าย
ในระหว่างทาง ทีนั้น ครั้นภิกษุณีเหล่านั้นเดินทางถึงกรุงสาวัตถีจึงบอกเรื่องนั้น
แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่านั้นจึงบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น
ได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงอนุญาตให้โดยสารเรือลำเดียวกันข้ามฟาก
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในการข้ามฟาก เราอนุญาตให้ชักชวน
ภิกษุณีโดยสารเรือลำเดียวกันได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๘.นาวาภิรูหนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระอนุบัญญัติ
[๑๘๘] อนึ่ง ภิกษุใดชักชวนภิกษุณีโดยสารเรือลำเดียวกัน ไปทวนน้ำ
ก็ตาม ไปตามน้ำก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ข้ามฟาก
เรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๘๙] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ว่า อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
คำว่า กับ คือ รวมกันโดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า ชักชวนกัน คือ ชักชวนกันว่า ไปโดยสารเรือกันเถิด น้องหญิง ไปโดย
สารเรือกันเถิด พระคุณเจ้า ไปโดยสารเรือกันเถิด เจ้าค่ะ ไปโดยสารเรือกันเถิดจ้ะ
พวกเราจะไปโดยสารเรือกันวันนี้ พรุ่งนี้ หรือวันมะรืนนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
เมื่อภิกษุณีโดยสาร ภิกษุโดยสาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เมื่อภิกษุโดยสาร ภิกษุณีโดยสาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุและภิกษุณีทั้งสองโดยสาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ไปทวนน้ำ คือ แล่นทวนกระแสน้ำ
คำว่า ไปตามน้ำ คือ แล่นตามกระแสน้ำ
คำว่า เว้นไว้แต่ข้ามฟาก คือ ยกเว้นแต่ข้ามฝั่งน้ำ
หมู่บ้านหนึ่งกำหนดชั่วไก่บินตก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ละแวกหมู่บ้าน ใน
ป่าที่ไม่มีหมู่บ้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ กึ่งโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๘.นาวาภิรูหนสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๙๐] ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียวกัน
ไปทวนน้ำก็ตาม ไปตามน้ำก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ข้ามฟาก
ชักชวนกันแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ โดยสารเรือลำเดียวกัน ไปทวนน้ำก็ตาม
ไปตามน้ำก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ข้ามฟาก
ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวน โดยสารเรือลำเดียวกัน ไปทวนน้ำ
ก็ตาม ไปตามน้ำก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ข้ามฟาก
ติกทุกกฏ
ภิกษุชักชวน ภิกษุณีไม่ได้ชักชวน ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าชักชวนกันแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้ชักชวน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวน ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๙๑] ๑. ภิกษุและภิกษุณีโดยสารเรือข้ามฟาก
๒. ภิกษุและภิกษุณีไม่ได้ชักชวนกันโดยสารเรือ
๓. ภิกษุไม่ได้ชักชวน แต่ภิกษุณีชักชวน
๔. ภิกษุและภิกษุณีโดยสารเรือโดยมิได้นัดหมายกัน
๕. ภิกษุและภิกษุณีไปในคราวมีเหตุขัดข้อง
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
นาวาภิรูหนสิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๙.ปริปาจิตสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค
๙. ปริปาจิตสิกขาบท
ว่าด้วยการฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๙๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุณีชื่อถุลลนันทาเป็นผู้ใกล้ชิดตระกูล
ของตระกูลหนึ่งรับภัตตาหารประจำ คหบดีนั้นนิมนต์ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปไว้
ครั้งนั้น ในเวลาเช้า ภิกษุณีชื่อถุลลนันทาครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปถึงตระกูลนั้น ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับคหบดีนั้นดังนี้ว่า “คหบดี ทำไมท่าน
จึงเตรียมของเคี้ยวของฉันไว้มากมาย”
คหบดีตอบว่า “แม่เจ้า กระผมนิมนต์พระเถระทั้งหลายไว้ ขอรับ”
ภิกษุณีชื่อถุลลนันทาถามว่า “คหบดี พระเถระเหล่านั้น ใครบ้าง”
คหบดีตอบว่า “คือ พระคุณเจ้าสารีบุตร พระคุณเจ้ามหาโมคคัลลานะ พระ
คุณเจ้ามหากัจจายนะ พระคุณเจ้ามหาโกฏฐิตะ พระคุณเจ้ามหากัปปินะ พระคุณเจ้า
มหาจุนทะ พระคุณเจ้าอนุรุทธะ พระคุณเจ้าเรวตะ พระคุณเจ้าอุบาลี พระคุณเจ้า
อานนท์ พระคุณเจ้าราหุล”
ภิกษุณีถุลลนันทาถามว่า “คหบดี เมื่อมีพระเถระผู้ใหญ่ ทำไมท่านจึงนิมนต์
พระผู้น้อยเล่า”
“พระเถระผู้ใหญ่ของท่าน มีใครบ้าง ขอรับ”
“พระคุณเจ้าเทวทัต พระคุณเจ้าโกกาลิกะ พระคุณเจ้ากตโมรกติสสกะ๑ พระ
คุณเจ้าขัณฑเทวีบุตร พระคุณเจ้าสมุทททัต”

เชิงอรรถ :
๑ วินัยปิฎกเล่ม ๑ เป็น กฏโมรกติสสกะ (วิ.มหา. ๑/๔๐๙/๓๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๙.ปริปาจิตสิกขาบท พระบัญญัติ
ในขณะที่ภิกษุณีชื่อถุลลนันทากล่าวค้างอยู่นี้ พอดีกับที่พระเถระเหล่านั้นเข้า
มา นางกลับพูดว่า “ถูกแล้ว คหบดี ท่านนิมนต์พระเถระผู้ใหญ่ทั้งนั้น”
คหบดีกล่าวว่า “เมื่อสักครู่นี่เอง ท่านกล่าวว่าพระคุณเจ้าทั้งหลายเป็นพระ
ผู้น้อย แต่เดี๋ยวนี้กลับกล่าวว่าเป็นพระเถระผู้ใหญ่” จึงขับนางออกจากเรือนและงด
ภัตตาหารที่ถวายประจำ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พระเทวทัตรู้อยู่จึงฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียมเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้น
ตำหนิพระเทวทัตโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพระเทวทัตว่า “เทวทัต ทราบว่า เธอรู้อยู่ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะ
นำให้จัดเตรียม จริงหรือ” พระเทวทัตทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอรู้อยู่จึงฉันบิณฑบาตที่
ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียมเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๙.ปริปาจิตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๑๙๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งบวชจากกรุงราชคฤห์ ได้เดินทางไปตระกูลญาติ
พวกชาวบ้านถวายภัตตาหารด้วยความดีใจว่า นาน ๆ พระคุณเจ้าจึงมา ภิกษุณีผู้
ใกล้ชิดตระกูลของตระกูลนั้นได้กล่าวกับพวกชาวบ้านดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงถวาย
ภัตตาหารแก่พระคุณเจ้า”
ทีนั้น ภิกษุนั้นมีความยำเกรงว่า พระผู้มีพระภาคทรงห้ามภิกษุผู้รู้อยู่ฉัน
บิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม จึงไม่ยอมรับประเคน ไม่สามารถไปเที่ยว
บิณฑบาต ได้อดอาหาร ครั้นไปอารามจึงบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น
จึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงอนุญาตให้ฉันบิณฑบาตที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน เราอนุญาตให้ภิกษุ
ผู้รู้อยู่ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียมได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย
ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๑๙๔] อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภัตตาหารที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๙๕] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๙.ปริปาจิตสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เอง ผู้อื่นบอกให้ภิกษุนั้นรู้ หรือภิกษุณีบอก
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ที่ชื่อว่า แนะนำให้จัดเตรียม คือ เขาไม่ประสงค์จะถวาย หรือไม่ประสงค์
จะกระทำแต่แรก ภิกษุณีกล่าวว่า “พระคุณเจ้าเป็นนักสวด พระคุณเจ้าเป็นพหูสูต
พระคุณเจ้าเป็นผู้ชำนาญพระสูตร พระคุณเจ้าเป็นผู้ทรงวินัย พระคุณเจ้าเป็น
ธรรมกถึก ท่านทั้งหลายจงถวายแก่พระคุณเจ้า จงทำถวายแก่พระคุณเจ้า” อย่างนี้
ชื่อว่าแนะนำให้จัดเตรียม
ที่ชื่อว่า บิณฑบาต ได้แก่ โภชนะ ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
คำว่า เว้นไว้แต่ภัตตาหารที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน คือ ยกเว้นที่คฤหัสถ์
ริเริ่มไว้
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์ปรารภไว้ คือ เขาเป็นญาติ เป็นผู้ปวารณาภิกษุไว้ หรือ
ของเขาจัดแจงไว้ตามปกติ
[๑๙๖] ภิกษุรับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุฉัน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน เว้นไว้แต่ภัตตาหารที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน
บทภาชนีย์
บิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม ภิกษุสำคัญว่าภิกษุณีแนะนำให้จัด
เตรียม ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภัตตาหารที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน
บิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม ภิกษุไม่แน่ใจ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
เว้นไว้แต่ภัตตาหารที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน
บิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้แนะนำให้จัดเตรียม
ฉัน ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๙.ปริปาจิตสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียวแนะนำให้จัดเตรียม
ต้องอาบัติทุกกฏ เว้นไว้แต่ภัตตาหารที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน
บิณฑบาตที่ภิกษุณีไม่ได้แนะนำให้จัดเตรียม ภิกษุสำคัญว่าภิกษุณีแนะนำให้
จัดเตรียม ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
บิณฑบาตที่ภิกษุณีไม่ได้แนะนำให้จัดเตรียม ภิกษุไม่แน่ใจ ฉัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
บิณฑบาตที่ภิกษุณีไม่ได้แนะนำให้จัดเตรียม ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้แนะนำให้จัดเตรียม
ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๙๗] ๑. ภิกษุฉันบิณฑบาตที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน
๒. ภิกษุฉันบิณฑบาตที่สิกขมานาแนะนำให้จัดเตรียม
๓. ภิกษุฉันบิณฑบาตที่สามเณรีแนะนำให้จัดเตรียม
๔. ภิกษุฉันอาหารทุกชนิด ยกเว้นโภชนะ ๕๑
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ
ปริปาจิตสิกขาบทที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมสด ข้าวตู ปลา เนื้อ (ดู ข้อ ๒๓๙ หน้า ๓๙๗ ในเล่มนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑๐.รโหนิสัชชสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค
๑๐. รโหนิสัชชสิกขาบท
ว่าด้วยการนั่งในที่ลับ
เรื่องพระอุทายี
[๑๙๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น อดีตภรรยาของท่านพระอุทายี
บวชในสำนักภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีนั้นมาที่สำนักท่านพระอุทายีเป็นประจำ ท่าน
พระอุทายีก็ไปสำนักของภิกษุณีนั้นเป็นประจำ สมัยนั้น ท่านพระอุทายีนั่งในที่ลับ
กับภิกษุณีนั้นสองต่อสอง
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระอุทายีจึงนั่งในที่ลับกับภิกษุณีสองต่อสองเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระ
อุทายีโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอนั่งในที่ลับกับภิกษุณีสองต่อสอง
จริงหรือ” ท่านพระอุทายีทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงนั่งอยู่ในที่ลับกับภิกษุณีสองต่อสองเล่า
โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๙๙] ก็ ภิกษุใดนั่งในที่ลับกับภิกษุณีสองต่อสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระอุทายี จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑๐.รโหนิสัชชสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๒๐๐] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า สองต่อสอง ได้แก่ ภิกษุกับภิกษุณี
ที่ชื่อว่า ที่ลับ ได้แก่ ที่ลับตา ที่ลับหู
ที่ชื่อว่า ที่ลับตา หมายถึง ที่ซึ่งเมื่อบุคคลขยิบตา ยักคิ้ว หรือผงกศีรษะขึ้น
ใคร ๆ ก็ไม่สามารถแลเห็นได้
ที่ชื่อว่า ที่ลับหู หมายถึง ที่ซึ่งไม่มีใครสามารถจะได้ยินถ้อยคำที่พูดกันตาม
ปกติ
คำว่า นั่ง หมายความว่า เมื่อภิกษุณีนั่ง ภิกษุนั่งใกล้ หรือนอนใกล้กัน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
[๒๐๑] เมื่อภิกษุนั่ง ภิกษุณีนั่งใกล้หรือนอนใกล้ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุและภิกษุณีทั้งสองนั่งใกล้หรือนอนใกล้กัน ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าเป็นที่ลับ นั่งสองต่อสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่ลับ ภิกษุไม่แน่ใจ นั่งสองต่อสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ที่ลับ นั่งสองต่อสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑๐.รโหนิสัชชสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าเป็นที่ลับ นั่งสองต่อสอง ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ที่ลับ ภิกษุไม่แน่ใจ นั่งสองต่อสอง ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ที่ลับ ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๒๐๒] ๑. ภิกษุมีบุรุษรู้เดียงสาอยู่เป็นเพื่อน
๒. ภิกษุยืน ไม่ได้นั่ง
๓. ภิกษุไม่ได้มุ่งว่าเป็นที่ลับ
๔. ภิกษุนั่งคิดเรื่องอื่น
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ
รโหนิสัชชสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
โอวาทวรรคที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค รวมสิกขาบทที่มีในโอวาสวรรค
รวมสิกขาบทที่มีในโอวาทวรรค
โอวาทวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ

๑. โอวาทสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณี
๒. อัตถังคตสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีในเวลาที่ดวง
อาทิตย์อัสดงแล้ว
๓. ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท ว่าด้วยการไปสั่งสอนภิกษุณีถึงที่สำนัก
๔. อามิสสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีเพราะเห็นแก่อามิส
๕. จีวรทานสิกขาบท ว่าด้วยการถวายจีวร
๖. จีวรสิพพนสิกขาบท ว่าด้วยการเย็บจีวรให้ภิกษุณี
๗. สังวิธานสิกขาบท ว่าด้วยการชักชวนเดินทางร่วมกัน
๘. นาวาภิรูหนสิกขาบท ว่าด้วยการโดยสารเรือลำเดียวกัน
๙. ปริปาจิตสิกขาบท ว่าด้วยการฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำ
ให้จัดเตรียม
๑๐. รโหนิสัชชสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๑.อาวสถปิณฑสิกขาบท นิทานวัตถุ
๔. โภชนวรรค
หมวดว่าด้วยโภชนะ
๑. อาวสถปิณฑสิกขาบท๑
ว่าด้วยการฉันภัตตาหารในที่พักแรม
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๒๐๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ในที่ไม่ไกลกรุงสาวัตถี มีสมาคม
หนึ่งจัดตั้งภัตตาหารไว้ในที่พักแรม ในเวลาเช้า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ครองอันตรวาสก
แล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี เมื่อไม่ได้ภัตตาหารจึงได้ไปยังที่
พักแรม
พวกชาวบ้านถวายภัตตาหารด้วยความดีใจว่า นาน ๆ พระคุณเจ้าจึงมา
ครั้งนั้น แม้ในวันที่ ๒ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ฯลฯ แม้ในวันที่ ๓ พวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ครองอันตรวาสก แล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี เมื่อ
ไม่ได้ภัตตาหารจึงได้ไปยังที่พักแรม แล้วฉันภัตตาหาร ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราจะกลับไปอารามทำไมกัน พรุ่งนี้ก็ต้องมาที่นี่อีก” จึง
อยู่ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเป็นประจำ พวกเดียรถีย์จึงพากันจากไป
พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงอยู่ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเป็นประจำเล่า ภัตตาหารในที่พักแรมเขา
ไม่ได้จัดไว้เพื่อท่านเหล่านี้เท่านั้น แต่ภัตตาหารในที่พักแรมเขาจัดไว้เพื่อสาธารณชน
ต่างหาก”

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “อาวสถ” ท่านอธิบายไว้ว่า “อาคนฺตฺวา วสนฺติ เอตฺถ อาคนฺตุกาติ อาวสโถ คือสถานที่สำหรับ
คนจรมาพักอาศัย (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๘๕/๓๖๙), อาวสโถ นาม กวาฏพทฺโธ วุจฺจติ ท่านหมายเอาที่พัก
อาศัยติดบานประตู (วิ.ภิกฺขุนี. ๓/๑๐๑๐/๑๔๙), อาวสถนฺติ กวาฏพทฺธวิหารํ ที่พักอาศัย คือที่พักอาศัย
ติดบานประตู (กงฺขา.อ. ๓๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๑.อาวสถปิณฑสิกขาบท พระบัญญัติ
พวกภิกษุได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงอยู่ฉัน
ภัตตาหารในที่พักแรมเป็นประจำเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธออยู่ฉันภัตตาหาร
ในที่พักแรมเป็นประจำ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธ
เจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวก
เธอจึงอยู่ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเป็นประจำเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
ภิกษุฉันภัตตาหารในที่พักแรม๑ ได้มื้อเดียว ถ้าฉันเกินกว่านั้น ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องพระสารีบุตร
[๒๐๔] สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรเดินทางไปกรุงสาวัตถี ในแคว้นโกศล
เข้าไปยังที่พักแรมแห่งหนึ่ง พวกชาวบ้านถวายภัตตาหารด้วยความดีใจว่า นานๆ
พระคุณเจ้าจึงมา

เชิงอรรถ :
๑ อาวสถปิณฺฑ ภัตตาหารในที่พักแรมคืออาหารที่ทายกผู้ต้องการบุญจัดไว้ในที่พักแรมซึ่งสร้างไว้มีรั้วล้อมรอบ
มีห้องหลายห้องมีหน้ามุข ตั้งเตียงตั่งไว้สำหรับคนเดินทาง คนไข้ หญิงมีครรภ์ และบรรพชิต (วิ.อ.๒/๒๐๓/๓๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๑.อาวสถปิณฑสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ครั้นพระสารีบุตรฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เกิดเป็นไข้อย่างหนักจนไม่สามารถ
จะออกไปจากที่พักแรมนั้นได้ ครั้นในวันที่ ๒ พวกชาวบ้านได้กราบเรียนท่าน
พระสารีบุตรดังนี้ว่า “นิมนต์ฉันเถิด พระคุณเจ้า”
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการ
อยู่ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเป็นประจำ” จึงไม่รับ ยอมอดอาหาร ครั้นท่านพระ
สารีบุตรเดินทางถึงกรุงสาวัตถี ได้เล่าเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ ภิกษุเหล่านั้น
ได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงอนุญาตภิกษุเป็นไข้ให้ฉันอาหารในที่พักแรมได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเป็นไข้พักอยู่ฉันภัตตาหาร
ในที่พักแรมเป็นประจำได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๒๐๕] ภิกษุไม่เป็นไข้ พึงอยู่ฉันภัตตาหารในที่พักแรมได้มื้อเดียว๑ ถ้า
ฉันเกินกว่านั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระสารีบุตร จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๐๖] ที่ชื่อว่า ภิกษุไม่เป็นไข้ คือ ภิกษุที่สามารถจะหลีกออกไปจากที่
พักแรมนั้นได้

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “มื้อเดียว” ท่านอธิบายไว้ว่า “เอโกติ เอกทิวสิโก มื้อเดียว คือเพียงวันเดียว (กงฺขา.อ. ๒๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๑.อาวสถปิณฑสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ ภิกษุที่ไม่สามารถจะหลีกออกไปจากที่พักแรมนั้นได้
ที่ชื่อว่า ภัตตาหารในที่พักแรม ได้แก่ โภชนะ ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่เขาจัดไว้ที่ศาลา ที่มณฑป ที่โคนไม้ หรือที่กลางแจ้ง อย่างเพียงพอ มิได้เจาะจง
ผู้ใด
ภิกษุไม่เป็นไข้พึงฉันได้มื้อเดียว หากรับประเคนเกินกว่านั้นด้วยคิดว่า จะฉัน
ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๐๗] ไม่เป็นไข้ ภิกษุสำคัญว่าไม่เป็นไข้ ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเกินกว่า
นั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่เป็นไข้ ภิกษุไม่แน่ใจ ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเกินกว่านั้น ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ไม่เป็นไข้ ภิกษุสำคัญว่าเป็นไข้ ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเกินกว่านั้น ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุสำคัญว่าไม่เป็นไข้ ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเกินกว่านั้น ต้อง
อาบัติทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุไม่แน่ใจ ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเกินกว่านั้น ต้องอาบัติทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุสำคัญว่าเป็นไข้ ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเกินกว่านั้น ไม่ต้อง
อาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๘ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น