Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๓-๘ หน้า ๓๕๘ - ๔๐๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓-๘ สุตตันตปิฎกที่ ๐๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์



พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร
ท่านพระรัฏฐปาละกล่าวว่า “อย่าเลย คหบดี วันนี้อาตมภาพฉันอิ่มแล้ว”
บิดากล่าวว่า “พ่อรัฏฐปาละ ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงรับนิมนต์ฉันภัตตาหารในวัน
พรุ่งนี้เถิด”
ท่านพระรัฏฐปาละรับนิมนต์โดยดุษณีภาพแล้ว ลำดับนั้น บิดาของท่านพระ
รัฏฐปาละทราบอาการที่ท่านพระรัฏฐปาละรับนิมนต์แล้ว จึงเข้าไปยังนิเวศน์ของตน
แล้วให้ขนเงินและทองมากองเป็นกองใหญ่ ให้เอาเสื่อลำแพนปิดไว้ แล้วเรียก
ภรรยาเก่าของท่านพระรัฏฐปาละมากล่าวว่า “มาเถิดแม่สาว ๆ ทั้งหลาย พวกเธอ
เคยแต่งตัวด้วยเครื่องประดับสำรับใดแล้ว จึงเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของรัฏฐปาลกุลบุตร
เมื่อครั้งก่อน จงแต่งตัวด้วยเครื่องประดับสำรับนั้นเถิด”
[๓๐๑] ครั้งนั้น เมื่อล่วงราตรีนั้นไป บิดาของท่านพระรัฏฐปาละได้สั่งให้
ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอย่างประณีตไว้ในนิเวศน์ของตน แล้วใช้คนไปบอกเวลา
แก่ท่านพระรัฏฐปาละว่า “พ่อรัฏฐปาละได้เวลาแล้ว ภัตตาหารสำเร็จแล้ว”
ครั้นเวลาเช้า ท่านพระรัฏฐปาละครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยัง
นิเวศน์ของบิดาท่านเองแล้วนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว บิดาของท่านพระรัฏฐปาละ
สั่งให้เปิดกองเงินกองทองนั้น แล้วได้กล่าวกับท่านพระรัฏฐปาละว่า
“พ่อรัฏฐปาละ ทรัพย์กองนี้เป็นส่วนของแม่ กองโน้นเป็นส่วนของพ่อ ส่วนอีก
กองหนึ่งเป็นของปู่ ทั้งหมดนี้เป็นของลูกผู้เดียว ลูกสามารถที่จะใช้สอยสมบัติไป
และทำบุญไปก็ได้ มาเถิด พ่อรัฏฐปาละ ลูกจงลาสิกขาออกมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอย
สมบัติ และทำบุญไปเถิด”
ท่านพระรัฏฐปาละตอบว่า “คหบดี ถ้าท่านพึงทำตามคำของอาตมภาพได้
ท่านพึงให้คนขนกองเงินกองทองนี้ ใส่เกวียนแล้วให้เขาเข็นไปทิ้งไว้ที่กลางกระแส
แม่น้ำคงคาเถิด ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะโสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความ
คร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความ
คับแค้นใจ) มีทรัพย์นั้นเป็นเหตุ จักเกิดขึ้นแก่ท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร
ลำดับนั้น พวกภรรยาเก่าของท่านพระรัฏฐปาละจับที่เท้าคนละข้างแล้วได้ถาม
ท่านพระรัฏฐปาละว่า “หลวงพี่ นางอัปสรพวกไหนเล่าเป็นต้นเหตุให้หลวงพี่ประพฤติ
พรหมจรรย์”
พระรัฏฐปาละตอบว่า “น้องหญิง เราไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะเหตุแห่ง
นางอัปสรทั้งหลาย”
ภรรยาเหล่านั้นเสียใจว่า “รัฏฐปาละผู้ลูกเจ้าเรียกพวกเราว่า ‘น้องหญิง” จึงล้ม
สลบอยู่ ณ ที่นั้น ครั้งนั้น ท่านพระรัฏฐปาละได้กล่าวกับบิดาว่า “คหบดี ถ้าท่าน
จะถวายอาหารก็จงถวายเถิด อย่าให้อาตมภาพลำบากเลย”
บิดากล่าวว่า “ฉันเถิด พ่อรัฏฐปาละ ภัตตาหารสำเร็จแล้ว”
ต่อจากนั้น บิดาของท่านพระรัฏฐปาละได้อังคาสท่านพระรัฏฐปาละด้วยของเคี้ยว
ของฉันอันประณีต ถวายให้ฉันจนอิ่มหนำด้วยมือของตน
พระรัฏฐปาละแสดงธรรม
[๓๐๒] ครั้งนั้น ท่านพระรัฏฐปาละฉันเสร็จละมือจากบาตรแล้วได้ยืนกล่าว
คาถาเหล่านี้ว่า
“โยมจงดูอัตภาพอันวิจิตร มีกายเป็นแผล๑
ที่คุมกันอยู่๒ กระสับกระส่าย๓
เป็นที่ดำริของชนเป็นอันมาก ไม่มีความยั่งยืนมั่นคง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร
โยมจงดูรูปอันวิจิตรด้วยแก้วมณีและกุณฑล
มีกระดูกอันหนังหุ้มห่อไว้ งามด้วยผ้า
เท้าที่ย้อมด้วยครั่งสีสด หน้าที่ไล้ทาด้วยจุรณ
พอจะหลอกคนโง่ให้หลงใหลได้
แต่จะหลอกคนผู้แสวงหาฝั่ง(คือนิพพาน)ไม่ได้
ผมที่ตบแต่งเป็นลอนดังตาหมากรุก
ตาที่เยิ้มด้วยยาหยอด พอจะหลอกคนโง่ได้
แต่จะหลอกคนที่แสวงหาฝั่งไม่ได้
กายที่มีสภาพเปื่อยเน่าเป็นธรรมดา
ซึ่งตกแต่งแล้วเหมือนกล่องยาหยอดตาใหม่
อันงดงามพอจะหลอกคนโง่ได้
แต่จะหลอกคนผู้แสวงหาฝั่งไม่ได้
ท่านเป็นดั่งพรานเนื้อวางบ่วงไว้
แต่เนื้อไม่ติดบ่วง
เมื่อพรานเนื้อกำลังคร่ำครวญอยู่
เรากินเหยื่อแล้วก็หลีกไป๑”
ลำดับนั้น ท่านพระรัฏฐปาละยืนกล่าวคาถาเหล่านี้แล้วจึงเข้าไปยังพระราช-
อุทยานมิคจีระของพระเจ้าโกรัพยะ แล้วนั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
[๓๐๓] ครั้งนั้น พระเจ้าโกรัพยะรับสั่งเรียกนายมิควะมาตรัสว่า “มิควะ
เพื่อนรัก ท่านจงทำความสะอาดพื้นที่อุทยานมิคจีระ เราจะไปชมพื้นที่อุทยานที่
สะอาด”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร
นายมิควะทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว เมื่อกำลังทำความสะอาดพื้นที่พระ
ราชอุทยานมิคจีระอยู่ ได้เห็นท่านพระรัฏฐปาละนั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
จึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าโกรัพยะถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า
“ขอเดชะ พระราชอุทยานมิคจีระของพระองค์สะอาดแล้ว และในพระราช-
อุทยานนั้น มีกุลบุตรชื่อรัฏฐปาละผู้เป็นบุตรแห่งตระกูลชั้นสูงในถุลลโกฏฐิตนิคมนี้
ที่พระองค์ทรงสรรเสริญอยู่เสมอ ๆ เธอนั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง”
พระเจ้าโกรัพยะตรัสว่า “มิควะเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น บัดนี้ ควรจะไปที่อุทยาน
พวกเราจะเข้าไปหาพระคุณเจ้ารัฏฐปาละในบัดนี้เลย”
ครั้งนั้น พระเจ้าโกรัพยะรับสั่งว่า “ของเคี้ยวของบริโภคที่จัดเตรียมไปยังอุทยานนั้น
ท่านทั้งหลายจงแจกจ่ายให้หมดเสียเถิด” แล้วรับสั่งให้จัดยานพาหนะคันงาม ๆ หลายคัน
ทรงขึ้นพาหนะคันงามเสด็จออกจากถุลลโกฏฐิตนิคมด้วยยานพาหนะคันงาม ๆ ตาม
เสด็จด้วยราชานุภาพอย่างยิ่งใหญ่เพื่อทรงเยี่ยมท่านพระรัฏฐปาละ เสด็จไปจนสุด
ทางที่ยานพาหนะจะไปได้ จึงเสด็จลงจากยาน เสด็จพระราชดำเนินไปด้วยพระบาท
พร้อมด้วยบริษัทชั้นสูง เข้าไปหาท่านพระรัฏฐปาละถึงที่อยู่ แล้วได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วได้ประทับยืน ณ ที่สมควรได้รับสั่งว่า
“นิมนต์พระคุณเจ้ารัฏฐปาละนั่งบนเครื่องลาดนี้เถิด”
ท่านพระรัฏฐปาละถวายพระพรว่า “มหาบพิตร อย่าเลย เชิญพระองค์ประทับ
นั่งเถิด อาตมภาพนั่งที่อาสนะของอาตมภาพดีอยู่แล้ว”
พระเจ้าโกรัพยะ จึงประทับนั่งบนที่ประทับที่ข้าราชบริพารจัดถวาย แล้วได้ตรัส
กับท่านพระรัฏฐปาละว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

ความเสื่อม ๔ ประการ
[๓๐๔] “พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ ความเสื่อม ๔ ประการนี้ ที่คนบางพวกใน
โลกนี้ประสบเข้าแล้ว ย่อมโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต
ความเสื่อม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ความเสื่อมเพราะชรา ๒. ความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้
๓. ความเสื่อมจากทรัพย์สมบัติ ๔. ความเสื่อมจากญาติ

ความเสื่อมเพราะชรา เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้เป็นคนแก่ คนเฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมา
โดยลำดับ เขาพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราเป็นคนแก่แล้ว เป็นคนเฒ่าแล้ว
เป็นผู้ใหญ่แล้ว เป็นผู้ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ การที่เราจะได้ครอบครองทรัพย์
สมบัติที่ยังไม่ได้ หรือการที่เราจะทำทรัพย์สมบัติที่ได้แล้วให้เพิ่มพูนขึ้น ไม่ใช่ทำ
ได้ง่ายเลย ทางที่ดี เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตเถิด’ เขาประสบกับความเสื่อมเพราะชรานั้นแล้วจึงโกนผมและ
หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต นี้เรียกว่า ความเสื่อม
เพราะชรา
ส่วนพระคุณเจ้ารัฏฐปาละ บัดนี้ก็ยังหนุ่มแน่น ผมดำสนิท เป็นหนุ่มอยู่ในวัย
แรกเริ่ม ไม่มีความเสื่อมเพราะชรานั้นเลย พระคุณเจ้ารัฏฐปาละรู้เห็นหรือได้ฟังอะไร
จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต (๑)
ความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้ เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้มีความเจ็บไข้ มีทุกข์ เจ็บหนัก เขาพิจารณาเห็น
ดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราเป็นคนมีความเจ็บไข้ มีทุกข์ เจ็บหนัก การที่เราจะได้ครอบครอง
ทรัพย์สมบัติที่ยังไม่ได้ หรือการที่เราจะทำทรัพย์สมบัติที่ได้แล้วให้เพิ่มพูนขึ้น ไม่ใช่
ทำได้ง่ายเลย ทางที่ดี เราควรโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร
เรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด’ เขาประสบกับความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้นั้น แล้วจึง
โกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต นี้เรียกว่า
ความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้
ส่วนพระคุณเจ้ารัฏฐปาละ บัดนี้เป็นผู้มีสุขภาพ มีโรคาพาธน้อย ประกอบด้วย
ไฟธาตุที่ย่อยอาหารสม่ำเสมอดี ไม่เย็นนักไม่ร้อนนัก ไม่มีความเสื่อมเพราะความ
เจ็บไข้นั้นเลย พระคุณเจ้ารัฏฐปาละรู้เห็นหรือได้ฟังอะไร จึงออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต (๒)
ความเสื่อมจากทรัพย์สมบัติ เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีสมบัติมาก ทรัพย์สมบัติ
เหล่านั้นของเขาถึงความสิ้นไปโดยลำดับ เขาพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เมื่อก่อน เราเป็น
คนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีสมบัติมาก ทรัพย์สมบัติเหล่านั้นของเราถึงความสิ้นไปโดย
ลำดับแล้ว การที่เราจะได้ครอบครองทรัพย์สมบัติที่ยังไม่ได้ หรือการที่เราจะทำ
ทรัพย์สมบัติที่ได้แล้วให้เพิ่มพูนขึ้น ไม่ใช่ทำได้ง่ายเลย ทางที่ดี เราควรโกนผมและ
หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพิตเถิด’ เขาประกอบด้วย
ความเสื่อมจากทรัพย์สมบัตินั้น จึงโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต นี้เรียกว่า ความเสื่อมจากทรัพย์สมบัติ
ส่วนพระคุณเจ้ารัฏฐปาละเป็นบุตรของตระกูลชั้นสูงในถุลลโกฏฐิตนิคมนี้ ไม่มี
ความเสื่อมจากทรัพย์สมบัตินั้น พระคุณเจ้ารัฏฐปาละรู้เห็นหรือได้ฟังอะไรจึงออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต (๓)
ความเสื่อมจากญาติ เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ มีมิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตเป็นอันมาก ญาติ
เหล่านั้นของเขาถึงความสิ้นไปโดยลำดับ เขาพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เมื่อก่อน เรามี
มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตเป็นอันมาก พวกญาติของเรานั้นถึงความสิ้นไป
โดยลำดับ การที่เราจะได้ครอบครองทรัพย์สมบัติที่ยังไม่ได้ หรือการที่เราจะทำ
ทรัพย์สมบัติที่ได้แล้วให้เพิ่มพูนขึ้น ไม่ใช่ทำได้ง่ายเลย ทางที่ดี เราควรโกนผมและ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร
หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด’ เขาประสบกับ
ความเสื่อมจากญาตินั้น จึงโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต นี้เรียกว่า ความเสื่อมจากญาติ
ส่วนพระคุณเจ้ารัฏฐปาละมีมิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตเป็นอันมากในถุลลโกฏฐิต-
นิคมนี้ ไม่มีความเสื่อมจากญาติเลย พระคุณเจ้ารัฏฐปาละรู้เห็นหรือได้ฟังอะไรจึง
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต (๔)
พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ ความเสื่อม ๔ ประการนี้ ที่คนบางพวกในโลกนี้ประสบ
เข้าแล้วจึงโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
พระคุณเจ้ารัฏฐปาละไม่มีความเสื่อม ๔ ประการนั้นเลย พระคุณเจ้ารัฏฐปาละรู้เห็น
หรือได้ฟังอะไรจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”
ธัมมุทเทส ๔ ประการ
[๓๐๕] ท่านพระรัฏฐปาละถวายพระพรว่า “มหาบพิตร มีอยู่แลที่พระผู้มี
พระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงแสดง
ธัมมุทเทส ๔ ประการ ที่อาตมภาพรู้ เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต

ธัมมุทเทส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น ทรงแสดงธัมมุทเทสประการที่ ๑ ว่า ‘โลกอันชรานำไป
ไม่ยั่งยืน’ ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงได้ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิต
๒. พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น ทรงแสดงธัมมุทเทสประการที่ ๒ ว่า ‘โลกไม่มีผู้
ต้านทาน ไม่เป็นอิสระ’ ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงได้ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร
๓. พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น ทรงแสดงธัมมุทเทสประการที่ ๓ ว่า ‘โลกไม่มีอะไร
เป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป’ ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว
จึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
๔. พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น ทรงแสดงธัมมุทเทสประการที่ ๔ ว่า ‘โลกพร่องอยู่
เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา’ ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้
ฟังแล้วจึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
มหาบพิตร พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงแสดงธัมมุทเทส ๔ ประการนี้แล ที่อาตมภาพรู้ เห็น
และฟังแล้ว จึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”
[๓๐๖] พระเจ้าโกรัพยะตรัสถามว่า “ท่านพระรัฏฐปาละกล่าวว่า ‘โลกอันชรา
นำไป ไม่ยั่งยืน’ เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จะพึงเห็นได้อย่างไร”
ท่านพระรัฏฐปาละถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความ
ข้อนั้นว่าอย่างไร พระองค์เมื่อมีพระชนมายุ ๒๐ พรรษาก็ดี ๒๕ พรรษาก็ดี
ทรงศึกษาอย่างคล่องแคล่วในเรื่องช้างก็ดี เรื่องม้าก็ดี เรื่องรถก็ดี เรื่องธนูก็ดี เรื่อง
อาวุธก็ดี ทรงมีกำลังพระเพลา ทรงมีกำลังพระพาหา ทรงมีพระวรกายสามารถ
ฝ่าศึกสงครามมาแล้ว มิใช่หรือ”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ โยมเมื่ออายุ ๒๐ ปีก็ดี ๒๕ ปีก็ดี ได้ศึกษาอย่าง
คล่องแคล่วในเรื่องช้างก็ดี เรื่องม้าก็ดี เรื่องรถก็ดี เรื่องธนูก็ดี เรื่องอาวุธก็ดี
มีกำลังขา มีกำลังแขน มีร่างกายสามารถ เคยฝ่าสงครามมาแล้ว บางครั้งโยม
ยังเข้าใจว่ามีฤทธิ์ ไม่เห็นใครเสมอด้วยกำลังของโยมเลย”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร แม้บัดนี้ พระองค์
ก็ยังมีกำลังพระเพลา มีกำลังพระพาหา มีพระวรกายสามารถฝ่าสงครามได้เหมือน
อย่างเดิมหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ ข้อนี้หามิได้ บัดนี้ โยมแก่แล้ว เจริญวัยแล้ว เป็นผู้ใหญ่
ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับแล้ว วัยของโยมล่วงไป ๘๐ ปีแล้ว บางครั้ง โยมคิดว่า
‘จักก้าวเท้าไปทางนี้ก็ไพล่ก้าวไปทางอื่นเสีย”
“มหาบพิตร พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงหมายถึงเนื้อความนี้แล จึงตรัสธัมมุทเทสประการที่ ๑
ว่า ‘โลกอันชรานำไป ไม่ยั่งยืน’ ที่อาตมภาพรู้ เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ คำว่า ‘โลกอันชรานำไป
ไม่ยั่งยืน’ พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น ตรัสไว้ดีแล้ว พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ เป็นความจริง โลกอันชรานำไป
ไม่ยั่งยืน (๑)
ในราชตระกูลนี้ มีหมู่พลช้าง หมู่พลม้า หมู่พลรถ และหมู่พลเดินเท้า ที่จัก
ย่ำยีอันตรายของโยมได้ ท่านพระรัฏฐปาละกล่าวว่า ‘โลกไม่มีผู้ต้านทานได้ ไม่เป็น
อิสระ’ เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จะพึงเห็นได้อย่างไร”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พระองค์เคย
ประชวรหนักบ้างไหม”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ โยมเคยเจ็บหนักอยู่ บางครั้ง พวกมิตร อำมาตย์ ญาติ
สาโลหิตแวดล้อมโยมอยู่ด้วยสำคัญว่า ‘พระเจ้าโกรัพยะจักสวรรคตในบัดนี้ พระเจ้า
โกรัพยะจักสวรรคตในบัดนี้”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พระองค์ได้มิตร
อำมาตย์ ญาติสาโลหิต(ที่มหาบพิตรจะขอร้อง)ว่า ‘มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตผู้
เจริญของเราทั้งหมดที่มีอยู่ จงมาช่วยแบ่งเวทนานี้ไปโดยช่วยเราให้ได้เสวยเวทนา
เบาลง’ หรือว่าพระองค์เท่านั้น จะต้องเสวยเวทนานั้น”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ โยมจะได้มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต(ที่โยมจะขอร้อง)
ว่า ‘มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตทั้งหมดที่มีอยู่ จงมาช่วยแบ่งเวทนานี้ไป ช่วยเราให้
ได้เสวยเวทนาเบาลง’ หามิได้ แต่โยมเองเท่านั้นจะต้องเสวยเวทนานั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร
''มหาบพิตร พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงหมายถึงเนื้อความนี้แล จึงตรัสธัมมุทเทสประการ
ที่ ๒ ว่า ‘โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นอิสระ’ ที่อาตมภาพรู้ เห็นและได้ฟังแล้ว
จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ คำว่า ‘โลกไม่มีผู้
ต้านทาน ไม่เป็นอิสระ’ พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ดีแล้ว พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ เป็นความจริง
โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นอิสระ (๒)
ในราชตระกูลนี้ มีเงินและทองอยู่ที่พื้นดินและในอากาศมากมาย พระคุณเจ้า
รัฏฐปาละกล่าวว่า ‘โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป’ เนื้อความแห่ง
ภาษิตนี้ จะพึงเห็นได้อย่างไร”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร บัดนี้ พระองค์
เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอพระองค์อยู่ ฉันใด พระองค์จักได้
สมพระราชประสงค์ว่า ‘แม้โลกหน้า เราจักเป็นผู้เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ
๕ ประการ บำเรอตนอยู่’ ฉันนั้นเหมือนกัน หรือว่าชนเหล่าอื่นจักปกครองทรัพย์
สมบัตินี้ ส่วนพระองค์ก็จักเสด็จไปตามยถากรรม”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ บัดนี้ โยมเอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ
บำเรอตนอยู่ ฉันใด โยมก็จักไม่ได้ตามประสงค์ว่า ‘แม้ในโลกหน้า เราจะเป็นผู้
เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่’ ฉันนั้นเหมือนกัน
ที่แท้ชนเหล่าอื่นจักปกครองทรัพย์สมบัตินี้ ส่วนโยมก็จักไปตามยถากรรม”
“มหาบพิตร พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงหมายถึงเนื้อความนี้แล จึงตรัสธัมมุทเทสประการที่ ๓
ว่า ‘โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป’ ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว
จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ คำว่า ‘โลกไม่มีอะไร
เป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป’ พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ดีแล้ว พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ เป็นความจริง
โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป (๓)
ท่านพระรัฏฐปาละกล่าวว่า ‘โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่ง
ตัณหา’ เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จะพึงเห็นได้อย่างไร”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พระองค์ทรง
ปกครองแคว้นกุรุอันอุดมสมบูรณ์อยู่ มิใช่หรือ”
“ใช่แล้ว พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ โยมปกครองแคว้นกุรุอันอุดมสมบูรณ์อยู่”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ราชบุรุษของ
พระองค์ที่แคว้นกุรุนี้เป็นที่เชื่อถือได้ เป็นคนมีเหตุผล มาจากทิศตะวันออก เข้ามา
เฝ้าพระองค์แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะมหาราชเจ้า พระองค์ควรทรงทราบว่า
‘ข้าพระองค์มาจากทิศตะวันออก ในทิศนั้น ข้าพระองค์ได้เห็นชนบทใหญ่ มั่งคั่ง
อุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก มีพลเมืองหนาแน่น ในชนบทนั้นมีหมู่พลช้าง
หมู่พลม้า หมู่พลรถ หมู่พลเดินเท้า มีสัตว์ที่มีเขี้ยวงามาก มีเงินทองทั้งที่ยังไม่ได้
หลอมและที่หลอมแล้วเป็นจำนวนมาก ในชนบทนั้น สตรีเป็นผู้ปกครอง พระองค์
สามารถรบชนะได้ด้วยกำลังพลประมาณเท่านั้น ขอพระองค์จงไปรบเอาเถิด มหา-
ราชเจ้า’ พระองค์จะทรงทำอย่างไรกับชนบทนั้น”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ พวกโยมก็ไปรบเอาชนบทนั้นมาครอบครองเสียนะซิ”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ราชบุรุษของ
พระองค์ที่แคว้นกุรุนี้เป็นที่เชื่อถือได้ เป็นคนมีเหตุผลมาจากทิศตะวันตก ฯลฯ
มาจากทิศเหนือ ฯลฯ มาจากทิศใต้ ฯลฯ มาจากสมุทรฟากโน้น เข้ามาเฝ้า
พระองค์ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะมหาราชเจ้า พระองค์ควรทรงทราบว่า
‘ข้าพระองค์มาจากสมุทรฟากโน้น ณ ที่นั้น ข้าพระองค์ได้เห็นชนบทใหญ่ มั่งคั่ง
อุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก มีพลเมืองหนาแน่น ในชนบทนั้นมีหมู่พลช้าง
หมู่พลม้า หมู่พลรถ หมู่พลเดินเท้า มีสัตว์ที่มีเขี้ยวงามาก มีเงินทองทั้งที่ยังไม่ได้
หลอมและที่หลอมแล้วเป็นจำนวนมาก ในชนบทนั้น สตรีเป็นผู้ปกครอง พระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร
สามารถรบชนะได้ด้วยกำลังพลประมาณเท่านั้น ขอพระองค์จงไปรบเอาเถิด มหา-
ราชเจ้า’ พระองค์จะทรงทำอย่างไรกับชนบทนั้น”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ พวกโยมก็ไปรบเอาชนบทนั้นมาครอบครองเสียนะซิ”
“มหาบพิตร พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงหมายถึงเนื้อความนี้แล จึงตรัสธัมมุทเทสประการที่ ๔
ว่า ‘โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา’ ที่อาตมภาพรู้ เห็น
และได้ฟังแล้วจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”
พระเจ้าโกรัพยะตรัสว่า “พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
คำว่า ‘โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา’ นี้พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ดีแล้ว
พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ เป็นความจริง โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาส
แห่งตัณหา” (๔)
ท่านพระรัฏฐปาละได้กล่าวเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาประพันธ์อื่น
อีกต่อไปว่า
[๓๐๗] “อาตมาเห็นผู้คนที่มีทรัพย์ในโลก
ได้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแล้ว
ไม่ยอมให้(ใคร) เพราะความหลง
ได้ทรัพย์แล้ว เก็บสะสมไว้
และปรารถนากามคุณยิ่ง ๆ ขึ้นไป
พระราชาทรงกดขี่ ช่วงชิงเอาแผ่นดิน
ทรงครอบครองแผ่นดินซึ่งมีสมุทรสาครล้อมรอบ
ตลอดสมุทรสาครฝั่งนี้ ยังไม่ทรงพอ
ยังปรารถนาจะครอบครองสมุทรสาครฝั่งโน้นอีก
ทั้งพระราชาและคนอื่นเป็นจำนวนมาก
ยังไม่ปราศจากตัณหาก็เข้าถึงความตาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร
ยังไม่เต็มตามที่ต้องการเลย ก็ละทิ้งร่างกายไป
เพราะความอิ่มด้วยกามไม่มีในโลก
หมู่ญาติพากันสยายผม คร่ำครวญถึงคนที่ตายนั้น
และพูดว่า ‘ทำอย่างไรหนอ พวกญาติของเราทั้งหลายจึงจะไม่ตาย’
แต่นั้นก็นำศพนั้นซึ่งห่อผ้าไว้แล้วยกขึ้นสู่เชิงตะกอนแล้วช่วยกันเผา
ศพนั้นถูกเขาใช้หลาวแทงเผาอยู่
ละโภคทรัพย์ มีแต่ผ้าผืนเดียว
เมื่อคนจะตาย ญาติ มิตร หรือสหายก็ช่วยไม่ได้
ทายาททั้งหลายก็ขนทรัพย์สมบัติของเขาไป
ส่วนสัตว์ที่ตายไปก็ย่อมไปตามกรรม
เมื่อตายไป ทรัพย์ไร ๆ คือ
บุตร ภรรยา ทรัพย์ ข้าวของ เงินทอง
และแว่นแคว้นก็ติดตามไปไม่ได้
ทรัพย์ช่วยคนให้มีอายุยืนไม่ได้
ทั้งช่วยคนให้ละความแก่ก็ไม่ได้
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตนั้นว่าน้อยนัก
ไม่ยั่งยืน มีความแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา
ทั้งคนมั่งมี และคนยากจนก็ย่อมประสบเช่นนั้น
ทั้งพาลและบัณฑิตก็ประสบเหมือนกันทั้งนั้น
คนพาลนั่นแหละถูกเหตุแห่งทุกข์กระทบเข้า
ย่อมหวั่นไหวเพราะความเป็นคนโง่
ส่วนบัณฑิตถูกกระทบเข้าก็ไม่หวั่นไหว
เพราะเหตุนั้นแล ปัญญาเท่านั้นเป็นเหตุบรรลุนิพพาน
ซึ่งเป็นที่สุดแห่งภพในโลกนี้ จึงประเสริฐกว่าทรัพย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร
ก็เพราะยังไม่ได้บรรลุที่สุด คนพาลทั้งหลายจึงทำแต่กรรมชั่ว
ในภพน้อยใหญ่เพราะความเขลา
ผู้ทำกรรมชั่ว ต้องเวียนว่ายตายเกิด
อยู่ในสังสารวัฏร่ำไป
คนมีปัญญาน้อย เมื่อเชื่อคนที่ทำกรรมชั่วนั้น
ก็ย่อมเวียนว่ายตายเกิดร่ำไป
โจรผู้ทำกรรมถูกเขาจับได้ตรงทาง ๓ แยก
ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตน ฉันใด
หมู่สัตว์ผู้ทำกรรมชั่วตายไปแล้ว ย่อมเดือดร้อนในโลกหน้า
เพราะกรรมของตน ฉันนั้น
เพราะกรรมทั้งหลายที่งดงาม
น่าปรารถนาชวนให้รื่นรมย์ใจ
ย่อมย่ำยีจิตโดยสภาวะต่าง ๆ ฉะนั้น
อาตมาเห็นโทษในกามคุณทั้งหลายจึงได้บวช มหาบพิตร
สัตว์ทั้งหลายทั้งหนุ่มทั้งแก่ พอร่างแตกสลาย
ก็ล่วงไปเหมือนผลไม้สุกงอมร่วงหล่นไป
มหาบพิตร อาตมาเห็นความไม่เที่ยงแม้นี้ จึงได้บวช
ความเป็นสมณะที่ปฏิบัติไม่ผิดนั่นแหละ ประเสริฐกว่า๑” ดังนี้แล
รัฏฐปาลสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร

๓. มฆเทวสูตร
ว่าด้วยพระเจ้ามฆเทวะ
[๓๐๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพวันของพระเจ้ามฆเทวะ เขตกรุง
มิถิลา ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงแย้มพระโอษฐ์ ณ สถานที่แห่งหนึ่ง ลำดับนั้น
ท่านพระอานนท์ได้คิดว่า “อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาคทรง
แย้มพระโอษฐ์ พระตถาคตทั้งหลายไม่ทรงแย้มพระโอษฐ์โดยไม่มีสาเหตุ” แล้วจึง
ห่มจีวรเฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่ที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้ทูลถามว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาคทรง
แย้มพระโอษฐ์ พระตถาคตทั้งหลายไม่ทรงแย้มพระโอษฐ์โดยไม่มีสาเหตุ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงมิถิลานี้แล
ได้มีพระราชาทรงพระนามว่ามฆเทวะ เป็นผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา เป็นมหาราช
ผู้ตั้งมั่นในธรรม๑ทรงประพฤติธรรมในพราหมณ์และคหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบท
ทรงรักษาอุโบสถทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ แห่งปักษ์๒ ครั้งนั้น
เมื่อล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี พระเจ้ามฆเทวะรับสั่งเรียกช่างกัลบก
มาตรัสว่า ‘ช่างกัลบกเพื่อนรัก เมื่อใดท่านเห็นผมหงอกเกิดบนศีรษะของเรา
เมื่อนั้นพึงบอกเรา’
ครั้งนั้น ช่างกัลบกทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว เมื่อล่วงไปหลายปี
หลายร้อยปี หลายพันปี ช่างกัลบกได้เห็นพระเกศาหงอกเกิดแล้วบนพระเศียรของ
พระเจ้ามฆเทวะ ได้กราบทูลว่า ‘เทวทูต๓ ปรากฏแก่พระองค์แล้ว พระเกศาหงอก
เกิดแล้วบนพระเศียรปรากฏอยู่’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร
พระเจ้ามฆเทวะตรัสว่า ‘ช่างกัลบกเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น ท่านจงใช้แหนบถอน
ผมหงอกนั้นให้ดี แล้ววางลงที่กระพุ่มมือของเราเถิด’
อานนท์ ช่างกัลบกทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว จึงใช้แหนบถอนพระเกศา
หงอกนั้นอย่างดี แล้ววางลงบนกระพุ่มพระหัตถ์ของพระเจ้ามฆเทวะ
พระเจ้ามฆเทวะออกผนวช
[๓๐๙] ครั้งนั้น พระเจ้ามฆเทวะพระราชทานบ้านส่วยแก่ช่างกัลบกแล้วรับ
สั่งให้เรียกพระราชกุมารผู้เป็นโอรสองค์ใหญ่มาเฝ้าแล้วตรัสว่า ‘ลูกเอ๋ย เทวทูต
ปรากฏแก่พ่อแล้ว ผมหงอกเกิดแล้วบนศีรษะปรากฏอยู่ กามทั้งหลายที่เป็นของ
มนุษย์ พ่อได้บริโภคแล้ว เวลานี้เป็นเวลาที่จะแสวงหากามทั้งหลายที่เป็นทิพย์
มาเถิดลูกเอ๋ย ลูกจงปกครองราชสมบัตินี้ ส่วนพ่อจักโกนผมและหนวด นุ่งห่ม
ผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากวังบวชเป็นบรรพชิต เมื่อใด ลูกเห็นผมหงอกเกิดแล้ว
บนศีรษะ เมื่อนั้นลูกจงให้บ้านส่วยแก่ช่างกัลบก พึงพร่ำสอนราชกุมารผู้เป็นโอรส
องค์ใหญ่ในการครองราชสมบัติให้ดี แล้วโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกจากวังบวชเป็นบรรพชิตเถิด ลูกพึงประพฤติวัตรอันงามตามวิธีที่พ่อตั้งไว้นี้
ลูกอย่าเป็นคนสุดท้ายของพ่อเลย เมื่อยุคของคนใดเป็นไปอยู่ แต่ปล่อยให้วัตร
อันงามเห็นปานนี้ขาดสูญไป คนนั้นชื่อว่าเป็นคนสุดท้ายของราชบรรพชิตนั้น ลูกเอ๋ย
พ่อกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ลูกพึงประพฤติวัตรอันงามตามวิธีที่พ่อตั้งไว้นี้ ลูกอย่าเป็นคน
สุดท้ายของพ่อเลย’
ครั้งนั้น พระเจ้ามฆเทวะครั้นพระราชทานบ้านส่วยแก่ช่างกัลบกและทรงพร่ำสอน
พระราชกุมารผู้เป็นโอรสองค์ใหญ่ในการครองราชสมบัติให้ดีแล้ว ทรงปลงพระเกศา
และพระมัสสุ ทรงนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ แล้วเสด็จออกจากวังผนวชเป็นบรรพชิต
ที่มฆเทวอัมพวันนี้ ท้าวเธอทรงมีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง ทรงแผ่ไปตลอดโลก
ทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร
ทรงมีกรุณาจิต ฯลฯ
ทรงมีมุทิตาจิต ฯลฯ
ทรงมีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง ทรงแผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน
ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ๑ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อานนท์ พระเจ้ามฆเทวะทรงเล่นอย่างเด็กอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงดำรงตำแหน่ง
อุปราชอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงครองราชย์อยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี เสด็จออกจากวังผนวช
เป็นบรรพชิตประพฤติพรหมจรรย์อยู่ที่มฆเทวอัมพวันนี้อีก ๘๔,๐๐๐ ปี พระองค์
ทรงเจริญพรหมวิหาร ๔ ประการ หลังจากสวรรคตแล้วได้เสด็จเข้าถึงพรหมโลก
โอรสของพระเจ้ามฆเทวะออกผนวช
[๓๑๐] อานนท์ ครั้งนั้นแล เมื่อล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี
พระราชโอรสของพระเจ้ามฆเทวะ รับสั่งเรียกช่างกัลบกมาตรัสว่า ‘ช่างกัลบก
เพื่อนรัก เมื่อใดท่านเห็นผมหงอก เกิดแล้วบนศีรษะของเรา เมื่อนั้นพึงบอกเรา’
ครั้งนั้น ช่างกัลบกทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว เมื่อล่วงไปหลายปี หลาย
ร้อยปี หลายพันปี ช่างกัลบกได้เห็นเส้นพระเกศาหงอกเกิดแล้วบนพระเศียรของ
พระราชโอรสของพระเจ้ามฆเทวะได้กราบทูลว่า ‘เทวทูตปรากฏแก่พระองค์แล้ว
พระเกศาหงอกเกิดแล้วบนพระเศียรปรากฏอยู่’
พระราชโอรสของพระเจ้ามฆเทวะตรัสว่า ‘ ช่างกัลบกเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น
ท่านจงใช้แหนบถอนผมหงอกนั้นให้ดี แล้ววางบนกระพุ่มมือของเราเถิด’
ช่างกัลบกทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว จึงใช้แหนบถอนพระเกศาหงอกนั้น
อย่างดี แล้ววางบนกระพุ่มพระหัตถ์ของพระราชโอรสของพระเจ้ามฆเทวะ
ครั้งนั้น พระราชโอรสของพระเจ้ามฆเทวะ ได้พระราชทานบ้านส่วยแก่ช่าง
กัลบก แล้วรับสั่งให้เรียกพระราชกุมารผู้เป็นโอรสพระองค์ใหญ่มาเฝ้าตรัสว่า ‘ลูกเอ๋ย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร
เทวทูตปรากฏแก่พ่อแล้ว ผมหงอกเกิดแล้วบนศีรษะปรากฏอยู่ กามทั้งหลายที่เป็นของ
มนุษย์พ่อบริโภคแล้ว เวลานี้เป็นเวลาที่จะแสวงหากามอันเป็นทิพย์ มาเถิด ลูกเอ๋ย
ลูกจงปกครองราชสมบัตินี้ ส่วนพ่อจักโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกจากวังบวชเป็นบรรพชิต เมื่อใด ลูกเห็นผมหงอกเกิดแล้วบนศีรษะ เมื่อนั้น
ลูกพึงให้บ้านส่วยแก่ช่างกัลบก แล้วพึงพร่ำสอนราชกุมารผู้เป็นโอรสองค์ใหญ่ในการ
ครองราชสมบัติให้ดี แล้วพึงโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากวัง
บวชเป็นบรรพชิตเถิด ลูกพึงประพฤติวัตรอันงามตามวิธีที่พ่อตั้งไว้นี้ ลูกอย่าเป็น
คนสุดท้ายของพ่อเลย
เมื่อยุคของคนใดเป็นไปอยู่ แต่ปล่อยให้วัตรอันงามเห็นปานนี้ขาดสูญไป คนนั้น
ชื่อว่าเป็นคนสุดท้ายของราชบรรพชิตนั้น ลูกเอ๋ย พ่อกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ลูกพึงประพฤติวัตร
อันงามตามวิธีที่พ่อตั้งไว้แล้วนี้ ลูกอย่าเป็นคนสุดท้ายของพ่อเลย’
ครั้งนั้น พระราชโอรสของพระเจ้ามฆเทวะ ครั้นพระราชทานบ้านส่วยแก่ช่าง
กัลบก และทรงพร่ำสอนพระราชกุมารผู้เป็นโอรสองค์ใหญ่ ในการครองราชสมบัติ
ให้ดีแล้ว ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วเสด็จออกจากวัง
ผนวชเป็นบรรพชิตอยู่ในมฆเทวอัมพวันนี้ ท้าวเธอทรงมีเมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศ
ที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง
ทรงแผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ
ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
ทรงมีกรุณาจิต ฯลฯ
ทรงมีมุทิตาจิต ฯลฯ
ทรงมีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง ทรงแผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน
ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร
อานนท์ พระราชโอรสของพระเจ้ามฆเทวะทรงเล่นอย่างเด็กอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี
ทรงดำรงตำแหน่งอุปราชอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงครองราชย์อยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี เสด็จ
ออกจากวังผนวชเป็นบรรพชิต ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ที่มฆเทวอัมพวันนี้อีก
๘๔,๐๐๐ ปี พระองค์ทรงเจริญพรหมวิหาร ๔ ประการ หลังจากสวรรคตแล้ว
ได้เสด็จเข้าถึงพรหมโลก
พระราชนัดดาของพระเจ้ามฆเทวะออกผนวช
[๓๑๑] อานนท์ พระราชโอรสและพระราชนัดดาของพระเจ้ามฆเทวะสืบราชวงศ์
ต่อมา ๘๔,๐๐๐ ชั่วกษัตริย์ ได้ปลงพระเกศาและพระมัสสุ นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
เสด็จออกจากวังผนวชเป็นบรรพชิต อยู่ในมฆเทวอัมพวันนี้ ท้าวเธอเหล่านั้นทรงมี
เมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน
ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง ทรงแผ่ไปตลอดโลกทั่วหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิต
อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
ทรงมีกรุณาจิต ฯลฯ
ทรงมีมุทิตาจิต ฯลฯ
ทรงมีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศ
ที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง ทรงแผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า
ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มี
ความเบียดเบียนอยู่
ท้าวเธอเหล่านั้นทรงเล่นอย่างเด็กอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงดำรงตำแหน่งอุปราช
อยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงครองราชย์อยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี เสด็จออกจากวังผนวชเป็น
บรรพชิต ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ที่มฆเทวอัมพวันนี้อีก ๘๔,๐๐๐ ปี พระองค์ทรง
เจริญพรหมวิหาร ๔ ประการ หลังจากสวรรคตแล้วได้เสด็จเข้าถึงพรหมโลก
พระเจ้านิมิเป็นพระราชาองค์สุดท้ายแห่งราชบรรพชิตนั้น เป็นผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา เป็นมหาราชผู้ตั้งมั่นในธรรม ทรงประพฤติธรรมในพราหมณ์และ
คหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบท และทรงรักษาอุโบสถทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ
และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร

พระเจ้านิมิรักษาอุโบสถ
[๓๑๒] อานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว อันตรากถานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เทพทั้งหลาย
ชั้นดาวดึงส์ผู้นั่งประชุมกัน ณ สภาชื่อสุธัมมาว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เป็นลาภ
ของชาววิเทหะหนอ ชาววิเทหะได้ดีแล้วหนอ ที่พระเจ้านิมิเป็นผู้ทรงธรรม เป็น
ธรรมราชา เป็นมหาราชผู้ตั้งมั่นในธรรม ทรงประพฤติธรรมในพราหมณ์และคหบดี
ในชาวนิคมและชาวชนบท และทรงรักษาอุโบสถทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘
ค่ำแห่งปักษ์’
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ตรัสเรียกเทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์มาถามว่า
‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายปรารถนาจะเห็นพระเจ้านิมิหรือไม่’ เทพทั้งหลาย
ชั้นดาวดึงส์ ทูลตอบว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์ปรารถนาจะเห็น
พระเจ้านิมิ’
อานนท์ สมัยนั้น ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ พระเจ้านิมิทรงสนานพระกายทั่ว
พระเศียรแล้ว ทรงรักษาอุโบสถ ประทับนั่งอยู่แล้วบนปราสาทอันประเสริฐชั้นบน
ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงอันตรธานจากเทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ ไปปรากฏ
เฉพาะพระพักตร์พระเจ้านิมิ’ เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า
แล้วตรัสกับพระเจ้านิมิว่า ‘มหาราช เป็นลาภของพระองค์ พระองค์ได้ดีแล้ว
เทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์นั่งประชุมสรรเสริญกันอยู่ในสภาชื่อสุธัมมาว่า ‘ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย เป็นลาภของชาววิเทหะหนอ ชาววิเทหะได้ดีแล้วหนอ ที่พระเจ้านิมิเป็น
ผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา เป็นมหาราชผู้ตั้งมั่นในธรรม ทรงประพฤติธรรม
ในพราหมณ์และคหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบท และทรงรักษาอุโบสถทุกวัน
๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์’ มหาราช เทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์
ปรารถนาจะเห็นพระองค์ หม่อมฉันจะส่งรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัวมา
เพื่อพระองค์ พระองค์ทรงขึ้นประทับบนทิพยยานเถิด อย่าทรงหวั่นพระทัยเลย’
พระเจ้านิมิทรงรับเชิญโดยดุษณีภาพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร

พระเจ้านิมิทอดพระเนตรนรกและสวรรค์
[๓๑๓] อานนท์ ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทราบอาการที่พระเจ้านิมิทรง
รับเชิญแล้ว จึงอันตรธานจากที่เฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้านิมิมาปรากฏในหมู่เทพ
ชั้นดาวดึงส์ เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ลำดับนั้น
ท้าวสักกะจอมเทพ รับสั่งเรียกมาตลีเทพบุตรผู้รับใช้มาตรัสว่า ‘มาเถิด มาตลี
เพื่อนรัก ท่านจงจัดรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว แล้วเข้าไปเฝ้าพระเจ้านิมิ’
จงทูลอย่างนี้ว่า ‘มหาราช รถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัวนี้ ท้าวสักกะ
จอมเทพทรงส่งมารับพระองค์ พระองค์พึงเสด็จขึ้นประทับยังทิพยยานเถิด อย่าทรง
หวั่นพระทัยเลย’
มาตลีเทพบุตรผู้รับใช้ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว จัดรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย
๑,๐๐๐ ตัว เข้าไปเฝ้าพระเจ้านิมิแล้วทูลว่า ‘มหาราช รถที่เทียมด้วยม้าอาชาไนย
๑,๐๐๐ ตัวนี้ ท้าวสักกะจอมเทพส่งมารับพระองค์ เชิญเสด็จขึ้นประทับยังทิพยยานเถิด
อย่าทรงหวั่นพระทัยเลย อนึ่ง ทางสำหรับสัตว์ผู้มีบาปกรรม เสวยผลของบาปกรรม
ทางหนึ่ง ทางสำหรับสัตว์ผู้มีกรรมอันงาม เสวยผลของกรรมอันงามทางหนึ่ง
ข้าพระองค์จะเชิญเสด็จไปทางไหน พระเจ้าข้า’
พระเจ้านิมิตรัสว่า ‘มาตลี จงนำเราไปทั้งสองทางนั่นแล’
อานนท์ มาตลีเทพบุตรผู้รับใช้ นำเสด็จพระเจ้านิมิถึงสภาชื่อสุธัมมา ท้าวสักกะ
จอมเทพ ทอดพระเนตรเห็นพระเจ้านิมิผู้กำลังเสด็จมาแต่ไกล จึงตรัสว่า ‘มหาราช
เชิญเสด็จเข้ามาเถิด ขอรับเสด็จมหาราช เทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ปรารถนา
จะเห็นพระองค์ ประชุมสรรเสริญกันอยู่ในสภาชื่อสุธัมมาว่า ‘ท่านผู้เจริญ เป็นลาภ
ของชาววิเทหะหนอ ชาววิเทหะได้ดีแล้วหนอ ที่พระเจ้านิมิ เป็นผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา เป็นมหาราชผู้ตั้งมั่นในธรรม ทรงประพฤติธรรมในพราหมณ์และ
คหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบท และทรงรักษาอุโบสถทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ
และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์’ มหาราช เทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ปรารถนาจะเห็น
พระองค์ ขอเชิญพระองค์ทรงอภิรมย์อยู่ในหมู่เทพทั้งหลาย ด้วยเทวานุภาพเถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร
พระเจ้านิมิตรัสว่า ‘อย่าเลย พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอจงนำหม่อมฉันกลับไปยัง
กรุงมิถิลา ในมนุษยโลกนั้นเถิด หม่อมฉันจะได้ประพฤติธรรมอย่างนั้น ในพราหมณ์
และคหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบท และจักได้รักษาอุโบสถทุกวัน ๑๔ ค่ำ
๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์ต่อไป’
พระเจ้านิมิออกผนวช
[๓๑๔] อานนท์ ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งเรียกมาตลีเทพบุตร
ผู้รับใช้มาตรัสว่า ‘มาเถิด มาตลีเพื่อนรัก ท่านจงจัดรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย
๑,๐๐๐ ตัว นำพระเจ้านิมิกลับไปยังกรุงมิถิลาในมนุษยโลกนั้นเถิด’
มาตลีเทพบุตรผู้รับใช้ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว จัดรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย
๑,๐๐๐ ตัว แล้วนำพระเจ้านิมิเสด็จกลับไปยังกรุงมิถิลาในมนุษยโลกนั้น ได้ยินว่า
สมัยนั้น พระเจ้านิมิทรงประพฤติธรรมในพราหมณ์และคหบดี ในชาวนิคมและชาว
ชนบท และทรงรักษาอุโบสถทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์
ต่อมาเมื่อล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี พระเจ้านิมิรับสั่งเรียกช่างกัลบก
มาตรัสว่า ‘ช่างกัลบกเพื่อนรัก เมื่อใดท่านเห็นผมหงอกเกิดแล้วบนศีรษะของเรา
เมื่อนั้นพึงบอกเรา’
ช่างกัลบกทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว เมื่อล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี
หลายพันปี ช่างกัลบกได้เห็นพระเกศาหงอกเกิดแล้วบนพระเศียรของพระเจ้านิมิ
จึงกราบทูลว่า ‘เทวทูตปรากฏแก่พระองค์แล้ว พระเกศาหงอกเกิดแล้วบนพระเศียร
ปรากฏอยู่’
พระเจ้านิมิตรัสว่า ‘ช่างกัลบกเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น ท่านจงใช้แหนบถอนผม
หงอกนั้นให้ดี แล้ววางลงบนกระพุ่มมือของเรา’
ช่างกัลบกทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว จึงใช้แหนบถอนพระเกศาหงอกนั้น
อย่างดี แล้ววางไว้ที่กระพุ่มพระหัตถ์ของพระเจ้านิมิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร
อานนท์ ต่อมา พระเจ้านิมิพระราชทานบ้านส่วยแก่ช่างกัลบกแล้วรับสั่ง
ให้เรียกพระราชกุมารผู้เป็นโอรสองค์ใหญ่มาตรัสว่า ‘ลูกเอ๋ย เทวทูตปรากฏ
แก่พ่อแล้ว ผมหงอกเกิดแล้วบนศีรษะปรากฏอยู่ กามทั้งหลายที่เป็นของมนุษย์
พ่อบริโภคแล้ว เวลานี้เป็นเวลาที่จะแสวงหากามอันเป็นทิพย์ มาเถิดลูกเอ๋ย ลูกจง
ปกครองราชสมบัตินี้ ส่วนพ่อจักโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากวัง
บวชเป็นบรรพชิต เมื่อใด ลูกเห็นผมหงอกเกิดแล้วบนศีรษะ เมื่อนั้นลูกจงให้บ้าน
ส่วยแก่ช่างกัลบก พึงพร่ำสอนราชกุมารผู้เป็นโอรสองค์ใหญ่ในการครองราชสมบัติ
ให้ดี แล้วโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากวังบวชเป็นบรรพชิตเถิด
ลูกพึงประพฤติวัตรอันงามตามวิธีที่พ่อตั้งไว้นี้ ลูกอย่าเป็นคนสุดท้ายของพ่อเลย
เมื่อยุคของคนใดเป็นไปอยู่ แต่ปล่อยให้วัตรอันงามเห็นปานนี้ขาดสูญไป คนนั้นชื่อว่า
เป็นคนสุดท้ายของราชบรรพชิตนั้น ลูกเอ๋ย พ่อกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ลูกพึงประพฤติวัตร
อันงามตามวิธีที่พ่อตั้งไว้แล้วนี้ ลูกอย่าเป็นคนสุดท้ายของพ่อเลย’
พระเจ้ากฬารกชนกเป็นองค์สุดท้าย
[๓๑๕] อานนท์ ครั้งนั้น พระเจ้านิมิครั้นพระราชทานบ้านส่วยแก่ช่างกัลบกแล้ว
ทรงพร่ำสอนพระราชกุมารผู้เป็นโอรสองค์ใหญ่ ในการครองราชสมบัติให้ดีแล้ว
ทรงโกนพระเกศาและพระมัสสุ นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์เสด็จออกจากวังผนวชเป็น
บรรพชิต ณ มฆเทวอัมพวันนี้ ท้าวเธอมีเมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่
ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง ทรงแผ่ไป
ตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มี
ขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
ทรงมีกรุณาจิต ฯลฯ
ทรงมีมุทิตาจิต ฯลฯ
ทรงมีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง ทรงแผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน
ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร
พระเจ้านิมิทรงเล่นอย่างเด็กอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงดำรงตำแหน่งอุปราชอยู่
๘๔,๐๐๐ ปี ทรงครองราชย์อยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี เสด็จออกจากวังผนวชเป็นบรรพชิต
ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ที่มฆเทวอัมพวันนี้นั่นแลอีก ๘๔,๐๐๐ ปี พระองค์ทรงเจริญ
พรหมวิหาร ๔ ประการ หลังจากสวรรคตแล้วได้เสด็จเข้าถึงพรหมโลก
อานนท์ พระเจ้านิมิมีพระราชโอรสพระนามว่ากฬารกชนก พระราชกุมารนั้น
มิได้ออกจากวังผนวชเป็นบรรพชิต ทรงตัดวัตรอันงามนั้นแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์คน
สุดท้ายแห่งราชบรรพชิตนั้น
[๓๑๖] อานนท์ เธอคงจะคิดอย่างนี้ว่า ‘สมัยนั้น พระเจ้ามฆเทวะซึ่งทรง
ตั้งวัตรอันงามนั้นคงเป็นคนอื่นเป็นแน่’ แต่ข้อนั้นเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น สมัยนั้น
เราเป็นพระเจ้ามฆเทวะ ได้ตั้งวัตรอันงามนั้นไว้ ประชาชนผู้เกิดมาภายหลังประพฤติ
ตามวัตรอันงามที่เราตั้งไว้แล้วนั้น แต่วัตรอันงามนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
เป็นไปเพียงเพื่อเข้าถึงพรหมโลกเท่านั้น ส่วนวัตรอันงามที่เราตั้งไว้ในบัดนี้เป็นไป
เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
และเพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว
วัตรอันงามที่เราตั้งไว้ในบัดนี้ซึ่งเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว
เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

วัตรอันงามที่เราตั้งไว้ในบัดนี้นี้แลเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร
อานนท์ เราขอเตือนเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘เธอทั้งหลายควรประพฤติวัตร
อันงามตามวิธีที่เราตั้งไว้แล้ว เธอทั้งหลายอย่าเป็นคนสุดท้ายของเราเลย’ เมื่อยุค
ของคนใดเป็นไปอยู่ แต่ปล่อยให้วัตรอันงามเห็นปานนี้ขาดสูญไป คนนั้นชื่อว่าคน
สุดท้ายของบุรุษเหล่านั้น เราขอเตือนเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘เธอทั้งหลายควรประพฤติ
วัตรอันงามตามวิธีที่เราตั้งไว้แล้ว เธอทั้งหลายอย่าเป็นคนสุดท้ายของเราเลย”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
มฆเทวสูตรที่ ๓ จบ

๔. มธุรสูตร
ว่าด้วยพระเจ้ามธุระ
[๓๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ป่าคุนธาวัน เขตกรุงมธุรา พระเจ้า
มธุระ อวันตีบุตรได้ทรงสดับว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า ท่านสมณะนามว่า
กัจจานะ อยู่ ณ ป่าคุนธาวัน เขตกรุงมธุรา ท่านพระมหากัจจานะนั้นมีกิตติศัพท์
อันงามขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า ‘เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต มีถ้อยคำ
สละสลวย มีปฏิภาณดี เป็นผู้ใหญ่ และเป็นพระอรหันต์ การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย
เช่นนั้น เป็นความดีอย่างแท้จริง”
ลำดับนั้น พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตรรับสั่งให้จัดยานพาหนะคันงาม ๆ หลายคัน
ทรงขึ้นยานพาหนะคันงาม เสด็จออกจากกรุงมธุราพร้อมกับยานพาหนะคันงาม ๆ
ตามเสด็จด้วยราชานุภาพอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อทรงเยี่ยมท่านพระมหากัจจานะ เสด็จไป
จนสุดทางที่ยานพาหนะจะไปได้ จึงเสด็จลงจากยาน เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาท
เข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็น
ที่ระลึกถึงกันแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้รับสั่งว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร
“พระคุณเจ้ากัจจานะ พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐ
ที่สุด คือวรรณะพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาวคือวรรณะพราหมณ์
เท่านั้น วรรณะอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์
เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ของพรหม เกิดจากพรหม เป็นผู้ที่พรหม
สร้างขึ้น เป็นทายาทของพรหม’ เรื่องนี้พระคุณเจ้ากัจจานะจะกล่าวอย่างไร”
ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร วาทะที่พวกพราหมณ์
กล่าวว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือวรรณะพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะ
ที่ขาวคือวรรณะพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่
พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ของพรหม
เกิดจากพรหม (เป็นผู้ที่พรหมสร้างขึ้น) เป็นทายาทของพรหม’ นั่นเป็นเพียงคำโฆษณา
ในโลกเท่านั้น
มหาบพิตร โดยปริยายนี้ พระองค์ทรงทราบเถิดว่า วาทะที่พวกพราหมณ์
กล่าวว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาท
ของพรหม’ นั่นเป็นเพียงคำโฆษณาในโลกเท่านั้น”
[๓๑๘] ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรง
เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าแม้กษัตริย์จะพึงทำให้ความต้องการทรัพย์
ข้าวเปลือก เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้กษัตริย์(อื่น)ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง
คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อกษัตริย์พระองค์นั้นใช่ไหม แม้พราหมณ์ ฯลฯ
แม้แพศย์ ฯลฯ แม้ศูทรก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ
พูดไพเราะต่อกษัตริย์พระองค์นั้นใช่ไหม”
พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตร ตรัสว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ ถ้าแม้กษัตริย์จะพึง
ทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้กษัตริย์(อื่น)
ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อกษัตริย์
พระองค์นั้น แม้พราหมณ์ ฯลฯ แม้แพศย์ ฯลฯ แม้ศูทรก็จะพึงลุกขึ้นก่อน
นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อกษัตริย์พระองค์นั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าแม้พราหมณ์
จะพึงทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้พราหมณ์(อื่น)
ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อพราหมณ์นั้น
ใช่ไหม แม้แพศย์ ฯลฯ แม้ศูทร ฯลฯ แม้กษัตริย์ ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง
คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อพราหมณ์นั้นใช่ไหม”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ ถ้าแม้พราหมณ์จะพึงทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก
เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้พราหมณ์(อื่น) ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้
ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อพราหมณ์นั้น แม้แพศย์ ฯลฯ แม้ศูทร ฯลฯ แม้กษัตริย์
ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อพราหมณ์นั้น”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าแม้แพศย์จะพึง
ทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้แพศย์(อื่น)
ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อแพศย์นั้น
ใช่ไหม แม้ศูทร ฯลฯ แม้กษัตริย์ ฯลฯ แม้พราหมณ์ ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง
คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อแพศย์นั้นใช่ไหม”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ ถ้าแม้แพศย์จะพึงทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก
เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้แพศย์(อื่น)ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้
ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อแพศย์นั้น แม้ศูทร ฯลฯ แม้กษัตริย์ ฯลฯ แม้พราหมณ์
ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อแพศย์นั้น”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าแม้ศูทรจะพึง
ทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้ศูทร(อื่น)ก็จะพึง
ลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อศูทรนั้นใช่ไหม
แม้กษัตริย์ ฯลฯ แม้พรหมณ์ ฯลฯ แม้แพศย์ ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง
คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อศูทรนั้นใช่ไหม”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ ถ้าแม้ศูทรจะพึงทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก
เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้ศูทร(อื่น)ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้
ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อศูทรนั้น แม้กษัตริย์ ฯลฯ แม้พราหมณ์ ฯลฯ แม้แพศย์
ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อศูทรนั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นอย่างนี้
วรรณะทั้ง ๔ จำพวกนี้ย่อมเป็นผู้เสมอกัน ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยใน
วรรณะ ๔ จำพวกนี้ว่าอย่างไร”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ เมื่อเป็นอย่างนี้ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ก็เสมอกันหมด
แน่นอน ในวรรณะทั้ง ๔ จำพวกนี้ โยมไม่เห็นความแตกต่างอะไรกันเลย”
“มหาบพิตร โดยปริยายนี้ พระองค์ทรงทราบเถิดว่า วาทะที่พวกพราหมณ์
กล่าวว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาท
ของพรหม’ นั่นเป็นคำโฆษณาในโลกนี้เท่านั้น”
[๓๑๙] ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรง
เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร กษัตริย์ในโลกนี้พึงฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด
ในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของ
ของผู้อื่น มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก๑ ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยในเรื่องนี้ว่าอย่างไร”
พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตร ตรัสว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ อันที่จริงถึงจะเป็น
กษัตริย์เมื่อฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ
พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ
หลังจากสวรรคตแล้วพึงไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก โยมมีความคิดเห็น
ในเรื่องนี้อย่างนี้ อนึ่ง โยมเองก็ได้ฟังมาจากพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนั้น”
“ดีละ ดีละ มหาบพิตร เป็นความดีที่พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนี้
อย่างนั้น และเป็นสิ่งที่ดีที่พระองค์ได้ทรงสดับความข้อนี้มาจากพระอรหันต์ทั้งหลาย
พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พราหมณ์ในโลกนี้ ฯลฯ แพศย์
ในโลกนี้ ฯลฯ ศูทรในโลกนี้ เมื่อฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร
พยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยในเรื่องนี้ว่าอย่างไร”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ อันที่จริงถึงจะเป็นศูทร เมื่อฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติ
ผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้
สิ่งของของผู้อื่น มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก โยมมีความคิดเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้ อนึ่ง โยมเองก็ได้ฟังมา
จากพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนั้น”
“ดีละ ดีละ มหาบพิตร เป็นความดีที่พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนี้
อย่างนั้น และเป็นสิ่งที่ดีที่พระองค์ได้ทรงสดับความข้อนี้มาจากพระอรหันต์ทั้งหลาย
พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นอย่างนี้ วรรณะทั้ง ๔
จำพวกนี้ย่อมเป็นผู้เสมอกัน ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยในวรรณะทั้ง ๔
จำพวกนี้ว่าอย่างไร”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ เมื่อเป็นอย่างนี้ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ก็เสมอกันหมด
แน่นอน ในวรรณะ ๔ จำพวกนี้ โยมไม่เห็นความแตกต่างอะไรกันเลย”
“มหาบพิตร โดยปริยายนี้ พระองค์ทรงทราบเถิดว่า วาทะที่พวกพราหมณ์
กล่าวว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาท
ของพรหม’ นั่นเป็นคำโฆษณาในโลกนี้เท่านั้น”
[๓๒๐] ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรง
เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร กษัตริย์ในโลกนี้พึงเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาด
จากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ
เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตาย
แล้วพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยในเรื่องนี้ว่า
อย่างไร”
พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตร ตรัสว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ อันที่จริงถึงจะเป็น
กษัตริย์ เมื่อเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร
จากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
โยมมีความเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้ อนึ่ง โยมเองก็ได้ฟังเรื่องนี้มาจากพระอรหันต์ทั้งหลาย
เช่นนั้น”
“ดีละ ดีละ มหาบพิตร เป็นความดีที่พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนี้อย่างนั้น
และเป็นสิ่งที่ดีที่พระองค์ได้ทรงสดับความข้อนี้มาจากพระอรหันต์ทั้งหลาย พระองค์
ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พราหมณ์ในโลกนี้ ฯลฯ แพศย์ในโลกนี้ ฯลฯ
ศูทรในโลกนี้ เมื่อเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาด
จากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ใช่หรือไม่
หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยในเรื่องนี้ว่าอย่างไร”
“ใช่ พระคุณเจ้ากัจจานะ อันที่จริงถึงจะเป็นพราหมณ์ ฯลฯ เป็นแพศย์ ฯลฯ
เป็นศูทร เมื่อเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาด
จากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
โยมมีความเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้ อนึ่ง โยมเองก็ได้ฟังเรื่องนี้มาจากพระอรหันต์
ทั้งหลายเช่นนั้น”
“ดีละ ดีละ มหาบพิตร เป็นความดีที่พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนี้อย่างนั้น
และเป็นสิ่งที่ดีที่พระองค์ได้ทรงสดับความข้อนี้มาจากพระอรหันต์ทั้งหลาย พระองค์
ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นอย่างนี้ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ย่อม
เป็นผู้เสมอกัน ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยในวรรณะ ๔ จำพวกนี้ว่า
อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร
“พระคุณเจ้ากัจจานะ เมื่อเป็นอย่างนี้ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ก็เสมอกันหมด
แน่นอน ในวรรณะ ๔ จำพวกนี้ โยมไม่เห็นความแตกต่างอะไรกันเลย”
“มหาบพิตร โดยปริยายนี้ พระองค์ทรงทราบเถิดว่า วาทะที่พวกพราหมณ์
กล่าวว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาท
ของพรหม’ นั่นเป็นคำโฆษณาในโลกนี้เท่านั้น”
[๓๒๑] ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรง
เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร กษัตริย์ในโลกนี้พึงตัดช่องย่องเบา ปล้นเรือน
หลังเดียว ดักจี้ในทางเปลี่ยว เป็นชู้ ถ้าราชบุรุษทั้งหลายจับเขาได้แล้ว พึงแสดงว่า
‘ขอเดชะ ผู้นี้เป็นโจรประพฤติผิดต่อพระองค์ พระองค์ทรงประสงค์จะลงพระราช
อาชญาสถานใดแก่โจรนั้น ขอจงทรงโปรดให้ลงพระราชอาชญาสถานนั้นเถิด’ พระองค์
จะพึงโปรดให้ทำอย่างไรกับโจรนั้น”
พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตร ตรัสว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ โยมก็ต้องให้ประหาร
ให้ผ่าอก ให้เนรเทศ หรือทำตามสมควรแก่เหตุ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสมญานาม
ว่ากษัตริย์ของเขาเมื่อก่อนนั้นหายไปแล้ว(บัดนี้) เขาได้ชื่อว่า ‘เป็นโจรเท่านั้น ๋
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พราหมณ์ในโลกนี้
ฯลฯ แพศย์ในโลกนี้ ฯลฯ ศูทรในโลกนี้พึงตัดช่องย่องเบา ปล้นเรือนหลังเดียว
ดักจี้ในทางเปลี่ยว เป็นชู้ ถ้าราชบุรุษทั้งหลายจับเขาได้แล้ว พึงแสดงว่า ‘ขอเดชะ
ผู้นี้เป็นโจรประพฤติผิดต่อพระองค์ พระองค์ทรงประสงค์จะลงพระราชอาชญาสถานใด
แก่โจรนั้น ขอจงทรงโปรดให้ลงพระราชอาชญาสถานนั้นเถิด’ พระองค์จะพึงโปรดให้
ทำอย่างไรกับโจรนั้น”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ โยมก็ต้องให้ประหาร ให้ผ่าอก ให้เนรเทศ หรือทำตาม
สมควรแก่เหตุ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสมญานามว่าศูทรของเขาเมื่อก่อนนั้นหาย
ไปแล้ว เขาได้ชื่อว่า ‘เป็นโจรเท่านั้น”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นอย่างนี้
วรรณะ ๔ จำพวกนี้ ย่อมเป็นผู้เสมอกัน ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัย
ในวรรณะ ๔ จำพวกนี้ว่าอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร
“พระคุณเจ้ากัจจานะ เมื่อเป็นอย่างนี้ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ก็เสมอกันหมด
แน่นอน ในวรรณะ ๔ จำพวกนี้ โยมไม่เห็นความแตกต่างอะไรกันเลย”
“มหาบพิตร โดยปริยายนี้ พระองค์ทรงทราบเถิดว่า วาทะที่พวกพราหมณ์
กล่าวว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาท
ของพรหม’ นั่นเป็นคำโฆษณาในโลกนี้เท่านั้น”
[๓๒๒] ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรง
เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร กษัตริย์ในโลกนี้พึงปลงพระเกศาและพระมัสสุ นุ่งห่ม
ผ้ากาสาวพัสตร์เสด็จออกจากวังผนวชเป็นบรรพชิต ทรงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
งดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการพูดเท็จ ไม่บริโภคในราตรี ฉันภัตตาหาร
มื้อเดียว เป็นพรหมจารี มีศีล มีกัลยาณธรรม พระองค์จะทรงทำอย่างไรกับราช-
บรรพชิตนั้น”
พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตร ตรัสว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ โยมต้องกราบไหว้
ลุกรับ เชื้อเชิญด้วยอาสนะ หรือเจาะจงนิมนต์ราชบรรพชิตนั้นด้วยจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร๑ จัดการอารักขา คุ้มครอง ป้องกันท่าน
ตามความเหมาะสม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสมญานามว่ากษัตริย์ของท่านเมื่อ
ก่อนนั้นหายไปแล้ว ท่านได้ชื่อว่า ‘สมณะเท่านั้น”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พราหมณ์ในโลกนี้
ฯลฯ แพศย์ในโลกนี้ ฯลฯ ศูทรในโลกนี้โกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์
งดเว้นจากการพูดเท็จ ไม่บริโภคในราตรี ฉันภัตตาหารมื้อเดียว เป็นพรหมจารี
มีศีล มีกัลยาณธรรม พระองค์จะทรงทำอย่างไรกับบรรพชิตนั้น”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ โยมต้องกราบไหว้ ลุกรับ เชื้อเชิญด้วยอาสนะ หรือเจาะ
จงนิมนต์ท่านด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร จัดการ
อารักขา คุ้มครอง ป้องกันท่านตามความเหมาะสม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
สมญานามว่าศูทรของท่านเมื่อก่อนนั้นหายไปแล้ว ท่านได้ชื่อว่า ‘สมณะเท่านั้น”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นอย่างนี้
วรรณะ ๔ จำพวกนี้ ย่อมเป็นผู้เสมอกัน ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยใน
วรรณะ ๔ จำพวกนี้ ว่าอย่างไร”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ เมื่อเป็นอย่างนี้ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ ก็เสมอกันหมด
แน่นอน ในวรรณะ ๔ จำพวกนี้ โยมไม่เห็นความแตกต่างอะไรกันเลย”
“มหาบพิตร โดยปริยายนี้ พระองค์ทรงทราบเถิดว่า วาทะที่พวกพราหมณ์
กล่าวว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาว
คือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่
บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ของพรหม เกิดจาก
พรหม เป็นผู้ที่พรหมสร้างขึ้น เป็นทายาทของพรหม’ นั่นเป็นคำโฆษณาในโลกนี้
เท่านั้น”
พระเจ้ามธุระแสดงตนเป็นอุบาสก
[๓๒๓] เมื่อท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรอย่างนี้แล้ว พระเจ้ามธุระ
อวันตีบุตรได้ตรัสว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
พระคุณเจ้ากัจจานะ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระคุณเจ้ากัจจานะ
ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร
ตาดีจักเห็นรูปได้’ โยมขอถึงพระคุณเจ้ากัจจานะพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็น
สรณะ ขอพระคุณเจ้ากัจจานะจงจำโยมว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
จนตลอดชีวิต”
ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระองค์อย่าทรงถึง
อาตมภาพเป็นสรณะเลย ขอจงทรงถึงพระผู้มีพระภาคผู้เป็นสรณะของอาตมภาพ
เป็นสรณะเถิด”
พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตร ตรัสถามว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ บัดนี้ พระผู้มี
พระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นประทับอยู่ที่ไหน”
ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร บัดนี้ พระผู้มีพระภาค
ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว”
พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตร ตรัสว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ ถ้าพวกโยมได้ยินว่า
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นประทับอยู่ไกลถึง ๑๐ โยชน์ พวกโยมก็ต้องไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แม้สิ้นทาง ๑๐ โยชน์
ถ้าพวกโยมได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นประทับอยู่ไกลถึง ๒๐ โยชน์ ...
๓๐ โยชน์... ๔๐ โยชน์... ๕๐ โยชน์ พวกโยมก็ต้องไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แม้สิ้นทาง ๕๐ โยชน์
พระคุณเจ้ากัจจานะ ถ้าพวกโยมได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นประทับ
อยู่ไกลถึง ๑๐๐ โยชน์ พวกโยมก็ต้องไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ถึงแม้ว่าจะไกลสัก ๑๐๐ โยชน์ แต่เพราะเหตุที่
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว พวกโยมขอถึงพระผู้มี
พระภาคแม้เสด็จปรินิพพานแล้ว พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอพระคุณเจ้ากัจจานะจงจำโยมว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จน
ตลอดชีวิต” ดังนี้แล
มธุรสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

๕. โพธิราชกุมารสูตร
ว่าด้วยโพธิราชกุมาร
[๓๒๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน สถานที่ให้อภัยหมู่เนื้อ
เขตกรุงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ สมัยนั้นแล ปราสาทชื่อโกกนุทของพระราชกุมาร
พระนามว่าโพธิ สร้างเสร็จแล้วใหม่ ๆ สมณะ พราหมณ์ หรือมนุษย์คนใดคนหนึ่ง
ยังไม่ได้เข้าไปอยู่อาศัย ต่อมา โพธิราชกุมารรับสั่งเรียกมาณพชื่อสัญชิกาบุตรมา
ตรัสว่า
“มาเถิด สัญชิกาบุตรเพื่อนรัก ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
กราบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า แล้วทูลถามถึงพระสุขภาพ
ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ
ตามคำของเราว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพธิราชกุมาร ขอกราบพระยุคลบาทของ
พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย
กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ’ และจงกราบทูลอย่างนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์โปรดรับนิมนต์ฉัน
ภัตตาหารของโพธิราชกุมารในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด”
มาณพสัญชิกาบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่
สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โพธิราชกุมารขอกราบพระยุคลบาทของพระโคดม
ผู้เจริญ ด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า
มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ และกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอพระโคดมผู้เจริญ
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ทรงรับนิมนต์ฉันภัตตาหารของโพธิราชกุมารในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ เวลานั้น มาณพสัญชิกาบุตร
ทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกจากที่นั่งเข้าไปเฝ้าโพธิราชกุมาร
ถึงที่ประทับแล้วกราบทูลว่า
“ข้าพระองค์ได้กราบทูลพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้นตามรับสั่งของพระองค์ว่า
‘ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โพธิราชกุมารขอกราบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค
ด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า
มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ’ และกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอพระโคดมผู้เจริญ
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ทรงรับนิมนต์ฉันภัตตาหารของโพธิราชกุมารในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด’
และพระสมณโคดมทรงรับนิมนต์แล้ว พระเจ้าข้า”
พระพุทธเจ้าไม่ทรงเหยียบผ้าขาว
[๓๒๕] ครั้งนั้น เมื่อล่วงราตรีนั้นไป โพธิราชกุมารรับสั่งให้จัดเตรียมของ
เคี้ยวของฉันอันประณีตไว้ในพระนิเวศน์ของพระองค์ และรับสั่งให้ปูลาดโกกนุทปราสาท
ด้วยผ้าขาวถึงบันไดขั้นล่างสุด รับสั่งเรียกมาณพสัญชิกาบุตรมาตรัสว่า
“มาเถิด สัญชิกาบุตรเพื่อนรัก ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
แล้วกราบทูลภัตตกาลว่า ‘ได้เวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารสำเร็จแล้ว”
มาณพสัญชิกาบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ กราบทูลภัตตกาลว่า ‘ได้เวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารสำเร็จแล้ว”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเสด็จ
เข้าไปยังพระราชนิเวศน์ของโพธิราชกุมาร ขณะนั้น โพธิราชกุมารทรงยืนคอย
รับเสด็จพระผู้มีพระภาคอยู่ที่นอกซุ้มประตู ได้ทรงเห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมา
แต่ไกล จึงเสด็จออกไปต้อนรับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วเสด็จนำหน้าเข้าไป
จนถึงโกกนุทปราสาท ครั้นถึงบันไดขั้นล่างสุด พระผู้มีพระภาคทรงหยุด โพธิราชกุมาร
จึงกราบทูลว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคทรงเหยียบผ้าขาวเสด็จเข้าไปเถิด
ขอพระสุคตทรงเหยียบผ้าขาวเสด็จเข้าไปเถิด ข้อนี้จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อสุข แก่หม่อมฉันตลอดกาลนาน พระพุทธเจ้าข้า”
เมื่อโพธิราชกุมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงนิ่ง
แม้ครั้งที่ ๒ โพธิราชกุมารก็กราบทูลว่า “ขอพระผู้มีพระภาคทรงเหยียบผ้าขาว
เสด็จเข้าไปเถิด ขอพระสุคตทรงเหยียบผ้าขาวเสด็จเข้าไปเถิด ข้อนี้จะพึงเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข แก่หม่อมฉันตลอดกาลนาน พระพุทธเจ้าข้า”
เมื่อโพธิราชกุมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงนิ่ง
แม้ครั้งที่ ๓ โพธิราชกุมารก็กราบทูลว่า “ขอพระผู้มีพระภาคทรงเหยียบผ้าขาว
เสด็จเข้าไปเถิด ขอพระสุคตทรงเหยียบผ้าขาวเสด็จเข้าไปเถิด ข้อนี้จะพึงเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข แก่หม่อมฉันตลอดกาลนาน พระพุทธเจ้าข้า”
[๓๒๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชำเลืองดูท่านพระอานนท์ จากนั้น
ท่านพระอานนท์ได้ทูลตอบโพธิราชกุมารว่า “พระราชกุมารจงเก็บผ้าขาวเสียเถิด
พระผู้มีพระภาคไม่ทรงเหยียบผ้าขาว พระตถาคตทรงเห็นแก่ประชุมชนผู้เกิดใน
ภายหลัง”
โพธิราชกุมารรับสั่งให้เก็บผ้าขาวแล้วรับสั่งให้ปูอาสนะที่โกกนุทปราสาทชั้นบน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จขึ้นโกกนุทปราสาท แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์
ที่ปูลาดไว้แล้วพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โพธิราชกุมารทรงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประมุข ถวายของเคี้ยวของฉันอันประณีตจนอิ่มหนำด้วยพระองค์เอง ทรงทราบ
ว่าพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จละพระหัตถ์จากบาตรแล้ว จึงเลือกประทับนั่งอาสนะที่
สมควร ที่ใดที่หนี่งซึ่งต่ำกว่า แล้วได้กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันมีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘บุคคลจะไม่ประสบ
ความสุขด้วยความสุข แต่บุคคลจะประสบความสุขด้วยความทุกข์เท่านั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

พุทธประวัติตอนบำเพ็ญสมาบัติ
ในสำนักอาฬารดาบส๑
[๓๒๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราชกุมาร ก่อนการตรัสรู้ แม้อาตมภาพ
ยังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บุคคลจะไม่ประสบความสุข
ด้วยความสุข แต่บุคคลจะประสบความสุขได้ด้วยความทุกข์เท่านั้น’ ในกาลต่อมา
อาตมภาพยังหนุ่มแน่น แข็งแรง มีเกศาดำสนิท อยู่ในปฐมวัย เมื่อพระราชมารดา
และพระราชบิดาไม่ทรงปรารถนาจะให้ผนวช มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร
ทรงกันแสงอยู่ จึงโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากวังบวชเป็น
บรรพชิต เมื่อบวชแล้วก็แสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ขณะที่แสวงหาทางอันประเสริฐคือ
ความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า ได้เข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตร แล้วกล่าวว่า
‘ท่านกาลามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้’
เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้ อาฬารดาบส กาลามโคตรจึงกล่าวกับอาตมภาพว่า
‘เชิญท่านอยู่ก่อน ธรรมนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับธรรมที่วิญญูชนจะพึงทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งเอง ตามแบบอาจารย์ของตน เข้าถึงอยู่ได้ในเวลาไม่นาน’ จากนั้น
ไม่นาน อาตมภาพก็เรียนรู้ธรรมนั้นได้อย่างรวดเร็ว ชั่วขณะปิดปากจบเจรจาปราศรัย
เท่านั้น ก็กล่าวญาณวาทะ๑และเถรวาทะ๒ได้ ทั้งอาตมภาพและผู้อื่นก็ทราบชัดว่า
‘เรารู้ เราเห็น’ อาตมภาพจึงคิดว่า ‘อาฬารดาบส กาลามโคตรประกาศธรรมนี้
ด้วยเหตุเพียงความเชื่ออย่างเดียวว่า ‘เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’
ก็หามิได้ แต่อาฬารดาบส กาลามโคตร ยังรู้ ยังเห็นธรรมนี้ด้วยอย่างแน่นอน’
จากนั้น อาตมภาพจึงเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้วถามว่า ‘ท่าน
กาลามะ ท่านประกาศธรรมนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร
เมื่ออาตมภาพถามอย่างนี้ อาฬารดาบส กาลามโคตรจึงประกาศอากิญ-
จัญญายตนสมาบัติแก่อาตมภาพ อาตมภาพจึงคิดว่า ‘มิใช่แต่อาฬารดาบส
กาลามโคตรเท่านั้นที่มีศรัทธา แม้เราก็มีศรัทธา ... มีวิริยะ ... มีสติ ... มีสมาธิ ...
มิใช่แต่อาฬารดาบส กาลามโคตรเท่านั้นที่มีปัญญา แม้เราก็มีปัญญา ทางที่ดี
เราควรบำเพ็ญเพียรเพื่อทำให้แจ้งธรรมที่อาฬารดาบส กาลามโคตรประกาศว่า
‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ จากนั้นไม่นาน อาตมภาพก็ทำให้
แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
จากนั้น อาตมภาพจึงเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้วถามว่า ‘ท่าน
กาลามะ ท่านประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หรือ’
อาฬารดาบส กาลามโคตรตอบว่า ‘ท่านผู้มีอายุ เราประกาศว่า ‘ข้าพเจ้า
ทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล’
(อาตมภาพจึงกล่าวว่า) ‘ท่านกาลามะ แม้ข้าพเจ้าก็ทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้’
(อาฬารดาบส กาลามโคตรกล่าวว่า) ‘ท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า
พวกข้าพเจ้าได้ดีแล้วที่ได้พบเพื่อนพรหมจารีเช่นท่าน เพราะข้าพเจ้าประกาศว่า
‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านก็ทำให้แจ้งธรรมนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านทำให้แจ้งธรรมใด ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ข้าพเจ้าก็ประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ข้าพเจ้าทราบธรรมใด ท่านก็ทราบธรรมนั้น ท่านทราบธรรมใด ข้าพเจ้าก็ทราบ
ธรรมนั้น เป็นอันว่าข้าพเจ้าเป็นเช่นใด ท่านก็เป็นเช่นนั้น ท่านเป็นเช่นใด ข้าพเจ้า
ก็เป็นเช่นนั้น มาเถิด บัดนี้ เราทั้งสองจะอยู่ร่วมกันบริหารคณะนี้’
ราชกุมาร อาฬารดาบส กาลามโคตรทั้งที่เป็นอาจารย์ของอาตมภาพ ก็ยกย่อง
อาตมภาพผู้เป็นศิษย์ให้เสมอกับตน และบูชาอาตมภาพด้วยการบูชาอย่างดี ด้วย
ประการอย่างนี้ แต่อาตมภาพคิดว่า ‘ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อ
คลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน เป็นไป
เพียงเพื่อเข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติเท่านั้น’ อาตภาพไม่พอใจ เบื่อหน่ายธรรมนั้น
จึงลาจากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

ในสำนักอุทกดาบส
[๓๒๘] ราชกุมาร อาตมภาพนั้นแสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ขณะที่แสวงหา
ทางอันประเสริฐคือความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า ได้เข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตร
แล้วกล่าวว่า ‘ท่านรามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้’
เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้ อุทกดาบส รามบุตรจึงกล่าวกับอาตมภาพว่า
‘เชิญท่านอยู่ก่อน ธรรมนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับธรรมที่วิญญูชนจะพึงทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งเอง ตามแบบอาจารย์ของตนเข้าถึงอยู่ได้ในเวลาไม่นาน’ จากนั้นไม่นาน
อาตมภาพก็เรียนรู้ธรรมนั้นได้อย่างรวดเร็ว ชั่วขณะปิดปากจบเจรจาปราศรัยเท่านั้น
ก็กล่าวญาณวาทะและเถรวาทะได้ ทั้งอาตมภาพและผู้อื่นก็ทราบชัดว่า ‘เรารู้
เราเห็น’ อาตมภาพจึงคิดว่า ‘อุทกดาบส รามบุตรประกาศธรรมนี้ด้วยเหตุเพียง
ความเชื่ออย่างเดียวว่า ‘เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ก็หามิได้ แต่
อุทกดาบส รามบุตรยังรู้ยังเห็นธรรมนี้ด้วยอย่างแน่นอน’
จากนั้น อาตมภาพจึงเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตรแล้วถามว่า ‘ท่านรามะ
ท่านประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไร’
เมื่ออาตมภาพถามอย่างนี้ อุทกดาบส รามบุตรจึงประกาศเนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติแก่อาตมภาพ อาตมภาพจึงคิดว่า ‘มิใช่แต่อุทกดาบส รามบุตร
เท่านั้นที่มีศรัทธา แม้เราก็มีศรัทธา ... มีวิริยะ ... มีสติ ... มีสมาธิ ... มิใช่แต่
อุทกดาบส รามบุตรเท่านั้นที่มีปัญญา แม้เราก็มีปัญญา ทางที่ดี เราควรเริ่มบำเพ็ญ
เพียรเพื่อทำให้แจ้งธรรมที่อุทกดาบส รามบุตรประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ จากนั้นไม่นาน อาตมภาพก็ได้ทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
จากนั้น อาตมภาพจึงเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตรแล้วถามว่า ‘ท่านรามะ
ท่านประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้หรือ’
อุทกดาบส รามบุตรตอบว่า ‘ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้
แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร
(อาตมภาพจึงกล่าวว่า) ‘แม้ข้าพเจ้าก็ทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่าน’
(อุทกดาบส รามบุตรกล่าวว่า) ‘ท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า พวก
ข้าพเจ้าได้ดีแล้วที่ได้พบเพื่อนพรหมจารีเช่นท่าน เพราะ(ข้าพเจ้า)รามะประกาศว่า
‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านก็ทำให้แจ้งธรรมนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
รามะก็ประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ รามะทราบ
ธรรมใด ท่านก็ทราบธรรมนั้น ท่านทราบธรรมใด รามะก็ทราบธรรมนั้น เป็นอันว่า
รามะเป็นเช่นใด ท่านก็เป็นเช่นนั้น ท่านเป็นเช่นใด รามะก็เป็นเช่นนั้น มาเถิด บัดนี้
ท่านจงบริหารคณะนี้'
ราชกุมาร อุทกดาบส รามบุตรทั้งที่เป็นเพื่อนพรหมจารีของอาตมภาพ ก็ยัง
ยกย่องอาตมภาพไว้ในฐานะอาจารย์ และบูชาอาตมภาพด้วยการบูชาอย่างดี ด้วย
ประการอย่างนี้ แต่อาตมภาพคิดว่า ‘ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลาย
กำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน เป็นไปเพียง
เพื่อเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเท่านั้น’ อาตมภาพไม่พอใจ เบื่อหน่าย
ธรรมนั้น จึงลาจากไป
ทรงบำเพ็ญเพียร
[๓๒๙] ราชกุมาร อาตมภาพนั้นแสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ขณะที่แสวงหา
ทางอันประเสริฐคือความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า เมื่อเที่ยวจาริกไปในแคว้นมคธ
โดยลำดับ ได้ไปถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ได้เห็นภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ มีราวป่า
น่าเพลิดเพลินใจ มีแม่น้ำไหลรินไม่ขาดสาย มีท่าน้ำสะอาดดี น่ารื่นรมย์ มีโคจรคาม
อยู่โดยรอบ อาตมภาพจึงคิดว่า ‘ภูมิประเทศเป็นที่น่ารื่นรมย์ มีราวป่าน่าเพลิดเพลินใจ
มีแม่น้ำไหลรินไม่ขาดสาย มีท่าน้ำสะอาดดี น่ารื่นรมย์ มีโคจรคามอยู่โดยรอบ
เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรของกุลบุตรผู้ปรารถนาจะบำเพ็ญเพียร’ อาตมภาพจึงนั่ง
ณ ที่นั้นด้วยคิดว่า ‘ที่นี้เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

อุปมา ๓ ข้อ
ราชกุมาร ครั้งนั้น อุปมา ๓ ข้อ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งอาตมภาพยังไม่เคย
ได้ยินมาก่อน ได้ปรากฏแก่อาตมภาพ คือ
๑. เปรียบเหมือนไม้สดมียางที่แช่อยู่ในน้ำ บุรุษนำไม้นั้นมาทำไม้สีไฟ
ด้วยหวังว่า ‘เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น’
ราชกุมาร พระองค์เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นนำไม้สดที่มี
ยางซึ่งแช่อยู่ในน้ำมาทำไม้สีไฟแล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะไม้สดนั้นมียาง ทั้งยังแช่อยู่ในน้ำ บุรุษนั้นก็มีแต่
ความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า”
“ราชกุมาร อย่างนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
มีกายและจิตยังไม่หลีกออกจากกาม ยังมีความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง
ความกระหาย และความกระวนกระวายในกามทั้งหลาย ยังมิได้ละและมิได้ระงับ
อย่างเบ็ดเสร็จในภายใน สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นแม้เสวยทุกขเวทนา
ที่กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้
การเห็น และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม แม้ไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ
เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้ การเห็น และการ
ตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
นี้เป็นอุปมาข้อที่ ๑ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งอาตมภาพยังไม่เคยได้ยิน
มาก่อน ได้ปรากฏแก่เรา
[๓๓๐] ๒. เปรียบเหมือนไม้สดมียางที่วางอยู่บนบกห่างจากน้ำ บุรุษนำไม้นั้น
มาทำไม้สีไฟด้วยหวังว่า ‘เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น’
ราชกุมาร พระองค์เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นนำไม้สดที่มียาง
ซึ่งวางอยู่บนบกห่างจากน้ำมาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะไม้ยังสดและมียาง แม้จะวางอยู่บนบกห่าง
จากน้ำ บุรุษนั้นก็มีแต่ความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า”
“ราชกุมาร อย่างนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
แม้มีกายและจิตหลีกออกจากกามแล้ว แต่ยังมีความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง
ความกระหาย และความกระวนกระวายในกามทั้งหลาย ยังมิได้ละและมิได้ระงับ
อย่างเบ็ดเสร็จในภายใน สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นแม้เสวยทุกขเวทนา
ที่กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้
การเห็น และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม แม้ไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ
เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้ การเห็น และการ
ตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
นี้เป็นอุปมาข้อที่ ๒ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งอาตมภาพยังไม่เคยได้ยิน
มาก่อน ได้ปรากฏแก่อาตมภาพ
[๓๓๑] ๓. เปรียบเหมือนไม้ที่แห้งสนิทซึ่งวางอยู่บนบกห่างจากน้ำ บุรุษนำมา
ทำเป็นไม้สีไฟด้วยหวังว่า ‘เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น’
ราชกุมาร พระองค์เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นนำไม้ที่แห้งสนิท
ซึ่งวางอยู่บนบกห่างจากน้ำมาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะไม้แห้งสนิท ทั้งวางอยู่บนบกห่างจากน้ำ”
“ราชกุมาร อย่างนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีกาย
และจิตหลีกออกจากกามแล้ว ทั้งละและระงับความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง
ความกระหาย และความกระวนกระวายในกามทั้งหลายได้อย่างเบ็ดเสร็จในภายในแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร
สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น แม้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน
ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ควรแก่การรู้ การเห็น และการตรัสรู้อัน
ยอดเยี่ยม แม้ไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะ
ความเพียร ก็เป็นผู้ควรแก่การรู้ การเห็น และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
นี้เป็นอุปมาข้อที่ ๓ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งอาตมภาพยังไม่เคยได้ยินมาก่อน
ได้ปรากฏแก่อาตมภาพ
ราชกุมาร นี้คืออุปมา ๓ ข้ออันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งอาตมภาพยังไม่เคยได้
ยินมาก่อน ได้ปรากฏแก่อาตมภาพ
ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา
[๓๓๒] ราชกุมาร อาตมภาพนั้นมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรกดฟัน
ด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้เร่าร้อน’ อาตมภาพนั้น
ก็กดฟันด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้เร่าร้อน เมื่อ
อาตมภาพทำดังนั้น เหงื่อก็ไหลออกจากรักแร้ทั้ง ๒ ข้าง คนที่แข็งแรงจับคนที่
อ่อนแอกว่าที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วบีบคั้นรัดไว้ให้แน่น แม้ฉันใด อาตมภาพก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อกดฟันด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้
เร่าร้อน เหงื่อก็ไหลออกจากรักแร้ทั้ง ๒ ข้าง
อาตมภาพปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อ
อาตมภาพถูกความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของอาตมภาพก็กระวนกระวาย
ไม่สงบระงับ
[๓๓๓] ราชกุมาร อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌาน
อันไม่มีลมปราณเถิด’ อาตมภาพก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปาก
และทางจมูก เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากและ
ทางจมูก ลมก็ออกทางหูทั้ง ๒ ข้าง มีเสียงดังอู้ ๆ ลมที่ช่างทองสูบอยู่มีเสียงดังอู้ ๆ
แม้ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากและ
ทางจมูก ลมก็ออกทางหูทั้ง ๒ ข้าง มีเสียงดังอู้ ๆ ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร
อาตมภาพปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อ
อาตมภาพถูกความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของอาตมภาพก็กระวน-
กระวาย ไม่สงบระงับ
อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด’
อาตมภาพก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู
เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทาง
ช่องหู ลมอันแรงกล้าก็เสียดแทงศีรษะ คนที่แข็งแรงใช้เหล็กที่แหลมคมแทงศีรษะ
แม้ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูก
และทางช่องหู ลมอันแรงกล้าก็เสียดแทงศีรษะ ฉันนั้นเหมือนกัน
อาตมภาพปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อ
อาตมภาพถูกความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของอาตมภาพก็กระวน-
กระวาย ไม่สงบระงับ
อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด’
อาตมภาพก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู
เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทาง
ช่องหู ก็มีทุกขเวทนาในศีรษะอย่างแรงกล้า คนที่แข็งแรงใช้เชือกหนังที่เหนียว
ขันศีรษะ แม้ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปาก
ทางจมูกและทางช่องหู ก็มีทุกขเวทนาในศีรษะอย่างแรงกล้า ฉันนั้นเหมือนกัน
อาตมภาพปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อ
อาตมภาพถูกความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของอาตมภาพก็กระวน-
กระวาย ไม่สงบระงับ
อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด’
อาตมภาพก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู
เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทาง
ช่องหู ลมอันแรงกล้าก็บาดในช่องท้อง คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ชำนาญ
ใช้มีดแล่เนื้อที่คมกรีดท้อง แม้ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีลมอันแรงกล้าบาดในช่องท้อง ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร
อาตมภาพปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อ
อาตมภาพถูกความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของอาตมภาพก็กระวน-
กระวาย ไม่สงบระงับ
อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด’
อาตมภาพก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู
เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทาง
ช่องหู ก็มีความกระวนกระวายในร่างกายอย่างแรงกล้า คนที่แข็งแรง ๒ คนจับแขน
คนที่อ่อนแอกว่าคนละข้างย่างให้ร้อนบนหลุมถ่านเพลิง แม้ฉันใด เมื่ออาตมภาพ
กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีความ
กระวนกระวายในร่างกายอย่างแรงกล้า ฉันนั้นเหมือนกัน
อาตมภาพปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อ
อาตมภาพถูกความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของอาตมภาพก็กระวน-
กระวาย ไม่สงบระงับ
เทวดาทั้งหลายเห็นอาตมภาพแล้วก็พากันกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดม
สิ้นพระชนม์แล้ว’ บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมยังมิได้สิ้นพระชนม์
แต่กำลังจะสิ้นพระชนม์’ บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมยังไม่สิ้นพระชนม์
ทั้งจะไม่สิ้นพระชนม์ พระสมณโคดมจะเป็นพระอรหันต์ การอยู่เช่นนี้นั้น เป็นวิหาร
ธรรม๑ของท่านผู้เป็นพระอรหันต์’
[๓๓๔] ราชกุมาร อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรปฏิบัติ
ด้วยการอดอาหารทุกอย่าง’ ขณะนั้น เทวดาทั้งหลายเข้ามาหาอาตมภาพแล้ว
กล่าวว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าได้ปฏิบัติด้วยการอดอาหารทุกอย่าง
ถ้าท่านจักปฏิบัติด้วยการอดอาหารทุกอย่าง ข้าพเจ้าทั้งหลายจะแทรกโอชาอันเป็น
ทิพย์เข้าทางขุมขนของท่าน ท่านจะได้ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยโอชานั้น’ อาตมภาพ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร
จึงมีความดำริว่า ‘เราปฏิญญาว่า จะต้องอดอาหารทุกอย่าง แต่เทวดาเหล่านี้จะ
แทรกโอชาอันเป็นทิพย์เข้าทางขุมขนของเรา เราจะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยโอชานั้น
การปฏิญญานั้นก็จะพึงเป็นมุสาแก่เรา’ อาตมภาพจึงกล่าวห้ามเทวดาเหล่านั้นว่า
‘อย่าเลย’
อาตมภาพมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรกินอาหารให้น้อยลง ๆ เพียง
ครั้งละ ๑ ฟายมือบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วพูบ้าง
เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง’ อาตมภาพจึงฉันอาหารน้อยลง ๆ
เพียงครั้งละ ๑ ฟายมือบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วพูบ้าง
เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง เมื่ออาตมภาพฉันอาหารน้อยลง ๆ
เพียงครั้งละ ๑ ฟายมือบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วพูบ้าง
เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง กายจึงซูบผอมมาก อวัยวะน้อยใหญ่
ของอาตมภาพจึงเป็นเหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมากหรือเถาวัลย์ที่มีข้อดำ เนื้อสะโพก
ก็ลีบเหมือนกีบเท้าอูฐ กระดูกสันหลังก็ผุดเป็นหนามเหมือนเถาวัลย์ ซี่โครงทั้ง ๒ ข้าง
ขึ้นสะพรั่ง เหมือนกลอนศาลาเก่า ดวงตาทั้ง ๒ ก็ลึกเข้าไปในเบ้าตา เหมือน
ดวงดาวปรากฏอยู่ในบ่อน้ำลึก หนังบนศีรษะก็เหี่ยวหดเหมือนลูกน้ำเต้าที่เขาตัดมา
ขณะยังดิบต้องลมและแดดเข้าก็เหี่ยวหดไป เพราะเป็นผู้มีอาหารน้อยนั้น อาตมภาพ
คิดว่า ‘จะลูบพื้นท้อง’ ก็จับถึงกระดูกสันหลัง คิดว่า ‘จะลูบกระดูกสันหลัง’ ก็จับถึง
พื้นท้อง เพราะพื้นท้องของอาตมภาพแนบติดจนถึงกระดูกสันหลัง อาตมภาพคิดว่า
‘จะถ่ายอุจจาระหรือถ่ายปัสสาวะ’ ก็ซวนเซล้มลง ณ ที่นั้น เมื่อจะให้กายสบายบ้าง
จึงใช้ฝ่ามือลูบตัว ขนทั้งหลายที่มีรากเน่าก็หลุดร่วงจากกาย เพราะเป็นผู้มีอาหารน้อย
มนุษย์ทั้งหลายเห็นอาตมภาพแล้ว ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมดำไป’ บางพวก
ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมไม่ดำเพียงแต่คล้ำไป’ บางพวกก็กล่าวอย่างนี้ว่า
‘ไม่ดำ ไม่คล้ำ เพียงแต่พร้อยไป’ เรามีผิวพรรณบริสุทธิ์ เปล่งปลั่ง เพียงแต่เสียผิวไป
เพราะเป็นผู้มีอาหารน้อยเท่านั้น
[๓๓๕] ราชกุมาร อาตมภาพนั้นมีความดำริว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งในอดีตเสวยทุกขเวทนากล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ที่เกิดขึ้นเพราะความเพียร
ทุกขเวทนานั้น อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ไม่เกินกว่านี้ไป สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร
เหล่าหนึ่งในอนาคตเสวยทุกขเวทนากล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ที่เกิดขึ้นเพราะ
ความเพียร ทุกขเวทนานั้น อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ไม่เกินกว่านี้ไป สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน เสวยทุกขเวทนากล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน
ที่เกิดขึ้นเพราะความเพียร ทุกขเวทนานั้น อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ไม่เกินกว่านี้ไป
แต่เราก็ยังมิได้บรรลุญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของ
มนุษย์ ด้วยทุกกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้ จะพึงมีทางอื่นเพื่อการตรัสรู้บ้างไหม’
อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ‘เราจำได้อยู่ เมื่อคราวงานของท้าวสักกาธิบดี
ซึ่งเป็นพระราชบิดา เรานั่งอยู่ใต้ต้นหว้าอันร่มเย็น ได้สงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ทางนั้น
พึงเป็นทางแห่งการตรัสรู้หรือหนอ’ อาตมภาพมีความรู้แจ้งที่ตามระลึกด้วยสติว่า
‘ทางนั้นเป็นทางแห่งการตรัสรู้’ อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ‘เรากลัวความสุขที่เว้น
จากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายหรือ’ อาตมภาพก็ดำริว่า ‘เราไม่กลัวความสุขที่เว้น
จากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายเลย’
ราชกุมาร อาตมภาพจึงมีความดำริต่อไปว่า ‘เราผู้มีกายซูบผอมมากอย่างนี้
จะบรรลุความสุขนั้นไม่ใช่ทำได้ง่ายเลย ทางที่ดี เราควรกินอาหารหยาบ คือข้าวสุก
และขนมกุมมาส’ อาตมภาพก็ฉันอาหารหยาบคือข้าวสุกและขนมกุมมาส ครั้งนั้น
ภิกษุปัญจวัคคีย์เฝ้าบำรุงอาตมภาพ ด้วยหวังว่า ‘พระสมณโคดมบรรลุธรรมใด
จักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย’ เมื่อใด อาตมภาพฉันอาหารหยาบ คือข้าวสุก
และขนมกุมมาส เมื่อนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์นั้น ก็เบื่อหน่าย จากไปด้วยเข้าใจว่า
‘พระสมณโคดมมักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเสียแล้ว’
ฌาน ๔ และวิชชา ๓
[๓๓๖] ราชกุมาร อาตมภาพฉันอาหารหยาบให้ร่างกายมีกำลัง สงัดจาก
กามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิด
จากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร
ตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะ
ละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มี
ทุกข์ไม่มีสุขมีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ อาตมภาพนั้น
น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ อาตมภาพระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้ อาตมภาพได้บรรลุวิชชาที่ ๑ นี้ ในปฐมยามแห่งราตรี กำจัด
อวิชชาได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือน
บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ อาตมภาพนั้น
น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่
สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ อาตมภาพได้บรรลุวิชชาที่ ๒ นี้ในมัชฌิมยามแห่ง
ราตรี กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่าง
ก็เกิดขึ้น เหมือนบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ อาตมภาพนั้น
น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่ออาตมภาพรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นจาก
กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร
ราชกุมาร อาตมภาพบรรลุวิชชาที่ ๓ นี้ในปัจฉิมยามแห่งราตรี กำจัดอวิชชา
ได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือนบุคคลผู้
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ทรงมีความขวนขวายน้อย
[๓๓๗] ราชกุมาร อาตมภาพนั้นได้มีความดำริว่า ‘ธรรม๑ที่เราได้บรรลุแล้วนี้
ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยแห่งตรรกะ ละเอียด
บัณฑิต(เท่านั้น)จึงจะรู้ได้ ส่วนหมู่ประชาผู้รื่นรมย์ด้วยอาลัย ยินดีในอาลัย เพลิดเพลิน
ในอาลัย ฐานะที่หมู่สัตว์ผู้รื่นรมย์ด้วยอาลัย๒ ยินดีในอาลัย เพลิดเพลินในอาลัย
นี้ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือหลักอิทัปปัจจยตา(ความที่มีสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นปัจจัย
ของสิ่งนี้) หลักปฏิจจสมุปบาท(การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกัน ๆ จึงเกิดมี) ถึงแม้ฐานะ
อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยากนัก กล่าวคือความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดทิ้ง
อุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม
และผู้อื่นจะไม่เข้าใจซึ้งต่อเรา ข้อนั้นก็จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึง
เป็นความลำบากเปล่าแก่เรา’
อนึ่งเล่า คาถาอันน่าอัศจรรย์เหล่านี้ที่ไม่เคยสดับมาก่อน ได้ปรากฏแก่เราว่า
‘บัดนี้ เรายังไม่ควรประกาศธรรมที่เราบรรลุด้วยความลำบาก
เพราะธรรมนี้ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ถูกราคะและโทสะครอบงำจะรู้ได้ง่าย
แต่เป็นสิ่งที่พาทวนกระแส๓ ละเอียด ลึกซึ้ง รู้เห็นได้ยาก ประณีต
ผู้กำหนัดด้วยราคะ ถูกกองโมหะหุ้มห่อไว้ จักรู้เห็นไม่ได้๔’
ราชกุมาร เมื่ออาตมภาพพิจารณาดังนี้ จิตก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย
มิได้น้อมไป เพื่อแสดงธรรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

สหัมบดีพรหมอาราธนาแสดงธรรม
[๓๓๘] ครั้งนั้น สหัมบดีพรหมทราบความดำริในใจของอาตมภาพด้วยใจ
(ของตน) จึงได้มีความรำพึงว่า
‘ท่านผู้เจริญ โลกจะฉิบหายหนอ โลกจะพินาศหนอ เพราะพระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงน้อมพระทัยไปเพื่อความขวนขวายน้อย มิได้น้อมพระทัยไป
เพื่อทรงแสดงธรรม’
ลำดับนั้น สหัมบดีพรหมอันตรธานจากพรหมโลกมาปรากฏ ณ เบื้องหน้า
อาตมภาพ เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า แล้วห่มอุตตราสงค์
เฉวียงบ่า ประนมมือมาทางทิศที่อาตมภาพอยู่ ได้กล่าวกับอาตมภาพว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดแสดงธรรม ขอพระสุคตเจ้าได้โปรดแสดงธรรม
เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตาน้อย๑มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นจะเสื่อมเพราะไม่ได้สดับธรรม
สัตว์เหล่านั้นจักเป็นผู้รู้ทั่วถึงธรรม๒’
สหัมบดีพรหมได้ทูลอาราธนาดังนี้ แล้วได้ทูลเป็นคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
‘ในกาลก่อน ธรรมที่ไม่บริสุทธิ์
อันคนที่มีมลทิน๓คิดค้นไว้ ปรากฏในแคว้นมคธ
พระองค์โปรดทรงเปิดประตูอมตธรรมนั้นเถิด
ขอสัตว์ทั้งหลายจงฟังธรรมที่พระสัมพุทธเจ้า
ผู้ปราศจากมลทิน ได้ตรัสรู้แล้วตามลำดับ
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปัญญาดี มีพระสมันตจักษุ
บุรุษผู้ยืนอยู่บนยอดเขาศิลาล้วน
พึงเห็นหมู่ชนได้โดยรอบ ฉันใด
พระองค์ผู้หมดความโศกแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น