Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๓-๙ หน้า ๔๐๙ - ๔๖๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓-๙ สุตตันตปิฎกที่ ๐๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์



พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร
โปรดเสด็จขึ้นสู่ปราสาทคือธรรม
จักได้เห็นหมู่ชนผู้ตกอยู่ในความเศร้าโศก
และถูกชาติชราครอบงำได้ชัดเจน ฉันนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร
ผู้ชนะสงคราม๑ ผู้นำหมู่๒ ผู้ไม่มีหนี้๓
ขอพระองค์โปรดลุกขึ้นเสด็จจาริกไปในโลก
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
ขอพระองค์โปรดจงทรงแสดงธรรม
เพราะสัตว์ทั้งหลายจักเป็นผู้รู้ทั่วถึงธรรม๔
เวไนยสัตว์เปรียบด้วยดอกบัว๕
[๓๓๙] ราชกุมาร ครั้งนั้น อาตมภาพรับคำทูลอาราธนาของพรหม และ
เพราะอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ๖ เมื่อตรวจดู
โลกด้วยพุทธจักษุได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตา๗น้อย มีธุลีในดวงตามาก
มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้รู้
ได้ยาก บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งน่ากลัว บางพวกเห็นปรโลกและโทษ
ว่าเป็นสิ่งไม่น่ากลัว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร
ในกออุบล(บัวขาบ) ในกอปทุม(บัวหลวง) หรือในกอบุณฑริก(บัวขาว) ดอก
อุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่
ใต้น้ำ และมีน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ
เจริญในน้ำ อยู่เสมอน้ำ ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ
เจริญในน้ำ อยู่พ้นน้ำ ไม่แตะน้ำ แม้ฉันใด อาตมภาพเมื่อตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ
ได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตาน้อย มีธุลีในดวงตามาก มีอินทรีย์แก่กล้า
มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้รู้ได้ยาก บางพวก
เห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งน่ากลัว บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งไม่น่ากลัว๑
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ลำดับนั้น อาตมภาพได้กล่าวคาถาตอบท้าวสหัมบดีพรหมว่า
‘พรหม สัตว์เหล่าใดมีโสตประสาท
จงปล่อยศรัทธามาเถิด
เรามิได้ปิดประตูอมตธรรมสำหรับสัตว์เหล่านั้น
แต่เรารู้สึกว่าเป็นการยากลำบาก
จึงไม่คิดจะแสดงธรรมอันประณีต
ที่เราคล่องแคล่ว ในหมู่มนุษย์๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

ทรงรำพึงถึงผู้ควรรับธรรมเทศนา
[๓๔๐] ราชกุมาร ครั้งนั้น สหัมบดีพรหมทราบว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้
ทรงประทานโอกาสเพื่อจะแสดงธรรมแก่เราแล้ว’ จึงถวายอภิวาทอาตมภาพ กระทำ
ประทักษิณแล้วได้หายไปจากที่นั้น
ราชกุมาร อาตมภาพดำริว่า ‘เราควรแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้
ธรรมนี้ได้ฉับพลัน’ แล้วดำริต่อไปว่า ‘อาฬารดาบส กาลามโคตรนี้ เป็นบัณฑิต
ฉลาดเฉียบแหลม มีปัญญา มีธุลีในดวงตาน้อยมานาน ทางที่ดี เราควรแสดงธรรม
แก่อาฬารดาบส กาลามโคตรก่อน เธอจักรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน’
ครั้งนั้น เทวดาองค์หนึ่งเข้ามาหาอาตมภาพแล้วกล่าวว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ อาฬารดาบส กาลามโคตร ทำกาละได้ ๗ วันแล้ว’
อนึ่ง อาตมภาพก็ได้เกิดญาณทัสสนะขึ้นว่า ‘อาฬารดาบส กาลามโคตร
ทำกาละได้ ๗ วันแล้ว’ จึงดำริว่า ‘อาฬารดาบส กาลามโคตร เป็นผู้มีความ
เสื่อมจากคุณอันยิ่งใหญ่๑แล้วหนอ เพราะถ้าเธอได้ฟังธรรมนี้ ก็จะพึงรู้ได้ฉับพลัน’
อาตมภาพจึงดำริว่า ‘เราควรแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรม
นี้ได้ฉับพลัน’ จึงดำริต่อไปว่า ‘อุทกดาบส รามบุตรนี้ เป็นบัณฑิต ฉลาดเฉียบแหลม
มีปัญญา มีธุลีในดวงตาน้อยมานาน ทางที่ดี เราควรแสดงธรรมแก่อุทกดาบส
รามบุตรก่อน เธอจักรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน’
ลำดับนั้น เทวดาองค์หนึ่งเข้ามาหาอาตมภาพแล้วกล่าวว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ อุทกดาบส รามบุตร ได้ทำกาละเมื่อวานนี้’
อนึ่ง อาตมภาพก็ได้เกิดญาณทัสสนะขึ้นว่า ‘อุทกดาบส รามบุตร ได้ทำกาละ
เมื่อวานนี้’ จึงดำริว่า ‘อุทกดาบส รามบุตร เป็นผู้มีความเสื่อมจากคุณอันยิ่งใหญ่
แล้วหนอ เพราะถ้าเธอได้ฟังธรรมนี้ ก็จะพึงรู้ได้ฉับพลัน’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

ทรงพบอุปกาชีวก
[๓๔๑] ราชกุมาร อาตมภาพจึงดำริว่า ‘เราควรแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ
ใครจักรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน’ จึงดำริว่า ‘ภิกษุปัญจวัคคีย์มีอุปการะแก่เรามาก ที่ได้เฝ้า
ปรนนิบัติเราผู้มุ่งบำเพ็ญเพียร ทางที่ดี เราควรแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ก่อน’
แล้วดำริต่อไปว่า ‘บัดนี้ ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหนหนอ’ ก็ได้เห็นภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่
ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
ราชกุมาร ครั้งนั้น อาตมภาพพักอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาตามความต้องการแล้ว
จึงหลีกจาริกไปทางกรุงพาราณสี
ราชกุมาร อาชีวกชื่ออุปกะได้พบอาตมภาพผู้กำลังเดินทางไกล ณ ระหว่าง
แม่น้ำคยากับต้นโพธิพฤกษ์ ได้ถามเราว่า ‘อาวุโส อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก
ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านบวชอุทิศใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือ
ท่านชอบใจธรรมของใคร’
เมื่ออุปกาชีวกถามอย่างนี้แล้ว อาตมภาพจึงได้กล่าวคาถาตอบอุปกาชีวกว่า
‘เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง๑ รู้ธรรมทั้งปวง๒
มิได้แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง๓ ละธรรมทั้งปวง๔ได้สิ้นเชิง
หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา ตรัสรู้ยิ่งเอง
แล้วจะพึงกล่าวอ้างใครเล่า
เราไม่มีอาจารย์๕ เราไม่มีผู้เสมอเหมือน
เราไม่มีผู้ทัดเทียมในโลกกับทั้งเทวโลก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร
เพราะเราเป็นอรหันต์ เป็นศาสดาผู้ยอดเยี่ยม
เราผู้เดียวเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
เป็นผู้เยือกเย็น ดับกิเลสในโลกได้แล้ว
เราจะไปเมืองหลวงของชาวกาสี ประกาศธรรมจักร
ตีกลองอมตธรรมไปในโลกอันมีความมืดมน๑’
อุปกาชีวกกล่าวว่า ‘อาวุโส ท่านสมควรเป็นพระอนันตชินะตามที่ท่านประกาศ’
อาตมภาพจึงกล่าวตอบว่า
‘ชนเหล่าใดได้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว
ชนเหล่านั้นย่อมเป็นพระชินะเช่นเรา
อุปกะ เราชนะความชั่วได้แล้ว
เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่าพระชินะ๒’
เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนั้นแล้ว อุปกาชีวกจึงกล่าวว่า ‘อาวุโส ควรจะเป็น
อย่างนั้น’ โคลงศีรษะแลบลิ้นแล้วเดินสวนทางหลีกไป
ทรงแสดงธรรมโปรดภิกษุปัญจวัคคีย์
[๓๔๒] ราชกุมาร ลำดับนั้น อาตมภาพจาริกไปโดยลำดับ ถึงป่าอิสิปตน-
มฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ได้เข้าไปหาภิกษุปัญจวัคคีย์ถึงที่อยู่ ภิกษุปัญจวัคคีย์
เห็นอาตมภาพเดินมาแต่ไกล จึงนัดหมายกันและกันว่า ‘อาวุโส พระสมณโคดมนี้
เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก กำลังเสด็จมา
พวกเราไม่พึงกราบไหว้ ไม่พึงลุกรับ ไม่พึงรับบาตรและจีวรของพระองค์ แต่จะจัด
อาสนะไว้ ถ้าพระองค์ปรารถนาก็จักประทับนั่ง’
อาตมภาพเข้าไปหาภิกษุปัญจวัคคีย์ ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ลืมข้อนัดหมายของตน
บางพวกต้อนรับอาตมภาพแล้วรับบาตรและจีวร บางพวกปูลาดอาสนะ บางพวกจัด
หาน้ำล้างเท้า แต่ภิกษุปัญจวัคคีย์เรียกอาตมภาพโดยออกนามและใช้คำว่า ‘อาวุโส’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร
เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนั้นแล้ว อาตมภาพจึงห้ามภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าเรียกตถาคตโดยออกชื่อและใช้คำว่า ‘อาวุโส’
ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เธอทั้งหลายจงเงี่ยโสตสดับ เราจะ
สั่งสอนอมตธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว จะแสดงธรรม เธอทั้งหลายเมื่อปฏิบัติตามที่เรา
สั่งสอน ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์
ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแน่แท้’
เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้กล่าวกับอาตมภาพว่า
‘อาวุโสโคดม แม้ด้วยจริยานั้น ด้วยปฏิปทานั้น ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยัง
มิได้บรรลุญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ บัดนี้
พระองค์เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจัก
บรรลุญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้เล่า’
เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนั้นแล้ว อาตมภาพจึงได้กล่าวกับภิกษุปัญจ-
วัคคีย์ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่ได้เป็นคนมักมาก ไม่ได้คลายความเพียร ไม่ได้
เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ตถาคตเป็นอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ เธอทั้งหลาย
จงเงี่ยโสตสดับ เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว จะแสดงธรรม เธอทั้งหลาย
เมื่อปฏิบัติตามที่เราสั่งสอน ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้งประโยชน์ยอดยี่ยมอันเป็นที่สุด
แห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแน่แท้’
แม้ครั้งที่ ๒ ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้กล่าวกับอาตมภาพว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๒ อาตมภาพก็ได้กล่าวกับภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้กล่าวกับอาตมภาพว่า ‘อาวุโสโคดม แม้ด้วย
จริยานั้น ด้วยปฏิปทานั้น ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยังมิได้บรรลุญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้ บัดนี้ พระองค์เป็นผู้มักมาก
คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจักบรรลุญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้เล่า’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร
เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนี้แล้ว อาตมภาพได้กล่าวกับภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังจำได้หรือไม่ว่า ถ้อยคำเช่นนี้เราได้เคยกล่าวในกาล
ก่อนแต่นี้’
ภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวว่า ‘ถ้อยคำเช่นนี้ไม่เคยได้ฟังมาก่อน พระพุทธเจ้าข้า’
อาตมภาพจึงกล่าวว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเอง
โดยชอบ เธอทั้งหลายจงเงี่ยโสตสดับ เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว
จะแสดงธรรม เธอทั้งหลายเมื่อปฏิบัติตามที่เราสั่งสอน ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้ง
ซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแน่แท้’
อาตมภาพสามารถทำให้ภิกษุปัญจวัคคีย์ยินยอมได้แล้ว อาตมภาพกล่าวสอน
ภิกษุ ๒ รูป ภิกษุ ๓ รูปก็เที่ยวบิณฑบาต เราทั้ง ๖ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุ ๓ รูป
นำมา อาตมภาพกล่าวสอนภิกษุ ๓ รูป ภิกษุ ๒ รูปก็เที่ยวบิณฑบาต เราทั้ง ๖
ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุ ๒ รูปนำมา๑
ทรงแก้ปัญหาของโพธิราชกุมาร
[๓๔๓] ครั้งนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์ที่อาตมภาพสั่งสอนและพร่ำสอนอยู่อย่างนี้
ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตร
ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ในปัจจุบัน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โพธิราชกุมารได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุได้พระตถาคตเป็นผู้แนะนำนานเพียงไรหนอ
จึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราชกุมาร ถ้าเช่นนั้น ในข้อนี้อาตมภาพขอย้อนถาม
พระองค์ก่อน พระองค์พึงตอบตามที่พอพระทัย พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้น
ว่าอย่างไร พระองค์เป็นผู้ฉลาดในศิลปะ คือ การทรงช้าง การใช้ขอช้าง มิใช่หรือ”
โพธิราชกุมารทูลว่า “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในศิลปะคือ
การทรงช้าง การใช้ขอช้าง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราชกุมาร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่า
อย่างไร บุรุษมาในเมืองนี้ด้วยเข้าใจว่า ‘โพธิราชกุมารทรงรู้ศิลปะคือการทรงช้าง
การใช้ขอช้าง เราจักศึกษาศิลปะคือการขี่ช้าง การใช้ขอช้างในสำนักของโพธิราชกุมารนั้น’
แต่เขาไม่มีศรัทธา จึงไม่บรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีศรัทธาจะพึงบรรลุ เขามีสุขภาพ
มีโรคาพาธมาก จึงไม่บรรลุผลเท่ากับคนที่มีสุขภาพมีโรคาพาธน้อยจะพึงบรรลุ
เขาเป็นคนโอ้อวด มีมารยา จึงไม่บรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาจะพึง
บรรลุ เขาเป็นผู้เกียจคร้าน จึงไม่บรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ปรารภความเพียรจะพึง
บรรลุ และเขาเป็นผู้มีปัญญาทรามจึงไม่บรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีปัญญาจะพึงบรรลุ
ราชกุมาร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นควรศึกษา
ศิลปะ คือการขี่ช้าง การใช้ขอช้างในสำนักของพระองค์บ้างไหม”
โพธิราชกุมารทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นแม้จะประกอบด้วยองค์
ประกอบแต่ละอย่าง ก็ไม่ควรศึกษาศิลปะ คือ การขี่ช้าง การใช้ขอช้างในสำนักของ
หม่อมฉัน ไม่จำต้องกล่าวถึงองค์ประกอบทั้ง ๕ ข้อ”
[๓๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราชกุมาร พระองค์ทรงเข้าพระทัย
ความข้อนั้นว่าอย่างไร เปรียบเหมือนบุรุษมาเมืองนี้ด้วยเข้าใจว่า ‘โพธิราชกุมาร
ทรงรู้ศิลปะคือการทรงช้าง การใช้ขอช้าง เราจักศึกษาศิลปะคือการขี่ช้าง การใช้
ขอช้างในสำนักของโพธิราชกุมารนั้น’ เขาเป็นผู้มีศรัทธา จึงบรรลุผลเท่าที่บุคคล
ผู้มีศรัทธาจะพึงบรรลุ เขามีโรคาพาธน้อย จึงบรรลุผลเท่าที่คนผู้มีโรคาพาธน้อย
จะพึงบรรลุ เขาเป็นคนไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา จึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ไม่โอ้อวด
ไม่มีมารยาจะพึงบรรลุ เขาเป็นผู้ปรารภความเพียร จึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ปรารภ
ความเพียรจะพึงบรรลุ และเขาเป็นผู้มีปัญญาจึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีปัญญาจะพึง
บรรลุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร
ราชกุมาร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นควรจะ
ศึกษาศิลปะคือการขี่ช้าง การใช้ขอช้างในสำนักของพระองค์บ้างไหม”
โพธิราชกุมารทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นแม้จะประกอบด้วยองค์
ประกอบแต่ละอย่างก็ควรศึกษาศิลปะคือการขี่ช้าง การใช้ขอช้างในสำนักของ
หม่อมฉันได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงองค์ประกอบทั้ง ๕ ข้อ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราชกุมาร องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้
ก็อย่างนั้นเหมือนกัน
องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา๑ เชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า ‘แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย
พระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี
รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. เป็นผู้มีสุขภาพ มีโรคาพาธน้อย ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อย
อาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลางพอเหมาะแก่การ
บำเพ็ญเพียร
๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตามความเป็นจริงในศาสดา
หรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึง
พร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศล
ธรรมทั้งหลาย
๕. เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เป็นอริยะ เห็นความเกิดและ
ความดับ สามารถชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ราชกุมาร นี้แล คือองค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการ
[๓๔๕] ราชกุมาร ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร ๕ ประการนี้
เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ จะพึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้ ใช้เวลาเพียง ๗ ปี
ราชกุมาร ไม่ต้องถึง ๗ ปี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร ๕ ประการนี้
เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ จะพึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้ ใช้เวลาเพียง ๖ ปี ฯลฯ ๕ ปีฯลฯ ๔ ปี ฯลฯ
๓ ปี ฯลฯ ๒ ปี ฯลฯ ๑ ปี
ราชกุมาร ไม่ต้องถึง ๑ ปี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร ๕ ประการนี้
เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ จะพึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้ ใช้เวลาเพียง ๗ เดือน
ราชกุมาร ไม่ต้องถึง ๗ เดือน ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร ๕ ประการนี้
เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ จะพึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้ ใช้เวลาเพียง ๖ เดือน ฯลฯ ๕ เดือน ฯลฯ
๔ เดือน ฯลฯ ๓ เดือน ฯลฯ ๒ เดือน ฯลฯ ๑ เดือน ฯลฯ กึ่งเดือน
ราชกุมาร ไม่ต้องถึงกึ่งเดือน ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร ๕ ประการนี้
เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ จะพึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้ ใช้เวลาเพียง ๗ คืน ๗ วัน
ราชกุมาร ไม่ต้องถึง ๗ คืน ๗ วัน ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร
๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ จะพึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม
อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
ต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้ ใช้เวลาเพียง ๖ คืน ๖ วัน
ฯลฯ ๕ คืน ๕ วัน ฯลฯ ๔ คืน ๔ วัน ฯลฯ ๓ คืน ๓ วัน ฯลฯ ๒ คืน ๒ วัน ฯลฯ
๑ คืน ๑ วัน
ราชกุมาร ไม่ต้องถึง ๑ คืน ๑ วัน ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร
๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ มีตถาคตสั่งสอนในเวลาเย็น ก็จักบรรลุ
คุณวิเศษได้ในเวลาเช้า มีตถาคตสั่งสอนในเวลาเช้า ก็จักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเย็น๑”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โพธิราชกุมารได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า “พระพุทธเจ้ามีคุณน่าอัศจรรย์จริง พระธรรมมีคุณน่าอัศจรรย์จริง พระธรรมที่
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วน่าอัศจรรย์จริง เพราะภิกษุที่พระตถาคตทรงสั่งสอนใน
เวลาเย็น จักบรรลุคุณวิเศษในเวลาเช้า ภิกษุที่พระตถาคตทรงสั่งสอนในเวลาเช้า
จักบรรลุคุณวิเศษในเวลาเย็น”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

โพธิราชกุมารถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตั้งแต่อยู่ในครรภ์
[๓๔๖] เมื่อโพธิราชกุมารตรัสอย่างนี้แล้ว มาณพสัญชิกาบุตรได้กราบทูล
โพธิราชกุมารว่า
“ท่านโพธิราชพระองค์นี้ทรงประกาศไว้ว่า ‘พระพุทธเจ้ามีคุณน่าอัศจรรย์จริง
พระธรรมมีคุณน่าอัศจรรย์จริง พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วน่าอัศจรรย์จริง’
แต่พระองค์ไม่ทรงถึงพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้นพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์
เป็นสรณะ”
โพธิราชกุมารตรัสว่า “สัญชิกาบุตรเพื่อนรัก ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น
สัญชิกาบุตรเพื่อนรัก ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น เรื่องนั้นเราได้ฟังมาแล้ว ได้รับมา
ต่อพระพักตร์ของพระราชมารดาของเราแล้ว คือ ครั้งหนึ่ง(ครั้งที่ ๑) พระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ขณะนั้น เสด็จแม่ของเรากำลังทรง
พระครรภ์ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ลูกคนที่อยู่ในครรภ์ของหม่อมฉันนี้จะเป็นชายก็ตาม เป็นหญิงก็ตาม
เขาย่อมถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มี
พระภาคจงทรงจำเขาว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต’
ครั้งหนึ่ง(ครั้งที่ ๒) พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน สถานที่ให้อภัย
หมู่เนื้อ เขตกรุงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะนี้ เวลานั้น แม่นมอุ้มเราใส่สะเอวพาเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพธิราชกุมารพระองค์นี้ ย่อมถึงพระผู้มี
พระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำ
โพธิราชกุมารนั้นว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต’
สัญชิกาบุตรเพื่อนรัก แม้ครั้งที่ ๓ เรานี้ย่อมถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระ
ธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำหม่อมฉันว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล
โพธิราชกุมารสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

๖. อังคุลิมาลสูตร
ว่าด้วยโจรชื่อองคุลิมาล
พระพุทธเจ้าเสด็จโปรดโจรชื่อองคุลิมาล
[๓๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ในแคว้นของพระเจ้าปเสนทิโกศล มีโจรชื่อ
องคุลิมาล เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชอบฆ่าคน ไม่มีความกรุณาในสัตว์
ทั้งหลาย โจรองคุลิมาลนั้น ก่อกวนชาวบ้านบ้าง ชาวนิคมบ้าง ชาวชนบทบ้าง
ให้เดือดร้อนไปทั่ว เขาเข่นฆ่ามนุษย์แล้วตัดเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัยสวม(คอ)ไว้
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ทรงเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้ว เสด็จกลับจากบิณฑบาต
ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทรงเก็บงำเสนาสนะ ถือบาตรและจีวรเสด็จไป
ตามทางที่โจรองคุลิมาลซุ่มอยู่ พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงสัตว์ พวกชาวนา
ที่เดินมาพบพระผู้มีพระภาคผู้เสด็จไปตามทางที่โจรองคุลิมาลซุ่มอยู่ จึงกราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระสมณะ อย่าเสด็จไปทางนั้น ในทางนั้นมีโจรชื่อองคุลิมาล เป็นคน
หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชอบฆ่าคน ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย โจร
องคุลิมาลนั้น ก่อกวนชาวบ้านบ้าง ชาวนิคมบ้าง ชาวชนบทบ้าง ให้เดือดร้อนไปทั่ว
เขาเข่นฆ่ามนุษย์แล้วตัดเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัยสวมไว้
ข้าแต่พระสมณะ คนที่จะเดินทางนี้ต้องรวมพวกกันให้ได้ ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คน
บ้าง ๓๐ คนบ้าง ๔๐ คนบ้าง ๕๐ คนบ้าง แม้กระนั้นก็ยังตกอยู่ในเงื้อมมือของโจร
องคุลิมาลจนได้”
เมื่อคนพวกนั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงนิ่งเฉย เสด็จต่อไป
แม้ครั้งที่ ๒ พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงสัตว์ พวกชาวนาที่เดินมาก็ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร
“ข้าแต่พระสมณะ อย่าเสด็จไปทางนั้น ในทางนั้นมีโจรชื่อองคุลิมาล เป็นคน
หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชอบฆ่าคน ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย โจร
องคุลิมาลนั้น ก่อกวนชาวบ้านบ้าง ชาวนิคมบ้าง ชาวชนบทบ้างให้เดือดร้อนไปทั่ว
เขาเข่นฆ่ามนุษย์แล้วตัดเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัยสวมไว้
ข้าแต่พระสมณะ คนที่จะเดินทางนี้ต้องรวมพวกกันให้ได้ ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คน
บ้าง ๓๐ คนบ้าง ๔๐ คนบ้าง ๕๐ คนบ้าง แม้กระนั้นก็ยังตกอยู่ในเงื้อมมือของโจร
องคุลิมาลจนได้”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงนิ่งเฉย เสด็จต่อไป
แม้ครั้งที่ ๓ พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงสัตว์ พวกชาวนาที่เดินมาก็ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระสมณะ อย่าเสด็จไปทางนั้น ในทางนั้นมีโจรชื่อองคุลิมาล เป็นคน
หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชอบฆ่าคน ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย โจร
องคุลิมาลนั้น ก่อกวนชาวบ้านบ้าง ชาวนิคมบ้าง ชาวชนบทบ้าง ให้เดือดร้อนไปทั่ว
เขาเข่นฆ่ามนุษย์แล้วตัดเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัยสวมไว้
ข้าแต่พระสมณะ คนที่จะเดินทางนี้ต้องรวมพวกกันให้ได้ ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คน
บ้าง ๓๐ คนบ้าง ๔๐ คนบ้าง ๕๐ คนบ้าง แม้กระนั้นก็ยังตกอยู่ในเงื้อมมือของโจร
องคุลิมาลจนได้”
[๓๔๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงนิ่งเฉยเสด็จต่อไป โจรองคุลิมาลได้เห็น
พระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ได้คิดว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ คนที่เดิน
มาทางนี้จะต้องรวมพวกกันให้ได้ ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คนบ้าง ๓๐ คนบ้าง ๔๐ คนบ้าง
๕๐ คนบ้าง แม้กระนั้นก็ยังตกอยู่ในเงื้อมมือของเรา แต่ทำไม สมณะนี้เพียงรูปเดียว
ไม่มีเพื่อนสักคน ชะรอยจะมาข่มเรา ทางที่ดี เราพึงฆ่าสมณะรูปนี้เสีย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร
ลำดับนั้น โจรองคุลิมาลถือดาบและโล่ผูกสอดแล่งธนูไว้พร้อม ติดตามพระผู้มี
พระภาคไปทางเบื้องพระปฤษฎางค์ พระผู้มีพระภาคทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร๑ โดยวิธี
ที่โจรองคุลิมาลจะวิ่งจนสุดกำลัง ก็ไม่สามารถจะตามทันพระผู้มีพระภาคผู้เสด็จไปตาม
ปกติได้ ครั้งนั้น โจรองคุลิมาลได้มีความคิดว่า
“น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ เมื่อก่อนแม้ช้างที่กำลังวิ่ง ม้าที่กำลังวิ่ง
รถที่กำลังแล่น เนื้อที่กำลังวิ่ง เราก็ยังวิ่งตามทันจับได้ แต่เราวิ่งจนสุดกำลังยังไม่ทัน
สมณะรูปนี้ซึ่งเดินตามปกติได้” จึงหยุดยืนกล่าวกับพระผู้มีพระภาคว่า “หยุดก่อน
สมณะ หยุดก่อนสมณะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เราหยุดแล้ว องคุลิมาล ท่านต่างหากจงหยุด”
จากนั้น โจรองคุลิมาลคิดว่า “สมณะเหล่านี้เป็นศากยบุตรมักเป็นคนพูดจริง
มีปฏิญญาจริง แต่สมณะรูปนี้เดินไปอยู่แท้ ๆ กลับพูดว่า ‘เราหยุดแล้ว องคุลิมาล
ท่านต่างหากจงหยุด’ ทางที่ดี เราควรจะถามสมณะรูปนี้ดู”
องคุลิมาลละพยศ
[๓๔๙] ลำดับนั้น โจรองคุลิมาลได้ถามพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาว่า
“สมณะ ท่านกำลังเดินไป ยังกล่าวว่า
‘เราหยุดแล้ว ท่านต่างหากยังไม่หยุด’
กลับกล่าวหาข้าพเจ้าผู้หยุดแล้วว่ายังไม่หยุด
สมณะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กับท่าน
ท่านหยุดอย่างไร ข้าพเจ้าไม่หยุดอย่างไร”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร
พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบว่า
“องคุลิมาล เราวางอาชญา
ในสรรพสัตว์ได้แล้ว
จึงชื่อว่าหยุดแล้วตลอดกาล
ส่วนท่านไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่าหยุดแล้ว
ส่วนท่านสิชื่อว่ายังไม่หยุด”
โจรองคุลิมาลกล่าวว่า
“สมณะ นานจริงหนอ ท่านผู้ที่เทวดา
และมนุษย์บูชาแล้ว ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
เสด็จมาถึงป่าใหญ่เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์
ข้าพระองค์นั้นจักละการทำบาป
เพราะฟังคาถาอันประกอบด้วยธรรมของพระองค์”
โจรองคุลิมาลได้กล่าวอย่างนี้แล้ว
ทิ้งดาบและอาวุธลงในเหวลึก มีหน้าผาชัน
โจรองคุลิมาลได้ถวายอภิวาทพระบาททั้งสองของพระสุคต
แล้วทูลขอบรรพชากับพระสุคต ณ ที่นั้นเอง
พระพุทธเจ้าทรงประกอบด้วยพระกรุณาคุณ
ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นศาสดาของโลก
พร้อมทั้งเทวโลก
ได้ตรัสกับโจรองคุลิมาลในเวลานั้นว่า
“เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด”
นี้แลเป็นภิกษุภาวะของโจรองคุลิมาลนั้น๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

พระเจ้าปเสนทิโกศลเข้าเฝ้า
[๓๕๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคมีท่านพระองคุลิมาลเป็นปัจฉาสมณะ
เสด็จหลีกจาริกไปทางกรุงสาวัตถี ทรงเที่ยวจาริกไปโดยลำดับ เสด็จถึงกรุงสาวัตถีแล้ว
ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น หมู่ชนจำนวนมากประชุมกันอยู่ที่ประตูพระราชวัง
ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ส่งเสียงดังอื้ออึงว่า
“ข้าแต่สมมติเทพ ในแคว้นของพระองค์มีโจรชื่อองคุลิมาล เป็นคนหยาบช้า
มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชอบฆ่าคน ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย โจรองคุลิมาลนั้น
ก่อกวนชาวบ้านบ้าง ชาวนิคมบ้าง ชาวชนบทบ้างให้เดือดร้อนไปทั่ว เขาเข่นฆ่า
พวกมนุษย์แล้วตัดเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัยสวมไว้ ขอสมมติเทพจงทรงกำจัดมัน
เสียเถิด”
ต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากกรุงสาวัตถี ด้วยขบวนม้าประมาณ
๕๐๐ ตัว เสด็จเข้าไปทางพระอารามแต่ยังวันทีเดียว เสด็จไปจนสุดทางที่ยานพาหนะ
จะไปได้แล้วลงจากยาน เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคตรัสถามพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “มหาบพิตร เจ้าแผ่นดิน
มคธจอมเสนา ทรงพระนามว่าพิมพิสาร ทรงทำให้พระองค์ทรงขัดเคือง เจ้าลิจฉวี
เมืองเวสาลีหรือพระราชาผู้เป็นปฏิปักษ์เหล่าอื่นทรงทำให้พระองค์ขัดเคืองหรือ”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจ้าแผ่นดินมคธ
จอมเสนา ทรงพระนามว่าพิมพิสาร มิได้ทรงทำให้หม่อมฉันขัดเคือง แม้เจ้าลิจฉวี
ผู้ครองกรุงเวสาลีก็มิได้ทรงทำให้หม่อมฉันขัดเคือง แม้พระราชาที่เป็นปฏิปักษ์เหล่าอื่น
ก็มิได้ทรงทำให้หม่อมฉันขัดเคืองเช่นกัน ในแคว้นของหม่อมฉัน มีโจรชื่อองคุลิมาล
เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชอบฆ่าคน ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร
โจรองคุลิมาลนั้นก่อกวนชาวบ้านบ้าง ชาวนิคมบ้าง ชาวชนบทบ้างให้เดือดร้อนไปทั่ว
เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วตัดเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัยสวมไว้ หม่อมฉันจักไปกำจัด
มันเสีย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ถ้าพระองค์จะพึงพบองคุลิมาลผู้โกนผม
และหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เว้นจากการ
ฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการพูดเท็จ ฉันภัตตาหารมื้อเดียว เป็น
พรหมจารี มีศีล มีกัลยาณธรรม พระองค์สมควรจะจัดการกับเขาเช่นไร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันควร
กราบไหว้ ลุกรับ นิมนต์ให้นั่ง หรือเจาะจงนิมนต์ท่านด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร๑ หรือควรจัดการอารักขาคุ้มครองป้องกัน ตามความ
เหมาะสม
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่โจรองคุลิมาลนั้น เป็นคนทุศีล มีบาปธรรม จักมีความ
สำรวมด้วยศีลเห็นปานนี้ได้ที่ไหน”
สมัยนั้น ท่านพระองคุลิมาลนั่งอยู่ในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคจึงทรงยกพระหัตถ์เบื้องขวาขึ้นชี้ตรัสบอกพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “มหาบพิตร
นั่นคือองคุลิมาล”
ทันใดนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมีความกลัว มีความหวาดหวั่น มีพระโลม-
ชาติชูชัน(มีขนพองสยองเกล้า) พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล
ทรงกลัว ทรงหวาดหวั่น มีพระโลมชาติชูชัน จึงตรัสกับพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า
“อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร องคุลิมาลนี้ไม่มี
อันตรายต่อพระองค์”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร
จากนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงระงับความกลัว ความหวาดหวั่นหรือพระ-
โลมชาติที่ชูชันได้แล้ว จึงเสด็จเข้าไปหาท่านพระองคุลิมาลถึงที่อยู่ แล้วได้ตรัสถาม
ท่านพระองคุลิมาลว่า “พระคุณเจ้าชื่อว่าองคุลิมาล ใช่ไหม”
ท่านพระองคุลิมาลถวายพระพรว่า “ใช่ มหาบพิตร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามว่า “บิดาของพระคุณเจ้ามีโคตรอย่างไร มารดา
ของพระคุณเจ้ามีโคตรอย่างไร”
ท่านพระองคุลิมาลถวายพระพรว่า “มหาบพิตร บิดาชื่อคัคคะ มารดาชื่อ
มันตานี”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “ขอพระคุณเจ้าคัคคมันตานีบุตรจงอภิรมย์เถิด
โยมจักทำความขวนขวายเพื่อถวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-
เภสัชบริขารแด่พระคุณเจ้าคัคคมันตานีบุตรเอง”
[๓๕๑] สมัยนั้น ท่านพระองคุลิมาลถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยว
บิณฑบาตเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือไตรจีวรเป็นวัตร ครั้งนั้น ท่านพระ
องคุลิมาลจึงถวายพระพรพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “อย่าเลย มหาบพิตร ไตรจีวรของ
อาตมภาพมีครบแล้ว”
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วจึงประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคทรง
ฝึกบุคคลที่ใคร ๆ ฝึกไม่ได้ ทรงทำบุคคลที่ใคร ๆ ทำให้สงบไม่ได้ให้สงบได้ ทรงทำ
บุคคลที่ใคร ๆ ดับไม่ได้ให้ดับได้ เพราะว่าหม่อมฉันทั้งที่มีอาชญา มีศัสตราอยู่พร้อม
ก็ไม่สามารถจะฝึกผู้ใดได้ แต่พระผู้มีพระภาคไม่มีอาชญา ไม่มีศัสตราเลย ยังฝึก
ผู้นั้นได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น บัดนี้ หม่อมฉันขอทูลลากลับ เพราะมีกิจ
มีหน้าที่ที่จะต้องทำอีกมาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ขอมหาบพิตรจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงลุกจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
กระทำประทักษิณแล้วเสด็จจากไป
พระองคุลิมาลโปรดหญิงมีครรภ์
ครั้นเวลาเช้า ท่านพระองคุลิมาลครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กำลังเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกอยู่ในกรุงสาวัตถี
ได้เห็นสตรีคนหนึ่งมีครรภ์แก่ใกล้คลอด จึงคิดว่า “สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ
สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ” จากนั้น ท่านพระองคุลิมาลก็เที่ยวบิณฑบาตใน
กรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เช้าวันนี้ ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กำลังเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับ
ตรอกอยู่ในกรุงสาวัตถี ได้เห็นสตรีมีครรภ์แก่ใกล้คลอดคนหนึ่ง จึงคิดว่า ‘สัตว์ทั้งหลาย
ย่อมเศร้าหมองหนอ สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “องคุลิมาล ถ้าเช่นนั้น เธอจงเข้าไปหาสตรีนั้นถึง
ที่อยู่แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘น้องหญิง ตั้งแต่อาตมภาพเกิดมา ไม่เคยรู้ว่าจงใจปลง
ชีวิตสัตว์เลย ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เธอ ขอความสวัสดีจงมีแก่
ทารกในครรภ์ของเธอเถิด”
ท่านพระองคุลิมาลกราบทูลว่า “ก็การพูดเช่นนั้นจักเป็นอันว่าข้าพระองค์
กล่าวเท็จทั้งที่รู้เป็นแน่ เพราะข้าพระองค์เคยจงใจปลงชีวิตสัตว์เสียมากต่อมาก
พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “องคุลิมาล ถ้าเช่นนั้น เธอจงเข้าไปหาสตรีนั้นถึง
ที่อยู่แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘น้องหญิง ตั้งแต่อาตมภาพเกิดมาโดยอริยชาติ ไม่เคยรู้ว่า
จงใจปลงชีวิตสัตว์เลย ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เธอ ขอความสวัสดี
จงมีแก่ทารกในครรภ์ของเธอเถิด”
ท่านพระองคุลีมาลทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปหาหญิงนั้นถึงที่อยู่แล้วได้
กล่าวว่า “น้องหญิง ตั้งแต่อาตมภาพเกิดมาโดยอริยชาติ ไม่เคยรู้ว่าจงใจปลงชีวิต
สัตว์เลย ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เธอ ขอความสวัสดีจงมีแก่ทารก
ในครรภ์ของเธอเถิด”
ทันใดนั้น ความสวัสดีได้มีแก่สตรีนั้น ความสวัสดีได้มีแก่ทารกในครรภ์ของสตรี
นั้นแล้ว
พระองคุลิมาลบรรลุอรหัตตผล
ต่อมา ท่านพระองคุลิมาลหลีกออกไปอยู่รูปเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ท่านพระองคุลิมาล ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
[๓๕๒] ครั้นเวลาเช้า ท่านพระองคุลิมาลครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ก้อนดินที่บุคคลทั้งหลายขว้างไปทางอื่นก็มา
ตกลงที่กายของท่านพระองคุลิมาล ท่อนไม้ที่บุคคลทั้งหลายขว้างไปทางอื่นก็มาตกลง
ที่กายของท่านพระองคุลิมาล ก้อนกรวดที่บุคคลทั้งหลายขว้างไปทางอื่นก็มาตกลง
ที่กายของท่านพระองคุลิมาล ท่านพระองคุลิมาลมีศีรษะแตก เลือดไหล บาตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร
ก็แตก ผ้าสังฆาฏิก็ขาด เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคได้
ทอดพระเนตรเห็นท่านพระองคุลิมาลกำลังเดินมาแต่ไกล ได้ตรัสกับท่านพระองคุลิ-
มาลว่า
“เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอได้เสวย
วิบากกรรมซึ่งเป็นเหตุให้เธอหมกไหม้อยู่ในนรกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี
ในปัจจุบันนี้แล้ว๑”
พระองคุลิมาลเปล่งอุทาน
ครั้งนั้นแล ท่านพระองคุลิมาลอยู่ในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ เสวยวิมุตติสุขแล้ว
ได้เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
“คนที่ประมาทมาก่อน ต่อมาภายหลัง ไม่ประมาท
เขาย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสวได้
ประดุจดวงจันทร์ที่พ้นจากเมฆฉะนั้น
คนที่ทำบาปกรรมแล้วปิดไว้ได้ด้วยกุศล๒
ย่อมจะทำโลกนี้ให้สว่างไสวได้
ประดุจดวงจันทร์ที่พ้นจากเมฆฉะนั้น
เช่นเดียวกันแล ภิกษุที่ยังหนุ่มแน่น
ขวนขวายอยู่ในพระพุทธศาสนา
ก็ย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสวได้
ประดุจดวงจันทร์ที่พ้นแล้วจากเมฆฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร
ขอศัตรูทั้งหลายของเราพึงฟังธรรมกถาเถิด
ขอศัตรูทั้งหลายของเราจงขวนขวายในพระพุทธศาสนาเถิด
ขอมนุษย์ทั้งหลายที่เป็นศัตรูของเรา
จงคบสัตบุรุษผู้ชวนให้ยึดถือธรรมเถิด
ขอศัตรูทั้งหลายของเราจงได้รับความผ่องแผ้วคือขันติ
และสรรเสริญความไม่โกรธ๑เถิด
ขอจงฟังธรรมตามกาล๒และจงปฏิบัติตามธรรมนั้นเถิด
ผู้ที่เป็นศัตรูนั้นไม่ควรเบียดเบียนเราหรือใคร ๆ อื่นเลย
ขอให้บรรลุความสงบอย่างยิ่ง๓
แล้วรักษาคุ้มครองผู้มีตัณหาและปราศจากตัณหา
คนทดน้ำย่อมชักน้ำไปได้
ช่างศรย่อมดัดศรให้ตรงได้
ช่างถากย่อมถากไม้ได้ ฉันใด
บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตนได้ ฉันนั้น
คนบางพวกย่อมฝึกสัตว์ ด้วยอาชญาบ้าง
ด้วยขอบ้าง ด้วยแส้บ้าง
เราเป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาคผู้คงที่๔
ผู้ไม่มีอาชญา ไม่มีศัสตรา ฝึกแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร
เมื่อก่อนเรามีชื่อว่าอหิงสกะ แต่ยังเบียดเบียน(ผู้อื่น)อยู่
วันนี้เรามีชื่อตรงความจริง เราไม่เบียดเบียนใคร ๆ แล้ว
เมื่อก่อนเราเป็นโจรปรากฏชื่อองคุลิมาล
เรานั้นเมื่อถูกกิเลสดุจห้วงน้ำใหญ่พัดไปมา
จึงได้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
เมื่อก่อนเรามีมือเปื้อนเลือด ปรากฏชื่อว่าองคุลิมาล
ท่านจงดูการที่เราถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ
เราถอนตัณหาอันจะนำไปสู่ภพได้แล้ว
หลังจากทำกรรมอันเป็นเหตุให้ถึงทุคติเช่นนั้นไว้มากแล้ว
เราผู้ได้รับวิบากกรรม๑นั้นแล้ว
จึงเป็นผู้ไม่มีหนี้บริโภค๒
พวกชนพาลปัญญาทราม มัวแต่ประมาท
ส่วนปราชญ์ทั้งหลายรักษาความไม่ประมาท
เหมือนรักษาทรัพย์อันประเสริฐฉะนั้น
พวกท่านจงอย่าประมาท อย่าคลุกคลีในกาม
เพราะว่าผู้ไม่ประมาทเพ่งอยู่เป็นนิจ
ย่อมประสบสุขอันไพบูลย์
การที่เรามาสู่พระพุทธศาสนานี้นั้น มาถูกทางแล้ว
ไม่ไร้ประโยชน์ คิดไม่ผิดแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร
ในบรรดาธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงจำแนกไว้ดีแล้ว
เราได้เข้าถึงธรรมอันประเสริฐสุด๑แล้ว
การที่เราได้เข้าถึงธรรมอันประเสริฐสุดนี้นั้น
เข้าถึงอย่างถูกต้อง ไม่ไร้ประโยชน์
คิดไม่ผิดแล้ว วิชชา ๓๒ เราก็บรรลุแล้ว
คำสอนของพระพุทธเจ้าเราก็ทำตามแล้ว๓” ดังนี้แล
องคุลิมาลสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปิยชาติกสูตร
ว่าด้วยทุกข์เกิดจากสิ่งเป็นที่รัก
ลูกชายคนเดียวของคหบดีตาย
[๓๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ลูกชายคนเดียวซึ่งเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของ
คหบดีคนหนึ่งเสียชีวิตลง เพราะการเสียชีวิตของลูกชายคนเดียวนั้น การงานก็ไม่
เป็นอันทำ อาหารก็ไม่เป็นอันกิน คหบดีนั้นได้ไปยังป่าช้า คร่ำครวญถึงลูกชายว่า
“ลูกโทน เจ้าอยู่ที่ไหน ลูกโทน เจ้าอยู่ที่ไหน”
จากนั้น คหบดีนั้นได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาคแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับคหบดีนั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร
“คหบดี ใจของท่านไม่มีอินทรีย์๑ไว้ยึดเหนี่ยว อินทรีย์(ร่างกาย) ของท่านก็
หมองคล้ำไป”
คหบดีนั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทำไม อินทรีย์ของข้าพระองค์
จะไม่หมองคล้ำไปเล่า เพราะลูกชายคนเดียวซึ่งเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของข้าพระองค์
ได้เสียชีวิตลง เพราะการเสียชีวิตของลูกชายคนเดียวนั้น การงานก็ไม่เป็นอันทำ
อาหารก็ไม่เป็นอันกิน ข้าพระองค์ไปป่าช้า คร่ำครวญถึงลูกชายนั้นว่า ‘ลูกโทน
เจ้าอยู่ที่ไหน ลูกโทน เจ้าอยู่ที่ไหน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี ข้อนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี
เพราะว่า โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย)
โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา
จากสิ่งอันเป็นที่รัก”
คหบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รักนั้น จักเป็นอย่างนั้นไป
ได้อย่างไร แท้จริง ความยินดีและโสมนัส(ความดีใจ) เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา
จากสิ่งอันเป็นที่รักต่างหาก”
จากนั้น คหบดีไม่ยินดีไม่คัดค้านพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากที่นั่ง
แล้วจากไป
[๓๕๔] สมัยนั้น นักเลงสะกาเป็นอันมากเล่นสะกากันอยู่ในที่ไม่ไกลจาก
พระผู้มีพระภาค ขณะนั้นเอง คหบดีนั้นเข้าไปหานักเลงสะกาเหล่านั้นแล้วเล่าเรื่อง
ให้ฟังว่า
“พ่อมหาจำเริญ ขอโอกาส ข้าพเจ้าได้เข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทพระสมณโคดมแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระสมณโคดมได้ตรัสกับข้าพเจ้า
ว่า ‘คหบดี ใจของท่านไม่มีอินทรีย์ไว้ยึดเหนี่ยว อินทรีย์ของท่านก็หมองคล้ำไป’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร
เมื่อพระสมณโคดมตรัสอย่างนี้แล้ว ข้าพเจ้าได้กราบทูลพระสมณโคดมว่า ‘ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ทำไมอินทรีย์ของข้าพระองค์จะไม่หมองคล้ำไปเล่า เพราะลูกชาย
คนเดียวซึ่งเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของข้าพระองค์ได้เสียชีวิตลง เพราะการเสียชีวิต
ของลูกชายคนเดียวนั้น การงานก็ไม่เป็นอันทำ อาหารก็ไม่เป็นอันกิน ข้าพระองค์ไป
ป่าช้าคร่ำครวญถึงลูกชายนั้นว่า ‘ลูกโทน เจ้าอยู่ที่ไหน ลูกโทน เจ้าอยู่ที่ไหน’
พระสมณโคดมได้ตรัสว่า ‘ข้อนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี ข้อนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี
เพราะว่าโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจาก
สิ่งอันเป็นที่รัก’
ข้าพเจ้าได้กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รักนั้น จักเป็นอย่างนั้นไป
ได้อย่างไร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แท้จริง ความยินดีและโสมนัส เกิดจากสิ่งอันเป็น
ที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รักนั้นต่างหาก’
พ่อมหาจำเริญ จากนั้น ข้าพเจ้าไม่ยินดีไม่คัดค้านพระภาษิตของพระสมณโคดม
ลุกจากที่นั่งแล้วจากมา”
นักเลงสะกาเหล่านั้นได้พูดเสริมว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น คหบดี เพราะความยินดีและโสมนัส ย่อมเกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจาก
สิ่งอันเป็นที่รัก”
ขณะนั้น คหบดีนั้นคิดว่า “ความเห็นของเราตรงกันกับพวกนักเลงสะกา”
แล้วจากไป ต่อมา เรื่องที่พูดกันนี้ ได้แพร่เข้าไปถึงพระราชวังโดยลำดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร

ทุกข์ย่อมเกิดจากของอันเป็นที่รัก
[๓๕๕] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้รับสั่งเรียกพระนางมัลลิกาเทวีมา
ตรัสว่า “มัลลิกา คำว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอัน
เป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ พระสมณโคดมของเธอตรัสไว้หรือ”
พระนางมัลลิกาเทวีกราบทูลว่า “ข้าแต่มหาราช ถ้าพระดำรัสนั้นพระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้จริง พระดำรัสนั้นก็เป็นอย่างนั้น เพคะ”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “พระนางมัลลิกานี้คล้อยตามพระดำรัสที่พระ-
สมณโคดมตรัสเท่านั้นว่า ‘ข้าแต่มหาราช ถ้าพระดำรัสนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสไว้จริง
พระดำรัสนั้นก็เป็นอย่างนั้น’ ศิษย์คล้อยตามคำที่อาจารย์กล่าวว่า ‘ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น ท่านอาจารย์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ท่านอาจารย์’ ฉันใด เธอก็ฉันนั้น
เหมือนกัน คล้อยตามพระดำรัสที่พระสมณโคดมตรัสเท่านั้นว่า ‘ข้าแต่มหาราช
ถ้าพระดำรัสนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสไว้จริง พระดำรัสนั้นก็เป็นอย่างนั้น’ มัลลิกา
เธอจงหลบหน้าไปให้พ้น จงพินาศเสีย”
ลำดับนั้น พระนางมัลลิกาเทวีรับสั่งเรียกพราหมณ์ชื่อนาฬิชังฆะมาตรัสว่า
“มาเถิด ท่านพราหมณ์ ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
พระยุคลบาททั้งสองของพระองค์ด้วยเศียรเกล้า แล้วทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมี
พระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ ตามคำ
ของฉันว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางมัลลิกาเทวีขอถวายอภิวาทพระยุคลบาท
ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย
กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ’ และท่านจงทูลถามอย่างนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระดำรัสนี้ว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ พระผู้มีพระภาคตรัสจริงหรือ’ เธอ
ควรจำพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสให้ดีแล้วมาบอกฉัน ธรรมดาพระตถาคตทั้งหลาย
ย่อมตรัสไม่ผิดพลาดแน่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร
นาฬิชังฆพราหมณ์รับพระราชเสาวนีย์แล้วได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระนางมัลลิกาเทวีขอถวายอภิวาทพระยุคลบาท
ของท่านพระโคดมด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย
กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ แล้วรับสั่งทูลถามอย่างนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระดำรัสนี้ว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทนมัส และอุปายาส
เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้จริงหรือ”
[๓๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น พราหมณ์ ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น พราหมณ์ เพราะว่าโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รักได้อย่างไร ท่านพึง
ทราบโดยอธิบายนี้
เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงสาวัตถีนี้แล มารดาของหญิงคนหนึ่งได้ตายไป
เพราะความตายของมารดานั้น หญิงนั้นจึงเป็นบ้า มีจิตเลื่อนลอย เข้าสู่ถนนทุกถนน
เข้าสู่ตรอกทุกตรอกแล้วได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านได้พบมารดาของฉันบ้างไหม
พวกท่านได้พบมารดาของฉันบ้างไหม’
การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา
จากสิ่งอันเป็นที่รักได้อย่างไร ท่านพึงทราบโดยอธิบายนี้
เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงสาวัตถีนี้แล บิดาของหญิงคนหนึ่งได้ตายไป ... พี่ชาย
น้องชาย ... พี่สาวน้องสาว ... บุตร ... ธิดา ... สามีของหญิงคนหนึ่งได้ตายไป
เพราะความตายของสามีนั้น หญิงนั้นจึงเป็นบ้า มีจิตเลื่อนลอย เข้าสู่ถนนทุกถนน
เข้าสู่ตรอกทุกตรอกแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านได้พบสามีของฉันบ้างไหม พวกท่าน
ได้พบสามีของฉันบ้างไหม’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร
การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา
จากสิ่งอันเป็นที่รักได้อย่างไร ท่านพึงทราบโดยอธิบายนี้
เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงสาวัตถีนี้แล มารดาของชายคนหนึ่งตายไป เพราะ
ความตายของมารดานั้น ชายคนนั้นจึงเป็นบ้า มีจิตเลื่อนลอย เข้าสู่ถนนทุกถนน
เข้าสู่ตรอกทุกตรอกแล้วได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านได้พบมารดาของข้าพเจ้าบ้างไหม
พวกท่านได้พบมารดาของข้าพเจ้าบ้างไหม’
การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา
จากสิ่งอันเป็นที่รักได้อย่างไร ท่านพึงทราบโดยอธิบายนี้
เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงสาวัตถีนี้แล บิดาของชายคนหนึ่งตายไป... พี่ชายน้อง
ชาย... พี่สาวน้องสาว... บุตร... ธิดา... ภรรยาของชายคนหนึ่งตายไป เพราะความ
ตายของภรรยานั้น ชายคนนั้นจึงเป็นบ้า มีจิตเลื่อนลอย เข้าสู่ถนนทุกถนน เข้าสู่
ตรอกทุกตรอก แล้วได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านได้พบภรรยาของข้าพเจ้าบ้างไหม
พวกท่านได้พบภรรยาของข้าพเจ้าบ้างไหม’
การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา
จากสิ่งอันเป็นที่รักได้อย่างไร ท่านพึงทราบโดยอธิบายนี้
พราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงสาวัตถีนี้แล หญิงคนหนึ่งได้ไปยังตระกูล
ของญาติ พวกญาติของหญิงนั้น ต้องการจะพรากสามีของนางแล้วยกนางให้แก่ชายอื่น
แต่หญิงนั้นไม่ปรารถนาชายคนนั้น ต่อมา หญิงนั้นได้บอกสามีว่า ‘พี่ พวกญาติของ
ดิฉันต้องการจะพรากท่านแล้วยกดิฉันให้แก่ชายอื่น แต่ดิฉันไม่ปรารถนาชายคนนั้น’
ต่อจากนั้น สามีได้ฟันภรรยาขาดสองท่อนแล้วจึงฆ่าตัวตายตาม ด้วยคิดว่า ‘เราทั้งสอง
จะไม่พรากจากกัน’
การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา
จากสิ่งอันเป็นที่รักได้อย่างไร ท่านพึงทราบโดยอธิบายนี้เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร
[๓๕๗] ครั้งนั้น นาฬิชังฆพราหมณ์ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
แล้วลุกจากที่นั่งได้เข้าไปเฝ้าพระนางมัลลิกาเทวีถึงที่ประทับ ได้กราบทูลถึงเรื่องการ
สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคทั้งหมดแก่พระนางมัลลิกาเทวี ลำดับนั้น พระนาง
มัลลิกาเทวีได้เข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลถึงที่ประทับแล้ว ได้ทูลถามพระเจ้า
ปเสนทิโกศลว่า
“ข้าแต่มหาราช ทูลกระหม่อมเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พระกุมารี
พระนามว่าวชิรี เป็นที่รักของทูลกระหม่อมใช่ไหม เพคะ”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสตอบว่า “ใช่แล้ว มัลลิกา วชิรีกุมารีเป็นที่รักของเรา”
“ทูลกระหม่อมเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เพราะวชิรีกุมารีต้องมีอันแปร
ผันเป็นอย่างอื่นไป๑ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จะพึงเกิดขึ้นแก่ทูล
กระหม่อมหรือไม่ เพคะ”
“มัลลิกา เพราะวชิรีกุมารีแปรผันเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิตของเราก็ต้องแปรผัน
เป็นอย่างอื่นไปด้วย ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจักไม่เกิดขึ้น
แก่เราเล่า”
“ข้อนี้แลที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงมุ่งหมาย จึงตรัสว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่ง
อันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ เพคะ
ทูลกระหม่อมเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พระนางวาสภขัตติยาเป็นที่รัก
ของทูลกระหม่อมใช่ไหมเพคะ”
“ใช่แล้ว มัลลิกา พระนางวาสภขัตติยาเป็นที่รักของเรา”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร
“ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เพราะพระนางวาสภ-
ขัตติยาแปรผันเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจะพึงเกิด
ขึ้นแก่ทูลกระหม่อมหรือไม่ เพคะ”
“มัลลิกา เพราะพระนางวาสภขัตติยาแปรผันเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิตของเรา
ก็ต้องแปรผันเป็นอย่างอื่นไปด้วย ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จักไม่เกิดขึ้นแก่เราเล่า”
“ข้อนี้แลที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงมุ่งหมาย จึงตรัสว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอัน
เป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ เพคะ
ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เสนาบดีชื่อวิทูฑภะเป็นที่รัก
ของทูลกระหม่อมใช่ไหมเพคะ”
“ใช่แล้ว มัลลิกา เสนาบดีชื่อวิทูฑภะเป็นที่รักของเรา”
“ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เพราะเสนาบดีชื่อ
วิทูฑภะแปรผันเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจะพึงเกิด
ขึ้นแก่ทูลกระหม่อมหรือไม่ เพคะ”
“มัลลิกา เพราะเสนาบดีชื่อวิทูฑภะ แปรผันเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิตของเรา
ก็ต้องแปรผันเป็นอย่างอื่นไปด้วย ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จักไม่เกิดขึ้นแก่เราเล่า”
“ข้อนี้แลที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงมุ่งหมาย จึงตรัสว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่ง
อันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ เพคะ
ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร หม่อมฉันเป็นที่รักของ
ทูลกระหม่อมใช่ไหม เพคะ”
“ใช่แล้ว มัลลิกา เธอเป็นที่รักของเรา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร
“ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เพราะหม่อมฉันแปรผัน
เป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จะพึงเกิดขึ้นแก่
ทูลกระหม่อมหรือไม่ เพคะ”
“มัลลิกา เพราะเธอแปรผันเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิตของเราก็ต้องแปรผันเป็น
อย่างอื่นไปด้วย ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจักไม่เกิดขึ้น
แก่เราเล่า”
“ข้อนี้แลที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงมุ่งหมาย จึงตรัสว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่ง
อันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ เพคะ
ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร แคว้นกาสีและแคว้นโกศล
เป็นที่รักของทูลกระหม่อมใช่ไหม เพคะ”
“ใช่แล้ว มัลลิกา แคว้นกาสีและแคว้นโกศลเป็นที่รักของเรา เพราะอานุภาพ
แห่งแคว้นกาสีและแคว้นโกศล เราจึงใช้สอยแก่นจันทน์ที่เกิดจากแคว้นกาสี ได้ทัด
ทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้”
“ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เพราะแคว้นกาสีและ
แคว้นโกศลแปรผันเป็นอย่างอื่นไป๑ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จะพึงเกิดขึ้นแก่ทูลกระหม่อมหรือไม่ เพคะ”
“มัลลิกา เพราะแคว้นกาสีและแคว้นโกศลแปรผันเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิต
ของเราก็ต้องแปรผันเป็นอย่างอื่นไปด้วย ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสจักไม่เกิดขึ้นแก่เราเล่า”
พระนางมัลลิกาเทวีกราบทูลว่า “ข้าแต่มหาราช ข้อนี้แลที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมุ่งหมาย จึงตรัสว่า
‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่ง
อันเป็นที่รัก เพคะ”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๘. พาหิติกสูตร
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “มัลลิกา น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้นจะทรงเห็นชัด แทงตลอดด้วยพระปัญญาแล้ว มาเถิด มัลลิกา
ช่วยล้างมือให้ทีเถิด”
จากนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงลุกขึ้นจากที่ประทับ ทรงห่มพระภูษาเฉวียงบ่า
ประนมพระหัตถ์ไปทางทิศที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้ว ทรงเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า
“ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น” ดังนี้แล
ปิยชาติกสูตรที่ ๗ จบ

๘. พาหิติกสูตร
ว่าด้วยการถวายผ้าพาหิติกา
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสนทนาธรรมกับพระอานนท์
[๓๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้ว กลับจาก
บิณฑบาตภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ได้เข้าไปยังบุพพารามปราสาทของนาง
วิสาขามิคารมาตาเพื่อพักกลางวัน
สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จขึ้นช้างเอกบุณฑริก ออกจากกรุงสาวัตถีแต่
ยังวัน ทอดพระเนตรเห็นท่านพระอานนท์กำลังเดินมาแต่ไกล ได้รับสั่งเรียกอำมาตย์
ชื่อสิริวัฑฒ์มาตรัสว่า “สิริวัฑฒ์เพื่อนรัก นั่นพระคุณเจ้าอานนท์ ใช่หรือไม่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๘. พาหิติกสูตร
สิริวัฑฒ์มหาอำมาตย์กราบทูลว่า “ใช่ พระเจ้าข้า นั่นพระคุณเจ้าอานนท์”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งเรียกชายคนหนึ่งมาตรัสว่า “มาเถิด
พ่อยอดชาย เธอจงเข้าไปหาพระคุณเจ้าอานนท์ถึงที่อยู่แล้วกราบเท้าทั้งสองของ
พระคุณเจ้าอานนท์ด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า ‘พระคุณเจ้า พระเจ้าปเสนทิโกศล
ทรงกราบเท้าทั้งสองของพระคุณเจ้าอานนท์ด้วยเศียรเกล้า’ และจงเรียนท่าน
อย่างนี้ว่า ‘พระคุณเจ้า ได้ยินว่า ถ้าพระคุณเจ้าอานนท์ไม่มีกิจรีบด่วนอะไร
ขอพระคุณเจ้าอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์รออยู่สักครู่หนึ่งเถิด”
ชายคนนั้นทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่
กราบท่านพระอานนท์แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบเรียนท่านพระอานนท์ว่า
“พระคุณเจ้า พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงกราบเท้าทั้งสองของพระคุณเจ้าอานนท์
ด้วยพระเศียรเกล้า และรับสั่งมาอย่างนี้ว่า ‘ได้ยินว่า ถ้าพระคุณเจ้าอานนท์ไม่มีกิจ
รีบด่วนอะไร ขอพระคุณเจ้าอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์รออยู่สักครู่หนึ่งเถิด”
ท่านพระอานนท์รับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล
เสด็จไปจนสุดทางที่ช้างทรงจะไปได้แล้วลงจากช้างทรง เสด็จพระราชดำเนินไปด้วย
พระบาท เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ทรงกราบแล้วประทับยืน ณ ที่สมควร
ได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า “พระคุณเจ้า ถ้าพระคุณเจ้าอานนท์ไม่มีกิจรีบด่วน
อะไร ขอโอกาสเถิด ขอพระคุณเจ้าอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์ไปยังฝั่งแม่น้ำ
อจิรวดีเถิด”
ท่านพระอานนท์รับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
สมาจาร ๓
[๓๕๙] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปยังฝั่งแม่น้ำอจิรวดีแล้วนั่งบน
อาสนะที่ปูลาดไว้แล้วที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไป
จนสุดทางที่ช้างทรงจะไปได้แล้วลงจากช้างทรง เสด็จพระราชดำเนินไปด้วยพระบาท
เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ทรงกราบแล้วประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้ตรัส
กับท่านพระอานนท์ว่า “พระคุณเจ้า ขอพระคุณเจ้าอานนท์จงนั่งบนเครื่องลาดไม้
นี้เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๘. พาหิติกสูตร
ท่านพระอานนท์ทูลว่า “อย่าเลย มหาบพิตร เชิญพระองค์ประทับนั่งเถิด
อาตมภาพนั่งบนอาสนะของอาตมภาพอยู่แล้ว”
พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงประทับนั่งบนที่ประทับที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสถามท่าน
พระอานนท์ว่า “พระคุณเจ้าอานนท์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงประพฤติ
กายสมาจาร(ความประพฤติทางกาย) ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง พึงติเตียน
บ้างหรือหนอ”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ไม่ทรงประพฤติกายสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียนเลย ขอถวาย
พระพร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามว่า “พระคุณเจ้า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ทรงประพฤติวจีสมาจาร(ความประพฤติทางวาจา) ฯลฯ มโนสมาจาร(ความประพฤติ
ทางใจ) ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง พึงติเตียนบ้างหรือหนอ”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ไม่ทรงประพฤติมโนสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียนเลย ขอถวาย
พระพร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “พระคุณเจ้า น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
ข้อความที่พวกโยมไม่สามารถทำให้บริบูรณ์ด้วยการตั้งปัญหา พระคุณเจ้าอานนท์
ทำให้บริบูรณ์ได้ด้วยการแก้ปัญหา ชนเหล่าใดเป็นคนพาล ไม่ฉลาด ไม่ใคร่ครวญ
ไม่พิจารณาแล้วยังกล่าวคุณหรือโทษของชนเหล่าอื่นได้ พวกโยมไม่ยึดถือการกล่าว
คุณหรือโทษของชนเหล่านั้น โดยความเป็นสาระ
พระคุณเจ้า ส่วนชนเหล่าใดเป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม มีปัญญา
ใคร่ครวญพิจารณาแล้ว กล่าวคุณหรือโทษของชนเหล่าอื่น พวกโยมย่อมยึดถือการ
กล่าวคุณหรือโทษของชนเหล่านั้นโดยความเป็นสาระ
[๓๖๐] กายสมาจารที่สมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้ง พึงติเตียน เป็นอย่างไร”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร กายสมาจารที่เป็นอกุศลเป็น
กายสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง พึงติเตียน ขอถวายพระพร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๘. พาหิติกสูตร
“พระคุณเจ้า กายสมาจารที่เป็นอกุศล เป็นอย่างไร”
“กายสมาจารที่มีโทษ เป็นกายสมาจารที่เป็นอกุศล ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า กายสมาจารที่มีโทษ เป็นอย่างไร”
“กายสมาจารที่มีความเบียดเบียน เป็นกายสมาจารที่มีโทษ ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า กายสมาจารที่มีความเบียดเบียน๑ เป็นอย่างไร”
“กายสมาจารที่มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นกายสมาจารที่มีความเบียดเบียน ขอถวาย
พระพร”
“พระคุณเจ้า กายสมาจารที่มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นอย่างไร”
“กายสมาจารใด ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญแก่กายสมาจารนั้น
กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อม(จากายสมาจารนั้น) กายสมาจารเห็นปานนี้ สมณพราหมณ์
ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง พึงติเตียน ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า วจีสมาจาร ฯลฯ มโนสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง
พึงติเตียน เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารที่เป็นอกุศล เป็นมโนสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง
พึงติเตียน ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า มโนสมาจารที่เป็นอกุศล เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารที่มีโทษ เป็นมโนสมาจารที่เป็นอกุศล ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า มโนสมาจารที่มีโทษ เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารที่มีความเบียดเบียน เป็นมโนสมาจารที่มีโทษ ขอถวายพระพร”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๘. พาหิติกสูตร
“พระคุณเจ้า มโนสมาจารที่มีความเบียดเบียน เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารที่มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นมโนสมาจารที่มีความเบียดเบียน ขอถวาย
พระพร”
“พระคุณเจ้า มโนสมาจารที่มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารใดย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญแก่มโนสมาจารนั้น
กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อม มโนสมาจารเห็นปานนี้ สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง
พึงติเตียน ขอถวายพระพร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามว่า “พระคุณเจ้า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ทรงสรรเสริญการละอกุศลธรรมทุกอย่างหรือ”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระตถาคตทรงละอกุศลธรรม
ได้ทุกอย่าง ทรงประกอบด้วยกุศลธรรม ขอถวายพระพร”
[๓๖๑] พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามว่า “พระคุณเจ้า กายสมาจารที่สมณ-
พราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง ไม่พึงติเตียน เป็นอย่างไร”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร กายสมาจารที่เป็นกุศลเป็น
กายสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง ไม่พึงติเตียน ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า กายสมาจารที่เป็นกุศล เป็นอย่างไร”
“กายสมาจารที่ไม่มีโทษ เป็นกายสมาจารที่เป็นกุศล ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า กายสมาจารที่ไม่มีโทษ เป็นอย่างไร”
“กายสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นกายสมาจารที่ไม่มีโทษ ขอถวาย
พระพร”
“พระคุณเจ้า กายสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นอย่างไร”
“กายสมาจารที่มีสุขเป็นวิบาก เป็นกายสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียน ขอถวาย
พระพร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๘. พาหิติกสูตร
“พระคุณเจ้า กายสมาจารที่มีสุขเป็นวิบาก เป็นอย่างไร”
“กายสมาจารใดย่อมเป็นไปเพื่อไม่เบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อไม่เบียดเบียนผู้
อื่นบ้าง เพื่อไม่เบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมจาก
กายสมาจารนั้น กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญ(แก่กายสมาจารนั้น) กายสมาจาร
เห็นปานนี้ สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง ไม่พึงติเตียน ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า วจีสมาจาร ฯลฯ มโนสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง
ไม่พึงติเตียน เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารที่เป็นกุศล เป็นมโนสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง
ไม่พึงติเตียน ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า มโนสมาจารที่เป็นกุศล เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารที่ไม่มีโทษ เป็นมโนสมาจารที่เป็นกุศล ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า มโนสมาจารที่ไม่มีโทษ เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นมโนสมาจารที่ไม่มีโทษ ขอถวาย
พระพร”
“พระคุณเจ้า มโนสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารที่มีสุขเป็นวิบาก เป็นมโนสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียน ขอถวาย
พระพร”
“พระคุณเจ้า มโนสมาจารที่มีสุขเป็นวิบาก เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารใดย่อมเป็นไปเพื่อไม่เบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อไม่เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อไม่เบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมจากมโนสมาจารนั้น
กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญ มโนสมาจารเห็นปานนี้ สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง
ไม่พึงติเตียน ขอถวายพระพร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามว่า “พระคุณเจ้า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ทรงสรรเสริญการเข้าถึงกุศลธรรมทุกอย่างหรือ”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระตถาคตทรงละอกุศลธรรม
ได้ทุกอย่าง ทรงประกอบด้วยกุศลธรรม ขอถวายพระพร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๘. พาหิติกสูตร

พระเจ้าปเสนทิโกศลถวายผ้าพาหิติกา
[๓๖๒] พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “พระคุณเจ้า น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ พระคุณเจ้าอานนท์กล่าวภาษิตนี้ดีเหลือเกิน พวกโยมมีใจชื่นชมยินดีด้วย
ภาษิตของพระคุณเจ้าอานนท์นี้ พวกโยมมีใจชื่นชมยินดีด้วยภาษิตของพระคุณเจ้า
อานนท์อย่างนี้ ถ้าช้างแก้วสมควรแก่พระคุณเจ้าอานนท์ แม้ช้างแก้วพวกโยม
ก็สมควรถวายแก่พระคุณเจ้าอานนท์ ถ้าม้าแก้วสมควรแก่พระคุณเจ้าอานนท์
แม้ม้าแก้วพวกโยมก็สมควรถวายแก่พระคุณเจ้าอานนท์ ถ้าบ้านส่วยสมควรแก่
พระคุณเจ้าอานนท์ แม้บ้านส่วยพวกโยมก็สมควรถวายแก่พระคุณเจ้าอานนท์’ แต่พวก
โยมรู้อยู่ว่า ‘นั่นไม่สมควรแก่พระคุณเจ้าอานนท์เลย’
พระคุณเจ้า ผ้าพาหิติกา๑ผืนนี้ยาว ๑๖ ศอกถ้วน กว้าง ๘ ศอกถ้วน
พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตศัตรูเวเทหิบุตร ทรงใส่ในคันฉัตรส่งมาประทาน
แก่โยม ขอพระคุณเจ้าอานนท์โปรดอนุเคราะห์รับผ้าพาหิติกาไว้เถิด”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “อย่าเลย มหาบพิตร ไตรจีวรของอาตมภาพ
มีครบแล้ว ขอถวายพระพร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “พระคุณเจ้า แม่น้ำอจิรวดีนี้ พระคุณเจ้าอานนท์
และพวกโยมเห็นแล้ว มหาเมฆยังฝนให้ตกบนภูเขา ภายหลังแม่น้ำอจิรวดีนี้ย่อม
ไหลเอ่อล้นฝั่งทั้งสอง ฉันใด ท่านพระอานนท์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำไตรจีวรของ
ตนด้วยผ้าพาหิติกานี้ และจักแบ่งไตรจีวรเก่ากับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย เมื่อเป็น
อย่างนี้ ทักษิณาของพวกโยมนี้ คงจักแผ่ไปดุจแม่น้ำเอ่อล้นฝั่ง พระคุณเจ้า
ขอพระคุณเจ้าอานนท์โปรดรับผ้าพาหิติกาเถิด”
ท่านพระอานนท์รับผ้าพาหิติกาแล้ว ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตรัสกับ
ท่านพระอานนท์ว่า “พระคุณเจ้า เอาเถิด บัดนี้ พวกโยมขอลากลับ เพราะมีกิจ
มีหน้าที่ที่จะต้องทำอีกมาก”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร ขอพระองค์จงทรงกำหนดเวลา
ที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
ต่อจากนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระอานนท์แล้ว
เสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับ กราบท่านพระอานนท์ ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จจากไป
[๓๖๓] ครั้งนั้น เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จจากไปไม่นาน ท่านพระอานนท์
ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
ถึงเรื่องการสนทนาปราศรัยกับพระเจ้าปเสนทิโกศลทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาค และได้
ถวายผ้าพาหิติกานั้นแด่พระผู้มีพระภาค
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เป็นลาภของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงได้ดีแล้ว ที่ท้าวเธอได้ทรง
พบอานนท์ และได้ประทับนั่งใกล้อานนท์”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมยินดีพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
พาหิติกสูตรที่ ๘ จบ

๙. ธัมมเจติยสูตร
ว่าด้วยธรรมเจดีย์
[๓๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของพวกเจ้าศากยะชื่อเมทฬุปะ
แคว้นสักกะ สมัยนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปนิคมชื่อนครกะด้วยพระราช-
กรณียกิจบางอย่าง ลำดับนั้น ท้าวเธอรับสั่งกับเสนาบดีชื่อทีฆการายนะว่า “การายนะ
เพื่อนรัก ท่านจงจัดยานพาหนะคันงาม ๆ เตรียมไว้ เราจะไปดูสถานที่อันรื่นรมย์
ในอุทยานหลวง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร
ทีฆการายนเสนาบดีทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้วให้จัดยานพาหนะคันงาม ๆ
หลายคันไว้ แล้วกราบทูลแด่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “ขอเดชะ ข้าพระองค์จัดยาน
พาหนะคันงาม ๆ หลายคันไว้เพื่อพระองค์แล้ว ขอพระองค์ทรงกำหนดเวลาที่สมควร
ณ บัดนี้เถิด พระเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงขึ้นยานพาหนะคันงามเสด็จออกจากนิคม
ชื่อนครกะ พร้อมกับยานพาหนะคันงาม ๆ ตามเสด็จ ด้วยราชานุภาพอย่างยิ่งใหญ่
เสด็จไปยังอุทยานอันน่ารื่นรมย์ จนสุดทางที่ยานพาหนะจะไปได้แล้วลงจากยาน
เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทเข้าไปยังอุทยาน ท้าวเธอพระราชดำเนินพักผ่อน
ไปมาในอุทยาน ได้ทอดพระเนตรเห็นหมู่ไม้ล้วนน่าร่มรื่น ชวนให้เกิดความเพลินใจ
มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถาน
ที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น ครั้นเห็นแล้วทรงเกิดพระปีติปรารภ
พระผู้มีพระภาคว่า
“หมู่ไม้เหล่านี้ล้วนน่าร่มรื่น ชวนให้เกิดความเพลินใจ มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึก
น้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับของมนุษย์
สมควรเป็นที่หลีกเร้น เป็นเหมือนสถานที่ที่เราเคยเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้ามาก่อน”
[๓๖๕] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งเรียกทีฆการายนเสนาบดีมาตรัสว่า
“การายนะเพื่อนรัก หมู่ไม้เหล่านี้ล้วนน่าร่มรื่น ชวนให้เกิดความเพลินใจ มีเสียงน้อย
มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับ
ของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น เป็นเหมือนสถานที่ที่เราเคยเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก่อน
การายนะเพื่อนรัก บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประทับอยู่ ณ ที่ไหน”
ทีฆการายนเสนาบดีกราบทูลว่า “บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นประทับอยู่ที่นิคมของพวกเจ้าศากยะชื่อเมทฬุปะ พระเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามว่า “การายนะเพื่อนรัก นิคมของพวกเจ้าศากยะ
ชื่อเมทฬุปะ อยู่ห่างจากนิคมชื่อนครกะเท่าไร”
ทีฆการายนเสนาบดีทูลตอบว่า “ไม่ไกลนัก ระยะทางประมาณ ๓ โยชน์
อาจเสด็จไปถึงได้โดยใช้ระยะเวลาไม่ถึงวัน พระเจ้าข้า”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “การายนะเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น ท่านจงจัดยาน
พาหนะคันงาม ๆ หลายคันไว้ เราจักไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น”
ทีฆการายนเสนาบดีทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้วสั่งให้จัดยานพาหนะคันงาม ๆ
หลายคันไว้ แล้วกราบทูลพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “ขอเดชะ ข้าพระองค์จัดยาน
พาหนะคันงาม ๆ หลายคันไว้แล้ว พระเจ้าข้า ขอพระองค์ทรงกำหนดเวลาที่สมควร
ณ บัดนี้เถิด”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงขึ้นยานพาหนะคันงาม เสด็จออกจากนิคม
ชื่อนครกะ พร้อมกับยานพาหนะคันงาม ๆ ตามเสด็จ ถึงนิคมของพวกเจ้าศากยะ
ชื่อเมทฬุปะโดยใช้เวลาไม่ถึงวัน เสด็จไปยังอารามจนสุดทางที่ยานพาหนะจะไปได้แล้ว
ลงจากยาน เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทเข้าไปยังอาราม
พระเจ้าปเสนทิโกศลเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
[๓๖๖] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินจงกรมอยู่ที่กลางแจ้ง ลำดับนั้น พระเจ้า
ปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ แล้วตรัสถามว่า “พระคุณเจ้า
ผู้เจริญ บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นประทับอยู่ ณ
ที่ไหนหนอ โยมประสงค์จะเฝ้าพระองค์”
ภิกษุเหล่านั้นถวายพระพรว่า “ขอมหาบพิตร จงเงียบเสียง เสด็จเข้าไปยัง
พระวิหารหลังนั้นซึ่งมีประตูปิดสนิทดีแล้ว อย่าทรงรีบด่วน เสด็จเข้าไปยังระเบียง
ทรงกระแอม แล้วทรงเคาะกลอนประตูนิดหน่อยเถิด พระผู้มีพระภาคจักทรงเปิด
ประตูรับ ขอถวายพระพร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมอบพระแสงขรรค์และพระอุณหิสแก่ทีฆ-
การายนเสนาบดีในที่นั้น หลังจากนั้นทีฆการายนเสนาบดีได้คิดว่า “บัดนี้ พระมหาราชจัก
ทรงปรึกษาความลับ เราควรจะยืนอยู่ในที่นี้แล”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงเงียบเสียง เสด็จเข้าไปยังพระวิหารหลัง
นั้นซึ่งมีประตูปิดสนิทดีแล้ว มิได้ทรงรีบด่วน เสด็จเข้าไปยังระเบียง ทรงกระแอม
แล้วทรงเคาะกลอนประตูนิดหน่อย พระผู้มีพระภาคทรงเปิดประตูรับ
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปยังพระวิหาร ทรงซบพระเศียรลงจุมพิต
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยพระโอษฐ์ ทรงนวดพระยุคลบาทด้วยฝ่าพระหัตถ์
ทั้งสอง และทรงประกาศพระนามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันคือพระเจ้า
ปเสนทิโกศล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันคือพระเจ้าปเสนทิโกศล”
ทรงสรรเสริญพระธรรมวินัย
[๓๖๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรงเห็นอำนาจ
ประโยชน์อะไร จึงทรงกระทำความนอบน้อมเป็นอย่างยิ่งในสรีระนี้ถึงเพียงนี้ และทรง
แสดงอาการฉันมิตรถึงเพียงนี้”
พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันมีความเห็น
คล้อยตามธรรม๑ในพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้
ปฏิบัติดีแล้ว’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส หม่อมฉันเห็นสมณพราหมณ์
พวกหนึ่ง ประพฤติพรหมจรรย์มีกำหนด ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง
สมัยต่อมา สมณพราหมณ์เหล่านั้นอาบน้ำดำหัว ลูบไล้อย่างดี แต่งผมและหนวด
บำเรอตนให้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ แต่หม่อมฉันได้เห็นภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร
ทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์ มอบกาย
ถวายชีวิตอยู่
อนึ่ง หม่อมฉันไม่เห็นพรหมจรรย์อื่นที่บริสุทธิ์ บริบูรณ์อย่างนี้ นอกจาก
พระธรรมวินัยนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้เองที่หม่อมฉันมีความเห็นคล้อยตามธรรม
ในพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
[๓๖๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง แม้พระราชายังวิวาทกับ
พระราชา แม้กษัตริย์ยังวิวาทกับกษัตริย์ แม้พราหมณ์ยังวิวาทกับพราหมณ์
แม้คหบดียังวิวาทกับคหบดี แม้มารดายังวิวาทกับบุตร แม้บุตรยังวิวาทกับมารดา
แม้บิดายังวิวาทกับบุตร แม้บุตรยังวิวาทกับบิดา แม้พี่ชายน้องชายยังวิวาทกับ
พี่สาวน้องสาว แม้พี่สาวน้องสาวยังวิวาทกับพี่ชายน้องชาย แม้สหายก็ยังวิวาทกับ
สหาย แต่หม่อมฉันได้เห็นภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ สมัครสมานสามัคคี
ไม่วิวาทกัน เข้ากันได้สนิทเหมือนน้ำกับน้ำนม มองดูกันและกันด้วยสายตาเปี่ยม
ด้วยความรักอยู่ หม่อมฉันไม่เห็นบริษัทอื่นที่สมัครสมานสามัคคีกันอย่างนี้ นอกจาก
บริษัทนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้เองที่หม่อมฉันมีความเห็นคล้อยตามธรรม
ในพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
[๓๖๙] อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันเดินเที่ยวชมรอบ ๆ พระอาราม รอบ ๆ
อุทยานไปมา ณ ที่นั้น ๆ หม่อมฉันได้เห็นสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ซูบผอม มีผิวพรรณ
ไม่ผ่องใส ผอมเหลือง ตามตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูเหมือนว่าจะไม่กล้าสบตาคน
หม่อมฉันนั้นได้เกิดความดำริว่า ‘ท่านเหล่านี้คงไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์เป็นแน่
หรือว่าท่านเหล่านั้นมีบาปกรรมอะไร ที่ทำแล้วปกปิดไว้ ท่านเหล่านั้นจึงซูบผอม
มีผิวพรรณไม่ผ่องใส ผอมเหลือง ตามตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูเหมือนว่าจะไม่
กล้าสบตาคน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร
หม่อมฉันเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น แล้วถามอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย เหตุไร พวกท่านจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ผ่องใส ผอมเหลือง
ตามตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูเหมือนว่าจะไม่กล้าสบตาคน’
สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้ตอบอย่างนี้ว่า ‘มหาบพิตร พวกอาตมภาพเป็นโรค
พันธุกรรม๑’
แต่หม่อมฉันได้เห็นภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ร่าเริงยิ่งนัก มีใจชื่นบาน
มีรูปอันน่ายินดี มีอินทรีย์ผ่องใส มีความขวนขวายน้อย ไม่หวาดกลัว เลี้ยงชีพด้วย
ของที่ผู้อื่นให้ มีจิตดุจมฤคอยู่
หม่อมฉันนั้นได้ดำริว่า ‘ท่านเหล่านี้ คงรู้คุณวิเศษขึ้นไปกว่าเดิมในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคเป็นแน่ ท่านเหล่านี้จึงร่าเริงยินดียิ่งนัก มีจิตชื่นบาน มีรูปอันน่า
ยินดี มีอินทรีย์ผ่องใส มีความขวนขวายน้อย ไม่หวาดกลัว เลี้ยงชีพด้วยของที่ผู้อื่นให้
มีจิตดุจมฤคอยู่’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้เองที่หม่อมฉันมีความเห็นคล้อยตามธรรม
ในพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
[๓๗๐] อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันเป็นราชามหากษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษก๒แล้ว
ย่อมสามารถที่จะฆ่าคนที่สมควรฆ่าได้ จะให้ริบทรัพย์ของคนที่สมควรริบได้ จะให้
เนรเทศคนที่สมควรเนรเทศได้ เมื่อหม่อมฉันนั่งอยู่ในที่วินิจฉัยอรรถคดี ก็ยังมีคน
ทั้งหลายพูดแทรกขึ้นมาในระหว่าง ๆ หม่อมฉันนั้นไม่ได้เพื่อจะห้ามว่า ‘ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย เมื่อเรานั่งอยู่ในที่วินิจฉัยอรรถคดี พวกท่านอย่าพูดแทรกขึ้นระหว่าง
ถ้อยคำของเรา จงรอให้เราพูดจบเสียก่อน’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร
คนทั้งหลายก็ยังพูดแทรกขึ้นในระหว่างถ้อยคำของหม่อมฉัน แต่หม่อมฉันได้
เห็นภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่
บริษัทหลายร้อย สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาค ก็ไม่มีเสียงไอหรือเสียงจามเลย
เรื่องเคยมีมาแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น
สาวกของพระผู้มีพระภาครูปหนึ่งได้ไอขึ้น เพื่อนพรหมจารีรูปหนึ่งได้ใช้เข่าสะกิดเธอ
ด้วยความประสงค์ให้เธอรู้สึกตัวได้ว่า ‘ท่านจงเงียบ อย่าทำเสียงดังไป พระผู้มีพระภาค
ผู้เป็นศาสดาของเราทั้งหลายทรงแสดงธรรมอยู่’
หม่อมฉันนั้นได้ดำริว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงแนะนำบริษัทอย่างดีเช่นนี้ โดยไม่ต้องใช้อาชญา โดยไม่ต้อง
ใช้ศัสตราเลย’ หม่อมฉันไม่เห็นบริษัทอื่นที่ได้รับการแนะนำอย่างดีเช่นนี้ นอกจาก
บริษัทนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้เองที่หม่อมฉันมีความเห็นคล้อยตามธรรม
ในพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
[๓๗๑] อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันได้เห็นกษัตริย์ ผู้เป็นบัณฑิตบางพวก
ในโลกนี้ มีปัญญาละเอียดอ่อน โต้วาทะกับคนอื่นได้ สามารถนับขนทรายได้ กษัตริย์
เหล่านั้นเหมือนดั่งเที่ยวทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญา พอได้ฟังข่าวว่า ‘ท่านผู้
เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสมณโคดมจักเสด็จมาถึงบ้านหรือนิคมชื่อโน้น’ กษัตริย์
เหล่านั้นก็พากันแต่งปัญหา ด้วยตั้งใจว่า ‘เราทั้งหลายจักพากันเข้าไปหาพระสมณ-
โคดมแล้วถามปัญหานี้ ถ้าพระสมณโคดมถูกเราทั้งหลายถามแล้วอย่างนี้ จักตรัส
ตอบอย่างนี้ เราทั้งหลายจักโต้วาทะอย่างนี้กับพระสมณโคดม ถ้าแม้พระสมณโคดม
ถูกเราทั้งหลายถามแล้วอย่างนี้ จักตรัสตอบอย่างนี้ เราทั้งหลายจักโต้วาทะอย่างนี้
กับพระสมณโคดม’
กษัตริย์เหล่านั้นได้ฟังข่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสมณโคดม
เสด็จมาถึงบ้านหรือนิคมโน้น’ แล้วก็พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้กษัตริย์เหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา กษัตริย์
เหล่านั้นที่พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ
ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ก็ไม่ทูลถามปัญหา
กับพระผู้มีพระภาคอีก ที่ไหนจักโต้วาทะกับพระองค์ได้เล่า โดยที่แท้ก็พากันยอมตน
เข้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้เองที่หม่อมฉันมีความเห็นคล้อยตามธรรมของ
พระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
[๓๗๒] อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันได้เห็นพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต ฯลฯ
คหบดีผู้เป็นบัณฑิต ฯลฯ สมณะผู้เป็นบัณฑิตบางพวกในโลกนี้ มีปัญญาละเอียด
อ่อน โต้วาทะกันคนอื่นได้ สามารถนับขนทรายได้ สมณะเหล่านั้นเหมือนดั่งเที่ยว
ทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญา พอได้ฟังข่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า
พระสมณโคดมจักเสด็จมาถึงบ้านหรือนิคมชื่อโน้น’ สมณะเหล่านั้นก็พากันแต่ง
ปัญหา ด้วยตั้งใจว่า ‘เราทั้งหลายจักพากันเข้าไปหาพระสมณโคดมแล้วถามปัญหานี้
ถ้าพระโคดมถูกเราทั้งหลายถามแล้วอย่างนี้ จักตรัสตอบอย่างนี้ เราทั้งหลาย
จักโต้วาทะอย่างนี้กับพระสมณโคดม ถ้าแม้พระสมณโคดมถูกเราทั้งหลายถามแล้ว
อย่างนี้ จักตรัสตอบอย่างนี้ เราทั้งหลายจักโต้วาทะอย่างนี้กับพระสมณโคดม’
สมณะเหล่านั้นได้ฟังข่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสมณโคดม
เสด็จมาถึงบ้านหรือนิคมโน้น’ แล้วก็พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้สมณะเหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา สมณะ
เหล่านั้นที่พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ
ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมีกถาก็ไม่ทูลถาม
ปัญหากับพระผู้มีพระภาคอีก ที่ไหนจักโต้วาทะกับพระองค์ได้เล่า โดยที่แท้ก็ขอโอกาส
เพื่อออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตกับพระผู้มีพระภาค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร
พระผู้มีพระภาคก็ทรงให้พวกเขาบวช พวกเขาเมื่อบวชแล้วอย่างนี้ก็หลีกไปอยู่
ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่ง
ประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน พวกเขา
พากันกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายไม่พินาศละซิหนอ ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลาย
ไม่พินาศละซิหนอ ท่านผู้เจริญ ด้วยว่า เมื่อก่อนเราทั้งหลายไม่ได้เป็นสมณะเลย
ก็ปฏิญญาว่า ‘เป็นสมณะ’ ไม่ได้เป็นพราหมณ์เลยก็ปฏิญญาว่า ‘เป็นพราหมณ์’
ไม่ได้เป็นพระอรหันต์เลยก็ปฏิญญาว่า ‘เป็นพระอรหันต์’ บัดนี้ เราทั้งหลายเป็น
สมณะ เป็นพราหมณ์ เป็นพระอรหันต์’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้เองที่หม่อมฉันมีความเห็นคล้อยตามธรรม
ในพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
[๓๗๓] อีกประการหนึ่ง ช่างไม้ชื่ออิสิทันตะ และช่างไม้ชื่อปุราณะเหล่านี้
กินอยู่กับหม่อมฉัน ใช้ยวดยานของหม่อมฉัน หม่อมฉันให้เครื่องเลี้ยงชีพแก่เขา
ตั้งยศให้เขา แต่ถึงกระนั้น พวกเขาจะทำความเคารพนบนอบในหม่อมฉันเหมือน
ในพระผู้มีพระภาคก็หาไม่
เรื่องเคยมีมาแล้ว หม่อมฉันยกกองทัพออกไป เมื่อจะทดลองช่างไม้ชื่อ
อิสิทันตะ และช่างไม้ชื่อปุราณะเหล่านี้ จึงเข้าพักในที่พักอันแคบแห่งหนึ่ง ครั้งนั้นแล
ช่างไม้ชื่ออิสิทันตะและช่างไม้ชื่อปุราณะ เหล่านี้ใช้เวลาให้หมดไปด้วยการสนทนา
ธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นส่วนใหญ่ ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ทางทิศใด
พวกเขาก็หันศีรษะไปทางทิศนั้น นอนเหยียดเท้ามาทางหม่อมฉัน หม่อมฉันนั้นได้
ดำริว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ช่างไม้ชื่ออิสิทันตะ
และช่างไม้ชื่อปุราณะเหล่านี้กินอยู่กับเรา ใช้ยวดยานของเรา เราให้เครื่องเลี้ยงชีพ
แก่พวกเขา ตั้งยศให้พวกเขา แต่ถึงกระนั้น พวกเขาจะได้ทำความเคารพนบนอบ
ในเรา เหมือนในพระผู้มีพระภาคก็หาไม่ ทั้ง ๒ คนนี้คงจะรู้คุณวิเศษยิ่งขึ้นไป
กว่าเดิม ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นแน่’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้เองที่หม่อมฉันมีความเห็นคล้อยตามธรรม
ในพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
พระพุทธเจ้ากับพระเจ้าปเสนทิโกศลมีพระชนม์เท่ากัน
[๓๗๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็น
กษัตริย์ แม้หม่อมฉันก็เป็นกษัตริย์ พระผู้มีพระภาคทรงเป็นชาวโกศล แม้หม่อมฉัน
ก็เป็นชาวโกศล พระผู้มีพระภาคทรงมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา แม้หม่อมฉันก็มี
อายุ ๘๐ ปี แม้ด้วยการที่พระผู้มีพระภาคทรงเป็นกษัตริย์ แม้หม่อมฉันก็เป็น
กษัตริย์ พระผู้มีพระภาคทรงเป็นชาวโกศล แม้หม่อมฉันก็เป็นชาวโกศล พระผู้มี
พระภาคทรงมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา แม้หม่อมฉันก็มีอายุ ๘๐ ปีนี้ หม่อมฉัน
จึงได้ทำความเคารพนบนอบเป็นอย่างยิ่งในพระผู้มีพระภาค และแสดงอาการฉันมิตร
ถึงเพียงนี้ เอาเถิด บัดนี้ หม่อมฉันขอทูลลากลับ เพราะมีกิจ มีหน้าที่ที่จะต้องทำ
อีกมาก พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ขอพระองค์จงกำหนดเวลาที่สมควร ณ
บัดนี้เถิด”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงลุกจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาค ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จจากไป
ครั้งนั้นแล เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จจากไปไม่นาน พระผู้มีพระภาครับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าปเสนทิโกศลพระองค์นี้ตรัส
ธรรมเจดีย์๑ ทรงลุกจากที่ประทับแล้วเสด็จจากไป เธอทั้งหลายจงเรียนธรรมเจดีย์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑๐. กัณณกัตถลสูตร
จงศึกษา จงทรงจำธรรมเจดีย์นี้ไว้ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเจดีย์ประกอบด้วยประโยชน์
เป็นอาทิพรหมจรรย์๑”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
ธัมมเจติยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. กัณณกัตถลสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์ที่ตำบลกัณณกัตถละ
[๓๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลกัณณกัตถละเป็นที่ให้อภัย
หมู่เนื้อ ใกล้นครชื่ออุทัญญา สมัยนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปยังอุทัญญานคร
ด้วยพระราชกรณียกิจบางอย่าง ได้รับสั่งเรียกบุรุษคนหนึ่งมาตรัสว่า
“มาเถิด พ่อยอดชาย เธอจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว
ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า จงทูลถามถึงพระสุขภาพ
ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ
ตามคำของเราว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าปเสนทิโกศลขอถวายอภิวาท
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมี
พระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ’ และจง
กราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ทราบว่า วันนี้พระเจ้าปเสนทิโกศล
เสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว ภายหลังเวลาพระกระยาหาร จักเสด็จมาเฝ้า
พระผู้มีพระภาค”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑๐. กัณณกัตถลสูตร
บุรุษนั้นทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าปเสนทิโกศลขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของ
พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ทรงทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย
กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ และกราบทูลอย่างนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ทราบว่า วันนี้พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระกระยาหารเช้า
เสร็จแล้ว ภายหลังเวลาพระกระยาหาร จักเสด็จมาเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า”
พระภคินีทรงพระนามว่าโสมา และพระภคินีทรงพระนามว่าสกุลา ได้ทรงสดับ
ข่าวว่า “ได้ยินว่า วันนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว
ภายหลังเวลาพระกระยาหารจักเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค” เวลานั้นเอง พระภคินี-
โสมา และพระภคินีสกุลา จึงเสด็จเข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลในที่เสวยพระกระยาหาร
แล้วได้กราบทูลว่า
“ข้าแต่มหาราช ถ้าเช่นนั้น ขอพระองค์จงทรงถวายอภิวาทพระยุคลบาทของ
พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า จงทรงถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย
กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ ตามคำของหม่อมฉัน
ทั้งสองว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภคินีโสมาและพระภคินีสกุลา ขอถวาย
อภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ
ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ เพคะ”
พระเจ้าปเสนทิโกศลเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
[๓๗๖] ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว
ภายหลังเวลาพระกระยาหาร เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวาย
อภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภคินีโสมาและพระภคินีสกุลา ขอถวายอภิวาท
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมี
พระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๖๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น