Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๔-๗ หน้า ๒๕๕ - ๒๙๗

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔-๗ สุตตันตปิฎกที่ ๐๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๕. ทันตภูมิสูตร
ถ้าช้างหลวงรุ่นหนุ่มที่ควาญช้างยังไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัด ล้มลง ย่อมถึงการนับว่า
‘ช้างหลวงหนุ่มล้มอย่างไม่ได้ฝึก’ แม้ฉันใด
ถ้าภิกษุปูนเถระยังไม่สิ้นอาสวะมรณภาพลง ย่อมถึงการนับว่า ‘ภิกษุปูนเถระ
มรณภาพลงอย่างไม่ได้ฝึก’
ถ้าภิกษุปูนมัชฌิมะ ฯลฯ
ถ้าภิกษุปูนนวกะยังไม่สิ้นอาสวะมรณภาพลง ย่อมถึงการนับว่า ‘ภิกษุ
ปูนนวกะมรณภาพลงอย่างไม่ได้ฝึก’ ฉันนั้นเหมือนกัน
อัคคิเวสสนะ ถ้าช้างหลวงแก่ที่ควาญช้างฝึกดีแล้ว หัดดีแล้ว ล้มลง ย่อม
ถึงการนับว่า ‘ช้างหลวงแก่ล้มอย่างฝึกแล้ว’
ถ้าช้างหลวงรุ่นกลาง ฯลฯ
ถ้าช้างหลวงหนุ่มที่ควาญช้างฝึกดีแล้ว หัดดีแล้ว ล้มลง ย่อมถึงการนับว่า
‘ช้างหลวงหนุ่มล้มอย่างฝึกแล้ว’ แม้ฉันใด
ถ้าภิกษุปูนเถระผู้สิ้นอาสวะแล้วมรณภาพลง ย่อมถึงการนับว่า ‘ภิกษุปูนเถระ
มรณภาพลงอย่างฝึกแล้ว’
ถ้าภิกษุปูนมัชฌิมะ ฯลฯ
ถ้าภิกษุปูนนวกะผู้เป็นขีณาสพมรณภาพลง ย่อมถึงการนับว่า ‘ภิกษุ
ปูนนวกะมรณภาพลงอย่างฝึกแล้ว’ ฉันนั้นเหมือนกัน”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว อจิรวตะ สมณุทเทสมีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
ทันตภูมิสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร

๖. ภูมิชสูตร
ว่าด้วยพระภูมิชะ
[๒๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้นเวลาเช้า ท่านพระภูมิชะ๑ ครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังวังของชยเสนราชกุมาร แล้วนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว
ลำดับนั้น ชยเสนราชกุมารเสด็จเข้าไปหาท่านพระภูมิชะถึงที่อยู่แล้วได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร
ชยเสนราชกุมารได้รับสั่งกับท่านพระภูมิชะว่า “ข้าแต่ท่านพระภูมิชะ มีสมณ-
พราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ถ้าแม้ชนทั้งหลายตั้งความ
หวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุ
ผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขา
ก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้’
ในเรื่องนี้ พระศาสดาของท่านพระภูมิชะมีวาทะอย่างไร มีทิฏฐิอย่างไร ตรัส
สอนไว้อย่างไร”
ท่านพระภูมิชะถวายพระพรว่า “พระราชกุมาร เรื่องนี้อาตมภาพมิได้สดับรับ
มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเลย แต่เป็นไปได้ที่พระผู้มีพระภาคพึงทรง
พยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘ถ้าแม้ชนทั้งหลายตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่
แยบคาย พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย พวกเขาก็ไม่
สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
โดยไม่แยบคาย พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ชนทั้งหลายตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย พวก
เขาก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย พวกเขาก็
สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
โดยแยบคาย พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้’
พระราชกุมาร เรื่องนี้อาตมภาพมิได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี
พระภาคเลย แต่เป็นไปได้ที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงพยากรณ์อย่างนี้”
ชยเสนราชกุมารตรัสว่า “ถ้าพระศาสดาของท่านพระภูมิชะมีวาทะอย่างนี้ มี
ทิฏฐิอย่างนี้ ตรัสสอนไว้อย่างนี้ พระศาสดาของท่านพระภูมิชะ ชะรอยจะมีความรู้
เหนือสมณพราหมณ์ทั้งปวงแน่แท้”
ลำดับนั้น ชยเสนราชกุมาร ทรงอังคาสท่านพระภูมิชะด้วยภัตตาหารใน
ภาชนะอันเป็นส่วนของพระองค์เองเลยทีเดียว
[๒๒๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระภูมิชะกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉัน
ภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ครอง
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังวังของชยเสนราชกุมาร แล้วนั่งบนอาสนะที่
ปูลาดไว้แล้ว ลำดับนั้น ชยเสนราชกุมารเสด็จเข้ามาหาข้าพระองค์ แล้วได้ตรัส
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่
สมควร ได้รับสั่งกับข้าพระองค์ว่า ‘ข้าแต่ท่านพระภูมิชะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ถ้าแม้ชนทั้งหลายตั้งความหวังแล้ว ประพฤติ
พรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุ
ผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็
ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ในเรื่องนี้ พระศาสดาของท่านพระภูมิชะมีวาทะอย่างไร มีทิฏฐิอย่างไร ตรัส
สอนไว้อย่างไร’
เมื่อชยเสนราชกุมารรับสั่งอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้ถวายพระพรว่า ‘พระ
ราชกุมาร เรื่องนี้ อาตมภาพมิได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเลย
แต่เป็นไปได้ที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘ถ้าแม้ชนทั้งหลายตั้ง
ความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย พวกเขาก็ไม่
สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
โดยไม่แยบคาย พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร
ถ้าแม้ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย พวกเขาก็
สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
โดยแยบคาย พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้’
เรื่องนี้ อาตมภาพมิได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเลย แต่
เป็นไปได้ที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงพยากรณ์อย่างนี้’
ชยเสนราชกุมารรับสั่งว่า ‘ถ้าพระศาสดาของท่านพระภูมิชะผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ ตรัสสอนไว้อย่างนี้ พระศาสดาของท่านพระภูมิชะ ชะรอยจะมี
ความรู้เหนือสมณพราหมณ์ทั้งปวงแน่แท้’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว เมื่อ
พยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้
มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่าเป็นผู้พูดอย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำ
กล่าวเช่นนั้น และคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมา จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภูมิชะ ช่างเถิด เธอถูกถามอย่างนั้นแล้ว เมื่อ
พยากรณ์อย่างนั้น ชื่อว่าพูดตรงตามที่เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ
ชื่อว่าเป็นผู้พูดอย่างสมเหตุสมผล ไม่มีเลยที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ
กันมา จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ แต่สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งเป็น
มิจฉาทิฏฐิ(มีความเห็นผิด) เป็นมิจฉาสังกัปปะ(มีความดำริผิด) เป็นมิจฉาวาจา(มี
การเจรจาผิด) เป็นมิจฉากัมมันตะ(มีการงานผิด) เป็นมิจฉาอาชีวะ(มีการเลี้ยงชีพ
ผิด) เป็นมิจฉาวายามะ(มีความเพียรผิด) เป็นมิจฉาสติ(มีความระลึกผิด) เป็น
มิจฉาสมาธิ(มีความตั้งใจผิด)
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุ
ผลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็
ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย พวกเขาจึงไม่สามารถบรรลุผลได้
[๒๒๕] ภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการน้ำมัน แสวงหาน้ำมัน เที่ยว
เสาะหาน้ำมัน เกลี่ยทรายลงในรางแล้ว เอาน้ำพรมไป คั้นไป
ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้วเกลี่ยทรายลงในราง เอาน้ำพรมไป คั้นไป
เขาก็ไม่สามารถได้น้ำมัน
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วเกลี่ยทรายลงไปในราง เอาน้ำพรมไป คั้นไป เขา
ก็ไม่สามารถได้น้ำมัน
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วเกลี่ยทรายลงในราง เอาน้ำ
พรมไป คั้นไป เขาก็ไม่สามารถได้น้ำมัน
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วเกลี่ยทรายลงในราง
เอาน้ำพรมไป คั้นไป เขาก็ไม่สามารถได้น้ำมัน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย เขาจึงไม่สามารถได้น้ำมัน แม้ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นมิจฉาทิฏฐิ
เป็นมิจฉาสังกัปปะ เป็นมิจฉาวาจา เป็นมิจฉากัมมันตะ เป็นมิจฉาอาชีวะ เป็น
มิจฉาวายามะ เป็นมิจฉาสติ เป็นมิจฉาสมาธิ
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุ
ผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็
ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย พวกเขาจึงไม่สามารถบรรลุผลได้
เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการนมสด แสวงหานมสด เที่ยวเสาะหานมสด
แต่รีด(นมสด) จากเขาโคแม่ลูกอ่อน
ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้วรีดเอาจากเขาโคแม่ลูกอ่อน เขาก็ไม่สามารถได้
นมสด
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วรีดเอาจากเขาโคแม่ลูกอ่อน เขาก็ไม่สามารถได้
นมสด
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวัง ฯลฯ
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วรีดเอาจากเขาของโคแม่
ลูกอ่อน เขาก็ไม่สามารถได้นมสด
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย เขาจึงไม่สามารถได้นมสด แม้ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
เป็นมิจฉาสมาธิ
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุ
ผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขา
ก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย พวกเขาจึงไม่สามารถบรรลุผลได้
[๒๒๖] ภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการเนยข้น แสวงหาเนยข้น เที่ยว
เสาะหาเนยข้น เทน้ำลงในอ่างแล้ว กวนด้วยเครื่องกวน
ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังเทน้ำลงไปในอ่างแล้วกวนด้วยเครื่องกวน เขาก็ไม่
สามารถได้เนยข้น
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วเทน้ำลงในอ่างแล้วกวน
ด้วยเครื่องกวน เขาก็ไม่สามารถได้เนยข้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย เขาจึงไม่สามารถได้เนยข้น แม้ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
เป็นมิจฉาสมาธิ
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย พวกเขาจึงไม่สามารถบรรลุผลได้
เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการไฟ แสวงหาไฟ เที่ยวเสาะหาไฟ จึงเอาไม้สดที่
มียางมาทำไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟ
ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้วจึงเอาไม้สดที่มียางมาทำไม้สีไฟ แล้วสีให้
เป็นไฟ เขาก็ไม่สามารถได้ไฟ
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วเอาไม้สดที่มียางมาทำไม้
สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟ เขาก็ไม่สามารถได้ไฟ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย เขาจึงไม่สามารถได้ไฟ แม้ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
เป็นมิจฉาสมาธิ
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย พวกเขาจึงไม่สามารถบรรลุผลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร
ภูมิชะ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งเป็นสัมมาทิฏฐิ เป็น
สัมมาสังกัปปะ เป็นสัมมาวาจา เป็นสัมมากัมมันตะ เป็นสัมมาอาชีวะ เป็น
สัมมาวายามะ เป็นสัมมาสติ เป็นสัมมาสมาธิ
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขา
ก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย พวกเขาจึงสามารถบรรลุผลได้
[๒๒๗] ภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการน้ำมัน แสวงหาน้ำมัน เที่ยว
เสาะหาน้ำมัน เกลี่ยแป้งงาลงในรางแล้ว เอาน้ำพรมไป คั้นไป
ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้วเกลี่ยแป้งงาลงในราง เอาน้ำพรมไป คั้นไป
เขาก็สามารถได้น้ำมันงา
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วเกลี่ยแป้งงาลงในราง
เอาน้ำพรมไป คั้นไป เขาก็สามารถได้น้ำมันงา
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย เขาจึงสามารถได้น้ำมันงา แม้ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
เป็นสัมมาสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย พวกเขาจึงสามารถบรรลุผลได้
เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการนมสด แสวงหานมสด เที่ยวเสาะหานมสด จึง
รีด(นมสด) จากเต้านมของโคแม่ลูกอ่อน
ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้วรีดเอาจากเต้านมโคแม่ลูกอ่อน เขาก็สามารถได้
นมสด
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วพึงรีดจากเต้านมโคแม่
ลูกอ่อน เขาก็สามารถได้นมสด
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย เขาจึงสามารถได้นมสด แม้ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
เป็นสัมมาสมาธิ
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วพึงประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย พวกเขาจึงสามารถบรรลุผลได้
[๒๒๘] ภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการเนยข้น แสวงหาเนยข้น เที่ยว
เสาะหาเนยข้น เทนมส้มลงในอ่างแล้วกวนด้วยเครื่องกวน
ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้วเทนมส้มลงในอ่างพึงกวนด้วยเครื่องกวน เขา
ก็สามารถได้นมข้น
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วเทนมส้มลงในอ่างแล้ว
กวนด้วยเครื่องกวน เขาก็สามารถได้นมข้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย เขาจึงสามารถได้นมข้น แม้ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นสัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ เป็นสัมมาสมาธิ
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย พวกเขาจึงสามารถบรรลุผลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร
เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการไฟ แสวงหาไฟ เที่ยวเสาะหาไฟ จึงเอาไม้แห้ง
มาทำไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟ
ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้ว เอาไม้แห้งมาทำไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟ
เขาก็สามารถได้ไฟ
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วเอาไม้แห้งมาทำไม้สีไฟ
แล้วสีให้เป็นไฟ เขาก็สามารถได้ไฟ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย เขาจึงสามารถได้ไฟ แม้ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นสัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ เป็นสัมมาสมาธิ
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย พวกเขาจึงสามารถบรรลุผลได้
ภูมิชะ ถ้าเธอพึงอธิบายอุปมา ๔ ข้อนี้ ให้แจ่มแจ้งแก่ชยเสนราชกุมารได้
ชยเสนราชกุมารจะพึงเลื่อมใสเธออย่างน่าอัศจรรย์ และชยเสนราชกุมารผู้เลื่อมใส
แล้ว จะพึงทำอาการของบุคคลผู้เลื่อมใสแก่เธอ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๗. อนุรุทธสูตร
ท่านพระภูมิชะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เฉพาะข้าพระองค์จัก
อธิบายอุปมา ๔ ข้อนี้อันน่าอัศจรรย์ ที่ข้าพระองค์ยังไม่เคยได้สดับมาก่อน ให้
แจ่มแจ้งแก่ชยเสนราชกุมาร เหมือนพระผู้มีพระภาคได้อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระภูมิชะมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
ภูมิชสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนุรุทธสูตร
ว่าด้วยพระอนุรุทธะ
[๒๒๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ เรียกชาย
คนหนึ่งมาสั่งว่า
“มาเถิด พ่อมหาจำเริญ เธอจงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ กราบเท้า
ท่านด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราแล้วกราบเรียนอย่างนี้ว่า ‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ
ช่างไม้ปัญจกังคะกราบเท้าท่านพระอนุรุทธะด้วยเศียรเกล้า’ และจงกราบเรียนอย่าง
นี้ว่า ‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอท่านพระอนุรุทธะโปรดนับตนเองเป็นรูปที่ ๔ นิมนต์
รับภัตตาหารของช่างไม้ปัญจกังคะในวันพรุ่งนี้ และขอพระคุณเจ้าโปรดมาแต่เช้า ๆ
เพราะช่างไม้ปัญจกังคะมีกิจมาก มีหน้าที่ที่จะต้องทำทางราชการมาก”
ชายคนนั้นรับคำแล้วจึงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ กราบแล้ว นั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบเรียนท่านพระอนุรุทธะว่า “พระคุณเจ้าผู้เจริญ ช่างไม้
ปัญจกังคะกราบเท้าพระคุณท่านด้วยเศียรเกล้า และฝากมากราบเรียนอย่างนี้ว่า
‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอท่านพระอนุรุทธะโปรดนับตนเองเป็นรูปที่ ๔ นิมนต์รับ
ภัตตาหารของช่างไม้ปัญจกังคะในวันพรุ่งนี้ และขอพระคุณเจ้าโปรดไปแต่เช้า ๆ
เพราะช่างไม้ปัญจกังคะมีกิจมาก มีหน้าที่ที่จะต้องทำทางราชการมาก”
ท่านพระอนุรุทธะรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๗. อนุรุทธสูตร
[๒๓๐] ครั้นเวลาเช้า เมื่อล่วงราตรีนั้นไป ท่านพระอนุรุทธะ ครองผ้า
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของช่างไม้ปัญจกังคะ แล้วนั่งบน
อาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว ลำดับนั้น ช่างไม้ปัญจกังคะถวายของเคี้ยวของฉันอันประณีต
แก่ท่านพระอนุรุทธะจนอิ่มหนำสำราญด้วยตนเอง พอเห็นท่านพระอนุรุทธะฉันเสร็จ
ละมือออกจากบาตรแล้ว จึงเลือกนั่ง ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า ได้กล่าว
กับท่านพระอนุรุทธะว่า
“พระคุณเจ้าผู้เจริญ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายเข้ามาหากระผมในที่นี้แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘คหบดี ท่านจงเจริญเจโตวิมุตติอันหาประมาณมิได้เถิด’ พระเถระบางรูปกล่าวอย่างนี้ว่า
‘คหบดี ท่านจงเจริญเจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะเถิด’
พระคุณเจ้าผู้เจริญ ธรรม ๒ ประการนี้ คือ
๑. เจโตวิมุตติ๑อันหาประมาณมิได้
๒. เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ๒
มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน(อย่างไร) หรือว่ามีอรรถเป็นอันเดียวกัน๓
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น”
“คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านนั่นแหละ จงทำความเข้าใจในเรื่องนี้ให้แจ่มแจ้ง
ท่านจะได้ปฏิบัติไม่ผิดจากเรื่องนี้”
“พระคุณเจ้าผู้เจริญ กระผมมีความเข้าใจอย่างนี้ว่า ‘ธรรมเหล่านี้ คือ
๑. เจโตวิมุตติอันหาประมาณมิได้
๒. เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ
มีอรรถเป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๗. อนุรุทธสูตร
“คหบดี ธรรม ๒ ประการนี้ คือ
๑. เจโตวิมุตติอันหาประมาณมิได้
๒. เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ
มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน ท่านพึงทราบความต่างกันนั้น โดย
วิธีที่ธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกันโดยเหตุผลต่อไปนี้
เจโตวิมุตติอันหาประมาณมิได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ... ทิศที่ ๒
... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอด
โลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มี
ขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ... มีมุทิตาจิต ... มี
อุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน
ด้วยอุเบกขาจิต อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่
คหบดี นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติอันหาประมาณมิได้
[๒๓๑] เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ น้อมจิตแผ่ไปตลอดโคนต้นไม้ ๑ แห่งว่า
‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่
นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ น้อมจิตแผ่ไปตลอดโคนต้นไม้ ๒ หรือ ๓ แห่งว่า
‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่
นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ น้อมจิตแผ่ไปตลอดเขตบ้าน ๑ แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่
นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๗. อนุรุทธสูตร
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ น้อมจิตแผ่ไปตลอดเขตบ้าน ๒ หรือ ๓ แห่งว่า
‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่
นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ น้อมจิตแผ่ไปตลอดอาณาจักร ๑ แห่งว่า ‘เป็น
แดนมหัคคตะ’ อยู่
นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ น้อมจิตแผ่ไปตลอดอาณาจักร ๒ หรือ ๓ แห่งว่า
‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่
นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ น้อมจิตแผ่ไปตลอดปฐพีซึ่งมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต
๑ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่
นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ
คหบดี โดยเหตุผลนี้ ท่านก็จะทราบความต่างกันนั้น โดยวิธีที่ธรรมเหล่านี้
มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน
[๒๓๒] คหบดี การเข้าถึงภพนี้มี ๔ ประการ
การเข้าถึงภพ ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. น้อมจิตแผ่กสิณมีแสงสว่างเล็กน้อยเป็นอารมณ์อยู่ หลังจากตายแล้ว
จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพชั้นปริตตาภา
๒. น้อมจิตแผ่กสิณมีแสงสว่างหาประมาณมิได้เป็นอารมณ์อยู่ หลัง
จากตายแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพชั้นอัปปมาณาภา
๓. น้อมจิตแผ่กสิณมีแสงสว่างเศร้าหมองเป็นอารมณ์อยู่ หลังจาก
ตายแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพชั้นสังกิลิฏฐาภา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๗. อนุรุทธสูตร
๔. น้อมจิตแผ่กสิณมีแสงสว่างบริสุทธิ์เป็นอารมณ์อยู่ หลังจากตาย
แล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพชั้นปริสุทธาภา
การเข้าถึงภพ ๔ ประการนี้แล
มีสมัยที่พวกเทพประชุมร่วมกัน เทพเหล่านั้นย่อมปรากฏมีสีกายต่างกัน แต่
มีรัศมีไม่ต่างกัน เปรียบเหมือนบุรุษตามประทีปน้ำมันหลายดวง เข้าไปยังเรือน
หลังหนึ่ง ประทีปน้ำมันเหล่านั้นปรากฏมีเปลวต่างกัน แต่มีแสงสว่างไม่ต่างกัน
แม้ฉันใด สมัยที่พวกเทพประชุมร่วมกัน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เทพเหล่านั้นย่อม
ปรากฏมีสีกายต่างกัน แต่มีรัศมีไม่ต่างกัน
มีสมัยที่พวกเทพแยกกันประชุม เทพเหล่านั้นย่อมปรากฏมีสีกายต่างกันและ
มีรัศมีต่างกัน เปรียบเหมือนบุรุษนำประทีบน้ำมันหลายดวงออกจากเรือนหลังนั้น
ประทีปน้ำมันเหล่านั้นปรากฏมีเปลวต่างกันและมีแสงสว่างต่างกัน แม้ฉันใด สมัย
ที่พวกเทพแยกกันประชุม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เทพเหล่านั้นย่อมปรากฏมีสีกาย
ต่างกัน และมีรัศมีต่างกัน
คหบดี เทพเหล่านั้นไม่มีความดำริอย่างนี้เลยว่า ‘สิ่งนี้ของเราทั้งหลายเที่ยง
ยั่งยืน หรือแน่นอน’ แต่เทพเหล่านั้นย่อมอภิรมย์ในที่ที่ตนอาศัยอยู่เท่านั้น
เปรียบเหมือนแมลงวันที่ติดไปกับหาบหรือตะกร้า ย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า
‘หาบหรือตะกร้านี้ของเราเที่ยง ยั่งยืน หรือแน่นอน’ แต่ว่าแมลงวันเหล่านั้นย่อม
อภิรมย์ในที่ที่ตนอาศัยอยู่เท่านั้น แม้ฉันใด เทพเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่
มีความคิดอย่างนี้เลยว่า ‘สิ่งนี้ของเราทั้งหลายเที่ยง ยั่งยืน หรือแน่นอน’ แต่เทพ
เหล่านั้นย่อมอภิรมย์ในที่ที่ตนอาศัยอยู่เท่านั้น”
[๒๓๓] เมื่อท่านพระอนุรุทธะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสภิยกัจจานะ ได้
กล่าวกับท่านพระอนุรุทธะว่า “ดีละ ท่านอนุรุทธะผู้เจริญ แต่กระผมมีเรื่องจะขอ
ถามให้ยิ่งขึ้นไปในเรื่องนี้ว่า ‘เทพผู้มีรัศมีทั้งหมดนั้นมีรัศมีเล็กน้อย หรือว่าบรรดา
เทพเหล่านั้นมีเทพบางพวกมีรัศมีหาประมาณมิได้”
ท่านพระอนุรุทธะกล่าวว่า “ท่านกัจจานะ โดยองค์แห่งการเกิด บรรดาเทพ
เหล่านี้ เทพบางพวกมีรัศมีเล็กน้อย แต่เทพบางพวกมีรัศมีหาประมาณมิได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๗. อนุรุทธสูตร
“ท่านอนุรุทธะผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บรรดาเทพผู้เกิดใน
หมู่เทพเดียวกันเหล่านั้น เทพบางพวกมีรัศมีเล็กน้อย แต่เทพบางพวกมีรัศมี
หาประมาณมิได้”
“ท่านกัจจานะ ถ้าเช่นนั้น กระผมจะย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านพึงตอบ
ปัญหานั้นตามที่ท่านพอใจ
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดโคนต้นไม้ ๑ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’
อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดโคนต้นไม้ ๒ หรือ ๓ แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็น
มหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่ากัน”
“บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมจิต
แผ่ไปสู่โคนต้นไม้ ๒ หรือ ๓ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่นี้ เป็นมหัคคต
จิตตภาวนายิ่งกว่า ขอรับ”
“ท่านกัจจานะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดโคนต้นไม้ ๒ หรือ ๓ แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดเขตบ้าน ๑ แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็น
มหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่ากัน”
“บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมจิต
แผ่ไปตลอดเขตบ้าน ๑ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่นี้ เป็นมหัคคตจิตต
ภาวนายิ่งกว่า ขอรับ”
“ท่านกัจจานะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดเขตบ้าน ๑ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่
กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดเขตบ้าน ๒ หรือ ๓ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่
บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็นมหัคคตจิตต
ภาวนายิ่งกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๗. อนุรุทธสูตร
“บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาของภิกษรูปที่น้อมจิต
แผ่ไปตลอดเขตบ้าน ๒ หรือ ๓ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่นี้ เป็นมหัคคต
จิตตภาวนายิ่งกว่า ขอรับ”
“ท่านกัจจานะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดเขตบ้าน ๒ หรือ ๓ แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดมหาอาณาจักร ๑ แห่งว่า ‘เป็น
แดนมหัคคตะ’ อยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน
เป็นมหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่ากัน”
“บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาของภิกษรูปที่น้อมจิต
แผ่ไปตลอดมหาอาณาจักร ๑ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่นี้ เป็นมหัคคตจิตต
ภาวนายิ่งกว่า ขอรับ”
“ท่านกัจจานะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดมหาอาณาจักร ๑ แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดมหาอาณาจักร ๒ หรือ ๓ แห่งว่า
‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน
เป็นมหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่ากัน”
“บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่
ไปตลอดมหาอาณาจักร ๒ หรือ ๓ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่นี้ เป็น
มหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่า ขอรับ”
“ท่านกัจจานะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดมหาอาณาจักร ๒ หรือ ๓ แห่งว่า
‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดมหาปฐพีมีมหาสมุทร
เป็นขอบเขตอยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน
เป็นมหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๗. อนุรุทธสูตร
“บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมจิต
แผ่ไปตลอดมหาปฐพีมีมหาสมุทรเป็นขอบเขตว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่นี้ เป็น
มหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่า ขอรับ”
“ท่านกัจจานะ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บรรดาเทพผู้เกิดในหมู่เทพเดียวกัน
เหล่านั้น บางพวกมีรัศมีเล็กน้อย แต่บางพวกมีรัศมีหาประมาณมิได้”
[๒๓๔] “ดีละ ท่านอนุรุทธะผู้เจริญ แต่กระผมมีเรื่องจะขอสอบถามให้ยิ่งขึ้น
ไปในเรื่องนี้ว่า ‘เทพผู้มีรัศมีทั้งหมดนั้นมีรัศมีเศร้าหมอง หรือว่าบรรดาเทพ
เหล่านั้นมีเทพบางพวกมีรัศมีบริสุทธิ์”
“ท่านกัจจานะ โดยองค์แห่งการเกิดนั้น บรรดาเทพเหล่านี้ เทพบางพวกมี
รัศมีเศร้าหมอง แต่เทพบางพวกมีรัศมีบริสุทธิ์”
“ท่านอนุรุทธะผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บรรดาเทพผู้เกิด
ในหมู่เทพเดียวกันเหล่านั้น เทพบางพวกมีรัศมีเศร้าหมอง แต่เทพบางพวกมีรัศมี
บริสุทธิ์”
“ท่านกัจจานะ ถ้าเช่นนั้น กระผมจักทำการเปรียบเทียบแก่ท่าน แม้เพราะ
การเปรียบเทียบ วิญญูชนบางพวกในโลกนี้ จึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งภาษิตได้
เปรียบเหมือน เมื่อประทีปน้ำมันอันบุคคลจุดไฟอยู่ แม้น้ำมันก็ไม่บริสุทธิ์
แม้ไส้ก็ไม่บริสุทธิ์ เพราะน้ำมันและไส้ไม่บริสุทธิ์ ประทีปน้ำมันนั้นจึงติดไฟอย่าง
ริบหรี่ แม้ฉันใด ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน น้อมจิต
แผ่กสิณมีแสงสว่างเศร้าหมองเป็นอารมณ์อยู่ ไม่ระงับความชั่วหยาบทางกายให้ดี
ไม่ถอนถีนมิทธะให้ดี ไม่กำจัดอุทธัจจกุกกุจจะให้ดี เพราะไม่ระงับความชั่วหยาบ
ทางกายให้ดี ไม่ถอนถีนมิทธะให้ดี ไม่กำจัดอุทธัจจกุกกุจจะให้ดี ภิกษุนั้นจึง
รุ่งเรืองอย่างริบหรี่ หลังจากมรณภาพแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับหมู่เทพ
ผู้มีรัศมีเศร้าหมอง
เปรียบเหมือน เมื่อประทีบน้ำมันอันบุคคลจุดไฟอยู่ แม้น้ำมันก็บริสุทธิ์
แม้ไส้ก็บริสุทธิ์ เพราะน้ำมันและไส้บริสุทธิ์ ประทีปน้ำมันนั้นจึงติดไฟอย่างไม่ริบหรี่
แม้ฉันใด ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน น้อมจิตแผ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร
กสิณมีแสงสว่างบริสุทธิ์เป็นอารมณ์อยู่ ระงับความชั่วหยาบทางกายให้ดี ถอน
ถีนมิทธะให้ดี กำจัดอุทธัจจกุกกุจจะให้ดี เพราะระงับความชั่วหยาบทางกาย
ให้ดี ถอนถีนมิทธะให้ดี และกำจัดอุทธัจจกุกกุจจะให้ดี ภิกษุนั้นจึงรุ่งเรืองอย่างไม่
ริบหรี่ หลังจากมรณภาพแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพผู้มีรัศมีบริสุทธิ์
ท่านกัจจานะ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บรรดาเทพผู้เกิดในหมู่เทพเดียวกัน
เหล่านั้น เทพบางพวกมีรัศมีเศร้าหมอง แต่เทพบางพวกมีรัศมีบริสุทธิ์”
[๒๓๕] เมื่อท่านพระอนุรุทธะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสภิยกัจจานะได้
กล่าวกับท่านพระอนุรุทธะว่า “ดีละ ท่านอนุรุทธะผู้เจริญ ท่านอนุรุทธะมิได้กล่าว
อย่างนี้ว่า ‘เราได้สดับมาแล้วอย่างนี้’ หรือว่า ‘ควรจะเป็นอย่างนี้’ แต่ท่าน
อนุรุทธะกล่าวว่า ‘เทพเหล่านั้นเป็นอย่างนั้นบ้าง เทพเหล่านั้นเป็นอย่างนี้บ้าง
ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ท่านอนุรุทธะต้องเคยอยู่ร่วม
เคยเจรจา และเคยร่วมสนทนากับเทพเหล่านั้นมาเป็นแน่”
“ท่านกัจจานะ ท่านกล่าววาจานี้เป็นที่น่าเชื่อถือจริง ๆ แต่กระผมจักตอบ
ท่านบ้าง ท่านกัจจานะ กระผมเคยอยู่ร่วม เคยเจรจา และเคยร่วมสนทนากับ
เทพเหล่านั้นมานานแล้ว”
เมื่อท่านพระอนุรุทธะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสภิยกัจจานะได้กล่าวกับ
ช่างไม้ปัญจกังคะว่า “คหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่ท่านละเหตุแห่ง
ความสงสัยนั้นเสียได้ เราทั้งสองจึงได้ฟังธรรมบรรยายนี้” ดังนี้แล
อนุรุทธสูตรที่ ๗ จบ

๘. อุปักกิเลสสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลส
[๒๓๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายในกรุงโกสัมพี เกิดความบาดหมาง เกิดการทะเลาะวิวาท
ถึงกับใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ภิกษุทั้งหลายในกรุงโกสัมพี เกิดความบาดหมาง เกิดการ
ทะเลาะเกิดการวิวาท ถึงกับใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ขอประทานวโรกาส ขอ
พระผู้มีพระภาคโปรดอนุเคราะห์เสด็จไปหาภิกษุเหล่านั้นเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ แล้วได้ตรัส
กับภิกษุเหล่านั้นว่า “อย่าเลย ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าบาดหมาง อย่า
ทะเลาะ อย่าขัดแย้ง อย่าวิวาทกันเลย”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นธรรมสามี (เจ้าของธรรม)
โปรดรอก่อน ขอพระผู้มีพระภาคทรงขวนขวายน้อย ประกอบตามสุขวิหารธรรมใน
ปัจจุบันอยู่เถิด ข้าพระองค์ทั้งหลายจะปรากฏเพราะความบาดหมาง การทะเลาะ
การขัดแย้ง และการวิวาทนั่นเอง พระพุทธเจ้าข้า”
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า “อย่าเลย ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อย่าบาดหมาง อย่าทะเลาะ อย่าขัดแย้ง อย่าวิวาทกันเลย”
ภิกษุรูปนั้นได้กราบทูลอีกเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นธรรมสามี โปรดรอก่อน ขอพระผู้มีพระภาคทรง
ขวนขวายน้อย ประกอบตามสุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด ข้าพระองค์ทั้งหลาย
จะปรากฏเพราะความบาดหมาง การทะเลาะ การขัดแย้ง และการวิวาท
นั่นเอง พระพุทธเจ้าข้า”
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า “อย่าเลย ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อย่าบาดหมาง อย่าทะเลาะ อย่าขัดแย้ง อย่าวิวาทกันเลย”
ภิกษุรูปนั้นก็ได้กราบทูลอีกเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้
มีพระภาคผู้ทรงเป็นธรรมสามี โปรดรอก่อน ขอพระพระผู้มีพระภาคทรงขวนขวาย
น้อย ประกอบตามสุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด ข้าพระองค์ทั้งหลายจะ
ปรากฏเพราะความบาดหมาง การทะเลาะ การขัดแย้ง และการวิวาทนั้นเอง
พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จ
เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงโกสัมพี ทรงเที่ยวบิณฑบาตในกรุงโกสัมพีแล้ว เสด็จกลับ
จากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทรงเก็บงำเสนาสนะ ถือ
บาตรและจีวรประทับยืนอยู่นั่นแล ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๒๓๗] “ภิกษุทั้งหลายต่างส่งเสียงดังพร้อมกัน
ที่จะรู้สึกว่าตนเป็นพาลนั้น ไม่มีเลยสักรูปเดียว
ยิ่งเมื่อสงฆ์แตกกัน ก็ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องอื่น
เธอทั้งหลายขาดสติ แสดงตนว่าเป็นบัณฑิต
เท้าคารมพูดได้ตามที่ตนปรารถนา
จะยื่นปากพูดก็ไม่รู้สึกถึงการทะเลาะ
ชนเหล่าใดเข้าไปผูกเวรว่า
‘คนนี้ได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา
ได้ชนะเรา และได้ลักสิ่งของของเราไป’
เวรของชนเหล่านั้นย่อมไม่สงบระงับ
ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกเวรว่า
‘คนนี้ได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา
ได้ชนะเรา และได้ลักสิ่งของของเราไป’
เวรของชนเหล่านั้นย่อมสงบระงับ
เพราะว่าในกาลไหน ๆ เวรทั้งหลายในโลกนี้
ย่อมไม่สงบระงับด้วยเวร๑
แต่เวรทั้งหลายย่อมสงบระงับด้วยการไม่จองเวร๒
นี้เป็นธรรมเก่า๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร
ชนเหล่าอื่น๑ไม่รู้ชัดว่า
‘พวกเรากำลังย่อยยับอยู่ ณ ที่นี้’
ส่วนชนเหล่าใด๒ในหมู่นั้น
รู้ชัดความมุ่งร้ายกันย่อมระงับ
เพราะการปฏิบัติของชนเหล่านั้น
ชนทั้งหลายบั่นกระดูกฆ่ากัน ลักทรัพย์คือโคและม้า
ช่วงชิงแว่นแคว้นกัน ก็ยังกลับมาคบหากันได้อีก
ไฉนเธอทั้งหลายจึงคบหากันไม่ได้เล่า
ถ้าบุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตนเที่ยวไปด้วยกันได้
เป็นสาธุวิหารี๓ เป็นนักปราชญ์
ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว
พึงมีใจแช่มชื่น มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้นเถิด
ถ้าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน
เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์
ก็พึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเถิด
เหมือนพระราชาทรงละทิ้งแคว้นที่ทรงชนะแล้ว
ทรงประพฤติอยู่ผู้เดียว
และเหมือนช้างมาตังคะละทิ้งโขลงอยู่ตัวเดียวในป่า ฉะนั้น
การเที่ยวไปของบุคคลผู้เดียวเป็นความประเสริฐ
เพราะคุณเครื่องความเป็นสหาย๔ไม่มีในคนพาล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร
อนึ่ง บุคคลควรมีความขวนขวายน้อย
เที่ยวไปผู้เดียวไม่พึงทำความชั่ว
เหมือนช้างมาตังคะเที่ยวไปตัวเดียวในป่า”๑
[๒๓๘] พระผู้มีพระภาคประทับยืนตรัสพระคาถาเหล่านี้แล้ว ได้เสด็จเข้าไป
ยังบ้านพาลกโลณการคาม
สมัยนั้น ท่านพระภคุพักอยู่ที่บ้านพาลกโลณการคาม ได้เห็นพระผู้มี
พระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกล จึงได้จัดที่ประทับ ตั้งน้ำล้างพระบาทไว้
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ทรงล้างพระบาท
ฝ่ายท่านพระภคุถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระภคุว่า “ภิกษุ เธอยังสบายดีหรือ ยังพอ
เป็นอยู่ได้หรือ ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ”
ท่านพระภคุกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ยังสบายดี ยังพอเป็นอยู่ได้ ไม่ลำบาก
ด้วยบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ท่านพระภคุเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับ
เอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถาแล้วทรงลุกจากพุทธอาสน์ เสด็จไปยังป่าปาจีนวังสทายวัน๒
สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละ พักอยู่
ที่ป่าปาจีนวังสทายวัน
นายทายบาล(ผู้รักษาป่า) ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระสมณะ ท่านอย่าเข้าไปในป่านี้เลย ในป่านี้มีกุลบุตร
๓ ท่าน ซึ่งเป็นผู้มุ่งประโยชน์ตนอยู่ ท่านอย่าได้รบกวนกุลบุตรทั้ง ๓ นั้นเลย”
ท่านพระอนุรุทธะได้ยินแล้ว จึงได้บอกนายทายบาลว่า “นายทายบาล ท่าน
อย่าได้ห้ามพระผู้มีพระภาคเลย พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระศาสดาของเราทั้งหลาย
เสด็จมาถึงแล้ว”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร
[๒๓๙] ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้เข้าไปหาท่านพระนันทิยะและท่าน
พระกิมพิละถึงที่อยู่ แล้วได้บอกว่า “รีบไปกันเถิดท่าน รีบไปกันเถิดท่าน พระผู้มี
พระภาคผู้เป็นพระศาสดาของเราทั้งหลายเสด็จมาถึงแล้ว”
ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละได้ต้อนรับพระผู้มี
พระภาค คือ รูปหนึ่งรับบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งปูพุทธอาสน์
รูปหนึ่งตั้งน้ำล้างพระบาท
พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ณ พุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ทรงล้างพระบาทแล้ว
พระเถระทั้ง ๓ รูปนั้น ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระอนุรุทธะว่า “อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ
เธอทั้งหลายยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ”
“ข้าพระองค์ทั้งหลายยังสบายดี ยังพอเป็นอยู่ได้ ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต
พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอทั้งหลายยังสามัคคีกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ
มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่หรือ”
“ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายยังสามัคคีกัน ชื่นชมกัน ไม่
วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่
พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอทั้งหลายเป็นผู้สามัคคีกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน
น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่อย่างไร”
“ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ
เราได้ดีแล้วหนอ ที่ได้อยู่กับเพื่อนพรหมจารีเช่นนี้’ ข้าพระองค์ตั้งมั่นกายกรรมอัน
ประกอบด้วยเมตตา ตั้งมั่นวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตา และตั้งมั่นมโนกรรม
อันประกอบด้วยเมตตา ในท่านเหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ข้าพระองค์มีความ
คิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรเก็บความนึกคิดของตนแล้วประพฤติตามอำนาจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร
ความนึกคิดของท่านเหล่านี้’ ข้าพระองค์ก็เก็บความนึกคิดของตนแล้วประพฤติตาม
อำนาจความนึกคิดของท่านเหล่านี้ กายของข้าพระองค์ทั้งหลายต่างกันก็จริง แต่
ความนึกคิดดูเหมือนเป็นอันเดียวกัน พระพุทธเจ้าข้า”
แม้ท่านพระนันทิยะ ฯลฯ
แม้ท่านพระกิมพิละก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้
ข้าพระองค์ก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่ได้
อยู่กับเพื่อนพรหมจารีเช่นนี้’ ข้าพระองค์ตั้งมั่นกายกรรมอันประกอบด้วยเมตตา
ตั้งมั่นวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตา และตั้งมั่นมโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตา
ในท่านเหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี
เราควรเก็บความนึกคิดของตนแล้วประพฤติตามอำนาจความนึกคิดของท่านเหล่านี้’
ข้าพระองค์ก็เก็บความนึกคิดของตนแล้วประพฤติตามอำนาจความนึกคิดของท่าน
เหล่านี้ กายของข้าพระองค์ทั้งหลายต่างกันก็จริง แต่ความนึกคิดดูเหมือนเป็นอัน
เดียวกัน
ข้าพระองค์ทั้งหลายยังสามัคคีกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนม
กับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่อย่างนี้แล พระพุทธเจ้าข้า”
[๒๔๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ
อนึ่ง เธอทั้งหลายไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่หรือ”
“ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศ
กายและใจอยู่ พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอทั้งหลายไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างไร”
“ขอประทานวโรกาส บรรดาข้าพระองค์ทั้งหลาย รูปใดกลับจากบิณฑบาต
จากบ้านก่อน รูปนั้นย่อมปูลาดอาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ ตั้งถาดสำรับไว้ รูปใด
กลับจากบิณฑบาตจากบ้านในภายหลัง ถ้ามีบิณฑบาตที่เหลือจากฉัน หาก
ประสงค์ก็ฉัน หากไม่ประสงค์ก็เททิ้งบนพื้นที่ที่ปราศจากของเขียว หรือเทลงในน้ำ
ที่ไม่มีตัวสัตว์ รูปนั้นเก็บงำอาสนะ เก็บน้ำฉันน้ำใช้ ล้างถาดสำรับเก็บไว้ กวาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร
โรงอาหาร รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า รูปนั้น
ก็นำไปตั้งไว้ ถ้าเหลือวิสัยของท่าน ข้าพระองค์ทั้งหลายจะกวักมือเรียกรูปที่ ๒
มาช่วยกันยกหม้อน้ำฉัน หรือหม้อน้ำใช้ไปตั้งไว้ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ปริปากบ่น
เพราะเรื่องนั้นเป็นปัจจัย และข้าพระองค์ทั้งหลายนั่งสนทนาธรรมีกถาตลอดคืน
ยันรุ่ง ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้แล
พระพุทธเจ้าข้า”
[๒๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ
เมื่อเธอทั้งหลายไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐ อันสามารถวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุก
ที่เธอทั้งหลายได้บรรลุแล้วมีอยู่หรือ”๑
ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละ กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ จึงจำแสงสว่างและการเห็นรูปได้ แต่ไม่นานเลย
แสงสว่างและการเห็นรูปนั้นก็หายไปจากข้าพระองค์ทั้งหลาย ข้าพระองค์ทั้งหลาย
จึงแทงตลอดนิมิตนั้นไม่ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ เธอทั้งหลายต้อง
แทงตลอดนิมิตนั้นได้แน่ จะเล่าให้ฟังว่า ก่อนแต่การตรัสรู้
๑. แม้เรายังไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ขณะที่ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ย่อม
จำแสงสว่างและการเห็นรูปได้เหมือนกัน แต่ไม่นาน แสงสว่าง
และการเห็นรูปนั้นก็หายไปจากเรา เราจึงคิดอย่างนี้ว่า ‘อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปหายไปจากเรา’ เรา
นั้นได้คิดว่า ‘วิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะวิจิกิจฉาเป็นเหตุ
สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการ
เห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉาจะไม่เกิดแก่เราอีก’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร
๒. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ จึง
จำแสงสว่างและการเห็นรูปได้ แต่ไม่นาน แสงสว่างและการเห็น
รูปนั้นก็หายไปจากเรา เราจึงคิดว่า ‘อะไรหนอ เป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปหายไปจากเรา’ เรานั้นได้คิดว่า
‘อมนสิการ(การไม่ใส่ใจ) เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะอมนสิการเป็น
เหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและ
การเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉาและอมนสิการจะ
ไม่เกิดแก่เราอีก’
๓. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ถีนมิทธะเกิดขึ้น
แล้วแก่เรา เพราะถีนมิทธะเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อ
สมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำ
โดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ และถีนมิทธะจะไม่เกิดแก่เราอีก’
๔. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ความสะดุ้งกลัว
เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความสะดุ้งกลัวเป็นเหตุ สมาธิของเราจึง
เคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป
เปรียบเหมือนบุรุษผู้เดินทางไกล ที่สองข้างทางเกิดมีคนปอง
ร้ายเขา เพราะถูกคนปองร้ายนั้นเป็นเหตุ เขาจึงเกิดความสะดุ้งกลัว
แม้ฉันใด ความสะดุ้งกลัวเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะความสะดุ้งกลัวเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิ
เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่
วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ และความสะดุ้งกลัวจะไม่เกิดแก่
เราอีก’
๕. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ความปลาบปลื้ม
เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความปลาบปลื้มเป็นเหตุ สมาธิของเรา
จึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึง
หายไป’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร
เปรียบเหมือนบุรุษผู้แสวงหาขุมทรัพย์แห่งหนึ่ง พบแหล่ง
ขุมทรัพย์ ๕ แห่งในคราวเดียวกัน เพราะพบแหล่งขุมทรัพย์ ๕
แห่งนั้นเป็นเหตุ เขาจึงเกิดความปลาบปลื้ม แม้ฉันใด ความ
ปลาบปลื้มเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะความ
ปลาบปลื้มเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว
แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉา
อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว และความปลาบปลื้มจะไม่
เกิดขึ้นแก่เราอีก’
๖. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ความชั่วหยาบ
เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความชั่วหยาบเป็นเหตุ สมาธิของเราจึง
เคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป
เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว
ความปลาบปลื้ม และความชั่วหยาบจะไม่เกิดขึ้นแก่เราอีก’
๗. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ความเพียรที่
บำเพ็ญเกินไปเกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความเพียรที่บำเพ็ญเกินไป
เป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง
และการเห็นรูปจึงหายไป
เปรียบเหมือนบุรุษเอามือทั้งสอง จับนกคุ่มไว้แน่น นกคุ่มนั้น
ต้องถึงความตายในมือของบุรุษนั้นนั่นเอง แม้ฉันใด ความเพียรที่
บำเพ็ญเกินไป ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะ
ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อ
สมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำ
โดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว ความ
ปลาบปลื้ม ความชั่วหยาบ และความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปจะไม่
เกิดขึ้นแก่เราอีก’
๘. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ความเพียรที่
หย่อนเกินไป ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความเพียรที่หย่อนเกิน
ไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสง
สว่างและการเห็นรูปจึงหายไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร
เปรียบเหมือนบุรุษเอามือทั้งสอง จับนกคุ่มหลวม ๆ นกคุ่มนั้น
ย่อมบินไปจากมือเขาได้ แม้ฉันใด ความเพียรที่หย่อนเกินไปได้
เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะความเพียรที่หย่อน
เกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว
แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉา
อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว ความปลาบปลื้ม ความ
ชั่วหยาบ ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไป และความเพียรที่หย่อนเกิน
ไปจะไม่เกิดขึ้นแก่เราอีก’
๙. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ตัณหาที่คอย
กระซิบได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะตัณหาที่คอยกระซิบเป็นเหตุ
สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการ
เห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ
ความสะดุ้งกลัว ความปลาบปลื้ม ความชั่วหยาบ ความเพียรที่
บำเพ็ญเกินไป ความเพียรที่หย่อนเกินไป และตัณหาที่คอย
กระซิบจะไม่เกิดขึ้นแก่เราอีก’
๑๐. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘นานัตตสัญญาได้
เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะนานัตตสัญญาเป็นเหตุ สมาธิของเราจึง
เคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป
เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว
ความปลาบปลื้ม ความชั่วหยาบ ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไป
ความเพียรที่หย่อนเกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ และนานัตต-
สัญญาจะไม่เกิดขึ้นแก่เราอีก’
๑๑. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ จึงจำ
แสงสว่างและการเห็นรูปได้ แต่ไม่นานเลย แสงสว่างและการเห็น
รูปนั้น ก็หายไปจากเรา เราจึงคิดว่า ‘อะไรหนอ เป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปหายไปจากเรา’ เรานั้นได้คิดว่า
‘ลักษณะที่เพ่งรูปมากเกินไปได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะลักษณะที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร
เพ่งรูปมากเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิ
เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่
วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว ความปลาบปลื้ม
ความชั่วหยาบ ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไป ความเพียรที่หย่อน
เกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ นานัตตสัญญา และลักษณะที่เพ่งรูป
มากเกินไปจะไม่เกิดขึ้นแก่เราอีก’
ธรรมเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต
[๒๔๒] เรานั้นรู้ชัดดังนี้ว่า ‘วิจิกิจฉาเป็นอุปกิเลส(ธรรมเครื่องเศร้าหมอง)แห่งจิต’
แล้ว จึงละวิจิกิจฉาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้๑
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘อมนสิการเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละอมนสิการอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ถีนมิทธะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละถีนมิทธะอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความสะดุ้งกลัวเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความสะดุ้ง
กลัวอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความปลาบปลื้มใจเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความ
ปลาบปลื้มใจอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความชั่วหยาบเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความชั่วหยาบ
อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ
ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความเพียรที่หย่อนเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ
ความเพียรที่หย่อนเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ตัณหาที่คอยกระซิบเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละตัณหา
ที่คอยกระซิบอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘นานัตตสัญญาเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละนานัตตสัญญา
อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ลักษณะที่เพ่งรูปมากเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ
ลักษณะที่เพ่งรูปมากเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
[๒๔๓] อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ เพราะเรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มี
ความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ จึงจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป เพราะเราเห็นรูป
แต่จำแสงสว่างไม่ได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดกลางคืนและ
กลางวันบ้าง เรานั้นจึงคิดว่า ‘อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เราจำแสงสว่างได้
แต่ไม่เห็นรูป เห็นรูปได้ แต่จำแสงสว่างไม่ได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวัน
บ้าง ตลอดกลางคืนและกลางวันบ้าง’ เรานั้นคิดว่า ‘สมัยใด เราไม่ใส่ใจนิมิตคือรูป
ใส่ใจแต่นิมิตคือแสงสว่าง สมัยนั้น เราย่อมจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป แต่สมัยใด
เราไม่ใส่ใจนิมิตคือแสงสว่าง ใส่ใจแต่นิมิตคือรูป สมัยนั้น เราย่อมเห็นรูป แต่จำ
แสงสว่างไม่ได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดกลางคืนและ
กลางวันบ้าง’
เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ จึงจำแสงสว่างได้
เพียงนิดหน่อยเท่านั้น และเห็นรูปได้เพียงนิดหน่อย จำแสงสว่างอันหาประมาณมิได้
และเห็นรูปอันหาประมาณมิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอด
กลางคืนและกลางวันบ้าง เราจึงคิดว่า ‘อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เราจำแสง
สว่างได้เพียงนิดหน่อยเท่านั้น และเห็นรูปได้เพียงนิดหน่อย จำแสงสว่างอันหา
ประมาณมิได้ และเห็นรูปอันหาประมาณมิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวัน
บ้าง ตลอดกลางคืนและกลางวันบ้าง’
เรานั้นได้รู้ว่า ‘ในสมัยใด เรามีสมาธินิดหน่อย สมัยนั้นเรามีจักษุนิดหน่อย
เรานั้นจำแสงสว่างได้เพียงนิดหน่อยเท่านั้น และเห็นรูปได้เพียงนิดหน่อย ด้วย
จักษุเพียงนิดหน่อย แต่สมัยใด เรามีสมาธิอันหาประมาณมิได้ สมัยนั้น เราก็

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร
มีจักษุอันหาประมาณมิได้ เรานั้นจำแสงสว่างอันหาประมาณมิได้ และเห็นรูปอันหา
ประมาณมิได้ด้วยจักษุอันหาประมาณมิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง
ตลอดกลางคืนและกลางวันบ้าง’
[๒๔๔] อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ ในกาลใด เรารู้ชัดดังนี้ว่า ‘วิจิกิจฉา
เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละวิจิกิจฉาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้๑
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘อมนสิการเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละอมนสิการอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ถีนมิทธะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละถีนมิทธะอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความสะดุ้งกลัวเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความสะดุ้ง
กลัวอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความปลาบปลื้มใจเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความ
ปลาบปลื้มใจอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความชั่วหยาบเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความชั่วหยาบ
อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ
ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความเพียรที่หย่อนเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ
ความเพียรที่หย่อนเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ตัณหาที่คอยกระซิบเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละตัณหาที่
คอยกระซิบอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘นานัตตสัญญาเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละนานัตตสัญญา
อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ลักษณะที่เพ่งรูปมากเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ
ลักษณะที่เพ่งรูปมากเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
[๒๔๕] อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ ในกาลนั้น เรานั้นได้รู้ว่า ‘เราละ
อุปกิเลสแห่งจิตเหล่านั้นได้แล้ว เอาเถิด บัดนี้ เราจะเจริญสมาธิทั้ง ๓ ประการ’
เรานั้นจึงได้เจริญสมาธิที่มีวิตกมีวิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตก มีเพียง
วิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิที่มีปีติบ้าง ได้
เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติบ้าง ได้เจริญสมาธิที่สหรคตด้วยความสุขบ้าง ได้เจริญสมาธิ
ที่สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง
อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ ในกาลใด เราเจริญสมาธิที่มีวิตกมีวิจาร
เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เจริญสมาธิที่
มีปีติ เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติ เจริญสมาธิที่สหรคตด้วยสุข เจริญสมาธิที่สหรคต
ด้วยอุเบกขา ในกาลนั้น ญาณทัสสนะได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของเราไม่กำเริบ
ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอนุรุทธะมีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
อุปักกิเลสสูตรที่ ๘ จบ

๙. พาลปัณฑิตสูตร
ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต
[๒๔๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะของคนพาล๑ เครื่องหมายของคนพาล ความ
ประพฤติไม่ขาดสายของคนพาล ๓ ประการนี้
ลักษณะของคนพาล ๓ ประการ อะไรบ้าง
คือ คนพาลในโลกนี้
๑. ชอบคิดแต่เรื่องชั่ว๒
๒. ชอบพูดแต่เรื่องชั่ว๓
๓. ชอบทำแต่กรรมชั่ว๔
ถ้าคนพาลไม่ชอบคิดเรื่องชั่ว ไม่ชอบพูดเรื่องชั่ว ไม่ชอบทำกรรมชั่วเช่นนั้น
บัณฑิตทั้งหลายจะพึงรู้จักเขาด้วยเหตุไรว่า ‘ผู้นี้เป็นคนพาล ไม่ใช่คนดี’ แต่เพราะ
คนพาลชอบคิดแต่เรื่องชั่ว ชอบพูดแต่เรื่องชั่ว และชอบทำแต่กรรมชั่ว ฉะนั้น
บัณฑิตทั้งหลายจึงรู้จักเขาว่า ‘ผู้นี้เป็นคนพาล ไม่ใช่คนดี‘๕
คนพาลนั้นย่อมเสวยทุกขโทมนัส ๓ ประการในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าคนพาลนั่งในสภาก็ดี ในตรอกก็ดี ริมทางสามแพร่งก็ดี
ถ้าชนในที่นั้น พูดถ้อยคำที่สมควรแก่ธรรมนั้นแก่เขา ถ้าคนพาลเป็นผู้ฆ่าสัตว์
เป็นผู้ลักทรัพย์ เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม เป็นผู้พูดเท็จ เป็นผู้เสพของมึนเมาคือ
สุราและเมรัย๖อันเป็นเหตุแห่งความประมาท ในเรื่องนั้น คนพาลจะมีความรู้สึก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร
อย่างนี้ว่า ‘ข้อที่ชนพูดถ้อยคำที่สมควรแก่ธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในเรา
และเราก็ปรากฏในธรรมเหล่านั้น’
ภิกษุทั้งหลาย คนพาลย่อมเสวยทุกขโทมนัสประการที่ ๑ นี้ในปัจจุบัน
[๒๔๗] ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง คนพาลเห็นพระราชารับสั่งให้จับโจร
ผู้ประพฤติผิดมาแล้ว ลงอาญาโดยประการต่าง ๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้
เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและ
เท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบน
ศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์บ้าง เอาไฟยัดปากจนเลือดไหล
เหมือนปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัวราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผาบ้าง พันมือแล้วจุดไฟ
ต่างคบบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้าให้ลุกเดินเหยียบหนังจนล้มลงบ้าง ถลก
หนังตั้งแต่คอถึงบั้นเอว ทำให้มองดูเหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่
ข้อศอกและเข่าแล้วเสียบหลาวทั้ง ๕ ทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยวหนัง เนื้อ
เอ็นออกมาบ้าง เฉือนเนื้อออกเป็นแว่น ๆ เหมือนเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนัง
เนื้อ เอ็น ออกเหลือไว้แต่กระดูกบ้าง ใช้หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง เสียบ
ให้ติดดินแล้วจับเขาหมุนได้รอบบ้าง ทุบกระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือไว้
แต่กองเนื้อเหมือนตั่งใบไม้บ้าง รดตัวด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัด
กินจนเหลือแต่กระดูกบ้าง ให้นอนบนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง
ในขณะที่เห็นนั้น คนพาลมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า ‘เพราะเหตุแห่งกรรมเช่นไร
พระราชาทั้งหลายจึงรับสั่งให้จับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้วลงอาญาโดยประการต่าง ๆ
คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง ก็ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในเรา
และเราก็ปรากฏในธรรมเหล่านั้น ถ้าแม้พระราชาทั้งหลายพึงรู้จักเรา ก็จะรับสั่งให้
จับเราแล้วลงอาญาโดยประการต่าง ๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ให้นอน
บนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง๑
ภิกษุทั้งหลาย คนพาลย่อมเสวยทุกขโทมนัสประการที่ ๒ นี้ในปัจจุบัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร
[๒๔๘] อีกประการหนึ่ง ในสมัยนั้น บาปกรรมที่คนพาลทำ คือ การ
ประพฤติกายทุจริต การประพฤติวจีทุจริต การประพฤติมโนทุจริตไว้ในกาลก่อน
ย่อมหน่วงเหนี่ยวบดบัง ครอบงำคนพาลผู้อยู่บนตั่ง บนเตียง หรือนอนบนพื้น
เปรียบเหมือนเงาของยอดภูเขาใหญ่ ย่อมกั้น บดบัง ครอบคลุมแผ่นดินใหญ่
ในเวลาเย็น แม้ฉันใด ในสมัยนั้น บาปกรรมที่คนพาลทำ คือ การประพฤติกายทุจริต
การประพฤติวจีทุจริต การประพฤติมโนทุจริตไว้ในกาลก่อน ย่อมหน่วงเหนี่ยวบดบัง
ครอบงำคนพาลผู้อยู่บนตั่ง บนเตียง หรือนอนบนพื้น ฉันนั้นเหมือนกัน
ในเรื่องนั้น คนพาลมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เรายังไม่ได้ทำความดีไว้หนอ ยัง
ไม่ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้ทำที่ป้องกันสิ่งน่ากลัวไว้ ทำแต่ความชั่ว ทำแต่กรรม
หยาบช้า ทำแต่กรรมเศร้าหมอง เราตายแล้ว จะไปสู่คติของผู้ไม่ได้ทำความดีไว้
ไม่ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้ทำที่ป้องกันสิ่งน่ากลัวไว้ ทำแต่ความชั่ว ทำแต่กรรมหยาบช้า
ทำแต่กรรมเศร้าหมองนั้น’ เขาย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ
ถึงความหลงไหล
ภิกษุทั้งหลาย คนพาลย่อมเสวยทุกขโทมนัสประการที่ ๓ นี้ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นยังประพฤติกายทุจริต ประพฤติวจีทุจริต
ประพฤติมโนทุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงนรกนั้นนั่นแหละว่า ‘เป็นสถานที่ไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ โดยส่วนเดียว’ ทุกข์นี้กับทุกข์ในนรกเปรียบเทียบกันไม่ได้”
[๒๔๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์จะทรงอุปมาได้อีกหรือไม่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ได้ ภิกษุ” แล้วตรัสว่า “เปรียบเหมือนราชบุรุษ
ทั้งหลายจับโจรผู้ประพฤติผิดได้แล้ว จึงแสดงแก่พระราชาว่า ‘ขอเดชะ ผู้นี้เป็นโจร
ประพฤติผิดต่อพระองค์ ขอพระองค์จงทรงลงพระอาญาตามที่ทรงพระราชประสงค์
แก่โจรผู้นี้เถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร
พระราชามีพระกระแสรับสั่งว่า ‘ท่านทั้งหลายจงไปช่วยกันประหารบุรุษนี้ด้วย
หอก ๑๐๐ เล่มในเวลาเช้า’ ราชบุรุษทั้งหลายก็ช่วยกันประหารบุรุษคนนั้นด้วย
หอก ๑๐๐ เล่มในเวลาเช้า
ต่อมาในเวลาเที่ยงวัน พระราชาทรงซักถามราชบุรุษทั้งหลายว่า ‘ท่านทั้งหลาย
บุรุษนั้นเป็นอย่างไรบ้าง’
ราชบุรุษทั้งหลายกราบทูลว่า ‘เขายังมีชีวิตอยู่ พระเจ้าข้า’
พระราชาจึงมีพระกระแสรับสั่งว่า ‘ท่านทั้งหลายจงไปช่วยกันประหารบุรุษคน
นั้นด้วยหอก ๑๐๐ เล่มในเวลาเที่ยงวัน’ ราชบุรุษทั้งหลายก็ช่วยกันประหารบุรุษ
คนนั้นด้วยหอก ๑๐๐ เล่มในเวลาเที่ยงวัน
ต่อมาในเวลาเย็น พระราชาทรงซักถามราชบุรุษทั้งหลายอีกว่า ‘ท่านทั้งหลาย
บุรุษคนนั้นเป็นอย่างไรบ้าง’
‘เขายังมีชีวิตอยู่ พระเจ้าข้า’
‘ท่านทั้งหลายจงไปช่วยกันประหารบุรุษคนนั้นด้วยหอก ๑๐๐ เล่มในเวลาเย็น’
ราชบุรุษทั้งหลายจึงช่วยกันประหารบุรุษคนนั้นด้วยหอก ๑๐๐ เล่มในเวลาเย็น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ บุรุษนั้นถูกประหารด้วยหอก ๓๐๐ เล่ม พึงเสวยทุกขโทมนัสเพราะ
การประหารนั้นเป็นเหตุบ้างไหม”
“บุรุษนั้นแม้ถูกประหารด้วยหอก ๑ เล่ม ยังได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมี
การประหารนั้นเป็นเหตุ ไม่จำต้องกล่าวถึงการที่บุรุษนั้นถูกประหารด้วยหอกตั้ง
๓๐๐ เล่ม พระพุทธเจ้าข้า”
[๒๕๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหยิบก้อนหินขนาดย่อม ๆ เท่าฝ่ามือ
ขึ้นมา แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ก้อนหินขนาด
ย่อม ๆ เท่าฝ่ามือที่เราถืออยู่นี้กับขุนเขาหิมพานต์ อย่างไหนใหญ่กว่ากัน”
“ก้อนหินขนาดย่อม ๆ เท่าฝ่าพระหัตถ์ที่พระองค์ทรงถืออยู่นี้ มีประมาณ
น้อยนัก เปรียบเทียบกับขุนเขาหิมพานต์แล้ว ไม่ถึงแม้การนับ ไม่ถึงแม้ส่วนแห่ง
เสี้ยว ไม่ถึงแม้การเทียบกันได้ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ทุกขโทมนัสเพราะการประหารนั้นเป็นเหตุ
ที่บุรุษถูกประหารด้วยหอก ๓๐๐ เล่ม เสวยอยู่นั้น เปรียบเทียบกับทุกข์แห่ง
นรกแล้ว ไม่ถึงแม้การนับ ไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ไม่ถึงแม้การเทียบกันได้
นายนิรยบาลทั้งหลายทำกรรมกรณ์ชื่อเครื่องพันธนาการ ๕ อย่าง คือ
ตอกตะปูเหล็กร้อนแดงที่มือ ๒ ข้าง ที่เท้า ๒ ข้าง และที่กลางอก คนพาลนั้น
เสวยทุกขเวทนากล้า อย่างหนัก เผ็ดร้อน ในที่นั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่
บาปกรรมยังไม่สิ้นไป
นายนิรยบาลฉุดลากเขาไป เอาขวานถาก คนพาลนั้นเสวยทุกขเวทนากล้า
ฯลฯ ตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาลจับเขาเอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง
เอามีดเฉือน คนพาลนั้นเสวยทุกขเวทนากล้า ฯลฯ ตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป
นายนิรยบาลจับเขาเทียมรถแล่นกลับไปกลับมาบนพื้นอันร้อนลุกเป็นเปลวโชติช่วง
คนพาลนั้นเสวยทุกขเวทนากล้า อย่างหนัก เผ็ดร้อน ในที่นั้น ฯลฯ ตราบเท่าที่
บาปกรรมยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาลบังคับเขาให้ขึ้นลงภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ที่ไฟ
ลุกโชนโชติช่วง คนพาลนั้นเสวยทุกขเวทนากล้า อย่างหนัก เผ็ดร้อนอยู่ บนภูเขา
ถ่านเพลิงนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาลจับเขา
เอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง ทุ่มลงในโลหกุมภี(หม้อทองแดง) อันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟ
คนพาลนั้นถูกต้มเดือดจนตัวพองในโลหกุมภีนั้น เขาเมื่อถูกต้มเดือดจนตัวพองใน
โลหกุมภีนั้น บางครั้งลอยขึ้น บางครั้งจมลง บางครั้งลอยขวาง เขาเสวยทุกขเวทนา
กล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน อยู่ในโลหกุมภีอันร้อนแดงนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่
บาปกรรมยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาลจึงทุ่มเขาลงในมหานรก
ก็มหานรกนั้น
มี ๔ มุม ๔ ประตู แบ่งออกเป็นส่วน
มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็ก
มหานรกนั้น มีพื้นเป็นเหล็ก ลุกโชนโชติช่วง
แผ่ไปไกลด้านละ ๑๐๐ โยชน์ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ๑
ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์นี้กับทุกข์ในนรกเปรียบเทียบกันด้วยการบอกไม่ได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร
[๒๕๑] ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ดิรัจฉานจำพวกมีหญ้าเป็นอาหารมีอยู่ สัตว์
ดิรัจฉานเหล่านั้นใช้ฟันเล็มหญ้าสดบ้าง หญ้าแห้งบ้าง
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกมีหญ้าเป็นอาหาร พวกไหนบ้าง
คือ ช้าง ม้า โค ลา แพะ มฤค หรือสัตว์ดิรัจฉานจำพวกอื่นบางพวกที่มี
หญ้าเป็นอาหาร
ในเบื้องต้น คนพาลในโลกนี้นั่น ติดใจในรส ทำบาปกรรมไว้ในโลกนี้ หลัง
จากตายแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับสัตว์จำพวกที่มีหญ้าเป็นอาหารเหล่านั้น
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกมีคูถเป็นอาหารมีอยู่ สัตว์ดิรัจฉานเหล่านั้นได้กลิ่นคูถแต่
ที่ไกลแล้ว ย่อมวิ่งไปด้วยหวังว่า ‘จักกินตรงนี้ จักกินตรงนี้’
เปรียบเหมือนพราหมณ์เดินไปตามกลิ่นเครื่องบูชาด้วยหมายใจว่า ‘จักกิน
ตรงนี้ จักกินตรงนี้’ แม้ฉันใด สัตว์ดิรัจฉานจำพวกมีคูถเป็นอาหารเหล่านั้น ฉัน
นั้นเหมือนกัน ได้กลิ่นคูถแต่ที่ไกลแล้ว ย่อมวิ่งไปด้วยหวังว่า ‘จักกินตรงนี้ จักกิน
ตรงนี้’
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกมีคูถเป็นอาหาร พวกไหนบ้าง
คือ ไก่ สุกร สุนัขบ้าน สุนัขป่า หรือสัตว์ดิรัจฉานจำพวกอื่นบางพวกที่มีคูถ
เป็นอาหาร
ในเบื้องต้น คนพาลในโลกนี้นั่น ติดใจในรส ทำบาปกรรมไว้ในโลกนี้ หลัง
จากตายแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับสัตว์จำพวกที่มีคูถเป็นอาหารเหล่านั้น
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในที่มืด แก่ในที่มืด ตายในที่มืด มีอยู่
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในที่มืด แก่ในที่มืด ตายในที่มืด พวกไหนบ้าง
คือ แมลง มอด ไส้เดือน หรือสัตว์ดิรัจฉานจำพวกอื่นบางพวกที่เกิดในที่มืด
แก่ในที่มืด ตายในที่มืด
ในเบื้องต้น คนพาลในโลกนี้นั่น ติดใจในรส ทำบาปกรรมไว้ในโลกนี้ หลัง
จากตายแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับสัตว์จำพวกที่เกิดในที่มืด แก่ในที่มืด
ตายในที่มืดเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในน้ำ แก่ในน้ำ ตายในน้ำ มีอยู่
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในน้ำ แก่ในน้ำ ตายในน้ำ พวกไหนบ้าง
คือ ปลา เต่า จระเข้ หรือสัตว์ดิรัจฉานจำพวกอื่นบางพวกที่เกิดในน้ำ แก่ในน้ำ
ตายในน้ำ
ในเบื้องต้น คนพาลในโลกนี้นั่น ติดใจในรส ทำบาปกรรมไว้ในโลกนี้ หลัง
จากตายแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับสัตว์จำพวกที่เกิดในน้ำ แก่ในน้ำ
ตายในน้ำเหล่านั้น
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในที่โสโครก แก่ในที่โสโครก ตายในที่โสโครก มีอยู่
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในที่โสโครก แก่ในที่โสโครก ตายในที่โสโครก
พวกไหนบ้าง
คือ สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในปลาเน่า แก่ในปลาเน่า หรือตายในปลาเน่า
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในศพเน่า ... สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในขนมกุมมาสที่
บูด ... สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในน้ำครำ ... สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในหลุม
โสโครก ... สัตว์ดิรัจฉานจำพวกอื่นที่เกิดในที่โสโครก แก่ในที่โสโครก ตายในที่
โสโครก
ในเบื้องต้น คนพาลในโลกนี้นั่น ติดใจในรส ทำบาปกรรมไว้ในโลกนี้ หลัง
จากตายแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับสัตว์จำพวกที่เกิดในที่โสโครก แก่ในที่
โสโครก ตายในที่โสโครกเหล่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์นี้กับทุกข์ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเปรียบเทียบกันด้วยการ
บอกไม่ได้
[๒๕๒] ภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงโยนแอกที่มีรูเดียวลงไปในมหาสมุทร ลมทาง
ทิศตะวันออกพัดแอกนั้นไปทางทิศตะวันตก ลมทางทิศตะวันตกพัดแอกนั้นไปทาง
ทิศตะวันออก ลมทางทิศเหนือพัดแอกนั้นไปทางทิศใต้ ลมทางทิศใต้พัดแอกนั้นไป
ทางทิศเหนือ ในมหาสมุทรนั้น มีเต่าตาบอดอยู่ตัวหนึ่ง ผ่านไป ๑๐๐ ปี มันจะ
โผล่ขึ้นมาครั้งหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๙๗ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น