Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๔-๖ หน้า ๒๑๒ - ๒๕๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔-๖ สุตตันตปิฎกที่ ๐๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๑๐. สังขารูปปัตติสูตร
[๑๖๙] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา ภิกษุนั้นได้ฟังว่า
‘เทพชั้นอาภา ฯลฯ เทพชั้นปริตตาภา ฯลฯ เทพชั้นอัปปมาณาภา ฯลฯ หรือ
เทพชั้นอาภัสสรามีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขเป็นกำลัง’ ภิกษุนั้นมี
ความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่
ร่วมกับเทพชั้นอาภัสสรา’ เธอตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น สังขารและ
วิหารธรรมเหล่านั้นอันเธอเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นใน
พรหมชั้นอาภัสสรานั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในพรหมชั้น
อาภัสสรานั้น
[๑๗๐] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา ภิกษุนั้นได้ฟังว่า
‘เทพชั้นสุภา ฯลฯ เทพชั้นปริตตสุภา ฯลฯ เทพชั้นอัปปมาณสุภา ฯลฯ หรือ
เทพชั้นสุภกิณหามีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในเทพชั้น
สุภกิณหานั้น
[๑๗๑] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา ภิกษุนั้นได้ฟังว่า
‘เทพชั้นเวหัปผลา ฯลฯ เทพชั้นอวิหา ฯลฯ เทพชั้นอตัปปา ฯลฯ เทพชั้นสุทัสสา
ฯลฯ เทพชั้นสุทัสสี ฯลฯ หรือเทพชั้นอกนิฏฐามีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส
มีความสุขเป็นกำลัง’ ภิกษุนั้นมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจาก
ตายแล้ว เราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพชั้นอกนิฏฐา’ เธอตั้งจิตนั้น
อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น สังขารและวิหารธรรมเหล่านั้นอันเธอเจริญ ทำให้
มากแล้วอย่างนี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในเทพชั้นอกนิฏฐานั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในเทพชั้น
อกนิฏฐานั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๑๐. สังขารูปปัตติสูตร
[๑๗๒] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา ภิกษุนั้นได้ฟังว่า
‘เทพผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภูมิมีอายุยืน ดำรงอยู่นาน มีความสุขมาก’ ภิกษุ
นั้นมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเข้าถึงความเป็น
ผู้อยู่ร่วมกับเทพผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภูมิ’ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในเทพผู้เข้าถึง
อากาสานัญจายตนภูมินั้น
[๑๗๓] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา ภิกษุนั้นได้ฟังว่า
‘เทพผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภูมิมีอายุยืน ดำรงอยู่นาน มีความสุขมาก’ ภิกษุ
นั้นมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเข้าถึงความเป็น
ผู้อยู่ร่วมกับเทพผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภูมิ’ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในเทพผู้เข้าถึง
วิญญาณัญจายตนภูมินั้น
[๑๗๔] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา ภิกษุนั้นได้ฟังว่า
‘เทพผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภูมิ ฯลฯ เทพผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
มีอายุยืน ดำรงอยู่นาน มีความสุขมาก’ ภิกษุนั้นมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพผู้เข้าถึง
เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ’ เธอตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น
สังขารและวิหารธรรมเหล่านั้นอันเธอเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เป็นไปเพื่อ
ความเกิดขึ้นในเทพผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภูมินั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในเทพผู้เข้าถึง
เนวสัญญานาสัญญายตนภูมินั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค
[๑๗๕] ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา
ประกอบด้วยศีล ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา
ภิกษุนั้นมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เพราะอาสวะสิ้นไป เราพึงทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
เพราะอาสวะสิ้นไป ภิกษุนั้นจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ย่อมไม่เกิดในภพไหน ๆ อีก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
สังขารูปปัตติสูตรที่ ๑๐ จบ
อนุปทวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนุปทสูตร ๒. ฉวิโสธนสูตร
๓. สัปปุริสสูตร ๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
๕. พหุธาตุกสูตร ๖. อิสิคิลิสูตร
๗. มหาจัตตารีสกสูตร ๘. อานาปานัสสติสูตร
๙. กายคตาสติสูตร ๑๐. สังขารูปปัตติสูตร
เกิดขึ้นในวันเพ็ญ ๒ วันเพ็ญ
คราวที่ดวงจันทร์บริสุทธิ์ปราศจากมลทิน
พระผู้มีพระภาคทรงปรารภเป็นธรรมอันมิใช่กิจของพระองค์
รวมกันขึ้นเป็นวรรคอันสำคัญชื่อว่าอนุปทวรรคที่ ๒
มีพระธรรมเทศนาอันประเสริฐที่ชนเป็นอันมากเสพแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑. จูฬสุญญตสูตร

๓. สุญญตวรรค
หมวดว่าด้วยสุญญตา
๑. จูฬสุญญตสูตร
ว่าด้วยสุญญตา สูตรเล็ก
[๑๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมาตา ใน
บุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเย็น ท่านพระอานนท์ออกจากที่หลีกเร้น
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร๑ ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิคมของ
เจ้าศากยะชื่อนครกะ แคว้นสักกะ ณ ที่นั้น ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ‘อานนท์ ปัจจุบันนี้ เราอยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรม๒
โดยมาก ข้อนี้ข้าพระองค์ได้สดับมาดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้
ดีแล้วหรือ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถูกต้อง อานนท์ ข้อนั้นเธอสดับมาดีแล้ว รับมาดี
แล้ว ใส่ใจไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้ เราอยู่ด้วยสุญญตา-
วิหารธรรมโดยมาก เปรียบเหมือนปราสาทของมิคารมาตาหลังนี้ ว่างจากช้าง โค
ม้า และลา ว่างจากทองและเงิน ว่างจากการชุมนุมของสตรีและบุรุษ ไม่ว่างอยู่
อย่างเดียวคือภิกษุสงฆ์เท่านั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ใส่ใจความ
สำคัญว่าบ้าน ไม่ใส่ใจความสำคัญว่ามนุษย์ ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะความสำคัญว่าป่า
จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปในความสำคัญว่าป่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑. จูฬสุญญตสูตร
ภิกษุนั้น รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในความสำคัญว่าป่านี้ ไม่มีความกระวนกระวาย
เพราะอาศัยความสำคัญว่าบ้าน ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญ
ว่ามนุษย์ มีอยู่เพียงความกระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าป่าอย่างเดียว’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าบ้าน’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่ามนุษย์’
รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าป่าเท่านั้น’ ด้วยอาการอย่างนี้
เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในความสำคัญนั้น
รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’
อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตา(ความว่าง)ตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน
บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้
[๑๗๗] อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่ามนุษย์ ไม่ใส่ใจความ
สำคัญว่าป่า ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าแผ่นดินเท่านั้น จิตของเธอ
จึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปในความสำคัญว่าแผ่นดิน เปรียบเหมือน
หนังโคที่เขาขึงดีแล้วด้วยหลักตั้งร้อย เป็นของปราศจากรอยย่น แม้ฉันใด ภิกษุก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ใส่ใจถึงความลุ่ม ๆ ดอน ๆ แห่งแผ่นดินนี้ซึ่งมีแม่น้ำลำธาร
เต็มไปด้วยตอหนาม มีภูเขาและพื้นที่ไม่สม่ำเสมอทั้งหมด ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ
ความสำคัญว่าแผ่นดินเท่านั้น จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไป
ในความสำคัญว่าแผ่นดิน
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในความสำคัญว่าแผ่นดินนี้ ไม่มีความกระวนกระวาย
เพราะอาศัยความสำคัญว่ามนุษย์ ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัยความ
สำคัญว่าป่า มีอยู่เพียงความกระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าแผ่นดิน
อย่างเดียว’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่ามนุษย์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑. จูฬสุญญตสูตร
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าป่า’
รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าแผ่นดินเท่านั้น’ ด้วย
อาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในความสำคัญนั้น
รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’
อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์
ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้
[๑๗๘] อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าป่า ไม่ใส่ใจความสำคัญ
ว่าแผ่นดิน ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะเท่านั้น จิต
ของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปในความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะนี้ ไม่มีความ
กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าป่า ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัย
ความสำคัญว่าแผ่นดิน มีอยู่เพียงความกระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่า
อากาสานัญจายตนะอย่างเดียว’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าป่า’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าแผ่นดินเท่านั้น’
รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะเท่านั้น’
ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในความสำคัญ
นั้น
รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’
อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์
ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้
[๑๗๙] อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าแผ่นดิน ไม่ใส่ใจ
ความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่า
วิญญาณัญจายตนะเท่านั้น จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปใน
ความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑. จูฬสุญญตสูตร
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะนี้ ไม่มีความ
กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าแผ่นดิน ไม่มีความกระวนกระวายเพราะ
อาศัยความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ มีอยู่เพียงความกระวนกระวายเพราะ
อาศัยความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะอย่างเดียว’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าแผ่นดิน’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ’
รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะเท่านั้น’
ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในความสำคัญ
นั้น
รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’
อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์
ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้
[๑๘๐] อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ
ไม่ใส่ใจความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่า
อากิญจัญญายตนะเท่านั้น จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปใน
ความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะนี้ ไม่มีความ
กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ ไม่มีความ
กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ มีอยู่เพียงความ
กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะอย่างเดียว’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ’
รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะเท่านั้น’
ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในความสำคัญ
นั้น
รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑. จูฬสุญญตสูตร
อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์
ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้
[๑๘๑] อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ ไม่
ใส่ใจความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่า
เนวสัญญานาสัญญายตนะเท่านั้น จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และ
น้อมไปในความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ ไม่มี
ความกระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ ไม่มีความ
กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ มีอยู่เพียงความ
กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะอย่างเดียว’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ’
รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ
เท่านั้น’ ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ใน
ความสำคัญนั้น
รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’
อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์
ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้
[๑๘๒] อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ ไม่
ใส่ใจความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ เจโตสมาธิ
อันไม่มีนิมิต๑เท่านั้น จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปใน
เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑. จูฬสุญญตสูตร
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในเจโตสมาธินี้ ไม่มีความกระวนกระวายเพราะ
อาศัยความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัย
ความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ มีอยู่เพียงความกระวนกระวาย คือ
ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ ที่อาศัยกายนี้เท่านั้น เพราะมีชีวิตเป็นปัจจัย’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ’
รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ ที่อาศัยกายนี้
เท่านั้น เหตุมีชีวิตเป็นปัจจัย’ ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้น
ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้น
รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’
อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์
ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้
[๑๘๓] อานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าอากิญจัญญา-
ยตนะ ไม่ใส่ใจความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ
เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตเท่านั้น จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปใน
เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตนี้ ยังถูกปัจจัยปรุงแต่งจูงใจได้
แต่สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งจูงใจได้นั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ เมื่อภิกษุ
นั้นรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตจึงหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในญาณนี้ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัย
กามาสวะ ในญาณนี้ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัยภวาสวะ ในญาณนี้ไม่มี
ความกระวนกระวายเพราะอาศัยอวิชชาสวะ มีอยู่เพียงความกระวนกระวาย คือ
ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ ที่อาศัยกายนี้เท่านั้น เพราะมีชีวิตเป็นปัจจัย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑. จูฬสุญญตสูตร
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากกามาสวะ’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากภวาสวะ’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากอวิชชาสวะ’
รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ ที่อาศัยกายนี้
เท่านั้น เพราะมีชีวิตเป็นปัจจัย’ ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่าง
นั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้น
รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’
อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์
ยอดเยี่ยมอย่างยิ่งของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้
[๑๘๔] อานนท์ ในอดีต สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เข้าถึง
สุญญตา๑อันบริสุทธิ๒ยอดเยี่ยมอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดก็ได้เข้าถึง
สุญญตาอันบริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้นอยู่
ในอนาคต สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งจักเข้าถึงสุญญตาอัน
บริสุทธิ์ยอดเยี่ยมอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดก็จักเข้าถึงสุญญตาอัน
บริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้นอยู่
ในปัจจุบัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมเข้าถึงสุญญตาอัน
บริสุทธิ์ยอดเยี่ยมอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมเข้าถึงสุญญตาอัน
บริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้นอยู่
อานนท์ เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราจักเข้าถึงสุญญตา
อันบริสุทธิ์ยอดเยี่ยมอยู่”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
จูฬสุญญตสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๒. มหาสุญญตสูตร

๒. มหาสุญญตสูตร
ว่าด้วยสุญญตา สูตรใหญ่
[๑๘๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงเที่ยวบิณฑบาตในกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว
เสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว จึงเสด็จเข้าไปยัง
วิหารของเจ้ากาฬเขมกศากยะ เพื่อทรงพักผ่อนในเวลากลางวัน สมัยนั้น ในวิหาร
ของเจ้ากาฬเขมกศากยะ มีเสนาสนะที่เขาจัดไว้เป็นอันมาก พระผู้มีพระภาคทอด
พระเนตรเห็นเสนาสนะที่เขาจัดไว้เป็นอันมากแล้ว มีพระดำริอย่างนี้ว่า “ในวิหาร
ของเจ้ากาฬเขมกศากยะ เขาจัดเสนาสนะไว้เป็นอันมาก ในที่นี้มีภิกษุอยู่จำนวน
มากหรือหนอ”
[๑๘๖] สมัยนั้น ท่านพระอานนท์กับภิกษุจำนวนมากกำลังตัดเย็บจีวรอยู่ใน
วิหารของเจ้าฆฏายศากยะ ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น
แล้วเสด็จเข้าไปยังวิหารของเจ้าฆฏายศากยะ ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้
แล้วได้รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ ในวิหารของเจ้ากาฬเขมก
ศากยะ เขาจัดเสนาสนะไว้เป็นอันมาก ที่นั่นมีภิกษุอยู่จำนวนมากหรือ”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในวิหารของเจ้ากาฬ
เขมกศากยะนั่น มีภิกษุอยู่จำนวนมาก สมัยที่เป็นจีวรกาลของข้าพระองค์ทั้งหลาย
ก็กำลังดำเนินไปอยู่ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ภิกษุผู้พอใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ชอบคณะ ยินดีคณะ บันเทิงอยู่
ในคณะ ไม่งามเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๒. มหาสุญญตสูตร
เป็นไปไม่ได้๑ที่ภิกษุผู้พอใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่
คณะ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ชอบคณะ ยินดีคณะ
บันเทิงอยู่ในคณะ จักเป็นผู้ได้เนกขัมมสุข๒ ปวิเวกสุข๓ อุปสมสุข๔ สัมโพธิสุข๕
ตามปรารถนาได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก
เป็นไปได้๖ที่ภิกษุผู้หลีกออกจากคณะ อยู่ตามลำพังผู้เดียว พึงหวังเนกขัมมสุข
ปวิเวกสุข อุปสมสุข สัมโพธิสุข จักเป็นผู้ได้สุขนั้น ตามปรารถนาได้โดยไม่ยาก
โดยไม่ลำบาก
เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุผู้พอใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ชอบคณะ ยินดีคณะ บันเทิงอยู่
ในคณะ จักบรรลุเจโตวิมุตติ๗ซึ่งเกิดขึ้นตามสมัย๘ อันน่ายินดี หรือโลกุตตรมรรค
ซึ่งมิได้เกิดขึ้นตามสมัย๙ อันไม่กำเริบได้
เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หลีกออกจากคณะ อยู่ตามลำพังผู้เดียว พึงหวังบรรลุ
เจโตวิมุตติ ซึ่งเกิดขึ้นตามสมัย อันน่ายินดี หรือโลกุตตรมรรค ซึ่งมิได้เกิดขึ้น
ตามสมัย อันไม่กำเริบ๑๐

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๒. มหาสุญญตสูตร
อานนท์ เราไม่พิจารณาเห็นรูปอื่นแม้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ไม่เกิดโสกะ
(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความไม่สบายกาย) โทมนัส
(ความไม่สบายใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) เพราะรูปตามที่บุคคลกำหนัด
ยินดีกันแล้วแปรผันและเป็นอย่างอื่นเลย
[๑๘๗] อานนท์ ก็วิหารธรรมนี้แลที่ตถาคตตรัสรู้แล้วในที่นั้นคือ ตถาคต
เข้าสุญญตา๑ในภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่ ถ้าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกเดียรถีย์ เข้ามา
หาตถาคตผู้มีโชค อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ในที่นั้น ตถาคตย่อมมีจิตน้อมไปในวิเวก๒
โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก หลีกออกแล้ว ยินดียิ่งแล้วในเนกขัมมะ เป็นผู้สิ้นสุด
จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง เป็นผู้ทำการเจรจาที่เกี่ยวเนื่อง
ด้วยการชักชวนเท่านั้น ในบริษัทนั้นโดยแท้
อานนท์ เพราะเหตุนั้น ถ้าภิกษุ แม้หวังว่า ‘เราพึงเข้าสุญญตาใน
ภายในอยู่’ ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ในภายใน ทำจิตให้สงบ ทำจิตให้มีธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งจิตให้มั่น
[๑๘๘] ภิกษุตั้งจิตไว้ในภายใน ทำจิตให้สงบ ทำจิตให้มีธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งจิตให้มั่น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ... บรรลุทุติยฌาน ...
บรรลุตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌาน ...
ภิกษุตั้งจิตไว้ในภายใน ทำจิตให้สงบ ทำจิตให้มีธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตให้มั่น
เป็นอย่างนี้
ภิกษุนั้นใส่ใจสุญญตาในภายใน เมื่อเธอใส่ใจสุญญตาในภายใน จิตจึงไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น และไม่น้อมไปในสุญญตาในภายใน เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุ
ย่อมรู้ชัดสุญญตานั้นที่มีอยู่อย่างนี้ว่า ‘เมื่อเราใส่ใจสุญญตาในภายใน จิตจึง
ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น และไม่น้อมไปในสุญญตาในภายใน’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๒. มหาสุญญตสูตร
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในสุญญตาในภายในนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุนั้นใส่ใจสุญญตาในภายนอก ฯลฯ
ภิกษุนั้นใส่ใจสุญญตาในภายในและในภายนอก ฯลฯ
ภิกษุนั้นใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอใส่ใจอาเนญชสมาบัติ๑ จิตจึงไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น และไม่น้อมไปในอาเนญชสมาบัติ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุ
ย่อมรู้ชัดอาเนญชสมาบัตินั้นที่มีอยู่อย่างนี้ว่า ‘เมื่อเราใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตจึง
ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น และไม่น้อมไปในอาเนญชสมาบัติ’
ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสัมปชัญญะ๒ในอาเนญชสมาบัตินั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุนั้นตั้งจิตไว้ในภายใน ทำจิตให้สงบ ทำจิตให้มีธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิต
ให้มั่นในสมาธินิมิตในเบื้องต้นนั้นแล ภิกษุนั้นใส่ใจสุญญตาในภายใน เมื่อเธอใส่
ใจสุญญตาในภายใน จิตจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปในสุญญตาในภายใน
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดสุญญตานั้นที่มีอยู่อย่างนี้ว่า ‘เมื่อเราใส่ใจสุญญตา
ในภายใน จิตจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปในสุญญตาในภายใน’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในสุญญตาในภายในนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุนั้นใส่ใจสุญญตาในภายนอก ฯลฯ
ภิกษุนั้นใส่ใจสุญญตาในภายในและในภายนอก ฯลฯ
ภิกษุนั้นใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตจึงแล่นไป เลื่อมใส
ตั้งมั่น และน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอาเนญช
สมาบัตินั้นที่มีอยู่อย่างนี้ว่า ‘เมื่อเราใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตจึงแล่นไป เลื่อมใส
ตั้งมั่น และน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในอาเนญชสมาบัติ ด้วยอาการอย่างนี้
[๑๘๙] อานนท์ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรม๓อย่างนี้ จิตย่อมน้อมไป
เพื่อการเดินจงกรม ภิกษุนั้นจึงเดินจงกรมด้วยหวังว่า ‘บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา
และโทมนัส จักครอบงำเราผู้เดินจงกรมอยู่อย่างนี้ไม่ได้’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๒. มหาสุญญตสูตร
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะ๑ในการเดินจงกรมนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อการยืน ภิกษุนั้นจึง
ยืนด้วยหวังว่า ‘บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัส จักครอบงำเราผู้ยืนอยู่
แล้วอย่างนี้ไม่ได้’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการยืนนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อการนั่ง ภิกษุนั้นจึง
นั่งด้วยหวังว่า ‘บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัส จักครอบงำเราผู้นั่งอยู่แล้ว
อย่างนี้ไม่ได้’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการนั่งนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อการนอน ภิกษุนั้น
จึงนอนด้วยหวังว่า ‘บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัส จักครอบงำเราผู้นอน
อยู่อย่างนี้ไม่ได้’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการนอนนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อการพูด เธอใส่ใจว่า
‘เราจักไม่พูดเรื่องเห็นปานนี้ คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์
เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน
เรื่องพวงดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม
เรื่องเมือง เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ
เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและ
ความเสื่อม๒ ซึ่งเป็นเรื่องเลวทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของ
พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการพูดนั้น ด้วยอาการอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๒. มหาสุญญตสูตร
ภิกษุนั้นใส่ใจว่า ‘เราจักพูดเรื่องเห็นปานนี้ คือ เรื่องความมักน้อย เรื่อง
ความสันโดษ เรื่องความสงัด เรื่องความไม่คลุกคลีกัน เรื่องการปรารภความเพียร
เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ‘๑ ซึ่งเป็น
เรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นสัปปายะแก่ความเป็นไปแห่งจิต๒ เป็นไปเพื่อความ
เบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการพูดนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อการตรึก ภิกษุนั้น
ใส่ใจว่า ‘เราจักไม่ตรึกในวิตกเห็นปานนี้ คือ กามวิตก(ความตรึกในกาม)
พยาบาทวิตก(ความตรึกในพยาบาท) วิหิงสาวิตก(ความตรึกในการเบียดเบียน)
ซึ่งเป็นวิตกเลวทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่
ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการตรึกนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุนั้นใส่ใจว่า ‘เราจักตรึกในวิตกเห็นปานนี้ คือ เนกขัมมวิตก(ความตรึก
ที่จะออกจากกาม) อพยาบาทวิตก(ความตรึกในการไม่พยาบาท) อวิหิงสาวิตก
(ความตรึกในการไม่เบียดเบียน) ซึ่งเป็นวิตกของพระอริยะ เป็นเครื่องนำออก ที่
นำออกเพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบแก่บุคคลผู้ทำตาม’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการตรึกนั้น ด้วยอาการอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๒. มหาสุญญตสูตร
[๑๙๐] อานนท์ กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
อานนท์ กามคุณ ๕ ประการนี้
ภิกษุพึงพิจารณาจิตของตนเนือง ๆ ว่า ‘ข้อที่จิตฟุ้งขึ้นในเพราะกามคุณ
๕ นี้ ซึ่งเกิดขึ้นในกามคุณอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือในอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง
มีอยู่แก่เราหรือ’ หากภิกษุพิจารณาอยู่ รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ข้อที่จิตฟุ้งขึ้นในกามคุณ
๕ นี้ซึ่งเกิดขึ้นในกามคุณอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือในอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง มี
อยู่แก่เรา’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดข้อที่จิตฟุ้งขึ้นนั้น อย่างนี้ว่า ‘ฉันทราคะ๑
ในกามคุณ ๕ นี้ เรายังละไม่ได้’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะ๒ในฉันทราคะในกามคุณ ๕ นี้ ที่ยังละ
ไม่ได้นั้น ด้วยอาการอย่างนี้
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ข้อที่จิตฟุ้งขึ้นในเพราะกามคุณ
๕ นี้ซึ่งเกิดขึ้นในกามคุณอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือในอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่งไม่มี
แก่เราเลย’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ข้อที่จิตฟุ้งขึ้นนั้น อย่างนี้ว่า ‘ฉันทราคะ
ในกามคุณ ๕ นี้ เราละได้แล้ว’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๒. มหาสุญญตสูตร
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในฉันทราคะในกามคุณ ๕ นี้ ที่ละได้แล้วนั้น
ด้วยอาการอย่างนี้
[๑๙๑] อานนท์ อุปาทานขันธ์ ๕ นี้ เป็นธรรมที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็น
ทั้งความเกิดและความดับว่า ‘อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดแห่งรูป อย่างนี้ความ
ดับแห่งรูป
อย่างนี้เวทนา ฯลฯ
อย่างนี้สัญญา ฯลฯ
อย่างนี้สังขาร ฯลฯ
อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่ง
วิญญาณ’๑
ภิกษุนั้นผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้อยู่
ย่อมละอัสมิมานะ๒ในอุปาทานขันธ์ ๕ ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัด
อัสมิมานะที่ละได้แล้วนั้น อย่างนี้ว่า ‘อัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ เราละได้
แล้ว’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ ที่ละได้
แล้วนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
ธรรมเหล่านี้๓ เนื่องมาจากกุศลโดยส่วนเดียว ไกลจากข้าศึก เป็นโลกุตตระ
อันมารผู้มีบาปหยั่งลงไม่ได้
อานนท์ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ สาวกพิจารณาเห็นอำนาจ
ประโยชน์อะไร จึงควรติดตามศาสดาอย่างใกล้ชิด”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๒. มหาสุญญตสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาค
เป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบาย
เนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังจากพระผู้มีพระภาค
แล้วจักทรงจำไว้”
[๑๙๒] “อานนท์ สาวกไม่ควรติดตามศาสดาเพียงเพื่อฟังสุตะ เคยยะ และ
เวยยากรณะ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะธรรมทั้งหลายอันเธอทั้งหลายสดับ ทรงจำ คล่องปาก เพ่งพินิจ
ด้วยจิต รู้แจ้งแทงตลอดดีแล้ว สิ้นกาลช้านาน แต่สาวกก็ควรติดตามศาสดา
อย่างใกล้ชิด เพื่อฟังเรื่องเห็นปานนี้ คือ เรื่องความมักน้อย เรื่องความสันโดษ
เรื่องความสงัด เรื่องความไม่คลุกคลีกัน เรื่องการปรารภความเพียร เรื่องศีล
เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลา
กิเลสอย่างยิ่ง เป็นสัปปายะแก่ความเป็นไปแห่งจิต เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดย
ส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และ
เพื่อนิพพาน
อานนท์ เมื่อเป็นเช่นนั้น อุปัทวะของอาจารย์จึงมีได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น
อุปัทวะของศิษย์จึงมีได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์จึงมีได้
[๑๙๓] อุปัทวะของอาจารย์ เป็นอย่างไร
คือ ศาสดา๑บางคนในโลกนี้ พักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้
ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อศาสดานั้นหลีกออก
อยู่อย่างนั้น พราหมณ์และคหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา
เมื่อพราหมณ์และคหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว ศาสดานั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๒. มหาสุญญตสูตร
ย่อมยินดีความหมกมุ่น ถึงความอยากได้ จะเวียนกลับมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก
ศาสดานี้เราเรียกว่าอาจารย์มีอุปัทวะ ด้วยอุปัทวะของอาจารย์ บาปอกุศลธรรม
อันเศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก
เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป ก็ได้ฆ่าศาสดานั้น
อานนท์ อุปัทวะของอาจารย์ เป็นอย่างนี้
[๑๙๔] อุปัทวะของศิษย์ เป็นอย่างไร
คือ สาวกของศาสดานั้น เมื่อเพิ่มพูนความสงัดตามศาสดานั้น จึงพักอยู่
ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง
และลอมฟาง เมื่อสาวกนั้นหลีกออกอยู่อย่างนั้น พราหมณ์และคหบดี ชาวนิคม
และชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา เมื่อพราหมณ์และคหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท
พากันเข้าไปหาแล้ว สาวกนั้นย่อมยินดีความหมกมุ่น ถึงความอยากได้ จะเวียน
กลับมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก สาวกนี้เราเรียกว่าศิษย์มีอุปัทวะ ด้วยอุปัทวะของ
ศิษย์ บาปอกุศลธรรมอันเศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย
มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป ก็ได้ฆ่าสาวกนั้น
อานนท์ อุปัทวะของศิษย์ เป็นอย่างนี้
[๑๙๕] อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นอย่างไร
คือ ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่าง
ยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้
มีพระภาค ตถาคตนั้นย่อมพักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา
ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อตถาคตนั้นหลีกออกอยู่อย่างนั้น
พราหมณ์และคหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา เมื่อพราหมณ์
และคหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว ตถาคตนั้นย่อมไม่ยินดี
ความหมกมุ่น ไม่ถึงความอยากได้ ไม่เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก
ส่วนสาวกของตถาคตผู้ศาสดานั้น เมื่อเพิ่มพูนความสงัดตามตถาคตผู้ศาสดา
พระองค์นั้น ย่อมพักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๒. มหาสุญญตสูตร
ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อสาวกนั้นหลีกออกอยู่อย่างนั้น
พราหมณ์และคหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท ย่อมพากันเข้าไปหา เมื่อพราหมณ์
และคหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว สาวกนั้นย่อมยินดี
ความหมกมุ่น ถึงความอยากได้ จะกลับเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก สาวกนี้
เราเรียกว่าผู้ประพฤติพรหมจรรย์มีอุปัทวะ ด้วยอุปทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์
บาปอกศุลธรรมอันเศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย
มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติชราและมรณะต่อไป ก็ได้ฆ่าสาวกนั้น
อานนท์ อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นอย่างนี้
อานนท์ บรรดาอุปัทวะทั้ง ๓ ประการนั้น อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์นี้
มีวิบากเป็นทุกข์ มีวิบากเผ็ดร้อนกว่าอุปัทวะของอาจารย์และอุปัทวะของศิษย์ เป็น
ไปเพื่อความตกต่ำ
[๑๙๖] อานนท์ เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงประพฤติต่อเราด้วยวัตรของ
มิตรเถิด อย่าประพฤติต่อเราด้วยวัตรของศัตรูเลย ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์
เกื้อกูลและเพื่อความสุขแก่เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน
สาวกทั้งหลายย่อมประพฤติต่อศาสดาด้วยวัตรของศัตรู ไม่ประพฤติด้วย
วัตรของมิตร เป็นอย่างไร
คือ ศาสดาในธรรมวินัยนี้เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์ อาศัยความ
เอ็นดู จึงแสดงธรรมสอนสาวกทั้งหลายว่า ‘เรื่องนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและ
เพื่อความสุขแก่เธอทั้งหลาย’ สาวกของศาสดานั้นกลับไม่ตั้งใจฟัง ไม่ตั้งใจเพื่อจะรู้
และยังหลีกเลี่ยงที่จะประพฤติตามคำสั่งสอน๑
สาวกทั้งหลายย่อมประพฤติต่อศาสดาด้วยวัตรของศัตรู ไม่ประพฤติด้วยวัตร
ของมิตร เป็นอย่างนี้
สาวกทั้งหลายย่อมประพฤติต่อศาสดาด้วยวัตรของมิตร ไม่ประพฤติด้วย
วัตรของศัตรู เป็นอย่างไร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๓. อัจฉริยพภูตธัมมสูตร
คือ ศาสดาในธรรมวินัยนี้เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์ อาศัยความ
เอ็นดู จึงแสดงธรรมสอนสาวกว่า ‘เรื่องนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและเพื่อ
ความสุขแก่เธอทั้งหลาย’ สาวกของศาสดานั้นก็ตั้งใจฟัง ตั้งใจเพื่อจะรู้ และไม่
หลีกเลี่ยงที่จะประพฤติตามคำสั่งสอน
สาวกทั้งหลายย่อมประพฤติต่อศาสดาด้วยวัตรของมิตร ไม่ประพฤติด้วยวัตร
ของศัตรู เป็นอย่างนี้
อานนท์ เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงเรียกร้องเราเพื่อเป็นมิตรเถิด อย่า
เรียกร้องเราเพื่อเป็นศัตรูเลย ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและเพื่อความสุข
แก่เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน
อานนท์ เราจักไม่ประคับประคองเธอทั้งหลาย เหมือนช่างหม้อประคับ
ประคองภาชนะดินดิบที่ยังดิบอยู่ เราจักกล่าวข่มแล้วข่มอีก จักกล่าวยกย่องแล้ว
ยกย่องอีก บุคคลใดมีแก่นสาร๑ บุคคลนั้นจักดำรงอยู่”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
มหาสุญญตสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร
ว่าด้วยอัจฉริยัพภูตธรรมของพระพุทธองค์
[๑๙๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุจำนวนมากกลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่งประชุมกันในหอฉัน ได้เกิดการสนทนากันขึ้น
ในระหว่างการประชุมว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๓. อัจฉริยพภูตธัมมสูตร
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระตถาคตทรงมี
ฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ทรงระลึกถึงพระพุทธเจ้าในอดีต ผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ตัด
ปปัญจธรรม๑ได้แล้ว ทรงตัดตอแห่งวัฏฏะ๒ ครอบงำวัฏฏะ ล่วงทุกข์ทั้งปวง
ได้แล้ว ทรงทราบว่า ‘พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น มีพระชาติอย่างนี้เพราะ
เหตุนี้บ้าง มีพระนามอย่างนี้เพราะเหตุนี้บ้าง ทรงมีโคตรตระกูลอย่างนี้เพราะเหตุนี้
บ้าง ทรงมีศีลอย่างนี้๓เพราะเหตุนี้บ้าง ทรงมีธรรมอย่างนี้๔เพราะเหตุนี้บ้าง ทรง
มีปัญญาอย่างนี้๕เพราะเหตุนี้บ้าง ทรงมีวิหารธรรมอย่างนี้๖เพราะเหตุนี้บ้าง ทรงมี
วิมุตติอย่างนี๗เพราะเหตุนี้บ้าง”
เมื่อภิกษุเหล่านั้นสนทนากันอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับภิกษุ
เหล่านั้นว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระตาถคตทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ และประกอบด้วยธรรมอันน่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ”
เรื่องนี้แลที่ภิกษุเหล่านั้นสนทนากันค้างไว้
[๑๙๘] ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จไปที่
หอฉัน ประทับนั่งบนพระพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ แล้วได้รับสั่งเรียกภิกษุเหล่านั้นมา
ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เวลานี้เธอทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร
พูดเรื่องอะไรค้างไว้”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๓. อัจฉริยพภูตธัมมสูตร
ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส
ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่ง
ประชุมกันในหอฉัน สนทนากันในระหว่างการประชุมว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระตถาคตทรงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ทรง
ระลึกถึงพระพุทธเจ้าในอดีต ผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ตัดปปัญจธรรมได้แล้ว ทรงตัด
ตอแห่งวัฏฏะ ครอบงำวัฏฏะ ล่วงทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว จักทรงทราบว่า ‘พระผู้มี
พระภาคเหล่านั้น มีพระชาติอย่างนี้เพราะเหตุนี้บ้าง มีพระนามอย่างนี้ ... มี
โคตรตระกูลอย่างนี้ ... ทรงมีศีลอย่างนี้ ... ทรงมีธรรมอย่างนี้ ... ทรงมีปัญญา
อย่างนี้ ... ทรงมีวิหารธรรมอย่างนี้ ... ทรงมีวิมุตติอย่างนี้เพราะเหตุนี้บ้าง’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลายสนทนากันอย่างนี้แล้ว ท่าน
พระอานนท์ได้กล่าวกับข้าพระองค์ทั้งหลายว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคต
ทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ และประกอบด้วยธรรมอันน่าอัศจรรย์จริง
ไม่เคยปรากฏ’ เรื่องนี้แลที่ข้าพระองค์ทั้งหลายสนทนากันค้างไว้ ก็พอดีพระผู้มี
พระภาคเสด็จมาถึง พระพุทธเจ้าข้า”
ธรรมอันน่าอัศจรรย์ ๒๐ ประการ
[๑๙๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า
“อานนท์ เพราะเหตุนั้น เธอจงอธิบายธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของ
ตถาคตให้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้นไปเถิด”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
๑. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
พระโพธิสัตว์๑มีสติสัมปชัญญะ ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต’ แม้
ข้อที่พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตนี้
ข้าพระองค์ก็จำได้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของ
พระผู้มีพระภาค

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๓. อัจฉริยพภูตธัมมสูตร
๒. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ จึงสถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต’
แม้ข้อที่พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะสถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิตนี้
ข้าพระองค์ก็จำได้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของ
พระผู้มีพระภาค
[๒๐๐] ๓. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
พระโพธิสัตว์สถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิตจนตลอดอายุ’ แม้ข้อที่พระ
โพธิสัตว์สถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิตตลอดอายุนี้ ข้าพระองค์ก็จำได้
ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค
๔. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะตลอดตั้งแต่จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตจน
ถึงลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา’ แม้ข้อที่พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ
ตลอดตั้งแต่จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตจนถึงลงสู่พระครรภ์ของพระมารดานี้
ข้าพระองค์ก็จำได้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของ
พระผู้มีพระภาค
[๒๐๑] ๕. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เวลาที่พระโพธิสัตว์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต๑แล้วลงสู่พระครรภ์ของ
พระมารดา แสงสว่างเจิดจ้าหาประมาณมิได้ ปรากฏขึ้นในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เกินกว่าเทวานุภาพของเทวดา
ทั้งหลาย แม้ในช่องว่างระหว่างโลกซึ่งไม่มีอะไรคั่น มีสภาพมืดมิด
หรือที่ที่ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
ส่องแสงไปไม่ถึง ก็มีแสงสว่างเจิดจ้าหาประมาณมิได้ ปรากฏขึ้น
เกินกว่าเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย เพราะแสงสว่างนั้น สัตว์
ทั้งหลายที่เกิดในที่นั้น ๆ จึงรู้จักกันและกันว่า ‘ยังมีสัตว์อื่นเกิดใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๓. อัจฉริยพภูตธัมมสูตร
ที่นี้เหมือนกัน’ และ ๑๐ สหัสสีโลกธาตุ๑นี้ สั่นสะเทือน
เลื่อนลั่น ทั้งแสงสว่างเจิดจ้าหาประมาณมิได้ ก็ปรากฏขึ้นในโลก
เกินกว่าเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย แม้ข้อที่ ฯลฯ นี้ ข้าพระองค์
ก็จำได้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มี
พระภาค
[๒๐๒] ๖. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เวลาที่พระโพธิสัตว์ลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา เทพบุตร ๔ องค์๒
เข้าไปอารักขาพระโพธิสัตว์นั้นประจำทั้ง ๔ ทิศ ด้วยตั้งใจว่า ‘มนุษย์
หรืออมนุษย์ใด ๆ อย่าได้เบียดเบียนพระโพธิสัตว์หรือพระมารดา
ของพระโพธิสัตว์เลย’ แม้ข้อที่ ฯลฯ นี้ ข้าพระองค์ก็จำได้ว่าเป็น
ธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค
[๒๐๓] ๗. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เวลาที่พระโพธิสัตว์ลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา พระมารดา
มีปกติทรงศีล คือ เว้นจากปาณาติบาต(การฆ่าสัตว์) เว้น
จากอทินนาทาน(การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้) เว้นจาก
กาเมสุมิจฉาจาร(การประพฤติผิดในกาม) เว้นจากมุสาวาท(การ
พูดเท็จ) เว้นจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน(การเสพของมึนเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท)’ แม้ข้อที่ ฯลฯ นี้
ข้าพระองค์ก็จำได้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของ
พระผู้มีพระภาค

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๓. อัจฉริยพภูตธัมมสูตร
๘. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เวลาที่พระโพธิสัตว์ลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา พระมารดาของ
พระองค์ไม่ทรงมีความรู้สึกทางกามารมณ์ เป็นผู้ที่บุรุษผู้มีจิต
กำหนัดใด ๆ ไม่สามารถล่วงเกินได้’ แม้ข้อที่ ฯลฯ นี้ ข้าพระ
องค์ก็จำได้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มี
พระภาค
๙. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เวลาที่พระโพธิสัตว์ลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา พระมารดาของ
พระองค์ทรงได้กามคุณ ๕ เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม ได้รับการบำเรอ
อยู่ด้วยกามคุณ ๕’ แม้ข้อที่ ฯลฯ นี้ ข้าพระองค์ก็จำได้ว่าเป็น
ธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค
[๒๐๔] ๑๐. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เวลาที่พระโพธิสัตว์ลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา พระมารดาของ
พระองค์ไม่ทรงมีความเจ็บป่วยใด ๆ ทรงมีความสุข ไม่ลำบาก
พระวรกาย มองเห็นพระโพธิสัตว์อยู่ภายในพระครรภ์ มีอวัยวะ
สมบูรณ์ มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงดงามตามธรรมชาติ มีแปดเหลี่ยม
ที่เจียระไนดีแล้ว สุกใสเป็นประกายได้สัดส่วน มีด้ายสีเขียว
สีเหลือง สีแดง สีขาว หรือสีนวลร้อยอยู่ข้างใน คนตาถึงหยิบ
แก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือแล้วพิจารณารู้ว่า ‘นี้คือ แก้วไพฑูรย์
อันงดงามตามธรรมชาติ มีแปดเหลี่ยม ที่เจียระไนดีแล้ว สุกใส
เป็นประกายได้สัดส่วน มีด้ายสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว
หรือสีนวลร้อยอยู่ข้างใน’ แม้ฉันใด เวลาที่พระโพธิสัตว์ลงสู่
พระครรภ์ของพระมารดา พระมารดาของพระองค์ไม่ทรงมีความ
เจ็บป่วยใด ๆ ทรงมีความสุข ไม่ลำบากพระวรกาย มองเห็น
พระโพธิสัตว์อยู่ภายในพระครรภ์มีอวัยวะสมบูรณ์ มีอินทรีย์
ไม่บกพร่อง ฉันนั้นเหมือนกัน’ แม้ข้อที่ ฯลฯ นี้ ข้าพระองค์ก็จำ
ได้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๓. อัจฉริยพภูตธัมมสูตร
[๒๐๕] ๑๑. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติได้ ๗ วัน พระมารดาของพระองค์สวรรคต
ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต’ แม้ข้อที่ ฯลฯ นี้ ข้าพระองค์ก็จำได้ว่า
เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค
๑๒. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
พระมารดาของพระโพธิสัตว์ไม่ประสูติพระโอรสเหมือนสตรีทั่วไปซึ่ง
จะคลอดลูกหลังจากตั้งครรภ์ได้ ๙ เดือน หรือ ๑๐ เดือน
ส่วนพระมารดาของพระโพธิสัตว์ประสูติพระโอรสเมื่อทรงพระครรภ์
ครบ ๑๐ เดือนเท่านั้น’ แม้ข้อที่ ฯลฯ นี้ ข้าพระองค์ก็จำได้ว่า
เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค
๑๓. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
พระมารดาของพระโพธิสัตว์ไม่ประสูติพระโอรสเหมือนสตรีทั่วไปซึ่ง
จะนั่งคลอดหรือนอนคลอดก็ได้ ส่วนพระมารดาของพระโพธิสัตว์
ประทับยืนประสูติเท่านั้น’ แม้ข้อที่ ฯลฯ นี้ ข้าพระองค์ก็จำได้
ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค
๑๔. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เวลาที่พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา ในตอน
แรกเทพทั้งหลายจะทำพิธีต้อนรับ หลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของ
มนุษย์’ แม้ข้อที่ ฯลฯ นี้ ข้าพระองค์ก็จำได้ว่าเป็นธรรมอันน่า
อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค
[๒๐๖] ๑๕. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เวลาที่พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา ยังไม่ทัน
สัมผัสแผ่นดิน เทพบุตร ๔ องค์ช่วยกันประคองพระโพธิสัตว์
ไปไว้เบื้องพระพักตร์ของพระมารดาแล้วกราบทูลว่า ‘โปรดพอ
พระทัยเถิดพระเทวี พระราชโอรสของพระองค์ที่เสด็จอุบัติขึ้นเป็น
ผู้มีศักดิ์ใหญ่’ แม้ข้อที่ ฯลฯ นี้ ข้าพระองค์ก็จำได้ว่าเป็นธรรม
อันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๓. อัจฉริยพภูตธัมมสูตร
๑๖. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เวลาที่พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา เสด็จ
ออกอย่างบริสุทธิ์แท้ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำเมือก เลือด หรือสิ่ง
ไม่สะอาดใด ๆ จึงเป็นผู้บริสุทธิ์หมดจด
เปรียบเหมือนแก้วมณีที่บุคคลวางไว้ในผ้ากาสิกพัสตร์ ย่อมไม่
ทำให้ผ้ากาสิกพัสตร์แปดเปื้อน ถึงผ้ากาสิกพัสตร์ก็ไม่ทำให้แก้ว
มณีแปดเปื้อน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสิ่งทั้งสองเป็นของบริสุทธิ์หมดจด แม้ฉันใด เวลาที่
พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา ย่อมประสูติ
อย่างบริสุทธิ์แท้ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำเมือก เลือด หรือสิ่งไม่
สะอาดใด ๆ เป็นผู้บริสุทธิ์หมดจด ฉันนั้นเหมือนกัน’ แม้ข้อที่
ฯลฯ นี้ ข้าพระองค์ก็จำได้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคย
ปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค
๑๗. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เวลาที่พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา มีธารน้ำ
ปรากฏในอากาศ ๒ สาย คือ ธารน้ำเย็น และธารน้ำอุ่น
เพื่อชำระล้างพระโพธิสัตว์และพระมารดา’ แม้ข้อที่ ฯลฯ นี้ ข้า
พระองค์ก็จำได้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้
มีพระภาค
[๒๐๗] ๑๘. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติได้ครู่หนึ่ง ประทับยืนอย่างมั่นคงด้วย
พระบาททั้งสองที่เสมอกันบนพื้นปฐพี ทรงผินพระพักตร์ไปทาง
ทิศเหนือ เสด็จดำเนินไป ๗ ก้าว ขณะที่หมู่เทวดากั้นเศวตฉัตร
ตามเสด็จ ทอดพระเนตรไปยังทิศทั้งปวง แล้วทรงเปล่งอาสภิวาจา
(พูดอย่างองอาจ)ว่า ‘เราคือผู้เลิศของโลก เราคือผู้เจริญที่สุดของ
โลก เราคือผู้ประเสริฐที่สุดของโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๓. อัจฉริยพภูตธัมมสูตร
ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป’ แม้ข้อนี้ ฯลฯ ข้าพระองค์ก็จำได้ว่าเป็น
ธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค
๑๙. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เวลาที่พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา แสงสว่าง
เจิดจ้าหาประมาณมิได้ ปรากฏขึ้นในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
เกินกว่าเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย แม้ในช่องว่างระหว่างโลก
ซึ่งไม่มีอะไรคั่น มีสภาพมืดมิด หรือที่ที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ส่องแสงไปไม่ถึง ก็มีแสงสว่างเจิดจ้า
หาประมาณมิได้ ปรากฏขึ้นเกินกว่าเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย
เพราะแสงสว่างนั้น สัตว์ทั้งหลายที่เกิดในที่นั้น ๆ จึงรู้จักกันและ
กันว่า ‘ยังมีสัตว์อื่นเกิดในที่นี้เหมือนกัน’ และ ๑๐ สหัสสีโลกธาตุนี้
สั่นสะเทือน เลื่อนลั่น ทั้งแสงสว่างเจิดจ้าหาประมาณมิได้ ก็
ปรากฏขึ้นในโลก เกินกว่าเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย‘๑ แม้ข้อที่
ฯลฯ นี้ ข้าพระองค์ก็จำได้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคย
ปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค”
[๒๐๘] ๒๐. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้นแล เธอจงจำ
ธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของตถาคตนี้ไว้เถิด ในเรื่องนี้
เวทนาของตถาคตย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึง
ความดับไป สัญญาของตถาคตย่อมปรากฏเกิดขึ้น ... วิตกของ
ตถาคตย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป
อานนท์ เธอจงจำธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของตถาคตนี้ไว้เถิด”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อที่เวทนาของพระ
ผู้มีพระภาคย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป สัญญาของ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]
๔. พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร
พระผู้มีพระภาคย่อมปรากฏเกิดขึ้น ... วิตกของพระผู้มีพระภาคย่อมปรากฏเกิดขึ้น
ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปนี้ ข้าพระองค์ก็จำได้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า”
ท่านพระอานนท์ได้กล่าวคำนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ภิกษุเหล่านั้น
มีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของท่านพระอานนท์ ดังนี้แล
อัจฉริยัพภูตธัมมสูตรที่ ๓ จบ

๔. พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร
ว่าด้วยอัจฉริยธรรมของพระพักกุลเถระ
[๒๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระพักกุละพักอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่ออเจลกัสสปะ ผู้เป็นสหายเก่าของท่าน
พระพักกุละเมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ เข้าไปหาท่านพระพักกุละถึงที่อยู่ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าว
กับท่านพระพักกุละว่า “ท่านพักกุละ ท่านบวชมานานเท่าไรแล้ว”
ท่านพระพักกุละตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ เราบวชมา ๘๐ พรรษาแล้ว”
“ตลอดเวลา ๘๐ พรรษานั้น ท่านเสพเมถุนธรรม๑ มากี่ครั้ง ขอรับ”
“กัสสปะผู้มีอายุ ท่านไม่ควรถามเราอย่างนี้ว่า ‘ตลอดเวลา ๘๐ พรรษานั้น
ท่านเสพเมถุนธรรมมากี่ครั้ง ขอรับ’ แต่ท่านควรถามเราอย่างนี้ว่า ‘ก็ตลอดเวลา
๘๐ พรรษานี้ กามสัญญาเคยเกิดขึ้นกับท่านกี่ครั้ง’
[๒๑๐] ท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอดเวลา ๘๐ พรรษา เราไม่รู้สึก
เลยว่ากามสัญญาเคยเกิดขึ้น”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]
๔. พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร
“ข้อที่ท่านพักกุละไม่รู้สึกเลยว่ามีกามสัญญาเคยเกิดขึ้นตลอดเวลา ๘๐ พรรษานี้
ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ” (๑)
“ท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอดเวลา ๘๐ พรรษา เราไม่รู้สึกเลยว่า
พยาบาทสัญญา ... วิหิงสาสัญญาเคยเกิดขึ้น”
“ข้อที่ท่านพักกุละไม่รู้สึกเลยว่าพยาบาทสัญญา ... วิหิงสาสัญญาเคยเกิด
ขึ้นตลอดเวลา ๘๐ พรรษานี้ ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคย
ปรากฏ ของท่านพักกุละ” (๒-๓)
“ท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอดเวลา ๘๐ พรรษา เราไม่รู้สึกเลยว่า
กามวิตกเคยเกิดขึ้น”
“ข้อที่ท่านพักกุละไม่รู้สึกเลยว่ากามวิตกเคยเกิดขึ้น ตลอดเวลา ๘๐ พรรษานี้
ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ” (๔)
“ท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอดเวลา ๘๐ พรรษา เราไม่รู้สึกเลยว่ามี
พยาบาทวิตก ... วิหิงสาวิตกเคยเกิดขึ้น”
“ข้อที่ท่านพักกุละไม่รู้สึกเลยว่าวิหิงสาวิตกเคยเกิดขึ้น ตลอดเวลา ๘๐ พรรษานี้
ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ” (๕-๖)
[๒๑๑] “ท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอดเวลา ๘๐ พรรษา เราไม่รู้สึก
ยินดีคหบดีจีวรเลย”
“ข้อที่ท่านพักกุละไม่รู้สึกยินดีคหบดีจีวรเลย ตลอดเวลา ๘๐ พรรษานี้
ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ” (๗)
“ท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอดเวลา ๘๐ พรรษา เราไม่รู้จักการใช้มีด
ตัดผ้าเป็นจีวรเลย ...” (๘)
“... เราไม่รู้จักการใช้เข็มเย็บจีวรเลย
... ไม่รู้จักการใช้เครื่องย้อมย้อมจีวรเลย
... ไม่รู้จักการเย็บจีวรที่ไม้สดึงเลย
... ไม่รู้จักการจัดทำจีวรของเพื่อนพรหมจารีเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]
๔. พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร
... ไม่รู้สึกยินดีกับกิจนิมนต์เลย
... ไม่รู้สึกเลยว่าเคยเกิดความคิดอย่างนี้ว่า ‘ขอใคร ๆ พึงนิมนต์เราเถิด’
... ไม่รู้จักการนั่งในละแวกบ้านเลย
... ไม่รู้จักการฉันในละแวกบ้านเลย
... ไม่รู้จักการถือนิมิตแห่งมาตุคามโดยอนุพยัญชนะ๑เลย
... ไม่รู้จักการแสดงธรรมแก่มาตุคามโดยที่สุดแม้คาถาสี่บาทเลย
... ไม่รู้จักการเข้าไปสู่สำนักของภิกษุณีเลย
... ไม่รู้จักการแสดงธรรมแก่ภิกษุณีเลย
... ไม่รู้จักการแสดงธรรมแก่สิกขมานาเลย
... ไม่รู้จักการแสดงธรรมแก่สามเณรีเลย
... ไม่รู้จักการให้บรรพชาเลย
... ไม่รู้จักการให้อุปสมบทเลย
... ไม่รู้จักการให้นิสัยเลย
... ไม่รู้จักการใช้สามเณรเป็นอุปัฏฐากเลย
... ไม่รู้จักการสรงน้ำในเรือนไฟเลย
... ไม่รู้จักการใช้จุรณสรงน้ำเลย
... ไม่รู้จักยินดีการนวดเฟ้นตัวของเพื่อนพรหมจารีเลย
... ไม่รู้จักอาพาธอันเคยเกิดขึ้นแล้วโดยที่สุดแม้ชั่วขณะรีดนมโคเสร็จเลย
... ไม่รู้จักฉันยาโดยที่สุดแม้เท่าชิ้นสมอเลย
... ไม่รู้จักการนั่งพิงพนักพิงเลย
... ไม่รู้จักการนอนเลย”
“ข้อที่ท่านพักกุละไม่รู้จักการนอนตลอดเวลา ๘๐ พรรษานี้ ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่า
เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ” (๙-๓๓)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]
๔. พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร
“ท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอดเวลา ๘๐ พรรษา เราไม่รู้จักการ
จำพรรษาในเสนาสนะใกล้บ้านเลย”
“ข้อที่ท่านพักกุละไม่รู้จักการจำพรรษาในเสนาสนะใกล้บ้านตลอดเวลา ๘๐
พรรษานี้ ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่า เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของท่าน
พักกุละ” (๓๔)
“ท่านผู้มีอายุ เราเป็นผู้มีกิเลส ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้น ๗ วันเท่านั้น
ในวันที่ ๘ ก็ได้บรรลุอรหัตตผล”
“ข้อที่ท่านพักกุละเป็นผู้มีกิเลส ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้น ๗ วันเท่านั้น
ในวันที่ ๘ ก็ได้บรรลุอรหัตตผลนี้ ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่
เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ” (๓๕)
[๒๑๒] “ท่านพักกุละ ขอให้ข้าพเจ้าได้บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัย
นี้เถิด”
อเจลกัสสปะได้บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้แล้ว เมื่อบวชแล้วไม่นาน
หลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ก็
ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
จึงเป็นอันว่า ท่านพระกัสสปะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย
สมัยต่อมา ท่านพระพักกุละถือลูกดาลเข้าไปยังวิหารทุก ๆ หลัง แล้วกล่าว
อย่างนี้ว่า “นิมนต์ท่านผู้มีอายุออกมาเถิด นิมนต์ท่านผู้มีอายุออกมาเถิด วันนี้
จักเป็นวันปรินิพพานของเรา”
ท่านพระกัสสปะกล่าวว่า “ข้อที่ท่านพักกุละถือลูกดาลเข้าไปยังวิหารทุก ๆ หลัง
แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘นิมนต์ท่านผู้มีอายุออกมาเถิด นิมนต์ท่านผู้มีอายุออกมาเถิด
วันนี้จักเป็นวันปรินิพพานของเรา’ เราทั้งหลายจะจำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๕. ทันตภูมิสูตร
ครั้งนั้น ท่านพระพักกุละนั่งปรินิพพานในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ท่านพระกัสสปะ
กล่าวว่า “ข้อที่ท่านพักกุละนั่งปรินิพพานในท่ามกลางภิกษุสงฆ์นี้ เราทั้งหลายจะ
จำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ” ดังนี้แล
พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทันตภูมิสูตร
ว่าด้วยภูมิของผู้ได้รับการฝึกแล้ว
[๒๑๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น สมณุทเทสชื่ออจิรวตะ อยู่ในกระท่อมใกล้ป่า ครั้งนั้น
พระราชกุมารนามว่าชยเสน๑ทรงดำเนินเล่นไปโดยลำดับ เข้าไปหาอจิรวตะ
สมณุทเทสถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน
แล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร
ชยเสนราชกุมารได้รับสั่งกับอจิรวตะ สมณุทเทสว่า “ท่านอัคคิเวสสนะ
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ พึงบรรลุจิตเตกัคคตา(สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว)ได้’ จริงหรือ”
อจิรวตะ สมณุทเทสถวายพระพรว่า “พระราชกุมาร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ พึง
บรรลุจิตเตกัคคตาได้”
“ดีละ ขอท่านอัคคิเวสสนะโปรดแสดงธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้ศึกษา
มาแก่ข้าพเจ้าเถิด”
“พระราชกุมาร อาตมภาพไม่สามารถแสดงธรรมแก่พระองค์ตามที่ได้สดับมา
ตามที่ได้ศึกษามา เพราะถ้าอาตมภาพจะแสดงธรรมแก่พระองค์ตามที่ได้สดับมา
ตามที่ได้ศึกษามา แต่พระองค์ไม่ทรงทราบอรรถแห่งภาษิตของอาตมภาพ ข้อนั้น
จะเป็นความยาก จะเป็นความลำบากแก่อาตมภาพ”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๕. ทันตภูมิสูตร
“ขอท่านอัคคิเวสสนะโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้
ศึกษามา บางทีข้าพเจ้าอาจทราบอรรถแห่งภาษิตของท่านอัคคิเวสสนะก็ได้”
“พระราชกุมาร อาตมภาพจะแสดงธรรมแก่พระองค์ตามที่ได้สดับมา ตามที่
ได้ศึกษามา ถ้าพระองค์ทรงทราบอรรถแห่งภาษิตของอาตมภาพได้ นั่นแหละเป็น
ความดี ถ้าไม่ทรงทราบ ขอพระองค์พึงดำรงอยู่ในภาวะของพระองค์เถิด อย่าได้
ซักถามอาตมภาพในธรรมนั้นให้ยิ่งขึ้นไปเลย”
“ขอท่านอัคคิเวสสนะโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้
ศึกษามา ถ้าข้าพเจ้าทราบอรรถแห่งภาษิตของท่านอัคคิเวสสนะได้ นั่นเป็นความดี
ถ้าไม่ทราบ ข้าพเจ้าจะดำรงตนอยู่ในภาวะของตน ข้าพเจ้าจักไม่ซักถามท่าน
อัคคิเวสสนะในธรรมนั้นให้ยิ่งขึ้นไป”
[๒๑๔] ลำดับนั้น อจิรวตะ สมณุทเทสได้แสดงธรรมแก่ชยเสนราชกุมาร
ตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้ศึกษามา เมื่ออจิรวตะ สมณุทเทสกล่าวอย่างนั้นแล้ว
ชยเสนราชกุมารได้ตรัสว่า “ท่านอัคคิเวสนะผู้เจริญ เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ พึงบรรลุจิตเตกัคคตาได้”
ต่อจากนั้น ชยเสนราชกุมารทรงประกาศความเป็นไปไม่ได้แก่อจิรวตะ
สมณุทเทส ทรงลุกขึ้นจากที่ประทับแล้วเสด็จจากไป
ครั้งนั้น เมื่อชยเสนราชกุมารเสด็จจากไปแล้วไม่นาน อจิรวตะ สมณุทเทสได้
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ได้กราบทูลเรื่องที่ได้สนทนาปราศรัยกับชยเสนราชกุมารทั้งหมดนั้นแด่
พระผู้มีพระภาค
เมื่ออจิรวตะ สมณุทเทสกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอย่างนี้ว่า
“อัคคิเวสสนะ ชยเสนราชกุมารพึงได้ประโยชน์จากข้อความนั้นในภาษิตของเธอนี้
แต่ที่ไหน เป็นไปไม่ได้ที่ชยเสนราชกุมาร ผู้ยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม
ถูกกามวิตกรุมเร้า ถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผา ยังขวนขวายในการแสวงหา
กามอยู่ จักทรงรู้ ทรงเห็น หรือทรงทำให้แจ้งจิตเตกัคคตาที่บุคคลพึงรู้ พึงเห็น
พึงบรรลุ พึงทำให้แจ้ง ด้วยเนกขัมมะ๑ได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๕. ทันตภูมิสูตร
[๒๑๕] อัคคิเวสสนะ ช้างที่ควรฝึกคู่หนึ่ง ม้าที่ควรฝึกคู่หนึ่ง หรือโคที่ควร
ฝึกคู่หนึ่ง ที่ผู้ฝึกฝึกดีแล้ว หัดดีแล้ว (กับ) ช้างที่ควรฝึกอีกคู่หนึ่ง ม้าที่ควรฝึก
อีกคู่หนึ่ง หรือโคที่ควรฝึกอีกคู่หนึ่ง ที่เขาไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัดเลย เธอเข้าใจความ
ข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ช้างที่ควรฝึก ม้าที่ควรฝึก หรือโคที่ควรฝึก คู่ที่ผู้ฝึกฝึกดีแล้ว
หัดดีแล้ว นั่นแหละ จะเรียนรู้เหตุการณ์ที่ผู้ฝึกฝึกแล้ว พึงสำเร็จภูมิที่ผู้ฝึกฝึกแล้ว
ได้ไหม”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ส่วนช้างที่ควรฝึก ม้าที่ควรฝึก หรือโคที่ควรฝึก คู่ที่เขาไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัด
แล้วเหล่านั้นนั่นแหละ จะเรียนรู้เหตุการณ์ที่ผู้ฝึกฝึกแล้ว จะสำเร็จภูมิที่ผู้ฝึกฝึกแล้ว
เหมือนช้างที่ควรฝึก ม้าที่ควรฝึก หรือโคที่ควรฝึก คู่ที่ผู้ฝึกฝึกดีแล้ว หัดดีแล้ว
เหล่านั้นได้ไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“อัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นไปไม่ได้ที่ชยเสนราชกุมารผู้ยังอยู่
ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกรุมเร้า ถูกความเร่าร้อนเพราะกาม
แผดเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากามอยู่ จักทรงรู้ ทรงเห็น หรือทรงทำให้
แจ้งจิตเตกัคคตาที่บุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงบรรลุ พึงทำให้แจ้ง ด้วยเนกขัมมะได้
[๒๑๖] อัคคิเวสสนะ มีภูเขาใหญ่อยู่ไม่ไกลบ้านหรือนิคม สหาย ๒ คน
ออกจากบ้านหรือนิคมนั้นแล้วจูงมือกันเข้าไปยังที่ที่ภูเขาตั้งอยู่ สหายคนหนึ่งยืนอยู่
ที่เชิงภูเขาเบื้องล่าง สหายคนหนึ่งขึ้นไปบนภูเขา สหายคนที่ยืนอยู่ที่เชิงภูเขาเบื้อง
ล่างจึงกล่าวกับสหายผู้ยืนอยู่บนภูเขานั้นอย่างนี้ว่า ‘เพื่อนเอ๋ย ท่านยืนอยู่บนภูเขา
นั้น มองเห็นอะไรบ้าง’ สหายผู้ยืนอยู่บนภูเขานั้นตอบอย่างนี้ว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เรา
ยืนอยู่บนภูเขาแล้ว ย่อมมองเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าไม้อันน่ารื่นรมย์ ภูมิ
ประเทศอันน่ารื่นรมย์ และสระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์’
สหายผู้ยืนอยู่ที่เชิงภูเขาเบื้องล่างนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เป็นไปไม่ได้
ที่ท่านยืนอยู่บนภูเขาแล้วจะพึงมองเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าไม้อันน่ารื่นรมย์ ภูมิ
ประเทศอันน่ารื่นรมย์ และสระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ได้’ สหายผู้ยืนอยู่บนภูเขา จึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๕. ทันตภูมิสูตร
ลงมายังเชิงภูเขาเบื้องล่างแล้วจูงแขนสหายคนนั้นให้ขึ้นไปบนภูเขาลูกนั้น ให้พัก
เหนื่อยครู่หนึ่งแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เพื่อนเอ๋ย ท่านยืนอยู่บนภูเขานั้น มอง
เห็นอะไรบ้าง’ สหายคนนั้นตอบว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เรายืนอยู่บนภูเขาแล้ว ย่อมมอง
เห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าไม้อันน่ารื่นรมย์ ภูมิประเทศอันน่ารื่นรมย์ และสระ
โบกขรณีอันน่ารื่นรมย์’
สหายผู้ที่ขึ้นไปก่อนแล้วนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เรารู้คำที่ท่านกล่าว
แล้วอย่างนี้บัดนี้เองว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เป็นไปไม่ได้ที่ท่านยืนอยู่บนภูเขาแล้ว
จะพึงมองเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าไม้อันน่ารื่นรมย์ ภูมิประเทศอันน่ารื่นรมย์
และสระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ได้’ และสหายผู้ขึ้นไปทีหลังนั้นกล่าวว่า ‘เรารู้คำที่
ท่านกล่าวอย่างนี้บัดนี้เหมือนกันว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เรายืนอยู่บนภูเขาแล้ว ย่อมมอง
เห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าไม้อันน่ารื่นรมย์ ภูมิประเทศอันน่ารื่นรมย์ และสระ
โบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ได้’
สหายผู้ที่ขึ้นไปก่อนแล้วนั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เพื่อนเอ๋ย ความเป็นจริง เรา
ถูกภูเขาใหญ่ลูกนี้กั้นไว้ จึงมองไม่เห็นสิ่งที่ควรเห็น’
อัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นไปไม่ได้ที่ชยเสนราชกุมาร ผู้ถูก
กองอวิชชาใหญ่ยิ่งกว่าภูเขาลูกนั้นกั้นไว้ ปิดบังไว้ รึงรัดไว้ ห่อหุ้มไว้ ยังอยู่
ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกรุมเร้า ถูกความเร่าร้อนเพราะกาม
แผดเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากาม จักทรงรู้ ทรงเห็น หรือทรงทำให้แจ้ง
ซึ่งธรรมที่บุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงบรรลุ พึงทำให้แจ้งด้วยเนกขัมมะได้
อัคคิเวสสนะ ถ้าเธอพึงอธิบายอุปมา ๒ ข้อนี้ให้แจ่มแจ้งแก่ชยเสน
ราชกุมารได้ ชยเสนราชกุมารจะพึงเลื่อมใสเธออย่างน่าอัศจรรย์ และชยเสน
ราชกุมารผู้เลื่อมใสแล้ว จะพึงแสดงอาการของบุคคลผู้เลื่อมใสแก่เธอ”
อจิรวตะ สมณุทเทสกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
จักอธิบายอุปมา ๒ ข้อนี้ที่น่าอัศจรรย์ ที่ข้าพระองค์ยังไม่เคยได้สดับมาก่อน
ให้แจ่มแจ้งแก่ชยเสนราชกุมาร เหมือนพระผู้มีพระภาคได้อย่างไรเล่า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๕. ทันตภูมิสูตร
[๒๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อัคคิเวสสนะ กษัตราธิราชผู้ได้รับ
มูรธาภิเษก๑แล้ว รับสั่งเรียกพรานผู้ชำนาญป่าที่ช้างอาศัยอยู่มาแล้วตรัสว่า ‘มา
เถิดพ่อพรานช้างเพื่อนยาก ท่านจงขี่ช้างหลวงเข้าไปยังดงช้าง เห็นช้างป่าแล้ว
จงคล้องมันผูกไว้ที่คอช้างหลวงเถิด’ พรานป่าผู้เป็นควาญช้าง รับพระราชโองการ
แล้ว จึงขี่ช้างหลวงเข้าไปยังดงช้าง เห็นช้างป่าแล้ว จึงคล้องมันผูกไว้ที่คอช้างหลวง
ช้างหลวงจึงนำช้างป่านั้นออกมาสู่ที่กลางแจ้งได้ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ช้างป่าจึงมา
อยู่กลางแจ้ง ความจริงช้างป่าทั้งหลายยังห่วงถิ่นคือดงช้างอยู่ พรานป่าผู้เป็น
ควาญช้างจึงกราบทูลเรื่องนี้แด่กษัตราธิราชว่า ‘ขอเดชะ ช้างป่าของพระองค์มาอยู่
ที่กลางแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า’
ลำดับนั้น กษัตราธิราชจึงรับสั่งเรียกควาญช้างมาตรัสว่า ‘มาเถิดพ่อ
ควาญช้าง ท่านจงฝึกช้างป่า จงไปเพื่อแก้ไขปกติของสัตว์ป่า แก้ไขความสับสน
ของสัตว์ป่า และแก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจและความเร่าร้อนใจ
ของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่านั้นยินดีในแดนบ้าน ให้เพลิดเพลินในปกติที่มนุษย์
ต้องการเถิด’
ควาญช้างรับพระราชโองการแล้ว จึงฝังเสาตะลุงใหญ่ลงในแผ่นดิน ล่ามคอ
ช้างป่าไว้อย่างมั่นคง เพื่อแก้ไขปกติของสัตว์ป่า แก้ไขความสับสนของสัตว์ป่า
และแก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจและความเร่าร้อนใจของสัตว์ป่า
เพื่อให้ช้างป่านั้นยินดีในแดนบ้าน ให้เพลิดเพลินในปกติที่มนุษย์ต้องการ ควาญช้าง
ร้องเรียกช้างป่านั้นด้วยคำไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นภาษาของชาวเมือง
คนส่วนมากรักใคร่พอใจ เพราะช้างป่าถูกควาญช้างร้องเรียกอยู่ด้วยคำไม่มีโทษ
ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นภาษาของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจเห็นปานนั้น
ช้างจึงตั้งใจฟัง ตั้งใจเพื่อจะเรียนรู้ ควาญช้างจึงเพิ่มอาหาร คือหญ้าและน้ำให้
ช้างนั้นยิ่งขึ้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๕. ทันตภูมิสูตร
อัคคิเวสสนะ เพราะช้างป่ารับอาหาร คือหญ้าและน้ำของควาญช้าง ควาญ
ช้างจึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ช้างป่าจักดำรงชีพอยู่ได้ละ’ จึงให้ช้างป่านั้น
ฝึกยิ่งขึ้นด้วยสั่งว่า ‘รับไป พ่อ วางลง พ่อ’ เพราะช้างหลวงทำตามคำสั่ง
รับทำตามโอวาทของควาญช้างในการรับและการวาง ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นฝึกยิ่ง
ขึ้นด้วยสั่งว่า ‘เดินไป พ่อ ถอยกลับ พ่อ’ เพราะช้างหลวงทำตามคำสั่ง รับทำ
ตามโอวาทของควาญช้างในการเดินไปและการถอยกลับ ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นฝึก
ยิ่งขึ้นด้วยสั่งว่า ‘ยืนขึ้น พ่อ หมอบลง พ่อ’ เพราะช้างหลวงทำตามคำสั่ง รับ
ทำตามโอวาทของควาญช้างในการยืนและการหมอบ ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นฝึกยิ่ง
ขึ้นจนถึงขั้นที่ชื่อว่าอาเนญชะ(ไม่หวั่นไหว)คือผูกโล่ใหญ่ไว้ที่งวงช้างนั้น จัดบุรุษถือหอกซัด
นั่งบนคอช้าง จัดบุรุษถือหอกซัดหลายคนยืนล้อมรอบ ส่วนควาญช้างถือของ้าวยาว
ยืนอยู่ข้างหน้า ช้างนั้นได้รับการฝึกถึงขั้นอาเนญชะอยู่ จึงไม่ขยับเท้าหน้า ไม่ขยับ
เท้าหลัง ไม่เขยื้อนกายไปข้างหน้า ไม่เขยื้อนกายไปข้างหลัง ไม่โคลงหัว ไม่กระดิกหู
ไม่เหวี่ยงงา ไม่แกว่งหาง ไม่ขยับงวง เป็นช้างหลวงผู้อดทนต่อการถูกหอกทิ่มแทง
ถูกดาบฟัน ถูกลูกศรเสียบแทง และถูกเครื่องประหารของศัตรูอื่น อดทนต่อเสียง
อึกกระทึกแห่งกลองศึก มโหระทึก สังข์ และกลองเล็ก กำจัดนิสัยดื้อรั้นทุกอย่าง
และหมดพยศ จึงนับว่า ‘เป็นช้างสมควรแก่พระราชา อันพระราชาควรใช้สอย
เป็นองค์สมบัติของพระราชา’ แม้ฉันใด
[๒๑๘] อัคคิเวสสนะ ตถาคต๑ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล อุบัติขึ้นมาในโลกนี้
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ๒ ไปดี
รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค๓ ตถาคตรู้แจ้งโลกนี้พร้อม
ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและ
มนุษย์ด้วยตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มี
ความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด๔ ประกาศพรหมจรรย์๕ พร้อมทั้ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๕. ทันตภูมิสูตร
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน คหบดี บุตรคหบดี หรืออนุชน
(คนผู้เกิดภายหลัง) ในตระกูลใดตระกูลหนึ่งได้สดับธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาใน
ตถาคต เมื่อมีศรัทธาย่อมตระหนักว่า ‘การอยู่ครองเรือนเป็นเรื่องอึดอัด เป็นทาง
มาแห่งธุลี การบวชเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติ
พรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี
เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต’
ต่อมา เขาละทิ้งกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ และเครือญาติน้อยใหญ่ โกนผม
และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต๑ ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้แล เขาชื่อว่าเป็นอริยสาวก อยู่ในที่แจ้ง ความจริง เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลายยังห่วงถิ่นคือกามคุณ ๕ อยู่ ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า
‘มาเถิด ภิกษุ เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระและโคจร จงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่
ในสิกขาบททั้งหลาย’
อัคคิเวสสนะ เพราะอริยสาวกเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาในสิกขาบททั้งหลายได้ ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ‘มาเถิด ภิกษุ
เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ ฯลฯ
[๒๑๙] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ นี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต เป็น
เครื่องทอนปัญญาให้ถอยกำลังได้แล้ว พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๕. ทันตภูมิสูตร
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
อัคคิเวสสนะ ควาญช้างฝังเสาตะลุงใหญ่ลงในแผ่นดิน ล่ามคอช้างป่าไว้อย่าง
มั่นคง เพื่อแก้ไขปกติของสัตว์ป่า แก้ไขความสับสนของสัตว์ป่า และแก้ไขความ
กระวนกระวาย ความลำบากใจและความเร่าร้อนใจของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่านั้น
ยินดีในแดนบ้าน ให้เพลิดเพลินในปกติที่มนุษย์ต้องการ แม้ฉันใด อริยสาวกก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ชื่อว่าผูกใจไว้แล้วกับสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อแก้ไขปกติที่ยังผูกพัน
อยู่กับเรือน๑ แก้ไขความสับสนที่ยังผูกพันอยู่กับเรือน แก้ไขความกระวนกระวาย
ความลำบากใจและความเร่าร้อนใจที่ผูกพันอยู่กับเรือน เพื่อบรรลุญายธรรม๒ เพื่อ
ทำให้แจ้งนิพพาน
[๒๒๐] ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ‘มาเถิดภิกษุ เธอจงพิจารณา
เห็นกายในกายอยู่เถิด แต่อย่าตรึกถึงวิตกที่เกี่ยวข้องกับกายเลย
จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เถิด ฯลฯ
จงพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เถิด ...
จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เถิด แต่อย่าตรึกถึงวิตกที่เกี่ยวข้อง
กับธรรมเลย
เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุนั้นย่อมบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ ฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้า
หมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป
เพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒
ชาติบ้าง ฯลฯ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๕. ทันตภูมิสูตร
[๒๒๑] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและ
ชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
ฯลฯ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อม
จิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจาก
กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุนั้นเป็นผู้อดทน คือ มีชาติของผู้อดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน
ความหิว ความกระหาย ต่อสัมผัสอันเกิดจากเหลือบยุง ลม แดด และสัตว์
เลื้อยคลานทั้งหลาย ต่อถ้อยคำที่กล่าวร้าย ถ้อยคำที่ใส่ร้าย ต่อทุกขเวทนากล้า
อย่างหนัก เผ็ดร้อน อันมีในสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว ต่อความไม่สำราญ ต่อความ
ไม่ชอบใจ พอจะคร่าชีวิตได้ ภิกษุนั้นกำจัดราคะ โทสะ โมหะทั้งปวงและกำจัด
กิเลสเพียงดังน้ำฝาดได้แล้ว เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ
ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก๑
[๒๒๒] อัคคิเวสสนะ ถ้าช้างหลวงแก่ที่ควาญช้างยังไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัด ล้ม
ลง(ตาย) ย่อมถึงการนับว่า ‘ช้างหลวงแก่ล้มอย่างไม่ได้ฝึก’
ถ้าช้างหลวงรุ่นกลาง ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น