Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๔-๘ หน้า ๒๙๘ - ๓๔๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔-๘ สุตตันตปิฎกที่ ๐๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ เต่าตาบอดนั้นพึงสอดคอเข้าไปในแอกที่มีรูเดียวโน้นได้บ้างไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า แต่ถ้าเวลาล่วงเลยไปนาน ๆ บางครั้งบางคราวมัน
ก็จะสอดเข้าไปในแอกนั้นได้บ้าง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เต่าตาบอดนั้นพึงสอดคอเข้าไปใน
แอกที่มีรูเดียวโน้นยังเร็วกว่า เรากล่าวว่าการที่คนพาลผู้ไปสู่วินิบาตคราวเดียวจะ
พึงได้เป็นมนุษย์อีกยากกว่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะในวินิบาตนั้น ไม่มีการประพฤติธรรม ไม่มีการประพฤติชอบ ไม่มี
การทำกุศล ไม่มีการทำบุญ ในวินิบาตนั้น มีแต่สัตว์ผู้เคี้ยวกินกันเอง เคี้ยวกิน
สัตว์ผู้มีกำลังน้อยกว่า๑
คนพาลนั้น เพราะเวลาล่วงเลยมานาน ในบางครั้งบางคราวถ้ามาเกิดเป็น
มนุษย์ ก็จะเกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลคนจัณฑาล ตระกูลนายพราน ตระกูล
ช่างสาน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนขนขยะเช่นนั้น ที่เป็นตระกูลยากจน มีข้าว น้ำ
และสิ่งของเครื่องใช้น้อยเป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หาของกินและเครื่องนุ่งห่ม
ได้ยาก และคนพาลนั้นมีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย มีความเจ็บป่วยมาก
ตาบอด เป็นง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน
ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป เขายังประพฤติ
กายทุจริต ประพฤติวจีทุจริต ประพฤติมโนทุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก๒
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนักเลงการพนัน เพราะความพ่ายแพ้ครั้งแรกเท่านั้น
จึงเสียลูก เสียเมีย เสียทรัพย์สมบัติทุกอย่าง และถึงการจองจำ ที่เป็นการ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร
สูญเสียอย่างยิ่ง ความพ่ายแพ้ ของนักเลงการพนันผู้เสียลูก เสียเมีย เสียทรัพย์
สมบัติทุกอย่าง และถึงการจองจำเพราะความพ่ายแพ้ครั้งแรกนั้น เป็นเพียงเล็กน้อย
แม้ฉันใด ความพ่ายแพ้ของคนพาลผู้ประพฤติกายทุจริต ประพฤติวจีทุจริต ประพฤติ
มโนทุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉันนั้น
เหมือนกัน
นี้เป็นภูมิของคนพาลที่คนพาลบำเพ็ญไว้ทั้งสิ้น
[๒๕๓] ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะของบัณฑิต เครื่องหมายของบัณฑิต ความ
ประพฤติไม่ขาดสายของบัณฑิต ๓ ประการนี้
ลักษณะของบัณฑิต ๓ ประการ อะไรบ้าง
คือ บัณฑิตในโลกนี้
๑. ชอบคิดแต่เรื่องดี
๒. ชอบพูดแต่เรื่องดี
๓. ชอบทำแต่กรรมดี
ถ้าบัณฑิตไม่ชอบคิดเรื่องดี ไม่ชอบพูดเรื่องดี และไม่ชอบทำกรรมดีเช่นนั้น
บัณฑิตทั้งหลายจะพึงรู้จักเขาด้วยเหตุไรว่า ‘ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นคนดี’ แต่เพราะ
บัณฑิตชอบคิดแต่เรื่องดี ชอบพูดแต่เรื่องดี และชอบทำแต่กรรมดี ฉะนั้น
บัณฑิตทั้งหลายจึงรู้จักเขาว่า ‘ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นคนดี’๑
บัณฑิตนั้นย่อมเสวยสุขโสมนัส ๓ ประการในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าบัณฑิตนั่งในสภาก็ดี ในตรอกก็ดี ริมทางสามแพร่งก็ดี
ถ้าชนในที่นั้นพูดถ้อยคำที่สมควรแก่ธรรมนั้นแก่เขา ถ้าบัณฑิตเป็นผู้เว้นขาดจาก
การฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดใน
กาม เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุรา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร
และเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ในเรื่องนั้น บัณฑิตจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า
‘ข้อที่ชนพูดถ้อยคำที่สมควรแก่ธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในเรา และเรา
ก็ปรากฏในธรรมเหล่านั้น’
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัสประการที่ ๑ นี้ในปัจจุบัน
[๒๕๔] อีกประการหนึ่ง บัณฑิตเห็นพระราชาทั้งหลายรับสั่งให้จับโจรผู้
ประพฤติผิดมาลงอาญาด้วยประการต่าง ๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยน
ด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง
ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบนศีรษะบ้าง
ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์บ้าง เอาไฟยัดปากจนเลือดไหลเหมือน
ปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัวราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผาบ้าง พันมือแล้วจุดไฟต่างคบบ้าง
ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้าให้ลุกเดินเหยียบหนังจนล้มลงบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึง
บั้นเอว ทำให้มองดูเหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่า
แล้วเสียบหลาวทั้ง ๕ ทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยวหนัง เนื้อ เอ็นออกมาบ้าง
เฉือนเนื้อออกเป็นแว่น ๆ เหมือนเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนัง เนื้อ เอ็น
ออกเหลือไว้แต่กระดูกบ้าง ใช้หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง เสียบให้ติดดินแล้ว
จับเขาหมุนได้รอบบ้าง ทุบกระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือไว้แต่กองเนื้อเหมือน
ตั่งใบไม้บ้าง รดตัวด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัดกินจนเหลือแต่
กระดูกบ้าง ให้นอนบนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง
ในขณะที่เห็นนั้น บัณฑิตจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า ‘เพราะเหตุแห่งบาปกรรม
เช่นไร พระราชาทั้งหลายจึงรับสั่งให้จับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้วลงอาญาด้วยประการ
ต่าง ๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง
ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบ
หูและจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบนศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้ขาว
เหมือนสังข์บ้าง เอาไฟยัดปากจนเลือดไหลเหมือนปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัวราด
น้ำมันแล้วจุดไฟเผาบ้าง พันมือแล้วจุดไฟต่างคบบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้า
ให้ลุกเดินเหยียบหนังจนล้มลงบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงบั้นเอว ทำให้มองดู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร
เหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่าแล้วเสียบหลาวทั้ง ๕
ทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยวหนัง เนื้อ เอ็นออกมาบ้าง เฉือนเนื้อออกเป็นแว่น ๆ
เหมือนเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนัง เนื้อ เอ็น ออกเหลือไว้แต่กระดูกบ้าง ใช้
หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง เสียบให้ติดดินแล้วจับเขาหมุนได้รอบบ้าง ทุบ
กระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือไว้แต่กองเนื้อเหมือนตั่งใบไม้บ้าง รดตัว
ด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัดกินจนเหลือแต่กระดูกบ้าง ให้นอน
บนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง ก็ธรรมเหล่านั้นไม่มีในเรา และ
เราก็ไม่ปรากฏในธรรมเหล่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัสประการที่ ๒ นี้ในปัจจุบัน
[๒๕๕] อีกประการหนึ่ง ในสมัยนั้น กรรมดีที่บัณฑิตทำ คือ การประพฤติ
กายสุจริต การประพฤติวจีสุจริต การประพฤติมโนสุจริตไว้ในกาลก่อน ย่อม
คุ้มครอง ป้องกันบัณฑิตผู้อยู่บนตั่ง บนเตียง หรือนอนบนพื้น
เปรียบเหมือนเงาของยอดภูเขาใหญ่ ย่อมบดบัง ครอบคลุมแผ่นดินใหญ่
ในเวลาเย็น แม้ฉันใด กรรมดีที่บัณฑิตทำ คือ การประพฤติกายสุจริต การ
ประพฤติวจีสุจริต การประพฤติมโนสุจริตไว้ในกาลก่อน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม
คุ้มครอง ป้องกันบัณฑิตผู้อยู่บนตั่ง บนเตียง หรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น
ในเรื่องนั้น บัณฑิตมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราไม่ได้ทำความชั่วไว้หนอ ไม่ได้
ทำกรรมหยาบช้าไว้ ไม่ได้ทำกรรมเศร้าหมองไว้ เราทำแต่ความดี ทำแต่กุศล
ทำแต่ที่ป้องกันสิ่งน่ากลัวไว้ เราตายแล้วจะไปสู่คติของผู้ไม่ได้ทำความชั่วไว้ ไม่ได้
ทำกรรมหยาบช้าไว้ ไม่ได้ทำกรรมเศร้าหมองไว้ ทำแต่ความดี ทำแต่กุศล ทำแต่
ที่ป้องกันสิ่งน่ากลัวไว้’ เขาย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ
ไม่ถึงความหลงไหล
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัสประการที่ ๓ นี้ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตนั้นยังประพฤติกายสุจริต ประพฤติวจีสุจริต ประพฤติ
มโนสุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ บุคคลเมื่อจะกล่าวให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร
ถูกต้อง พึงกล่าวถึงสวรรค์นั่นแหละว่า ‘เป็นสถานที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
โดยส่วนเดียว’ ภิกษุทั้งหลาย แม้การเปรียบเทียบว่าสวรรค์เป็นสุขก็ไม่ใช่ทำ
ได้ง่าย”
[๒๕๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงอุปมาได้อีกหรือไม่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ได้ ภิกษุ” แล้วตรัสว่า “เปรียบเหมือนพระเจ้า
จักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ และฤทธิ์(ความสำเร็จ) ๔ ประการ
เพราะความสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ และฤทธิ์ ๔ ประการนั้นเป็นเหตุ
พระเจ้าจักรพรรดินั้นจึงเสวยสุขโสมนัส
พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ เป็นอย่างไร
คือ จักรแก้วอันเป็นทิพย์มีกำ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง มีดุม และส่วนประกอบ
ครบทุกอย่าง ย่อมปรากฏแก่กษัตราธิราชในโลกนี้ผู้ทรงได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรง
สนานพระเศียร ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ รักษาอุโบสถ ประทับอยู่ชั้นบน
ปราสาทหลังงาม กษัตราธิราชผู้ทรงได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ครั้นทอดพระเนตรแล้ว
ได้มีพระราชดำริว่า ‘เราได้ฟังเรื่องนี้มาว่า ‘จักรแก้วอันเป็นทิพย์มีกำ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง
มีดุม และส่วนประกอบครบทุกอย่าง ย่อมปรากฏแก่กษัตราธิราชพระองค์ใดผู้ทรง
ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงสนานพระเศียร ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ รักษาอุโบสถ
ประทับอยู่ชั้นบนปราสาทหลังงาม กษัตราธิราชพระองค์นั้นย่อมเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ’
เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิกระมัง’
ลำดับนั้น กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วทรงลุกจากที่ประทับ พระหัตถ์
เบื้องซ้ายทรงจับพระภิงคาร(พระน้ำเต้า) พระหัตถ์เบื้องขวาทรงชูจักรแก้ว ขึ้นตรัสว่า
‘จักรแก้วอันประเสริฐจงหมุนไป จงได้ชัยชนะอันยิ่งใหญ่’ ทันใดนั้นจักรแก้วนั้นก็
หมุนไปทางทิศตะวันออก พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ก็เสด็จตามไป
เสด็จเข้าพักแรมพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาในประเทศที่จักรแก้วหยุดอยู่ พระราชา
ทั้งหลายที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศตะวันออกพากันเสด็จมาเฝ้า แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร
‘ขอเดชะ มหาราชเจ้า พระองค์โปรดเสด็จมาเถิด ขอรับเสด็จพระองค์ ราชสมบัติ
ของหม่อมฉันเป็นของพระองค์ โปรดประทานพระราโชวาทเถิด พระเจ้าข้า’
พระเจ้าจักรพรรดิรับสั่งอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลายไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึง
ลักทรัพย์ ไม่พึงประพฤติผิดในกาม ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา และท่าน
ทั้งหลายจงครองราชสมบัติไปตามเดิมเถิด’ พระราชาทั้งหลายที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศ
ตะวันออกเหล่านั้น ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าจักรพรรดิแล้ว
[๒๕๗] ภิกษุทั้งหลาย จากนั้น จักรแก้วก็หมุนไปจรดมหาสมุทรด้านทิศ
ตะวันออก แล้วหมุนกลับไปด้านทิศใต้ ฯลฯ หมุนไปจรดมหาสมุทรด้านทิศใต้
แล้วหมุนกลับไปด้านทิศตะวันตก ฯลฯ หมุนไปจรดมหาสมุทรด้านทิศตะวันตก
แล้วหมุนกลับไปด้านทิศเหนือ เสด็จเข้าพักแรมพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ในประเทศ
ที่จักรแก้วหยุดอยู่
พระราชาทั้งหลายที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศเหนือพากันเสด็จมาเฝ้า แล้วกราบทูล
อย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะ มหาราชเจ้า พระองค์โปรดเสด็จมาเถิด ขอรับเสด็จ ราชสมบัติ
ของหม่อมฉันเป็นของพระองค์ โปรดประทานพระราโชวาทเถิด พระเจ้าข้า’
พระเจ้าจักรพรรดิรับสั่งอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลายไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์
ไม่พึงประพฤติผิดในกาม ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา และท่านทั้งหลายจงปก
ครองบ้านเมืองไปตามเดิมเถิด’ พระราชาทั้งหลายที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศเหนือเหล่านั้น
ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าจักรพรรดิแล้ว
๑. ครั้งนั้น จักรแก้วนั้นได้ปราบปรามแผ่นดิน มีมหาสมุทรเป็นขอบ
เขตอย่างราบคาบ เสร็จแล้วหมุนกลับราชธานีนั้น ประดิษฐานอยู่
เสมือนลิ่มสลักที่พระทวารภายในพระราชวังของพระเจ้าจักรพรรดิ
ทำพระทวารภายในพระราชวังของพระเจ้าจักรพรรดิให้สว่างไสว
ภิกษุทั้งหลาย จักรแก้วเห็นปานนี้ ปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร
[๒๕๘] ๒. อีกประการหนึ่ง ช้างแก้ว ซึ่งเป็นช้างเผือก เป็นที่พึ่งของเหล่าสัตว์
มีฤทธิ์ เหาะไปในอากาสได้ เป็นพญาช้างตระกูลอุโบสถ ย่อม
ปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิครั้นทอดพระเนตร
เห็นช้างนั้น จึงมีพระทัยโปรดปรานว่า “ท่านผู้เจริญ พาหนะคือ
ช้างนี้ถ้าได้นำไปฝึก ก็จะเป็นสัตว์ที่เป็นมงคลแน่แท้” จากนั้น
ช้างแก้วนั้นจึงได้รับการฝึกหัดเหมือนช้างอาชาไนยตัวเจริญซึ่งได้รับ
การฝึกหัดดีแล้วตลอดกาลนาน
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาว่า พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรง
ทดสอบช้างแก้วนั้น จึงเสด็จขึ้นทรงในเวลาเช้า แล้วเสด็จเลียบไป
ตลอดแผ่นดินอันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต แล้วเสด็จกลับมา
ราชธานีนั้นดังเดิม ทันเสวยพระกระยาหารเช้า ช้างแก้วเห็นปาน
นี้ปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ
๓. อีกประการหนึ่ง ม้าแก้ว ซึ่งเป็นม้าขาว ศีรษะดำ มีขนปกดุจ
หญ้าปล้อง มีฤทธิ์ เหาะไปในอากาศได้ ชื่อพญาม้าวลาหก
ย่อมปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิครั้นทอด
พระเนตรเห็นม้าแก้วนั้น จึงมีพระทัยโปรดปรานว่า ‘ท่านผู้เจริญ
พาหนะคือม้านี้ถ้าได้นำไปฝึกก็จะเป็นสัตว์ที่เป็นมงคลแน่แท้’ จาก
นั้น ม้าแก้วนั้นจึงได้รับการฝึกหัดเหมือนม้าอาชาไนยตัวเจริญซึ่งได้
รับการฝึกหัดดีแล้วตลอดกาลนาน
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาว่า พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรง
ทดสอบม้าแก้วนั้น จึงเสด็จขึ้นทรงในเวลาเช้า แล้วเสด็จเลียบไป
ตลอดแผ่นดินอันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต แล้วเสด็จกลับมา
ราชธานีนั้นดังเดิม ทันเสวยพระกระยาหารเช้า ม้าแก้วเห็นปานนี้
ปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร
๔. อีกประการหนึ่ง มณีแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ คือมณีแก้ว
นั้นเป็นแก้วไพฑูรย์ งามบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ สุกใสเป็นประกาย
ได้สัดส่วน มีแปดเหลี่ยม เจียระไนไว้ดีแล้ว รัศมีแห่งมณีแก้วนั้น
แผ่ซ่านออกไปรอบ ๆ ประมาณ ๑ โยชน์
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาว่า พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรง
ทดสอบมณีแก้วนั้น ทรงให้หมู่จตุรงคินีเสนาผูกสอดเกราะแล้วทรง
ยกมณีแก้วนั้นเป็นยอดธง เสด็จไปประทับยืนในที่มืดยามราตรี
เพราะแสงสว่างนั้น ชาวบ้านที่อาศัยอยู่โดยรอบสำคัญว่าเป็นเวลา
กลางวัน จึงพากันประกอบการงาน มณีแก้วเห็นปานนี้ปรากฏแก่
พระเจ้าจักรพรรดิ
๕. อีกประการหนึ่ง นางแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ คือนางแก้วนั้น
เป็นสตรีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก ไม่
สูงเกินไป ไม่เตี้ยเกินไป ไม่ผอมเกินไป ไม่อ้วนเกินไป ไม่ดำเกินไป
ไม่ขาวเกินไป งดงามเกินผิวพรรณของหญิงมนุษย์ แต่ไม่ถึง
ผิวพรรณทิพย์ กายของนางแก้วนั้นมีสัมผัสอ่อนนุ่มดุจปุยนุ่นหรือ
ปุยฝ้าย มีร่างกายอบอุ่นในฤดูหนาว เย็นในฤดูร้อน มีกลิ่น
จันทน์หอมฟุ้งออกจากกาย กลิ่นดอกอุบลฟุ้งออกจากปากของนาง
นางแก้วนั้นมีปกติตื่นก่อนนอนทีหลัง คอยฟังว่าจะรับสั่งให้ทำอะไร
ประพฤติต้องพระทัย ทูลแต่คำไพเราะต่อพระเจ้าจักรพรรดิ และ
นางแก้วนั้นจะไม่ประพฤตินอกพระทัยพระเจ้าจักรพรรดิ ไฉนเล่า
จะประพฤติล่วงเกินทางกายได้ นางแก้วเห็นปานนี้ปรากฏแก่พระ
เจ้าจักรพรรดิ
๖. อีกประการหนึ่ง คหบดีแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ คือ
คหบดีแก้วนั้นเป็นผู้มีตาทิพย์ อันเกิดแต่ผลกรรม ซึ่งสามารถเห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร
ขุมทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของและไม่มีเจ้าของ เขาเข้าเฝ้าพระเจ้า
จักรพรรดิแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะ ขอพระองค์โปรดทรง
เป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด ข้าพระองค์จักทำหน้าที่การคลังให้
พระองค์’
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาว่า พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรง
ทดสอบคหบดีแก้วนั้น จึงเสด็จลงเรือลัดกระแสน้ำไปกลางแม่น้ำ
คงคา แล้วได้รับสั่งกับคหบดีแก้วว่า ‘คหบดี ฉันต้องการเงิน
และทอง’ คหบดีแก้วจึงกราบทูลว่า ‘ข้าแต่มหาราช ถ้าเช่นนั้น
โปรดให้เทียบเรือเข้าฝั่งข้างหนึ่งเถิด’ พระเจ้าจักรพรรดิ ตรัสว่า
‘คหบดี ฉันต้องการเงินและทองตรงนี้แหละ’ ทันใดนั้น คหบดี
แก้วนั้นจึงเอามือทั้งสองหย่อนลงในน้ำ ยกหม้อที่เต็มด้วยเงินและ
ทองขึ้นมา แล้วกราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิว่า ‘เท่านี้พอหรือยัง
มหาราช เท่านี้ใช้ได้หรือยัง มหาราช เท่านี้พอบูชาแล้วหรือยัง
มหาราช’ พระเจ้าจักรพรรดิจึงตรัสอย่างนี้ว่า ‘คหบดี เท่านี้พอแล้ว
เท่านี้ใช้ได้แล้ว เท่านี้ชื่อว่าบูชาแล้ว’ คหบดีแก้วเห็นปานนี้ปรากฏ
แก่พระเจ้าจักรพรรดิ
๗. อีกประการหนึ่ง ปริณายกแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ คือ
ปริณายกแก้วนั้นเป็นบัณฑิต มีปรีชาสามารถถวายข้อแนะนำให้
พระเจ้าจักรพรรดิทรงบำรุงผู้ที่ควรบำรุง ถอดถอนผู้ที่ควรถอดถอน
ทรงแต่งตั้งผู้ที่ควรแต่งตั้ง เข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วกราบทูล
อย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะ ขอพระองค์โปรดทรงเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด
ข้าพระองค์จักถวายคำปรึกษา’ ปริณายกแก้วเห็นปานนี้ปรากฏแก่
พระเจ้าจักรพรรดิ
ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการนี้
[๒๕๙] พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยฤทธิ์ ๔ ประการ เป็นอย่างไร
คือ พระเจ้าจักรพรรดิในโลกนี้ มีพระรูปงดงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มี
พระฉวีผุดผ่องยิ่งนักเกินกว่ามนุษย์เหล่าอื่น พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยฤทธิ์ นี้เป็นประการที่ ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร
อีกประการหนึ่ง พระเจ้าจักรพรรดิมีพระชนมายุยืน ทรงดำรงอยู่ในราชสมบัติ
นานเกินกว่ามนุษย์เหล่าอื่น พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยฤทธิ์ นี้เป็น
ประการที่ ๒
อีกประการหนึ่ง พระเจ้าจักรพรรดิมีพระโรคาพาธน้อย มีโรคเบาบาง
ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นจัด ไม่ร้อนจัด เกินกว่า
มนุษย์เหล่าอื่น พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยฤทธิ์ นี้เป็นประการที่ ๓
อีกประการหนึ่ง พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ ของ
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย เปรียบเหมือนบิดาเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของบุตร
แม้ฉันใด พระจักรพรรดิก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของ
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย
อนึ่ง พราหมณ์และคหบดีทั้งหลายเป็นที่โปรดปราน เป็นที่พอพระทัยแม้
ของพระเจ้าจักรพรรดิ เปรียบเหมือนบุตรเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของบิดา แม้ฉันใด
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน ก็เป็นที่โปรดปราน เป็นที่พอพระ
ทัยแม้ของพระเจ้าจักรพรรดิ
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาว่า พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา
เสด็จประพาสพระราชอุทยาน ครั้งนั้น พราหมณ์และคหบดีพากันเข้าเฝ้าพระเจ้า
จักรพรรดิ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะ มหาราชเจ้า ขอพระองค์อย่าด่วน
เสด็จไป โปรดเสด็จโดยอาการที่ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ชมพระบารมีนาน ๆ เถิด’
แม้พระเจ้าจักรพรรดิได้รับสั่งเรียกนายสารถีมาตรัสว่า ‘แน่ะพ่อสารถี ท่านจง
ค่อย ๆ ขับไปโดยอาการที่ฉันจะพึงเยี่ยมพราหมณ์และคหบดีได้นาน ๆ เถิด’
พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยฤทธิ์ นี้เป็นประการที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยฤทธิ์ ๔ ประการนี้
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ และฤทธิ์ ๔
ประการนี้ พึงเสวยสุขโสมนัสอันมีความสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ และฤทธิ์ ๔
ประการนั้นเป็นเหตุบ้างไหม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็น
ผู้สมบูรณ์ด้วยแก้วแม้ประการเดียว ยังเสวยสุขโสมนัสที่เกิดเพราะแก้วแม้ประการ
เดียวนั้นเป็นเหตุได้ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงแก้ว ๗ ประการ และฤทธิ์ ๔ ประการเลย
พระพุทธเจ้าข้า”
[๒๖๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหยิบก้อนหินขนาดย่อม ๆ เท่าฝ่า
พระหัตถ์ขึ้นมาแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจ
ความข้อนั้นว่าอย่างไร คือก้อนหินขนาดย่อม ๆ เท่าฝ่ามือที่เราถืออยู่นี้กับขุนเขา
หิมพานต์ อย่างไหนใหญ่กว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก้อนหินขนาดย่อม ๆ เท่าฝ่าพระหัตถ์ที่พระองค์ทรง
ถืออยู่นี้ มีประมาณน้อยนัก เปรียบเทียบกับขุนเขาหิมพานต์แล้ว ไม่ถึงการนับ
ไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ไม่ถึงแม้การเทียบกันได้เลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สุขโสมนัสที่พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้
สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ และฤทธิ์ ๔ ประการ ทรงเสวยสุขโสมนัสอันมี
ความสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการและฤทธิ์ ๔ ประการนั้นเป็นเหตุ เปรียบเทียบ
กับสุขที่เป็นทิพย์แล้ว ไม่ถึงการนับ ไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ไม่ถึงแม้การเทียบ
กันได้เลย
บัณฑิตนั้น เพราะเวลาล่วงเลยมานาน ในบางครั้งบางคราวถ้ามาเกิดเป็น
มนุษย์ ก็จะเกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล๑ ตระกูลพราหมณมหาศาล
หรือตระกูลคหบดีมหาศาล เห็นปานนั้น อันเป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มี
โภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมาก มีทรัพย์และธัญชาติมาก
และบัณฑิตนั้นเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก มีปกติ
ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่อง
ประทีป เขาจึงประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้ว จึงไป
เกิดในสุคติโลกสวรรค์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนักเลงการพนัน ได้รับโภคสมบัติมากมาย
ความชนะของนักเลงการพนันผู้ได้รับโภคสมบัติมากเพราะความชนะครั้งแรกนั้น
เป็นเพียงเล็กน้อย โดยที่แท้ ความชนะของบัณฑิตผู้ประพฤติกายสุจริต ประพฤติ
วจีสุจริต ประพฤติมโนสุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เป็น
ความชนะที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น นี้เป็นภูมิของบัณฑิตที่บัณฑิตบำเพ็ญไว้ทั้งสิ้น”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
พาลปัณฑิตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. เทวทูตสูตร
ว่าด้วยเทวทูต
[๒๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือน ๒ หลัง มีประตูตรงกัน บุรุษผู้มีตาดี
ยืนอยู่ตรงกลางเรือน ๒ หลังนั้น พึงเห็นคนกำลังเดินเข้าเรือนบ้าง กำลังเดินออก
จากเรือนบ้าง กำลังเดินมาบ้าง กำลังเดินไปบ้าง แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและ
เกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
‘สัตว์เหล่านี้ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ
มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ หรือสัตว์เหล่านี้ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และ
มโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรม
ตามความเห็นชอบ หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในหมู่มนุษย์ สัตว์เหล่านี้ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร
กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และ
ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในเปรตวิสัย
หรือสัตว์เหล่านี้ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ
มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ก็หรือว่าสัตว์เหล่านี้ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต
และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรม
ตามความเห็นผิด หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก๑
[๒๖๒] ภิกษุทั้งหลาย นายนิรยบาล๒จับแขนเขาไปแสดงต่อพญายม๓ว่า
‘ขอเดชะ คนผู้นี้ไม่เกื้อกูลมารดา ไม่เกื้อกูลบิดา ไม่เกื้อกูลสมณะ ไม่เกื้อกูล
พราหมณ์ และไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล ขอพระองค์จงลงโทษคนผู้นี้เถิด’
ภิกษุทั้งหลาย พญายมสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูต๔ที่ ๑ ว่า ‘เจ้า
ไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๑ ปรากฏในหมู่มนุษย์บ้างหรือ’
เขาตอบว่า ‘ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า’
พญายมถามเขาว่า ‘ในหมู่มนุษย์ เด็กเล็กผู้ยังอ่อนนอนหงายกลิ้งเกลือกอยู่
ในมูตรและกรีสของตน เจ้าไม่เคยเห็นบ้างหรือ’
เขาตอบว่า ‘เคยเห็น พระเจ้าข้า’
‘เจ้านั้นเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้คิดอย่างนี้หรือว่า ‘ถึงตัวเราก็มี
ความเกิดเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเกิดไปได้ เอาเถิด เราจะทำความดีทางกาย
วาจา และใจ’
‘ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร
‘เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัวประมาทอยู่ เอาเถิด
เราจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนี้นั้น บิดามารดา พี่ชายน้องชาย
พี่สาวน้องสาว มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา ไม่ได้
ทำให้เจ้าเลย เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรมนั้น’ (๑)
[๒๖๓] พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๑ แล้ว จึง
สอบสวนซักไซ้ไล่เลียง ถึงเทวทูตที่ ๒ ว่า ‘เจ้าไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๒ ปรากฏ
ในหมู่มนุษย์บ้างหรือ’
เขาตอบว่า ‘ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า’
‘ในหมู่มนุษย์ สตรีหรือบุรุษมีอายุ ๘๐ ปี ... ๙๐ ปี ... หรือ ๑๐๐ ปี
เป็นคนชรา มีซี่โครงคด หลังโก่ง หลังค่อม ถือไม้เท้า เดินงก ๆ เงิ่น ๆ เก้ ๆ
กัง ๆ หมดความเป็นหนุ่มสาว ฟันหัก ผมหงอก ศีรษะล้าน หนังเหี่ยว ตัวตกกระ
เจ้าไม่เคยเห็นบ้างหรือ’
‘เคยเห็น พระเจ้าข้า’
‘เจ้านั้นเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้คิดอย่างนี้หรือว่า ‘ถึงตัวเราก็มี
ความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เอาเถิด เราจะทำความดีทางกาย
วาจา และใจ’
‘ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า’
‘เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัวประมาทอยู่ เอาเถิด
เราจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนี้นั้น บิดามารดา พี่ชายน้องชาย
พี่สาวน้องสาว มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา ไม่ได้
ทำให้เจ้าเลย เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรมนั้น’ (๒)
[๒๖๔] พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๒ แล้ว จึง
สอบสวนซักไซ้ไล่เลียงถึงเทวทูตที่ ๓ ว่า ‘เจ้าไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๓ ปรากฏใน
หมู่มนุษย์บ้างหรือ’
เขาตอบว่า ‘ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร
‘ในหมู่มนุษย์ สตรีหรือบุรุษเจ็บป่วย ประสบทุกข์ เป็นไข้หนัก นอนจมอยู่
ในมูตรและกรีสของตน ผู้อื่นต้องช่วยพยุงให้ลุกขึ้นช่วยป้อนอาหาร เจ้าไม่เคยเห็น
บ้างหรือ’
‘เคยเห็น พระเจ้าข้า’
‘เจ้านั้นเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้คิดอย่างนี้หรือว่า ‘ถึงตัวเราก็มี
ความป่วยไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความป่วยไข้ไปได้ เอาเถิด เราจะทำความดี
ทางกาย วาจา และใจ’
‘ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า’
‘เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัวประมาทอยู่ เอาเถิด
เราจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนี้นั้น บิดามารดา พี่ชายน้องชาย
พี่สาวน้องสาว มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา ไม่ได้
ทำให้เจ้าเลย เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรมนั้น’ (๓)
[๒๖๕] พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๓ แล้ว จึงสอบ
สวนซักไซ้ไล่เลียงถึงเทวทูตที่ ๔ ว่า ‘เจ้าเคยเห็นเทวทูตที่ ๔ ปรากฏในหมู่
มนุษย์บ้างหรือ’
เขาตอบว่า ‘ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า’
‘ในหมู่มนุษย์ พระราชารับสั่งให้จับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว ลงอาญาด้วย
ประการต่าง ๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลอง
บ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง
ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบนศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้
ขาวเหมือนสังข์บ้าง เอาไฟยัดปากจนเลือดไหลเหมือนปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัว
ราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผาบ้าง พันมือแล้วจุดไฟต่างคบบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึง
ข้อเท้าให้ลุกเดินเหยียบหนังจนล้มลงบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงบั้นเอว ทำให้มองดู
เหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่าแล้วเสียบหลาวทั้ง ๕
ทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยวหนัง เนื้อ เอ็นออกมาบ้าง เฉือนเนื้อออกเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร
แว่น ๆ เหมือนเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนัง เนื้อ เอ็น ออกเหลือไว้แต่
กระดูกบ้าง ใช้หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง เสียบให้ติดดินแล้วจับเขาหมุนได้
รอบบ้าง ทุบกระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือไว้แต่กองเนื้อเหมือนตั่งใบไม้บ้าง
รดตัวด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัดกินจนเหลือแต่กระดูกบ้าง ให้
นอนบนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง เจ้าไม่เคยเห็นบ้างหรือ’
‘เคยเห็น พระเจ้าข้า’
‘เจ้านั้นเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้คิดอย่างนี้หรือว่า ‘ได้ยินว่า
สัตว์ผู้ทำบาปกรรมไว้เหล่านั้น จะถูกลงอาญาด้วยประการต่าง ๆ เห็นปานนี้ใน
ปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงชาติหน้า เอาเถิด เราจะทำความดีทางกาย วาจา
และใจ’
‘ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า’
‘เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัวประมาทอยู่ เอาเถิด
เราจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนี้นั้น บิดามารดา พี่ชายน้องชาย
พี่สาวน้องสาว มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา ไม่ได้ทำให้เจ้า
เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรมนั้น’ (๔)
[๒๖๖] พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๔ แล้ว จึง
สอบสวนซักไซ้ไล่เลียงถึงเทวทูตที่ ๕ ว่า ‘เจ้าไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๕ ปรากฏใน
หมู่มนุษย์บ้างหรือ’
เขาตอบว่า ‘ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า’
‘ในหมู่มนุษย์ สตรีหรือบุรุษที่ตาย ๑ วัน ๒ วัน หรือ ๓ วัน พองขึ้น
เป็นสีเขียว มีน้ำเหลืองแตกซ่าน เจ้าไม่เคยเห็นบ้างหรือ’
‘เคยเห็น พระเจ้าข้า’
‘เจ้าเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้คิดอย่างนี้หรือว่า ‘ถึงตัวเราก็มีความ
ตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เอาเถิด เราจะทำความดีทางกาย วาจา
และใจ’
‘ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร
‘เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัวประมาทอยู่ เอาเถิด
เราจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนี้นั้น บิดามารดา พี่ชายน้องชาย
พี่สาวน้องสาว มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา ไม่ได้
ทำให้เจ้าเลย เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรมนั้น’ (๕)
[๒๖๗] พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๕ นั้นแล้วก็นิ่งเฉย
นายนิรยบาลจึงลงกรรมกรณ์ชื่อเครื่องพันธนาการ ๕ อย่าง คือ ตอกตะปู
เหล็กร้อนแดงที่มือ ๒ ข้าง ที่เท้า ๒ ข้าง และที่กลางอก เขาเสวยทุกขเวทนา
กล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน ณ ที่นั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยัง
ไม่สิ้นไป
นายนิรยบาลฉุดลากเขาไป เอาขวานถาก ฯลฯ
นายนิรยบาลจับเขาเอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง เอามีดเฉือน ฯลฯ จับเขา
เทียมรถแล่นกลับไปกลับมาบนพื้นดินอันร้อนลุกเป็นเปลว โชติช่วง ฯลฯ บังคับ
เขาขึ้นลงภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ที่ไฟลุกโชน ฯลฯ จับเขาเอาเท้าขึ้น เอาศีรษะ
ลง ทุ่มลงในโลหกุมภีอันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟ เขาถูกต้มเดือดจนตัวพองใน
โลหกุมภีนั้น เขาเมื่อถูกต้มเดือดจนตัวพองในโลหกุมภีนั้น บางครั้งลอยขึ้น
บางครั้งจมลง บางครั้งลอยขวาง เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน
อยู่ในโลหกุมภีอันร้อนแดงนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป
นายนิรยบาลจึงทุ่มเขาลงในมหานรก
ก็มหานรกนั้น
มี ๔ มุม ๔ ประตู แบ่งออกเป็นส่วน
มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็ก
มหานรกนั้น มีพื้นเป็นเหล็ก ลุกโชนโชติช่วง
แผ่ไปไกลด้านละ ๑๐๐ โยชน์ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ
[๒๖๘] ภิกษุทั้งหลาย เปลวไฟแห่งมหานรกนั้น ลุกโพลงขึ้นจากฝาด้าน
ทิศตะวันออกจรดฝาด้านทิศตะวันตก ลุกโพลงขึ้นจากฝาด้านทิศตะวันตกจรดฝา
ด้านทิศตะวันออก ลุกโพลงขึ้นจากฝาด้านทิศเหนือจรดฝาด้านทิศใต้ ลุกโพลงขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร
จากฝาด้านทิศใต้จรดฝาด้านทิศเหนือ ลุกโพลงขึ้นจากเบื้องล่างจรดเบื้องบน ลุก
โพลงขึ้นจากเบื้องบนจรดเบื้องล่าง เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน
อยู่ในมหานรกนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป
มีสมัยที่บางครั้งบางคราว เมื่อล่วงกาลไปนาน ประตูด้านทิศตะวันออกของ
มหานรกนั้นจะถูกเปิด เขาจะวิ่งไปที่ประตูนั้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเขาวิ่งไปอย่าง
รวดเร็วจึงถูกไฟไหม้ผิวบ้าง ไหม้หนังบ้าง ไหม้เนื้อบ้าง ไหม้เอ็นบ้าง แม้กระดูก
ทั้งหลายก็มอดไหม้เป็นควัน อวัยวะที่ถูกแยกออกแล้วจะกลับคงรูปเดิมทันที ใน
ขณะที่เขามาถึง ประตูนั้นจะถูกปิด เขาจึงเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน
อยู่ในมหานรกนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป
มีสมัยที่บางครั้งบางคราว เมื่อล่วงกาลไปนาน ประตูด้านทิศตะวันตกของ
มหานรกนั้นจะถูกเปิด ... ประตูด้านทิศเหนือจะถูกเปิด ... ประตูด้านทิศใต้จะถูก
เปิด ... เขาจะวิ่งไปที่ประตูนั้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเขาวิ่งไปอย่างรวดเร็วจึงถูกไฟ
ไหม้ผิวบ้าง ไหม้หนังบ้าง ไหม้เนื้อบ้าง ไหม้เอ็นบ้าง แม้กระดูกทั้งหลายก็มอด
ไหม้เป็นควัน อวัยวะที่ถูกแยกออกแล้วจะกลับคงรูปเดิมทันที ในขณะที่เขามาถึง
ประตูนั้นจะถูกปิด เขาจึงเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน อยู่ใน
มหานรกนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป
มีสมัยที่บางครั้งบางคราว เมื่อล่วงกาลไปนาน ประตูมหานรกด้านทิศ
ตะวันออกจะถูกเปิด เขาจะวิ่งไปที่ประตูนั้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเขาวิ่งไปอย่างรวดเร็ว
จึงถูกไฟไหม้ผิวบ้าง ไหม้หนังบ้าง ไหม้เนื้อบ้าง ไหม้เอ็นบ้าง แม้กระดูกทั้งหลาย
ก็มอดไหม้เป็นควัน อวัยวะที่ถูกแยกออกแล้วจะกลับคงรูปเดิมทันที (แต่)เขาจะ
ออกทางประตูนั้นได้
[๒๖๙] ภิกษุทั้งหลาย
๑. รอบ ๆ มหานรกนั้น มีคูถนรกขนาดใหญ่อยู่ เขาตกลงในคูถนรกนั้น
ในคูถนรกนั้นแล สัตว์ปากเข็มทั้งหลายย่อมเจาะผิว เจาะผิวแล้ว
จึงเจาะหนัง เจาะหนังแล้ว จึงเจาะเนื้อ เจาะเนื้อแล้ว จึงเจาะเอ็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร
เจาะเอ็นแล้ว จึงเจาะกระดูก เจาะกระดูกแล้ว จึงกินเยื่อในกระดูก
เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน อยู่ในมหานรกนั้น
แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป
๒. รอบ ๆ คูถนรกนั้น มีกุกกุลนรก๑ขนาดใหญ่อยู่ เขาตกลงใน
กุกกุลนรกนั้น จึงเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน อยู่ใน
กุกกุลนรกนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป
๓. รอบ ๆ กุกกุลนรกนั้น มีป่างิ้วขนาดใหญ่สูง ๑ โยชน์ มีหนามยาว
๑๖ องคุลี ร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟ นายนิรยบาลบังคับเขาขึ้นลง
ที่ป่างิ้วนั้น เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน อยู่ใน
ป่างิ้วนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป
๔. รอบ ๆ ป่างิ้วนั้นมีป่าไม้ที่มีใบเป็นดาบขนาดใหญ่อยู่ เขาเข้าไป
ในป่าไม้ที่มีใบเป็นดาบนั้น ใบไม้ที่เป็นดาบถูกลมพัดแล้วจะตัดมือ
เขาบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดมือและเท้าบ้าง ตัดหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง
ตัดหูและจมูกบ้าง เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน
อยู่ในป่าไม้ที่มีใบเป็นดาบนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรม
นั้นยังไม่สิ้นไป
๕. รอบ ๆ ป่าไม้ที่มีใบเป็นดาบนั้นมีแม่น้ำอันมีน้ำเป็นด่างขนาดใหญ่
อยู่ เขาตกลงในแม่น้ำอันมีน้ำเป็นด่างนั้น จึงลอยไปในแม่น้ำอันมี
น้ำเป็นด่างนั้น ตามกระแสบ้าง ทวนกระแสบ้าง ตามกระแสและ
ทวนกระแสบ้าง เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน
อยู่ในนรกแม่น้ำอันมีน้ำเป็นด่างนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่
บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร
[๒๗๐] ภิกษุทั้งหลาย นายนิรยบาลใช้เบ็ดเกี่ยวสัตว์นรกนั้นขึ้นมาวางไว้บนบก
แล้วถามเขาอย่างนี้ว่า ‘พ่อมหาจำเริญ เจ้าต้องการอะไร’
เขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าหิว เจ้าข้า’
นายนิรยบาลจึงใช้ขอเหล็กอันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟเกี่ยวปากให้อ้า แล้วใส่
ก้อนโลหะอันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟเข้าไปในปาก ก้อนโลหะนั้นจึงไหม้ริมฝีปากบ้าง
ไหม้ปากบ้าง ไหม้คอบ้าง ไหม้ท้องบ้าง พาไส้ใหญ่บ้าง ไส้น้อยบ้างของเขา
ออกมาทางทวารหนัก เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน อยู่ในนรกนั้น
แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป
นายนิรยบาลถามเขาว่า ‘พ่อมหาจำเริญ เจ้าต้องการอะไร’
เขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้ากระหาย เจ้าข้า’
นายนิรยบาลจึงใช้ขอเหล็กอันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟเกี่ยวปากให้อ้า แล้ว
กรอกน้ำทองแดงอันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟเข้าไปในปาก น้ำทองแดงนั้นจึงลวก
ริมฝีปากบ้าง ลวกปากบ้าง ลวกคอบ้าง ลวกท้องบ้าง พาไส้ใหญ่บ้าง ไส้น้อย
บ้างของเขา ออกมาทางทวารหนัก เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน
อยู่ในนรกนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาล
จึงโยนเขาเข้าไปในมหานรกอีก
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พญายมได้คิดว่า ‘ได้ยินว่า ชนเหล่าใดทำ
บาปอกุศลกรรมไว้ในโลก ชนเหล่านั้นจึงถูกนายนิรยบาลทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ
อย่างนี้ โอหนอ เราพึงได้ความเป็นมนุษย์ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พึงเสด็จอุบัติในโลก เราพึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ พระองค์พึงแสดงธรรมแก่เรา และ
เราพึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์’
เราได้ฟังความนั้นจากสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้ว จึงกล่าวอย่างนี้ก็หาไม่
แต่เรากล่าวสิ่งที่เรารู้เอง เห็นเอง ทราบเองเท่านั้น”
[๒๗๑] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้
ตรัสคาถาประพันธ์อื่นอีกต่อไปว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค
“มาณพเหล่าใดอันเทวทูตตักเตือนแล้ว ยังประมาทอยู่
มาณพเหล่านั้นเข้าถึงหมู่ที่เลว
ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน
ส่วนสัตบุรุษเหล่าใดเป็นผู้สงบในโลกนี้
อันเทวทูตตักเตือนแล้ว ไม่ประมาทในอริยธรรมในกาลใด ๆ
เห็นภัยในความยึดมั่นถือมั่น
ที่เป็นบ่อเกิดแห่งความเกิดและความตาย
เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น จึงหลุดพ้น
ในธรรมเป็นที่สิ้นความเกิดและความตาย
สัตบุรุษเหล่านั้นจึงถึงความเกษม
มีความสุข ดับสนิทในปัจจุบัน
ล่วงพ้นเวรและภัยทุกอย่าง
ข้ามพ้นทุกข์ทั้งสิ้นได้แล้ว” ดังนี้แล๑
เทวทูตสูตรที่ ๑๐ จบ
สุญญตวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จูฬสุญญตสูตร ๒. มหาสุญญตสูตร
๓. อัจฉริยัพภูตสูตร ๔. พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร
๕. ทันตภูมิสูตร ๖. ภูมิชสูตร
๗. อนุรุทธสูตร ๘. อุปักกิเลสสูตร
๙. พาลปัณฑิตสูตร ๑๐. เทวทูตสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑. ภัทเทกรัตตสูตร

๔. วิภังควรรค
หมวดว่าด้วยการจำแนกธรรม
๑. ภัทเทกรัตตสูตร
ว่าด้วยผู้มีราตรีเดียวเจริญ
[๒๗๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอุทเทส๑และวิภังค์๒ของบุคคลผู้มีราตรีเดียว
เจริญ๓แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังอุทเทสและวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสคาถาประพันธ์นี้ว่า
“บุคคลไม่ควรคำนึงถึง๔สิ่งที่ล่วงไปแล้ว๕
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑. ภัทเทกรัตตสูตร
ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”๑
[๒๗๓] บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลดำเนินไปตามความเพลิดเพลิน๒ที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต
เราได้มีรูปอย่างนี้”
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีเวทนา
อย่างนี้”
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสัญญา
อย่างนี้”
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสังขาร
อย่างนี้”
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีวิญญาณ
อย่างนี้”๓
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑. ภัทเทกรัตตสูตร
บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เรา
ได้มีรูปอย่างนี้”
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีเวทนา
อย่างนี้”
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสัญญา
อย่างนี้”
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสังขาร
อย่างนี้”
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มี
วิญญาณอย่างนี้”
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล
[๒๗๔] บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต เรา
พึงมีรูปอย่างนี้”
ในอนาคต เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต เราพึงมี
วิญญาณอย่างนี้”
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต
เราพึงมีรูปอย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑. ภัทเทกรัตตสูตร
ในอนาคต เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต เราพึงมี
วิญญาณอย่างนี้”
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
[๒๗๕] บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง
พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง
พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณ
บ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความ
เป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง ไม่
พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑. ภัทเทกรัตตสูตร
ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตามี
วิญญาณบ้าง ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาใน
วิญญาณบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘เราจักแสดงอุทเทสและวิภังค์
ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญแก่เธอทั้งหลาย’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ด้วยประการ
ฉะนี้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
ภัทเทกรัตตสูตรที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร

๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์แสดงเรื่องผู้มีราตรีเดียวเจริญ
[๒๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์ชี้แจงให้ภิกษุ
ทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และกล่าวอุทเทสและวิภังค์แห่งบุคคล
ผู้มีราตรีเดียวเจริญอยู่ในหอฉัน
ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น๑ เข้าไปยังหอฉัน
แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย ใครหนอชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และ
กล่าวอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญอยู่ในหอฉัน”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระอานนท์ชี้แจงให้
ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และได้กล่าวอุทเทสและวิภังค์ของ
บุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญอยู่ในหอฉัน พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์
เธอชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้
อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และได้กล่าวอุทเทส
และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญไว้อย่างไร”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ชี้แจงให้
ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาอย่างนี้ และได้กล่าวอุทเทสและวิภังค์
ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
[๒๗๗] บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้
มีรูปอย่างนี้”
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีเวทนา
อย่างนี้”
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสัญญา
อย่างนี้”
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสังขาร
อย่างนี้”
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีวิญญาณ
อย่างนี้”
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร
บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เรา
ได้มีรูปอย่างนี้”
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีเวทนา
อย่างนี้”
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสัญญา
อย่างนี้”
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสังขาร
อย่างนี้”
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มี
วิญญาณอย่างนี้”
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต เรา
พึงมีรูปอย่างนี้”
ในอนาคต เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต เราพึงมี
วิญญาณอย่างนี้”
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต
เราพึงมีรูปอย่างนี้”
ในอนาคต เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร
ในอนาคต เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต เราพึงมี
วิญญาณอย่างนี้”
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง
พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง
พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณ
บ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดใน
ธรรมของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา
บ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง
ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตามี
วิญญาณบ้าง ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาใน
วิญญาณบ้าง
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาอย่างนี้ และได้กล่าวอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
[๒๗๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อานนท์ เธอชี้แจงให้ภิกษุ
ทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และได้กล่าวอุทเทสและวิภังค์ของ
บุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ฯลฯ
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล
ฯลฯ
นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
ฯลฯ
อานนท์ บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
ฯลฯ
อานนท์ บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
ฯลฯ
อานนท์ บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
ฯลฯ
อานนท์ บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
ฯลฯ
อานนท์ บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
ฯลฯ
อานนท์ บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์อื่นอีกต่อไปว่า
“บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ฯลฯ
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล
ฯลฯ
นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
อานันทภัทเทกรัตตสูตรที่ ๒ จบ

๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
ว่าด้วยพระมหากัจจานะแสดงเรื่องผู้มีราตรีเดียวเจริญ
[๒๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตโปทาราม เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิลุกขึ้นในราตรีตอนใกล้รุ่ง เข้าไปยังสระตโปทะเพื่อสรงน้ำ
สรงเสร็จแล้วได้กลับมายืนนุ่งผ้าผืนเดียวผึ่งตัวให้แห้งอยู่ ขณะนั้น เมื่อราตรีผ่านไป๑
เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วสระตโปทะ เข้าไปหา
ท่านพระสมิทธิถึงที่อยู่ แล้วยืน ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระสมิทธิอย่างนี้
ว่า “ภิกษุ ท่านจำอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญได้ไหม”
ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า “อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำอุทเทสและวิภังค์
ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญได้ไหม”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
‘แม้ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ อนึ่ง ท่านจำคาถาที่แสดงถึงบุคคลผู้มีราตรีเดียว
เจริญได้ไหม”
“อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำได้ไหม”
“ภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ ขอท่านจงศึกษา เล่าเรียน และจำอุทเทส
และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญเถิด เพราะว่าอุทเทสและวิภังค์ของบุคคล
ผู้มีราตรีเดียวเจริญ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติ
พรหมจรรย์”
เทวดานั้นกล่าวดังนี้แล้ว ก็หายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
[๒๘๐] ครั้งนั้น เมื่อล่วงราตรีนั้นไป ท่านพระสมิทธิได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อคืนนี้ตอนใกล้รุ่ง ข้าพระองค์
ลุกขึ้นเข้าไปยังสระตโปทะเพื่อสรงน้ำ สรงเสร็จแล้ว ได้กลับมายืนนุ่งผ้าผืนเดียว
ผึ่งตัวให้แห้งอยู่ ขณะนั้น เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณะงดงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วสระตโปทะ เข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ แล้วยืน ณ ที่สมควร
ได้กล่าวกับข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ภิกษุ ท่านจำอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มี
ราตรีเดียวเจริญได้ไหม’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเทวดานั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าว
กับเทวดานั้นว่า ‘ผู้มีอายุ อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำได้ไหม’
เทวดากล่าวว่า ‘แม้ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ อนึ่ง ท่านจำคาถาอันแสดงถึงบุคคลผู้
มีราตรีเดียวเจริญได้ไหม’
ข้าพระองค์ตอบว่า ‘อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำได้ไหม’
เทวดากล่าวว่า ‘ภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ ขอท่านจงศึกษา เล่าเรียน
และจำอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญเถิด เพราะว่าอุทเทสและ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
วิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งการ
ประพฤติพรหมจรรย์‘๑
เทวดานั้นกล่าวดังนี้แล้ว ก็หายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดง
อุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญแก่ข้าพระองค์เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว”
ท่านพระสมิทธิทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถา
ประพันธ์นี้ว่า
“บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสคาถาประพันธ์นี้แล้ว ทรงลุกจาก
พุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ
ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นได้เกิดความ
สงสัยว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อนี้แก่เรา
ทั้งหลายว่า
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่
ประทับ
ใครเล่าหนอ จะพึงชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นเกิดความคิดขึ้นว่า “ท่านพระมหากัจจานะนี้เป็นผู้ที่
พระศาสดาทรงยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่าน
พระมหากัจจานะก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ทางที่ดี เราทั้งหลายควรเข้าไป
หาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้กับท่านพระมหากัจจานะ”
[๒๘๑] ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กล่าวกับท่านพระมหากัจจานะว่า “ท่านกัจจานะ พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
อุทเทสโดยย่อนี้แก่เราทั้งหลายว่า
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ฯลฯ
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล
ฯลฯ
นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่
ประทับ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน เราทั้งหลายได้เกิดความสงสัยว่า
‘พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อนี้แก่เราทั้งหลายว่า
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ฯลฯ
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล
ฯลฯ
นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่
ประทับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
ใครเล่าหนอ จะพึงชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้’
ท่านกัจจานะ เราทั้งหลายคิดว่า ‘ท่านมหากัจจานะนี้เป็นผู้ที่พระศาสดาทรง
ยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่านมหากัจจานะก็
สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรง
ชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ทางที่ดี เราทั้งหลายควรเข้าไปหาท่านมหากัจจานะ
ถึงที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้กับท่านมหากัจจานะ’ ขอท่านมหากัจจานะ
จงชี้แจงเถิด”
ท่านพระมหากัจจานะจึงตอบว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ
ผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ ละเลยโคนและลำต้นของต้นไม้
ใหญ่ซึ่งมีแก่นไป เขาเข้าใจว่าแก่นไม้ต้องแสวงหาที่กิ่งและใบ แม้ฉันใด ข้ออุปไมย
นี้ก็ฉันนั้น เมื่อพระศาสดาทรงปรากฏเฉพาะหน้าท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายก็ละ
เลยพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นไป และพึงเข้าใจเนื้อความนั้นว่าต้องสอบถามกับ
กระผม แท้จริง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ ทรงเห็นสิ่งที่ควรเห็น
เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ ประกาศ ขยาย
เนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต และเวลานี้ก็
เป็นเวลาอันสมควรที่ท่านทั้งหลายจะทูลถามเนื้อความนี้กับพระองค์ พระผู้มี
พระภาคของเราทั้งหลายทรงตอบอย่างใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำไว้อย่างนั้นเถิด”
ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวตอบว่า “ท่านกัจจานะ เป็นความจริงที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ ทรงเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม
เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ ประกาศ ขยายเนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็น
เจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต และเวลานี้ก็เป็นเวลาอันสมควรที่เราทั้งหลายจะทูล
ถามเนื้อความนี้กับพระองค์ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงตอบอย่างใด เรา
ทั้งหลายจะพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้น อนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะเป็นผู้ที่
พระศาสดาทรงยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่าน
พระมหากัจจานะสามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ขอท่านพระมหากัจจานะไม่ต้องหนักใจ
ชี้แจงเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
กระผมจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว
ท่านพระมหากัจจานะจึงได้กล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงอุทเทสโดยย่อไว้ว่า
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ฯลฯ
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล
ฯลฯ
นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่
ประทับ
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กระผมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร โดยพิสดารอย่างนี้
[๒๘๒] บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
คือ วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในจักขุและรูปนั้นว่า ‘ในอดีต เรามี
จักขุอย่างนี้ มีรูปอย่างนี้’ เพราะวิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะ บุคคลจึง
ยินดีจักขุและรูปนั้น บุคคลเมื่อยินดีจักขุและรูปนั้น จึงชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในโสตะและเสียงนั้นว่า ‘ในอดีต เรามี
โสตะอย่างนี้ มีเสียงอย่างนี้’ ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในฆานะและกลิ่นนั้นว่า ‘ในอดีต เรามี
ฆานะอย่างนี้ มีกลิ่นอย่างนี้’ ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในชิวหาและรสนั้นว่า ‘ในอดีต เรามี
ชิวหาอย่างนี้ มีรสอย่างนี้’ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะนั้นว่า ‘ในอดีต
เรามีกายอย่างนี้ มีโผฏฐัพพะอย่างนี้’ ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์นั้นว่า ‘ในอดีต
เรามีมโนอย่างนี้ มีธรรมารมณ์อย่างนี้’ เพราะวิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะ
บุคคลจึงยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น บุคคลเมื่อยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้นจึงชื่อ
ว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
คือ วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในจักขุและรูปนั้นว่า ‘ในอดีต
เรามีจักขุอย่างนี้ มีรูปอย่างนี้’ เพราะวิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะ
บุคคลจึงไม่ยินดีจักขุและรูปนั้น บุคคลเมื่อไม่ยินดีจักขุและรูปนั้น จึงชื่อว่าไม่คำนึง
ถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในโสตะและเสียงนั้นว่า ‘ในอดีต เรามี
โสตะอย่างนี้ มีเสียงอย่างนี้’ ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในฆานะและกลิ่นนั้นว่า ‘ในอดีต เรา
มีฆานะอย่างนี้ มีกลิ่นอย่างนี้’ ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในชิวหาและรสนั้นว่า ‘ในอดีต เรามี
ชิวหาอย่างนี้ มีรสอย่างนี้’ ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะนั้นว่า ‘ในอดีต
เรามีกายอย่างนี้ มีโผฏฐัพพะอย่างนี้’ ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์นั้นว่า ‘ในอดีต
เรามีมโน๑อย่างนี้ มีธรรมารมณ์๒อย่างนี้’ เพราะวิญญาณไม่มีความผูกพันกับ
ฉันทราคะ บุคคลจึงไม่ยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น บุคคลเมื่อไม่ยินดีมโนและ
ธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล
[๒๘๓] บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีจักขุอย่างนี้
มีรูปอย่างนี้’ เพราะความตั้งจิตเป็นปัจจัย บุคคลจึงยินดีจักขุและรูปนั้น บุคคล
เมื่อยินดีจักขุและรูปนั้น จึงชื่อว่าหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีโสตะอย่างนี้ มีเสียง
อย่างนี้’ ...
ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีฆานะอย่างนี้ มีกลิ่น
อย่างนี้’ ...
ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีชิวหาอย่างนี้ มีรส
อย่างนี้’ ...
ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีกายอย่างนี้ มี
โผฏฐัพพะอย่างนี้’ ...
ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีมโนอย่างนี้ มี
ธรรมารมณ์อย่างนี้’ เพราะความตั้งจิตเป็นปัจจัย บุคคลจึงยินดีมโนและธรรมารมณ์
นั้น บุคคคลเมื่อยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่าหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีจักขุอย่างนี้
มีรูปอย่างนี้’ เพราะความไม่ตั้งจิตเป็นปัจจัย บุคคลจึงไม่ยินดีจักขุและรูปนั้น
บุคคลเมื่อไม่ยินดีจักขุและรูปนั้น จึงชื่อว่าไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
ไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีโสตะอย่างนี้ มี
เสียงอย่างนี้’ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
ไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีฆานะอย่างนี้ มี
กลิ่นอย่างนี้’ ...
ไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีชิวหาอย่างนี้ มี
รสอย่างนี้’ ...
ไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีกายอย่างนี้ มี
โผฏฐัพพะอย่างนี้’ ...
ไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีมโนอย่างนี้ มี
ธรรมารมณ์อย่างนี้’ เพราะความไม่ตั้งจิตเป็นปัจจัย บุคคลจึงไม่ยินดีมโนและ
ธรรมารมณ์นั้น บุคคลเมื่อไม่ยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่าไม่หวังสิ่งที่ยัง
ไม่มาถึง
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
[๒๘๔] บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในจักขุและรูปทั้ง ๒ อย่างที่เป็น
ปัจจุบันนั้น เพราะวิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะ บุคคลจึงยินดีจักขุและรูปนั้น
บุคคลเมื่อยินดีจักขุและรูป จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในโสตะและเสียง ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในฆานะและกลิ่น ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในชิวหาและรส ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะ ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ อย่างที่
เป็นปัจจุบันนั้นเพราะวิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะ บุคคลจึงยินดีมโนและ
ธรรมารมณ์นั้น บุคคลเมื่อยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมที่
เป็นปัจจุบัน
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในจักขุและรูปทั้ง ๒ อย่างที่เป็น
ปัจจุบันนั้น เพราะวิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะ บุคคลจึงไม่ยินดีจักขุ
และรูปนั้น บุคคลเมื่อไม่ยินดีจักขุและรูปนั้น จึงชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็น
ปัจจุบัน
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในโสตะและเสียง ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในฆานะและกลิ่น ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในชิวหาและรส ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะ ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ อย่างที่
เป็นปัจจุบันนั้น เพราะวิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะ บุคคลจึงไม่ยินดี
มโนและธรรมารมณ์นั้น บุคคลเมื่อไม่ยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่าไม่
ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
[๒๘๕] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อไว้แก่
เราทั้งหลายว่า
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ฯลฯ
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล
ฯลฯ
นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์ เสด็จเข้าไปยัง
ที่ประทับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๔๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น