Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๒-๖ หน้า ๒๗๐ - ๓๒๒

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒-๖ สุตตันตปิฎกที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก ฉักกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๓. สากัจฉสูตร
๓. สากัจฉสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย
[๑๖๓] ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ฯลฯ๑ จึงได้
กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ควรสนทนากับ
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลและตอบปัญหาที่มาในเรื่องสีลสัมปทาได้
๒. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิและตอบปัญหาที่มาในเรื่องสมาธิ-
สัมปทาได้
๓. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาและตอบปัญหาที่มาในเรื่องปัญญา-
สัมปทาได้
๔. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติและตอบปัญหาที่มาในเรื่องวิมุตติ-
สัมปทาได้
๕. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะและตอบปัญหาที่มา
ในเรื่องวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรสนทนา
กับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
สากัจฉสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ฯลฯ ที่ปรากฏในข้อ ๑๖๓-๑๖๖ ดูความเต็มในข้อ ๑๖๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๔. อาชีวสูตร
๔. อาชีวสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ควรแก่สาชีพ๑
[๑๖๔] ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ฯลฯ จึงได้
กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ควรแก่สาชีพของ
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และตอบปัญหาที่มาในเรื่องสีลสัมปทาได้
๒. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และตอบปัญหาที่มาในเรื่องสมาธิ-
สัมปทาได้
๓. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และตอบปัญหาที่มาในเรื่องปัญญา-
สัมปทาได้
๔. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ และตอบปัญหาที่มาในเรื่องวิมุตติ-
สัมปทาได้
๕. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และตอบปัญหาที่มา
ในเรื่องวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่สาชีพ
ของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
อาชีวสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๖๖ (สาชีวสูตร) หน้า ๑๑๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๕. ปัญหาปุจฉาสูตร
๕. ปัญหาปุจฉาสูตร
ว่าด้วยการถามปัญหา
[๑๖๕] ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ฯลฯ จึงได้
กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปย่อมถามปัญหากับภิกษุอื่นด้วยเหตุ ๕ ประการ
ทั้งหมด หรือเหตุใดเหตุหนึ่ง
เหตุ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุบางรูปถามปัญหากับภิกษุอื่น เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
๒. ภิกษุบางรูปมีความปรารถนาชั่ว ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงถาม
ปัญหากับภิกษุอื่น
๓. ภิกษุบางรูปดูหมิ่น จึงถามปัญหากับภิกษุอื่น
๔. ภิกษุบางรูปประสงค์จะรู้จึงถามปัญหากับภิกษุอื่น
๕. ภิกษุบางรูปคิดอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุอื่นถ้าถูกเราถามปัญหาก็จักตอบให้
ชัดเจน นั่นเป็นการดี แต่ถ้าตอบไม่ชัดเจน เราเองจักตอบให้ชัดเจน
แก่เธอ’ จึงถามปัญหากับภิกษุอื่น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปย่อมถามปัญหากับภิกษุอื่นด้วยเหตุ ๕ ประการ
ทั้งหมด หรือเหตุใดเหตุหนึ่ง
ส่วนข้าพเจ้าคิดอย่างนี้ว่า ‘ถ้าภิกษุอื่นถูกเราถามปัญหาก็จักตอบให้ชัดเจน
นั่นเป็นการดี แต่ถ้าตอบไม่ชัดเจน เราเองจักตอบให้ชัดเจนแก่ภิกษุนั้น’ จึงถาม
ปัญหากับภิกษุอื่น
ปัญหาปุจฉาสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๖. นิโรธสูตร
๖. นิโรธสูตร
ว่าด้วยนิโรธ
[๑๖๖] ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ฯลฯ จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อม
ด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญา-
เวทยิตนิโรธบ้าง หากเธอไม่บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่เธอจะล่วงความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา๑ แล้วเข้าถึงกายมโนมัย๒ชั้นใดชั้นหนึ่ง
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ๓บ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง”
เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีจึงกล่าวกับท่านพระ
สารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับ
เหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญา
เวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เป็นไปไม่ได้แน่นอน”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย เป็นไปได้ที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
ถึงพร้อมด้วยปัญญา เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง
หากเธอไม่บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่เธอจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วม
กับเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญา-
เวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง”

เชิงอรรถ :
๑ เหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา ในที่นี้หมายถึงเทวดาชั้นกามาวจร (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๖/๖๔)
๒ ดู เชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๔๔ (มนาปทายีสูตร) หน้า ๗๒ ในเล่มนี้
๓ สัญญาเวทยิตนิโรธ หมายถึงการดับสัญญาและเวทนา เรียกสั้น ๆ ว่า นิโรธสมาบัติ เป็นสมาบัติข้อที่ ๙
ในอนุปุพพวิหาร ๙ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๓/๒๓๔, องฺ.นวก. ๒๓/๓๒/๓๓๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๖. นิโรธสูตร
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีก็ได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่าน
สารีบุตร เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าว
เป็นภักษาแล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจาก
สัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เป็นไปไม่ได้แน่นอน”
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้มีความคิดว่า “ท่านอุทายีคัดค้านเราถึง ๓ ครั้ง
และภิกษุบางรูปก็ไม่อนุโมทนาเรา ทางที่ดี เราควรจะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ” ครั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา เข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง หากเธอไม่บรรลุอรหัตตผล
ในปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่เธอจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็น
ภักษา แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจาก
สัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง”
เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกับท่านพระ
สารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับ
เหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญา-
เวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เป็นไปไม่ได้แน่นอน”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย เป็นไปได้ที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
ถึงพร้อมด้วยปัญญา เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง
หากเธอไม่บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่เธอจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับ
เหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญา-
เวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๖. นิโรธสูตร
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา
แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญา-
เวทยิตนิโรธบ้าง เป็นไปไม่ได้แน่นอน”
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้มีความคิดว่า “ท่านอุทายี คัดค้านเราถึง
๓ ครั้งต่อพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค และภิกษุบางรูปก็ไม่อนุโมทนาเรา ทางที่ดี
เราพึงนิ่งเสีย” จึงได้นิ่งอยู่
จากนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านอุทายีว่า “อุทายี เธอหมายถึงกาย-
มโนมัยอย่างไหน”
ท่านพระอุทายีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หมายถึงเหล่า
เทพชั้นอรูปพรหมที่สำเร็จด้วยสัญญา”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุทายี การพูดของเธอผู้เขลา ไม่ฉลาด จะมี
ประโยชน์อะไร เธอเข้าใจถึงสิ่งที่เธอพูดหรือ”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์
เป็นไปได้หรือที่เธอทั้งหลายเพิกเฉยต่อภิกษุเถระผู้กำลังถูกเบียดเบียนอยู่ เธอ
ทั้งหลายคงจะไม่มีความกรุณาในภิกษุเถระผู้ฉลาดซึ่งกำลังถูกเบียดเบียนอยู่๑”
พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้
ที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง หากเธอไม่บรรลุ
อรหัตตผลในปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่เธอจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาผู้มี
คำข้าวเป็นภักษา แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง
ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตครั้นตรัสดังนี้แล้วก็เสด็จ
ลุกขึ้นจากพุทธอาสน์ เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร๒

เชิงอรรถ :
๑ เหตุที่พระผู้มีพระภาคตรัสในเชิงตำหนิท่านพระอานนท์อย่างนี้ ก็เพราะท่านพระอานนท์เป็นสหายรักของ
ท่านพระสารีบุตรเถระและท่านเป็นธัมมภัณฑาคาริก (ขุนคลังพระธรรม) การห้ามปรามภิกษุผู้รุกรานภิกษุ
เถระอย่างนี้ เป็นหน้าที่ของภิกษุผู้เป็นธัมมภัณฑาคาริก (ตามนัย องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๖/๖๔)
๒ พระวิหาร ในที่นี้หมายถึงพระคันธกุฎี (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๖/๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๖. นิโรธสูตร
ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ท่านพระอานนท์ ได้เข้าไปหาท่าน
พระอุปวานะถึงที่อยู่แล้วกล่าวดังนี้ว่า “ท่านอุปวานะ ภิกษุเหล่าอื่นในศาสนานี้
เบียดเบียนพระเถระ พวกเราจะไม่ถามหาภิกษุเหล่านั้น การที่พระผู้มีพระภาคเสด็จ
ออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น จะปรารภเหตุนั้นนั่นแลแล้วยกขึ้นแสดงเหมือนที่จะ
พึงตรัสกับท่านอุปวานะโดยเฉพาะในเหตุนั้น นั้นไม่น่าอัศจรรย์ บัดนี้ ความน้อยใจ
ได้เกิดขึ้นแก่พวกเรา”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็นแล้วเสด็จเข้าไป
ประทับนั่งที่อุปัฏฐานศาลา ได้ตรัสถามท่านอุปวานะว่า
“อุปวานะ ภิกษุเถระประกอบด้วยธรรมเท่าไรจึงเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย”
ท่านอุปวานะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเถระประกอบด้วย
ธรรม ๕ ประการ จึงเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของ
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเถระในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่
สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้
๔. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง๑ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๕. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ๒อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๐๔ (สมณสุขุมาลสูตร) หน้า ๑๘๑ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒,๓ ข้อ ๒๕ (อนุคคหิตสูตร) หน้า ๓๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๗. โจทนาสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็น
ที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อุปวานะ ภิกษุเถระประกอบด้วยธรรม ๕
ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลาย หากภิกษุเถระไม่มีธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายจะสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอเพราะความเป็นผู้มีฟันหัก มีผมหงอก
มีหนังย่น เพื่ออะไร แต่เพราะภิกษุเถระมีธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายจึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอ”
นิโรธสูตรที่ ๖ จบ
๗. โจทนาสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้เป็นโจทก์๑
[๑๖๗] ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งมั่นธรรม ๕ ประการไว้ในตน
แล้วจึงโจทผู้อื่น
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เราจักกล่าวในกาลอันควร จักไม่กล่าวในกาลอันไม่ควร
๒. เราจักกล่าวถ้อยคำจริง จักไม่กล่าวถ้อยคำไม่จริง
๓. เราจักกล่าวถ้อยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวถ้อยคำหยาบ
๔. เราจักกล่าวถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวถ้อยคำ
อันไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๕. เราจักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่เพ่งโทษกล่าว

เชิงอรรถ :
๑ ผู้เป็นโจทก์ ในที่นี้หมายถึงผู้โจทก์ด้วยเรื่องสำหรับโจท ๔ อย่าง คือ (๑) วัตถุสันทัสสนา แสดงเรื่องที่ต้องอาบัติ
(๒) อาปัตติสันทัสสนา แสดงอาบัติที่ล่วงละเมิด (๓) สังวาสัปปฏิกเขปะ ห้ามสังวาสคือไม่ร่วมสังฆกรรม
มีอุโบสถกรรมและปวารณากรรมเป็นต้น (๔) สามีจิปฏิกเขปะ ไม่ทำสามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้น
(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๗/๖๕, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๖๗-๙-๖/๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๗. โจทนาสูตร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งมั่นธรรม ๕ ประการนี้
ไว้ในตนแล้วจึงโจทผู้อื่น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าเห็นบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ถูกผู้อื่นโจทในกาล
อันไม่ควร ไม่ถูกโจทในกาลอันควร ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ไม่ถูก
โจทด้วยถ้อยคำจริง ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยถ้อยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำ
อ่อนหวาน ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยถ้อยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจท
ด้วยถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยการเพ่งโทษ ไม่ถูก
โจทด้วยเมตตาจิต ก็โกรธ
ภิกษุพึงให้อวิปปฏิสาร (ความไม่ร้อนใจ) เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็น
ธรรม โดยอาการ ๕ คือ
๑. ท่านถูกโจทในกาลอันไม่ควร ไม่ถูกโจทในกาลอันควร ท่านจึงควร
มีอวิปปฏิสาร
๒. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำจริง ท่านจึง
ควรมีอวิปปฏิสาร
๓. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน
ท่านจึงควรมีอวิปปฏิสาร
๔. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วย
ถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรมีอวิปปฏิสาร
๕. ท่านถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ไม่ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ท่านจึงควรมี
อวิปปฏิสาร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุพึงให้มีอวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็น
ธรรม โดยอาการ ๕ นี้
ภิกษุพึงให้วิปปฏิสาร(ความร้อนใจ)เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยไม่เป็นธรรม
โดยอาการ ๕ คือ
๑. ท่านโจทในกาลอันไม่ควร ไม่โจทในกาลอันควร ท่านจึงควรมีวิปปฏิสาร
๒. ท่านโจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ไม่โจทด้วยถ้อยคำจริง ท่านจึงควรมี
วิปปฏิสาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๗. โจทนาสูตร
๓. ท่านโจทด้วยถ้อยคำหยาบ ไม่โจทด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน ท่านจึง
ควรมีวิปปฏิสาร
๔. ท่านโจทด้วยถ้อยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยถ้อยคำ
อันประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรมีวิปปฏิสาร
๕. ท่านโจทด้วยการเพ่งโทษ ไม่โจทด้วยเมตตาจิต ท่านจึงควรมี
วิปปฏิสาร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุพึงให้วิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยไม่เป็นธรรม
โดยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุแม้รูปอื่น ไม่พึงเข้าใจว่า ควรโจท
ด้วยถ้อยคำไม่จริง
ข้าพเจ้าเห็นบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ถูกโจทในกาลอันควร ไม่ถูกโจทใน
กาลอันไม่ควร ก็โกรธ ถูกโจทด้วยถ้อยคำจริง ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ก็โกรธ
ถูกโจทด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำหยาบ ก็โกรธ ถูกโจทด้วยถ้อย
คำอันประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ก็โกรธ ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ก็โกรธ
ภิกษุพึงให้วิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม โดยอาการ ๕ คือ
๑. ท่านถูกโจทในกาลอันควร ไม่ถูกโจทในกาลอันไม่ควร ท่านจึงควรมี
วิปปฏิสาร
๒. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำจริง ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ท่านจึง
ควรมีวิปปฏิสาร
๓. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำหยาบ
ท่านจึงควรมีวิปปฏิสาร
๔. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วย
ถ้อยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรมีวิปปฏิสาร
๕. ท่านถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงควรมี
วิปปฏิสาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๗. โจทนาสูตร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุพึงให้วิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม โดย
อาการ ๕ นี้
ภิกษุพึงให้อวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยธรรม โดยอาการ ๕ คือ
๑. ท่านโจทในกาลอันควร ไม่โจทในกาลอันไม่ควร ท่านจึงควรมี
อวิปปฏิสาร
๒. ท่านโจทด้วยถ้อยคำจริง ไม่โจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ท่านจึงควรมี
อวิปปฏิสาร
๓. ท่านโจทด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน ไม่โจทด้วยถ้อยคำหยาบ ท่านจึง
ควรมีอวิปปฏิสาร
๔. ท่านโจทด้วยถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยถ้อยคำ
อันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรมีอวิปปฏิสาร
๕. ท่านโจทด้วยเมตตาจิต ไม่โจทด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงควรมี
อวิปปฏิสาร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุพึงให้อวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยธรรม
โดยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุแม้รูปอื่นพึงเข้าใจว่าควรโจทด้วย
ถ้อยคำจริง
บุคคลผู้ถูกโจทพึงตั้งมั่นในธรรม ๒ ประการ คือ ความจริง และความไม่
โกรธว่า ‘ถ้าผู้อื่นพึงโจทเรา ด้วยธรรม ๕ ประการ คือ
๑. พึงโจทในกาลอันควรหรือในกาลอันไม่ควร
๒. พึงโจทด้วยถ้อยคำจริงหรือด้วยถ้อยคำไม่จริง
๓. พึงโจทด้วยถ้อยคำอ่อนหวานหรือด้วยถ้อยคำหยาบ
๔. พึงโจทด้วยถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์หรือด้วยถ้อยคำอันไม่
ประกอบด้วยประโยชน์
๕. พึงโจทด้วยเมตตาจิตหรือด้วยการเพ่งโทษ
แม้เราก็จะตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ ความจริงและความไม่โกรธ ถ้าเรา
พึงทราบว่าธรรมนั้นมีในเรา ก็จะพึงกล่าวว่า ‘มีอยู่’ และว่า ‘ปรากฏในเรา’ ถ้าพึง
ทราบว่า ธรรมนั้นไม่มีในเรา ก็จะพึงกล่าวว่า ‘ไม่มี’ และกล่าวว่า ‘ไม่ปรากฏในเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๗. โจทนาสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เรื่องพึงเป็นอย่างนั้น แต่โมฆบุรุษบางพวก
ในธรรมวินัยนี้ เมื่อถูกกล่าวสอน ย่อมไม่รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเหล่าใดไม่มี
ศรัทธา ต้องการเลี้ยงชีวิต มิใช่มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้
โอ้อวด มีมารยา เกเร ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ ไม่คุ้มครอง
ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ไม่ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่ ไม่มุ่งหวังความเป็นสมณะ ไม่มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา เป็น
ผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน เป็นผู้นำในโอกกมนธรรม๑ ทอดธุระในปวิเวก เกียจคร้าน
มีความเพียรต่ำ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง มีปัญญา
ทราม เป็นคนเซอะ๒ คนเหล่านั้น เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ ย่อมไม่
รับฟังโอวาทโดยเคารพ
ส่วนกุลบุตรเหล่าใดมีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่โอ้อวด ไม่มี
มารยา ไม่เกเร ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่โลเล ไม่ปากกล้า ไม่พูดพร่ำเพรื่อ
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่ มุ่งหวังความเป็นสมณะ มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา
ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโอกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภ
ความเพียร อุทิศกายและใจ มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตแน่วแน่
มีปัญญา ไม่เป็นคนเซอะ กุลบุตรเหล่านั้น เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้
ย่อมรับฟังโอวาทโดยเคารพ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการ
เลี้ยงชีวิต ไม่มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา เกเร
ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ ไม่มุ่งหวังความ

เชิงอรรถ :
๑ โอกกมนธรรม ในที่นี้หมายถึงนิวรณ์ ๕ คือ (๑) กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) (๒) พยาบาท (ความคิดร้าย)
(๓) ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) (๔) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) (๕) วิจิกิจฉา
(ความลังเลสังสัย) (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๔ ข้อ ๑๑๒ (ปัจฉาสมณสูตร) หน้า ๑๙๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๘. สีลสูตร
เป็นสมณะ ไม่มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา เป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน
เป็นผู้นำในโอกกมนธรรม ทอดธุระในปวิเวก เกียจคร้าน มีความเพียรต่ำ หลงลืมสติ
ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง มีปัญญาทราม เป็นคนเซอะ บุคคล
เหล่านั้น จงยกไว้
สารีบุตร ส่วนกุลบุตรเหล่าใดมีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่โอ้อวด
ไม่มีมารยา ไม่เกเร ไม่ฟุ้งซ้าน ไม่ถือตัว ไม่โลเล ไม่ปากกล้า ไม่พูดพร่ำเพรื่อ
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่ มุ่งหวังความเป็นสมณะ มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา ไม่มักมาก
ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโอกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียร อุทิศ
กายและใจ มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตแน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็น
คนเซอะ สารีบุตร เธอพึงว่ากล่าวกุลบุตรเหล่านั้น จงกล่าวสอนเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลาย จงพร่ำสอนเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายด้วยหวังว่า ‘เราจักยกเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายขึ้นจากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม’
สารีบุตร เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
โจทนาสูตรที่ ๗ จบ
๘. สีลสูตร
ว่าด้วยโทษแห่งความทุศีลและคุณแห่งความมีศีล
[๑๖๘] ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย สัมมาสมาธิของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อ
สัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้มียถาภูต-
ญาณทัสสนะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณ-
ทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
สัมมาสมาธิของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสัมมา-
สมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๙. ขิปปนิสันติสูตร
ขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้มียถาภูต-
ญาณทัสสนะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณ-
ทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เปรียบ
เหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น
ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสัมมา-
สมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ ชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วย
ยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติญาณ-
ทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมา-
สมาธิ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทา
และวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่า
มีเหตุสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก กระพี้
แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
สีลสูตรที่ ๘ จบ
๙. ขิปปนิสันติสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ใคร่ครวญได้เร็ว
[๑๖๙] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถาม
ท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ภิกษุจึงเป็นผู้ใคร่ครวญได้เร็ว เรียนได้เร็ว
เรียนได้มากในกุศลธรรมทั้งหลาย และสิ่งที่เธอเรียนแล้วจะไม่เลือนหายไป”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๙. ขิปปนิสันติสูตร
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านอานนท์เป็นพหูสูต เฉพาะท่านอานนท์เท่านั้น
ที่จะสามารถอธิบายเนื้อความนี้ให้แจ่มแจ้งได้๑”
พระอานนท์กล่าวว่า “ท่านสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
ผมจักกล่าว” ท่านพระสารีบุตรรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ฉลาดในอรรถ
๒. เป็นผู้ฉลาดในธรรม
๓. เป็นผู้ฉลาดในพยัญชนะ
๔. เป็นผู้ฉลาดในนิรุตติ
๕. เป็นผู้ฉลาดในเบื้องต้นและเบื้องปลาย๒
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงเป็นผู้ใคร่ครวญได้เร็ว เรียนได้ดี เรียนได้มาก
ในกุศลธรรมทั้งหลาย และสิ่งที่เธอเรียนแล้วย่อมไม่เลือนหายไป”
พระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏตามที่ท่าน
อานนท์กล่าวไว้ดีแล้วนี้ เราทั้งหลายขอทรงจำไว้ว่า ท่านอานนท์มีธรรม ๕ ประการนี้
ท่านอานนท์เป็นผู้ฉลาดในอรรถ ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาดในนิรุตติ
และฉลาดในเบื้องต้นและเบื้องปลาย”
ขิปปนิสันติสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ แปลจากบาลีว่า “ปฏิภาตุ อายสฺมนฺตญฺเ�ว อานนฺทํ” มีข้อสังเกตว่า โครงสร้างประโยคเช่นนี้ เป็นประโยค
ธรรมเนียมการให้โอกาส การเชิญ หรือการมอบหมายให้แสดงธรรมตาม ‘ความถนัดส่วนบุคคล’ มีปรากฏ
ในพระไตรปิฎกหลายเล่ม เช่น
ปรากฏใน ที.สี. ๙/๓๑๘/๑๒๔, ม.มู. ๑๒/๔๗๓/๔๒๒, องฺ.ติก. ๒๐/๖๙/๑๙๔ ว่า “สาธุ วต ภนฺเต
ภควนฺตํเยว โคตมํ ปฏิภาตุ เอตสฺส ภาสิตสฺส อตฺโถ”
ปรากฏใน ม.มู. ๑๒/๖๓/๔๑ ว่า “อุปมา มํ อาวุโส สารีปุตฺต ปฏิภาติ, ปฏิภาตุ ตํ อาวุโส
โมคคลฺลาน” และปรากฏใน องฺ.ทสก. ๒๔/๖๗/๙๗ ว่า “ปฏิภาตุ ตํ สารีปุตฺต ภิกฺขูนํ ธมฺมีกถา”
๒ ฉลาดในอรรถ หมายถึงฉลาดในอรรถกถา ฉลาดในธรรม หมายถึงฉลาดในพระบาลี ฉลาดในพยัญชนะ
หมายถึงฉลาดในด้านอักษรศาสตร์ ฉลาดในนิรุตติ หมายถึงฉลาดในภาษาศาสตร์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๙/
๖๕) ฉลาดในเบื้องต้นและเบื้องปลาย ในที่นี้หมายถึงฉลาดในเบื้องต้นเบื้องปลาย ๕ ประการ คือ
(๑) เบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งอรรถ (๒) เบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งธรรม (๓) เบื้องต้นและเบื้องปลาย
แห่งบท (๔) เบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งอักขระ (๕) เบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งอนุสนธิ (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๖๙/๖๕-๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๑๐. ภัททชิสูตร
๑๐. ภัททชิสูตร
ว่าด้วยท่านพระภัททชิ
[๑๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
ครั้งนั้นแล ท่านพระภัททชิได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระ
ภัททชิดังนี้ว่า
“ท่านภัททชิ บรรดาการเห็นทั้งหลาย การเห็นชนิดไหนเป็นเลิศ บรรดาการได้
ยินทั้งหลาย การได้ยินชนิดไหนเป็นเลิศ บรรดาสุขทั้งหลาย สุขชนิดไหนเป็นเลิศ
บรรดาสัญญาทั้งหลาย สัญญาชนิดไหนเป็นเลิศ บรรดาภพทั้งหลาย ภพชนิดไหน
เป็นเลิศ”
ท่านภัททชิตอบว่า “ผู้มีอายุ มีพรหมผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครครอบงำได้ เห็นทุกสิ่ง
มีอำนาจเหนือผู้อื่น ผู้ใดเห็นพรหมนั้น การเห็นของผู้นั้นนี้เลิศกว่าการเห็นทั้งหลาย
มีเทวดาเหล่าอาภัสสระ ผู้เพียบพร้อมด้วยความสุข เทวดาเหล่านั้นเปล่งอุทานบาง
ครั้งบางแห่งว่า “สุขหนอ ๆ” ผู้ใดได้ยินเสียงนั้น การได้ยินของผู้นั้นนี้เลิศกว่า
การได้ยินทั้งหลาย มีเทวดาเหล่าสุภกิณหะ เทวดาเหล่านั้นยินดีเฉพาะสิ่งที่มี เสวย
สุขอยู่ การเสวยสุขนี้เลิศกว่าความสุขทั้งหลาย มีเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญา-
ยตนภพ การเข้าถึงนี้เลิศกว่าสัญญาทั้งหลาย มีเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานา-
สัญญายตนภพ การเข้าถึงนี้เลิศกว่าภพทั้งหลาย
พระอานนท์กล่าวว่า “คำพูดของท่านภัททชิ ก็เหมือนกับคนจำนวนมาก”
พระภัททชิกล่าวว่า “ท่านอานนท์เป็นพหูสูต เฉพาะท่านอานนท์เท่านั้นที่จะ
สามารถอธิบายเนื้อความนี้ให้แจ่มแจ้งได้”
พระอานนท์กล่าวว่า “ท่านภัททชิ ถ้าเช่นนั้นท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจัก
กล่าว” ท่านพระภัททชิรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
“ผู้มีอายุ ความสิ้นอาสวะย่อมมีในลำดับแแก่บุคคลผู้เห็นตามความเป็นจริง
การเห็นนี้เลิศกว่าการเห็นทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะย่อมมีในลำดับแก่บุคคลผู้ได้ยิน
ตามความเป็นจริง การได้ยินนี้เลิศกว่าการได้ยินทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะย่อมมี
ในลำดับแก่บุคคลผู้ได้รับความสุขตามความเป็นจริง ความสุขนี้เลิศกว่าความสุข
ทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะย่อมมีในลำดับแก่บุคคลผู้มีสัญญาตามความเป็นจริง
สัญญานี้เลิศกว่าสัญญาทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะย่อมมีในลำดับแก่บุคคลผู้เป็นอยู่
ตามความเป็นจริง ความเป็นอยู่นี้เลิศกว่าภพทั้งหลาย”
ภัททชิสูตรที่ ๑๐ จบ
อาฆาตวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอาฆาตปฏิวินยสูตร ๒. ทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตร
๓. สากัจฉสูตร ๔. อาชีวสูตร
๕. ปัญหาปุจฉาสูตร ๖. นิโรธสูตร
๗. โจทนาสูตร ๘. สีลสูตร
๙. ขิปปนิสันติสูตร ๑๐. ภัททชิสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๑. สารัชชสูตร
๓. อุปาสกวรรค
หมวดว่าด้วยอุบาสก๑
๑. สารัชชสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ครั่นคร้าม
[๑๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมถึงความครั่นคร้าม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้พูดเท็จ
๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมถึงความ
ครั่นคร้าม
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์

เชิงอรรถ :
๑ อุบาสก หมายถึงผู้เข้าถึงพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖/๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๒. วิสารทสูตร
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้
แกล้วกล้า
สารัชชสูตรที่ ๑ จบ
๒. วิสารทสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้แกล้วกล้า
[๑๗๒] ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ไม่
แกล้วกล้าอยู่ครองเรือน
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
ฯลฯ๑
๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่แกล้วกล้า
อยู่ครองเรือน
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้แกล้วกล้าอยู่
ครองเรือน

เชิงอรรถ :
๑ ฯลฯ ที่ปรากฏในข้อ ๑๗๑,๑๗๒ ดูความเต็มในสารัชชสูตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๓. นิรยสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
ฯลฯ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้แกล้วกล้า
อยู่ครองเรือน
วิสารทสูตรที่ ๒ จบ
๓. นิรยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ตกนรก
[๑๗๓] อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือน
ถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
ฯลฯ
๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
ฯลฯ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
นิรยสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๔. เวรสูตร
๔. เวรสูตร
ว่าด้วยภัยเวร
[๑๗๔] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า
คหบดี อุบาสกละภัย๑เวร๒ ๕ ประการไม่ได้ เราเรียกว่า ‘ผู้ทุศีล’ และเขาย่อม
ไปเกิดในนรก
ภัยเวร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การฆ่าสัตว์
๒. การลักทรัพย์
๓. การประพฤติผิดในกาม
๔. การพูดเท็จ
๕. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
คหบดี อุบาสกละภัยเวร ๕ ประการนี้แลไม่ได้ เราเรียกว่า ‘ผู้ทุศีล’ และเขา
ย่อมไปเกิดในนรก
อุบาสกละภัยเวร ๕ ประการได้แล้ว เราเรียกว่า ‘ผู้มีศีล’ และเขาย่อมไปเกิด
ในสุคติ
ภัยเวร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การฆ่าสัตว์
๒. การลักทรัพย์
๓. การประพฤติผิดในกาม
๔. การพูดเท็จ
๕. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท

เชิงอรรถ :
๑ ภัย หมายถึงสิ่งที่ทำให้จิตสะดุ้ง (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๔/๖๗)
๒ เวร หมายถึงอกุศลกรรม และบุคคลผู้ก่อเวร (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๔/๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๔. เวรสูตร
คหบดี อุบาสกละภัยเวร ๕ ประการนี้แลได้แล้ว เราเรียกว่า ‘ผู้มีศีล’ และเขา
ย่อมไปเกิดในสุคติ
คหบดี อุบาสกผู้ฆ่าสัตว์ย่อมประสพภัยเวรใดทั้งในภพนี้และภพหน้า เสวย
ทุกขโทมนัส๑ทางใจใดเพราะมีการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย อุบาสกผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
ย่อมไม่ประสพภัยเวรนั้นทั้งในภพนี้และภพหน้า ย่อมไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจนั้น
ภัยเวรนั้นของอุบาสกผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ย่อมสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้
อุบาสกผู้ลักทรัพย์ ฯลฯ
อุบาสกผู้ประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
อุบาสกผู้พูดเท็จ ฯลฯ
อุบาสกผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ย่อม
ประสพภัยเวรใดทั้งในภพนี้และภพหน้า เสวยทุกขโทมนัสทางใจใดเพราะมีการ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทเป็นปัจจัย อุบาสกผู้
เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ย่อม
ไม่ประสพภัยเวรนั้นทั้งในภพนี้และภพหน้า ย่อมไม่เสวยทุกขโทมนัสที่เป็นไป
ทางใจนั้น ภัยเวรนั้นของอุบาสกผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท ย่อมสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้
นรชนใดในโลกฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
คบชู้กับภรรยาของผู้อื่น พูดเท็จ
และหมกมุ่นในการดื่มสุราและเมรัย๒
นรชนนั้นละเวร ๕ ประการไม่ได้
เราเรียกว่า ‘ผู้ทุศีล’
เขาผู้มีปัญญาทราม ตายไปแล้วย่อมไปเกิดในนรก

เชิงอรรถ :
๑ ทุกข์ คือทุกข์ที่มีกายประสาทเป็นที่ตั้ง หมายถึงความไม่สบายกายหรือทุกข์ทางกาย
โทมนัส คือ โทมนัสเวทนา หมายถึงความไม่สบายใจหรือทุกข์ใจ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๔/๖๗)
๒ ดู ขุ.ธ. ๒๕/๒๔๖/๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๕. จัณฑาลสูตร
นรชนใดในโลกไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์
ไม่คบชู้กับภรรยาของผู้อื่น ไม่พูดเท็จ
และไม่หมกมุ่นในการดื่มสุราและเมรัย
นรชนนั้นละเวร ๕ ประการได้
เราเรียกว่า ‘ผู้มีศีล’
เขาผู้มีปัญญา ตายไปแล้วย่อมไปเกิดในสุคติ
เวรสูตรที่ ๔ จบ
๕. จัณฑาลสูตร
ว่าด้วยอุบาสกจัณฑาล
[๑๗๕] ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นอุบาสก
จัณฑาล เป็นอุบาสกเศร้าหมอง และเป็นอุบาสกน่ารังเกียจ๑
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
๒. เป็นผู้ทุศีล
๓. เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว๒เชื่อมงคล ไม่เชื่อกรรม
๔. แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
๕. ทำอุปการะ๓นอกศาสนาก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกจัณฑาล
เป็นอุบาสกเศร้าหมอง และเป็นอุบาสกน่ารังเกียจ

เชิงอรรถ :
๑ อุบาสกน่ารังเกียจ ในที่นี้หมายถึงอุบาสกชั้นเลว (อุปาสกปัจฉิมกะ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๕/๖๗)
๒ ผู้ถือมงคลตื่นข่าว หมายถึงบุคคลผู้ประกอบด้วย (๑) ทิฏฐมงคล (เชื่อว่ารูปเป็นมงคล) (๒) สุตมงคล
(เชื่อว่าเสียงเป็นมงคล) (๓) มุตมงคล (เชื่อว่ากลิ่น รส โผฏฐัพพะเป็นมงคล) กล่าวคือต่างก็มีความเชื่อที่
แตกต่างกันไปว่า “สิ่งนี้ ๆ เป็นมงคล อะไร ๆ จักสำเร็จได้ด้วยสิ่งนี้ ๆ” (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๕/๖๗)
๓ ทำอุปการะ ในที่นี้หมายถึงทำกิจที่เป็นกุศลมีการให้ทานเป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๕/๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๖. ปีติสูตร
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นอุบาสกแก้ว เป็น
อุบาสกปทุม และเป็นอุบาสกบุณฑริก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้มีศรัทธา
๒. เป็นผู้มีศีล
๓. เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล
๔. ไม่แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
๕. ทำอุปการะในศาสนานี้ก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกแก้ว
เป็นอุบาสกปทุม และเป็นอุบาสกบุณฑริก
จัณฑาลสูตรที่ ๕ จบ
๖. ปีติสูตร
ว่าด้วยปีติ
[๑๗๖] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี มีอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คนแวดล้อม
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
คหบดี ท่านทั้งหลายได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร ท่านทั้งหลายไม่ควรทำความยินดีด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า
‘เราได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร’
เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘พวกเราพึงบรรลุปีติที่เกิด
จากวิเวก๑อยู่ตามกาลอันควรด้วยอุบายอย่างไร’ ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่าง
นี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ปีติที่เกิดจากวิเวก ในที่นี้หมายถึงปีติที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยปฐมฌานและทุติยฌาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๖/
๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๖. ปีติสูตร
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ตามที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระ
ดำรัสนี้ว่า ‘คหบดี ท่านทั้งหลายได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่าง
นี้ว่า ‘พวกเราพึงบรรลุปีติที่เกิดจากวิเวกอยู่ตามกาลอันควร ด้วยอุบายอย่างไร
ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยใดอริยสาวกบรรลุ
ปีติที่เกิดจากวิเวกอยู่ สมัยนั้น อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีฐานะ ๕ ประการ คือ
๑. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยกาม๑
๒. ไม่มีสุขโสมนัสอันประกอบด้วยกาม
๓. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยอกุศล๒
๔. ไม่มีสุขโสมนัสอันประกอบด้วยอกุศล
๕. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยกุศล
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยใด อริยสาวกบรรลุปีติที่เกิดจากวิเวกอยู่ สมัยนั้น
อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีฐานะ ๕ ประการนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร สมัยใด อริยสาวกบรรลุปีติที่เกิด
จากวิเวกอยู่ สมัยนั้น อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีฐานะ ๕ ประการ คือ
๑. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยกาม
๒. ไม่มีสุขโสมนัสอันประกอบด้วยกาม
๓. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยอกุศล

เชิงอรรถ :
๑ ทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยกาม หมายถึงทุกขโทมนัสที่เกิดขึ้นเพราะกาม ๒ ประเภท คือวัตถุกาม และ
กิเลสกาม (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๖/๖๘)
๒ ทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยอกุศล หมายถึงเมื่อบุคคลทำอกุศลกรรมเช่นยิงลูกศรไปด้วยคิดว่าจะฆ่าเนื้อ
และสุกร แต่เมื่อลูกศรผิดเป้าหมายไปก็เกิดทุกขโทมนัสขึ้นว่า ‘เรายิงพลาด’ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๖/๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๗. วณิชชาสูตร
๔. ไม่มีสุขโสมนัสอันประกอบด้วยอกุศล
๕. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยกุศล
สารีบุตร สมัยใด อริยสาวกบรรลุปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ สมัยนั้น อริยสาวกนั้น
ย่อมไม่มีฐานะ ๕ ประการนี้”
ปีติสูตรที่ ๖ จบ
๗. วณิชชาสูตร
ว่าด้วยการค้าขายที่อุบาสกไม่ควรประกอบ
[๑๗๗] ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกไม่ควรทำการค้าขาย ๕ ประการนี้
การค้าขาย ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การค้าขายศัสตราวุธ๑
๒. การค้าขายสัตว์๒
๓. การค้าขายเนื้อ๓
๔. การค้าขายของมึนเมา๔
๕. การค้าขายยาพิษ๕
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกไม่ควรทำการค้าขาย ๕ ประการนี้แล
วณิชชาสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ การค้าขายศัสตราวุธ หมายถึงการให้สร้างอาวุธแล้วขายอาวุธนั้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๗/๖๘) ที่ห้าม
ค้าขาย ก็เพราะการค้าขายอาวุธ เป็นเหตุให้ทำความผิดก่อโทษแก่ผู้อื่นได้ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๗๗-๘/๖๖)
๒ การค้าขายสัตว์ ในที่นี้หมายถึงการค้าขายมนุษย์ ที่ห้ามค้าขาย ก็เพราะการค้าขายมนุษย์ทำให้มนุษย์
หมดอิสรภาพ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๗/๖๘, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา. ๓/๑๗๗-๘/๖๖)
๓ การค้าขายเนื้อ หมายถึงการเลี้ยงสัตว์มีสุกรเป็นต้นไว้ขาย หรือการขายเนื้อสัตว์ ที่ห้ามค้าขาย ก็เพราะ
การค้าขายเนื้อเป็นเหตุให้ต้องฆ่าสัตว์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๗/๖๘, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา. ๓/๑๗๗-๘/๖๖)
๔ การค้าขายของมึนเมา หมายถึงการให้ปรุงของมึนเมาชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วขาย ที่ห้ามค้าขาย ก็เพราะ
การค้าขายของมึนเมาเป็นเหตุให้มีการดื่มแล้วเกิดความประมาท (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๗/๖๘, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา
๓/๑๗๗-๘/๖๖)
๕ การค้าขายยาพิษ หมายถึงการให้ทำยาพิษแล้วค้าขายยาพิษนั้น
การค้าขาย ๕ ประการนี้ อุบาสกไม่ควรทำทั้งด้วยตนเองและไม่ควรชักชวนบุคคลอื่นให้ทำด้วย
(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๗/๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๘. ราชสูตร
๘. ราชสูตร
ว่าด้วยพระราชา
[๑๗๘] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ เธอทั้งหลาย
เคยได้เห็นเคยได้ฟังมาบ้างหรือไม่ว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ พระ
ราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการ
งดเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นเหตุ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ฟังมาอย่างนั้นเลย พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้
ฟังมาอย่างนั้นเลยว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ พระราชาจับเขาแล้ว
ประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการฆ่า
สัตว์เป็นเหตุ’ แต่ถ้าบาปกรรมของเขานั้นเองปรากฏให้รู้ว่า ‘คนผู้นี้ฆ่าบุรุษหรือสตรี
ต่อมาพระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์
เพราะการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นเหตุ’ เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟัง
บาปกรรมเช่นนี้บ้างหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นมาแล้ว เคยได้ฟัง
มาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ
เธอทั้งหลายเคยได้เห็นเคยได้ฟังมาบ้างหรือไม่ว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการ
ลักทรัพย์ พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราช
ประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการลักทรัพย์เป็นเหตุ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เคยได้เห็นไม่เคยได้ฟังมาอย่างนั้นเลย พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้
ฟังมาอย่างนั้นเลยว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ พระราชาจับเขาแล้ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๘. ราชสูตร
ประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการ
ลักทรัพย์เป็นเหตุ’ แต่ถ้าบาปกรรมของเขานั่นเอง ปรากฏให้รู้ว่า ‘คนผู้นี้ลักทรัพย์
เขามาจากบ้านหรือจากป่า พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำ
ตามพระราชประสงค์ เพราะการลักทรัพย์เป็นเหตุ เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟัง
บาปกรรมเช่นนี้บ้างหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นมาแล้ว เคยได้ฟัง
มาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ
เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟังมาบ้างหรือไม่ว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกาม พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระ
ราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกามเป็นเหตุ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ฟังมาอย่างนั้นเลย พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้
ฟังมาอย่างนั้นเลยว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม พระราชา
จับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้น
จากการประพฤติผิดในกามเป็นเหตุ’ แต่ถ้าบาปกรรมของเขานั่นเองปรากฏให้รู้ว่า
‘คนผู้นี้ประพฤติล่วงในหญิงหรือลูกสาวของผู้อื่น พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ
เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการประพฤติผิดในกามเป็นเหตุ
เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟังบาปกรรมเช่นนี้บ้างหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นมาแล้ว เคยได้ฟัง
มาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร
คือ เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟังมาบ้างหรือไม่ว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาด
จากการพูดเท็จ พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราช
ประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการพูดเท็จเป็นเหตุ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๘. ราชสูตร
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ฟังมาอย่างนั้นเลย พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้
ฟังมาอย่างนั้นเลยว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ พระราชาจับเขาแล้ว
ประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการพูด
เท็จเป็นเหตุ’ แต่ถ้าบาปกรรมของเขานั่นเองปรากฏให้รู้ว่า ‘คนผู้นี้ทำลายประโยชน์
ของคหบดี หรือบุตรของคหบดีด้วยการพูดเท็จ พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ
เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการพูดเท็จเป็นเหตุ เธอทั้งหลายเคย
ได้เห็น เคยได้ฟังบาปกรรมเช่นนี้บ้างหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นมาแล้ว เคยได้ฟัง
มาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ
เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟังมาบ้างหรือไม่ว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท พระราชาจับเขาแล้ว
ประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการเสพ
ของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทเป็นเหตุ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เคยได้เห็นไม่เคยได้ฟังมาอย่างนั้นเลย พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้
ฟังมาอย่างนั้นเลยว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือ
ทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาทเป็นเหตุ’ แต่ถ้าบาปกรรมของเขานั่นเองปรากฏให้รู้ว่า
‘คนผู้นี้หมกมุ่นการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
แล้วฆ่าหญิงหรือชาย คนผู้นี้หมกมุ่นการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาทแล้วลักทรัพย์จากบ้านหรือป่า คนผู้นี้หมกมุ่นการเสพของมึนเมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๙. คิหิสูตร
คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทแล้วประพฤติล่วงในหญิงหรือลูกสาว
ของผู้อื่น คนผู้นี้หมกมุ่นการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทแล้วทำลายประโยชน์ของคหบดีหรือบุตรของคหบดีด้วยการพูดเท็จ พระ
ราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทเป็นเหตุ เธอทั้งหลาย
เคยได้เห็น เคยได้ฟังบาปกรรมเช่นนี้บ้างหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นมาแล้ว เคยได้ฟัง
มาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
ราชสูตรที่ ๘ จบ
๙. คิหิสูตร
ว่าด้วยคฤหัสถ์
[๑๗๙] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี มีอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คนแวดล้อม
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกท่านพระสารีบุตรมาตรัสว่า สารีบุตร เธอทั้งหลายพึง
รู้จักคฤหัสถ์คนหนึ่งผู้นุ่งห่มผ้าขาว มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท ๕ ประการ
และเป็นผู้ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน๑ อันมีในจิตยิ่ง๒ ๔ ประการ
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก และคฤหัสถ์นั้นเมื่อหวังอยู่ก็พึง
พยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า ‘เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นชื่อของรูปาวจรฌาน และรูปาวจรฌานนี้เอง ที่เรียกว่าเป็น
ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นเหตุให้ท่านผู้บำเพ็ญฌานได้ประสพเนกขัมมสุขที่ไม่เศร้าหมอง
ในอัตภาพปัจจุบัน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๙/๖๖)
๒ จิตยิ่ง (อภิเจตสิก) ในที่นี้หมายถึงจิตที่ยอดเยี่ยม(อุตตมจิต) ได้แก่จิตที่บริสุทธิ์(วิสุทธจิต) (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๗๙/๖๘-๖๙, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๗๙/๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๙. คิหิสูตร
มีเปตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายสิ้นแล้ว มีทุคติสิ้นแล้ว มีวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๑ในวันข้างหน้า’
คฤหัสถ์เป็นผู้มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาท
คฤหัสถ์เป็นผู้มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท ๕ ประการนี้
คฤหัสถ์เป็นผู้ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอันมีในจิตยิ่ง ๔ ประการ
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก อะไรบ้าง คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้
ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จ
ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็น
ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้
มีพระภาค’ นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอันมีในจิตยิ่ง
ประการที่ ๑ อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว เพื่อความหมดจดแห่งจิตที่
ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิตที่ยังไม่ผ่องแผ้ว

เชิงอรรถ :
๑ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรค ๓ เบื้องสูง คือสกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค (องฺ.ติก.อ.
๒/๘๗/๒๔๒, ที.สี.อ. ๓๗๓/๒๘๑, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๘๗/๒๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๙. คิหิสูตร
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า
‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึง
เห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน๑ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็น
สุขในปัจจุบัน อันมีในจิตยิ่งประการที่ ๒ อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว
เพื่อความหมดจดแห่งจิตที่ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต
ที่ยังไม่ผ่องแผ้ว
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า
‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง
ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็น
นาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
อันมีในจิตยิ่งประการที่ ๓ อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว เพื่อความ
หมดจดแห่งจิตที่ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิตที่ยังไม่
ผ่องแผ้ว
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะใคร่๒ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ
เป็นไปเพื่อสมาธิ นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันมีในจิต
ยิ่งประการที่ ๔ อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว เพื่อความหมดจดแห่ง
จิตที่ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิตที่ยังไม่ผ่องแผ้ว
คฤหัสถ์ผู้ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอันมีในจิตยิ่ง ๔ ประการนี้
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก

เชิงอรรถ :
๑ ควรน้อมเข้ามาในตน หมายถึงควรน้อมเข้ามาสู่จิตของตนหรือควรน้อมเข้ามาเพื่อการปฏิบัติ (องฺ.ติก.อ.
๒/๕๔/๑๕๘)
๒ ศีลที่พระอริยะใคร่ ในที่นี้หมายถึงศีลในอริยมรรค ศีลในอริยผล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๙/๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๙. คิหิสูตร
สารีบุตร พวกเธอพึงรู้จักคฤหัสถ์คนใดคนหนึ่งผู้นุ่งห่มผ้าขาว มีการงาน
สำรวมดีในสิกขาบท ๕ ประการ และเป็นผู้ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
อันมีในจิตยิ่ง ๔ ประการนี้ ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
และคฤหัสถ์นั้นเมื่อหวังอยู่ ก็พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า ‘เราเป็นผู้มีนรก
สิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายสิ้นแล้ว มีทุคติ
สิ้นแล้ว และมีวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ
สำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
บัณฑิตเห็นภัยในนรกแล้ว พึงเว้นบาปเสีย
สมาทานอริยธรรม๑แล้ว พึงเว้นบาปเสีย
ก็ในเมื่อมีความพยายามอยู่
ไม่พึงเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย
ไม่พึงกล่าวเท็จทั้งที่รู้
ไม่พึงหยิบฉวยสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
พึงยินดีภริยาของตน ไม่พึงยินดีภริยาผู้อื่น
ไม่พึงดื่มสุราเมรัย๒เครื่องยังจิตให้หลงไหล
พึงระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพึงตรึกถึงพระธรรม๓
พึงเจริญจิตอันปราศจากพยาบาท๔เพื่อเกื้อกูลแก่เทวโลก
ทักษิณาที่ผู้ต้องการบุญแสวงหาบุญอยู่ให้แล้วในสัตบุรุษ๕เป็นอัน
ดับแรก

เชิงอรรถ :
๑ อริยธรรม ในที่นี้หมายถึงศีล ๕ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๙/๖๙)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๒ (จุนทีสูตร) หน้า ๔๙ ในเล่มนี้
๓ ตรึกถึงพระธรรม ในที่นี้หมายถึงระลึกถึงโลกุตตรธรรม ๙ ประการ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑
(องฺ.ปญฺจก.อ.๓/๑๗๙/๖๙)
๔ จิตอันปราศจากพยาบาท ในที่นี้หมายถึงพรหมวิหารจิตมีเมตตาจิตเป็นต้น ที่ไม่มีทุกข์ (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๗๙/๖๙)
๕ สัตบุรุษ ในที่นี้หมายถึงพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้า (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๗๙/๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๙. คิหิสูตร
ในเมื่อไทยธรรมมีอยู่พร้อม ย่อมมีผลไพบูลย์
สารีบุตร เราจักบอกสัตบุรุษให้ จงฟังคำของเรา
โคผู้ที่ฝึกแล้วเป็นโคใช้งานที่สมบูรณ์ด้วยกำลัง
มีเชาวน์ดี และเป็นสัตว์ที่ซื่อตรง
จะเกิดในสีสันใด ๆ คือ สีดำ สีขาว สีแดง
สีเขียว สีด่าง สีตามธรรมชาติของตน
สีเหมือนโคธรรมดา หรือสีเหมือนนกพิราบก็ตาม
ชนทั้งหลายเทียมมันเข้าในแอก
ไม่คำนึงถึงสีสันของมัน ฉันใด
ผู้ที่ฝึกตนดีแล้ว มีความประพฤติดีงาม
ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล พูดคำสัตย์
มีใจประกอบด้วยหิริ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จะเกิดในหมู่มนุษยชาติใด ๆ คือ กษัตริย์
พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และคนเทขยะก็ตาม
ก็ละความเกิดและความตายได้
มีพรหมจรรย์บริบูรณ์ ปลงภาระได้แล้ว
ไม่ประกอบด้วยกิเลส ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีอาสวะ รู้จบธรรมทุกอย่าง๑
ดับสนิทเพราะไม่ถือมั่น
ในเขตที่ปราศจากธุลี๒เช่นนั้นแล
ทักษิณาย่อมมีผลมาก

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมทุกอย่าง ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑)
๒ ปราศจากธุลี หมายถึงไม่มีธุลี คือ ราคะ โทสะ และโมหะ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๑๐. ภเวสีสูตร
คนพาลไม่รู้แจ้ง๑ ไม่มีปัญญา ไม่ได้สดับรับฟัง
ย่อมให้ทานภายนอก๒ ไม่เข้าไปหาสัตบุรุษ
ส่วนเหล่าชนผู้มีศรัทธาหยั่งลงตั้งมั่นในพระสุคต
ย่อมเข้าไปหาสัตบุรุษผู้มีปัญญา
ที่เขายกย่องกันว่าเป็นนักปราชญ์
ท่านเหล่านั้นผู้เป็นบัณฑิต ย่อมไปสู่เทวโลก
หรือไม่ก็เกิดในตระกูลดีในโลกนี้
และบรรลุนิพพานได้โดยลำดับ
คิหิสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ภเวสีสูตร
ว่าด้วยภเวสีอุบาสก
[๑๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ขณะที่เสด็จพระดำเนินไปตามหนทางไกล ได้ทอดพระเนตรเห็น
ป่าสาละใหญ่ ณ สถานที่แห่งหนึ่ง จึงทรงแวะลงจากทางเสด็จเข้าไปสู่ป่าสาละนั้น
ครั้นเสด็จถึงแล้วจึงได้ทรงแสดงการแย้ม๓ ณ สถานที่แห่งหนึ่ง
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้คิดว่า “อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงอาการแย้ม พระตถาคตย่อมไม่ทรงแสดงอาการแย้มให้ปรากฏโดยไม่มีเหตุ”
จึงได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอาการแย้ม พระตถาคตย่อมไม่ทรงแสดงอาการแย้มโดย
ไม่มีเหตุ”

เชิงอรรถ :
๑ ไม่รู้แจ้ง ในที่นี้หมายถึงไม่รู้จักนาบุญ หรือเขตบุญ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑)
๒ ภายนอก ในที่นี้หมายถึงนอกพุทธศาสนา (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑)
๓ แสดงอาการแย้ม หมายถึงการยิ้มน้อย ๆ เพียงเห็นไรฟัน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๙/๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๑๐. ภเวสีสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ณ สถานที่นี้ ได้มีเมือง
มั่งคั่ง กว้างขวาง มีประชาชนมากมาย มีมนุษย์หนาแน่น พระผู้มีพระภาคพระนาม
ว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาศัยอยู่ในพระนครนั้น อุบาสกชื่อว่าภเวสี
ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้มีปกติไม่ทำ
ศีลให้บริบูรณ์๑ อุบาสก ๕๐๐ คน เป็นผู้อันภเวสีอุบาสกชี้แจงชักชวน เป็นผู้มี
ปกติไม่ทำศีลให้บริบูรณ์ ต่อมา ภเวสีอุบาสกมีความคิดว่า “เราเป็นผู้มีอุปการะมาก
เป็นหัวหน้า เป็นผู้ชักชวนอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านี้ ทั้งเราและอุบาสก ๕๐๐ คน
เหล่านี้ต่างก็เป็นผู้มีปกติไม่ทำศีลให้บริบูรณ์ ต่างคนต่างก็เท่า ๆ กัน ไม่ยิ่งหย่อนไป
กว่ากัน เอาเถอะ เราควรปฏิบัติให้ยิ่งกว่า
ต่อมา ภเวสีอุบาสกได้เข้าไปหาอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้นแล้วกล่าวดังนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอพวกท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้มีปกติทำ
ศีลให้บริบูรณ์’
ครั้งนั้น อุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้นมีความคิดว่า ‘ภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายมี
อุปการะมาก เป็นหัวหน้า เป็นผู้ชักชวนพวกเรา ก็ภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายจักเป็นผู้มี
ปกติทำศีลให้บริบูรณ์ ไฉนพวกเราจะเป็นเช่นนั้นบ้างไม่ได้เล่า’ จึงพากันเข้าไปหา
ภเวสีอุบาสกแล้วกล่าวว่า ‘ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายจงจำ
อุบาสก ๕๐๐ คนแม้เหล่านี้ว่าเป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์’
ครั้นต่อมา ภเวสีอุบาสกมีความคิดว่า ‘เราแลเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็น
หัวหน้า เป็นผู้ชักชวนอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คนเหล่านี้ ทั้งเราและอุบาสก ๕๐๐ คน
เหล่านี้ ต่างก็เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ ต่างคนต่างก็เท่า ๆ กัน ไม่ยิ่งหย่อนไป
กว่ากัน เอาเถอะ เราควรปฏิบัติให้ยิ่งกว่า’ จึงได้เข้าไปหาอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้น
แล้วกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอพวกท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน’


เชิงอรรถ :
๑ มีปกติไม่ทำศีลให้บริบูรณ์ หมายถึงไม่รักษาศีลห้าให้สม่ำเสมอ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๘๐/๗๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๑๐. ภเวสีสูตร
อุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้นมีความคิดว่า ‘ภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายมีอุปการะมาก
เป็นหัวหน้า เป็นผู้ชักชวนพวกเรา ภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายจักประพฤติพรหมจรรย์
เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน ไฉนพวกเราจะเป็นเช่นนั้นบ้าง
ไม่ได้เล่า’ จึงได้เข้าไปหาภเวสีอุบาสกแล้วกล่าวดังนี้ว่า ‘ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ขอภเวสีอุบาสกผู้เป็นนาย จงจำอุบาสก ๕๐๐ คนแม้เหล่านี้ว่าเป็นผู้ประพฤติ
พรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน’
ครั้นต่อมา ภเวสีอุบาสกมีความคิดว่า ‘เราเองเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นหัวหน้า
เป็นผู้ชักชวนอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านี้ ทั้งเราและอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านี้ต่างก็เป็นผู้มี
ปกติทำศีลให้บริบูรณ์ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอัน
เป็นกิจของชาวบ้าน ต่างคนต่างก็เท่า ๆ กัน ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เอาเถอะ เรา
ควรปฏิบัติให้ยิ่งกว่า’ จึงได้เข้าไปหาอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้นแล้วกล่าวดังนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอพวกท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้บริโภค
มื้อเดียว ไม่บริโภคตอนกลางคืน งดเว้นจากการบริโภคในเวลาวิกาล’
อุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้นมีความคิดว่า ‘ภเวสีอุบาสกเป็นนายผู้มีอุปการะมาก
เป็นหัวหน้า เป็นผู้ชักชวนพวกเรา ภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายจักเป็นผู้บริโภคมื้อเดียว
ไม่บริโภคตอนกลางคืน งดเว้นจากการบริโภคในเวลาวิกาล ไฉนพวกเราจะเป็นเช่น
นั้นบ้างไม่ได้เล่า’ จึงได้เข้าไปหาภเวสีอุบาสกแล้วกล่าวดังนี้ว่า ‘ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ขอภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายจงจำอุบาสก ๕๐๐ คนแม้เหล่านี้ว่าเป็นผู้บริโภคมื้อเดียว
ไม่บริโภคตอนกลางคืน งดเว้นจากการบริโภคในเวลาวิกาล’
ครั้นต่อมา ภเวสีอุบาสกมีความคิดว่า ‘เราแลเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นหัวหน้า
เป็นผู้ชักชวนอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านี้ ทั้งเราและอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านี้ ต่างก็
เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรม
อันเป็นกิจของชาวบ้าน เป็นผู้บริโภคมื้อเดียว ไม่บริโภคตอนกลางคืน งดเว้นจาก
การบริโภคในเวลาวิกาล ต่างคนต่างก็เท่า ๆ กัน ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เอาเถอะ
เราควรปฏิบัติให้ยิ่งกว่า’ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
พึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๑๐. ภเวสีสูตร
ภเวสีอุบาสกได้บรรพชาได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคพระนามว่า
กัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วแล ครั้นอุปสมบทแล้วไม่นาน จึงหลีกไปอยู่ผู้เดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
ยอดเยี่ยม๑อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรชิต
โดยชอบ ต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ได้รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’
อานนท์ ภเวสีภิกษุได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
อานนท์ คราวนั้น อุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้น ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภเวสี
อุบาสกผู้เป็นนายมีอุปการะมาก เป็นหัวหน้า เป็นผู้ชักชวนพวกเรา ภเวสีอุบาสกผู้
เป็นนาย จักโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ไฉนพวกเราจักเป็นเช่นนั้นบ้างไม่ได้’ จึงได้พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระนามว่า
กัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงที่ประทับแล้วกราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ทั้งหลายพึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค’
อุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้นได้บรรพชาได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค
พระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วแล
ต่อมา ภเวสีภิกษุได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราเองเป็นผู้ได้วิมุตติสุขอันยอดเยี่ยมนี้
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก โอหนอ ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป
แม้เหล่านี้ ก็พึงเป็นผู้ได้วิมุตติสุขอันยอดเยี่ยมนี้ ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบาก’
คราวนั้นภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้น ต่างเป็นผู้หลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม

เชิงอรรถ :
๑ ประโยชน์ยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล หรืออริยผลอันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์ (องฺ.ทุก.อ.
๒/๕/๗, ม.ม.อ. ๒/๘๒/๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
ต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ได้รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นมีภเวสีภิกษุเป็นประมุข พยายามบำเพ็ญธรรมที่สูง ๆ
ขึ้นไป ประณีตขึ้นไป ได้ทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติอันยอดเยี่ยม ด้วยประการฉะนี้
อานนท์ เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
เมื่อพยายามบำเพ็ญธรรมที่สูง ๆ ขึ้นไป ประณีตขึ้นไป ก็จักทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติอัน
ยอดเยี่ยม’ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
ภเวสีสูตรที่ ๑๐ จบ
อุปาสกวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สารัชชสูตร ๒. วิสารทสูตร
๓. นิรยสูตร ๔. เวรสูตร
๕. จัณฑาลสูตร ๖. ปีติสูตร
๗. วณิชชาสูตร ๘. ราชสูตร
๙. คิหิสูตร ๑๐. ภเวสีสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อรัญญวรรค ๑. อารัญญิกสูตร
๔. อรัญญวรรค
หมวดว่าด้วยป่า
๑. อารัญญิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
[๑๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ๕
จำพวกนี้
ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรเพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย๑
๒. ภิกษุผู้มีความปรารถนาชั่ว ถูกความปรารถนาครอบงำ๒ จึงอยู่ป่า
เป็นวัตร
๓. ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรเพราะเป็นบ้า เพราะมีจิตฟุ้งซ่าน
๔. ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เพราะรู้ว่า ‘เป็นวัตรที่พระพุทธเจ้าและสาวก
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ’
๕. ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้อยู่ป่า
เป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด
ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประธาน
เป็นผู้สูงสุด และเป็นผู้ประเสริฐสุด

เชิงอรรถ :
๑ เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย หมายถึงไม่รู้วิธีปฏิบัติสมาทาน และไม่รู้อานิสงส์แห่งการปฏิบัติ-
สมาทาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๘๑/๗๑)
๒ มีความปรารถนาชั่ว ถูกความปรารถนาครอบงำ หมายถึงมีความปรารถนาว่า เมื่อเราอยู่ป่า คนทั้งหลาย
ก็จักสักการะเราด้วยปัจจัย ๔ ด้วยคิดว่า ‘ภิกษุรูปนี้อยู่ป่าเป็นวัตร’ ทั้งจักยกย่องเราว่า ‘ภิกษุนี้เป็นลัชชี
ภิกษุนี้ชอบสงัด’ จึงอยู่ป่า (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๘๑/๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อรัญญวรรค ๒. จีวรสูตร
เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจาก
นมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส บรรดาโครส ๕ ชนิดนั้น
หัวเนยใส ชาวโลกกล่าวว่าเลิศ แม้ฉันใด
บรรดาภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เพราะอาศัย
ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการด้วยข้อ
ปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประธาน เป็นผู้สูงสุด และเป็นผู้
ประเสริฐสุด ฉันนั้นเหมือนกัน
อารัญญิกสูตรที่ ๑ จบ
๒. จีวรสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
[๑๘๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
ฯลฯ๑
๕. ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความ
สันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอัน
งามเช่นนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล
จีวรสูตรที่ ๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ “ฯลฯ” ที่ปรากฏในสูตรที่ ๒-๙ ของวรรคนี้ มีความเต็มเหมือนสูตรที่ ๑ และสูตรที่ ๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อรัญญวรรค ๔. โสสานิกสูตร
๓. รุกขมูลิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร
[๑๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
ภิกษุผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
ฯลฯ
๕. ภิกษุผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล
รุกขมูลิกสูตรที่ ๓ จบ
๔. โสสานิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร
[๑๘๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
ภิกษุผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
ฯลฯ
๕. ภิกษุผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล
โสสานิกสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อรัญญวรรค ๘. เอกาสนิกสูตร
๕. อัพโภกาสิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่กลางแจ้งเป็นวัตร
[๑๘๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่กลางแจ้งเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
ฯลฯ
อัพโภกาสิกสูตรที่ ๕ จบ
๖. เนสัชชิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้นั่งเป็นวัตร
[๑๘๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้นั่งเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
ฯลฯ
เนสัชชิกสูตรที่ ๖ จบ
๗. ยถาสันถติกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้เป็นวัตร
[๑๘๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
ฯลฯ
ยถาสันถติกสูตรที่ ๗ จบ
๘. เอกาสนิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้นั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร
[๑๘๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้นั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
ฯลฯ
เอกาสนิกสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อรัญญวรรค ๑๐. ปัตตปิณฑิกสูตร
๙. ขลุปัจฉาภัตติกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ห้ามภัตที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร
[๑๘๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ห้ามภัตที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร ๕
จำพวกนี้
ฯลฯ
ขลุปัจฉาภัตติกสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ปัตตปิณฑิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร
[๑๙๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
ภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
๒. ภิกษุผู้มีความปรารถนาชั่ว ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงเป็นผู้ฉัน
ในบาตรเป็นวัตร
๓. ภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร เพราะเป็นบ้า เพราะมีจิตฟุ้งซ่าน
๔. ภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร เพราะรู้ว่า ‘เป็นวัตรที่พระพุทธเจ้าและ
สาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ’
๕. ภิกษุฉันในบาตรเป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้ฉันใน
บาตรเป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อรัญญวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประธาน
เป็นผู้สูงสุด และเป็นผู้ประเสริฐสุด
เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม
เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส บรรดาโครส ๕ ชนิดนั้น หัวเนยใส
ชาวโลกกล่าวว่าเลิศ แม้ฉันใด
บรรดาภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร
เพราะอาศัยความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการ
ด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประธาน เป็นผู้สูงสุด
และเป็นผู้ประเสริฐสุด
ปัตตปิณฑิกสูตรที่ ๑๐ จบ
อรัญญวรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อารัญญิกสูตร ๒. จีวรสูตร
๓. รุกขมูลิกสูตร ๔. โสสานิกสูตร
๕. อัพโภกาสิกสูตร ๖. เนสัชชิกสูตร
๗. ยถาสันถติกสูตร ๘. เอกาสนิกสูตร
๙. ขลุปัจฉาภัตติกสูตร ๑๐. ปัตตปิณฑิกสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๑. โสณสูตร
๕. พราหมณวรรค
หมวดว่าดัวยพราหมณ์
๑. โสณสูตร
ว่าด้วยธรรมของพราหมณ์เปรียบเทียบกับสุนัข
[๑๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่
๕ ประการนี้ บัดนี้ ปรากฏในพวกสุนัข ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์
ธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทราบว่า เมื่อก่อน พวกพราหมณ์สมสู่กับพราหมณีเท่านั้น ไม่สมสู่
กับหญิงที่ไม่ใช่พราหมณี แต่บัดนี้ พวกพราหมณ์สมสู่กับพราหมณี
บ้าง สมสู่กับหญิงที่ไม่ใช่พราหมณีบ้าง บัดนี้ พวกสุนัขสมสู่กับสุนัข
ตัวเมียเท่านั้น ไม่สมสู่กับสัตว์ตัวเมียที่ไม่ใช่สุนัข นี้เป็นธรรมของ
พราหมณ์ที่เก่าแก่ประการที่ ๑ บัดนี้ ปรากฏในพวกสุนัข ไม่ปรากฏ
ในพวกพราหมณ์
๒. ทราบว่า เมื่อก่อน พวกพราหมณ์สมสู่กับพราหมณีที่มีระดูเท่านั้น
ไม่สมสู่กับพราหมณีที่ไม่มีระดู แต่บัดนี้ พวกพราหมณ์สมสู่กับ
พราหมณีที่มีระดูบ้าง สมสู่กับพราหมณีที่ไม่มีระดูบ้าง บัดนี้
พวกสุนัขสมสู่กับสุนัขตัวเมียที่มีระดูเท่านั้น ไม่สมสู่กับสุนัขตัวเมีย
ที่ไม่มีระดู นี้เป็นธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่ประการที่ ๒ บัดนี้
ปรากฏในพวกสุนัข ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์
๓. ทราบว่า เมื่อก่อน พวกพราหมณ์ไม่ซื้อไม่ขายพราหมณี ยังการอยู่
ร่วมกันให้เป็นไปด้วยความรักด้วยความผูกพัน แต่บัดนี้ พวก
พราหมณ์ซื้อบ้าง ขายบ้างซึ่งพราหมณี ยังการอยู่ร่วมกันให้เป็นไป
ด้วยความรักด้วยความผูกพัน บัดนี้ พวกสุนัขไม่ซื้อ ไม่ขายสุนัข
ตัวเมีย ยังการอยู่ร่วมกันให้เป็นไปด้วยความรักด้วยความผูกพัน
นี้เป็นธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่ประการที่ ๓ บัดนี้ ปรากฏใน
พวกสุนัข ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร
๔. ทราบว่า เมื่อก่อน พวกพราหมณ์ไม่ทำการสะสมทรัพย์บ้าง
ข้าวเปลือกบ้าง เงินบ้าง ทองบ้าง แต่บัดนี้ พวกพราหมณ์ทำการ
สะสมทรัพย์บ้าง ข้าวเปลือกบ้าง เงินบ้าง ทองบ้าง บัดนี้ พวกสุนัข
ไม่ทำการสะสมทรัพย์บ้าง ข้าวเปลือกบ้าง เงินบ้าง ทองบ้าง นี้เป็น
ธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่ประการที่ ๔ บัดนี้ ปรากฏในพวกสุนัข
ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์
๕. ทราบว่า เมื่อก่อน พวกพราหมณ์แสวงหาอาหารเย็น เพื่อกินใน
เวลาเย็น อาหารเช้าเพื่อกินในเวลาเช้า แต่บัดนี้ พวกพราหมณ์
บริโภคอาหารตามความต้องการจนอิ่มท้องแล้ว ถือเอาส่วนที่เหลือ
ไป บัดนี้ พวกสุนัขก็แสวงหาอาหารเย็น เพื่อกินในเวลาเย็น อาหาร
เช้าเพื่อกินในเวลาเช้า นี้เป็นธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่ประการที่ ๕
บัดนี้ ปรากฏในพวกสุนัข ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่ ๕ ประการนี้แล บัดนี้ ปรากฏใน
พวกสุนัข ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์
โสณสูตรที่ ๑ จบ
๒. โทณพราหมณสูตร
ว่าด้วยโทณพราหมณ์
[๑๙๒] ครั้งนั้นแล โทณพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ได้สดับมาดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดม ไม่ไหว้
ไม่ลุกรับ หรือไม่เชื้อเชิญพราหมณ์ผู้แก่เฒ่า ผู้เป็นใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาแล้วตาม
ลำดับด้วยอาสนะ พระโคดมผู้เจริญ ข้อนี้เห็นจะเป็นอย่างนั้น เพราะท่านพระโคดม
ไม่ไหว้ ไม่ลุกรับ หรือไม่เชื้อเชิญพราหมณ์ผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมา
แล้วตามลำดับด้วยอาสนะ ข้อนี้ไม่ดีเลย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โทณะ แม้ท่านก็ปฏิญญาว่า เป็นพราหมณ์มิใช่หรือ”
โทณพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ผู้ใดเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง
พึงกล่าวว่าเป็นพราหมณ์ ผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ๑ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์ รู้จบไตรเพท๒ พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์๓ เกฏุภศาสตร์๔
อักษรศาสตร์๕ และประวัติศาสตร์๖ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายต-
ศาสตร์๗ และลักษณะมหาบุรุษ๘ ผู้นั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงหมายถึงข้าพระองค์
ทีเดียว เพราะข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่าย
บิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะ

เชิงอรรถ :
๑ ดู เชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๑๓๔ (ยัสสังทิสังสูตร) หน้า ๒๑๖ ในเล่มนี้
๒ ไตรเภท หมายถึงคัมภีร์ คือ ฤคเวท (อิรุเวท) ยชุรเวท และสามเวท (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๓)
๓ นิฆัณฑุศาสตร์ หมายถึงวิชาว่าด้วยชื่อสิ่งของมีต้นไม้เป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๓) อีกนัยหนึ่งหมายถึง
คัมภีร์ประเภทศัพทมูลวิทยา (Etymology) คลังศัพท์ (Lexicon) หรืออภิธานศัพท์ (Glossary) ที่รวบรวม
คำศัพท์ในพระเวทซึ่งเป็นคำยาก หรือคำที่เลิกใช้แล้ว นำมาอธิบายความหมายเป็นส่วนหนึ่งของนิรุตติซึ่ง
เป็นหนึ่งในเวทางคศาสตร์ ๖ ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤต เรียกว่า นิฆัณฏุ
๔ เกฏุภศาสตร์ หมายถึงตำราว่าด้วยวิชาการกวี การแต่งฉันท์ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๓) อีกนัยหนึ่ง หมายถึง
คัมภีร์ว่าด้วยกฎเกณฑ์การใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมแก่การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นส่วนหนึ่งของกัลปะ
ซึ่งเป็น ๑ ในบรรดาเวทางคศาสตร์ ๖ ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤต เรียกว่า ไกฏภ
๕ อักษรศาสตร์ หมายถึงคัมภีร์ว่าด้วยสิกขา (การเปล่งเสียง, การออกเสียง) และนิรุตติ (การอธิบายคำศัพท์
โดยอาศัยประวัติและกำเนิดของคำ)
๖ ประวัติศาสตร์ หมายถึงพงศาวดารเล่าเรื่องเก่า ๆ มักจะมีคำว่า สิ่งนี้เป็นมาอย่างนี้ (ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๒
และดู Dawson, John. A classical Dictionary of Hindu Mythology (London: Routledge and Kegen
Paul. 1957) P.222
๗ โลกายตศาสตร์ ในที่นี้หมายถึงวิตัณฑวาทศาสตร์ คือ ศิลปะแห่งการเอาชนะผู้อื่นในเชิงวาทศิลป์ โดยการ
อ้างทฤษฎี และประเพณีทางสังคมมาหักล้างสัจธรรม มุ่งแสดงให้เห็นว่าตนฉลาดกว่า มิได้มุ่งสัจธรรมแต่
อย่างใด (ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๒)
๘ ลักษณะมหาบุรุษ หมายถึงศาสตร์ว่าด้วยลักษณะของบุคคลสำคัญมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น อันมีอยู่ใน
คัมภีร์พราหมณ์ซึ่งเรียกว่า มนตร์ เฉพาะส่วนที่ว่าด้วยผู้เป็นพระพุทธเจ้า เรียกว่าพุทธมนตร์มีอยู่ ๑๖,๐๐๐
คาถา (ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร
อ้างถึงชาติตระกูล เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุ-
ศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์
ชำนาญโลกายตศาสตร์ และลักษณะมหาบุรุษ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โทณะ บรรดาฤๅษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์
คือ ฤๅษีอัฏฐกะ ฤๅษีวามกะ ฤๅษีวามเทวะ ฤๅษีเวสสามิตตะ ฤๅษียมทัคคิ
ฤๅษีอังคีรส ฤๅษีภารทวาชะ ฤๅษีวาเสฏฐะ ฤๅษีกัสสปะ ฤๅษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนตร์
บอกมนตร์ พวกพราหมณ์ในปัจจุบันนี้ขับตาม กล่าวตามซึ่งบทมนตร์ที่เก่าแก่นี้ที่
ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง สาธยายได้ถูกต้อง บอกได้
ถูกต้อง ฤๅษีเหล่านั้นบัญญัติพราหมณ์ ๕ จำพวกนี้ไว้ คือ
๑. พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม
๒. พราหมณ์ผู้เสมอด้วยเทวดา
๓. พราหมณ์ผู้ประพฤติดี
๔. พราหมณ์ผู้ประพฤติทั้งดีและชั่ว
๕. พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล
โทณะ ท่านเป็นพราหมณ์จำพวกไหน ใน ๕ จำพวกนั้น”
โทณพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ไม่รู้จักพราหมณ์
๕ จำพวกนี้ รู้แต่ว่าเป็นพราหมณ์เท่านั้น ขอท่านพระโคดมโปรดแสดงธรรมแก่
ข้าพระองค์ โดยวิธีที่ข้าพระองค์จะพึงรู้จักพราหมณ์ ๕ จำพวกนี้ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โทณะ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก
กล่าว” โทณพราหมณ์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม เป็นอย่างไร
คือ พราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร
เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์๑เรียนมนตร์อยู่ตลอด ๔๘ ปี แสวงหาทรัพย์สำหรับ
บูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์โดยชอบธรรมเท่านั้น ไม่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม
ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร
คือ เขาไม่แสวงหาด้วยกสิกรรม ไม่แสวงหาด้วยพาณิชยกรรม(การค้าขาย)
ไม่แสวงหาด้วยโครักขกรรม(การเลี้ยงโค) ไม่แสวงหาด้วยการเป็นนักรบ ไม่แสวงหา
ด้วยการรับราชการ ไม่แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาถือกระเบื้องเที่ยว
ขอทานอย่างเดียว มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว โกนผมและ
หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วอย่างนี้
มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน๒ ทิศเบื้องล่าง๓
ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็น
มหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ฯลฯ
มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศ
เบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วย
อุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
เธอเจริญพรหมวิหาร ๔ ประการนี้แล หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติพรหมโลก
พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม เป็นอย่างนี้แล (๑)
พราหมณ์ผู้เสมอด้วยเทวดา เป็นอย่างไร
คือ พราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์ เรียนมนตร์อยู่ตลอด ๔๘ ปี แสวงหาทรัพย์สำหรับ
บูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์โดยชอบธรรมเท่านั้น ไม่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม

เชิงอรรถ :
๑ โกมารพรหมจรรย์ หมายถึงพรหมจรรย์ที่ประพฤติสืบต่อมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๙๒/
๗๑)
๒ ทิศเบื้องบน หมายถึงเทวโลก (วิสุทธิ. มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕)
๓ ทิศเบื้องล่าง หมายถึงสัตว์นรก และนาค (วิสุทธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร
ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร
คือ เขาไม่แสวงหาด้วยกสิกรรม ไม่แสวงหาด้วยพาณิชยกรรม ไม่แสวงหา
ด้วยโครักขกรรม ไม่แสวงหาด้วยการเป็นนักรบ ไม่แสวงหาด้วยการรับราชการ
และไม่แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอย่างเดียว
มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว แสวงหาภรรยาโดยชอบธรรม ไม่
แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม
ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร
คือ เขาไม่แสวงหาด้วยการซื้อ ไม่แสวงหาด้วยการขาย แต่แสวงหาเฉพาะ
พราหมณีที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำ เขาสมสู่เฉพาะพราหมณี ไม่สมสู่กับสตรีชั้น
กษัตริย์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล นายพราน ช่างสาน ช่างรถ คนขนขยะ สตรีมีครรภ์
สตรีมีลูกอ่อน สตรีหมดระดู เพราะเหตุไร พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีครรภ์
เพราะถ้าพราหมณ์สมสู่กับสตรีมีครรภ์ มาณพหรือมาณวิกา ชื่อว่าเป็นผู้เกิดแต่กอง
อุจจาระ ฉะนั้น พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีครรภ์ เพราะเหตุไร พราหมณ์จึง
ไม่สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน เพราะถ้าพราหมณ์สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน มาณพหรือ
มาณวิกาชื่อว่าเป็นผู้ดื่มของไม่สะอาด ฉะนั้น พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน
พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์ มิใช่เพราะต้องการความใคร่ มิใช่
เพราะต้องการความสนุก มิใช่เพราะต้องการความยินดี แต่เป็นพราหมณีของ
พราหมณ์ เพราะต้องการบุตรเท่านั้น พราหมณ์นั้นมีบุตรหรือธิดาแล้ว จึงปลงผม
และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต เขาบวชแล้วอย่างนี้
ก็สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่ เธอเจริญฌานทั้ง ๔ ประการนี้แล หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์
พราหมณ์ผู้เสมอด้วยเทวดา เป็นอย่างนี้แล (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร
พราหมณ์ผู้มีความประพฤติดี เป็นอย่างไร
คือ พราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์ เรียนมนตร์อยู่ ๔๘ ปี แสวงหาทรัพย์สำหรับบูชา
อาจารย์เพื่ออาจารย์โดยชอบธรรมเท่านั้น ไม่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม
ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร
คือ เขาไม่แสวงหาด้วยกสิกรรม ไม่แสวงหาด้วยพาณิชยกรรม ไม่แสวงหา
ด้วยโครักขกรรม ไม่แสวงหาด้วยการเป็นนักรบ ไม่แสวงหาด้วยการรับราชการ
และไม่แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอย่างเดียว
มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว แสวงหาภรรยาโดยชอบธรรม
เท่านั้น ไม่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม
ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร
คือ เขาไม่แสวงหาด้วยการซื้อ ไม่แสวงหาด้วยการขาย แต่แสวงหาเฉพาะ
พราหมณีที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำ เขาสมสู่เฉพาะพราหมณี ไม่สมสู่กับสตรีชั้น
กษัตริย์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล นายพราน ช่างสาน ช่างรถ คนขนขยะ สตรีมีครรภ์
สตรีมีลูกอ่อน สตรีหมดระดู เพราะเหตุไร พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีครรภ์
เพราะถ้าพราหมณ์สมสู่กับสตรีมีครรภ์ มาณพหรือมาณวิกาชื่อว่าเป็นผู้เกิดแต่กอง
อุจจาระ ฉะนั้น พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีครรภ์ เพราะเหตุไร พราหมณ์จึงไม่
สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน เพราะถ้าพราหมณ์สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน มาณพหรือ
มาณวิกาชื่อว่าเป็นผู้ดื่มของไม่สะอาด ฉะนั้น พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน
พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์ มิใช่เพราะต้องการความใคร่ มิใช่
เพราะต้องการความสนุก มิใช่เพราะต้องการความยินดี แต่เป็นพราหมณีของ
พราหมณ์นั้น เพราะต้องการบุตรเท่านั้น พราหมณ์นั้นมีบุตรหรือธิดาแล้ว ปรารถนา
ความยินดีในบุตรหรือธิดานั้นแล ครอบครองทรัพย์สมบัติ ไม่ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต ดำรงอยู่ในความประพฤติดีของพราหมณ์แต่ปางก่อน ไม่ล่วงละเมิดความ
ประพฤติดีนั้น เพราะเหตุดังนี้แล ชาวโลกจึงเรียกว่า พราหมณ์ผู้มีความประพฤติดี
พราหมณ์ผู้มีความประพฤติดี เป็นอย่างนี้แล (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร
พราหมณ์ผู้ประพฤติทั้งดีและชั่ว เป็นอย่างไร
คือ พราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์ เรียนมนตร์อยู่ตลอด ๔๘ ปี แสวงหาทรัพย์สำหรับ
บูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์โดยชอบธรรมเท่านั้น ไม่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม
ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร
คือ เขาไม่แสวงหาด้วยกสิกรรม ไม่แสวงหาด้วยพาณิชยกรรม ไม่แสวงหา
ด้วยโครักขกรรม ไม่แสวงหาด้วยการเป็นนักรบ ไม่แสวงหาด้วยการรับราชการ
ไม่แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอย่างเดียว
มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว แสวงหาภรรยาโดยชอบธรรมบ้าง
ไม่ชอบธรรมบ้าง แสวงหาด้วยการซื้อบ้าง แสวงหาด้วยการขายบ้าง แสวงหา
พราหมณีที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำบ้าง สมสู่กับพราหมณีบ้าง สตรีชั้นกษัตริย์บ้าง
แพศย์บ้าง ศูทรบ้าง จัณฑาลบ้าง นายพรานบ้าง ช่างสานบ้าง ช่างรถบ้าง
คนขนขยะบ้าง สตรีมีครรภ์บ้าง สตรีมีลูกอ่อนบ้าง สตรีมีระดูบ้าง สตรีหมด
ระดูบ้าง พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์เพราะต้องการความใคร่บ้าง
เพราะต้องการความสนุกบ้าง เพราะต้องการความยินดีบ้าง เพราะต้องการบุตร
บ้าง พราหมณ์ไม่ดำรงอยู่ในความประพฤติดีของพราหมณ์แต่ปางก่อน ล่วงละเมิด
ความประพฤตินั้น เพราะเหตุดังนี้แล ชาวโลกจึงเรียกว่า พราหมณ์ผู้มีความประพฤติ
ทั้งดีและชั่ว
พราหมณ์ผู้ประพฤติทั้งดีและชั่ว เป็นอย่างนี้แล (๔)
พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล เป็นอย่างไร
คือ พราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์ เรียนมนตร์อยู่ ๔๘ ปี แสวงหาทรัพย์สำหรับบูชา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๒ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น