Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๒-๗ หน้า ๓๒๓ - ๓๗๖

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒-๗ สุตตันตปิฎกที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก ฉักกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร
อาจารย์เพื่ออาจารย์โดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง แสวงหาด้วยกสิกรรมบ้าง
แสวงหาด้วยพาณิชยกรรมบ้าง แสวงหาด้วยโครักขกรรมบ้าง แสวงหาด้วยการเป็น
นักรบบ้าง แสวงหาด้วยการรับราชการบ้าง แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง
ถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารบ้าง เขามอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว
แสวงหาภรรยาโดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง แสวงหาด้วยการซื้อบ้าง
แสวงหาด้วยการขายบ้าง แสวงหาพราหมณีที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำบ้าง สมสู่
กับพราหมณีบ้าง สตรีชั้นกษัตริย์บ้าง แพศย์บ้าง ศูทรบ้าง จัณฑาลบ้าง นายพราน
บ้าง ช่างสานบ้าง ช่างรถบ้าง คนขนขยะบ้าง สตรีมีครรภ์บ้าง สตรีมีลูกอ่อนบ้าง
สตรีมีระดูบ้าง สตรีหมดระดูบ้าง พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์เพราะ
ต้องการความใคร่บ้าง เพราะต้องการความสนุกบ้าง เพราะต้องการความยินดีบ้าง
เพราะต้องการบุตรบ้าง เขาเลี้ยงชีพด้วยการงานทุกอย่าง พวกพราหมณ์ได้กล่าวกับ
เขาอย่างนี้ว่า ‘ท่านปฏิญญาว่าเป็นพราหมณ์ ผู้เจริญ เพราะเหตุไร จึงเลี้ยงชีพด้วย
การงานทุกอย่าง’ เขาตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ เปรียบเสมือนไฟไหม้ของสะอาด
บ้าง ไม่สะอาดบ้าง แต่ไฟไม่ยึดติดกับสิ่งนั้น แม้ฉันใด ถึงแม้พราหมณ์เลี้ยงชีพด้วย
การงานทุกอย่างก็จริง แต่พราหมณ์ก็ไม่ยึดติดกับการงานนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน
พราหมณ์จึงเลี้ยงชีพด้วยการงานทุกอย่าง’ เพราะเหตุดังนี้แล ชาวโลกจึงเรียกว่า
พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล
พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล เป็นอย่างนี้แล (๕)
โทณะ บรรดาฤๅษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ คือ ฤๅษีอัฏฐกะ ฤๅษี
วามกะ ฤๅษีวามเทวะ ฤๅษีเวสสามิตตะ ฤๅษียมทัคคิ ฤๅษีอังคีรส ฤๅษีภารทวาชะ
ฤๅษีวาเสฏฐะ ฤๅษีกัสสปะ ฤๅษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนตร์ บอกมนตร์ พวกพราหมณ์ใน
ปัจุบันนี้ขับตาม กล่าวตามซึ่งบทมนตร์ที่เก่าแก่นี้ ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวม
ไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง สาธยายได้ถูกต้อง บอกได้ถูกต้อง ฤๅษีเหล่านั้นบัญญัติ
พราหมณ์ ๕ จำพวกนี้ไว้ คือ
๑. พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม
๒. พราหมณ์ผู้เสมอด้วยเทวดา
๓. พราหมณ์ผู้ประพฤติดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร
๔. พราหมณ์ผู้ประพฤติทั้งดีและชั่ว
๕. พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล
โทณะ บรรดาพราหมณ์ ๕ จำพวกนั้น ท่านเป็นพราหมณ์จำพวกไหน”
โทณพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้แต่พราหมณ์
ผู้เป็นจัณฑาล ข้าพระองค์ยังให้บริบูรณ์ไม่ได้เลย ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของ
ท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่า
เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิตเถิด”
โทณพราหมณสูตรที่ ๒ จบ
๓. สังคารวสูตร
ว่าด้วยสังคารวพราหมณ์
[๑๙๓] ครั้งนั้นแล สังคารวพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุปัจจัย
ให้มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ในกาลบางคราว ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย และอะไรเป็นเหตุปัจจัยให้มนตร์แม้ที่ไม่ได้
สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้ในกาลบางคราว ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์
ที่ได้สาธยายเลย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
๑. สมัยใด บุคคลมีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัด๑กามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมที่สลัด มี ๓ ประการ คือ (๑) ธรรมที่สลัดด้วยการข่มไว้ หมายถึงปฐมฌานที่มีอสุภกัมมัฏฐานเป็น
อารมณ์ (๒) ธรรมที่สลัดด้วยองค์นั้น หมายถึงวิปัสสนากัมมัฏฐาน (๓) ธรรมที่สลัดด้วยการถอนขึ้น
หมายถึงอรหัตตมรรค (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๓/๗๓-๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร
สมัยนั้น บุคคลย่อมไม่รู้ ย่อมไม่เห็นตามความเป็นจริงซึ่งประโยชน์
ตน๑ ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย มนตร์แม้ที่สาธยาย
มาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่
ได้สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำซึ่งระคนด้วยครั่ง ขมิ้น สี
เขียว หรือสีเหลืองอ่อน คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะ
ที่เต็มด้วยน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำ
อยู่ และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว
สมัยนั้น บุคคลย่อมไม่รู้ย่อมไม่เห็นตามความเป็นจริงแม้ซึ่ง
ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย มนตร์แม้ที่
สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึง
มนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๒. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว
ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำร้อนเพราะไฟ เดือดพล่าน
เป็นไอ คนมีตาดี มองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น
ไม่พึงรู้ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว
ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน

เชิงอรรถ :
๑ ประโยชน์ตน ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๓/๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร
๓. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วฯลฯ
มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้อง
พูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำถูกสาหร่ายและแหนปกคลุม
ไว้แล้ว คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น
ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำ
อยู่ และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว
ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๔. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูกอุทธัจจกุกกุจจะ
ครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดอุทธัจจ-
กุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็
ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำ ถูกลมพัด ไหววนเป็นคลื่น
คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น ไม่พึงรู้
ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีใจถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูกอุทธัจจ-
กุกกุจจะครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัด
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลา
นานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ต์ที่ไม่ได้ สาธยายเลย
ฉันนั้นเหมือนกัน
๕. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว
ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำ
เป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำขุ่นมัว เป็นตม ที่เขาวางไว้
ในที่มืด คนมีตาดี มองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น
ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำ
อยู่ และไม่รู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ
มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้อง
พูดถึงมนตร์ที่ไม่สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
พราหมณ์ แต่
๑. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกกามราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกกามราคะครอบงำ
อยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว
สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริงแม้ซึ่งประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมา
เป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำซึ่งไม่ระคนด้วยครั่ง ขมิ้น
สีเขียวหรือสีเหลืองอ่อน คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะ
ที่เต็มด้วยน้ำนั้น พึงรู้พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกกามราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกกามราคะ
ครอบงำอยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดกามราคะที่
เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่นและประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย มนตร์
แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้อง พูดถึง
มนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๒. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกพยาบาทกลุ้มรุม ไม่ถูกพยาบาทครอบงำ
อยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว
ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้ ไม่
จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำ ไม่ร้อนเพราะไฟ ไม่เดือด
พล่าน ไม่เป็นไอ คนผู้มีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็ม
ด้วยน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกพยาบาทกลุ้มรุม ไม่ถูกพยาบาท
ครอบงำอยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดพยาบาทที่เกิด
ขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้น เหมือนกัน
๓. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ไม่ถูกถีนมิทธะครอบงำ
อยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว
ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำ ไม่ถูกสาหร่ายและแหน
ปกคลุมแล้ว คนผู้มีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วย
น้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ไม่ถูกถีนมิทธะ
ครอบงำอยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดถีนมิทธะ
ที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานาน
ก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้น
เหมือนกัน
๔. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ไม่ถูกอุทธัจจ-
กุกกุจจะครอบงำอยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัด
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็น
เวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำ ไม่ถูกลมพัด ก็ไม่ไหว
ไม่วน ไม่เป็นคลื่น คนผู้มีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่
เต็มด้วยน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ไม่ถูก
อุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่
สลัดอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมา
เป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย
ฉันนั้นเหมือนกัน
๕. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ไม่ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่
และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ
มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูด
ถึงมนตร์ที่สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำใส ไม่ขุ่นมัว ที่เขาวางไว้ใน
ที่แจ้ง คนผู้มีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น
พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ไม่ถูกวิจิกิจฉา
ครอบงำอยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดวิจิกิจฉาที่เกิด
ขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้น เหมือนกัน
พราหมณ์ นี้แลเป็นเหตุปัจจัยให้มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่ม
แจ้งได้ในกาลบางคราว ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย และนี้แลเป็น
เหตุปัจจัยให้มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้ในกาลบางคราว
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ได้สาธยายเลย
สังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดม
ชัดเจน ไพเราะยิ่งนัก ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิตเถิด”
สังคารวสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๔. การณปาลีสูตร
๔. การณปาลีบุตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อการณปาลี
[๑๙๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี สมัยนั้น การณปาลีพราหมณ์ใช้คนให้ทำการงาน๑ของเจ้าลิจฉวีอยู่
ได้เห็นปิงคิยานีพราหมณ์๒เดินมาแต่ไกล จึงถามว่า “ท่านปิงคิยานีพราหมณ์มา
จากไหนแต่ยังวัน๓”
ปิงคิยานีพราหมณ์ตอบว่า “ข้าพเจ้ามาจากสำนักพระสมณโคดม”
การณปาลีพราหมณ์ถามว่า “ท่านปิงคิยานีเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ เข้าใจ
ความแจ่มชัดแห่งปัญญาของพระสมณโคดมว่า ‘เป็นบัณฑิต’ ได้หรือไม่”
ปิงคิยานีพราหมณ์ตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นใคร จักรู้ความแจ่มชัด
แห่งปัญญาของพระสมณโคดมเพราะเหตุไร ผู้ที่เป็นเช่นเดียวกับพระสมณโคดม
เท่านั้นจึงจะรู้ความแจ่มชัดแห่งปัญญาของพระสมณโคดม”
การณปาลีกล่าวว่า “ท่านปิงคิยานีช่างสรรเสริญพระสมณโคดมยิ่งนัก”
ปิงคิยานีพราหมณ์กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเป็นใคร และจักสรรเสริญพระสมณโคดม
เพราะหตุไร และท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นเป็นผู้อันชาวโลกสรรเสริญ เป็นผู้
ประเสริฐที่สุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
การณปาลีพราหมณ์ถามว่า “ท่านปิงคิยานีเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึง
เลื่อมใสยิ่งนักในพระสมณโคดมอย่างนี้”

เชิงอรรถ :
๑ ให้ทำการงาน หมายถึงให้สร้างประตู ป้อม และกำแพงที่ยังไม่ได้สร้าง และหมายถึงให้ซ่อมแซมประตู ป้อม
และกำแพงที่เก่าคร่ำคร่า (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๔/๗๕)
๒ ปิงคิยานีพราหมณ์ คือพราหมณ์ผู้เป็นอริยสาวก ผู้บรรลุอนาคามิผล เล่ากันว่า พราหมณ์ผู้นี้ทำกิจวัตร
ประจำวันโดยการนำของหอม ระเบียบ ดอกไม้ไปบูชาพระศาสดาเป็นประจำ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๔/๗๕)
๓ แต่ยังวัน (ทิวา ทิวสฺส) หมายถึงในเวลาเที่ยงวัน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๔/๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๔. การณปาลีสูตร
ปิงคิยานีพราหมณ์ตอบว่า
ท่านผู้เจริญ
๑. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ หรืออัพภูตธรรมย่อมไม่ปรารถนา
ปวาทะ๑ของสมณะเป็นอันมากเหล่าอื่นโดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบ
เหมือนบุรุษผู้อิ่มในรสอันเลิศแล้ว ไม่ปรารถนารสที่เลวเหล่าอื่น”
๒. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ หรืออัพภูตธรรม ย่อมได้ความ
พอใจ ความเลื่อมใสแห่งใจโดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบเหมือนบุรุษผู้
ถูกความหิวและความอ่อนเพลียครอบงำ ได้รวงผึ้ง เขาพึงได้ลิ้มรส
จากส่วนใด ๆ ย่อมได้รสดีอันไม่มีสิ่งเจือปนจากส่วนนั้น ๆ
๓. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะหรืออัพภูตธรรม ย่อมได้ความ
ปราโมทย์ โสมนัสโดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบเหมือนบุรุษได้ไม้จันทน์
จะเป็นจันทน์เหลือง หรือจันทน์แดงก็ตาม พึงสูดกลิ่นจากส่วนใด ๆ
เช่น จากราก จากลำต้น หรือจากยอด ย่อมได้กลิ่นหอมดี กลิ่นแท้
จากส่วนนั้น ๆ
๔. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ หรืออัพภูตธรรม โสกะ (ความ
โศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส
(ความทุกข์ใจ) อุปายาส (ความคับแค้นใจ)ของเขา ย่อมหมดไป
โดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบเหมือนบุรุษผู้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก
นายแพทย์ผู้ฉลาดพึงบำบัดอาพาธของเขาโดยเร็ว
๕. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ หรืออัพภูตธรรม ความ

เชิงอรรถ :
๑ ปวาทะ ในที่นี้หมายถึงลัทธิ (ความเชื่อถือ) ของสมณพราหมณ์เหล่าอื่น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๔/๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๔. การณปาลีสูตร
กระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวงของเขา
ย่อมระงับไปโดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบเหมือนสระน้ำที่มีน้ำใส จืด
สนิท สะอาด มีท่าเทียบ น่ารื่นรมย์ บุรุษถูกความร้อนแผดเผา
ถูกความร้อนกระทบ เหน็ดเหนื่อย หิว กระหาย เดินมาถึง เขาลง
ไปในสระนั้น อาบ และดื่ม พึงระงับความกระวนกระวาย ความ
เหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวง
เมื่อปิงคิยานีพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว การณปาลีพราหมณ์ลุกจากที่นั่ง ห่ม
ผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกเข่าข้างขวาลงบนแผ่นดิน ประคองอัญชลีไปทางที่พระผู้มี
พระภาคประทับอยู่เปล่งอุทาน๑ ๓ ครั้งว่า
“ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น”
แล้วกล่าวต่อไปว่า “ท่านปิงคิยานี ภาษิตของท่านปิงคิยานีชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ท่านปิงคิยานี ภาษิตของท่านปิงคิยานีชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านปิงคิยานีประกาศ
ธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดโดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’
ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็น
สรณะ ขอท่านปิงคิยานีจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
จนตลอดชีวิต”
การณปาลีสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อุทาน หมายถึงคำที่เกิดจากปีติที่ไม่สามารถเก็บไว้ในใจได้ จึงเปล่งออกมาภายนอก (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/
๑๙๒/๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๕. ปิงคิยานีสูตร
๕. ปิงคิยานีสูตร
ว่าด้วยปิงคิยานีพราหมณ์
[๑๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี สมัยนั้น เจ้าลิจฉวีประมาณ ๕๐๐ คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
เจ้าลิจฉวีบางพวกมีตัวเขียว๑ มีฉวีวรรณเขียว มีผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว๒
บางพวกมีตัวเหลือง มีฉวีวรรณเหลือง มีผ้าเหลือง มีเครื่องประดับเหลือง บางพวก
มีตัวแดง มีฉวีวรรณแดง มีผ้าแดง มีเครื่องประดับแดง บางพวกมีตัวขาว มีฉวีวรรณ
ขาว มีผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว พระผู้มีพระภาคทรงรุ่งเรืองกว่าเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น
โดยพระฉวีวรรณและพระยศ
ครั้งนั้น ปิงคิยานีพราหมณ์ลุกจากที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประคอง
อัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เนื้อความแจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต
เนื้อความแจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปิงคิยานี เนื้อความจงแจ่มแจ้งแก่เธอเถิด”
ลำดับนั้น ปิงคิยานีพราหมณ์ได้ชมเชยพระผู้มีพระภาคต่อพระพักตร์ด้วย
คาถาโดยย่อว่า
“เชิญท่านดูพระอังคีรส๓ผู้ทรงรุ่งโรจน์อยู่
เหมือนดอกบัวชื่อโกกนุท มีกลิ่นหอม

เชิงอรรถ :
๑ มีตัวเขียว หมายถึงเขียวเพราะการลูบไล้ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๕/๗๗)
๒ มีเครื่องประดับเขียว หมายถึงประดับด้วยแก้วสีเขียวและดอกไม้สีเขียว แม้เครื่องประดับช้าง เครื่องประดับ
ม้า เครื่องประดับรถ ผ้าม่าน เพดาน และเกราะของเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นก็เป็นสีเขียวทั้งหมด(องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๙๕/๗๗)
๓ พระอังคีรส หมายถึงพระรัศมีทั้งหลายที่เปล่งออกจากพระวรกายของพระผู้มีพระภาค (องฺ.ปญฺจก.อ
๓/๑๙๕/๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๕. ปิงคิยานีสูตร
ไม่ปราศจากกลิ่น บานอยู่ในเวลาเช้า
และเหมือนพระอาทิตย์เปล่งรัศมีอยู่บนท้องฟ้า ฉะนั้น”
ครั้งนั้น เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นได้ให้ปิงคิยานีพราหมณ์ห่มผ้าอุตตราสงค์ ๕๐๐ ผืน
ปิงคิยานีได้ทูลถวายให้พระผู้มีพระภาคครองผ้าอุตตราสงค์ ๕๐๐ ผืนเหล่านั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสกับเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า
“เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ หาได้ยากในโลก
ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หาได้ยากในโลก
๒. บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ หาได้ยากในโลก
๓. บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ซึ่งผู้อื่นแสดงแล้ว หาได้
ยากในโลก
๔. บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ ซึ่งผู้อื่นแสดงแล้ว เป็น
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หาได้ยากในโลก
๕. กตัญญูกตเวทีบุคคล๑ หาได้ยากในโลก
เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการนี้แล หาได้ยากในโลก”
ปิงคิยานีสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๔๓ (สารันททสูตร) หน้า ๒๓๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๖. มหาสุปินสูตร
๖. มหาสุปินสูตร
ว่าด้วยมหาสุบิน
[๑๙๖] ภิกษุทั้งหลาย มหาสุบิน๑ ๕ ประการ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่
มหาสุบิน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แผ่นดินใหญ่นี้ เป็นที่นอนใหญ่ ขุนเขาหิมวันต์เป็นเขนย(หมอน)
มือซ้ายหย่อนลงในสมุทรด้านทิศตะวันออก มือขวาหย่อนลงในสมุทร
ด้านทิศตะวันตก เท้าทั้งสองหย่อนลงในสมุทรด้านทิศใต้ นี้เป็น
มหาสุบินประการที่ ๑ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่
๒. หญ้าแพรกได้งอกขึ้นจากนาภีของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ตั้งจรดท้องฟ้า
นี้เป็นมหาสุบินประการที่ ๒ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมาสัม-
พุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่
๓. หมู่หนอนสีขาว มีหัวดำ ได้ไต่ขึ้นมาจากเท้าของตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระ
โพธิสัตว์อยู่ ปกปิดตั้งแต่ปลายเล็บจนถึงบริเวณพระชาณุ นี้เป็น
มหาสุบินประการที่ ๓ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่
๔. นก ๔ เหล่ามีสีต่าง ๆ กัน๒ บินมาจากทิศทั้ง ๔ ตกลงแทบเท้า
ของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้

เชิงอรรถ :
๑ มหาสุบิน หมายถึงความฝันที่สำคัญ ซึ่งมีเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ธาตุกำเริบเป็นต้น (๒) อารมณ์ที่เคย
รับรู้มาก่อน (๓) เทวดาดลใจ (๔) ปุพพนิมิต (ลางบอกเหตุดีเหตุร้าย) ในความฝัน ๔ อย่างนี้ ความฝัน ๒
อย่างแรก ไม่เป็นจริง ความฝันอย่างที่ ๓ เป็นจริงก็มี ไม่เป็นจริงก็มี ที่เป็นอย่างนี้ เพราะเทวดาบางเหล่า
โกรธประสงค์ร้าย บางเหล่าประสงค์ดี ความฝันอย่างที่ ๔ เป็นจริงแน่นอน (ตามนัย องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๖/
๗๘-๗๙, อภิ.วิ.อ. ๓๖๖/๔๓๖)
๒ มีสีต่าง ๆ กัน หมายถึงมีสีเขียว สีเหลือง สีแดง และสีขาว (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๖/๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๖. มหาสุปินสูตร
ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ แล้วกลับกลายเป็นสีขาวทุกตัว นี้เป็น
มหาสุบินประการที่ ๔ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่
๕. ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยัง
เป็นพระโพธิสัตว์อยู่ เดินไปมาบนภูเขาคูถลูกใหญ่๑ (แต่) ไม่แปดเปื้อน
ด้วยคูถ นี้เป็นมหาสุบินประการที่ ๕ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระ
โพธิสัตว์อยู่
ภิกษุทั้งหลาย การที่แผ่นดินใหญ่นี้เป็นที่นอนใหญ่ของตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ขุนเขาหิมวันต์
เป็นเขนย มือซ้ายหย่อนลงในสมุทรด้านทิศตะวันออก มือขวาหย่อนลงในสมุทรด้าน
ทิศตะวันตก เท้าทั้งสองหย่อนลงในสมุทรด้านทิศใต้ นี้เป็นมหาสุบินประการที่ ๑
ปรากฏเป็นนิมิตให้ทราบว่า ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้พระสัมโพธิญาณ
อันยอดเยี่ยม
การที่หญ้าแพรกได้งอกขึ้นจากนาภีของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อน
จะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ตั้งจรดท้องฟ้า นี้เป็นมหาสุบิน
ประการที่ ๒ ปรากฏเป็นนิมิตให้ทราบว่า ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้
อริยมรรคมีองค์ ๘ ประกาศดีแล้ว จนถึงเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
การที่หมู่หนอนสีขาว มีหัวดำ ได้ไต่ขึ้นจากเท้าของตถาคตอรหันต์สัมมา-
สัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ปกปิดตลอดถึง
บริเวณพระชาณุ นี้เป็นมหาสุบินประการที่ ๓ ปรากฏเป็นนิมิตให้ทราบว่า คฤหัสถ์
ผู้นุ่งห่มผ้าขาวจำนวนมากได้ถึงตถาคตเป็นสรณะตลอดชีวิต
การที่นก ๔ เหล่ามีสีต่าง ๆ กันบินมาจากทิศทั้ง ๔ ตกลงแทบเท้าของ
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์
อยู่ แล้วกลับกลายเป็นสีขาวทุกตัว นี้เป็นมหาสุบินประการที่ ๔ ปรากฏเป็นนิมิตให้

เชิงอรรถ :
๑ ภูเขาคูถที่มีความสูงถึง ๓ โยชน์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๖/๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๗. วัสสสูตร
ทราบว่า วรรณะทั้ง ๔ นี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติอันยอดเยี่ยม
การที่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็น
พระโพธิสัตว์อยู่ เดินไปมาบนภูเขาคูถลูกใหญ่ (แต่) ไม่แปดเปื้อนอุจจาระ นี้เป็น
มหาสุบินประการที่ ๕ ปรากฏเป็นนิมิตให้ทราบว่า ตถาคตได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร แล้วไม่ลุ่มหลง ไม่หมกหมุ่น ไม่พัวพัน
มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่
ภิกษุทั้งหลาย มหาสุบิน ๕ ประการนี้ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่
มหาสุปินสูตรที่ ๖ จบ
๗. วัสสสูตร
ว่าด้วยอันตรายของฝน
[๑๙๗] ภิกษุทั้งหลาย อันตรายของฝน ๕ ประการนี้ ซึ่งพวกหมอดูรู้ไม่ได้
สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง
อันตราย ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เตโชธาตุ๑กำเริบบนอากาศ เมฆที่เกิดขึ้นย่อมกระจายไป เพราะ
เตโชธาตุที่กำเริบนั้น นี้เป็นอันตรายของฝนประการที่ ๑ ซึ่งพวก
หมอดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง
๒. วาโยธาตุกำเริบบนอากาศ เมฆที่เกิดขึ้นย่อมกระจายไป เพราะ
วาโยธาตุที่กำเริบนั้น นี้เป็นอันตรายของฝนประการที่ ๒ ซึ่งพวก
หมอดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง
๓. อสุรินทราหูใช้ฝ่ามือรับน้ำแล้วทิ้งลงในมหาสมุทร นี้เป็นอันตราย
ของฝนประการที่ ๓ ซึ่งพวกหมอดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดู
หยั่งไม่ถึง

เชิงอรรถ :
๑ เตโชธาตุ ในที่นี้หมายถึงกองไฟใหญ่ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๗/๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๘. วาจาสูตร
๔. วัสสวลาหกเทพบุตรเป็นผู้ประมาท๑ นี้เป็นอันตรายของฝนประการ
ที่ ๔ ซึ่งพวกหมอดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง
๕. พวกมนุษย์เป็นผู้ไม่ดำรงอยู่ในธรรม นี้เป็นอันตรายของฝนประการ
ที่ ๕ ซึ่งพวกหมอดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง
ภิกษุทั้งหลาย อันตรายของฝน ๕ ประการนี้แล ซึ่งพวกหมอดูรู้ไม่ได้ สายตา
ของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง
วัสสสูตรที่ ๗ จบ
๘. วาจาสูตร
ว่าด้วยองค์แห่งวาจาสุภาษิต
[๑๙๘] ภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ เป็นวาจาสุภาษิต
ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และท่านผู้รู้ไม่ติเตียน
วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พูดถูกกาล
๒. พูดคำจริง
๓. พูดคำอ่อนหวาน
๔. พูดคำประกอบด้วยประโยชน์
๕. พูดด้วยเมตตาจิต
ภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล เป็นวาจาสุภาษิต
ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และท่านผู้รู้ไม่ติเตียน
วาจาสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะวัสสวลาหกเทพบุตรมัวเล่นกีฬาอยู่ จึงไม่ให้ฝนตกในฤดูกาล ถือเป็นอันตรายของฝน (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๙๗/๘๑-๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๙. กุลสูตร
๙. กุลสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตระกูลประสพบุญ
[๑๙๙] ภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีลทั้งหลาย เข้าไปยังตระกูลใด พวก
มนุษย์ในตระกูลนั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมากโดยฐานะ ๕ ประการ
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปยังตระกูล พวกมนุษย์เห็นแล้วมี
จิตเลื่อมใส สมัยนั้น ตระกูลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่ยังสัตว์ให้เป็น
ไปเพื่อเกิดในสวรรค์
๒. สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปยังตระกูล พวกมนุษย์ลุกรับ
อภิวาท ถวายอาสนะ สมัยนั้น ตระกูลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทา
ที่ยังสัตว์ให้เป็นไปเพื่อเกิดในตระกูลสูง
๓. สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปยังตระกูล พวกมนุษย์กำจัดมลทิน
คือความตระหนี่ได้ สมัยนั้น ตระกูลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่ยังสัตว์
ให้เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีศักดิ์ใหญ่
๔. สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปยังตระกูล พวกมนุษย์จัดของถวาย
ตามความสามารถ ตามกำลัง สมัยนั้น ตระกูลนั้นชื่อว่าปฏิบัติ
ปฏิปทาที่ยังสัตว์ให้เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีโภคทรัพย์มาก
๕. สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปยังตระกูล พวกมนุษย์ไต่ถาม
สอบถามฟังธรรม สมัยนั้น ตระกูลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่ยังสัตว์
ให้เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก
ภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปยังตระกูลใด พวกมนุษย์ในตระกูลนั้น
ย่อมประสพบุญเป็นอันมากโดยฐานะ ๕ ประการนี้แล
กุลสูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๑๐. นิสสารณียสูตร
๑๐. นิสสารณียสูตร
ว่าด้วยธาตุที่สลัด
[๒๐๐] ภิกษุทั้งหลาย ธาตุ๑ที่สลัด ๕ ประการนี้
ธาตุที่สลัด ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการกามทั้งหลาย๒ จิตของเธอย่อมไม่
แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในกามทั้งหลาย แต่เมื่อเธอ
มนสิการเนกขัมมะ๓ จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไป
ในเนกขัมมะ จิต๔นั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว เจริญดี
แล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากกามทั้งหลาย
เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ๕ และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น๖
ซึ่งเกิดขึ้นเพราะกามเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้เรา
กล่าวว่าธาตุที่สลัดกามทั้งหลาย
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการพยาบาท จิตของเธอย่อมไม่
แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในพยาบาท แต่เมื่อเธอ
มนสิการความไม่พยาบาท จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่
น้อมไปในความไม่พยาบาท จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดี

เชิงอรรถ :
๑ ธาตุ หมายถึงสภาวะที่ว่างจากอัตตา (อัตตสุญญสภาวะ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๒) หรือสภาวะที่
ปราศจากชีวะ ในที่นี้หมายถึงธัมมธาตุและมโนวิญญาณธาตุขั้นพิเศษ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๑)
๒ มนสิการถึงกามทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงเมื่อออกจากอสุภฌาน(เพ่งความไม่งาม)แล้วส่งจิตคิดถึงกามคุณ
เพื่อตรวจดูจิตว่า ‘บัดนี้ จิตเราแน่วแน่ต่อเนกขัมมะหรือไม่ กามวิตกยังเกิดขึ้นอยู่หรือไม่’ เหมือนคนจับงู
พิษเพื่อทดลองดูว่างูมีพิษหรือไม่ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๒, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๑)
๓ เนกขัมมะ ในที่นี้หมายถึงปฐมฌานในอสุภะทั้งหลาย (องฺ.ปญฺจ.อ. ๓/๒๐๐/๘๒)
๔ จิต ในทีนี้หมายถึงอสุภฌานจิต (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๒)
๕ อาสวะ ในที่นี้หมายถึงอาสวะ ๔ คือ กามาสวะ อาสวะคือกาม ภวาสวะ อาสวะคือภพ ทิฏฐาสวะ อาสวะ
คือทิฏฐิ อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา (สํ.สฬา.อ. ๓/๕๓-๖๒/๑๔, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๘/๑๔๐, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
๓/๕๘/๑๕๔-๑๖๒)
๖ ความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น หมายถึงความเร่าร้อนเพราะกิเลสหรือความเร่าร้อนเพราะวิบากกรรมที่
ก่อความคับแค้นใจ หรือให้เกิดทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจอันเป็นผลมาจากอาสวะ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๘/๑๔๐,
องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๑๐. นิสสารณียสูตร
แล้ว เจริญดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้ว
จากพยาบาท เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ และความเร่าร้อนที่ก่อ
ความคับแค้นซึ่งเกิดขึ้นเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวย
เวทนานั้น นี้เรากล่าวว่าธาตุที่สลัดพยาบาท
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการวิหิงสา จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในวิหิงสา แต่เมื่อเธอมนสิการ
อวิหิงสา จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอวิหิงสา
จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว เจริญดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว
หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากวิหิงสา เธอหลุดพ้นแล้วจาก
อาสวะ และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นซึ่งเกิดขึ้นเพราะวิหิงสา
เป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้เรากล่าวว่าธาตุที่สลัด
วิหิงสา
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการรูปทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่
แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอ
มนสิการอรูป จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอรูป
จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว เจริญดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว
หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากรูปทั้งหลาย เธอหลุดพ้นแล้ว
จากอาสวะ และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นซึ่งเกิดขึ้นเพราะรูป
เป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้เรากล่าวว่าธาตุที่สลัดรูป
ทั้งหลาย
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการสักกายะ๑ จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ แต่เมื่อมนสิการถึง
สักกายนิโรธ(ความดับสักกายะ) จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่

เชิงอรรถ :
๑ มนสิการสักกายะ หมายถึงวิธีการที่พระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ(ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน ๆ)ผู้เห็นนิพพานด้วย
อรหัตตมรรคและอรหัตตผลออกจากผลสมาบัติแล้ว ส่งจิตในอรหัตตผลสมาบัติไปยังอุปาทานขันธ์ ๕ คือ
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเพื่อจะทดสอบดูว่า ‘ความยึดมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ว่าเป็นอัตตา ยังมีอยู่หรือไม่’ (ตามนัย องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๓)
อนึ่ง ๔ วิธีแรก เป็นวิธีของท่านผู้เป็นสมถยานิก (ผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐาน) แต่วิธีที่ ๕ เป็นวิธีของ
ท่านผู้เป็นวิปัสสนายานิก (ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน) (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
น้อมไปในสักกายนิโรธ จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว
เจริญดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจาก
สักกายะ เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ และความเร่าร้อนที่ก่อ
ความคับแค้นซึ่งเกิดขึ้นเพราะสักกายะเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวย
เวทนานั้น นี้เรากล่าวว่าธาตุที่สลัดสักกายะ
ความเพลิดเพลินในกามย่อมไม่เกิดแก่เธอ ความเพลิดเพลินในพยาบาทก็
ไม่เกิด ความเพลิดเพลินในวิหิงสาก็ไม่เกิด ความเพลิดเพลินในรูปก็ไม่เกิด ความ
เพลิดเพลินในสักกายะก็ไม่เกิด
เพราะความเพลิดเพลินในกามไม่เกิด เพราะความเพลิดเพลินในพยาบาทไม่เกิด
เพราะความเพลิดเพลินในวิหิงสาไม่เกิด เพราะความเพลิดเพลินในรูปไม่เกิด และ
เพราะความเพลิดเพลินในสักกายะไม่เกิดแก่เธอ ภิกษุนี้เราจึงเรียกว่า เป็นผู้ไม่มี
อาลัย๑ ตัดตัณหาได้แล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะ
ได้โดยชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่สลัด ๕ ประการนี้แล
นิสสารณียสูตรที่ ๑๐ จบ
พราหมณวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โสณสูตร ๒. โทณพราหมณสูตร
๓. สังคารวสูตร ๔. การณปาลีสูตร
๕. ปิงคิยานีสูตร ๖. มหาสุปินสูตร
๗. วัสสสูตร ๘. วาจาสูตร
๙. กุลสูตร ๑๐. นิสสารณียสูตร

จตุตถปัณณาสก์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อาลัย ในที่นี้หมายถึงกามคุณ ๕ (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) หรือหมายถึงวัฏฏะ (กิเลสวัฏฏะ,
กัมมวัฏฏะ, วิปากวัฏฏะ) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๒๘/๓๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๑. กิมพิลวรรค
๕. ปัญจมปัณณาสก์
๑. กิมพิลวรรค
หมวดว่าด้วยพระกิมพิละ
๑. กิมพิลสูตร
ว่าด้วยท่านพระกิมพิละ
[๒๐๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าไผ่ เขตเมืองกิมิลา ครั้งนั้น
ท่านพระกิมพิละได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็น
เหตุปัจจัยให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “กิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้
๑. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในศาสดา๑
๒. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในธรรม๒
๓. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสงฆ์๓
๔. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา๔
๕. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงกันและกัน๕

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงเมื่อขึ้นสู่ลานเจดีย์เป็นต้น ก็ไม่หุบร่ม ไม่ถอดรองเท้า และกล่าวคำหยาบเป็นต้น ซึ่งแสดงถึง
ความไม่เคารพ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๑/๘๔)
๒ หมายถึงนั่งหลับและคุยกันในขณะฟังธรรม (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๑/๘๔)
๓ หมายถึงอยู่ท่ามกลางสงฆ์ก็ไม่สำรวมกายวาจาให้เรียบร้อย และไม่มีความเคารพในพระเถระ ได้แก่ พระผู้มี
ระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่นับว่าเป็นพระผู้ใหญ่ คือมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป ในพระมัชฌิมะ ได้แก่
พระระดับกลาง มีพรรษาตั้งแต่ครบ ๕ แต่ยังไม่ถึง ๑๐ ในพระนวกะ ได้แก่ พระใหม่มีระดับอายุ คุณธรรม
ความรู้ที่นับว่ายังใหม่ มีพรรษาต่ำกว่า ๕ ที่ยังต้องถือนิสสัย) (วิ.อ. ๑/๔๕/๒๕๓, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๑/๘๔)
๔ หมายถึงไม่บำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ให้บริบูรณ์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๑/๘๔)
๕ หมายถึงก่อการทะเลาะวิวาทกันเป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๑/๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๒. ธัมมัสสวนสูตร
กิมพิละ นี้แลเหตุปัจจัยให้สัทธรรมไม่ดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคต
ปรินิพพานแล้ว” พระกิมพิละทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุปัจจัย
ให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว” พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า “กิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาใน
ธรรมวินัยนี้
๑. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในศาสดา
๒. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในธรรม
๓. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสงฆ์
๔. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสิกขา
๕. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงกันและกัน
กิมพิละ นี้แลเป็นเหตุปัจจัยให้สัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคต
ปรินิพพานแล้ว”
กิมพิลสูตรที่ ๑ จบ
๒. ธัมมัสสวนสูตร
ว่าด้วยการฟังธรรม
[๒๐๒] ภิกษุทั้งหลาย การฟังธรรมมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒. เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว
๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้
๔. ทำความเห็นได้ตรง
๕. จิตของผู้ฟังธรรมย่อมเลื่อมใส
ภิกษุทั้งหลาย การฟังธรรมมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ธัมมัสสวนสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๓. อัสสาชานียสูตร
๓. อัสสาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย๑
[๒๐๓] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์
๕ ประการ ย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะ
โดยแท้
องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตรง
๒. ความมีเชาว์
๓. ความอ่อน
๔. ความอดทน
๕. ความเสงี่ยม
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็น
ม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตรง๒
๒. ความมีเชาว์๓
๓. ความอ่อน๔

เชิงอรรถ :
๑ ม้าอาชาไนย หมายถึงม้าที่เกิดในตระกูลม้าสินธพ หรือในตระกูลพญาม้าวลาหก (ขุ.ธ.อ. ๑๕๔/๑๐๕)
หรือหมายถึงม้าที่รู้เหตุที่ควรและไม่ควร (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๓/๒๗๓)และดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๗/๓๓๐
๒ ความตรงของม้า หมายถึงความไปได้ตรง ไปไม่คด ความตรงของพระ หมายถึงความมีญาณดำเนินไปตรง
(�าณสฺส อชุกคมนํ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๓-๒๐๔/๘๕)
๓ ความมีเชาว์ของม้า หมายถึงมีฝีเท้าเร็ว (ปทชวะ) ความมีเชาว์ของพระ หมายถึงความมีญาณที่แกล้วกล้า
ดำเนินไป (สูรสฺส หุตฺวา �าณสฺส คมนภาโว) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๓-๒๐๔/๘๕)
๔ ความอ่อนของม้า หมายถึงร่างกายอ่อนนุ่ม (สรีรมุทุตา) ความอ่อนของพระ หมายถึงความอ่อนเพราะศีล
(สีลมัททวะ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๓-๒๐๔/๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๔. พลสูตร
๔. ความอดทน๑
๕. ความเสงี่ยม๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
อัสสาชานียสูตรที่ ๓ จบ
๔. พลสูตร
ว่าด้วยพละ
[๒๐๔] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา)
๒. หิริพละ (กำลังคือหิริ)
๓. โอตตัปปพละ (กำลังคือโอตตับปะ)
๔. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ)
๕. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล
พลสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงอธิวาสนขันติ (ความอดทนคือความอดกลั้น) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๓-๒๐๔/๘๕)
๒ หมายถึงความมีศีลสะอาด บริสุทธิ์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๓-๒๐๔/๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๕. เจโตขิลสูตร
๕. เจโตขิลสูตร๑
ว่าด้วยกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู
[๒๐๕] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู๒ ๕ ประการนี้
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดา๓ จิตของภิกษุ
ผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดานั้น ย่อม
ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง
เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๑ ของ
ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อ
กระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
๒. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในธรรม๔ ฯลฯ
๓. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสงฆ์๕ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ม.มู. ๑๒/๑๘๕-๑๘๙/๑๕๖-๑๖๑,องฺ.นวก. ๒๓/๗๑-๗๒/๓๘๐-๓๘๑, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๔/๒๒-๒๓,
อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๑/๕๙๔)
๒ กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู (เจโตขิลา) หมายถึงสภาวะที่จิตแข็งกระด้าง เป็นดุจหยากเยื่อ เป็นดุจตอ ได้แก่
วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) และโกธะ (ความโกรธ) เมื่อกิเลส ๒ ตัวนี้ เกิดขึ้นในจิตของผู้ใด จิตของผู้นั้น
ย่อมแข็งกระด้าง (องฺ.ปญฺจ.อ. ๓/๒๐๕/๘๕, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๕/๙๓)
๓ ไม่เลื่อมใสในศาสดา หมายถึงไม่เชื่อว่าพระสรีระของพระพุทธเจ้าประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒
ประการ และไม่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าจะทรงพระสัพพัญญุตญาณที่สามารถรู้อดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้
(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๕/๘๕)
๔ ไม่เลื่อมใสในธรรม หมายถึงไม่เชื่อในปริยัติธรรมว่าพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกมี ๘๔,๐๐๐ พระธรรม
ขันธ์ และไม่เชื่อในปฏิเวธธรรมว่า มรรคเกิดจากวิปัสสนา ผลเกิดจากมรรค และนิพพานคือธรรมเป็นที่
สละคืนสังขารทั้งปวง จะมีอยู่จริงหรือไม่ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๕/๘๕)
๕ ไม่เลื่อมใสในสงฆ์ หมายถึงไม่เชื่อในพระอริยบุคคล ๘ จำพวก ว่าเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง และเป็นผู้
ดำรงอยู่ในมรรค (ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล ๔ ประการ คือ (๑) โสตาปัตติมรรค (๒) สกทาคามิมรรค
(๓) อนาคามิมรรค (๔) อรหัตตมรรค และดำรงอยู่ในผล ๔ (ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละกิเลสได้ด้วยมรรค)
คือ (๑) โสดาปัตติผล (๒) สกทาคามิผล (๓) อนาคามิผล (๔) อรหัตตผล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๕/๘๕) และดู
อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๐๗/๕๑๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๖. วินิพันธสูตร
๔. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา ฯลฯ
๕. เป็นผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะ(ความคิดประทุษร้าย)กระทบ มี
จิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธ ไม่พอใจ
มีจิตถูกโทสะกระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายนั้น
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อ
เนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๕
ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการนี้แล
เจโตขิลสูตรที่ ๕ จบ
๖. วินิพันธสูตร
ว่าด้วยกิเลสเครื่องผูกใจ๑
[๒๐๖] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้
กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่
ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ
เร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย๒ จิตของภิกษุผู้ยัง

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๔/๒๓-๒๔, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๑/๕๙๔)
๒ กามทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงวัตถุกามและกิเลสกาม (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๖/๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๖. วินิพันธสูตร
ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจาก
ความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน
ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ
ความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญ
เพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๑ ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อม
ไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อ
บำเพ็ญเพียร
๒. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาย๑ ฯลฯ
๓. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในรูป๒ ฯลฯ
๔. ฉันอาหารตามความต้องการจนอิ่มเกินไป ประกอบความสุขในการ
นอนความสุขในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ
๕. ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์๓นี้ เราจักเป็นเทพเจ้า๔
หรือเทพตนใดตนหนึ่ง’ จิตของภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วย

เชิงอรรถ :
๑ กาย ในที่นี้หมายถึงนามกายของตน หรืออัตภาพของตน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๖/๘๖, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา
๓/๒๐๖-๘/๙๔)
๒ รูป ในที่นี้หมายถึงร่างกายของผู้อื่น และรูปที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับอินทรีย์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๖/๘๖)
๓ ศีล หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ ประการ (คือ (๑) ปาติโมกขสังวรศีล ศีลคือความสำรวมในพระปาติโมกข์
เว้นจากข้อห้าม ทำตามข้ออนุญาต ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย (๒) อินทรียสังวรศีล ศีลคือ
ความสำรวมอินทรีย์ ระวังไม่ให้บาปอกุศลครอบงำ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ (๓) อาชีวปาริสุทธิศีล
ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบ ไม่ประกอบอเนสนามีหลอกลวงเขาเลี้ยงชีพเป็นต้น
(๔) ปัจจัยสันนิสิตศีล ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัย ๔ ได้แก่ ปัจจัยปัจจเวกขณะ คือพิจารณาใช้สอยปัจจัย ๔ ให้
เป็นไปตามความหมายและประโยชน์ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วยตัณหา (วิสุทธิ. ๑/๑๔-๑๘/๑๗-๓๖)
วัตร หมายถึงวัตตสมาทาน การประพฤติข้อปฏิบัติ
ตบะ หมายถึงตปจรณะ (การประพฤติตบะ)
พรหมจรรย์ หมายถึงเมถุนวิรัติ (การงดเว้นจากการร่วมประเวณี) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๖/๘๖)
๔ เทพเจ้า ในที่นี้หมายถึงเป็นเทวดาผู้มีศักดิ์หรือมีอำนาจมาก เทพตนใดตนหนึ่ง หมายถึงเทวดาผู้มีศักดิ์หรือ
มีอำนาจน้อย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๖/๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๗. ยาคุสูตร
ความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ
หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้า หรือเทพตนใดตนหนึ่ง’ นั้น
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๕
ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้แล
วินิพันธสูตรที่ ๖ จบ
๗. ยาคุสูตร
ว่าด้วยอานิสงส์ของยาคู
[๒๐๗] ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของยาคู (ข้าวต้ม) ๕ ประการนี้
อานิสงส์ของยาคู ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บรรเทาความหิว
๒. ระงับความกระหาย
๓. ให้ลมเดินคล่อง
๔. ชำระลำไส้
๕. เผาอาหารที่ยังไม่ย่อยให้ย่อย
ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของยาคู ๕ ประการนี้แล
ยาคุสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๘. ทันตกัฏฐสูตร
๘. ทันตกัฏฐสูตร
ว่าด้วยไม้สีฟัน
[๒๐๘] ภิกษุทั้งหลาย โทษของการไม่เคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตาฝ้าฟาง
๒. ปากเหม็น
๓. ประสาทที่นำรสอาหาร ไม่หมดจดดี
๔. ดีและเสมหะหุ้มห่ออาหาร
๕. อาหารไม่อร่อยแก่เขา
ภิกษุทั้งหลาย โทษของการไม่เคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของการเคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตาสว่าง
๒. ปากไม่เหม็น
๓. ประสาทที่นำรสอาหาร หมดจดดี
๔. ดีและเสมหะไม่หุ้มห่ออาหาร
๕. อาหารอร่อยแก่เขา
ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของการเคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้แล
ทันตกัฏฐสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๑๐. มุฏฐัสสติสูตร
๙. คีตัสสรสูตร
ว่าด้วยโทษของการแสดงธรรมด้วยเสียงขับยาว
[๒๐๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กล่าวธรรมด้วยเสียงขับยาว๑ มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนเองก็กำหนัดในเสียงนั้น
๒. แม้ผู้อื่นก็กำหนัดในเสียงนั้น
๓. แม้พวกคหบดีก็ตำหนิว่า ‘พวกสมณศากยบุตรเหล่านี้ ย่อมขับ
เหมือนพวกเรา’
๔. เมื่อภิกษุพอใจการทำเสียง ความเสื่อมแห่งสมาธิ๒ย่อมมี
๕. หมู่คนรุ่นหลังพากันตามอย่าง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กล่าวธรรมด้วยเสียงขับยาวมีโทษ ๕ ประการนี้แล
คีตัสสรสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. มุฏฐัสสติสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้หลงลืมสติ
[๒๑๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะนอนหลับ มีโทษ
๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. หลับเป็นทุกข์ ๒. ตื่นเป็นทุกข์
๓. ฝันลามก ๔. เทวดาไม่รักษา
๕. น้ำอสุจิเคลื่อน

เชิงอรรถ :
๑ เสียงขับยาว หมายถึงการขับทำนองที่ทำให้อักขระเพี้ยนไปจนเป็นเหตุทำลายวัตร (ข้อปฏิบัติ) ที่ปรากฏ
ในพระสูตร ปรากฏในคาถาให้สูญหายไป (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๙/๘๗, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๙-๒๑๐/๙๕)
๒ หมายถึงจิตในระดับสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐานต้องมีอันเสื่อมไป (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๙/๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะนอนหลับ มีโทษ ๕ ประการ
นี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะนอนหลับ มีอานิสงส์ ๕
ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. หลับเป็นสุข ๒. ตื่นเป็นสุข
๓. ไม่ฝันลามก ๔. เทวดารักษา
๕. น้ำอสุจิไม่เคลื่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะนอนหลับ มีอานิสงส์ ๕
ประการนี้แล
มุฏฐัสสติสูตรที่ ๑๐ จบ
กิมพิลวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กิมพิลสูตร ๒. ธัมมัสสวนสูตร
๓. อัสสาชานียสูตร ๔. พลสูตร
๕. เจโตขิลสูตร ๖. วินิพันธสูตร
๗. ยาคุสูตร ๘. ทันตกัฏฐสูตร
๙. คีตัสสรสูตร ๑๐. มุฏฐัสสติสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค ๒. ภัณฑนการกสูตร
๒. อักโกสกวรรค
หมวดว่าด้วยโทษของการด่า
๑. อักโกสกสูตร
ว่าด้วยโทษของการด่า
[๒๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ด่าบริภาษเพื่อน
พรหมจารี ว่าร้ายพระอริยะ พึงหวังได้โทษ ๕ ประการ
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ต้องอาบัติปาราชิก หรือตัดธรรมเป็นเครื่องปิดกั้น๑
๒. ต้องอาบัติเศร้าหมองกองใดกองหนึ่ง
๓. เป็นโรคร้ายแรง
๔. หลงลืมสติมรณภาพ
๕. หลังจากมรณภาพแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารี ว่าร้ายพระอริยะ พึงหวัง
ได้โทษ ๕ ประการนี้แล
อักโกสกสูตรที่ ๑ จบ
๒. ภัณฑนการกสูตร
ว่าด้วยโทษแห่งการทำความบาดหมาง
[๒๑๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำความบาดหมาง ทะเลาะ วิวาท ทำความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ พึงหวังได้โทษ ๕ ประการ
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่บรรลุธรรม๒ที่ยังไม่ได้บรรลุ
๒. เสื่อมจากธรรมที่ได้บรรลุแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมเป็นเครื่องปิดกั้น ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้นทางไปอบาย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑๑/
๘๗, อง.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๑๑-๒/๙๖)
๒ ธรรม ในที่นี้หมายถึงคุณวิเศษ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑๒/๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค ๓. สีลสูตร
๓. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป
๔. หลงลืมสติมรณภาพ
๕. หลังจากมรณภาพแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำความบาดหมาง ทะเลาะ วิวาท ทำความอื้อฉาว
ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ พึงหวังได้โทษ ๕ ประการนี้แล
ภัณฑนการกสูตรที่ ๒ จบ
๓. สีลสูตร
ว่าด้วยศีล
[๒๑๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติในธรรมวินัยนี้ ย่อมถึงความเสื่อมโภคทรัพย์
เป็นอันมาก ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษประการที่ ๑ ของ
บุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ
๒. กิตติศัพท์อันชั่วของบุคคลผู้ทุศีลย่อมกระฉ่อนไป นี้เป็นโทษประการ
ที่ ๒ ของบุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ
๓. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติจะเข้าไปยังบริษัทใด ๆ จะเป็นขัตติยบริษัท
ก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม
ย่อมไม่แกล้วกล้า เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นโทษประการที่ ๓ ของบุคคล
ผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ
๔. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมหลงลืมสติตาย นี้เป็นโทษประการที่ ๔
ของบุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ
๕. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ หลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก นี้เป็นโทษประการที่ ๕ ของบุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ มีโทษ ๕ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค ๓. สีลสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีล มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีโภคทรัพย์เป็น
อันมาก ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑
ของบุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีล
๒. กิตติศัพท์อันงามของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลย่อมขจรไป
นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ ของบุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีล
๓. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล จะเข้าไปยังบริษัทใด ๆ จะเป็นขัตติย-
บริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัท
ก็ตาม ย่อมแกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓
ของบุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีล
๔. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมไม่หลงลืมสติตาย นี้เป็น
อานิสงส์ประการที่ ๔ ของบุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีล
๕. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๕ ของบุคคลผู้มีศีลเพราะ
สมบูรณ์ด้วยศีล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีลมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
สีลสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค ๕. ปฐมอักขันติสูตร
๔. พหุภาณิสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้พูดมาก
[๒๑๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พูดมาก๑ มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พูดเท็จ ๒. พูดส่อเสียด
๓. พูดคำหยาบ ๔. พูดเพ้อเจ้อ
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พูดมาก มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พูดด้วยมันตา๒ มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่พูดเท็จ ๒. ไม่พูดส่อเสียด
๓. ไม่พูดคำหยาบ ๔. ไม่พูดเพ้อเจ้อ
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พูดด้วยมันตา มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
พหุภาณิสูตรที่ ๔ จบ
๕. ปฐมอักขันติสูตร
ว่าด้วยความไม่อดทน สูตรที่ ๑
[๒๑๕] ภิกษุทั้งหลาย ความไม่อดทนมีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนหมู่มาก
๒. เป็นผู้มากด้วยเวร๓

เชิงอรรถ :
๑ พูดมาก หมายถึงพูดไม่ประกอบด้วยปัญญา (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑๔/๘๙)
๒ มันตา เป็นชื่อเรียกแทนปัญญา (องฺ.ปญฺจ.อ. ๓/๒๑๔/๘๙)
๓ มากด้วยเวร หมายถึงมีบุคคลผู้เป็นเวรต่อกันมาก มีการประพฤติอกุศลกรรมมาก (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑๕/๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค ๖. ทุติยอักขันติสูตร
๓. เป็นผู้มากด้วยโทษ
๔. เป็นผู้หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ความไม่อดทนมีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ความอดทนมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นที่รักเป็นที่พอใจของคนหมู่มาก
๒. เป็นผู้ไม่มากด้วยเวร
๓. เป็นผู้ไม่มากด้วยโทษ
๔. เป็นผู้ไม่หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย ความอดทนมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ปฐมอักขันติสูตรที่ ๕ จบ
๖. ทุติยอักขันติสูตร
ว่าด้วยความไม่อดทน สูตรที่ ๒
[๒๑๖] ภิกษุทั้งหลาย ความไม่อดทนมีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่เป็นที่รักเป็นที่พอใจของคนหมู่มาก
๒. เป็นผู้ดุร้าย
๓. เป็นผู้มีวิปปฏิสาร
๔. เป็นผู้หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ความไม่อดทนมีโทษ ๕ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค ๗. ปฐมอปาสาทิกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ความอดทนมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นที่รักเป็นที่พอใจของคนหมู่มาก
๒. เป็นผู้ไม่ดุร้าย
๓. เป็นผู้ไม่มีวิปปฏิสาร
๔. เป็นผู้ไม่หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย ความอดทนมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ทุติยอักขันติสูตรที่ ๖ จบ
๗. ปฐมอปาสาทิกสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส๑ สูตรที่ ๑
[๒๑๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมติเตียนได้
๓. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป
๔. หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้น่าเลื่อมใส๒ มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้

เชิงอรรถ :
๑ ผู้ไม่น่าเลื่อมใส หมายถึงผู้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริตที่ไม่น่าเลื่อมใส (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๒๑๗/๘๙) และดู องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๘/๗๑
๒ ผู้น่าเลื่อมใส หมายถึงผู้มีความประพฤติอันบริสุทธิ์ กล่าวคือประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต
อันนำมาซึ่งความเลื่อมใส (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑๗/๘๙) และดู องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๘/๗๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค ๘. ทุติยอปาสาทิกสูตร
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมสรรเสริญ
๓. กิตติศัพท์อันงามย่อมขจรไป
๔. ไม่หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้น่าเลื่อมใส มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ปฐมอปาสาทิกสูตรที่ ๗ จบ
๘. ทุติยอปาสาทิกสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส สูตรที่ ๒
[๒๑๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. คนที่ยังไม่เลื่อมใส ย่อมไม่เลื่อมใส
๒. คนที่เลื่อมใสแล้วย่อมกลายเป็นอื่น
๓. ไม่ปฏิบัติตนตามคำสอนของศาสดา
๔. หมู่คนรุ่นหลัง๑พากันตามอย่าง
๕. จิตของเธอย่อมไม่เลื่อมใส๒
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้น่าเลื่อมใส มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้

เชิงอรรถ :
๑ หมู่คนรุ่นหลัง หมายถึงสัทธิวิหาริก(ผู้อยู่ด้วย) เป็นคำเรียกผู้ได้รับอุปสมบทจากพระอุปัชฌาย์และ
อันเตวาสิก(ผู้อยู่ในสำนัก) มี ๔ ประเภท คือ (๑) ปัพพัชชันเตวาสิก (อันเตวาสิกในบรรพชา)
(๒) อุปสัมปทันเตวาสิก (อันเตวาสิกในอุปสมบท) (๓) นิสสยันเตวาสิก (อันเตวาสิกผู้ถือนิสสัย)
(๔) ธัมมันเตวาสิก (อันเตวาสิกผู้เรียนธรรม) (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓)
๒ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉบับ “PALI TEXT SOCIETY” แปลว่า จิตของเขาไม่บรรลุความสุขสงบ
(One‘s heart wins not to peace) (The Book of the Gradual Sayings, VOL. III, P. 187)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค ๙. อัคคิสูตร
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. คนที่ยังไม่เลื่อมใส ย่อมเลื่อมใส
๒. คนที่เลื่อมใสแล้ว ย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้น
๓. ปฏิบัติตนตามคำสอนของศาสดา
๔. หมู่คนรุ่นหลังพากันตามอย่าง
๕. จิตของเธอย่อมเลื่อมใส
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้น่าเลื่อมใส มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ทุติยอปาสาทิกสูตรที่ ๘ จบ
๙. อัคคิสูตร
ว่าด้วยโทษของไฟ
[๒๑๙] ภิกษุทั้งหลาย ไฟมีโทษ ๕ ประการ
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทำให้ตาฝ้าฟาง
๒. ทำให้ผิวหยาบกร้าน
๓. ทำให้อ่อนกำลัง
๔. เพิ่มพูนการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. เป็นเหตุให้สนทนาติรัจฉานกถา๑
ภิกษุทั้งหลาย ไฟมีโทษ ๕ ประการนี้แล
อัคคิสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ติรัจฉานกถา หมายถึงถ้อยคำอันขวางทางไปสู่สวรรค์หรือนิพพาน ได้แก่ เรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็น
ข้อถกเถียงสนทนากัน เพราะทำให้เกิดฟุ้งซ่าน และหลงเพลินเสียเวลา (ที.สี.อ. ๑๗/๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑๐. มธุราสูตร
ว่าด้วยนครมธุรา๑
[๒๒๐] ภิกษุทั้งหลาย นครมธุรา มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มีพื้นดินไม่ราบเรียบ
๒. มีฝุ่นละอองมาก
๓. มีสุนัขดุ
๔. มียักษ์ร้าย
๕. หาอาหารได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย นครมธุรา มีโทษ ๕ ประการนี้แล
มธุราสูตรที่ ๑๐ จบ
อักโกสกวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อักโกสกสูตร ๒. ภัณฑนการกสูตร
๓. สีลสูตร ๔. พหุภาณิสูตร
๕. ปฐมอักขันติสูตร ๖. ทุติยอักขันติสูตร
๗. ปฐมอปาสาทิกสูตร ๘. ทุติยอปาสาทิกสูตร
๙. อัคคิสูตร ๑๐. มธุราสูตร


เชิงอรรถ :
๑ นครมธุรา (Madhura) นี้เป็นเมืองหลวงของแคว้นสุรเสนะ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา มีกษัตริย์ปกครองพระ
นามว่า อวันตีบุตร บางทีเมืองนี้ เรียกอีกชื่อว่า อุตตรมธุรา (มธุราเหนือ) เพื่อให้ต่างจากเมืองมธุราตอน
ใต้ของอินเดียที่มีชื่อว่าทักขิณมธุรา เมืองอุตตรมธุรานี้ ปัจจุบันเรียกว่า มถุรา หรือมุตตระ ตั้งอยู่ตอน
เหนือห่างจากที่ตั้งเดิมระยะทาง ๕ ไมล์ และที่ตั้งเดิมกลายเป็นเมืองใหม่ชื่อมโหลี (G.P. MALALASERA,
Dictionary of Pali Proper Names, London : Luzac Company Ltd, 46 Russell Street 1960.)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๑. ปฐมทีฆจาริกสูตร
๓. ทีฆจาริกวรรค
หมวดว่าด้วยการจาริกไปนาน
๑. ปฐมทีฆจาริกสูตร
ว่าด้วยการจาริกไปนาน สูตรที่ ๑
[๒๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้จาริกไปนาน จาริกไป
ไม่มีกำหนด มีโทษ ๕ ประการ
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒. ไม่เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว
๓. ไม่แกล้วกล้าในเรื่องที่ได้ฟังแล้ว๑
๔. เป็นโรคร้ายแรง
๕. เป็นผู้ไม่มีมิตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้จาริกไปนาน จาริกไปไม่มีกำหนด มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การจาริกไปมีกำหนดพอดี มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒. เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว
๓. แกล้วกล้าในเรื่องที่ได้ฟังแล้ว
๔. ไม่เป็นโรคร้ายแรง
๕. เป็นผู้มีมิตร
ภิกษุทั้งหลาย การจาริกไปมีกำหนดพอดี มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ปฐมทีฆจาริกสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ไม่แกล้วกล้าในเรื่องที่ได้ฟังแล้ว หมายถึงไม่เกิดโสมนัสด้วยญาณที่มีอยู่ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๒๑/๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๒. ทุติยทีฆจาริกสูตร
๒. ทุติยทีฆจาริกสูตร
ว่าด้วยการจาริกไปนาน สูตรที่ ๒
[๒๒๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้จาริกไปนาน จาริกไปไม่มีกำหนด มีโทษ ๕
ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ
๒. เสื่อมจากธรรมที่ได้บรรลุแล้ว
๓. ไม่แกล้วกล้าในธรรมที่ได้บรรลุแล้ว
๔. เป็นโรคร้ายแรง
๕. เป็นผู้ไม่มีมิตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้จาริกไปนาน จาริกไปไม่มีกำหนด มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การจาริกไปมีกำหนดพอดี มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ได้บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
๒. ไม่เสื่อมจากธรรมที่ได้บรรลุแล้ว
๓. แกล้วกล้าในธรรมที่ได้บรรลุแล้ว
๔. ไม่เป็นโรคร้ายแรง
๕. เป็นผู้มีมิตร
ภิกษุทั้งหลาย การจาริกไปมีกำหนดพอดี มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ทุติยทีฆจาริกสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๓. อตินิวาสสูตร
๓. อตินิวาสสูตร
ว่าด้วยการอยู่ประจำที่นาน
[๒๒๓] ภิกษุทั้งหลาย การอยู่ประจำที่นาน มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มีสิ่งของมาก สะสมสิ่งของมาก
๒. มีเภสัชมาก สะสมเภสัชมาก
๓. มีกิจมาก มีหน้าที่ที่จะต้องทำมาก ยึดติดในการงานที่จะพึงทำ
๔. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์และบรรพชิตด้วยการคลุกคลีอย่างคฤหัสถ์อัน
ไม่สมควร
๕. เมื่อจากอาวาสนั้นไป ก็จากไปทั้งที่ยังมีความห่วงใย
ภิกษุทั้งหลาย การอยู่ประจำที่นาน มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การอยู่มีกำหนดพอดี มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีสิ่งของมาก ไม่สะสมสิ่งของมาก
๒. ไม่มีเภสัชมาก ไม่สะสมเภสัชมาก
๓. ไม่มีกิจมาก ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องทำมาก ไม่ยึดติดในการงานที่จะ
พึงทำ
๔. ไม่อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์และบรรพชิตด้วยการคลุกคลีอย่างคฤหัสถ์
อันไม่สมควร
๕. เมื่อจากอาวาสนั้นไป ก็จากไปโดยไม่มีความห่วงใย
ภิกษุทั้งหลาย การอยู่มีกำหนดพอดี มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
อตินิวาสสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๔. มัจฉรีสูตร
๔. มัจฉรีสูตร
ว่าด้วยความตระหนี่
[๒๒๔] ภิกษุทั้งหลาย การอยู่ประจำที่นาน มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ตระหนี่อาวาส
๒. เป็นผู้ตระหนี่ตระกูล
๓. เป็นผู้ตระหนี่ลาภ
๔. เป็นผู้ตระหนี่วรรณะ๑
๕. เป็นผู้ตระหนี่ธรรม๒
ภิกษุทั้งหลาย การอยู่ประจำที่นาน มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การอยู่มีกำหนดพอดี มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่ตระหนี่อาวาส
๒. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ตระกูล
๓. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ลาภ
๔. เป็นผู้ไม่ตระหนี่วรรณะ
๕. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย การอยู่มีกำหนดพอดี มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
มัจฉรีสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ตระหนี่วรรณะ ในที่นี้หมายถึงตระหนี่คุณความดี (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๒๓-๒๒๔/๙๐)
๒ ตระหนี่ธรรม ในที่นี้หมายถึงตระหนี่ปริยัติ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๒๓-๒๒๔/๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๕. ปฐมกุลุปกสูตร
๕. ปฐมกุลุปกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล สูตรที่ ๑
[๒๒๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ต้องอาบัติเพราะเที่ยวไปไม่บอกลา๑
๒. ต้องอาบัติเพราะนั่งในที่ลับ๒
๓. ต้องอาบัติเพราะนั่งบนอาสนะที่กำบัง๓
๔. ต้องอาบัติเพราะแสดงธรรมแก่มาตุคามเกินกว่า ๕-๖ คำ๔
๕. เป็นผู้มากไปด้วยความดำริในกามอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ปฐมกุลุปกสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ต้องอาบัติเพราะเที่ยวไปไม่บอกลา หมายถึงต้องอาบัติตามสิกขาบทที่บัญญัติไว้ว่า“ภิกษุใดรับนิมนต์ไว้แล้ว
มีภัตตาหารอยู่แล้ว(ที่ทายกจัดเตรียมไว้ถวาย)เที่ยวสัญจรไปในตระกูลทั้งหลายก่อนเวลาฉันภัตตาหาร
(ภิกษุนั้น)ต้องอาบัติปาจิตตีย์” (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๒๕-๒๒๖/๙๐) และดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๙๔-๒๙๗/
๔๓๗-๔๔๐
๒ ต้องอาบัติเพราะนั่งในที่ลับ ในที่นี้หมายถึงต้องอาบัติตามสิกขาบทที่บัญญัติไว้ว่า “ภิกษุใดนั่งในที่ลับกับ
มาตุคามสองต่อสอง(ภิกษุนั้น)ต้องอาบัติปาจิตตีย์” (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๒๑-๒๓๐/๙๗) และดู วิ.มหา.
(แปล) ๒/๒๘๙-๒๙๑/๔๓๔-๔๓๕
๓ ต้องอาบัติเพราะนั่งบนอาสนะที่กำบัง หมายถึงต้องอาบัติตามสิกขาบทที่บัญญัติไว้ว่า “ภิกษุใดนั่งบน
อาสนะที่กำบังกับมาตุคาม (ภิกษุนั้น) ต้องอาบัติปาจิตตีย์” (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา. ๓/๒๒๑-๒๓๐/๙๗) และดู
วิ.มหา. (แปล) ๑/๔๔๔-๔๔๘/๔๗๔-๔๗๗
๔ ต้องอาบัติเพราะแสดงธรรมแก่มาตุคามเกินกว่า ๕-๖ คำ หมายถึงต้องอาบัติตามสิกขาบทที่บัญญัติไว้
ว่า “ภิกษุใดแสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำ (ภิกษุนั้น) ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีบุรุษรู้เดียงสา
อยู่ด้วย” (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๒๑-๒๓๐/๙๗-๙๘) และดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๖๐-๖๕/๒๔๖-๒๕๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๗. โภคสูตร
๖. ทุติยกุลุปกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล สูตรที่ ๒
[๒๒๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล อยู่คลุกคลีในตระกูลนานเกิน
เวลา มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทำให้เห็นมาตุคามเป็นประจำ
๒. เมื่อมีการเห็น ย่อมมีการคลุกคลี
๓. เมื่อมีการคลุกคลี ย่อมมีความคุ้นเคย
๔. เมื่อมีความคุ้นเคย ย่อมมีจิตจดจ่อ
๕. เมื่อมีจิตจดจ่อ พึงหวังได้ว่า เธอจักไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
จักต้อง อาบัติเศร้าหมองกองใดกองหนึ่ง หรือจักบอกคืนสิกขา กลับมา
เป็นคฤหัสถ์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล อยู่คลุกคลีในตระกูลนานเกินเวลา มีโทษ
๕ ประการนี้แล
ทุติยกุลุปกสูตรที่ ๖ จบ
๗. โภคสูตร
ว่าด้วยโภคทรัพย์
[๒๒๗] ภิกษุทั้งหลาย โภคทรัพย์มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โภคทรัพย์เป็นสิ่งทั่วไปแก่ไฟ
๒. โภคทรัพย์เป็นสิ่งทั่วไปแก่น้ำ
๓. โภคทรัพย์เป็นสิ่งทั่วไปแก่พระราชา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๘. อุสสูรภัตตสูตร
๔. โภคทรัพย์เป็นสิ่งทั่วไปแก่โจร
๕. โภคทรัพย์เป็นสิ่งทั่วไปแก่ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก
ภิกษุทั้งหลาย โภคทรัพย์มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย โภคทรัพย์มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลอาศัยโภคทรัพย์จึงบำรุงตน บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ
๒. บุคคลอาศัยโภคทรัพย์จึงบำรุงบิดามารดา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ
๓. บุคคลอาศัยโภคทรัพย์จึงบำรุงบุตร ภรรยา ทาส กรรมกร และ
คนใช้ บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ
๔. บุคคลอาศัยโภคทรัพย์จึงบำรุงมิตรอำมาตย์๑ บริหารให้เป็นสุข
โดยชอบ
๕. บุคคลอาศัยโภคทรัพย์จึงบำเพ็ญทักษิณาในสมณพราหมณ์ซึ่งมีผล
มากเป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผลให้เกิดในสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย โภคทรัพย์มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
โภคสูตรที่ ๗ จบ
๘. อุสสูรภัตตสูตร
ว่าด้วยภัตรหุงต้มในเวลาสาย
[๒๒๘] ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลมีภัตรที่หุงต้มในเวลาสาย มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ได้ต้อนรับแขกที่ควรต้อนรับตามเวลา
๒. ไม่ได้เซ่นไหว้เทวดาผู้รับพลีกรรมตามเวลา
๓. ไม่ได้ถวายสมณพราหมณ์ผู้ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน งดเว้น
การฉันในเวลาวิกาลตามเวลา

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๔๐ (มหาสาลปุตตสูตร) หน้า ๖๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๙. ปฐมกัณหสัปปสูตร
๔. ทาส กรรมกร และคนใช้ หลบหน้าทำการงาน
๕. อาหารที่บริโภคในเวลาไม่ควรเช่นนั้นไม่มีโอชา
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลมีภัตรที่หุงต้มในเวลาสาย มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลมีภัตรที่หุงต้มตามเวลา มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ได้ต้อนรับแขกที่ควรต้อนรับตามเวลา
๒. ได้เซ่นไหว้เทวดาผู้รับพลีกรรมตามเวลา
๓. ได้ถวายสมณพราหมณ์ผู้ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน งดเว้น
การฉันในเวลาวิกาลตามเวลา
๔. ทาส กรรมกร และคนใช้ ไม่หลบหน้าทำการงาน
๕. อาหารที่บริโภคในเวลาที่ควรเช่นนั้นมีโอชา
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลมีภัตรที่หุงต้มตามเวลา มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
อุสสูรภัตตสูตรที่ ๘ จบ
๙. ปฐมกัณหสัปปสูตร
ว่าด้วยงูเห่า สูตรที่ ๑
[๒๒๙] ภิกษุทั้งหลาย งูเห่ามีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นสัตว์ไม่สะอาด
๒. เป็นสัตว์มีกลิ่นเหม็น
๓. เป็นสัตว์น่ากลัว
๔. เป็นสัตว์มีภัย
๕. เป็นสัตว์มักทำร้ายมิตร
ภิกษุทั้งหลาย งูเห่ามีโทษ ๕ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๑๐. ทุติยกัณหสัปปสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน มาตุคามมีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่สะอาด
๒. เป็นผู้มีกลิ่นเหม็น
๓. เป็นผู้น่ากลัวมาก
๔. เป็นผู้มีภัย
๕. เป็นผู้มักทำร้ายมิตร๑
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามมีโทษ ๕ ประการนี้แล
ปฐมกัณหสัปปสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ทุติยกัณหสัปปสูตร
ว่าด้วยงูเห่า สูตรที่ ๒
[๒๓๐] ภิกษุทั้งหลาย งูเห่ามีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นสัตว์มักโกรธ
๒. เป็นสัตว์มักผูกโกรธ
๓. เป็นสัตว์มีพิษร้าย
๔. เป็นสัตว์มีลิ้นสองแฉก
๕. เป็นสัตว์มักทำร้ายมิตร
ภิกษุทั้งหลาย งูเห่ามีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน มาตุคามมีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้มักโกรธ
๒. เป็นผู้มักผูกโกรธ

เชิงอรรถ :
๑ ประทุษร้าย เบียดเบียนแม้มิตรผู้ให้น้ำและโภชนาหารแก่ตน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๒๙/๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรร รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๓. เป็นผู้มีพิษร้าย
๔. เป็นผู้มีลิ้นสองแฉก
๕. เป็นผู้มักทำร้ายมิตร
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาโทษ ๕ ประการนั้น การที่มาตุคามมีพิษร้าย หมายถึง
ส่วนมากมาตุคามมีราคะจัด การที่มาตุคามมีลิ้นสองแฉก หมายถึงส่วนมาก
มาตุคามมักพูดส่อเสียด การที่มาตุคามมักทำร้ายมิตร หมายถึงส่วนมากมาตุคาม
มักนอกใจ
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามมีโทษ ๕ ประการนี้แล
ทุติยกัณหสัปปสูตรที่ ๑๐ จบ
ทีฆจาริกวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมทีฆจาริกสูตร ๒. ทุติยทีฆจาริกสูตร
๓. อตินิวาสสูตร ๔. มัจฉรีสูตร
๕. ปฐมกุลุปกสูตร ๖. ทุติยกุลุปกสูตร
๗. โภคสูตร ๘. อุสสูรภัตตสูตร
๙. ปฐมกัณหสัปปสูตร ๑๐. ทุติยกัณหสัปปสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๑. อาวาสิกสูตร
๔. อาวาสิกวรรค
หมวดว่าด้วยภิกษุผู้เป็นเจ้าอาวาส
๑. อาวาสิกสูตร
ว่าด้วยธรรมของเจ้าอาวาส
[๒๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วย
ธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ไม่ควรยกย่อง
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้ไม่เพียบพร้อมด้วยมรรยาท๑ ไม่เพียบพร้อมด้วยวัตร
๒. ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงสุตะ
๓. เป็นผู้ไม่ประพฤติขัดเกลา ไม่ยินดีการหลีกเร้น
๔. เป็นผู้ไม่ยินดีในกัลยาณธรรม ไม่มีวาจางาม ไม่เจรจาถ้อยคำไพเราะ
๕. มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควร
ยกย่อง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ควรยกย่อง
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยมรรยาท เพียบพร้อมด้วยวัตร
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ

เชิงอรรถ :
๑ ไม่เพียบพร้อมด้วยมรรยาท (อากัปปะ) หมายถึงมรรยาทของความเป็นสมณะ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๓๑/๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๒. ปิยสูตร
๓. เป็นผู้ประพฤติขัดเกลา ยินดีในการหลีกเร้น
๔. เป็นผู้ยินดีในกัลยาณธรรม มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ
๕. มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควร
ยกย่อง
อาวาสิกสูตรที่ ๑ จบ
๒. ปิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เป็นที่รัก
[๒๓๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษา
อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังธรรมทั้งหลายที่มีความ
งามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน
แล้วทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. เป็นผู้มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะอันประกอบด้วยวาจาชาวเมือง
ที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้
๔. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๓. โสภณสูตร
๕. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็น
ที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ปิยสูตรที่ ๒ จบ
๓. โสภณสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้อาวาสงดงาม
[๒๓๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
ทำอาวาสให้งดงาม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวม ฯลฯ๑ ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. เป็นผู้มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะอันประกอบด้วยวาจาชาวเมือง
ที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้
๔. เป็นผู้สามารถชี้แจงบุคคลผู้เข้าไปหาให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับ
เอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา
๕. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมทำ
อาวาสให้งดงาม
โสภณสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ฯลฯ ที่ปรากฏในข้อ ๒๓๓-๒๓๔ ดูความเต็มในข้อ ๒๓๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๔. พหูปการสูตร
๔. พหูปการสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้มีอุปการะมากแก่อาวาส
[๒๓๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้
ย่อมเป็นผู้มีอุปการะมากแก่อาวาส
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ปรักหักพัง
๔. เมื่อภิกษุสงฆ์จำนวนมากเข้ามาถึง หรือภิกษุจากต่างแคว้นเข้ามาถึง
เธอเข้าไปบอก๑พวกคฤหัสถ์ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์จำนวน
มากเข้ามาถึงแล้ว ภิกษุจากต่างแคว้นเข้ามาถึงแล้ว ขอเชิญพวก
ท่านทำบุญเถิด นี้เป็นกาลสมัยที่จะทำบุญ’
๕. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็น
ผู้มีอุปการะมากแก่อาวาส
พหูปการสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ บอก ในที่นี้หมายถึงบอกแก่คนในตระกูลที่ได้ปวารณาไว้ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๓๔/๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๖ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น