Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๖-๒ หน้า ๕๔ - ๑๐๖

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖-๒ สุตตันตปิฎกที่ ๑๘ ขุททกนิกาย
วิมาน เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา



พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๕. คุตติลวิมาน
[๓๓๐] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๓๓๑] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๓๒] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๓๓๓] นารีผู้ถวายผ้าเนื้อดีเยี่ยม
เป็นผู้ประเสริฐในหมู่นระและนารีทั้งหลาย
นางตั้งใจถวายสิ่งที่น่ารัก
จึงได้ทิพยสถานที่น่าเจริญใจเห็นปานนี้
[๓๓๔] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้นเถิด
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๓๓๕] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๓๓๖] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้เมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(วิมาน ๔ เรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้มีความพิสดารเหมือนวัตถุตตมทายิกาวิมาน)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๒. ปุปผุตตมทายิกาวิมาน (๑)
๒. ปุปผุตตมทายิกาวิมาน (๑)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดแก่หญิงผู้ถวายดอกไม้ที่ดีเยี่ยม
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๓๗] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๓๓๘] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๓๓๙] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๔๐] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๓๔๑] นารีผู้ถวายดอกไม้ชั้นดีเยี่ยม
เป็นผู้ประเสริฐในหมู่นระและนารีทั้งหลาย
นางตั้งใจถวายสิ่งที่น่ารัก
จึงได้ทิพยสถานที่น่าเจริญใจเห็นปานนี้
[๓๔๒] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๓๔๓] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๓. คันธุตตมทายิกาวิมาน (๒)
[๓๔๔] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้เมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
๓. คันธุตตมทายิกาวิมาน (๒)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายของหอมชั้นเยี่ยม
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๔๕] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๓๔๖] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๓๔๗] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๔๘] เทพธิดานั้นดีใจที่พระโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๓๔๙] นารีผู้ถวายของหอมชั้นเลิศ
เป็นผู้ประเสริฐในหมู่นระและนารีทั้งหลาย
นางตั้งใจถวายสิ่งที่น่ารัก
จึงได้ทิพยสถานที่น่าเจริญใจเห็นปานนี้
[๓๕๐] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๔. ผลุตตมทายิกาวิมาน (๓)
[๓๕๑] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๓๕๒] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้เมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
๔. ผลุตตมทายิกาวิมาน (๓)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายผลไม้อย่างดีเยี่ยม
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๕๓] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๓๕๔-๓๕๕] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๕๖] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๓๕๗] นารีผู้ได้ถวายผลไม้อย่างดีเยี่ยม
เป็นผู้ประเสริฐในหมู่นระและนารีทั้งหลาย
นางตั้งใจถวายสิ่งที่น่ารัก
จึงได้ทิพยสถานที่น่าเจริญใจเช่นนี้
[๓๕๘] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๓๕๙-๓๖๐] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๖. คันธปัญจังคุลิกทายิกาวิมาน
๕. รสุตตมทายิกาวิมาน (๔)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายอาหารที่มีรสเลิศ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๖๑] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๓๖๒-๓๖๓] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๖๔] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๓๖๕] นารีผู้ถวายอาหารเลิศรส
เป็นผู้ประเสริฐในหมู่นระและนารีทั้งหลาย
นางตั้งใจถวายสิ่งที่น่ารัก
จึงได้ทิพยสถานที่น่าเจริญใจเช่นนี้
[๓๖๖] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๓๖๗-๓๖๘] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
๖. คันธปัญจังคุลิกทายิกาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้เคยใช้แป้งเจิมสถูป
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๖๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๗. เอกูโปสถวิมาน (๑)
[๓๗๐-๓๗๑] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๗๒] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๓๗๓] ดิฉันใช้นิ้วทั้งห้าจุ่มกระแจะเจิมที่พระสถูป(ทอง)
ของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปะ
ดิฉันนั้นตั้งใจถวายสิ่งที่น่ารัก
จึงได้ทิพยสถานที่น่าเจริญใจเช่นนี้
[๓๗๔] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๓๗๕-๓๗๖] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(วิมาน ๔ เรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้ มีความพิสดารเหมือนคันธปัญจังคุลิก
ทายิกาวิมาน)
๗. เอกูโปสถวิมาน (๑)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้รักษาอุโบสถ ๑ วัน
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๗๗-๓๗๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๘๐] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๘. อุทกทายิกาวิมาน (๒)
[๓๘๑] ดิฉันได้เห็นภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายกำลังเดินทาง
ได้ฟังธรรมเทศนาของท่านเหล่านั้นแล้ว
ได้เข้าจำอุโบสถศีลหนึ่งวัน
[๓๘๒] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๓๘๓-๓๘๔] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
๘. อุทกทายิกาวิมาน (๒)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายน้ำบ้วนปากและน้ำดื่ม
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๘๕] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๓๘๖-๓๘๗] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๘๘] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๓๘๙] ดิฉันยืนอยู่ในน้ำ มีจิตเลื่อมใส
ได้ถวายน้ำแด่ภิกษุรูปหนึ่ง
ดิฉันนั้นตั้งใจถวายสิ่งที่น่ารัก
จึงได้ทิพยสถานที่น่าเจริญใจเช่นนี้
[๓๙๐] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๑๐. อปรกัมมการินีวิมาน (๔)
[๓๙๑-๓๙๒] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
๙. อุปัฏฐานวิมาน (๓)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ตั้งใจปฏิบัติมารดาบิดาของสามี
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๙๓] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๓๙๔-๓๙๕] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๙๖] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๓๙๗] ดิฉันมีนิสัยไม่ริษยา ตั้งใจปฏิบัติแม่ผัวและพ่อผัว
ซึ่งทั้งดุร้าย โกรธง่ายและหยาบคาย
จึงเป็นผู้ไม่ประมาทตามปกตินิสัยของตน
[๓๙๘] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๓๙๙-๔๐๐] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
๑๐. อปรกัมมการินีวิมาน (๔)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ขวนขวายช่วยเหลือผู้อื่น
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๔๐๑] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๑๑. ขีโรทนทายิกาวิมาน
[๔๐๒-๔๐๓] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๔๐๔] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๔๐๕] ดิฉันเป็นคนใช้ รับภาระช่วยทำงานให้คนอื่นเสมอ
ไม่เกียจคร้านต่อการงานที่เป็นประโยชน์
มีปกตินิสัยไม่มักโกรธ ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น
ชอบแบ่งปันสิ่งของส่วนตัวแก่ผู้อื่น
[๔๐๖] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๔๐๗-๔๐๘] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
๑๑. ขีโรทนทายิกาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายข้าวผสมนมสด
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๔๐๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๔๑๐-๔๑๑] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๔๑๒] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๑๓. อุจฉุขัณฑิกทายิกาวิมาน (๒)
[๔๑๓] ดิฉันได้ถวายข้าวสุกผสมนมสด
แด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต
ครั้นทำกรรมอย่างนี้แล้ว
จึงเกิดในสุคติ ร่าเริงบันเทิงใจอยู่
[๔๑๔] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๔๑๕-๔๑๖] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(วิมาน ๒๕ เรื่อง ที่จะกล่าวต่อไปนี้ มีความพิสดารเหมือนขีโรทนทายิกา
วิมาน)
๑๒. ผาณิตทายิกาวิมาน (๑)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายน้ำอ้อยงบ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๔๑๗-๔๑๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก ฯลฯ
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๔๒๐] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๔๒๑-๔๒๘] ดิฉันได้ถวายน้ำอ้อยงบแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๑๓. อุจฉุขัณฑิกทายิกาวิมาน (๒)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายท่อนอ้อย
[๔๒๙-๔๓๖] ดิฉันได้ถวายท่อนอ้อยแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๒๐. สากมุฏฐิทายิกาวิมาน (๙)
๑๔. ติมพรุสกทายิกาวิมาน (๓)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายผลมะพลับสุก
[๔๓๗-๔๔๔] ดิฉันได้ถวายผลมะพลับสุกแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๑๕. กักการิกทายิกาวิมาน (๔)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายผลแตงกวา
[๔๔๕-๔๕๒] ดิฉันได้ถวายผลแตงกวาแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๑๖. เอฬาลุกทายิกาวิมาน (๕)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายฟักทอง
[๔๕๓-๔๖๐] ดิฉันได้ถวายผลฟักทองแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๑๗. วัลลิผลทายิกาวิมาน (๖)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายแตงโม
[๔๖๑-๔๖๘] ดิฉันได้ถวายผลแตงโมแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๑๘. ผารุสกทายิกาวิมาน (๗)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายผลลิ้นจี่
[๔๖๙-๔๗๖] ดิฉันได้ถวายผลลิ้นจี่แด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๑๙. หัตถัปปตาปกทายิกาวิมาน (๘)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายเตาผิง
[๔๗๗-๔๘๔] ดิฉันได้ถวายเตาผิงแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๒๐. สากมุฏฐิทายิกาวิมาน (๙)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายผักดอง
[๔๘๕-๔๙๒] ดิฉันได้ถวายผักดองกำมือหนึ่งแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๒๗. อังสพัทธกทายิกาวิมาน (๑๖)
๒๑. ปุปผกมุฏฐิทายิกาวิมาน (๑๐)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายดอกไม้
[๔๙๓-๕๐๐] ดิฉันได้ถวายดอกไม้กำหนึ่งแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๒๒. มูลกทายิกาวิมาน (๑๑)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายหัวมัน
[๕๐๑-๕๐๘] ดิฉันได้ถวายหัวมันแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๒๓. นิมพมุฏฐิทายิกาวิมาน (๑๒)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายผักสะเดา
[๕๐๙-๕๑๖] ดิฉันได้ถวายสะเดากำหนึ่งแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๒๔. อัมพกัญชิกทายิกาวิมาน (๑๓)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายน้ำผักดอง
[๕๑๗-๕๒๔] ดิฉันได้ถวายน้ำผักดองแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๒๕. โทณินิมมัชชนิทายิกาวิมาน (๑๔)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายแป้งคลุกงาทอด
[๕๒๕-๕๓๒] ดิฉันได้ถวายแป้งคลุกงาทอดแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๒๖. กายพันธนทายิกาวิมาน (๑๕)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายประคดเอว
[๕๓๓-๕๔๐] ดิฉันได้ถวายประคดเอวแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๒๗. อังสพัทธกทายิกาวิมาน (๑๖)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายผ้าอังสะ
[๕๔๑-๕๔๘] ดิฉันได้ถวายผ้าอังสะแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๓๔. ปูวทายิกาวิมาน (๒๓)
๒๘. อาโยคปัฏฏทายิกาวิมาน (๑๗)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายสายโยคบาตร
[๕๔๙-๕๕๖] ดิฉันได้ถวายแผ่นผ้าสายโยคแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๒๙. วิธูปนทายิกาวิมาน (๑๘)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายพัดสี่เหลี่ยม
[๕๕๗-๕๖๔] ดิฉันได้ถวายพัดสี่เหลี่ยมแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๓๐. ตาลปัณณทายิกาวิมาน (๑๙)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายพัดใบตาล
[๕๖๕-๕๗๒] ดิฉันได้ถวายพัดใบตาลแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๓๑. โมรหัตถทายิกาวิมาน (๒๐)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายพัดปัดยุง
[๕๗๓-๕๘๐] ดิฉันได้ถวายพัดปัดยุงที่ทำด้วยขนนกยูงแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยว
บิณฑบาต ฯลฯ
๓๒. ฉัตตทายิกาวิมาน (๒๑)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายร่ม
[๕๘๑-๕๘๘] ดิฉันได้ถวายร่มแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๓๓. อุปาหนทายิกาวิมาน (๒๒)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายรองเท้า
[๕๘๙-๕๙๖] ดิฉันได้ถวายรองเท้าแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๓๔. ปูวทายิกาวิมาน (๒๓)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายขนม
[๕๙๗-๖๐๔] ดิฉันได้ถวายขนมแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๓๖. สักขลิกาทายิกาวิมาน (๒๕)
๓๕. โมทกทายิกาวิมาน (๒๔)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายขนมต้ม
[๖๐๕-๖๑๒] ดิฉันได้ถวายขนมต้มแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๓๖. สักขลิกาทายิกาวิมาน (๒๕)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายน้ำตาลกรวด
[๖๑๓] ดิฉันได้ถวายน้ำตาลกรวดแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
[๖๑๔] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๖๑๕-๖๑๖] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวทั่วทุกทิศอย่างนี้
(เมื่อเทพธิดาเหล่านั้นตอบปัญหาผลกรรมที่ได้ทำมาเป็นอันดีอย่างนี้แล้ว
คุตติลาจารย์ก็ร่าเริงบันเทิงใจ เมื่อจะแสดงความชื่นชมยินดีของตนจึงกล่าวว่า)
[๖๑๗] ดีจริงหนอที่ข้าพเจ้าได้มาในที่นี้ วันนี้ฤกษ์งามยามดี
เพราะข้าพเจ้าได้มาเห็นเทพอัปสร
ซึ่งมีรูปร่างและผิวพรรณที่น่ารักใคร่
[๖๑๘] ข้าพเจ้าได้ฟังเรื่องกุศลธรรมของพวกเธอ
จักทำบุญกุศลให้มากด้วยการให้ทาน
การประพฤติธรรมสม่ำเสมอ
การสำรวมและการฝึกอินทรีย์
ข้าพเจ้านั้นจักไปสถานที่
ที่คนทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก
คุตติลวิมานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๖. ทัททัลลวิมาน
๖. ทัททัลลวิมาน
ว่าด้วยวิมานอันรุ่งเรืองที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายสังฆทาน
(ภัทราเทพธิดาผู้พี่สาวถามสุภัทราเทพธิดาซึ่งเป็นน้องสาวว่า)
[๖๑๙] เธอรุ่งเรืองด้วยรัศมี มีเกียรติยศบริวารยศ
มีรัศมีรุ่งโรจน์เหนือเทพชั้นชาวดาวดึงส์ทั้งปวง
[๖๒๐] ฉันไม่เคยเห็นเธอ นี้เป็นการเห็นครั้งแรก
เธอมาจากเทวโลกชั้นไหนจึงมาเรียกชื่อของฉันได้ถูก
(สุภัทราเทพธิดาตอบว่า)
[๖๒๑] พี่ภัทรา ดิฉันชื่อสุภัทรา
เมื่อชาติก่อนครั้งเป็นมนุษย์ได้เป็นน้องสาวของพี่
และยังเป็นภรรยาร่วมสามีเดียวกันกับพี่
[๖๒๒] ดิฉันละร่างจุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว
มาเกิดร่วมกับเหล่าเทพชั้นนิมมานรดี
(ภัทราเทพธิดาถามต่อไปอีกว่า)
[๖๒๓] น้องสุภัทรา ขอเธอได้บอกถึงการเกิดของตน
ในหมู่เทพชั้นนิมมานรดี
ซึ่งเป็นที่ที่สัตว์ผู้กระทำความดีไว้มากแล้วมาเกิด
[๖๒๔] เธอถูกสอนมาอย่างไรด้วยเรื่องอะไร หรือว่าใครสั่งสอน
เธอมีบริวารยศได้ด้วยทานและวัตรอันดีงามเช่นไร
[๖๒๕] เธอได้รับเกียรติยศเช่นนี้ ได้รับสุขไพบูลย์วิเศษเช่นนี้
น้องเทพธิดา พี่ถามแล้ว ขอเธอจงบอก
นี้เป็นผลของกรรมอันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๖. ทัททัลลวิมาน
(สุภัทราเทพธิดาตอบว่า)
[๖๒๖] ชาติก่อนดิฉันเลื่อมใส ได้ถวายอาหารบิณฑบาต ๘ ที่
เป็นสังฆทานแด่พระสงฆ์
ผู้เป็นทักขิไณยบุคคลด้วยมือทั้งสองของตน
[๖๒๗-๖๒๘] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(ภัทราเทพธิดาได้ถามต่อไปอีกว่า)
[๖๒๙] พี่เลื่อมใสได้ถวายข้าวน้ำด้วยมือของตน
เลี้ยงดูภิกษุผู้สำรวมอินทรีย์
ประพฤติพรหมจรรย์สม่ำเสมอ
ซึ่งมีจำนวนมากกว่าของเธอให้อิ่มหนำ
[๖๓๐] พี่ถวายทานมากกว่าเธอ แต่กลับอุบัติในหมู่เทพชั้นต่ำกว่า
ส่วนน้องถวายทานน้อยกว่า แต่ทำไมจึงได้รับสุขไพบูลย์วิเศษเล่า
เทพธิดา พี่ถามแล้ว ขอเธอจงบอก นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(สุภัทราเทพธิดาตอบว่า)
[๖๓๑] ชาติก่อนดิฉันได้พบภิกษุรูปหนึ่ง น่าเจริญใจ
จึงได้นิมนต์ภิกษุรูปนั้น คือพระเรวตะ เป็นรูปที่ ๘ ให้ฉันภัตตาหาร
[๖๓๒] พระเรวตเถระนั้นมุ่งจะอนุเคราะห์ให้เกิดประโยชน์แก่ดิฉัน
จึงบอกดิฉันให้ถวายสงฆ์ ดิฉันได้ทำตามคำแนะนำของท่าน
[๖๓๓] ทักษิณาของดิฉันนั้นถวายเป็นสังฆทาน มีผลประมาณมิได้
ส่วนทานของพี่ที่ถวายเป็นรายบุคคลนั้นมีผลไม่มาก
(ภัทราเทพธิดาเมื่อจะรับรองความข้อนั้นจึงกล่าวว่า)
[๖๓๔] พี่เพิ่งรู้เดี๋ยวนี้เอง ทานที่ถวายเป็นสังฆทานนี้มีผลมาก
พี่นั้น(หาก)ไปเกิดเป็นมนุษย์อีก จักรู้ความประสงค์ของผู้ขอ
ปราศจากความตระหนี่ ไม่ประมาท ถวายสังฆทานบ่อย ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๖. ทัททัลลวิมาน
(เมื่อสนทนากันแล้ว สุภัทราเทพธิดาก็กลับไปสู่ทิพยวิมานของตนบนสวรรค์
ชั้นนิมมานรดี ท้าวสักกเทวราชได้สดับการสนทนานั้น เมื่อสุภัทราเทพธิดากลับไป
แล้วจึงตรัสถามภัทราเทพธิดาว่า)
[๖๓๕] ภัทรา เทพธิดาผู้มาสนทนาอยู่กับเธอนั้นเป็นใคร
ช่างมีรัศมีรุ่งโรจน์เหนือเหล่าเทพชั้นชาวดาวดึงส์ทั้งหมด
(ภัทราเทพธิดาเมื่อจะบรรยายข้อที่สังฆทานที่น้องสาวถวายว่ามีผลมากจึงทูลว่า)
[๖๓๖] ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นจอมเทพ เทพธิดานั้น
เมื่อชาติก่อน ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ในภพมนุษย์
ได้เป็นน้องสาวของหม่อมฉัน
และยังเป็นภรรยาร่วมสามีเดียวกันด้วย
เธอทำบุญถวายสังฆทานแล้วจึงรุ่งเรือง
(ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะทรงสรรเสริญสังฆทานว่ามีผลมากจึงตรัสว่า)
[๖๓๗] ภัทรา น้องสาวของเธอรุ่งเรืองกว่าเธอ
เพราะเหตุที่นางได้ถวายสังฆทาน
ซึ่งมีผลประมาณมิได้ไว้ในชาติก่อน
(ภัทราเทพธิดาได้ตอบท้าวสักกะว่า)
[๖๓๘] อันที่จริง ดิฉันได้ทูลถามพระพุทธเจ้า
ครั้งประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ
ถึงผลแห่งการแจกจ่ายทานว่า
ทานที่ให้ในเนื้อนาบุญใดจึงมีผลมาก
[๖๓๙] มนุษย์ทั้งหลายผู้หวังบุญให้ทานอยู่
ทำบุญปรารภเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิด
ให้ทานในเนื้อนาบุญใด จึงมีผลมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๖. ทัททัลลวิมาน
[๖๔๐] พระพุทธเจ้าผู้ทรงทราบว่า
สัตว์ทั้งหลายมีผลกรรมเป็นของของตน
ได้ทรงอธิบายให้ดิฉันฟังอย่างชัดเจน
ถึงผลแห่งการแจกจ่ายทานในเนื้อนาบุญ
ที่บุคคลให้แล้วจะได้รับผลมากนั้นว่า
[๖๔๑] พระอริยบุคคลผู้บรรลุอริยมรรค ๔ และผู้ดำรงอยู่ในอริยผล ๔
นี้คือพระสงฆ์ เป็นผู้ปฏิบัติตรง
ดำรงมั่นอยู่ในศีล สมาธิ และปัญญา
[๖๔๒] มนุษย์ทั้งหลายผู้หวังบุญให้ทานอยู่
ทำบุญปรารภเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิด
จึงถวายทานแก่สงฆ์ซึ่งมีผลมาก
[๖๔๓] ด้วยว่า พระสงฆ์นี้มีคุณยิ่งใหญ่ ไพบูลย์
หาประมาณมิได้ ดุจทะเลเปี่ยมด้วยน้ำ
พระอริยบุคคลเหล่านี้แลเป็นผู้ประเสริฐสุด
เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียร
เป็นผู้ให้แสงสว่างคือปัญญาแก่ชาวโลก ย่อมยกธรรมกถาขึ้นแสดง
[๖๔๔] ทานที่บุคคลถวายเจาะจงสงฆ์นั้น ชื่อว่าเป็นทานที่ถวายดีแล้ว
บูชาสักการะอย่างดีแล้ว ทักษิณาที่ถวายสงฆ์นั้นมีผลมาก
ทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงรู้แจ้งโลกก็ทรงสรรเสริญแล้ว
[๖๔๕] เหล่าชนมาหวนระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้เกิดปีติโสมนัส
กำจัดมลทินคือความตระหนี่พร้อมทั้งมูลเหตุได้
ท่องเที่ยวไปในโลก ไม่ถูกบัณฑิตติเตียน
จึงเข้าถึงแดนสวรรค์ได้
ทัททัลลวิมานที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๗.เปสวตีวิมาน
๗.เปสวตีวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงชื่อเปสวดี
(เมื่อพระวังคีสเถระจะไต่ถามถึงบุพกรรมที่เทพธิดานั้นทำแล้วจึงกล่าวสรรเสริญ
วิมานของเธอเสียก่อนเป็นปฐมด้วยคาถา ๗ คาถาว่า)
[๖๔๖] (เทพธิดา) อาตมาได้เห็นวิมานสวยงาม(ของเธอ)นี้
ซึ่งมุงบังด้วยแก้วผลึก ข่ายเงินและข่ายทองคำ
มีพื้นวิจิตรตระการตาหลากสี เป็นที่น่ารื่นรมย์ยินดี
เป็นที่อยู่อาศัยอันเนรมิตไว้ดีแล้ว ประกอบด้วยซุ้มประตู
ที่ลานวิมานเกลื่อนกราดไปด้วยทรายทอง
[๖๔๗] วิมานของเธอนี้ส่องแสงสว่าง
เหมือนพระอาทิตย์บนท้องฟ้ามีรัศมีตั้งพัน
กำจัดความมืดในฤดูสารทกาล และสว่างไสวไปทั่วสิบทิศ
เหมือนเปลวเพลิงซึ่งกำลังลุกโชนอยู่บนยอดภูเขาในเวลากลางคืน
[๖๔๘] วิมานนี้ประหนึ่งบาดนัยน์ตาอยู่ คล้ายกับสายฟ้าแลบ
ลอยอยู่ในอากาศ น่ารื่นรมย์ใจ
วิมานเธอนี้ก้องกังวาลไปด้วยเสียงดนตรี
คือพิณเครื่องใหญ่ กลอง ฉิ่งและกังสดาล
มั่งคั่งรุ่งเรือง ดุจเมืองพระอินทร์
[๖๔๙] วิมานของเธอนี้อบอวลไปด้วยกลิ่นหอมระรื่น
แห่งไม้ชั้นเลิศนานาพันธุ์
ได้แก่ ดอกปทุม ดอกโกมุท ดอกอุบล
ดอกจงกลนี ดอกคัดเค้า ดอกชบา
ดอกอังกาบ ดอกรัง ดอกอโศก
แย้มกลีบบานสะพรั่งส่งกลิ่นหอมระรื่น
[๖๕๐] เทพธิดาผู้เรืองยศ สระโบกขรณีน่ารื่นรมย์
เรียงรายไปด้วยต้นหูกวาง ขนุนสำปะลอและต้นไม้มีกลิ่นหอม
มีทั้งไม้เลื้อยชูดอกออกช่อบานสะพรั่ง ห้อยย้อย
เกาะก่ายลงมาคล้ายกับข่ายแก้วมณี ปรากฏมีอยู่ใกล้วิมานเธอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๗. เปสวตีวิมาน
[๖๕๑] บุปผชาติที่เกิดในน้ำและบนบกก็มี และพฤกษชาติเหล่าอื่น
ทั้งที่เป็นของมนุษย์ และเป็นทิพย์มิใช่เป็นของมนุษย์ก็มี
ทั้งหมดล้วนเกิดมีอยู่ใกล้วิมานของเธอ
[๖๕๒] นี้เป็นผลแห่งการสำรวมและการฝึก๑อย่างไร
เพราะผลกรรมอะไรเธอจึงมาเกิดในวิมานนี้
เทพธิดา ผู้มีขนตาหนางอนงาม ขอเธอจงเล่าถึงกรรม
เป็นเหตุให้เธอได้วิมานนี้ตามที่อาตมาถามตามสมควร
(ลำดับนั้น เทพธิดาตอบว่า)
[๖๕๓] วิมานที่ดิฉันได้แล้วนี้ มีฝูงนกกระเรียน
นกยูงและนกเขาไฟเที่ยวบินร่อนร้องไปมา
ทั้งนกนางนวลและพญาหงส์ทองซึ่งเป็นนกทิพย์เที่ยวบินว่อนไปมาอยู่
และอึงคะนึงไปด้วยฝูงนกเป็ดน้ำ นกกาน้ำ
นกดุเหว่าและฝูงนกประเภทอื่น ๆ
[๖๕๔] มีไม้ดอกและไม้เลื้อยแผ่กิ่งก้านสาขานานาชนิด
มีต้นแคฝอย ต้นหว้า ต้นอโศก
ดิฉันจะเล่าเหตุผลที่ดิฉันได้วิมานนี้ถวายพระคุณเจ้า
พระคุณเจ้าโปรดฟังเถิดเจ้าค่ะ
[๖๕๕] ข้าแต่พระคุณเจ้า ในชาติก่อน ดิฉันได้เกิดเป็นหญิงสะใภ้
ในหมู่บ้านชื่อนาฬกคาม อยู่ทางทิศตะวันออก
ของแคว้นมคธ อันรุ่งเรือง
ชาวบ้านในหมู่บ้านนั้นรู้จักดิฉันในนามว่า เปสวดี
[๖๕๖] ดิฉันนั้นมีใจเบิกบาน ได้สั่งสมกุศลกรรมไว้ในชาติปางก่อนนั้น
คือได้เกลี่ยดอกคำโรยลงบูชาพระอุปติสสเถระ๒
ที่ทวยเทพและมนุษย์พากันบูชา
ผู้มากไปด้วยกุศลธรรม มีคุณธรรมสุดประมาณซึ่งดับกิเลสแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ การสำรวมกายเป็นต้น และการฝึกฝนอินทรีย์เป็นต้น (ขุ.วิ.อ. ๖๕๒/๑๘๒)
๒ พระธรรมเสนาบดี (พระสารีบุตร) (ขุ.วิ.อ. ๖๕๖/๑๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๘. มัลลิกาวิมาน
[๖๕๗] ครั้นบูชาพระเถระผู้มีคุณอันโอฬาร ครองเรือนร่างเป็นชาติสุดท้าย
ผู้บรรลุอนุปาทิเสสนิพพานแล้ว
ดิฉันจึงละร่างมนุษย์มาเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ครอบครองวิมานในเทวโลกนี้
เปสวตีวิมานที่ ๗ จบ
๘. มัลลิกาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงชื่อมัลลิกา
(พระนารทเถระถามมัลลิกาเทพธิดาว่า)
[๖๕๘] เทพธิดา ผู้มีพัสตราภรณ์และธงล้วนแต่สีเหลือง
ประดับประดาด้วยเครื่องประดับสีเหลืองเจิดจ้า
เธอถึงจะไม่ประดับด้วยผ้าห่มสีเหลืองอร่ามงามเช่นนี้ก็ยังงาม
[๖๕๙] เทพธิดา ผู้สวมเกยูรทอง ประดับอุบะทอง
คลุมเรือนร่างด้วยข่ายทอง
เธอผู้สวมศีรษะด้วยพวงมาลัยแก้วนานาชนิดเป็นใครกัน
[๖๖๐] มาลัยแก้วเหล่านั้นล้วนสำเร็จด้วยทองคำธรรมชาติ
ด้วยแก้วทับทิม แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์
บางพวงก็ล้วนแล้วด้วยแก้วลาย
บ้างก็สำเร็จด้วยแก้วมณีกับแก้วลายแดงคล้ายสีเลือด
บ้างก็สำเร็จด้วยแก้วแดงอันสดใสคล้ายสีตานกพิราบ
[๖๖๑] บรรดามาลัยเหล่านั้น บางพวงส่งเสียงไพเราะเหมือนเสียงนกยูง
บางพวงส่งเสียงไพเราะเหมือนเสียงพญาหงส์ทอง
บางพวงส่งเสียงไพเราะเหมือนเสียงนกการเวก
เสียงมาลัยเหล่านั้นไพเราะชวนฟัง คล้ายเสียงดนตรีเครื่องห้า
ที่คนธรรพ์ผู้ฉลาดพากันบรรเลงก็ปานกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๙. วิสาลักขิวิมาน
[๖๖๒] อนึ่ง รถของเธอก็งดงามมาก มีส่วนประกอบวิจิตรบรรจงไป
ด้วยรัตนชาติต่าง ๆ ซึ่งบุญกรรมจัดสรรมาให้เบ็ดเสร็จงดงามด้วย
เครื่องประกอบหลากหลาย
[๖๖๓] ยามเธออยู่บนรถสีสุกปลั่งดั่งทองคำนั้น
ภูมิประเทศนี้ก็สว่างไสวไปทั่วถึงกัน
เทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอเธอจงบอกเถิดว่า
นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(มัลลิกาเทพธิดาตอบว่า)
[๖๖๔] เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคดม
ผู้ทรงมีพระกรุณาหาประมาณมิได้ เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ดิฉันมีจิตเลื่อมใส ได้ใช้ข่ายทองวิจิตรบรรจงไปด้วยแก้วมณี
ทองคำ และแก้วมุกดา ซึ่งดาดด้วยข่ายทองคำ ห่มคลุมพุทธสรีระ
[๖๖๕] ครั้นดิฉันทำกุศลกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้วนั้น
จึงสร่างโศก หมดโรคภัย มีความสุข รื่นเริงบันเทิงใจอยู่เป็นนิตย์
มัลลิกาวิมานที่ ๘ จบ
๙. วิสาลักขิวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่นางสุนันทาอุบาสิกาผู้มีตาโต
(สมเด็จอมรินทราธิราชตรัสถามสุนันทาเทพธิดาว่า)
[๖๖๖] เทพธิดาผู้มีดวงตาโต๑ เธอมีหมู่นางอัปสรแวดล้อม มีชื่อว่าอะไร
มาเที่ยวเดินชมอยู่รอบ ๆ สวนจิตรลดาอันน่ารื่นรมย์
[๖๖๗] ในเวลาที่เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ล้วนทรงม้า ทรงรถ
ประดับเครื่องทรงวิจิตรงดงาม พากันมา ณ ที่นี้
เข้าไปชมสวนจิตรลดานี้

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า วิสาลกฺขิ เทพธิดาผู้มีดวงตาโตนี้ อรรถกถาแก้เป็นอาลปนภัตติ (ขุ.วิ.อ. ๖๖๖/๑๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๙.วิสาลักขิวิมาน
[๖๖๘] แต่เมื่อเธอมาถึงที่นี่เที่ยวชมสวนอยู่
กายเธองามกระทั่งความงามของสวนไม่ปรากฏ
เพราะเหตุอะไรรูปกายเธอจึงงามเช่นนี้
เทพธิดา เราถามแล้ว ขอเธอจงบอกเถิดว่า
นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(สุนันทาเทพธิดาผู้เป็นอัครชายาทูลตอบว่า)
[๖๖๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ ผู้ทรงบำเพ็ญทานมาแต่ปางก่อน
ขอพระองค์โปรดสดับกรรมอันเป็นเหตุให้ดิฉันมีรูปงาม
บังเกิดในเทวโลก มีฤทธิ์และอานุภาพ
[๖๗๐] หม่อมฉันเป็นอุบาสิกามีนามว่าสุนันทา
อยู่ในกรุงราชคฤห์ อันน่ารื่นรมย์
เป็นผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล ยินดีแจกจ่ายทานเป็นนิตย์
[๖๗๑] หม่อมฉันมีจิตเลื่อมใสในเหล่าภิกษุผู้ปฏิบัติตรง
จึงได้ถวายผ้านุ่งผ้าห่ม ภัตตาหาร เสนาสนะ
และเครื่องตามประทีป
[๖๗๒] ทั้งได้เข้าจำอุโบสถศีลซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
ทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์
และตลอดปาฏิหาริยปักษ์
[๖๗๓] สำรวมระวังในศีลตลอดเวลา
และแจกจ่ายทานด้วยความเคารพ
จึงได้ครอบครองวิมานนี้
[๖๗๔] หม่อมฉันงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ การลักขโมย
การประพฤตินอกใจสามี
สำรวมระวังจากการพูดเท็จ และจากการดื่มน้ำเมา
[๖๗๕] หม่อมฉันยินดีในศีล ๕ ฉลาดในอริยสัจ
เป็นอุบาสิกาของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า โคดม
ผู้มีพระจักษุ มีพระยศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๑๐. ปาริจฉัตตกวิมาน
[๖๗๖] หม่อมฉันใช้ดอกไม้ทั้งหมดที่หญิงรับใช้นำมาจากตระกูลญาติเนือง
นิตย์นั้นเองบูชาที่พระสถูปของพระผู้มีพระภาค
[๖๗๗] อนึ่ง ในวันอุโบสถ หม่อมฉันมีจิตเลื่อมใส
ได้ถือมาลัยของหอมและเครื่องลูบไล้
ไปบูชาที่พระสถูปของพระผู้มีพระภาคนั้นด้วยมือทั้งสองของตน
[๖๗๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ
เพราะกรรมที่หม่อมฉันใช้มาลัยบูชาพระสถูป๑
หม่อมฉันจึงมีรูปงาม บังเกิดในเทวโลก มีฤทธิ์และอานุภาพเช่นนี้
[๖๗๙] อนึ่ง การที่หม่อมฉันรักษาศีลเป็นปกติ
จะอำนวยผลเพียงเท่านั้นก็หามิได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ หม่อมฉันมีความหวังว่า
อย่างไรเสีย เราพึงได้เป็นพระสกทาคามี
วิสาลักขิวิมานที่ ๙ จบ
๑๐. ปาริจฉัตตกวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ใช้มาลัยดอกอโศก
บูชาพระพุทธเจ้า
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๖๘๐] เทพธิดา เธอนำดอกไม้สวรรค์ชื่อปาริจฉัตตกะ
หอมหวน น่ารื่นรมย์
มาร้อยเป็นมาลัยทิพย์ ขับร้องรื่นเริงบันเทิงอยู่
[๖๘๑] เมื่อเธอนั้นกำลังฟ้อนรำอยู่ เสียงทิพย์น่าฟัง น่ารื่นรมย์ใจ
ย่อมเปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ

เชิงอรรถ :
๑ ของพระผู้มีพระภาค (ขุ.วิ.อ. ๖๗๘/๑๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรค
[๖๘๒] ทั้งกลิ่นทิพย์หอมระรื่นชื่นใจ
ก็ฟุ้งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ
[๖๘๓] เมื่อเธอสั่นไหวกายไปมา เสียงเครื่องประดับที่ช้องผม
ก็เปล่งเสียงดังไพเราะ น่าฟัง ดุจดังเสียงดนตรีเครื่องห้า
[๖๘๔] อนึ่ง ต่างหูเพชรต้องลมสั่นไหว ก็ส่งเสียงดังไพเราะ
น่าฟัง เช่นกับเสียงดนตรีเครื่องห้า
[๖๘๕] แม้มาลัยบนศีรษะของเธอ มีกลิ่นหอมระรื่นชื่นใจ
ก็ส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ดุจต้นอุโลก๑
[๖๘๖] เธอสูดดมกลิ่นหอมระรื่นนั้น ทั้งได้เห็นรูปอันมิใช่ของมนุษย์
เทพธิดา อาตมาถามเธอแล้ว ขอเธอจงบอกเถิดว่า
นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(เทพธิดานั้นตอบว่า)
[๖๘๗] ดิฉันได้น้อมนำมาลัยดอกอโศกซึ่งมีเกสรงามเลื่อมประภัสสร
มีสีสด มีกลิ่นหอมฟุ้ง ไปน้อมบูชาพระพุทธเจ้า
[๖๘๘] ดิฉันนั้นครั้นทำกุศลกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้ว
จึงสร่างโศก หมดโรคภัย มีความสุข รื่นเริงบันเทิงใจอยู่เป็นนิตย์
ปาริจฉัตตกวิมานที่ ๑๐ จบ
รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อุฬารวิมาน ๒. อุจฉุทายิกาวิมาน
๓. ปัลลังกวิมาน ๔. ลตาวิมาน
๕. คุตติลวิมาน ๖. ทัททัลลวิมาน
๗. เปสวตีวิมาน ๘. มัลลิกาวิมาน
๙. วิสาลักขิวิมาน ๑๐. ปาริจฉัตตกวิมาน

ปาริจฉัตตกวรรคที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ไม้ชนิดหนึ่ง เนื้อไม้สีขาว (ใช้ทำยาได้) เวลามีดอกส่งกลิ่นหอมไปทั่วทุกทิศ (ขุ.วิ.อ. ๖๘๕/๑๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๑. มัญชิฏฐกวิมาน
๔. มัญชิฏฐกวรรค
หมวดว่าด้วยวิมานแก้วผลึกสีแดง
๑. มัญชิฏฐกวิมาน
ว่าด้วยวิมานแก้วผลึกสีแดงที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายดอกสาละ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๖๘๙] เทพธิดา เธอรื่นรมย์อยู่ด้วยดนตรีเครื่องห้า
ที่เทพบุตรและเทพธิดาประโคมอยู่อย่างไพเราะ
ในวิมานแก้วผลึกแดงซึ่งมีพื้นดารดาษด้วยทรายทอง
[๖๙๐] เมื่อเธอลงจากวิมานแก้วซึ่งบุญกรรมเนรมิตไว้แล้วนั้น
เข้าไปสู่ป่าไม้สาละซึ่งผลิดอกบานสะพรั่งทุกฤดูกาล
[๖๙๑] ยืนที่โคนต้นสาละใด ๆ ก็ตาม
ต้นสาละนั้น ๆ ซึ่งเป็นต้นไม้อุดมสมบูรณ์ ก็น้อมกิ่งโปรยดอกลงมา
[๖๙๒] ป่าไม้สาละเป็นที่อาศัยของเหล่าสกุณชาติ
ต้องลมรำเพยพัดไหวไปมา
มีกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ดุจต้นอุโลก
[๖๙๓] เธอสูดดมกลิ่นที่หอมหวนนั้น ทั้งได้เห็นรูปอันมิใช่ของมนุษย์
เทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอเธอจงบอกเถิดว่า
นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(เทพธิดาตอบว่า)
[๖๙๔] เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นหญิงรับใช้อยู่ในตระกูลเจ้านาย
ได้เห็นพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่
จึงได้โปรยดอกสาละลง (รอบพระอาสน์)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๒.ปภัสสรวิมาน
[๖๙๕] และมีจิตเลื่อมใส ได้น้อมพวงมาลัยดอกสาละ
ซึ่งประดิษฐ์ไว้อย่างดี
เข้าไปถวายพระพุทธเจ้าด้วยมือทั้งสองของตน
[๖๙๖] ครั้นดิฉันทำกุศลกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้วนั้น
จึงสร่างโศก หมดโรคภัย
มีความสุข รื่นเริง บันเทิงใจอยู่เป็นนิตย์
มัญชิฏฐกวิมานที่ ๑ จบ
๒.ปภัสสรวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่เทพธิดาผู้งามผุดผ่อง
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๖๙๗] เทพธิดาผู้มีรัศมีงามผุดผ่อง
ทรงพัสตราภรณ์สีแดงสดใส มีฤทธิ์มาก
มีร่างกายสวยงามดุจลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์
เธอเป็นใครมาไหว้อาตมาอยู่
[๖๙๘] อนึ่ง เธอนั่งบนบัลลังก์ที่มีค่ามาก
งามวิจิตรด้วยรัตนะหลากหลาย
ย่อมรุ่งโรจน์ดังท้าวสักกเทวราชในนันทวโนทยาน
[๖๙๙] เทพธิดาผู้เจริญ ชาติก่อนเธอได้ประพฤติสุจริตอะไร
ได้เสวยผลกรรมอะไรในเทวโลก อาตมาถามแล้ว
ขอเธอจงบอกเถิดว่า นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(เทพธิดาตอบว่า)
[๗๐๐] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ดิฉันได้ถวายพวงมาลัย
และน้ำอ้อยงบแด่พระคุณเจ้าซึ่งกำลังเที่ยวบิณฑบาต
ดิฉันจึงได้เสวยผลของกรรมนั้นในเทวโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๓. นาควิมาน
[๗๐๑] พระคุณเจ้าผู้เจริญ แต่ดิฉันยังมีความเดือดร้อน
ผิดหวังและเป็นทุกข์
เพราะดิฉันนั้นไม่ได้ฟังธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นพระธรรมราชาทรงแสดงไว้ดีแล้ว
[๗๐๒] พระคุณเจ้าผู้เจริญ เพราะเหตุนั้น
ดิฉันจึงกราบเรียนพระคุณเจ้าซึ่งเป็นผู้ควรอนุเคราะห์ดิฉัน
ขอพระคุณเจ้าจงให้ดิฉันตั้งมั่นอยู่ในธรรมทั้งหลายด้วยเถิด
[๗๐๓] (ด้วยว่า) เหล่าเทพที่มีความเชื่อในพระพุทธรัตนะ
พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ
สดับธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นพระธรรมราชาทรงแสดงไว้ดีแล้ว
ย่อมรุ่งเรืองยิ่งกว่าดิฉันด้วยอายุ บริวาร ยศและสิริ
[๗๐๔] เทพเหล่าอื่นเล่าก็มีคุณสมบัติยวดยิ่งกว่าดิฉันด้วยอานุภาพ
ด้วยรัศมีกาย และมีฤทธิ์มากยิ่งกว่าดิฉันทั้งนั้น
ปภัสสรวิมานที่ ๒ จบ
๓. นาควิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายผ้าคู่หนึ่งแด่พระพุทธเจ้า
(พระวังคีสเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๗๐๕] เธอประดับองค์ทรงเครื่องแล้ว
ขึ้นคชสารตัวประเสริฐ มีร่างกายใหญ่
ประดับแก้วและทอง มีข่ายทองคลุมตระพอง
ผูกสายรัดประคนทองไว้เรียบร้อย นั่งหลังคชสารเหาะมาที่นี้
[๗๐๖] ที่งาทั้งสองของพญาคชสารล้วนมีสระโบกขรณีเนรมิต
มีน้ำใสสะอาด ดารดาษด้วยปทุมชาติมีดอกบานสะพรั่ง
ในดอกปทุมทุกดอก ๆ มีหมู่ดุริยเทพบรรเลงเพลง
และมีเหล่าเทพอัปสรนี้ฟ้อนรำชวนให้เกิดความรื่นเริงบันเทิงใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๔. อโลมวิมาน
[๗๐๗] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก เธอได้บรรลุเทวฤทธิ์
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไร เธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(เทพธิดาตอบว่า)
[๗๐๘] ดิฉันได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่กรุงพาราณสี
ได้ถวายผ้าคู่หนึ่งแด่พระองค์
ถวายอภิวาทพระยุคลบาทแล้วนั่งอยู่บนพื้นดิน
มีจิตยินดีได้ทำอัญชลีแด่พระองค์แล้ว
[๗๐๙] อนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงมีพระฉวีวรรณดุจทองคำธรรมชาติ
ได้ทรงแสดงทุกขสัจและสมุทัยสัจว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยง
และทรงแสดงทุกขนิโรธสัจและมัคคสัจ
ว่าเป็นสภาวะอันปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้แล้วแก่ดิฉัน
เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงได้รู้แจ้งชัดอริยสัจ ๔
[๗๑๐] ดิฉันถึงแก่กรรมตั้งแต่อายุยังน้อย
เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้ว
บังเกิดในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ มีบริวารยศ
เป็นปชาบดีองค์หนึ่งของท้าวสักกะ
มีนามว่ายสุตตรา ปรากฏไปทั่วทุกทิศ
นาควิมานที่ ๓ จบ
๔.อโลมวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่นางอโลมาผู้ถวายขนมกุมาสแห้ง
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๗๑๑] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ดุจดาวประกายพรึก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๕. กัญชิกทายิกาวิมาน
[๗๑๒-๗๑๓] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศเช่นนี้
[๗๑๔] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๗๑๕] ดิฉันเมื่ออยู่ในกรุงพาราณสี มีจิตเลื่อมใส
ได้ถวายขนมกุมมาสแห้งแด่พระพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ด้วยมือทั้งสองของตน
[๗๑๖] ขอพระคุณเจ้าจงดูผลก้อนขนมกุมมาสแห้งทั้งหารสเค็มมิได้
ครั้นเห็นว่าถวายขนมกุมมาสแห้งหารสเค็มมิได้แล้ว
ได้รับความสุข ใครเล่าจักไม่กระทำบุญ
[๗๑๗-๗๑๘] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
อโลมวิมานที่ ๔ จบ
๕. กัญชิกทายิกาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายน้ำข้าวปรุงผสมผลพุทราอบ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๗๑๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๗๒๐-๗๒๑] เพราะบุญอะไรเธอจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๗๒๒] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๖. วิหารวิมาน
[๗๒๓] ดิฉันเมื่ออยู่ในเมืองอันธกวินทะ
ได้ถวายน้ำข้าวปรุงด้วยผลพุทราอบด้วยน้ำมัน
แด่พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์
[๗๒๔] มีจิตเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคผู้ปฏิบัติตรง
ได้ถวายน้ำข้าวผสมด้วยดีปลี กระเทียม และรากผักชี
[๗๒๕] การที่นารีผู้มีเรือนร่างงามทุกส่วนสัด สามีมองไม่เบื่อ
ได้ครองความเป็นอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดินั้น
ยังไม่เทียบเท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวครั้งเดียว
[๗๒๖] ทองคำ ๑๐๐ แท่ง ม้า ๑๐๐ ตัว
ราชรถเทียมด้วยม้าอัสดร ๑๐๐ คัน
หญิงสาวประดับต่างหูแก้วมณี ๑๐๐,๐๐๐ นาง
ก็ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งทานคือการถวายน้ำข้าวครั้งเดียว
[๗๒๗] ช้างมาตังคะ ๑๐๐ เชือก เกิดในป่าหิมพานต์
มีงางอนงาม ทรงพลังมาก มีสายคล้องคอทองคำ
ตกแต่งด้วยเครื่องลาดและเครื่องประดับที่วิจิตรบรรจงด้วยทองคำ
ก็ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของการถวายน้ำข้าวครั้งเดียว
[๗๒๘] การที่พระเจ้าจักรพรรดิได้ครอบครองทวีปทั้ง ๔ ในโลกนี้นั้น
ก็ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวครั้งเดียวนั้น
กัญชิกทายิกาวิมานที่ ๕ จบ
๖. วิหารวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้อนุโมทนาการถวายวิหาร
(พระอนุรุทธเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๗๒๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๖. วิหารวิมาน
[๗๓๐] เมื่อเธอนั้นกำลังฟ้อนรำอยู่ เสียงทิพย์น่าฟัง น่ารื่นรมย์ใจ
ย่อมเปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ
[๗๓๑] ทั้งกลิ่นทิพย์หอมระรื่นชื่นใจ
ก็ฟุ้งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ
[๗๓๒] เมื่อเธอสั่นไหวกายไปมา
เสียงเครื่องประดับที่ช้องผม(ของเธอ)ทุกส่วน
ก็เปล่งเสียงดังไพเราะ น่าฟัง ดังเสียงดนตรีเครื่องห้า
[๗๓๓] อนึ่ง ต่างหูเพชรต้องลมสั่นไหว ก็ส่งเสียงดังไพเราะ
น่าฟัง ดังเสียงดนตรีเครื่องห้า
[๗๓๔] แม้มาลัยบนศีรษะของเธอ มีกลิ่นหอมชื่นใจ
ก็ส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ดุจต้นอุโลก
[๗๓๕] เธอสูดดมกลิ่นหอมนั้น ทั้งได้เห็นรูปอันมิใช่ของมนุษย์
เทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอเธอจงบอกเถิดว่า
นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(เทพธิดานั้นตอบว่า)
[๗๓๖] พระคุณเจ้าผู้เจริญ นางวิสาขามหาอุบาสิกา
สหายของดิฉันอยู่ในกรุงสาวัตถี
ได้จัดสร้างมหาวิหารถวายสงฆ์ ดิฉันได้เห็นอาคาร
และการบริจาคทรัพย์จำนวนมากอุทิศสงฆ์
เป็นที่พอใจของดิฉันเช่นนั้น จึงเลื่อมใสแล้วอนุโมทนาในบุญนั้น
[๗๓๗] วิมานน่าอัศจรรย์ น่าทัศนา ซึ่งดิฉันได้มา
เพราะการอนุโมทนาอย่างเดียวเท่านั้น
วิมานนั้นล่องลอยไปได้โดยรอบ
ในรัศมี ๑๖ โยชน์ด้วยบุญฤทธิ์ของดิฉัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๖. วิหารวิมาน
[๗๓๘] วิมานเรือนยอดของดิฉัน จัดแบ่งไว้แต่ละส่วนอย่างเหมาะสม
ส่องสว่างรุ่งเรือง ตลอดรัศมี ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ
[๗๓๙] อนึ่ง ที่วิมานของดิฉันนี้ มีสระโบกขรณี
ซึ่งหมู่มัจฉาทิพย์อาศัยอยู่ประจำ
มีน้ำใสสะอาด มีพื้นดารดาษด้วยทรายทอง
[๗๔๐] ดื่นดาดด้วยบัวหลวงหลากชนิด มีบัวขาวรายล้อมไว้รอบ
ยามลมรำเพยพัดก็โชยกลิ่นหอมระรื่นจรุงใจ
[๗๔๑] มีรุกขชาตินานาชนิด คือต้นหว้า ต้นขนุน ต้นตาล ต้นมะพร้าว
และป่าไม้เกิดเองตามธรรมชาติ ภายในนิเวศน์ มิได้มีใครปลูกไว้
[๗๔๒] วิมานนี้กึกก้องไปด้วยดนตรีชนิดต่าง ๆ
เหล่าเทพอัปสรก็ส่งเสียงเจื้อยแจ้ว
แม้นรชนที่ฝันเห็นดิฉันแล้วต้องปลื้มใจ
[๗๔๓] วิมานน่าอัศจรรย์ น่าทัศนา มีรัศมีสว่างไสวไปทุกทิศ เช่นนี้
บังเกิดเพราะกุศลกรรมของดิฉัน
(ฉะนั้น)จึงควรแท้ที่สาธุชนจะทำบุญไว้
(พระอนุรุทธเถระประสงค์จะให้นางบอกสถานที่ที่นางวิสาขาเกิดจึงได้กล่าวคาถา
นี้ว่า)
[๗๔๔] เธอได้วิมานน่าอัศจรรย์ น่าทัศนา
เพราะการอนุโมทนาอย่างเดียวเท่านั้น
ขอเธอจงบอกคติของนางวิสาขา
ผู้ที่ได้ถวายทานนั้นเถิดว่า นางเกิด ณ ที่ไหน
(เทพธิดานั้นตอบว่า)
[๗๔๕] พระคุณเจ้าผู้เจริญ นางวิสาขามหาอุบาสิกาสหายของดิฉันนั้น
ได้สร้างมหาวิหารถวายสงฆ์ รู้แจ้งธรรม ได้ถวายทาน
เกิดแล้วในหมู่ทวยเทพชั้นนิมมานรดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๖. วิหารวิมาน
[๗๔๖] เป็นปชาบดีของท้าวสุนิมิตเทวราชนั้น
วิบากแห่งกรรมของนางเป็นเรื่องที่ใคร ๆ ไม่พึงคิด
ดิฉันได้ชี้แจงถึงคำถามที่พระคุณเจ้าถาม
ถึงที่ที่นางเกิดแด่พระคุณเจ้าแล้วตามความเป็นจริง
[๗๔๗] ถ้าอย่างนั้น ขอนิมนต์พระคุณเจ้าโปรดชักชวนแม้คนอื่น ๆ ว่า
ท่านทั้งหลายจงเต็มใจถวายทานแด่สงฆ์เถิด
และจงมีใจเลื่อมใสฟังธรรม
การได้เกิดเป็นมุษย์ที่ได้แสนยาก พวกท่านก็ได้แล้ว
[๗๔๘] พระพุทธเจ้ามีพระสุรเสียงไพเราะดังเสียงพรหม
มีพระฉวีวรรณผุดผ่องดังทอง ผู้ทรงเป็นใหญ่ยิ่งด้วยมรรค๑
ได้ทรงแสดงทานใดว่าเป็นทาง(ไปสู่สุคติ)
ขอท่านทั้งหลายจงเต็มใจถวายทานนั้นแด่สงฆ์
ซึ่งเป็นบุญเขตที่ทักษิณาทานมีผลมากเถิด
[๗๔๙] ทักขิไณยบุคคล ๔ คู่ ๘ ท่านเหล่านี้ที่ท่านผู้รู้สรรเสริญแล้ว
เป็นสาวกของพระสุคต ทานที่ถวายในบุคคลเหล่านี้มีผลมาก
[๗๕๐] พระอริยบุคคลผู้บรรลุอริยมรรค ๔
และผู้ดำรงอยู่ในอริยผล ๔ นี้
จัดเป็นพระสงฆ์ เป็นผู้ปฏิบัติตรง
ดำรงมั่นอยู่ในศีล สมาธิ และปัญญา
[๗๕๑] มนุษย์ทั้งหลายผู้หวังบุญให้ทานอยู่
ทำบุญปรารภเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิด
จึงถวายทานแก่สงฆ์ซึ่งมีผลมาก
[๗๕๒] ด้วยว่า พระสงฆ์นี้มีคุณยิ่งใหญ่ ไพบูลย์
หาประมาณมิได้ ดุจทะเลเปี่ยมด้วยน้ำ
พระอริยบุคคลเหล่านี้แลเป็นผู้ประเสริฐสุด
เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียร
เป็นผู้ให้แสงสว่างคือปัญญาแก่ชาวโลก ย่อมยกธรรมขึ้นแสดง

เชิงอรรถ :
๑ อริยมรรค (ขุ.วิ.อ. ๗๔๘/๒๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๗. จตุริตถีวิมาน
[๗๕๓] ทานที่บุคคลถวายเจาะจงสงฆ์นั้นชื่อว่าเป็นทานที่ถวายดีแล้ว
บูชาสักการะด้วยดีแล้ว ทักษิณาที่ถวายในสงฆ์นั้นมีผลมาก
ทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงรู้แจ้งโลกก็ทรงสรรเสริญแล้ว
[๗๕๔] เหล่าชนมาหวนระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้เกิดปีติโสมนัส
กำจัดมลทินคือความตระหนี่พร้อมทั้งมูลเหตุได้
ท่องเที่ยวไปในโลก ไม่ถูกบัณฑิตติเตียน จึงเข้าถึงแดนสวรรค์ได้
วิหารวิมานที่ ๖ จบ
ภาณวารที่ ๒ จบ
๗. จตุริตถีวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิง ๔ นาง
ผู้ถวายดอกไม้ต่างชนิดกัน
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๗๕๕-๗๕๗] เทพธิดา เพราะบุญอะไรเธอจึงมีผิวพรรณงามยิ่งนัก ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๗๕๘] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๗๕๙] ชาติก่อน ดิฉันได้ถวายดอกราชพฤกษ์๑กำมือหนึ่ง
แด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตในปัณณกตนครซึ่งตั้งอยู่บนเนิน
เป็นเมืองที่รุ่งเรือง น่ารื่นรมย์ ของแคว้นเอสิกา
[๗๖๐-๗๖๑] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทิศอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ บางแห่งแปลว่าดอกผักตบ (ขุ.วิ.อ. ๗๕๙/๒๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๗. จตุริตถีวิมาน
(เทพธิดาองค์ที่ ๒)
[๗๖๒-๗๖๔] เทพธิดา เพราะบุญอะไรเธอจึงมีผิวพรรณงามยิ่งนัก ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๗๖๕] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๗๖๖] ชาติก่อน ดิฉันได้ถวายดอกบัวเขียวกำมือหนึ่ง
แด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในปัณณกตนครซึ่งตั้งอยู่บนเนิน
เป็นเมืองที่รุ่งเรือง น่ารื่นรมย์ ของแคว้นเอสิกา
[๗๖๗-๗๖๘] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(เทพธิดาองค์ที่ ๓)
[๗๖๙-๗๗๑] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๗๗๒] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาของผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๗๗๓] ชาติก่อนดิฉันได้ถวายดอกบัวหลวงซึ่งมีรากขาว กลีบเขียว
เกิดในสระน้ำกำมือหนึ่ง
แด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในปัณณกตนคร
ซึ่งตั้งอยู่บนเนิน เป็นเมืองที่รุ่งเรือง น่ารื่นรมย์ ของแคว้นเอสิกา
[๗๗๔-๗๗๕] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(เทพธิดาองค์ที่ ๔)
[๗๗๖-๗๗๘] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๘. อัมพวิมาน
[๗๗๙] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๗๘๐] ชาติก่อนดิฉันชื่อว่าสุมนา ได้ถวายดอกมะลิตูม มีสีคล้ายงาช้าง
แด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในปัณณกตนครซึ่งตั้งอยู่บนเนิน
เป็นเมืองที่รุ่งเรือง น่ารื่นรมย์ ของแคว้นเอสิกา
[๗๘๑-๗๘๒] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
จตุริตถีวิมานที่ ๗ จบ
๘. อัมพวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายวัดสวนมะม่วง
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๗๘๓] สวนมะม่วงทิพย์ของเธอ น่ารื่นรมย์ ในสวนนี้มีปราสาทกว้างใหญ่
กึกก้องไปด้วยเสียงดนตรีต่าง ๆ เหล่าเทพอัปสรก็ส่งเสียงเจื้อยแจ้ว
[๗๘๔] ปราสาทของเธอนี้มีประทีปทองดวงใหญ่สว่างไสวอยู่เป็นนิตย์
แวดล้อมโดยรอบด้วยต้นมะม่วงที่มีผลเป็นผ้า
[๗๘๕-๗๘๖] เพราะบุญอะไรเธอจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๗๘๗] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๗๘๘] ชาติก่อนดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
ดิฉันได้สร้างวิหารแวดล้อมด้วยต้นมะม่วงถวายสงฆ์
[๗๘๙] เมื่อให้สร้างวิหารสำเร็จเรียบร้อยแล้ว จะทำการฉลอง
จึงใช้ผ้าประดับต้นมะม่วงทั้งหลายแล้ว แต่งให้เป็นผลมะม่วง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๙. ปีตวิมาน
[๗๙๐] ดิฉันเลื่อมใสตามประทีปไว้ที่ต้นมะม่วงเหล่านั้น
นิมนต์หมู่สาวกของพระผู้มีพระภาคซึ่งเป็นหมู่ที่สูงสุดให้ฉันแล้ว
ได้มอบถวายวิหารนั้นแด่สงฆ์ด้วยมือทั้งสองของตน
[๗๙๑] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีสวนมะม่วงที่น่ารื่นรมย์
ในสวนนี้มีปราสาทกว้างใหญ่
กึกก้องไปด้วยเสียงดนตรีต่าง ๆ เหล่าเทพอัปสรก็ส่งเสียงเจื้อยแจ้ว
[๗๙๒] ปราสาทของดิฉันนี้มีประทีปทองดวงใหญ่สว่างไสวอยู่เป็นนิตย์
แวดล้อมโดยรอบด้วยต้นมะม่วงที่มีผลเป็นผ้า
[๗๙๓-๗๙๔] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
อัมพวิมานที่ ๘ จบ
๙. ปีตวิมาน
ว่าด้วยวิมานสีเหลืองที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายดอกบวบขม
(ท้าวสักกเทวราชตรัสถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๗๙๕] เทพธิดา ผู้มีผ้านุ่งห่มและธงล้วนแต่สีเหลือง
ประดับประดาด้วยเครื่องประดับสีเหลือง
มีกายลูบไล้ด้วยจันทน์เหลือง ทัดทรงดอกอุบลเหลือง
[๗๙๖] มีปราสาทสีเหลือง มีที่นอนที่นั่งสีเหลือง มีภาชนะสีเหลือง
มีฉัตรสีเหลือง มีรถสีเหลือง มีม้าสีเหลือง มีพัดสีเหลือง
[๗๙๗] เทพธิดาผู้เจริญ ชาติก่อน เธอได้ทำกรรมอะไรไว้ในมนุษยโลก
เธอจงตอบตามที่ฉันถามเถิดว่า นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(เทพธิดานั้นทูลตอบว่า)
[๗๙๘] พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้น้อมนำดอกบวบขมจำนวน ๔ ดอก
ซึ่งมีรสขม ไม่มีใครปรารถนา ไปบูชาพระสถูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๙.ปีตวิมาน
[๗๙๙] หม่อมฉันมีจิตเลื่อมใส มุ่งถึงพระบรมสารีริกธาตุของพระศาสดา
มีใจจดจ่อพระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ไม่ทันพิจารณาดูทางที่แม่โคนั้นมา
[๘๐๐] ทันใดนั้น แม่โคได้ขวิดหม่อมฉัน
ยังไม่ทันไปถึงพระสถูปสมความตั้งใจ
ถ้าหม่อมฉันพึงสั่งสมบุญนั้นไว้ได้ยิ่งขึ้น
ทิพยสมบัติก็จะพึงมียิ่งกว่านี้แน่
[๘๐๑] ข้าแต่ท้าวมฆวานเทพกุญชร จอมเทพ เพราะกุศลกรรมนั้น
หม่อมฉันจึงละกายมนุษย์มาอยู่ร่วมกับพระองค์
[๘๐๒] ท้าวมฆวานเทพกุญชร จอมเทพชั้นดาวดึงส์
ทรงสดับเนื้อความนี้แล้ว เมื่อจะให้เทวดาชั้นดาวดึงส์เลื่อมใส
จึงได้ตรัสกับมาตลีเทพสารถีว่า
[๘๐๓] มาตลี ท่านจงดูผลกรรมอันวิจิตรน่าอัศจรรย์นี้
ของควรทำบุญที่เทพธิดานี้ทำแล้วถึงจะน้อย ผลบุญกลับมีมาก
[๘๐๔] เมื่อมีจิตเลื่อมใสพระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ทักษิณาหาชื่อว่ามีผลน้อยไม่
[๘๐๕] มาเถิด มาตลี แม้ชาวเราทั้งหลายก็ควรรีบเร่งบูชา
พระบรมสารีริกธาตุของพระตถาคตให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
เพราะการสั่งสมบุญนำความสุขมาให้
[๘๐๖] เมื่อพระตถาคตยังทรงพระชนม์อยู่ก็ตาม
เสด็จปรินิพพานแล้วก็ตาม
เมื่อจิตสม่ำเสมอ ผลก็ย่อมมีสม่ำเสมอ
เพราะเหตุที่ตั้งจิตไว้ชอบ สัตว์ทั้งหลายย่อมไปสุคติ
[๘๐๗] พระตถาคตทั้งหลายทรงอุบัติมาเพื่อประโยชน์แก่ชนหมู่มากหนอ
ทายกทายิกาทั้งหลายถวายสักการบูชาแล้วได้ไปสวรรค์
ปีตวิมานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๑๐. อุจฉุวิมาน
๑๐. อุจฉุวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายท่อนอ้อย
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๘๐๘] เธอมีสิริ มีรัศมีกาย มีบริวารยศและมีเดช
เปล่งรัศมีส่องทั่วแผ่นดินพร้อมทั้งเทวโลกให้สว่างไสว
รุ่งเรืองดังพระจันทร์และพระอาทิตย์ และดังท้าวมหาพรหม
เปล่งรัศมีงามล้ำกว่าทวยเทพชาวไตรทศ พร้อมทั้งพระอินทร์
[๘๐๙] อาตมาขอถามเธอ เทพธิดาผู้เลอโฉม ประดับมาลัยดอกอุบล
มีมาลัยแก้วประดับเทริด มีผิวพรรณเปล่งปลั่งดั่งทองคำ
ประดับประดาอาภรณ์อย่างสวยงาม ทรงพัสตราภรณ์ชั้นเลิศ
เธอเป็นใครมาไหว้อาตมา
[๘๑๐] ชาติก่อนเธอเกิดเป็นมนุษย์ ได้ทำกรรมอะไรมาก่อน
ได้สั่งสมทานไว้ดี หรือว่ารักษาศีลไว้ดี
เกิดในสวรรค์ มีบริวารยศ เพราะกรรมอะไร
เทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอเธอจงบอกเถิดว่า
นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(เทพธิดานั้นตอบว่า)
[๘๑๑] พระคุณเจ้าผู้เจริญ เมื่อไม่นานมานี้ พระเถระรูปหนึ่ง
เข้ามาบิณฑบาตยังเรือนของดิฉันในหมู่บ้านนี้แหละ
จากนั้นดิฉันมีจิตเลื่อมใส เกิดปีติสุดประมาณ
จึงได้ถวายท่อนอ้อยแด่ท่าน
[๘๑๒] แต่ต่อมาภายหลัง แม่ผัวซักถามดิฉันว่า
แม่ตัวดี แกเอาอ้อยไปทิ้งไว้ที่ไหนล่ะ
ดิฉันจึงตอบว่า ไม่ได้ทิ้งและก็ไม่ได้กิน
แต่ดิฉันได้ถวายแด่ภิกษุผู้สงบระงับไปแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๑๐.อุจฉุวิมาน
[๘๑๓] ทันใดนั้น แม่ผัวนั้นได้ด่าดิฉันว่า
นี่แกหรือฉันเป็นใหญ่กันแน่
ว่าแล้วก็คว้าก้อนดินทุ่มดิฉัน
ดิฉันตายจากมนุษยโลกนั้นแล้วก็มาเกิดเป็นเทพธิดา
[๘๑๔] ดิฉันทำกุศลกรรมนั้นไว้เท่านี้
ตนเองจึงได้มาเสวยผลกรรมที่นำความสุขมาให้
ได้รับการบำเรอบันเทิงใจอยู่
ด้วยกามคุณ ๕ ร่วมกับหมู่เทพ
[๘๑๕] ดิฉันทำกุศลกรรมนั้นไว้เท่านี้
ตนเองจึงได้มาเสวยผลกรรมที่นำความสุขมาให้
มีท้าวสักกะจอมเทพคุ้มครอง มีทวยเทพชั้นไตรทศรักษา
เพียบพร้อมอยู่ด้วยกามคุณ ๕
[๘๑๖] ผลบุญดังกล่าวมานี้มิใช่เล็กน้อย
บุญที่ดิฉันได้ถวายอ้อยให้ผลมาก
ดิฉันจึงได้รับการบำเรอบันเทิงใจอยู่
ด้วยกามคุณ ๕ ร่วมกับหมู่เทพ
[๘๑๗] ผลบุญดังกล่าวมานี้มิใช่เล็กน้อย
บุญที่ดิฉันได้ถวายอ้อยมีอานุภาพมาก
ดิฉันจึงมีท้าวสักกะจอมเทพคุ้มครอง
มีทวยเทพชั้นไตรทศรักษา
ดังท้าวสหัสสนัยน์ในนันทวัน
[๘๑๘] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ดิฉันเข้าไปหาพระคุณเจ้า
ผู้อนุเคราะห์ซึ่งมีปัญญาแล้ว
กราบไหว้และถามถึงความไม่มีโรค จากนั้นก็มีจิตเลื่อมใส
เกิดปีติสุดประมาณ ได้ถวายท่อนอ้อยแด่พระคุณเจ้า
อุจฉุวิมานที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๑๒. รัชชุมาลาวิมาน
๑๑. วันทนวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้กราบไหว้สมณะ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๘๑๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๘๒๐-๘๒๑] เพราะบุญอะไรเธอจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๘๒๒] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๘๒๓] เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
พบสมณะทั้งหลายผู้มีศีลจึงไหว้เท้า
ทำใจให้เลื่อมใส
อนึ่ง ดิฉันปลื้มใจ ได้ประคองอัญชลี
[๘๒๔-๘๒๕] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
วันทนวิมานที่ ๑๑ จบ
๑๒. รัชชุมาลาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้สักการะเคารพพระพุทธเจ้า
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๘๒๖] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงดงามยิ่งนัก
ขณะที่ดนตรีบรรเลงอยู่อย่างไพเราะ
เธอกรีดกรายมือและเท้าฟ้อนรำได้อย่างกลมกลืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๑๒. รัชชุมาลาวิมาน
[๘๒๗] เมื่อเธอนั้นกำลังฟ้อนรำอยู่ เสียงทิพย์น่าฟัง น่ารื่นรมย์ใจ
ย่อมเปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ
[๘๒๘] ทั้งกลิ่นทิพย์ หอมระรื่นชื่นใจ
ก็ฟุ้งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ
[๘๒๙] เมื่อเธอเยื้องไหวกายไปมา เสียงเครื่องประดับที่ช้องผม
ก็เปล่งเสียงดังไพเราะ น่าฟัง ดังเสียงดนตรีเครื่องห้า
[๘๓๐] อนึ่ง ต่างหูเพชรต้องลมสั่นไหว ก็ส่งเสียงดังไพเราะ
น่าฟัง ดังเสียงดนตรีเครื่องห้า
[๘๓๑] แม้มาลัยบนศีรษะของเธอมีกลิ่นหอมระรื่นชื่นใจ
ก็ส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ดุจต้นอุโลก
[๘๓๒] เธอสูดดมกลิ่นหอมระรื่นนั้น ทั้งได้เห็นรูปที่มิใช่ของมนุษย์
เทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอเธอจงบอกเถิดว่า
นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(เทพธิดานั้นตอบว่า)
[๘๓๓] ชาติก่อน ดิฉันเกิดเป็นทาสีของพราหมณ์ในหมู่บ้านคยา
มีบุญน้อย ด้อยวาสนา คนทั้งหลายรู้จักดิฉันในนามว่า รัชชุมาลา
[๘๓๔] ดิฉันเสียใจอย่างหนัก เพราะถูกด่าว่า ถูกเฆี่ยนตีต่าง ๆ
และถูกคุกคามจึงถือหม้อน้ำออกไป ทำเป็นเสมือนจะไปตักน้ำ
[๘๓๕] ครั้นแล้วได้วางหม้อน้ำไว้ข้างทาง เข้าไปยังป่าชัฏโดยตัดสินใจว่า
จักตายในป่านี้แหละ เราอยู่ไปจะมีประโยชน์อะไรเล่า
[๘๓๖] จึงทำบ่วงให้แน่น แขวนเข้ากับต้นไม้
ทีนั้นก็เหลียวดูไปรอบทิศด้วยคิดเกรงว่า มีใครอยู่ในป่าไหมหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๑๒. รัชชุมาลาวิมาน
[๘๓๗] ณ ที่นั้น ดิฉันได้เหลือบเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นจอมปราชญ์
ทรงเกื้อกูลสัตว์โลกทั้งมวล ผู้ไม่มีโรคภัย
ประทับนั่งเข้าฌานอยู่ที่โคนต้นไม้
[๘๓๘] ดิฉันนั้นเกิดความสังเวช ขนลุกชูชันอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน คิดว่า
ใครหนอมาอาศัยอยู่ในป่านี้ เป็นมนุษย์หรือเทวดากันแน่
[๘๓๙] เพราะได้เห็นพระพุทธองค์ผู้น่าเลื่อมใส ควรแก่การยินดี
เสด็จออกจากป่า แล้วมาสู่ความไม่มีป่า(คือกิเลส)
ใจของดิฉันก็เลื่อมใสด้วยคิดเห็นว่า
ท่านผู้นี้คงจะมิใช่คนธรรมดาสามัญเป็นแน่
[๘๔๐] ท่านผู้นี้คุ้มครองอินทรีย์ได้แล้ว ยินดีในฌาน มีใจไม่วอกแวก
จะต้องเป็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงเกื้อกูลสัตว์โลกทั้งมวลเป็นแน่
[๘๔๑] ท่านผู้นี้เป็นที่น่าเกรงขาม
ผู้ซึ่งบุคคลที่ปราศจากความเพียรและความมาดหมาย
ทำให้ทรงชื่นชมได้ยาก ดังราชสีห์ซึ่งเป็นสัตว์อยู่ถ้ำ น่าเกรงขาม
ยากที่ใครจะทำให้ชื่นชมและยากที่จะได้พบเห็น เหมือนดอกมะเดื่อ
[๘๔๒] พระตถาคตเจ้าพระองค์นั้น ได้ตรัสเรียกดิฉันด้วยพระวาจาที่นุ่มนวลว่า
รัชชุมาลาและรับสั่งกับดิฉันว่า เธอจงถึงตถาคตเป็นที่พึ่งเถิด
[๘๔๓] ดิฉันฟังพระดำรัสอันปราศจากโทษ ประกอบด้วยประโยชน์
หมดจด ละเอียดอ่อน นุ่มนวลไพเราะ
เป็นเครื่องบรรเทาความโศกเศร้าทั้งปวงเสียได้นั้น จึงเกิดจิตเลื่อมใส
[๘๔๔] พระตถาคตผู้ทรงเกื้อกูลสัตว์โลกทุกหมู่เหล่า ทรงทราบว่า
ดิฉันมีจิตเลื่อมใส มีใจบริสุทธิ์ ควรแก่การรับฟัง
แล้วจึงได้ทรงพร่ำสอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๑๒. รัชชุมาลาวิมาน
[๘๔๕] พระองค์ได้ตรัสสอนดิฉันว่า “นี้คือทุกข์ นี้คือเหตุเกิดทุกข์
นี้คือความดับทุกข์ และนี้คือทางสายตรงให้บรรลุอมตธรรม”๑
[๘๔๖] ดิฉันดำรงอยู่ในพระโอวาทของพระตถาคต ผู้ทรงอนุเคราะห์
เกื้อกูล ทรงฉลาดว่า
“บุคคลได้บรรลุทางคือนิพพานซึ่งเป็นธรรมอันไม่ตาย
สงบระงับ ไม่มีการจุติ”
[๘๔๗] ดิฉันนั้นมีความภักดีมั่น ไม่หวั่นไหว
เพราะมีความเห็นชอบเป็นปกติ
ด้วยศรัทธาที่หยั่งรากลงแล้ว จึงได้เป็นธิดาที่แท้จริงของพระพุทธองค์
[๘๔๘] ดิฉันนั้นไม่มีภัย จึงเที่ยวรื่นเริงบันเทิงใจอยู่
ทัดทรงมาลัยทิพย์ ดื่มน้ำหวานที่ทำให้สดชื่น
[๘๔๙] เหล่าดุริยเทพ ๖๐,๐๐๐ องค์ ช่วยกันปลุกเร้าดิฉันให้เกิดปีติโสมนัส
ได้แก่ เทพบุตรมีนามว่า อาฬัมพะ คัคคระ ภีมะ สาธุวาที ปสังสยะ
[๘๕๐] โปกขระและสุผัสสะ เหล่าเทพธิดาน้อย ๆ มีนามว่า
วีณา โมกขา นันทา สุนันทา โสณทินนา สุจิมหิตา
[๘๕๑] อลัมพุสา มิสสเกสีและบุณฑริกา อนึ่ง เทพกัญญาอีกพวกหนึ่ง
คือเอณีปัสสา สุผัสสา สุภัททาและมุทุวาทินี
[๘๕๒] ผู้ประเสริฐกว่านางอัปสรทั้งหลาย
ผู้มีหน้าที่ปลุกเร้าให้เกิดปีติโสมนัส
เทวดาเหล่านั้น พอได้เวลาก็เข้ามาหาดิฉัน เสนอด้วยวาจาน่ายินดีว่า
[๘๕๓] เอาเถอะ พวกเราจักฟ้อนรำ ขับร้อง บำเรอเธอให้รื่นรมย์
สถานที่ที่ดิฉันได้รับในบัดนี้ มิใช่สถานที่สำหรับคนที่ไม่ได้ทำบุญไว้
แต่เป็นสถานที่สำหรับคนที่ได้ทำบุญไว้แล้วเท่านั้น

เชิงอรรถ :
๑ เว้นทางสุดโต่ง ๒ อย่างแล้วดำเนินตามมรรคอริยสัจจที่เป็นเหตุให้บรรลุอมตธรรม เพราะดำเนินไปตามทาง
ให้บรรลุนิพพาน (ขุ.วิ.อ. ๘๔๕/๒๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรค
[๘๕๔] ไม่มีความโศก น่าเพลิดเพลินเจริญใจ
เป็นอุทยานกว้างใหญ่ของเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์
สำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำบุญไว้ย่อมไม่มีความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า
[๘๕๕] ส่วนผู้ที่ได้ทำบุญไว้แล้วย่อมมีความสุขทั้งโลกนี้
และโลกหน้าแน่นอน
ผู้ปรารถนาจะสถิตอยู่ร่วมกับเทพชั้นดาวดึงส์เหล่านั้น
ควรทำกุศลไว้ให้มาก เพราะว่าเหล่าชนผู้ที่ได้ทำบุญไว้แล้ว
ย่อมพรั่งพร้อมด้วยโภคสมบัติ บันเทิงอยู่ในสวรรค์
[๘๕๖] พระตถาคตทั้งหลาย
ทรงอุบัติขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมากหนอ
ทรงเป็นพระทักขิไณยบุคคล
เป็นบ่อเกิดแห่งเนื้อนาบุญของมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้ที่ทายกทายิกาทั้งหลายทำสักการบูชาแล้ว
จึงบันเทิงอยู่ในสวรรค์
รัชชุมาลาวิมานที่ ๑๒ จบ
รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มัญชิฏฐกวิมาน ๒. ปภัสสรวิมาน
๓. นาควิมาน ๔. อโลมวิมาน
๕. กัญชิกทายิกาวิมาน ๖. วิหารวิมาน
๗. จตุริตถีวิมาน ๘. อัมพวิมาน
๙. ปีตวิมาน ๑๐. อุจฉุวิมาน
๑๑. วันทนวิมาน ๑๒. รัชชุมาลาวิมาน

มัญชิฏฐกวรรคที่ ๔ จบ
อิตถีวิมาน จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑. มัณฑูกเทวปุตตวิมาน
๒. ปุริสวิมาน
๕. มหารถวรรค
หมวดว่าด้วยรถใหญ่
๑. มัณฑูกเทวปุตตวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่มัณฑูกเทพบุตร
(พระผู้มีพระภาคตรัสถามมัณฑูกเทพบุตรว่า)
[๘๕๗] ใครกันมีผิวพรรณงดงามยิ่งนัก รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์และบริวารยศ
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ กราบเท้าทั้งสองของเราอยู่
(มัณฑูกเทพบุตรกราบทูลว่า)
[๘๕๘] ชาติก่อนข้าพระองค์ได้เกิดเป็นกบเที่ยวหากินอยู่ในน้ำ
ขณะที่ข้าพระองค์กำลังฟังธรรมของพระองค์อยู่
คนเลี้ยงโคได้ฆ่าข้าพระองค์
[๘๕๙] ขอพระองค์ทรงเล็งเห็นความสำเร็จแห่งจิตที่เลื่อมใสเพียงครู่เดียว
และโปรดทอดพระเนตรบริวารยศ อานุภาพ
ผิวพรรณและความรุ่งเรืองของข้าพระองค์เถิด
[๘๖๐] ข้าแต่พระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า
เหล่าชนผู้ได้ฟังธรรมของพระองค์ตลอดกาลยาวนาน
ย่อมบรรลุฐานะที่ไม่หวั่นไหว
ซึ่งเป็นฐานะที่เหล่าสัตว์ไปแล้วไม่เศร้าโศก
มัณฑูกเทวปุตตวิมานที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๒. เรวตีวิมาน
๒. เรวตีวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่นันทิยะอุบาสกผู้เป็นสามีของนางเรวดี
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
[๘๖๑] ญาติมิตรและสหายผู้มีใจดี ย่อมยินดีต้อนรับ
บุคคลผู้ร้างแรมไปนาน
แล้วกลับมาจากที่ไกลโดยสวัสดีว่า “มาแล้ว” ฉันใด
[๘๖๒] บุญทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน ย่อมต้อนรับ
เฉพาะบุคคลผู้ทำบุญไว้แล้ว
ซึ่งจากโลกนี้ไปสู่โลกหน้า เหมือนญาติต้อนรับญาติที่รักผู้กลับมา
(ยักษ์บริวารของท้าวเวสวัณปรารถนาจะจับนางเรวดีโยนลงไปในอุสสทนรกจึง
กล่าวว่า)
[๘๖๓] จงลุกขึ้น นางเรวดีผู้แสนจะชั่วช้า มีปกติไม่ให้ทาน
ประตู(นรก)เปิดแล้ว พวกเราจะนำเจ้าไปโยนลงนรก
อันเป็นสถานที่ทอดถอนใจของเหล่าสัตว์นรก
ผู้มีความทุกข์ทรมานทนทุกข์อยู่
(พระธรรมสังคีติกาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า)
[๘๖๔] ยักษ์ใหญ่ตาแดงสองตนดังทูตพญายมนั้น ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว
ก็จับแขนนางเรวดีคนละข้าง พาไปใกล้หมู่เทวดา
(นางเรวดีถามยักษ์สองตนว่า)
[๘๖๕] นั่นวิมานของใคร มีรัศมีดังแสงอาทิตย์ น่าพอใจ
เรืองรอง งดงาม น่าอยู่อาศัย ปกคลุมด้วยตาข่ายทอง
เนืองแน่นไปด้วยเทพบุตรและเทพธิดา รุ่งโรจน์ดังแสงอาทิตย์
[๘๖๖] หมู่เทพนารีลูบไล้กายด้วยแก่นจันทน์หอม
ช่วยทำวิมานทั้งภายในและภายนอกให้งดงาม
วิมานนั้นมีรัศมีปรากฏเสมอด้วยแสงอาทิตย์
คนที่ขึ้นสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมานเป็นใครกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๒. เรวตีวิมาน
(ยักษ์สองตนจึงบอกแก่นางเรวดีว่า)
[๘๖๗] ที่กรุงพาราณสี มีอุบาสกชื่อนันทิยะ
เป็นคนไม่ตระหนี่ เป็นทานบดี รู้ความประสงค์ของผู้ขอ
วิมานที่เนืองแน่นไปด้วยเทพบุตรและเทพธิดา
รุ่งโรจน์ดังแสงอาทิตย์ นั้นเป็นของนันทิยอุบาสก
[๘๖๘] หมู่เทพนารีลูบไล้กายด้วยแก่นจันทน์หอม
ช่วยทำวิมานทั้งภายในและภายนอกให้งดงาม
วิมานนั้นมีรัศมีปรากฏเสมอด้วยแสงอาทิตย์
คนที่ขึ้นสวรรค์ บันเทิงอยู่ในวิมาน คือนันทิยอุบาสก
(นางเรวดีกล่าวว่า)
[๘๖๙] ฉันเป็นภรรยาของนันทิยอุบาสก
เป็นใหญ่ในเรือน เป็นใหญ่ในทรัพย์สินทั้งหมดของสามี
บัดนี้ ฉันจะรื่นรมย์ในวิมานของสามี ไม่ปรารถนาจะเห็นนรก
(ยักษ์สองตนนั้นไม่ยอมเชื่อจึงพาตัวนางลงไปใกล้อุสสทนรกแล้วกล่าวว่า)
[๘๗๐] นางผู้แสนจะชั่วช้า นี่แหละนรกสำหรับเจ้า
บุญเจ้าไม่ได้ทำไว้ในมนุษยโลก
เพราะคนตระหนี่ มักโกรธ มีบาปธรรม
ย่อมไม่ได้อยู่ร่วมกับผู้เกิดในสวรรค์
(นางเรวดีเห็นนายนิรยบาลสองตนพากันมาฉุดคร่าตน เพื่อจะโยนลงไป
ในคูถนรก ชื่อว่า สังสวกะ จึงถามถึงนรกนั้นว่า)
[๘๗๑] ทำไมหนอจึงปรากฏแต่อุจจาระ ปัสสาวะ สิ่งสกปรก
เหตุไฉน อุจจาระนี้จึงมีกลิ่นเหม็นร้ายกาจ คละคลุ้งไปเล่า
(นายนิรยบาลตอบว่า)
[๘๗๒] นางเรวดี นรกที่เจ้าจะหมกไหม้อยู่หลายพันปีนี้
มีชื่อว่า สังสวกนรก ลึกร้อยชั่วคน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๒. เรวตีวิมาน
(นางเรวดีจึงถามว่า)
[๘๗๓] ฉันทำกรรมชั่วทางกายวาจาใจอะไรหรือหนอ
จึงตกสังสวกนรกที่ลึกร้อยชั่วคน
(นายนิรยบาลตอบว่า)
[๘๗๔] เจ้าลวงสมณพราหมณ์และวณิพกพวกอื่น
ด้วยการกล่าวเท็จนั่นแหละบาปที่เจ้าทำไว้
[๘๗๕] เพราะบาปนั้นเจ้าจึงตกสังสวกนรกที่ลึก ๑๐๐ ชั่วคน
นางเรวดี เจ้าจะต้องหมกไหม้อยู่ในนรกนั้นหลายพันปี
[๘๗๖] นายนิรยบาลทั้งหลาย จะตัดมือ เท้า หู แม้กระทั่งจมูก
อนึ่ง แม้ฝูงนกกาก็จะพากันมารุมจิกกินเจ้าที่ดิ้นทุรนทุรายอยู่
(นางเรวดีกล่าวว่า)
[๘๗๗] โปรดเถิดพ่อคุณ ขอท่านทั้งหลายช่วยนำดิฉันกลับไปเถิด
ดิฉันจักสร้างกุศลกรรม ที่คนทำแล้วได้รับความสุข
และไม่เดือดร้อนในภายหลังนั้นให้มาก
ด้วยการให้ทาน ประพฤติธรรมสม่ำเสมอ
การสำรวม และการฝึกอินทรีย์
(นายนิรยบาลกล่าวว่า)
[๘๗๘] เมื่อก่อน เจ้าประมาทมัวเมา บัดนี้จะมาร่ำไห้ทำไมเล่า
เจ้าจักต้องเสวยผลกรรมทั้งหลายที่เจ้าทำไว้เอง
(นางเรวดีกล่าวว่า)
[๘๗๙] ใครจากเทวโลกไปยังมนุษยโลก เมื่อถูกถาม
พึงกล่าวถ้อยคำของดิฉันอย่างนี้ว่า
ขอท่านทั้งหลายจงถวายทาน
คือผ้านุ่ง ผ้าห่ม ที่นอน ที่นั่ง ข้าวและน้ำ
ในสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ปล่อยวางอาชญา
เพราะว่าคนตระหนี่ มักโกรธ มีบาปธรรม
ย่อมไม่ได้เกิดร่วมกับผู้ไปสวรรค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๒. เรวตีวิมาน
[๘๘๐] ถ้าดิฉันนั้นจากที่นี้ไป ได้เกิดเป็นมนุษย์แล้ว
จักรู้ความประสงค์ของผู้ขอ สมบูรณ์ด้วยศีล
จักสร้างกุศลให้มากด้วยการให้ทาน
ประพฤติธรรมสม่ำเสมอ การสำรวม
และการฝึกอินทรีย์
[๘๘๑] ดิฉันจักปลูกสวนไม้ดอกไม้ผล
จักตัดทางเข้าไปในสถานที่ที่เดินลำบาก
ขุดบ่อน้ำและตั้งน้ำดื่มไว้ด้วยใจที่ผ่องแผ้ว
[๘๘๒] จักเข้าจำอุโบสถศีลซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
ทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำและ ๘ ค่ำแห่งปักษ์
และตลอดวันปาฏิหาริยปักษ์
[๘๘๓] ดิฉันจักสำรวมระวังในศีลตลอดเวลา
และจักไม่ละเลยในการให้ทาน
เพราะผลกรรมนี้ ดิฉันได้เห็นเองแล้ว
(พระสังคีติกาจารย์กล่าวไว้ว่า)
[๘๘๔] นายนิรยบาลทั้งหลายช่วยกันโยนนางเรวดี
ที่กำลังพร่ำเพ้อดิ้นรนไปมาอยู่อย่างนี้
ให้เท้าชี้หัวดิ่งลงไปในนรกอันน่ากลัว
(นางเรวดีได้กล่าวคาถาสุดท้ายอีกว่า)
[๘๘๕] ชาติก่อน ฉันเป็นคนตระหนี่
ด่าว่าสมณพราหมณ์
และลวงสามีด้วยเรื่องไม่จริง
จึงหมกไหม้ในนรกที่น่ากลัว
เรวตีวิมานที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๓. ฉัตตมาณวกวิมาน
๓. ฉัตตมาณวกวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่ฉัตตมาณพผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
(พระผู้มีพระภาคเมื่อจะทรงแสดงวิธีถึงสรณคมน์แก่ฉัตตมาณพจึงตรัสว่า)
[๘๘๖] บรรดาผู้กล่าวสอนในหมู่มนุษย์
ผู้ใดเป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นพระศากยมุนี
จำแนกพระธรรม สำเร็จกิจที่จะต้องทำแล้ว
ถึงฝั่งพระนิพพาน พรั่งพร้อมด้วยพละและวีริยะ
เธอจงถึงผู้นั้นผู้เป็นพระสุคตเพื่อเป็นที่พึ่งที่ระลึกเถิด
[๘๘๗] เธอจงถึงพระธรรมอันเป็นเหตุสำรอกราคะ
มีสภาวะไม่หวั่นไหว ไร้ความเศร้าโศก
เป็นสภาวธรรมที่ปราศจากปัจจัยปรุงแต่ง
ปราศจากสิ่งแปดเปื้อน น่าปรารถนา ละเอียดอ่อน
ซึ่งพระตถาคตทรงจำแนกไว้แจ่มแจ้งแล้วนี้เพื่อเป็นที่พึ่งที่ระลึกเถิด
[๘๘๘] บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงทานที่ถวายในท่านเหล่าใดว่ามีผลมาก
ท่านเหล่านั้น คือพระอริยบุคคลผู้บริสุทธิ์ ๔ คู่ ๘ ท่าน
ผู้เห็นประจักษ์ในธรรม
เธอจงถึงพระอริยสงฆ์นี้เพื่อเป็นที่พึ่งที่ระลึกเถิด
(พระผู้มีพระภาคตรัสถามเทพบุตรนั้นว่า)
[๘๘๙] ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวฤกษ์ผุสสะในท้องฟ้า
ยังสว่างไสวไม่เทียบเท่าวิมานของเธอซึ่งสว่างไสวมาก
หาสิ่งเปรียบเทียบมิได้นี้
เธอเป็นใครหนอ จากเทวโลกชั้นดาวดึงส์มายังแผ่นดิน
[๘๙๐] วิมานของเธอนั้นมีรัศมีตัดแสงอาทิตย์แผ่ไปเกิน ๒๐ โยชน์
และทำกลางคืนให้เป็นเสมือนกลางวัน
วิมานของเธองามบริสุทธิ์ผุดผ่อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๓. ฉัตตมาณวกวิมาน
[๘๙๑] มีดอกปทุมมาก มีดอกบุณฑริกงดงาม
เกลื่อนกลาดด้วยดอกไม้นานาชนิด
งามไม่น้อย คลุมไว้ด้วยตาข่ายทองอันบริสุทธิ์ ปราศจากธุลี
ส่องสว่างอยู่ในอากาศเหมือนดวงอาทิตย์
[๘๙๒] วิมานของเธอเนืองแน่นด้วยเหล่าเทพอัปสร
ผู้ทรงผ้ากำพลสีแดงและสีเหลือง
หอมตลบด้วยกลิ่นกฤษณา ดอกประยงค์และแก่นจันทน์
มีผิวพรรณเปล่งปลั่งดั่งทองคำ ประหนึ่งท้องฟ้าเต็มไปด้วยดวงดาว
[๘๙๓] เทพบุตรและเทพธิดาจำนวนมากในวิมานนี้
มีรูปร่างลักษณะต่าง ๆ กัน
มีจิตใจเบิกบาน ทรงทิพยอาภรณ์ ประดับด้วยดอกไม้ทิพย์
คลุมด้วยกรองทอง ห่มด้วยอาภรณ์ทอง
โชยกลิ่นหอมฟุ้งไปตามลม
[๘๙๔] นี้เป็นผลแห่งกรรมอันใดเล่า เพราะผลกรรมอะไรเล่า
เธอจึงมาเกิดในวิมานนี้ อนึ่ง ตถาคตถามแล้ว
ขอเธอจงบอกถึงวิธีที่เธอได้วิมานนี้ตามสมควรแก่เหตุนั้นเถิด
(เทพบุตรกราบทูลว่า)
[๘๙๕] พระศาสดาเสด็จมาพบฉัตตมาณพในทางนี้
เมื่อจะทรงอนุเคราะห์ จึงได้ทรงพร่ำสอน
มาณพนั้นฟังธรรมของพระองค์ผู้เป็นรัตนะอย่างประเสริฐแล้ว
ได้กราบทูลว่า ข้าพระองค์จักทำตามพระดำรัสที่ทรงพร่ำสอน
[๘๙๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งแรกข้าพระองค์ได้กราบทูลว่า
ข้าพระองค์ยังไม่ได้ถึงพระชินะผู้ประเสริฐ
พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แต่ภายหลังได้ทำตามพระดำรัสของพระองค์ตามที่ทรงพร่ำสอนนั่นแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๖ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น