Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๔-๗ หน้า ๒๕๙ - ๓๐๑

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔-๗ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๑ ธัมมสังคนี



พระอภิธรรมปิฎก
ธัมมสังคณี
_________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร
รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ
วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของ
กิเลส
[๙๙๙] สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
๖. วิตักกติกะ
[๑๐๐๐] สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจาร เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยวิตกและวิจารนั้น เว้นวิตกและ
วิจารในกามาวจร รูปาวจร และในจิตที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ อันเป็นที่เกิดแห่ง
สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีทั้งวิตกและวิจาร
[๑๐๐๑] สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยวิจารนั้น เว้นวิจารในรูปาวจร
และในจิตที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ อันเป็นที่เกิดแห่งสภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียง
วิจารแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร
[๑๐๐๒] สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ในกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และในจิตที่
ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ อันเป็นที่เกิดแห่งสภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารแล้ว รูป
ทั้งหมดและธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
๗. ปีติติกะ
[๑๐๐๓] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยปีตินั้น เว้นปีติในกามาวจร
รูปาวจร และในจิตที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ อันเป็นที่เกิดแห่งปีติแล้ว สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าสหรคตด้วยปีติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๕๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
[๑๐๐๔] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข เป็นไฉน
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยสุขนั้น เว้นสุขใน
กามาวจร รูปาวจร และในจิตที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ อันเป็นที่เกิดแห่งสุขแล้ว
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสหรคตด้วยสุข
[๑๐๐๕] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา เป็นไฉน
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยอุเบกขานั้น เว้น
อุเบกขาในกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และในจิตที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
อันเป็นที่เกิดแห่งอุเบกขาแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสหรคตด้วยอุเบกขา
๘. ทัสสนติกะ
[๑๐๐๖] สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน
สังโยชน์ ๓ คือ
๑. สักกายทิฏฐิ
๒. วิจิกิจฉา
๓. สีลัพพตปรามาส
[๑๐๐๗] บรรดาสังโยชน์ทั้ง ๓ เหล่านั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการฝึกฝนในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ
สัตบุรุษ ไม่ได้รับการฝึกฝนในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตนหรือเห็นตนมีรูป
เห็นรูปในตนหรือเห็นตนในรูป เห็นเวทนาเป็นตนหรือเห็นตนมีเวทนา เห็นเวทนาใน
ตนหรือเห็นตนในเวทนา เห็นสัญญาเป็นตนหรือเห็นตนมีสัญญา เห็นสัญญาในตน
หรือเห็นตนในสัญญา เห็นสังขารเป็นตนหรือเห็นตนมีสังขาร เห็นสังขารในตนหรือ
เห็นตนในสังขาร เห็นวิญญาณเป็นตนหรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณใน
ตนหรือเห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ
ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความ
ยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิอัน
เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า
สักกายทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๖๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
[๑๐๐๘] วิจิกิจฉา เป็นไฉน
ปุถุชนย่อมเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา
ในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่า
เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ภาวะ
ที่เคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่าง ๆ ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็น
สองทาง ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถถือเอาโดย
ส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถหยั่งลงถือเอาเป็น
ยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ นี้เรียกว่าวิจิกิจฉา
[๑๐๐๙] สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน
สมณพราหมณ์ภายนอกแต่ศาสนานี้ มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้
ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลและพรต ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดาร
คือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ
ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด
ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียก
ว่าสีลัพพตปรามาส
[๑๐๑๐] สังโยชน์ ๓ เหล่านี้และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ ๓
นั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ ๓ นั้น กายกรรม
วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีสังโยชน์ ๓ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
[๑๐๑๑] สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นไฉน
โลภะ โทสะ โมหะที่เหลือ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับโลภะ โทสะ
โมหะนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยโลภะ โทสะ โมหะ
นั้น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓๑
[๑๐๑๒] สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรค
เบื้องบน ๓ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๙๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๖๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร
และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด
และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ต้องประหาณด้วยโสดา-
ปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
๙. ทัสสนเหตุติกะ
[๑๐๑๓] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน
สังโยชน์ ๓ คือ
๑. สักกายทิฏฐิ
๒. วิจิกิจฉา
๓. สีลัพพตปรามาส
[๑๐๑๔] บรรดาสังโยชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน
ฯลฯ นี้เรียกว่าสักกายทิฏฐิ
[๑๐๑๕] วิจิกิจฉา เป็นไฉน
ฯลฯ นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา
[๑๐๑๖] สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน
ฯลฯ นี้เรียกว่าสีลัพพตปรามาส
[๑๐๑๗] สังโยชน์ ๓ เหล่านี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ ๓
นั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ ๓ นั้น กายกรรม
วจีกรรม และมโนกรรมที่มีสังโยชน์ ๓ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามี
เหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค๑
สังโยชน์ ๓ คือ
๑. สักกายทิฏฐิ
๒. วิจิกิจฉา
๓. สีลัพพตปรามาส

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๙๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๖๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค โลภะ โทสะ โมหะที่
ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ ๓ นั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ส่วนกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับโลภะ โทสะ
โมหะนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโลภะ โทสะ โมหะ
นั้น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
[๑๐๑๘] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นไฉน
โลภะ โทสะ โมหะที่เหลือ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน ๓ กิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะนั้น ได้แก่
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยโลภะ โทสะ โมหะนั้น กายกรรม
วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓๑
[๑๐๑๙] สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรค
เบื้องบน ๓ เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศลอกุศลและอัพยากฤตที่
เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่
ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและ
มรรคเบื้องบน ๓
๑๐. อาจยคามิติกะ
[๑๐๒๐] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นอารมณ์ของอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร
รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ๑

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๙๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๖๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
[๑๐๒๑] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน เป็นไฉน
มรรค ๔ ซึ่งไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุให้ถึง
นิพพาน๑
[๑๐๒๒] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิจุติและนิพพาน เป็นไฉน
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร
อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ซึ่งไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรม รูป
ทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเหตุให้ถึง
ปฏิสนธิจุติและนิพพาน๑
๑๑. เสกขติกะ
[๑๐๒๓] สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคล เป็นไฉน
มรรค ๔ ซึ่งไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และสามัญญผล ๓ เบื้องต่ำ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นของเสขบุคคล๒
[๑๐๒๔] สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคล เป็นไฉน
อรหัตตผลอันตั้งอยู่เบื้องสูง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นของอเสขบุคคล
[๑๐๒๕] สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤตที่
เหลือซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นของเสขบุคคล
และอเสขบุคคล
๑๒. ปริตตติกะ
[๑๐๒๖] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นกามาวจรทั้งหมด ได้แก่
รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นปริตตะ๒

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๙๑ ๒ อภิ.สงฺ.อ. ๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๖๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
[๑๐๒๗] สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤต ซึ่งเป็นรูปาวจรและอรูปาวจร ได้แก่
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นมหัคคตะ๑
[๑๐๒๘] สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรค และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ซึ่งไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัปปมาณะ๑
๑๓. ปริตตารัมมณติกะ
[๑๐๒๙] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ปรารภสภาวธรรมที่เป็นปริตตะเกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีปริตตะเป็นอารมณ์๑
[๑๐๓๐] สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ปรารภสภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีมหัคคตะเป็นอารมณ์๑
[๑๐๓๑] สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ปรารภสภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีอัปปมาณะเป็นอารมณ์๑
๑๔. หีนติกะ
[๑๐๓๒] สภาวธรรมชั้นต่ำ เป็นไฉน
อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับ
อกุศลมูลนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น
กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าธรรมชั้นต่ำ๑
[๑๐๓๓] สภาวธรรมชั้นกลาง เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๖๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤต เป็นอารมณ์ของอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร
รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมชั้นกลาง๑
[๑๐๓๔] สภาวธรรมชั้นประณีต เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรค และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ซึ่งไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมชั้นประณีต๑
๑๕. มิจฉัตตติกะ
[๑๐๓๕] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน
อนันตริยกรรม ๕ และมิจฉาทิฏฐิที่ให้ผลแน่นอน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามี
สภาวะผิดและให้ผลแน่นอน๑
[๑๐๓๖] สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน
มรรค ๔ ซึ่งไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีสภาวะชอบ
และให้ผลแน่นอน๑
[๑๐๓๗] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤตที่
เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น๑
๑๖. มัคคารัมมณติกะ
[๑๐๓๘] สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ปรารภอริยมรรคเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่ามีมรรคเป็นอารมณ์๑
[๑๐๓๙] สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นเหตุ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๖๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
เว้นองค์มรรคแล้ว เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยองค์มรรค
นั้นของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีมรรคเป็นเหตุ
สัมมาทิฏฐิของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เป็นมรรคและเป็นเหตุ เว้น
สัมมาทิฏฐิแล้ว เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐินั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีมรรคเป็นเหตุ อโลภะ อโทสะ และอโมหะของท่านผู้พรั่ง
พร้อมด้วยอริยมรรค สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีมรรคเป็นเหตุ เวทนาขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอโลภะ อโทสะ และอโมหะนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
มีมรรคเป็นเหตุ๑
[๑๐๔๐] สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นอธิบดี เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกทำอริยมรรคให้เป็นอธิบดีเกิดขึ้น สภาวธรรม
เหล่านี้ ชื่อว่ามีมรรคเป็นอธิบดี เวทนาขันธ์ ฯลฯ เว้นวิมังสาของท่านผู้พรั่งพร้อม
ด้วยอริยมรรคซึ่งกำลังเจริญมรรคที่มีวิมังสาเป็นอธิบดีแล้ว เวทนาขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยวิมังสานั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีมรรคเป็นอธิบดี๒
๑๗. อุปปันนติกะ
[๑๐๔๑] สภาวธรรมที่เกิดขึ้น เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เกิด ที่เป็น เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิดขึ้น
เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เกิดขึ้น สงเคราะห์เข้ากับส่วนที่เกิดขึ้น ได้แก่
รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าธรรมที่เกิดขึ้น๒
[๑๐๔๒] สภาวธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เป็นไฉน
สภาวธรรมที่ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดเฉพาะ ยังไม่
ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่ยังไม่
เกิดขึ้น สงเคราะห์เข้ากับส่วนที่ยังไม่เกิดขึ้น ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ายังไม่เกิดขึ้น๒

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๙๒ ๒ อภิ.สงฺ.อ. ๙๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๖๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
[๑๐๔๓] สภาวธรรมที่จักเกิดขึ้นแน่นอน เป็นไฉน
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่ยังไม่ให้ผล ซึ่งเป็นกามาวจร
รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณ-
ขันธ์ และรูปที่กรรมปรุงแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าจักเกิดขึ้นแน่นอน๑
๑๘. อตีตติกะ
[๑๐๔๔] สภาวธรรมที่เป็นอดีต เป็นไฉน
สภาวธรรมที่ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว
ถึงความดับสูญแล้ว เกิดขึ้นดับไปแล้ว ที่ล่วงไปแล้ว สงเคราะห์ด้วยส่วนที่ล่วงไปแล้ว
ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอดีต๑
[๑๐๔๕] สภาวธรรมที่เป็นอนาคต เป็นไฉน
สภาวธรรมที่ยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดเฉพาะ
ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่ยังไม่
มาถึง สงเคราะห์ด้วยส่วนที่ยังไม่มาถึง ได้แก่ รูปขันธ์ เวนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอนาคต๑
[๑๐๔๖] สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน
สภาวธรรมที่กำลังเกิด กำลังเป็น กำลังเกิดพร้อม กำลังบังเกิด กำลังบังเกิด
เฉพาะ กำลังปรากฏ กำลังเกิดขึ้น กำลังเกิดขึ้นพร้อม กำลังตั้งขึ้น กำลังตั้งขึ้นพร้อม
กำลังเกิดขึ้นเฉพาะ สงเคราะห์ด้วยส่วนที่กำลังเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ได้แก่ รูปขันธ์
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นปัจจุบัน๑
๑๙. อตีตารัมมณติกะ
[๑๐๔๗] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๙๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๖๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ปรารภสภาวธรรมที่เป็นอดีตเกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่ามีอดีตธรรมเป็นอารมณ์๑
[๑๐๔๘] สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ปรารภสภาวธรรมที่เป็นอนาคตเกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์๑
[๑๐๔๙] สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ปรารภสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันเกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์๑
๒๐. อัชฌัตตติกะ
[๑๐๕๐] สภาวธรรมที่เป็นภายในตน เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดแต่ตน เป็นของเฉพาะแต่ละ
บุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ของสัตว์นั้น ๆ ได้แก่ รูปขันธ์
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
ภายในตน๑
[๑๐๕๑] สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตน เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นภายในตน เป็นของเฉพาะตน เกิดแต่ตน เป็นของเฉพาะ
แต่ละบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ของสัตว์อื่น ของบุคคล
อื่นนั้น ๆ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นภายนอกตน๑
[๑๐๕๒] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนและภายนอกตน เป็นไฉน
สภาวธรรมทั้งสองประเภทที่กล่าวมานั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นภายใน
ตนและภายนอกตน๑
๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกะ
[๑๐๕๓] สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๖๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกปรารภสภาวธรรมที่เป็นภายในตนเกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์๑
[๑๐๕๔] สภาวธรรมที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกปรารภสภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์๑
[๑๐๕๕] สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ เป็น
ไฉน
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกปรารภสภาวธรรมที่เป็นภายในตนและภาย
นอกตนเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็น
อารมณ์๑
๒๒. สนิทัสสนติกะ
[๑๐๕๖] สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้ เป็นไฉน
รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเห็นได้และกระทบได้๑
[๑๐๕๗] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เป็นไฉน
จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ สัททายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้แต่
กระทบได้๑
[๑๐๕๘] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้และ
กระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้๑
ติกนิกเขปะ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๙๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๗๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ เหตุโคจฉกะ
ทุกนิกเขปะ
๑. เหตุโคจฉกะ
๑. เหตุทุกะ
[๑๐๕๙] สภาวธรรมที่เป็นเหตุ เป็นไฉน
เหตุที่เป็นกุศลมี ๓ เหตุที่เป็นอกุศลมี ๓ เหตุที่เป็นอัพยากฤตมี ๓ เหตุที่เป็น
กามาวจรมี ๙ เหตุที่เป็นรูปาวจรมี ๖ เหตุที่เป็นอรูปาวจรมี ๖ เหตุที่เป็นโลกุตตระ
มี ๖
[๑๐๖๐] บรรดาสภาวธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น เหตุที่เป็นกุศล ๓ เป็นไฉน
เหตุที่เป็นกุศล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ
[๑๐๖๑] บรรดาเหตุที่เป็นกุศล ๓ นั้น อโลภะ เป็นไฉน
ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ภาวะที่ไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด
ภาวะที่ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ นี้เรียกว่าอโลภะ
[๑๐๖๒] อโทสะ เป็นไฉน
ความไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ภาวะที่ไม่คิดประทุษร้าย
ความมีไมตรี กิริยาที่สนิทสนม ภาวะที่สนิทสนม ความเอ็นดู กิริยาที่เอ็นดู ภาวะที่
เอ็นดู ความแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ความสงสาร ความไม่พยาบาท ความไม่คิด
เบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ นี้เรียกว่าอโทสะ
[๑๐๖๓] อโมหะ เป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา ความรู้ในส่วนอดีต ความรู้ในส่วนอนาคต ความรู้ในส่วนอดีตและ
ส่วนอนาคต ความรู้ในปฏิจจสมุปปาทว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนด
หมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด
ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือน
แผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๗๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ เหตุโคจฉกะ
ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญา
เหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป
ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ที่มี
ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าอโมหะ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเหตุที่เป็นกุศล ๓
[๑๐๖๔] บรรดาสภาวธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น เหตุที่เป็นอกุศล ๓ เป็นไฉน
เหตุที่เป็นอกุศล ๓ คือ โลภะ โทสะ และโมหะ
[๑๐๖๕] บรรดาเหตุที่เป็นอกุศล ๓ นั้น โลภะ เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความ
เพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต
ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ ความข้องอยู่ ความ
จมอยู่ ธรรมชาติที่คร่าไป ธรรมชาติที่หลอกลวง ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติ
ที่ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติที่ร้อยรัด ธรรมชาติที่มีข่าย ธรรมชาติที่กำซาบใจ
ธรรมชาติที่ซ่านไป ธรรมชาติเหมือนเส้นด้าย ธรรมชาติที่แผ่ไป ธรรมชาติที่
ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง ปณิธาน ธรรมชาติที่นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือน
ป่า ตัณหาเหมือนดง ความเกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน ความ
หวัง กิริยาที่หวัง ภาวะที่หวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความ
หวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร
ความหวังชีวิต ธรรมชาติที่กระซิบ ธรรมชาติที่กระซิบทั่ว ธรรมชาติที่กระซิบยิ่ง
ความกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ภาวะที่กระซิบ ความละโมบ กิริยาที่ละโมบ ภาวะที่
ละโมบ ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ภาวะที่ใคร่แต่อารมณ์ดี ๆ ความกำหนัดในฐานะ
อันไม่ควร ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา ความ
กระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา รูปตัณหา
อรูปตัณหา นิโรธตัณหา รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ-
ตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์ เครื่องปิดบัง
เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือนเถาวัลย์ ความปรารถนาและ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๗๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ เหตุโคจฉกะ
ติดอยู่ในวัตถุมีอย่างต่าง ๆ มูลเหตุแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ทุกขสมุทัย บ่วงแห่งมาร
เบ็ดแห่งมาร วิสัยแห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือก
ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ นี้ชื่อว่าโลภะ
[๑๐๖๖] โทสะ เป็นไฉน
ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้น
ว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อม
เสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความ
เสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนที่รัก ที่ชอบพอของเรา ความอาฆาต
เกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้เคยทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความ
เจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบพอของเรา หรือความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่
สมควร จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง
ความขุ่นเคือง ความพล่านไป โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความคิดมุ่งร้าย ความ
ขุ่นจิต ธรรมชาติ ที่ประทุษร้ายใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มีลักษณะ
เช่นว่านี้ (และ) ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย
ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความแค้น
ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียก
ว่าโทสะ
[๑๐๖๗] โมหะ เป็นไฉน
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ใน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้
ในส่วนอดีตและอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความ
ไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาโดยถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดย
รอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความทราม
ปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล
อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา
ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าโมหะ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเหตุที่เป็นอกุศล ๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๗๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ เหตุโคจฉกะ
[๑๐๖๘] บรรดาสภาวธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น เหตุที่เป็นอัพยากฤต ๓ เป็น
ไฉน
อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ฝ่ายวิบาก แห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศล หรืออโลภะ
อโทสะ และอโมหะ ในสภาวธรรมที่เป็นอัพยากตกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเหตุ
ที่เป็นอัพยากฤต ๓
[๑๐๖๙] บรรดาเหตุเหล่านั้น เหตุที่เป็นกามาวจร ๙ เป็นไฉน
เหตุที่เป็นกุศลมี ๓ เหตุที่เป็นอกุศลมี ๓ เหตุที่เป็นอัพยากฤตมี ๓
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเหตุที่เป็นกามาวจร ๙
[๑๐๗๐] บรรดาสภาวธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น เหตุที่เป็นรูปาวจร ๖ เป็นไฉน
เหตุที่เป็นกุศลมี ๓ เหตุที่เป็นอัพยากฤตมี ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเหตุที่
เป็นรูปาวจร ๖
[๑๐๗๑] บรรดาสภาวธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น เหตุที่เป็นอรูปาวจร ๖ เป็น
ไฉน
เหตุที่เป็นกุศลมี ๓ เหตุที่เป็นอัพยากฤตมี ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเหตุที่
เป็นอรูปาวจร ๖
[๑๐๗๒] บรรดาเหตุเหล่านั้น เหตุที่เป็นโลกุตตระ ๖ เป็นไฉน
เหตุที่เป็นกุศลมี ๓ เหตุที่เป็นอัพยากฤตมี ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเหตุที่
เป็นโลกุตตระ ๖
[๑๐๗๓] บรรดาเหตุที่เป็นโลกุตตระ ๖ เหล่านั้น เหตุที่เป็นกุศล ๓ เป็นไฉน
เหตุที่เป็นกุศล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ
[๑๐๗๔] บรรดาเหตุที่เป็นกุศล ๓ เหล่านั้น อโลภะ เป็นไฉน
ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ภาวะที่ไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด
ภาวะที่ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ นี้เรียกว่าอโลภะ
[๑๐๗๕] อโทสะ เป็นไฉน
ความไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ภาวะที่ไม่คิดประทุษร้าย
ฯลฯ ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ นี้เรียกว่าอโทสะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๗๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ เหตุโคจฉกะ
[๑๐๗๖] อโมหะ เป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา ความรู้ในส่วนอดีต ความรู้ในส่วนอนาคต ความรู้ในส่วนอดีตและ
อนาคต ความรู้ในปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ปัญญา
กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความ
เข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด
ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญา
เครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือน
ปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือน
ปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป
ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้ชื่อว่าอโมหะ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเหตุที่เป็นกุศล
[๑๐๗๗] เหตุที่เป็นอัพยากฤต ๓ เป็นไฉน
อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ฝ่ายวิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศล สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเหตุที่เป็นอัพยากฤต ๓
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเหตุที่เป็นโลกุตตระ ๖
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุ
[๑๐๗๘] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ
อัพยากฤตที่เหลือ เว้นสภาวธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้นซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร
อรูปวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูป
ทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเหตุ
๒. สเหตุกทุกะ
[๑๐๗๙] สภาวธรรมที่มีเหตุ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๗๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ จูฬันตรทุกะ
สภาวธรรมที่มีเหตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่ามีเหตุ
[๑๐๘๐] สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และ
ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีเหตุ
๓. เหตุสัมปยุตตทุกะ
[๑๐๘๑] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยเหตุ
[๑๐๘๒] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากเหตุ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากเหตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูป
ทั้งหมดและธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากเหตุ
๔. เหตุสเหตุกทุกะ
[๑๐๘๓] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและมีเหตุ เป็นไฉน
โลภะเป็นเหตุและมีเหตุเพราะโมหะ โมหะเป็นเหตุและมีเหตุเพราะโลภะ โทสะ
เป็นเหตุและมีเหตุเพราะโมหะ โมหะเป็นเหตุและมีเหตุเพราะโทสะ อโลภะ อโทสะ
และอโมหะนั้นเป็นเหตุและมีเหตุเพราะอาศัยกันและกัน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
เหตุและมีเหตุ
[๑๐๘๔] สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรม(ที่เป็นเหตุ)เหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่มีเหตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์
ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
๕. เหตุเหตุสัมปยุตตทุกะ
[๑๐๘๕] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน
โลภะเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุเพราะโมหะ โมหะเป็นเหตุและสัมปยุตด้วย
เหตุเพราะโลภะ โทสะเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุเพราะโมหะ โมหะเป็นเหตุและ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๗๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ จูฬันตรทุกะ
สัมปยุตด้วยเหตุเพราะโทสะ อโลภะ อโทสะ และอโมหะนั้นเป็นเหตุและสัมปยุตด้วย
เหตุเพราะอาศัยกันและกัน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ
[๑๐๘๖] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์
ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
๖. นเหตุสเหตุกทุกะ
[๑๐๘๗] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ
[๑๐๘๘] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุ และไม่มีเหตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเหตุและ
ไม่มีเหตุ
เหตุโคจฉกะ จบ
๒. จูฬันตรทุกะ
๑. สัปปัจจยทุกะ
[๑๐๘๙] สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นไฉน
ขันธ์ ๕ คือ
๑. รูปขันธ์
๒. เวทนาขันธ์
๓. สัญญาขันธ์
๔. สังขารขันธ์
๕. วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีปัจจัยปรุงแต่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๗๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ จูฬันตรทุกะ
[๑๐๙๐] สภาวธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นไฉน
ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมนี้ชื่อว่าไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
๒. สังขตทุกะ
[๑๐๙๑] สภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นไฉน
สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง ชื่อว่าถูกปัจจัยปรุงแต่ง
[๑๐๙๒] สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นไฉน
สภาวธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ชื่อว่าไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
๓. สนิทัสสนทุกะ
[๑๐๙๓] สภาวธรรมที่เห็นได้ เป็นไฉน
รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเห็นได้
[๑๐๙๔] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้ เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปที่
เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้
๔. สัปปฏิฆทุกะ
[๑๐๙๕] สภาวธรรมที่กระทบได้ เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากระทบได้
[๑๐๙๖] สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องใน
ธัมมายตนะ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากระทบไม่ได้
๕. รูปีทุกะ
[๑๐๙๗] สภาวธรรมที่เป็นรูป เป็นไฉน
มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๗๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ จูฬันตรทุกะ
[๑๐๙๘] สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่า
นี้ชื่อว่าไม่เป็นรูป
๖. โลกิยทุกะ
[๑๐๙๙] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นโลกิยะ
[๑๑๐๐] สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระ เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นโลกุตตระ
๗. เกนจิวิญเญยยทุกะ
[๑๑๐๑] สภาวธรรมที่จิตบางดวงรู้ได้และที่จิตบางดวงรู้ไม่ได้ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่จักขุวิญญาณรู้ได้แต่โสตวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่
โสตวิญญาณรู้ได้แต่จักขุวิญญาณรู้ไม่ได้
สภาวธรรมที่จักขุวิญญาณรู้ได้แต่ฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่
ฆานวิญญาณรู้ได้แต่จักขุวิญญาณรู้ไม่ได้
สภาวธรรมที่จักขุวิญญาณรู้ได้แต่ชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่
ชิวหาวิญญาณรู้ได้แต่จักขุวิญญาณรู้ไม่ได้
สภาวธรรมที่จักขุวิญญาณรู้ได้แต่กายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่
กายวิญญาณรู้ได้แต่จักขุวิญญาณรู้ไม่ได้
สภาวธรรมที่โสตวิญญาณรู้ได้แต่ฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่
ฆานวิญญาณรู้ได้แต่โสตวิญญาณรู้ไม่ได้
สภาวธรรมที่โสตวิญญาณรู้ได้แต่ชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่
ชิวหาวิญญาณรู้ได้แต่โสตวิญญาณรู้ไม่ได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๗๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ จูฬันตรทุกะ
สภาวธรรมที่โสตวิญญาณรู้ได้แต่กายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่
กายวิญญาณรู้ได้แต่โสตวิญญาณรู้ไม่ได้
สภาวธรรมที่โสตวิญญาณรู้ได้แต่จักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่
จักขุวิญญาณรู้ได้แต่โสตวิญญาณรู้ไม่ได้
สภาวธรรมที่ฆานวิญญาณรู้ได้แต่ชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่
ชิวหาวิญญาณรู้ได้แต่ฆานวิญญาณรู้ไม่ได้
สภาวธรรมที่ฆานวิญญาณรู้ได้แต่กายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่
กายวิญญาณรู้ได้แต่ฆานวิญญาณรู้ไม่ได้
สภาวธรรมที่ฆานวิญญาณรู้ได้แต่จักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่
จักขุวิญญาณรู้ได้แต่ฆานวิญญาณรู้ไม่ได้
สภาวธรรมที่ฆานวิญญาณรู้ได้แต่โสตวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่
โสตวิญญาณที่รู้ได้แต่ฆานวิญญาณรู้ไม่ได้
สภาวธรรมที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้แต่กายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่
กายวิญญาณรู้ได้แต่ชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้
สภาวธรรมที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้แต่จักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่
จักขุวิญญาณรู้ได้แต่ชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้
สภาวธรรมที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้แต่โสตวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่
โสตวิญญาณรู้ได้แต่ชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้
สภาวธรรมที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้แต่ฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่
ฆานวิญญาณรู้ได้แต่ชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้
สภาวธรรมที่กายวิญญาณรู้ได้แต่จักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่
จักขุวิญญาณรู้ได้แต่กายวิญญาณรู้ไม่ได้
สภาวธรรมที่กายวิญญาณรู้ได้แต่โสตวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่
โสตวิญญาณรู้ได้แต่กายวิญญาณรู้ไม่ได้
สภาวธรรมที่กายวิญญาณรู้ได้แต่ฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่
ฆานวิญญาณรู้ได้แต่กายวิญญาณรู้ไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๘๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ อาสวโคจฉกะ
สภาวธรรมที่กายวิญญาณที่รู้ได้แต่ชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่
ชิวหาวิญญาณรู้ได้แต่กายวิญญาณรู้ไม่ได้
สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่าจิตบางดวงรู้ได้ และที่จิตบางดวงรู้ไม่ได้
จูฬันตรทุกะ จบ
๓. อาสวโคจฉกะ
๑. อาสวทุกะ
[๑๑๐๒] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะ เป็นไฉน
อาสวะ ๔ คือ
๑. กามาสวะ
๒. ภวาสวะ
๓. ทิฏฐาสวะ
๔. อวิชชาสวะ
[๑๑๐๓] บรรดาอาสวะ ๔ นั้น กามาสวะ เป็นไฉน
ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลิดเพลินในกาม ตัณหาใน
กาม สิเนหาในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความลุ่มหลงในกาม ความหมกมุ่น
ในกาม ในกามทั้งหลาย นี้เรียกว่ากามาสวะ
[๑๑๐๔] ภวาสวะ เป็นไฉน
ความพอใจในภพ ความกำหนัดในภพ ความเพลิดเพลินในภพ ตัณหาในภพ
สิเนหาในภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความลุ่มหลงในภพ ความหมกมุ่นในภพ
ในภพทั้งหลาย นี้เรียกว่าภวาสวะ
[๑๑๐๕] ทิฏฐาสวะ เป็นไฉน
ความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระ
เป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้ว ตถาคต๑ เกิด

เชิงอรรถ :
๑ ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่น ๆ ใช้กันมาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระ
พุทธเจ้า อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงสัตตะ (ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๘๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ อาสวโคจฉกะ
อีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิด
อีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ ดังนี้ ทิฏฐิ ความ
เห็นผิดป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความ
ผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความ
ถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือ
โดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าทิฏฐาสวะ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่า
ทิฏฐาสวะ
[๑๑๐๖] อวิชชาสวะ เป็นไฉน
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ใน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้
ในส่วนอดีตและอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้
ตามเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาโดยถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดย
รอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความทราม
ปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความหลุ่มหลง ความหลงใหล
อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา
ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าอวิชชาสวะ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่เป็นอาสวะ
[๑๑๐๗] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่เป็นอาสวะเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ
อัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องใน
วัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่
ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอาสวะ
๒. สาสวทุกะ
[๑๑๐๘] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๘๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ อาสวโคจฉกะ
สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของอาสวะ
[๑๑๐๙] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
๓. อาสวสัมปยุตตทุกะ
[๑๑๑๐] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สัมปยุตด้วยอาสวะ
[๑๑๑๑] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูป
ทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากอาสวะ
๔. อาสวสาสวทุกะ
[๑๑๑๒] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นอาสวะชื่อว่าเป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ
[๑๑๑๓] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน
สภาวธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ เว้นอาสวะเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็น
กุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ เป็นกามาวจร
รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
๕. อาสวอาสวสัมปยุตตทุกะ
[๑๑๑๔] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๘๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ อาสวโคจฉกะ
กามาสวะเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะเพราะอวิชชาสวะ อวิชชาสวะ
เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะเพราะกามาสวะ ภวาสวะเป็นอาสวะและสัมปยุต
ด้วยอาสวะเพราะอวิชชาสวะ อวิชชาสวะเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะเพราะ
ภวาสวะ ทิฏฐาสวะเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะเพราะอวิชชาสวะ อวิชชาสวะ
เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะเพราะทิฏฐาสวะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ
[๑๑๑๕] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่เป็นอาสวะเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ
แต่ไม่เป็นอาสวะ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
๖. อาสววิปปยุตตสาสวทุกะ
[๑๑๑๖] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
ไฉน
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ได้แก่ สภาวธรรม
ที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร
รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าวิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
[๑๑๑๗] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
อาสวโคจฉกะ จบ
ปฐมภาณวารในนิกเขปกัณฑ์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๘๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ สัญโญชนโคจฉกะ
๔. สัญโญชนโคจฉกะ
๑. สัญโญชนทุกะ
[๑๑๑๘] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์ เป็นไฉน
สังโยชน์ ๑๐ คือ

๑. กามราคสังโยชน์ ๒. ปฏิฆสังโยชน์
๓. มานสังโยชน์ ๔. ทิฏฐิสังโยชน์
๕. วิจิกิจฉาสังโยชน์ ๖. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์
๗. ภวราคสังโยชน์ ๘. อิสสาสังโยชน์
๙. มัจฉริยสังโยชน์ ๑๐. อวิชชาสังโยชน์

[๑๑๑๙] บรรดาสังโยชน์ ๑๐ นั้น กามราคสังโยชน์ เป็นไฉน
ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลิดเพลินในกาม ตัณหา
ในกาม สิเนหาในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความลุ่มหลงในกาม ความ
หมกมุ่นในกาม ในกามทั้งหลาย นี้เรียกว่ากามราคสังโยชน์
[๑๑๒๐] ปฏิฆสังโยชน์ เป็นไฉน
ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า
ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสีย
แก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความ
เสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา ความ
อาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความ
เจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา หรือความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะ
อันไม่สมควร จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง
ความขุ่นเคือง ความพล่านไป โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความคิดมุ่งร้าย ความ
ขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มีลักษณะ
เช่นว่านี้ (และ) ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย
ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความแค้น
ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า
ปฏิฆสังโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๘๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ สัญโญชนโคจฉกะ
[๑๑๒๑] มานสังโยชน์ เป็นไฉน
ความถือตัวว่า เราดีกว่าเขา เราเสมอกับเขา เราเลวกว่าเขา ความถือตัว
กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความยกตน ความอวดตน ความเชิดชูตนดุจธง ความ
ยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้ชื่อว่ามานสังโยชน์
[๑๑๒๒] ทิฏฐิสังโยชน์ เป็นไฉน
ความเห็นว่าโลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระ
เป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ ดังนี้ ทิฏฐิ ความ
เห็นผิด ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความ
ผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือ
ผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดย
วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าทิฏฐิสังโยชน์ เว้นสีลัพพตปรามาสสังโยชน์แล้ว
ความเห็นผิดแม้ทั้งหมดชื่อว่าทิฏฐิสังโยชน์
[๑๑๒๓] วิจิกิจฉาสังโยชน์ เป็นไฉน
ปุถุชนย่อมเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา
ในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุปบาทว่า
เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ภาวะ
ที่เคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่าง ๆ ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสอง
ทาง ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถถือเอาโดยส่วน
เดียวได้ ความคิดส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้
ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าวิจิกิจฉาสังโยชน์
[๑๑๒๔] สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ เป็นไฉน
สมณพราหมณ์ภายนอกแต่ศาสนานี้มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีด้วย
ศีล ด้วยพรต ด้วยศีลและพรต ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือ
ทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๘๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ สัญโญชนโคจฉกะ
ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด
ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียก
ว่าสีลัพพตปรามาสสังโยชน์
[๑๑๒๕] ภวราคสังโยชน์ เป็นไฉน
ความพอใจในภพ ความกำหนัดในภพ ความเพลิดเพลินในภพ ตัณหาในภพ
สิเนหาในภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความลุ่มหลงในภพ ความหมกมุ่นในภพ ใน
ภพทั้งหลาย นี้เรียกว่าภวราคสังโยชน์
[๑๑๒๖] อิสสาสังโยชน์ เป็นไฉน
ความริษยา กิริยาที่ริษยา ภาวะที่ริษยา ความกีดกัน กิริยาที่กีดกัน ภาวะ
ที่กีดกันในลาภสักการะ ความเคารพ นับถือ ไหว้ และบูชาของคนอื่น นี้ชื่อว่า
อิสสาสังโยชน์
[๑๑๒๗] มัจฉริยสังโยชน์ เป็นไฉน
มัจฉริยะ ๕ คือ

๑. อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่)
๒. กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล)
๓. ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ)
๔. วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ)
๕. ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม)

ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความเหนียวแน่น
ความไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เผื่อแผ่แห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่ามัจฉริย-
สังโยชน์
[๑๑๒๘] อวิชชาสังโยชน์ เป็นไฉน
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ใน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้
ในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๘๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ สัญโญชนโคจฉกะ
ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลง
โดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความทราม
ปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา
โอฆะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือ
โมหะ นี้เรียกว่าอวิชชาสังโยชน์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นสังโยชน์
[๑๑๒๙] สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์ เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศลและ
อัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องใน
วัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่
ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นสังโยชน์
๒. สัญโญชนิยทุกะ
[๑๑๓๐] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของสังโยชน์
[๑๑๓๑] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรค ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
๓. สัญโญชนสัมปยุตตทุกะ
[๑๑๓๒] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยสังโยชน์
[๑๑๓๓] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๘๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ สัญโญชนโคจฉกะ
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์เหล่านั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณ-
ขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจาก
สังโยชน์
๔. สัญโญชนสัญโญชนิยทุกะ
[๑๑๓๔] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์ชื่อว่าเป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์
[๑๑๓๕] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ เป็น
ไฉน
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เว้นสภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์แล้ว
สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ เป็น
กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์
๕. สัญโญชนสัญโญชนสัมปยุตตทุกะ
[๑๑๓๖] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ เป็นไฉน
กามราคสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะอวิชชาสังโยชน์
อวิชชาสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะกามราคสังโยชน์ ปฏิฆ-
สังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะอวิชชาสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์
เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะปฏิฆสังโยชน์ มานสังโยชน์เป็นสังโยชน์
และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะอวิชชาสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์เป็นสังโยชน์และ
สัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะมานสังโยชน์ ทิฏฐิสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วย
สังโยชน์เพราะอวิชชาสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์
เพราะทิฏฐิสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะ
อวิชชาสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะ
วิจิกิจฉาสังโยชน์ สีลัพพตปรามาสสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๘๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ สัญโญชนโคจฉกะ
เพราะอวิชชาสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะ
สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ ภวราคสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะ
อวิชชาสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะภวราค-
สังโยชน์ อิสสาสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะอวิชชาสังโยชน์
อวิชชาสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะอิสสาสังโยชน์ มัจฉริย-
สังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะอวิชชาสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์
เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะมัจฉริยสังโยชน์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์
[๑๑๓๗] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์
ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วย
สังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์
๖. สัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยทุกะ
[๑๑๓๘] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
เป็นไฉน
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ คือ สภาวธรรม
ที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร รูปาวจร
และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุต
จากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
[๑๑๓๙] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
สัญโญชนโคจฉกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๙๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ คันถโคจฉกะ
๕. คันถโคจฉกะ
๑. คันถทุกะ
[๑๑๔๐] สภาวธรรมที่เป็นคันถะ เป็นไฉน
คันถะ ๔ คือ
๑. อภิชฌากายคันถะ
๒. พยาปาทกายคันถะ
๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ
๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ๑
[๑๑๔๑] บรรดาคันถะ ๔ นั้น อภิชฌากายคันถะ เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความ
เพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต
ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ ความข้องอยู่ ความ
จมอยู่ ธรรมชาติที่คร่าไป ธรรมชาติที่หลอกลวง ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิด
ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติที่ร้อยรัด ธรรมชาติที่มีข่าย ธรรมชาติที่
กำซาบใจ ธรรมชาติที่ซ่านไป ธรรมชาติเหมือนเส้นด้าย ธรรมชาติที่แผ่ไป ธรรมชาติ
ที่ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง ปณิธาน ธรรมชาติที่นำไปสู่ภพ ตัณหา
เหมือนป่า ตัณหาเหมือนดง ความเกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน
ความหวัง กิริยาที่หวัง ภาวะที่หวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น
ความหวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร
ความหวังชีวิต ธรรมชาติที่กระซิบ ธรรมชาติที่กระซิบทั่ว ธรรมชาติที่กระซิบยิ่ง
ความกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ภาวะที่กระซิบ ความละโมบ กิริยาที่ละโมบ ภาวะที่
ละโมบ ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ภาวะที่ใคร่แต่อารมณ์ดี ๆ ความกำหนัดในฐานะ
อันไม่ควร ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา ความ
กระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา รูปตัณหา

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ม. ๒๙/๘๑,๑๔๗/๒๗๓, อภิ.วิ. ๓๕/๙๓๘/๔๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๙๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ คันถโคจฉกะ
อรูปตัณหา นิโรธตัณหา (คือราคะที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ) รูปตัณหา สัททตัณหา
คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน
อาวรณ์ นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือน
เถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุมีอย่างต่าง ๆ มูลเหตุแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดน
เกิดแห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร วิสัยแห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ ตัณหา
เหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
นี้เรียกว่าอภิชฌากายคันถะ
[๑๑๔๒] พยาปาทกายคันถะ เป็นไฉน
ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้น
ว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อม
เสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความ
เสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนที่รักที่ชอบพอของเรา ความอาฆาตเกิด
ขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความเจริญแก่
คนที่ไม่เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา หรือความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่สมควร จิต
อาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความขุ่นเคือง
ความพล่านไป โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความคิดมุ่งร้าย ความขุ่นจิต ธรรมชาติ
ที่ประทุษร้ายใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มีลักษณะเช่นว่านี้ (และ)
ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปอง
ร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความแค้น ความดุร้าย
ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าพยาปาท-
กายคันถะ
[๑๑๔๓] สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เป็นไฉน
สมณพราหมณ์ภายนอกแต่ศาสนานี้มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วย
ศีล ด้วยพรต ด้วยศีลและพรต ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือ
ทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ
ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด
ลัทธิอันเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้
นี้เรียกว่าสีลัพพตปรามาสกายคันถะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๙๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ คันถโคจฉกะ
[๑๑๔๔] อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นไฉน
ความเห็นว่า โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ โลกไม่เที่ยง นี่แหละ
จริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ โลกมีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ โลกไม่มีที่สุด นี้
เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง อย่าง
อื่นเป็นโมฆะ ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ หลัง
จากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ หลังจากตายแล้ว
ตถาคตไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
และไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
ก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็น
ผิด ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปร
แห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทาง
ชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิอันเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดยวิปลาส
มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เว้นสีลัพพตปรามาส-
กายคันถะแล้ว มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่าอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นคันถะ
[๑๑๔๕] สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน
เว้นคันถะเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤตที่เหลือ
ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์
ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ไม่เป็นคันถะ
๒. คันถนิยทุกะ
[๑๑๔๖] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ
เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของคันถะ
[๑๑๔๗] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๙๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ คันถโคจฉกะ
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ
๓. คันถสัมปยุตตทุกะ
[๑๑๔๘] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะเหล่านั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณ-
ขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยคันถะ
[๑๑๔๙] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะเหล่านั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากคันถะ
๔. คันถคันถนิยทุกะ
[๑๑๕๐] สภาวธรรมที่เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน
คันถะเหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ
[๑๑๕๑] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน
เว้นคันถะเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของคันถะ คือ สภาวธรรมที่
เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ เป็นกามาวจร
รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ
๕. คันถคันถสัมปยุตตทุกะ
[๑๑๕๒] สภาวธรรมที่เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ เป็นไฉน
สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะเพราะ
อภิชฌากายคันถะ อภิชฌากายคันถะ เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะเพราะ
สีลัพพตปรามาสกายคันถะ อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นคันถะและสัมปยุตด้วย
คันถะเพราะอภิชฌากายคันถะ อภิชฌากายคันถะ เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ
เพราะอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นคันถะและสัมปยุต
ด้วยคันถะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๙๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ โยคโคจฉกะ
[๑๑๕๓] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสภาวธรรมที่เป็นคันถะเหล่านั้น เว้นคันถะเหล่านั้น
แล้ว สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ
๖. คันถวิปปยุตตคันถนิยทุกะ
[๑๑๕๔] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะเหล่านั้น คือ สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล
และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร
ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากคันถะแต่เป็น
อารมณ์ของคันถะ
[๑๑๕๕] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็น
ไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ
คันถโคจฉกะ จบ
๖. โอฆโคจฉกะ
๑. โอฆทุกะ
[๑๑๕๖] สภาวธรรมที่เป็นโอฆะ เป็นไฉน ฯลฯ
โอฆโคจฉกะ จบ
๗. โยคโคจฉกะ
๑. โยคทุกะ
[๑๑๕๗] สภาวธรรมที่เป็นโยคะ เป็นไฉน ฯลฯ
โยคโคจฉกะ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๙๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ นีวรณโคจฉกะ
๘. นีวรณโคจฉกะ
๑. นีวรณทุกะ
[๑๑๕๘] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน
นิวรณ์ ๖ คือ

๑. กามฉันทนิวรณ์ ๒. พยาปาทนิวรณ์
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ ๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ ๖. อวิชชานิวรณ์

[๑๑๕๙] บรรดานิวรณ์ ๖ เหล่านั้น กามฉันทนิวรณ์ เป็นไฉน
ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลิดเพลินในกาม ตัณหาใน
กาม สิเนหาในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความหลงใหลในกาม ความหมกมุ่น
ในกาม ในกามทั้งหลาย นี้เรียกว่ากามฉันทนิวรณ์
[๑๑๖๐] พยาปาทนิวรณ์ เป็นไฉน
ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิด
ขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำความ
เสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำ
ความเสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนที่รักที่ชอบพอของเรา ความ
อาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความ
เจริญแก่คนที่ไม่เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา หรือความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่
สมควร จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง
ความขุ่นเคือง ความที่จิตพล่านไป โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความคิดมุ่งร้าย
ความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มี
ลักษณะเช่นว่านี้ (และ) ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิด
ประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพิโรธ
ความแค้น ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต มีลักษณะเช่น
ว่านี้ นี้เรียกว่าพยาปาทนิวรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๙๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ นีวรณโคจฉกะ
[๑๑๖๑] ถีนมิทธนิวรณ์ เป็นไฉน
ถีนมิทธนิวรณ์นั้นแยกเป็นถีนะอย่างหนึ่ง เป็นมิทธะอย่างหนึ่ง
[๑๑๖๒] บรรดา ๒ อย่างนั้น ถีนะ เป็นไฉน
ความหดหู่ ความไม่ควรแก่การงาน ความท้อแท้ ความถ้อถอยแห่งใจ ความ
ย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน ภาวะที่ย่อหย่อน ความถดถอย กิริยาที่ถดถอย ภาวะ
ที่ถดถอยแห่งใจ นี้เรียกว่าถีนะ
[๑๑๖๓] มิทธะ เป็นไฉน
ความไม่สะดวกกาย ความไม่ควรแก่การงาน ความหงอยเหงา ความซบเซา
แห่งกาย ความหาวนอน ความง่วงซึม ความหลับ ความโงกง่วง ความอยากหลับ
กิริยาที่อยากหลับ ภาวะที่อยากหลับ นี้เรียกว่ามิทธะ ถีนะและมิทธะดังว่านี้รวม
เรียกว่าถีนมิทธนิวรณ์
[๑๑๖๔] อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ เป็นไฉน
อุทธัจจกุกกุจจะนั้นแยกเป็นอุทธัจจะอย่างหนึ่ง เป็นกุกกุจจะอย่างหนึ่ง
[๑๑๖๕] บรรดา ๒ อย่างนั้น อุทธัจจะ เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความซัดส่ายแห่งจิต ภาวะที่จิต
พล่านไป นี้เรียกว่าอุทธัจจะ๑
[๑๑๖๖] กุกกุจจะ เป็นไฉน
ความสำคัญว่าควรในสิ่งที่ไม่ควร ไม่ควรในสิ่งที่ควร มีโทษในสิ่งที่ไม่มีโทษ ไม่
มีโทษในสิ่งที่มีโทษ ความรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ภาวะที่รำคาญ ความเดือดร้อนใจ
ความยุ่งใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่ากุกกุจจะ๑ อุทธัจจะและกุกกุจจะดังว่านี้รวม
เรียกว่าอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
[๑๑๖๗] วิจิกิจฉานิวรณ์ เป็นไฉน
ปุถุชนย่อมเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา
ในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุปบาทว่า

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๕๕๒/๓๐๗,๙๒๘/๔๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๙๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ นีวรณโคจฉกะ
เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ภาวะ
ที่เคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่าง ๆ ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสอง
ทาง ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะยึดถือโดยส่วน
เดียวได้ ความคิดส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงยึดถือเป็นยุติ
ได้ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าวิจิกิจฉานิวรณ์
[๑๑๖๘] อวิชชานิวรณ์ เป็นไฉน
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ใน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้
ในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความ
ไม่รู้ตามความเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ยึดถือโดยถูกต้อง ความไม่
สามารถหยั่งลงถือเป็นข้อยุติได้ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้
ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง
ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐาน
คืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าอวิชชานิวรณ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นนิวรณ์
[๑๑๖๙] สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน
เว้นนิวรณ์เหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤตที่เหลือ
ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนา-
ขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าไม่เป็นนิวรณ์
๒. นีวรณิยทุกะ
[๑๑๗๐] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของนิวรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๙๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ นีวรณโคจฉกะ
[๑๑๗๑] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
๓. นีวรณสัมปยุตตทุกะ
[๑๑๗๒] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยนิวรณ์
[๑๑๗๓] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูป
ทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากนิวรณ์
๔. นีวรณนีวรณิยทุกะ
[๑๑๗๔] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน
นิวรณ์เหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์
[๑๑๗๕] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน
เว้นนิวรณ์เหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์
คือ สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ
เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์
๕. นีวรณนีวรณสัมปยุตตทุกะ
[๑๑๗๖] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ เป็นไฉน
กามฉันทนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอวิชชานิวรณ์ อวิชชา-
นิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะกามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์เป็น
นิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์และ
สัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะพยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๙๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ นีวรณโคจฉกะ
นิวรณ์เพราะอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะ
ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอวิชชานิวรณ์
อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอุทธัจจนิวรณ์ กุกกุจจนิวรณ์
เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์และ
สัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วย
นิวรณ์เพราะอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะ
วิจิกิจฉานิวรณ์ กามฉันทนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอุทธัจจ-
นิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะกามฉันทนิวรณ์
พยาปาทนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์
เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะพยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์เป็นนิวรณ์
และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุต
ด้วยนิวรณ์เพราะถีนมิทธนิวรณ์ กุกกุจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์
เพราะอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะ
กุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอุทธัจจนิวรณ์
อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะวิจิกิจฉานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์
เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์และ
สัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอวิชชานิวรณ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นนิวรณ์และ
สัมปยุตด้วยนิวรณ์
[๑๑๗๗] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์เหล่านั้น เว้นสภาวธรรมเหล่านั้นแล้ว ได้แก่
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่
เป็นนิวรณ์
๖. นีวรณวิปปยุตตนีวรณิยทุกะ
[๑๑๗๘] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์เหล่านั้น คือ สภาวธรรมที่เป็นกุศลและ
อัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๐๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ ปรามาสโคจฉกะ
รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็น
อารมณ์ของนิวรณ์
[๑๑๗๙] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
นีวรณโคจฉกะ จบ
๙. ปรามาสโคจฉกะ
๑. ปรามาสทุกะ
[๑๑๘๐] สภาวธรรมที่เป็นปรามาส เป็นไฉน
คือ ทิฏฐิปรามาส
[๑๑๘๑] ทิฏฐิปรามาส เป็นไฉน
ความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระ
เป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ ดังนี้ ทิฏฐิ ความ
เห็นผิด ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความ
ผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือ
ผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดย
วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าทิฏฐิปรามาส มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่า
ทิฏฐิปรามาส
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นปรามาส
[๑๑๘๒] สภาวธรรมที่ไม่เป็นปรามาส เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๐๑ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น