Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๔-๖ หน้า ๒๑๖ - ๒๕๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔-๖ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๑ ธัมมสังคนี



พระอภิธรรมปิฎก
ธัมมสังคณี
_________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส อินทริยะทุกะ
[๗๑๑] รูปที่ไม่เป็นจักขุนทรีย์ นั้นเป็นไฉน
โสตายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นจักขุนทรีย์
[๗๑๒] รูปที่เป็นโสตินทรีย์ ฯลฯ เป็นฆานินทรีย์ ฯลฯ เป็นชิวหินทรีย์
ฯลฯ เป็นกายินทรีย์ ฯลฯ นั้นเป็นไฉน
กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปนี้
ชื่อว่าเป็นกายินทรีย์
[๗๑๓] รูปที่ไม่เป็นกายินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายินทรีย์
[๗๑๔] รูปที่เป็นอิตถินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายประจำเพศหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพ
หญิง ภาวะหญิง ของสตรี รูปนี้ชื่อว่าเป็นอิตถินทรีย์
[๗๑๕] รูปที่ไม่เป็นอิตถินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอิตถินทรีย์
[๗๑๖] รูปที่เป็นปุริสินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
ทรวดทรงชาย เครื่องหมายประจำเพศชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพ
ชาย ภาวะชาย ของบุรุษ รูปนี้ชื่อว่าเป็นปุริสินทรีย์
[๗๑๗] รูปที่ไม่เป็นปุริสินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นปุริสินทรีย์
[๗๑๘] รูปที่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน
ความดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่เป็นรูปเหล่านั้น
รูปนี้ชื่อว่าเป็นชีวิตินทรีย์
[๗๑๙] รูปที่ไม่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นชีวิตินทรีย์
อินทริยทุกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๑๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส สุขุมรูปทุกะ
สุขุมรูปทุกะ
[๗๒๐] รูปที่เป็นกายวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
ความเข้มแข็ง กิริยาที่เข้มแข็งด้วยดี ภาวะที่เข้มแข็งด้วยดี การแสดงให้รู้ความ
หมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่แสดงให้รู้ความหมายแห่งกายของ
บุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล มีจิตเป็นอกุศล มีจิตเป็นอัพยากฤต ก้าวไปอยู่ ถอยกลับอยู่
แลดูอยู่ เหลียวดูอยู่ คู้เข้าอยู่ หรือเหยียดออกอยู่ รูปนี้ชื่อว่าเป็นกายวิญญัติ
[๗๒๑] รูปที่ไม่เป็นกายวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายวิญญัติ
[๗๒๒] รูปที่เป็นวจีวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
การพูด การเปล่งวาจา การเจรจา การกล่าว การป่าวร้อง การโฆษณา
วาจา วจีเภท แห่งบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล มีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากฤต
นี้เรียกว่า วาจา การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่
แสดงให้รู้ความหมายด้วยวาจานั้น รูปนี้ชื่อว่าเป็นวจีวิญญัติ
[๗๒๓] รูปที่ไม่เป็นวจีวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นวจีวิญญัติ
[๗๒๔] รูปที่เป็นอากาสธาตุ นั้นเป็นไฉน
อากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความว่าง
เปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่างซึ่งมหาภูตรูป ๔ ถูกต้องไม่ได้ รูปนี้ชื่อว่า
เป็นอากาสธาตุ๑
[๗๒๕] รูปที่ไม่เป็นอากาสธาตุ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอากาสธาตุ
[๗๒๖] รูปที่เป็นอาโปธาตุ นั้นเป็นไฉน
ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว
ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นอาโปธาตุ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๖๑๗๗/๙๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๑๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส สุขุมรูปทุกะ
[๗๒๗] รูปที่ไม่เป็นอาโปธาตุ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอาโปธาตุ
[๗๒๘] รูปที่เป็นลหุตารูป นั้นเป็นไฉน
ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนักแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่า
เป็นลหุตารูป
[๗๒๙] รูปที่ไม่เป็นลหุตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นลหุตารูป
[๗๓๐] รูปที่เป็นมุทุตารูป นั้นเป็นไฉน
ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้างแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่า
เป็นมุทุตารูป
[๗๓๑] รูปที่ไม่เป็นมุทุตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นมุทุตารูป
[๗๓๒] รูปที่เป็นกัมมัญญตารูป นั้นเป็นไฉน
ความควรแก่การงาน กิริยาที่ควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่ง
รูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นกัมมัญญตารูป
[๗๓๓] รูปที่ไม่เป็นกัมมัญญตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นกัมมัญญตารูป
[๗๓๔] รูปที่เป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน
ความแรกเกิดแห่งอายตนะ นั้นเป็นความเกิดขึ้นแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่า
เป็นอุปจยรูป
[๗๓๕] รูปที่ไม่เป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปจยรูป
[๗๓๖] รูปที่เป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน
ความเจริญแห่งรูป นั้นเป็นความสืบต่อแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นสันตติรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๑๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส สุขุมรูปทุกะ
[๗๓๗] รูปที่ไม่เป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นสันตติรูป
[๗๓๘] รูปที่เป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน
ความชรา ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว
ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์แห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นชรตารูป
[๗๓๙] รูปที่ไม่เป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นชรตารูป
[๗๔๐] รูปที่เป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน
ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง ความ
อันตรธานแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นอนิจจตารูป
[๗๔๑] รูปที่ไม่เป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอนิจจตารูป
[๗๔๒] รูปที่เป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน
ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ นมสด เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง
น้ำอ้อย หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ที่พึงกินทางปากขบเคี้ยว กลืนกิน อิ่มท้อง ซึ่งมี
โอชาเป็นเหตุให้สัตว์ในสถานที่นั้น ๆ ดำรงชีพอยู่ได้ รูปนี้ชื่อว่าเป็นกวฬิงการาหาร
[๗๔๓] รูปที่ไม่เป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ อนิจจตารูป รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นกวฬิงการาหาร
สุขุมรูปทุกะ จบ
รวมรูปหมวดละ ๒ อย่างนี้
ทุกนิทเทส จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๑๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส ปกิณณกติกะ
ติกนิทเทส
ปกิณณกติกะ
อัชฌัตติกอุปาทาติกะ
[๗๔๔] รูปที่เป็นภายในเป็นอุปาทายรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นอุปาทายรูป
[๗๔๕] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอุปาทายรูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอุปาทายรูป
[๗๔๖] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอุปาทายรูป นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปาทายรูป
อัชฌัตติกอุปาทินนติกะ
[๗๔๗] รูปที่เป็นภายในเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
[๗๔๘] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ยึดถือ นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป
และกวฬิงการาหาร ที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
[๗๔๙] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือ นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป
ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๒๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส ปกิณณกติกะ
รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และ
กวฬิงการาหาร ที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
อัชฌัตติกอุปาทินนุปาทานิยติกะ
[๗๕๐] รูปที่เป็นภายในเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทาน นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[๗๕๑] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทาน นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป
และกวฬิงการาหาร ที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[๗๕๒] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป
ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ
รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และ
กวฬิงการาหาร ที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
อัชฌัตติกอนิทัสสนติกะ
[๗๕๓] รูปที่เป็นภายในเป็นรูปที่เห็นไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๒๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส ปกิณณกติกะ
[๗๕๔] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปที่เห็นได้ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเห็นได้
[๗๕๕] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปที่เห็นไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้
อัชฌัตติกสัปปฏิฆติกะ
[๗๕๖] รูปที่เป็นภายในเป็นรูปที่กระทบได้ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่ากระทบได้
[๗๕๗] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปที่กระทบได้ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่ากระทบได้
[๗๕๘] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปที่กระทบไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่ากระทบไม่ได้
อัชฌัตติกอินทริยติกะ
[๗๕๙] รูปที่เป็นภายในเป็นอินทริยรูป นั้นเป็นไฉน
จักขุนทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นอินทริยรูป
[๗๖๐] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอินทริยรูป นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอินทริย-
รูป
[๗๖๑] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอินทริยรูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอินทริยรูป
อัชฌัตติกนมหาภูตติกะ
[๗๖๒] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นมหาภูตรูป
[๗๖๓] รูปที่เป็นภายนอกเป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ อาโปธาตุ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นมหาภูตรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๒๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส ปกิณณกติกะ
[๗๖๔] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นมหาภูตรูป
อัชฌัตติกนวิญญัตติติกะ
[๗๖๕] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นวิญญัตติรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นวิญญัตติรูป
[๗๖๖] รูปที่เป็นภายนอกเป็นวิญญัตติรูป นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นวิญญัตติรูป
[๗๖๗] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นวิญญัตติรูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นวิญญัตติรูป
อัชฌัตติกนจิตตสมุฏฐานติกะ
[๗๖๘] รูปที่เป็นภายในไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
[๗๖๙] รูปที่เป็นภายนอกมีจิตเป็นสมุฏฐาน นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ หรือแม้รูปอื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ สัททายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ ลหุตารูป มุทุตารูป
กัมมัญญตารูป อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหาร ที่เกิดจากจิตมีจิตเป็นเหตุ
มีจิตเป็นสมุฏฐาน รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่ามีจิตเป็นสมุฏฐาน
[๗๗๐] รูปที่เป็นภายนอกไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น
มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ
อากาสธาตุ อาโปธาตุ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป อุปจยรูป สันตติรูป
และกวฬิงการาหาร ที่ไม่เกิดจากจิต ไม่มีจิตเป็นเหตุ ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน รูปที่เป็น
ภายนอกนี้ชื่อว่าไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๒๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส ปกิณณกติกะ
อัชฌัตติกนจิตตสหภูติกะ
[๗๗๑] รูปที่เป็นภายในไม่เกิดพร้อมกับจิต นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เกิดพร้อมกับจิต
[๗๗๒] รูปที่เป็นภายนอกเกิดพร้อมกับจิต นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเกิดพร้อมกับจิต
[๗๗๓] รูปที่เป็นภายนอกไม่เกิดพร้อมกับจิต นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เกิดพร้อมกับจิต
อัชฌัตติกนจิตตานุปริวัตติติกะ
[๗๗๔] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นไปตามจิต นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นไปตามจิต
[๗๗๕] รูปที่เป็นภายนอกเป็นไปตามจิต นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นไปตามจิต
[๗๗๖] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นไปตามจิต นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นไปตามจิต
อัชฌัตติกโอฬาริกติกะ
[๗๗๗] รูปที่เป็นภายในเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ
[๗๗๘] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ
[๗๗๙] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปละเอียด นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นรูปละเอียด
อัชฌัตติกสันติเกติกะ
[๗๘๐] รูปที่เป็นภายในเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๒๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส วัตถุติกะ
[๗๘๑] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปไกล นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นรูปไกล
[๗๘๒] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้
ปกิณณกติกะ จบ
วัตถุติกะ
พาหิรจักขุสัมผัสสัสสนวัตถุติกะ
[๗๘๓] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิด
ของจักขุสัมผัส
[๗๘๔] รูปที่เป็นภายในเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส
[๗๘๕] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน
โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิดของ
จักขุสัมผัส
พาหิรจักขุสัมผัสสชาเวทนายนวัตถุติกะ
[๗๘๖] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของเวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส
ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิด
ของจักขุวิญญาณ
[๗๘๗] รูปที่เป็นภายในเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๒๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส วัตถุติกะ
[๗๘๘] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิดของ
จักขุวิญญาณ
พาหิรโสตสัมผัสสัสสนวัตถุติกาทิติกะ
[๗๘๙] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของโสตสัมผัส ฯลฯ ของ
ฆานสัมผัส ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิด
ของกายสัมผัส
[๗๙๐] รูปที่เป็นภายในเป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน
กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส
[๗๙๑] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิดของ
กายสัมผัส
พาหิรกายสัมผัสสชาเวทนายนวัตถุติกาทิติกะ
[๗๙๒] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของเวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส
ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิด
ของกายวิญญาณ
[๗๙๓] รูปที่เป็นภายในเป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ
[๗๙๔] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิดของ
กายวิญญาณ
วัตถุติกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๒๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส อารัมมณติกะ
อารัมมณติกะ
อัชฌัตติกจักขุสัมผัสสัสสนารัมมณติกะ
[๗๙๕] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของ
จักขุสัมผัส
[๗๙๖] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส
[๗๙๗] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์
ของจักขุสัมผัส
จักขุสัมผัสสชาเวทนายนารัมมณติกาทิติกะ
[๗๙๘] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอารมณ์ของเวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ
ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของ
จักขุวิญญาณ
[๗๙๙] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ
[๘๐๐] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์
ของจักขุวิญญาณ
อัชฌัตติกโสตสัมผัสสัสสนารัมมณติกาทิติกะ
[๘๐๑] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอารมณ์ของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส
ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของ
กายสัมผัส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๒๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส อายตนติกะ
[๘๐๒] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอารมณ์ของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของกายสัมผัส
[๘๐๓] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของ
กายสัมผัส
อัชฌัตติกกายสัมผัสสชาเวทนายนารัมมณติกาทิติกะ
[๘๐๔] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอารมณ์ของเวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ
ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของ
กายวิญญาณ
[๘๐๕] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ
[๘๐๖] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของ
กายวิญญาณ
อารัมมณติกะ จบ
อายตนติกะ
พาหิรนจักขายตนติกะ
[๘๐๗] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นจักขายตนะ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นจักขายตนะ
[๘๐๘] รูปที่เป็นภายในเป็นจักขายตนะ นั้นเป็นไฉน
จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปที่เป็น
ภายในนี้ชื่อว่าเป็นจักขายตนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๒๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส อายตนติกะ
[๘๐๙] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นจักขายตนะ นั้นเป็นไฉน
โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นจักขายตนะ
พาหิรนโสตายตนติกาทิติกะ
[๘๑๐] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นโสตายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นฆานายตนะ ฯลฯ
ไม่เป็นชิวหายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นกายายตนะ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายายตนะ
[๘๑๑] รูปที่เป็นภายในเป็นกายายตนะ นั้นเป็นไฉน
กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปที่
เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นกายายตนะ
[๘๑๒] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นกายายตนะ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายายตนะ
อัชฌัตติกนรูปายตนติกะ
[๘๑๓] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นรูปายตนะ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นรูปายตนะ
[๘๑๔] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปายตนะ นั้นเป็นไฉน
รูปใด เป็นสีต่าง ๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่ารูปธาตุบ้าง รูปที่เป็น
ภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นรูปายตนะ
[๘๑๕] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นรูปายตนะ นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นรูปายตนะ
อัชฌัตติกนสัททายตนติกาทิติกะ
[๘๑๖] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นสัททายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นคันธายตนะ ฯลฯ
ไม่เป็นรสายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ
[๘๑๗] รูปที่เป็นภายนอกเป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๒๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส ธาตุติกะ
ปฐวีธาตุ ฯลฯ นี้ชื่อว่าโผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปที่เป็นภายนอกนี้ ชื่อว่าเป็น
โผฏฐัพพายตนะ
[๘๑๘] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ ชื่อว่าไม่เป็น
โผฏฐัพพายตนะ
อายตนติกะ จบ
ธาตุติกะ
พาหิรนจักขุธาตุติกะ
[๘๑๙] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นจักขุธาตุ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นจักขุธาตุ
[๘๒๐] รูปที่เป็นภายในเป็นจักขุธาตุ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นจักขุธาตุ
[๘๒๑] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นจักขุธาตุ นั้นเป็นไฉน
โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นจักขุธาตุ
พาหิรนโสตธาตุติกาทิติกะ
[๘๒๒] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นโสตธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นฆานธาตุ ฯลฯ
ไม่เป็นชิวหาธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นกายธาตุ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายธาตุ
[๘๒๓] รูปที่เป็นภายในเป็นกายธาตุ นั้นเป็นไฉน
กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นกายธาตุ
[๘๒๔] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นกายธาตุ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายธาตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๓๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส อินทริยติกะ
อัชฌัตติกนรูปธาตุติกะ
[๘๒๕] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นรูปธาตุ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นรูปธาตุ
[๘๒๖] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปธาตุ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นรูปธาตุ
[๘๒๗] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นรูปธาตุ นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นรูปธาตุ
อัชฌัตติกนสัททธาตุติกาทิติกะ
[๘๒๘] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นสัททธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นคันธธาตุ ฯลฯ ไม่
เป็นรสธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ
[๘๒๙] รูปที่เป็นภายนอกเป็นโผฏฐัพพธาตุ นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นโผฏฐัพพธาตุ
[๘๓๐] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ
ธาตุติกะ จบ
อินทริยติกะ
พาหิรนจักขุนทริยติกะ
[๘๓๑] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นจักขุนทรีย์ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นจักขุนทรีย์
[๘๓๒] รูปที่เป็นภายในเป็นจักขุนทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปที่
เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นจักขุนทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๓๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส อินทริยติกะ
[๘๓๓] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นจักขุนทรีย์ นั้นเป็นไฉน
โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นจักขุนทรีย์
พาหิรนโสตินทริยติกาทิติกะ
[๘๓๔] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นโสตินทรีย์ ฯลฯ ไม่เป็นฆานินทรีย์ ฯลฯ
ไม่เป็นชิวหินทรีย์ ฯลฯ ไม่เป็นกายินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายินทรีย์
[๘๓๕] รูปที่เป็นภายในเป็นกายินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปที่เป็น
ภายในนี้ชื่อว่าเป็นกายินทรีย์
[๘๓๖] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นกายินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายินทรีย์
อัชฌัตติกนอิตถินทริยติกะ
[๘๓๗] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอิตถินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอิตถินทรีย์
[๘๓๘] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอิตถินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายประจำเพศหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพ
หญิง ภาวะหญิงของสตรี รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอิตถินทรีย์
[๘๓๙] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอิตถินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอิตถินทรีย์
อัชฌัตติกนปุริสินทริยติกะ
[๘๔๐] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นปุริสินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นปุริสินทรีย์
[๘๔๑] รูปที่เป็นภายนอกเป็นปุริสินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
ทรวดทรงชาย เครื่องหมายประจำเพศชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพชาย
ภาวะชาย ของบุรุษ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นปุริสินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๓๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส สุขุมรูปติกะ
[๘๔๒] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นปุริสินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นปุริสินทรีย์
อัชฌัตติกนชีวิตินทริยติกะ
[๘๔๓] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นชีวิตินทรีย์
[๘๔๔] รูปที่เป็นภายนอกเป็นชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความ
ดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่เป็นรูปเหล่านั้น รูปที่
เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นชีวิตินทรีย์
[๘๔๕] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นชีวิตินทรีย์
อินทริยติกะ จบ
สุขุมรูปติกะ
อัชฌัตติกนกายวิญญัตติติกะ
[๘๔๖] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นกายวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายวิญญัติ
[๘๔๗] รูปที่เป็นภายนอกเป็นกายวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
ความเข้มแข็ง กิริยาที่เข้มแข็งด้วยดี ภาวะที่เข้มแข็งด้วยดี การแสดงให้รู้ความ
หมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่แสดงให้รู้ความหมายแห่งกายของ
บุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล มีจิตเป็นอกุศล มีจิตเป็นอัพยากฤต ก้าวไปอยู่ ถอยกลับอยู่
แลดูอยู่ เหลียวดูอยู่ คู้เข้าอยู่ หรือเหยียดออกอยู่ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็น
กายวิญญัติ
[๘๔๘] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นกายวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายวิญญัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๓๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส สุขุมรูปติกะ
อัชฌัตติกนวจีวิญญัตติติกะ
[๘๔๙] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นวจีวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นวจีวิญญัติ
[๘๕๐] รูปที่เป็นภายนอกเป็นวจีวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
การพูด การเปล่งวาจา การเจรจา การกล่าว การป่าวร้อง การโฆษณา วาจา
วจีเภท ของบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล มีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากฤต นี้เรียกว่า
วาจา การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่แสดงให้รู้
ความหมายด้วยวาจานั้น รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นวจีวิญญัติ
[๘๕๑] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นวจีวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นวจีวิญญัติ
อัชฌัตติกนอากาสธาตุติกะ
[๘๕๒] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอากาสธาตุ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอากาสธาตุ
[๘๕๓] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอากาสธาตุ นั้นเป็นไฉน
อากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความ
ว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่างซึ่งมหาภูตรูป ๔ ถูกต้องไม่ได้ รูปที่เป็น
ภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอากาสธาตุ
[๘๕๔] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอากาสธาตุ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอากาสธาตุ
อัชฌัตติกนอาโปธาตุติกะ
[๘๕๕] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอาโปธาตุ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอาโปธาตุ
[๘๕๖] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอาโปธาตุ นั้นเป็นไฉน
ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว
ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูป รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอาโปธาตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๓๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส สุขุมรูปติกะ
[๘๕๗] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอาโปธาตุ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอาโปธาตุ
อัชฌัตติกนรูปัสสลหุตาติกะ
[๘๕๘] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นลหุตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นลหุตารูป
[๘๕๙] รูปที่เป็นภายนอกเป็นลหุตารูป นั้นเป็นไฉน
ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนักแห่งรูป รูปที่เป็น
ภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นลหุตารูป
[๘๖๐] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นลหุตารูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นลหุตารูป
อัชฌัตติกนรูปัสสมุทุตาติกะ
[๘๖๑] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นมุทุตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นมุทุตารูป
[๘๖๒] รูปที่เป็นภายนอกเป็นมุทุตารูป นั้นเป็นไฉน
ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้างแห่งรูป รูปที่เป็น
ภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นมุทุตารูป
[๘๖๓] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นมุทุตารูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นมุทุตารูป
อัชฌัตติกนรูปัสสกัมมัญญตาติกะ
[๘๖๔] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นกัมมัญญตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นกัมมัญญตารูป
[๘๖๕] รูปที่เป็นภายนอกเป็นกัมมัญญตารูป นั้นเป็นไฉน
ความควรแก่การงาน กิริยาที่ควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่งรูป
รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นกัมมัญญตารูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๓๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส สุขุมรูปติกะ
[๘๖๖] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นกัมมัญญตารูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็น
กัมมัญญตารูป
อัชฌัตติกนรูปัสสอุปจยติกะ
[๘๖๗] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปจยรูป
[๘๖๘] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน
ความแรกเกิดแห่งอายตนะ เป็นความเจริญแห่งรูป รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่า
เป็นอุปจยรูป
[๘๖๙] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปจยรูป
อัชฌัตติกนรูปัสสสันตติติกะ
[๘๗๐] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นสันตติรูป
[๘๗๑] รูปที่เป็นภายนอกเป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน
ความเจริญแห่งรูป เป็นความสืบต่อแห่งรูป รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่า
เป็นสันตติรูป
[๘๗๒] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นสันตติรูป
อัชฌัตติกนรูปัสสชรตาติกะ
[๘๗๓] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นชรตารูป
[๘๗๔] รูปที่เป็นภายนอกเป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๓๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส สุขุมรูปติกะ
ความชรา ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว
ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ของรูป รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็น
ชรตารูป
[๘๗๕] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นชรตารูป
อัชฌัตติกนรูปัสสอนิจจตาติกะ
[๘๗๖] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอนิจจตารูป
[๘๗๗] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน
ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง ความ
หายไปแห่งรูป รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอนิจจตารูป
[๘๗๘] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอนิจจตารูป
อัชฌัตติกนกวฬิงการาหารติกะ
[๘๗๙] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นกวฬิงการาหาร
[๘๘๐] รูปที่เป็นภายนอกเป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน
ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน
น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ที่พึงกินทางปาก ขบเคี้ยว กลืนกิน อิ่มท้อง ซึ่ง
มีโอชาเป็นเหตุให้สัตว์ในสถานที่นั้น ๆ ดำรงชีพอยู่ได้ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็น
กวฬิงการาหาร
[๘๘๑] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ อนิจจตารูป รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นกวฬิงการาหาร
สุขุมรูปติกะ จบ
รวมรูปหมวดละ ๓ อย่างนี้
ติกนิทเทส จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๓๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
จตุกกนิทเทส
อุปาทาอุปาทินนจตุกกะ
[๘๘๒] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิยึดถือ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือ
รูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อากาสธาตุ อุปจยรูป
สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่ากรรม
อันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
[๘๘๓] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือ นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป
ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ
รสายตนะ อากาสธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่ง
ขึ้น รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
[๘๘๔] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิยึดถือ นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อ
ว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
[๘๘๕] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือ นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป
นี้ ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
อุปาทาอุปาทินนุปาทานิยจตุกกะ
[๘๘๖] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึด
ถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน นั้นเป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๓๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือ
รูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อากาสธาตุ อุปจยรูป
สันตติรูป และกวฬิงการาหาร ที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่า
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[๘๘๗] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป
ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ
รสายตนะ อากาสธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่ง
ขึ้น รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[๘๘๘] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิ
ยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปนี้
ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[๘๘๙] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป
นี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
อุปาทาสัปปฏิฆจตุกกะ
[๘๙๐] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กระทบได้ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปที่กระทบได้
[๘๙๑] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กระทบไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปที่กระทบ
ไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๓๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
[๘๙๒] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กระทบได้ นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปที่กระทบได้
[๘๙๓] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กระทบไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
อาโปธาตุ รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปที่กระทบไม่ได้
อุปาทาโอฬาริกจตุกกะ
[๘๙๔] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ
[๘๙๕] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปละเอียด นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปละเอียด
[๘๙๖] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ
[๘๙๗] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปละเอียด นั้นเป็นไฉน
อาโปธาตุ รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปละเอียด
อุปาทาทูเรจตุกกะ
[๘๙๘] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปไกล นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปไกล
[๘๙๙] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้
[๙๐๐] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปไกล นั้นเป็นไฉน
อาโปธาตุ รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปไกล
[๙๐๑] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้
อุปาทินนสนิทัสสนจตุกกะ
[๙๐๒] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นรูปที่เห็นได้
นั้นเป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๔๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
รูปายตนะที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
นี้ชื่อว่าเห็นได้
[๙๐๓] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นรูปที่เห็นไม่ได้
นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือ
รูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ
อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือนี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้
[๙๐๔] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นรูปที่เห็นได้
นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือนี้ชื่อว่าเห็นได้
[๙๐๕] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นรูปที่เห็น
ไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป
ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ คันธายตนะ รสายตนะ
โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหาร
ที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือนี้ชื่อว่า
เห็นไม่ได้
อุปาทินนสัปปฏิฆจตุกกะ
[๙๐๖] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นรูปที่กระทบได้
นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือนี้ชื่อว่ากระทบได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๔๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
[๙๐๗] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นรูปที่กระทบ
ไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ อากาสธาตุ
อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือนี้ชื่อว่ากระทบไม่ได้
[๙๐๘] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นรูปที่
กระทบได้ นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และ
โผฏฐัพพายตนะที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือนี้ชื่อว่ากระทบได้
[๙๐๙] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นรูปที่
กระทบไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป ชรตารูป และ
อนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป
และกวฬิงการาหารที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือนี้ชื่อว่ากระทบไม่ได้
อุปาทินนมหาภูตจตุกกะ
[๙๑๐] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นมหาภูตรูป
นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิยึดถือนี้ชื่อว่าเป็นมหาภูตรูป
[๙๑๑] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือไม่เป็นมหาภูตรูป
นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือ
รูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อากาสธาตุ อุปจยรูป
สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือนี้ชื่อว่าไม่เป็นมหาภูตรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๔๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
[๙๑๒] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นมหาภูตรูป
นั้น เป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือนี้ชื่อว่าเป็นมหาภูตรูป
[๙๑๓] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือไม่เป็นมหา-
ภูตรูป นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป
ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ
อากาสธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือนี้ชื่อว่าไม่เป็นมหาภูตรูป
อุปาทินนโอฬาริกจตุกกะ
[๙๑๔] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นรูปหยาบ นั้น
เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ
รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ
[๙๑๕] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นรูปละเอียด
นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ อากาสธาตุ
อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือนี้ชื่อว่าเป็นรูปละเอียด
[๙๑๖] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นรูปหยาบ
นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ
และโผฏฐัพพายตนะอันกรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๔๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
[๙๑๗] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นรูปละเอียด
นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป ชรตารูป และ
อนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป
และกวฬิงการาหารที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือนี้ชื่อว่าเป็นรูปละเอียด
อุปาทินนทูเรจตุกกะ
[๙๑๘] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นรูปไกล นั้น
เป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ อากาสธาตุ
อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือนี้ชื่อว่าเป็นรูปไกล
[๙๑๙] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นรูปใกล้ นั้น
เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้
[๙๒๐] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นรูปไกล
นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป ชรตารูป และ
อนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป
และกวฬิงการาหารที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือนี้ชื่อว่าเป็นรูปไกล
[๙๒๑] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นรูปใกล้
นั้นเป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๔๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
สัททายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และ
โผฏฐัพพายตนะที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้
อุปาทินนุปาทานิยสนิทัสสนจตุกกะ
[๙๒๒] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นรูปที่เห็นได้ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและ
เป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเห็นได้
[๙๒๓] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นรูปที่เห็นไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือ
รูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ
อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรม
อันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้
[๙๒๔] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นรูปที่เห็นได้ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเห็นได้
[๙๒๕] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นรูปที่เห็นไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป
ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ คันธายตนะ รสายตนะ
โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่
กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๔๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
อุปาทินนุปาทานิยสัปปฏิฆจตุกกะ
[๙๒๖] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นรูปที่กระทบได้ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่ากระทบได้
[๙๒๗] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นรูปที่กระทบไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ อากาสธาตุ
อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่ากระทบไม่ได้
[๙๒๘] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นรูปที่กระทบได้ นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และ
โผฏฐัพพายตนะที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่ากระทบได้
[๙๒๙] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นรูปที่กระทบไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป ชรตารูป และ
อนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป
และกวฬิงการาหารที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่ากระทบไม่ได้
อุปาทินนุปาทานิยมหาภูตจตุกกะ
[๙๓๐] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๔๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเป็นมหาภูตรูป
[๙๓๑] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน ไม่เป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือ
รูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อากาสธาตุ อุปจยรูป
สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
ทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าไม่เป็นมหาภูตรูป
[๙๓๒] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเป็นมหาภูตรูป
[๙๓๓] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป
ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ
รสายตนะ อากาสธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่ง
ขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
นี้ชื่อว่าไม่เป็นมหาภูตรูป
อุปาทินนุปาทานิยโอฬาริกจตุกกะ
[๙๓๔] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๔๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
[๙๓๕] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นรูปละเอียด นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ อากาสธาตุ
อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเป็นรูปละเอียด
[๙๓๖] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และ
โผฏฐัพพายตนะที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ
[๙๓๗] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นรูปละเอียด นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป ชรตารูป และ
อนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป
และกวฬิงการาหารที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเป็นรูปละเอียด
อุปาทินนุปาทานิยทูเรจตุกกะ
[๙๓๘] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นรูปไกล นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ อากาสธาตุ
อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเป็นรูปไกล
[๙๓๙] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๔๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
[๙๔๐] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นรูปไกล นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป ชรตารูป และ
อนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป
และกวฬิงการาหารที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเป็นรูปไกล
[๙๔๑] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และ
โผฏฐัพพายตนะที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้
สัปปฏิฆอินทริยจตุกกะ
[๙๔๒] รูปที่กระทบได้เป็นอินทริยรูป นั้นเป็นไฉน
จักขุนทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์ รูปที่กระทบได้นี้ชื่อว่าเป็นอินทริยรูป
[๙๔๓] รูปที่กระทบได้ไม่เป็นอินทริยรูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปที่กระทบได้นี้ชื่อว่าไม่เป็นอินทริยรูป
[๙๔๔] รูปที่กระทบไม่ได้เป็นอินทริยรูป นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ รูปที่กระทบไม่ได้นี้ชื่อว่าเป็นอินทริยรูป
[๙๔๕] รูปที่กระทบไม่ได้ไม่เป็นอินทริยรูป นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่กระทบไม่ได้นี้ชื่อว่าไม่เป็น
อินทริยรูป
สัปปฏิฆมหาภูตจตุกกะ
[๙๔๖] รูปที่กระทบได้เป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปที่กระทบได้นี้ชื่อว่าเป็นมหาภูตรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๔๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
[๙๔๗] รูปที่กระทบได้ไม่เป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปที่กระทบได้นี้ชื่อว่าไม่เป็นมหาภูตรูป
[๙๔๘] รูปที่กระทบไม่ได้เป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน
อาโปธาตุ รูปที่กระทบไม่ได้นี้ชื่อว่าเป็นมหาภูตรูป
[๙๔๙] รูปที่กระทบไม่ได้ไม่เป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่กระทบไม่ได้นี้ชื่อว่าไม่เป็นมหาภูตรูป
อินทริยโอฬาริกจตุกกะ
[๙๕๐] รูปที่เป็นอินทริยรูปเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน
จักขุนทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์ รูปที่เป็นอินทริยรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ
[๙๕๑] รูปที่เป็นอินทริยรูปเป็นรูปละเอียด นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ รูปที่เป็นอินทริยรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูป
ละเอียด
[๙๕๒] รูปที่ไม่เป็นอินทริยรูปเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปที่ไม่เป็นอินทริยรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ
[๙๕๓] รูปที่ไม่เป็นอินทริยรูปเป็นรูปละเอียด นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่ไม่เป็นอินทริยรูปนี้ชื่อว่า
เป็นรูปละเอียด
อินทริยทูเรจตุกกะ
[๙๕๔] รูปที่เป็นอินทริยรูปเป็นรูปไกล นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ รูปที่เป็นอินทริยรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปไกล
[๙๕๕] รูปที่เป็นอินทริยรูปเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน
จักขุนทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์ รูปที่เป็นอินทริยรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้
[๙๕๖] รูปที่ไม่เป็นอินทริยรูปเป็นรูปไกล นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่ไม่เป็นอินทริยรูปนี้ชื่อว่า
เป็นรูปไกล
[๙๕๗] รูปที่ไม่เป็นอินทริยรูปเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปที่ไม่เป็นอินทริยรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๕๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
มหาภูตโอฬาริกจตุกกะ
[๙๕๘] รูปที่เป็นมหาภูตรูปเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปที่เป็นมหาภูตรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ
[๙๕๙] รูปที่เป็นมหาภูตรูปเป็นรูปละเอียด นั้นเป็นไฉน
อาโปธาตุ รูปที่เป็นมหาภูตรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปละเอียด
[๙๖๐] รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ
[๙๖๑] รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปเป็นรูปละเอียด นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปละเอียด
มหาภูตทูเรจตุกกะ
[๙๖๒] รูปที่เป็นมหาภูตรูปเป็นรูปไกล นั้นเป็นไฉน
อาโปธาตุ รูปที่เป็นมหาภูตรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปไกล
[๙๖๓] รูปที่เป็นมหาภูตรูปเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปที่เป็นมหาภูตรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้
[๙๖๔] รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปเป็นรูปไกล นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปไกล
[๙๖๕] รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้
ทิฏฐาทิจตุกกะ
[๙๖๖] รูปที่เห็นได้คือรูปายตนะ๑ รูปที่สดับได้คือสัททายตนะ รูปที่ทราบได้คือ
คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะ รูปที่รู้แจ้งได้ด้วยใจคือรูปทั้งหมด
รวมรูปหมวดละ ๔ อย่างนี้
จตุกกนิทเทส จบ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๓๙๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๕๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ปัญจกนิทเทส
ปัญจกนิทเทส
[๙๖๗] รูปที่เป็นปฐวีธาตุ นั้นเป็นไฉน
ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็งภายในตนหรือ
ภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ หรือที่กรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ รูปนี้ชื่อว่าเป็นปฐวีธาตุ
[๙๖๘] รูปที่เป็นอาโปธาตุ นั้นเป็นไฉน
ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว
ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูปภายในตนหรือภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิยึดถือ หรือที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ รูปนี้ชื่อ
ว่าเป็นอาโปธาตุ
[๙๖๙] รูปที่เป็นเตโชธาตุ นั้นเป็นไฉน
ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติ
ที่อบอุ่นภายในตนหรือภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
หรือที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ รูปนี้ชื่อว่าเป็นเตโชธาตุ
[๙๗๐] รูปที่เป็นวาโยธาตุ นั้นเป็นไฉน
ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ธรรมชาติเครื่องค้ำจุนรูปภายในตนหรือ
ภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ หรือที่กรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ รูปนี้ชื่อว่าเป็นวาโยธาตุ
[๙๗๑] รูปที่เป็นอุปาทายรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าเป็นอุปาทายรูป
รวมรูปหมวดละ ๕ อย่างนี้
ปัญจกนิทเทส จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๕๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ อัฏฐกนิทเทส
ฉักกนิทเทส
[๙๗๒] รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้คือรูปายตนะ รูปที่โสตวิญญาณรู้ได้คือสัททายตนะ
รูปที่ฆานวิญญาณรู้ได้คือคันธายตนะ รูปที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้คือรสายตนะ รูปที่
กายวิญญาณรู้ได้คือโผฏฐัพพายตนะ รูปที่มโนวิญญาณรู้ได้คือรูปทั้งหมด
รวมรูปหมวดละ ๖ อย่างนี้
ฉักกนิทเทส จบ
สัตตกนิทเทส
[๙๗๓] รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้คือรูปายตนะ รูปที่โสตวิญญาณรู้ได้คือสัททายตนะ
รูปที่ฆานวิญญาณรู้ได้คือคันธายตนะ รูปที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้คือรสายตนะ รูปที่
กายวิญญาณรู้ได้คือโผฏฐัพพายตนะ รูปที่มโนธาตุรู้ได้คือรูปายตนะ สัททายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะ รูปที่มโนวิญญาณธาตุรู้ได้คือรูปทั้งหมด
รวมรูปหมวดละ ๗ อย่างนี้
สัตตกนิทเทส จบ
อัฏฐกนิทเทส
[๙๗๔] รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้คือรูปายตนะ รูปที่โสตวิญญาณรู้ได้คือสัททายตนะ
รูปที่ฆานวิญญาณรู้ได้คือคันธายตนะ รูปที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้คือรสายตนะ รูปที่
กายวิญญาณรู้ได้คือโผฏฐัพพะที่น่าชอบใจซึ่งมีสัมผัสเป็นสุข รูปที่กายวิญญาณรู้ได้
คือโผฏฐัพพะที่ไม่น่าชอบใจซึ่งมีสัมผัสเป็นทุกข์ รูปที่มโนธาตุรู้ได้คือรูปายตนะ
สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะ รูปที่มโนวิญญาณธาตุรู้ได้
คือรูปทั้งหมด
รวมรูปหมวดละ ๘ อย่างนี้
อัฏฐกนิทเทส จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๕๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทสกนิเทส
นวกนิทเทส
[๙๗๕] รูปที่เป็นจักขุนทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปนี้
ชื่อว่าเป็นจักขุนทรีย์
[๙๗๖] รูปที่เป็นโสตินทรีย์ ฯลฯ เป็นฆานินทรีย์ ฯลฯ เป็นชิวหินทรีย์
ฯลฯ เป็นกายินทรีย์ ฯลฯ เป็นอิตถินทรีย์ ฯลฯ เป็นปุริสินทรีย์ ฯลฯ เป็น
ชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความ
ดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่เป็นรูปเหล่านั้น รูปนี้
ชื่อว่าเป็นชีวิตินทรีย์
[๙๗๗] รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอินทรีย์
รวมรูปหมวดละ ๙ อย่างนี้
นวกนิทเทส จบ
ทสกนิทเทส
[๙๗๘] รูปที่เป็นจักขุนทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูป
นี้ชื่อว่าเป็นจักขุนทรีย์
[๙๗๙] รูปที่เป็นโสตินทรีย์ ฯลฯ เป็นฆานินทรีย์ ฯลฯ เป็นชิวหินทรีย์
ฯลฯ เป็นกายินทรีย์ ฯลฯ เป็นอิตถินทรีย์ ฯลฯ เป็นปุริสินทรีย์ ฯลฯ
เป็นชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน
ความดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่เป็นรูปเหล่านั้น
รูปนี้ชื่อว่าเป็นชีวิตินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๕๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ เอกาทสกนิทเทส
[๙๘๐] รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ที่กระทบได้ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์นี้ชื่อว่ากระทบได้
[๙๘๑] รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ที่กระทบไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์นี้ชื่อว่ากระทบไม่ได้
รวมรูปหมวดละ ๑๐ อย่างนี้
ทสกนิทเทส จบ
เอกาทสกนิทเทส
[๙๘๒] รูปที่เป็นจักขายตนะ นั้นเป็นไฉน
จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปนี้
ชื่อว่าเป็นจักขายตนะ
[๙๘๓] รูปที่เป็นโสตายตนะ ฯลฯ เป็นฆานายตนะ ฯลฯ เป็นชิวหายตนะ
ฯลฯ เป็นกายายตนะ ฯลฯ เป็นรูปายตนะ ฯลฯ เป็นสัททายตนะ ฯลฯ เป็น
คันธายตนะ ฯลฯ เป็นรสายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน
ปฐวีธาตุ ฯลฯ โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นโผฏฐัพพายตนะ
[๙๘๔] รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ นั้นเป็น
ไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้นี้ชื่อว่านับเนื่อง
ในธัมมายตนะ
รวมรูปหมวดละ ๑๑ อย่างนี้
เอกาทสกนิทเทส จบ
ภาณวารที่ ๘ จบ
รูปวิภัตติ จบ
รูปกัณฑ์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๕๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
๓. นิกเขปกัณฑ์
ติกนิกเขปะ
๑. กุสลติกะ
[๙๘๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้น และกายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม ที่มีกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๙๘๖] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศล
มูลนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุต
ด้วยอกุศลมูลนั้น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
[๙๘๗] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร
อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบาก
แห่งกรรม รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง๑ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
๒. เวทนาติกะ
[๙๘๘] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาขันธ์นั้น
เว้นสุขเวทนาในกามาวจร รูปาวจร และในจิตที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ อันเป็นที่เกิด
แห่งสุขเวทนาแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยสุขเวทนา

เชิงอรรถ :
๑ อสงฺขตา จ ธาตุ (ที.สี.อ. ๒๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๕๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
[๙๘๙] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นไฉน
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนานั้น เว้น
ทุกขเวทนาในกามาวจรอันเป็นที่เกิดแห่งทุกขเวทนาแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
[๙๙๐] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นไฉน
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนานั้น
เว้นอทุกขมสุขเวทนาในกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และในจิตที่ไม่นับเนื่องใน
วัฏฏทุกข์ อันเป็นที่เกิดแห่งอทุกขมสุขเวทนาแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุต
ด้วยอทุกขมสุขเวทนา
๓. วิปากติกะ
[๙๙๑] สภาวธรรมที่เป็นวิบาก๑เป็นไฉน
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร
อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นวิบาก๑
[๙๙๒] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และ
ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุให้เกิดวิบาก
[๙๙๓] สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรม รูป
ทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นวิบากและไม่เป็น
เหตุให้เกิดวิบาก
๔. อุปาทินนติกะ
[๙๙๔] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๘๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๕๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และรูปที่
กรรมปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทาน๑
[๙๙๕] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร
รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมที่เป็น
กิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรม และรูปที่กรรมไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน
[๙๙๖] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน
๕. สังกิลิฏฐติกะ
[๙๙๗] สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลส
เป็นไฉน
อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศล
มูลนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น กายกรรม
วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลส๑
[๙๙๘] สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส
เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๙๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๕๘ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น