Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๔-๘ หน้า ๓๐๒ - ๓๔๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔-๘ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๑ ธัมมสังคนี



พระอภิธรรมปิฎก
ธัมมสังคณี
_________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ ปรามาสโคจฉกะ
เว้นสภาวธรรมที่เป็นปรามาสเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ
อัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมดและธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นปรามาส
๒. ปรามัฏฐทุกะ
[๑๑๘๓] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ
เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของปรามาส
[๑๑๘๔] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส
๓. ปรามาสสัมปยุตตทุกะ
[๑๑๘๕] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยปรามาส เป็นไฉน
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสภาวธรรมที่เป็นปรามาสเหล่านั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์
ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยปรามาส
[๑๑๘๖] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาส เป็นไฉน
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นปรามาสเหล่านั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์
ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าวิปปยุตจากปรามาส
๔. ปรามาสปรามัฏฐทุกะ
[๑๑๘๗] สภาวธรรมที่เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นไฉน
ปรามาสนั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส
[๑๑๘๘] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาส เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๐๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ มหันตรทุกะ
เว้นสภาวธรรมที่เป็นปรามาสเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ
อัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร
ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของปรามาส
แต่ไม่เป็นปรามาส
๕. ปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐทุกะ
[๑๑๘๙] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาส
เป็นไฉน
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาสเหล่านั้น คือ สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล
และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร
ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากปรามาส
แต่เป็นอารมณ์ของปรามาส
[๑๑๙๐] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส
เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส
ปรามาสโคจฉกะ จบ
๑๐. มหันตรทุกะ
๑. สารัมมณทุกะ
[๑๑๙๑] สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่ารับรู้อารมณ์ได้
[๑๑๙๒] สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นไฉน
รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ารับรู้อารมณ์
ไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๐๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ มหันตรทุกะ
๒. จิตตทุกะ
[๑๑๙๓] สภาวธรรมที่เป็นจิต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นจิต
[๑๑๙๔] สภาวธรรมที่ไม่เป็นจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นจิต
๓. เจตสิกทุกะ
[๑๑๙๕] สภาวธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเจตสิก
[๑๑๙๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิก เป็นไฉน
จิต รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ไม่เป็นเจตสิก
๔. จิตตสัมปยุตตทุกะ
[๑๑๙๗] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุต
ด้วยจิต
[๑๑๙๘] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิต เป็นไฉน
รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจาก
จิต จิตไม่พึงกล่าวว่าสัมปยุตด้วยจิต หรือวิปปยุตจากจิต
๕. จิตตสังสัฏฐทุกะ
[๑๑๙๙] สภาวธรรมที่ระคนกับจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าระคนกับจิต
[๑๒๐๐] สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิต เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๐๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ มหันตรทุกะ
รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ระคน
กับจิต จิตไม่พึงกล่าวว่า ระคนกับจิต หรือไม่ระคนกับจิต
๖. จิตตสมุฏฐานทุกะ
[๑๒๐๑] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ หรือรูปแม้
อื่นใดที่เกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน ได้แก่ รูปายตนะ สัททายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ ลหุตารูป มุทุตารูป
กัมมัญญตารูป อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
มีจิตเป็นสมุฏฐาน
[๑๒๐๒] สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน
จิต รูปที่เหลือ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีจิต
เป็นสมุฏฐาน
๗. จิตตสหภูทุกะ
[๑๒๐๓] สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเกิดพร้อมกับจิต
[๑๒๐๔] สภาวธรรมที่ไม่เกิดพร้อมกับจิต เป็นไฉน
จิต รูปที่เหลือ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เกิด
พร้อมกับจิต
๘. จิตตานุปริวัตติทุกะ
[๑๒๐๕] สภาวธรรมที่เป็นไปตามจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นไปตามจิต
[๑๒๐๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นไปตามจิต เป็นไฉน
จิต รูปที่เหลือ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นไป
ตามจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๐๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ มหันตรทุกะ
๙. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานทุกะ
[๑๒๐๗] สภาวธรรมที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าระคนกับจิต
และมีจิตเป็นสมุฏฐาน
[๑๒๐๘] สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน
จิต รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ระคน
กับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน
๑๐. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูทุกะ
[๑๒๐๙] สภาวธรรมที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าระคนกับจิต
มีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
[๑๒๑๐] สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
เป็นไฉน
จิต รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ระคน
กับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
๑๑. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติทุกะ
[๑๒๑๑] สภาวธรรมที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต
เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าระคนกับจิต
มีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต
[๑๒๑๒] สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต
เป็นไฉน
จิต รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ระคน
กับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๐๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ มหันตรทุกะ
๑๒. อัชฌัตติกทุกะ
[๑๒๑๓] สภาวธรรมที่เป็นภายใน เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นภายใน
[๑๒๑๔] สภาวธรรมที่เป็นภายนอก เป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ ธัมมายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นภายนอก
๑๓. อุปาทาทุกะ
[๑๒๑๕] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูป เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอุปาทายรูป
[๑๒๑๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูป เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ มหาภูตรูป ๔ และธาตุที่
ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปาทายรูป
๑๔. อุปาทินนทุกะ
[๑๒๑๗] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ เป็นไฉน
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศล และอกุศล ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และรูป
อันกรรมปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ยึดถือ
[๑๒๑๘] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็น
ไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร
รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมที่เป็น
กิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม รูปอันกรรมไม่ปรุงแต่ง
มรรค ผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
มหันตรทุกะ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๐๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ อุปาทานโคจฉกะ
๑๑. อุปาทานโคจฉกะ
๑. อุปาทานทุกะ
[๑๒๑๙] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน
อุปาทาน ๔ คือ
๑. กามุปาทาน
๒. ทิฏฐุปาทาน
๓. สีลัพพตุปาทาน
๔. อัตตวาทุปาทาน๑
[๑๒๒๐] บรรดาอุปาทาน ๔ นั้น กามุปาทาน เป็นไฉน
ความยึดมั่นในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลิดเพลินในกาม ตัณหา
ในกาม สิเนหาในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความหลงใหลในกาม ความ
หมกมุ่นในกาม ในกามทั้งหลาย นี้เรียกว่ากามุปาทาน
[๑๒๒๑] ทิฏฐุปาทาน เป็นไฉน
ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล
ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วก็ไม่มี ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกหน้า มารดาไม่มีคุณ บิดา
ไม่มีคุณ สัตว์ที่เกิดผุดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้
และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ
ความเห็นผิด ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ
ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือผิด ความยึดมั่น ความตั้งมั่น
ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิอันเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความ
ยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าทิฏฐุปาทาน เว้นสีลัพพตุปาทาน
และอัตตวาทุปาทานแล้ว มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่าทิฏฐุปาทาน
[๑๒๒๒] สีลัพพตุปาทาน เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. ๑๑/๓๑๒/๒๐๕, ม.มู. ๑๒/๒๔๒/๒๐๕, สํ.นิ. ๑๖/๒/๓, สํ.ม. ๑๙/๑๗๔/๕๕, อภิ.วิ. ๓๕/๙๓๘/๔๕๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๐๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ อุปาทานโคจฉกะ
สมณพราหมณ์ภายนอกแต่ศาสนานี้มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วย
ศีล ด้วยพรต ด้วยศีลและพรต ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือ
ทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ
ความยึดถือผิด ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด
ลัทธิอันเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้
เรียกว่าสีลัพพตุปาทาน
[๑๒๒๓] อัตตวาทุปาทาน เป็นไฉน
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการฝึกฝนในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ
สัตบุรุษ ไม่ได้รับการฝึกฝนในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมพิจารณาเห็นรูปเป็นตน หรือ
เห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน หรือเห็นตนในรูป เห็นเวทนาเป็นตนหรือเห็นตนมีเวทนา
เห็นเวทนาในตน หรือเห็นตนในเวทนา เห็นสัญญาเป็นตน หรือเห็นตนมีสัญญา
เห็นสัญญาในตน หรือเห็นตนในสัญญา เห็นสังขารเป็นตนหรือเห็นตนมีสังขาร เห็น
สังขารในตนหรือเห็นตนในสังขาร เห็นวิญญาณเป็นตนหรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็น
วิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดาร
คือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือ
ทิฏฐิ ความยึดถือผิด ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะ
ที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้
นี้เรียกว่าอัตตวาทุปาทาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอุปาทาน
[๑๒๒๔] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่เป็นอุปาทานแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ
อัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏ-
ทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปาทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๐๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ อุปาทานโคจฉกะ
๒. อุปาทานิยทุกะ
[๑๒๒๕] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ
เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[๑๒๒๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
๓. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ
[๑๒๒๗] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทาน เป็นไฉน
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสภาวธรรมที่เป็นอุปาทาน ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุปาทาน
[๑๒๒๘] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทาน เป็นไฉน
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเหล่านั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณ-
ขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจาก
อุปาทาน
๔. อุปาทานอุปาทานิยทุกะ
[๑๒๒๙] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็น
ไฉน
อุปาทานนั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[๑๒๓๐] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน เป็น
ไฉน
เว้นสภาวธรรมที่เป็นอุปาทานเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ
อัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่
รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่
เป็นอุปาทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๑๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ อุปาทานโคจฉกะ
๕. อุปาทานอุปาทานสัมปยุตตทุกะ
[๑๒๓๑] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน เป็นไฉน
ทิฏฐุปาทานเป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทานเพราะกามุปาทาน กามุ-
ปาทานเป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทานเพราะทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน
เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทานเพราะกามุปาทาน กามุปาทานเป็นอุปาทาน
และสัมปยุตด้วยอุปาทานเพราะสีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทานเป็นอุปาทานและ
สัมปยุตด้วยอุปาทานเพราะกามุปาทาน กามุปาทานเป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วย
อุปาทานเพราะอัตตวาทุปาทาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอุปาทานและสัมปยุต
ด้วยอุปาทาน
[๑๒๓๒] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่เป็นอุปาทานเหล่านั้นแล้ว ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณ-
ขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน
๖. อุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยทุกะ
[๑๒๓๓] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
เป็นไฉน
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเหล่านั้น คือ สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล
และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร
ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากอุปาทานแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[๑๒๓๔] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
อุปาทานโคจฉกะ จบ
ทุติยภาณวารในนิกเขปกัณฑ์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๑๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ กิเลสโคจฉกะ
๑๒. กิเลสโคจฉกะ
๑. กิเลสทุกะ
[๑๒๓๕] สภาวธรรมที่เป็นกิเลส เป็นไฉน
กิเลสวัตถุ ๑๐ คือ

๑. โลภะ ๒. โทสะ
๓. โมหะ ๔. มานะ
๕. ทิฏฐิ ๖. วิจิกิจฉา
๗. ถีนะ ๘. อุทธัจจะ
๙. อหิริกะ ๑๐. อโนตตัปปะ

[๑๒๓๖] บรรดากิเลสวัตถุ ๑๐ นั้น โลภะ เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความ
เพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต
ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ ความข้องอยู่ ความ
จมอยู่ ธรรมชาติที่คร่าไป ธรรมชาติที่หลอกลวง ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิด
ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติที่ร้อยรัด ธรรมชาติที่มีข่าย ธรรมชาติที่
กำซาบใจธรรมชาติที่ซ่านไป ธรรมชาติเหมือนเส้นด้าย ธรรมชาติที่แผ่ไป ธรรมชาติ
ที่ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง ปณิธาน ธรรมชาติที่นำไปสู่ภพ ตัณหา
เหมือนป่า ตัณหาเหมือนดง ความเกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน
ความหวัง กิริยาที่หวัง ภาวะที่หวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น
ความหวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร
ความหวังชีวิต ธรรมชาติที่กระซิบ ธรรมชาติที่กระซิบทั่ว ธรรมชาติที่กระซิบยิ่ง
ความกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ภาวะที่กระซิบ ความโลภ กิริยาที่โลภ ภาวะที่โลภ
ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ความใคร่ในอารมณ์ดี ๆ ความกำหนัดในธรรมที่ไม่ควร
ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา ความกระหยิ่มใจ
ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา รูปตัณหา อรูปตัณหา
นิโรธตัณหา (คือราคะที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ) รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๑๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ กิเลสโคจฉกะ
รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์
เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือนเถาวัลย์ ความ
ปรารถนาวัตถุมีอย่างต่าง ๆ มูลเหตุแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วง
แห่งมาร เบ็ดแห่งมาร วิสัยแห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหา
เหมือนเชือก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ นี้เรียกว่าโลภะ๑
[๑๒๓๗] โทสะ เป็นไฉน
ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิด
ขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำความ
เสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำ
ความเสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนที่รักที่ชอบพอของเรา ความ
อาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความ
เจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา หรือความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่
สมควร จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง
ความขุ่นเคือง ความที่จิตพล่านไป โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความคิดมุ่งร้าย ความ
ขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มีลักษณะ
เช่นว่านี้ (และ) ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย
ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความแค้น
ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า
โทสะ๑
[๑๒๓๘] โมหะ เป็นไฉน
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ใน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้
ในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้
ตามความเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ยึดถือโดยถูกต้อง ความไม่หยั่งลง

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๙๐๙/๔๔๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๑๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ กิเลสโคจฉกะ
ถือเป็นข้อยุติได้ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความทราม
ปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความหลุ่มหลง ความหลงใหล
อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่ม
คืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าโมหะ๑
[๑๒๓๙] มานะ เป็นไฉน
ความถือตัวว่า เราดีกว่าเขา เราเสมอกับเขา เราเลวกว่าเขา๒ ความถือตัว
กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความยกตน ความเทิดตน ความเชิดชูตนดุจธง ความ
ยกจิตขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่ามานะ๓
[๑๒๔๐] ทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็น
อย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด
ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่ง
ทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว
ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิอันเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดยวิปลาส มี
ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่าเป็นทิฏฐิ
[๑๒๔๑] วิจิกิจฉา เป็นไฉน
ปุถุชนย่อมเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา
ในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุปบาทว่า
เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ภาวะ
ที่เคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่าง ๆ ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสอง
ทาง ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถหยั่งยึดถือโดย
ส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถหยั่งลงยึดถือเป็น
ยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าวิจิกิจฉา

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๙๐๙/๔๔๒ ๒ อภิ.วิ. ๓๕/๘๓๒/๑๔๒๑, ขุ.ม. ๒๙/๒๑/๖๕
๓ อภิ.วิ. ๓๕/๘๖๖/๔๓๐, ขุ.ม. ๒๙/๒๑/๖๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๑๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ กิเลสโคจฉกะ
[๑๒๔๒] ถีนะ เป็นไฉน
ความหดหู่ ความไม่ควรแก่การงาน ความท้อแท้ ความถ้อถอยแห่งใจ ความ
ย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน ภาวะที่ย่อหย่อน ความถดถอย กิริยาที่ถดถอย ภาวะ
ที่ถดถอยแห่งใจ นี้เรียกว่าถีนะ๑
[๑๒๔๓] อุทธัจจะ เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความวุ่นวายใจ ความที่จิตพล่านไป
นี้เรียกว่าอุทธัจจะ๒
[๑๒๔๔] อหิริกะ เป็นไฉน
กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย กิริยาที่ไม่
ละอายต่อการประกอบธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป นี้เรียกว่าอหิริกะ๓
[๑๒๔๕] อโนตตัปปะ เป็นไฉน
กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่
ไม่เกรงกลัวต่อการประกอบธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป นี้เรียกว่าอโนตตัปปะ๓
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกิเลส
[๑๒๔๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่เป็นกิเลสเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ
อัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องใน
วัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมดและธาตุที่ปัจจัยไม่
ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นกิเลส
๒. สังกิเลสิกทุกะ
[๑๒๔๗] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของกิเลส

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๕๔๖/๓๐๖ ๒ อภิ.วิ. ๓๕/๕๕๒,๙๒๘/๑๔๕ ๓ อภิ.วิ. ๓๕/๙๐๐/๔๓๙,๙๓๐/๔๕๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๑๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ กิเลสโคจฉกะ
[๑๒๔๘] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
๓. สังกิลิฏฐทุกะ
[๑๒๔๙] สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมอง เป็นไฉน
อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับ
อกุศลมูลนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น
กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่า
นี้ชื่อว่ากิเลสทำให้เศร้าหมอง
[๑๒๕๐] สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร
และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด
และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง
๔. กิเลสสัมปยุตตทุกะ
[๑๒๕๑] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยกิเลส เป็นไฉน
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสภาวธรรมที่เป็นกิเลส ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยกิเลส
[๑๒๕๒] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากกิเลส เป็นไฉน
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากกิเลส ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากกิเลส
๕. กิเลสสังกิเลสิกทุกะ
[๑๒๕๓] สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นไฉน
กิเลสนั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส
[๑๒๕๔] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๑๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ กิเลสโคจฉกะ
เว้นสภาวธรรมที่เป็นกิเลสเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ
อัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร
ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของกิเลสแต่
ไม่เป็นกิเลส
๖. กิเลสสังกิลิฏฐทุกะ
[๑๒๕๕] สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง เป็นไฉน
กิเลสนั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง
[๑๒๕๖] สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่เป็นกิเลสเหล่านั้นแล้ว เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส
๗. กิเลสกิเลสสัมปยุตตทุกะ
[๑๒๕๗] สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส เป็นไฉน
โลภะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโมหะ โมหะเป็นกิเลสและสัมปยุต
ด้วยกิเลสเพราะโลภะ โทสะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโมหะ โมหะเป็น
กิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโทสะ มานะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะ
โมหะ โมหะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะมานะ ทิฏฐิเป็นกิเลสและสัมปยุต
ด้วยกิเลสเพราะโมหะ โมหะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะทิฏฐิ วิจิกิจฉาเป็น
กิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโมหะ โมหะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะ
วิจิกิจฉา ถีนะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโมหะ โมหะเป็นกิเลสและสัมปยุต
ด้วยกิเลสเพราะถีนะ อุทธัจจะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโมหะ โมหะ
เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอุทธัจจะ อหิริกะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วย
กิเลสเพราะโมหะ โมหะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอหิริกะ อโนตตัปปะ
เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโมหะ โมหะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส
เพราะอโนตตัปปะ โลภะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอุทธัจจะ อุทธัจจะเป็น
กิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโลภะ โทสะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๑๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ กิเลสโคจฉกะ
อุทธัจจะ อุทธัจจะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโทสะ โมหะเป็นกิเลสและ
สัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอุทธัจจะ อุทธัจจะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะ
โมหะ มานะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอุทธัจจะ อุทธัจจะเป็นกิเลสและ
สัมปยุตด้วยกิเลสเพราะมานะ ทิฏฐิเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอุทธัจจะ
อุทธัจจะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะทิฏฐิ วิจิกิจฉาเป็นกิเลสและสัมปยุต
ด้วยกิเลสเพราะอุทธัจจะ อุทธัจจะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะวิจิกิจฉา
ถีนะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอุทธัจจะ อุทธัจจะเป็นกิเลสและสัมปยุต
ด้วยกิเลสเพราะถีนะ อหิริกะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอุทธัจจะ อุทธัจจะ
เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอหิริกะ อโนตตัปปะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วย
กิเลสเพราะอุทธัจจะ อุทธัจจะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอโนตตัปปะ
โลภะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอหิริกะ อหิริกะเป็นกิเลสและสัมปยุต
ด้วยกิเลสเพราะโลภะ โทสะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอหิริกะ อหิริกะ
เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโทสะ โมหะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส
เพราะอหิริกะ อหิริกะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโมหะ มานะเป็นกิเลส
และสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอหิริกะ อหิริกะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะ
มานะ ทิฏฐิเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอหิริกะ อหิริกะเป็นกิเลสและ
สัมปยุตด้วยกิเลสเพราะทิฏฐิ วิจิกิจฉาเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอหิริกะ
อหิริกะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะวิจิกิจฉา ถีนะเป็นกิเลสและสัมปยุต
ด้วยกิเลสเพราะอหิริกะ อหิริกะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะถีนะ อุทธัจจะ
เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอหิริกะ อหิริกะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วย
กิเลสเพราะอุทธัจจะ อโนตตัปปะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอหิริกะ
อหิริกะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอโนตตัปปะ โลภะเป็นกิเลสและ
สัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอโนตตัปปะ อโนตตัปปะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส
เพราะโลภะ โทสะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอโนตตัปปะ อโนตตัปปะเป็น
กิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโทสะ โมหะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะ
อโนตตัปปะ อโนตตัปปะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโมหะ มานะเป็นกิเลส


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๑๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ กิเลสโคจฉกะ
และสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอโนตตัปปะ อโนตตัปปะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส
เพราะมานะ ทิฏฐิเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอโนตตัปปะ อโนตตัปปะ
เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะทิฏฐิ วิจิกิจฉาเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส
เพราะอโนตตัปปะ อโนตตัปปะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะวิจิกิจฉา ถีนะ
เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอโนตตัปปะ อโนตตัปปะเป็นกิเลสและสัมปยุต
ด้วยกิเลสเพราะถีนะ อุทธัจจะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอโนตตัปปะ
อโนตตัปปะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอุทธัจจะ อหิริกะเป็นกิเลสและ
สัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอโนตตัปปะ อโนตตัปปะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส
เพราะอหิริกะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส
[๑๒๕๘] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่เป็นกิเลสเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมสัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่
เป็นกิเลส ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุต
ด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส
๘. กิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกทุกะ
[๑๒๕๙] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นไฉน
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากกิเลสเหล่านั้น คือ สภาวธรรมที่เป็นกุศล และ
อัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่
รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากกิเลสแต่เป็น
อารมณ์ของกิเลส
[๑๒๖๐] สภาวธรมที่วิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็น
ไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
กิเลสโคจฉกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๑๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ ปิฏฐิทุกะ
๑๓. ปิฏฐิทุกะ
๑. ทัสสเนนปหาตัพพทุกะ
[๑๒๖๑] สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน
สังโยชน์ ๓ คือ
๑. สักกายทิฏฐิ
๒. วิจิกิจฉา
๓. สีลัพพตปรามาส
[๑๒๖๒] บรรดาสังโยชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน
ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการฝึกฝนในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ
สัตบุรุษ ไม่ได้รับการฝึกฝนในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตนหรือเห็นตน
มีรูป เห็นรูปในตนหรือเห็นตนในรูป เห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
วิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ
ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า
สักกายทิฏฐิ
[๑๒๖๓] วิจิกิจฉา เป็นไฉน
ปุถุชนย่อมเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ฯลฯ ความกระด้างแห่งจิต
ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าวิจิกิจฉา
[๑๒๖๔] สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน
สมณพราหมณ์ภายนอกแต่ศาสนานี้มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้
ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลและพรต ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดย
วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าสีลัพพตปรามาส
สังโยชน์ ๓ ดังกล่าวมานี้และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ ๓ นั้น
ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ ๓ นั้น กายกรรม
วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีสังโยชน์ ๓ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๒๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ ปิฏฐิทุกะ
[๑๒๖๕] สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ
อัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏ-
ทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
๒. ภาวนายปหาตัพพทุกะ
[๑๒๖๖] สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นไฉน
โลภะ โทสะ โมหะ ที่เหลือและกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับโลภะ โทสะ
โมหะนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโลภะ โทสะ โมหะ
นั้น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
[๑๒๖๗] สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เหล่านั้นแล้ว สภาวธรรม
ที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤตที่เหลือซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และ
โลกุตตระ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่
ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
๓. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ
[๑๒๖๘] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน
สังโยชน์ ๓ คือ
๑. สักกายทิฏฐิ
๒. วิจิกิจฉา
๓. สีลัพพตปรามาส
[๑๒๖๙] บรรดาสังโยชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน
ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการฝึกฝนในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ
สัตบุรุษ ไม่ได้รับการฝึกฝนในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๒๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ ปิฏฐิทุกะ
เห็นรูปในตนหรือเห็นตนในรูป เห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ
เป็นตนหรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตนหรือเห็นตนในวิญญาณ ดังนี้ ทิฏฐิ
ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าสักกายทิฏฐิ
[๑๒๗๐] วิจิกิจฉา เป็นไฉน
ปุถุชนย่อมเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ฯลฯ ความกระด้างแห่งจิต ความ
ลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าวิจิกิจฉา
[๑๒๗๑] สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน
สมณพราหมณ์ภายนอกแต่ศาสนานี้มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้
ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลและพรต ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดย
วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าสีลัพพตปรามาส
สังโยชน์ ๓ เหล่านี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ ๓ นั้น ได้แก่
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ ๓ นั้น กายกรรม วจีกรรม
และมโนกรรม ที่มีสังโยชน์ ๓ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุ
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค สังโยชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต-
ปรามาส สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค โลภะ โทสะ
โมหะ ที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ ๓ นั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ส่วนกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับโลภะ โทสะ
โมหะนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโลภะ โทสะ โมหะ
นั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่มีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
[๑๒๗๒] สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเหล่านั้นแล้ว สภาว-
ธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร
และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด
และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีเหตุต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรค


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๒๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ ปิฏฐิทุกะ
๔. ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ
[๑๒๗๓] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นไฉน
โลภะ โทสะ และโมหะที่เหลือ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ส่วนกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะนั้น
ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโลภะ โทสะ โมหะนั้น กายกรรม
วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
[๑๒๗๔] สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เหล่านั้นแล้ว
สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร
อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูป
ทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓
๕. สวิตักกทุกะ
[๑๒๗๕] สภาวธรรมที่มีวิตก เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยวิตกในภูมิแห่งจิตที่มีวิตก
ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เว้นวิตกแล้ว สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่ามีวิตก
[๑๒๗๖] สภาวธรรมที่ไม่มีวิตก เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในภูมิแห่งจิตที่ไม่มีวิตก ซึ่งเป็นกามาวจร
รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ วิตก รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัย
ไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีวิตก
๖. สวิจารทุกะ
[๑๒๗๗] สภาวธรรมที่มีวิจาร เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๒๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ ปิฏฐิทุกะ
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยวิจารนั้นในภูมิแห่งจิตอันมีวิจาร
ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เว้นวิจารแล้ว สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่ามีวิจาร
[๑๒๗๘] สภาวธรรมที่ไม่มีวิจาร เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในภูมิแห่งจิตที่ไม่มีวิจาร ซึ่งเป็นกามาวจร
รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ วิจาร รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัย
ไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีวิจาร
๗. สัปปีติกทุกะ
[๑๒๗๙] สภาวธรรมที่มีปีติ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยปีตินั้น ในภูมิแห่งจิตที่มีปีติ
ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เว้นปีติแล้ว สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่ามีปีติ
[๑๒๘๐] สภาวธรรมที่ไม่มีปีติ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในภูมิแห่งจิตที่ไม่มีปีติ ซึ่งเป็นกามาวจร
รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ปีติ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่
ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีปีติ
๘. ปีติสหคตทุกะ
[๑๒๘๑] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยปีตินั้น ในภูมิแห่งจิตที่สหรคต
ด้วยปีติ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เว้นปีติแล้ว
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสหรคตด้วยปีติ
[๑๒๘๒] สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในภูมิแห่งจิตที่ไม่สหรคตด้วยปีติ ซึ่งเป็น
กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เว้นปีติแล้ว รูปทั้งหมด
และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่สหรคตด้วยปีติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๒๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ ปิฏฐิทุกะ
๙. สุขสหคตทุกะ
[๑๒๘๓] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข เป็นไฉน
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยสุขนั้น ในภูมิแห่ง
จิตที่สหรคตด้วยสุข ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เว้น
สุขแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสหรคตด้วยสุข
[๑๒๘๔] สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยสุข เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในภูมิแห่งจิตที่ไม่สหรคตด้วยสุข ซึ่งเป็น
กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สุข รูปทั้งหมด และ
ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่สหรคตด้วยสุข
๑๐. อุเปกขาสหคตทุกะ
[๑๒๘๕] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา เป็นไฉน
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยอุเบกขานั้น ในภูมิแห่ง
จิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่อง
ในวัฏฏทุกข์ เว้นอุเบกขาแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสหรคตด้วยอุเบกขา
[๑๒๘๖] สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในภูมิแห่งจิตที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ซึ่งเป็น
กามาวจร รูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ อุเบกขา รูปทั้งหมด และธาตุที่
ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่สหรคตด้วยอุเบกขา
๑๑. กามาวจรทุกะ
[๑๒๘๗] สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร เป็นไฉน
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งท่องเที่ยวอยู่
นับเนื่องอยู่ในภูมิระหว่างนี้ คือ เบื้องต่ำ กำหนดเอาอเวจีมหานรกเป็นที่สุด เบื้องสูง
กำหนดเอาเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตีเป็นที่สุด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกามาวจร
[๑๒๘๘] สภาวธรรมที่ไม่เป็นกามาวจร เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นกามาวจร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๒๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ ปิฏฐิทุกะ
๑๒. รูปาวจรทุกะ
[๑๒๘๙] สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกของผู้เข้าสมาบัติ๑ ของผู้ที่กำลังอุบัติ๒ หรือของ
ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน๓ ที่ท่องเที่ยวอยู่นับเนื่องอยู่ในภูมิระหว่างนี้ คือ เบื้องต่ำ
กำหนดพรหมโลกเป็นที่สุด เบื้องสูง กำหนดเทพชั้นอกนิฏฐภพเป็นที่สุด สภาว-
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นรูปาวจร
[๑๒๙๐] สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาว-
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นรูปาวจร
๑๓. อรูปาวจรทุกะ
[๑๒๙๑] สภาวธรรมที่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกของผู้เข้าสมาบัติ๔ ของผู้ที่กำลังอุบัติ๕ หรือ
ของผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน๖ ที่ท่องเที่ยวอยู่นับเนื่องอยู่ในภูมิระหว่างนี้ คือ เบื้องต่ำ
กำหนดเทพผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพเป็นที่สุด เบื้องสูง กำหนดเทพผู้เข้าถึง
เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นที่สุด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอรูปาวจร
[๑๒๙๒] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน
กามาวจร รูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่
เป็นอรูปาวจร
๑๔. ปริยาปันนทุกะ
[๑๒๙๓] สภาวธรรมที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่านับเนื่องในวัฏฏทุกข์

เชิงอรรถ :
๑ ผู้กำลังเข้ากุศลฌานที่เป็นรูปาวจร ๒ ผู้กำลังอุบัติด้วยวิปากฌานที่เป็นรูปาวจร
๓ ผู้กำลังเข้ากิริยาฌานที่เป็นรูปาวจร ๔ ผู้กำลังเข้ากุศลฌานที่เป็นอรูปาวจร
๕ ผู้กำลังอุบัติด้วยวิปากฌานที่เป็นอรูปาวจร ๖ ผู้กำลังเข้ากิริยาฌานที่เป็นอรูปาวจร (อภิ.สงฺ.อ. ๔๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๒๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ ปิฏฐิทุกะ
[๑๒๙๔] สภาวธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
๑๕. นิยยานิกทุกะ
[๑๒๙๕] สภาวธรรมที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุนำออก
จากวัฏฏทุกข์
[๑๒๙๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์เหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็น
กุศล อกุศล และอัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่
ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุ
ที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
๑๖. นิยตทุกะ
[๑๒๙๗] สภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอน เป็นไฉน
อนันตริยกรรม ๕ มิจฉาทิฏฐิที่ให้ผลแน่นอน และมรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องใน
วัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าให้ผลแน่นอน
[๑๒๙๘] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอนเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ
อัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏ-
ทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น
๑๗. สอุตตรทุกะ
[๑๒๙๙] สภาวธรรมที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่ามีธรรมอื่นยิ่งกว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๒๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
[๑๓๐๐] สภาวธรรมที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
๑๘. สรณทุกะ
[๑๓๐๑] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เป็นไฉน
อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับ
อกุศลมูลนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น
กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
[๑๓๐๒] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร
และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด
และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
อภิธรรมทุกนิกเขปะ จบ
สุตตันติกทุกนิกเขปะ
๑. วิชชาภาคีทุกะ
[๑๓๐๓] ธรรมที่เป็นส่วนแห่งวิชชา เป็นไฉน
ธรรมที่สัมปยุตด้วยวิชชา ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นส่วนแห่งวิชชา
[๑๓๐๔] ธรรมที่เป็นส่วนแห่งอวิชชา เป็นไฉน
ธรรมที่สัมปยุตด้วยอวิชชา ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นส่วนแห่งอวิชชา
๒. วิชชูปมทุกะ
[๑๓๐๕] ธรรมที่เปรียบเหมือนสายฟ้า เป็นไฉน
ปัญญาในอริยมรรค ๓ เบื้องต่ำ ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเปรียบเหมือนสายฟ้า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๒๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
[๑๓๐๖] ธรรมที่เปรียบเหมือนฟ้าผ่า เป็นไฉน
ปัญญาในอรหัตตมรรคอันเป็นมรรคเบื้องสูง ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเปรียบเหมือน
ฟ้าผ่า
๓. พาลทุกะ
[๑๓๐๗] ธรรมที่ทำให้เป็นพาล เป็นไฉน
ความไม่ละอายบาปและความไม่เกรงกลัวบาป ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าทำให้เป็น
พาล อกุศลธรรมแม้ทั้งหมดชื่อว่าทำให้เป็นพาล
[๑๓๐๘] ธรรมที่ทำให้เป็นบัณฑิต เป็นไฉน
ความละอายบาปและความเกลงกลัวบาป ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าทำให้เป็นบัณฑิต
กุศลธรรมแม้ทั้งหมดชื่อว่าทำให้เป็นบัณฑิต
๔. กัณหทุกะ
[๑๓๐๙] ธรรมที่ดำ เป็นไฉน
ความไม่ละอายบาปและความไม่เกรงกลัวบาป ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ดำ
อกุศลธรรมแม้ทั้งหมดชื่อว่าธรรมที่ดำ
[๑๓๑๐] ธรรมที่ขาว เป็นไฉน
ความละอายบาปและความเกรงกลัวบาป ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ขาว
กุศลธรรมแม้ทั้งหมดชื่อว่าธรรมที่ขาว
๕. ตปนียทุกะ
[๑๓๑๑] ธรรมที่ทำให้เร่าร้อน เป็นไฉน
กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าทำให้เร่าร้อน อกุศล-
ธรรมแม้ทั้งหมดชื่อว่าทำให้เร่าร้อน
[๑๓๑๒] ธรรมที่ไม่ทำให้เร่าร้อน เป็นไฉน
กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ทำให้เร่าร้อน
กุศลธรรมแม้ทั้งหมดชื่อว่าไม่ทำให้เร่าร้อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๒๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
๖. อธิวจนทุกะ
[๑๓๑๓] ธรรมที่เป็นชื่อ เป็นไฉน
การกล่าวขาน สมัญญา บัญญัติ โวหาร นาม การขนานนาม การตั้งชื่อ
การออกชื่อ การระบุชื่อ การเรียกชื่อแห่งธรรมนั้น ๆ ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่เป็นชื่อ
ธรรมทั้งหมดชื่อว่าเป็นเหตุแห่งชื่อ
๗. นิรุตติทุกะ
[๑๓๑๔] ธรรมที่เป็นนิรุตติ เป็นไฉน
การกล่าวขาน สมัญญา บัญญัติ โวหาร นาม การขนานนาม การตั้งชื่อ การ
ออกชื่อ การระบุชื่อ การเรียกชื่อแห่งธรรมนั้น ๆ ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นนิรุตติ
ธรรมทั้งหมดชื่อว่าเป็นเหตุแห่งนิรุตติ
๘. ปัญญัตติทุกะ
[๑๓๑๕] ธรรมที่เป็นบัญญัติ เป็นไฉน
การกล่าวขาน สมัญญา บัญญัติ โวหาร นาม การขนานนาม การตั้งชื่อ
การออกชื่อ การระบุชื่อ การเรียกชื่อแห่งธรรมนั้น ๆ ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นบัญญัติ
ธรรมทั้งหมดชื่อว่าเป็นเหตุแห่งบัญญัติ
๙. นามรูปทุกะ
[๑๓๑๖] บรรดาธรรมเหล่านั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
นี้เรียกว่านาม
[๑๓๑๗] รูป เป็นไฉน
มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป
๑๐. อวิชชาทุกะ
[๑๓๑๘] อวิชชา เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๓๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
[๑๓๑๙] ภวตัณหา เป็นไฉน
ความพอใจภพ ฯลฯ ความหมกมุ่นในภพ ในภพทั้งหลาย นี้เรียกว่าภวตัณหา๑
๑๑. ภวทิฏฐิทุกะ
[๑๓๒๐] ภวทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกจักมี ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือ
โดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าภวทิฏฐิ๑
[๑๓๒๑] วิภวทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกจักไม่มี ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือ
โดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าวิภวทิฏฐิ๑
๑๒. สัสสตทิฏฐิทุกะ
[๑๓๒๒] สัสสตทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกเที่ยง ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือ
โดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าสัสสตทิฏฐิ๒
[๑๓๒๓] อุจเฉททิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกขาดสูญ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึด
ถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าอุจเฉททิฏฐิ๒
๑๓. อันตวาทิฏฐิทุกะ
[๑๓๒๔] ความเห็นว่ามีที่สุด เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกมีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความ
ยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าความเห็นว่ามีที่สุด๓

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๘๙๕/๔๓๘,๘๙๖/๔๓๘ ๒ อภิ.วิ. ๓๕/๘๙๗/๔๓๘ ๓ อภิ.วิ. ๓๕/๘๙๘/๔๓๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๓๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
[๑๓๒๕] ความเห็นว่าไม่มีที่สุด เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกไม่มีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความ
ยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าความเห็นว่าไม่มีที่สุด๑
๑๔. ปุพพันตาทิฏฐิทุกะ
[๑๓๒๖] ความเห็นปรารภส่วนอดีต เป็นไฉน
ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาสปรารภส่วนอดีตเกิดขึ้น นี้
เรียกว่าความเห็นปรารภส่วนอดีต๒
[๑๓๒๗] ความเห็นปรารภส่วนอนาคต เป็นไฉน
ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส ปรารภส่วนอนาคตเกิดขึ้น
นี้เรียกว่าความเห็นปรารภส่วนอนาคต๒
๑๕. อหิริกทุกะ
[๑๓๒๘] อหิริกะ เป็นไฉน
กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย กิริยาที่ไม่
ละอายต่อการประกอบบาปอกุศลธรรม นี้เรียกว่าอหิริกะ๓
[๑๓๒๙] อโนตตัปปะ เป็นไฉน
กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่ไม่
เกรงกลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรม นี้เรียกว่าอโนตตัปปะ๔
๑๖. หิริทุกะ
[๑๓๓๐] หิริ เป็นไฉน
กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย กิริยาที่ละอายต่อ
การประกอบบาปอกุศลธรรม นี้เรียกว่าหิริ
[๑๓๓๑] โอตตัปปะ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๘๙๘/๔๓๙ ๒ อภิ.วิ. ๓๕/๘๙๙/๔๓๙ ๓ อภิ.วิ. ๓๕/๙๐๐/๔๓๙,๙๓๐/๔๕๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๓๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่เกรง
กลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรม นี้เรียกว่าโอตตัปปะ
๑๗. โทวจัสสตาทุกะ
[๑๓๓๒] ความเป็นผู้ว่ายาก เป็นไฉน
กิริยาของผู้ว่ายาก ภาวะของผู้ว่ายาก ความเป็นผู้ว่ายาก ความยึดถือข้าง
ขัดขืน ความพอใจในการโต้แย้ง ความไม่เอื้อเฟื้อ ภาวะแห่งผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่
เคารพ และการไม่รับฟัง ในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยชอบ นี้เรียกว่าความเป็นผู้ว่ายาก๑
[๑๓๓๓] ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว เป็นไฉน
บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา ทุศีล สดับมาน้อย มีความตระหนี่ มีปัญญาทราม การเสพ
การส้องเสพ การส้องเสพด้วยดี การคบ การคบหา ความภักดี ความจงรักภักดีต่อ
บุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้มีกายและใจโน้มน้าวไปตามบุคคลเหล่านั้น นี้เรียกว่า
ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว๑
๑๘. โสวจัสสตาทุกะ
[๑๓๓๔] ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นไฉน
กิริยาของผู้ว่าง่าย ภาวะของผู้ว่าง่าย ความเป็นผู้ว่าง่าย ความไม่ยึดถือข้าง
ขัดขืน ความไม่พอใจในการโต้แย้ง ความเอื้อเฟื้อ ภาวะแห่งความเอื้อเฟื้อ ความเป็น
ผู้ความเคารพ และการรับฟัง ในเมื่อถูกสหธรรมิกว่ากล่าวอยู่ นี้เรียกว่าความเป็น
ผู้ว่าง่าย
[๑๓๓๕] ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นไฉน
บุคคลผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูตร มีจาคะ มีปัญญา การเสพ การส้องเสพ
การส้องเสพด้วยดี การคบ การคบหา ความภักดี ความจงรักภักดี ต่อบุคคล
เหล่านั้น ความเป็นผู้มีกายและใจโน้มน้าวไปตามบุคคลเหล่านั้น นี้เรียกว่าความเป็น
ผู้มีมิตรดี

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๙๐/๔๓๙,๙๒๗/๔๕๑,๙๓๑/๔๕๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๓๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
๑๙. อาปัตติกุสลตาทุกะ
[๑๓๓๖] ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ เป็นไฉน
อาบัติทั้ง ๕ กอง ๗ กอง เรียกว่าอาบัติ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความ
ไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเหตุฉลาดในอาบัตินั้น ๆ นี้
เรียกว่าความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ
[๑๓๓๗] ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเหตุฉลาดในการออกจากอาบัติเหล่านั้น นี้เรียกว่าความเป็นผู้
ฉลาดในการออกจากอาบัติ
๒๐. สมาปัตติกุสลตาทุกะ
[๑๓๓๘] ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ เป็นไฉน
สมาบัติที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี สมาบัติที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี สมาบัติที่
ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเหตุฉลาดในสมาบัติแห่งสมาบัติเหล่านั้น นี้
เรียกว่าความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ
[๑๓๓๙] ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเหตุฉลาดในการออกจากสมาบัติเหล่านั้น นี้เรียกว่าความเป็นผู้
ฉลาดในการออกจากสมาบัติ
๒๑. ธาตุกุสลตาทุกะ
[๑๓๔๐] ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ เป็นไฉน
ธาตุ ๑๘ คือ

๑. จักขุธาตุ ๒. รูปธาตุ
๓. จักขุวิญญาณธาตุ ๔. โสตธาตุ
๕. สัททธาตุ ๖. โสตวิญญาณธาตุ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๓๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ

๗. ฆานธาตุ ๘. คันธธาตุ
๙. ฆานวิญญาณธาตุ ๑๐. ชิวหาธาตุ
๑๑. รสธาตุ ๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ
๑๓. กายธาตุ ๑๔. โผฏฐัพพธาตุ
๑๕. กายวิญญาณธาตุ ๑๖. มโนธาตุ
๑๗. ธัมมธาตุ ๑๘. มโนวิญญาณธาตุ

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเหตุฉลาดในธาตุเหล่านั้น นี้เรียกว่าความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ
[๑๓๔๑] ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเหตุฉลาดในการพิจารณาธาตุเหล่านั้น นี้เรียกว่าความเป็นผู้ฉลาด
ในการพิจารณา
๒๒. อายตนกุสลตาทุกะ
[๑๓๔๒] ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ เป็นไฉน
อายตนะ ๑๒ คือ

๑. จักขายตนะ ๒. รูปายตนะ
๓. โสตายตนะ ๔. สัททายตนะ
๕. ฆานายตนะ ๖. คันธายตนะ
๗. ชิวหายตนะ ๘. รสายตนะ
๙. กายายตนะ ๑๐. โผฏฐัพพายตนะ
๑๑. มนายตนะ ๑๒. ธัมมายตนะ

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเหตุฉลาดในอายตนะแห่งอายตนะเหล่านั้น นี้เรียกว่าความเป็นผู้
ฉลาดในอายตนะ
[๑๓๔๓] ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๓๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
ปฏิจจสมุปบาทที่ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขาร
เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูป
เป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงมี
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด
ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ในปฏิจจสมุปบาทนั้น
นี้เรียกว่าความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท
๒๓. ฐานกุสลตาทุกะ
[๑๓๔๔] ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ เป็นไฉน
ธรรมใด ๆ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมใด ๆ ลักษณะ
นั้น ๆ เรียกว่าฐานะ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือก
เฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ในฐานะนั้น นี้เรียกว่าความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ
[๑๓๔๕] ความเป็นผู้ฉลาดในอฐานะ เป็นไฉน
ธรรมใด ๆ ไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นปัจจัย เพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมใด ๆ ลักษณะ
นั้น ๆ ชื่อว่าอฐานะ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือก
เฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ในอฐานะนั้น นี้เรียกว่าความเป็นผู้ฉลาดในอฐานะ
๒๔. อาชชวทุกะ
[๑๓๔๖] ความซื่อตรง เป็นไฉน
ความซื่อตรง ความไม่คด ความไม่งอ ความไม่โกง นี้เรียกว่าความเป็นผู้
ซื่อตรง
[๑๓๔๗] ความอ่อนโยน เป็นไฉน
ความอ่อนโยน ความละมุนละไม ความไม่แข็ง ความไม่กระด้าง ความเจียมใจ
นี้เรียกว่าความอ่อนโยน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๓๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
๒๕. ขันติทุกะ
[๑๓๔๘] ขันติ เป็นไฉน
ความอดทน กิริยาที่อดทน ความอดกลั้น ความไม่ดุร้าย ความไม่เกรี้ยวกราด
ความแช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่าขันติ
[๑๓๔๙] โสรัจจะ เป็นไฉน
ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิด
ทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่าโสรัจจะ แม้ความสำรวมในศีลทั้งหมดก็ชื่อว่า
โสรัจจะ
๒๖. สาขัลยทุกะ
[๑๓๕๐] ความมีวาจาอ่อนหวาน เป็นไฉน
วาจาใดเป็นปม เป็นกาก เผ็ดร้อนต่อผู้อื่น เกี่ยวผู้อื่นไว้ ยั่วให้โกรธ ไม่เป็นไป
เพื่อสมาธิ ละวาจาเช่นนั้นเสีย วาจาใด ไร้โทษ สบายหู ไพเราะจับใจ เป็นวาจาของ
ชาวเมือง เป็นที่เจริญใจของชนหมู่มาก กล่าววาจาเช่นนั้น ความเป็นผู้มีวาจา
อ่อนหวาน ความเป็นผู้มีวาจาสละสลวย ความเป็นผู้มีวาจาไม่หยาบคาย ใน
ลักษณะดังกล่าวมานั้น นี้เรียกว่าความมีวาจาอ่อนหวาน
[๑๓๕๑] การปฏิสันถาร เป็นไฉน
ปฏิสันถาร ๒ คือ อามิสปฏิสันถาร และธรรมปฏิสันถาร
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปฏิสันถารด้วยอามิส หรือมีปฏิสันถารด้วย
ธรรม นี้เรียกว่าปฏิสันถาร
๒๗. อินทริเยสุอคุตตทวารตาทุกะ
[๑๓๕๒] ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้วรวบถือ๑ แยกถือ๒ ไม่ปฏิบัติ
เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคือ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า รวบถือ (นิมิตฺตคฺคาหี) คือมองภาพรวมโดยไม่พิจารณาลงไปในรายละเอียด เช่นมองว่า รูปนั้นสวย
รูปนี้ไม่สวย
๒ คำว่า แยกถือ (อนุพฺยญฺชนคฺคาหี) คือมองแยกพิจารณาเป็นส่วน ๆ ไป เช่น ตาสวย แต่จมูกไม่สวย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๓๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว รวบถือ แยกถือ ไม่ปฏิบัติเพื่อ
สำรวมมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา
และโทมนัสครอบงำได้ ไม่รักษามนินทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ความไม่
คุ้มครอง กิริยาที่ไม่คุ้มครอง ความไม่รักษา ความไม่สำรวม นี้เรียกว่าความเป็น
ผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย๑
[๑๓๕๓] ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่พิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหารเพื่อเล่น
เพื่อความมัวเมา เพื่อประเทืองผิว เพื่อความอ้วนพี ความเป็นผู้ไม่สันโดษ ความ
เป็นผู้ไม่รู้จักประมาณ ความไม่พิจารณาในการบริโภคนั้น นี้เรียกว่าความเป็นผู้
ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค๒
๒๘. อินทริเยสุคุตตทวารตาทุกะ
[๑๓๕๔] ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อม
ปฏิบัติเพื่อสำรวมในจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรม
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมใน
จักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อม
ปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรม
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมใน
มนินทรีย์ ความคุ้มครอง กิริยาที่คุ้มครอง ความรักษา ความสำรวม นี้เรียกว่า
ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย๓

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๕๑๗/๒๙๘,๙๐๕/๔๔๐, อภิ.สงฺ.อ. ๔๕๖-๔๕๗ ๒ อภิ.วิ. ๓๕/๕๑๘/๒๙๙
๓ อภิ.วิ. ๓๕/๕๑๗/๒๙๘.

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๓๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
[๑๓๕๕] ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายว่า เราบริโภคอาหารไม่ใช่
เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อความมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประเทืองผิว ไม่ใช่เพื่อให้อ้วนพี แต่เพื่อ
กายนี้ดำรงอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป เพื่อบำบัดความหิว เพื่ออนุเคราะห์
พรหมจรรย์ โดยอุบายนี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสียได้ และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิด
ขึ้น ความดำรงอยู่แห่งชีวิต ความไม่มีโทษและการอยู่โดยผาสุกจักมีแก่เราดังนี้ แล้ว
จึงบริโภคอาหาร ความสันโดษ ความรู้จักประมาณ การพิจารณาในโภชนาหารนั้น
นี้เรียกว่าความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค๑
๒๙. มุฏฐสัจจทุกะ
[๑๓๕๖] ความเป็นผู้มีสติหลงลืม เป็นไฉน
ความระลึกไม่ได้ ความไม่ตามระลึก ความไม่หวนระลึก ความระลึกไม่ได้
อาการที่ระลึกไม่ได้ ความทรงจำไม่ได้ ความเลื่อนลอย ความหลงลืม นี้เรียกว่า
ความเป็นผู้มีสติหลงลืม๒
[๑๓๕๗] ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่าความ
เป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ
๓๐. สติสัมปชัญญทุกะ
[๑๓๕๘] สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่
เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ นี้เรียกว่าสติ๓
[๑๓๕๙] สัมปชัญญะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่าสัมปชัญญะ๔

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๕๑๘/๒๙๙, อภิ.สงฺ.อ. ๔๕๘-๔๕๙ ๒ อภิ.วิ. ๓๕/๙๐๖/๔๔๑
๓ อภิ.วิ. ๓๕/๕๒๔/๓๐๑ ๔ อภิ.วิ. ๓๕/๕๒๕/๓๐๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๓๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
๓๑. ปฏิสังขานพลทุกะ
[๑๓๖๐] กำลังคือการพิจารณา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่ากำลังคือการพิจารณา
[๑๓๖๑] กำลังคือภาวนา เป็นไฉน
การเสพ การเจริญ การทำให้มาก ซึ่งกุศลธรรม นี้เรียกว่ากำลังคือภาวนา
แม้โพชฌงค์ ๗ ก็เรียกว่ากำลังคือภาวนา
๓๒. สมถวิปัสสนาทุกะ
[๑๓๖๒] สมถะ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่าสมถะ
[๑๓๖๓] วิปัสสนา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่าวิปัสสนา
๓๓. สมถนิมิตตทุกะ
[๑๓๖๔] นิมิตแห่งสมถะ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่านิมิตของสมถะ
[๑๓๖๕] นิมิตแห่งความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่านิมิตแห่ง
ความเพียร
๓๔. ปัคคาหทุกะ
[๑๓๖๖] ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่าความเพียร
[๑๓๖๗] ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่าความไม่ฟุ้งซ่าน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๔๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
๓๕. สีลวิปัตติทุกะ
[๑๓๖๘] ความวิบัติแห่งศีล เป็นไฉน
การล่วงละเมิดทางกาย การล่วงละเมิดทางวาจา การล่วงละเมิดทางกายและ
ทางวาจา นี้เรียกว่าความวิบัติแห่งศีล ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมดก็ชื่อว่าความวิบัติ
แห่งศีล๑
[๑๓๖๙] ความวิบัติแห่งทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล
ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วก็ไม่มี ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกหน้า มารดาไม่มีคุณ บิดา
ไม่มีคุณ สัตว์ที่เกิดผุดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้
และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ
ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าความวิบัติ
แห่งทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิทั้งหมดก็ชื่อว่าความวิบัติแห่งทิฏฐิ๑
๓๖. สีลสัมปทาทุกะ
[๑๓๗๐] ความสมบูรณ์แห่งศีล เป็นไฉน
ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิด
ทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่าความสมบูรณ์แห่งศีล ศีลสังวรแม้ทั้งหมดก็เรียกว่า
ความสมบูรณ์แห่งศีล
[๑๓๗๑] ความสมบูรณ์แห่งทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผล
วิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ที่
เกิดผุดขึ้นก็มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก ดังนี้ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ
ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า
ความสมบูรณ์แห่งทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิแม้ทั้งหมดก็เรียกว่าความสมบูรณ์แห่งทิฏฐิ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๙๐๗/๔๔๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๔๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
๓๗. สีลวิสุทธิทุกะ
[๑๓๗๒] ความหมดจดแห่งศีล เป็นไฉน
ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิด
ทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่าความหมดจดแห่งศีล ศีลสังวรแม้ทั้งหมดก็เรียกว่า
ความหมดจดแห่งศีล
[๑๓๗๓] ความหมดจดแห่งทิฏฐิ เป็นไฉน
ญาณเป็นเครื่องรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน ญาณที่สมควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจ
ญาณของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค ญาณของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยผล
๓๘. ทิฏฐิวิสุทธิโขปนทุกะ
[๑๓๗๔] ที่ชื่อว่า ความหมดจดแห่งทิฏฐิ ได้แก่ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ
ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
[๑๓๗๕] ที่ชื่อว่า ความเพียรของบุคคลผู้มีความเห็นหมดจด ได้แก่
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ
๓๙. สังเวชนียัฏฐานทุกะ
[๑๓๗๖] ที่ชื่อว่า ความสลดใจ ได้แก่ ญาณที่เห็นชาติโดยความเป็นภัย ญาณ
ที่เห็นชราโดยความเป็นภัย ญาณที่เห็นพยาธิโดยความเป็นภัย ญาณที่เห็นมรณะ
โดยความเป็นภัย ชื่อว่าฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ ได้แก่ ชาติ ชรา พยาธิ และ
มรณะ
[๑๓๗๗] ที่ชื่อว่า ความเพียรโดยแยบคายของบุคคลผู้สลดใจ ได้แก่ ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้
เพื่อทำบาปอกุศลธรรมอันยังไม่เกิดไม่ให้เกิด เพื่อละบาปอกุศลธรรมอันเกิดแล้ว
เพื่อทำกุศลธรรมอันยังไม่เกิดให้เกิด เพื่อความตั้งมั่น ไม่เลอะเลือน ภิยโยภาพ
ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมอันเกิดแล้ว๑

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๓๙๐/๒๔๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๔๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
๔๐. อสันตุฏฐิตากุสลธัมมทุกะ
[๑๓๗๘] ที่ชื่อว่า ความไม่สันโดษในกุศลธรรม ได้แก่ ความพอใจยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ของบุคคลผู้ไม่สันโดษในการเจริญกุศลธรรม
[๑๓๗๙] ที่ชื่อว่า ความเป็นผู้ไม่ท้อถอยในความเพียร ได้แก่ ความเป็นผู้
กระทำโดยเคารพ ความเป็นผู้กระทำติดต่อ ความเป็นผู้กระทำไม่หยุด ความเป็น
ผู้ประพฤติไม่ย่อหย่อน ความเป็นผู้ไม่ทิ้งฉันทะ ความเป็นผู้ไม่ทอดธุระ ความเสพ
ความเจริญ การกระทำให้มาก เพื่อความเจริญแห่งกุศลธรรม
๔๑. วิชชาทุกะ
[๑๓๘๐] ที่ชื่อว่า วิชชา ได้แก่ วิชชา ๓ คือ
๑. วิชชา คือ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ
๒. วิชชา คือ จุตูปปาตญาณ
๓. วิชชา คือ อาสวักขยญาณ
[๑๓๘๑] ที่ชื่อว่า วิมุตติ ได้แก่ วิมุตติ ๒ คือ อธิมุตติแห่งจิต๑ (สมาบัติ ๘)
และนิพพาน
๔๒. ขเยญาณทุกะ
[๑๓๘๒] ที่ชื่อว่า ความรู้ในอริยมรรค ได้แก่ ความรู้ของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วย
มรรคจิต
[๑๓๘๓] ที่ชื่อว่า ความรู้ในอริยผล ได้แก่ ความรู้ของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วย
ผลจิต
สุตตันติกทุกนิกเขปะ จบ
นิกเขปกัณฑ์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๔๖๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๔๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ติกอัตถุทธาระ
๔. อัฏฐกถากัณฑ์
ติกอัตถุทธาระ
๑. กุสลติกะ
[๑๓๘๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๓๘๕] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่เป็นอกุศล ๑๒ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
[๑๓๘๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
๒. เวทนาติกะ
[๑๓๘๗] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๔ ฝ่ายวิบาก
แห่งกามาวจรกุศล ๕ และฝ่ายกิริยาอย่างละ ๕ ดวง ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็น
รูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็นโลกุตตระฝ่ายกุศล
และวิบาก เว้นสุขเวทนาที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา
[๑๓๘๘] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ และกายวิญญาณที่สหรคตด้วยทุกข์เว้น
ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นในจิตเหล่านี้แล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยทุกข-
เวทนา
[๑๓๘๙] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๖ ฝ่าย
วิบากแห่งกามาวจรกุศล ๑๐ ฝ่ายวิบากแห่งอกุศล ๖ ฝ่ายกิริยา ๖ รูปาวจร-

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๔๔ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น