Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๑-๙ หน้า ๔๓๑ - ๔๘๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๑-๙ วินัยปิฎกที่ ๐๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑



พระวินัยปิฎก
มหาวิภังค์ ภาค ๑
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท นิทานวัตถุ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ทัพพะ บัณฑิตย่อมไม่แก้คำกล่าวหาอย่างนี้ ถ้าเธอ
ทำก็จงบอกว่าทำ ถ้าเธอไม่ได้ทำ ก็จงบอกว่าไม่ได้ทำ”
ท่านพระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า ตั้งแต่เกิดมา ข้า
พระพุทธเจ้า ไม่รู้จักการเสพเมถุนแม้ในความฝัน ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อตอนตื่นอยู่”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้า
อย่างนั้น เธอทั้งหลายจงสอบถามภิกษุเหล่านี้” แล้วเสด็จจากที่ประทับเข้าพระวิหาร
หลังจากนั้น ภิกษุทั้งหลายสอบถามพระเมตติยะและพระภุมมชกะ เมื่อถูก
สอบถามจึงได้รับสารภาพเรื่องนั้น
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “พวกท่านอ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นเป็นเลศ๑
ใส่ความพระทัพพมัลลบุตรด้วยอาบัติปาราชิกหรือ”
ท่านทั้งสองยอมรับ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพระเมตติยะและพระกุมมชกะจึงอ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่อง
อื่นเป็นเลศใส่ความพระทัพพมัลลบุตรด้วยอาบัติปาราชิกเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้น
ตำหนิท่านทั้งสองโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพระเมตติยะและพระภุมมชกะว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกเธออ้างเอา
บางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นเป็นเลศใส่ความทัพพมัลลบุตรด้วยอาบัติปาราชิกจริงหรือ”
พวกเธอทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงอ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นเป็นเลศใส่ความทัพพ
มัลลบุตรด้วยอาบัติปาราชิกเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่
ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ “เลศ” คือ ข้ออ้าง, เรื่องเล็กๆ น้อยๆ, เลศนัย กิริยาอาการที่จะยกขึ้นเป็นข้ออ้างใส่ความได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๓๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ
[๓๙๒] ก็ ภิกษุใด ขัดเคือง มีโทสะ ไม่แช่มชื่น อ้างเอาบางส่วนแห่ง
อธิกรณ์๑ เรื่องอื่นเป็นเลศใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิก โดยมุ่งหมายว่า “ทำ
อย่างไรจึงจะให้ภิกษุนั้นพ้นจากพรหมจรรย์นี้ได้” ครั้นสมัยต่อจากนั้น อันผู้ใด
ผู้หนึ่งโจทก็ตามไม่โจทก็ตาม อธิกรณ์นั้นเป็นอธิกรณ์เรื่องอื่น อ้างเอาบางส่วน
เป็นเลศ และภิกษุยอมรับผิด เป็นสังฆาทิเสส
เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๓๙๓] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ หมายถึง ภิกษุอื่น
คำว่า ขัดเคือง มีโทสะ คือ โกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ แค้นใจ เจ็บใจ
คำว่า ไม่แช่มชื่น คือ ไม่แช่มชื่นเพราะความโกรธนั้น เพราะมีโทสะนั้น
เพราะไม่พอใจนั้น และเพราะไม่ชอบใจนั้น
คำว่า แห่งอธิกรณ์เรื่องอื่น คือ เป็นอาบัติส่วนอื่น หรือเป็นอธิกรณ์ส่วนอื่น
อธิกรณ์ที่ชื่อว่าเป็นเรื่องอื่นจากอธิกรณ์
อธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องอื่นจากอธิกรณ์อย่างไร
๑. วิวาทาธิกรณ์ เป็นเรื่องอื่นจากอนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์และ
กิจจาธิกรณ์

เชิงอรรถ :
๑ เรื่องที่สงฆ์จะต้องจัดต้องทำให้เรียบร้อย, คดีความ ปัญหา หรือกิจธุระของสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๓๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
๒. อนุวาทาธิกรณ์ เป็นเรื่องอื่นจากอาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ และ
วิวาทาธิกรณ์
๓. อาปัตตาธิกรณ์ เป็นเรื่องอื่นจากกิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ และ
อนุวาทาธิกรณ์
๔. กิจจาธิกรณ์ เป็นเรื่องอื่นจากวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ และ
อาปัตตาธิกรณ์
อธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องอื่นจากอธิกรณ์ อย่างนี้
อธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องเดียวกับอธิกรณ์
อธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องเดียวกับอธิกรณ์อย่างไร
๑. วิวาทาธิกรณ์ เป็นเรื่องเดียวกับวิวาทาธิกรณ์
๒. อนุวาทาธิกรณ์ เป็นเรื่องเดียวกับอนุวาทาธิกรณ์
๓. อาปัตตาธิกรณ์ เป็นเรื่องเดียวกับอาปัตตาธิกรณ์ก็มี เป็นเรื่องอื่นจาก
อาปัตตาธิกรณ์ก็มี
อาปัตตาธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องอื่นจากอาปัตตาธิกรณ์
อาปัตตาธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องอื่นจากอาปัตตาธิกรณ์อย่างไร
๑. เมถุนธรรมปาราชิกาบัติ เป็นเรื่องอื่นจากอทินนาทานปาราชิกาบัติ
มนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ และอุตตริมนุสสธรรมปาราชิกาบัติ
๒. อทินนาทานปาราชิกาบัติ เป็นเรื่องอื่นจากมนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ
อุตตริมนุสสธรรมปาราชิกาบัติ และเมถุนธรรมปาราชิกาบัติ
๓. มนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ เป็นเรื่องอื่นจากอุตตริมนุสสธรรมปาราชิกาบัติ
เมถุนธรรมปาราชิกาบัติ และอทินนาทานปาราชิกาบัติ
๔. อุตตริมนุสสธรรมปาราชิกาบัติ เป็นเรื่องอื่นจากเมถุนธรรมปาราชิกาบัติ
อทินนาทานปาราชิกาบัติ และมนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ
อาปัตตาธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องอื่นจากอาปัตตาธิกรณ์ อย่างนี้

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

อาปัตตาธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องเดียวกับอาปัตตาธิกรณ์
อาปัตตาธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องเดียวกับอาปัตตาธิกรณ์อย่างไร
๑. เมถุนธรรมปาราชิกาบัติ เป็นเรื่องเดียวกับเมถุนธรรมปาราชิกาบัติ
๒. อทินนาทานปาราชิกาบัติ เป็นเรื่องเดียวกับอทินนาทานปาราชิกาบัติ
๓. มนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ เป็นเรื่องเดียวกันกับมนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ
๔. อุตตริมนุสสธรรมปาราชิกาบัติ เป็นเรื่องเดียวกับอุตตริมนุสสธรรม
ปาราชิกาบัติ
อาบัตตาธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องเดียวกับอาปัตตาธิกรณ์ อย่างนี้
กิจจาธิกรณ์เป็นเรื่องเดียวกับกิจจาธิกรณ์
อธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องเดียวกับอธิกรณ์ อย่างนี้
เลศ ๑๐ อย่าง
[๓๙๔] ชื่อว่า เลศ ในคำว่า อ้างเอาบางส่วน...เป็นเลศ อธิบายว่า
เลศมี ๑๐ อย่างได้แก่ เลศคือชาติกำเนิด ๑ เลศคือชื่อ ๑ เลศคือตระกูล ๑ เลศคือ
รูปลักษณ์ ๑ เลศคืออาบัติ ๑ เลศคือบาตร ๑ เลศคือจีวร ๑ เลศคือพระอุปัชฌาย์ ๑
เลศคือพระอาจารย์ ๑ เลศคือเสนาสนะ ๑
อธิบายเลศ ๑๐ อย่าง
[๓๙๕] ชื่อว่า เลศคือชาติกำเนิด อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้เป็น
วรรณะกษัตริย์ ต้องอาบัติปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุอีกรูปหนึ่งผู้เป็นวรรณะกษัตริย์จึง
โจทว่า “ข้าพเจ้าเห็นภิกษุผู้เป็นวรรณะกษัตริย์ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็น
สมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ท่านร่วมอุโบสถ ปวารณาหรือสังฆกรรมไม่ได้”
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้เป็นวรรณะพราหมณ์ ฯลฯ เห็นภิกษุผู้เป็นวรรณะ
แพศย์ ฯลฯ เห็นภิกษุผู้เป็นวรรณะศูทรต้องอาบัติปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุอีกรูปหนึ่ง

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ผู้เป็นวรรณะศูทรจึงโจทว่า “ข้าพเจ้าเห็นภิกษุผู้เป็นวรรณะศูทรต้องอาบัติปาราชิก
ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ฯลฯ” ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุก ๆ
คำพูด
[๓๙๖] ชื่อว่า เลศคือชื่อ อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นพระพุทธรักขิต ฯลฯ
ได้เห็นพระธัมมรักขิต ฯลฯ ได้เห็นพระสังฆรักขิตต้องอาบัติปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุ
อีกรูปหนึ่งผู้ชื่อว่าสังฆรักขิตจึงโจทว่า “ข้าพเจ้าเห็นพระสังฆรักขิตต้องอาบัติปาราชิก
แล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ฯลฯ” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ
คำพูด
[๓๙๗] ชื่อว่า เลศคือตระกูล อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ ได้เห็นภิกษุในตระกูล
โคตมะ ฯลฯ ได้เห็นภิกษุในตระกูลโมคคัลลานะ ฯลฯ ได้เห็นภิกษุในตระกูลกัจจายนะ
ฯลฯ ได้เห็นภิกษุในตระกูลวาสิฏฐะต้องอาบัติปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุอีกรูปหนึ่งใน
ตระกูลวาสิฏฐะจึงโจทว่า ข้าพเจ้าเห็นภิกษุในตระกูลวาสิฏฐะต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ฯลฯ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
[๓๙๘] ชื่อว่า เลศคือรูปลักษณ์ อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ ได้เห็นภิกษุสูง ฯลฯ
ได้เห็นภิกษุต่ำ ฯลฯ ได้เห็นภิกษุผิวดำ ฯลฯ ได้เห็นภิกษุผิวขาวต้องปาราชิก ครั้น
เห็นภิกษุอีกรูปหนึ่งผู้มีผิวขาวจึงโจทว่า “ข้าพเจ้าเห็นภิกษุผิวขาวต้องอาบัติปาราชิก
แล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ฯลฯ” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ
คำพูด
[๓๙๙] ชื่อว่า เลศคืออาบัติ อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุต้องอาบัติเบา
ถ้าโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า ข้าพเจ้าเห็นท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่าน
ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ฯลฯ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
[๔๐๐] ชื่อว่า เลศคือบาตร อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุใช้บาตรโลหะ
ฯลฯ ได้เห็นภิกษุใช้บาตรดินเหนียว ฯลฯ ได้เห็นภิกษุใช้บาตรเคลือบ ฯลฯ ได้เห็น
ภิกษุใช้บาตรดินธรรมดา ต้องอาบัติปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุอีกรูปหนึ่งใช้บาตรดินธรรมดา
จึงโจทว่า ข้าพเจ้าเห็นภิกษุใช้บาตรดินธรรมดาต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็น
สมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ฯลฯ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
[๔๐๑] ชื่อว่า เลศคือจีวร อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ ได้เห็นภิกษุผู้ใช้ผ้า
บังสุกุล ฯลฯ เห็นภิกษุผู้ใช้ผ้าคหบดี ต้องอาบัติปาราชิก ครั้นได้เห็นภิกษุอีกรูปหนึ่ง
ผู้ใช้ผ้าคหบดีจึงโจทว่า ข้าพเจ้าได้เห็นภิกษุผู้ใช้ผ้าของคหบดีต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ฯลฯ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
[๔๐๒] ชื่อว่า เลศคือพระอุปัชฌาย์ อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้
เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌาย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุอีกรูปหนึ่ง
ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌาย์ชื่อนี้จึงโจทว่า ข้าพเจ้าเห็นภิกษุผู้เป็นสัทธิวิหาริก
ของพระอุปัชฌาย์ชื่อนี้ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสาย
ศากยบุตร ฯลฯ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
[๔๐๓] ชื่อว่า เลศคืออาจารย์ อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้เป็น
อันเตวาสิกของพระอาจารย์ชื่อนี้ต้องอาบัติปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุอีกรูปหนึ่งผู้เป็น
อันเตวาสิกของพระอาจารย์ชื่อนี้ จึงโจทว่า ข้าพเจ้าเห็นภิกษุผู้เป็นอันเตวาสิกของ
พระอาจารย์ชื่อนี้ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร
ฯลฯ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
[๔๐๔] ชื่อว่า เลศคือเสนาสนะ อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุอยู่ใน
เสนาสนะชื่อนี้ ต้องอาบัติปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุอีกรูปหนึ่งอยู่ในเสนาสนะชื่อนี้จึง
โจทว่า “ข้าพเจ้าเห็นภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะชื่อนี้ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็น
สมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ท่านร่วมอุโบสถ ปวารณาหรือสังฆกรรมไม่ได้”
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
สิกขาบทวิภังค์
[๔๐๕] คำว่า ด้วยอาบัติปาราชิก คือ ด้วยอาบัติปาราชิก ๔ ข้อใดข้อหนึ่ง
คำว่า ใส่ความ ได้แก่ โจทเอง หรือสั่งให้ผู้อื่นโจท
คำว่า ทำอย่างไรจึงจะให้ภิกษุนั้นพ้นจากพรหมจรรย์นี้ได้ ความว่า ให้พ้น
จากความเป็นภิกษุ ให้พ้นจากสมณธรรม ให้พ้นจากศีลขันธ์ ให้พ้นจากคุณคือตบะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๓๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า ครั้นสมัยต่อจากนั้น ความว่า ล่วงขณะ ลยะ ครู่ที่ภิกษุถูกใส่ความไป
แล้ว
คำว่า อันผู้ใดผู้หนึ่งโจทก็ตาม คือ จะมีผู้เชื่อถือตามเรื่องที่ทำให้ภิกษุนั้นถูก
ใส่ความก็ตาม
คำว่า ไม่โจทก็ตาม คือ ไม่มีใครๆ กล่าวถึงภิกษุนั้น
ชื่อว่า อธิกรณ์ ได้แก่ อธิกรณ์ ๔ อย่างคือ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์
อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์
คำว่า อ้างเอาบางส่วน...เป็นเลศ คือ ถือเอาเลศ ๑๐ อย่างนั้น อย่างใด
อย่างหนึ่ง
คำว่า และภิกษุยอมรับผิด ความว่า ภิกษุนั้นยอมรับว่า “ข้าพเจ้าพูดคำไร้
ประโยชน์ พูดเท็จ พูดไม่จริง ไม่รู้จึงพูด”
คำว่า สังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”
บทภาชนีย์
เอเกกมูลจักร
โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
[๔๐๖] ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส มีความเห็นอาบัติ
สังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าเธอโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า “ท่าน
ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ท่านร่วมอุโบสถ ปวารณาหรือสังฆกรรม
ไม่ได้” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นข้ออื่น และเธออ้างเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ทุก ๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นอาบัติ
สังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าเธอโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า “ท่านไม่
เป็นสมณะ ฯลฯ” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นอาบัติข้ออื่นและเธออ้างเอาเป็นเลศ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุก ๆ คำพูด

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท บทภาชนีย์
ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นอาบัติ
สังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าเธอโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า “ท่านไม่
เป็นสมณะ” ฯลฯ แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นอาบัติข้ออื่นและเธออ้างเอาเป็นเลศ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นอาบัติ
สังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติสังฆาทิเสสว่าเป็น
อาบัติทุกกฏ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติสังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติทุพภาสิต ถ้าเธอ
โจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า “ท่านไม่เป็นสมณะ ฯลฯ” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น
ย่อมเป็นอาบัติข้ออื่นและเธออ้างเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย มีความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่า
เป็นอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ มีความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่าเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ มี
ความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่าเป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติถุลลัจจัย
ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่าเป็นอาบัติทุพภาสิต ฯลฯ มี
ความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่าเป็นอาบัติสงฆาทิเสส ถ้าโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิก
ว่า “ท่านไม่เป็นสมณะ ฯลฯ” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นอาบัติข้ออื่นและเธอ
อ้างเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
โจทภิกษุผู้ต้องปาจิตตีย์...ปาฏิเทสนียะ...ทุกกฏ...ทุพภาสิต
ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุ
ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ ภิกษุผู้
โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต มีความเห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติทุพภาสิต
ฯลฯ มีความเห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ มีความเห็นอาบัติ
ทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ มีความเห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติ
ปาจิตตีย์ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ มีความ
เห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท บทภาชนีย์
“ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ท่านร่วมอุโบสถ ปวารณาหรือสังฆ
กรรมไม่ได้” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นอาบัติข้ออื่นและเธออ้างเอาเป็นเลศ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
พึงรวมอาบัติแต่ละอย่าง ๆ ให้เป็นมูลแล้วผูกเป็นจักร
สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
[๔๐๗] ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส มีความเห็นอาบัติ
สังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าสั่งให้โจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า
“ท่านไม่เป็นสมณะ ฯลฯ” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นอาบัติข้ออื่นและเธออ้าง
เอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นอาบัติ
สังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ มีความเห็นอาบัติสังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติ
ปาจิตตีย์ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติสังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ มี
ความเห็นอาบัติสังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติทุกกฏ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติสังฆาทิเสส
ว่าเป็นอาบัติทุพภาสิต ถ้าสั่งให้โจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า “ท่านไม่เป็นสมณะ
ฯลฯ” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นอาบัติข้ออื่นและเธออ้างเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ทุก ๆ คำพูด
สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย มีความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่า
เป็นอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ มีความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่าเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ มี
ความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่าเป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติถุลลัจจัย
ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่าเป็นอาบัติทุพภาสิต ฯลฯ มี
ความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าสั่งให้โจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติ
ปาราชิกว่า “ท่านไม่เป็นสมณะ ฯลฯ” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ย่อมเป็นอาบัติข้ออื่น
และเธออ้างเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุก ๆ คำพูด
สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์...ปาฏิเทสนียะ...ทุกกฏ ...ทุพภาสิต

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุ
ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ ภิกษุผู้
โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต มีความเห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติ ทุพภาสิต
ฯลฯ มีความเห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ มีความเห็นอาบัติ
ทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ มีความเห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติ
ปาจิตตีย์ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ มีความ
เห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าสั่งให้โจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า
“ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ท่านร่วมอุโบสถ ปวารณาหรือ
สังฆกรรมไม่ได้” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นอาบัติข้ออื่นและเธออ้างเอาเป็นเลศ
ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๐๘] ๑. ภิกษุผู้สำคัญว่าเป็นอย่างนั้น โจทเองหรือสั่งให้ผู้อื่นโจท
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบทที่ ๙ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๐. สังฆเภทสิกขาบท นิทานวัตถุ

๑๐. สังฆเภทสิกขาบท
ว่าด้วยการทำสงฆ์ให้แตกกัน
เรื่องพระเทวทัต
[๔๐๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน
สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาพระโกกาลิกะ
พระกฏโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัตถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้ว
ได้กล่าวกับท่านเหล่านั้นดังนี้ว่า “มาเถิด ท่านทั้งหลาย พวกเราจะทำลายสงฆ์
ทำลายจักร๑ ของพระสมณโคดม”
เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้ พระโกกาลิกะได้กล่าวกับพระเทวทัตดังนี้ว่า
“พระสมณโคดม มีฤทธานุภาพมาก ทำอย่างไร พวกเราจึงจะทำลายสงฆ์ ทำลาย
จักรของพระสมณโคดมได้เล่า”
วัตถุ ๕ ประการ
พระเทวทัตกล่าวว่า “มาเถิดท่านทั้งกลาย พวกเราจะเข้าไปเฝ้าพระ
สมณโคดมแล้วทูลขอวัตถุ ๕ ประการ ว่า ‘พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัส
สรรเสริญความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่า
เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยประการต่าง ๆ วัตถุ ๕ ประการ
เหล่านี้ก็เป็นไปเพื่อความมักน้อยความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการ
น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยประการต่าง ๆ ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานวโรกาส ดังนี้
๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดเข้าบ้าน ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีกิจนิมนต์
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ

เชิงอรรถ :
๑ ทำลายสงฆ์ คือ ทำสงฆ์ให้แตกจากกัน ทำลายจักร คือ ทำลายหลักคำสอน (จกฺกเภทายาติ อาณา-
เภทาย, วิ.อ. ๒/๔๑๐/๑๐๘, จกฺกเภทนฺติ สาสนเภทํ วชิร. ฏีกา ๓๔๓/๖๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๔๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๐. สังฆเภทสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีผ้าคหบดี
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดอาศัยที่มุงที่บัง ภิกษุ
รูปนั้นมีโทษ
๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดฉันปลาและเนื้อ
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ’
พระสมณโคดมจะไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการนี้แน่ พวกเราจักใช้วัตถุ ๕
ประการนี้ชักชวนให้ประชาชนเชื่อถือ” ท่านเหล่านั้นปรึกษากันว่า “พวกเราสามารถ
ที่จะใช้วัตถุ ๕ ประการเหล่านั้นทำลายสงฆ์ ทำลายจักรของพระสมณโคดมได้
เพราะยังมีพวกมนุษย์ที่เลื่อมใสในการปฏิบัติปอน ๆ”
ครั้งนั้น พระเทวทัตพร้อมด้วยบริษัทได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นถึงแล้วจึงถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร กราบทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ พระ
ผู้มีพระภาคตรัสสรรเสริญความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด
อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยประการต่าง ๆ วัตถุ ๕
ประการเหล่านี้ก็เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด
อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยประการต่าง ๆ ข้า
พระพุทธเจ้าขอประทานวโรกาส ดังนี้
๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดเข้าบ้าน ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีกิจนิมนต์
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีผ้าคหบดี
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดอาศัยที่มุงที่บัง ภิกษุ
รูปนั้นมีโทษ
๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดฉันปลาและ
เนื้อ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ”

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๐. สังฆเภทสิกขาบท นิทานวัตถุ
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลยเทวทัต ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงอยู่ป่า
เถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงอยู่ในละแวกบ้านเถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงเที่ยว
บิณฑบาตเถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงยินดีกิจนิมนต์เถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จง
ถือผ้าบังสุกุลเถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงยินดีผ้าคหบดีเถิด เราอนุญาตถือ
เสนาสนะตามโคนไม้ ๘ เดือนเท่านั้น เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ
๓ อย่าง คือ (๑) ไม่ได้เห็น (๒) ไม่ได้ยิน (๓) ไม่ได้นึกสงสัย”
ครั้งนั้น พระเทวทัตร่าเริงดีใจว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕
ประการเหล่านี้ พร้อมกับบริษัท ลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำ
ประทักษิณแล้วจากไป
[๔๑๐] สมัยนั้น พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ ใช้วัตถุ ๕
ประการชักชวนให้ประชาชนเชื่อถือด้วยกล่าวว่า “พวกเราเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม
ทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า ‘พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสสรรเสริญความมัก
น้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ
ปรารภความเพียร โดยประการต่าง ๆ วัตถุ ๕ ประการเหล่านี้ก็เป็นไปเพื่อความมัก
น้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม
การปรารภความเพียร โดยประการต่าง ๆ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานวโรกาส ดังนี้
๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดเข้าบ้าน ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีกิจนิมนต์
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีผ้าคหบดี
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดอาศัยที่มุงที่บัง ภิกษุ
รูปนั้นมีโทษ
๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดฉันปลาและ
เนื้อ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๔๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๐. สังฆเภทสิกขาบท พระบัญญัติ
แต่พระสมณโคดมไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการเหล่านั้น พวกเราจง
สมาทานประพฤติตามวัตถุ ๕ ประการเหล่านี้เถิด”
บรรดาประชาชนเหล่านั้น พวกที่ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส มีความรู้ไม่ดี กล่าวว่า
“พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ ประพฤติกำจัดกิเลส ประพฤติเคร่งครัด ส่วน
พระสมณโคดมมักมาก ดำริเพื่อความมักมาก”
ส่วนพวกมีศรัทธา เลื่อมใส เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีความรู้ดี ก็ตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเทวทัตจึงเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อ
ทำลายจักรของพระผู้มีพระภาคเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มัก
น้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเทวทัตจึงเพียร
พยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักรเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพระเทวทัต
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพระเทวทัตว่า “เทวทัต ทราบว่าเธอเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อ
ทำลายจักร จริงหรือ” พระเทวทัตทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั้นไม่สมควร ฯลฯ โมฆบุรุษ
ไฉนเธอจึงเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักรเล่า โมฆบุรุษ การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้
พระบัญญัติ
[๔๑๑] ก็ ภิกษุใดเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรือถือ
ยกย่องยืนยันอธิกรณ์อันเป็นเหตุทำให้แตกแยกกัน ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลาย
พึงว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “ท่านอย่าเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อม
เพรียง หรือถือยกย่องยืนยันอธิกรณ์อันเป็นเหตุทำให้แตกแยกกัน ท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๔๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๐. สังฆเภทสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
จงพร้อมเพรียงกับสงฆ์ เพราะสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ปรองดอง ไม่วิวาท มีอุทเทส
เดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก” และภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้
ยังยกย่องอยู่อย่างนั้น ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์จนครบ ๓
ครั้งเพื่อให้สละเรื่องนั้น ถ้าเธอกำลังถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓ ครั้ง สละ
เรื่องนั้นได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ เป็นสังฆาทิเสส
เรื่องพระเทวทัต จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๑๒] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ชื่อว่า ผู้พร้อมเพรียง คือ สงฆ์ผู้มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมาเดียวกัน
คำว่า เพียรพยายามเพื่อทำลาย คือ แสวงหาพวก รวมกันเป็นหมู่ โดยมุ่ง
หมายว่า ทำอย่างไร ภิกษุเหล่านี้จะแตกกันแยกกัน แบ่งเป็นพวก
คำว่า หรือ...อธิกรณ์อันเป็นเหตุทำให้แตกแยกกัน ได้แก่ เรื่องทำให้แตกกัน
๑๘ อย่าง๑

เชิงอรรถ :
๑ เรื่องทำให้แตกกัน ๑๘ อย่าง คือ (๑) แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม (๒) แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
(๓) แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย (๔) แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย (๕) แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ตรัสไว้
(๖) แสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ตรัสไว้ว่าไม่ได้ตรัสไว้ (๗) แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ทรงประพฤติมา
(๘) แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงประพฤติมาว่าไม่ทรงประพฤติมา (๙) แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ทรงบัญญัติไว้
ว่าทรงบัญญัติไว้ (๑๐) แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ว่าไม่ทรงบัญญัติไว้ (๑๑) แสดงอาบัติว่าไม่ใช่อาบัติ
(๑๒) แสดงสิ่งที่ไม่ใช่อาบัติว่าเป็นอาบัติ (๑๓) แสดงอาบัติเบาว่าเป็นอาบัติหนัก (๑๔) แสดงอาบัติหนักว่า
เป็นอาบัติเบา (๑๕) แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ (๑๖) แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า
เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ (๑๗) แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ (๑๘) แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า
เป็นอาบัติชั่วหยาบ (วิ.ป. ๘/๓๑๔/๒๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๔๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๐. สังฆเภทสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
คำว่า ถือ คือ ยึดเอา
คำว่า ยกย่อง คือ แสดง
คำว่า ยืนยัน คือ ไม่กลับคำ
คำว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์
คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น
อธิบายว่า ภิกษุผู้ได้เห็น ผู้ได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุผู้เพียรพยายาม
เพื่อทำลายสงฆ์นั้นว่า “ท่านอย่าเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรือ
อย่าถือยกย่องยืนยันอธิกรณ์อันเป็นเหตุทำให้แตกแยกกัน ท่านจงพร้อมเพรียง
กับสงฆ์ เพราะสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ปรองดอง ไม่วิวาท มีอุทเทสเดียวกัน ย่อมอยู่
ผาสุก” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้า
เธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลายทราบแล้วไม่
ว่ากล่าวตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงคุมตัวมาสู่ท่ามกลาง
สงฆ์ ว่ากล่าวตักเตือนว่า “ท่านอย่าเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง
หรืออย่าถือยกย่องยืนยันอธิกรณ์อันเป็นเหตุทำให้แตกแยกกัน ท่านจงพร้อมเพรียง
กับสงฆ์ เพราะสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ปรองดอง ไม่วิวาท มีอุทเทสเดียวกัน ย่อมอยู่
ผาสุก” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้า
เธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์เธอ
วิธีสวดสมนุภาสน์ และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์๑
ภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุนั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึง
ประกาศให้สงฆ์ทราบว่า
[๔๑๓] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เพียรพยายามเพื่อ
ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ภิกษุนั้นไม่ยอมสละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วก็พึงสวด
สมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ

เชิงอรรถ :
๑ การสวดสมนุภาสน์ คือ สงฆ์ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปสวดประกาศห้ามภิกษุไม่ให้ถือรั้นการอันมิชอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๔๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๐. สังฆเภทสิกขาบท บทภาชนีย์
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ผู้
พร้อมเพรียง ภิกษุนั้นไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์เธอเพื่อให้สละเรื่องนั้น
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ท่านรูป
นั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓
ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เพียรพยายาม
เพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ภิกษุนั้นไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์เธอเพื่อ
ให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละ
เรื่องนั้นเสีย ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์สวดสมนุภาสน์เพื่อให้สละเรื่องนั้นแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งเป็นมติอย่างนี้
[๔๑๔] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อเธอต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏ(ที่ต้อง) เพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย(ที่ต้อง) เพราะกรรม
วาจา ๒ ครั้ง ย่อมระงับไป
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”
บทภาชนีย์
[๔๑๕] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่สละ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่สละ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๔๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๐. สังฆเภทสิกขาบท อนาปัตติวาร
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๑๖] ๑. ภิกษุผู้ยังไม่ถูกสวดสมนุภาสน์
๒. ภิกษุผู้ยอมสละ
๓. ภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน
๕. ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ
สังฆเภทสิกขาบทที่ ๑๐ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท นิทานวัตถุ

๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท
ว่าด้วยภิกษุผู้ประพฤติตาม กล่าวสนับสนุนภิกษุผู้ทำลายสงฆ์
เรื่องพระโกกาลิกะและพวกประพฤติตาม กล่าวสนับสนุนพระเทวทัต
[๔๑๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถาน
ที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระเทวทัตเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์
เพื่อทำลายจักร
ภิกษุทั้งหลายกล่าวกันอย่างนี้ว่า “พระเทวทัตกล่าวสิ่งที่ไม่เป็นธรรม กล่าว
สิ่งที่ไม่เป็นวินัย ไฉนพระเทวทัตจึงเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักรเล่า”
เมื่อภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ พระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสกะ พระ
ขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัต ได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย
พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนั้น พระเทวทัตกล่าวสิ่งที่เป็นธรรม กล่าวสิ่งที่เป็นวินัย
ท่านกล่าวตามความพอใจและความชอบใจของพวกเรา ท่านทราบความพอใจและ
ความชอบใจของพวกเราจึงกล่าว พวกเราเห็นด้วยกับคำของท่าน”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุทั้งหลายจึงประพฤติตาม กล่าวสนับสนุนพระเทวทัตผู้เพียรพยายามเพื่อ
ทำลายสงฆ์เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิภิกษุพวกพระโกกาลิกะเหล่านั้นโดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า มีภิกษุประพฤติตาม กล่าว
สนับสนุนเทวทัตผู้เพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นไม่สมควร ฯลฯ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๔๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ
[๔๑๘] ก็ ภิกษุมีจำนวน ๑ รูป ๒ รูป หรือ ๓ รูปประพฤติตาม กล่าว
สนับสนุนภิกษุนั้น พวกเธอกล่าวอย่างนี้ว่า “พวกท่านอย่าว่ากล่าวอะไรภิกษุนั้น
ภิกษุนั้นกล่าวสิ่งที่เป็นธรรม ภิกษุนั้นกล่าวสิ่งที่เป็นวินัย ภิกษุนั้นกล่าวตามความ
พอใจและความชอบใจของพวกเรา เธอทราบความพอใจและความชอบใจของ
พวกเราจึงกล่าว พวกเราเห็นด้วยกับคำนั้น” ภิกษุเหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลายพึง
ว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “พวกท่านอย่าพูดอย่างนั้น ภิกษุนั้นไม่ใช่ผู้กล่าวสิ่ง
ที่เป็นธรรม ภิกษุนั้นไม่ใช่ผู้กล่าวสิ่งที่เป็นวินัย พวกท่านอย่าชอบใจการทำลาย
สงฆ์ พวกท่านจงพร้อมเพรียงกับสงฆ์ เพราะสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ปรองดอง ไม่
วิวาท มีอุทเทสเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก” ภิกษุเหล่านั้นอันพวกภิกษุว่ากล่าว
ตักเตือนอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้น ภิกษุเหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลายพึง
สวดสมนุภาสน์จนครบ ๓ ครั้งเพื่อให้สละเรื่องนั้น ถ้าพวกเธอกำลังถูกสวด
สมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓ ครั้ง สละเรื่องนั้นได้ นั่นเป็นการดี ถ้าพวกเธอไม่สละ
เป็นสังฆาทิเสส
เรื่องพระโกกาลิกะและพวกประพฤติตาม กล่าวสนับสนุนพระเทวทัต จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๑๙] คำว่า ก็...ภิกษุนั้น คือ ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั้น
คำว่า ภิกษุ คือ มีภิกษุเหล่าอื่น
คำว่า ประพฤติตาม ความว่า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์เห็นอย่างไร พอใจอย่างไร
และชอบใจอย่างไร แม้ภิกษุเหล่านั้นก็เห็นอย่างนั้น พอใจอย่างนั้นและชอบใจ
อย่างนั้น
คำว่า กล่าวสนับสนุน คือ ดำรงอยู่ในพวก ในฝ่ายของภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๕๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
คำว่า ๑ รูป ๒ รูป หรือ ๓ รูป ความว่า มีภิกษุ ๑ รูป ๒ รูป หรือ ๓ รูป
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “พวกท่านอย่าว่ากล่าวอะไรภิกษุนั้น ภิกษุนั้นกล่าว
สิ่งที่เป็นธรรม ภิกษุนั้นกล่าวสิ่งที่เป็นวินัย ภิกษุนั้นกล่าวตามความพอใจและชอบใจ
ของพวกเรา เธอทราบความพอใจและความชอบใจของพวกเราจึงกล่าว พวกเรา
เห็นด้วยกับคำนั้น”
คำว่า ภิกษุเหล่านั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ประพฤติตามเหล่านั้น
คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น
อธิบายว่า ภิกษุผู้ได้เห็น ผู้ได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุผู้ประพฤติตาม
เหล่านั้นว่า “พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนั้น ภิกษุนั้นไม่ใช่ผู้กล่าวสิ่งที่เป็นธรรม ภิกษุ
นั้นไม่ใช่ผู้กล่าวสิ่งที่เป็นวินัย พวกท่านอย่าชอบใจการทำลายสงฆ์ พวกท่านจง
พร้อมเพรียงกับสงฆ์ เพราะสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ปรองดอง ไม่วิวาท มีอุทเทสเดียวกัน
ย่อมอยู่ผาสุก” พึงว่ากล่าวตักเตือนพวกเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนพวก
เธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าภิกษุเหล่านั้นสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลายทราบแล้วไม่ว่ากล่าวตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุเหล่านั้นอันภิกษุ
ทั้งหลายพึงคุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ ว่ากล่าวตักเตือนว่า “พวกท่านอย่ากล่าวอย่าง
นั้น ภิกษุนั้นไม่ใช่ผู้กล่าวสิ่งที่เป็นธรรม ภิกษุนั้นไม่ใช่ผู้กล่าวสิ่งที่เป็นวินัย พวกท่าน
อย่าชอบใจการทำลายสงฆ์ พวกท่านจงพร้อมเพรียงกับสงฆ์ เพราะสงฆ์ผู้พร้อม
เพรียง ปรองดอง ไม่วิวาท มีอุทเทสเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก” พึงว่ากล่าวตักเตือน
พวกเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนพวกเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าภิกษุเหล่านั้นสละได้
นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุเหล่านั้น
วิธีสวดสมนุภาสน์ และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
ภิกษุเหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์อย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาด
สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบว่า
[๔๒๐] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้
ประพฤติตาม กล่าวสนับสนุนภิกษุชื่อนี้ผู้เพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่า

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
นั้นยังไม่สละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงสวดสมนุภาสน์ ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และ
ชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้ ประพฤติตาม
กล่าวสนับสนุนภิกษุชื่อนี้ผู้เพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่านั้นยังไม่สละเรื่อง
นั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใด
เห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่าน
รูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอ
สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้ ประพฤติตาม กล่าวสนับสนุนภิกษุชื่อ
นี้ผู้เพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่านั้นยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวด
สมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการ
สวดสมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้ สงฆ์สวดสมนุภาสน์เพื่อให้สละเรื่องนั้น สงฆ์เห็น
ด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[๔๒๑] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อพวกเธอต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏ(ที่ต้อง) เพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย(ที่ต้อง) เพราะกรรมวาจา
๒ ครั้ง ย่อมระงับไป
สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุ ๒-๓ รูปคราวเดียวกัน ไม่พึงสวดสมนุภาสน์
ภิกษุมากกว่านั้นคราวเดียวกัน
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๕๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
[๔๒๒] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่สละ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่สละ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๒๓] ๑. ภิกษุยังไม่ถูกสวดสมนุภาสน์
๒. ภิกษุผู้ยอมสละ
๓. ภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน
๕. ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ
สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบทที่ ๑๑ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๒. ทุพพจสิกขาบท นิทานวัตถุ

๑๒. ทุพพจสิกขาบท
ว่าด้วยภิกษุเป็นคนว่ายาก
เรื่องพระฉันนะ
[๔๒๔] สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุง
โกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะ๑ ประพฤติไม่สมควร ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือน
อย่างนี้ว่า “ท่านฉันนะ ท่านอย่าได้กระทำอย่างนี้ การกระทำอย่างนั้นไม่สมควร”
ท่านพระฉันนะกล่าวอย่างนี้ว่า “พวกท่านสำคัญว่าผมเป็นผู้ที่พวกท่านควร
ว่ากล่าวตักเตือนหรือ ผมต่างหากสมควรว่ากล่าวตักเตือนพวกท่าน พระพุทธเจ้า
เป็นของผม พระธรรมเป็นของผม พระธรรมอันพระลูกเจ้าของผมเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว
พวกท่านต่างชื่อ ต่างโคตร ต่างชาติ ต่างตระกูล มาบวชรวมกัน ดุจลมพายุพัดหญ้า ไม้
และใบไม้แห้งมารวมกัน หรือดุจแม่น้ำไหลจากภูเขาพัดจอกแหนมารวมกันไว้ พวก
ท่านสำคัญว่าผมเป็นผู้ที่พวกท่านควรว่ากล่าวตักเตือนหรือ ผมต่างหากสมควรว่า
กล่าวตักเตือนพวกท่าน พระพุทธเจ้าเป็นของผม พระธรรมเป็นของผม พระธรรม
อันพระลูกเจ้าของผมเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา
พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระฉันนะเมื่อภิกษุทั้งหลายว่ากล่าว
ตักเตือนโดยชอบธรรมจึงทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้เล่า” ครั้นภิกษุ
ทั้งหลายตำหนิท่านพระฉันนะโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระฉันนะว่า “ฉันนะ ทราบว่า เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือน

เชิงอรรถ :
๑ พระฉันนะ เคยเป็นสารถีของเจ้าชายสิทธัตถะในวันเสด็จออกบรรพชา ต่อมาเมื่อบวชเป็นภิกษุถือตัวว่า
เป็นคนใกล้ชิดพระพุทธเจ้า ใครว่ากล่าวก็ไม่ยอมเชื่อฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๕๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๒. ทุพพจสิกขาบท พระบัญญัติ
โดยชอบธรรมกลับทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ จริงหรือ” ท่านพระฉันนะ
ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ
การกระทำอย่างนี้ไม่สมควร ฯลฯ ไม่ควรทำ โมฆบุรุษ ไฉนเธออันภิกษุทั้งหลายว่า
กล่าวตักเตือนโดยชอบธรรมจึงทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ โมฆบุรุษ
การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้
พระบัญญัติ
[๔๒๕] ก็ ภิกษุเป็นคนว่ายาก อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนโดย
ชอบธรรม ในสิกขาบทที่มาในอุทเทศ กลับทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือน
ไม่ได้ โดยกล่าวว่า “พวกท่านอย่าว่ากล่าวอะไรผม ไม่ว่าดีหรือเลว ถึงผมก็จะ
ไม่ว่ากล่าวอะไรพวกท่าน ไม่ว่าดีหรือเลวเหมือนกัน พวกท่านงดเว้นว่ากล่าวผม
เถิด” ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “ท่านอย่าทำตัว
ให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ จงทำตัวให้เป็นคนที่เขาว่ากล่าวตักเตือนได้
แม้ท่านก็จงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรม แม้ภิกษุทั้งหลายก็จะ
ว่ากล่าวตักเตือนท่านโดยชอบธรรม เพราะว่าบริษัทของพระผู้มีพระภาคเจริญ
แล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือด้วยการว่ากล่าวตักเตือนกันและกัน ด้วยการช่วย
เหลือกันและกันให้ออกจากอาบัติ” ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือน
อยู่อย่างนี้ ก็ยังยกย่องอยู่อย่างนั้น ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์
จนครบ ๓ ครั้งเพื่อให้สละเรื่องนั้น ถ้าเธอกำลังถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓
ครั้ง สละเรื่องนั้นได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ เป็นสังฆาทิเสส
เรื่องพระฉันนะ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๒. ทุพพจสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

สิกขาบทวิภังค์
[๔๒๖] คำว่า ก็...ภิกษุเป็นคนว่ายาก ความว่า เป็นผู้ว่ายาก ประกอบ
ด้วยธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก ไม่อดทนรับคำสอนโดยเคารพ
คำว่า ในสิกขาบทที่มาในอุทเทศ ได้แก่ ในสิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์
คำว่า ภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุเหล่าอื่น
ชื่อว่า โดยชอบธรรม คือ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัตติแล้ว นั่น
ชื่อว่า โดยชอบธรรม
ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่โดยสิกขาบทชอบธรรมนั้น
กลับทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้โดยกล่าวว่า “พวกท่านอย่าว่ากล่าว
อะไรผมไม่ว่าดีหรือเลว ถึงผมก็จะไม่ว่ากล่าวอะไรพวกท่าน ไม่ว่าดีหรือเลว พวก
ท่านจงเว้นว่ากล่าวผมเถิด”
คำว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ว่ายากนั้น
คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น
อธิบายว่า ภิกษุผู้ได้เห็น ผู้ได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุเป็นคนว่ายากนั้นว่า
“ท่านอย่าทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ จงทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตัก
เตือนได้ แม้ท่านจงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรม แม้ภิกษุทั้งหลายก็
จะว่ากล่าวตักเตือนท่านโดยชอบธรรม เพราะว่าบริษัทของพระผู้มีพระภาคเจริญแล้ว
ด้วยอาการอย่างนี้ คือ ด้วยการว่ากล่าวตักเตือนกันและกัน ด้วยการช่วยเหลือกัน
และกันให้ออกจากอาบัติ” ควรว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒ ควรว่ากล่าวตัก
เตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลายได้ยินแล้วไม่ว่ากล่าวตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้ง
หลายพึงคุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ ว่ากล่าวตักเตือนว่า “ท่านอย่าทำตัวให้เป็นคนที่
ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ จงทำตัวให้เป็นคนที่เขาว่ากล่าวตักเตือนได้ แม้ท่านจงว่า
กล่าวตักเตือนภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรม แม้ภิกษุทั้งหลายก็จะว่ากล่าวตักเตือน
ท่านโดยชอบธรรม เพราะบริษัทของพระผู้มีพระภาคเจริญแล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๒. ทุพพจสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ด้วยการว่ากล่าวตักเตือนกันและกัน ด้วยการช่วยเหลือกันและกันให้ออกจากอาบัติ”
ควรว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒ ควรว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าเธอ
สละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์เธอ
วิธีสวดสมนุภาสน์ และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
ภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุนั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึง
ประกาศให้สงฆ์ทราบว่า
[๔๒๗] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้อันภิกษุทั้งหลายว่า
กล่าวตักเตือนโดยชอบธรรม กลับทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ ภิกษุนั้น
ไม่ยอมสละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละ
เรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตัก
เตือนโดยชอบธรรม กลับทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ ภิกษุนั้นไม่ยอม
สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใดเห็นด้วย
กับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่
เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์
จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนโดยชอบธรรม กลับทำตัว
ให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ ภิกษุนั้นไม่ยอมสละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์
ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้
เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์สวดสมนุภาสน์ เพื่อให้สละเรื่องนั้น สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[๔๒๘] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อเธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๕๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๒. ทุพพจสิกขาบท อนาปัตติวาร
อาบัติทุกกฏ(ที่ต้อง) เพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย(ที่ต้อง) เพราะกรรมวาจา ๒ ครั้ง
ย่อมระงับไป
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส
ฯลฯ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”
บทภาชนีย์
[๔๒๙] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่สละ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่สละ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๓๐] ๑. ภิกษุยังไม่ถูกสวดสมนุภาสน์
๒. ภิกษุผู้ยอมสละ
๓. ภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุต้นบัญญัติ
ทุพพจสิกขาบทที่ ๑๒ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท นิทานวัตถุ

๑๓. กุลทูสกสิกขาบท
ว่าด้วยภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล
เรื่องภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ
[๔๓๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะ
เป็นเจ้าถิ่น เป็นอลัชชีเลวทราม อยู่ในกีฏาคิรีชนบท
ภิกษุพวกนั้น๑ ประพฤติไม่เหมาะสมเห็นปานนี้ คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้
อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อย
ดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นร้อยบ้าง ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัย
เรียงก้านเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง จัดดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ผู้อื่นจัดบ้าง ทำดอกไม้พุ่ม
เองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง
ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้แผงประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งมาลัยต่อก้าน มาลัยเรียงก้าน
ดอกไม้ช่อ ดอกไม้พุ่ม ดอกไม้เทริด ดอกไม้พวง ดอกไม้แผงประดับอก เพื่อกุลสตรี
เพื่อกุลธิดา เพื่อกุลกุมารี เพื่อสะใภ้ของตระกูล เพื่อทาสหญิงในตระกูล
ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในภาชนะเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง
นั่งบนอาสนะเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดเดียวกันบ้าง
นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้างกับ
กุลสตรี กุลธิดา กุลกุมารี สะใภ้ของตระกูล ทาสหญิงในตระกูล
ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรงดอกไม้ของ
หอมและเครื่องลูบไล้บ้าง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง ฟ้อนรำ
กับหญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคมกับหญิงฟ้อนรำบ้าง เต้นรำ
กับหญิงฟ้อนรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้าง ขับร้องกับหญิงขับร้องบ้าง ประโคม

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จู. ๗/๒๙๓/๕๑๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๕๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท นิทานวัตถุ
กับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง ขับร้อง
กับหญิงประโคมบ้าง ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง
ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง
เต้นรำกับหญิงเต้นรำบ้าง เล่นหมากรุกแถวละ ๘ ตาบ้าง แถวละ ๑๐ ตาบ้าง เล่น
หมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนห่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง
เล่นฟาดให้เป็นรูปต่างๆ บ้าง เล่นสกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อยๆ บ้าง
เล่นหกคะเมน บ้าง เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่นรถน้อยๆ บ้าง
เล่นธนูน้อยๆ บ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง หัดขี่
ช้างบ้าง หัดขี่ม้าบ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง วิ่งผลัดช้างบ้าง
วิ่งผลัดม้าบ้าง วิ่งผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวบ้าง ผิวปากบ้าง ปรบมือบ้าง
ปล้ำกันบ้าง ชกมวยบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิท่ามกลางเวทีเต้นรำแล้วพูดกับหญิงฟ้อน
รำอย่างนี้ว่า “น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำในที่นี้”ดังนี้แล้ว ให้การคำนับบ้าง
ประพฤติไม่เหมาะสมต่าง ๆ บ้าง
[๔๓๒] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำพรรษาในแคว้นกาสีแล้ว เดินทางไปกรุง
สาวัตถีเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค เดินทางไปจนถึงกีฏาคิรีชนบท ครั้นเวลาเช้า ท่าน
ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรไปบิณฑบาตที่กีฏาคิรีชนบท มีการก้าวไป การ
ถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก ที่น่าเลื่อมใส สายตา
มองทอดลง สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ
พวกชาวบ้านเห็นภิกษุนั้นแล้วพากันกล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุนี้เป็นใคร ดูคล้าย
ไม่ค่อยมีกำลัง เหมือนคนอ่อนแอ เหมือนคนขมวดคิ้วก้มหน้า เมื่อท่านรูปนี้เข้าไป
บิณฑบาต ใครเล่าจะถวายอาหารบิณฑบาต ส่วนพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะของ
พวกเรา เป็นคนอ่อนโยน พูดไพเราะ อ่อนหวาน ยิ้มแย้มก่อน มักกล่าวว่ามาเถิด
และมาดีแล้ว ไม่ก้มหน้า หน้าตาชื่นบาน ทักทายก่อน ใคร ๆ ก็อยากจะถวาย
อาหารท่านเหล่านั้น”
อุบาสกคนหนึ่งเห็นภิกษุนั้นกำลังบิณฑบาตในกีฏาคิรีชนบท ครั้นแล้วได้
เข้าไปหาภิกษุนั้นไหว้แล้วกล่าวกับท่านว่า “พระคุณเจ้าได้อาหารบิณฑบาตบ้างไหม
ขอรับ”

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท นิทานวัตถุ
ภิกษุนั้นตอบว่า “อาตมายังไม่ได้อาหารเลย”
อุบาสกกล่าวนิมนต์ว่า “นิมนต์ไปเรือนกระผมเถิด ขอรับ” แล้วพาภิกษุนั้น
ไปเรือน นิมนต์ให้ฉันแล้วถามว่า “พระคุณเจ้า ท่านจะไปที่ไหน ขอรับ”
ภิกษุนั้นตอบว่า “เจริญพร อาตมาจะไปกรุงสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค”
อุบาสกกล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้น ท่านจงถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระ
ภาคด้วยเศียรเกล้า และขอจงกราบทูลตามถ้อยคำของกระผมอย่างนี้ด้วยว่า
‘พระพุทธเจ้าข้า วัดในกีฏาคิรีชนบททรุดโทรม ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะเป็น
เจ้าถิ่น อยู่ในกีฏาคิรีชนบท เป็นภิกษุอลัชชีเลวทราม พวกเธอประพฤติไม่เหมาะสม
เห็นปานนี้ คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูกบ้าง ฯลฯ ประพฤติไม่เหมาะสมต่าง ๆ
แม้พวกชาวบ้านที่เคยศรัทธาเลื่อมใสแต่เดี๋ยวนี้ไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใส ทานที่เคย
ถวายประจำแก่สงฆ์ บัดนี้ทายกทายิกาเลิกถวายแล้ว ภิกษุผู้มีศีลพากันจากไป ภิกษุ
ผู้เลวทรามอยู่ครอบครอง ขอประทานวโรกาสเถิดพระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระ
ภาคโปรดส่งภิกษุทั้งหลายไปกีฏาคิรีชนบทเพื่อวัดจะได้ตั้งมั่นอยู่สืบไปในที่นั้น”
ภิกษุนั้นรับคำของของอุบาสกแล้วเดินทางไปทางกรุงสาวัตถี ไปถึงกรุงสาวัตถี
ถึงพระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐีโดยลำดับ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ แล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคนั่งลง ณ ที่สมควร
พุทธประเพณี
อันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะ
ทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ เธอยังสบายดีหรือ
ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ เธอเดินทางมาโดยไม่ลำบากหรือ เธอมาจากไหน”
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า “สบายดี พระพุทธเจ้าข้า พอเป็นอยู่ได้ พระพุทธเจ้าข้า
ข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาโดยไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจำพรรษา
ในแคว้นกาสี เมื่อจะมาเฝ้าพระองค์ที่เมืองนี้ เดินทางผ่านกีฏาคิรีชนบท เวลาเช้า

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท นิทานวัตถุ
ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกีฏาคิรีชนบท อุบาสกคนหนึ่ง
เห็นข้าพระพุทธเจ้ากำลังเที่ยวบิณฑบาต เข้ามาหา ไหว้แล้วถามว่า ‘พระคุณเจ้าได้
อาหารบิณฑบาตบ้างไหม ขอรับ’ ฯลฯ เขากล่าวว่า ‘ท่านขอรับ ถ้าเช่นนั้น ขอท่าน
จงถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และขอจงกราบทูลตาม
ถ้อยคำของกระผมอย่างนี้ว่า ‘พระพุทธเจ้าข้า วัดในกีฏาคิรีชนบททรุดโทรม ภิกษุชื่อ
ว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะเป็นเจ้าถิ่น อยู่ในกีฏาคิรีชนบท เป็นภิกษุอลัชชีเลวทราม
พวกเธอประพฤติไม่เหมาะสมเห็นปานนี้ คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูกบ้าง ฯลฯ
ประพฤติไม่เหมาะสมต่าง ๆ แม้พวกชาวบ้านที่เคยศรัทธาเลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้ไม่
ศรัทธาไม่เลื่อมใส ทานที่เคยถวายประจำแก่สงฆ์ บัดนี้ทายกทายิกาเลิกถวายแล้ว
ภิกษุผู้มีศีลพากันจากไป ภิกษุผู้เลวทรามอยู่ครอบครอง ขอประทานวโรกาสเถิด
พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคโปรดส่งภิกษุทั้งหลายไปสู่กีฏาคิรีชนบทเพื่อวัดจะ
ได้ตั้งมั่นอยู่สืบไปในที่นั้น’ ข้าพระพุทธเจ้ามาจากกีฏาคิรีชนบทนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
ทรงสอบถามแล้วตำหนิ
[๔๓๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้น
เหตุ ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและ
ปุนัพพสุกะ เป็นเจ้าถิ่น เป็นภิกษุอลัชชี เลวทราม อยู่ในกีฏาคิรีชนบท ประพฤติไม่
เหมาะสมเห็นปานนี้ คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ให้ผู้อื่น
รดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นร้อยบ้าง ทำ
มาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง จัด
ดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ผู้อื่นจัดบ้าง ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้
เทริดเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้แผง
ประดับอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ฯลฯ ประพฤติไม่เหมาะสมต่าง ๆ แม้พวกชาว
บ้านที่เคยศรัทธาเลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้ไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใส ทานที่เคยถวายประจำแก่
สงฆ์ บัดนี้ ทายกทายิกาได้เลิกถวายแล้ว ภิกษุผู้มีศีลพากันจากไป ภิกษุผู้เลวทราม
อยู่ครอบครอง จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นไม่

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท นิทานวัตถุ
สมควร ฯลฯ ไม่ควรทำ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงประพฤติไม่เหมาะ
สมอย่างนี้ คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ให้ผู้อื่นรดบ้าง
เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นร้อยบ้าง ทำมาลัย
ต่อก้านเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง จัดดอกไม้
ช่อเองบ้าง ใช้ผู้อื่นจัดบ้าง ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทริด
เองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้แผงประดับ
อกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งมาลัยต่อ
ก้าน มาลัยเรียงก้าน ดอกไม้ช่อ ดอกไม่พุ่ม ดอกไม้เทริด ดอกไม้พวง ดอกไม้แผง
ประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุลกุมารี เพื่อสะใภ้ของตระกูล เพื่อทาส
หญิงในตระกูล
ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในภาชนะเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง
นั่งบนอาสนะเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดเดียวกันบ้าง
นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้างกับ
กุลสตรี กุลธิดา กุลกุมารี สะใภ้ของตระกูล ทาสหญิงในตระกูล
ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรงดอกไม้ของ
หอมและเครื่องลูบไล้บ้าง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง ฟ้อนรำ
กับหญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคมกับหญิงฟ้อนรำบ้าง เต้นรำ
กับหญิงฟ้อนรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้าง ขับร้องกับหญิงขับร้องบ้าง ประโคม
กับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง ขับร้อง
กับหญิงประโคมบ้าง ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง ฟ้อน
รำกับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง เต้นรำ
กับหญิงเต้นรำบ้าง เล่นหมากรุกแถวละ ๘ ตาบ้าง แถวละ ๑๐ ตาบ้าง เล่นหมาก
เก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนห่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่นฟาด
ให้เป็นรูปต่างๆ บ้าง เล่นสกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อยๆ บ้าง เล่นหกคะเมน
บ้าง เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่นรถน้อยๆ บ้าง เล่นธนูน้อยๆ
บ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง หัดขี่ช้างบ้าง หัดขี่ม้า

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท นิทานวัตถุ
บ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง วิ่งผลัดช้างบ้าง วิ่งผลัดม้าบ้าง วิ่ง
ผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวบ้าง ผิวปากบ้าง ปรบมือบ้าง ปล้ำกันบ้าง ชก
มวยบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิท่ามกลางเวทีเต้นรำแล้วพูดกับหญิงฟ้อนรำอย่างนี้ว่า
“น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำในที่นี้”ดังนี้แล้ว ให้การคำนับบ้าง ประพฤติไม่เหมาะสม
ต่าง ๆ บ้าง ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
ฯลฯ คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวกก็จะกลายเป็นอื่นไป”
รับสั่งให้ทำปัพพาชนียกรรม
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะโดยประการต่าง ๆ
แล้วรับสั่งเรียกพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะมาตรัสว่า “ไปเถิด สารีบุตร
โมคคัลลานะ เธอทั้งสองจงไปกีฏาคิรีชนบท จงทำปัพพาชนียกรรม๑ ภิกษุชื่อว่า
อัสสชิและปุนัพพสุกะไปจากกีฏาคีรีชนบท เพราะภิกษุพวกนั้นเป็นสัทธิวิหาริกของ
เธอทั้งสอง”
พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะกราบทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า ข้า
พระพุทธเจ้าจะทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะได้อย่างไร
เพราะพวกเธอดุร้าย หยาบคาย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น เธอจงไปกับภิกษุหลายๆ รูป”
พระเถระทั้งสอง ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว
วิธีทำปัพพาชนียกรรม และกรรมวาจาทำปัพพาชนียกรรม
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พึงทำปัพพาชนียกรรมอย่างนี้ เริ่ม
ด้วยพึงโจทภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะ ครั้นแล้วให้พวกเธอให้การ เมื่อพวกเธอ
ให้การแล้วจึงปรับอาบัติ ครั้นปรับอาบัติแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้
สงฆ์ทราบว่า

เชิงอรรถ :
๑ ปัพพาชนียกรรม หมายถึง การขับออกจากหมู่, การไล่ออกจากวัด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๖๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท นิทานวัตถุ
[๔๓๔] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะ
๒ รูปนี้ ประทุษร้ายตระกูล๑ ประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของพวกเธอ
เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว และตระกูลทั้งหลายที่ถูกพวกเธอประทุษร้าย เขาก็ได้เห็น
และได้ยินกันทั่ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงทำปัพพาชนียกรรมภิกษุชื่อว่าอัสสชิและ
ปุนัพพสุกะไปจากกีฏาคิรีชนบทโดยประกาศว่า ‘ภิกษุชื่ออัสสชิและปุนัพพสุกะไม่พึง
อยู่ในกีฏาคิรีชนบท’ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะประทุษ
ร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความประพฤติของพวกเธอ เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว
และตระกูลทั้งหลายที่ถูกพวกเธอประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว สงฆ์ทำ
ปัพพาชนียกรรมพวกเธอไปจากกีฏาคิรีชนบทโดยประกาศว่า ‘ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและ
ปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในกีฏาคิรีชนบท’ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการทำปัพพาชนียกรรม
ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะไปจากกีฏาคิรีชนบทโดยประกาศว่า ‘ภิกษุชื่อว่า
อัสสชิและปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในกีฏาคิรีชนบท’ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็น
ด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์
จงฟังข้าพเจ้า ฯลฯ ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ปัพพาชนียกรรม ไปจากกีฏาคิรีชนบท สงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและ
ปุนัพพสุกะโดยประกาศว่า ‘ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในกีฏาคิรีชนบท’
สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
[๔๓๕] ลำดับนั้น ภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นประธาน
เดินทางไปกีฏาคิรีชนบท ได้ทำปัพพาชนียกรรมภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะไป
จากกีฏาคิรีชนบทโดยประกาศว่า “ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ใน
กีฏาคิรีชนบท”

เชิงอรรถ :
๑ การประทุษร้ายตระกูลในที่นี้ หมายถึงการที่ภิกษุประจบคฤหัสถ์เอาใจคฤหัสถ์ ด้วยการกระทำที่ผิดวินัย
มุ่งให้เขาชอบตนเป็นส่วนตัว เป็นเหตุให้คฤหัสถ์คลายศรัทธาในพระศาสนาและเสื่อมจากกุศลธรรม เช่น ให้
ของกำนัลเหมือนที่พวกคฤหัสถ์เขาทำกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๖๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท พระบัญญัติ
ภิกษุพวกนั้นถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้วก็ยังไม่ประพฤติชอบ ไม่หายเย่อ
หยิ่ง ไม่ประพฤติกลับตัว ไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลาย ยังด่ายังบริภาษการกสงฆ์ เที่ยว
ใส่ความว่าการกสงฆ์ลำเอียงเพราะความพอใจ ลำเอียงเพราะความขัดเคือง ลำเอียง
เพราะความหลง ลำเอียงเพราะความกลัว บรรดาบริวารของภิกษุชื่อว่าอัสสชิและ
ปุนัพพสุกะ บางพวกหลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มี
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
ชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้วจึงไม่ยอมประพฤติชอบ
ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ประพฤติกลับตัว ไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลาย ยังด่ายังบริภาษการก
สงฆ์ เที่ยวใส่ความว่าการกสงฆ์ลำเอียงเพราะความพอใจ ลำเอียงเพราะความขัดเคือง
ลำเอียงเพราะความหลง ลำเอียงเพราะความกลัว บรรดาบริวารของภิกษุชื่อว่า
อัสสชิและปุนัพพสุกะ บางพวกหลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มีเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้น
ตำหนิภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะ
ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว ยังไม่ประพฤติชอบ ฯลฯ สึกไปก็มี จริงหรือ” ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นไม่สมควร ฯลฯ ไม่ควรทำ ภิกษุทั้ง
หลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ยังไม่ประพฤติชอบ ฯลฯ
สึกไปก็มีเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้
พระบัญญัติ
[๔๓๖] ก็ ภิกษุอยู่อาศัยหมู่บ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง ประทุษร้าย
ตระกูล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของเธอ เขาได้เห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๖๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
และได้ยินกันทั่ว ตระกูลทั้งหลายที่เธอประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว
ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “ท่านประทุษร้ายตระกูล
ประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของท่าน เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว
ตระกูลทั้งหลายที่ท่านประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ท่านจงออก
จากอาวาสนี้ อย่าอยู่ที่นี้” และภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่อย่างนี้
ก็โต้ตอบภิกษุทั้งหลายว่า “พวกภิกษุลำเอียงเพราะความพอใจ ลำเอียงเพราะ
ความขัดเคือง ลำเอียงเพราะความหลง และลำเอียงเพราะความกลัว ขับภิกษุ
บางรูป ไม่ขับบางรูป เพราะอาบัติอย่างเดียวกัน” ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่า
กล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “ท่านอย่าพูดอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ลำเอียงเพราะ
ความพอใจ ไม่ลำเอียงเพราะความขัดเคือง ไม่ลำเอียงเพราะความหลง และ
ไม่ลำเอียงเพราะความกลัว ท่านประทุษร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความ
ประพฤติเลวทรามของท่าน เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ตระกูลทั้งหลายที่ท่าน
ประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ท่านจงออกจากอาวาสนี้ อย่าอยู่
ที่นี้” ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่อย่างนี้ ก็ยังยกย่องอยู่
อย่างนั้น ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์จนครบ ๓ ครั้งเพื่อให้
สละเรื่องนั้น ถ้าเธอกำลังถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓ ครั้ง สละเรื่องนั้นได้
นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ เป็นสังฆาทิเสส
เรื่องภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๓๗] คำว่า ก็ภิกษุ...หมู่บ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง ความว่า หมู่
บ้านก็ดี นิคมก็ดี เมืองก็ดี ชื่อว่าหมู่บ้านและนิคม
คำว่า อยู่อาศัย คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
เนื่องในหมู่บ้านและนิคมนั้น
ชื่อว่า ตระกูล หมายถึงตระกูล ๔ ได้แก่ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์
ตระกูลแพศย์และตระกูลศูทร

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
คำว่า ประทุษร้ายตระกูล คือ ประทุษร้ายตระกูลด้วยดอกไม้ ผลไม้ แป้ง ดิน
เหนียว ไม้สีฟัน ไม้ไผ่ การแพทย์หรือการสื่อสาร
คำว่า มีความประพฤติเลวทราม คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูกบ้าง
รดน้ำเองบ้าง ใช้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยดอกไม้เองบ้าง
ใช้ผู้อื่นร้อยบ้าง
คำว่า เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว คือ กลุ่มชนที่อยู่เฉพาะหน้าชื่อว่า ได้เห็น
กลุ่มชนที่อยู่ลับหลัง ชื่อว่าได้ยิน
คำว่า ตระกูลทั้งหลายที่เธอประทุษร้าย คือ เมื่อก่อนชาวบ้านมีศรัทธา
กลับกลายเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อก่อนเลื่อมใสกลับกลายเป็นผู้ไม่เลื่อมใส เพราะภิกษุนั้น
คำว่า เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว คือ กลุ่มชนที่อยู่เฉพาะหน้าชื่อว่าได้เห็น
กลุ่มชนที่อยู่ลับหลังชื่อว่าได้ยิน
คำว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล
คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น
อธิบายว่า ภิกษุผู้ได้เห็น ผู้ได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูลว่า
“ท่านประทุษร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของท่าน เขา
ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ตระกูลทั้งหลายที่ท่านประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว
ท่านจงออกจากอาวาสนี้ อย่าอยู่ที่นี้”
ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือน ก็โต้ตอบภิกษุทั้งหลายว่า “พวก
ภิกษุลำเอียงเพราะความพอใจ ลำเอียงเพราะความขัดเคือง ลำเอียงเพราะความหลง
ลำเอียงเพราะความกลัว ขับภิกษุบางรูป ไม่ขับบางรูป เพราะอาบัติอย่างเดียวกัน”
คำว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ที่ถูกลงโทษนั้น
คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น
อธิบายว่า ภิกษุผู้ได้เห็น ผู้ได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูลว่า
“ท่านอย่าพูดอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ลำเอียงเพราะความพอใจ ไม่ลำเอียงเพราะ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ความขัดเคือง ไม่ลำเอียงเพราะความหลง ไม่ลำเอียงเพราะความกลัว ท่านประทุษ
ร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของท่าน เขาได้เห็นและได้
ยินกันทั่ว ตระกูลทั้งหลายที่ท่านประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ท่านจง
ออกจากอาวาสนี้ อย่าอยู่ที่นี้” พึงว่ากล่าวตักเตือนแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือน
เธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้ง
หลายได้ยินแล้วไม่ว่ากล่าวตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึง
คุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนว่า “ท่านอย่าพูดอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย
ไม่ลำเอียงเพราะความพอใจ ไม่ลำเอียงเพราะความขัดเคือง ไม่ลำเอียงเพราะ
ความหลง ไม่ลำเอียงเพราะความกลัว ท่านประทุษร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม
ความประพฤติเลวทรามของท่าน เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ตระกูลทั้งหลายที่ท่าน
ประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ท่านจงออกจากอาวาสนี้ อย่าอยู่ที่นี้”
พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าเธอ
สละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์เธอ
วิธีสวดสมนุภาสน์ และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุนั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศ
ให้สงฆ์ทราบว่า
[๔๓๘] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนีย
กรรมแล้วใส่ความภิกษุทั้งหลายว่ามีความลำเอียงเพราะความพอใจ มีความลำเอียง
เพราะความขัดเคือง มีความลำเอียงเพราะความหลง มีความลำเอียงเพราะความกลัว
ภิกษุนั้นไม่ยอมสละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้ เพื่อ
ให้สละเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว
ใส่ความภิกษุทั้งหลายว่า มีความลำเอียงเพราะความพอใจ มีความลำเอียงเพราะ
ความขัดเคือง มีความลำเอียงเพราะความหลง มีความลำเอียงเพราะความกลัว
ภิกษุนั้นไม่ยอมสละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์เธอเพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใด
เห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท บทภาชนีย์
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่ ๓ ว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯลฯ ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้วเพื่อให้สละเรื่องนั้น สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[๔๓๙] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อเธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส
อาบัติทุกกฏ(ที่ต้อง) เพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย(ที่ต้อง) เพราะกรรมวาจา ๒ ครั้ง
ย่อมระงับไป
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ชัก
เข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและเรียกเข้าหมู่ คณะทำไม่ได้ ภิกษุรูปเดียวก็ทำไม่ได้
ฉะนั้น จึงตรัสว่า “เป็นสังฆาทิเสส”
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส นั้น เป็นการขนานนาม เป็นคำเรียกหมวดอาบัตินั้น
โดยอ้อมนั่นเอง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”
บทภาชนีย์
[๔๔๐] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่สละ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่สละ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๗๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท บทสรุป

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๔๑] ๑. ภิกษุยังไม่ถูกสวดสมนุภาสน์
๒. ภิกษุผู้ยอมสละ
๓. ภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุต้นบัญญัติ
กุลทูสกสิกขาบทที่ ๑๓ จบ

บทสรุป
[๔๔๒] ท่านทั้งหลาย ธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้น
แสดงแล้ว คือ ๙ สิกขาบทแรกต้องอาบัติในขณะที่ล่วงละเมิดทีเดียว ๔ สิกขาบท
หลังต้องอาบัติเมื่อสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ภิกษุต้องอาบัติข้อใดข้อหนึ่งแล้ว รู้
อยู่แต่ปกปิดไว้สิ้นจำนวนวันเท่าใด ภิกษุนั้นพึงอยู่ปริวาสด้วยความไม่ปรารถนาสิ้น
วันเท่านั้น ภิกษุอยู่ปริวาสแล้วต้องประพฤติวัตรเพื่อมานัตสำหรับภิกษุเพิ่มขึ้นอีก ๖
ราตรี ภิกษุผู้ประพฤติมานัตแล้วถูกสงฆ์เรียกเข้าหมู่ในสีมามีภิกษุสงฆ์ ๒๐ รูป ถ้า
ภิกษุสงฆ์ ๒๐ รูป ขาดไปแม้เพียง ๑ รูป เรียกภิกษุนั้นเข้าหมู่ ภิกษุนั้นไม่เป็นอัน
สงฆ์เรียกเข้าหมู่ และภิกษุเหล่านั้นควรถูกตำหนิ นี้เป็นการทำที่สมควรในกรรมนั้น
ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบทนั้นว่า
“ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบทนี้ เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
เตรสกัณฑ์ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑๓. กุลทูสกสิกขาบท รวมสิกขาบทที่มีในสังฆาทิเสสกัณฑ์

รวมสิกขาบทที่มีในสังฆาทิเสสกัณฑ์
สังฆาทิเสสกัณฑ์มี ๑๓ สิกขาบท คือ
๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท ว่าด้วยการจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
๒. กายสังสัคคสิกขาบท ว่าด้วยการถูกต้องกายกับมาตุคาม
๓. ทุฏฐุลลวาจาสิกขาบท ว่าด้วยการพูดเกี้ยวหญิง
๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท ว่าด้วยการให้บำเรอความใคร่ของตน
๕. สัญจริตตสิกขาบท ว่าด้วยการชักสื่อ
๖. กุฏิการสิกขาบท ว่าด้วยการก่อสร้างกุฎี
๗. วิหารการสิกขาบท ว่าด้วยการสร้างวิหาร
๘. ปฐมทุฏฐโทสสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุขัดเคืองมีโทสะ สิกขาบทที่ ๑
๙. ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุขัดเคืองมีโทสะ สิกขาบทที่ ๒
๑๐. สังฆเภทสิกขาบท ว่าด้วยการทำสงฆ์ให้แตกกัน
๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุประพฤติตามและกล่าวสนับสนุน
ภิกษุผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน
๑๒. ทุพพจสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุเป็นคนว่ายาก
๑๓. กุลทูสกสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล

สังฆาทิเสสกัณฑ์ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์] ๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท นิทานวัตถุ

๓. อนิยตกัณฑ์
ท่านทั้งหลาย ธรรมคืออนิยต ๒ สิกขาบทเหล่านี้ มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดง
เป็นข้อ ๆ ตามลำดับ
๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท
ว่าด้วยการนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง
เรื่องพระอุทายี
[๔๔๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีเป็นพระประจำ
ตระกูลในกรุงสาวัตถี ไปมาหาสู่ตระกูลทั้งหลาย สมัยนั้น หญิงสาวตระกูลอุปัฏฐาก
ของท่านพระอุทายีอันมารดาบิดาได้ยกให้ชายหนุ่มตระกูลหนึ่ง เวลาเช้าวันหนึ่ง
ท่านพระอุทายีครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรไปที่ตระกูลนั้น ครั้นถึงแล้วถาม
ชาวบ้านว่า “หญิงสาวชื่อนี้ไปไหน”
ชาวบ้านตอบว่า “เขายกให้ชายหนุ่มตระกูลโน้นไปแล้ว เจ้าข้า”
ตระกูลนั้นก็เป็นอุปัฏฐากของท่านพระอุทายี ท่านจึงไปที่นั้นถามว่า “หญิง
สาวชื่อนี้อยู่ไหน”
ชาวบ้านตอบว่า “นางนั่งอยู่ในห้องเจ้าข้า”
ท่านพระอุทายีเข้าไปหาหญิงสาวนั้น นั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้
เจรจา กล่าวธรรมเหมาะแก่กาลกับหญิงสาวนั้นสองต่อสอง
นางวิสาขามิคารมารดาตำหนิพระอุทายี
สมัยนั้น นางวิสาขามิคารมารดา มีบุตรหลานมาก มีบุตรหลานล้วนไม่มีโรค
ได้รับยกย่องว่าเป็นมิ่งมงคล พวกชาวบ้านเชิญนางวิสาขาไปบริโภคเป็นคนแรกใน
งานบุญ งานมหรสพ งานฉลอง นางวิสาขามิคารมารดาได้รับเชิญไปสู่ตระกูลนั้น นาง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๗๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์] ๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท พระบัญญัติ
ได้เห็นท่านพระอุทายีนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับหญิงสาว ครั้น
เห็นแล้วจึงกล่าวกับท่านพระอุทายีว่า “พระคุณเจ้า การที่ท่านนั่งบนอาสนะที่กำบัง
ในที่ลับ พอจะทำการได้กับมาตุคามสองต่อสองเช่นนี้ ไม่เหมาะ ไม่สมควร ท่านไม่
ปรารถนาด้วยธรรมนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ชาวบ้านที่ยังไม่เลื่อมใสก็ทำให้ เชื่อยาก”
ท่านพระอุทายี แม้ถูกนางวิสาขาว่ากล่าวตักเตือนก็ไม่เชื่อ
นางวิสาขาจึงออกไปบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า
“ไฉนท่านพระอุทายีจึงนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับมาตุคามสอง
ต่อสองเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิท่านพระอุทายีโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำ
เรื่องนี้กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะ
ทำการได้กับมาตุคามสองต่อสอง จริงหรือ” ท่านทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ การกระทำของเธอไม่สมควร ไม่
คล้อยตาม ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับ
มาตุคาม สองต่อสองเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้
พระบัญญัติ
[๔๔๔] ก็ ภิกษุใดนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับมาตุคาม
สองต่อสอง อุบาสิกามีวาจาเชื่อถือได้ ได้เห็นภิกษุนั่งกับมาตุคามนั้นแล้วกล่าว
โทษด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ ๓ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส
หรือปาจิตตีย์ ภิกษุนั้นยอมรับการนั่ง พึงถูกปรับด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๗๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์] ๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
บรรดาอาบัติ ๓ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ อีกอย่างหนึ่ง
อุบาสิกาผู้มีวาจาเชื่อถือได้นั้น กล่าวโทษด้วยอาบัติใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วย
อาบัตินั้น อาบัตินี้ชื่อว่า อนิยต
เรื่องพระอุทายี จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๔๕] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีภาคตรัสว่า ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่สัตว์
ดิรัจฉานตัวเมีย หญิงมนุษย์นั้นโดยที่สุดกระทั่งเด็กหญิงซึ่งเกิดในวันนั้น หญิงโตกว่า
นี้ไม่ต้องกล่าวถึง
คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า สองต่อสอง ได้แก่ ภิกษุกับมาตุคาม
ที่ชื่อว่า ที่ลับ ได้แก่ ที่ลับตาและลับหู ที่ชื่อว่า ที่ลับตา หมายถึง ที่ซึ่งเมื่อ
บุคคลขยิบตา ยักคิ้วหรือผงกศีรษะขึ้น ใครๆ ก็ไม่สามารถแลเห็นได้ ที่ชื่อว่า ที่ลับหู
หมายถึง ที่ซึ่งไม่มีใครสามารถได้ยินถ้อยคำที่พูดกันตามปกติได้
อาสนะที่ชื่อว่า ที่กำบัง คือ อาสนะที่กำบังด้วยฝา บานประตู เสื่อลำแพน ม่าน
ต้นไม้ เสา หรือพ้อมอย่างใดอย่างหนึ่ง
คำว่า พอจะทำการได้ คือ อาจจะเสพเมถุนธรรมกันได้
คำว่า นั่ง หมายความว่า เมื่อมาตุคามนั่ง ภิกษุนั่งใกล้หรือนอนใกล้ เมื่อ
ภิกษุนั่ง มาตุคามนั่งใกล้หรือนอนใกล้ หรือนั่งทั้งสองคน หรือนอนทั้งสองคน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๗๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์] ๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า มีวาจาเชื่อถือได้ ถือ หญิงผู้บรรลุผล๑ ผู้ตรัสรู้ธรรม ผู้เข้าใจศาสนาดี
ชื่อว่า อุบาสิกา ได้แก่ หญิงผู้ถึงพระพุทธเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ
ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
คำว่า ได้เห็น คือ ได้พบ
อุบาสิกามีวาจาเชื่อถือได้ กล่าวโทษด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดา
อาบัติ ๓ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ภิกษุยอมรับการนั่ง พึงถูก
ปรับ อาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ ๓ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส หรือ
ปาจิตตีย์ อีกประการหนึ่ง อุบาสิกาผู้มีวาจาเชื่อถือนั้นกล่าวโทษด้วยอาบัติใด ภิกษุ
นั้นพึงถูกปรับด้วยอาบัตินั้น
บทภาชนีย์
ปฏิญญาตกรณะ ๒
เห็นกำลังนั่งเสพเมถุน
[๔๔๖] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งเสพ
เมถุนกับมาตุคาม” และภิกษุนั้นก็ยอมรับการนั่งนั้น พึงปรับตามอาบัติ
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งเสพเมถุนกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมานั่งจริง แต่ไม่ได้เสพเมถุนธรรม” พึง
ปรับอาบัติเพราะนั่ง
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งเสพเมถุนกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่นอน” พึงปรับอาบัติ
เพราะนอน

เชิงอรรถ :
๑ หญิงผู้บรรลุผล หมายเอาหญิงผู้ได้โสดาปัตติผลเป็นอย่างต่ำ (ดู วิ.อ. ๒/๔๔๕/๑๓๕)
๒ คำว่า ปฏิญญาตกรณะ แปลว่า ทำตามรับ ได้แก่ปรับอาบัติตามปฏิญญาของจำเลยผู้รับความจริง,
สารภาพความจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๗๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์] ๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท บทภาชนีย์
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งเสพเมถุนกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ
เห็นกำลังนอนเสพเมถุน
[๔๔๗] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอน
เสพเมถุนกับมาตุคาม” และภิกษุนั้นยอมรับการนอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนเสพเมถุนกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมานอนจริง แต่ไม่ได้เสพเมถุน” พึง
ปรับอาบัติเพราะนอน
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนเสพเมถุนกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมาไม่ได้นอน แต่นั่งอยู่” พึงปรับอาบัติ
เพราะนั่ง
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนเสพเมถุนกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมาไม่ได้นอน แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ
เห็นกำลังนั่งถูกต้องกาย
[๔๔๘] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งถูก
ต้องกายกับมาตุคาม” และภิกษุนั้นยอมรับการนั่งนั้น พึงปรับตามอาบัติ
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งถูกต้องกายกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมานั่งจริง แต่ไม่ได้ถูกต้องกาย” พึงปรับ
อาบัติเพราะการนั่ง ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่นอนอยู่” พึงปรับอาบัติเพราะนอน
ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ
เห็นกำลังนอนถูกต้องกาย
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนถูกต้องกาย
กับมาตุคาม” และภิกษุนั้นยอมรับการนอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์] ๒. ทุติยอนิยตสิกขาบท บทภาชนีย์
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนถูกต้องกาย
กับมาตุคาม” ถ้าภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมานอนจริง แต่ไม่ได้ถูกต้องกาย” พึง
ปรับอาบัติเพราะนอน ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นอนแต่นั่งอยู่” พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง
ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นอน แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ
เห็นนั่งในที่ลับ
[๔๔๙] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งบนอาสนะ
ที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับมาตุคามสองต่อสอง” และภิกษุนั้นยอมรับการนั่ง
นั้น พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่นอนอยู่” พึงปรับอาบัติ
เพราะนอน ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ
เห็นนอนในที่ลับ
[๔๕๐] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนบนอาสนะ
ที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับมาตุคามสองต่อสอง” และภิกษุนั้นยอมรับการ
นอนนั้น พึงปรับอาบัติเพราะนอน ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นอน แต่นั่งอยู่” พึงปรับอาบัติ
เพราะนั่ง ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นอน แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ
คำว่า อนิยต คือ ไม่แน่ว่าจะเป็นปาราชิก เป็นสังฆาทิเสส หรือเป็นปาจิตตีย์
[๔๕๑] ภิกษุยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ
ภิกษุยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ
ภิกษุยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง
ภิกษุยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ ไม่พึงปรับอาบัติ
ภิกษุไม่ยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ
ภิกษุไม่ยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ
ภิกษุไม่ยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๗๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์] ๒. ทุติยอนิยตสิกขาบท นิทานวัตถุ
ภิกษุไม่ยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ ไม่พึงปรับอาบัติ
ปฐมอนิยตสิกขาบท จบ

๒. ทุติยอนิยตสิกขาบท
ว่าด้วยการนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง
เรื่องพระอุทายี
[๔๕๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีคิดว่า “พระผู้มีพระ
ภาคทรงห้ามการนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับมาตุคามสองต่อสอง”
จึงนั่งเจรจา กล่าวธรรมเหมาะแก่กาลกับหญิงสาวคนเดิม
นางวิสาขามิคารมารดาตำหนิพระอุทายี
แม้ครั้งที่ ๒ นางวิสาขามิคารมารดาได้รับเชิญไปสู่ตระกูลนั้น ได้เห็นท่านพระ
อุทายีนั่งในที่ลับกับหญิงสาวสองต่อสอง จึงกล่าวกับท่านพระอุทายีว่า “พระคุณเจ้า
การที่ท่านนั่งในที่ลับกับหญิงสาวเช่นนี้ ไม่เหมาะ ไม่สมควร ท่านไม่ปรารถนาเมถุนก็จริง
ถึงอย่างนั้น ชาวบ้านที่ยังไม่เลื่อมใสก็จะทำให้เชื่อยาก”
ท่านพระอุทายีถูกนางวิสาขาว่ากล่าวตักเตือนก็ไม่เชื่อ
นางวิสาขาจึงออกไปบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระอุทายีจึงนั่งในที่ลับกับหญิงสาวสองต่อสองเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิท่าน
พระอุทายีโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอนั่งในที่ลับกับหญิงสาวสองต่อสอง
จริงหรือ” ท่านทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงนั่งในที่ลับกับหญิงสาวสองต่อสองเล่า โมฆบุรุษ การกระทำ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์] ๒. ทุติยอนิยตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
อย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย
ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้
พระบัญญัติ
[๔๕๓] ก็ สถานที่ไม่ใช่อาสนะที่กำบัง ไม่พอจะทำการได้ แต่เป็นสถาน
ที่พอจะพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบได้ ก็ภิกษุใดนั่งบนอาสนะเช่นนั้น
ในที่ลับกับมาตุคามสองต่อสอง อุบาสิกามีวาจาเชื่อถือได้ ได้เห็นภิกษุนั่งกับ
มาตุคามนั้นแล้วกล่าวโทษด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ ๒ อย่าง
คือ สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ภิกษุยอมรับการนั่ง พึงถูกปรับด้วยอาบัติอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ ๒ อย่าง คือ สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ อีก
อย่างหนึ่ง อุบาสิกาผู้มีวาจาเชื่อถือได้นั้นกล่าวโทษด้วยอาบัติใด ภิกษุนั้นพึงถูก
ปรับด้วยอาบัตินั้น อาบัตินี้ชื่อว่า อนิยต
เรื่องพระอุทายี จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๕๔] คำว่า ก็ สถานที่ไม่ใช่อาสนะที่กำบัง อธิบายว่า อาสนะเปิดเผยคือ
ที่ไม่ได้กำบังด้วยฝา บานประตู เสื่อลำแพน ม่านบัง ต้นไม้ เสา หรือพ้อมอย่างใด
อย่างหนึ่ง
คำว่า ไม่พอจะทำการได้ คือ ไม่อาจจะเสพเมถุนกันได้
คำว่า แต่เป็นสถานที่พอจะพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบได้ คือ
อาจพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยคำชั่วหยาบ
คำว่า ก็... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า บนอาสนะเช่นนั้น คือ บนอาสนะเห็นปานนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๔๘๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์] ๒. ทุติยอนิยตสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่สัตว์
ดิรัจฉานตัวเมีย แต่เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถรับรู้ถ้อยคำสุภาษิต ทุพภาษิต คำ
หยาบและคำสุภาพ
คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า สองต่อสอง ได้แก่ ภิกษุกับมาตุคาม
ที่ชื่อว่า ที่ลับ ได้แก่ ที่ลับตาและลับหู ที่ชื่อว่า ที่ลับตา หมายถึง สถานที่ซึ่ง
เมื่อบุคคลขยิบตา ยักคิ้ว หรือผงกศีรษะขึ้นใครๆ ก็ไม่สามารถเห็นได้ ที่ชื่อว่า ที่ลับหู
หมายถึง ที่ซึ่งไม่มีใครสามารถได้ยินถ้อยคำที่พูดกันตามปกติได้
คำว่า นั่ง หมายความว่า เมื่อมาตุคามนั่ง ภิกษุนั่งใกล้หรือนอนใกล้ เมื่อ
ภิกษุนั่ง มาตุคามนั่งใกล้หรือนอนใกล้ หรือนั่งทั้งสองคน หรือนอนทั้งสองคน
อุบาสิกาชื่อว่า มีวาจาเชื่อถือได้ คือ หญิงผู้บรรลุผล ผู้ตรัสรู้ธรรม ผู้เข้าใจ
ศาสนาดี
ที่ชื่อว่า อุบาสิกา ได้แก่ หญิงผู้ถึงพระพุทธเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ
ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
คำว่า ได้เห็น คือ ได้พบ
อุบาสิกามีวาจาเชื่อถือได้ กล่าวโทษด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ
๒ อย่าง คือ สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ภิกษุยอมรับการนั่ง พึงถูกปรับอาบัติอย่างใด
อย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ ๒ อย่าง คือ สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ อีกประการหนึ่ง
อุบาสิกาผู้มีวาจาเชื่อถือได้นั้น กล่าวโทษด้วยอาบัติใด ภิกษุนั้น พึงถูกปรับด้วย
อาบัตินั้น
บทภาชนีย์
ปฏิญญาตกรณะ
เห็นกำลังนั่งถูกต้องกาย
[๔๕๕] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งถูก
ต้องกายกับมาตุคาม” และภิกษุนั้นก็ยอมรับการนั่ง พึงปรับตามอาบัติ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์] ๒. ทุติยอนิยตสิกขาบท บทภาชนีย์
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งถูกต้องกายกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมานั่งจริง แต่ไม่ได้ถูกต้องกาย” พึงปรับ
อาบัติเพราะนั่ง
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งถูกต้องกายกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่นอนอยู่” พึงปรับอาบัติ
เพราะนอน
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งถูกต้องกายกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่นอนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ
เห็นกำลังนอนถูกต้องกาย
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนถูกต้องกายกับ
มาตุคาม” และภิกษุนั้นยอมรับการนอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ ฯลฯ “อาตมานอนจริง
แต่ไม่ได้ถูกต้องกาย” พึงปรับอาบัติเพราะนอน ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นอน แต่นั่งอยู่”
พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นอน แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ
ได้ยินกำลังนั่งพูดเกี้ยว
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้ากำลังนั่งพูดเกี้ยว มาตุ
คามด้วยวาจาชั่วหยาบ” และภิกษุนั้นยอมรับการนั่ง พึงปรับตามอาบัติ
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้ากำลังนั่งพูดเกี้ยวมาตุ
คามด้วยวาจาชั่วหยาบ” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมานั่งจริง แต่ไม่ได้พูด
เกี้ยวหญิงด้วยวาจาชั่วหยาบ” พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่
นอนอยู่” พึงปรับอาบัติเพราะนอน ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับ
อาบัติ
ได้ยินกำลังนอนพูดเกี้ยว
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้ากำลังนอนพูดเกี้ยว
มาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ” และภิกษุนั้นยอมรับการนอน พึงปรับตามอาบัติ ฯลฯ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์] ๒. ทุติยอนิยตสิกขาบท บทภาชนีย์
“อาตมานอนจริง แต่ไม่ได้พูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ” พึงปรับอาบัติเพราะ
นอน ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นอน แต่นั่งอยู่” พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง ฯลฯ “อาตมาไม่
ได้นอน แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ
เห็นนั่งในที่ลับ
[๔๕๖] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งในที่ลับกับ
มาตุคามสองต่อสอง” และภิกษุนั้นก็ยอมรับการนั่ง พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง ฯลฯ
“อาตมาไม่ได้นั่ง แต่นอนอยู่” พึงปรับอาบัติเพราะนอน ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่
ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ
เห็นนอนในที่ลับ
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนในที่ลับกับมาตุคาม
สองต่อสอง” และภิกษุนั้นยอมรับการนอน พึงปรับอาบัติเพราะนอน ฯลฯ “อาตมา
ไม่ได้นอน แต่นั่งอยู่” พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นอน แต่ยืนอยู่”
ไม่พึงปรับอาบัติ
คำว่า แม้นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบสิกขาบทก่อน
คำว่า อนิยต คือ ไม่แน่ว่าจะเป็นสังฆาทิเสส หรือเป็นปาจิตตีย์
[๔๕๗] ภิกษุยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตาม
อาบัติ
ภิกษุยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ
ภิกษุยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ พึงปรับอาบัติเพราะ
การนั่ง
ภิกษุยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ ไม่พึงปรับอาบัติ
ภิกษุไม่ยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ
ภิกษุไม่ยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์] ๒. ทุติยอนิยตสิกขาบท รวมสิกขาบทที่มีในอนิยตกัณฑ์
ภิกษุไม่ยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ พึงปรับอาบัติเพราะ
การนั่ง
ภิกษุไม่ยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ ไม่พึงปรับอาบัติ
ทุติยอนิยตสิกขาบท จบ

บทสรุป
[๔๕๘] ท่านทั้งหลาย ธรรมคืออนิยต ๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในธรรมคืออนิยต ๒ สิกขาบทนั้นว่า “ท่าน
ทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคืออนิยต ๒ สิกขาบทนี้ เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
รวมสิกขาบทที่มีในอนิยตกัณฑ์
อนิยตกัณฑ์มี ๒ สิกขาบท คือ
๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง
๒. ทุดิยอนิยตสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐและผู้มีความคงที่ ทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว
อนิยตกัณฑ์ จบ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๑ วินัยปิฎกที่ ๐๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น