Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ - หน้าหลัก

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) หรือ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ออนไลน์ (ท่านสามารถคลิกที่สารบัญที่มุมขวาล่างของหน้าจอ ซึ่งจะมีหมวดต่างๆ ให้เลือกอ่าน เมื่อคลิกหมวดพจนานุกรมพุทธศาสน์ก็จะแสดงสารบัญคำศัพท์สำหรับเลือกดู)

เนื้อหาในหน้านี้ :


คำปรารภของผู้จัดทำหนังสือ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ เป็นหนังสืออ้างอิงทางวิชาการพระพุทธศาสนาที่สำคัญเล่มหนึ่ง ซึ่งมีประโยชน์เกื้อกูลแก่การศึกษาค้นคว้าวิชาการทางพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง อันนับเป็นวัตถุประสงค์สำคัญของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่จะทำการทำนุบำรุงส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าและเผยแผ่พระพุทธธรรม ได้พิมพ์ออกเผยแพร่ในครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับการต้อนรับจากท่านผู้สนใจในการศึกษาอย่างกว้างขวาง หนังสือได้หมดไป อย่างรวดเร็ว แม้ในเวลาต่อมากรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ จะได้จัด พิมพ์ออกเผยแพร่อีกใน พ.ศ. ๒๕๒๒ ก็ยังไม่พอแก่ความต้องการของผู้สนใจศึกษา ในเวลาต่อมา ท่านผู้เรียบเรียงได้ทำการปรับปรุงและเพิ่มเติมให้หนังสือนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และได้อนุญาตให้มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจัดพิมพ์ออกเผยแพร่ในเดือน ตุลาคม ๒๕๒๗ ก็ยังเป็นที่นิยมของผู้สนใจศึกษาอย่างกว้างขวางและต้องพิมพ์อีกครั้งหนึ่งในเดือน ธันวาคม ๒๕๒๘ มาถึงปัจจุบันนี้ หนังสือพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ก็ยังคงได้รับความสนใจจากท่านผู้อ่านอย่างแพร่หลายมาก จนต้องดำเนินการขอ อนุญาตจัดพิมพ์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อประโยชน์แก่ผู้ใคร่แสวงหาความรู้โดยทั่วไป

ขอขอบพระคุณพระเดชพระคุณพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ป.ธ.๙, พธ.บ. (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง), พธ.ด. (กิตติมศักดิ์) ผู้เรียบเรียงพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์นี้ ที่ได้เมตตาอนุญาตให้จัดพิมพ์ออกเผยแพร่ โดยมิได้คำนึงถึงผล ประโยชน์ทางวัตถุธรรมเลย นับเป็นความกรุณาอย่างยิ่ง เพื่อประโยชน์ แก่วิชาการทางพระพุทธศาสนาจะได้เจริญแผ่ไพศาลออกไปอย่างกว้างไกล ก่อให้เกิดสันติสุขแก่ชาวโลก

พร้อมกันนี้ก็ขอขอบคุณและอนุโมทนาในกุศลจริยาสัมมาปฏิบัติของคุณหญิงกระจ่างศรี รักตะกนิษฐ พร้อมด้วยญาติมิตร ศิษยานุศิษย์และผู้คุ้นเคยนับถือที่ได้มีจิต ศรัทธาปสาทะร่วมกันบริจาคตั้งกองทุนพิมพ์พจนานุกรมพุทธศาสน์ เพื่อนำมาเป็นทุนอุปถัมภ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยให้สามารถจัดพิมพ์หนังสือ พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์เล่มนี้ออกเผยแพร่ได้สำเร็จสมตามความประสงค์ ขอให้ทุกท่านจงเจริญสุขสิริสวัสดิ์สมปรารถนาโดยธรรมทุกประการ

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมถ์
มกราคม 2538


บันทึกของผู้เรียบเรียง

๑. หนังสือเล่มนี้พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระครูปลัดสมัย กิตฺติทตฺโต เจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์ มีชื่อว่า “พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับครู นักเรียน นักธรรม

แต่ในการพิมพ์ครั้งที่สองนี้ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์” ทั้งนี้เพราะชื่อเดิมยาวเกินไป เรียกยาก

การที่มีคำสร้อยท้ายชื่อว่า “ฉบับประมวลศัพท์” ก็เพื่อป้องกันความสับสน โดยทำให้ต่างออกไปจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์” ของผู้เรียบเรียงเดียวกัน ซึ่งมีอยู่ก่อน

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์เป็นพจนานุกรมซึ่งรวบรวบและอธิบาย คำศัพท์ทั่วไปทุกประเภทที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น หลักธรรม พระวินัย พิธีกรรม ประวัติบุคคลสำคัญ ตำนาน และวรรณคดีที่สำคัญ เป็นต้น ต่างจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ (จะขยายชื่อเป็น พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม) ที่มุ่งรวบรวมและอธิบายเฉพาะ แต่หลักธรรมซึ่งเป็นสาระสำคัญของพระพุทธศาสนา

๒. ศัพท์ที่รวบรวมมาอธิบายในหนังสือนี้ แยกได้เป็น ๓ ประเภทใหญ่ ๆ คือ

๑) พุทธศาสนประวัติ มีพุทธประวัติเป็นแกน รวมถึงสาวกประวัติ ประวัติบุคคล สถานที่ และ เหตุการณ์สำคัญในพระพุทธศาสนา ตลอดจนตำนาน และเรื่องราวที่มาในวรรณคดีต่าง ๆ เฉพาะที่คนทั่วไป ควรรู้

๒) ธรรม คือหลักคำสอน ทั้งที่มาในพระไตรปิฎก และในคัมภีร์รุ่นหลังมี อรรถกถาเป็นต้น รวมไว้เฉพาะที่ศึกษาเล่าเรียนกันตามปกติ และเพิ่มบางหลักที่น่าสนใจเป็นพิเศษ

๓) วินัย หมายถึง พุทธบัญญัติที่กำกับความประพฤติและความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ และในที่นี้ ให้มีความหมายครอบคลุมถึงขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรมบางอย่างที่ได้เป็น เครื่องยึดเหนี่ยวคุมประสานสังคมของชาวพุทธไทยสืบต่อกันมา นอกจากนี้มีศัพท์เบ็ดเตล็ด เช่น คำกวีซึ่งผูกขึ้นโดยมุ่งความไพเราะ และคำไทยบางคำที่ไม่คุ้นแต่ปรากฏในแบบเรียนพระปริยัติธรรม ซึ่งพระภิกษุสามเณรจำเป็นจะต้องรู้ความหมาย เป็นต้น

๓. หนังสือนี้รวมอยู่ในโครงการส่วนตัว ที่จะขยายปรับปรุงก่อนการจัดพิมพ์ครั้งที่ ๒ และได้เพิ่มเติมปรับปรุงไปบ้างแล้วบางส่วน แต่ตามที่ตั้งใจไว้กะว่าจะปรับปรุง จริงจังและจัดพิมพ์ภายหลังพจนานุกรมพุทธศาสตร์ (ฉบับประมวลธรรม) ครั้น ดร.สุจินต์ ทังสุบุตร ติดต่อขอพิมพ์เป็นธรรมทานในงานพระราชทานเพลิงศพบิดาผู้เป็นบุรพการี จึงเป็นเหตุให้การพิมพ์เปลี่ยนลำดับ กลายเป็นว่าหนังสือนี้จะสำเร็จก่อน โดยเบื้องแรก ตกลงว่าจะพิมพ์ไปตามฉบับเดิมที่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ปรับปรุง แต่ปัญหาข้อยุ่งยากติดขัดที่ทำ ให้การพิมพ์ล่าช้าได้กลายเป็นเครื่องช่วยให้ได้โอกาสรีบเร่งระดมงานแทรกเพิ่มปรับ ปรุงแข่งกันไปกับงานแก้ไขปัญหา จนหนังสือนี้มีเนื้อหาเกือบจะครบถ้วนสมบูรณ์ตามความมุ่งหมาย นับว่าเจ้าภาพงานนี้ได้มีอุปการะมากต่อความสำเร็จของงานปรับปรุงหนังสือและต่อการช่วยให้งาน เสร็จสิ้นโดยเร็วไม่ยืดเยื้อต่อไป

อย่างไรก็ดี มีผลสืบเนื่องบางอย่างที่ควรทราบไว้ด้วย เพื่อให้รู้จักหนังสือนี้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น

ก) ในโครงการปรับปรุงเดิม มีข้อพิจารณาอย่างหนึ่งว่า จะรวมศัพท์ที่แปลกในหนังสือ ปฐม สมโพธิกถา และใน มหาเวสสันดรชาดก เข้าด้วยหรือไม่ การพิมพ์ที่เร่งด่วนครั้งนี้ได้ช่วย ตัดสินข้อพิจารณานั้นให้ยุติลงได้ทันที คือเป็นอันต้องตัดออกไปก่อน แต่การไม่รวมศัพท์ในวรรณคดี ๒ เรื่องนั้นเข้ามาก็ไม่ทำให้พจนานุกรมนี้เสียความสมบูรณ์แต่อย่างใด เพราะศัพท์ส่วนมาก

ในปฐมสมโพธิกถาและมหาเวสสันดรชาดก เป็นคำกวีและคำจำพวกตำนาน ซึ่งมุ่งความไพเราะ หรือเป็นความรู้ประกอบ อันเกินจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในระดับสามัญ ว่าที่จริงศัพท์สอง ประเภทนั้นเท่าที่มีอยู่เดิมในหนังสือนี้ก็นับว่ามากจนอาจจะทำให้เกิดความสับสนกับศัพท์จำ พวกหลักวิชาได้อยู่แล้ว ส่วนความรู้ที่เป็นหลักการของพระพุทธศาสนาที่ปรากฏ ในวรรณคดี ๒ เรื่องนั้น กล่าวได้ว่ามีอยู่ในพจนานุกรมนี้แล้วแทบทั้งหมด

ข) การปรับปรุงอย่างเร่งด่วนแข่งกับเวลาที่บีบรัดทำให้เกิดความลักลั่นขึ้นบ้างในอัตราส่วนของ การอธิบาย คือ บางคำอธิบายขยายใหม่ยืดยาวมาก เช่น " ไตรปิฎก "ยาวเกิน ๑๐ หน้า แต่บางคำคงอยู่อย่างเดิมซึ่งเมื่อเทียบกันแล้วกลายเป็นสั้นเกินไป เช่น " ไตรสิกขา "ที่อยู่ใกล้กันนั้นเอง และศัพท์บางศัพท์ยังตกหล่นหลงตา เช่น ไตรทศ ไตรทิพย์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ข้อบกพร่องเช่นนี้เหลืออยู่น้อยยิ่ง โดยมากเป็นส่วนที่พิสดารเกินไปมากกว่าจะเป็น ส่วนที่หย่อนหรือขาด และถ้ารู้จักค้นก็สามารถหาความหมายที่ลึกละเอียดออก ไปอีกได้ เช่น ไตรสิกขา ก็อาจเปิดดูคำย่อยต่อไปอีก คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา ส่วนคำจำพวก ไตรทศ ไตรทิพย์ ก็เป็นกึ่งคำกวี ไม่ใช่ศัพท์วิชาการแท้ เพียงแต่หาความหมายของศัพท์ ไม่ต้องอธิบายด้านหลักวิชา อาจปรึกษาพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้

๔. ความหมายและคำอธิบายศัพท์ นอกจากส่วนใหญ่ที่ได้ค้นคว้ารวบ รวมและเรียบเรียงขึ้นเป็นเนื้อหาเฉพาะของพจนานุกรมนี้แล้ว มีแหล่งที่ควรทราบอีก คือ

๑) ศัพท์จำนวนหนึ่ง เกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชานักธรรม ซึ่งการตอบและอธิบายตามแบบ แผนมีความสำคัญมากสำหรับผู้เรียนและผู้สอบในระบบนั้น (โดยมากเป็นศัพท์พระวินัย และมีศัพท์ทางวิชาธรรมปนอยู่บ้าง) ในที่นี้มักคัดเอาความหมายและคำอธิบายในแบบ เรียนมาลงไว้ด้วย

๒) ศัพท์บางศัพท์ ที่เห็นว่าความหมายและคำอธิบายในหนังสือ “ศัพท์หลักสูตรภาษาไทย” ของ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ชัดเจนและใช้ได้ดีอยู่ ก็คงไว้ตามนั้น

๓) ศัพท์ที่ใช้กันในภาษาไทย ซึ่งผู้ค้นมักต้องการเพียงความหมายของคำศัพท์ ไม่มีเรื่องที่ต้องรู้ ในทางหลักวิชามากกว่านั้น และแห่งถือตามพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

๔) ในขั้นสมบูรณ์ของพจนานุกรมนี้ ได้ตั้งใจไว้ว่าจะแสดงหลักฐานที่มาในคัมภีร์ของเรื่องที่ เป็นหลักวิชาไว้ทั้งหมดโดยละเอียด แต่เพราะต้องส่งต้นฉบับเข้าโรงพิมพ์ทันทีก่อนแล้ว จึงมีการแทรกเพิ่มปรับปรุงตามโอกาสภายหลัง การบอกที่มาให้ทั่วถึงจึงเป็นไปไม่ได้ ครั้นจะแสดงที่มาของเรื่องที่มีโอกาสแทรกเพิ่มหรือปรับปรุงใหม่ ก็จะทำให้เกิดความลักลั่น ไม่สม่ำเสมอกัน จึงงดไว้ก่อนทั้งหมด ผู้ใช้พจนานุกรมนี้จึงจะพบหลักฐานที่มาบ้าง ก็เฉพาะที่เป็นเพียงข้อความบอกชื่อหมวดชื่อคัมภีร์ อย่างเป็นส่วนหนึ่ง ของคำอธิบาย ไม่มีตัวเลขบอกเล่ม ข้อ และหน้า ตามระบบการบอกที่มาที่สมบูรณ์

การเพิ่มเติมและปรับปรุงแม้จะได้ทำอย่างรีบเร่งแข่งกับการพิมพ์เท่าที่โอกาสเปิดให้แต่ก็นับว่าใกล้ ความครบถ้วนสมบูรณ์ ทำให้เนื้อหาของหนังสือขยายออกไปมากประมาณว่าอีก ๑ ใน ๓ ของฉบับพิมพ์ครั้งแรก มีศัพท์ที่เพิ่มใหม่และปรับปรุงหลายร้อยศัพท์ กระนั้นก็ตาม เมื่อถึงโอกาสก็จะมีการปรับปรุงใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้กลมกลืนสม่ำเสมอโดยสมบูรณ์และ เหมาะแก่ผู้ใช้ประโยชน์ทุกระดับ ตั้งแต่นักสอนจนถึงชาวบ้าน

อนึ่ง ในการเพิ่มเติมและปรับปรุงนี้ ได้มีท่านผู้เป็นนักสอนนักเผยแพร่ธรรม ช่วยบอกแจ้งศัพท์ตกหล่นในการพิมพ์ครั้งก่อนและเสนอศัพท์ที่ควรเพิ่มเติมหรือปรับปรุง คำอธิบายหลายศัพท์คือ พระมหาอารีย์ เขมจาโร วัดระฆังโฆสิตาราม รองเลขาธิการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บอกแจ้งมา ๑๔ ศัพท์ เช่น ติตถิยปักกัน กะ จีวรมรดก อนาโรจนา อุโปสถิกภัต เป็นต้น คุณหมออมรา มลิลา เสนอเพิ่มเติม ๒๔ ศัพท์ เช่น จังหัน จาร เจริญพร ต้อง ทุกกฏทุพภาสิต ธิติ สังฆการี เป็นต้น และเสนอปรับปรุง คำที่อธิบายไม่ชัดเจน อ่านเข้าใจยาก หรือสั้นเกินไป ๒๓ ศัพท์ เช่น กัปปิยภูมิ กุฑวะ คันโพง ดาวเคราะห์ เป็นต้น นับว่าได้มีส่วนช่วยเสริมให้หนังสือสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในการพิมพ์ที่เร่งด่วนภายในเวลาที่จำกัด ต่อหน้าปัญหาความยุ่งยากสับสนในกระบวนการพิมพ์ช่วงต้นที่ไม่ราบรื่นนั้น คุณชุติมา ธนะปุระได้มีจิตศรัทธาช่วยพิสูจน์อักษรส่วนหนึ่ง (คุณชุติมา และคุณยงยุทธ ธนะปุระได้บริจาคทุนทรัพย์พิมพ์พจนานุกรมนี้แจกเป็นธรรมทานจำนวนหนึ่งด้วย) คุณพนิตา อังจันทร์เพ็ญ ได้ช่วยพิสูจน์อักษรอีกบางส่วน และช่วยติดต่อประสานงานทางด้านโรงพิมพ์ ทางด้านเจ้าภาพ ช่วยเหลือทำธุระให้ลุล่วงไปหลายประการ นับว่าเป็นผู้เกื้อกูลแก่งาน พิมพ์หนังสือครั้งนี้เป็นอันมาก

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์เสร็จสิ้นในบัดนี้ ก่อนพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ไม่ยืดเยื้อยาวนานต่อไป ก็เพราะคณะเจ้าภาพงานพระราชทานเพลิงศพ อาจารย์จิตร ทังสุบุตร ซึ่งมี ดร.สุจินต์ ทังสุบุตร เป็นผู้ติดต่อขอพิมพ์ได้เพียรพยายาม เร่งรัดติดตามงานมาโดยตลอด และได้สละทุนทรัพย์เป็นอันมากในการผลักดันให้การพิมพ์ ผ่านพ้นปัญหาข้อติดขัดต่างๆ เป็นฐานให้การพิมพ์ส่วนที่จะเพิ่มเติมเป็นไปได้โดย สะดวกและเสียค่าใช้จ่ายลดน้อยลง นอกจากนี้ เจ้าภาพที่ขอพิมพ์เผยแพร่อีกหลายราย ก็ล้วนเป็นผู้มีจิตศรัทธาจัดพิมพ์แจกเป็นธรรมทานทั้งสิ้น เจ้าภาพที่ขอพิมพ์จำนวนมากที่สุด คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แม้จะพิมพ์เพื่อจำหน่าย มิใช่พิมพ์แจกอย่างให้เปล่า แต่ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลประโยชน์ไปบำรุงการศึกษาของพระภิกษุสามเณร นับว่าเป็นกุศลเช่นกัน นอกจากนี้ เมื่อมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยขาดแคลนทุนที่จะใช้ในการพิมพ์พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ก็บังเอิญให้คุณหญิงกระจ่างศรี รักตะกนิษฐ์ ได้ทราบ จึงได้เชิญชวนญาติมิตรของท่าน ร่วมกันตั้งกองทุนพิมพ์พจนานุกรมพุทธศาสตร์ขึ้น กองทุนนั้นมีจำนวนเงินมากจนพอที่จะ ใช้พิมพ์พจนานุกรมพุทธศาสน์เล่มนี้ด้วย เป็นเครื่องอุปถัมภ์ให้การพิมพ์ สำเร็จลุล่วงสมหมาย ทำให้มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้พจนานุกรมทั้งสองเล่ม สำหรับจำหน่ายเก็บผลประโยชน์โดยมิต้องลงทุนลงแรงใด ๆ เลย

ขออนุโมทนากุศลเจตนา บุญกิริยา และความอุปถัมภ์ของท่านผู้ที่ได้กล่าวนามมาข้างต้น ขอทุกท่านจงประสบจตุรพิธพร เจริญงอกงามในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป และขอธรรมทานที่ได้ร่วมกันบำเพ็ญนี้จงเป็นเครื่องชัก นำมหาชนให้บรรลุประโยชน์สุขอันชอบธรรมโดยทั่วกัน

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
๑๓ ตุลาคม ๒๕๒๗


ควรทราบก่อน

๑. พจนานุกรมนี้ เหมาะแก่ครูและนักเรียนนักธรรม มากกว่าผู้อื่น

ความหมายและคำอธิบายหลายแห่งเขียนอย่างคนรู้กัน คือ ผู้มีพื้นความรู้อยู่บ้างแล้ว จึงจะเข้าใจชัดเจนและใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ อย่างไรก็ตาม ว่าโดยส่วนใหญ่ คนทั่วไปที่สนใจทางพระศาสนา ก็ใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี

๒. ศัพท์ที่อธิบาย มุ่งวิชาธรรม พุทธประวัติ และวินัย เป็นใหญ่

ศัพท์ที่ควรอธิบายในวิชาทั้งสามนี้ พยายามให้ครบถ้วน เท่าที่มีในแบบเรียน นักธรรมทั้งชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก แม้ว่าในการจัดทำที่เร่งด่วนยิ่งนี้ ย่อมมีคำตกหล่นหรือแทรกไม่ทันอยู่บ้างเป็นธรรมดา; อย่างไรก็ ตาม ศัพท์เกี่ยวกับศาสนพิธีบางอย่าง และเรื่องที่คนทั่วไป และนักศึกษาอื่น ๆ ควรรู้ ก็ได้เพิ่มเข้ามาอีกมิใช่น้อย เช่น กรวดน้ำ ผ้าป่า สังฆทาน อาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร อาราธนาธรรม วิสุทธิมรรค จักกวัตติ สูตร เป็นต้น

๓. ลำดับศัพท์ เรียงอย่างพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เว้นต้นศัพท์มี -ะ

คำที่เป็นต้นศัพท์ หรือแม่ศัพท์ แม้มีประวิสรรชนีย์ ก็เรียงไว้ก่อนคำที่อาศัยต้นศัพท์นั้น เช่น เถระ เรียง ไว้ก่อน เถรวาท, เทวะ เรียงไว้ก่อน เทวดา เทวทูต เป็นต้น

๔. การสะกดการันต์ มีปะปนกันหลายอย่าง ให้ถือว่าใช้ได้ทั้งหมด

ศัพท์ส่วนมาก เก็บจากแบบเรียนนักธรรม ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อศตวรรษล่วงแล้วแทบทั้งสิ้น คือ ก่อนมีพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นเวลานาน แบบเรียนเหล่านั้น แม้เขียนคำศัพท์เดียวกันก็สะกดการันต์ไม่> เหมือนกัน แต่ก็ถือว่าถูกต้องด้วยกัน ยิ่งกว่านั้น พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถานยังเปิดโอกาสสำหรับคำที่เป็นธรรมบัญญัติให้เขียน เต็มรูปตามภาษาเดิมได้ด้วย ดังนั้น จึงไม่พึงถือการสะกด การันต์ไม่คงที่ในหนังสือนี้ ว่าเป็นข้อผิดพลาด ตัวอย่างคำเขียนหลายแบบ เช่น กรรมฐาน กัมมัฏฐาน, อริยสัจจ์, อริยสัจ, นิคคหะ, นิคหะ, ญัติกรรม ญัตติกรรม ญัตติกัมม์, บริเฉท ปริเฉท, ธรรมวิจัย ธัมมวิจยะ, จุลลวรรค จุลวรรค จุลลวัคค์ เป็นต้น

ในกรณีที่เขียนศัพท์รูปแปลก และควรทราบว่าพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานเขียนอย่างไรได้เขียนกำกับไว้ด้วยว่า พจนานุกรม เขียนอย่างนั้น ๆ คำว่า พจนานุกรม ในที่นี้ พึงทราบว่า หมายถึงพจนา นุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ และ พ.ศ. ๒๕๒๕

๕. คำที่พิมพ์ตัว เอน มีคำอธิบายในลำดับอักษรของคำนั้น

ถ้าพบคำศัพท์ที่ยังไม่เข้าใจ อยู่ในคำอธิบายของคำอื่น พึงค้นหาความหมายของคำนั้นที่ลำดับอักษรของมัน โดยเฉพาะคำที่พิมพ์ตัว เอน; แม้คำที่ไม่พิมพ์ตัวเอน โดยเฉพาะคำบอกข้อในหมวดธรรมภายในวงเล็บท้าย คำอธิบายของศัพท์ต่าง ๆ เช่น ที่คำ “ทมะ” ข้างท้ายมี (ข้อ ๒ ในฆราวาสธรรม ๔) เป็นต้น พึงทราบว่า คำเหล่านั้นก็มีคำอธิบายอยู่ในลำดับ อักษรของตน ๆ

๖. พจนานุกรมนี้ เป็นกึ่งสารานุกรม แต่ให้มีลักษณะทางวิชาการเพียงเล็กน้อย

คำอธิบายของคำจำนวนมากในหนังสือนี้ มิใช่แสดงเพียง ความหมายของศัพท์หรือถ้อยคำเท่านั้น ยังให้ความรู้อันพึง ทราบเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อีกด้วย เช่น จำนวน ข้อย่อย ประวัติย่อ สถานที่และเหตุการณ์แวดล้อม เป็นต้น เข้าลักษณะสารานุกรม แต่ก็คงชื่อเป็นพจนานุกรมตามความตั้งใจเมื่อเริ่มทำ และเป็นการ จำกัดขอบเขตไว้ ให้หนังสือนี้ยังแตกต่างจากสารานุกรมพุทธศาสตร์ ที่กำลังจัดทำค้างอยู่; เพื่อทราบว่าพจนานุกรมนี้มีลักษณะและขอบเขตอย่างไร พึงค้นดูศัพท์ต่าง ๆ เช่น กรวดน้ำ จำพรรษา กาลามสูตร กาลิก สารีบุตร พุทธกิจ นาลันทา สันโดษ ชีวก ไตรปิฎก สังคายนา ผ้าป่า ราหุล วรรค สังเวช สังฆราช เป็นต้น

อนึ่ง หนังสือนี้เกิดขึ้นเนื่องด้วยเหตุการณ์จำเพาะหน้า เรียกได้ว่าเป็นงานฉุกเฉินนอกเหนือไปจากโครงการที่มีอยู่เดิม แม้ว่าจะอิงสารานุกรมพุทธศาสน์ฉบับกลาง ที่กำลังจัดทำค้างอยู่ก็จริง แต่เพราะเป็นงานผุดขึ้นกลางคัน จึงไม่ได้คิดวางรูปวางแนวหรือวางแผน การจัดทำไว้ให้ชัดเจน เนื้อหาจึงมีความลักลั่นกันอยู่บ้าง เช่น คำศัพท์ประเภทเดียวกัน บางคำอยู่ต้นเล่มอธิบายสั้น บางคำอยู่ตอนปลายเล่มอธิบายยาวกว่า ดังนี้เป็นต้น และเมื่อแรกทำ คิดเพียงแค่ว่าให้สำเร็จประโยชน์เป็นอุปกรณ์การศึกษาเบื้องต้นและให้มีขนาดไม่ หนานัก (กะไว้ประมาณ ๒๕๐ หน้า) เพราะเวลาพิมพ์กระชั้นและกำลังทุนจำกัด จึงคิดจำกัดไม่ให้หนังสือมีลักษณะทางวิชาการมากนัก เช่น คำอธิบายศัพท์ให้มีเพียงเท่าที่ควรรู้โดยตรง ไม่มีขยายความเชิงวิชาการและ ยังไม่บอกที่มาสำหรับผู้ต้องการค้นคว้าเพิ่มเติม แม้ว่าบัดนี้ หนังสือนี้จะเป็นงานที่บานปลายออกไป แต่โดยทั่วไปยังรักษา ลักษณะจำกัดทางวิชาการทั้งสองข้อนี้ไว้ได้ โดยเฉพาะที่มาไม่ได้บอกไว้เลย ซึ่งความจริงเมื่องานบานปลายออกแล้วเช่นนี้ จะเลือกบอกไว้บ้าง ก็คงเป็นการดี

(ได้ตกลงใจว่า ถ้ามีการพิมพ์ครั้งใหม่ จะเลือกบอกที่มาบางอย่างเท่าที่จำเป็น แต่ก็จะจำกัดขอบเขตไม่ให้เป็นเหมือนสารานุกรมพุทธศาสน์ฉบับกลาง ซึ่งจะมีเนื้อหามากกว่าพจนานุกรมนี้ประมาณ ๑๐ เท่า มีความหมายภาษาอังกฤษ และมีที่มาสำหรับค้นคว้าอ้างอิง)


แถลงการจัดทำหนังสือ

ประกาศพระคุณ ขอบคุณ และอนุโทนา (ในการพิมพ์ครั้งที่ ๑)

หนังสือนี้เกิดขึ้นในเวลาเร่งด่วน แต่สำเร็จได้ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของผู้ร่วมสำนักและด้วยการใช้วิธีลัด คือ ขอให้พระเปรียญ ๔ รูป แห่งสำนักวัดพระพิเรนทร์ นำคำศัพท์ทั้งหลายในหนังสือศัพท์หลักสูตรภาษาไทย สำหรับ นักธรรมชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก รวม ๓ เล่ม ไปเรียงลำดับอักษรมา แล้วผู้จัดทำปรุงแต่งขยายออกเป็นพจนานุกรม พุทธศาสตร์เล่มนี้

หนังสือศัพท์หลักสูตรภาษาไทย ๓ เล่มนั้น มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ ใน คราวที่คณะสงฆ์เพิ่มวิชาภาษาไทยเข้าในหลักสูตรนักธรรมทั้งสามชั้น หนังสือแต่ละเล่มแบ่งออกเป็น ๓ ภาค ตามวิชา เรียนของนักธรรม คือ พุทธประวัติ (อนุพุทธประวัติ และพุทธานุพุทธประวัติ) ธรรม และวินัย รวม ๓ เล่ม เป็น ๙ ภาค มีศัพท์จำนวนมาก แต่คงจะเป็นเพราะการจัดทำและตีพิมพ์เร่งรีบเกินไป หนังสือจึงยังไม่เข้ารูปเท่าที่ควร ประจวบกับ ทางคณะสงฆ์ได้ยกเลิกวิชาภาษาไทยเสียอีก หนังสือชุดนี้จึงทั้งถูกทอดทิ้งและถูกหลงลืม เหตุที่ผู้จัดทำมานึกถึงหนังสือ นี้ ก็เพราะระหว่างนี้ กำลังเขียนสารานุกรมพุทธศาสน์ฉบับกลางค้างอยู่ จึงมีความเกี่ยวข้องกับหนังสือจำพวกประมวล ศัพท์และพจนานุกรมอยู่บ่อยๆ เมื่อปรารภกันว่าจะพิมพ์หนังสือเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพท่านพระครู ปลัดสมัย กิตฺติทตฺโต เจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์ เวลาผ่านล่วงไปก็ยังไม่ได้หนังสือที่จะพิมพ์ ผู้จัดทำนี้รู้ตัวว่าอยู่ใน ฐานะที่จะต้องเป็นเจ้าการในด้านการพิมพ์ จึงได้พยายามมาแต่ต้นที่จะหลีกเลี่ยงการพิมพ์หนังสือที่ตนเขียนหรือมีส่วน ร่วมเขียน ครั้นเห็นจวนตัวเข้าคิดว่าหากนำหนังสือศัพท์หลักสูตรภาษาไทย ๓ เล่ม ๙ ภาคนั้นมาปรับปรุงตกแต่งเพียง เล็กน้อย ก็จะได้หนังสือที่มีประโยชน์พอสมควร และขนาดเล่มหนังสือก็จะพอเหมาะแก่งาน เมื่อนำมาหารือกัน ก็ได้ รับความเห็นชอบ จึงเริ่มดำเนินการ เมื่อแรกตกลงใจนั้น คิดเพียงว่า นำศัพท์ทั้งหมดมาเรียงลำดับใหม่เข้าเป็นชุดเดียว กันเท่านั้นก็คงเป็นอันเพียงพอ จากนั้นโหมตรวจเกลาอีกเพียง ๔-๕ วัน ก็คงเสร็จสิ้นทั้งตนเองก็จะเป็นผู้หลีกเลี่ยงจาก ความเป็นผู้เขียนได้ด้วย แต่เมื่อทำจริงกลายเป็นใช้เวลาปรุงแต่งเพิ่มเติมอย่างหนักถึงค่อนข้างเดือนจึงเสร็จ จำต้องทำ ต้นฉบับไป ทยอยตีพิมพ์ไป ขนาดหนังสือก็ขยายจากที่กะไว้เดิมไปอีกมาก ศัพท์จำนวนมากมายในศัพท์หลักสูตร ที่ซ้ำ กันและที่เป็นคำสามัญในภาษาไทยได้ตัดทิ้งเสียมากมาย คำที่เห็นควรเพิ่มก็เติมเข้ามาใหม่เท่าที่ทำได้ทัน คำที่มีอยู่แล้ว ซึ่งเห็นว่ามีข้อควรรู้อีกก็เสริมและขยายความออกไป กลายเป็นหนังสือใหม่ขึ้นอีกเล่มหนึ่ง มีลักษณะแปลกออกไปจาก ของเดิม หลีกเลี่ยงความเป็นผู้เขียนหรือร่วมเขียนไม่พ้น อย่างไรก็ตาม เนื้อหาในศัพท์หลักสูตรนั้นก็ยังคงเป็นส่วน ประกอบเกือบครึ่งต่อครึ่งในหนังสือเล่มนี้ เนื้อหาที่มาจากหนังสือศัพท์หลักสูตรเหล่านั้นแยกตามแหล่งได้เป็น ๓ พวก ใหญ่ คือ พวกหนึ่งเป็นความหมายและคำอธิบายที่คัดจากหนังสือแบบเรียนนักธรรม มีนวโกวาท และวินัยมุข เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พวกที่สองได้แก่คำไทยสามัญ หรือคำเกี่ยวกับภาษาและวรรณคดี ซึ่งคัดคำจำกัดความหรือความหมายมาจาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๔๙๓ พวกที่สามคือนอกจากนั้นเป็นคำอธิบายของท่านผู้รวบรวมและเรียบเรียงหนังสือศัพท์หลักสูตรเหล่านั้น เอง ส่วนครึ่งหนึ่งที่เพิ่มใหม่ คัดหรือปรับปรุงจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ของพระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) คือผู้ จัดทำนี้เองบ้าง ปรุงขึ้นใหม่สำหรับคราวนี้ ซึ่งบางส่วนอาจพ้องกับในสารานุกรมพุทธศาสน์ฉบับกลาง อันเป็นวิทยา ทานที่จะพิมพ์ออกต่อไปบ้าง ได้จากแหล่งอื่นๆ รวมทั้งแบบเรียนนักธรรมที่กล่าวมาแล้วบ้าง

หนังสือนี้เรียก “พจนานุกรมพุทธศาสน์” ให้ต่างจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ที่ได้จัดทำและตีพิมพ์ไปก่อนแล้ว เพราะพุจนานุกรมพุทธศาสตร์แสดงเฉพาะข้อที่เป็นหลักหรือหลักการของพระพุทธศาสนา อันได้แก่คำสอนที่เป็น สาระสำคัญ ส่วนหนังสือเล่มนี้รวมเอาสิ่งทั้งหลายที่เรียกกันโดยนามว่าพระพุทธศาสนาเข้ามาอย่างทั่วไป มีทั้งคำสอน ประวัติ กิจการ พิธีกรรม และแม้สิ่งที่ไม่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาโดยตรง อย่างไรก็ตาม แม้พจนานุกรมพุทธศาสน์นี้ จะมีขอบข่ายกว้างขวางกว่าพจนานุกรมพุทธศาสตร์แต่ก็หย่อนกว่าในแง่ความลึกและความละเอียด เพราะเขียนแค่พอรู้ ตลอดจนมีลักษณะทางวิชาการน้อยกว่า เช่น ไม่ได้แสดงที่มา เป็นต้น การที่ปล่อยให้ลักษณะเหล่านี้ขาดอยู่นอกจาก เพราะเวลาเร่งรัดและขนาดหนังสือบังคับแล้ว ยังเป็นเพราะเห็นว่าเป็นลักษณะที่พึงมีในสารานุกรมพุทธศาสน์ฉบับ กลาง หรือแม้ฉบับเล็กที่ทำอยู่ก่อนแล้วแต่ยังไม่เสร็จ อย่างไรก็ดี ด้วยเนื้อหาเท่าที่มีอยู่นี้ หวังว่า พจนานุกรมพุทธศาสน์ คงจักสำเร็จประโยชน์พอสมควร โดยเฉพาะแก่ครูและนักเรียนนักธรรม สมตามชื่อที่ได้ตั้งไว้

การที่หนังสือนี้สำเร็จได้ นอกจากอาศัยคัมภีร์ภาษาบาลีที่ใช้ปรึกษาค้นคว้าเป็นหลักต้นเดิมแล้ว ยังได้อาศัย อุปการะแห่งแบบเรียน ตำรา และความช่วยเหลือร่วมงานของผู้เกี่ยวข้องหลายท่านดังได้กล่าวแล้ว ณ โอกาสนี้:

จึงขออนุสรพระคุณแห่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งได้ทรงพระนิพนธ์แบบเรียน นักธรรมไว้ อันอำนวยความหมายและคำอธิบายแห่งศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับพระธรรมวินัย จำนวนมาก มีทั้งที่ทรงวางไว้ เป็นแบบ และที่ทรงแนะไว้เป็นแนว

ขออนุโมทนาต่อคณะกรรมการชำระปทานุกรม ซึ่งทำให้เกิดมีพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๔๙๓ ที่อำนวยความหมายแห่งคำศัพท์ที่มีใช้ในภาษาไทย

ขออนุโมทนาขอบคุณคณะผู้จัดทำหนังสือศัพท์หลักสูตรภาษาไทยของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คือ อาจารย์ แปลก สนธิรักษ์ ปธ.๙ อาจารย์สวัสดิ์ พินิจจันทร์ ปธ.๙ อาจารย์สิริ เพ็ชรไชย ปธ.๙ และพระมหาจำลอง ภูริปญฺโญ (สารพัดนึก) พธ.บ.,M.A. Ph.D. ผู้เก็บรวบรวมศัพท์และแสดงความหมายของศัพท์ไว้ได้เป็นจำนวนมาก พระเปรียญ ๔ รูป คือ พระมหาอินศร จินฺตาปญฺโญ พระมหาแถม กิตฺติภทฺโท พระมหาเฉลิม ญาณจารี และ พระมหาอัมพร ธีรปญฺโญ เป็นผู้เหมาะสมที่จะร่วมงานนี้ เพราะเคยเป็นนักเรียนรุ่นพิเศษแห่งสำนักวัดพระพิเรนทร์ ซึ่ง ได้มาเล่าเรียนตั้งแต่ยังเป็นสามเณร และได้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบอย่างใกล้ชิดของพระครูปลัดสมัย กิตฺติทตฺโต ใน ฐานะที่ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่แห่งสำนักเรียนทั้งสี่รูปนี้ นอกจากเป็นผู้จัดเรียงลำดับศัพท์ในเบื้องต้นแล้ว ยังได้ช่วย ตรวจบรู๊ฟ และขวนขวายในด้านธุรการอื่นๆ โดตลอดจนหนังสือเสร็จ ชื่อว่า เป็นผู้ร่วมจัดทำหนังสือพจนานุกรมพุทธ ศาสน์นี้

คณะวัดพระพิเรนทร์ ทั้งฝ่ายพระสงฆ์และศิษย์ ได้ช่วยสนับสนุนด้วยการบริจาคร่วมเป็นทุนค่าตีพิมพ์บ้าง กระทำไวยาวัจการอย่างอื่นบ้าง โดยเฉพาะในเวลาทำงานเร่งด่วนที่ต้องอุทิศเวลาและกำลังให้แก่งานอย่างเต็มที่เช่นนี้ ทางฝ่ายพระสงฆ์ พระภิกษุถวัลย์ สมจิตฺโต และทางฝ่ายศิษย์นายสมาน คงประพันธ์ ได้ช่วยเอื้ออำนวยให้เกิดสัปปายะ เป็นอย่างมาก แม้ท่านอื่นๆ ที่มีกุศลเจตนาสนับสนุนอยู่ห่างๆ มีพระภิกษุฉาย ปญญาปทีโป เป็นต้น ก็ขออนุโมทนาไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ขออนุโมทนาต่อทางโรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม ที่ตั้งใจตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ โดยฐานมีความสัมพันธ์กับวัดพระพิ เรนทร์มาเป็นเวลานาน และมีความรู้จักคุ้นเคยกับท่านพระครูปลัดสมัยโดยส่วนตัว จึงสามารถตีพิมพ์ให้เสร็จทันการ แม้จะมีเวลาทำงานจำกัดอย่างยิ่ง ทั้งนี้ ขออนุโมทนาตลอดไปถึงผู้ทำงานทั้งหลาย มีช่างเรียง เป็นต้น ที่มีน้ำใจช่วย แทรกข้อความที่ขอเพิ่มเติมเข้าบ่อยๆ ในระหว่างบรู๊ฟโดยเรียบร้อย ทั้งที่เป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับงานที่เร่ง ทางฝ่ายการเงินแจ้งว่า ทุนที่มีผู้บริจาคช่วยค่าตีพิมพ์หนังสือยังมีไม่ถึง ๑๐,๐๐๐.๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นบาท) “ทุน พิมพ์พุทธศาสนปกรณ์” ได้ทราบจึงมอบทุนช่วยค่าตีพิมพ์เป็นเงิน ๒๐,๐๐๐.๐๐ บาท (สองหมื่นบาท) ทุนพิมพ์พุทธศาสนปกรณ์นั้น เกิดจากเงินที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยในสหรัฐอเมริกา (ส่วนมาก คือ เมืองนิว ยอร์ค ชิคาโก ฟิลาเดลเฟีย และบางเมืองในนิวเจอร์ซี) บริจาคเพื่อเป็นค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายส่วนตัวของผู้จัดทำ หนังสือนี้ในโอกาสต่างๆ และผู้จัดทำได้ยกตั้งอุทิศเป็นทุนพิมพ์หนังสือทางพระศาสนาซึ่งคิดว่าจะเป็นประโยชน์มาก กว่า การนำทุนนั้นมาช่วยค่าพิมพ์หนังสือเล่มนี้ แม้เป็นเรื่องฉุกเฉินนอกเหนือจากโครงการ แต่ก็ยังอยู่ในวัตถุประสงค์

จึงขออุทิศกุศล ขออำนาจบุญราศีอันเกิดจากการจัดทำและจัดพิมพ์หนังสือนี้ จงเป็นพลวปัจจัย อำนวยให้ท่านพระครู ปลัดสมัย กิตฺติทตฺโต ประสบสุขสมบัติในสัมปรายภพ ตามควรแก่คติวิสัย ทุกประการฯ

“ผู้จัดทำหนังสือ”


ความเป็นมาของพจนานุกรมพุทธศาสน์

เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๖ พระมหาประยุทธ์ ปยุตฺโต ได้จัดทำพจนานุกรมศัพท์พระพุทธศาสนาไทย-บาลี-อังกฤษ เล่ม เล็กๆ เล่มหนึ่งเสร็จสิ้น (เป็นฉบับที่มุ่งคำแปลภาษาอังกฤษ ไม่มีคำอธิบาย ต่อมาได้เริ่มขยายให้พิสดารใน พ.ศ. ๒๕๑๓ แต่พิมพ์ถึงอักษร “ฐ” เท่านั้นก็ชะงัก) และในเดือนกันยายน ปีเดียวกันนั้น ก็ได้เริ่มงานจัดทำพจนานุกรมพระพุทธ ศาสนา ที่มีคำอธิบาย ๒ ภาษา คือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งหมวดธรรม แต่เมื่อทำจบเพียงอักษร “บ” ก็ ต้องหยุดค้างไว้ เพราะได้รับการแต่งตั้งโดยไม่รู้ตัวให้เป็นผู้ช่วยเลขาธิการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แล้วหันไปทุ่ม เทกำลังอุทิศเวลาให้กับงานด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ จนถึง พ.ศ. ๒๕๑๕ จึงได้หวนมาพยายามรื้อฟื้นงาน พจนานุกรมขึ้นอีก คราวนั้น พระมหาสมบูรณ์ สมฺปุณฺโณ (ต่อมาเป็นพระวิสุทธิสมโพธิ ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย) มองเห็นว่างานมีเค้าที่จะพิสดารและจะกินเวลายาวนานมาก จึงได้อาราธนาพระมหา ประยุทธ์ (เวลานั้นเป็นพระศรีวิสุทธิโมลี และต่อมาเลื่อนเป็น พระราชวรมุนี) ขอให้ทำพจนานุกรมขนาดย่อมขึ้นมาใช้ กันไปพลางก่อน พระศรีวิสุทธิโมลี ตกลงทำงานแทรกนั้นจนเสร็จให้ชื่อว่า “พจนานุกรมพุทธศาสตร์” มีลักษณะเน้น เฉพาะการรวบรวมหลักธรรม โดยจัดเป็นหมวดๆ เรียงตามลำดับเลขจำนวน และในแต่ละหมวดเรียงตามลำดับอักษร แล้วได้มอบงานและมอบทุนส่วนหนึ่งให้มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจัดพิมพ์เผยแพร่ จำหน่ายเก็บผลประโยชน์บำรุง การศึกษาของพระภิกษุสามเณร เริ่มพิมพ์แต่ พ.ศ.๒๕๑๕ จนถึง พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงเสร็จ ต่อมา พ.ศ.๒๕๒๒ กรมการ ศาสนา กระทรวงศึกษาธิการขออนุญาตพิมพ์แจกเป็นธรรมทาน ๘,๐๐๐ เล่ม นอกจากนั้น มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้จัดจำหน่ายเพิ่มขึ้นและผู้เรียบเรียงเองจัดแจกเป็นธรรมทานเพิ่มเติมบ้าง เป็นรายย่อย หนังสือหมดสิ้นขาดคราวใน เวลาไม่นาน

ส่วนงานจัดทำพจนานุกรมพุทธศาสนาฉบับเดิม ยังคงค้างอยู่สืบมาจนถึง พ.ศ. ๒๕๒๑ ผู้จัดทำจึงมีโอกาสรื้อ ฟื้นขึ้นอีก คราวนี้เขียนเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด เน้นคำอธิบายภาษาไทย ส่วนภาษาอังกฤษมีเพียงคำแปลศัพท์หรือความ หมายสั้นๆ งานขยายจนมีลักษณะเป็นสารานุกรม เขียนไปได้ถึงอักษร “ข” มีเนื้อความประมาณ ๑๑๐ หน้ากระดาษ พิมพ์ดีดพับสาม (ไม่นับคำอธิบายศัพท์จำพวกประวัติ อีก ๗๐ หน้า) ก็หยุดชะงัก เพราะในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ นั้นเอง มี เหตุให้ต้องหันไปเร่งรัดงานปรับปรุงและขยายความหนังสือ “พุทธธรรม” ซึ่งกินเวลายืดเยื้อมาจนถึงพิมพ์เสร็จรวม ประมาณสามปี งานพจนานุกรมจึงค้างอยู่เพียงนั้นและจึงยังไม่ได้จัดพิมพ์

อีกด้านหนึ่ง เมื่อวัดพระพิเรนทร์จัดงานรับพระราชทานเพลิงศพ พระครูปลัดสมัย กิตฺติทตฺโต เจ้าอาวาสวัด พระพิเรนทร์ ใน พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราชวรมุนี ได้จัดทำพจนานุกรม ประเภทงานแทรกและเร่งด่วนขึ้นอีกเล่มหนึ่ง เป็น ประมวลศัพท์ในหนังสือเรียนนักธรรมทุกชั้น และเพิ่มศัพท์ที่ควรทราบในระดับเดียวกันเข้าอีกจำนวนหนึ่ง ตั้งชื่อว่า “พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับครู นักเรียน นักธรรม” มีเนื้อหา ๓๗๓ หน้า เท่าๆ กันกับพจนานุกรมพุทธศาสตร์ (๓๗๔ หน้า) เสมือนเข้าชุดเป็นคู่กัน เล่มพิมพ์ก่อนเป็นที่ประมวลธรรมซึ่งเป็นหลักการหรือสาระสำคัญของพระพุทธศาสนา ส่วนเล่มพิมพ์หลังเป็นที่ประมวลศัพท์ทั่วไปเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา อธิบายพอใช้ประโยชน์อย่างพื้นๆ ไม่กว้างขวาง ลึกซึ้ง

ใน พ.ศ. ๒๕๒๕ มีท่านผู้ศรัทธาเห็นว่า พจนานุกรมพุทธศาสน์ ขาดคราว จึงขอพิมพ์แจกเป็นธรรมทาน มหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ทราบ ก็ขอร่วมสมทบพิมพ์ด้วย เพื่อได้ทำหน้าที่ส่งเสริมวิชาการทางพระพุทธศาสนา กับ ทั้งจะได้เก็บผลกำไรบำรุงการศึกษาในสถาบัน และได้ขยายขอบเขตออกไปโดยขอพิมพ์พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับ ครู นักเรียน นักธรรม ด้วย แต่ผู้เรียบเรียงประสงค์จะปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือทั้งสองเล่มนั้นก่อน อีกทั้งยังมีงาน อื่นยุ่งอยู่ด้วย ยังเริ่มงานปรับปรุงทันทีไม่ได้ จึงต้องรั้งรอจนเวลาล่วงมาช้านาน ครั้นได้โอกาสก็ปรับปรุงเพิ่มเติมพจนา นุกรมพุทธศาสตร์ก่อนจนเสร็จ แล้วเริ่มดำเนินการเกี่ยวกับการจัดพิมพ์ ระหว่างนั้น มีงานอื่นแทรกอยู่เรื่อยๆ ต้องรอ โอกาสที่จะปรับปรุงอีกเล่มหนึ่งที่เหลืออยู่ และได้ตั้งใจว่าจะพิมพ์ตามลำดับเล่มที่ปรับปรุงก่อนหลัง

ในการพิมพ์พจนานุกรมพุทธศาสตร์ มีข้อพิจารณาที่จะต้องตัดสินใจและปัญหาที่จะต้องแก้ไขหลายอย่าง รวม ทั้งการทดลองและตรวจสอบเกี่ยวกับความสามารถในการพิมพ์ด้วย ซึ่งล้วนเพิ่มความล่าช้าให้แก่การจัดพิมพ์ โดย เฉพาะคือการพิมพ์ภาษาบาลีด้วยอักษรโรมัน ซึ่งในการพิมพ์ครั้งใหม่นี้มีตัวบาลีโรมันเพิ่มขึ้นเกินเท่าตัว หลังจากผ่าน พ้นเวลาช้านานในการปรึกษาสอบถามและศึกษางานกับโรงพิมพ์ใหญ่โตบางแห่งแล้ว ก็พอยุติได้ว่า ในประเทศไทย คงมีโรงพิมพ์เพียง ๒ แห่งเท่านั้นที่มีอุปกรณ์ครบครันพอจะพิมพ์อักษรบาลีโรมันได้ตรงตามแบบนิยมอย่างแท้จริง แต่ ก็ติดขัดปัญหาใหญ่ว่าแห่งหนึ่งต้องใช้ทุนพิมพ์อย่างมหาศาล อีกแห่งหนึ่งคงจะต้องพิมพ์อย่างช้าเป็นเวลาแรมปี เมื่อได้ พยายามหาทางแก้ปัญหาต่อไปอีกระยะหนึ่ง ก็มาลงเอยที่ทางออกใหม่ คือ สั่งซื้ออุปกรณ์ประกอบด้วยจานบันทึก และ แถบฟิล์มต้นแบบสำหรับใช้พิมพ์อักษรบาลีโรมัน จากบริษัทคอมพิวกราฟิค สิ้นเงิน ๒๔,๐๐๐.๐๐ บาท และสิ้นเวลารอ อีก ๒ เดือนเศษ อุปกรณ์จึงมาถึง ครั้นได้อุปกรณ์มาแล้วก็ปรากฏว่ายังใช้งานได้ไม่สมบูรณ์ ต้องให้นักเรียงพิมพ์ผู้ สามารถหาวิธียักเยื้องใช้ให้สำเร็จผลสิ้นเวลาพลิกแพลงทดลองอีกระยะหนึ่ง และแม้จะแก้ไขปัญหาสำเร็จถึงขั้นที่พอ นับว่าใช้ได้ ก็ยังเป็นการเรียงพิมพ์ที่ยากมาก นักเรียงพิมพ์คอมพิวกราฟิคส่วนมากพากันหลีกเลี่ยงงานนี้ แม้จะมีนัก เรียงพิมพ์ที่ชำนาญยอมรับทำงานนี้ด้วยมีใจสู้ ก็ยังออกปากว่าเป็นงานยากที่สุดที่เคยประสบมา ต้องทำด้วยความระมัด ตั้งใจเป็นพิเศษ และกินเวลามากถึงประมาณ ๓ เท่าตัวของการเรียงพิมพ์หนังสือทั่วๆ ไป

ระหว่างระยะเวลาเพียรแก้ปัญหาข้างต้นนี้ ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ๒๕๒๗ มูลนิธิ “ทุนพระพุทธยอด ฟ้า” ในพระบบรมราชูปถัมภ์ ณ วัดพระเชตุพน ได้ขอพิมพ์หนังสือ “Thai Buddhism in the Buddhist World” ของพระ ราชวรมุนี ในงานพระราชทานเพลิงศพ พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์ หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาที่ต้องใช้อักษรพิมพ์บาลีแบบ โรมันกระจายอยู่ทั่วไป แม้จะไม่มากมายนัก แต่ก็ได้กลายเป็นดังสนามทดสอบและแก้ปัญหาในการใช้อุปกรณ์ที่สั่งซื้อ มานี้ เป็นสนามแรก และนับว่าใช้ได้ผลพอสมควร

พอว่าหนังสือ Thai Buddhism สำเร็จ แต่ยังไม่ทันเสร็จสิ้น ก็ถึงช่วงที่ ดร. สุจินต์ ทังสุบุตร ติดต่อขอพิมพ์ พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับครู นักเรียน นักธรรม ในงานพระราชทานเพลิงศพ อาจารย์จิตร ทังสุบุตร ผู้เป็นบิดา เวลา นั้น พจนานุกรมเล่มหลังนี้ได้เคยปรับปรุงเพิ่มเติมไว้บ้างแล้วเล็กน้อย แต่ยังไม่ถึงเวลาที่จะปรับปรุงจริงจังตามลำดับใน โครงการ จึงตกลงว่าจะพิมพ์ตามฉบับเดิมโดยใช้วิธีถ่ายจากฉบับพิมพ์ พ.ศ.๒๕๒๒ แก้ไขแทรกลงบ้างเท่าที่จำเป็น แต่ เมื่อต้นฉบับถึงโรงพิมพ์ๆ อ้างว่า ฉบับเดิมไม่ชัดพอที่จะใช้วิธีถ่าย จะต้องเรียงพิมพ์ใหม่ จึงกลายเป็นเครื่องบังคับว่าจะ ต้องพยายามปรับปรุงเพิ่มเติมให้เสร็จสิ้นไปเสียในการพิมพ์คราวนี้ทีเดียว เพื่อหลีกเลี่ยงการลงทุนลงแรงและเปลือง เวลาซ้ำซ้อนหลายคราว พอดีเกิดข้อยุ่งยากติดขัดทางด้านโรงพิมพ์เป็นอันมาก จนหนังสือเสร็จไม่ทันงานและต่อมาเจ้า ภาพต้องเปลี่ยนโรงพิมพ์ กลายเป็นโอกาสให้รีบเร่งงานปรับปรุงเพิ่มเติมแข่งไปกับกระบวนการพิมพ์ แม้จะไม่อาจทำ ให้สมบูรณ์เต็มตามโครงการ แต่ก็สำเร็จไปอีกชั้นหนึ่ง และทำให้เปลี่ยนลำดับกลายเป็นว่าเล่มที่กะจะพิมพ์ทีหลังกลับ มาสำเร็จก่อน นอกจากนั้น การพิมพ์ของเจ้าภาพครั้งนี้ ได้กลายเป็นการอุปถัมภ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปด้วย เพราะ ได้ลงทุนสำหรับกระบวนการพิมพ์ขั้นต้นและขั้นกลางเสร็จสิ้นไปแล้ว เมื่อพิมพ์ใหม่ไม่ต้องเสียค่าเรียงพิมพ์ และค่าทำ แผ่นแบบพิมพ์ใหม่อีก ลงทุนเฉพาะขั้นกระดาษขึ้นแท่นพิมพ์และทำเล่ม เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปเป็นอันมาก อนึ่งในการพิมพ์ครั้งนี้ ได้มีข้อยุติที่สำคัญอย่างหนึ่งด้วย คือ การปรับปรุงชื่อของพจนานุกรมทั้งสองให้เรียก ง่าย พร้อมทั้งให้แสดงลักษณะที่แตกต่างกัน พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับครู นักเรียน นักธรรม เปลี่ยนเป็น “พจนา นุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์” พจนานุกรมพุทธศาสตร์เรียกใหม่ว่า “พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวล ธรรม”

งานปรับปรุงและจัดพิมพ์พจนานุกรมพุทธศาสตร์ (ฉบับประมวลธรรม) ผ่านเวลามาถึงบัดนี้ ๑ ปีเศษแล้ว กะ ว่าจะเสร็จสิ้นในระยะต้น พ.ศ. ๒๕๒๘ ระหว่างนี้ หนังสืออื่น ๆ แม้แต่เล่มที่นับว่าพิมพ์ยาก ดังเช่นเล่มที่ออกชื่อแล้ว ข้างต้น ก็สำเร็จภายในเวลาอันสมควร ไม่ต้องนับหนังสือที่งานพิมพ์อยู่ในระดับสามัญ ซึ่งปล่อยงานให้ผู้ที่ขอพิมพ์รับ ภาระเองได้ เว้นแต่ตามปกติจะต้องขอพิสูจน์อักษรเพื่อความมั่นใจสักเที่ยวหนึ่ง งานพิมพ์ระดับสามัญที่ผ่านไปในช่วง เวลานี้ รวมทั้งการพิมพ์ซ้ำ “ธรรมนูญชีวิต” ประมาณ ๑๒ ครั้ง สมาคมศิษย์เก่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พิมพ์ซ้ำ “ชาวพุทธกับชะตากรรมของสังคม” ธรรมสถานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิมพ์ซ้ำ (๒ ครั้ง) “พุทธธรรม ฉบับปรุงและ ขยายความ” มูลนิธิโกมลคีมทอง รวบรวมพิมพ์ “ลักษณะสังคมพุทธ” และ “สถาบันสงฆ์กับสังคมไทย” สำนักพิมพ์ เทียนวรรณพิมพ์ “ค่านิยมแบบพุทธ” และ “รากฐานพุทธจริยศาสตร์ทางสังคม เพื่อสังคมไทยร่วมสมัย” ซึ่งวีระ สมบูรณ์ แปลจากข้อเขียนภาษาอังกฤษของพระราชวรมุนี ที่ต่อมา CSWR มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด นำลงพิมพ์ในหนังสือ “Attitudes Toward Wealth and Poverty in Theravada Buddhism” (ในชุด SWR Studies in World Religions) ซึ่งจะพิมพ์เสร็จในต้น ปี ๒๕๒๘ ความที่กล่าวมานี้เป็นเครื่องแสดงให้เห็นการเกิดขึ้นของพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ท่ามกลางงานคู่เคียง และ งานแทรกซ้อนทั้งหลาย พร้อมทั้งความยากและความละเอียดซับซ้อนของงานพิมพ์พจนานุกรมนี้ ที่ต่างจากหนังสือ เล่มอื่น ๆ

แม้ว่าพจนานุกรมทั้งสองนี้ จะเป็นผลงานธรรมทาน อุทิศแด่พระศาสนา เช่นเดียวกับหนังสืออื่นทุกเล่มของผู้ เรียบเรียงเท่าที่เคยพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว ผู้ประสงค์สามารถพิมพ์ได้โดยไม่มีค่าลิขสิทธิ์หรือค่าตอบแทนสมนาคุณใดๆ ก็จริง แต่ผู้เรียบเรียงก็มิได้สละลิขสิทธิ์ที่จะปล่อยให้ใคร ๆ จะพิมพ์อย่างไรก็ได้ตามปรารถนา ทั้งนี้ เพื่อจะได้มีโอกาส ควบคุมดูแลความถูกต้องเรียบร้อยของงาน ซึ่งผู้เรียบเรียงถือเป็นสำคัญอย่างยิ่ง

ไม่ว่าการพิมพ์จะยากลำบากและล่าช้าปานใด เมื่อดำเนินมาถึงเพียงนี้ ก็มั่นใจได้ว่าจะสำเร็จอย่างแน่นอน เจ้า ภาพทั้งหลายผู้มีศรัทธาจัดพิมพ์เผยแพร่ ก็ได้สละทุนทรัพย์บำเพ็ญกุศลธรรมทานให้สำเร็จ เป็นอันลุล่วงกิจโปร่งโล่ง ไป คงเหลือแต่เพียงมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเท่านั้น ที่มีเค้าจะประสบปัญหาและกลายเป็นปัญหา เนื่องจากได้แจ้ง ขอพิมพ์พจนานุกรมทั้งสองนั้นอย่างละ ๑,๐๐๐ เล่ม ทั้งที่ตามความเป็นจริงยังไม่มีทุนทรัพย์ที่จะจ่ายเพื่อการนี้เลย ทั้งนี้ เพราะเหตุว่าแม้แต่เงินทุนสำหรับใช้จ่ายในการดำเนินการศึกษาที่เป็นงานหลักประจำในแต่ละวัน ก็ยังมีไม่เพียงพอ การที่ตกลงใจพิมพ์พจนานุกรมจำนวนมากมายเช่นนั้น ก็เป็นเพียงการแสดงใจกล้าบอกความปรารถนาออกไปก่อน แล้วค่อยคิดแก้ปัญหาเอาทีหลัง


ทุนพิมพ์พจนานุกรมพุทธศาสน์

เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๒๗ คือต้นปีนี้ พระราชวรมุนีได้เพียรพยายามครั้งล่าสุดในการหาโรงพิมพ์ที่ สามารถพิมพ์พจนานุกรมพุทธศาสตร์ แต่ก็ประสบปัญหาเกี่ยวกับราคาค่าพิมพ์ที่สูงเกินไปบ้าง การพิมพ์ภาษาบาลีด้วย อักษรโรมันให้สมบูรณ์ไม่ได้บ้าง ในที่สุดจึงหาทางออกด้วยการให้สั่งซื้ออุปกรณ์สำหรับเรียงพิมพ์คอมพิวกราฟิคชุดที่ พอจะพิมพ์อักษรโรมันได้มาเป็นกรณีพิเศษ (ประกอบด้วยจานบันทึกและแถบฟิล์มต้นแบบ) ช่วงเวลานั้น ประจวบ เป็นระยะที่คุณหญิงกระจ่างศรี รักตะกนิษฐ บังเอิญได้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชวรมุนี และด้วยความมีน้ำใจ ศรัทธาใฝ่อุปถัมภ์พระศาสนาและเกื้อกูลแก่พระสงฆ์ ก็ได้มาถวายกำลังในการบำเพ็ญศาสนกิจด้วยการอุปถัมภ์เกี่ยวกับ ภัตตาหารและยานพาหนะเป็นต้นอยู่เนืองนิตย์ ครั้นได้ทราบเรื่องที่พระราชวรมุนีเพียรแก้ปัญหาอยู่ จึงได้ขวนขวาย ช่วยเหลือทุกอย่างเท่าที่โยมอุปถัมภ์จะทำได้ โดยเฉพาะด้วยการช่วยติดต่อกับโรงพิมพ์ และอำนวยความสะดวกในการ เดินทาง ครั้นได้ทราบต่อไปอีกว่า มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นหน่วยที่ขอพิมพ์พจนานุกรมนั้น มีเพียงกำลังใจ ที่จะขอพิมพ์หนังสือ แต่ยังไม่มีทุนทรัพย์ที่จะใช้พิมพ์ คุณหญิงกระจ่างศรีรักตะกนิษฐก็ได้เอื้ออำนวยความอุปถัมภ์ใน เรื่องนี้แก่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยด้วย เบื้องแรก ท่านได้แสดงจาคเจตนาที่จะจัดหาทุนมาช่วยบ้างส่วนหนึ่ง ซึ่งคง จะพอเป็นทุนสำหรับจ่ายค่าอุปกรณ์สำหรับช่วยการเรียงพิมพ์อักษรบาลีแบบโรมัน ที่ได้ขอให้บริษัทอีสต์เอเชียติค จำกัด สั่งซื้อจากประเทศสหรัฐอเมริกา มูลค่า ๒๔,๐๐๐.๐๐ บาท แต่ต่อมาอีกเพียงสองสามวัน คือ ในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗ ท่านก็ได้ขยายความอุปถัมภ์ออกไปอีก โดยได้แจ้งแก่ผู้เรียบเรียงคือพระราชวรมุนี ว่าจะขอรับ ภาระดำเนินการรวบรวมทุนจัดพิมพ์พจนานุกรมพุทธศาสตร์ให้ทั้งหมด ภายในวงเงิน ๓๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท โดยท่านจะ ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานบอกกล่าวกันในหมู่ญาติมิตรและผู้สนิทสนมคุ้นเคยให้ร่วมกันบริจาคด้วยวิธีจัดเป็นทุน รวม ๓๐๐ ทุนๆ ละ ๑,๐๐๐.๐๐ บาท พระราชวรมุนี จึงได้นัดหมายพระเถระทางฝ่ายมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปรับ ทราบกุศลเจตนานั้น และจัดเตรียมอนุโมทนาบัตรให้สำหรับมอบแก่ผู้บริจาค

คุณหญิงกระจ่างศรี รักตะกนิษฐ ได้บอกกล่าวเชิญชวนท่านผู้ศรัทธาในวงความรู้จักของท่าน ข้อความที่ท่านใช้ บอกกล่าวเชิญชวนตอนหนึ่งว่า “นับว่าเป็นโอกาสอันดีของเราทั้งหลาย ที่จะได้มีส่วนเป็นผู้พิมพ์หนังสือทางวิชาการที่ สำคัญเล่มนี้ ฝากไว้เป็นอนุสรณ์ในพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องบูชาพระรัตนตรัยร่วมกัน อันจะยังประโยชน์ให้เกิด อานิสงส์ทางปัญญาบารมี แก่ตัวผู้บริจาคเองและบุตรหลาน ทั้งยังเป็นการช่วยสงเคราะห์พระเณรให้ได้มีหนังสือที่จำ เป็นอย่างยิ่งนี้ไว้ใช้โดยเร็ว นอกจากนั้นผลที่จะตามมาก็คือ รายได้จากการจำหน่ายหนังสือนี้ ก็จะได้ใช้ประโยชน์ใน การบำรุงการศึกษาของพระเณร....”

การเชิญชวนบริจาคทุนสร้างพจนานุกรมฯ นี้ คุณหญิงกระจ่างศรี รักตะกนิษฐได้เริ่มบอกกล่าวในหมู่ญาติมิตร สนิทก่อน ปรากฏว่ามีผู้ศรัทธาในงานบุญนี้มากเกินคาด การเชิญชวนจึงขยายวงกว้างออกไปจนได้เงินเกินกว่าที่กำหนด ไว้ในเวลาอันรวดเร็ว

อนึ่ง ในระหว่างเวลารอคอยการพิมพ์พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรมนี้ มหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัยก็ได้ขอพิมพ์พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์เพิ่มเข้ามาอีก และก็ยังไม่มีทุนที่จะพิมพ์ฉบับหลังนี้ อีกเช่นกัน ผู้เชิญชวนและรวบรวมทุนเห็นเป็นโอกาสอันดีที่ท่านผู้มีศรัทธาบริจาคทั้งหลายจะได้บุญกุศลจากการนี้ กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงได้เสนอพระราชวรมุนีขอให้ใช้เงินบริจาคซึ่งมีจำนวนมากพอนี้เป็นทุนพิมพ์พจนานุกรมฉบับ ประมวลศัพท์มอบให้มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อจำหน่ายหาผลกำไรบำรุงกิจการของมหาวิทยาลัยอีกเล่มหนึ่ง ด้วย และถ้าหากยังคงมีเงินเหลืออยู่บ้าง ก็ขอให้เก็บไว้ในบัญชีเดิมนี้เพื่อสมทบเป็นทุนพิมพ์ในคราวต่อๆ ไป

อนึ่ง ทุนพิมพ์พจนานุกรมฯ นี้ ผู้รวบรวมทุนได้แสดงความประสงค์ที่จะให้เก็บไว้เป็นทุนสำรองถาวร สำหรับ พิมพ์พจนานุกรมพุทธศาสตร์ทั้งสองเล่มของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยโดยเฉพาะ เพื่อจะได้มีทุนพร้อมที่จะพิมพ์ เพิ่มเติมได้โดยไม่ขาดระยะ ฉะนั้น จึงได้ขอความร่วมมือจากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยให้ช่วยสงวนรักษาทุนนี้ไว้ โดยในการจัดจำหน่าย ขอให้หักต้นทุนหนังสือทุกเล่มที่จำหน่ายได้ส่งคืนเข้าบัญชี “ทุนพิมพ์พจนานุกรมพุทธศาสน์” ซึ่งได้เปิดอยู่แล้วที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ ดังกล่าวข้างต้น ส่วนผลกำไรทั้งหมด มหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัยก็จะได้นำไปใช้ในกิจการของมหาวิทยาลัยตามต้องการ ทั้งนี้ผู้รวบรวมได้ขออาราธนาพระราชวรมุนี ซึ่งการ< ทำงานของท่านได้เป็นเหตุให้ผู้รวบรวมเกิดความดำริที่จะตั้งทุนนี้ ให้โปรดเป็นหลักในการรักษาบัญชีร่วมกับมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัยสืบต่อไป

“ทุนพิมพ์พจนานุกรมพุทธศาสน์” นี้ เป็นผลแห่งความเสียสละและความสามัคคี อันเกิดจากความมีจิตศรัทธา ในพระพุทธศาสนาและธรรม-ฉันทะที่จะส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในธรรมให้แพร่หลาย ซึ่งจะให้สำเร็จเป็นธรรม ทานอันอำนวยประโยชน์แก่ชนจำนวนมาก ขอกุศลเจตนาและบุญกิริยาที่กล่าวมานี้จงเป็นปัจจัยดลให้ผู้ร่วมบริจาคทุก ท่าน เจริญงอกงามในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อได้ประสบแต่ความสุขและสรรพพร และขออัครทานคือการให้ธรรมแจก จ่ายความรู้และเผยแพร่ความดีงามครั้งนี้ จงเป็นเครื่องค้ำชูสัทธรรมให้ดำรงมั่นและแผ่ไพศาล เพื่อชักนำมหาชนให้ บรรลุประโยชน์สุขอันไพบูลย์ตราบชั่วกาลนาน

รายนามผู้บริจาคร่วม “ทุนพิมพ์พจนานุกรมพุทธศาสน์”

บริจาค ๓๕,๐๐๐ -บาท

พ.ญ.จรูญ ผลนิวาส

บริจาค ๑๐,๐๐๐. -บาท

คุณชม-คุณหญิงกระจ่างศรี รักตะกนิษฐ
ร้านเบลล์เฮาส์ (มาลินี ชมเชิงแพทย์)
น.พ.ภิรมย์ - คุณประยงค์ สุวรรณเตมีย์
คุณสุกันยา ซอโสตถิกุล
บริษัทอาหารสยาม-คุณนาม พูนวัตถุ

บริจาค ๕,๐๐๐. -บาท

คุณกฤตย์ รัตนรักษ์
น.พ.เกริก ผลนิวาส
คุณจุล-คุณประจวบสุข กาญจนลักษณ์
ม.ล.โฉมชื่น กำภู
คุณภุชงค์ วงศ์วสุ
คุณมณทนัฐ ภัทราเทอญ
คุณเล็ก นันทาภิวัฒน์
คุณสุขุม-คุณหญิงจันทร์ฟอง ถิระวัฒน์

บริจาค ๔,๐๐๐. -บาท

ดร.ทวีรัสมิ์ ธนาคม
ม.ร.ว.รสลิน คัคณางค์
คุณหญิงระเบียบ คุณะเกษม
ร้านเอสแอนด์พี อาหารและไอสกรีม

บริจาค ๓,๐๐๐. -บาท

คุณการุณย์-คุณมินธิรา-กัญจน์ ไชยวัณณคุปต์
คุณกุรดิษฐ จันทร์ศรีชวาลา
ดร.นิมิตชัย-คุณจุฑาทิพย์ สนิทพันธุ์
ท่านผู้หญิงพรพรรณ ทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์
คุณลดา รัตกสิกร
คุณหญิงสงวนศรี จันทรางศุ
คุณอารมณ์ ปูรณพันธ์

บริจาค ๒,๒๐๐. -บาท

คุณพเยาว์ ศรีหงส์ และหลาน

บริจาค ๒,๐๐๐ .-บาท

คุณกิจจา ไชยวัณณคุปต์
คุณเฉลิม เชี่ยวสกุล
บริษัทดุสิตธานี จำกัด
คุณเต็ม-คุณจรูญ เทียนประสิทธิ์
คุณถนิมพงษ์ วงศ์วสุ
คุณพรทิพย์ ธีระชัยชยุติ
คุณพิมพ์รัมภา รักตะกนิษฐ
คุณหญิงโมลี คอมันตร์
คุณเลียบ-คุณเจริญศรี รักตะกนิษฐ
คุณวรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
คุณทวี-คุณเพ็ญศรี อัศวนนท์
คุณนิพนธ์-คุณนิภา จรัญวาศน์
ม.ล.ปิ่น มาลากุล
คุณเผือก อมรศิริวัฒนกุล
คุณพร้อม ทัพพะรังสี
คุณวัย วรรธนะกุล
คุณศิริพงษ์ เลขยานนท์
คุณสมพจน์ ปิยะอุย
คุณสมศักดิ์-คุณบุญตา สุขขะสันติกุล
คุณอำพน พิชเยนทรโยธิน

บริจาค ๑,๕๐๐.-บาท

อ.จ.ฐิติประไพ ศรหิรัญ และครอบครัว

บริจาค ๑,๑๘๓.-บาท

คณะข้าราชการสถาบันโรคผิวหนัง

บริจาค ๑,๑๐๐.-บาท

คุณคมคาย จงเจริญสุข
คุณจินดา เมนะเศวต
คุณสมใจ ทิพย์ชัยเมธา และเพื่อน

บริจาค ๑,๐๐๐.-บาท

คุณกนิษฐ์ รักตะกนิษฐ
น.พ.กมล สินธวานนท์
คุณกรนิพนธ์ สีตะกลิน
คุณหญิงกรองแก้ว ปทุมานนท์
คุณกอบกุล ปราบประชา และเพื่อน
คุณกอบแก้ว นาจพินิจ
คุณกัณหา วิภากุล
คุณหญิงกัลยา จารุจินดา
คุณกาญจนา ผดุงกิจ
คุณกำไลทอง สุทธิเชื้อนาค
คุณกิจจา วงศ์ทองศรี
พ.ญ.กุลชลี สุกัณหะเกตุ
คุณเก่ง-คุณวิลัดดา ณ ระนอง
น.พ.โกมล-คุณสุนาฏ เพ็งศรีทอง
คุณคณิศร์-คุณบรรจง พุกกะณะสุต
ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
คุณงามพิศ โชติกะพุกกะณะ
พ.ญ.เฉลย ศิวะสมบูรณ์
คุณเฉลิม ศิริวงศ์
คุณเฉลิมวงศ์ พุทธิเกษตริน
คุณเฉวียง-คุณเศวต จึงเจริญ
คุณไฉน เฟื่องธุระ
คุณชนิดา วุฒิกานนท์
พ.ญ.ชรินทร ชื่นกำไร คุณภรณี ศรีวรรธนะ
พ.ญ.ชรินทร ชื่นกำไร และเพื่อน
คุณชลอจิต จิตตะรุทธะ
คุณชวน พูนคำ
คุณช้อย นันทาภิวัฒน์
ด.ญ.ชัชชญา รักตะกนิษฐ
พระอาจารย์ชัยชาญ และคณะ
คุณชาลี-คุณสมจิตต์ โอสถานนท์
คุณชำนาญ ยุวบูรณ์
คุณชื่นจิตต์ วงศ์สาธร
คุณชื้น พงษ์พานิช
น.พ.ชูเกียรติ อัศวาณิชย์
คุณชูชีพ วัฒนศิริโรจน์
พล ต.ท.ชูลิต-คุณรัชนีบูล ปราณีประชาชน
คุณชูศักดิ์-คุณฉันทนา วิเชียรโชติ
คุณชูศรี วีสกุล
คุณเชษฐ์ รักตะกนิษฐ
คุณโชติ-คุณน้อมจิตต์ เศวตรุนทร์
คุณซ่อนกลิ่น พิเศษกลกิจ
คุณฐะปะนีย์ นาครทรรพ
คุณดวง ยศสุนทร
คุณดวงใจ ดุลยศักดิ์ และลูกๆ
พ.ญ.ดวงเดือน คงศักดิ์
คุณดารากาญจน์ มงคลพรรณ
คุณบุญมา-คุณชูศรี ธชพงษ์
พ.ญ.บุญเย็น ปิ่นรัตน์
คุณบุญเลิศ-พ.ญ.วไล คงคามี
คุณบุญเลิศ ศรีหงส์
คุณหญิงบุญศิริ ชวลิตธำรง
คุณหญิงบุปผา หิรัณยัษฐิติ
ร.ท.หญิงปทัยทิพย์ เอมะวิศิษฏ์
ร.ต.ประจักษ์ สีบุญเรือง
ดร.ประชุม-คุณละออศรี สัมมน ภิมมนา
คุณประดับ จันทร์สุขศรี
คุณประทวน-คุณเพชราภรณ์ มหากิจศิริ
คุณประไพ กะรีวัต และเพื่อน
คุณประไพศรี บุญพจนสุนทร
คุณประยูร ทัดเที่ยง
คุณประยูรรัตน์ สถลสุด และลูกๆ
พล.อ.ต.ประวิตร อิศรากูร ณ อยุธยา
พล.ร.ท.ประสงค์-คุณเรืองยศ พิบูลสงคราม
ร.อ.ประสบสุข แสงประภา
คุณปราณี รัตนาจารย์
พ.ญ.ปริยา ทัศนประดิษฐ์
คุณปรียา ฉิมโฉม
คุณปลื้ม-ม.ล.พัฒนา ปุณศรี
ม.ร.ว.เปรมปรีดิ์มาน เกษมศรี
คุณผดา ประภาวิวัฒน์
คุณผ่องกาญจน์ อินทรคชลักษณ์
คุณพงศ์ศักดิ์ ผดุงกิจ
คุณพร ทองพูนศักดิ์
คุณพรรณี นพวงศ์ ณ อยุธยา
คุณพวง รัตนพันธุ์
พ.ญ.พวงเพชร สุทธิมูลนาม
ดร.ละม้ายมาศ ศรทัตต์
ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม
พ.ญ.ลัดดา สิงหเสนี
คุณลัดดาวัลย์ นนทะนาคร
คุณลัลลนา รักตะกนิษฐ
คุณลาวัลย์ ถนองจันทร์
คุณลำยอง หะริณสุต
คุณลี่ซวง แซ่เบ๊
คุณเล็ก ประเสริฐราชกิจ
คุณเลิศลักษณ์ บุญยะกมล
คุณวธู ลิ้มปิติ
คุณวนิดา แก้วแกมเสือ
คุณวนิดา นิโลดม
ด.ญ.วรารัชต์ รักตะกนิษฐ
คุณวัชรภรณ์ พิมพ์ใจพงศ์ และญาติ
คุณวันเพ็ญ เฟืองทอง
คณะวันเสาร์ วัดบวรนิเวศ
คุณวัลลีย์ ปราสาททองโอสถ
คุณหญิงวัลลีย์ วีระปรีย
คุณวาณี เอกะจัมปกะ
คุณวาปี ภิรมย์ภักดี
คุณวารุณี บิณฑสันต์
คุณวาสนา คำจิ่ม
คุณวิจิตรา ทิพยรักษ์
คุณวิชเลิศ รักตะกนิษฐ
คุณวิชา-คุณหญิงศุจิกา เศรษบุตร
คุณวิชิต-คุณสุมนา หงสเวส
พล.อ.วิฑูร-พ.ญ.รำจวน หงสเวส
พ.ต.วิวลาศ โอสถานนท์
ร้านวิวิธภูษาคาร-คุณอุทัย แสงรุจิ
พ.ญ.สายสุดใจ ตู้จินดา
ดร.สาโรช บัวศรี
คุณสำเนียง บุญศิริ
คุณสืบศรี-คุณสมนึก คำอุไร
คุณสุจิตรา ป้องประภา
คุณสุณัย-คุณจันทร เศาภายน
พ.ญ.สุดจิตต์ เลาหะจินดา
คุณสุดใจ ธวัชชัยนันท์
คุณสุดา ชูกลิ่น
กคุณสุธี-คุณจามรี ดโนทัย
พระสุนทรธรรมธาดา
คุณสุเพี้ยน เวชชาชีวะ
ท่านผู้หญิงสุมณีนงเยาว์ วินิจฉัยกุล
คุณสุมน อิงคนินันทน์
คุณสุมนา ติระคมน์
คุณสุรางค์ สุพิชญ์
พ.ญ.สุวรรณ กรโกววิท
คุณเสริมศรี โตวิจิต
และคุณเสงี่ยม ฟองสมุทร
คุณเสาวนิต ดีมาก และคุณอรพิม สันทอง
คุณเสาวนีย์ แขมมณี
คุณเสาวนีย์ เชาว์ชูเวชช
คุณจรุงศรี เมนาคม
คุณจรูญ จันทร์เครือ
คุณจำนวน นันทาภิวัฒน์
คุณจำเริญ บุนนาค
คุณจิตต์ประไพ รัตนพันธุ์
คุณจิตราภา เวชชาชีวะ
คุณจินตา-คุณหญิงสุกรี บุณยอาคม
พ.ญ.จินตาภา สายัณหวิกสิต
คุณจีรวัสส์ ปันยารชุน
เจ.ซี.จูเวลรี่
คุณเจริญจิตต์ บุณยะกมล
คุณเจริญพัน ชุมสาย ณ อยุธยา
คุณเจิม เมืองงามขำ
คุณฉลบชลัยย์ พลางกูร
ม.ล.ฉวี ทินกร
ม.ล.ฉวีพงษ์ รองทรง
คุณฉันทะ อาณัติวงศ์
คุณดาวเรือง สรรกุล
คุณดาไสว คงคากุล
คุณดิสภรณ์ ดอกไม้ทอง
คุณตวงรัตน์ โกเมศ
ม.ล.ต่อ กฤดากร
คุณตั๋น-คุณไขแสง สุวรรณศร
คณะเตรียมอุดมภาคพายัพ
ดร.ไตรรงค์-คุณนุช สุวรรณคีรี
คุณถนอม-คุณอำไพ ครูไพศาล
พ.อ. น.พ.ถาวร-คุณศิริพร ถาวรศิริ
และครอบครัว
พระครูทวี (ฤทธิรัตน์) กิตฺติปญฺโญ
น.พ.ทวี ตันติวงษ์
คุณทวีป อุทยานิน
คุณทวีสิน ชุติวงษ์
คุณทองแข ทัศนไพโรจน์
คุณทองดี รักติประกร
คุณทองปาน มั่งมีศรี และเพื่อน
คุณทองเยาว์ โทณานนท์
คุณทองอยู่ กาญจนจารี
คุณทัศนียา สุทัศน์ ณ อยุธยา
คุณทิพยรัตน์ ขัตพันธ์ และครอบครัว
คุณธวัช รักตะกนิษฐ
คุณธัญญา บัวทอง และเพื่อน
คุณนันทา ชินะโชติ
ครอบครัว “นิยมในธรรม”
คุณบรรจง ศรีอุทัย และเพื่อน
คุณหญิงบรรจบพันธุ์ นวรัตน์ ณ อยุธยา
คุณบุญชู ปุณศิริ
คุณบุญธรรม-คุณณัฐกฤตา นิศารัตน์
คุณพัฒน์ บุณยรัตพันธุ์
คุณพัฒน์ ปุณศิริ
คุณพัลลภ สังโขบล
คุณพิชาน-คุณพวงผกา ดโนทัย
คุณพิณ พ่วงสมุทร
คุณหญิงพึงใจ สินธวานนท์
คุณพึงพิศ จุลเสวก
น.พ.พูลสวัสดิ์ สุทธิมูลนาม
โฉมฉาย น.พ.โพธิ์ทอง ปางพุฒิพงษ์
ดร.ไพฑูรย์-คุณจารุวัณณ์ อิงคสุวรรณ
คุณไพบูลย์-คุณสุวาณี รัตนมังคละ
คุณไพพรรณ รักตะกนิษฐ
คุณไพศาล-ทีฆา อินทรสูต
คุณภัทราภรณ์ ดุลยจินดา
คุณมัณฑนา ภาณุมาศ ณ อยุธยา
คุณมัณฑนา สว่างเวช และครอบครัว
คุณมานี มุสิกะภุมมะ และเพื่อน
คุณแมน-คุณศิวพร หงสเวส
พ.อ.ยอด-คุณจินตนา พึ่งละออ
คุณยิ่งพันธุ์ มุนิกานนท์
คุณยุกต์-คุณประคอง ณ ถลาง
คุณยุพนา ธรรมโกวิท
คุณรมณีย์ สุทธิเทศ
ม.ล.ระวิวงศ์ จันทรางศุ
คุณรัชนิดา พูลีย์
คุณรัตน์ ประธานราษฎร์นิกร
คุณรัมภา นันทาภิวัฒน์
คุณราศรี รัตนไชย
พ.ญ.เรณู โคตรจรัส
คุณหญิงแร่ม พรหมโมบล บุณยประสพ
คุณเวียร-คุณรุจิรา ทินกร ณ อยุธยา
ทันตแพทย์หญิงศรียา สิวายะวิโรจน์
คุณศรีสมัย ละออง
คุณศรีสว่าง วงศ์ทองศรี
คุณศิริ สันติศิริ
คุณศิโรจน์ ผลพันธิน และครอบครัว
คุณสงบ เปรมโยธิน
อุบาสิกาสงบ เอกะจัมปกะ
คุณสงวนศรี กมลนาวิน
คุณสญชัย-คุณดวงตา สุพล
คุณสนัย วินิจฉัยกุล และเพื่อน
คุณสนิท รัตนประยูร
คุณสมชัย-คุณเอื้อพันธุ์ ติระกานนท์
คุณส้มเช้า ยุวบูรณ์
คุณสมถวิล วิเศษสมบัติ และคุณฤดี กรุดทอง
คุณสมทรง ชนะมา
คุณสมทรง วีสกุล
คุณสมนาม-คุณพงศ์จันทร์ นันทาภิวัฒน์
คุณสมพร นีละนิธิ
ผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา
คุณสมฤทธิ์-คุณเพ็ญไพบูลย์ เลิศบุศย์
คุณสมศักดิ์-คุณสงวน เสตสุวรรณ
คุณหญิงสมสุข ศรีวิสาราวาจา
คุณสร้อยทอง สุนอนันต์
คุณสวัสดี วรรณโกวิท
คุณสว่าง-คุณบุญชู ยุวจิตต์
คุณส่องศรี ชุติวงศ์ และครอบครัว
คุณสังวรณ์ เวชนุเคราะห์
คุณสาคร สายศร
คุณสายสวาท รัตนทัศนีย์
ม.ร.ว.แสงโสม เกษมศรี
พระโสภณคณาภรณ์
คุณอนงค์ จรณคุปต์
คุณอภัย-คุณหญิงทองก้อน จันทวิมล
คุณอรพรรณ พนมวัน ณ อยุธยา
พ.ญ.อรวรรณ คุณวิศาล
คุณอรุณ อารยกุล
คุณอรุณศรี รัชไชยบุญ
คุณอวยพร เปล่งวานิช
คุณอัมพร ชัชกุล
คุณอาธา สิริสิงห์
ม.ล.อาภรณ์รัตน์ เสือวรรณศรี
คุณอำภา ภูวเจริญ และเพื่อน
คุณอินทิรา นาคะเสถียร
คุณอุดม เย็นฤดี
คุณอุดมลักษณ์ สุวรรณมณีศรี
คุณหญิงอุบล หุวะนันทน์
คุณหญิงอุบล หุวะนันทน์ และเพื่อน
คุณอุไร กฤดากร ณ อยุธยา
คุณอุไร เทศะแพทย์
คุณเอียด ลพานุกรม
ร้านฮั่วฮะฮวด

บริจาค ๘๐๐ .-บาท

คุณผกาศิริ จันทร์ตรูผล คุณเพ็ญพิมล ศิริสวย และคุณยุพา ปิยัมบุตร
คุณระเด่น เกษสันต์ ณ อยุธยา

บริจาค ๗๐๐ .-บาท

ม.ร.ว.ทักษิณา ภูมิรัตน์ และเพื่อน
คุณบุญช่วย ยิ้มประสิทธิ์

บริจาค ๕๕๐ .-บาท

คณะเผยแพร่ธรรม วัดบวรนิเวศ

บริจาค ๕๐๐ .-บาท

ก+ส และครอบครัว
คุณเกียรติ-คุณประยูรวรรณ ศรีพงษ์
คุณจริตราบ สารสาส
ครูบาจันทร์ ขนฺติธโร
คุณเจียมจิตต์ ดำรงศักดิ์
คุณดาราวดี ด่านแก้ว
คุณหญิงถวิล ประกอบนิติสาร
คุณทองคำ อจลภูติ
คุณนงลักษณ์ บุนนาค
คุณบุญล้อม ทีปสุวรรณ
คุณประพาฬ รัตนกนก
คุณประภาพร อินทุรัตน์
คุณผ่องพรรณ ศรีวณิช
คุณพรรณี สารทัด
คุณพิสิฐ-คุณปราณี สัณฑมาศ
พล.อ.ไพฑูรย์ ขจรพันธุ์
คุณยุดา โง้วบุญเรือง
คุณยุพยงค์ ปทุมเทวาภิบาล
คุณรำพรรณ ทรัพยประภา
คุณละออ ชุติกร
คุณเลียบสาคร แพ่งสภา
คุณวิภาวี ประพันธะโยธิน
คุณวิไล เหมะศิลปิน
คุณศรีพันธ์ ลีลาลัย
คุณสำรอง ปิ่นน้อย
คุณสุนัย-คุณพวงเพ็ชร ราชภัณฑารักษ์
คุณอโนทัย ปาลกวงศ์ ณ อยุธยา
คุณอัมพุชนี รัตนกนก
คุณอิทธินันทน์ โรจนวิภาต

รายย่อยต่ำกว่า ๕๐๐ บาท

ผู้บริจาค ๑๘ ราย เป็นเงิน ๒,๘๗๐.- บาท

รายชื่อเพิ่มเติม

คุณเฉลิมพงษ์ คุณทรัพย์เฟื่อง ๑,๐๒๐.- บาท
คุณวิบูลย์ ปวโรดม และเพิ่มเติม ๑,๐๐๐.- บาท


สารบัญพจนานุกรมพุทธศาสน์ออนไลน์



1 ความคิดเห็น :