Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๒-๑๑ หน้า ๖๑๕ - ๖๗๖

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๒-๑๑ วินัยปิฎกที่ ๐๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒



พระวินัยปิฎก
มหาวิภังค์ ภาค ๒
___________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๗.นิสีทนสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุผู้จะทำผ้ารองนั่ง พึงทำให้ได้ขนาด ขนาดในข้อนั้น คือ ยาว ๒
คืบ กว้างคืบครึ่ง โดยคืบสุคต๑ ทำให้เกินขนาดนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ชื่อว่า
เฉทนกะ
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องพระอุทายี
[๕๓๒] สมัยนั้น ท่านพระอุทายีรูปร่างใหญ่ ปูผ้ารองนั่งเบื้องพระพักตร์พระผู้
มีพระภาคแล้วนั่งดึงชายผ้าออกรอบ ๆ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอุทายีดังนี้
ว่า “อุทายี เพราะเหตุไร เธอจึงปูผ้ารองนั่งแล้วดึงชายผ้าออกรอบ ๆ เหมือนช่าง
ทำหนังเก่าเล่า”
ท่านพระอุทายีกราบทูลว่า “จริงดังนั้น พระพุทธเจ้าข้า ก็พระผู้มีพระภาคทรง
อนุญาตผ้ารองนั่งสำหรับภิกษุเล็กเกินไป”
พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับ
สั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตชายผ้ารองนั่งเพิ่มอีก ๑ คืบ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๕๓๓] อนึ่ง ภิกษุผู้จะทำผ้ารองนั่ง พึงทำให้ได้ขนาด ขนาดในข้อนั้น
คือ ยาว ๒ คืบ กว้างคืบครึ่ง ชายคืบหนึ่ง โดยคืบสุคต ทำให้เกินขนาดนั้น ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ที่ชื่อว่าเฉทนกะ
เรื่องพระอุทายี จบ

เชิงอรรถ :
๑ คืบสุคต เท่ากับ ๓ คืบของคนปานกลางในบัดนี้ หรือเท่ากับ ๑ ศอกคืบของช่างไม้ (วิ.อ. ๒/๓๔๘-๙/๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๗.นิสีทนสิกขาบท อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๕๓๔] ที่ชื่อว่า ผ้ารองนั่ง พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงผ้ารองนั่งที่มีชาย
คำว่า ผู้จะทำ คือ ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ ต้องให้ทำให้ได้ขนาด ขนาด
ในข้อนั้น คือ ยาว ๒ คืบ กว้างคืบครึ่ง ชายคืบหนึ่ง โดยคืบสุคต ภิกษุทำเอง
หรือใช้ให้ผู้อื่นทำเกินขนาดนั้น ต้องอาบัติทุกกฏเพราะทำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะ
ได้มา ต้องตัดเสียก่อนแล้วแสดงอาบัติ
บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๕๓๕] ภิกษุทำผ้ารองนั่ง(ที่เกินขนาด)ที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำผ้ารองนั่งที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุทำผ้ารองนั่งที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำผ้ารองนั่งที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำผ้ารองนั่ง เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้ผ้ารองนั่งที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๓๖] ๑. ภิกษุทำผ้ารองนั่งได้ขนาด
๒. ภิกษุทำผ้ารองนั่งต่ำกว่าขนาด
๓. ภิกษุได้ผ้ารองนั่งที่ผู้อื่นทำเกินขนาดมาตัดแล้วใช้
๔. ภิกษุทำเป็นผ้าเพดาน ผ้าปูพื้น ผ้าม่าน เปลือกฟูกหรือปลอกหมอน
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ
นิสีทนสิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๘.กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบท นิทานวัตถุ
๙. รตนวรรค
๘. กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบท
ว่าด้วยการทำผ้าปิดฝี
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๓๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาต
ผ้าปิดฝีสำหรับภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่า “พระผู้มีพระภาค
ทรงอนุญาตผ้าปิดฝี” จึงใช้ผ้าปิดฝีไม่ได้ขนาด ปล่อยห้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง
เที่ยวไป
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงใช้ผ้าปิดฝีไม่ได้ขนาดเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใช้ผ้าปิดฝีไม่ได้
ขนาดจริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระ
ภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงใช้ผ้าปิดฝีไม่ได้
ขนาดเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้ง
หลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๘.กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบท บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๕๓๘] ก็ ภิกษุผู้ทำผ้าปิดฝี ต้องทำให้ได้ขนาด ขนาดในข้อนั้น คือ
ยาว ๔ คืบ กว้าง ๒ คืบ โดยคืบสุคต ทำให้เกินขนาดนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่ชื่อว่าเฉทนกะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๓๙] ที่ชื่อว่า ผ้าปิดฝี ได้แก่ ผ้าที่ทรงอนุญาตสำหรับภิกษุผู้อาพาธ คือ
เป็นโรคฝีสุกใส โรคมีน้ำหนอง โรคน้ำเหลือง หรือโรคฝีดาษ ใต้สะดือลงไปเหนือ
หัวเข่าขึ้นมา เพื่อใช้ปิดแผล
คำว่า ผู้จะทำ คือ ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ พึงให้ทำให้ได้ขนาด ขนาดใน
ข้อนั้น คือ ยาว ๔ คืบ กว้าง ๒ คืบ โดยคืบสุคต
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำเกินขนาดนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ในขณะที่ทำ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะได้มา ต้องตัดออกเสียก่อนแล้วแสดงอาบัติ
บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๕๔๐] ภิกษุทำผ้าปิด(เกินขนาด)ฝีที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จเอง ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำผ้าปิดฝีที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุทำผ้าปิดฝีที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำผ้าปิดฝีที่ผู้อื่นทำค้างไว้ทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๘.กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้ผ้าปิดฝีที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๔๑] ๑. ภิกษุทำผ้าปิดฝีได้ขนาด
๒. ภิกษุทำผ้าปิดฝีต่ำกว่าขนาด
๓. ภิกษุได้ผ้าปิดฝีที่ผู้อื่นทำไว้เกินขนาดมาตัดแล้วใช้
๔. ภิกษุทำเป็นผ้าเพดาน ผ้าปูพื้น ผ้าม่าน เปลือกฟูก หรือ
ปลอกหมอน
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ
กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๙.วัสสิกสาฏิกาสิกขาบท นิทานวัตถุ
๙. รตนวรรค
๙. วัสสิกสาฏิกาสิกขาบท
ว่าด้วยการทำผ้าอาบนํ้าฝน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๔๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้า
อาบนํ้าฝนสำหรับภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรง
อนุญาตผ้าอาบน้ำฝน” จึงใช้ผ้าอาบน้ำฝนไม่ได้ขนาด ปล่อยห้อยข้างหน้าบ้าง
ข้างหลังบ้าง เที่ยวไป
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงใช้ผ้าอาบน้ำฝนไม่ได้ขนาดเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใช้ผ้าอาบน้ำฝน
ไม่ได้ขนาด จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงใช้ผ้าอาบน้ำ
ฝนไม่ได้ขนาดเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส
ให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๙.วัสสิกสาฏิกาสิกขาบท บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๕๔๓] ก็ ภิกษุผู้จะทำผ้าอาบน้ำฝน พึงทำให้ได้ขนาด ขนาดในข้อนั้น
คือ ยาว ๖ คืบ กว้าง ๒ คืบครึ่ง โดยคืบสุคต ทำให้เกินขนาดนั้น ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ที่ชื่อว่าเฉทนกะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๔๔] ที่ชื่อว่า ผ้าอาบน้ำฝน ได้แก่ ผ้าที่ทรงอนุญาตไว้ให้ใช้ได้ตลอด ๔
เดือนในฤดูฝน
คำว่า ผู้จะทำ คือ ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ ต้องให้ทำให้ได้ขนาด คือ
ยาว ๖ คืบ กว้าง ๒ คืบครึ่ง โดยคืบสุคต
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำเกินขนาดนั้น ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่ทำ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์เพราะได้มา ต้องตัดออกแล้วแสดงอาบัติ
บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๕๔๕] ภิกษุทำผ้าอาบนํ้าฝน(เกินขนาด)ที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำผ้าอาบนํ้าฝนที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุทำผ้าอาบนํ้าฝนที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำผ้าอาบนํ้าฝนที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๙.วัสสิกสาฏิกาสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้ผ้าอาบนํ้าฝนที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๔๖] ๑. ภิกษุทำผ้าอาบน้ำฝนได้ขนาด
๒. ภิกษุทำผ้าอาบน้ำฝนต่ำกว่าขนาด
๓. ภิกษุได้ผ้าอาบน้ำฝนที่ผู้อื่นทำเกินขนาดมาตัดแล้วใช้
๔. ภิกษุทำเป็นผ้าเพดาน ผ้าปูพื้น ผ้าม่าน เปลือกฟูกหรือ
ปลอกหมอน
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ
วัสสิกสาฏิกาสิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๑๐.นันทสิกขาบท นิทานวัตถุ
๙. รตนวรรค
๑๐. นันทสิกขาบท
ว่าด้วยพระนันทะ
เรื่องพระนันทะ
[๕๔๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระนันทะ โอรสพระมาตุจฉา
ของพระผู้มีพระภาค มีรูปงาม น่าดู น่าชม ร่างตํ่ากว่าพระผู้มีพระภาค ๔ องคุลี
ท่านพระนันทะนั้นห่มจีวรมีขนาดเท่าจีวรพระสุคต ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระได้
เห็นท่านพระนันทะเดินมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้วจึงลุกขึ้นจากอาสนะด้วยคิดว่า “พระ
ผู้มีพระภาคเสด็จมา” เมื่อท่านพระนันทะเข้ามาใกล้ จึงจำได้ แล้วพากันตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระนันทะจึงห่มจีวรมีขนาดเท่าจีวรพระสุคตเล่า”
ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิท่านพระนันทะโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระนันทะว่า “นันทะ ทราบว่า เธอห่มจีวรมีขนาดเท่าสุคตจีวร
จริงหรือ” ท่านพระนันทะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ นันทะ ไฉนเธอจึงห่มจีวรมีขนาดเท่าสุคตจีวรเล่า นันทะ
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้ว
ให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
ดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๑๐.นันทสิกขาบท บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๕๔๘] ก็ ภิกษุทำจีวรมีขนาดเท่ากับสุคตจีวร หรือใหญ่กว่า ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ที่ชื่อว่าเฉทนกะ ขนาดเท่าสุคตจีวรของสุคตในข้อนั้น คือ ยาว ๙ คืบ
กว้าง ๖ คืบ โดยคืบสุคต นี้เป็นขนาดเท่าสุคตจีวรของพระสุคต
เรื่องพระนันทะ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๔๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ขนาดเท่าสุคตจีวร คือ ยาว ๙ คืบ กว้าง ๖ คืบ โดยคืบสุคต
คำว่า ทำ คือ ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ ในขณะที่ทำ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะได้มา ต้องตัดออกเสียก่อนแล้วแสดงอาบัติ
บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๕๕๐] ภิกษุทำจีวร(เท่าสุคตจีวร)ที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำจีวรที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุทำจีวรที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำจีวรที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค รวมสิกขาบทที่มีในรตนวรรค
ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้จีวรที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๕๑] ๑. ภิกษุทำจีวรต่ำกว่าขนาด
๒. ภิกษุได้จีวรที่ผู้อื่นทำเสร็จมาตัดแล้วใช้
๓. ภิกษุทำเป็นผ้าเพดาน ผ้าปูพื้น ผ้าม่าน เปลือกฟูกหรือ
ปลอกหมอน
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุต้นบัญญัติ
นันทสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
รตนวรรคที่ ๙ จบ
รวมสิกขาบทที่มีในรตนวรรค
รตนวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ

๑. อันเตปุรสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าเขตพระราชฐานชั้นใน
๒. รตนสิกขาบท ว่าด้วยการเก็บรัตนะที่เจ้าของลืมไว้
๓. วิกาลคามปเวสนสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าบ้านในเวลาวิกาล
๔. สูจิฆรสิกขาบท ว่าด้วยการทำกล่องเข็มด้วยกระดูกเป็นต้น
๕. มัญจปีฐสิกขาบท ว่าด้วยการทำเตียงและตั่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] บทสรุป

๖. ตูโลนัทธสิกขาบท ว่าด้วยการทำเตียงและตั่งหุ้มนุ่น
๗. นิสีทนสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้ารองนั่ง
๘. กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้าปิดฝี
๙. วัสสิกสาฏิกาสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้าอาบน้ำฝน
๑๐. นันทสิกขาบท ว่าด้วยท่านพระนันทะ

บทสรุป
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลาย ในธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบทเหล่านี้ว่า
“ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบทนี้ เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ขุททกสิกขาบท จบบริบูรณ์
ปาจิตติยกัณฑ์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๑.ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท นิทานวัตถุ
๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทเหล่านี้มาถึงวาระที่ยกขึ้น
แสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับ
๑. ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท
ว่าด้วยการรับของเคี้ยวของฉันจากมือภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[๕๕๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตใน
กรุงสาวัตถี เวลากลับ พบภิกษุรูปหนึ่งจึงได้กล่าวดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า นิมนต์ท่าน
รับภิกษาหารเถิด”
ภิกษุนั้นตอบว่า “ดีละ น้องหญิง” แล้วรับภิกษาหารทั้งหมด
เมื่อใกล้เวลาฉันแล้ว ภิกษุณีนั้นไม่สามารถเที่ยวบิณฑบาตได้ทัน จึงไม่ได้ฉัน
ภัตตาหาร
ต่อมา แม้ในวันที่ ๒ ภิกษุณีนั้น ฯลฯ แม้ในวันที่ ๓ ภิกษุณีนั้นก็เที่ยว
บิณฑบาตในกรุงสาวัตถี เวลากลับ พบภิกษุรูปนั้นจึงได้กล่าวดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า
นิมนต์ท่านรับภิกษาหารเถิด”
ภิกษุนั้นตอบว่า “ดีละ น้องหญิง” แล้วรับภิกษาหารทั้งหมด
เมื่อใกล้เวลาฉันแล้ว ภิกษุณีนั้นไม่สามารถเที่ยวบิณฑบาตได้ทัน จึงไม่ได้ฉัน
ภัตตาหาร
ครั้นในวันที่ ๔ ภิกษุณีนั้นเดินซวนเซไปตามถนน เศรษฐีคหบดีนั่งรถสวนทาง
มา ได้กล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้า นิมนต์ท่านหลีกทาง” เธอเมื่อกำลังหลีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๑.ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท นิทานวัตถุ
ล้มลงในที่นั้นเอง เศรษฐีคหบดีขอขมาภิกษุณีนั้นว่า “แม่เจ้า ท่านโปรดยกโทษ
กระผมทำให้ท่านล้ม”
ภิกษุณีตอบว่า “คหบดี ท่านไม่ได้ทำให้ดิฉันล้ม ดิฉันมีกำลังไม่ดีต่างหาก”
เศรษฐีถามว่า “แม่เจ้า เพราะเหตุใดท่านจึงมีกำลังไม่ดี”
ทีนั้น ภิกษุณีนั้นจึงเล่าเรื่องนั้นให้เศรษฐีคหบดีทราบ เศรษฐีคหบดีพาภิกษุณี
นั้นไปฉันที่เรือน แล้วตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลาย
จึงรับอามิสจากมือของภิกษุณีเล่า มาตุคามหาลาภได้ยาก”
พวกภิกษุได้ยินเศรษฐีคหบดีตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุจึงรับอามิสจากมือของ
ภิกษุณีเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่าเธอรับอามิสจากมือของภิกษุณี จริงหรือ”
ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ ภิกษุณีนั้น
เป็นญาติของเธอหรือไม่ใช่ญาติ” ภิกษุนั้นทูลตอบว่า “ไม่ใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมฆบุรุษ ภิกษุผู้ ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้สิ่งที่เหมาะสมหรือ
ไม่เหมาะสม ของที่มีอยู่หรือไม่มีอยู่ ของภิกษุณีผู้ ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงรับ
อามิสจากมือของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคน
ที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๑.ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๕๕๓] ก็ ภิกษุใดรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองจากมือของ
ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติผู้เข้าไปในละแวกบ้าน เคี้ยวหรือฉัน ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า
“ท่าน กระผมต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็นสัปปายะ
กระผมขอแสดงคืนธรรมนั้น”
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๕๔] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ที่ชื่อว่า ละแวกบ้าน ได้แก่ ถนน ตรอกตัน ทางสี่แยก เรือน
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ
ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส ข้าวตู ปลา
เนื้อ
ภิกษุรับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้อง
อาบัติปาฏิเทสนียะทุก ๆ คำกลืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๑.ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาฏิเทสนียะ
[๕๕๕] ภิกษุณีไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ รับของเคี้ยวหรือของฉัน
ด้วยมือตนเองจากมือของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้เข้าไปในละแวกบ้าน แล้วเคี้ยวหรือ
ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ภิกษุณีไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ รับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองจาก
มือของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้เข้าไปในละแวกบ้าน แล้วเคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ
ภิกษุณีไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ รับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตน
เองจากมือของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้เข้าไปในละแวกบ้าน แล้วเคี้ยวหรือฉัน ต้อง
อาบัติปาฏิเทสนียะ
ทุกกฏ
ภิกษุรับของเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิกเพื่อเป็นอาหาร ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำกลืน
ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันจากมือของภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว
ด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ
คำกลืน
ภิกษุณีเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีเป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๕๖] ๑. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันจากมือของภิกษุณีที่เป็นญาติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๑.ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท อนาปัตติวาร
๒. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติสั่งให้ถวาย ไม่
ได้ถวายเอง
๓. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีถวายโดยวางไว้
๔. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีถวายในอาราม
๕. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีถวายในสำนักภิกษุณี
๖. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีถวายในสำนักเดียรถีย์
๗. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีถวายในโรงอาหาร๑
๘. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีนำออกจากบ้านแล้วถวาย
๙. ภิกษุรับยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ที่ภิกษุณีถวายด้วยสั่ง
ว่า เมื่อมีเหตุผล นิมนต์ฉันได้
๑๐. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่สิกขมานาถวาย
๑๑. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่สามเณรีถวาย
๑๒. ภิกษุวิกลจริต
๑๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปฏิกฺกมน โรงอาหาร (ปฏิกฺกมนํ นีหริตฺวาติ อาสนสาลํ หริตฺวา - วิ.อ. ๒/๒๓๓/๓๕๖, ปฏิกฺกมเนปีติ
อาสนสาลายมฺปิ - วิ.อ. ๒/๒๗๔/๓๙๘, ปฏิกฺกมนนฺติ อาสนสาลา - กงฺขา. ฏีกา ๔๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๒.ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบท
ว่าด้วยการไม่ห้ามภิกษุณีผู้คอยบงการ
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๕๕๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายต่างรับนิมนต์ฉันในตระกูล
พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์มายืนบงการเพื่อพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “พวกท่านจงถวายแกง
ที่นี้จงถวายข้าวสุกที่นี้” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้ฉันตามต้องการ ภิกษุเหล่าอื่นไม่ได้
ฉันตามที่คิดไว้
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงไม่ห้ามพวกภิกษุณีผู้คอยบงการเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิ
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอไม่ห้ามภิกษุณี
ผู้คอยบงการ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงไม่ห้าม
ภิกษุณีผู้คอยบงการเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๕๕๘] ก็ ภิกษุรับนิมนต์ฉันในตระกูล ถ้าภิกษุณีมายืนบงการในที่นั้นว่า
“พวกท่านจงถวายแกงที่นี้ ถวายข้าวสุกที่นี้” ภิกษุเหล่านั้นพึงไล่ภิกษุณีนั้นออก
ไปด้วยกล่าวว่า “น้องหญิง เธอจงหลีกไปตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังฉันอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๒.ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบท บทภาชนีย์
ถ้าไม่มีภิกษุแม้รูปหนึ่งว่ากล่าวเพื่อจะไล่ภิกษุณีนั้นว่า “น้องหญิง เธอจงหลีก
ไปตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังฉันอยู่” ภิกษุเหล่านั้นพึงแสดงคืนว่า “ท่าน
ทั้งหลาย พวกกระผมต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็น
สัปปายะ กระผมขอแสดงคืนธรรมนั้น”
เรื่องพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๕๙] คำว่า ก็ ภิกษุรับนิมนต์ฉันในตระกูล ความว่า ที่ชื่อว่าตระกูล หมาย
ถึงตระกูล ๔ ได้แก่ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ตระกูลแพศย์ ตระกูลศูทร
คำว่า รับนิมนต์ฉัน คือ ภิกษุรับนิมนต์ฉันโภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ที่ชื่อว่า บงการ คือ ภิกษุณีคอยบงการว่า “พวกท่านจงถวายแกงที่นี้ ถวาย
ข้าวสุกที่นี้” ตามความเป็นมิตร ตามความเป็นเพื่อน ตามความใกล้ชิด ตามที่เป็น
ผู้ร่วมพระอุปัชฌาย์ ตามที่เป็นผู้ร่วมพระอาจารย์กันมา นี้ชื่อว่าผู้บงการ
คำว่า ภิกษุเหล่านั้น ได้แก่ ภิกษุผู้กำลังฉัน
คำว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีผู้บงการ
ภิกษุเหล่านั้นพึงไล่ภิกษุณีนั้นไปด้วยกล่าวว่า “น้องหญิง เธอจงหลีกไปตราบ
เท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังฉันอยู่ ๋ ถ้าไม่มีภิกษุแม้รูปหนึ่งว่ากล่าว ภิกษุรับมาด้วยคิดว่า
“จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะทุก ๆ คำกลืน
บทภาชนีย์
ติกปาฏิเทสนียะ
[๕๖๐] มาตุคามผู้เป็นอุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ไม่ห้ามเธอ
ผู้บงการ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
มาตุคามผู้เป็นอุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่ห้ามเธอผู้บงการ ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๒.ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบท อนาปัตติวาร
มาตุคามผู้เป็นอุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ไม่ห้ามเธอผู้บงการ
ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ทุกกฏ
มาตุคามผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียวบงการ ภิกษุไม่ห้าม ต้องอาบัติทุกกฏ
มาตุคามผู้เป็นอนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
มาตุคามผู้เป็นอนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
มาตุคามผู้เป็นอนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๖๑] ๑. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารที่ภิกษุณีใช้ให้ถวายของของตน แต่ไม่
ได้ถวายด้วยตนเอง
๒. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารที่ภิกษุณีถวายของของผู้อื่น ไม่ได้ใช้ให้
ถวาย
๓. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารที่เขายังไม่ถวาย แต่ภิกษุณีใช้ให้ถวาย
๔. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารในที่ที่เขายังไม่ถวาย แต่ภิกษุณีใช้ให้
ถวาย
๕. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารที่ภิกษุณีใช้ให้ถวายเท่า ๆ กันทุกรูป
๖. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารที่สิกขมานาบงการ
๗. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารที่สามเณรีบงการ
๘. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารทุกอย่างยกเว้นโภชนะ ๕ ไม่ต้องอาบัติ
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๓.ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ตติยปาฏิเทสนียสิกขาบท
ว่าด้วยการรับของเคี้ยวของฉันในที่ที่ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ก่อน
เรื่องตระกูลหนึ่ง
[๕๖๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ในกรุงสาวัตถี ตระกูลหนึ่งทั้ง ๒
ฝ่าย๑ มีความเลื่อมใส เจริญด้วยศรัทธา แต่ขาดแคลนทรัพย์ พวกเขาสละของเคี้ยว
ของบริโภคทั้งหมดที่เกิดขึ้นในตระกูลนั้นถวายแก่ภิกษุทั้งหลายจนบางครั้งถึงกับไม่
ได้กินอาหาร
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
จึงรับภัตตาหารโดยไม่รู้จักประมาณเล่า คนเหล่านี้ถวายแก่พระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรเหล่านี้จนบางครั้งตนเองถึงกับไม่ได้กินอาหาร”
พวกภิกษุได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา ครั้นแล้วจึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติตระกูลที่เจริญด้วยศรัทธา
แต่ขาดแคลนทรัพย์ให้เป็นตระกูลเสขะ ด้วยญัตติทุติยกรรม ภิกษุทั้งหลายพึง
ให้เสขสมมติอย่างนี้ คือ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ทั้ง ๒ ฝ่าย” คือทั้งอุบาสกและอุบาสิกาเป็นผู้เลื่อมใสในพระรัตนตรัย เป็นโสดาบัน
(วิ.อ. ๒/๕๖๒/๔๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๓.ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท พระบัญญัติ
กรรมวาจาให้เสขสมมติ
[๕๖๓] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ตระกูลชื่อนี้เจริญด้วยศรัทธาแต่
ขาดแคลนทรัพย์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้เสขสมมติแก่ตระกูลชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ตระกูลชื่อนี้เจริญด้วยศรัทธาแต่ขาดแคลน
ทรัพย์ สงฆ์ให้เสขสมมติแก่ตระกูลชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้เสขสมมติแก่
ตระกูลชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
เสขสมมติสงฆ์ให้แก่ตระกูลนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอ
ถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้
พระบัญญัติ
ก็ภิกษุใดรับของเคี้ยวหรือของฉันในตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะเช่นนั้น
ด้วยมือตนเอง แล้วเคี้ยวหรือฉัน ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า “ท่านทั้งหลาย กระผม
ต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็นสัปปายะ กระผมขอ
แสดงคืนธรรมนั้น”
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องตระกูลหนึ่ง จบ
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๕๖๔] สมัยนั้น มีมหรสพในกรุงสาวัตถี คนทั้งหลายนิมนต์ภิกษุไปฉัน แม้
ตระกูลนั้นก็ได้นิมนต์ภิกษุเช่นกัน ภิกษุทั้งหลายมีความยำเกรง จึงไม่รับนิมนต์ด้วย
คิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการรับของเคี้ยวของฉันในตระกูลที่ได้รับสมมติเป็น
เสขะด้วยมือของตนแล้วฉัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๓.ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
คนเหล่านั้นจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พวกเราจะมีชีวิตอยู่ไป
ทำไม เพราะพระคุณเจ้าทั้งหลายไม่รับนิมนต์พวกเรา”
พวกภิกษุได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา ครั้นแล้วจึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลาย “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุที่ทายกนิมนต์แล้วรับของเคี้ยว
หรือของฉันในตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวฉันได้” แล้วจึง
รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใดไม่ได้รับนิมนต์ไว้ก่อน รับของเคี้ยวหรือของฉันในตระกูลที่
ได้รับสมมติเป็นเสขะเช่นนั้น ด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวหรือฉัน ภิกษุนั้นพึงแสดง
คืนว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าตำหนิ
ไม่เป็นสัปปายะ กระผมขอแสดงคืนธรรมนั้น”
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๕๖๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นพระประจำตระกูลของตระกูลนั้น ครั้นเวลา
เช้า เธอครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปถึงตระกูลนั้น ครั้นถึงแล้วจึงนั่งบน
อาสนะที่เขาจัดถวาย ทีนั้น ภิกษุนั้นเป็นไข้ พวกชาวบ้านได้กล่าวอาราธนาภิกษุนั้น
ดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า นิมนต์ท่านฉันเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๓.ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ครั้งนั้น ภิกษุนั้นมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามภิกษุที่ทายก
ไม่ได้นิมนต์ไว้ก่อนรับของเคี้ยวของฉันในตระกูลที่ได้สมมติเป็นเสขะ” จึงไม่รับ ภิกษุ
นั้นไม่สามารถหาบิณฑบาตฉันได้ทัน จึงไม่ได้ฉันภัตตาหาร ครั้นไปวัดจึงบอก
เรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้รับของเคี้ยวหรือ
ของฉันในตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวฉันได้” แล้วจึง
รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๕๖๖] อนึ่ง ภิกษุใดไม่ได้รับนิมนต์ไว้ก่อน ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวหรือ
ของฉันในตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะเช่นนั้นด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวหรือฉัน
ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็น
ธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็นสัปปายะ กระผมขอแสดงคืนธรรมนั้น”
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๖๗] คำว่า ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ความว่า ตระกูลที่ชื่อว่าอัน
สงฆ์สมมติว่าเป็นเสขะ ได้แก่ ตระกูลมีศรัทธาแต่ขาดแคลนทรัพย์ สงฆ์ย่อมให้สมมติ
ตระกูลเช่นนี้เป็นเสขะด้วยญัตติทุติยกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๓.ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ในตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะเช่นนั้น คือ ในตระกูลที่ได้รับ
สมมติเป็นเสขะเช่นนี้
ที่ชื่อว่า ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ คือ ภิกษุที่เขาไม่ได้นิมนต์เพื่อฉันในวันนี้หรือพรุ่งนี้
แต่เขานิมนต์เมื่อภิกษุเดินผ่านอุปจารเรือนเข้าไปแล้ว นี้ชื่อว่าไม่ได้รับนิมนต์ไว้
ที่ชื่อว่า ได้รับนิมนต์ คือ ภิกษุที่เขานิมนต์เพื่อฉันในวันนี้ หรือพรุ่งนี้ คือเขา
นิมนต์ขณะที่ภิกษุยังไม่ได้เดินผ่านอุปจารเข้าไป นี้ชื่อว่าได้รับนิมนต์ไว้
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ ภิกษุที่สามารถไปบิณฑบาตได้
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ
ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส ข้าวตู ปลา
เนื้อ
ภิกษุไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ไม่เป็นไข้ รับไว้ด้วยคิดว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้อง
อาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะทุก ๆ คำกลืน
บทภาชนีย์
ติกปาฏิเทสนียะ
[๕๖๘] ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นตระกูลที่ได้รับสมมติ
เป็นเสขะ ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองแล้ว
เคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ไม่เป็นไข้ รับ
ของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๓.ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท อนาปัตติวาร
ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็น
เสขะ ไม่ได้รับนิมนต์ ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวหรือ
ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ

ทุกกฏ
ภิกษุรับของที่เป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อเป็นอาหาร ต้อง
อาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำกลืน
ไม่ใช่ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นตระกูลที่ได้รับสมมติ
เป็นเสขะ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ตระกูลที่ได้รับสมมติ
เป็นเสขะ ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๖๙] ๑. ภิกษุรับนิมนต์ไว้
๒. ภิกษุผู้เป็นไข้
๓. ภิกษุฉันของเป็นเดนของภิกษุผู้รับนิมนต์ไว้หรือของภิกษุผู้เป็นไข้
๔. ภิกษุฉันอาหารที่เขาจัดไว้เพื่อภิกษุอื่น ๆ
๕. ภิกษุฉันอาหารที่เขานำจากเรือนไปถวาย
๖. ภิกษุฉันนิตยภัต
๗. ภิกษุฉันสลากภัต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๓.ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท อนาปัตติวาร
๘. ภิกษุฉันปักขิกภัต๑
๙. ภิกษุฉันอุโบสถิกภัต๒
๑๐. ภิกษุฉันปาฏิปทิกภัต๓
๑๑. ภิกษุฉันยามกาลิก สัตตาหกาลิก หรือยาวชีวิก ที่เขาถวายบอก
ว่าเมื่อมีเหตุจำเป็นก็นิมนต์ฉันเถิด
๑๒. ภิกษุวิกลจริต
๑๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปักขิกภัต คืออาหารที่เขาถวาย ๑๕ วันครั้งหนึ่ง
๒ อุโบสถิกภัต คืออาหารที่เขาถวายในวันอุโบสถ คือวันพระนั้นเอง
๓ ปาฏิปทิกภัต คืออาหารที่เขาถวายในวันขึ้น-แรม ๑ ค่ำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๔.จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท นิทานวัตถุ
๔. จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท
ว่าด้วยการรับของเคี้ยวของฉันจากทายกที่ไม่ได้แจ้งไว้ก่อน
เรื่องคนรับใช้ของเจ้าศากยะ
[๕๗๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขต
กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พวกทาสของเจ้าศากยะก่อการร้าย พวก
เจ้าหญิงศากยะปรารถนาจะจัดภัตตาหารไว้ถวายภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะป่า พวกทาส
ของเจ้าศากยะได้ฟังข่าวว่า พวกเจ้าหญิงศากยะปรารถนาจะจัดภัตตาหารไว้ถวาย
ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะป่า จึงไปดักซุ่มที่หนทาง พวกเจ้าหญิงศากยะนำของเคี้ยวของ
ฉันอันประณีตไปยังเสนาสนะป่า พวกทาสของเจ้าศากยะจึงออกมาปล้นและทำร้าย
เจ้าหญิงศากยะ
พวกเจ้าศากยะออกไปจับพวกโจรได้พร้อมของกลางแล้วตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลายจึงไม่บอกว่ามีพวกโจรอยู่ในอารามเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกเจ้าศากยะตำหนิ ประณาม โพนทะนา ครั้นแล้วจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เราจะบัญญัติสิกขาบทแก่
ภิกษุทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
ฯลฯ
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม
๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย๑
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูข้อ ๕๖๖ หน้า ๙๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๔.จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท พระบัญญัติ
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดอยู่ในเสนาสนะป่าที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง มีภัยน่ากลัวเช่นนั้น
ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อนรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองในอารามแล้วฉัน
ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็น
ธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็นสัปปายะ กระผมขอแสดงคืนธรรมนั้น”
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องคนรับใช้ของเจ้าศากยะ จบ
เรื่องภิกษุผู้เป็นไข้
[๕๗๑] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งผู้เป็นไข้อยู่ในเสนาสนะป่า พวกชาวบ้านนำ
ของเคี้ยวของฉันไปถวาย ครั้นแล้วได้กล่าวอาราธนาภิกษุนั้นดังนี้ว่า “นิมนต์ฉันเถิด
ขอรับ” ทีนั้น ภิกษุนั้นมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการรับของ
เคี้ยวของฉันในเสนาสนะป่าด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวฉัน” จึงไม่ยอมรับ ท่านไม่
สามารถเที่ยวบิณฑบาตได้ทัน จึงไม่ได้ฉันภัตตาหาร ท่านได้แจ้งเรื่องนั้นให้ภิกษุ
ทั้งหลายทราบ ครั้นแล้วภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้รับของเคี้ยวของฉัน
ในเสนาสนะป่าด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวฉันได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๔.จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระอนุบัญญัติ
[๕๗๒] อนึ่ง ภิกษุใดไม่เป็นไข้อยู่ในเสนาสนะป่าที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง
มีภัยน่ากลัวเช่นนั้น ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อนรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเอง
ในอารามแล้วฉัน ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องธรรมคือ
ปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็นสัปปายะ กระผมขอแสดงคืน
ธรรมนั้น”
เรื่องภิกษุผู้ป็นไข้ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๗๓] คำว่า เสนาสนะป่า ความว่า เสนาสนะที่ชื่อว่าป่า ได้แก่ เสนาสนะ๑
มีระยะ ๕๐๐ ชั่วธนูเป็นอย่างตํ่า
ที่ชื่อว่า น่าหวาดระแวง คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม ปรากฏที่อยู่
ปรากฏที่กิน ปรากฏที่ยืน ปรากฏที่นั่ง ปรากฏที่นอนของพวกโจร
ที่ชื่อว่า มีภัยน่ากลัว คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม ปรากฏมีมนุษย์ถูก
พวกโจรฆ่า ปรากฏมีมนุษย์ถูกพวกโจรปล้น ปรากฏมีมนุษย์ถูกพวกโจรทุบตี
คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ในเสนาสนะเช่นนั้น คือ เสนาสนะเช่นนี้
ที่ชื่อว่า ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อน คือ ถึงจะแจ้งแก่สหธรรมิกทั้ง ๕ นี้ชื่อว่าไม่
ได้รับแจ้งไว้
แจ้ง(ในที่อื่น) เว้นอาราม อุปจารแห่งอาราม นี่ก็ชื่อว่าไม่ได้รับแจ้งไว้

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงเสนาสนะที่อยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๒๕ เส้น (ดู เชิงอรรถ ข้อ ๕๖๖ หน้า ๙๒ ในเล่มนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๔.จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า รับแจ้งไว้ คือ ผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม มาที่อารามหรือ
อุปจารแห่งอารามแล้วบอกว่า “พระคุณเจ้า ทายกทายิกาจะนำของเคี้ยวหรือของฉัน
มาถวายภิกษุชื่อนี้”
ถ้าที่นั้นน่าหวาดระแวง ภิกษุพึงบอกว่า “น่าหวาดระแวง” ถ้าที่นั้นมีภัยน่ากลัว
ภิกษุพึงบอกว่า “มีภัยน่ากลัว”
ถ้าเขาบอกว่า “ไม่เป็นไร ขอรับ เขาจักนำมาเอง” ภิกษุต้องบอกพวกโจรว่า
“พวกชาวบ้านจะเข้ามาที่นี้ พวกท่านจงหลบไป”
เมื่อภิกษุได้รับแจ้งด้วยข้าวต้มแล้ว เขานำเครื่องบริวารข้าวต้มนั้นมาด้วย นี้ชื่อ
ว่าได้รับแจ้งไว้
เมื่อภิกษุได้รับแจ้งด้วยภัตตาหารแล้ว เขานำเครื่องบริวารภัตตาหารนั้นมา
ด้วย นี้ก็ชื่อว่าได้รับแจ้งไว้
เมื่อภิกษุได้รับแจ้งด้วยของเคี้ยวแล้ว เขานำเครื่องบริวารของเคี้ยวนั้นมาด้วย
นี้ก็ชื่อว่าได้รับแจ้งไว้
เมื่อภิกษุได้รับแจ้งเฉพาะตระกูล พวกคนในตระกูลนั้นนำของเคี้ยวของฉันมา
ถวาย นี้ก็ชื่อว่าได้รับแจ้งไว้
เมื่อภิกษุได้รับแจ้งเฉพาะหมู่บ้าน พวกคนในหมู่บ้านนั้นนำของเคี้ยวของฉัน
มาถวาย นี้ก็ชื่อว่าได้รับแจ้งไว้
เมื่อภิกษุได้รับแจ้งเฉพาะสมาคม พวกคนในสมาคมนั้นนำของเคี้ยวของฉัน
มาถวาย นี้ก็ชื่อว่าได้รับแจ้งไว้
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ
ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส ข้าวตู ปลา
เนื้อ
ที่ชื่อว่า ในอาราม ได้แก่ สำหรับอารามที่มีรั้วล้อม กำหนดเอาภายใน
อาราม สำหรับอารามที่ไม่มีรั้วล้อม กำหนดเอาอุปจารอาราม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๔.จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ ภิกษุผู้สามารถไปบิณฑบาตฉันได้
ที่ชื่อว่า ผู้เป็นไข้ คือ ภิกษุผู้ไม่สามารถไปบิณฑบาตได้
ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ได้รับแจ้ง รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะทุก ๆ คำกลืน
บทภาชนีย์
ติกปาฏิเทสนียะ
[๕๗๔] ไม่ได้รับแจ้งไว้ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้รับแจ้งไว้ ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยว
หรือของฉันด้วยมือตนเองในอาราม เคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ไม่ได้รับแจ้งไว้ ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเอง
ในอาราม เคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ไม่ได้รับแจ้งไว้ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้รับแจ้งไว้ ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวหรือของ
ฉันด้วยมือตนเองในอาราม เคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ทุกกฏ
ภิกษุรับประเคนยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อเป็นอาหาร ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำกลืน
ได้รับแจ้งไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้รับแจ้งไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ได้รับแจ้งไว้แล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ได้รับแจ้งไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าได้รับแจ้งไว้ ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] บทสรุป
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๗๕] ๑. ภิกษุที่ได้รับแจ้งไว้ก่อน
๒. ภิกษุผู้เป็นไข้
๓. ภิกษุที่ได้รับแจ้งไว้หรือภิกษุฉันของเป็นเดน ของภิกษุผู้เป็นไข้
๔. ภิกษุรับของนอกอารามมาฉันในอาราม
๕. ภิกษุฉันรากไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ หรือผลไม้ที่เกิดในที่นั้น
๖. ภิกษุฉันของเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก และยาวชีวิก เมื่อมี
เหตุจำเป็น
๗. ภิกษุวิกลจริต
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
ปาฏิเทสนียะสิกขาบทที่ ๔ จบ
บทสรุป
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลาย ในธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทเหล่านั้นว่า
“ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทนี้ เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ปาฏิเทสนียกัณฑ์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๗ }





หน้าว่าง




{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑
๗. เสขิยกัณฑ์
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือเสขิยะทั้งหลายเหล่านี้มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็น
ข้อ ๆ ตามลำดับ
๑. ปริมัณฑลวรรค
หมวดว่าด้วยการนุ่งห่มเรียบร้อย
สิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๗๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ครอง
อันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้า
บ้าง ข้างหลังบ้าง เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
จึงครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้างเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิ
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งให้ประชุมสงฆ์ ตรัสถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑
เธอครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้างเล่า
โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำ
คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักครองอันตรวาสกให้เรียบร้อย
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงครองอันตรวาสกให้เรียบร้อย คือปิดบริเวณสะดือ บริเวณเข่า
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง ต้อง
อาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๒
สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๗๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ครอง
อุตตราสงค์ย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง ฯลฯ๑
พระบัญญัติ
๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักครองอุตตราสงค์ให้เรียบร้อย
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงครองอุตตราสงค์ให้เรียบร้อย คือ ทำชายจีวรทั้งสองให้เสมอกัน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ครองอุตตราสงค์ย้อยข้างหน้าบ้าง ย้อยข้างหลังบ้าง ต้อง
อาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ข้อความที่ย่อไว้มีความเต็มเหมือนปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑ ข้อ ๕๗๖ เปลี่ยนแต่เนื้อความเฉพาะ
ของแต่ละสิกขาบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๓
สิกขาบทที่ ๓
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๗๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินเปิดกาย
ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๓. พึงสำเหนียกว่า เราจักปกปิดกายให้ดี ไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงปกปิดกายให้ดี ไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินเปิดกายไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๔
สิกขาบทที่ ๔
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๗๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งเปิดกาย
ในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักปกปิดกายให้ดี นั่งในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงปกปิดกายให้ดีนั่งในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเปิดกายในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทที่ ๕
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินคะนอง
มือบ้าง คะนองเท้าบ้าง ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักสำรวมดี ไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงสำรวมดี ไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ คะนองมือบ้าง คะนองเท้าบ้าง ไปในละแวกบ้าน ต้อง
อาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทที่ ๖
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์คะนองมือบ้าง
คะนองเท้าบ้าง นั่งในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักสำรวมดี นั่งในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงสำรวมดี นั่งในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ คะนองมือบ้าง คะนองเท้าบ้าง นั่งในละแวกบ้าน ต้อง
อาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๗
สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินมองดูที่
นั้น ๆ ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักทอดจักษุลง ไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงทอดจักษุลง มองดูชั่วแอก ไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินมองดูที่นั้น ๆ ไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๘
สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งมองดูที่
นั้น ๆ ในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๘. พึงสำเหนียกว่า เราจักมีจักษุทอดลง นั่งในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงมีจักษุทอดลง มองดูชั่วแอก นั่งในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งมองดูที่นั้น ๆ ในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๙
สิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินเวิกผ้า
ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เวิกผ้า ไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงเวิกผ้า ไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เวิกผ้าขึ้นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ไปในละแวกบ้าน ต้อง
อาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งเวิกผ้าใน
ละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งเวิกผ้าในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงนั่งเวิกผ้าในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเวิกผ้าขึ้นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างในละแวกบ้าน ต้อง
อาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ปริมัณฑลวรรคที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๑
๒. อุชชัคฆิกวรรค
หมวดว่าด้วยการหัวเราะ
สิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์หัวเราะดังไปใน
ละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่หัวเราะดัง ไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงหัวเราะดัง ไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ หัวเราะดัง ไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุเพียงยิ้มแย้มเมื่อมีเรื่องขบขัน ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๒
สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งหัวเราะดังใน
ละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งหัวเราะดังในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงนั่งหัวเราะดังในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งหัวเราะดังในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุเพียงยิ้มแย้มเมื่อมีเรื่องขบขัน ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๓
สิกขาบทที่ ๓
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ตะโกนเสียงดัง
ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๓. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักพูดเสียงเบา ไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงพูดเสียงเบาไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ตะโกนเสียงดังไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๔
สิกขาบทที่ ๔
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งตะโกนเสียง
ดังในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักนั่งพูดเสียงเบาในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงนั่งพูดเสียงเบาในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งตะโกนเสียงดังในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทที่ ๕
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินโคลงกาย
ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงเดินโคลงกายไป พึงเดินประคองกาย๑ ไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ประคองกาย คือไม่เดินไหวกาย เดินกายตรง ไปด้วยอิริยาบถสม่ำเสมอ (วิ.อ. ๒/๕๙๐/๔๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทที่ ๖
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งโคลงกาย
ในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งโคลงกายในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงนั่งโคลงกาย พึงนั่งประคองกาย๑ ในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงกายในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ นั่งประคองกาย คือไม่นั่งไหวกาย นั่งกายตรง นั่งด้วยอิริยาบถสม่ำเสมอ (วิ.อ. ๒/๕๙๐/๔๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๗
สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินแกว่งแขน
ห้อยแขนไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เดินแกว่งแขนไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงแกว่งแขนไป พึงเดินประคองแขน๑ ไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แกว่งแขน เดินห้อยแขนไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เดินประคองแขน คือไม่เดินกระดิกแขน (วิ.อ. ๒/๕๙๒/๔๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๘
สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งแกว่งแขน
ห้อยแขนในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๘. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งแกว่งแขนในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงนั่งแกว่งแขน พึงนั่งประคองแขนในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งแกว่งแขนห้อยแขนในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๙
สิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินโคลง
ศีรษะทำคอพับไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงเดินโคลงศีรษะไป พึงเดินประคองศีรษะ๑ ไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงศีรษะทำคอพับไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ประคองศีรษะ คือตั้งศีรษะตรง ไม่ไหวเอน (วิ.อ. ๒/๕๙๔/๔๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งโคลงศีรษะ
ทำคอพับในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงนั่งโคลงศีรษะ พึงนั่งประคองศีรษะในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงศีรษะทำคอพับในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
อุชชัคฆิกวรรคที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๑
๓. ขัมภตกวรรค
หมวดว่าด้วยการเท้าสะเอว
สิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินเท้าสะเอว
ไปในละแวกบ้าน ฯล
พระบัญญัติ
๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เดินเท้าสะเอวไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงเดินเท้าสะเอวไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินเท้าสะเอวข้างเดียวหรือสองข้างไปในละแวกบ้าน ต้อง
อาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๒
สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งเท้าสะเอว
ในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งเท้าสะเอวในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงนั่งเท้าสะเอวในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเท้าสะเอวข้างเดียวหรือสองข้างในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๓
สิกขาบทที่ ๓
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินคลุมศีรษะ
ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๓. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงเดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๔
สิกขาบทที่ ๔
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งคลุมศีรษะ
ในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งคลุมศีรษะในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงนั่งคลุมศีรษะในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งคลุมศีรษะในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทที่ ๕
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินกระโหย่ง
ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทที่ ๖
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งรัดเข่าใน
ละแวกบ้าน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งรัดเข่าในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงนั่งรัดเข่าในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งรัดเข่าด้วยมือหรือด้วยผ้าในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๗
สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาต
โดยไม่ให้ความสำคัญ ทำทีเหมือนจะทิ้ง ฯลฯ
พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงรับบิณฑบาตโดยเคารพ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตโดยไม่เคารพ ทำเหมือนจะทิ้ง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๖ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น