Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๒-๑๒ หน้า ๖๗๗ - ๗๓๗

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๒-๑๒ วินัยปิฎกที่ ๐๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒



พระวินัยปิฎก
มหาวิภังค์ ภาค ๒
___________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๘
สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาต
มองดูที่นั้น ๆ เมื่อเขากำลังเกลี่ย(บิณฑบาต)บ้าง เสร็จไปแล้วบ้าง ก็ยังไม่รู้สึกตัว
ฯลฯ
พระบัญญัติ
๘. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักให้ความสำคัญในบาตรขณะรับบิณฑบาต
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงให้ความสำคัญในบาตรขณะรับบิณฑบาต
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตมองดูที่นั้น ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๙
สิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เมื่อรับ
บิณฑบาต รับเอาแต่แกงเท่านั้น ฯลฯ
พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักรับบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า แกง ได้แก่ แกง ๒ ชนิด คือ (๑) แกงถั่วเขียว (๒) แกงถั่วเหลือง
ที่ใช้มือหยิบได้
ภิกษุพึงรับบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เลือกรับเฉพาะแกงมาก ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

เชิงอรรถ :
๑ บิณฑบาต คือ ภัตตาหารที่มีแกงผสมอยู่ประมาณ ๑ ใน ๔ ส่วน คือ บิณฑบาต ๓ ส่วน แกง ๑ ส่วน ชื่อว่า
บิณฑบาตพอเหมาะกับแกง (วิ.อ. ๒/๖๐๔/๔๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๙

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุรับแกงหลายอย่าง ๖. ภิกษุรับของญาติ
๗. ภิกษุรับของผู้ปวารณา ๘. ภิกษุรับเพื่อผู้อื่น
๙. ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑๐. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๑๑. ภิกษุวิกลจริต ๑๒. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาต
ล้นขอบปากบาตร ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักรับบิณฑบาตเสมอขอบปากบาตร
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงรับบิณฑบาตเสมอขอบปากบาตร
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตจนล้นขอบปากบาตร ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๕. ภิกษุวิกลจริต ๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ขัมภกตวรรคที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๑
๔. สักกัจจวรรค
หมวดว่าด้วยความเคารพ
สิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาต
โดยไม่เคารพ ทำเหมือนไม่อยากจะฉัน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงฉันบิณฑบาตโดยเคารพ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตโดยไม่เคารพ ทำเหมือนไม่อยากจะฉัน ต้อง
อาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๒
สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาต
มองดูไปที่นั้น ๆ เมื่อเขากำลังเกลี่ย(บิณฑบาต) เสร็จไปแล้วบ้าง ก็ยังไม่รู้สึก
ตัว ฯลฯ
พระบัญญัติ
๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักให้ความสำคัญในบาตรขณะฉันบิณฑบาต
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงให้ความสำคัญในบาตร ขณะฉันบิณฑบาต
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตมองดูไปที่นั้น ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๓
สิกขาบทที่ ๓
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาต
เจาะลงในที่นั้น ๆ ฯลฯ
พระบัญญัติ
๓. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตเจาะลงในที่นั้น ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุตักให้ผู้อื่นจึงเว้าแหว่ง ๖. ภิกษุตักเกลี่ยลงในภาชนะอื่น
จึงเว้าแหว่ง
๗. ภิกษุตักแกงอ่อม ๘. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๔
สิกขาบทที่ ๔
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เมื่อฉัน
บิณฑบาต ฉันเฉพาะแกงมาก ฯลฯ
พระบัญญัติ
๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักฉันบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า แกง ได้แก่ ๒ ชนิด คือ (๑) แกงถั่วเขียว (๒) แกงถั่วเหลืองที่ใช้มือ
หยิบได้
ภิกษุพึงฉันบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเฉพาะแกงมาก ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุฉันแกงหลายอย่าง ๖. ภิกษุฉันของญาติ
๗. ภิกษุฉันของผู้ปวารณา ๘. ภิกษุฉันเพื่อผู้อื่น
๙. ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑๐. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๑๑. ภิกษุวิกลจริต ๑๒. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทที่ ๕
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาต
ขยุ้มลงแต่ยอด ฯลฯ
พระบัญญัติ
๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันบิณฑบาตขยุ้มลงแต่ยอด
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันบิณฑบาตขยุ้มลงแต่ยอด
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตขยุ้มลงแต่ยอด ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุกวาดตะล่อมข้าวที่เหลือรวมเป็นคำแล้วฉัน

๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทที่ ๖
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ข้าวสุกกลบ
แกงบ้าง กับข้าวบ้าง เพราะอยากได้มาก ฯลฯ
พระบัญญัติ
๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ใช้ข้าวสุกกลบแกงหรือกับข้าว
เพราะอยากได้มาก
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงใช้ข้าวสุกกลบแกงหรือกับข้าว เพราะอยากได้มาก
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ใช้ข้าวสุกกลบแกงหรือกับข้าว เพราะอยากได้มาก ต้อง
อาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. เจ้าของกลบไว้ถวาย
๕. ภิกษุมิได้มุ่งกลบเพราะโลภมาก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๗
สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ออกปากขอ
แกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง มาฉันส่วนตัว พวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า
“ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง มาฉันส่วน
ตัวเล่า ภัตตาหารที่ดีใครจะไม่พอใจ ภัตตาหารอร่อยใครจะไม่ชอบเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึง
ออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง มาฉันส่วนตัวเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอขอแกงบ้าง ข้าว
สุกบ้างมาฉันส่วนตัวจริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงออก
ปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง มาฉันส่วนตัวเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น
ได้เลย ฯลฯ” แล้วรึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ออกปากขอแกง หรือข้าวสุก มาฉัน
ส่วนตัว
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องภิกษุผู้เป็นไข้
[๖๑๓] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ พวกภิกษุผู้มีหน้าที่สอบถามอาการ
ไข้ ได้กล่าวกับพวกภิกษุผู้เป็นไข้ดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลายสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่
ได้หรือ”
พวกภิกษุผู้เป็นไข้ตอบว่า “เมื่อก่อนพวกกระผมออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุก
บ้างมาฉันส่วนตัว ดังนั้นจึงมีความผาสุก แต่เดี๋ยวนี้พวกกระผมมีความยำเกรงอยู่ว่า
‘พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้’ จึงไม่ออกปากขอ ดังนั้นจึงไม่มีความผาสุก” พวกภิกษุ
ได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้ขอได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้ออกปากขอแกง หรือ
ข้าวสุกมาฉันส่วนตัวได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
พึงทำความสำเหนียกว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ออกปากขอแกงหรือข้าวสุก
มาฉันส่วนตัว
เรื่องพระผู้เป็นไข้ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่เป็นไข้ ไม่พึงออกปากขอแกงหรือข้าวสุกมาฉันส่วนตัว
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ ออกปากขอแกงหรือข้าวสุกมาฉันส่วนตัว ต้อง
อาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๗
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุขอจากญาติ ๖. ภิกษุขอจากคนปวารณา
๗. ภิกษุขอเพื่อผู้อื่น ๘. ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน
๙. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๑๐. ภิกษุวิกลจริต
๑๑. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๘
สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มุ่งตำหนิ จึง
มองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น ฯลฯ
พระบัญญัติ
๘. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่มุ่งตำหนิ มองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงมุ่งตำหนิ มองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ มุ่งตำหนิ มองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุแลดูด้วยตั้งใจว่าจะเติมของฉัน
ให้ หรือสั่งให้เขาเติมถวาย
๕. ภิกษุไม่มุ่งจะตำหนิ ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๙
สิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำคำข้าวใหญ่
ฯลฯ
พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกิน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงทำคำข้าวให้ใหญ่เกิน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวให้ใหญ่เกิน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุฉันของเคี้ยว ๖. ภิกษุฉันผลไม้ต่าง ๆ
๗. ภิกษุฉันแกงอ่อม ๘. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำคำข้าว
ยาว ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักทำคำข้าวให้กลม
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงทำคำข้าวให้กลม
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวยาว ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุฉันของเคี้ยว ๖. ภิกษุฉันผลไม้ต่าง ๆ
๗. ภิกษุฉันแกงอ่อม ๘. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
สักกัจจวรรคที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๑
๕. กพฬวรรค
หมวดว่าด้วยคำข้าว
สิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ อ้าปาก
รอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่อ้าปากรอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงอ้าปากรอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ อ้าปากรอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๒
สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ขณะกำลัง
ฉัน สอดมือทั้งหมดเข้าในปาก ฯลฯ
พระบัญญัติ
๒. พึงทำความสำเหนียกว่า ขณะกำลังฉัน เราจักไม่สอดมือทั้งหมดเข้า
ในปาก
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุขณะกำลังฉัน ไม่พึงสอดมือทั้งหมดเข้าในปาก
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ขณะกำลังฉันสอดมือทั้งหมดเข้าไปในปาก ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๓
สิกขาบทที่ ๓
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์พูดคุยทั้ง ๆ ที่
ในปากมีคำข้าว ฯลฯ
พระบัญญัติ
๓. พึงทำความสำเหนียกว่า ขณะที่ในปากมีคำข้าว เราจักไม่พูดคุย
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงพูดคุย ขณะที่ในปากมีคำข้าว
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ พูดคุยขณะที่ในปากมีคำข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๔
สิกขาบทที่ ๔
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันโยน
คำข้าว ฯลฯ
พระบัญญัติ
๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันโยนคำข้าว
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันโยนคำข้าว
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันโยนคำข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุฉันของเคี้ยว ๖. ภิกษุฉันผลไม้
๗. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทที่ ๕
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันกัด
คำข้าว ฯลฯ
พระบัญญัติ
๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันกัดคำข้าว
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันกัดคำข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุฉันอาหารเป็นก้อน ๖. ภิกษุฉันผลไม้ต่าง ๆ
๗. ภิกษุฉันแกงอ่อม ๘. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทที่ ๖
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันอาหารทำ
กระพุ้งแก้มตุ่ย ฯลฯ
พระบัญญัติ
๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันอาหารทำกระพุ้งแก้มตุ่ย
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันทำกระพุ้งแก้มตุ่ย
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันทำกระพุ้งแก้มตุ่ยข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุฉันผลไม้ต่าง ๆ ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๗
สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันสลัด
มือ ฯลฯ
พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันสลัดมือ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันสลัดมือ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันสลัดมือ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุสลัดมือทิ้งเศษอาหาร ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๘
สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันโปรยเมล็ดข้าว
ฯลฯ
พระบัญญัติ
๘. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันโปรยเมล็ดข้าว
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันโปรยเมล็ดข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุทิ้งเศษผงเมล็ดข้าวติดไปด้วย ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๙
สิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉัน
แลบลิ้น ฯลฯ
พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันแลบลิ้น
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันแลบลิ้น
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันแลบลิ้น ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันทำเสียงดัง
จั๊บ ๆ ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงดังจั๊บๆ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันทำเสียงดังจั๊บ ๆ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันทำเสียงดังจั๊บ ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
กพฬวรรคที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑
๖. สุรุสุรุวรรค
หมวดว่าด้วยการฉันดังซู้ด ๆ
สิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระรูปหนึ่ง
[๖๒๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุง
โกสัมพี ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งปรุงนํ้านมถวายสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายดื่มนํ้านมเสียง
ดังซู้ด ๆ ภิกษุผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปหนึ่งกล่าวอย่างนี้ว่า “สงฆ์นี้ทั้งหมด คงจะหนาว
กระมัง”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
จึงล้อเลียนสงฆ์เล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอล้อเลียนสงฆ์ จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับ
ว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ
ไฉนเธอจึงล้อเลียนสงฆ์เล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว
จึงทรงแสดงธรรมีกถา แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทำ
การล้อเลียนปรารภพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ภิกษุใดพึงทำ ต้องอาบัติทุกกฏ”
ทีนั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่าง ๆ แล้ว ตรัสโทษแห่ง
ความเป็นคนเลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
ดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑
พระบัญญัติ
๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงดังซู้ดๆ
เรื่องพระรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันทำเสียงดังซู้ดๆ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันทำเสียงดังซู้ดๆ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๒
สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันเลียมือ
ฯลฯ
พระบัญญัติ
๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันเลียมือ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเลียมือ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๓
สิกขาบทที่ ๓
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันเลียบาตร
ฯลฯ
พระบัญญัติ
๓. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันเลียบาตร
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันเลียบาตร
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเลียบาตร ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุกวาดข้าวสุกที่เหลือน้อยรวมกันแล้วฉัน

๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๔
สิกขาบทที่ ๔
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันเลียริม
ฝีปาก ฯลฯ
พระบัญญัติ
๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันเลียริมฝีปาก
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเลียริมฝีปาก ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทที่ ๕
เรื่องพระหลายรูป
[๖๓๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกฬามฤคทายวัน
เขตเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ครั้งนั้น ภิกษุใช้มือเปื้อนอาหารจับภาชนะนํ้าดื่ม
ที่ปราสาทโกกนท พวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรจึงใช้มือเปื้อนอาหารจับภาชนะนํ้าดื่ม เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กามเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุจึงใช้มือเปื้อนอาหาร
จับภาชนะนํ้าดื่มเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้ว
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุใช้มือเปื้อนอาหารจับ
ภาชนะนํ้าดื่มจริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระ
ภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงใช้มือ
เปื้อนอาหารจับภาชนะนํ้าดื่มเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง
ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่จับภาชนะน้ำดื่มด้วยมือเปื้อนอาหาร
เรื่องพระหลายรูป จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงจับภาชนะนํ้าดื่มด้วยมือเปื้อนอาหาร
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ จับภาชนะนํ้าดื่มด้วยมือเปื้อนอาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุรับประเคนไว้เพราะคิดจะล้างเองหรือใช้ผู้อื่นล้าง

๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทที่ ๖
เรื่องพระหลายรูป
[๖๓๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกฬามฤคทายวัน
เขตเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายเทนํ้าล้างบาตรที่มีเมล็ดข้าว
ในละแวกบ้าน ใกล้โกกนทปราสาท พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนา
ว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงเทนํ้าล้างบาตรที่มีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน
เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงเทนํ้าล้างบาตร
ที่มีเมล็ดข้าวในละแวกบ้านเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการ
ต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุเทนํ้าล้างบาตรมี
เมล็ดข้าวในละแวกบ้าน จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น
จึงเทนํ้าล้างบาตรที่มีเมล็ดข้าวในละแวกบ้านเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เทน้ำล้างบาตรที่มีเมล็ดข้าวใน
ละแวกบ้าน
เรื่องพระหลายรูป จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงเทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุเก็บเมล็ดข้าวออก แล้วเทน้ำล้างบาตรหรือขยี้เมล็ดข้าวให้
ละลายหรือเทน้ำล้างบาตรในกระโถนนำไปเทข้างนอก

๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๗
สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่
คนผู้กั้นร่ม บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงแสดงธรรมแก่คนผู้กั้นร่มเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอแสดงธรรมแก่
คนผู้กั้นร่มจริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงแสดง
ธรรมแก่คนผู้กั้นร่มเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนกั้นร่ม
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๖๓๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายยำเกรงที่จะแสดงธรรมแก่คนไข้ผู้กั้นร่ม พวก
ชาวบ้านจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
จึงไม่แสดงธรรมแก่คนไข้ผู้กั้นร่มเล่า” พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม
โพนทะนา ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๗
ทรงอนุญาตให้แสดงธรรมแก่คนไข้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แสดงธรรมแก่คนไข้ผู้กั้นร่มได้”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้กั้นร่ม
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ร่ม ได้แก่ ร่ม ๓ ชนิด คือ (๑) ร่มผ้าขาว (๒) ร่มเสื่อลำแพน (๓) ร่ม
ใบไม้ที่เย็บเป็นวงผูกติดกับซี่
ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่ พุทธภาษิต สาวกภาษิต ฤๅษีภาษิต เทวดาภาษิตที่
ประกอบด้วยอรรถ ที่ประกอบด้วยธรรม
บทว่า แสดง คือ ภิกษุแสดงเป็นบท ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ บท แสดงเป็น
อักษร ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ อักษร
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้กั้นร่ม
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้กั้นร่ม ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๘
สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรม
แก่คนถือไม้พลอง ฯลฯ
พระบัญญัติ
๘. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถือ
ไม้พลอง
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ไม้พลอง ได้แก่ ไม้พลองยาว ๔ ศอก ขนาดศอกของคนสัณฐาน
ปานกลาง ยาวกว่านั้นไม่ใช่ไม้พลอง สั้นกว่านั้น ก็ไม่ใช่ไม้พลอง
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ถือไม้พลอง
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถือไม้พลอง ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๙
สิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่
คนถือศัสตรา ฯลฯ
พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถือ
ศัสตรา
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ศัสตรา ได้แก่ เครื่องประหารมีคมข้างเดียว มีคม ๒ ข้าง
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ถือศัสตรา
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ถือศัสตรา ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่
คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถืออาวุธ ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถือ
อาวุธ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถืออาวุธ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถืออาวุธ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
สุรุสุรุวรรคที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑
๗. ปาทุกาวรรค
หมวดว่าด้วยเขียงเท้า
สิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรม
แก่คนผู้สวมเขียงเท้า ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้สวม
เขียงเท้า๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้สวมเขียงเท้า
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ ผู้เหยียบเขียงเท้า สวมเขียง
เท้าหรือสวมเขียงเท้าหุ้มส้น ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เขียงเท้า คือรองเท้าไม้ สำหรับสวมในบ้าน, เกี๊ยะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๒
สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่
คนสวมรองเท้า ฯลฯ
พระบัญญัติ
๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้
สวมรองเท้า
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้สวมรองเท้า
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ ที่เหยียบบนรองเท้า สวมรอง
เท้า หรือสวมรองเท้าหุ้มส้น ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๓
สิกขาบทที่ ๓
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรม
แก่คนอยู่ในยาน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๓. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้อยู่
ในยาน๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่ คานหาม รถ เกวียน เตียงหาม วอ เปลหาม
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้อยู่ในยาน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้อยู่ในยาน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ผู้อยู่ในยาน หมายเอาบุคคลผู้นั่งบนคานหาม บนวอ ถูกอุ้มไป ถูกแบกใส่บ่าไป นั่งบนยานที่ไม่ได้เทียมม้า
หรือแม้นั่งบนล้อที่แยกส่วนออกมา ถือว่านั่งอยู่ในยานทั้งสิ้น แต่ถ้าอยู่ในยานด้วยกันทั้งภิกษุผู้แสดงธรรม
และอุบาสกผู้รับธรรมเทศนา ภิกษุแสดงธรรมแก่คนที่ไปในยานด้วยกันได้ ถ้าภิกษุผู้แสดงธรรมนั่งอยู่ข้าง
หน้าในที่สูงกว่าหรือเสมอกันกับอุบาสกผู้ฟัง ไม่ต้องอาบัติ (วิ.อ. ๒/๖๔๐/๔๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๔
สิกขาบทที่ ๔
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่
คนผู้อยู่บนที่นอน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้อยู่
บนที่นอน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้อยู่บนที่นอน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้อยู่บนที่นอน โดยที่สุดผู้นอน
บนพื้นดิน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทที่ ๕
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่
คนที่นั่งรัดเข่า ฯลฯ
พระบัญญัติ
๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่ง
รัดเข่า
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งรัดเข่า
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งรัดเข่าด้วยมือ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทที่ ๖
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรม
แก่คนผู้โพกศีรษะ ฯลฯ
พระบัญญัติ
๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้โพก
ศีรษะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ผู้โพกศีรษะ คือ พันไม่ให้เห็นปลายผม
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้โพกศีรษะ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้โพกศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุให้เขาเปิดปลายมวยผมแล้วจึงแสดง

๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๗
สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่
คนผู้คลุมศีรษะ ฯลฯ
พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้คลุม
ศีรษะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า คลุมศีรษะ คือ ท่านกล่าวถึงผู้ห่มผ้าคลุมตลอดศีรษะ
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้คลุมศีรษะ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้คลุมศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุให้เขาเปิดผ้าคลุมศีรษะแล้วจึงแสดง ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๘
สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งบนพื้นดิน
แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะ ฯลฯ
พระบัญญัติ
๘. พึงทำความสำเหนียกว่า เรานั่งที่พื้นดินจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่
เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุนั่งอยู่บนพื้นดินไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งบนพื้นดินแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะ
ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๙
สิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งบนอาสนะ
ต่ำ แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูง บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงนั่งบนอาสนะตํ่าแสดงธรรม
แก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูงเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์แสดงธรรมีกถา
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอนั่งบนอาสนะตํ่า
แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูง จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย
ไฉนพวกเธอจึงนั่งบนอาสนะตํ่าแสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูงเล่า โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถา
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
เรื่องภรรยาของบุรุษจัณฑาล
[๖๔๗] “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ภรรยาของบุรุษจัณฑาลคนหนึ่ง
ในกรุงพาราณสี มีครรภ์ ครั้นแล้วนางจึงได้กล่าวกับสามีว่า “นาย ดิฉันกำลังตั้ง
ครรภ์ อยากกินมะม่วง”
สามีตอบว่า ‘มะม่วงไม่มีเพราะไม่ใช่ฤดูมะม่วง’
นางกล่าวว่า ‘ถ้าไม่ได้ ดิฉันต้องตาย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๙
ครั้งนั้น มีต้นมะม่วงของหลวงให้ผลทุกฤดูอยู่ต้นหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้ว
บุรุษจัณฑาลจึงไปถึงที่ต้นมะม่วง ครั้นถึงแล้วได้ขึ้นไปแฝงกายอยู่บนต้น พอดี
พระราชาเสด็จไปถึงที่ต้นมะม่วงพร้อมกับพราหมณ์ปุโรหิต ครั้นถึงแล้วจึงประทับนั่ง
บนอาสนะแล้วทรงเรียนมนต์
ภิกษุทั้งหลาย ทีนั้น บุรุษจัณฑาลได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘พระราชาองค์นี้ประทับ
นั่งบนอาสนะสูงเรียนมนต์ ชื่อว่ามิใช่พระราชาผู้ทรงธรรม พราหมณ์คนนี้ที่นั่งบน
อาสนะตํ่าสอนมนต์แก่ผู้นั่งบนอาสนะสูง ก็ชื่อว่ามิใช่ผู้ประพฤติธรรม และเราผู้ที่
ลักมะม่วงของหลวงเพราะภรรยาเป็นเหตุ ก็ชื่อว่ามิใช่ผู้ประพฤติธรรม แท้จริง การ
กระทำดังนี้ล้วนตํ่าทราม’ จึงไต่ลงมา ณ ที่นั้นกล่าวว่า
‘คนทั้ง ๒ คือ พราหมณ์ผู้สอนมนต์
และพระราชาผู้ทรงเรียนมนต์โดยไม่เคารพธรรม
ย่อมไม่รู้อรรถและไม่เห็นธรรม
พราหมณ์กล่าวว่า
‘เพราะเรากินข้าวสาลีผสมแกงเนื้อที่สะอาด ฉะนั้น
จึงไม่ประพฤติธรรมที่พระอริยเจ้าสรรเสริญ’
บุรุษจัณฑาลกล่าวว่า
‘เราตำหนิการได้ทรัพย์และการได้เกียรติยศเพราะ
พฤติกรรมเช่นนั้น
นั่นเป็นวิถีชีวิตอันเป็นเหตุให้ตกตํ่า
และเป็นการครองชีพโดยมิชอบ
การครองชีพอย่างนั้นไม่มีประโยชน์
ท่านมหาพราหมณ์ ท่านรีบไปเสียเถิด
แม้คนเหล่าอื่นก็ยังรู้จักหุงหากินได้
ความอาธรรม์ที่ท่านประพฤติอย่าได้ทำลายท่าน
เหมือนหม้อนํ้าแตก’๑
เรื่องภรรยาของบุรุษจันฑาล จบ

เชิงอรรถ :
๑ อรรถกถาอธิบายว่า “ถ้าท่านไม่หนีไปจากที่นี้ ยังจะประพฤติความไม่ชอบธรรมอยู่ ท่านผู้ประพฤติความ
ไม่ชอบธรรมนั่นแหละจะแตก เหมือนก้อนหิน(หล่น)ทับหม้อนํ้าแตก (วิ.อ. ๒/๖๔๗/๔๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๙
ทรงตำหนิแล้วบัญญัติสิกขาบท
ภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลนั้น พราหมณ์นั่งบนอาสนะตํ่า สอนมนต์พระราชา
ผู้ประทับนั่งบนอาสนะสูง ยังไม่เป็นที่พอใจของเรา ไฉนบัดนี้ การที่ภิกษุนั่งบนอาสนะ
ตํ่าแสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูง จึงจักเป็นที่พอใจของเราเล่า” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เรานั่งบนอาสนะต่ำ จักไม่แสดงธรรมแก่คน
ที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะสูง
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะสูง
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งบนอาสนะต่ำ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งบน
อาสนะสูง ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ยืนแสดงธรรม
แก่คนผู้นั่งอยู่ ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เรายืนอยู่จักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็น
ไข้ผู้นั่งอยู่
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุยืนอยู่ ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ยืนอยู่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๑
สิกขาบทที่ ๑๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินอยู่
ข้างหลัง แสดงธรรมแก่คนผู้เดินไปข้างหน้า ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราเดินอยู่ข้างหลัง จักไม่แสดงธรรมแก่คน
ที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุเดินอยู่ข้างหลัง ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินอยู่ข้างหลัง แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้าง
หน้า ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๒
สิกขาบทที่ ๑๒
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๕๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินอยู่นอกทาง
แสดงธรรมแก่คนผู้เดินไปในทาง ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราเดินไปนอกทางจักไม่แสดงธรรมแก่คน
ที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินในทาง
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุเดินไปนอกทาง ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปในทาง
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินอยู่นอกทาง แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปในทาง
ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๓
สิกขาบทที่ ๑๓
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๕๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ยืนถ่ายอุจจาระ
บ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑๓. พึงทำความสำเหนียกว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระหรือ
ปัสสาวะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่เป็นไข้ ไม่พึงยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๔
สิกขาบทที่ ๑๔
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๕๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถ่ายอุจจาระ
บ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายบ้าง ลงบนของเขียว ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราไม่เป็นไข้จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
หรือบ้วนนํ้าลาย ลงบนของเขียว
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่พึงถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงบนของเขียว
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงบน
ของเขียว ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุถ่ายลงในที่ไม่มีของเขียวแต่ไหลไปรดของเขียว

๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๕
สิกขาบทที่ ๑๕
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๕๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถ่ายอุจจาระ
บ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนนํ้าลายบ้าง ลงในนํ้า พวกชาวบ้านจึงพากันตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง
บ้วนนํ้าลายบ้างลงในนํ้า เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
สันโดษ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงถ่าย
อุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนนํ้าลายบ้าง ลงในนํ้าเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลาย
ตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
ทรงสอบถามแล้วบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอถ่ายอุจจาระบ้าง
ปัสสาวะบ้าง บ้วนนํ้าลายบ้าง ลงในนํ้า จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
๑๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วน
น้ำลาย ลงในน้ำ
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] บทสรุป
เรื่องภิกษุผู้เป็นไข้
[๖๕๔] สมัยนั้น พวกภิกษุผู้เป็นไข้ยำเกรงอยู่ที่จะถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะ
บ้าง บ้วนนํ้าลายบ้าง ลงในนํ้า จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงอนุญาตภิกษุผู้เป็นไข้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับ
สั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้ถ่ายอุจาระบ้าง
ปัสสาวะบ้าง บ้วนนํ้าลายบ้าง ลงในนํ้าได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขา
บทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
พึงทำความสำเหนียกว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือ
บ้วนน้ำลายลงในน้ำ
เรื่องภิกษุผู้เป็นไข้ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่เป็นไข้ ไม่พึงถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุถ่ายบนบก แต่ไหลลงน้ำ ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุจิตฟุ้งซ่าน
๙. ภิกษุถูกเวทนาบีบคั้น ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๕ จบ
ปาทุกาวรรคที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] บทสรุป
บทสรุป
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือเสขิยะทั้งหลาย ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลาย ในธรรมคือเสขิยะเหล่านั้นว่า
“ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือเสขิยะเหล่านี้ เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
เสขิยะ จบ
เสขิยกัณฑ์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓๕ }


๘. อธิกรณสมถะ
ท่านทั้งหลาย ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ เหล่านี้มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็น
ข้อ ๆ ตามลำดับ
(ธรรมเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์ ๗ อย่าง คือ)
[๖๕๕] เพื่อระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ (๑) พึงให้สัมมุขาวินัย๑ (๒) พึงให้
สติวินัย๒ (๓) พึงให้อมูฬหวินัย๓ (๔) พึงให้ปฏิญญาตกรณะ๔ (๕) พึงให้เยภุยยสิกา๕
(๖) พึงให้ตัสสปาปิยสิกา๖ (๗) พึงให้ติณวัตถารกะ๗
บทสรุป
ท่านทั้งหลาย ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ อย่าง ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลาย ในธรรมคืออธิกรณสมถะเหล่านั้นว่า
“ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ เหล่านี้ เพราะเหตุนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
อธิกรณสมถะ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สัมมุขาวินัย คือวิธีตัดสินที่พึงทำในที่พร้อมหน้าสงฆ์ ธรรม และวัตถุ
๒ สติวินัย คือวิธีตัดสินที่ยกสติขึ้นเป็นหลัก
๓ อมูฬหวินัย คือวิธีตัดสินที่ให้แก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว
๔ ปฏิญญาตกรณะ คือวิธีตัดสินโดยปรับโทษตามคำสารภาพ
๕ เยภุยยสิกา คือวิธีตัดสินโดยอาศัยเสียงข้างมาก
๖ ตัสสปาปิยสิกา คือวิธีตัดสินโดยปรับโทษแก่ผู้ทำความผิด
๗ ติณวัตถารกะ คือวิธีตัดสินโดยวิธียอมความ ตามศัพท์แปลว่า ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า
(นัย วิ.จู. ๖/๑๘๕-๒๑๓/๒๑๘-๒๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓๖ }

คำนิคม
คำนิคม
ท่านทั้งหลาย นิทาน ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ ปาราชิก ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ อนิยต ๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ เสขิยะทั้งหลาย ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ อธิกรณสมถะ ๗ ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
สิกขาบทของพระผู้มีพระภาคนั้นมีเท่านี้ มาในสูตร๑ นับเนื่องในสูตร มาสู่วาระ
ที่จะพึงยกขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน
พวกเราทั้งหมดพึงพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาในพระสูตร
นั้นเทอญ
มหาวิภังค์ จบ


เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “พระสูตร” หมายถึงพระปาติโมกข์นั่นเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓๗ }

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๒ วินัยปิฎกที่ ๐๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น