Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๓-๕ หน้า ๒๖๘ - ๓๓๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๓-๕ วินัยปิฎกที่ ๐๓ ภิกขุนีวิภังค์



พระวินัยปิฎก
ภิกขุนีวิภังค์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๒ นิทานวัตถุ
๖. อารามวรรค
สิกขาบทที่ ๒
ว่าด้วยการด่าบริภาษภิกษุ
เรื่องพระกัปปิตกะ
[๑๐๒๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา
ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น ท่านพระกัปปิตกะผู้เป็นอุปัชฌาย์ของท่านพระ
อุบาลีพักอยู่ในป่าช้า คราวนั้นมีภิกษุณีรูปหนึ่งอายุมากกว่าพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
มรณภาพ พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ช่วยกันนำ(ศพ)ภิกษุณีนั้นออกไปเผาแล้วก่อสถูป
ไว้ไม่ไกลที่พักของพระกัปปิตกะแล้วร่ำไห้ที่สถูปนั้น ลำดับนั้น ท่านพระกัปปิตกะ
รำคาญเสียงนั้นจึงทำลายสถูปนั้นเสียแหลกละเอียด
พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ปรึกษากันว่า “พระกัปปิตกะทำลายสถูปแม่เจ้าของพวก
เรา มาเถิด พวกเราจะฆ่าพระกัปปิตกะนั้น”
ภิกษุณีรูปหนึ่งบอกความนั้นให้ท่านพระอุบาลีทราบ ท่านพระอุบาลีนำเรื่องนั้น
ไปบอกท่านพระกัปปิตกะ ท่านพระกัปปิตกะหนีออกจากวิหารไปซ่อนอยู่
คราวนั้นพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์เข้าไปที่วิหารของท่านพระกัปปิตกะตั้งอยู่ ครั้น
แล้วช่วยกันขนก้อนหินและก้อนดินทับวิหารของท่าน แล้วจากไปด้วยเข้าใจว่า
“พระกัปปิตกะมรณภาพแล้ว”
ครั้นราตรีนั้นผ่านไป ท่านพระกัปปิตกะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตในกรุงเวสาลีแต่เช้า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์เห็นท่านเดินเที่ยวบิณฑบาตอยู่
กล่าวกันอย่างนี้ว่า “พระกัปปิตกะยังมีชีวิตอยู่ ใครกันนะที่นำแผนการของพวกเรา
ไปบอก” ครั้นได้ทราบว่า “พระคุณเจ้าอุบาลีนำแผนการของพวกเราไปบอก” จึง
พากันด่าท่านพระอุบาลีว่า “ท่านผู้เป็นทาสรับใช้เมื่อเวลาอาบน้ำ คอยถูขี้ไคล มี
ตระกูลต่ำคนนี้ ไฉนจึงนำแผนการของเราไปบอกเล่า”
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงด่าพระคุณเจ้าอุบาลีเล่า” ครั้นแล้วภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอก
ภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๖๘ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๒ สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ด่าอุบาลี
จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ด่าอุบาลีเล่า ภิกษุ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๐๒๙] ก็ภิกษุณีใดด่าหรือบริภาษภิกษุ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระกัปปิตกะ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๓๐] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ ได้แก่ อุปสัมบัน
คำว่า ด่า คือ ด่าด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ อย่าง๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า บริภาษ คือ แสดงอาการที่น่ากลัว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ อักโกสวัตถุ คำที่ใช้ด่า ๑๐ อย่าง ในวินัยท่านว่า ได้แก่ โอมสวาท คือคำกล่าวเสียดสี ๑๐ อย่าง (วิ.ป.
๘/๓๓๐/๒๙๗, วิ.อ. ๓/๓๓๐/๔๗๓, ดู วินัยปิฎกแปล เล่ม ๒ ข้อ ๑๕ หน้า ๒๐๒) ส่วนในธรรมบท
อรรถกถา หมายถึงคำที่ใช้ด่า ๑๐ อย่าง คือคำด่าว่า (๑) เจ้าเป็นโจร (๒) เป็นคนพาล (๓) เป็นคนหลง
(๔) เป็นอูฐ (๕) เป็นโค (๖) เป็นลา (๗) เป็นสัตว์นรก (๘) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน (๙) เป็นคนไม่มีสุคติ
(๑๐) เป็นคนหวังได้เฉพาะทุคติ (ขุ.ธ.อ. ๒/๑๕/๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๖๙ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๒ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๐๓๑] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ด่าหรือบริภาษ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ด่าหรือบริภาษ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ด่าหรือบริภาษ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุณีด่าหรือบริภาษอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ด่าหรือบริภาษ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ด่าหรือบริภาษ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ด่าหรือบริภาษ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๓๒] ๑. ภิกษุณีมุ่งอรรถ
๒. ภิกษุณีมุ่งธรรม
๓. ภิกษุณีมุ่งสั่งสอน
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๗๐ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๓ นิทานวัตถุ
๖. อารามวรรค
สิกขาบทที่ ๓
ว่าด้วยการบริภาษคณะ
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี
[๑๐๓๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีจัณฑกาลีชอบก่อความ
บาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เมื่อ
สงฆ์ทำกรรมแก่จัณฑกาลีนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาก็คัดค้าน
ต่อมา ภิกษุณีถุลลนันทาเดินทางไปยังหมู่บ้านด้วยธุระบางอย่าง ภิกษุณีสงฆ์
พอรู้ว่า “ภิกษุณีถุลลนันทาจากไปแล้ว” จึงลงอุกเปขนียกรรมแก่ภิกษุณีจัณฑกาลี
เพราะไม่เห็นอาบัติ ครั้นภิกษุณีถุลลนันทาทำธุระนั้นในหมู่บ้านเสร็จแล้วกลับมา
ยังกรุงสาวัตถี เมื่อภิกษุณีถุลลนันทากำลังมา ภิกษุณีจัณฑกาลีไม่ปูอาสนะ ไม่ตั้ง
น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ลุกรับบาตรและจีวร ไม่เอาน้ำดื่ม
ต้อนรับ
ภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวกับภิกษุณีจัณฑกาลีนั้นดังนี้ว่า “เมื่อฉันกำลังมา
ไฉนเธอไม่ปูอาสนะ ไม่ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ลุกรับบาตร
และจีวร ไม่เอาน้ำดื่มต้อนรับเล่า”
ภิกษุณีจัณฑกาลีตอบว่า “แม่เจ้า คนไม่มีที่พึ่งก็เป็นอย่างนี้แหละ”
ภิกษุณีถุลลนันทาถามว่า “เพราะเหตุไรเธอจึงไม่มีที่พึ่ง”
ภิกษุณีจัณฑกาลีตอบว่า “แม่เจ้า ภิกษุณีเหล่านี้เข้าใจว่า ดิฉันไม่มีที่พึ่ง
ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีใครคอยกล่าวปกป้อง จึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติ”
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงขึ้งเคียดบริภาษคณะว่า “ภิกษุณีพวกนี้โง่เขลา ภิกษุณี
พวกนี้ไม่ฉลาด ภิกษุณีพวกนี้ไม่รู้จักกรรม โทษของกรรม กรรมวิบัติ หรือ
กรรมสมบัติ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๗๑ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๓ สิกขาบทวิภังค์
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
แม่เจ้าถุลลนันทาจึงขึ้งเคียดบริภาษคณะเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้
ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาขึ้งเคียด
บริภาษคณะ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึง
ขึ้งเคียดบริภาษคณะเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๐๓๔] ก็ภิกษุณีใดขึ้งเคียด บริภาษคณะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๓๕] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ขึ้งเคียด พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงความโกรธ
ที่ชื่อว่า คณะ ตรัสหมายถึงภิกษุณีสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๗๒ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๓ อนาปัตติวาร
คำว่า บริภาษ คือ บริภาษว่า “ภิกษุณีพวกนี้โง่เขลา ภิกษุณีพวกนี้ไม่ฉลาด
ภิกษุณีพวกนี้ไม่รู้จักกรรม โทษของกรรม กรรมวิบัติ หรือกรรมสมบัติ” ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ บริภาษภิกษุณีหลายรูป ภิกษุณีรูปเดียว หรืออนุปสัมบัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๓๖] ๑. ภิกษุณีมุ่งอรรถ
๒. ภิกษุณีมุ่งธรรม
๓. ภิกษุณีมุ่งสั่งสอน
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๗๓ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๔ นิทานวัตถุ
๖. อารามวรรค
สิกขาบทที่ ๔
ว่าด้วยการฉันของเคี้ยวของฉันเมื่อห้ามภัตตาหารแล้ว
เรื่องภิกษุณีฉันหลายที่ในมื้อเดียวกัน
[๑๐๓๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งนิมนต์ภิกษุณี
ทั้งหลายให้ฉัน พวกภิกษุณีฉันแล้ว ห้ามภัตตาหารแล้ว พากันไปตระกูลญาติ
ภิกษุณีบางพวกยังฉันอีก บางพวกนำบิณฑบาตกลับไป
ครั้งนั้น พราหมณ์นั้นได้กล่าวกับเพื่อนบ้านดังนี้ว่า “นายทั้งหลาย
เราเลี้ยงภิกษุณีให้อิ่มหนำแล้ว เชิญมาเถิด เราจักเลี้ยงพวกท่านให้อิ่มหนำบ้าง”
เพื่อนบ้านผู้คุ้นเคยเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “นายท่านจะเลี้ยงพวกเราให้อิ่มได้
อย่างไร แม้พวกภิกษุณีที่ท่านนิมนต์แล้วก็ยังต้องไปที่เรือนพวกเรา บางพวกยังฉัน
อีก บางพวกก็นำบิณฑบาตกลับไป”
พราหมณ์ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีฉันที่เรือนเรา
แล้วยังไปฉันที่อื่นอีกเล่า เราไม่สามารถที่จะถวายให้พอแก่ความต้องการหรือ”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินพราหมณ์ตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีฉันแล้ว ห้าม
ภัตตาหารแล้วยังฉันในที่อื่นอีก” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ
ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉันแล้ว ห้าม
ภัตตาหารแล้วยังฉันในที่อื่นอีก จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๗๔ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๔ สิกขาบทวิภังค์
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉันแล้ว
ห้ามภัตตาหารแล้วยังฉันในที่อื่นอีกเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคน
ที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๐๓๘] ก็ภิกษุณีใดได้รับนิมนต์แล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้ว เคี้ยวของ
เคี้ยว หรือฉันของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีฉันหลายที่ในมื้อเดียวกัน จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๓๙] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ได้รับนิมนต์แล้ว คือ ได้รับนิมนต์ด้วยโภชนะ ๕ ชนิด อย่างใด
อย่างหนึ่ง
ลักษณะการบอกห้ามภัตตาหาร
ที่ชื่อว่า บอกห้ามภัตตาหารแล้ว คือ (๑) ภิกษุณีกำลังฉัน (๒) ทายกนำ
โภชนะมาถวาย (๓) ทายกอยู่ในหัตถบาสน้อมถวาย (๔) ภิกษุณีบอกห้าม
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ข้าวต้ม ยามกาลิก สัตตาหกาลิก
และยาวชีวิก๑ นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ อย่าง คือ ข้าวสุก ขนมสด ข้าวตู ปลา เนื้อ

เชิงอรรถ :
๑ ดู เชิงอรรถพระวินัยปิฎกแปล เล่ม ๒ ข้อ ๒๓๙ หน้า ๓๙๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๗๕ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๔ อนาปัตติวาร
ภิกษุณีรับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๐๔๐] ได้รับนิมนต์แล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าได้รับนิมนต์แล้ว เคี้ยวของเคี้ยว
หรือฉันของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ได้รับนิมนต์แล้ว ภิกษุณีไม่แน่ใจ เคี้ยวของเคี้ยว หรือฉันของฉัน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ได้รับนิมนต์แล้ว ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ได้รับนิมนต์ เคี้ยวของเคี้ยว หรือฉัน
ของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
ภิกษุณีรับประเคนยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อเป็นอาหาร ต้อง
อาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำกลืน
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๔๑] ๑. ภิกษุณีที่ทายกไม่ได้นิมนต์
๒. ภิกษุณียังไม่ห้ามภัตตาหาร
๓. ภิกษุณีดื่มข้าวต้ม
๔. ภิกษุณีบอกเจ้าของแล้วฉัน
๕. ภิกษุณีฉันของที่เป็นยาวกาลิก สัตตาหกาลิกและยาวชีวิกเมื่อมี
เหตุผลจำเป็น
๖. ภิกษุณีวิกลจริต
๗. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๗๖ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๕ นิทานวัตถุ
๖. อารามวรรค
สิกขาบทที่ ๕
ว่าด้วยความหวงตระกูล
เรื่องภิกษุณีหวงตระกูล
[๑๐๔๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตใน
ตรอกแห่งหนึ่งในกรุงสาวัตถี เข้าไปที่ตระกูลแห่งหนึ่ง นั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้ ครั้น
คนทั้งหลายนิมนต์เธอให้ฉันแล้วกล่าวดังนี้ว่า “แม้ภิกษุณีอื่น ๆ ก็นิมนต์มาเถิด
เจ้าข้า”
ขณะนั้น ภิกษุณีนั้นคิดว่า ทำอย่างไร ภิกษุณีอื่น ๆ จึงจะไม่มา จึงเข้าไปหา
ภิกษุณีทั้งหลายบอกว่า “ในที่โน้นสุนัขดุ โคดุ สถานที่ลื่น พวกท่านอย่าไปที่นั้นเลย”
ภิกษุณีแม้อีกรูปหนึ่งได้ไปบิณฑบาตที่ตรอกนั้น เข้าไปที่ตระกูลนั้นตั้งอยู่
ครั้นแล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้ ลำดับนั้น คนทั้งหลายนิมนต์ให้ภิกษุณีนั้นฉันแล้ว
ได้กล่าวดังนี้ว่า “แม่เจ้า ทำไมภิกษุณีทั้งหลายจึงไม่มา” ครั้งนั้น ภิกษุณีนั้นบอกเรื่อง
นั้นให้คนทั้งหลายทราบ คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณี
จึงหวงตระกูลเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้
ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีหวงตระกูล จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ
ว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงหวงตระกูลเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่ง
ขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๗๗ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๕ อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
[๑๐๔๓] ก็ภิกษุณีใดหวงตระกูล ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหวงตระกูล จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๔๔] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ตระกูล หมายถึงตระกูล ๔ ได้แก่ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์
ตระกูลแพศย์ ตระกูลศูทร
ที่ชื่อว่า หวง คือ ภิกษุณีกล่าวโทษของตระกูลในสำนักภิกษุณีทั้งหลายด้วย
ประสงค์ว่า “ทำอย่างไร ภิกษุณีทั้งหลายจึงจะไม่มา” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือ
กล่าวโทษภิกษุณีในสำนักตระกูล ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๔๕] ๑. ภิกษุณีไม่ได้หวงตระกูลแต่บอกเฉพาะโทษที่มีอยู่
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๗๘ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๖ นิทานวัตถุ
๖. อารามวรรค
สิกขาบทที่ ๖
ว่าด้วยการอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๐๔๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีหลายรูปออกพรรษาแล้ว
ในอาวาสใกล้หมู่บ้าน พากันไปกรุงสาวัตถี ภิกษุณีทั้งหลายได้กล่าวกับภิกษุณี
เหล่านั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้าทั้งหลายจำพรรษาที่ไหน โอวาทสัมฤทธิ์ผลดีละหรือ”
ภิกษุณีเหล่านั้นตอบว่า “แม่เจ้า ในอาวาสที่พวกเราจำพรรษาไม่มีภิกษุเลย
โอวาทจักสัมฤทธิ์ผลดีจากที่ไหนกัน”
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีจึงจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุเล่า”๑ ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำ
เรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีจำพรรษาในอาวาส
ที่ไม่มีภิกษุ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระ
ภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงจำพรรษาใน
อาวาสที่ไม่มีภิกษุเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส
ให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ “อาวาสที่ไม่มีภิกษุ” หมายถึงสำนักภิกษุณีที่ไม่มีภิกษุผู้จะให้โอวาทอยู่ภายในระยะ ๑ โยชน์ หรือเส้นทาง
ที่จะไปยังสำนักภิกษุณีนั้น ไม่ปลอดภัย ไม่สะดวก ภิกษุไม่สามารถเดินทางไปให้โอวาทได้ (วิ.อ. ๒/๑๔๙/
๓๒๑, กงฺขา.อ. ๓๙๑) ไม่ได้หมายถึงอาวาสเดียวกันกับภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๗๙ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๖ อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
[๑๐๔๗] ก็ภิกษุณีใดจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๔๘] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
อาวาสที่ชื่อว่า ไม่มีภิกษุ ได้แก่ อาวาสที่ภิกษุณีไม่สามารถไปรับโอวาท
หรือธรรมอันเป็นเหตุอยู่ร่วมกันได้๑
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะจำพรรษา” แล้วจัดแจงเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้
กวาดบริเวณ ต้องอาบัติทุกกฏ พออรุณขึ้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๔๙] ๑. ภิกษุณีจำพรรษาในอาวาสที่มีภิกษุอยู่จำพรรษา หลีกไป สึก
มรณภาพหรือไปเข้ารีตเดียรถีย์
๒. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ “โอวาท” หมายถึงครุธรรม ๘ “ธรรมอันเป็นเหตุอยู่ร่วมกัน” หมายถึงการสอบถามอุโบสถและปวารณา
(วิ.อ. ๒/๑๐๔๘/๕๑๓, ดู ข้อ ๑๐๕๖ หน้า ๒๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๘๐ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๗ นิทานวัตถุ
๖. อารามวรรค
สิกขาบทที่ ๗
ว่าด้วยการไม่ปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๐๕๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีหลายรูปออกพรรษาใน
อาวาสใกล้หมู่บ้านแล้วพากันไปกรุงสาวัตถี ภิกษุณีทั้งหลายได้กล่าวกับภิกษุณีเหล่านั้น
ดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจำพรรษาที่ไหน ได้ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์แล้วหรือ”
ภิกษุณีเหล่านั้นตอบว่า “พวกเรายังมิได้ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์เลย เจ้าข้า”
ภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุณีจำพรรษาแล้วไม่ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์เล่า”๑ ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำ
เรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีจำพรรษาแล้วไม่
ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจำ
พรรษาแล้วจึงไม่ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์เล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้
ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ วิธีการปวารณาต่อภิกษุสงฆ์โดยย่อ คือหลังจากที่ได้ปวารณาต่อกันและกันแล้ว แต่งตั้งภิกษุณีรูปหนึ่ง
ด้วยญัตติทุติยกรรมให้เป็นผู้ไปปวารณาในสำนักภิกษุสงฆ์แทนภิกษุณีสงฆ์ (วิ.จู. ๗/๔๒๗/๒๖๑, กงฺขา.อ.
๓๙๒-๓๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๘๑ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๗ อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
[๑๐๕๑] ก็ภิกษุณีใดจำพรรษาแล้ว ไม่ปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่ายด้วยฐานะ
๓ คือ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน หรือด้วยระแวงสงสัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๕๒] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า จำพรรษาแล้ว คือ อยู่จำพรรษาต้น ๓ เดือน หรือพรรษาหลัง ๓
เดือน
ภิกษุณีพอทอดธุระว่า “ เราจะไม่ปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่ายด้วยฐานะ ๓ คือ
ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน หรือด้วยระแวงสงสัย” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๕๓] ๑. ภิกษุณีไม่ปวารณาในเมื่อมีอันตราย
๒. ภิกษุณีแสวงหาแล้วแต่ไม่ได้๑
๓. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๔. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๕. ภิกษุณีวิกลจริต
๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ได้ภิกษุณี (วิ.อ. ๒/๑๐๕๓/๕๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๘๒ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๘ นิทานวัตถุ
๖. อารามวรรค
สิกขาบทที่ ๘
ว่าด้วยการไม่ไปรับโอวาทเป็นต้น
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๑๐๕๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม
เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปสำนักภิกษุณีแล้ว
กล่าวสอนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ภิกษุณีทั้งหลายได้กล่าวกับพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ดังนี้ว่า “มาเถิด แม่เจ้า
ทั้งหลาย พวกเราจะไปรับโอวาท”
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “พวกเราจะไปรับโอวาททำไมกัน พระคุณเจ้า
ฉัพพัคคีย์มาให้โอวาทพวกเราถึงที่นี้แล้ว”
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงไม่ไปรับโอวาทเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้
ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ไม่ไปรับ
โอวาท จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ไม่ไปรับโอวาท
เล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือ
ทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลาย
ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๘๓ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๘ อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
[๑๐๕๕] ก็ภิกษุณีใดไม่ไปรับโอวาท หรือธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วมกัน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๕๖] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้
มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า โอวาท ได้แก่ ครุธรรม ๘ ประการ๑
ที่ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วมกัน ได้แก่ กรรมที่ทำร่วมกัน อุทเทสที่สวด
ร่วมกัน ความมีสิกขาเสมอกัน
ภิกษุณีพอทอดธุระว่า “เราจะไม่ไปรับโอวาทหรือธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วมกัน”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๕๗] ๑. ภิกษุณีไม่ไปรับโอวาทในเมื่อมีอันตราย
๒. ภิกษุณีแสวงหาแล้วแต่ไม่ได้ภิกษุณีเป็นเพื่อน
๓. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๔. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๕. ภิกษุณีวิกลจริต
๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ครุธรรม ๘ ประการนี้ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าขณะที่ประทับอยู่ ณ กูฎาคารศาลา ป่ามหาวัน
ได้ประทานแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมีผู้เดินทางไกลจากกรุงบิลพัสดุ์เพื่อทูลบวชเป็นภิกษุณีในพระ
พุทธศาสนา นับเป็นภิกษุณีรูปแรก และเป็นการประทานครุธรรมครั้งแรก (ดู วินัยปิฎกแปล เล่ม ๒ ข้อ
๑๔๙ หน้า ๓๒๒-๓๒๓, วิ.จู. ๗/๔๐๓/๒๓๓-๒๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๘๔ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๙ นิทานวัตถุ
๖. อารามวรรค
สิกขาบทที่ ๙
ว่าด้วยการไม่ถามอุโบสถเป็นต้น
เรื่องภิกษุณีไม่ถามอุโบสถ ไม่ขอโอวาท
[๑๐๕๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีไม่ถามอุโบสถบ้าง ไม่ขอ
โอวาทบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึง
ไม่ถามอุโบสถบ้าง ไม่ขอโอวาทบ้างเล่า”
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีไม่ถามอุโบสถบ้าง
ไม่ขอโอวาทบ้าง จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีไม่ถาม
อุโบสถบ้าง ไม่ขอโอวาทบ้างเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่
ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๐๕๙] ก็ภิกษุณีพึงหวังธรรม ๒ อย่างจากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน คือ
การถามอุโบสถ ๑ การเข้าไปขอโอวาท ๑ ผู้ฝ่าฝืนธรรม ๒ อย่างนั้น ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีไม่ถามอุโบสถ ไม่ขอโอวาท จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๘๕ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๙ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๖๐] คำว่า ทุกกึ่งเดือน คือ ทุกวันอุโบสถ
ที่ชื่อว่า อุโบสถ ได้แก่ อุโบสถ ๒ อย่าง คือ อุโบสถวัน ๑๔ ค่ำ และอุโบสถ
วัน ๑๕ ค่ำ
ที่ชื่อว่า โอวาท ได้แก่ ครุธรรม ๘ อย่าง๑
ภิกษุณีทอดธุระว่า “เราจะไม่ถามอุโบสถบ้าง จะไม่ขอโอวาทบ้าง” ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๖๑] ๑. ภิกษุณีไม่ถามอุโบสถและไม่ขอโอวาทในเมื่อมีอันตราย
๒. ภิกษุณีแสวงหาแล้วแต่ไม่ได้ภิกษุณีเป็นเพื่อน
๓. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๔. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๕. ภิกษุณีวิกลจริต
๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู วินัยปิฎกแปล เล่ม ๒ ข้อ ๑๔๙ หน้า ๓๒๒-๓๒๓, วิ.จู. ๗/๔๐๓/๒๓๓-๒๓๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๘๖ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ นิทานวัตถุ
๖. อารามวรรค
สิกขาบทที่ ๑๐
ว่าด้วยการให้บ่งฝีในร่มผ้า
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[๑๐๖๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งให้บ่งฝีที่เกิดใน
ร่มผ้าอยู่กันสองต่อสองกับชาย ลำดับนั้น ชายนั้นพยายามจะข่มขืนภิกษุณีนั้น เธอ
ได้ส่งเสียงร้องขึ้น ภิกษุณีทั้งหลายวิ่งเข้าไปได้กล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้า
เธอส่งเสียงร้องทำไม” เธอจึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุณีจึงใช้ชายให้บ่งฝีที่เกิดในร่มผ้าอยู่กันสองต่อสองกับชายเล่า” ครั้นแล้ว
ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีใช้บุรุษให้บ่งฝีที่เกิด
ในร่มผ้าอยู่กันสองต่อสองกับบุรุษ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีจึงใช้บุรุษให้บ่งฝีที่เกิดในร่มผ้าอยู่กันสองต่อสองกับบุรุษเล่า ภิกษุทั้งหลาย
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้ว
ให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
ดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๘๗ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๑๐๖๓] ก็ภิกษุณีใดไม่บอกสงฆ์หรือคณะ ใช้ให้บ่ง ให้ผ่า ให้ชะล้าง
ให้ทา ให้พัน หรือให้แกะฝีหรือบาดแผลที่เกิดในร่มผ้าอยู่กันสองต่อสองกับชาย
ต้องอาบัติปาจิตตีย์๑
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๖๔] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ในร่มผ้า ได้แก่ บริเวณใต้สะดือลงมา เหนือเข่าขึ้นไป
คำว่า ที่เกิด คือ ที่เกิดในบริเวณนั้น
ที่ชื่อว่า ฝี ได้แก่ ฝีชนิดใดชนิดหนึ่ง
ที่ชื่อว่า บาดแผล ได้แก่ แผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
คำว่า ไม่บอก คือ ไม่แจ้งให้ทราบ
ที่ชื่อว่า สงฆ์ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงภิกษุณีสงฆ์
ที่ชื่อว่า คณะ ตรัสหมายถึงภิกษุณีหลายรูป

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุณีไม่บอกสงฆ์หรือคณะ ใช้ให้บ่ง ให้ผ่า ให้ชะล้าง ให้ทา ให้พัน ให้แกะ ชายนั้นทำหมดทุกอย่างตามที่ใช้
ภิกษุณีนั้นต้องอาบัติทุกกฏ ๖ ตัว ในขณะที่ใช้ เมื่อชายนั้นทำเสร็จ ภิกษุณีต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๖ ตัว หรือ
แม้จะใช้ให้เขาทำตามที่เห็นสมควร เมื่อเขาทำเสร็จทุกอย่าง ก็ต้องอาบัติทุกกฏ ๖ ตัว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖ ตัวเช่นกัน แต่ถ้าใช้ให้ทำเพียงอย่างเดียว แม้ชายนั้นจะทำหมดทุกอย่าง ก็ต้องอาบัติทุกกฏ และ
ปาจิตตีย์เพียง ๑ ตัว (กงฺขา.อ. ๓๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๘๘ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ อนาปัตติวาร
ที่ชื่อว่า ชาย ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ ไม่ใช่เปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉาน
ตัวผู้ แต่เป็นมนุษย์ผู้ชายที่รู้เดียงสา สามารถที่จะทำมิดีมิร้ายได้
คำว่า ด้วยกัน คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า สองต่อสอง คือ บุรุษและภิกษุณี
[๑๐๖๕] ภิกษุณีสั่งว่า “จงบ่ง” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อบ่งเสร็จ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ภิกษุณีสั่งว่า “จงผ่า” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อผ่าเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีสั่งว่า “จงชะล้าง” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อชะล้างเสร็จ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ภิกษุณีสั่งว่า “จงทา” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อทาเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีสั่งว่า “จงพัน” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อพันเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีสั่งว่า “จงแกะ” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อแกะเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๖๖] ๑. ภิกษุณีบอกสงฆ์หรือคณะแล้วจึงให้บ่ง ให้ผ่า ให้ชะล้าง ให้ทา
ให้พันหรือให้แกะ
๒. ภิกษุณีมีสตรีผู้รู้เดียงสาอยู่เป็นเพื่อน
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
อารามวรรคที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๘๙ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ
๗. คัพภินีวรรค
หมวดว่าด้วยสตรีมีครรภ์
สิกขาบทที่ ๑
ว่าด้วยการบวชให้สตรีมีครรภ์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๐๖๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบวชให้สตรีมีครรภ์
เธอเที่ยวบิณฑบาต คนทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงถวายภิกษาหาร
แก่แม่เจ้า แม่เจ้ามีครรภ์แก่” แล้วตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุณีจึงบวชให้สตรีมีครรภ์เล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงบวชให้
สตรีมีครรภ์เล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ
พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีบวชให้สตรีมีครรภ์
จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงบวชให้สตรีมีครรภ์เล่า
ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคน
ที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๙๐ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑ บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๑๐๖๘] ก็ภิกษุณีใดบวชให้สตรีมีครรภ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๖๙] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า สตรีมีครรภ์ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงหญิงที่มีสัตว์มาถือปฏิสนธิ
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ (สวด)จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา
๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ
บทภาชนีย์
[๑๐๗๐] สตรีมีครรภ์ ภิกษุณีสำคัญว่ามีครรภ์ บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สตรีมีครรภ์ ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
สตรีมีครรภ์ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีครรภ์ บวชให้ ไม่ต้องอาบัติ
สตรีไม่มีครรภ์ ภิกษุณีสำคัญว่ามีครรภ์ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
สตรีไม่มีครรภ์ ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
สตรีไม่มีครรภ์ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีครรภ์ บวชให้ ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๙๑ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑ อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๗๑] ๑. สตรีมีครรภ์ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีครรภ์ จึงบวชให้
๒. สตรีไม่มีครรภ์ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีครรภ์ จึงบวชให้
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๙๒ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๒ นิทานวัตถุ
๗. คัพภินีวรรค
สิกขาบทที่ ๒
ว่าด้วยการบวชให้สตรีมีลูกยังดื่มนม
เรื่องภิกษุณีหลายรูปบวชให้สตรีมีลูกยังดื่มนม
[๑๐๗๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบวชให้สตรีมีลูก
ยังดื่มนม เธอเที่ยวบิณฑบาต คนทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงถวาย
ภิกษาหารแก่แม่เจ้า แม่เจ้ามีลูก” แล้วตำหนิว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงบวชให้สตรีมี
ลูกยังดื่มนมเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงบวชให้
สตรีมีลูกยังดื่มนมเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลาย
ให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีบวชให้สตรีมีลูก
ยังดื่มนม จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระ
ภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงบวชให้สตรีมี
ลูกยังดื่มนมเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๙๓ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๑๐๗๓] ก็ภิกษุณีใดบวชให้สตรีมีลูกยังดื่มนม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูปให้สตรีมีลูกยังดื่มนมบวช จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๗๔] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์ว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า สตรีมีลูกยังดื่มนม ได้แก่ สตรีที่เป็นมารดา หรือเป็นแม่นม
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ (สวด)จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา
๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ
บทภาชนีย์
[๑๐๗๕] สตรีมีลูกยังดื่มนม ภิกษุณีสำคัญว่ามีลูกยังดื่มนม บวชให้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
สตรีมีลูกยังดื่มนม ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
สตรีมีลูกยังดื่มนม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีลูกยังดื่มนม บวชให้ ไม่ต้องอาบัติ
สตรีไม่มีลูกยังดื่มนม ภิกษุณีสำคัญว่ามีลูกยังดื่มนม บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
สตรีไม่มีลูกยังดื่มนม ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
สตรีไม่มีลูกยังดื่มนม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีลูกยังดื่มนม บวชให้ ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๙๔ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓ อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๗๖] ๑. สตรีมีลูกยังดื่มนม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีลูกยังดื่มนม จึงบวชให้
๒. สตรีไม่มีลูกยังดื่มนม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีลูกยังดื่มนม จึงบวชให้
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๙๕ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓ นิทานวัตถุ
๗. คัพภินีวรรค
สิกขาบทที่ ๓
ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาผู้ยังไม่ได้ศึกษาธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๐๗๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบวชให้สิกขมานา
ผู้ไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ๑ตลอด ๒ ปี สิกขมานาผู้บวชเป็นภิกษุณีเหล่านั้น
โง่เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีจึงบวชให้สิกขมานาผู้ไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีเล่า”
ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีบวชให้สิกขมานา
ผู้ยังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย
ไฉนพวกภิกษุณีจึงบวชให้สิกขมานาผู้ยังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒
ปีเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ทรง

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงอนุปสัมบันหรือสามเณรีผู้ใคร่ศึกษา แต่ยังไม่มีภิกษุณีใดให้สิกขาหรือมีสิกขาเสียไป ที่ได้ชื่อว่า
สิกขมานา เพราะศึกษาในธรรม ๖ ข้อ หรือธรรมกล่าวคือสิกขาเหล่านั้น (กงฺขา.อ. ๓๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๙๖ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓ นิทานวัตถุ
แสดงธรรมีกถา แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้
ภิกษุณีสงฆ์ให้สิกขาสมมติ๑ในธรรม ๖ ข้อ เป็นเวลา ๒ ปีแก่สิกขมานา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สิกขาสมมติอย่างนี้
วิธีขอสิกขาสมมติและกรรมวาจาให้สิกขาสมมติ
สิกขมานานั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุณีทั้งหลายแล้วนั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้
เป็นสิกขมานาของแม่เจ้าชื่อนี้ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปีต่อสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๑๐๗๘] แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานาชื่อนี้ของแม่เจ้าชื่อนี้ขอ
สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปีต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้
สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปีแก่สิกขมานาชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานาชื่อนี้ของแม่เจ้าชื่อนี้ขอสิกขาสมมติ
ในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปีต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อ เป็นเวลา
๒ ปีแก่สิกขมานาชื่อนี้ แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการให้สิกขาสมมติในธรรม ๖
ข้อเป็นเวลา ๒ ปีแก่สิกขมานาชื่อนี้ แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย
แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง
สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปี สงฆ์ให้แก่สิกขมานาชื่อนี้แล้ว
สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[๑๐๗๙] พึงบอกสิกขมานาผู้นั้นว่า “เธอจงกล่าวอย่างนี้ว่า
๑. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ โดยไม่ล่วงละเมิดตลอด
๒ ปี
๒. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้ โดย
ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี

เชิงอรรถ :
๑ สิกขาสมมติ คือข้อตกลงยินยอมร่วมกันที่จะให้สิกขมานานั้นศึกษาในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๙๗ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓ สิกขาบทวิภังค์
๓. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากพฤติกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์๑
โดยไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี
๔. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากการพูดเท็จ โดยไม่ล่วงละเมิดตลอด
๒ ปี
๕. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้ง
แห่งความประมาท โดยไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี
๖. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล โดย
ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี”
พระผู้มีพระภาคครั้นทรงตำหนิภิกษุณีเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วตรัส
โทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๐๘๐] ก็ภิกษุณีใดบวชให้สิกขมานาผู้ยังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ
ตลอด ๒ ปี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๘๑] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ตลอด ๒ ปี คือ สิ้น ๒ ปี

เชิงอรรถ :
๑ พฤติกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์ หมายถึงการเสพเมถุนกรรม (การร่วมสังวาส) (ขุ.ขุ.อ. ๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๙๘ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓ บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ผู้ยังไม่ได้ศึกษาสิกขา คือ ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่ได้ให้สิกขา หรือให้แล้ว
แต่เธอทำขาด
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตร หรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๐๘๒] กรรมที่ทำถูกต้อง๑ ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ

เชิงอรรถ :
๑ กรรมที่ทำถูกต้อง หมายถึงกรรมวาจาสวดให้สิกขาสมบัติดังกล่าวข้างต้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๙๙ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓ อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๘๓] ๑. ภิกษุณีบวชให้สิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ ตลอด
๒ ปี
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๐๐ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๔ นิทานวัตถุ
๗. คัพภินีวรรค
สิกขาบทที่ ๔
ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาที่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๐๘๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบวชให้สิกขมานา
ผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ภิกษุณีทั้งหลายกล่าว
อย่างนี้ว่า “สิกขมานาทั้งหลาย พวกเธอจงมานี่ จงรู้สิ่งนี้ ประเคนสิ่งนี้ นำสิ่งนี้มา
ฉันต้องการสิ่งนี้ จงทำสิ่งนี้ให้เป็นกัปปิยะ”
สิกขมานาเหล่านั้นตอบว่า “แม่เจ้า พวกดิฉันไม่ใช่สิกขมานา พวกดิฉันเป็น
ภิกษุณี”
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีจึงบวชให้สิกขมานาผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี แต่สงฆ์ยัง
ไม่ได้สมมติเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ
พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีทั้งหลายบวชให้
สิกขมานาผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงบวชให้สิกขมานาผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖
ข้อตลอด ๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๐๑ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๔ นิทานวัตถุ
ครั้นทรงตำหนิแล้ว ทรงแสดงธรรมีกถา แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีสงฆ์ให้วุฏฐานสมมติแก่สิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขา
ในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้วุฏฐานสมมติ๑ อย่างนี้
วิธีขอวุฏฐานสมมติและกรรมวาจาให้วุฏฐานสมมติ
สิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้วนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์
ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ
กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้เป็นสิกขมานาของแม่เจ้าชื่อนี้ ได้ศึกษาสิกขา
ในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ขอวุฏฐานสมมติต่อสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๑๐๘๕] “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานาชื่อนี้ของแม่เจ้าชื่อนี้ได้
ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ขอวุฏฐานสมมติต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อม
กันแล้วก็พึงให้วุฏฐานสมมติแก่สิกขมานาชื่อนี้ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด
๒ ปีแล้ว นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานาชื่อนี้ของแม่เจ้าชื่อนี้ได้ศึกษาสิกขา
ในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ขอวุฏฐานสมมติต่อสงฆ์ สงฆ์ให้วุฏฐานสมมติแก่
สิกขมานาชื่อนี้ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วย
กับการให้วุฏฐานสมมติแก่สิกขมานาชื่อนี้ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี
แล้ว แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง

เชิงอรรถ :
๑ วุฏฐานสมมติ แปลว่า สมมติการบวช หมายถึงการรับรองให้บวชได้ กรรมชนิดนี้ ภิกษุณีสงฆ์จะให้แก่
สิกขมานาผู้ศึกษาประพฤติตามธรรม ๖ ข้อ ครบ ๒ ปี วุฏฐานสมมติถือเป็นประกาศนียบัตรรับรองให้
บวชเป็นภิกษุณีได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๐๒ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๔ สิกขาบทวิภังค์
วุฏฐานสมมติสงฆ์ให้แล้วแก่สิกขมานาชื่อนี้ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ
ตลอด ๒ ปีแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็น
มติอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคครั้นทรงตำหนิภิกษุณีเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วตรัส
โทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยงยาก ฯลฯ” แล้วรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๐๘๖] ก็ภิกษุณีใดบวชให้สิกขมานาผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด
๒ ปีแล้วแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๘๗] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ตลอด ๒ ปี คือ สิ้น ๒ ปี
ที่ชื่อว่า ผู้ศึกษาสิกขา คือ ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อแล้ว
ที่ชื่อว่า แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ คือ แต่สงฆ์ยังไม่ได้ให้วุฏฐานสมมติด้วย
ญัตติทุติยกรรม
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๐๓ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๔ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๐๘๘] กรรมที่ทำถูกต้อง๑ ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๘๙] ๑. ภิกษุณีบวชให้สิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒
ปีที่สงฆ์สมมติแล้ว
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ กรรมที่ทำถูกต้อง หมายถึงกรรมวาจาให้วุฏฐานสมมติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๐๔ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๕ นิทานวัตถุ
๗. คัพภินีวรรค
สิกขาบทที่ ๕
ว่าด้วยการบวชให้หญิงที่มีครอบครัวอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๐๙๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบวชให้หญิงที่มี
ครอบครัวมีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี๑ หญิงที่บวชเป็นภิกษุณีเหล่านั้นไม่อดทน ไม่อดกลั้น
ต่อความเย็น ความร้อน ความหิว ความกระหาย สัมผัสจากเหลือบ ยุง ลม แดด
สัตว์เลื้อยคลาน คำกล่าวร้าย คำที่ฟังแล้วไม่ดี ความรู้สึกทางกายที่เกิดขึ้นเป็นทุกข์
แสนสาหัส รุนแรง เผ็ดร้อน ที่ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจแทบจะคร่าชีวิต
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีจึงบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปีเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณี
เหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีบวชให้หญิงที่มี
ครอบครัวมีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระ
พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉน

เชิงอรรถ :
๑ หญิงที่จะได้รับการบวชเป็นภิกษุณีนั้น นอกจากจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ตามขั้นตอนแล้ว ยังต้อง
มีอายุครบ ๒๐ ปี แต่ในกรณีนี้ เป็นข้อยกเว้นสำหรับหญิงที่มีครอบครัวแล้วหรือเคยผ่านการแต่งงานมี
ครอบครัวมาแล้ว แม้เธอจะมีอายุเพียง ๑๒ ปี ถ้าผ่านการศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี และสงฆ์
ให้การสมมติคือรับรองแล้ว ก็สามารถบวชเป็นภิกษุณีได้ (กงฺขา.อ. ๓๙๘-๔๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๐๕ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๕ สิกขาบทวิภังค์
พวกภิกษุณีจึงบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปีเล่า ภิกษุทั้งหลาย
เพราะว่าหญิงอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ยังไม่อดทน ไม่อดกลั้นต่อความเย็น ความร้อน
ความหิว ความกระหาย สัมผัสจากเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลาน คำ
กล่าวร้าย คำที่ฟังแล้วไม่ดี ความรู้สึกทางกาย ที่เกิดขึ้นเป็นทุกข์ แสนสาหัส รุนแรง
เผ็ดร้อน ที่ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจแทบจะคร่าชีวิต ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้
เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๐๙๑] ก็ภิกษุณีใดบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๙๒] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า อายุต่ำกว่า ๑๒ ปี คือ อายุไม่ถึง ๑๒ ปี
ที่ชื่อว่า หญิงที่มีครอบครัว พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงหญิงที่เคยอยู่ร่วม
กับชาย
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๐๖ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๕ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
[๑๐๙๓] หญิงอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่ามีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี
บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
หญิงอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
หญิงอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าครบ บวชให้ ไม่ต้องอาบัติ
หญิงอายุครบ ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่ามีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
หญิงอายุครบ ๑๒ ปี ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
หญิงมีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าครบ บวชให้ ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๙๔] ๑. หญิงมีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าอายุครบ จึงบวชให้
๒. หญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าอายุครบ จึงบวชให้
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๐๗ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๖ นิทานวัตถุ
๗. คัพภินีวรรค
สิกขาบทที่ ๖
ว่าด้วยการบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปี
แต่ยังไม่ได้ศึกษาสิกขา
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๐๙๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบวชให้หญิงที่มี
ครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปียังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี หญิงที่
บวชเป็นภิกษุณีเหล่านั้นโง่เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุณีจึงบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปียังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖
ข้อตลอด ๒ ปีเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้
ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีบวชให้หญิงที่มี
ครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปียังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒
ปียังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้
เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ทรงแสดงธรรมีกถา แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีสงฆ์ให้สิกขาสมมติ ในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒
ปีแก่หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สิกขาสมมติอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๐๘ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๖ นิทานวัตถุ
วิธีขอสิกขาสมมติและกรรมวาจาให้สิกขาสมมติ
หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียง
บ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลายแล้วนั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
“แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นหญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปี ของแม่เจ้าชื่อนี้ ขอ
สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อ เป็นเวลา ๒ ปี ต่อสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๑๐๙๖] “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า หญิงชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัวมี
อายุครบ ๑๒ ปี ของแม่เจ้าชื่อนี้ ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อ เป็นเวลา ๒ ปี
ต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อ เป็นเวลา ๒ ปี
แก่หญิงชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปี นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า หญิงชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒
ปี ของแม่เจ้าชื่อนี้ ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อ เป็นเวลา ๒ ปี ต่อสงฆ์
สงฆ์ให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อ เป็นเวลา ๒ ปีแก่หญิงชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัว
มีอายุครบ ๑๒ ปี แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็น
เวลา ๒ ปีแก่หญิงชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัว มีอายุครบ ๑๒ ปี แม่เจ้ารูปนั้นพึง
นิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง
สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อ เป็นเวลา ๒ ปี สงฆ์ให้แล้วแก่หญิงชื่อนี้เป็น
หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปี สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงบอกหญิงที่มีครอบครัว มีอายุครบ ๑๒ ปีนั้นว่า
“เธอจงกล่าวอย่างนี้ว่า
๑. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ โดยไม่ล่วงละเมิดตลอด
๒ ปี
ฯลฯ
๖. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล โดย
ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๐๙ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๖ สิกขาบทวิภังค์
พระผู้มีพระภาคครั้นทรงตำหนิภิกษุณีเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วตรัส
โทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้
ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๐๙๗] ก็ภิกษุณีใดบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปียังไม่ได้
ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๙๘] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มีอายุครบ ๑๒ ปี คือ มีอายุถึง ๑๒ ปี
ที่ชื่อว่า หญิงที่มีครอบครัว พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงหญิงที่เคยอยู่ร่วม
กับชาย
คำว่า ตลอด ๒ ปี คือ สิ้น ๒ ปี
ที่ชื่อว่า ยังไม่ได้ศึกษาสิกขา คือ ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่ได้ให้สิกขา หรือให้แล้ว
แต่เธอทำขาด
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๑๐ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๖ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๐๙๙] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๐๐] ๑. ภิกษุณีบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ได้ศึกษา
สิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๑๑ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๗ นิทานวัตถุ
๗. คัพภินีวรรค
สิกขาบทที่ ๗
ว่าด้วยการบวชให้หญิงที่มีครอบครัวซึ่งสงฆ์ยังไม่ได้สมมติ
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๑๐๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีบวชให้หญิงที่มีครอบครัว
มีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า “สิกขมานาทั้งหลาย พวกเธอจงมานี่ จงรู้สิ่งนี้ ประเคนสิ่งนี้
นำสิ่งนี้มา ฉันต้องการสิ่งนี้ จงทำสิ่งนี้ให้เป็นกัปปิยะ”
สิกขมานาเหล่านั้นตอบว่า “แม่เจ้า พวกดิฉันมิใช่สิกขมานา พวกดิฉันเป็น
ภิกษุณี”
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖
ข้อตลอด ๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไป
บอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีบวชให้หญิงที่มี
ครอบครัว มีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่
่ได้สมมติ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระ
ภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงบวชให้หญิงที่
มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ ตลอด๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๑๒ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๗ นิทานวัตถุ
่ได้สมมติเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ทรง
แสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีสงฆ์
ให้วุฏฐานสมมติแก่หญิงที่มีครอบครัวมีอายุ ๑๒ ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ
ตลอด ๒ ปีแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้วุฏฐานสมมติอย่างนี้
วิธีขอสิกขาสมมติและกรรมวาจาให้วุฏฐานสมมติ
หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี
แล้วนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลาย
นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวว่า “แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัวของ
แม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๑๒ ปี ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ขอ
วุฏฐานสมมติต่อสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๑๑๐๒] “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า หญิงชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัวของ
แม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๑๒ ปี ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ขอ
วุฏฐานสมมติต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้วุฏฐานสมมติแก่หญิงชื่อนี้เป็น
หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว
นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า หญิงชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัวของแม่เจ้าชื่อนี้
มีอายุครบ ๑๒ ปี ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ขอวุฏฐานสมมติ
ต่อสงฆ์ สงฆ์ให้วุฏฐานสมมติแก่หญิงชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปี
ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการให้
วุฏฐานสมมติแก่หญิงชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ได้ศึกษาสิกขา
ในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้า
รูปนั้นพึงทักท้วง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๑๓ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๗ สิกขาบทวิภังค์
วุฏฐานสมมติสงฆ์ให้แก่หญิงชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปีผู้
ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคครั้นทรงตำหนิภิกษุณีเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วตรัส
โทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๑๐๓] ก็ภิกษุณีใดบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ได้ศึกษา
สิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๐๔] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มีอายุครบ ๑๒ ปี คือ มีอายุถึง ๑๒ ปีแล้ว
ที่ชื่อว่า หญิงที่มีครอบครัว พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงหญิงที่เคยอยู่ร่วม
กับชาย
คำว่า ตลอด ๒ ปี คือ สิ้น ๒ ปี
ที่ชื่อว่า ผู้ศึกษาสิกขา คือ ได้ศึกษาในธรรม ๖ ข้อแล้ว
ที่ชื่อว่า ยังไม่ได้สมมติ คือ สงฆ์ยังมิได้ให้การรับรองการบวชด้วยญัตติ
ทุติยกรรม
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๑๔ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๗ อนาปัตติวาร
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๑๐๕] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๐๖] ๑. ภิกษุณีบวชให้หญิงที่มีครอบครัว มีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ได้ศึกษา
สิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีและสงฆ์สมมติแล้ว
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๑๕ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๘ พระบัญญัติ
๗. คัพภินีวรรค
สิกขาบทที่ ๘
ว่าด้วยการไม่อนุเคราะห์สหชีวินีตลอด ๒ ปี
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๑๐๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้สหชีวินี
แล้วไม่อนุเคราะห์ ทั้งไม่ให้ผู้อื่นอนุเคราะห์ตลอด ๒ ปี สหชีวนีผู้บวชเป็นภิกษุณี
เหล่านั้นเป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้จักสิ่งควรหรือไม่ควร
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
แม่เจ้าถุลลนันทาบวชให้สหชีวินีแล้วไม่อนุเคราะห์ ทั้งไม่ให้ผู้อื่นอนุเคราะห์ตลอด ๒
ปีเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวก
ภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้
สหชีวินีแล้วไม่อนุเคราะห์ ทั้งไม่ให้ผู้อื่นอนุเคราะห์ตลอด ๒ ปี จริงหรือ” ภิกษุ
ทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้สหชีวินีแล้วไม่อนุเคราะห์ ทั้ง
ไม่ให้ผู้อื่นอนุเคราะห์ตลอด ๒ ปีเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๑๐๘] ก็ภิกษุณีใดบวชให้สหชีวินีแล้วไม่อนุเคราะห์ ไม่ให้อนุเคราะห์
ตลอด ๒ ปี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๑๖ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๘ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๐๙] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า สหชีวินี พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงสัทธิวิหารินี
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
คำว่า ตลอด ๒ ปี คือ สิ้น ๒ ปี
คำว่า ไม่อนุเคราะห์ คือ ไม่อนุเคราะห์เองด้วยอุทเทส ปริปุจฉา โอวาท
อนุศาสนี
คำว่า ไม่ให้อนุเคราะห์ คือ ไม่สั่งภิกษุณีอื่น
พอทอดธุระว่า “จะไม่อนุเคราะห์ จะไม่ให้ผู้อื่นอนุเคราะห์ตลอด ๒ ปี” ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๑๐] ๑. ภิกษุณีผู้ไม่อนุคราะห์ในเมื่อมีอันตราย
๒. ภิกษุณีแสวงหาแล้วแต่ไม่ได้๑
๓. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๔. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๕. ภิกษุณีวิกลจริต
๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ได้ภิกษุณีรูปอื่น (วิ.อ. ๒/๑๑๑๐/๕๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๑๗ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๙ นิทานวัตถุ
๗. คัพภินีวรรค
สิกขาบทที่ ๙
ว่าด้วยการไม่ติดตามปวัตตินีตลอด ๒ ปี
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๑๑๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่ติดตาม
ปวัตตินี๑ผู้บวชให้ตลอด ๒ ปี พวกเธอเป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้จักสิ่งควร
หรือไม่ควร
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีจึงไม่ติดตามปวัตตินีผู้บวชให้ตลอด ๒ ปีเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้น
ได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีไม่ติดตามปวัตตินี
ผู้บวชให้ตลอด ๒ ปี จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีไม่
ติดตามปวัตตินีผู้บวชให้ตลอด ๒ ปีเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ไม่ติดตาม” หมายถึงไม่อุปัฏฐากด้วยจุรณ ดินเหนียว ไม้ชำระฟัน น้ำล้างหน้า “ปวัตตินี”
หมายถึงภิกษุณีผู้เป็นอุปชฌาย์ (กงฺขา.อ. ๓๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๑๘ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๙ อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
[๑๑๑๒] ก็ภิกษุณีใดไม่ติดตามปวัตตินีผู้บวชให้ตลอด ๒ ปี ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๑๓] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ผู้บวชให้ คือ ผู้อุปสมบทให้
ที่เรียกว่า ปวัตตินี พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงภิกษุณีที่เป็นอุปัชฌาย์
คำว่า ตลอด ๒ ปี คือ สิ้น ๒ ปี
คำว่า ไม่ติดตาม คือ ไม่อุปัฏฐากเอง
พอทอดธุระว่า “จะไม่ติดตามไปตลอด ๒ ปี” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๑๔] ๑. ภิกษุณีไม่ติดตามอุปัชฌาย์เป็นคนเขลาหรือมีความละอาย
๒. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๓. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๑๙ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ นิทานวัตถุ
๗. คัพภินีวรรค
สิกขาบทที่ ๑๐
ว่าด้วยการไม่พาสหชีวินีหลีกไป
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๑๑๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้สหชีวินี
แล้วไม่พาหลีกไป ทั้งไม่ให้ผู้อื่นพาหลีกไป สามีจึงจับ(สหชีวินีนั้น)
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
แม่เจ้าถุลลนันทาบวชให้สหชีวินีแล้วไม่พาหลีกไป ทั้งไม่ให้ผู้อื่นพาหลีกไปเล่า สามี
จึงจับ(สหชีวินี) ถ้าภิกษุณีนั้นพึงหลีกไป สามีก็จับเธอไม่ได้” ครั้นแล้ว ภิกษุณี
เหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้
สหชีวินีแล้วไม่พาหลีกไป ทั้งไม่ให้ผู้อื่นพาหลีกไป สามีได้จับ(สหชีวินีนั้น) จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้สหชีวินีแล้วไม่พาหลีกไป ทั้ง
ไม่ให้ผู้อื่นพาหลีกไป จนสามีจับได้เล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๑๑๖] ก็ภิกษุณีใดบวชให้สหชีวินีแล้วไม่พาหลีกไป ไม่ให้พาหลีกไป
โดยที่สุดแม้สิ้นระยะทาง ๕-๖ โยชน์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๒๐ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๑๗] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า สหชีวินี พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงสัทธิวิหารินี
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
คำว่า ไม่พาหลีกไป คือ ตนเองไม่พาหลีกไป
คำว่า ไม่ให้พาหลีกไป คือ ไม่สั่งผู้อื่น
พอทอดธุระว่า “จะไม่พาหลีกไป ทั้งจะไม่ให้พาหลีกไปแม้สิ้นระยะทาง ๕-๖
โยชน์” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๑๘] ๑. ภิกษุณีไม่หลีกไปในเมื่อมีอันตราย
๒. ภิกษุณีแสวงหาแล้วแต่ไม่ได้ภิกษุณีเป็นเพื่อน
๓. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
คัพภินีวรรคที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๒๑ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ
๘. กุมารีภูตวรรค
หมวดว่าด้วยกุมารี
สิกขาบทที่ ๑
ว่าด้วยการบวชให้กุมารีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๑๑๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบวชให้กุมารี
อายุต่ำกว่า ๒๐ ปี กุมารีที่บวชเป็นภิกษุณีเหล่านั้นไม่อดทน ไม่อดกลั้นต่อความ
เย็น ความร้อน ความหิว ความกระหาย สัมผัสจากเหลือบ ยุง ลม แดด
สัตว์เลื้อยคลาน คำกล่าวร้าย คำที่ฟังแล้วไม่ดี ความรู้สึกทางกายที่เกิดขึ้นเป็นทุกข์
แสนสาหัส รุนแรง เผ็ดร้อน ที่ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะคร่าชีวิต
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีบวชให้กุมารีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำ
เรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีบวชให้กุมารีอายุ
ต่ำกว่า ๒๐ ปี จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงบวชให้กุมารี
อายุต่ำกว่า ๒๐ ปีเล่า เพราะกุมารีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปียังไม่อดทน ไม่อดกลั้น
ต่อความเย็น ความร้อน ความหิว ความกระหาย สัมผัสจากเหลือบ ยุง ลม
แดด สัตว์เลื้อยคลาน คำกล่าวร้าย คำที่ฟังแล้วไม่ดี ความรู้สึกทางกายที่เกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๒๒ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑ สิกขาบทวิภังค์
เป็นทุกข์ แสนสาหัส รุนแรง เผ็ดร้อน ที่ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะคร่าชีวิต
ส่วนหญิงสาวที่มีอายุครบ ๒๐ ปีย่อมอดทนต่อความเย็น ความร้อน ฯลฯ แทบ
จะคร่าชีวิต ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณี
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๑๒๐] ก็ภิกษุณีใดบวชให้กุมารีมีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๒๑] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี คือ มีอายุยังไม่ถึง ๒๐ ปี
ที่ชื่อว่า กุมารี พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงสามเณรี
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติปาจิตตีย์ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๒๓ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
[๑๑๒๒] กุมารีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าอายุต่ำ ๒๐ ปี บวชให้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กุมารีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
กุมารีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าครบ บวชให้ ไม่ต้องอาบัติ
กุมารีอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
กุมารีอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
กุมารีอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุสำคัญว่าอายุครบ ๒๐ ปี บวชให้ ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๒๓] ๑. กุมารีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าอายุครบ ๒๐ ปี
จึงบวชให้
๒. กุมารีอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าอายุครบ ๒๐ ปี
จึงบวชให้
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๒๔ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๒ นิทานวัตถุ
๘. กุมารีภูตวรรค
สิกขาบทที่ ๒
ว่าด้วยการบวชให้กุมารีที่ยังไม่ได้ศึกษาในธรรม ๖ ข้อ
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๑๒๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบวชให้กุมารีมี
อายุครบ ๒๐ ปีแต่ยังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี พวกเธอโง่เขลา
ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีจึงบวชให้กุมารีอายุครบ ๒๐ ปีแต่ยังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ
ตลอด ๒ ปีเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ
พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีบวชให้กุมารีอายุ
ครบ ๒๐ ปีแต่ยังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี จริงหรือ” ภิกษุ
ทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงบวชให้กุมารีอายุครบ ๒๐ ปีแต่ยังไม่ได้
ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้
ทำ ให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้
เลย ฯลฯ” ครั้นตำหนิแล้ว ทรงแสดงธรรมีกถา แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีสงฆ์ให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อ เป็นเวลา
๒ ปีแก่กุมารีอายุ ๑๘ ปี
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีพึงให้สิกขาสมมติอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๒๕ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๒ นิทานวัตถุ
วิธีขอสิกขาสมมติและกรรมวาจาให้สิกขาสมมติ
กุมารีอายุ ๑๘ ปีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุณีทั้งหลายแล้วนั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้
เป็นกุมารีของแม่เจ้าชื่อนี้มีอายุ ๑๘ ปีขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปี
ต่อสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ พึงขอแมัครั้งที่ ๓
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๑๑๒๕] “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กุมารีชื่อนี้ของแม่เจ้าชื่อนี้มีอายุ
๑๘ ปีขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปีต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว
พึงให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปีแก่หญิงสาวผู้มีอายุ ๑๘ ปี นี่
เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กุมารีนี้ชื่อนี้ของแม่เจ้าชื่อนี้มีอายุ ๑๘ ปีขอ
สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปีต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สิกขาสมมติในธรรม ๖
ข้อเป็นเวลา ๒ ปีแก่กุมารีชื่อนี้มีอายุ ๑๘ ปี แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการให้
สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปีแก่กุมารีชื่อนี้มีอายุ ๑๘ ปี แม่เจ้า
รูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง
สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปี สงฆ์ให้แล้วแก่กุมารีชื่อนี้มีอายุ ๑๘
ปี สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
พึงบอกกุมารีมีอายุ ๑๘ ปีนั้นว่า “เธอจงกล่าวอย่างนี้ว่า
๑. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ โดยไม่ล่วงละเมิดตลอด
๒ ปี
๒. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้ โดย
ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี
๓. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากพฤติกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์ โดย
ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๒๖ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๒ สิกขาบทวิภังค์
๔. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากการพูดเท็จ โดยไม่ล่วงละเมิดตลอด
๒ ปี
๕. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง
ความประมาท โดยไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี
๖. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล โดย
ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี”
พระผู้มีพระภาคครั้นทรงตำหนิภิกษุณีเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วตรัส
โทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๑๒๖] ก็ภิกษุณีใดบวชให้กุมารีผู้มีอายุครบ ๒๐ ปีผู้ยังไม่ได้ศึกษาสิกขา
ในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๒๗] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า อายุครบ ๒๐ ปี คือ มีอายุถึง ๒๐ ปี
ที่ชื่อว่า กุมารี พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงสามเณรี
คำว่า ตลอด ๒ ปี คือ สิ้น ๒ ปี
ที่ชื่อว่า ผู้ยังไม่ได้ศึกษาสิกขา คือ ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่ได้ให้สิกขา หรือให้
แล้วแต่เธอทำขาด
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๒๗ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๒ อนาปัตติวาร
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๑๒๘] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๒๙] ๑. ภิกษุณีบวชให้กุมารีอายุครบ ๒๐ ปีผู้ศึกษาธรรม ๖ ข้อตลอด
๒ ปี
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๒๘ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๓ นิทานวัตถุ
๘. กุมารีภูตวรรค
สิกขาบทที่ ๓
ว่าด้วยการบวชให้กุมารีที่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๑๓๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบวชให้กุมารีมี
อายุครบ ๒๐ ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า “สิกขมานาทั้งหลาย พวกเธอจงมานี่ จงรู้สิ่งนี้ ประเคน
สิ่งนี้ นำสิ่งนี้มา ฉันต้องการสิ่งนี้ จงทำสิ่งนี้ให้เป็นกัปปิยะ”
กุมารีเหล่านั้นกล่าวว่า “แม่เจ้า พวกดิฉันมิใช่สิกขมานา พวกดิฉันเป็น
ภิกษุณี”
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีจึงบวชให้กุมารีมีอายุครบ ๒๐ ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด
๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ
ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีบวชให้กุมารีมีอายุ
ครบ ๒๐ ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ
ว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงบวชให้กุมารีมีอายุครบ ๒๐ ปีผู้ได้
ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติเล่า ภิกษุทั้งหลาย
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๒๙ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๓ นิทานวัตถุ
แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นตำหนิแล้ว ทรงแสดงธรรมีกถา แล้วรับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ภิกษุณีสงฆ์ให้วุฏฐานสมมติแก่
กุมารีมีอายุ ๒๐ ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้วุฏฐานสมมติอย่างนี้
วิธีให้วุฏฐานสมมติและกรรมวาจาให้วุฏฐานสมมติ
กุมารีมีอายุ ๒๐ ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้วนั้นพึง
เข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลายแล้วนั่ง
กระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้เป็นกุมารีของแม่เจ้าชื่อนี้
มีอายุครบ ๒๐ ปี ได้ศึกษาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ขอวุฏฐานสมมติต่อสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๑๑๓๑] “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กุมารีชื่อนี้ของแม่เจ้าชื่อนี้มีอายุครบ
๒๐ ปีได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี ขอวุฏฐานสมมติต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์
พร้อมแล้วพึงให้วุฏฐานสมมติแก่กุมารีชื่อนี้ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาใน
ธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กุมารีชื่อนี้ของแม่เจ้าชื่อนี้มีอายุครบ ๒๐ ปี
ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ขอวุฏฐานสมมติต่อสงฆ์ สงฆ์ให้
วุฏฐานสมมติแก่กุมารีชื่อนี้ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด
๒ ปีแล้ว แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการให้วุฏฐานสมมติแก่กุมารีชื่อนี้ผู้มีอายุครบ ๒๐
ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใด
ไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง
วุฏฐานสมมติสงฆ์ให้แล้วแก่กุมารีชื่อนี้มีอายุครบ ๒๐ ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาใน
ธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความ
นิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๓๐ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๓ นิทานวัตถุ
พระผู้มีพระภาคครั้นทรงตำหนิภิกษุณีเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วตรัส
โทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๑๓๒] ก็ภิกษุณีใดบวชให้กุมารีมีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาใน
ธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้วแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๓๓] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มีอายุครบ ๒๐ ปี คือ มีอายุถึง ๒๐ ปี
ที่ชื่อว่า กุมารี พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงสามเณรี
คำว่า ตลอด ๒ ปี คือ สิ้น ๒ ปี
ที่ชื่อว่า ผู้ได้ศึกษาสิกขา คือ ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อแล้ว
ที่ชื่อว่า สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ คือ สงฆ์ยังมิได้ให้วุฏฐานสมมติด้วยญัตติทุติย
กรรม
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๓๑ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๓ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๑๓๔] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๓๕] ๑. ภิกษุณีบวชให้กุมารีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖
ข้อตลอด ๒ ปีที่สงฆ์สมมติแล้ว
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๓๒ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๔ นิทานวัตถุ
๘. กุมารีภูตวรรค
สิกขาบทที่ ๔
ว่าด้วยภิกษุณีมีพรรษาต่ำกว่า ๑๒ เป็นปวัตตินี
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๑๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายมีพรรษาต่ำกว่า
๑๒๑บวชให้กุลธิดา พวกเธอเป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร แม้
พวกสัทธิวิหารินีก็เป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีมีพรรษาต่ำกว่า ๑๒ จึงบวชให้กุลธิดาเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้น
ได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีมีพรรษาต่ำกว่า ๑๒
บวชให้กุลธิดา จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้
มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีมีพรรษา
ต่ำกว่า ๑๒ จึงบวชให้กุลธิดาเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคน
ที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ มีพรรษาต่ำกว่า ๑๒ หมายถึงบวชเป็นภิกษุณียังไม่ครบ ๑๒ พรรษา (กงฺขา.อ. ๔๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๓๓ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๔ อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
[๑๑๓๗] ก็ภิกษุณีใดมีพรรษาต่ำกว่า ๑๒ บวชให้กุลธิดา ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๓๘] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มีพรรษาต่ำกว่า ๑๒ คือ พรรษายังไม่ถึง ๑๒
คำว่า บวชให้กุลธิดา คือ อุปสมบทให้กุลธิดา
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๓๙] ๑. ภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒ บวชให้กุลธิดา
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๓๔ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น