Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๕-๓ หน้า ๘๕ - ๑๒๕

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕-๓ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒



พระวินัยปิฎก
มหาวรรค ภาค ๒
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๙. หัตถิมังสาทิปฏิกเขปกถา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อสุนัข รูปใดฉัน
ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องทรงห้ามฉันเนื้องู
สมัยนั้น ในคราวข้าวยากหมากแพง คนทั้งหลายพากันกินเนื้องู ได้ถวาย
แก่ภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยวบิณฑบาต พวกภิกษุจึงฉันเนื้องู
คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย ศากย-
บุตรจึงฉันเนื้องูเล่า งูเป็นสัตว์น่าเกลียดน่าชัง”
ฝ่ายพญานาคสุปัสสะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ยืน ณ ที่สมควร พญานาคสุปัสสะซึ่งยืน
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า นาคงูที่ไม่ศรัทธา
ไม่เลื่อมใสมีอยู่ นาคเหล่านั้น พึงเบียดเบียนภิกษุแม้ด้วยเหตุเล็กน้อยได้ พระพุทธเจ้าข้า
ขอประทานวโรกาส พระคุณเจ้าทั้งหลายไม่พึงฉันเนื้องูเลย”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พญานาคสุปัสสะเห็นชัด ชวนให้
อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถา
ลำดับนั้น พญานาคสุปัสสะผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้
อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถาแล้ว ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณแล้วจากไป
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับภิกษุ
ทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้องู รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๘๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๙. หัตถิมังสาทิปฏิกเขปกถา
เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อราชสีห์
สมัยนั้น พวกนายพรานฆ่าราชสีห์กิน ได้ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยวบิณฑบาต
ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้อราชสีห์แล้วอยู่ในป่า ราชสีห์ไล่ตะครุบภิกษุเพราะได้กลิ่นเนื้อ
ราชสีห์
ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อราชสีห์ รูปใดฉัน
ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อเสือโคร่ง
สมัยนั้น พวกนายพรานฆ่าเสือโคร่งแล้วกิน ได้ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยว
บิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้อเสือโคร่งแล้วอยู่ในป่า เสือโคร่งไล่ตะครุบภิกษุ
เพราะได้กลิ่นเนื้อเสือโคร่ง
ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อเสือโคร่ง รูปใดฉัน
ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อเสือเหลือง
สมัยนั้น พวกนายพรานฆ่าเสือเหลืองแล้วกิน ได้ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยว
บิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้อเสือเหลืองแล้วอยู่ในป่า เสือเหลืองไล่ตะครุบภิกษุ
เพราะได้กลิ่นเนื้อเสือเหลือง
ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อเสือเหลือง รูปใด
ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๘๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๐. ยาคุมธุโคฬกานุชานนา
เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อหมี
สมัยนั้น พวกนายพรานฆ่าหมีแล้วกิน ได้ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยว
บิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้อหมีแล้วอยู่ในป่า หมีไล่ตะครุบภิกษุเพราะได้กลิ่น
เนื้อหมี
ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อหมี รูปใดฉัน
ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อเสือดาว
สมัยนั้น พวกนายพรานฆ่าเสือดาวแล้วกิน ได้ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยว
บิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้อเสือดาวแล้วอยู่ในป่า เสือดาวไล่ตะครุบภิกษุเพราะ
ได้กลิ่นเนื้อเสือดาว
ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อเสือดาว รูปใดฉัน
ต้องอาบัติทุกกฏ”
สุปปิยภาณวารที่ ๒ จบ
๑๗๐. ยาคุมธุโคฬกานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตข้าวต้มและขนมหวาน
เรื่องพราหมณ์คอยโอกาสถวายภัตตาหาร
[๒๘๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงพาราณสีตามพระ
อัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปทางอันธกวินทชนบท พร้อมภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่จำนวน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๘๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๐. ยาคุมธุโคฬกานุชานนา
๑,๒๕๐ รูป สมัยนั้น ชาวชนบทบรรทุกเกลือ น้ำมัน ข้าวสาร ของเคี้ยวเป็นอัน
มากมาในเกวียน เดินตามภิกษุสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน ด้วยตั้งใจว่า
“เมื่อได้โอกาสพวกเรา จะทำภัตตาหารถวาย” มีคนกินเดนอีก ๕๐๐ คนติดตาม
ไปด้วย ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปตามลำดับ จนถึงถึงอันธวินทชนบท
ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเมื่อไม่ได้โอกาส ได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราเดินตาม
ภิกษุสงฆ์ที่มีพระพระพุทธเจ้าเป็นประธานมากว่า ๒ เดือนแล้ว ด้วยตั้งใจว่า ‘จะทำ
ภัตตาหารถวายเมื่อได้โอกาส’ แต่ก็หาโอกาสไม่ได้ เราตัวคนเดียวและยังเสีย
ประโยชน์ทางฆราวาสไปมาก อย่ากระนั้นเลย เราพึงตรวจดูโรงอาหาร สิ่งใดยังไม่
มีในโรงอาหาร จัดเตรียมสิ่งนั้นถวาย” แล้วตรวจดูโรงอาหาร ไม่เห็นของ ๒ อย่าง
คือ ข้าวต้มและขนมหวาน จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์แล้ว ได้กล่าวกับท่านพระ
อานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ขอโอกาสเถิด กระผมเมื่อไม่ได้โอกาสจึงได้มีความ
คิดดังนี้ว่า ‘เราเดินตามภิกษุสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานมากว่า ๒ เดือนแล้ว
ด้วยตั้งใจว่า ‘จะทำภัตตาหารถวายเมื่อได้โอกาส’ แต่ก็หาโอกาสไม่ได้ เราตัวคน
เดียวและยังเสียประโยชน์ทางฆราวาสไปมาก อย่ากระนั้นเลย เราพึงตรวจดูโรง
อาหาร สิ่งใดยังไม่มีในโรงอาหาร ‘จัดเตรียมสิ่งนั้นถวาย’ ท่านอานนท์ กระผม
นั้นตรวจดูโรงอาหาร ไม่เห็นของ ๒ อย่าง คือ ข้าวต้มและขนมหวาน ท่านอานนท์
ถ้ากระผมจัดเตรียมข้าวต้มและขนมหวาน พระโคดมผู้เจริญจะทรงรับหรือ”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น อาตมาจะกราบทูลถามพระ
ผู้มีพระภาค” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์จงจัดเตรียมถวายเถิด”
ท่านพระอานนท์บอกพราหมณ์ว่า “ท่านจัดเตรียมได้”
เมื่อผ่านราตรีนั้นไป พราหมณ์จัดเตรียมข้าวต้มและขนมหวานเป็นจำนวน
มากแล้ว น้อมเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาคว่า “ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดรับข้าว
ต้มและขนมหวานของข้าพระองค์เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๘๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๐. ยาคุมธุโคฬกานุชานนา
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงถวายแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลายยำเกรงอยู่ จึงไม่ยอมรับประเคน
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรับประเคนฉันเถิด”
ครั้งนั้น พราหมณ์ได้นำข้าวต้มและขนมหวานจำนวนมากมาประเคนภิกษุสงฆ์
มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานด้วยตนเอง กระทั่งพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ ทรงห้าม
ภัตแล้ว ล้างพระหัตถ์แล้วละพระหัตถ์จากบาตร จึงได้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่สมควร
ประโยชน์ของข้าวต้มมี ๑๐ อย่าง
พระผู้มีพระภาคตรัสกับพราหมณ์ผู้นั่ง ณ ที่สมควรว่า “พราหมณ์ ข้าวต้ม
มีอานิสงส์ ๑๐ ประการ คือ ผู้ถวายข้าวต้มชื่อว่า (๑) ให้อายุ (๒) ให้วรรณะ
(๓) ให้สุขะ (๔) ให้พละ (๕) ให้ปฏิภาณ (๖) บรรเทาความหิว (๗) ระงับความ
กระหาย (๘) ให้ลมเดินคล่อง (๙) ชำระลำไส้ (๑๐) เผาอาหารที่ยังไม่ย่อยให้ย่อย
พราหมณ์ ข้าวต้มมีอานิสงส์ ๑๐ ประการนี้แล
ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว พระสุคตตรัสอนุโมทนาต่อไปว่า
“ทายกผู้ตั้งใจถวายข้าวต้มแก่ปฏิคาหกผู้สำรวมแล้ว
ผู้ฉันอาหารที่ผู้อื่นถวายตามกาลสมควร
เขาได้ชื่อว่าตามเพิ่มให้ประโยชน์ ๑๐ ประการแก่ปฏิคาหก
คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ
นอกจากนั้นข้าวต้มย่อมบรรเทาความหิว ความกระหาย
ให้ลมเดินคล่อง ชำระลำไส้ และช่วยย่อยอาหาร
พระสุคตตรัสว่าข้าวต้มเป็นยา
ดังนั้น ผู้ที่ต้องการความสุขอันเป็นของมนุษย์ตลอดกาลนาน
และปรารถนาความสุขอันเป็นทิพย์ หรือปรารถนาความงาม
อันเป็นของมนุษย์ จึงควรถวายข้าวต้ม”
เมื่อทรงอนุโมทนาแก่พราหมณ์ด้วยพระคาถาเหล่านี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากที่
ประทับกลับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๘๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๑. ตรุณัปปสันนมหามัตตวัตถุ
ต่อมา พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตข้าวต้มและขนมหวาน”
๑๗๑. ตรุณัปปสันนมหามัตตวัตถุ
ว่าด้วยมหาอมาตย์ผู้เลื่อมใสใหม่
[๒๘๓] คนทั้งหลายทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตข้าวต้มและ
ขนมหวานแก่ภิกษุ จึงจัดเตรียมข้าวต้มข้น๑และขนมหวานถวายแต่เช้า พวกภิกษุ
ที่รับประเคนข้าวต้มข้นและขนมหวานแต่เช้า ฉันภัตตาหารในโรงอาหารไม่ได้ตาม
ต้องการ
สมัยนั้น มหาอมาตย์คนหนึ่งผู้เลื่อมใสใหม่ได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประธานเพื่อเจริญกุศลในวันรุ่งขึ้น มหาอมาตย์ผู้เลื่อมใสใหม่นั้นได้มีความคิด
ดังนี้ว่า “ถ้ากระไร เราพึงตกแต่งสำรับเนื้อ ๑,๒๕๐ ที่ เพื่อภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป
น้อมเข้าไปถวายภิกษุรูปละ ๑ ที่” โดยล่วงไปแห่งราตรีนั้น เขาสั่งให้จัดเตรียม
ของฉันอย่างดี และสำรับเนื้อ ๑,๒๕๐ ที่ แล้วให้เจ้าหน้าที่ไปกราบทูลภัตกาล
พระผู้มีพระภาคว่า “ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร
เสด็จไปนิเวศน์ของมหาอมาตย์ผู้เลื่อมใสใหม่นั้น ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เขาได้ประเคนภิกษุในโรงอาหาร
พวกภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า “มหาอมาตย์ ท่านจงถวายแต่น้อย ๆ เถิด”
มหาอมาตย์กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านอย่ารับเพียงน้อย ๆ เพราะคิดว่า
‘นี่เป็นมหาอมาตย์ผู้เลื่อมใสใหม่’ ผมจัดเตรียมของฉันไว้เป็นจำนวนมากพร้อมด้วย

เชิงอรรถ :
๑ ข้าวต้มข้น ข้าวต้มที่ควรบริโภค คือมีคติอย่างข้าวสุก (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๘๓/๓๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๙๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๑. ตรุณัปปสันนมหามัตตวัตถุ
สำรับเนื้อ ๑,๒๕๐ ที่ จะน้อมเข้าไปถวายภิกษุรูปละ ๑ ที่ ท่านโปรดรับให้พอความ
ต้องการเถิด”
พวกภิกษุกล่าวว่า “มหาอมาตย์ พวกอาตมารับแต่น้อยไม่ใช่เพราะสาเหตุนั้น
แต่พวกอาตมารับประเคนข้าวต้มข้นและขนมหวานมาแต่เช้าแล้ว ดังนั้นจึงต้องรับ
แต่น้อย ๆ”
ครั้งนั้น มหาอมาตย์ผู้เลื่อมใสใหม่ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
ที่ผมนิมนต์ไว้จึงฉันข้าวต้มข้นของผู้อื่นเล่า ผมไม่สามารถจะถวายให้พอแก่ความต้อง
การหรือ” โกรธเสียใจคอยจับผิด ได้บรรจุบาตรของภิกษุจนเต็มพลางกล่าวว่า “พวก
ท่านจะฉันก็ได้ จะขนเอาไปก็ได้” แล้วได้นำของเคี้ยวของฉันอันประณีตประเคน
ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานด้วยตนเองกระทั่งพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จแล้ว
ทรงห้ามภัตตาหารแล้ว ละพระหัตถ์จากบาตร จึงได้นั่งเฝ้า ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้มหาอมาตย์ผู้เลื่อมใสใหม่นั้นเห็นชัด ชวนให้อยาก
รับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมี
กถาแล้ว ทรงลุกจากอาสนะเสด็จกลับ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จกลับไม่นาน มหาอมาตย์ผู้เลื่อมใสใหม่นั้นได้มีความกังวล
ได้มีความร้อนใจว่า “ไม่ใช่ลาภของเราหนอ เราไม่มีลาภหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอ
เราได้ไม่ดีแล้วหนอ ที่ไปโกรธเสียใจคอยจับผิดแล้วบรรจุบาตรของภิกษุจนเต็มพลาง
กล่าวว่า พวกท่านจะฉันก็ได้ จะขนเอาไปก็ได้ เราสร้างสมบุญหรือบาปมากกว่า
กันหนอ” จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้อภิวาทพระผู้มี
พระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควรแล้วได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า
ขอพระราชทานวโรกาส เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จกลับไม่นาน ข้าพระองค์ได้มี
ความกังวล ได้มีความร้อนใจว่า ‘ไม่ใช่ลาภของเราหนอ เราไม่มีลาภหนอ เราได้
ชั่วแล้วหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ ที่ไปโกรธเสียใจคอยจับผิดแล้วบรรจุบาตรของภิกษุ
จนเต็มพลางกล่าวว่า พวกท่านจะฉันก็ได้ จะขนเอาไปก็ได้ เราสร้างสมบุญหรือ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๙๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๑. ตรุณัปปสันนมหามัตตวัตถุ
บาปมากกว่ากันหนอ’ พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์สร้างสมบุญหรือบาปมากกว่า
กัน”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาอมาตย์ ท่านนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประธานด้วยการให้ที่ล้ำเลิศใด ท่านชื่อว่าสร้างสมบุญไว้มากเพราะการให้ที่เลิศ
นั้น ภิกษุแต่ละรูปผู้รับเมล็ดข้าวสุกแต่ละเมล็ดของท่านล้วนเลิศด้วยคุณสมบัติใด
ท่านจึงเป็นผู้ที่ชื่อว่าสร้างสมบุญไว้มากเพราะภิกษุผู้เลิศด้วยคุณสมบัตินั้น สวรรค์
เป็นหนทางที่ท่านเริ่มต้นไว้แล้ว”
ครั้งนั้น มหาอมาตย์ผู้เลื่อมใสใหม่นั้น ร่าเริงเบิกบานใจว่า “ทราบว่าเป็นลาภ
ของเรา ทราบว่าเราได้ดีแล้ว ทราบว่าสวรรค์เป็นหนทางที่เราเริ่มต้นไว้แล้ว” แล้ว
ลุกจากที่นั่งถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วกลับไป
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
ทรงสอบถามพวกภิกษุว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกภิกษุได้รับนิมนต์ไว้ที่หนึ่ง
แล้วไปฉันข้าวต้มข้นอีกที่หนึ่ง จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น
ได้รับนิมนต์ไว้ที่หนึ่งแล้วไปฉันข้าวต้มข้นอีกที่หนึ่งเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำ
อย่าง นี้มิได้ทำให้คนที่ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใสขึ้น ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดง
ธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรับนิมนต์ไว้ที่หนึ่งแล้ว
ไม่พึงไปฉันอีกที่หนึ่ง รูปใดพึงฉัน พึงถูกปรับอาบัติตามธรรม”๑

เชิงอรรถ :
๑ พึงถูกปรับอาบัติตามธรรม หมายถึงพึงปรับอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันปรัมปรโภชนะ ตามความใน
สิกขาบทที่ ๓ แห่งโภชนวรรค (ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๒๑-๒๒๖/๓๘๑-๓๘๔) ภิกษุฉันข้าวต้มข้นที่มี
คติอย่างข้าวสุกของทายกรายหนึ่งแล้วไปฉันภัตตาหารของมหาอมาตย์ นับว่าฉันปรัมปรโภชนะ (ดู สารตฺถ.
ฏีกา ๓/๒๘๓/๓๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๙๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๒. เพลักฐกัจจานวัตถุ
๑๗๒. เพลัฏฐกัจจานวัตถุ
ว่าด้วยพราหมณ์เพลัฏฐกัจจานะถวายน้ำอ้อยงบ
[๒๘๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อันธกวินทชนบทตามพระ
อัธยาศัย แล้วเสด็จจาริกไปทางกรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุจำนวน ๑,๒๕๐ รูป
สมัยนั้น พราหมณ์เพลัฏฐกัจจานะเดินทางไกลจากกรุงราชคฤห์ไปยังอันธกวินทชนบท
พร้อมด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม ล้วนบรรทุกน้ำอ้อยงบเต็ม พระผู้มีพระภาคทอด
พระเนตรเห็นเขาเดินมาแต่ไกล จึงเสด็จแวะข้างทางประทับนั่ง ณ ควงไม้ต้นหนึ่ง
ลำดับนั้น พราหมณ์เพลัฏฐกัจจานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร พราหมณ์
เพลัฏฐกัจจานะผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าพระองค์
ปรารถนาจะถวายน้ำอ้อยงบแก่ภิกษุรูปละ ๑ หม้อ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “กัจจานะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงนำน้ำอ้อยงบมาหม้อ
เดียวเท่านั้น”
พราหมณ์เพลัฏฐกัจจานะ กราบทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว นำหม้อน้ำ
อ้อยงบมาเพียงหม้อเดียว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าพระองค์นำหม้อน้ำอ้อยงบมาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
ข้าพระองค์จะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “กัจจานะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงถวายน้ำอ้อยงบแก่ภิกษุ
ทั้งหลายเถิด”
พราหมณ์เพลัฏฐกัจจานะกราบทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าพระองค์ถวายน้ำอ้อยงบแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว พระพุทธ
เจ้าข้า และน้ำอ้อยงบเหลือเป็นจำนวนมาก ข้าพระองค์จะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เธอจงถวายน้ำอ้อยงบแก่ภิกษุทั้งหลายตามต้องการ
เถิด”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๙๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๒. เพลักฐกัจจานวัตถุ
พราหมณ์กราบทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว ได้ถวายน้ำอ้อยงบแก่ภิกษุ
ทั้งหลายตามต้องการแล้วได้กราบทูลว่า “ข้าพระองค์ถวายน้ำอ้อยงบแก่ภิกษุทั้งหลาย
ตามต้องการ แต่น้ำอ้อยงบยังเหลืออยู่มาก จะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เธอจงนำน้ำอ้อยงบประเคนภิกษุทั้งหลายให้ฉันจน
อิ่มหนำเถิด”
พราหมณ์กราบทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว ได้นำน้ำอ้อยงบประเคนภิกษุ
ทั้งหลายให้ฉันจนอิ่มหนำ ภิกษุบางพวกบรรจุน้ำอ้อยงบเต็มบาตรบ้าง เต็มหม้อ
กรองน้ำบ้าง เต็มถุงย่ามบ้าง พราหมณ์เพลัฏฐกัจจานะนำน้ำอ้อยงบประเคนภิกษุ
ทั้งหลายให้ฉันจนอิ่มแล้วกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ได้นำน้ำอ้อยงบประเคนภิกษุทั้งหลาย
ให้ฉันจนอิ่มหนำแล้ว แต่น้ำอ้อยงบยังเหลืออยู่มาก จะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เธอจงให้น้ำอ้อยงบแก่พวกคนกินเดนเถิด”
พราหมณ์เพลัฏฐกัจจานะกราบทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว ได้ให้น้ำ
อ้อยงบแก่พวกคนกินเดนแล้วกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ได้ให้น้ำอ้อยงบแก่พวกคน
กินเดนแล้ว แต่น้ำอ้อยงบยังเหลืออยู่มาก จะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เธอจงให้น้ำอ้อยงบแก่พวกคนกินเดนจนพอแก่ความต้อง
การเถิด”
พราหมณ์เพลัฏฐกัจจานะกราบทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว ได้ให้น้ำอ้อย
งบแก่พวกคนกินเดนแล้วกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ได้ให้น้ำอ้อยงบแก่พวกคนกินเดน
จนพอแก่ความต้องการแล้ว แต่น้ำอ้อยงบยังเหลืออยู่มาก จะปฏิบัติอย่างไร พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เธอจงนำน้ำอ้อยงบมาให้พวกคนกินเดนกินจนอิ่มหนำ
เถิด”
พราหมณ์เพลัฏฐกัจจานะกราบทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว ได้นำน้ำอ้อย
งบให้พวกคนกินเดนกินจนอิ่มหนำแล้ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๙๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๒. เพลักฐกัจจานวัตถุ
คนกินเดนบางพวกบรรจุน้ำอ้อยงบเต็มกระป๋องบ้าง เต็มหม้อบ้าง ห่อเต็ม
ผ้าขาวปูลาดบ้าง เต็มพกบ้าง
พราหมณ์เพลัฏฐกัจจานะนำน้ำอ้อยงบเลี้ยงดูพวกคนกินเดนให้อิ่มหนำแล้วได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าพระองค์ได้นำน้ำอ้อยงบเลี้ยงดูพวกคนกินเดนจน
อิ่มหนำ แต่น้ำอ้อยงบยังเหลืออยู่มาก จะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูก่อนกัจจานะ ทั่วโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลกทั่วทุกหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ เราไม่เล็งเห็น
ผู้ที่บริโภคน้ำอ้อยงบนั้นแล้วจะย่อยได้ดี ยกเว้นตถาคตหรือสาวกของตถาคต เธอจง
ทิ้งน้ำอ้อยงบนั้นในที่ปราศจากของเขียวหรือในที่ที่ไม่มีตัวสัตว์”
พราหมณ์เพลัฏฐกัจจานะกราบทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว ได้เทน้ำอ้อยงบ
ลงในที่ไม่มีตัวสัตว์ น้ำอ้อยงบนั้นได้เดือดพุ่งส่งเสียงดัง ฉี่ ฉี่ ฉี่ ฉี่ พ่นไอพ่นควันขึ้น
เหมือนผาลที่ร้อนโชนตลอดวันที่บุคคลจุ่มลงน้ำย่อมเดือดพุ่งส่งเสียงดัง ฉี่ ฉี่ ฉี่ ฉี่
ทันใดนั้นเขาสลดใจเกิดโลมชาติชูชัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึง
แล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ
๑. ทานกถา ๒. สีลกถา
๓. สัคคกถา ๔. กามาทีนวกถา
๕. เนกขัมมานิสังสกถา แก่พราหมณ์เพลัฏฐะนั้นผู้นั่งอยู่ ณ ที่สมควร
เมื่อทรงทราบว่าพราหมณ์เพลัฏฐะนั้นมีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เบิก
บาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดแก่
พราหมณ์เพลัฏฐกัจจานะ ณ อาสนะนั้นแลว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น
ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวง มีความดับไปเป็นธรรมดา” เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาด
ปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๙๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๒. เพลัฏฐกัจจานวัตถุ
ครั้งนั้น พราหมณ์เพลัฏฐกัจจานะได้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้ง
ธรรมแล้ว หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากความแคลงใจ ถึง
ความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อใครอีกในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระ
ผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศ
ธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนคนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีตาดีจักเห็นรูป
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระ
สงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปตามลำดับ จนถึงกรุงราชคฤห์ ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต ในกรุงราช
คฤห์นั้น สมัยนั้น กรุงราชคฤห์มีน้ำอ้อยงบมาก ภิกษุทั้งหลายยำเกรงอยู่ว่า “พระ
ผู้มีพระภาคทรงอนุญาตน้ำอ้อยงบแก่ภิกษุผู้เป็นไข้เท่านั้น ไม่ทรงอนุญาตแก่ผู้ไม่เป็นไข้”
จึงไม่ฉันน้ำอ้อยงบ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอ้อยงบแก่ภิกษุผู้เป็นไข้
น้ำอ้อยงบละลายน้ำแก่ผู้ไม่เป็นไข้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๙๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๓. ปาฏลิคามวัตถุ
๑๗๓. ปาฏลิคามวัตถุ
ว่าด้วยชาวปาฏลิคามถวายที่พัก
เรื่องทรงรับอาคารพักแรม
[๒๘๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ตามพระ
อัธยาศัยแล้ว เสด็จไปทางปาฏลิคามพร้อมด้วยภิกษุจำนวน ๑,๒๕๐ รูป สมัยนั้น
พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปตามลำดับ จนถึงปาฏลิคาม
อุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามได้ทราบข่าวว่า “พระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึง
ปาฏลิคามแล้ว” จึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้อุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามเห็นชัด ชวนให้
อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถา
ครั้งนั้น อุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคชี้แจงให้เห็นชัด
ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น
ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ขอพระผู้มีพระภาค
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์โปรดรับอาคารที่พักของพวกข้าพระองค์เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ
ครั้งนั้น อุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามทราบการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับแล้ว
จึงลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วพากันเดินไปที่
อาคารที่พัก ปูลาดอาสนะทั่วอาคาร จัดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมัน
แล้วพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาคแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พวกข้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๙๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๓. ปาฏลิคามวัตถุ
พระองค์ปูลาดอาสนะ ดาดเพดานทั่วอาคารที่พัก จัดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีป
น้ำมันไว้แล้ว ขอพระองค์ทรงทราบเวลาอันเหมาะสมในบัดนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร
เสด็จไปที่อาคารพักแรมพร้อมกับภิกษุสงฆ์ ทรงชำระพระบาทแล้วเสด็จเข้าอาคารที่พัก
ประทับนั่งพิงเสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก แม้ภิกษุสงฆ์ก็ล้างเท้าแล้ว
เข้าอาคารที่พัก นั่งพิงฝาด้านตะวันตก ผินหน้าไปทางทิศตะวันออกห้อมล้อมพระ
ผู้มีพระภาค แม้อุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามก็ล้างเท้าแล้วเข้าไปอาคารที่พัก นั่ง
พิงฝาด้านทิศตะวันออกผินหน้าไปทางทิศตะวันตกห้อมล้อมพระผู้มีพระภาค
โทษแห่งศีลวิบัติ ๕ ประการ๑
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกับอุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามว่า “คหบดี
ทั้งหลาย ศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล มีโทษ ๕ ประการนี้ โทษ ๕ ประการ คือ
๑. คหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมถึงความเสื่อม
โภคทรัพย์ใหญ่หลวง ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษประการ
ที่ ๑ แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล
๒. คหบดีทั้งหลาย กิตติศัพท์อันชั่วของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อม
กระฉ่อนไป นี้เป็นโทษประการที่ ๒ แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล
๓. คหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ จะเข้าไปยังบริษัทใด ๆ จะ
เป็นขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัก็ตาม
สมณบริษัทก็ตาม ย่อมไม่แกล้วกล้าเก้อเขินเข้าไป นี้เป็นโทษประการ
ที่ ๓ แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล
๔. คหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมหลงลืมสติตาย นี้เป็น
โทษประการที่ ๔ แห่งศีลวิบัติของคนทุศีล

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. ๑๑/๓๑๖/๒๐๙-๒๑๐, องฺ. ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๑๓/๓๕๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๙๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๓. ปาฏลิคามวัตถุ
๕. คหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ หลังจากตายแล้ว ย่อม
ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นโทษข้อที่ ๕ แห่งศีล
วิบัติของบุคคลผู้ทุศีล
คหบดีทั้งหลาย ศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล มีโทษ ๕ ประการนี้แล
อานิสงส์แห่งศีลสมบัติ ๕ ประการ๑
คหบดีทั้งหลาย ศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล มีอานิสงส์ ๕ ประการ อานิสงส์
๕ ประการนี้ คือ
๑. คหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล มีศีลสมบัติในโลกนี้ ย่อมได้โภค
ทรัพย์ใหญ่หลวง ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์
ประการที่ ๑ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล
๒. คหบดีทั้งหลาย กิตติศัพท์อันดีงามของบุคคลผู้มีศีล มีศีลสมบัติ
ย่อมกระฉ่อนไป นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ แห่งศีลสมบัติของ
บุคคลผู้มีศีล
๓. คหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล มีศีลสมบัติ จะเข้าไปยังบริษัทใด ๆ
จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัท
ก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อมแกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป นี้เป็น
อานิสงส์ประการที่ ๓ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล
๔. คหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล มีศีลสมบัติ ย่อมไม่หลงลืมสติตาย นี้
เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล
๕. คหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล มีศีลสมบัติ หลังจากตายแล้ว
ย่อมไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๕ แห่ง
ศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล
คหบดีทั้งหลาย ศีลสมบัติของบุคคลผู้ทุศีล มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. ๑๑/๓๑๖/๒๑๐, องฺ. ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๑๓/๓๕๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๙๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๔. สุนีธวัสสการวัตถุ
ครั้นทรงแสดงธรรมีกถาชี้แจงให้อุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามเห็นชัด ชวนให้
อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถาจนดึกดื่นแล้ว ทรงส่งกลับด้วยรับสั่งว่า ราตรีใกล้จะสว่าง บัดนี้พวกท่าน
จงรู้เวลาที่จะกลับเถิด
พวกเขากราบทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้วลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วกลับไป เมื่อพวกเขากลับไปได้ไม่นาน พระผู้มี
พระภาคได้เสด็จเข้าสุญญาคาร
๑๗๔. สุนีธวัสสการวัตถุ๑
ว่าด้วยมหาอมาตย์สุนีธะและวัสสการะ
เรื่องพุทธทำนายเกี่ยวกับนครปาฏลีบุตร
[๒๘๖] สมัยนั้น สุนีธะและวัสสการะผู้เป็นมหาอมาตย์แห่งมคธรัฐ กำลังสร้าง
เมืองที่ปาฏลิคามเพื่อป้องกันพวกวัชชี
พระผู้มีพระภาคทรงตื่นบรรทมเวลาใกล้รุ่ง ทรงเล็งจักษุทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือ
มนุษย์ ได้ทอดพระเนตรเห็นทวยเทพเป็นจำนวนมากกำลังยึดครองที่ดินในปาฏลิคาม
คือ ทวยเทพมีศักดิ์ใหญ่ยึดครองที่ดินในประเทศใด จิตของพวกพระราชาและราช
มหาอมาตย์ผู้สูงศักดิ์ต่างน้อมเพื่อสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น๒
ทวยเทพที่มีศักดิ์ชั้นกลางยึดครองที่ดินในประเทศใด จิตของพวกพระราชา
และราชมหาอมาตย์ที่มีศักดิ์ชั้นกลางต่างน้อมเพื่อสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น
ทวยเทพที่มีศักดิ์ชั้นต่ำยึดครองที่ดินในประเทศใด จิตของพวกพระราชาและ
ราชมหาอมาตย์ชั้นต่ำต่างน้อมเพื่อสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ที.ม. ๑๐/๑๕๒/๗๙
๒ ทราบว่า เทวดาทั้งหลายเข้าสิงในร่างของคนผู้เชี่ยวชาญวิชาดูพื้นที่แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นบอกว่าควรจะ
สร้างบ้านเมืองที่นั้นที่นี้เพราะเทวดาเหล่านั้นประสงค์จะให้พระราชาและมหาอมาตย์ผู้มีศักดิ์ใหญ่ มีศักดิ์
ปานกลาง มีศักดิ์ชั้นต่ำอยู่ใกล้ชิดกับตน และทำสักการะสมควรแก่ตน (วิ.อ. ๓/๒๘๖/๑๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๐๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๔. สุนีธวัสสการวัตถุ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาถามว่า “อานนท์
คนที่สร้างเมืองที่ปาฏลิคามนั้นเป็นพวกไหน”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ๊สุนีธะและวัสสการะผู้เป็นมหาอมาตย์แห่งมคธ
รัฐ กำลังสร้างเมืองที่ปาฏลิคาม เพื่อป้องกันพวกวัชชี พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ สุนีธะและวัสสการะผู้เป็นมหาอมาตย์แห่ง
มคธรัฐ กำลังสร้างเมืองที่ปาฏลิคามเพื่อป้องกันพวกวัชชี เหมือนได้ปรึกษากับ
ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ อานนท์ เมื่อตอนเช้ามืดคืนนี้ เราลุกขึ้นเล็งจักษุทิพย์อัน
บริสุทธิ์เหนือมนุษย์ เห็นทวยเทพเป็นจำนวนมากกำลังยึดครองที่ดินในปาฏลิคาม คือ
ทวยเทพมีศักดิ์ใหญ่ยึดครองที่ดินในประเทศใด จิตของพวกพระราชาและราช
มหาอมาตย์ผู้สูงศักดิ์ต่างน้อมเพื่อสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น
ทวยเทพที่มีศักดิ์ชั้นกลางยึดครองที่ดินในประเทศใด จิตของพวกพระราชา
และราชมหาอมาตย์ที่มีศักดิ์ชั้นกลางต่างน้อมเพื่อสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น
ทวยเทพที่มีศักดิ์ชั้นต่ำยึดครองที่ดินในประเทศใด จิตของพวกพระราชาและ
ราชมหาอมาตย์ชั้นต่ำต่างน้อมเพื่อสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น
นครปาฏลีบุตรจะแตกด้วยภัย ๓ อย่าง
อานนท์ ตลอดพื้นที่อันเป็นย่านชุมชนแห่งอารยชนและเป็นทางค้าขาย นครนี้
จะเป็นนครชั้นเอก เป็นทำเลค้าขาย ชื่อปาฏลีบุตร และนครปาฏลีบุตรจะเกิด
อันตราย ๓ อย่าง คือ อัคคีภัย อุทกภัย หรือการแตกความสามัคคีภายในกลุ่ม”
ครั้งนั้น สุนีธะและวัสสการะผู้เป็นมหาอมาตย์แห่งมคธรัฐ พากันไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้กราบทูลสนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอให้ระลึกถึงกันและกันแล้วได้ยืน ณ ที่สมควร สุนีธะและ
วัสสการะมหาอมาตย์แห่งมคธรัฐ ผู้ยืน ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ขอพระโคดมผู้เจริญพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารของพวกข้าพระ
องค์เพื่อเจริญกุศลในวันนี้เถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๐๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๔. สุนีธวัสสการวัตถุ
ครั้งนั้น สุนีธะและวัสสการะผู้เป็นมหาอมาตย์แห่งมคธรัฐทราบว่าพระผู้มี
พระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว ลุกจากอาสนะแล้วกลับไป ลำดับนั้น สุนีธะและ
วัสสการะผู้เป็นมหาอมาตย์แห่งมคธรัฐให้จัดเตรียมของเคี้ยวของฉันอันประณีตแล้ว
ให้เจ้าหน้าที่ไปกราบทูลภัตกาลพระผู้มีพระภาคว่า “ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
ภัตตาหารเสร็จแล้ว”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร
เสด็จไปที่จัดเลี้ยงของสุนีธะและวัสสการะผู้เป็นมหาอมาตย์แห่งมคธรัฐ ประทับนั่ง
บนอาสนะที่จัดถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ลำดับนั้น สุนีธะและวัสสการะผู้เป็น
มหาอมาตย์แห่งมคธรัฐ ได้นำของเคี้ยวของฉันอันประณีตประเคนภิกษุสงฆ์มี
พระพุทธเจ้าเป็นประธาน กระทั่งพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ ห้ามภัตตาหารแล้ว
ทรงละพระหัตถ์จากบาตร ได้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนา
แก่มหาอมาตย์ทั้งสองด้วยพระคาถาเหล่านี้ว่า
“บัณฑิตอยู่ในที่ใด ครั้นเลี้ยงดูท่านผู้มีศีล ผู้สำรวม
ประพฤติพรหมจรรย์ในที่ที่ตนอยู่นั้นพึงอุทิศทักษิณา๑
แก่เหล่าทวยเทพผู้สถิตอยู่ในที่นั้น
ทวยเทพเหล่านั้นอันเขาบูชาแล้วย่อมบูชาตอบ
อันเขานับถือแล้วย่อมนับถือตอบ
จากนั้นย่อมอนุเคราะห์บัณฑิตนั้นเป็นการตอบแทน
ดุจมารดาอนุเคราะห์บุตรผู้เกิดแต่อก
ดังนั้น ผู้ที่ทวยเทพอนุเคราะห์แล้ว
ย่อมพบเห็นแต่สิ่งที่เจริญทุกเมื่อ”๒
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาสุนีธะและวัสสการะผู้เป็นมหาอมาตย์แห่ง
มคธรัฐด้วยพระคาถาเหล่านี้แล้ว ได้เสด็จลุกจากอาสนะแล้วเสด็จกลับ

เชิงอรรถ :
๑ พึงอุทิศทักษิณา หมายถึงพึงให้ส่วนบุญ (ที.ม.อ. ๒/๑๕๓/๑๔๓)
๒ ที.ม. ๑๐/๑๕๓/๘๐-๘๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๐๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๕. โกฏิคามสัจจกถา
เรื่องประตูโคดมและท่าโคดมที่แม่น้ำคงคา
สมัยนั้น สุนีธะและวัสสการะผู้เป็นมหาอมาตย์แห่งมคธรัฐ ตามส่งเสด็จพระ
ผู้มีพระภาคไปทางพระปฤษฎางค์ ด้วยดำริว่า “วันนี้ ประตูที่พระสมณโคดมเสด็จ
ออกจะได้ชื่อว่าประตูโคดม ท่าที่เสด็จข้ามแม่น้ำคงคาจะได้ชื่อว่าท่าโคดม” ต่อมา
ประตูที่พระผู้มีพระภาคเสด็จผ่านไปนั้น ได้ปรากฏนามว่าประตูโคดม
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไปทางแม่น้ำคงคา เวลานั้น แม่น้ำคงคามีน้ำ
เต็มเสมอตลิ่ง นกกาพอดื่มกินได้ คนทั้งหลายประสงค์จะไปจากฝั่งนี้สู่ฝั่งโน้น ต่างก็
หาเรือแพหรือผูกแพลูกบวบ พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นคนเหล่านั้นกำลัง
หาเรือแพและผูกแพลูกบวบจะข้ามฟาก ได้ทรงหายไปจากฝั่งแม่น้ำคงคาไปปรากฏ
ที่ฝั่งฟากโน้น พร้อมกับภิกษุสงฆ์ เหมือนคนมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า
ครั้นพระองค์ทรงทราบความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานว่า
“คนพวกหนึ่งกำลังสร้างสะพานข้ามสระใหญ่
โดยมิให้แปดเปื้อนด้วยเลนตม
ขณะที่คนอีกพวกหนึ่งกำลังผูกทุ่นอยู่
ชนผู้ฉลาดได้ข้ามพ้นไปแล้ว”๑
๑๗๕. โกฏิคามสัจจกถา
ว่าด้วยทรงแสดงอริยสัจที่โกฏิคาม
[๒๘๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไปทางโกฏิคาม ทราบว่า พระผู้มี
พระภาคประทับอยู่ที่โกฏิคามนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายในโกฏิคาม
นั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราและพวกเธอเร่ร่อนไปตลอดเวลานานถึงเพียงนี้ เพราะ

เชิงอรรถ :
๑ ที.ม. ๑๐/๑๕๔/๘๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๐๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๖. อัมพปาลีวัตถุ
ไม่ตรัสรู้และไม่แทงตลอดอริยสัจ ๔ ได้แก่ เราและพวกเธอเร่ร่อนไปตลอดเวลา
นานถึงเพียงนี้ เพราะไม่ตรัสรู้และไม่แทงตลอดทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขสมุทยอริยสัจ
ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ เราและพวกเธอเร่ร่อนไปตลอดเวลานานถึงเพียงนี้
เพราะไม่ตรัสรู้และไม่แทงตลอดทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ภิกษุทั้งหลาย แต่บัดนี้
ทุกขอริยสัจ อันเราและพวกเธอได้ตรัสรู้และแทงตลอดแล้ว ทุกขสมุทยอริยสัจ อันเรา
และพวกเธอได้ตรัสรู้และแทงตลอดแล้ว ทุกขนิโรธอริยสัจ อันเราและพวกเธอได้ตรัสรู้
และแทงตลอดแล้ว ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อันเราและพวกเธอได้ตรัสรู้และ
แทงตลอดแล้ว เราและพวกเธอตัดตัณหาในภพได้เด็ดขาด ตัณหาที่จะนำไปเกิดสิ้นแล้ว
บัดนี้จึงไม่มีการเกิดอีกต่อไป
นิคมคาถา
เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง
เราและพวกเธอจึงต้องท่องเที่ยวไปในชาตินั้น ๆ ตลอดเวลานาน
แต่เพราะได้เห็นอริยสัจ ๔
เราและพวกเธอจึงถอนตัณหาที่จะนำไปเกิดได้
ตัดรากแห่งทุกข์ได้เด็ดขาด บัดนี้จึงไม่มีการเกิดอีกต่อไป
๑๗๖. อัมพปาลีวัตถุ
ว่าด้วยหญิงงามเมืองชื่ออัมพปาลี
[๒๘๘] หญิงงามเมืองชื่ออัมพปาลีได้ทราบข่าวว่า “พระผู้มีพระภาคเสด็จถึง
โกฏิคามแล้ว” จึงให้จัดยานพาหนะคันงาม ขึ้นยานพาหนะคันงาม มียานพาหนะ
คันงามหลายคันเดินทางออกจากกรุงเวสาลี เพื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค เดินทาง
ไปด้วยยานพาหนะตลอดพื้นที่ที่ยานพาหนะจะไปได้ แล้วลงเดินเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้นั่งเฝ้าอยู่ ณ
ที่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๐๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๗. ลิจฉวีวัตถุ
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้หญิงงามเมืองชื่ออัมพปาลีผู้นั่ง ณ ที่สมควรเห็น
ชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น
ร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ลำดับนั้น หญิงงามเมืองชื่ออัมพปาลีผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด
ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารของดิฉันเพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ครั้งนั้น หญิงงามเมืองชื่ออัมพปาลีทราบการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์
แล้ว จึงลุกจากอาสนะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วกลับไป
๑๗๗. ลิจฉวีวัตถุ
ว่าด้วยเจ้าลิจฉวี
[๒๘๙] พวกเจ้าลิจฉวีชาวกรุงเวสาลีได้ทรงสดับข่าวว่า “พระผู้มีพระภาค
เสด็จมาถึงโกฏิคามแล้ว” จึงให้จัดยานพาหนะคันงาม ขึ้นยานพาหนะคันงาม
มียานพาหนะคันงามหลายคัน เสด็จออกจากกรุงเวสาลี เพื่อเข้าเฝ้าพระผู้มี
พระภาค เจ้าลิจฉวีบางพวกเขียว คือ ทรงมีสีเขียว ทรงพัสตร์สีเขียว ทรงเครื่อง
ประดับเขียว เจ้าลิจฉวีบางพวกเหลือง คือ ทรงมีสีเหลือง ทรงพัสตร์เหลือง
ทรงเครื่องประดับเหลือง เจ้าลิจฉวีบางพวกแดง คือ ทรงมีสีแดง ทรงพัสตร์แดง
ทรงเครื่องประดับแดง เจ้าลิจฉวีบางพวกขาว คือ ทรงมีสีขาว ทรงพัสตร์ขาว
ทรงเครื่องประดับขาว
ครั้งนั้น หญิงงามเมืองชื่ออัมพปาลีทำให้งอนรถกระทบงอนรถ แอกกระทบ
แอก ล้อกระทบล้อ เพลากระทบเพลา ของเจ้าลิจฉวีหนุ่ม ๆ ลำดับนั้น พวกเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๐๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๗. ลิจฉวีวัตถุ
ลิจฉวีเหล่านั้นจึงได้ตรัสกับหญิงงามเมืองชื่ออัมพปาลีดังนี้ว่า “แม่อัมพปาลี เหตุ
ไฉนเธอจึงทำให้งอนรถกระทบงอนรถ แอกกระทบแอก ล้อกระทบล้อ เพลากระทบ
เพลา ของเจ้าลิจฉวีหนุ่ม ๆ เล่า”
นางตอบว่า “พระลูกเจ้าทั้งหลาย หม่อมฉันได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประธานเพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้แล้ว”
เจ้าลิจฉวีทั้งหลายตรัสว่า “แม่อัมพปาลี เธอจงให้พวกฉันถวายภัตตาหาร
มื้อนี้ด้วยทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ กหาปณะเถิด”
นางตอบว่า “พระลูกเจ้าทั้งหลาย ถ้าแม้พวกท่านจะประทานกรุงเวสาลีพร้อม
กับชนบท หม่อมฉันก็ให้พวกท่านถวายภัตตาหารมื้อนี้ไม่ได้”
เจ้าลิจฉวีทั้งหลายทรงดีดองคุลีตรัสว่า “ผู้เจริญทั้งหลาย พวกเราแพ้นางอัมพ
ปาลีเสียแล้ว ผู้เจริญทั้งหลาย พวกเราแพ้นางอัมพปาลีเสียแล้ว” จึงพากันไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นกำลังเสด็จมาแต่ไกล
จึงรับสั่งภิกษุทั้งหลายมาว่า “ภิกษุทั้งหลาย เหล่าภิกษุที่ไม่เคยเห็นพวกเทวดาชั้น
ดาวดึงส์ก็จงดูบริษัทเจ้าลิจฉวี จงพิจารณาดูบริษัทเจ้าลิจฉวี จงเทียบเคียงดูบริษัท
เจ้าลิจฉวีกับพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์”
ครั้งนั้น พวกเจ้าลิจฉวีเสด็จขึ้นยานพาหนะไปตลอดพื้นที่ที่ยานพาหนะจะไปได้
แล้วเสด็จลงจากยานพาหนะ ดำเนินไปด้วยพระบาทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ
ที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พวกเจ้าลิจฉวีผู้ประทับนั่ง ณ ที่สมควรเห็นชัด
ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น
ร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ลำดับนั้น พวกเจ้าลิจฉวีผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยาก
รับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๐๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๗. ลิจฉวีวัตถุ
ธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์โปรดรับโภชนาหารของพวกข้าพระองค์เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้เถิด พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อาตมารับนิมนต์ฉันภัตตาหารของหญิงงามเมืองชื่อ
อัมพปาลีไว้เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้แล้ว”
ลำดับนั้น พวกเจ้าลิจฉวีทรงดีดองคุลีตรัสว่า “ผู้เจริญทั้งหลาย พวกเราแพ้
หญิงงามเมืองชื่ออัมพปาลีเสียแล้ว ผู้เจริญทั้งหลาย พวกเราแพ้หญิงงามเมืองชื่อ
อัมพปาลีเสียแล้ว” ทรงชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค เสด็จลุกจากอาสนะ
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โกฏิคามตามอัธยาศัยแล้ว เสด็จ
จาริกไปทางนาทิกคาม ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระตำหนักตึกใน
นาทิกคามนั้น
คืนนั้นหญิงงามเมืองชื่ออัมพปาลีสั่งให้จัดเตรียมโภชนาหารอันประณีตในสวน
ของตนแล้วให้คนไปกราบทูลภัตกาลพระผู้มีพระภาคว่า “ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
ภัตตาหารเสร็จแล้ว”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร
เสด็จไปที่จัดเลี้ยงของหญิงงามเมืองชื่ออัมพปาลี ประทับนั่งบนอาสนะที่จัดถวาย พร้อม
ด้วยภิกษุสงฆ์ นางได้นำของเคี้ยวของฉันอันประณีตประเคนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประธานด้วยตนเอง กระทั่งพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จแล้ว ทรงห้ามภัตตาหาร
แล้วละพระหัตถ์จากบาตร จึงได้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่สมควร หญิงงามเมืองชื่ออัมพปาลี
ผู้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า
หม่อมฉันขอถวายสวนมะม่วงนี้แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน”
พระผู้มีพระภาคทรงรับอารามแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้
หญิงงามเมืองชื่ออัมพปาลีเห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ แกล้วกล้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๐๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๘. สีหเสนาปติวัตถุ
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากอาสนะเสด็จ ไปทาง
ป่ามหาวัน ทราบว่าพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ใน
กรุงเวสาลีนั้น
ลิจฉวีภาณวารที่ ๓ จบ
๑๗๘. สีหเสนาปติวัตถุ
ว่าด้วยสีหเสนาบดีสาวกของนิครนถ์นาฏบุตร
[๒๙๐] สมัยนั้น เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงนั่งประชุมกันในสันถาคาร๑กล่าวสรรเสริญ
พระพุทธ กล่าวสรรเสริญพระธรรม กล่าวสรรเสริญพระสงฆ์โดยประการต่าง ๆ
สมัยนั้น สีหเสนาบดีสาวกของนิครนถ์ นั่งอยู่ในที่ประชุมนั้นด้วย ลำดับนั้น
สีหเสนาบดีได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ต้องเป็นพระอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าแน่ เพราะเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงเหล่านี้นั่งประชุมกันในสันถาคาร
ต่างก็กล่าวสรรเสริญพระพุทธ กล่าวสรรเสริญพระธรรม กล่าวสรรเสริญพระสงฆ์
โดยประการต่าง ๆ อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น” ต่อมา เขาเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่งอยู่
ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับนิครนถ์นาฏบุตรดังนี้ว่า “ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเฝ้าพระ
สมณโคดม เจ้าข้า”
นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวว่า “สีหะ ท่านเป็นผู้สอนให้ทำ ไฉนจึงจะไปเฝ้าพระ
สมณโคดมผู้สอนไม่ให้ทำเล่า สีหะ เพราะพระสมณโคดมเป็นผู้สอนไม่ให้ทำ ย่อม
แสดงธรรมเพื่อการไม่ทำ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น”
ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีจึงล้มเลิกความตั้งใจที่จะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค

เชิงอรรถ :
๑ สันถาคาร มีความหมาย ๒ นัยคือ หมายถึงอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักผ่อนสำหรับมหาชน ถูกสร้าง
ขึ้นที่ใจกลางเมือง คนที่อยู่รอบ ๆ ทั้ง ๔ ทิศสามารถมองเห็นได้ คนที่มาจากทิศทั้ง ๔ จะพักผ่อนที่อาคาร
นี้ก่อนที่จะไปพักในที่สบายสำหรับตน นัยที่ ๒ หมายถึงอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อประชุมพิจารณาราชกิจสำหรับ
ราชตระกูล ในที่นี้หมายถึงนัยที่ ๒ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๒/๒๒๙-๒๓๐ ดู องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๑๒/๑๔๙ ด้วย)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๐๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๘. สีหเสนาปติวัตถุ
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงนั่งประชุมอยู่ในสันถาคาร กล่าวสรรเสริญ
พระพุทธ กล่าวสรรเสริญพระธรรม กล่าวสรรเสริญพระสงฆ์ โดยประการต่าง ๆ
แม้ครั้งที่ ๓ สีหเสนาบดีก็มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ต้องเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่ เพราะเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงเหล่านี้นั่ง
ประชุมกันในสันถาคาร ต่างก็กล่าวสรรเสริญพระพุทธ กล่าวสรรเสริญพระธรรม กล่าว
สรรเสริญพระสงฆ์ โดยประการต่าง ๆ ก็พวกนิครนถ์เหล่านี้ เราจะบอกหรือไม่ก็ไม่
มีประโยชน์อะไร อย่ากระนั้นเลย เราจะไม่บอกพวกนิครนถ์แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น”
ครั้งนั้น สีหเสนาบดีเดินทางออกจากกรุงเวสาลีแต่หัววัน พร้อมด้วยรถ ๕๐๐
คัน เดินทางไปด้วยยานพาหนะตลอดพื้นที่ที่ยานพาหนะจะไปได้แล้วลงเดินเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ
ที่สมควร สีหเสนาบดีผู้นั่งอยู่ ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระ
องค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ฟังมาดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนไม่ให้ทำ ทรงแสดง
ธรรมเพื่อการไม่ให้ทำ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ พระพุทธเจ้าข้า คนเหล่า
ใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนไม่ให้ทำ แสดงธรรมเพื่อการไม่ให้ทำ ทั้งแนะ
นำพวกสาวกตามแนวนั้น’ พระพุทธเจ้าข้า คนเหล่านั้นจะชื่อว่ากล่าวตรงตามที่พระ
ผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ ชื่อว่ากล่าวแก้
อย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำกล่าวต่อ ๆ กันมา จะ
เป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ เพราะข้าพระองค์ไม่ประสงค์จะกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเลย”
ข้อกล่าวหาของคนทั่วไป ๘ ประการ
[๒๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
๑. สีหะ ข้อที่เขากล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนไม่ให้ทำ
ทรงแสดงธรรมเพื่อการไม่ให้ทำ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้น
มีมูลอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๐๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๘. สีหเสนาปติวัตถุ
๒. สีหะ ข้อที่เขากล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนให้ทำ แสดง
ธรรมเพื่อการให้ทำ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่
๓. สีหะ ข้อที่เขากล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนให้ทำลาย
แสดงธรรมเพื่อความทำลาย ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้น
มีมูลอยู่
๔. สีหะ ข้อที่เขากล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนช่างรังเกียจ
แสดงธรรมเพื่อความรังเกียจ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้น
มีมูลอยู่
๕. สีหะ ข้อที่เขากล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนช่างกำจัด แสดง
ธรรมเพื่อความกำจัด ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมี
มูลอยู่
๖. สีหะ ข้อที่เขากล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนช่างเผาผลาญ
แสดงธรรมเพื่อความเผาผลาญ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’
นั้นมีมูลอยู่
๗. สีหะ ข้อที่เขากล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด
แสดงธรรมเพื่อไม่ผุดไม่เกิด ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้น
มีมูลอยู่
๘. สีหะ ข้อที่เขากล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้เบาใจ แสดงธรรม
เพื่อความเบาใจ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่
พระดำรัสแก้ข้อกล่าวหา ๘ ประการ
[๒๙๒] สีหะ ข้อที่เขากล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนไม่ให้ทำทรง
แสดงธรรมเพื่อการไม่ให้ทำ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นชื่อว่ามีมูลอยู่
เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๑๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๘. สีหเสนาปติวัตถุ
๑. สีหะ เพราะเราสอนไม่ให้ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ตลอด
ถึงการไม่ให้ทำบาปอกุศลธรรมต่าง ๆ ข้อที่เขากล่าวหาเราว่า ‘พระ
สมณโคดมเป็นผู้สอนไม่ให้ทำ แสดงธรรมเพื่อการไม่ให้ทำ ทั้งแนะนำ
พวกสาวกตามแนวนั้น’ นี้แลมีมูลอยู่
สีหะ ข้อที่เขากล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนให้ทำ แสดงธรรม
เพื่อการให้ทำ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่ เป็นอย่างไร
๒. สีหะ เพราะเราสอนให้ทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ตลอดถึง
การทำกุศลธรรมต่าง ๆ ข้อที่เขากล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดม
เป็นผู้สอนให้ทำ ทรงแสดงธรรมเพื่อการให้ทำ ทั้งแนะนำพวกสาวก
ตามแนวนั้น’ นี้แลมีมูลอยู่
สีหะ ข้อที่เขากล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมสอนให้ทำลาย แสดงธรรมเพื่อ
ความทำลาย ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นชื่อว่ามีมูลอยู่ เป็นอย่างไร
๓. สีหะ เพราะเราสอนให้ทำลายราคะ โทสะ โมหะ ตลอดถึงให้ทำลาย
บาปอกุศลธรรมต่าง ๆ ข้อที่เขากล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดม
สอนให้ทำลาย แสดงธรรมเพื่อความทำลาย ทั้งแนะนำพวกสาวก
ตามแนวนั้น’ นี้แลมีมูลอยู่
สีหะ ข้อที่เขากล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนช่างรังเกียจ แสดงธรรม
เพื่อความรังเกียจ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นชื่อว่ามีมูลอยู่ เป็นอย่างไร
๔. สีหะ เพราะเราช่างรังเกียจกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ตลอด
ถึงรังเกียจบาป อกุศลธรรมต่าง ๆ ข้อที่เขากล่าวหาเราว่า ‘พระ
สมณโคดมเป็นคน ช่างรังเกียจ แสดงธรรมเพื่อความรังเกียจ ทั้ง
แนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นี้แลมีมูลอยู่
สีหะ ข้อที่เขากล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนช่างกำจัด แสดงธรรมเพื่อ
ความกำจัด ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นชื่อว่ามีมูลอยู่ เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๑๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๘. สีหเสนาปติวัตถุ
๕. สีหะ เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ และบาป
อกุศลธรรมต่าง ๆ ข้อที่เขากล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคน
ช่างกำจัด แสดงธรรมเพื่อความกำจัด ทั้งแนะนำพวกสาวกตาม
แนวนั้น’ นี้แลมีมูลอยู่
สีหะ ข้อที่เขากล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนช่างเผาผลาญ แสดงธรรม
เพื่อความเผาผลาญ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นชื่อว่ามีมูลอยู่ เป็นอย่างไร
๖. สีหะ เพราะเรากล่าวถึงบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย คือ กายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริตว่าเป็นสิ่งที่ควรเผาผลาญ สีหะ เราเรียกคน
ที่ละบาปอกุศลธรรมทั้งหลายที่ควรเผาผลาญได้หมดสิ้น ตัดราก
ถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ว่า ‘เป็นคนช่างเผาผลาญ’ ตถาคต
ละบาปอกุศลธรรมต่าง ๆ ที่ควรเผาผลาญได้หมดสิ้น ข้อที่เขากล่าว
หาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนช่างเผาผลาญ แสดงธรรมเพื่อ
การเผาผลาญ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นี้แลมีมูลอยู่
สีหะ ข้อที่เขากล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด แสดงธรรม
เพื่อความไม่ผุดไม่เกิด ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นชื่อว่ามีมูลอยู่ เป็นอย่างไร
๗. สีหะ เพราะเราเรียกคนที่ละการอยู่ในครรภ์และการเกิดใหม่ได้หมด
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ว่า ‘เป็นคนไม่ผุดไม่เกิด’ ตถาคต
ละการอยู่ในครรภ์และการเกิดใหม่ได้หมดสิ้นแล้ว ข้อที่เขากล่าว
หาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด แสดงธรรมเพื่อความ
ไม่ผุดไม่เกิด ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นี้แลมีมูลอยู่
สีหะ ข้อที่เขากล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้เบาใจ แสดงธรรมเพื่อความ
เบาใจ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นชื่อว่ามีมูลอยู่ เป็นอย่างไร
๘. สีหะ เพราะเราเป็นผู้เบาใจด้วยความเบาใจอย่างยิ่ง แสดงธรรมเพื่อ
ความเบาใจ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น ข้อที่เขากล่าวหาเราว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๑๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๘. สีหเสนาปติวัตถุ
‘พระสมณโคดมเป็นผู้เบาใจ แสดงธรรมเพื่อความเบาใจ ทั้งแนะนำ
พวกสาวกตามแนวนั้น’ นี้แลมีมูลอยู่
[๒๙๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสตอบอย่างนี้แล้ว สีหเสนาบดีได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม
แจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีตาดีจักเห็นรูป พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็น
สรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้เข้าถึงสรณะตั้งแต่วัน
นี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สีหะ ท่านใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเถิด คนที่
มีชื่อเสียงเช่นท่านต้องใคร่ครวญให้รอบคอบก่อนจึงเป็นการดี”
สีหเสนาบดีกราบทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปลาบปลื้มชื่นใจอย่างยิ่ง
เพราะพระดำรัส ที่พระองค์ตรัสว่า ‘ท่านใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเถิด คนที่มี
ชื่อเสียงเช่นท่านต้องใคร่ครวญให้รอบคอบก่อนจึงเป็นการดี’ ความจริง เพราะพวก
อัญเดียรถีย์ได้ข้าพระองค์เป็นสาวกแล้วก็ป่าวประกาศไปทั่วกรุงเวสาลีว่า ‘สีหเสนาบดี
เป็นสาวกของพวกเรา’ แต่พระองค์กลับตรัสว่า ‘ท่านใคร่ครวญก่อนแล้วจึงค่อย
ตัดสินใจเถิด คนที่มีชื่อเสียงเช่นท่านต้องใคร่ครวญให้รอบคอบก่อนจึงเป็นการดี’
พระองค์ผู้เจริญ แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรม
และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้
เข้าถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิตเถิด”
ทรงสนับสนุนให้อุปถัมภ์ลัทธิที่เคยนับถือมาก่อน
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สีหะ ตระกูลของท่านเคยเป็นที่ต้อนรับพวกนิครนถ์
มานาน ดังนั้น ท่านพึงใส่ใจว่าควรให้บิณฑบาตแก่พวกนิครนถ์ผู้เข้าไปตระกูลต่อไปเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๑๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๘. สีหเสนาปติวัตถุ
สีหเสนาบดีกราบทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปลาบปลื้มชื่นใจอย่าง
ยิ่งเพราะพระดำรัสที่พระองค์ตรัสว่า ‘สีหะ ตระกูลของท่านเคยเป็นที่ต้อนรับพวก
นิครนถ์มานาน ดังนั้น ท่านพึงใส่ใจว่าควรให้บิณฑบาตแก่พวกนิครนถ์ผู้เข้าไป
ตระกูลต่อไปเถิด’ ข้าพระองค์ได้ฟังมาดังนี้ พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า ‘ควรให้
ทานแก่เราเท่านั้น ไม่ควรให้ทานแก่ศาสดาอื่น ควรให้ทานแก่สาวกของเราเท่านั้น
ไม่ควรให้ทานแก่สาวกของศาสดาอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นมีผลมาก ทานที่ให้
แก่ศาสดาอื่นไม่มีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้นมีผลมาก ทานที่ให้แก่
สาวกของศาสดาอื่นไม่มีผลมาก’ แต่พระผู้มีพระภาคกลับทรงชักชวนให้ข้าพระองค์
ให้ทานแก่พวกนิครนถ์ ข้าพระองค์จะรู้เวลาในเรื่องนี้เอง พระองค์ผู้เจริญ แม้ครั้งที่ ๓
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอ
พระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้เข้าถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ
๑. ทานกถา ๒. สีลกถา
๓. สัคคกถา ๔. กามาทีนวกถา
๕. เนกขัมมานิสังสกถา แก่สีหะเสนาบดี
เมื่อทรงทราบว่าสีหเสนาบดีมีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส
จึงทรงประกาศสามุกกังสิกธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ทุกข์ สมุทัย
นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลีปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นแก่สีหเสนาบดี
นั้น ณ อาสนะนั้นแลว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมี
ความดับไปเป็นธรรมดา” เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาดปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อม
ได้เป็นอย่างดี
ครั้งนั้น สีหเสนาบดีได้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว หยั่งลง
สู่ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากความแคลงใจ ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๑๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๘. สีหเสนาปติวัตถุ
ไม่ต้องเชื่อใครอีกในคำสอนของพระศาสดา จึงกราบทูลว่า “ขอพระผู้มีพระภาค
พร้อมภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารของข้าพระองค์เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้เถิด พระพุทธ
เจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
สีหเสนาบดีนั้นทราบการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงได้ลุกจาก
อาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วกลับไป
[๒๙๔] ครั้งนั้น สีหเสนาบดีใช้มหาดเล็กผู้หนึ่งว่า “เธอไปหาซื้อเนื้อสดที่มี
ขายมา” โดยล่วงไปแห่งราตรีนั้นได้จัดเตรียมของเคี้ยวของฉันอันประณีตแล้วให้
มหาดเล็กไปกราบทูลภัตกาลพระผู้มีพระภาคว่า “ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
ภัตตาหารเสร็จแล้ว”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและ
จีวร เสด็จไปที่นิเวศน์ของสีหเสนาบดี ประทับนั่งบนอาสนะที่จัดถวายพร้อมกับภิกษุสงฆ์
สมัยนั้น พวกนิครนถ์จำนวนมากพากันกอดแขนคร่ำครวญไปตามถนนสี่แยก
สามแยกทั่วกรุงเวสาลีว่า “วันนี้ สีหเสนาบดีฆ่าสัตว์เลี้ยงตัวอ้วน ๆ ทำอาหาร
เลี้ยงพระสมณโคดม พระสมณโคดมทั้งที่รู้อยู่ก็ยังฉันเนื้อที่เขาทำเจาะจงตนเอง”
ครั้งนั้น มหาดเล็กผู้หนึ่งเข้าไปหาสีหเสนาบดี กล่าวว่า “เจ้านายพึงทราบเถิด
พวกนิครนถ์จำนวนมากพากันกอดแขนคร่ำครวญไปตามถนนสี่แยกสามแยกทั่ว
กรุงเวสาลีว่า ‘วันนี้ สีหเสนาบดีฆ่าสัตว์เลี้ยงตัวอ้วน ๆ ทำอาหารเลี้ยงพระสมณ
โคดม พระสมณโคดมทั้งที่รู้อยู่ก็ยังฉันเนื้อที่เขาทำเจาะจงตนเอง”
สีหเสนาบดีตอบว่า “ช่างเถิด ท่านเหล่านั้นประสงค์จะตำหนิพระพุทธ ประสงค์
จะตำหนิพระธรรม ประสงค์จะตำหนิพระสงฆ์มานานแล้ว อนึ่ง ท่านเหล่านั้นกล่าวตู่
พระผู้มีพระภาคด้วยเรื่องที่ไม่มีอยู่ เปล่าประโยชน์ เป็นเรื่องเท็จ ไม่เป็นจริง ส่วน
พวกเราไม่จงใจฆ่าสัตว์แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๑๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๙. กัปปิยภูมิอนุชานนา
ลำดับนั้น สีหเสนาบดี ได้นำของเคี้ยวของฉันอันประณีตประเคนภิกษุสงฆ์มี
พระพุทธเจ้าเป็นประธานด้วยตนเอง กระทั่งพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ ทรงห้าม
ภัตตาหารแล้วทรงละพระหัตถ์จากบาตร จึงได้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่สมควร
เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อที่เขาทำเจาะจง
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้สีหเสนาบดีเห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรง
แสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุรู้อยู่ ไม่พึงฉันเนื้อที่เขาทำเจาะจง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตปลา เนื้อเป็นของบริสุทธิ์ด้วยอาการ ๓ อย่างคือ
๑. ไม่ได้เห็น
๒. ไม่ได้ยิน
๓. ไม่ได้นึกสงสัย
๑๗๙. กัปปิยภูมิอนุชานนา
ว่าด้วยการทรงอนุญาตกัปปิยภูมิ
เรื่องกรุงเวสาลีหาอาหารได้ง่าย
[๒๙๕] สมัยนั้น กรุงเวสาลีมีภิกษาหารมาก มีข้าวกล้างอกงาม บิณฑบาต
หาได้ง่าย พระอริยะบิณฑบาตยังชีพได้ง่าย
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้มีพระดำริดังนี้ว่า
“อาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุเมื่อคราวอัตคัดอาหาร มีข้าวกล้าไม่งอกงาม บิณฑบาต
หาได้ลำบาก คือ อาหารที่เก็บไว้ภายใน ที่หุงต้มภายใน ที่หุงต้มเอง ที่จับต้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๑๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๙. กัปปิยภูมิอนุชานนา
แล้วรับประเคนใหม่ ที่นำมาจากที่นิมนต์ ที่รับประเคนก่อนเวลาภัตตาหาร ที่เกิด
ในป่า ที่เกิดในกอบัว๑ ทุกวันนี้ภิกษุยังฉันภัตตาหารเหล่านั้นอยู่หรือหนอ”
ครั้นเวลาเย็นจึงเสด็จออกจากที่หลีกเร้น ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาถามว่า
“อานนท์ อาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุเมื่อคราวอัตคัดอาหาร มีข้าวกล้าน้อย
บิณฑบาตได้ลำบาก คือ อาหารที่เก็บไว้ภายใน ที่หุงต้มภายใน ที่หุงต้มเอง ที่จับต้อง
แล้วรับประเคนใหม่ ที่นำมาจากที่นิมนต์ ที่รับประเคนก่อนเวลาอาหารที่เกิดในป่า
และที่เกิดในกอบัว ทุกวันนี้ภิกษุยังฉันอาหารเหล่านั้นอยู่หรือหนอ”
เรื่องทรงห้ามอาหารที่หุงต้มภายในเป็นต้น
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ภิกษุยังฉันอยู่ พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุแล้ว รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราห้ามอาหารเหล่านั้นตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ซึ่งเป็นสิ่งที่เราอนุญาตแก่ภิกษุเมื่อคราวอัตคัดอาหาร มีข้าวกล้าไม่งอกงาม บิณฑบาต
หาได้ลำบาก คือ อาหารที่เก็บไว้ภายใน ที่หุงต้มภายใน ที่หุงต้มเอง ที่จับต้อง
แล้วรับประเคนใหม่ ที่นำมาจากที่นิมนต์ ที่รับประเคนก่อนเวลาภัตตาหาร ที่เกิด
ในป่า ที่เกิดในกอบัว ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันอาหารที่เก็บไว้ภายใน ที่หุงต้ม
ภายใน ที่หุงต้มเอง ที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่ ผู้ใดฉันต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ฉันแล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้ว ไม่พึงฉันอาหารที่นำมา

เชิงอรรถ :
๑ อาหารที่เก็บไว้ภายใน แปลมาจากศัพท์เฉพาะว่า อันโตวุฏฐะ
ที่หุงต้มภายใน แปลมาจากศัพท์เฉพาะว่า อันโตปักกะ
ที่หุงต้มเอง แปลมาจากศัพท์เฉพาะว่า สามปักกะ
ที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่ แปลมาจากศัพท์เฉพาะว่า อุคคหิตปฏิคคหิตกะ
ที่นำมาจากที่นิมนต์ แปลมาจากศัพท์เฉพาะว่า ตโตนีหฏะ
ที่รับประเคนก่อนเวลาภัตตาหาร แปลมาจากศัพท์เฉพาะว่า ปุเรภัตตปฏิคคหิตกะ
ที่เกิดในป่า แปลมาจากศัพท์เฉพาะว่า วนัฏฐะ
ที่เกิดในกอบัว แปลมาจากศัพท์เฉพาะว่า โปกขรัฏฐะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๑๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๙. กัปปิยภูมิอนุชานนา
จากที่นิมนต์ ที่รับประเคนก่อนเวลาภัตตาหาร ที่เกิดในป่า ที่เกิดในกอบัว ซึ่งเป็น
อาหารที่ไม่เป็นเดน รูปใดฉัน พึงปรับอาบัติตามธรรม”๑
เรื่องฝนตั้งเค้า
สมัยนั้น คนทั้งหลายในชนบทบรรทุกเกลือบ้าง น้ำมันบ้าง ข้าวสารบ้าง
ของฉันบ้างเป็นอันมากไว้ในเกวียนแล้วตั้งวงล้อมเกวียนอยู่นอกซุ้มประตูพระวิหาร
คอยว่า “พวกเราจะทำภัตตาหารถวายเมื่อได้โอกาส”
ก็เมฆฝนใหญ่ตั้งเค้าขึ้นแล้ว คนเหล่านั้นพากันเข้าไปหาท่านพระอานนท์แล้ว
ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ขอโอกาสเถิด พวกเราบรรทุก
เกลือบ้าง น้ำมันบ้าง ข้าวสารบ้าง ของฉันบ้าง เป็นอันมากไว้ในเกวียนแล้วตั้งวง
ล้อมเกวียนอยู่นอกซุ้มประตูพระวิหารนี้เอง ก็เมฆฝนใหญ่ตั้งเค้าขึ้นแล้ว พวกเราจะ
ปฏิบัติอย่างไรเล่า”
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “อานนท์ ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงสมมติวิหารอยู่สุด
เขตวัดให้เป็นกัปปิยภูมิ แล้วให้เก็บไว้ในสถานที่ที่สงฆ์มุ่งหวัง คือ ในวิหาร เรือน
มุงแถบเดียว ปราสาท เรือนโล้น หรือถ้ำ”
วิธีสมมติกัปปิยภูมิและกรรมวาจาสมมติ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงสมมติกัปปิยภูมิอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึง
ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงสมมติวิหารชื่อ
นี้ให้เป็นกัปปิยภูมิ นี่เป็นญัตติ

เชิงอรรถ :
๑ พึงปรับอาบัติตามธรรม หมายถึงปรับอาบัติปาจิตตีย์ เพราะเคี้ยวฉันของที่ไม่เป็นเดน ตามความใน
สิกขาบทที่ ๕ แห่งโภชนวรรค (วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๓๗-๒๓๘/๓๙๔-๓๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๑๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๗๙. กัปปิยภูมิอนุชานนา
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติวิหารชื่อนี้ให้เป็นกัปปิยภูมิ
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการสมมติวิหารชื่อนี้ให้เป็นกัปปิยภูมิ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
วิหารชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นกัปปิยภูมิแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
สมัยนั้น ชาวบ้านต้มข้าวต้ม หุงข้าวสวย ต้มแกง สับเนื้อ ผ่าฟืนส่งเสียงเซ็งแซ่
อยู่ในกัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติแล้ว
พระผู้มีพระภาคทรงตื่นบรรทมในเวลาเช้ามืด ได้ทรงสดับเสียงเซ็งแซ่และเสียง
การ้อง จึงตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า “อานนท์ เสียงเซ็งแซ่อะไร”
ท่านพระอานนท์ ได้กราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
ทรงอนุญาตกัปปิยภูมิ ๓,๔ ชนิด
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุแล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ที่อันเป็นกัปปิยภูมิซึ่งสงฆ์
สมมติไว้ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกัปปิยภูมิ ๓ ชนิด
คือ
๑. อุสสาวนันติกา (กัปปิยภูมิที่ประกาศให้รู้กันแต่เริ่มสร้าง)
๒. โคนิสาทิกา (กัปปิยภูมิเคลื่อนที่ได้)
๓. คหปติกา (เรือนของคหบดีที่เขาถวายให้เป็นกัปปิยภูมิ)
เรื่องพระยโสชะเป็นไข้
สมัยนั้น ท่านพระยโสชะเป็นไข้ คนทั้งหลายนำเภสัชมาถวายท่าน ภิกษุ
ทั้งหลายให้เก็บเภสัชเหล่านั้นไว้ข้างนอกจึงถูกสัตว์กินบ้าง ขโมยลักไปบ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๑๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๘๐. เมณฑกคหปติวัตถุ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้กัปปิยภูมิที่สงฆ์
สมมติ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกัปปิยภูมิ ๔ ชนิด คือ๑

๑. อุสสาวนันติกา (กัปปิยภูมิที่ประกาศให้รู้กันแต่เริ่มสร้าง)
๒. โคนิสาทิกา (กัปปิยภูมิเคลื่อนที่ได้)
๓. คหปติกา (เรือนคหบดีที่เขาถวายให้เป็นกัปปิยภูมิ)
๔. สัมมติกา (กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ)”

สีหภาณวารที่ ๔ จบ
๑๘๐. เมณฑกคหปติวัตถุ
ว่าด้วยเมณฑกคหบดีถวายปัญจโครสกับเสบียงเดินทาง
[๒๙๖] สมัยนั้น เมณฑกคหบดีอยู่ในเมืองภัททิยะ ท่านมีฤทธานุภาพอย่างนี้
คือ สระเกล้าแล้วให้กวาดฉางข้าว นั่งอยู่นอกประตู สายธารข้าวเปลือกไหลตก
จากอากาศเต็มฉาง

เชิงอรรถ :
๑ กัปปิยภูมิ ๔ เป็นชื่อเรียกสถานที่เก็บโภชนาหารสำหรับภิกษุสงฆ์ มีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้
๑. อุสสาวนันติกา แปลว่า กัปปิยภูมิที่ประกาศให้ได้ยินกัน ได้แก่ กุฎีที่ภิกษุทั้งหลายตั้งใจจะให้เป็น
กัปปิยกุฎี เป็นเรือนที่ใช้เป็นห้องครัวมาตั้งแต่แรก คือ เมื่อขณะทำ ก็ช่วยกันทำโดยประกาศให้ได้ยินทั่วกัน
๓ ครั้งว่า “กปฺปิยกุฏึ กโรม” แปลว่า “เราทั้งหลายทำกัปปิยกุฎี”
๒. โคนิสาทิกา แปลว่า กัปปิยภูมิเหมือนกับที่โคจ่อม ได้แก่ สถานที่ไม่มีรั้วล้อม แบ่งออกเป็น ๒
ประเภท คือ วัดที่ไม่มีรั้วล้อม เรียกว่า อารามโคนิสาทิกา กุฎีที่ไม่มีรั้วล้อม เรียกว่า วิหารโคนิสาทิกา
โดยความก็คือ เรือนครัวเล็ก ๆ ที่ไม่ลงหลักปักฐานมั่นคง สามารถเคลื่อนย้ายได้
๓. คหปติกา เรือนของคหบดี ได้แก่ เรือนของพวกชาวบ้าน เขาถวายให้ภิกษุสงฆ์เพื่อใช้เป็นกัปปิยกุฎี
สถานที่นั้นอาจเคยเป็นที่อยู่ของภิกษุมาก่อน โดยสวดประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
จะใช้ที่แห่งนี้เป็นกัปปิยกุฎีหรือกัปปิยภูมิ
๔. สัมมติกา แปลว่า กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ ได้แก่ สถานที่หรือกุฎีที่ภิกษุทั้งหลายตกลงกันเลือก
ใช้เป็นกัปปิยกุฎี สถานที่นั้นอาจเคยเป็นที่อยู่ของภิกษุมาก่อน โดยสวดประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ
ทุติยกรรมวาจาว่า จะใช้ที่แห่งนี้เป็นกัปปิยกุฎีหรือเป็นกัปปิยภูมิ (วิ.อ. ๓/๒๙๕/๑๘๒-๑๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๒๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๘๐. เมณฑกคหปติวัตถุ
ภรรยาของท่านมีฤทธานุภาพอย่างนี้ คือ นั่งใกล้ถาดข้าวสุกขนาดจุน้ำได้ ๑
อาฬหกะใบเดียวเท่านั้น และหม้อแกง ๑ หม้อ มีภัตตาหารเลี้ยงแก่ทาสและ
กรรมกรได้ ภัตตาหารนั้นย่อมไม่หมดสิ้นไปตลอดเวลาที่นางยังไม่ลุกขึ้น
บุตรของท่านมีฤทธานุภาพอย่างนี้ คือ ถือถุงจุทรัพย์ ๑ พันเพียงถุงเดียวแล้ว
แจกค่าจ้างกลางปีแก่ทาสและกรรมกร ทรัพย์ค่าจ้างนั้นไม่หมดสิ้นไปตลอดเวลาที่
ถุงเงินยังอยู่ในมือของเขา
สะใภ้ของท่านมีฤทธานุภาพอย่างนี้ คือ นั่งใกล้กระบุงที่จุข้าว ๔ ทะนานเพียง
ใบเดียวแล้วแจกภัตตาหารกลางปีแก่ทาสและกรรมกร ภัตตาหารไม่หมดสิ้นไป
ตลอดเวลาที่เธอยังไม่ลุกขึ้น
ทาสของท่านมีฤทธานุภาพอย่างนี้ คือ เมื่อเขาไถนาด้วยไถคันเดียว มีรอยไถ
ถึง ๗ รอย
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐได้ทรงสดับข่าวว่า “เมณฑกคหบดีอยู่ใน
เมืองภัททิยะ เขามีฤทธานุภาพอย่างนี้ คือ สระเกล้าแล้วให้กวาดฉางข้าว นั่งอยู่
นอกประตู สายธารข้าวเปลือกไหลตกจากอากาศเต็มฉาง
ภรรยาของเขามีฤทธานุภาพอย่างนี้ คือ นั่งใกล้ถาดข้าวสุกขนาดจุน้ำได้ ๑
อาฬหกะใบเดียวเท่านั้น และหม้อแกง ๑ หม้อ มีภัตตาหารเลี้ยงแก่ทาสและ
กรรมกรได้ ภัตตาหารนั้นย่อมไม่หมดสิ้นไปตลอดเวลาที่นางยังไม่ลุกขึ้น
บุตรของเขามีฤทธานุภาพอย่างนี้ คือ ถือถุงจุทรัพย์ ๑ พันเพียงถุงเดียว
แล้วแจกค่าจ้างกลางปีแก่ทาสและกรรมกร ทรัพย์ค่าจ้างนั้นไม่หมดสิ้นไปตลอดเวลา
ที่ถุงเงินยังอยู่ในมือของเขา
สะใภ้ของเขามีฤทธานุภาพอย่างนี้ คือ นั่งใกล้กระบุงที่จุข้าว ๔ ทะนานเพียงใบ
เดียวแล้วแจกภัตตาหารกลางปีแก่ทาสและกรรมกร ภัตตาหารนั้นไม่หมดสิ้นไป
ตลอดเวลาที่เธอยังไม่ลุกขึ้น
ทาสของเขามีฤทธานุภาพอย่างนี้ คือ เมื่อเขาไถนาด้วยไถคันเดียว มีรอยไถ
ถึง ๗ รอย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๒๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๘๐. เมณฑกคหปติวัตถุ
ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ตรัสเรียกมหาอมาตย์ผู้สำเร็จ
ราชกิจมารับสั่งว่า “ท่าน เมณฑกคหบดีอาศัยอยู่ในแว่นแคว้นของเรา เขามีฤทธานุภาพ
อย่างนี้ คือ สระเกล้าแล้วให้กวาดฉางข้าว นั่งอยู่นอกประตู สายธารข้าวเปลือกไหล
ตกจากอากาศเต็มฉาง
ภรรยาของเขา ฯลฯ บุตรของเขา ฯลฯ สะใภ้ของเขา ฯลฯ ทาสของเขา
มีฤทธานุภาพอย่างนี้ คือ เมื่อเขาไถนาด้วยไถคันเดียว มีรอยไถถึง ๗ รอย ท่าน
จงไปสืบดูให้รู้เห็นเหมือนอย่างที่เราเห็นด้วยตนเอง”
[๒๙๗] มหาอมาตย์รับสนองพระราชดำรัสแล้ว ออกเดินทางพร้อมด้วยเสนา
๔ เหล่าไปยังเมืองภัททิยะ เข้าไปหาเมณฑกคหบดีถึงที่พำนัก ครั้นถึงแล้ว ได้กล่าว
กับเมณฑกคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี พระราชารับสั่งข้าพเจ้ามาว่า ‘ทราบว่าเมณฑก
คหบดีอาศัยอยู่ในแว่นแคว้นของเรา เขามีฤทธานุภาพอย่างนี้ คือ สระเกล้าแล้วให้
กวาดฉางข้าว นั่งอยู่นอกประตู สายธารข้าวเปลือกไหลตกจากอากาศเต็มฉาง ภรรยา
ของเขา ฯลฯ บุตรของเขา ฯลฯ สะใภ้ของเขา ฯลฯ ทาสของเขา มีฤทธานุภาพ
อย่างนี้ คือ เมื่อเขาไถนาด้วยไถคันเดียว มีรอยไถถึง ๗ รอย ท่านจงไปสืบดูให้
รู้เห็นเหมือนอย่างที่เราเห็นด้วยตนเอง’ คหบดี พวกเราจะดูฤทธานุภาพของท่าน”
ลำดับนั้น เมณฑกคหบดีสระเกล้าแล้วให้กวาดฉางข้าวนั่งอยู่นอกประตู สาย
ธารข้าวเปลือกไหลตกจากอากาศเต็มฉาง
มหาอมาตย์กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเห็นฤทธานุภาพของท่านแล้ว ขอชมฤทธานุ-
ภาพของภรรยาท่าน”
ลำดับนั้น เมณฑกคหบดีสั่งภรรยาว่า “ถ้าอย่างนั้น เธอจงเลี้ยงอาหารแก่เสนา
ทั้ง ๔ เหล่า”
ภรรยาของท่านนั่งใกล้ถาดข้าวสุกขนาดจุน้ำได้ ๑ อาฬหกะใบเดียวเท่านั้น
และหม้อแกงอีก ๑ หม้อ มีภัตตาหารเลี้ยงแก่เสนาทั้ง ๔ เหล่า ภัตตาหารนั้น
ไม่หมดสิ้นไปตลอดเวลาที่นางยังไม่ลุกขึ้น
มหาอมาตย์กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเห็นฤทธานุภาพของภรรยาท่านแล้ว ขอชม
ฤทธานุภาพของบุตรท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๒๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๘๐. เมณฑกคหปติวัตถุ
ลำดับนั้น เมณฑกคหบดีสั่งบุตรว่า “ถ้าอย่างนั้น เธอจงแจกค่าจ้างกลางปี
แก่เสนาทั้ง ๔ เหล่า”
บุตรของเมณฑกคหบดีถือถุงจุทรัพย์ ๑ พันเพียงถุงเดียว แล้วแจกค่าจ้าง
กลางปีแก่เสนาทั้ง ๔ เหล่า ทรัพย์ค่าจ้างนั้นไม่หมดสิ้นไปตลอดเวลาที่ถุงเงินยังอยู่
ในมือของเขา
มหาอมาตย์กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเห็นฤทธานุภาพของบุตรท่านแล้ว ขอชม
ฤทธานุภาพของสะใภ้ท่าน”
ลำดับนั้น เมณฑกคหบดีสั่งสะใภ้ว่า “ถ้าอย่างนั้น เธอจงแจกภัตตาหาร
กลางปีแก่เสนาทั้ง ๔ เหล่า”
สะใภ้ของเมณฑกคหบดีนั่งใกล้กระบุงที่จุข้าวได้ ๔ ทะนานเพียงใบเดียว แล้ว
แจกภัตตาหารกลางปีแก่เสนาทั้ง ๔ เหล่า ภัตตาหารนั้นไม่หมดสิ้นไปตลอดเวลา
ที่นางยังไม่ลุกขึ้น
มหาอมาตย์กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเห็นฤทธานุภาพของสะใภ้ท่านแล้ว ขอชม
ฤทธานุภาพของทาสท่าน”
ท่านเมณฑกคหบดีกล่าวว่า “นาย ท่านต้องไปชมฤทธานุภาพของทาสข้าพเจ้า
ที่นา ขอรับ”
มหาอมาตย์กล่าวว่า “ไม่ต้องละ ข้าพเจ้าได้เห็นฤทธานุภาพของทาสท่านแล้ว”
ครั้นเสร็จราชการนั้น มหาอมาตย์จึงเดินทางกลับถึงกรุงราชคฤห์พร้อมกับเสนา ๔
เหล่า ได้เข้าไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วกราบ
ทูลเรื่องนี้ให้ทรงทราบ
[๒๙๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กรุงเวสาลีตามพระอัธยาศัยแล้ว
เสด็จจาริกไปทางเมืองภัททิยะพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ๑,๒๕๐ รูป พระผู้มี
พระภาคเสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงเมืองภัททิยะ ทราบว่า พระผู้มีพระภาค
ประทับ อยู่ ณ ป่าชาติยาวัน ในเมืองภัททิยะนั้น
เมณฑกคหบดีได้ฟังข่าวว่า “ท่านพระสมณโคดมผู้ศากยบุตร เสด็จออกผนวช
จากศากยตระกูล เสด็จถึงเมืองภัททิยะ ประทับอยู่ ณ ป่าชาติยาวัน ท่านพระโคดม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๒๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๘๐. เมณฑกคหปติวัตถุ
ผู้เจริญนั้น มีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชา
และจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็น
ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค”๑
พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้ว จึงทรงประกาศให้ผู้
อื่นรู้ตามทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลางและมีความ
งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์
ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้ เป็นความดีอย่างแท้จริง”
ครั้งนั้น เมณฑกคหบดี ให้จัดแจงยานพาหนะคันงาม ขึ้นยานพาหนะคันงาม
มียานพาหนะคันงามหลายคันเดินทางออกจากเมืองภัททิยะเพื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
เดียรถีย์จำนวนมากเห็นเมณฑกคหบดีมาแต่ไกล จึงได้กล่าวกับเมณฑก
คหบดีดังนี้ว่า “คหบดี ท่านจะไปไหน”
เมณฑกคหบดีกล่าวว่า “จะไปเฝ้าพระสมณโคดม เจ้าข้า”
พวกเดียรถีย์กล่าวว่า “ท่านเป็นพวกสอนให้ทำ ไฉนจึงจะไปหาพระสมณโคดม
ผู้สอนไม่ให้ทำเล่า เพราะพระสมณโคดม เป็นผู้สอนไม่ให้ทำ แสดงธรรรมเพื่อ
การไม่ให้ทำทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น”
ครั้งนั้น เมณฑกคหบดีได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคจะต้องเป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่ ดังนั้นพวกเดียรถีย์จึงพากันริษยา” แล้วออกเดินทาง
ไปด้วยยานตลอดพื้นที่ที่ยานพาหนะจะไปได้ แล้วลงเดินเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคทรงตรัสอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ

เชิงอรรถ :
๑ ดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๑/๑-๒ (เชิงอรรถ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๒๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๘๐. เมณฑกคหปติวัตถุ
๑. ทานกถา ๒. สีลกถา
๓. สัคคกถา ๔. กามาทีนวกถา
๕. เนกขัมมานิสังสกถา แก่เมณฑกคหบดี ผู้นั่งอยู่ ณ ที่สมควร
เมื่อทรงทราบว่าเมณฑกคหบดีนั้นมีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน
ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ทุกข์
สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดแก่เมณฑก
คหบดีนั้น ณ อาสนะนั้นแลว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น
ทั้งปวงย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา” เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาดปราศจากมลทิน
ควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี
ครั้งนั้น เมณฑกคหบดีได้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว
หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากความแคลงใจ ถึงความเป็นผู้
แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อใครอีกในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดย
ประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนคนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้
หลงทางหรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูป’ พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอ
พระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้เข้าถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้น
ไปจนตลอดชีวิต และขอพระผู้มีพระภาคพร้อมกับภิกษุสงฆ์จงรับภัตตาหารของ
ข้าพระองค์เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ครั้งนั้น เมณฑกคหบดีทราบการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว ได้ลุก
จากอาสนะถวายบังคม ทำประทักษิณแล้วกลับไป โดยล่วงไปแห่งราตรีนั้นได้จัด
เตรียมของเคี้ยวของฉันอันประณีตแล้วให้เจ้าหน้าที่ไปกราบทูลภัตกาลพระผู้มีพระ
ภาคว่า “ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๒๕ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น