Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๕-๕ หน้า ๑๖๘ - ๒๐๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕-๕ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒



พระวินัยปิฎก
มหาวรรค ภาค ๒
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ] ๑๙๘. อปวิลายนนวกะ
ภิกษุนั้นกลับไปยังอาวาสนั้นแล้วถามภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย ส่วน
จีวรของผมอยู่ที่ไหน”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “นี้เป็นส่วนจีวรของท่าน ท่านจะไปไหน”
ภิกษุนั้นจึงตอบอย่างนี้ว่า “ผมจะไปอาวาสโน้น ภิกษุในที่นั้นจะทำจีวรให้ผม”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านอย่าไปเลย พวกเราจะทำจีวรให้ท่านในที่นี้”
ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า “เราจะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ”
ให้ทำจีวรนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๑)
ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะไปสู่ทิศจึงหลีกไป ฯลฯ มีความคิดอย่างนี้ว่า
“เราจะไม่ให้ทำจีวรนี้ จะไม่กลับ” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วย
ตกลงใจ (๒)
ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะไปสู่ทิศจึงหลีกไป ฯลฯ มีความคิดอย่างนี้ว่า
“เราจะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น จีวรที่ภิกษุนั้นให้ทำ
อยู่นั้นเกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้าเสียหาย (๓)
[๓๒๒] ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะไปสู่ทิศจึงหลีกไป แต่ยังหวังได้ส่วนจีวร
พวกภิกษุถามภิกษุนั้นผู้ไปสู่ทิศแล้วว่า “ท่านจำพรรษาที่ไหน ส่วนจีวรของท่าน
อยู่ที่ไหน”
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ผมจำพรรษาในอาวาสโน้น ส่วนจีวรก็อยู่ที่นั้น
เหมือนกัน”
พวกภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านไปนำจีวรนั้นมา พวกเราจะทำจีวรให้ท่านใน
ที่นี้”
ภิกษุนั้นกลับไปยังอาวาสนั้นแล้วถามภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย ส่วน
จีวรของผมอยู่ที่ไหน”
ภิกษุเหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า “นี้เป็นส่วนจีวรของท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๖๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ] ๑๙๘. อปวิลายนนวกะ
ภิกษุนั้นจึงถือเอาจีวรนั้นไปยังอาวาสนั้น ระหว่างทาง พวกภิกษุถามภิกษุนั้น
ว่า “ท่านจะไปไหน” ภิกษุนั้นจึงตอบว่า “ผมจะไปอาวาสโน้น ภิกษุในที่นั้นจะทำ
จีวรให้ผม”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านอย่าไปเลย พวกเราจะทำจีวรให้ท่านในที่นี้”
ภิกษุนั้นคิดว่า “เราจะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น
การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๔)
ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะไปสู่ทิศจึงหลีกไป แต่ยังหวังได้ส่วนจีวร พวก
ภิกษุถามภิกษุนั้นผู้ไปสู่ทิศแล้วว่า “ท่านจำพรรษาที่ไหน ส่วนจีวรของท่านอยู่ที่ไหน”
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ผมจำพรรษาในอาวาสโน้น ส่วนจีวรก็อยู่ที่โน้น
เหมือนกัน”
พวกภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านไปนำจีวรนั้นมา พวกเราจะทำจีวรให้ท่านใน
ที่นี้”
ภิกษุนั้นกลับไปยังอาวาสนั้นแล้วถามภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย ส่วน
จีวรของผมอยู่ที่ไหน” ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า “นี้เป็นส่วนจีวรของท่าน”
ภิกษุนั้นจึงถือเอาจีวรนั้นไปยังอาวาสนั้น ระหว่างทาง พวกภิกษุถามภิกษุนั้น
ว่า “ท่านจะไปไหน” ภิกษุนั้นจึงตอบอย่างนี้ว่า “ผมจะไปอาวาสโน้น ภิกษุในที่
นั้นจะทำจีวรให้ผม”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านอย่าไปเลย พวกเราจะทำจีวรให้ท่านในที่นี้”
ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า “เราจะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ”
ภิกษุนั้นให้ทำจีวรนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยตกลงใจ (๕)
ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะไปสู่ทิศจึงหลีกไป แต่ยังหวังได้ส่วนจีวร พวก
ภิกษุถามภิกษุนั้นผู้ไปสู่ทิศแล้วว่า “ท่านจำพรรษาที่ไหน ส่วนจีวรของท่านอยู่ที่ไหน”
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ผมจำพรรษาในอาวาสโน้น ส่วนจีวรก็อยู่ที่นั้น
เหมือนกัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๖๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ] ๑๙๘. อปวิลายนนวกะ
พวกภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านไปนำจีวรนั้นมา พวกเราจะทำจีวรให้ท่านใน
ที่นี้”
ภิกษุนั้นกลับไปยังอาวาสนั้นแล้วถามภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย ส่วน
จีวรของผมอยู่ที่ไหน” ภิกษุเหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า “นี้เป็นส่วนจีวรของท่าน”
ภิกษุนั้นจึงถือเอาจีวรนั้นไปยังอาวาสนั้น ระหว่างทาง พวกภิกษุถามภิกษุนั้น
ว่า “ท่านจะไปไหน” ภิกษุนั้นจึงตอบอย่างนี้ว่า “ผมจะไปอาวาสโน้น ภิกษุในที่
นั้นจะทำจีวรให้ผม”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านอย่าไปเลย พวกเราจะทำจีวรให้ท่านใน
ที่นี้” ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า “เราจะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ”
ให้ทำจีวรนั้น จีวรที่ภิกษุนั้นให้ทำอยู่นั้นเกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่า
กำหนดด้วยผ้าเสียหาย (๖)
[๓๒๓] ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะไปสู่ทิศจึงหลีกไป แต่ยังหวังได้ส่วนจีวร
พวกภิกษุถามภิกษุนั้นผู้ไปสู่ทิศแล้วว่า “ท่านจำพรรษาที่ไหน ส่วนจีวรของท่านอยู่
ที่ไหน”
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ผมจำพรรษาในอาวาสโน้น ส่วนจีวรก็อยู่ที่นั้น
เหมือนกัน”
พวกภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านไปนำจีวรนั้นมา พวกเราจะทำจีวรให้ท่านใน
ที่นี้”
ภิกษุนั้นกลับไปยังอาวาสนั้นแล้วถามภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย ส่วน
จีวรของผมอยู่ที่ไหน” ภิกษุเหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า “นี้เป็นส่วนจีวรของท่าน”
ภิกษุนั้นจึงถือเอาจีวรนั้นไปยังอาวาสนั้น ไปยังอาวาสนั้นแล้วมีความคิดอย่าง
นี้ว่า “เราจะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น การเดาะ
กฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๗๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ] ๑๙๙. ผาสุวิหารปัญจกะ
ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะไปสู่ทิศจึงหลีกไป ฯลฯ มีความคิดอย่างนี้ว่า
“เราจะไม่ให้ทำจีวรนี้ จะไม่กลับ” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วย
ตกลงใจ (๘)
ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะไปสู่ทิศ ฯลฯ มีความคิดอย่างนี้ว่า “เราจะ
ให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น จีวรที่ภิกษุนั้นให้ทำอยู่นั้น
เกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้าเสียหาย (๙)
อปวิลายนนวกะ จบ
๑๙๙. ผาสุวิหารปัญจกะ
ว่าด้วยการเดาะกฐินเพราะหวังอยู่ผาสุก ๕ กรณี
[๓๒๔] ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะอยู่ผาสุก จึงถือจีวรหลีกไป คิดว่า
“เราจะไปยังอาวาสโน้น ถ้าในอาวาสนั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะไปยัง
อาวาสโน้น ถ้าในอาวาสนั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะไปยังอาวาสโน้น
ถ้าในอาวาสนั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะกลับ” อยู่นอกสีมามีความคิด
อย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” เธอให้ทำจีวรนั้น การเดาะ
กฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๑)
ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะอยู่ผาสุก จึงถือจีวรหลีกไป คิดว่า “เราจะไป
ยังอาวาสโน้น ถ้าในอาวาสนั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะไปยังอาวาสโน้น
ถ้าในอาวาสนั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะไปยังอาวาสโน้น ถ้าในอาวาส
นั้น เราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะกลับ” อยู่นอกสีมา มีคความคิดอย่างนี้ว่า
“จะไม่ให้ทำจีวรนี้ จะไม่กลับ” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วย
ตกลงใจ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๗๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ] ๑๙๙. ผาสุวิหารปัญจกะ
ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะอยู่ผาสุก จึงถือจีวรหลีกไปคิดว่า “เราจะไปยัง
อาวาสโน้น ถ้าในอาวาสนั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะไปยังอาวาสโน้น
ถ้าในอาวาสนั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะไปยังอาวาสโน้น ถ้าในอาวาส
นั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะกลับ” อยู่นอกสีมา มีความคิดอย่างนี้ว่า
“จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น จีวรที่ภิกษุนั้นให้ทำอยู่
นั้นเกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้าเสียหาย (๓)
ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะอยู่อย่างผาสุก จึงถือจีวรหลีกไปคิดว่า “เราจะไปยัง
อาวาสโน้น ถ้าในอาวาสนั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะไปยังอาวาสโน้น
ถ้าในอาวาสนั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะไปยังอาวาสโน้น ถ้าในอาวาส
นั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะกลับ” อยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรนั้น ทำจีวร
เสร็จแล้วคิดว่า “จะกลับ จะกลับ” จนล่วงคราวกฐินเดาะนอกสีมา การเดาะกฐิน
ของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยล่วงเขต (๔)
ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะอยู่ผาสุก จึงถือจีวรหลีกไปคิดว่า “เราจะไปยัง
อาวาสโน้น ถ้าในอาวาสนั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะไปยังอาวาสโน้น
ถ้าในอาวาสนั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะไปยังอาวาสโน้น ถ้าในอาวาส
นั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะกลับ” อยู่นอกสีมาให้ทำจีวรนั้น ทำจีวร
เสร็จแล้วคิดว่า “จะกลับ” กลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่า
เดาะพร้อมกันกับภิกษุทั้งหลาย (๕)
ผาสุวิหารปัญจกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๗๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ] ๒๐๐. ปลิโพธาปลิโพธกถา
๒๐๐. ปลิโพธาปลิโพธกถา
ว่าด้วยปลิโพธและอปลิโพธ
ปลิโพธ ๒ อย่าง๑
[๓๒๕] ภิกษุทั้งหลาย กฐินมีปลิโพธ ๒ อย่าง มีอปลิโพธ ๒ อย่าง
ภิกษุทั้งหลาย ปลิโพธ ๒ อย่าง คือ
๑. อาวาสปลิโพธ (ความกังวลในอาวาสเพราะคิดจะกลับมา)
๒. จีวรปลิโพธ (ความกังวลในจีวรเพราะยังไม่ได้ทำจีวรหรือทำยังไม่เสร็จ)
ภิกษุทั้งหลาย อาวาสปลิโพธ คือ ในกรณีนี้ ภิกษุยังอยู่ในอาวาสนั้น หรือ
หลีกไปแต่ผูกใจว่า “จะกลับ” อย่างนี้ชื่อว่าอาวาสปลิโพธ
ภิกษุทั้งหลาย จีวรปลิโพธ คือ ในกรณีนี้ ภิกษุยังไม่ได้ทำจีวรหรือทำ
จีวรค้างไว้ หรือความหวังว่าจะได้จีวรยังไม่สิ้นสุดลง อย่างนี้ชื่อว่าจีวรปลิโพธ
ภิกษุทั้งหลาย กฐินมีปลิโพธ ๒ อย่างนี้แหละ
ภิกษุทั้งหลาย กฐินมีอปลิโพธ ๒ อย่าง คือ
๑. อาวาสอปลิโพธ (ไม่มีความกังวลในอาวาส)
๒. จีวรอปลิโพธ (ไม่มีความกังวลในจีวร)
ภิกษุทั้งหลาย อาวาสอปลิโพธ คือ ในกรณีนี้ ภิกษุหลีกไปจากอาวาส
นั้น สละ คาย ปล่อยวาง ไม่ผูกใจ คิดว่า “จะไม่กลับมา” อย่างนี้ชื่อว่าอาวาส
อปลิโพธ

เชิงอรรถ :
๑ ปลิโพธ ในทางพระวินัย หมายถึงความกังวลที่เป็นเหตุให้กฐินยังไม่เดาะ คือยังรักษาอานิสงส์กฐินและ
เขตแห่งจีวรกาล ตามกำหนดไว้ได้ ถ้าภิกษุหลีกไปโดยคิดว่า “จะไม่กลับมาอีก” จีวรปลิโพธขาดก่อน
ในขณะที่อยู่ภายในสีมานั่นเอง อาวาสปลิโพธขาดในขณะเมื่อก้าวล่วงสีมาไปแล้ว (วิ.อ. ๓/๓๑๑/๑๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๗๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ] ๒๐๑. รวมเรื่องที่มีในกฐินขันธกะ
ภิกษุทั้งหลาย จีวรอปลิโพธ คือ ในกรณีนี้ ภิกษุทำจีวรเสร็จแล้ว จีวร
เสียหาย สูญหาย หรือถูกไฟไหม้ หรือความหวังว่าจะได้จีวรสิ้นสุดลง อย่างนี้ชื่อ
ว่าจีวรอปลิโพธ
ภิกษุทั้งหลาย กฐินอปลิโพธ ๒ อย่างนี้แล
ปลิโพธาปลิโพธกถา จบ
กฐินขันธกะที่ ๗ จบ
เรื่องในขันธกะนี้มี ๑๒ เรื่อง และเปยยาลมุข ๑๑๘ เรื่อง
๒๐๑. รวมเรื่องที่มีในกฐินขันธกะ
เรื่องภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ ๓๐ รูป เข้าจำพรรษา ณ
เมืองสาเกต ออกพรรษาแล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยทั้ง
จีวรชุ่มชื้นด้วยน้ำ
เรื่องอานิสงส์กฐิน ๕ อย่าง คือ
๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา
๒. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ
๓. ฉันคณโภชนะได้
๔. ทรงอติเรกจีวรไว้ได้ตามต้องการ
๕. พวกเธอจะได้จีวรที่เกิดขึ้นในที่นั้น
เรื่องวิธีกรานกฐินและญัตติทุติยกรรมวาจาสำหรับกรานกฐิน
เรื่องกฐินไม่เป็นอันกราน คือ
๑. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงมีรอยขีด
๒. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงซักผ้า
๓. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงกะผ้า
๔. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงตัดผ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๗๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ] ๒๐๑. รวมเรื่องที่มีในกฐินขันธกะ
๕. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงเนาผ้า
๖. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงเย็บผ้า
๗. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงทำลูกดุม
๘. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงทำรังดุม
๙. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงติดผ้าอนุวาต
๑๐. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงติดผ้าอนุวาตด้านหน้า
๑๑. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงดามผ้า
๑๒. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงย้อมผ้าเป็นสีหม่น
๑๓. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่ทำนิมิตได้มา
๑๔. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่พูดเลียบเคียงได้มา
๑๕. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่ยืมเขามา
๑๖. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน
๑๗. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์
๑๘. กฐินไม่เป็นอันกรานด้ายผ้าที่ไม่ทำพินทุ
๑๙. กฐินไม่เป็นอันกรานเว้นจากสังฆาฏิ
๒๐. กฐินไม่เป็นอันกรานเว้นจากอุตตราสงค์
๒๑. กฐินไม่เป็นอันกรานเว้นจากอันตรวาสก
๒๒. กฐินไม่เป็นอันกรานเว้นจากจีวรมีขันธ์ ๕ หรือ
เกิน ๕ ซึ่งตัดดีแล้วทำให้มีมณฑลเสร็จในวันนั้น
๒๓. กฐินไม่เป็นอันกรานเว้นจากบุคคลกราน
๒๔. กฐินไม่เป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้อยู่นอกสีมาอนุโมทนากฐินนั้น
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่าย่อมไม่เป็นอันกราน
เรื่องกฐินเป็นอันกราน คือ
๑. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าใหม่
๒. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าเทียมใหม่
๓. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าเก่า
๔. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าบังสุกุล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๗๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ] ๒๐๑. รวมเรื่องที่มีในกฐินขันธกะ
๕. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ตกตามร้าน
๖. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้ทำนิมิตได้มา
๗. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้พูดเลียบเคียงได้มา
๘. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้ยืมเขามา
๙. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้เก็บไว้ค้างคืน
๑๐. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่เป็นนิสสัคคีย์
๑๑. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ทำพินทุ
๑๒. กฐินเป็นอันกรานด้วยสังฆาฏิ
๑๓. กฐินเป็นอันกรานด้วยอุตตราสงค์
๑๔. กฐินเป็นอันกรานด้วยอันตรวาสก
๑๕. กฐินเป็นอันกรานด้วยจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกิน ๕ ที่ตัดดีแล้ว
ทำให้มีมณฑลเสร็จในวันนั้น
๑๖. กฐินเป็นอันกรานเพราะมีบุคคลกราน
๑๗. กฐินเป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้อยู่ในสีมาอนุโมทนากฐินนั้น
อย่างนี้ชื่อกฐินเป็นอันกราน
เรื่องกฐินเดาะด้วยมาติกา ๘ ข้อ คือ
๑. กำหนดด้วยหลีกไป
๒. กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ
๓. กำหนดด้วยตกลงใจ
๔. กำหนดด้วยผ้าเสียหาย
๕. กำหนดด้วยได้ทราบข่าว
๖. กำหนดด้วยสิ้นหวัง
๗. กำหนดด้วยล่วงเขต
๘. กำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน
อาทายสัตตกะ ว่าด้วยการเดาะกฐินด้วยการถือจีวรหลีกไป
๗. กรณี คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๗๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ] ๒๐๑. รวมเรื่องที่มีในกฐินขันธกะ
๑. ถือจีวรที่ทำเสร็จแล้วหลีกไป คิดว่าจะไม่กลับ
การเดาะกฐินของภิกษุนั้นชื่อว่ากำหนดด้วยการหลีกไป
๒. ถือจีวรหลีกไปอยู่นอกสีมา คิดว่าจะทำ ณ ที่นี้ จะไม่กลับ
การเดาะกฐินของภิกษุนั้นชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ
๓. ถือจีวรหลีกไปอยู่นอกสีมา คิดว่าจะไม่ให้ทำ จะไม่กลับ
การเดาะกฐินของภิกษุนั้นชื่อว่ากำหนดด้วยตกลงใจ
๔. ถือจีวรหลีกไปอยู่นอกสีมา คิดว่าจะให้ทำจีวร ณ ที่นี้
จะไม่กลับ กำลังทำจีวรเสียหาย การเดาะกฐิน
ของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้าเสียหาย
๕. ถือจีวรไป คิดว่าจะกลับ ให้ทำจีวรนอกสีมา ครั้นทำ
จีวรเสร็จแล้ว ได้ทราบข่าวว่า ในอาวาสนั้น กฐินเดาะแล้ว
การเดาะกฐินของภิกษุนั้นชื่อว่ากำหนดด้วยได้ทราบข่าว
๖. ถือจีวรไป คิดว่าจะกลับ ให้ทำจีวรนอกสีมา ครั้นทำ
จีวรเสร็จแล้วโอ้เอ้อยู่นอกสีมาจนกฐินเดาะ การเดาะกฐิน
ของภิกษุนั้นชื่อว่ากำหนดด้วยล่วงเขต
๗. ถือจีวรไป คิดว่าจะกลับ ให้ทำจีวร ณ ภายนอกสีมา ครั้นทำ
จีวรเสร็จแล้ว คิดว่าจะกลับ จะกลับ กลับทันกฐินเดาะ
การเดาะกฐินของภิกษุนั้นชื่อว่าพร้อมกันกับภิกษุทั้งหลาย
สมาทายสัตตกะ ว่าด้วยการเดาะกฐินด้วยการนำ
จีวรติดตัวหลีกไป ๗ กรณี
อาทายฉักกะและสมาทายฉักกะ ว่าด้วยการ
เดาะกฐินด้วยการถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ๖ กรณี
และการเดาะกฐินด้วยการนำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป
๖ กรณี คือ ถือจีวรที่ทำค้างไว้อย่างละ ๖ กรณี
ไม่มีการเดาะกำหนดด้วยหลีกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๗๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ] ๒๐๑. รวมเรื่องที่มีในกฐินขันธกะ
อาทายภาณวาร ว่าด้วยการเดาะกฐินด้วยกรณีถือจีวรหลีกไป
๑๕ กรณี เป็นต้น กล่าวถึงภิกษุถือจีวรไปนอกสีมา คิดว่า
จะให้ทำจีวร มี ๓ มาติกา คือ
๑. กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ
๒. กำหนดด้วยตกลงใจ
๓. กำหนดด้วยผ้าเสียหาย กล่าวถึงภิกษุถือผ้า คิดว่า
จะไม่กลับไปนอกสีมา แล้วคิดว่าจะทำ มี ๓ มาติกา คือ
๑. กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ
๒. กำหนดด้วยตกลงใจ
๓. กำหนดด้วยผ้าเสียหาย กล่าวถึงภิกษุถือจีวรหลีกไป
ด้วยไม่ได้ตั้งใจ ภายหลังคิดว่า จะไม่กลับ มี ๓ นัย
กล่าวถึงภิกษุถือจีวรไป คิดว่า จะกลับ อยู่นอกสีมา คิดว่า
จะทำจีวร จะไม่กลับ ให้ทำจีวรเสร็จ การเดาะกฐินของ
ภิกษุนั้นชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ ด้วยตกลงใจ
ด้วยผ้าเสียหาย ด้วยได้ทราบข่าว ด้วยล่วงเขต ด้วยเดาะ
พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย รวมเป็น ๑๕ ภิกษุนำจีวรหลีกไป
และนำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปอีก ๔ วาระก็เหมือนกัน
รวมทั้งหมด ๑๕ วิธี หลีกไปด้วยสิ้นหวัง ด้วยหวังว่าจะได้
หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง ทั้ง ๓ อย่างนั้น
นักปราชญ์พึงทราบโดยนัยอย่างละ ๑๒ วิธี
ผาสุวิหารปัญจกะ ว่าด้วยการเดาะกฐินเพราะหวังอยู่
สบาย ๕ กรณี
ปลิโพธาปลิโพธกถา ว่าด้วยปลิโพธและอปลิโพธ
พระวินัยธรพึงแต่งหัวข้อตามเค้าความเทอญ
กฐินขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๗๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๐๒. ชีวกวัตถุ
๘. จีวรขันธกะ
๒๐๒. ชีวกวัตถุ
ว่าด้วยหมอชีวกโกมารภัจ
เรื่องคณะกุฎุมพีชาวกรุงราชคฤห์พบหญิงงามเมืองชื่ออัมพปาลี
[๓๒๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน
สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น กรุงเวสาลีเป็นถิ่นอุดมสมบูรณ์
มีอาณาเขตกว้างขวาง พลเมืองมาก มีคนคับคั่ง หาข้าวปลาอาหารง่าย มีปราสาท
๗,๗๐๗ เรือนยอด ๗,๗๐๗ สวนดอกไม้ ๗,๗๐๗ สระโบกขรณี ๗,๗๐๗ และ
มีหญิงงามเมืองชื่ออัมพปาลี รูปงาม น่าดู น่าชม มีผิวพรรณผุดผ่องอย่างยิ่ง
เธอชำนาญการฟ้อนรำ ขับร้อง และประโคมดนตรี คนทั้งหลายที่ต้องการจะพา
เธอไปร่วมอภิรมย์ด้วยต้องจ่ายค่าตัวถึงคืนละ ๕๐ กหาปณะ ก็เพราะนางอัมพปาลี
นี่แหละที่ทำให้กรุงเวสาลีมีเสน่ห์และมีความงดงามเป็นพิเศษ
ครั้งนั้น คณะกุฎุมพีชาวกรุงราชคฤห์ เดินทางไปกรุงเวสาลีด้วยธุระจำเป็น
บางอย่าง ได้พบเห็นกรุงเวสาลีที่อุดมสมบูรณ์ มีอาณาเขตกว้างขวาง พลเมืองมาก
มีคนคับคั่ง หาข้าวปลาอาหารง่าย มีปราสาท ๗,๗๐๗ เรือนยอด ๗,๗๐๗
สวนดอกไม้ ๗,๗๐๗ สระโบกขรณี ๗,๗๐๗ และมีหญิงงามเมืองชื่ออัมพปาลี
มีรูปงาม น่าดู น่าชม มีผิวพรรณผุดผ่องอย่างยิ่ง เธอชำนาญการฟ้อนรำ ขับร้อง
และประโคมดนตรี คนทั้งหลายที่ต้องการจะพาเธอไปร่วมอภิรมย์ด้วย ต้องจ่ายค่า
ตัวถึงคืนละ ๕๐ กหาปณะ ก็เพราะนางอัมพปาลีนี่แหละที่ทำให้กรุงเวสาลีมีเสน่ห์
และมีความงดงามเป็นพิเศษ
[๓๒๗] ครั้นคณะกุฎุมพีชาวกรุงราชคฤห์เสร็จธุระที่จำเป็นในกรุงเวสาลีแล้ว
เดินทางกลับมายังกรุงราชคฤห์ เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐได้กราบทูล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๗๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๐๒. ชีวกวัตถุ
ว่า “ขอเดชะ กรุงเวสาลีเป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ มีอาณาเขตกว้างขวาง พลเมืองมาก
มีคนคับคั่ง หาข้าวปลาอาหารง่าย มีปราสาท ๗,๗๐๗ เรือนยอด ๗,๗๐๗
สวนดอกไม้ ๗,๗๐๗ สระโบกขรณี ๗,๗๐๗ และมีหญิงงามเมืองชื่ออัมพปาลี
มีรูปงาม น่าดู น่าชม มีผิวพรรณผุดผ่องอย่างยิ่ง เธอชำนาญการฟ้อนรำ ขับร้อง
และประโคมดนตรี คนทั้งหลายที่ต้องการจะพาเธอไปร่วมอภิรมย์ด้วย ต้องจ่ายค่า
ตัวถึงคืนละ ๕๐ กหาปณะ ก็เพราะนางอัมพปาลีนี่แหละที่ทำให้กรุงเวสาลีมีเสน่ห์
และมีความงดงามเป็นพิเศษ ขอเดชะ แม้ชาวเราตั้งตำแหน่งหญิงงามเมืองขึ้นบ้าง
ก็จะเป็นการดี”
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐรับสั่งว่า “พนาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงหา
เด็กสาวผู้มีความงามอย่างนั้นที่ควรคัดเลือกให้เป็นหญิงงามเมือง”
เรื่องบุตรของหญิงงามเมืองชื่อสาลวดี
ก็สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีเด็กสาวชื่อสาลวดีมีรูปงาม น่าดู น่าชม มีผิว
พรรณผุดผ่องอย่างยิ่ง คณะกุฎุมพีชาวกรุงราชคฤห์จึงคัดเลือกเธอให้เป็นหญิงงามเมือง
เมื่อเธอได้รับเลือกไม่นานนักก็เป็นผู้ชำนาญในการฟ้อนรำ ขับร้อง และประโคมดนตรี
คนทั้งหลายที่ต้องการจะพาเธอไปร่วมอภิรมย์ด้วย ต้องจ่ายค่าตัวถึงคืนละ ๑๐๐
กหาปณะ ต่อมาเธอมีครรภ์จึงคิดว่า “ธรรมดาสตรีมีครรภ์ไม่เป็นที่ชอบใจของบุรุษ
ถ้าใครทราบว่าเรามีครรภ์ ลาภผลของเราจะเสื่อมหมด อย่ากระนั้นเลย เราควรแจ้ง
ว่าเราป่วย” แล้วได้สั่งคนเฝ้าประตูไว้ว่า “นายประตู ท่านอย่าอนุญาตให้ชายใดเข้ามา
ถ้ามีคนถามหาดิฉัน ก็จงตอบให้เขาทราบว่าดิฉันเป็นไข้”
คนเฝ้าประตูนั้นรับคำของหญิงงามเมืองชื่อสาลวดีว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งนั้น
ต่อมา เมื่อนางมีครรภ์ครบกำหนดคลอดจึงได้คลอดบุตรชาย ได้กำชับหญิงรับใช้
ว่า “แม่สาวใช้ เธอจงวางทารกคนนี้ในกระด้งเก่า ๆ แล้วนำออกไปทิ้งที่กองขยะ”
หญิงรับใช้รับคำแล้ววางทารกลงในกระด้งเก่า ๆ นำออกไปทิ้งที่กองขยะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๘๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๐๒. ชีวกวัตถุ
[๓๒๘] ก็เวลานั้นเป็นเวลาเช้า เจ้าชายอภัยกำลังเสด็จเข้าสู่พระราชวัง ได้ทอด
พระเนตรเห็นทารกนั้นถูกฝูงกาแวดล้อม จึงตรัสถามคนทั้งหลายว่า “พนาย ฝูงกา
รุมล้อมอะไร”
คนเหล่านั้นกราบทูลว่า “ทารกพระเจ้าข้า”
เจ้าชายอภัยตรัสถามว่า “เขายังมีชีวิตอยู่หรือ”
คนเหล่านั้นกราบทูลว่า “ยังมีชีวิตอยู่ พระเจ้าข้า”
เจ้าชายอภัยตรัสถามว่า “ถ้าเช่นนั้น จงนำทารกไปในพระราชวังของเรามอบให้
แม่นมดูแล”
คนเหล่านั้นรับสนองพระบัญชาแล้ว นำทารกนั้นไปวังเจ้าชายมอบให้แม่นมว่า
“โปรดเลี้ยงไว้ด้วย” แล้วตั้งชื่อทารกนั้นว่า “ชีวก” เพราะบ่งถึงคำว่า “ยังมีชีวิตอยู่”
ตั้งชื่อว่า “โกมารภัจ” เพราะเป็นผู้ที่เจ้าชายรับสั่งให้เลี้ยงไว้
ไม่นานนัก ชีวกโกมารภัจ เจริญวัยรู้เดียงสา เขาเข้าเฝ้าเจ้าชายอภัยกราบ
ทูลถามว่า “ใครคือบิดามารดาของเกล้ากระหม่อม พระเจ้าข้า”
เจ้าชายอภัยรับสั่งว่า “พ่อชีวก แม้ตัวเราก็ไม่รู้จักมารดาของเจ้า แต่เราคือ
บิดาของเจ้า เพราะเราให้เลี้ยงเจ้าไว้”
ชีวกโกมารภัจคิดว่า “คนที่ไม่มีศิลปะจะเข้าพึ่งราชสกุลนี้ได้ยาก อย่ากระนั้น
เลย เราควรเรียนศิลปวิทยาไว้”
เรื่องชีวกเดินทางไปกรุงตักกสิลา
[๓๒๙] สมัยนั้น นายแพทย์ทิศาปาโมกข์๑ตั้งสำนักอยู่ ณ กรุงตักกสิลา
ชีวกโกมารภัจไม่กราบทูลลาเจ้าชายอภัย ลอบเดินทางรอนแรมไปจนถึงกรุงตักกสิลา
เข้าไปหานายแพทย์ผู้นั้นแล้วบอกว่า “ท่านอาจารย์ ผมใคร่จะศึกษาศิลปวิทยา”

เชิงอรรถ :
๑ ทิศาปาโมกข์ หมายถึง มีชื่อเสียง ปรากฏเป็นที่รู้จัก หรือเป็นหัวหน้าอยู่ในทิศทั้งปวง (วิ.อ. ๓/๓๒๙/
๒๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๘๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๐๓. เสฏฐิภริยาวัตถุ
นายแพทย์กล่าวว่า “พ่อชีวก ถ้าเช่นนั้นเธอจงศึกษาเถิด”
ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจเรียนได้มาก เรียนได้รวดเร็ว ทรงจำได้ดี ที่เรียนไว้ก็ไม่
ลืมเลือน พอล่วงมาได้ ๗ ปี จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราเรียนได้มาก เรียนได้
รวดเร็ว ทรงจำได้ดี ที่เรียนไว้ก็ไม่ลืมเลือน และเรียนมาถึง ๗ ปีแล้วก็ยังไม่จบ
ศิลปวิทยานี้ เมื่อไรจะจบศิลปวิทยานี้สักที” ลำดับนั้น ชีวกโกมารภัจ เข้าไปหา
นายแพทย์ ณ ที่อยู่ถามว่า “ท่านอาจารย์ ผมเรียนศิลปวิทยาได้มาก เรียนได้เร็ว
ทรงจำได้ดี ที่เรียนไว้ก็ไม่ลืมเลือน และเรียนมาถึง ๗ ปีแล้วก็ยังไม่จบศิลปวิทยานี้
เมื่อไรจะจบศิลปวิทยานี้สักทีเล่าขอรับ”
นายแพทย์ตอบว่า “พ่อชีวก ถ้าเช่นนั้นเธอจงถือเสียมแล้วเที่ยวไปรอบ ๆ
กรุงตักกสิลาในระยะ ๑ โยชน์ พบสิ่งที่ไม่ใช่ตัวยาก็จงนำมาด้วย”
ชีวกโกมารภัจรับคำของนายแพทย์แล้วถือเสียมเดินไปรอบ ๆ กรุงตักกสิลา
ในระยะ ๑ โยชน์ ไม่พบเห็นสิ่งใดที่ไม่เป็นตัวยาสักอย่างเดียว จึงเดินทางกลับไป
หานายแพทย์ ณ ที่อยู่ กราบเรียนว่า “ท่านอาจารย์ ผมเดินไปรอบ ๆ กรุง
ตักกสิลาในระยะ ๑ โยชน์แล้ว ไม่พบเห็นสิ่งใดที่ไม่เป็นตัวยาสักอย่างหนึ่ง”
นายแพทย์บอกว่า “พ่อชีวก เธอเรียนได้ดีแล้ว ความรู้เท่านี้พอครองชีพได้”
แล้วได้ให้เสบียงเดินทางเล็กน้อยแก่ชีวกโกมารภัจ
ต่อมา ชีวกโกมารภัจถือเสบียงออกเดินทางมุ่งไปกรุงราชคฤห์ ระหว่างทาง
เสบียงหมดลงที่กรุงสาเกต ได้ตระหนักว่า ทางเหล่านี้กันดาร ขาดแคลนน้ำและ
อาหาร คนไม่มีเสบียงเดินทางไปจะลำบาก ถ้ากระไร เราพึงหาเสบียงทาง”
๒๐๓. เสฏฐิภริยาวัตถุ
ว่าด้วยภรรยาเศรษฐีปวดศีรษะ
[๓๓๐] สมัยนั้น ภรรยาเศรษฐีกรุงสาเกต ป่วยเป็นโรคปวดศีรษะ เป็นเวลา
๗ ปี นายแพทย์ทิศาปาโมกข์คนสำคัญหลายคนมารักษา ก็ไม่สามารถรักษา
ให้หายได้ ได้เงินไปเป็นจำนวนมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๘๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๐๓. เสฏฐิภริยาวัตถุ
ชีวกโกมารภัจเดินทางเข้ากรุงสาเกต สอบถามคนทั้งหลายว่า “พนาย ใคร
เจ็บไข้บ้าง ผมจะรักษาใคร”
คนเหล่านั้น ตอบว่า “ท่านอาจารย์ ภรรยาเศรษฐีป่วยเป็นโรคปวดศีรษะอยู่
๗ ปี เชิญท่านไปรักษานางเถิด”
ชีวกโกมารภัจเดินทางไปถึงถิ่นที่อยู่ของเศรษฐีคหบดีสั่งคนเฝ้าประตูว่า “นี่แน่ะ
นายประตู ท่านไปกราบเรียนภรรยาเศรษฐีว่า หมอมาแล้วขอรับ เขาจะเยี่ยมภรรยา
ท่านเศรษฐี”
คนเฝ้าประตูรับคำแล้วเข้าไปหาภรรยาเศรษฐีกราบเรียนว่า “หมอมาแล้วขอรับ
เขาจะเยี่ยมคุณนาย”
ภรรยาเศรษฐีถามว่า “หมอเป็นคนเช่นไร”
คนเฝ้าประตูตอบว่า “เป็นหมอหนุ่ม ขอรับ”
ภรรยาเศรษฐีกล่าวว่า “อย่าเลย หมอหนุ่มจะช่วยอะไรฉันได้ นายแพทย์ทิศา
ปาโมกข์คนสำคัญหลายคน มารักษาก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ได้เงินไปเป็น
จำนวนมาก”
นายประตูออกมาหาชีวกโกมารภัจแล้วบอกว่า “ท่านอาจารย์ ภรรยาเศรษฐี
บอกว่า ‘ไม่ละ หมอหนุ่มจะช่วยอะไรฉันได้ นายแพทย์ทิศาปาโมกข์’ คนสำคัญ
หลายคน มารักษาก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ได้เงินไปเป็นจำนวนมาก”
ชีวกโกมารภัจกล่าวว่า “ท่านไปกราบเรียนภรรยาเศรษฐีว่า คุณนาย หมอสั่ง
มาว่า คุณนายอย่าเพิ่งให้อะไร ๆ ต่อเมื่อโรคหายแล้วจึงค่อยให้สิ่งที่ประสงค์จะให้
ก็ได้”
นายประตูรับคำของชีวกโกมารภัจเข้าไปหาภรรยาเศรษฐีแล้วกราบเรียนตามนั้น
ภรรยาเศรษฐีตอบว่า “ถ้าเช่นนั้น เชิญคุณหมอเข้ามาได้”
นายประตูรับคำของภรรยาเศรษฐีแล้วเข้าไปหาชีวกโกมารภัจบอกว่า “ท่าน
อาจารย์ ภรรยาเศรษฐีขอเชิญท่านเข้าไป”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๘๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๐๓. เสฏฐิภริยาวัตถุ
ลำดับนั้นชีวกโกมารภัจเข้าไปหาภรรยาเศรษฐี ตรวจดูอาการของโรคแล้ว
บอกว่า “คุณนายขอรับ ผมต้องการเนยใส ๑ ซองมือ” เมื่อภรรยาเศรษฐีให้หา
เนยใสมา ๑ ซองมือแล้ว เขาจึงหุงเนยใสนั้นกับยาต่าง ๆ ให้ภรรยาเศรษฐีนอนหงาย
บนเตียงแล้วนัตถุ์ยา ขณะนั้นเนยใสที่นัตถุ์เข้าไปได้พุ่งออกทางปาก
ภรรยาเศรษฐีถ่มเนยใสนั้นลงกระโถนสั่งหญิงรับใช้ว่า “แม่สาวใช้ เธอจงเอา
สำลีซับเนยใสนี้ไว้”
ขณะนั้นชีวกโกมารภัจตระหนักว่า “แปลกจริง ๆ แม่บ้านคนนี้ช่างสกปรกนัก
เนยใสที่ต้องทิ้งก็ยังให้หญิงรับใช้เอาสำลีซับไว้อีก ส่วนยาของเรามีราคาแพงมากกว่า
จะปล่อยให้เสีย เธอจะให้ไทยธรรมอะไรแก่เราบ้างนะ”
ภรรยาเศรษฐีสังเกตอาการของเขาจึงถามว่า “แปลกใจอะไรหรืออาจารย์”
ชีวกโกมารภัจจึงเล่าเรื่องนั้นให้ทราบ
ภรรยาเศรษฐีตอบว่า “อาจารย์ ดิฉันเป็นคนมีครอบครัว จำเป็นจะต้องรู้จัก
สิ่งที่ควรเก็บไว้ใช้ เนยใสนี้ยังดีอยู่จะใช้เป็นยาสำหรับทาเท้าพวกทาสหรือกรรมกร
ก็ได้ ใช้เป็นน้ำมันเติมตะเกียงก็ได้ ท่านอย่าวิตกไปเลย รางวัลของท่านจะไม่ลดลง”
ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจได้รักษาโรคปวดศีรษะของภรรยาเศรษฐี ซึ่งเป็นเรื้อรัง
มาถึง ๗ ปี ให้หายได้โดยวิธีนัตถุ์ยาครั้งเดียวเท่านั้น ครั้นภรรยาเศรษฐีหายโรค
แล้วจึงให้รางวัลแก่เขาเป็นเงิน ๔,๐๐๐ กหาปณะ บุตรเศรษฐีคหบดีพอได้ทราบ
ว่ามารดาของตนหายดีเป็นปกติ จึงให้รางวัลเพิ่มอีก ๔,๐๐๐ กหาปณะ สะใภ้พอ
ได้ทราบว่าแม่ผัวของตนหายดีเป็นปกติ จึงให้รางวัลเพิ่มอีก ๔,๐๐๐ กหาปณะ
เศรษฐีคหบดีพอได้ทราบว่าภรรยาของตนหายเป็นปกติ จึงให้รางวัลเพิ่มอีก ๔,๐๐๐
กหาปณะ พร้อมกับให้ทาส ทาสี และรถม้า
ชีวกโกมารภัจรับเงิน ๑๖,๐๐๐ กหาปณะ พร้อมกับทาส ทาสี และรถม้า
ออกเดินทางไปกรุงราชคฤห์ ครั้นถึงแล้วได้เข้าเฝ้าเจ้าชายอภัย กราบทูลว่า “เงิน
๑๖,๐๐๐ กหาปณะ พร้อมกับทาส ทาสี และรถม้านี้เป็นผลตอบแทนครั้งแรก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๘๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๐๔. พิมพิสารราชวัตถุ
ของเกล้ากระหม่อม ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดรับค่าเลี้ยงดูของเกล้ากระหม่อม
ด้วยเถิด พระเจ้าข้า”
เจ้าชายอภัยรับสั่งว่า “อย่าเลยพ่อชีวก ทรัพย์นี้เป็นของเจ้าคนเดียว เจ้าสร้าง
บ้านอยู่ในวังของเราเถิด”
ชีวกโกมารภัจกราบทูลรับพระบัญชาว่า “เป็นพระมหากรุณาอย่างยิ่ง พระเจ้าข้า”
แล้วได้สร้างบ้านอยู่ในวังของเจ้าชายอภัย
๒๐๔. พิมพิสารราชวัตถุ
ว่าด้วยพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
เรื่องรักษาโรคริดสีดวงทวารของพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
[๓๓๑] สมัยนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ทรงประชวรเป็นริดสีดวง
ทวาร พระภูษาเปื้อนพระโลหิต
พวกนางสนมเห็นจึงพากันหัวเราะเยาะว่า “เวลานี้พระราชาทรงมีระดู ต่อม
พระโลหิตเกิดแก่พระองค์ อีกไม่นานก็จะมีพระประสูติกาล”
ท้าวเธอทรงเก้อเขินเพราะคำหัวเราะเยาะของพวกนางสนม ทรงเล่าเรื่องนั้นให้
เจ้าชายอภัยทราบว่า “อภัย พ่อป่วยเป็นริดสีดวงทวารถึงกับภูษาเปื้อนโลหิต พวก
นางสนมเห็นแล้วพากันหัวเราะเยาะว่า ‘เวลานี้พระราชาทรงมีระดู ต่อมาพระโลหิต
เกิดแก่พระองค์ อีกไม่นานก็จะมีพระประสูติกาล’ เจ้าช่วยหาหมอที่พอจะรักษาพ่อ
ได้ให้ทีเถิด”
เจ้าชายอภัยกราบทูลว่า “ขอเดชะ นายชีวกผู้นี้เป็นหมอประจำข้าพระองค์ยัง
หนุ่ม ทรงคุณวุฒิจะรักษาพระองค์ได้”
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น เธอจงสั่งหมอชีวกให้
รักษาพ่อ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๘๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๐๕. ราชคหเสฏฐิวัตถุ
ต่อมาเจ้าชายอภัยสั่งชีวกโกมารภัจว่า “ชีวก เธอจงไปรักษาพระราชา”
ชีวกโกมารภัจรับสนองพระบัญชาแล้วใช้เล็บตักยาเดินไปในราชสำนัก เข้าเฝ้า
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐกราบทูลว่า “ข้าพระองค์จะตรวจโรคของพระองค์
พระพุทธเจ้าข้า” แล้วรักษาริดสีดวงทวารของพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐให้
หายขาดด้วยทายาเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
เรื่องพระราชทานตำแหน่งแพทย์หลวง
เมื่อพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐทรงหายประชวรจึงรับสั่งให้สตรี ๕๐๐
นาง แต่งตัวเต็มยศแล้วให้เปลื้องออกรวมเป็นห่อ ตรัสกับชีวกโกมารภัจว่า “ชีวก
เครื่องประดับทั้งหมดของสตรี ๕๐๐ คนนี้เป็นสมบัติของเจ้า”
ชีวกโกมารภัจกราบทูลว่า “อย่าเลยพระพุทธเจ้าข้า พระองค์โปรดระลึกว่า
เป็นหน้าที่ของข้าพระองค์”
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงบำรุงเรากับ
พวกฝ่ายในและภิกษุสงฆ์มีพระผู้มีพระภาคทรงเป็นประธาน”
ชีวกโกมารภัจกราบทูลรับสนองพระราชดำรัสว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงโปรด
พระพุทธเจ้าข้า”
๒๐๕. ราชคหเสฏฐิวัตถุ
ว่าด้วยเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์
เรื่องรักษาเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ผู้ป่วยเป็นโรคปวดศีรษะ
[๓๓๒] สมัยนั้น เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ป่วยเป็นโรคปวดศีรษะเป็นเวลา ๗ ปี
นายแพทย์ทิศาปาโมกข์คนสำคัญหลายคนมารักษาก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๘๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๐๕. ราชคหเสฏฐิวัตถุ
เงินไปเป็นจำนวนมาก นายแพทย์หลายคนบอกเลิกรักษา นายแพทย์บางพวก
กล่าวว่า “เศรษฐีคหบดีจะถึงอนิจกรรมในวันที่ ๕” นายแพทย์บางพวกกล่าวว่า
“เศรษฐีคหบดีจะถึงอนิจกรรมในวันที่ ๗”
ต่อมา คณะกุฎุมพีชาวกรุงราชคฤห์มีความคิดดังนี้ว่า “เศรษฐีคหบดีผู้นี้สร้าง
คุณประโยชน์มากมายแก่พระราชาและชาวนิคม แต่กลับถูกพวกแพทย์บอกเลิก
รักษา แพทย์บางพวกกล่าวว่าเศรษฐีคหบดีจะถึงอนิจกรรมในวันที่ ๕ แพทย์บาง
พวกกล่าวว่าเศรษฐีคหบดีจะถึงอนิจกรรมในวันที่ ๗ ก็ชีวกเป็นแพทย์หลวงหนุ่ม
ทรงคุณวุฒิ อย่ากระนั้นเลย พวกเราพึงกราบทูลขอนายแพทย์ชีวกต่อพระราชา
เพื่อให้รักษาเศรษฐี” พากันไปในราชสำนักเข้าเฝ้ากราบทูลว่า “ขอเดชะ เศรษฐี
คหบดีผู้นี้สร้างคุณประโยชน์มากมายแก่พระราชาและชาวนิคม แต่กลับถูกพวก
แพทย์บอกเลิกรักษา แพทย์บางพวกกล่าวว่า เศรษฐีคหบดีจะถึงอนิจกรรมในวันที่
๕ แพทย์บางพวกกล่าวว่า เศรษฐีคหบดีจะถึงอนิจกรรมในวันที่ ๗ ขอพระราชทาน
พระบรมราชวโรกาส ขอพระองค์โปรดมีรับสั่งนายแพทย์ชีวกโกมารภัจเพื่อให้รักษา
ท่านเศรษฐีเถิด”
ดังนั้นพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐจึงทรงมีรับสั่งชีวกโกมารภัจว่า “ชีวก เจ้า
จงไปรักษาเศรษฐีคหบดี”
ชีวกโกมารภัจกราบทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้วเข้าไปหาเศรษฐีคหบดี ตรวจดู
อาการของเศรษฐีคหบดีแล้วถามว่า “ท่านคหบดี ถ้าผมรักษาท่านหาย จะมีอะไร
เป็นรางวัลบ้าง”
เศรษฐีตอบว่า “ท่านอาจารย์ ทรัพย์สมบัติทุกอย่างจะเป็นของท่าน และเรา
ก็ขอยอมเป็นทาสของท่าน”
ชีวกโกมารภัจถามว่า “ท่านจะนอนตะแคงข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้ไหม”
เศรษฐีตอบว่า “ได้”
ชีวกโกมารภัจถามว่า “ท่านจะนอนอีกข้างหนึ่งตลอด ๗ เดือนได้ไหม”
เศรษฐีตอบว่า “ได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๘๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๐๕. ราชคหเสฏฐิวัตถุ
ชีวกโกมารภัจถามว่า “ท่านจะนอนหงายตลอด ๗ เดือนได้ไหม”
เศรษฐีตอบว่า “ได้”
ต่อมา ชีวกโกมารภัจให้เศรษฐีคหบดีนอนบนเตียง มัดไว้กับเตียงแล้วถลก
หนังศีรษะเปิดรอยประสานกระโหลก นำสัตว์มีชีวิตออกมา ๒ ตัว แสดงแก่ชาว
บ้านว่า “พวกท่านจงดูสัตว์มีชีวิต ๒ ตัวนี้ ตัวหนึ่งเล็ก อีกตัวหนึ่งใหญ่ พวก
อาจารย์ที่กล่าวว่า เศรษฐีคหบดีจะถึงอนิจกรรมในวันที่ ๕ คงจะมองเห็นสัตว์ตัวใหญ่
มันจะเจาะกินมันสมองของเศรษฐีคหบดีในวันที่ ๕ เศรษฐีคหบดีถูกมันเจาะกินสมอง
ก็จะถึงอนิจกรรม สัตว์ใหญ่ตัวนี้พวกอาจารย์เห็นถูกต้อง ส่วนพวกอาจารย์ที่กล่าวว่า
เศรษฐีคหบดีจะถึงอนิจกรรมในวันที่ ๗ คงจะมองเห็นสัตว์ตัวเล็ก มันจะเจาะกิน
มันสมองของเศรษฐีคหดบีในวันที่ ๗ เศรษฐีคหบดีถูกมันเจาะกินสมองก็จะถึงอนิจ
กรรม สัตว์เล็กตัวนี้พวกอาจารย์เห็นถูกต้อง” แล้วให้ปิดแนวประสานกระโหลก
เย็บหนังศีรษะแล้วทายาสมานแผล
ครั้นผ่านไป ๑ สัปดาห์ เศรษฐีคหบดีกล่าวกับชีวกโกมารภัจว่า “อาจารย์
เราไม่สามารถนอนตะแคงข้างเดียวได้ตลอด ๗ เดือน”
ชีวกโกมารภัจถามว่า “คหบดีท่านรับคำไว้มิใช่หรือว่า อาจารย์ เราสามารถ
นอนตะแคงข้างเดียวได้ตลอด ๗ เดือน”
เศรษฐีตอบว่า “อาจารย์ เรารับรองไว้ก็จริง แต่เราคงตายแน่ เราไม่
สามารถนอนตะแคงข้างเดียวได้ตลอด ๗ เดือน”
ชีวกโกมารภัจกล่าวว่า “คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงนอนอีกข้างหนึ่งตลอด ๗
เดือน”
ครั้นผ่านไป ๑ สัปดาห์ เศรษฐีคหบดีกล่าวกับหมอชีวกโกมารภัจว่า “อาจารย์
เราไม่สามารถนอนตะแคงอีกข้างหนึ่งได้ตลอด ๗ เดือน”
ชีวกโกมารภัจถามว่า “คหบดี ท่านรับรองเราไว้มิใช่หรือว่า อาจารย์ เรา
สามารถนอนตะแคงอีกข้างหนึ่งตลอด ๗ เดือน”
เศรษฐีตอบว่า “อาจารย์ เรารับรองไว้ก็จริง แต่เราคงตายแน่ เราไม่สามารถ
นอนตะแคงอีกข้างหนึ่งได้ตลอด ๗ เดือน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๘๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๐๖. เสฏฐิปุตตวัตถุ
ชีวกโกมารภัจกล่าวว่า “คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงนอนหงายตลอด ๗ เดือน”
ครั้นผ่านไป ๑ สัปดาห์ เศรษฐีคหบดีกล่าวกับหมอชีวกโกมารภัจว่า “อาจารย์
เราไม่สามารถนอนหงายได้ตลอด ๗ เดือน”
ชีวกโกมารภัจถามว่า “คหบดี ท่านรับรองเราไว้มิใช่หรือว่า อาจารย์ เรา
สามารถนอนหงายได้ตลอด ๗ เดือน”
เศรษฐีตอบว่า “อาจารย์ เรารับรองไว้ก็จริง แต่เราคงตายแน่ เราไม่สามารถ
นอนหงายได้ตลอด ๗ เดือน”
ชีวกโกมารภัจกล่าวว่า “ท่านคหบดี ถ้าผมไม่บอกท่านไว้เช่นนั้น ท่านก็จะนอน
เท่านั้นไม่ได้ ผมทราบอยู่ก่อนแล้วว่า “เศรษฐีคหบดีจะหายดีเป็นปกติใน ๓ สัปดาห์
ลุกขึ้นเถิด คหบดี ท่านหายป่วยแล้ว จะให้อะไรเป็นรางวัลเล่า”
เศรษฐีคหบดีตอบว่า จงรู้ว่า “อาจารย์ ทรัพย์สมบัติทุกอย่างเป็นของท่าน
เราเองก็ขอยอมเป็นทาสท่าน”
ชีวกโกมารภัจกล่าวว่า “อย่าเลยขอรับ ท่านอย่าให้ทรัพย์สมบัติทุกอย่าง ท่านเอง
ก็ไม่ต้องยอมเป็นทาสของผม ท่านจงทูลเกล้าถวายทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ กหาปณะ
แด่พระราชา ให้ผม ๑๐๐,๐๐๐ กหาปณะก็พอแล้ว”
เมื่อเศรษฐีคหบดีหายป่วยได้ทูลเกล้าถวายทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ กหาปณะแด่
พระราชา และให้แก่ชีวกโกมารภัจ ๑๐๐,๐๐๐ กหาปณะ
๒๐๖. เสฏฐิปุตตวัตถุ
ว่าด้วยบุตรเศรษฐี
เรื่องรักษาโรคเนื้องอกในลำไส้
[๓๓๓] สมัยนั้น บุตรเศรษฐีชาวกรุงพาราณสีกำลังเล่นตีลังกา เกิดป่วยเป็น
โรคลำไส้บิด ข้าวต้มที่เธอดื่มไม่ย่อยไปด้วยดี อาหารที่รับประทานไม่ย่อยไปด้วยดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๘๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๐๖. เสฏฐิปุตตวัตถุ
อุจจาระ ปัสสาวะไม่สะดวก ดังนั้น บุตรเศรษฐีนั้น จึงซูบผอม หมองคล้ำ
ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง
ต่อมา เศรษฐีชาวกรุงพาราณสี คิดว่า “บุตรของเราเจ็บป่วยถึงเพียงนี้
ข้าวต้มที่เธอดื่มไม่ย่อยไปด้วยดี อาหารที่รับประทานก็ไม่ย่อยไปด้วยดี อุจจาระ
ปัสสาวะไม่สะดวก ดังนั้น เธอจึงซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง
อย่ากระนั้นเลย เราควรไปกรุงราชคฤห์ กราบทูลขอนายแพทย์ชีวกต่อพระราชา
เพื่อจะได้รักษาบุตรของเรา” แล้วเดินทางไปกรุงราชคฤห์เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร
จอมทัพมคธรัฐกราบทูลว่า “ขอเดชะ บุตรของข้าพระองค์เจ็บป่วยขนาดข้าวต้มที่
เธอดื่มไม่ย่อยไปด้วยดี อาหารที่รับประทานก็ไม่ย่อยไปด้วยดี อุจจาระ ปัสสาวะ
ไม่สะดวก ดังนั้น เธอจึงซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง ขอ
ประทานวโรกาสเถิด ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท โปรดรับสั่งนายแพทย์ชีวกเพื่อจะได้
รักษาบุตรของข้าพระองค์ด้วยเถิด”
ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐรับสั่งชีวกโกมารภัจว่า “ไปเถิด
ชีวก เจ้าเดินทางไปกรุงพาราณสี จงรักษาบุตรเศรษฐีชาวกรุงพาราณสี”
ชีวกโกมารภัจกราบทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เดินทางไปกรุงพาราณสี เข้า
ไปหาบุตรเศรษฐีชาวกรุงพาราณสี ตรวจดูอาการของเขาแล้วให้คนออกไป ขึงม่าน
มัดไว้กับเสา ให้ภรรยาอยู่ต่อหน้าแล้วผ่าหนังท้อง นำเนื้องอกที่ลำไส้ออกมาแสดง
แก่ภรรยาว่า “เธอจงดูความเจ็บป่วยของสามีเธอ ข้าวต้มที่เธอดื่มจึงไม่ย่อยไปด้วยดี
อาหารที่รับประทานจึงไม่ย่อยไปด้วยดี อุจจาระ ปัสสาวะไม่สะดวก ดังนั้น บุตร
เศรษฐีนี้จึงซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง” แล้วตัดเนื้องอกใน
ลำไส้ออก สอดใส่ลำไส้กลับไว้ตามเดิมแล้วเย็บหนังท้องทายาสมานแผล ต่อมาไม่
นานนัก บุตรเศรษฐีชาวกรุงพาราณสีจึงหายป่วยเป็นปกติ
ต่อมาเศรษฐีชาวกรุงพาราณสีคิดว่า “บุตรของเราหายป่วยแล้ว” จึงให้รางวัล
แก่ชีวกโกมารภัจเป็นเงิน ๑๖,๐๐๐ กหาปณะ ชีวกโกมารภัจรับเงินจำนวนนั้นแล้ว
เดินทางกลับกรุงราชคฤห์ตามเดิม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๙๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๐๗. ปัชโชตราชวัตถุ
๒๐๗. ปัชโชตราชวัตถุ
ว่าด้วยพระเจ้าปัชโชต
เรื่องรักษาโรคผอมเหลืองของพระเจ้าปัชโชต
[๓๓๔] สมัยนั้น พระเจ้าปัชโชตในกรุงอุชเชนี ทรงประชวรเป็นโรคผอมเหลือง
นายแพทย์ทิศาปาโมกข์คนสำคัญหลายคนมารักษาก็ไม่อาจทำให้โรคหายได้ ได้เงิน
ไปเป็นจำนวนมาก
สมัยนั้น พระเจ้าปัชโชตทรงส่งทูตไปยังราชสำนักของพระเจ้าพิมพิสารจอม
ทัพมคธรัฐใจความว่า “หม่อมฉันเจ็บป่วยมีอาการอย่างนี้ ขอประทานวโรกาสเถิด
พระองค์โปรดส่งหมอชีวกให้มารักษาหม่อมฉัน”
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐรับสั่งชีวกโกมารภัจว่า “ไปเถิดชีวก เจ้าเดิน
ทางไปกรุงอุชเชนีจงถวายการรักษาพระเจ้าปัชโชต”
ชีวกโกมารภัจกราบทูลรับสนองพระดำรัสแล้วเดินทางไปกรุงอุชเชนี เข้าไปเฝ้า
พระเจ้าปัชโชต ตรวจพระอาการแล้วกราบทูลว่า “ขอเดชะ ข้าพระองค์จะหุงเนยใส
ให้พระองค์เสวย”
พระเจ้าปัชโชตตรัสห้ามว่า “อย่าเลยชีวก ท่านจงรักษาเราด้วยวิธีที่ไม่ต้องใช้
เนยใสก็หายได้ เพราะเราเกลียดเนยใส”
ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจคิดว่า “พระราชานี้ทรงประชวรถึงขนาดนี้ ถ้าไม่มีเนยใส
เราก็ไม่อาจรักษาพระองค์ให้หายเป็นปกติ เอาละเราควรหุงเนยใสให้มีสี กลิ่น รส
เหมือนน้ำฝาด” แล้วให้หุงเนยใสด้วยยาชนิดต่าง ๆ ทำให้มีสี กลิ่น รสเหมือนน้ำฝาด
สมัยนั้น ชีวกโกมารภัจมีความคิดดังนี้ว่า “เนยใสที่ท้าวเธอเสวยแล้ว เมื่อย่อย
ไปจะทำให้เรอ พระราชาพระองค์นี้ทรงพิโรธก็จะพึงรับสั่งให้ฆ่าเราได้ ทางที่ดีเราควร
กราบทูลลาไว้เสียก่อน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๙๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๐๗. ปัชโชตราชวัตถุ
วันต่อมา ชีวกโกมารภัจจึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าปัชโชตถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว
ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ขอเดชะ ข้าพระองค์เป็นหมอ จะเก็บรากไม้ จะรวบรวมยา
โดยกาลชั่วครู่หนึ่ง ในขณะนั้น ๆ๑ ขอประทานวโรกาสเถิด พระองค์โปรดรับสั่ง
เจ้าพนักงานในโรงราชพาหนะและที่เฝ้าประตูว่า หมอชีวกจงเดินทางด้วยยานที่
ต้องการได้ จงออกไปทางประตูที่ต้องการได้ จงเข้าออกได้ในเวลาที่ต้องการ”
พระเจ้าปัชโชตมีรับสั่งเจ้าพนักงานในโรงพาหนะและที่เฝ้าประตูว่า “หมอชีวก
จงเดินทางด้วยยานที่ต้องการได้ จงออกไปทางประตูที่ต้องการได้ จงเข้าออกได้ใน
เวลาที่ต้องการ”
ก็สมัยนั้น พระเจ้าปัชโชตมีช้างพังชื่อภัททวดี เดินทางได้วันละ ๕๐ โยชน์
ชีวกโกมารภัจทูลถวายเนยใสแด่พระเจ้าปัชโชตนั้นกราบทูลว่า “พระองค์โปรด
เสวยน้ำฝาด” เมื่อให้ท้าวเธอเสวยเนยใสแล้วก็ไปที่โรงช้าง ขึ้นช้างภัททวดีหนีออกไป
ครั้งนั้น เนยใสที่ท้าวเธอเสวยกำลังย่อยจึงทำให้ทรงเรอขึ้น ทันใดนั้นพระเจ้า
ปัชโชตจึงรับสั่งคนทั้งหลายว่า “เราถูกหมอชีวกชาติชั่วลวงให้ดื่มเนยใส พวกเจ้าจง
ค้นหามันมาให้ได้”
คนทั้งหลายกราบทูลว่า “หมอชีวกขึ้นช้างภัททวดีหนีออกไปจากกรุงแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า”
สมัยนั้น พระเจ้าปัชโชตมีทาสชื่อกากะซึ่งอาศัยเกิดกับอมนุษย์ เดินทางได้วัน
ละ ๖๐ โยชน์ จึงรับสั่งว่า “นายกากะ เจ้าจงไปตามหมอชีวกกลับมา โดยบอกว่า
พระราชารับสั่งให้เชิญท่านกลับ ธรรมดาพวกหมอมีเล่ห์เหลี่ยมมาก เจ้าอย่าไปรับ
สิ่งไรของเขานะ”
ครั้นทาสกากะเดินไปทันชีวกโกมารภัจผู้กำลังรับประทานอาหารเช้าในระหว่างทาง
กรุงโกสัมพี จึงบอกว่า “ท่านอาจารย์ พระราชารับสั่งให้เชิญท่านกลับ”

เชิงอรรถ :
๑ แปลมาจากคำว่า ตาทิเสน มุหุตฺเตน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๙๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๐๗. ปัชโชตราชวัตถุ
ชีวกโกมารภัจกล่าวว่า “กากะ ท่านโปรดรออยู่ชั่วเวลาที่เรารับประทานอาหาร
เชิญท่านมาร่วมรับประทานอาหารด้วยกันเถิด”
ทาสกากะตอบว่า “อย่าเลย ท่านอาจารย์ พระราชารับสั่งว่า ธรรมดาพวก
หมอมีเล่ห์เหลี่ยมมาก อย่าไปรับสิ่งไร ๆ ของเขา”
ขณะนั้น ชีวกโกมารภัจได้แทรกยาทาเล็บ พลางเคี้ยวมะขามป้อมและดื่มน้ำ
แล้วร้องเชิญทาสกากะว่า “เชิญท่านกากะมาเคี้ยวมะขามป้อมและดื่มน้ำด้วยกันเถิด”
ทาสกากะคิดว่า “แพทย์คนนี้กำลังเคี้ยวมะขามป้อมและดื่มน้ำ คงไม่มีโทษ
อะไร” จึงเคี้ยวมะขามป้อมและดื่มน้ำ มะขามป้อมครึ่งผลที่เขาเคี้ยวนั้นได้ระบายท้อง
ให้ถ่ายอุจจาระออกมาในที่นั้นทีเดียว
ต่อมาทาสกากะถามชีวกโกมารภัจว่า “ท่านอาจารย์ ผมจะยังมีชีวิตอยู่หรือ”
ชีวกโกมารภัจตอบว่า “อย่ากลัวไปเลย ท่านไม่มีอันตราย แต่พระราชาทรง
พิโรธก็จะรับสั่งให้ฆ่าเราได้ ดังนั้นเราไม่กลับละ” แล้วมอบช้างภัททวดีให้ทาสกากะ
เดินทางรอนแรมไปจนถึงกรุงราชคฤห์ ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
แล้วกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบทุกประการ
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐตรัสว่า “เจ้าไม่กลับไปก็เป็นการกระทำที่ดี
เพราะพระราชาพระองค์นั้นเหี้ยมโหดพึงสั่งให้ฆ่าเจ้าก็ได้”
เมื่อพระเจ้าปัชโชตทรงหายประชวรจึงทรงส่งราชทูตไปถึงชีวกโกมารภัจว่า “เชิญ
หมอชีวกมา เราจะให้พร”
ชีวกโกมารภัจกราบทูลตอบไปว่า “อย่าเลย พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์ทรง
ระลึกว่าเป็นหน้าที่ของข้าพระองค์”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๙๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๐๙. สมติงสวิเรจนกถา
๒๐๘. สิเวยยกทุสสยุคกถา
ว่าด้วยการพระราชทานผ้าสิไวยกะ ๑ คู่๑
[๓๓๕] สมัยนั้น พระเจ้าปัชโชตได้รับผ้าสิไวยกะ ๑ คู่ เป็นผ้าเนื้อดีเลิศ
ประเสริฐสุดซึ่งมีชื่อเด่นเยี่ยมกว่าผ้าเป็นอันมาก คู่ผ้าหลายคู่ คู่ผ้าหลายร้อย คู่ผ้า
หลายพัน คู่ผ้าหลายแสน ต่อมาพระเจ้าปัชโชตจึงทรงส่งผ้าสิไวยกะนั้น ๑ คู่ไป
พระราชทานแก่ชีวกโกมารภัจ
ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจคิดว่า “พระเจ้าปัชโชตทรงส่งผ้าสิไวยกะ ๑ คู่นี้อันเป็น
ผ้าเนื้อดีเลิศซึ่งมีชื่อเด่นเยี่ยมกว่าผ้าเป็นอันมาก คู่ผ้าหลายคู่ คู่ผ้าตั้งหลายร้อย
คู่ผ้าหลายพัน คู่ผ้าหลายแสน นอกจากพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
หรือพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐแล้ว ไม่มีใครอื่นเหมาะที่จะใช้คู่ผ้านี้เลย”
๒๐๙. สมติงสวิเรจนกถา
ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคเสวยพระโอสถถ่าย ๓๐ ครั้ง
เรื่องสรงพระกายพระผู้มีพระภาค
[๓๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีพระวรกายหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ
พระองค์ได้ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า “อานนท์ ตถาคตมีกายหมักหมม
ด้วยสิ่งอันเป็นโทษ ตถาคตประสงค์จะฉันยาถ่าย”
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปหาชีวกโกมารภัจถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วได้
กล่าวกับชีวกโกมารภัจดังนี้ว่า “ท่านชีวก พระตถาคตมีพระวรกายหมักหมมด้วย
สิ่งอันเป็นโทษ พระตถาคตประสงค์จะฉันพระโอสถถ่าย”

เชิงอรรถ :
๑ ผ้าสิไวยกะ เป็นผ้าที่ชาวแคว้นอุตตรกุรุใช้ห่อศพไปทิ้งไว้ในป่าช้า พวกนกหัสดีลิงค์คาบซากศพพร้อมทั้ง
ผ้านั้นไปที่ยอดเขาหิมาลัย ดึงผ้าออกแล้วกินซากศพ พวกนายพรานเห็นผ้านั้น จึงนำมาถวายพระเจ้า
ปัชโชต (วิ.อ. ๓/๓๓๕/๒๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๙๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๐๙. สมติงสวิเรจนกถา
ชีวกโกมารภัจกล่าวว่า “ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ท่านโปรดทำ
พระวรกายของพระผู้มีพระภาคให้ชุ่มชื้นสัก ๒-๓ วัน”
ครั้นท่านพระอานนท์ทำพระวรกายของพระผู้มีพระภาคให้ชุ่มชื้น ๒-๓ วันแล้ว
จึงเข้าไปหาชีวกโกมารภัจถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับชีวกโกมารภัจดังนี้ว่า “ท่าน
ชีวก พระวรกายของพระผู้มีพระภาคชุ่มชื้นดี เวลานี้ท่านจงรู้เวลาที่ควร”
เรื่องหมอชีวกทูลถวายพระโอสถถ่าย ๓๐ ครั้ง
ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจได้มีความคิดดังนี้ว่า “การที่เราจะทูลถวายพระโอสถ
ถ่ายชนิดหยาบแด่พระผู้มีพระภาคนั้นไม่สมควรเลย อย่ากระนั้นเลย เราพึงอบก้าน
อุบล ๓ ก้านด้วยยาต่าง ๆ แล้วน้อมเข้าไปถวายพระตถาคต” แล้วได้อบก้าน
อุบล ๓ ก้านด้วยยาต่าง ๆ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว
ได้น้อมถวายก้านอุบลก้านหนึ่งแด่พระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงสูดดมก้านอุบลก้านที่ ๑ นี้ วิธีนี้จะทำให้พระผู้มีพระภาค
ทรงถ่ายถึง ๑๐ ครั้ง” แล้วได้ทูลถวายก้านอุบลก้านที่ ๒ แด่พระผู้มีพระภาค
กราบทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคจงทรงสูดดมก้านอุบลก้านที่ ๒ นี้
วิธีนี้จะทำให้พระผู้มีพระภาคทรงถ่ายถึง ๑๐ ครั้ง” แล้วได้ทูลถวายก้านอุบลก้านที่
๓ แด่พระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคจงทรงสูดดม
ก้านอุบลก้านที่ ๓ นี้ วิธีนี้จะทำให้พระผู้มีพระภาคทรงถ่ายถึง ๑๐ ครั้ง”
ครั้นชีวกโกมารภัจทูลถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเพื่อให้ถ่ายครบ
๓๐ ครั้งแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณกลับไป
เมื่อชีวกโกมารภัจออกไปนอกซุ้มประตู ได้เกิดความคิดดังนี้ว่า “เราทูลถวาย
พระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเพื่อให้ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง พระตถาคตมีพระวร
กายหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ จะไม่ทำพระผู้มีพระภาคให้ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง (แต่)
ทำพระผู้มีพระภาคให้ถ่ายเพียง ๒๙ ครั้ง อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๙๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๐๙. สมติงสวิเรจนกถา
ทรงถ่ายแล้วจะทรงสรงสนานแล้วจึงจะถ่ายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเป็นดังนั้น พระผู้มีพระ
ภาคจักทรงถ่ายครบ ๓๐ ครั้งพอดี”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดของชีวกโกมารภัจด้วยพระทัย
จึงรับสั่งกับท่านพระอานนท์ว่า “อานนท์ เวลานี้ ชีวกโกมารภัจออกไปนอกซุ้ม
ประตูได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราทูลถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเพื่อให้ถ่าย
ครบ ๓๐ ครั้ง พระตถาคตมีพระวรกายหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ จะไม่ทำพระผู้มี
พระภาคให้ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง (แต่) จะทำพระผู้มีพระภาคให้ถ่ายเพียง ๒๙ ครั้ง
อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงถ่ายแล้วจะทรงสรงสนาน จักทำพระผู้มี
พระภาคซึ่งทรงสรงสนานแล้วให้ถ่ายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเป็นดังนั้น พระผู้มีพระภาค
จักทรงถ่ายครบ ๓๐ ครั้งพอดี’ อานนท์ ถ้าอย่างนั้นเธอจงเตรียมน้ำร้อนไว้”
ท่านพระอานนท์กราบทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้วจัดเตรียมน้ำร้อนไว้ถวาย
ต่อมา ชีวกโกมารภัจเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลว่า “พระผู้มีพระภาคทรงถ่ายแล้วหรือ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ชีวก เราถ่ายแล้ว”
ชีวกโกมารภัจกราบทูลว่า “เมื่อข้าพระองค์ออกไปนอกซุ้มประตูคิดว่า ‘เราทูล
ถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเพื่อให้ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง พระตถาคตมี
พระวรกายหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ จะทำพระผู้มีพระภาคให้ไม่ถ่ายครบ ๓๐
ครั้ง (แต่)จะทำพระผู้มีพระภาคให้ถ่ายเพียง ๒๙ ครั้ง พระผู้มีพระภาคทรงถ่าย
แล้วจะทรงสรงสนาน จักทำพระผู้มีพระภาคซึ่งทรงสรงสนานแล้วให้ถ่ายอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อเป็นดังนี้ พระผู้มีพระภาคจักทรงถ่ายครบ ๓๐ ครั้งพอดี พระผู้มีพระภาค
โปรดทรงสรงสนานเถิด พระพุทธเจ้าข้า พระสุคตโปรดสรงสนานเถิด”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสรงน้ำอุ่น วิธีนี้ทำพระผู้มีพระภาคซึ่งทรงสรง
สนานแล้วให้ถ่ายอีกครั้งหนึ่งจึงครบ ๓๐ ครั้งพอดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๙๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๑๐. วรยาจนากถา
ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคไม่
ควรเสวยพระกระยาหารที่ปรุงด้วยน้ำต้มผักต่าง ๆ จนกว่าพระวรกายจะเป็นปกติ”
๒๑๐. วรยาจนากถา
ว่าด้วยหมอชีวกโกมารภัจกราบทูลขอพร
[๓๓๗] ต่อมาไม่นานนัก พระผู้มีพระภาคทรงมีพระวรกายเป็นปกติ ครั้งนั้น
ชีวกโกมารภัจจึงถือผ้าสิไวยกะคู่ ๑ นั้นไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควรได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าพระองค์ ทูลขอพรอย่างหนึ่งกับพระผู้มีพระภาค
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ตถาคตทั้งหลายเลิกให้พรเสียแล้ว ชีวก”
ชีวกโกมารภัจกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทูลขอพรที่เหมาะสมและไม่มีโทษ พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “จงพูดมาเถิด ชีวก”
เรื่องทรงรับคู่ผ้าสิไวยกะ
ชีวกโกมารภัจกราบทูลว่า “พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ถือผ้าบังสุกุลอยู่เป็น
วัตร ผ้าสิไวยกะคู่นี้เป็นผ้าเนื้อดีเลิศ ประเสริฐสุด มีชื่อเด่นเยี่ยมกว่าคู่ผ้าเป็น
อันมาก หลายร้อย หลายพัน หลายแสนคู่ พระเจ้าปัชโชตทรงส่งมาพระราชทาน
พระองค์โปรดรับผ้าสิไวยกะคู่ ๑ ของข้าพระองค์เถิดพระพุทธเจ้าข้า และโปรด
ทรงอนุญาตคหบดีจีวรแก่ภิกษุสงฆ์”
พระผู้มีพระภาคทรงรับผ้าสิไวยกะแล้ว
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ชีวกโกมารภัจเห็นชัด ชวนให้อยากรับ
ไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๙๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๑๐. วรยาจนากถา
ลำดับนั้น ชีวกโกมารภัจ ผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาค ทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้
อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถาแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณ
แล้วจากไป
เรื่องทรงอนุญาตคหบดีจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตคหบดีจีวร รูปใดปรารถนา
จะถือผ้าบังสุกุลก็ได้ รูปใดปรารถนาจะรับคหบดีจีวรก็ได้ แต่เราสรรเสริญการยินดี
ปัจจัยตามที่ได้”
เรื่องจีวรเกิดขึ้นมากในกรุงราชคฤห์
คนทั้งหลายในกรุงราชคฤห์ทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตคหบดีจีวร
แก่ภิกษุทั้งหลาย” คนทั้งหลายเหล่านั้นต่างรื่นเริงบันเทิงใจว่า “บัดนี้พวกเราจะ
ถวายทาน จะบำเพ็ญบุญ เพราะพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตคหบดีจีวรแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย” ชั่วเพียงวันเดียว จีวรหลายพันผืนได้เกิดขึ้นในกรุงราชคฤห์
ชาวชนบททราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตคหบดีจีวรแก่ภิกษุทั้งหลาย”
คนทั้งหลายเหล่านั้นต่างรื่นเริงบันเทิงใจว่า “บัดนี้พวกเราจะถวายทาน จะบำเพ็ญ
บุญเพราะพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตคหบดีจีวรแก่ภิกษุทั้งหลาย” ชั่วเพียงวันเดียว
จีวรหลายพันผืนได้เกิดขึ้นในชนบท
เรื่องทรงอนุญาตผ้าปาวาร ผ้าไหม และผ้าโกเชาว์
สมัยนั้น ผ้าปาวาร๑ได้เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ ผ้าปาวาร คือ ผ้าห่มใหญ่ อาจเป็นผ้าฝ้ายมีขน หรือผ้าชนิดอื่นก็ได้ (วิ.อ. ๓/๓๓๗/๒๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๙๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๑๑. กัมพลานุชานนาทิกถา
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าปาวาร”
ผ้าปาวารแกมไหมเกิดขึ้นแก่สงฆ์
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าปาวารแกมไหม”
ผ้าโกเชาว์๑เกิดขึ้นแก่สงฆ์
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าโกเชาว์”
ปฐมภาณวาร จบ
๒๑๑. กัมพลานุชานนาทิกถา
ว่าด้วยทรงอนุญาตผ้ากัมพลเป็นต้น
เรื่องผ้ากัมพลราคาครึ่งกาสิยะ
[๓๓๘] สมัยนั้น พระเจ้ากาสีทรงส่งผ้ากัมพลราคาครึ่งกาสิยะ๒ไปพระราชทาน
แก่ชีวกโกมารภัจ ลำดับนั้น ชีวกโกมารภัจรับผ้ากัมพลครึ่งกาสิยะนั้นแล้วเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ
ที่สมควร ชีวกโกมารภัจผู้นั่งอยู่ ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“พระองค์ผู้เจริญ ผ้ากัมพลของข้าพระองค์ผืนนี้ราคาครึ่งกาสิยะ พระเจ้ากาสีพระ
ราชทานมา ขอพระผู้มีพระภาคโปรดรับผ้ากัมพลผืนนี้เพื่อประโยชน์และความสุข
ตลอดกาลนานแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”

เชิงอรรถ :
๑ ผ้าโกเชาว์ คือ ผ้าทำด้วยขนแพะ ผ้าโกเชาว์ผืนใหญ่ไม่ควร ส่วนผ้าโกเชาว์ปกติทั่วไป ควรอยู่ (วิ.อ. ๓/
๓๓๗/๒๐๘)
๒ ผ้ากัมพล คือ ผ้าทอด้วยขนสัตว์ กาสิยะ หมายถึง ๑,๐๐๐ ผ้ากัมพลราคาครึ่งกาสิยะคือราคา ๕๐๐
(วิ.อ. ๓/๓๓๘/๒๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๑๙๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๑๑. กัมพลานุชานนาทิกถา
พระผู้มีพระภาคทรงรับผ้ากัมพลแล้ว ชี้แจงให้ชีวกโกมารภัจเห็นชัด ชวนให้
อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น ร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา
ลำดับนั้น ชีวกโกมารภัจผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับ
ไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
แล้วลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถา เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากัมพล”
ทรงอนุญาตคหบดีจีวร ๖ ชนิด
เรื่องผ้าเนื้อดี เนื้อหยาบ
[๓๓๙] สมัยนั้น จีวรทั้งชนิดที่มีเนื้อละเอียดและเนื้อหยาบได้เกิดขึ้นแก่สงฆ์
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตจีวรอะไรบ้าง
ไม่ทรงอนุญาตจีวรอะไรบ้าง”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตจีวร ๖ ชนิด คือ

๑. โขมะ (ผ้าเปลือกไม้) ๒. กัปปาสิกะ (ผ้าฝ้าย)
๓. โกเสยยะ (ผ้าไหม) ๔. กัมพล (ผ้าขนสัตว์)
๕. สาณะ (ผ้าป่าน) ๖. ภังคะ (ผ้าที่ทำด้วยของผสมกัน)”

[๓๔๐] สมัยนั้น ภิกษุผู้ยินดีคหบดีจีวร พากันรังเกียจไม่ยอมรับผ้าบังสุกุล
เพราะคิดว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตจีวรอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ใช่ ๒ ชนิด
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๐๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๑๒. ปังสุกูลปริเยสนกถา
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ยินดีคหบดี
จีวรยินดีผ้าบังสุกุลได้ แต่เราสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรทั้งสองชนิดนั้น”
๒๑๒. ปังสุกูลปริเยสนกถา
ว่าด้วยการแสวงหาผ้าบังสุกุล
เรื่องภิกษุรอกันและไม่รอ
[๓๔๑] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินทางไกลไปในแคว้นโกศล บางพวกแวะเข้า
ป่าช้าเพื่อหาผ้าบังสุกุล บางพวกไม่ยอมรอ ผู้แวะเข้าป่าช้าเพื่อหาผ้าบังสุกุลต่างได้
ผ้าบังสุกุล ผู้ที่ไม่รอพูดว่า “ท่านทั้งหลาย โปรดให้ส่วนแบ่งพวกเราบ้าง”
พวกที่ได้ผ้าบังสุกุลตอบว่า “พวกเราไม่ให้ส่วนแบ่งแก่พวกท่าน ทำไมท่าน
ไม่รอเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ไม่ต้องการไม่
ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุที่ไม่รอ”
สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินทางไกลไปในแคว้นโกศล บางพวกแวะเข้าป่าช้า
เพื่อหาผ้าบังสุกุล บางพวกรออยู่ ผู้แวะเข้าป่าช้าเพื่อหาผ้าบังสุกุลต่างได้ผ้าบังสุกุล
ผู้ที่รออยู่พูดอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย โปรดให้ส่วนแบ่งพวกเราบ้าง”
พวกที่ได้ผ้าบังสุกุลตอบว่า “พวกเราไม่ให้ส่วนแบ่งแก่พวกท่าน ทำไมพวก
ท่านไม่แวะไปเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ไม่ต้องการก็
ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุที่รออยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๐๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๑๒. ปังสุกูลปริเยสนกถา
สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินทางไกลไปในแคว้นโกศล บางพวกแวะเข้าป่าช้า
เพื่อหาผ้าบังสุกุลก่อน บางพวกแวะเข้าไปทีหลัง ผู้แวะเข้าป่าช้าเพื่อหาผ้าบังสุกุล
ก่อนต่างได้ผ้าบังสุกุล ผู้ที่แวะเข้าไปทีหลังไม่ได้ผ้า จึงพูดว่า “ท่านทั้งหลาย โปรด
ให้ส่วนแบ่งพวกเราบ้าง”
พวกได้ผ้าบังสุกุลตอบว่า “พวกเราไม่ให้ส่วนแบ่งแก่พวกท่าน ทำไมท่านแวะ
ไปทีหลังเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ไม่ต้องการไม่
ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุที่แวะเข้าไปทีหลัง”
สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินทางไกลไปในแคว้นโกศล พร้อมกันแวะเข้าป่าช้า
เพื่อหาผ้าบังสุกุล บางพวกได้ผ้าบังสุกุล บางพวกไม่ได้ผ้า พวกที่ไม่ได้ผ้า
พูดอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย โปรดให้ส่วนแบ่งพวกเราบ้าง”
พวกได้ผ้าบังสุกุลตอบว่า “พวกเราไม่ให้ส่วนแบ่งแก่พวกท่าน ทำไมพวก
ท่านหาไม่ได้เล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ไม่ต้องการ
ก็ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุที่แวะเข้าไปพร้อมกัน”
สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินทางไกลไปในแคว้นโกศล นัดกันแวะเข้าป่าช้าเพื่อ
หาผ้าบังสุกุล บางพวกได้ผ้าบังสกุล บางพวกไม่ได้ผ้า พวกที่ไม่ได้ผ้าพูดอย่างนี้ว่า
“ท่านทั้งหลายโปรดให้ส่วนแบ่งพวกเราบ้าง”
พวกได้ผ้าบังสุกุลตอบว่า “พวกเราไม่ให้ส่วนแบ่งแก่พวกท่าน ทำไมพวก
ท่านหาไม่ได้เล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ไม่ต้องการก็
ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุที่นัดกันแวะเข้าไป”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๐๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๑๓. จีวรปฏิคคาหกสมัตติกถา
๒๑๓. จีวรปฏิคคาหกสัมมติกถา
ว่าด้วยการแต่งตั้งภิกษุเป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร
เรื่องทายกนำจีวรกลับคืน
[๓๔๒] สมัยนั้น คนทั้งหลายถือจีวรมาสู่อาราม หาภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่รับ
ไม่ได้จึงนำจีวรกลับไป จีวรจึงเกิดแก่ภิกษุน้อย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ
๕ อย่างเป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักจีวรที่รับไว้และจีวรที่ยังมิได้รับไว้
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจาแต่งตั้งภิกษุเป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ ในเบื้องต้นต้องขอร้องภิกษุ
จากนั้น ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุ
ชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่
รับจีวร ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร ท่านรูปนั้น
พึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวรแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๐๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๑๓. จีวรปฏิคคาหกสัมมติกถา
ก็สมัยนั้น พวกภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร รับจีวรแล้วทิ้งไว้ในที่นั้นเองแล้ว
หลีกไป จีวรจึงเสียหาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ
๕ อย่าง เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักจีวรที่เก็บไว้และจีวรที่ยังมิได้เก็บไว้”
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจาแต่งตั้งภิกษุเป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ ในเบื้องต้นต้องขอร้องภิกษุ จากนั้น
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว สงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุ
ชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวรแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๐๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๑๔. ภัณฑาคารสัมมติอาทิกถา
๒๑๔. ภัณฑาคารสัมมติอาทิกถา
ว่าด้วยการสมมติเรือนคลังเป็นต้น
เรื่องสมมติเรือนคลัง
[๓๔๓] สมัยนั้น พวกภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร ได้เก็บจีวรไว้ในมณฑปบ้าง
ที่โคนไม้บ้าง ที่ชายคาบ้าง ที่กลางแจ้งบ้าง จีวรถูกหนูและปลวกกัดกิน
ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติเรือนคลังที่สงฆ์
จำนงหวังคือ วิหาร เรือนมุงแถบเดียว ปราสาท เรือนโล้น หรือถ้ำ
วิธีสมมติและกรรมวาจาสมมติเรือนคลัง
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ คือ ในเบื้องต้นต้องขอร้องภิกษุ จากนั้น
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว สงฆ์พึงสมมติวิหารชื่อนี้
ให้เป็นเรือนคลัง นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติวิหารชื่อนี้ให้เป็นเรือนคลัง ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการสมมติวิหารชื่อนี้ให้เป็นเรือนคลัง ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สงฆ์สมมติวิหารชื่อนี้ให้เป็นเรือนคลังแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้น จึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
เรื่องเจ้าหน้าที่รักษาผ้าในเรือนคลัง
สมัยนั้น จีวรในเรือนคลังของสงฆ์ไม่มีผู้ดูแล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๐๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๑๔. ภัณฑาคารสัมมติอาทิกถา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มี
คุณสมบัติ ๕ อย่าง เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักจีวรที่รักษาไว้และจีวรที่ยังมิได้รักษาไว้
วิธีสมมติและกรรมวาจาแต่งตั้งภิกษุให้เป็นเจ้าหน้าที่เรือนคลัง
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ ในเบื้องต้นต้องขอร้องภิกษุ จากนั้น
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว สงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้
ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษา
เรือนคลัง ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลังแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
เรื่องทรงห้ามย้ายเจ้าหน้าที่เรือนคลัง
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ย้ายเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่เรือนคลัง
ไม่ควรให้ย้าย ภิกษุใดให้ย้าย ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๐๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๑๔. ภัณฑาคารสัมมติอาทิกถา
เรื่องจีวรเกิดขึ้นมาก
ก็สมัยนั้น ในเรือนคลังของสงฆ์มีจีวรอยู่มาก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์ผู้อยู่พร้อมหน้า
แจกจีวรกันได้”
เรื่องส่งเสียงดังขณะแจกจีวร
สมัยนั้น เมื่อสงฆ์ทั้งหมดกำลังแจกจีวร ได้เกิดชุลมุนขึ้น
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มี
คุณสมบัติ ๕ อย่าง เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักจีวรที่แจกและจีวรที่ยังมิได้แจก
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจาแต่งตั้งภิกษุให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ ในเบื้องต้นต้องขอร้องภิกษุ จากนั้น
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบ(ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา)ว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว สงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุ
ชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่
แจกจีวร ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร ท่าน
รูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๐๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๑๔. ภัณฑาคารสัมมติอาทิกถา
สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวรแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
เรื่องวิธีแจกจีวร
สมัยนั้น พวกภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวรได้มีความคิดดังนี้ว่า “ควรแจกจีวร
อย่างไรหนอ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คัดเลือกผ้าก่อนแล้ว
พิจารณาคิดถัวกัน นับภิกษุแล้วผูกผ้าเป็นมัดตั้งส่วนจีวรไว้”
เรื่องวิธีให้ส่วนแบ่ง
สมัยนั้น พวกภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวรได้มีความคิดดังนี้ว่า “พึงให้ส่วนจีวร
แก่สามเณรอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบแก่สามเณร
ครึ่งส่วน”๑
เรื่องให้แลกส่วนของตน
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งประสงค์จะรีบเดินทางโดยจะรับส่วนของตนไปด้วย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบส่วนของตนแก่
ภิกษุผู้รีบเดินทาง”

เชิงอรรถ :
๑ สามเณร ในที่นี้ หมายเอาสามเณรที่อวดตัวเองว่าเป็นใหญ่ ไม่ช่วยทำกิจที่พึงทำแก่ภิกษุเหล่าอื่นมุ่งแต่
จะเรียนบาลีและอรรถกถา ทำวัตรปฏิบัติแก่อุปัชฌาย์อาจารย์เท่านั้น ไม่ทำแก่คนอื่น สามเณรเหล่านี้
ควรให้ส่วนแบ่งครึ่งเดียว (วิ.อ. ๓/๓๔๓/๒๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๐๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๑๕. จีวรรชนกถา
เรื่องให้ส่วนพิเศษ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งประสงค์จะรีบเดินทางไปกับส่วนพิเศษ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบส่วนพิเศษในเมื่อ
ให้สิ่งทดแทน”
เรื่องวิธีให้ส่วนจีวร
สมัยนั้น ภิกษุเจ้าหน้าที่แจกจีวรได้มีความคิดดังนี้ว่า พึงให้ส่วนจีวร(ส่วนที่
ไม่พอแจก)อย่างไรหนอ คือ จะให้ตามลำดับผู้มาถึงหรือตามลำดับพรรษา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมยอมส่วนที่พร่อง
แล้วจับสลาก”
๒๑๕. จีวรรชนกถา
ว่าด้วยน้ำย้อมจีวร
เรื่องย้อมจีวรด้วยโคมัย
[๓๔๔] สมัยนั้น พวกภิกษุใช้โคมัยบ้าง ดินแดงบ้าง ย้อมจีวร จีวรมีสีคล้ำ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำย้อม ๖ ชนิด คือ
น้ำย้อมจากรากไม้ น้ำย้อมจากต้นไม้ น้ำย้อมจากเปลือกไม้ น้ำย้อมจากใบไม้
น้ำย้อมจากดอกไม้ และน้ำย้อมจากผลไม้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๐๙ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น