Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๐-๗ หน้า ๒๔๙ - ๒๘๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐-๗ สุตตันตปิฎกที่ ๐๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค



พระสุตตันตปิฎก
ทีฆนิกาย มหาวรรค
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร] ถวายบังคมลาพระเจ้าเรณุ
มทะ (ความมัวเมา) โมหะ (ความหลง)
สัตว์ผู้ประกอบด้วยกิเลสเหล่านี้
จัดว่าเป็นผู้มีกลิ่นชั่วร้าย
ต้องไปอบาย ปิดพรหมโลกแล้ว’
มหาโควินทพราหมณ์กราบทูลว่า ‘เมื่อท่านผู้เจริญตรัสบอกกลิ่นชั่วร้าย
ข้าพเจ้าจึงรู้จัก กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัดได้ง่ายนัก
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต’ สนังกุมารพรหมตรัสว่า
‘โควินทะ ขอท่านจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด’
ถวายบังคมลาพระเจ้าเรณุ
[๓๒๑] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ต่อมา ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไปเฝ้า
พระเจ้าเรณุถึงที่ประทับ ได้กราบทูลดังนี้ว่า ‘บัดนี้ ขอได้โปรดแสวงหาปุโรหิตคนอื่น
ผู้จะถวายคำปรึกษาราชกิจแด่พระองค์เถิด พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ปรารถนาจะ
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยว่าข้าพระองค์ได้ฟังเรื่องกลิ่นชั่วร้ายที่พระพรหม
ตรัสบอก กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัดได้ง่ายนัก ข้าพระองค์
จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระเจ้าข้า’
(ท่านมหาโควินทพราหมณ์กราบทูลด้วยคาถาว่า)
‘ข้าพระองค์ขอถวายบังคมลา
พระเจ้าเรณุผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน
ขอพระองค์ทรงทราบพระราชกิจ
ข้าพระองค์ไม่ยินดีในตำแหน่งปุโรหิต’
(พระเจ้าเรณุตรัสตอบด้วยคาถาว่า)
‘ถ้าท่านยังพร่องด้วยสิ่งที่น่าปรารถนา
เราจะเพิ่มให้เต็ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร] ถวายบังคมลาพระเจ้าเรณุ
ผู้ใดเบียดเบียนท่าน
เราผู้เป็นเจ้าแผ่นดินจะห้ามผู้นั้นเอง
(ท่านมหาโควินทพราหมณ์ทูลตอบว่า)
‘ข้าพระองค์ไม่พร่องด้วยสิ่งที่น่าปรารถนา
ไม่มีใครเบียดเบียนข้าพระองค์
แต่เพราะได้ฟังคำของผู้ไม่ใช่มนุษย์
ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีการอยู่ครองเรือน’
(พระเจ้าเรณุตรัสถามว่า)
‘ท่านผู้ไม่ใช่มนุษย์มีวรรณะอย่างไร
บอกอะไรซึ่งท่านฟังแล้ว
ยอมทอดทิ้งทั้งเหย้าเรือนของพวกเรา
ทั้งพวกเราและชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น’
(ท่านมหาโควินทพราหมณ์ทูลตอบว่า)
‘เมื่อข้าพระองค์อยู่เพียงลำพัง
เมื่อก่อนต้องการจะเซ่นสรวงบูชา
จึงสุมไฟให้ลุกโพลงด้วยใบหญ้าคา
ทันใดนั้น สนังกุมารพรหมผู้เป็นพรหมตลอดกาล
มาจากพรหมโลกปรากฏแก่ข้าพระองค์
พระพรหมตอบปัญหาแก่ข้าพระองค์
เพราะได้ฟังคำตอบ
ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีในการอยู่ครองเรือน’
(พระเจ้าเรณุตรัสถามว่า)
‘ท่านโควินทะ ข้าพเจ้าเชื่อคำที่ท่านบอก
ท่านฟังคำของผู้ไม่ใช่มนุษย์แล้ว
จะประพฤติเป็นอย่างอื่นได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]
ถวายบังคมลากษัตริย์ ๖ พระองค์
เราจะประพฤติตามท่าน ท่านโควินทะเป็นครูของเรา
พวกเราจักประพฤติให้บริสุทธิ์
ตามคำสั่งสอนของท่านโควินทะ
เหมือนแก้วไพฑูรย์ไม่มีฝ้า ไร้ราคี งดงาม ฉะนั้น’
(พระเจ้าเรณุตรัสว่า) ‘ถ้าท่านโควินทะจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เราก็
จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตบ้าง ท่านมีคติใด เราก็จะมีคตินั้นด้วย’
ถวายบังคมลากษัตริย์ ๖ พระองค์
[๓๒๒] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ต่อมา ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไปเฝ้า
กษัตริย์ ๖ พระองค์ถึงที่ประทับ ได้กราบทูลดังนี้ว่า ‘บัดนี้ ขอได้โปรดแสวงหา
ปุโรหิตคนอื่นผู้จะถวายคำปรึกษาราชกิจแด่พระองค์เถิด พระเจ้าข้า ข้าพระองค์
ปรารถนาจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยว่าข้าพระองค์ได้ฟังเรื่องกลิ่นชั่ว
ร้ายที่พระพรหมตรัสบอก กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัดได้
ง่ายนัก ข้าพระองค์จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระเจ้าข้า’
ลำดับนั้น กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ ทรงเลี่ยงไปด้านหนึ่ง ทรงคิดกันว่า
‘ธรรมดาพราหมณ์เหล่านี้มักอยากได้ทรัพย์ ทางที่ดี เราควรเกลี้ยกล่อมมหาโควินท-
พราหมณ์ด้วยทรัพย์’ แล้วเสด็จเข้าไปหามหาโควินทพราหมณ์ ตรัสอย่างนี้ว่า
‘ในราชอาณาจักรทั้ง ๗ นี้ มีทรัพย์สมบัติมากพอ เราจะขนมาให้ตามที่ท่าน
ต้องการ’
ท่านมหาโควินทพราหมณ์กราบทูลว่า ‘อย่าเลย พระเจ้าข้า ทรัพย์ของ
ข้าพระองค์นี้มีมากพอกับทรัพย์ของพระองค์ ข้าพระองค์จะทอดทิ้งทรัพย์ทั้งสิ้นออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยว่า ข้าพระองค์ได้ฟังเรื่องกลิ่นชั่วร้ายที่พระพรหม
ตรัสบอก กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัดได้ง่ายนัก ข้าพระองค์
จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระเจ้าข้า’
ลำดับนั้น กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ ทรงเลี่ยงไปด้านหนึ่ง ทรงคิดกันว่า ‘ธรรมดา
พราหมณ์เหล่านี้มักอยากได้สตรี ทางที่ดี เราควรเกลี้ยกล่อมมหาโควินทพราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]
ถวายบังคมลากษัตริย์ ๖ พระองค์
ด้วยสตรี’ แล้วเสด็จเข้าไปหามหาโควินทพราหมณ์ ตรัสอย่างนี้ว่า ‘ในราชอาณาจักร
ทั้ง ๗ นี้ มีสตรีมากมาย เราจะนำสตรีมาให้ตามที่ท่านต้องการ’
ท่านมหาโควินทพราหมณ์กราบทูลว่า ‘อย่าเลย พระเจ้าข้า ข้าพระองค์มี
ภรรยาฐานะเท่ากันถึง ๔๐ คน ข้าพระองค์จะทอดทิ้งภรรยาทุก ๆ คน ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยว่าข้าพระองค์ได้ฟังเรื่องกลิ่นชั่วร้ายที่พระพรหมตรัสบอก
กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัดได้ง่ายนัก ข้าพระองค์จะออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระเจ้าข้า’
[๓๒๓] กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ตรัสว่า ‘ถ้าท่านโควินทะจะออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต พวกเราก็จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตบ้าง ท่านมีคติใด
พวกเราก็จะมีคตินั้นด้วย’
ท่านมหาโควินทพราหมณ์กราบทูลว่า
‘หากพระองค์จะทรงละสิ่งที่น่าปรารถนา
อันเป็นที่ข้องอยู่ของปุถุชน
ขอจงปรารภความเพียร
ทรงประกอบด้วยกำลังขันติ เจริญให้มั่นอยู่
ทางนี้เป็นทางตรง ไม่มีทางอื่นดีกว่า
นี้เป็นพระสัทธรรมที่สัตบุรุษรักษาไว้
เพื่อไปเกิดในพรหมโลก’
กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ตรัสว่า ‘ถ้าเช่นนั้น ท่านมหาโควินทะขอจงรอคอยสัก
๗ ปีเมื่อเวลาล่วง ๗ ปี พวกเราจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ท่านมีคติใด
พวกเราก็จะมีคตินั้นด้วย’
ท่านมหาโควินทพราหมณ์กราบทูลว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เวลา
๗ ปี นานเกินไป ข้าพระองค์ไม่อาจรอคอยพระองค์อยู่ได้ถึง ๗ ปี ก็ใครจะ
รู้(ชะตา)ชีวิตได้เล่า บุคคลต้องไปปรโลก บัณฑิตจึงควรกำหนดรู้ด้วยปัญญา ควรทำ
กุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เกิดมาแล้วไม่ตายไม่มี ข้าพระองค์ได้ฟังเรื่องกลิ่น
ชั่วร้ายที่พระพรหมตรัสบอก กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัด
ได้ง่ายนัก ข้าพระองค์จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระเจ้าข้า’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]
ถวายบังคมลากษัตริย์ ๖ พระองค์
กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ตรัสว่า ‘ถ้าเช่นนั้น ท่านโควินทะขอจงรอคอยสัก
๖ ปี ฯลฯ ขอจงรอคอยสัก ๕ ปี ฯลฯ ขอจงรอคอยสัก ๔ ปี ฯลฯ ขอจงรอคอย
สัก ๓ ปี ฯลฯ ขอจงรอคอยสัก ๒ ปี ฯลฯ ขอจงรอคอยสัก ๑ ปี เมื่อเวลาล่วงไป
๑ ปี พวกเราจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ท่านมีคติใด พวกเราก็จะมีคติ
นั้นด้วย’
ท่านโควินทพราหมณ์กราบทูลว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เวลา
๑ ปีนานเกินไป ข้าพระองค์ไม่อาจรอคอยพระองค์อยู่ได้ถึง ๑ ปี ก็ใครจะรู้ชีวิต
ได้เล่า บุคคลต้องไปปรโลก บัณฑิตจึงควรกำหนดรู้ด้วยปัญญา ควรทำกุศล
ควรประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เกิดมาแล้วไม่ตายไม่มี ข้าพระองค์ได้ฟังเรื่องกลิ่นชั่วร้าย
ที่พระพรหมตรัสบอก กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัดได้
ง่ายนัก ข้าพระองค์จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระเจ้าข้า’
กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ตรัสว่า ‘ถ้าเช่นนั้น ท่านโควินทะขอจงรอคอยสัก
๗ เดือน เมื่อเวลาล่วง ๗ เดือน พวกเราจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ท่านมี
คติใด พวกเราก็จะมีคตินั้นด้วย’
ท่านโควินทพราหมณ์กราบทูลว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เวลา ๗ เดือน
นานเกินไป ข้าพระองค์ไม่อาจรอคอยพระองค์อยู่ได้ถึง ๗ เดือน ก็ใครจะรู้ชีวิต
ได้เล่า บุคคลต้องไปปรโลก บัณฑิตจึงควรกำหนดรู้ด้วยปัญญา ควรทำกุศล
ควรประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เกิดมาแล้วไม่ตายไม่มี ข้าพระองค์ได้ฟังเรื่องกลิ่น
ชั่วร้ายที่พระพรหมตรัสบอก กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัด
ได้ง่ายนัก ข้าพระองค์จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระเจ้าข้า’
กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ตรัสว่า ‘ถ้าเช่นนั้น ท่านโควินทะขอจงรอคอยสัก
๖ เดือน ฯลฯ ขอจงรอคอยสัก ๕ เดือน ฯลฯ ขอจงรอคอยสัก ๔ เดือน ฯลฯ
ขอจงรอคอยสัก ๓ เดือน ฯลฯ ขอจงรอคอยสัก ๒ เดือน ฯลฯ ขอจงรอคอยสัก
๑ เดือน ฯลฯ ขอจงรอคอยสักกึ่งเดือน เมื่อเวลาล่วงไปกึ่งเดือน พวกเราจะออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ท่านมีคติใด พวกเราก็จะมีคตินั้นด้วย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]
บอกลาพราหมณมหาศาลเป็นต้น
ท่านโควินทพราหมณ์กราบทูลว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เวลา
กึ่งเดือนนานเกินไป ข้าพระองค์ไม่อาจรอคอยพระองค์อยู่ได้ถึงกึ่งเดือน ก็ใครจะรู้
ชีวิตได้เล่า บุคคลต้องไปปรโลก บัณฑิตจึงควรกำหนดรู้ด้วยปัญญา ควรทำกุศล
ควรประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เกิดมาแล้วไม่ตายไม่มี ข้าพระองค์ได้ฟังเรื่องกลิ่นชั่วร้าย
ที่พระพรหมตรัสบอก กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัดได้
ง่ายนัก ข้าพระองค์จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระเจ้าข้า’
กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ตรัสว่า ‘ถ้าเช่นนั้น ท่านโควินทะขอจงรอคอยสัก ๗ วัน
พอให้พวกเราสั่งสอนเรื่องราชกิจกับบุตรและพี่ชายน้องชายของตน ๆ เสียก่อน เมื่อ
เวลาล่วงไป ๗ วัน พวกเราจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ท่านมีคติใด พวกเรา
ก็จะมีคตินั้นด้วย’
ท่านโควินทพราหมณ์กราบทูลว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เวลา ๗ วัน
ไม่นานเกินไป ข้าพระองค์จักรอคอยสัก ๗ วัน’
บอกลาพราหมณมหาศาลเป็นต้น
[๓๒๔] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ต่อมา ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไปหา
พราหมณมหาศาล ๗ คน และพราหมณ์นหาดก ๗๐๐ คน ถึงที่อยู่ แล้วบอกว่า
‘บัดนี้ พวกท่านจงแสวงหาอาจารย์อื่นผู้จะสอนมนตร์แก่พวกท่าน เราปรารถนา
จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เราได้ฟังเรื่องกลิ่นชั่วร้ายที่พระพรหมตรัสบอก
กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัดได้ง่ายนัก เราจะออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต’
พวกพราหมณมหาศาลและพราหมณ์นหาดกกล่าวว่า ‘ท่านโควินทะ อย่าออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเลย บรรพชามีศักดิ์น้อยและมีลาภน้อย ความเป็น
พราหมณ์มีศักดิ์ใหญ่และมีลาภมาก’ ท่านมหาโควินทพราหมณ์ตอบว่า ‘พวกท่าน
อย่าพูดอย่างนี้ว่า ‘บรรพชามีศักดิ์น้อยและมีลาภน้อย ความเป็นพราหมณ์มีศักดิ์
ใหญ่และมีลาภมาก’ ใครกันเล่าที่มีศักดิ์ใหญ่กว่าหรือมีลาภมากกว่าเรา เวลานี้เรา
เป็นเหมือนพระราชาของพระราชาทั้งหลาย เป็นเหมือนพระพรหมของพวกพราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]
มหาโควินทพราหมณ์ออกบวช
เป็นเหมือนเทวดาของพวกคหบดี เราจะทอดทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต ด้วยว่าเราได้ฟังเรื่องกลิ่นชั่วร้ายที่พระพรหมตรัสบอก กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้น
ไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัดได้ง่ายนัก เราจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต’
พวกพราหมณมหาศาลและพราหมณ์นหาดกกล่าวว่า ‘ถ้าท่านโควินทะจะ
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต แม้พวกเราก็จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ท่านมีคติใด พวกเราก็จะมีคตินั้นด้วย’
บอกลาภรรยา
[๓๒๕] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ต่อมา ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไป
หาภรรยาผู้มีฐานะเท่ากันทั้ง ๔๐ คนถึงที่อยู่ แล้วบอกว่า ‘น้องหญิงทั้งหลาย
น้องหญิงคนใดปรารถนาจะกลับไปยังตระกูลแห่งญาติของตนก็กลับได้ หรือจะหาสามี
ใหม่ก็ได้ ฉันปรารถนาจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพราะว่าฉันได้ฟังเรื่องกลิ่น
ชั่วร้ายที่พระพรหมตรัสบอก กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัด
ได้ง่ายนัก ฉันจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต’
ภรรยาเหล่านั้นกล่าวว่า ‘ท่านเท่านั้นที่เป็นญาติของพวกดิฉันผู้ต้องการญาติ
เป็นสามีของพวกดิฉันผู้ต้องการสามี ถ้าท่านจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
พวกดิฉันก็จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วย ท่านมีคติใด พวกดิฉันก็จะมีคติ
นั้นด้วย’
มหาโควินทพราหมณ์ออกบวช
[๓๒๖] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เมื่อเวลาล่วงไป ๗ วัน ท่านมหาโควินท-
พราหมณ์โกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
เมื่อท่านบวชแล้ว ได้มีผู้โกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตตามอีกจำนวนมาก ได้แก่ กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ๗
พระองค์ พราหมณมหาศาล ๗ คน พราหมณ์นหาดก ๗๐๐ คน ภรรยาผู้มีฐานะ
เท่ากันทั้ง ๔๐ คน กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดีและหญิงรับใช้อีกหลายพันคน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร] เจริญพรหมวิหาร ๔ ประการ
ได้ทราบว่า ท่านมหาโควินทพราหมณ์มีบริษัทนั้นแวดล้อม จาริกไปในหมู่บ้าน
นิคมและราชธานีทั้งหลาย เมื่อท่านเข้าไปยังหมู่บ้านหรือนิคมใด ก็เป็นเหมือน
พระราชาของพระราชาทั้งหลาย เป็นเหมือนพระพรหมของพวกพราหมณ์ เป็น
เหมือนเทวดาของพวกคหบดีในหมู่บ้านหรือนิคมนั้น เวลานั้น ชาวบ้านผู้พลาดพลั้ง
หรือลื่นหกล้มพากันพูดอย่างนี้ว่า ‘ขอนอบน้อมแด่ท่านมหาโควินทพราหมณ์
ขอนอบน้อมแด่ท่านปุโรหิตของพระเจ้าแผ่นดินทั้ง ๗ พระองค์’
เจริญพรหมวิหาร ๔ ประการ
[๓๒๗] มหาโควินทพราหมณ์มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุก
หมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
มีกรุณาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน
ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยกรุณาจิต
อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
มีมุทิตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน
ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยมุทิตาจิต
อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน
ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิต
อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
มหาโควินทพราหมณ์แสดงหนทางแห่งความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมใน
พรหมโลกแก่เหล่าสาวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร] เจริญพรหมวิหาร ๔ ประการ
[๓๒๘] สมัยนั้น เหล่าสาวกของมหาโควินทพราหมณ์ผู้รู้คำสั่งสอนทั่วทั้งหมด๑
หลังจากตายไป ไปเกิดในสุคติพรหมโลก ส่วนเหล่าสาวกผู้ไม่รู้คำสั่งสอนทั่วทั้งหมด๒
หลังจากตายไป บางพวกเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
บางพวกเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทพชั้นนิมมานรดี บางพวกเข้าถึงความเป็นผู้
อยู่ร่วมกับเหล่าเทพชั้นดุสิต บางพวกเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทพชั้นยามา
บางพวกเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์ บางพวกเข้าถึงความเป็น
ผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทพชั้นจาตุมหาราช ผู้ที่ได้รับผลอย่างต่ำกว่าเขาทั้งหมด ได้เป็น
หมู่คนธรรพ์
การบวชของกุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด จึงไม่เป็นโมฆะ ไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร
ด้วยประการฉะนี้แล”
[๓๒๙] ปัญจสิขะ คันธรรพบุตรทูลถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงระลึกถึง
เรื่องนั้นได้อยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ปัญจสิขะ เรายังระลึกได้ สมัยนั้น เราเป็น
มหาโควินทพราหมณ์ ได้แสดงทางแห่งความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมในพรหมโลกแก่
สาวกเหล่านั้น แต่พรหมจรรย์นั้นไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เป็นไปเพียงเพื่อไปเกิด
ในพรหมโลกเท่านั้น
ส่วนพรหมจรรย์ของเรานี้ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อ
คลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
พรหมจรรย์ที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น คืออะไร

เชิงอรรถ :
๑ ผู้รู้คำสั่งสอนทั่วทั้งหมด หมายถึงผู้ได้สมาบัติ ๘ และอภิญญา ๖ (ที.ม.อ. ๓๒๘/๒๘๕)
๒ ผู้ไม่รู้คำสั่งสอนทั่วทั้งหมด หมายถึงผู้ไม่รู้สมาบัติแม้เพียงอย่างเดียว (ที.ม.อ. ๓๒๘/๒๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร] เจริญพรหมวิหาร ๔ ประการ
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)___๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)___๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ___๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)___๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

ปัญจสิขะ นี้แลคือพรหมจรรย์ที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
[๓๓๐] ปัญจสิขะ เหล่าสาวกของเราผู้รู้คำสั่งสอนทั่วทั้งหมด ทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เหล่าสาวกผู้ไม่รู้คำสั่งสอนทั่วทั้งหมด บางพวกเป็นโอปปาติกะ
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจาก
โลกนั้นอีก บางพวกเป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และ
เพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
บางพวกเป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป ไม่มีทางตกต่ำ มีความ
แน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า การบวชของกุลบุตรเหล่านี้ทั้งหมด จึงไม่
เป็นโมฆะ ไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร ด้วยประการฉะนี้แล”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ปัญจสิขะ คันธรรพบุตรมีใจยินดี ชื่นชม
อนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำ
ประทักษิณแล้วหายไปจากที่นั้นเอง
มหาโควินทสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๗. มหาสมยสูตร]
ว่าด้วยการประชุมครั้งใหญ่ของเทวดา

๗. มหาสมยสูตร
ว่าด้วยการประชุมครั้งใหญ่ของเทวดา
[๓๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่ามหาวัน๑ เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้น
สักกะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ซึ่งล้วนเป็นพระอรหันต์
มีเหล่าเทวดาจำนวนมากจาก ๑๐ โลกธาตุมาประชุมกันเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค
และเยี่ยมภิกษุสงฆ์
เทพชั้นสุทธาวาส ๔ องค์ ได้มีความดำริดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้
ประทับอยู่ที่ป่ามหาวัน เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ประมาณ ๕๐๐ รูป ซึ่งล้วนเป็นพระอรหันต์ มีเหล่าเทวดาจำนวนมากจาก ๑๐
โลกธาตุมาประชุมกัน เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคและเยี่ยมภิกษุสงฆ์ ทางที่ดี เราก็ควร
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วกล่าวคาถาองค์ละคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาค”
[๓๓๒] ลำดับนั้น เทพเหล่านั้นหายไปจากเทวโลกชั้นสุทธาวาสมาปรากฏ
ณ เบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า
ฉะนั้น ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร เทพองค์หนึ่งได้กล่าว
คาถานี้ว่า
“การประชุมครั้งใหญ่ในป่าใหญ่
มีหมู่เทพมาประชุมกัน
พวกเราพากันมายังธรรมสมัย๒นี้
ก็เพื่อได้เยี่ยมสงฆ์ผู้ไม่พ่ายแพ้”

เชิงอรรถ :
๑ ป่ามหาวัน เป็นป่าที่เกิดเองตามธรรมชาติ อยู่ติดกับเทือกเขาหิมาลัย (ที.ม.อ. ๓๓๑/๒๘๗)
๒ ธรรมสมัย ในที่นี้หมายถึงสถานที่ที่ประชุมเพื่อฟังธรรม (ที.ม.อ. ๓๓๒/๒๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๗. มหาสมยสูตร]
ว่าด้วยการประชุมครั้งใหญ่ของเทวดา
จากนั้น เทพอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมนั้น
มีจิตมั่นคง ทำจิตของตน ๆ ให้ตรง
ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตย่อมรักษาอินทรีย์ไว้
เหมือนสารถีผู้กุมบังเหียนขับรถม้าไป”
เทพอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ว่า
“ภิกษุเหล่านั้นตัดกิเลสดังตะปู๑
ตัดกิเลสดังลิ่มสลัก ถอนกิเลสดังเสาเขื่อนได้แล้ว
เป็นผู้ไม่หวั่นไหว บริสุทธิ์
เป็นผู้ปราศจากมลทิน เที่ยวไป
เป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุ๒ทรงฝึกดีแล้ว
เหมือนช้างหนุ่ม ฉะนั้น”
เทพอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ว่า
“เหล่าชนผู้นับถือพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
จักไม่ไปสู่อบายภูมิ ครั้นละกายมนุษย์แล้ว
จักทำให้หมู่เทพเจริญเต็มที่”๓

เชิงอรรถ :
๑ กิเลสดังตะปู ในที่นี้หมายถึงราคะ โทสะ และโมหะ กิเลสดังลิ่มสลัก และกิเลสดังเสาเขื่อน ก็มีนัยเช่น
เดียวกัน (ที.ม.อ. ๓๓๒/๒๙๖)
๒ มีพระจักษุ หมายถึงมีพระจักษุ ๕ คือ ๑. มังสจักขุ (ตาเนื้อ) ๒. ทิพพจักขุ (ตาทิพย์) ๓. ปัญญาจักขุ
(ตาปัญญา) ๔. พุทธจักขุ (ตาพระพุทธเจ้า) ๕. สมันตจักขุ (ตาเห็นรอบ) (ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๑/๕๕, ที.ม.อ.
๑๘๖/๑๖๙, ๓๓๔/๓๐๐)
๓ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๓๗/๔๙-๕๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๗. มหาสมยสูตร] การประชุมของเทวดา

การประชุมของเทวดา
[๓๓๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเทวดาจำนวนมากใน ๑๐ โลกธาตุประชุมกันเพื่อเยี่ยมตถาคตและ
ภิกษุสงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งหลายในอดีตกาล ที่มาประชุมกัน ครั้งที่มีจำนวนสูงสุดก็เท่ากับพวกเทวดาของ
เรานี้เองที่มาประชุมกันในบัดนี้ พวกเทวดาของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอนาคตกาลที่มาประชุมกัน ครั้งที่มีจำนวนสูงสุดก็เท่ากับ
พวกเทวดาของเรานี้เองที่มาประชุมกันในบัดนี้ เราจักบอกชื่อของหมู่เทพ จักระบุ
ชื่อของหมู่เทพ จักแสดงชื่อของหมู่เทพ เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
[๓๓๔] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
“เรา๑จะกล่าวเป็นคาถา
เหล่าภุมมเทวดาอาศัยอยู่ในที่ใด
เหล่าภิกษุก็อาศัยอยู่ในที่นั้น
ภิกษุเหล่าใดอาศัยซอกเขา
มีจิตมุ่งมั่น มีจิตตั้งมั่น
พวกเธอมีจำนวนมากเร้นอยู่ เหมือนราชสีห์
ข่มความขนพองสยองเกล้าได้
มีจิตสะอาด หมดจดผ่องใส ไม่ขุ่นมัว
พระศาสดาทรงทราบว่ามีภิกษุกว่า ๕๐๐ รูป
ผู้อยู่ในป่า ในเขตกรุงกบิลพัสดุ์

เชิงอรรถ :
๑ เรา ในที่นี้หมายถึงพระผู้มีพระภาค (ที.ม.อ. ๓๓๔/๒๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๗. มหาสมยสูตร] การประชุมของเทวดา
จึงรับสั่งเรียกพระสาวกผู้ยินดีในศาสนามาตรัสว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย หมู่เทพมุ่งมากันแล้ว
พวกเธอจงรู้จักเทพเหล่านั้น’
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พากันทำความเพียร๑’
จึงมีญาณอันเป็นเหตุให้เห็นพวกอมนุษย์ปรากฏขึ้น
ภิกษุบางพวก เห็นอมนุษย์ ๑๐๐ ตน
บางพวกเห็น ๑,๐๐๐ ตน
บางพวกเห็น ๗๐,๐๐๐ ตน
บางพวกเห็น ๑๐๐,๐๐๐ ตน
บางพวกเห็นมากมายไม่มีที่สิ้นสุด
อมนุษย์อยู่กระจายไปทั่วทุกทิศ
พระศาสดาผู้มีพระจักษุ
ทรงทราบเหตุทั้งหมด ทรงกำหนดแล้ว
จึงรับสั่งเรียกพระสาวกผู้ยินดีในศาสนามาตรัสว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย หมู่เทพมุ่งมากันแล้ว
เธอทั้งหลายจงรู้จักหมู่เทพเหล่านั้น
เราจะบอกเธอทั้งหลายด้วยวาจาตามลำดับ
[๓๓๕] ยักษ์ ๗,๐๐๐ ตน ที่เป็นภุมมเทวดาอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์
มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง๒
มีผิวพรรณงดงาม มียศ
ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ทำความเพียร ในที่นี้หมายถึงการเข้าผลสมาบัติ (ที.ม.อ. ๓๔๓/๓๐๙)
๒ มีความรุ่งเรือง หมายถึงประกอบด้วยอานุภาพ (ที.ม.อ. ๓๔๑/๓๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๗. มหาสมยสูตร] การประชุมของเทวดา
ยักษ์ ๖,๐๐๐ ตนอยู่ที่ภูเขาหิมพานต์
มีผิวพรรณหลายหลาก
มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง
มีผิวพรรณงดงาม มียศ
ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย
ยักษ์ ๓,๐๐๐ ตนอยู่ที่ภูเขาสาตาคีรี
มีผิวพรรณหลายหลาก
มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง
มีผิวพรรณงดงาม มียศ
ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย
ยักษ์เหล่านั้นรวมเป็น ๑๖,๐๐๐ ตน
มีผิวพรรณหลายหลาก
มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง
มีผิวพรรณงดงาม มียศ
ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย
ยักษ์ ๕๐๐ ตนอยู่ที่ภูเขาเวสสามิต
มีผิวพรรณหลายหลาก
มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง
มีผิวพรรณงดงาม มียศ
ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย
กุมภีรยักษ์ผู้รักษากรุงราชคฤห์อยู่ที่ภูเขาเวปุลละ
มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง
มีผิวพรรณงดงาม มียศ
ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๗. มหาสมยสูตร] การประชุมของเทวดา
[๓๓๖] ท้าวธตรฐปกครองทิศตะวันออก
เป็นหัวหน้าของพวกคนธรรพ์
เป็นมหาราชผู้มียศ
แม้บุตรของเธอมีจำนวนมาก
ต่างมีพลังมาก(และ)มีชื่อว่าอินทะ
มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง
มีผิวพรรณงดงาม มียศ
ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย
ท้าววิรุฬหกปกครองทิศใต้
เป็นหัวหน้าของพวกกุมภัณฑ์
เป็นมหาราชผู้มียศ
แม้บุตรของเธอมีจำนวนมาก
ต่างมีพลังมาก(และ)มีชื่อว่าอินทะ
มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง
มีผิวพรรณงดงาม มียศ
ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย
ท้าววิรูปักษ์ปกครองทิศตะวันตก
เป็นหัวหน้าของพวกนาค
เป็นมหาราชผู้มียศ
แม้บุตรของเธอมีจำนวนมาก
ต่างมีพลังมาก(และ)มีชื่อว่าอินทะ
มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง
มีผิวพรรณงดงาม มียศ
ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๗. มหาสมยสูตร] การประชุมของเทวดา
ท้าวกุเวรปกครองทิศเหนือ
เป็นหัวหน้าของพวกยักษ์
เป็นมหาราชผู้มียศ
แม้บุตรของเธอมีจำนวนมาก
ต่างมีพลังมาก (และ)มีชื่อว่าอินทะ
มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง
มีผิวพรรณงดงาม มียศ
ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย
ท้าวธตรฐอยู่ทางทิศตะวันออก
ท้าววิรุฬหกอยู่ทางทิศใต้
ท้าววิรูปักษ์อยู่ทางทิศตะวันตก
ท้าวกุเวรอยู่ทางทิศเหนือ
ท้าวจาตุมหาราชนั้น
มีแสงสว่างส่องไปโดยรอบทั่วทั้ง ๔ ทิศ
สถิตอยู่ในป่า เขตกรุงกบิลพัสดุ์
[๓๓๗] พวกผู้รับใช้ของท้าวจาตุมหาราชเหล่านั้น
เป็นพวกมีมายา หลอกลวง โอ้อวดก็มาด้วย
พวกผู้รับใช้ที่มีมายา คือ
กุเฏณฑุ เวเฏณฑุ วิฏู วิฏุฏะ
จันทนะ กามเสฏฐะ กินนุฆัณฑุ และ นิฆัณฑุก็มาด้วย
ปนาทะ โอปมัญญะ มาตลิผู้เป็นเทพสารถี
จิตตเสนะ๑ นโฬราชะ ชโนสภะ ปัญจสิขะ

เชิงอรรถ :
๑ จิตตเสนะ เป็นชื่อเทวบุตรพวกคนธรรพ์ ๓ องค์ คือ (๑) จิตตะ (๒) เสนะ (๓) จิตตเสนะ (ที.ม.ฏีกา
๓๓๗/๓๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๗. มหาสมยสูตร] การประชุมของเทวดา
ติมพรุ (คันธรรพเทวราชา)
และสุริยวัจฉสา (คันธรรพเทวธิดา) ก็มาด้วย
เทวราชเหล่านั้นและคนธรรพ์อื่น ๆ ที่มาพร้อมเทวราช
ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย
[๓๓๘] อนึ่ง หมู่นาคที่อยู่ในสระนาภสะ
และที่อยู่ในกรุงเวสาลีมาพร้อมด้วยพวกนาคตัจฉกะ
นาคกัมพลและนาคอัสดรก็มาด้วย
และนาคที่อยู่ในท่าปายาคะก็มาพร้อมด้วยหมู่ญาติ
นาคผู้อยู่ในแม่น้ำยมุนา
และนาคที่เกิดในตระกูลธตรฐผู้มียศก็มา
พญาช้างเอราวัณก็มายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย
เหล่าครุฑผู้เป็นทิพย์ มีนัยน์ตาบริสุทธิ์
ผู้สามารถจับนาคราชได้ฉับพลัน
ผู้บินมาทางอากาศถึงท่ามกลางป่า
มีชื่อว่าจิตรสุบรรณ
เวลานั้น พวกนาคราชไม่มีความหวาดกลัว
(เพราะ) พระพุทธเจ้าทรงกระทำให้ปลอดภัยจากครุฑ
นาคกับครุฑเจรจากันด้วยวาจาอันไพเราะ
ต่างมีพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
[๓๓๙] อสูรพวกที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร
เป็นผู้พ่ายแพ้ต่อพระอินทร์ผู้ถือวชิราวุธ
อสูรเหล่านั้นมีฤทธิ์ มียศ
เป็นพี่น้องของท้าววาสวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๗. มหาสมยสูตร] การประชุมของเทวดา
พวกอสูรกาลกัญชะมีร่างน่ากลัวมาก
พวกอสูรทานเวฆสะ อสูรเวปจิตติ
อสูรสุจิตติ อสูรปหาราทะ
และพญามารนมุจีก็มาด้วย
บุตรของพลิอสูร ๑๐๐ ตนที่ชื่อว่าเวโรจนะ
ทุกตนต่างสวมเกราะเข้มแข็งเข้าไปใกล้ราหูจอมอสูร
แล้วกล่าวว่า ‘ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน
บัดนี้ ถึงเวลาที่ท่านควรเข้าไป
สู่ป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย’
[๓๔๐] เวลานั้น เทพ (๑๐ หมู่) คือ
อาโป ปฐวี เตโช วาโย
วรุณะ วารุณะ โสมะ ยสสะ
เมตตาและกรุณา๑ เป็นผู้มียศก็มาด้วย
เทพทั้ง ๑๐ หมู่นี้แบ่งเป็น ๑๐ พวก
ทั้งหมดล้วนมีผิวพรรณหลายหลาก
มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง
มีผิวพรรณงดงาม มียศ
ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย
เทพ (๑๐ หมู่) คือ
เวณฑู สหลี และเทพ ๒ หมู่ คือ อสมะ และยมะก็มา
เทพผู้อาศัยพระจันทร์ มีพระจันทร์นำหน้ามา

เชิงอรรถ :
๑ เมตตาและกรุณา หมายถึงเหล่าเทพที่เกิดด้วยอำนาจเมตตาฌานและกรุณาฌานที่เคยบำเพ็ญมา (ที.ม.อ.
๓๔๐/๓๐๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๗. มหาสมยสูตร] การประชุมของเทวดา
เทพผู้อาศัยพระอาทิตย์ มีพระอาทิตย์นำหน้ามา
เทพพวกมันทวลาหกะ๑ มีพระนักษัตรนำหน้ามา
พระอินทร์ผู้เป็นท้าวสักกะ
ผู้เป็นท้าวปุรินททะ๒ ท้าววาสวะ
ประเสริฐกว่าเหล่าเทพวสุ๓ก็มา
เทพทั้ง ๑๐ หมู่นี้แบ่งเป็น ๑๐ พวก
ทั้งหมดล้วนมีผิวพรรณหลายหลาก
มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง
มีผิวพรรณงดงาม มียศ
ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย
เทพอีก (๑๐ หมู่) คือ
สหภู ผู้รุ่งเรืองดังเปลวไฟ
อริฏฐกะ โรชะ ผู้มีรัศมีดังสีดอกผักตบ
วรุณะ สหธรรม อัจจุตะ อเนชกะ
สุเลยยะ รุจิระ และวาสวเนสีก็มา
เทพทั้ง ๑๐ หมู่นี้แบ่งเป็น ๑๐ พวก
ทั้งหมดล้วนมีผิวพรรณหลายหลาก
มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง

เชิงอรรถ :
๑ เทพพวกมันทวลาหกะ ในที่นี้หมายถึงเทพ ๓ องค์ คือ (๑) วาตวลาหกเทพบุตร (๒) อัพภวลาหกเทพบุตร
(๓) อุณหวลาหกเทพบุตร (ที.ม.อ. ๓๓๙/๓๐๕)
๒ ปุรินททะ ตามคติของฮินดูเป็นชื่อหนึ่งของพระอินทร์ แปลว่า ผู้ทำลายเมือง (ปุรททะ) ตามคติพุทธศาสนา
เป็นชื่อหนึ่งของพระอินทร์ แปลว่า ผู้ให้ทานในกาลก่อน (ปุเร ทานํ ททาตีติ ปุรินฺทโท) (T.W. Rhys Davids
and William Stede P. 469)
๓ เทพวสุ หมายถึงเทพเจ้าแห่งทรัพย์ (T.W.Rhys Davids and William Stede P. 605)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๗. มหาสมยสูตร] การประชุมของเทวดา
มีผิวพรรณงดงาม มียศ
ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย
เทพอีก (๑๐ หมู่) คือ
สมานะ มหาสมานะ มานุสะ
มานุสุตตมะ ขิฑฑาปทูสิกะ มโนปทูสิกะ
หริ โลหิตวาสี ปารคะ และมหาปารคะผู้มียศก็มา
เทพทั้ง ๑๐ หมู่นี้แบ่งเป็น ๑๐ พวก
ทั้งหมดล้วนมีผิวพรรณหลายหลาก
มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง
มีผิวพรรณงดงาม มียศ
ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย
เทพอีก (๑๐ หมู่) คือ
สุกกะ กรุมหะ อรุณะ เวฆนสะ
โอทาตคัยหะผู้เป็นหัวหน้า วิจักขณะ
สทามัตตะ หารคชะ มิสสกะผู้มียศ
และปชุนนเทวราชผู้บันดาลฝนให้ตกทั่วทุกทิศก็มา
เทพทั้ง ๑๐ หมู่นี้แบ่งเป็น ๑๐ พวก
ทั้งหมดล้วนมีผิวพรรณหลายหลาก
มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง
มีผิวพรรณงดงาม มียศ
ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย
เทพอีก (๑๐ หมู่) คือ
เทพพวกเขมิยะ เทพชั้นดุสิต เทพชั้นยามา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๗. มหาสมยสูตร] การประชุมของเทวดา
เทพพวกกัฏฐกะ๑ผู้มียศ เทพพวกลัมพีตกะ
เทพพวกลามเสฏฐะ เทพพวกโชติ อาสวะ๒
เทพชั้นนิมมานรดี และเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีก็มา
เทพทั้ง ๑๐ หมู่นี้แบ่งเป็น ๑๐ พวก
ทั้งหมดล้วนมีผิวพรรณหลายหลาก
มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง
มีผิวพรรณงดงาม มียศ
ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย
เทพทั้งหมด ๖๐ หมู่
ล้วนมีผิวพรรณหลายหลาก มาแล้วตามกำหนด
ชื่อหมู่เทพและเทพพวกอื่น
ผู้มีผิวพรรณและชื่อเช่นนั้นก็มา (ด้วยคิด)ว่า
‘พวกเราจะเข้าพบพระนาคะ๓
ผู้ไม่มีการเกิด ไม่มีกิเลสดังตะปู
ผู้ข้ามโอฆะ๔ได้แล้ว ไม่มีอาสวะ
ผู้พ้นโอฆะได้แล้ว ล่วงพ้นธรรมดำ
ดังดวงจันทร์พ้นจากเมฆฉะนั้น
[๓๔๑] สุพรหมและปรมัตตพรหม
ผู้เป็นบุตร๕ของพระผู้ทรงฤทธิ์๖ก็มาด้วย
สนังกุมารพรหมและติสสพรหมก็มายังป่าที่ประชุม

เชิงอรรถ :
๑ กัฏฐกะ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กถกะ (ที.ม.อ. ๓๔๐/๓๐๗)
๒ อาสวะ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อาสา (ที.ม.อ. ๓๔๐/๓๐๗)
๓ พระนาคะ เป็นพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า เพราะไม่ทำความชั่ว (ที.ม.อ. ๓๔๐/๓๐๗)
๔ โอฆะ หมายถึงโอฆะ ๔ คือ (๑) กาม (๒) ภพ (๓) ทิฏฐิ (๔) อวิชชา (ที.ม.อ. ๓๔๐/๓๐๗)
๕ บุตร ในที่นี้หมายถึงพุทธบุตรผู้ที่เป็นอริยสาวกผู้เป็นพรหม (ที.ม.อ. ๓๔๑/๓๐๘)
๖ พระผู้ทรงฤทธิ์ หมายถึงพระพุทธเจ้า (ที.ม.อ. ๓๔๑/๓๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๗. มหาสมยสูตร] การประชุมของเทวดา
ท้าวมหาพรหม ๑,๐๐๐ องค์ ปกครองพรหมโลก
ท้าวมหาพรหมนั้น อุบัติขึ้นในพรหมโลก
มีความรุ่งเรือง มีกายใหญ่ มียศก็มา
มีพรหม ๑๐ องค์ ผู้เป็นใหญ่กว่าพรหม ๑,๐๐๐ องค์
มีอำนาจเฉพาะองค์ละอย่างก็มา
มหาพรหมชื่อหาริตะ มีบริวารห้อมล้อม
มาอยู่ท่ามกลางพรหม ๑,๐๐๐ องค์นั้น’
[๓๔๒] เมื่อเสนามารมาถึง
พระศาสดาได้ตรัสกับพวกเทพทั้งหมดเหล่านั้น
พร้อมทั้งพระอินทร์และพระพรหมผู้ประชุมกันอยู่
จงดูความโง่เขลาของกัณหมาร
มหาเสนามารได้ส่งเสนามารไป
ในที่ประชุมใหญ่ของเหล่าเทพด้วยคำว่า
“พวกท่านจงไปจับหมู่เทพผูกไว้
พวกท่านจงผูกไว้ด้วยราคะเถิด
จงล้อมไว้ทุกด้าน
ใคร ๆ อย่าได้ปล่อยให้ผู้ใดหลุดพ้นไป”
แล้วก็เอาฝ่ามือตบแผ่นดินทำเสียงน่ากลัว
(แต่) ในเวลานั้น ไม่อาจ ทำให้ใครตกอยู่ในอำนาจได้
จึงกลับไปทั้งที่เกรี้ยวโกรธ
เหมือนเมฆฝนที่บันดาลให้ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าแลบ ฉะนั้น
[๓๔๓] พระศาสดาผู้มีพระจักษุ
ทรงทราบเหตุทั้งหมด ทรงกำหนดแล้ว
จึงรับสั่งเรียกพระสาวกผู้ยินดีในศาสนามาตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๗. มหาสมยสูตร] การประชุมของเทวดา
‘ภิกษุทั้งหลาย เสนามารมุ่งมากันแล้ว
พวกเธอจงรู้จักพวกเขา’
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พากันทำความเพียร
เสนามารหลีกไปจากเหล่าภิกษุผู้ปราศจากราคะ
ไม่อาจแม้ทำขนของภิกษุเหล่านั้นให้ไหวได้
(พญามารกล่าวสรรเสริญว่า)
‘หมู่พระสาวกของพระพุทธเจ้า
ชนะสงครามแล้วทั้งสิ้น ล่วงพ้นความหวาดกลัว
มียศปรากฏอยู่ในหมู่ชน
บันเทิงอยู่กับภูต๑ทั้งหลาย”
มหาสมยสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร] ว่าด้วยปัญญาของท้าวสักกะ

๘. สักกปัญหสูตร
ว่าด้วยปัญหาของท้าวสักกะ
[๓๔๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในถ้ำอินทสาละที่ภูเขาเวทิยกะ ทางทิศเหนือ
ของหมู่บ้านพราหมณ์ชื่ออัมพสัณฑ์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกแห่งกรุงราชคฤห์
แคว้นมคธ
เวลานั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงเกิดความขวนขวายเพื่อจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ทรงมีความดำริดังนี้ว่า “บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่
ณ ที่ไหนหนอ” ทอดพระเนตรเห็นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในถ้ำอินทสาละ ที่ภูเขา
เวทิยกะ ทางทิศเหนือของหมู่บ้านพราหมณ์ชื่ออัมพสัณฑ์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก
แห่งกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ จึงรับสั่งเรียกพวกเทพชั้นดาวดึงส์มาตรัสว่า “ท่านผู้
นิรทุกข์ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในถ้ำอินทสาละที่ภูเขาเวทิยกะ ทางทิศเหนือ
ของหมู่บ้านพราหมณ์ชื่ออัมพสัณฑ์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกแห่งกรุงราชคฤห์
แคว้นมคธ ทางที่ดี ชาวเราควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น”
พวกเทพชั้นดาวดึงส์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
[๓๔๕] ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งเรียกปัญจสิขะ คันธรรพบุตร๑มา
ตรัสว่า “พ่อปัญจสิขะ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในถ้ำอินทสาละที่ภูเขาเวทิยกะ
ทางทิศเหนือของหมู่บ้านพราหมณ์ชื่ออัมพสัณฑ์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกแห่งกรุง
ราชคฤห์ แคว้นมคธ ทางที่ดี ชาวเราควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น”

เชิงอรรถ :
๑ ปัญจสิขะ คันธรรพบุตร เป็นเทพบุตรองค์หนึ่งในพวกคนธรรพ์ ซึ่งเป็นบริวารของท้าวธตรฐมหาราช และ
เป็นผู้รับใช้พระทศพล สามารถเข้าเฝ้าทูลถามปัญหา ขอสดับพระธรรมเทศนาได้ทุกขณะที่ต้องการ ท้าวสักกะ
จอมเทพจึงชวนท่านไปพร้อมกันเพื่อจะได้ทูลขอพระวโรกาสกะพระผู้มีพระภาค แล้วทูลถามปัญหาต่อไป
(ที.ม.อ. ๓๔๕/๓๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร] ว่าด้วยปัญญาของท้าวสักกะ
ปัญจสิขะ คันธรรพบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้วถือพิณสีเหลืองดังผลมะตูม
ตามเสด็จท้าวสักกะจอมเทพมา
[๓๔๖] ต่อมา ท้าวสักกะจอมเทพ ผู้มีเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์แวดล้อม มีปัญจสิขะ
คันธรรพบุตรนำเสด็จ ได้ทรงหายตัวจาก(ภพ)ชั้นดาวดึงส์ไปปรากฏอยู่ที่ภูเขาเวทิยกะ
ทางทิศเหนือของหมู่บ้านพราหมณ์ชื่ออัมพสัณฑ์ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขน
ออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น
เวลานั้น ภูเขาเวทิยกะและหมู่บ้านพราหมณ์ชื่ออัมพสัณฑ์สว่างไสวยิ่งนัก ด้วย
เทวานุภาพของเหล่าเทพ ชาวบ้านใกล้เรือนเคียงรอบ ๆ กล่าวกันอย่างนี้ว่า “วันนี้
ภูเขาเวทิยกะถูกไฟเผาไหม้ลุกโชติช่วง ทำไมหนอ วันนี้ ภูเขาเวทิยกะและหมู่บ้าน
พราหมณ์ชื่ออัมพสัณฑ์จึงสว่างไสวยิ่งนักเล่า” พากันตกใจขนพองสยองเกล้า
[๓๔๗] ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งเรียกปัญจสิขะ คันธรรพบุตรมา
ตรัสว่า “ปัญจสิขะ ตถาคตทรงเข้าฌาน๑ ทรงพอพระทัยในฌาน ระหว่างที่พระองค์
ประทับหลีกเร้นอยู่ คนเช่นเรายากที่จะเข้าไปเฝ้าได้ ทางที่ดี พ่อควรทำให้พระองค์
ทรงพอพระทัยก่อน หลังจากนั้น พวกเราจึงควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น”
ปัญจสิขะ คันธรรพบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้วจึงถือพิณสีเหลืองดังผลมะ-
ตูมเข้าไปจนถึงถ้ำอินทสาละแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร คะเนดูว่า “ระยะเท่านี้พระผู้
มีพระภาคประทับอยู่ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นักจากเรา และทรงได้ยินเสียงของเรา”

เชิงอรรถ :
๑ เข้าฌาน หมายถึงการเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ ในที่นี้มุ่งถึงฌาน ๒ คือ (๑) อารัมมณูปนิชฌาน
(การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔) (๒) ลักขณูปนิชฌาน(การเพ่งลักษณะ
ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล) (ที.ม.อ. ๓๔๗/๓๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]
เพลงขับกล่อมของปัญจสิขะ คันธรรพบุตร

เพลงขับกล่อมของปัญจสิขะ คันธรรพบุตร
[๓๔๘] ปัญจสิขะ คันธรรพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้บรรเลงพิณสีเหลือง
ดังผลมะตูมและกล่าวคาถาอันเกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธ เกี่ยวเนื่องด้วยพระธรรม
เกี่ยวเนื่องด้วยพระสงฆ์ เกี่ยวเนื่องด้วยพระอรหันต์ และเกี่ยวเนื่องด้วยกามเหล่านี้ว่า
“แม่ภัททาสุริยวัจฉสา๑
ฉันขอกราบท่านติมพรุบิดาของเธอ
โดยเหตุที่เธอเกิดมางดงาม ทำให้ฉันปลื้มใจ
เหมือนสายลมย่อมเป็นที่ปรารถนาของผู้มีเหงื่อ
หรือเหมือนน้ำเป็นที่ปรารถนาของผู้กระหาย
เธอผู้ไฉไลเป็นที่รักของฉัน
ดุจธรรมเป็นที่รักของพระอรหันต์
เธอจงช่วยดับความเร่าร้อน๒
เหมือนช่วยวางยาคนไข้ผู้กระสับกระส่าย
เหมือนให้อาหารแก่ผู้หิว
หรือเหมือนใช้น้ำดับไฟที่กำลังลุกอยู่
ขอให้ฉันได้ซบลงจดถันและอุทรของเธอ
เหมือนช้างที่ร้อนจัดในคราวร้อน
หยั่งลงสู่สระโบกขรณีมีน้ำเย็น
ระคนด้วยละอองเกสรดอกปทุม
ฉันมึนงงเพราะ(เห็น)ช่วงขาที่งามสมส่วน
ไม่รับรู้เหตุการณ์ (อะไรๆ)
เหมือนช้างเหลือขอเพราะถือว่าเราชนะได้แล้ว๓

เชิงอรรถ :
๑สุริยวัจฉสา เป็นชื่อของเทพธิดา ผู้มีสิริโฉมงดงามทั่วสรรพางค์ มีรัศมีอ่อน ๆ เปล่งออกจากร่างกายดุจ
แสงอ่อนของดวงอาทิตย์ยามทอแสง (ที.ม.อ. ๓๔๘/๓๑๖)
๒ความเร่าร้อน ในที่นี้หมายถึงความเร่าร้อนเพราะไฟคือราคะ (ที.ม.อ. ๓๔๘/๓๑๖)
๓เราชนะได้แล้ว หมายถึงไม่อยู่ในอำนาจของแหลนและหอกซัด (ที.ม.อ. ๓๔๘/๓๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]
เพลงขับกล่อมของปัญจสิขะ คันธรรพบุตร
ฉันมีใจจดจ่อที่เธอ ไม่อาจกลับใจที่แปรผันไป
เหมือนปลาที่กลืนเบ็ดเข้าไป
นางผู้เจริญ เธอจงเอาขาซ้ายกระหวัดฉันไว้
เธอผู้มีดวงตาหยาดเยิ้มจงกระหวัดฉันไว้เถิด
เธอผู้งดงามจงสวมกอดฉันไว้
สิ่งนี้คือสิ่งที่ฉันปรารถนายิ่งนัก
ความใคร่ของฉันต่อเธอผู้มีผมงามสลวย
ถึงมีน้อยก็เกิดผลมาก
เหมือนทักษิณาที่ถวายแด่พระอรหันต์
นางผู้งดงามทั่วสรรพางค์
บุญที่ฉันได้ทำไว้ในพระอรหันต์ผู้คงที่นั้น
จงอำนวยผลแก่ฉันพร้อมกับเธอ
นางผู้งดงามทั่วสรรพางค์
บุญที่ฉันได้ทำไว้ในปฐพีมณฑลนี้
จงอำนวยผลแก่ฉันพร้อมกับเธอ
แม่(ภัททา)สุริยวัจฉสา ฉันใฝ่ฝันหาเธอ
เหมือนพระสมณศากยบุตรผู้ทรงเข้าฌานอยู่ผู้เดียว
ผู้มีปัญญาครองตน มีสติ
เป็นมุนี แสวงหาอมตธรรม
แม่คุณคนงาม ถ้าฉันได้อยู่ร่วมกับเธอ ก็จะพึงชื่นชม
เหมือนพระมุนีบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุดพึงชื่นชมฉะนั้น
หากท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งดาวดึงส์
จะประทานพรแก่ฉัน
ฉันก็จะต้องเลือกเอาเธอเป็นแน่
ความปรารถนาของฉันมั่นคงอยู่อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]
เพลงขับกล่อมของปัญจสิขะ คันธรรพบุตร
แม่คุณผู้เฉลียวฉลาด
ฉันขอน้อมไหว้บิดาของเธอผู้มีธิดางามเช่นนี้
ดุจต้นสาละที่ผลิดอกใหม่ ๆ ฉะนั้น”
[๓๔๙] เมื่อปัญจสิขะ คันธรรพบุตรกราบทูลอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสกับปัญจสิขะ คันธรรพบุตรดังนี้ว่า “ปัญจสิขะ เสียงสายพิณของท่านเทียบได้กับ
เสียงขับร้อง และเสียงขับร้องเทียบได้กับเสียงสายพิณ เสียงสายพิณของท่านไม่เกิน
เสียงขับร้อง และเสียงขับร้องก็ไม่เกินเสียงสายพิณ คาถาอันเกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธ
เกี่ยวเนื่องด้วยพระธรรม เกี่ยวเนื่องด้วยพระสงฆ์ เกี่ยวเนื่องด้วยพระอรหันต์ และ
เกี่ยวเนื่องด้วยกามเหล่านี้ ท่านประพันธ์ไว้เมื่อไร”
ปัญจสิขะ คันธรรพบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้
ประพันธ์คาถาเหล่านี้ไว้ เมื่อสมัยที่พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ใต้ต้น
อชปาลนิโครธ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา สมัยนั้น ข้าพระองค์หลงรัก
ภัททาสุริยวัจฉสา ธิดาของท้าวติมพรุคันธรรพราช แต่นางรักผู้อื่นคือหลงรักสิขัณฑี
บุตรของมาตลีสังคาหกเทพบุตร เมื่อข้าพระองค์ไม่ได้นางด้วยวิธีหนึ่งจึงถือเอาพิณสี
เหลืองดังผลมะตูมเข้าไปยังนิเวศน์ของท้าวติมพรุคันธรรพราช แล้วบรรเลงพิณขึ้น
กล่าวคาถาอันเกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธ เกี่ยวเนื่องด้วยพระธรรม เกี่ยวเนื่องด้วย
พระสงฆ์ เกี่ยวเนื่องด้วยพระอรหันต์ และเกี่ยวเนื่องด้วยกามเหล่านี้ว่า
‘แม่ภัททาสุริยวัจฉสา
ฉันขอกราบท่านติมพรุบิดาของเธอ
โดยเหตุที่เธอเกิดมางดงาม ทำให้ฉันปลื้มใจ
ฯลฯ
แม่คุณผู้เฉลียวฉลาด
ฉันขอน้อมไหว้บิดาของเธอผู้มีธิดางามเช่นนี้
ดุจต้นสาละที่ผลิตดอกใหม่ ๆ ฉะนั้น’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร] ท้าวสักกะจอมเทพเข้าเฝ้า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้ นางภัททาสุริยวัจฉสา
กล่าวตอบว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ฉันไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคในที่เฉพาะพระพักตร์
เป็นแต่เคยได้ยินเมื่อเข้าไปฟ้อนในสุธัมมาเทวสภาของเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์เท่านั้น
เนื่องจากท่านได้กล่าวสรรเสริญพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นได้ ก็จงมาสมาคมกับพวกเรา
ณ บัดนี้’ ข้าพระองค์จึงได้ร่วมสมาคมกับนางและไม่ใช่ครั้งนี้เท่านั้น หลังจากนั้นมา
ข้าพระองค์ก็ได้สมาคมกันอีก”
ท้าวสักกะจอมเทพเข้าเฝ้า
[๓๕๐] ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงมีความดำริดังนี้ว่า “ปัญจสิขะ
คันธรรพบุตร ได้ทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค และพระผู้มีพระภาคก็ทรงปราศรัย
กับปัญจสิขะ” จึงรับสั่งเรียกปัญจสิขะ คันธรรพบุตรมาตรัสว่า “ปัญจสิขะ พ่อจง
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคตามคำของเราว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าวสักกะ
จอมเทพพร้อมด้วยอำมาตย์ พร้อมด้วยบริษัท ขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของ
พระผู้มีพระภาคด้วยพระเศียร”
ปัญจสิขะ คันธรรพบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
ตามรับสั่งว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าวสักกะ จอมเทพพร้อมด้วยอำมาตย์ พร้อมด้วย
บริษัท ขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยพระเศียร’
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปัญจสิขะ ขอให้ท้าวสักกะ จอมเทพพร้อมด้วย
อำมาตย์ พร้อมด้วยบริษัทจงมีความสุขเถิด เพราะว่ามีพวกเทวดา มนุษย์ อสูร
นาค คนธรรพ์ และสัตว์เหล่าอื่นอีกจำนวนมากต่างก็ปรารถนาความสุข”
[๓๕๑] พระตถาคตทั้งหลายย่อมประทานพรแก่เทพผู้มีศักดิ์ใหญ่เช่นนี้อย่าง
นี้แล ท้าวสักกะ จอมเทพผู้อันพระผู้มีพระภาคได้ประทานพรแล้ว เสด็จเข้าไปยังถ้ำ
อินทสาละของพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร แม้พวกเทพ
ชั้นดาวดึงส์ก็เข้าไปยังถ้ำอินทสาละ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วยืนอยู่ ณ ที่
สมควร แม้ปัญจสิขะ คันธรรพบุตร ก็เข้าไปยังถ้ำอินทสาละ ถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาคแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร] ท้าวสักกะจอมเทพเข้าเฝ้า
เวลานั้น ถ้ำอินทสาละซึ่งมีพื้นไม่สม่ำเสมอก็สม่ำเสมอ ที่คับแคบก็กลับ
กว้างขวาง ความมืดในถ้ำหายไป เกิดความสว่างขึ้นเพราะเทวานุภาพของเหล่าเทพ
[๓๕๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท้าวสักกะ จอมเทพดังนี้ว่า “นี้เป็น
เหตุน่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏที่ท้าวโกสีย์ มีกิจมาก มีหน้าที่ที่จะต้องทำอีกมาก
เสด็จมาถึงที่นี้ได้”
ท้าวสักกะ จอมเทพกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนา
จะมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคตั้งนานแล้ว แต่มัวสาละวนด้วยกิจหน้าที่ของพวกเทพชั้น
ดาวดึงส์ จึงไม่สามารถมาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้ ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่ที่สลฬาคาร เขตกรุงสาวัตถี ข้าพระองค์ได้ไปยังกรุงสาวัตถีเพื่อจะเฝ้า
พระองค์ แต่ขณะนั้นพระองค์ประทับเข้าสมาธิอยู่ มีนางปริจาริกาของท้าวเวสวัณ
มหาราชชื่อว่าภุชคีคอยอุปัฏฐาก นางยืนประนมมือถวายนมัสการอยู่ ขณะนั้น
ข้าพระองค์กล่าวกับนางว่า ‘น้องหญิง เธอจงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคตามคำ
ของเราว่า ‘ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยอำมาตย์พร้อมด้วยบริษัท ขอถวาย
อภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยพระเศียร’ เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้
นางตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาค
พระองค์ท่านทรงหลีกเร้นเพียงลำพัง’ ข้าพระองค์จึงสั่งว่า ‘น้องหญิง ถ้าอย่างนั้น
คราวที่พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธิ เธอจงถวายอภิวาทพระองค์ตามคำของ
เราว่า ‘ท้าวสักกะ จอมเทพพร้อมด้วยอำมาตย์พร้อมด้วยบริษัท ขอถวายอภิวาท
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยพระเศียร’ นางได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
หรือไม่ พระองค์ทรงระลึกถึงคำของนางได้อยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เธอไหว้เราแล้ว เราระลึกถึงคำของเธอได้ และเรา
ออกจากสมาธิเพราะเสียงล้อรถของพระองค์”
ท้าวสักกะจอมเทพกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพวกเทพ
ผู้เกิดในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ก่อนกว่าพวกข้าพระองค์ว่า ‘คราวที่พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก หมู่เทพเจริญเต็มที่ หมู่อสูรเสื่อมถอยลง’
ข้อนี้ข้าพระองค์ได้เห็นประจักษ์แล้วว่า เมื่อพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เสด็จอุบัติขึ้นในโลก หมู่เทพเจริญเต็มที่ หมู่อสูรเสื่อมถอยลง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร] เรื่องโคปกเทพบุตร

เรื่องโคปกเทพบุตร
[๓๕๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในกรุงกบิลพัสดุ์นี้ ได้มีศากยธิดานามว่าโคปิกา
ผู้เลื่อมใสในพระพุทธ เลื่อมใสในพระธรรม เลื่อมใสในพระสงฆ์ ผู้รักษาศีล๑ให้
บริบูรณ์ หน่ายความรู้สึกเป็นหญิง อบรมความรู้สึกเป็นชาย๒ หลังจากตายแล้วไป
เกิดในสุคติโลกสวรรค์ ได้อยู่ร่วมกับพวกเทพชั้นดาวดึงส์ ได้เป็นบุตรของข้าพระองค์
ในที่นั้นพวกเทพรู้จักเธออย่างนี้ว่า ‘โคปกเทพบุตร’ ภิกษุอื่นอีก ๓ รูปประพฤติ
พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค ไปเกิดในหมู่คนธรรพ์ซึ่งเป็นชั้นต่ำ พวกคนธรรพ์นั้น
เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม ได้รับการบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ มาสู่ที่บำรุงบำเรอของข้า
พระองค์ โคปกเทพบุตรกล่าวเตือนพวกคนธรรพ์ผู้มายังที่บำรุงบำเรอของข้าพระองค์ว่า
‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พวกท่านหันหน้าไปทางไหน๓ ทั้งที่ได้ฟังพระธรรมของพระ
ผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแล้ว เราเป็นหญิงเลื่อมใสในพระพุทธ เลื่อมใสในพระธรรม
เลื่อมใสในพระสงฆ์ รักษาศีลให้บริบูรณ์ หน่ายความรู้สึกเป็นหญิง อบรมความรู้สึก
เป็นชาย หลังจากตายแล้วมาเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ได้อยู่ร่วมกับพวกเทพชั้นดาวดึงส์
เป็นบุตรของท้าวสักกะจอมเทพ ในที่นี้พวกเทพรู้จักเราอย่างนี้ว่า ‘โคปกเทพบุตร’
ส่วนพวกท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค มาเกิดในหมู่คนธรรพ์ซึ่งเป็น
ชั้นต่ำ พวกเราได้เห็นผู้ร่วมประพฤติธรรมที่มาเกิดในหมู่คนธรรพ์ซึ่งเป็นชั้นต่ำ
นับว่าได้เห็นรูปที่ไม่น่าดูเลย’ เมื่อพวกคนธรรพ์ ๓ ตน ถูกโคปกเทพบุตรตักเตือน
มีเทพ๔ ๒ องค์ กลับได้สติในปัจจุบันทันทีแล้วไปเกิดในพรหมโลกชั้นพรหมปุโรหิตา
ส่วนเทพอีกองค์หนึ่งยังคงอยู่ในกามภพ

เชิงอรรถ :
๑ ศีล ในที่นี้หมายถึงศีล ๕ (ที.ม.อ. ๓๕๓/๓๒๑)
๒ หน่ายความรู้สึกเป็นหญิง อบรมความรู้สึกเป็นชาย หมายถึงอาการที่ไม่ได้เกิดจากภาวะผิดปกติด้าน
ความรู้สึก แต่เกิดจากความปรารถนาจะบำเพ็ญบารมีให้สูงขึ้น เนื่องจากเพศหญิงไม่อาจบรรลุปัจเจกโพธิ-
ญาณและสัมมาสัมโพธิญาณได้ (ที.ม.อ. ๓๕๓/๓๒๑)
๓ หันหน้าไปทางไหน หมายถึงใจลอยหรือนอนหลับในขณะที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมเฉพาะหน้า (ที.ม.อ.
๓๕๓/ ๓๒๒)
๔ เทพ ในที่นี้หมายถึงคนธรรพ์ (ที.ม.อ. ๓๕๓/๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร] เรื่องโคปกเทพบุตร
[๓๕๔] โคปกเทพบุตรกล่าวว่า
‘เรามีนามว่า ‘โคปิกา’
เป็นอุบาสิกาของพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ
เราเลื่อมใสอย่างยิ่งในพระพุทธ พระธรรม
และมีจิตเลื่อมใสบำรุงพระสงฆ์
เพราะความดีของพระธรรมของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นทีเดียว
เราได้เป็นบุตรของท้าวสักกะ มีอานุภาพมาก
มีความรุ่งเรืองมาก มาเกิดในเทวโลกชั้นดาวดึงส์
แม้ในที่นี้พวกเทพรู้จักเราว่า ‘โคปกเทพบุตร’
เราได้มาเห็นพวกภิกษุผู้เป็นสาวกของพระโคดม
ผู้เกิดอยู่ในหมู่คนธรรพ์
ซึ่งเราเคยเห็นมาแล้ว เมื่อครั้งเป็นมนุษย์
ยังได้เคยปรนนิบัติเท้า๑ ในเรือนของตน
แล้วอุปัฏฐากด้วยข้าวและน้ำ
ท่านเหล่านี้หันหน้าไปทางไหน
จึงไม่ได้รับพระธรรมของพระพุทธเจ้า
พระธรรมที่วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
ที่พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุตรัสรู้แล้ว ทรงแสดงไว้ดีแล้ว
แม้เราก็เข้าไปหาพวกท่านได้ฟังสุภาษิตของพระอริยเจ้า
ได้เป็นบุตรของท้าวสักกะ มีอานุภาพมาก
มีความรุ่งเรืองมาก มาเกิดในเทวโลกชั้นดาวดึงส์
ส่วนพวกท่านเข้าไปนั่งใกล้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
ประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยม

เชิงอรรถ :
๑ ปรนนิบัติเท้า หมายถึงการอุปัฏฐาก เช่น การล้างเท้า การนวดเท้า และการทาเท้า (ที.ม.อ. ๓๕๔/๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร] เรื่องโคปกเทพบุตร
แต่กลับมาเกิดในหมู่เทพชั้นต่ำ
การเกิดของพวกท่านไม่สมควร
เราได้มาเห็นผู้ร่วมประพฤติธรรม
มาเกิดในหมู่เทพชั้นต่ำนับว่าได้เห็นรูปที่ไม่น่าดูเลย
พวกท่านมาเกิดในหมู่คนธรรพ์
ยังต้องมาสู่ที่บำรุงบำเรอของพวกเทพ
ขอให้ท่านจงดูความวิเศษอันนี้ของเราผู้อยู่ครองเรือนเถิด
เราเป็นหญิง แต่วันนี้เป็นเทพบุตร
ผู้พรั่งพร้อมด้วยกามคุณอันเป็นทิพย์’
คนธรรพ์พวกนั้นพร้อมกันมาพบโคปกเทพบุตร
ถูกเทพบุตรผู้เป็นสาวกของพระโคดมตักเตือนแล้ว
จึงเกิดความสังเวชว่า
‘เอาเถิด พวกเราจะเพียรพยายาม
อย่าได้เป็นคนรับใช้ของผู้อื่นอีกเลย’
บรรดาคนธรรพ์เหล่านั้น
คนธรรพ์ ๒ ตนระลึกถึงคำสอนของพระโคดมได้
จึงได้เริ่มตั้งความเพียร หน่ายความคิดในภพนี้
เห็นโทษในกาม ตัดกามสังโยชน์๑และกามพันธน์๒
อันเป็นโยคะที่ละได้ยากของมารผู้มีบาป
ก้าวล่วงเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์
เพราะตัดกามคุณอันมีอยู่เสียได้
ประดุจช้างตัดบ่วงบาศได้

เชิงอรรถ :
๑ กามสังโยชน์ หมายถึงกามราคะ ซึ่งมีชื่อต่าง ๆ เช่น ฉันทะ ราคะ ฉันทราคะ (ที.ม.ฏีกา ๓๕๔/๓๑๔)
๒ กามพันธน์ หมายถึงกามราคะ ซึ่งมีชื่อต่าง ๆ เช่น โยคะ คันถะ (ที.ม.อ. ๓๕๔/๓๒๔) และดูเทียบ ขุ.ม.
(แปล) ๒๙/๒/๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร] เรื่องโคปกเทพบุตร
เทพทั้งหมดพร้อมทั้งพระอินทร์และพระปชาบดี
เข้าไปนั่งประชุมกันในสุธัมมาเทวสภา
ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้กล้า ปราศจากราคะ
กำลังบำเพ็ญธรรมที่ปราศจากความกำหนัด๑
ได้ก้าวล่วงเทพพวกนั้นที่นั่งอยู่
ท้าววาสวะผู้เป็นใหญ่กว่าเทพ
ทอดพระเนตรเทพเหล่านั้น
ท่ามกลางหมู่เทพแล้วทรงสังเวชว่า
‘เทพเหล่านั้นมาเกิดในหมู่เทพชั้นต่ำกว่า
เวลานี้กลับก้าวล่วงพวกเทพชั้นดาวดึงส์ได้’
โคปกเทพบุตรนั้นพิจารณาถ้อยคำของท้าวสักกะ
ผู้ทรงเกิดความสังเวชแล้วกราบทูลท้าววาสวะว่า
‘มีพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นจอมคนอยู่ในมนุษยโลก
ทรงครอบงำกามเสียได้ พระนามว่าพระศากยมุนี
เทพพวกนั้นเป็นบุตรของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เป็นผู้เสื่อมจากสติ๒ถูกข้าพระองค์ตักเตือนแล้วจึงกลับได้สติ’
บรรดาท่านทั้ง ๓ เหล่านั้น
ผู้หนึ่งคงเกิดในหมู่คนธรรพ์อยู่ในภพนี้
อีก ๒ ท่านดำเนินตามทางสัมโพธิ๓
เพราะเป็นผู้มีจิตมั่นคง ย่อมเย้ยเทวโลก๔ได้

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมที่ปราศจากความกำหนัด ในที่นี้หมายถึงอนาคามิมรรค (ที.ม.อ. ๓๕๔/๓๒๔)
๒ สติ ในที่นี้ได้แก่ฌาน (ที.ม.อ. ๓๕๔/๓๒๔)
๓ ทางสัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงอนาคามิมรรค (ที.ม.อ. ๓๕๔/๓๒๔)
๔ เย้ยเทวโลก หมายถึงคนธรรพ์ ๒ ตนพอได้อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิแล้วก็ทำให้เป็นบาท เพื่อให้
บรรลุสัมโพธิ แล้วจักไม่เวียนกลับมาในภพภูมิที่ต่ำอีกต่อไป (ที.ม.อ.๓๕๔/ ๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร] เรื่องโคปกเทพบุตร
การประกาศธรรมในศาสนานี้เป็นเช่นนี้
ไม่มีพระสาวกรูปไหนจะสงสัยอะไร
ในการประกาศธรรมนั้นเลย
พวกข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระชินพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นจอมคน ทรงข้ามโอฆะได้
ทรงตัดความสงสัยได้แล้ว
บรรดาคนธรรพ์ ๓ ตนนั้น
๒ ตนรู้ธรรมอันใดของพระองค์แล้ว
ถึงความเป็นผู้วิเศษไปเกิดในหมู่พรหมชั้นพรหมปุโรหิตา
บรรลุคุณวิเศษแล้ว
ท่านผู้นิรทุกข์ ขอประทานวโรกาส
ถึงพวกข้าพระองค์ก็มาเพื่อบรรลุธรรมนั้น
หากพระผู้มีพระภาคทรงประทานวโรกาส
ก็จะขอทูลถามปัญหา”
[๓๕๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า “ท้าวสักกะทรงเป็นผู้
บริสุทธิ์มาช้านาน จะตรัสถามปัญหากับเรา ก็จะตรัสถามทุกอย่างที่ประกอบด้วย
ประโยชน์ จะไม่ตรัสถามปัญหาที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และท้าวเธอจะทรงเข้า
ใจที่เราตอบได้ฉับพลันเทียว”
[๓๕๖] จากนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท้าวสักกะจอมเทพเป็นพระคาถาว่า
“วาสวะ พระองค์ทรงปรารถนาสิ่งใดไว้ในพระทัย
ก็โปรดถามปัญหานั้นกับอาตมภาพเถิด
อาตมภาพจะแก้ปัญหานั้นให้ถึงที่สุดแด่พระองค์”
ภาณวารที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร] เรื่องโคปกเทพบุตร
[๓๕๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานพระวโรกาสแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ
ได้ทูลถามปัญหาข้อที่ ๑ นี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกเทพ มนุษย์ อสูร
นาค คนธรรพ์ และสัตว์เหล่าอื่นอีกจำนวนมากต่างก็มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ขอพวกเราจงเป็นผู้ไม่มีเวร จงเป็นผู้ไม่ถูกลงโทษ จงเป็นผู้ไม่มีศัตรู จงเป็นผู้ไม่ถูก
เบียดเบียน จงเป็นผู้ไม่จองเวรกันอยู่เถิด’ แต่เพราะมีอะไรเป็นเครื่องผูกมัดเล่า
พวกเขาจึงยังคงมีเวร ถูกลงโทษ มีศัตรู ถูกเบียดเบียน ยังจองเวรกันอยู่” ท้าวเธอ
ได้ทูลถามปัญหาอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “จอมเทพ พวกเทพ มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์
และสัตว์เหล่าอื่นอีกจำนวนมาก ต่างมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ขอพวกเราจงเป็น
ผู้ไม่มีเวร จงเป็นผู้ไม่ถูกลงโทษ จงเป็นผู้ไม่มีศัตรู จงเป็นผู้ไม่ถูกเบียดเบียน จงเป็น
ผู้ไม่จองเวรกันอยู่เถิด’ แต่เพราะมีอิสสา(ความริษยา) และมัจฉริยะ(ความตระหนี่)
เป็นเครื่องผูกมัด พวกเขาจึงยังคงมีเวร ถูกลงโทษ มีศัตรู ถูกเบียดเบียน จองเวร
กันอยู่”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสตอบปัญหาที่ท้าวสักกะจอมเทพทูลถามอย่างนี้แล้ว
ท้าวสักกะจอมเทพมีพระทัยยินดีชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น
ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัยในเรื่องนี้ หมดความแคลงใจแล้วเพราะได้ฟังการตรัส
ตอบปัญหาของพระผู้มีพระภาค”
[๓๕๘] ท้าวสักกะจอมเทพทรงชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
ดังนี้แล้ว ได้ทูลถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อิสสาและมัจฉริยะ
มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่อมี
อะไร จึงมีอิสสาและมัจฉริยะ เมื่อไม่มีอะไร จึงไม่มีอิสสาและมัจฉริยะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “จอมเทพ อิสสาและมัจฉริยะ มีอารมณ์อันเป็น
ที่รักและไม่เป็นที่รักเป็นต้นเหตุ มีอารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รักเป็นเหตุเกิด
มีอารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รักเป็นกำเนิด มีอารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่
รักเป็นแดนเกิด เมื่อมีอารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก จึงมีอิสสาและมัจฉริยะ
เมื่อไม่มีอารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก จึงไม่มีอิสสาและมัจฉริยะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร] เรื่องโคปกเทพบุตร
ท้าวเธอทูลถามว่า “อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก มีอะไรเป็นต้นเหตุ
มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่อมีอะไรจึงมีอารมณ์
อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก เมื่อไม่มีอะไรจึงไม่มีอารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รักมีฉันทะ๑
เป็นต้นเหตุ มีฉันทะเป็นเหตุเกิด มีฉันทะเป็นกำเนิด มีฉันทะเป็นแดนเกิด เมื่อมี
ฉันทะจึงมีอารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก เมื่อไม่มีฉันทะจึงไม่มีอารมณ์อันเป็นที่
รักและไม่เป็นที่รัก”
ท้าวเธอทูลถามว่า “ฉันทะมีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็น
กำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่อมีอะไรจึงมีฉันทะ เมื่อไม่มีอะไรจึงไม่มีฉันทะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ฉันทะมีวิตก๒เป็นต้นเหตุ มีวิตกเป็นเหตุเกิด
มีวิตกเป็นกำเนิด มีวิตกเป็นแดนเกิด เมื่อมีวิตกจึงมีฉันทะ เมื่อไม่มีวิตกจึงไม่
มีฉันทะ”
ท้าวเธอทูลถามว่า “วิตกมีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็น
กำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่อมีอะไรจึงมีวิตก เมื่อไม่มีอะไรจึงไม่มีวิตก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วิตกมีแง่ต่างแห่งปปัญจสัญญา๓เป็นต้นเหตุ
มีแง่ต่างแห่งปปัญจสัญญาเป็นเหตุเกิด มีแง่ต่างแห่งปปัญจสัญญาเป็นกำเนิด มีแง่

เชิงอรรถ :
๑ ฉันทะ แปลว่าความพอใจ แต่ในที่นี้หมายถึงความไม่รู้จักอิ่มคือตัณหา มี ๕ อย่างคือ (๑) ปริเยสนฉันทะ
(ความไม่อิ่มในการแสวงหา) (๒) ปฏิลาภฉันทะ (ความไม่อิ่มในการได้มา) (๓) ปริโภคฉันทะ (ความไม่อิ่ม
ในการใช้สอย) (๔) สันนิธิฉันทะ (ความไม่อิ่มในการกักตุน) (๕) วิสัชชนฉันทะ (ความไม่อิ่มในการจ่ายทรัพย์)
(ที.ม.อ. ๓๓๘/๓๓๕-๓๓๖)
๒ วิตก แปลว่าการตรึก การไตร่ตรอง ในที่นี้หมายถึงการตรึกเพื่อการตัดสิน ๒ อย่าง คือ (๑) ตัณหาวินิจฉัย
(การตัดสินด้วยอำนาจตัณหา) (๒) ทิฏฐิวินิจฉัย (การตัดสินด้วยอำนาจทิฏฐิ) (ที.ม.อ. ๓๕๘/๓๓๖)
๓ แง่ต่างแห่งปปัญจสัญญา แยกอธิบายตามศัพท์ได้ดังนี้ แง่ต่าง แปลจากคำว่า สงฺขา คือส่วนต่าง ๆ
หมายถึงส่วนต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญา ปปัญจะ หมายถึงปปัญจธรรม ซึ่งแปลว่า ธรรมเครื่องเนิ่นช้า
ได้แก่ ตัณหาวิจริต ๑๐๘ มานะ ๙ และทิฏฐิ ๖๒ ซึ่งเป็นเหตุให้มีความประมาทมัวเมา มีความประมาท
มัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว ในความไม่มีโรค และในชีวิต ปปัญจสัญญา หมายถึงสัญญา(ความกำหนดหมาย)
ที่ประกอบด้วยปปัญจธรรม คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ แต่ในที่นี้หมายเอาเพียงตัณหาเท่านั้น
ดังนั้น คำว่า “แง่ต่างแห่งปปัญจสัญญา” จึงหมายถึงการคิดปรุงแต่งอารมณ์ต่าง ๆ ด้วยอำนาจตัณหา
มานะ และทิฏฐิของตน ๆ จึงเกิดแง่ต่าง ๆ หรือมุมมองที่แตกต่างกันทั้ง ๆ ที่คิดเรื่องเดียวกัน (ที.ม.อ. ๓๕๘/
๓๓๖, ที.ม.ฏีกา ๓๕๘/๓๒๑-๓๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร] เรื่องเวทนากัมมัฏฐาน
ต่างแห่งปปัญจสัญญาเป็นแดนเกิด เมื่อมีแง่ต่างแห่งปปัญจสัญญาจึงมีวิตก เมื่อไม่มี
แง่ต่างแห่งปปัญจสัญญาจึงไม่มีวิตก”
ท้าวเธอทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่า
ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติอันสมควรและดำเนินไปสู่ความดับแง่ต่างแห่งปปัญจสัญญา”
เรื่องเวทนากัมมัฏฐาน
[๓๕๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “จอมเทพ เรากล่าวโสมนัสไว้ ๒ อย่าง
คือ โสมนัสที่ควรเสพและโสมนัสที่ไม่ควรเสพ กล่าวโทมนัสไว้ ๒ อย่าง คือ โทมนัส
ที่ควรเสพและโทมนัสที่ไม่ควรเสพ และกล่าวอุเบกขาไว้ ๒ อย่าง คือ อุเบกขาที่ควร
เสพและอุเบกขาที่ไม่ควรเสพ
[๓๖๐] เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘จอมเทพ เรากล่าวโสมนัสไว้ ๒ อย่าง คือ
โสมนัสที่ควรเสพและโสมนัสที่ไม่ควรเสพ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้
เช่นนั้น
บรรดาโสมนัส ๒ อย่างนั้น โสมนัสใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพโสมนัสนี้แล
อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง’ โสมนัสเช่นนี้เป็น
โสมนัสที่ไม่ควรเสพ๑
บรรดาโสมนัส ๒ อย่างนั้น โสมนัสใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพโสมนัสนี้แล
อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ โสมนัสเช่นนี้เป็น
โสมนัสที่ควรเสพ๒
ในโสมนัส๓นั้น โสมนัสใดมีวิตก มีวิจาร๔ และโสมนัสใดไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร๕
บรรดาโสมนัส ๒ อย่างนั้น โสมนัสที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ประณีตกว่า’

เชิงอรรถ :
๑ โสมนัสที่ไม่ควรเสพ หมายถึงโสมนัสที่อาศัยกามคุณ เป็นไปทางทวาร ๖ (ที.ม.อ. ๓๖๐/๓๔๐)
๒ โสมนัสที่ควรเสพ หมายถึงโสมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจเนกขัมมะ วิปัสสนา อนุสสติ และปฐมฌานเป็นต้น
(ที.ม.อ. ๓๖๐/๓๔๐)
๓ โสมนัส ในที่นี้หมายถึงโสมนัสที่อาศัยเนกขัมมะ (ที.ม.อ. ๓๖๐/๓๔๐)
๔ โสมนัสมีวิตกมีวิจาร ในที่นี้หมายถึงโสมนัสที่เกิดขึ้นอำนาจปฐมฌาน (ที.ม.อ. ๓๖๐/๓๔๐)
๕ โสมนัสไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ในที่นี้หมายถึงโสมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจทุติยฌานและตติยฌาน (ที.ม.อ.
๓๖๐/๓๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร] เรื่องเวทนากัมมัฏฐาน
ข้อที่เรากล่าวว่า ‘จอมเทพ เรากล่าวโสมนัสไว้ ๒ อย่าง คือ โสมนัสที่ควรเสพ
และโสมนัสที่ไม่ควรเสพ’ เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้
[๓๖๑] เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘จอมเทพ เรากล่าวโทมนัสไว้ ๒ อย่าง คือ
โทมนัสที่ควรเสพและโทมนัสที่ไม่ควรเสพ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้
เช่นนั้น
บรรดาโทมนัส ๒ อย่างนั้น โทมนัสใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพโทมนัสนี้แล
อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง’ โทมนัสเช่นนี้เป็น
โทมนัสที่ไม่ควรเสพ
บรรดาโทมนัส ๒ อย่างนั้น โทมนัสใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพโทมนัสนี้แล
อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ โทมนัสเช่นนี้เป็น
โทมนัสที่ควรเสพ
ในโทมนัสนั้น โทมนัสใดมีวิตก มีวิจาร๑ และโทมนัสใดไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร๒
บรรดาโทมนัส ๒ อย่างนั้น โทมนัสที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ประณีตกว่า
ข้อที่เรากล่าวว่า ‘จอมเทพ เรากล่าวโทมนัสไว้ ๒ อย่าง คือ โทมนัสที่ควรเสพ
และโทมนัสที่ไม่ควรเสพ’ เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้
[๓๖๒] เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘จอมเทพ เรากล่าวอุเบกขาไว้ ๒ อย่าง คือ
อุเบกขาที่ควรเสพและอุเบกขาที่ไม่ควรเสพ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้
เช่นนั้น
บรรดาอุเบกขา ๒ อย่างนั้น อุเบกขาใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพอุเบกขานี้แล
อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง’ อุเบกขาเช่นนี้เป็น
อุเบกขาที่ไม่ควรเสพ

เชิงอรรถ :
๑ โทมนัสมีวิตกมีวิจาร ในที่นี้หมายถึงโทมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจปฐมฌานและทุติยฌาน (ที.ม.อ. ๓๖๑/๓๔๒)
๒ โทมนัสไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ในที่นี้หมายถึงโทมนัสที่เกิดขึ้นโดยตรง (ที.ม.อ. ๓๖๑/๓๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร] ปาติโมกขสังวร
บรรดาอุเบกขา ๒ อย่างนั้น อุเบกขาใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพอุเบกขานี้แล
อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ อุเบกขาเช่นนี้เป็น
อุเบกขาที่ควรเสพ
ในอุเบกขานั้น อุเบกขาใดมีวิตก มีวิจาร๑ และอุเบกขาใดไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร๒
บรรดาอุเบกขา ๒ อย่างนั้น อุเบกขาที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ประณีตกว่า’
ข้อที่เรากล่าวไว้ว่า ‘จอมเทพ เรากล่าวอุเบกขาไว้ ๒ อย่าง คือ อุเบกขาที่
ควรเสพและอุเบกขาที่ไม่ควรเสพ’ เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้
[๓๖๓] จอมเทพ ภิกษุปฏิบัติอย่างนี้แล จึงจะชื่อว่าปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ
อันสมควร และดำเนินไปสู่ความดับแง่ต่างแห่งปปัญจสัญญา”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสตอบปัญหาที่ท้าวสักกะจอมเทพทูลถามอย่างนี้แล้ว
ท้าวสักกะจอมเทพมีพระทัยยินดีชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น
ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัยในเรื่องนี้ หมดความแคลงใจแล้ว เพราะได้ฟังการ
ตรัสตอบปัญหาของพระผู้มีพระภาค”
ปาติโมกขสังวร๓
(สำรวมในปาติโมกข์)
[๓๖๔] ท้าวสักกะจอมเทพทรงชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
ดังนี้แล้ว ได้ทูลถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ภิกษุปฏิบัติ
อย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสำรวมในปาติโมกข์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “จอมเทพ เรากล่าวกายสมาจาร(ความประพฤติ
ทางกาย) ไว้ ๒ อย่าง คือ กายสมาจารที่ควรเสพและกายสมาจารที่ไม่ควรเสพ

เชิงอรรถ :
๑ อุเบกขามีวิตกมีวิจาร ในที่นี้หมายถึงอุเบกขาที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจปฐมฌาน (ที.ม.อ. ๓๖๒/๓๔๗)
๒ อุเบกขาไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ในที่นี้หมายถึงอุเบกขาที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจทุติยฌานและตติยฌานเป็นต้น
(ที.ม.อ. ๓๖๒/๓๔๗)
๓ ดูเทียบ ม.อุ. ๑๔/๑๑๐-๑๑๑/๙๖-๙๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๒๘๙ }

2 ความคิดเห็น :

  1. ไม่ระบุชื่อ1 พฤษภาคม 2566 เวลา 22:54

    ไม่มีที่ค้นหาคำที่ต้องการ เพื่อตรวจว่าอยู่ในข้อไหน ก็เลยหาไม่เจอ

    ตอบลบ
    คำตอบ

    1. สวัสดีครับ

      ขอบคุณครับที่ให้ความสนใจเว็บไซต์พระไตรปิฎกออนไลน์ https://tripitaka-online.blogspot.com

      สำหรับวิธีค้นหาคำที่ต้องการ สามารถอ่านได้ที่ คำแนะนำการค้นข้อมูล นะครับ

      (มีลิ้งค์เอาไว้ใต้ช่องค้นข้อมูล ที่ด้านบนของทุกหน้าอยู่แล้วครับ)

      ธัมมโชติ

      ลบ