Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๒-๕ หน้า ๑๘๖ - ๒๓๑

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒-๕ สุตตันตปิฎกที่ ๐๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์



พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๕. อนุมานสูตร

๕. อนุมานสูตร
ว่าด้วยการเปรียบตนกับผู้อื่น
ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
[๑๘๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะ พำนักอยู่ ณ เภสกฬาวัน สถานที่
ให้อภัยแก่หมู่เนื้อ เขตกรุงสุงสุมารคิระ ในแคว้นภัคคะ ณ ที่นั้น ท่านพระมหา-
โมคคัลลานะ ได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุ
เหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าภิกษุปวารณาว่า ‘ขอท่านจงว่ากล่าวข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่ท่านควรว่ากล่าวได้’ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้ว่ายาก มีธรรมที่ทำให้เป็นผู้
ว่ายาก ไม่อดทน ไม่ยอมรับคำพร่ำสอนโดยเคารพ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายย่อมเข้าใจภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ไม่ควรว่ากล่าว ไม่ควรพร่ำสอน
และไม่ควรไว้วางใจ
ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีความปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความ
ปรารถนาที่เป็นบาป แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาที่เป็นบาป
ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็นบาปนี้ ก็เป็นธรรมที่
ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
๒. เป็นผู้ยกตน ข่มผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ยกตน ข่มผู้อื่นนี้ ก็เป็น
ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
๓. เป็นผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำแล้ว แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มัก
โกรธ ถูกความโกรธครอบงำแล้วนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๕. อนุมานสูตร
๔. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุ
เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุนี้ ก็เป็นธรรมที่
ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
๕. เป็นผู้มักโกรธ ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุ
เป็นผู้มักโกรธ ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุนี้ ก็เป็นธรรม
ที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
๖. เป็นผู้มักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ความโกรธ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มัก
โกรธ เปล่งวาจาใกล้ความโกรธนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
๗. ถูกโจทแล้วกลับโต้เถียงโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกโจทแล้วกลับโต้
เถียงโจทก์นี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
๘. ถูกโจทแล้วกลับรุกรานโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกโจทแล้วกลับรุกราน
โจทก์นี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
๙. ถูกโจทแล้วกลับปรักปรำโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกโจทแล้วกลับ
ปรักปรำโจทก์นี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
๑๐. ถูกโจทแล้วกลับพูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ
ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ แม้ข้อที่ภิกษุ
ถูกโจทแล้วกลับพูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ
ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏนี้ ก็เป็นธรรมที่
ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
๑๑. ถูกโจทแล้วไม่ยอมอธิบายพฤติกรรม(ของตน) แม้ข้อที่ภิกษุถูก
โจทแล้วไม่ยอมอธิบายพฤติกรรม(ของตน)นี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้
เป็นผู้ว่ายาก
๑๒. เป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน
ตีเสมอนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
๑๓. เป็นผู้ริษยา ตระหนี่ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ริษยา ตระหนี่นี้ ก็เป็น
ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๕. อนุมานสูตร
๑๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้โอ้อวด มีมารยานี้ ก็
เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
๑๕. เป็นผู้กระด้าง มักดูหมิ่นผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้กระด้าง มักดู
หมิ่นผู้อื่นนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
๑๖. เป็นผู้ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ถือรั้น สลัดได้ยาก แม้ข้อที่
ภิกษุเป็นผู้ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ถือรั้น สลัดได้ยากนี้
ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
ธรรมเหล่านี้เรียกว่า ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
[๑๘๒] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าภิกษุไม่ปวารณาไว้ว่า ‘ขอท่านจงว่ากล่าว
ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่ท่านควรว่ากล่าวได้’ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้ว่าง่าย มีธรรมที่ทำ
ให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน ยอมรับคำพร่ำสอนโดยเคารพ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายย่อมเข้าใจภิกษุนั้นว่า เป็นผู้ควรว่ากล่าว ควรพร่ำสอน และ
ควรไว้วางใจ
ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ไม่มีความปรารถนาที่เป็นบาป ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความ
ปรารถนาที่เป็นบาป แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่มีความปรารถนาที่
เป็นบาป ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็นบาปนี้ ก็
เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
๒. เป็นผู้ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้
อื่นนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
๓. เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้
ไม่มักโกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้
ว่าง่าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๕. อนุมานสูตร
๔. เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่
ภิกษุเป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุนี้
ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
๕. เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่
ภิกษุเป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุนี้
ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
๖. เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ความโกรธ แม้ข้อที่ภิกษุเป็น
ผู้ไม่มักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ความโกรธนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้
เป็นผู้ว่าง่าย
๗. ถูกโจทแล้วไม่โต้เถียงโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกโจทแล้วไม่โต้เถียงโจทก์นี้
ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
๘. ถูกโจทแล้วไม่รุกรานโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกโจทแล้วไม่รุกรานโจทก์นี้
ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
๙. ถูกโจทแล้วไม่ปรักปรำโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกโจทแล้วไม่ปรักปรำ
โจทก์นี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
๑๐. ถูกโจทแล้วไม่พูดกลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ
ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ แม้ข้อที่ภิกษุ
ถูกโจทแล้วไม่พูดกลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ
ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏนี้ ก็เป็นธรรมที่
ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
๑๑. ถูกโจทแล้วยอมอธิบายพฤติกรรม(ของตน) แม้ข้อที่ภิกษุถูกโจท
แล้วยอมอธิบายพฤติกรรม(ของตน)นี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
๑๒. เป็นผู้ไม่ลบหลู่คุณท่าน ไม่ตีเสมอ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่ลบหลู่
คุณท่าน ไม่ตีเสมอนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
๑๓. เป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่นี้
ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๕. อนุมานสูตร
๑๔. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มี
มารยานี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
๑๕. เป็นผู้ไม่กระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่กระด้าง
ไม่ดูหมิ่นผู้อื่นนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
๑๖. เป็นผู้ไม่ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ไม่ถือรั้น สลัดได้ง่าย
แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ไม่ถือรั้น
สลัดได้ง่ายนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
ธรรมเหล่านี้เรียกว่า ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
การอนุมานตนเอง
[๑๘๓] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรม ๑๖ ประการนั้น ภิกษุควรอนุมาน
ตนเอง๑ อย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้มีความปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความ
ปรารถนาที่เป็นบาป ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงมีความ
ปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็นบาป เราก็คงไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักไม่เป็นผู้มีความ
ปรารถนาที่เป็นบาป ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็นบาป’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ยกตนข่มผู้อื่นย่อมไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็น
ที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักไม่ยกตน จักไม่ข่มผู้อื่น’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้มักโกรธ ถูกความโกรธ
ครอบงำ เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้
ควรคิดว่า ‘เราจักไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ’

เชิงอรรถ :
๑ ควรอนุมานตนเอง หมายถึงภิกษุควรอนุมาน เปรียบเทียบ พิจารณาตนด้วยตนเองเท่านั้น (ม.มู.อ.
๑/๑๘๓/๓๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๕. อนุมานสูตร
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้มักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความ
โกรธเป็นเหตุ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้มักโกรธ
ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุ เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’
ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ เพราะความโกรธ
เป็นเหตุ’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้มักโกรธ ระแวงจัดเพราะความ
โกรธเป็นเหตุ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้มักโกรธ
ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุ เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’
ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่ระแวงจัดเพราะความโกรธ
เป็นเหตุ’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้มักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ความโกรธ
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้มักโกรธ เปล่งวาจาใกล้
ความโกรธ เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้
ควรคิดว่า ‘เราจักไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ความโกรธ’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ถูกโจทแล้วกลับโต้เถียงโจทก์
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงถูกโจทแล้วกลับโต้เถียงโจทก์
เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า
‘เราถูกโจทแล้วจักไม่โต้เถียงโจทก์’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ถูกโจทแล้วกลับรุกรานโจทก์
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราถูกโจทแล้วกลับรุกรานโจทก์ เราก็
คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราถูก
โจทแล้วจักไม่รุกรานโจทก์’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ถูกโจทแล้วกลับปรักปรำโจทก์
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงถูกโจทแล้วกลับปรักปรำโจทก์
เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า
‘เราถูกโจทแล้วจักไม่ปรักปรำโจทก์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๕. อนุมานสูตร
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ถูกโจทแล้วกลับพูดกลบเกลื่อน
พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราถูกโจทแล้วกลับพูดกลบเกลื่อน
พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ
เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า
‘เราถูกโจทแล้วจักไม่พูดกลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ
ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ถูกโจทแล้วไม่ยอมอธิบายพฤติกรรม
(ของตน) ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงถูกโจทแล้วไม่ยอม
อธิบายพฤติกรรม(ของตน) เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุ
เมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราถูกโจทแล้วจักยอมอธิบายพฤติกรรม(ของตน)’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ ย่อมไ่ม่
เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ เราก็
คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจัก
ไม่เป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน ไม่ตีเสมอ’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ริษยา ตระหนี่ ย่อมไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้ริษยา ตระหนี่ เราก็คงไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักไม่ริษยา
ไม่ตระหนี่’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้โอ้อวด มีมารยา ย่อมไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้โอ้อวด มีมารยา เราก็คงไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักเป็นผู้ไม่โอ้อวด
ไม่มีมารยา’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้กระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น ย่อมไม่เป็น
ที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้กระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น เราก็คงไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักเป็นผู้ไม่กระด้าง
ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๕. อนุมานสูตร
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่
ถือรั้น สลัดได้ยาก ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงถือความ
เห็นของตนเป็นใหญ่ ถือรั้น สลัดได้ยาก เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของ
คนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักไม่ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่
ไม่ถือรั้น จักเป็นผู้สลัดได้ง่าย’
การพิจารณาตนเอง
[๑๘๔] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรม ๑๖ ประการนั้น ภิกษุควรพิจารณา
ตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีความปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความ
ปรารถนาที่เป็นบาปจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีความ
ปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็นบาปจริง’ ภิกษุนั้น
ควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า
‘เรามิใช่ผู้มีความปรารถนาที่เป็นบาป มิใช่ผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็น
บาป’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่
ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น
จริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่นจริง’ ภิกษุนั้นควร
พยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรา
เป็นผู้ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเลย’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลาย
ทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มักโกรธ ถูกความ
โกรธครอบงำจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มักโกรธ ถูกความโกรธ
ครอบงำจริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้า
พิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ’ ภิกษุนั้น
ผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์โดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๕. อนุมานสูตร
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มักโกรธ
ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็น
ผู้มักโกรธ ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุจริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละ
บาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่มักโกรธ
ไม่ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุ’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรม
ทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มักโกรธ
ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้
มักโกรธ ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุจริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละ
บาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่มักโกรธ
ไม่ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุ’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรม
ทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มักโกรธ
เปล่งวาจาใกล้ความโกรธจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มักโกรธ
เปล่งวาจาใกล้ความโกรธจริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านี้
เสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ความโกรธ’
ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วย
ปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้ว
กลับโต้เถียงโจทก์จริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วกลับโต้เถียง
โจทก์จริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้า
พิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วไม่โต้เถียงโจทก์’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อ
เนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วกลับ
รุกรานโจทก์จริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วกลับรุกราน
โจทก์จริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้า
พิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วไม่รุกรานโจทก์’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อ
เนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๕. อนุมานสูตร
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วกลับ
ปรักปรำโจทก์จริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วกลับปรักปรำ
โจทก์จริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้า
พิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วไม่ปรักปรำโจทก์’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่าง
ต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์
โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วกลับพูด
กลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟัง
ให้ปรากฏจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วกลับพูดกลบเกลื่อน
พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏจริง’
ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่าง
นี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วไม่พูดกลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ
ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องใน
กุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้ว ไม่ยอม
อธิบายพฤติกรรม(ของตน)จริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้ว
ไม่ยอมอธิบายพฤติกรรม(ของตน)จริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรม
เหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วยอมอธิบายพฤติกรรม
(ของตน)’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน
พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน
ตีเสมอจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอจริง’
ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่าง
นี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่ลบหลู่คุณท่าน ไม่ตีเสมอ’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องใน
กุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๕. อนุมานสูตร
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ริษยา ตระหนี่
จริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ริษยา ตระหนี่จริง’ ภิกษุนั้นควร
พยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็น
ผู้ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวัน
กลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้โอ้อวด มีมารยา
จริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้โอ้อวด มีมารยาจริง’ ภิกษุนั้นควร
พยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรา
เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลาย
ทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้กระด้าง ดูหมิ่น
ผู้อื่นจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้กระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่นจริง’
ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่าง
นี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่กระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรม
ทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถือความเห็น
ของตนเป็นใหญ่ ถือรั้น สลัดได้ยากจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็น
ผู้ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ถือรั้น สลัดได้ยากจริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อ
ละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่ถือ
ความเห็นของตนเป็นใหญ่ ไม่ถือรั้น สลัดได้ง่าย’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องใน
กุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมเห็นชัดบาปอกุศลธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดซึ่งยังละ
ไม่ได้ในตน ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านี้ทั้งหมดนั่นแล แต่ถ้า
พิจารณาอยู่ ย่อมเห็นชัดบาปอกุศลธรรมเหล่านี้ทั้งหมดซึ่งละได้แล้วในตน ภิกษุ
นั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติ
และปราโมทย์โดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๖. เจโตขีลสูตร
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สตรีหรือบุรุษแรกรุ่นชอบแต่งตัว ส่องดูใบหน้าของตน
ในกระจกเงา หรือในภาชนะน้ำใสสะอาดบริสุทธิ์ ถ้าพบไฝหรือฝ้าที่ใบหน้านั้นย่อม
พยายามที่จะกำจัดไฝหรือฝ้านั้นนั่นแล หากไม่พบก็จะพอใจว่า ‘เป็นโชคของเรา
จริง ๆ ใบหน้าของเราหมดจด’ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าพิจารณาอยู่
ย่อมเห็นชัดบาปอกุศลธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดที่ยังละไม่ได้ ภิกษุนั้นควรพยายาม
เพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดนั่นแล ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมเห็นชัด
บาปอกุศลธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดที่ละได้แล้วในตน ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชม
ภาษิตของท่านพระมหาโมคคัลลานะ ดังนี้แล
อนุมานสูตรที่ ๕ จบ

๖. เจโตขีลสูตร๑
ว่าด้วยกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู
[๑๘๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ
ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งยังละไม่ได้ กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ยังตัดไม่ขาด เธอจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๐๕-๒๐๖/๓๔๗-๓๕๐, องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๗๑-๗๒/๕๕๕-๕๕๘, องฺ.ทสก.
(แปล) ๒๔/๑๔/๒๒-๒๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๖. เจโตขีลสูตร
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดา๑ จิตของ
ภิกษุผู้เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดานั้น
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู
ประการที่ ๑ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ
ประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้
๒. เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในธรรม ฯลฯ
นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๒ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่
น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง
เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้
๓. เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสงฆ์ ฯลฯ นี้
เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๓ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อม
ไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง
เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้
๔. เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา(ข้อที่จะ
ต้องศึกษา) ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๔
ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อ
กระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้
๕. เป็นผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะ(ความคิดประทุษร้าย)กระทบ
มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธ
ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะกระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารี

เชิงอรรถ :
๑ ไม่เลื่อมใสในศาสดา ในที่นี้หมายถึงไม่เชื่อว่าพระสรีระของพระพุทธเจ้าประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒
ประการ ไม่เชื่อพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้าที่สามารถรู้อดีต อนาคต และปัจจุบัน (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๒๐๕/๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๖. เจโตขีลสูตร
ทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิต
ดุจตะปูประการที่ ๕ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร
เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละ
ไม่ได้
เหล่านี้ เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้
[๑๘๖] กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่ภิกษุนั้นยังตัดไม่ขาด อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่
ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจาก
ความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะยานอยากในกาม จิตของ
ภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่
ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจาก
ความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะยานอยากในกามนั้น ย่อม
ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อ
เนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๑ ที่
ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อ
กระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาด
๒. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาย ฯลฯ นี้เป็นกิเลส
เครื่องผูกใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร
เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัด
ไม่ขาด
๓. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในรูป ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่อง
ผูกใจประการที่ ๓ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ
ประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัด
ไม่ขาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๖. เจโตขีลสูตร
๔. ฉันอาหารตามความต้องการจนอิ่มเกินไป ประกอบความสุขใน
การนอน ความสุขในการนอนเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่
ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๔ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อม
ไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง
เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาด
๕. ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพหรือ
เทพตนใดตนหนึ่ง’ จิตของภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความ
ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือ
พรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพหรือเทพตนใดตนหนึ่ง’ ย่อมไม่น้อม
ไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อ
บำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุผู้มีจิต
ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง
เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาด
เหล่านี้ เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่ภิกษุนั้นยังตัดไม่ขาด
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการนี้
ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งยังละไม่ได้ กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้ ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ยังตัดไม่ขาด เธอจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
[๑๘๗] ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ
ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละได้แล้ว กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ตัดขาดแล้ว เธอจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในศาสดา จิตของ
ภิกษุผู้ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในศาสดานั้น
ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๖. เจโตขีลสูตร
ประการที่ ๑ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ
เนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว
๒. ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในธรรม ฯลฯ นี้เป็น
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๒ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อ
ความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อ
บำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว
๓. ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในสงฆ์ ฯลฯ นี้เป็น
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๓ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อ
ความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อ
บำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว
๔. ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในสิกขา ฯลฯ นี้เป็น
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๔ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อ
ความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อ
บำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว
๕. เป็นผู้ไม่โกรธ พอใจ มีจิตไม่ถูกโทสะกระทบ มีจิตไม่แข็งกระด้าง
ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่โกรธ พอใจ มีจิต
ไม่ถูกโทสะกระทบ มีจิตไม่แข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิต
ดุจตะปูประการที่ ๕ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ
ประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว
เหล่านี้ เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว
[๑๘๘] กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่ภิกษุนั้นตัดขาดแล้ว อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจาก
ความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน
ปราศจากความทะยานอยากในกาม จิตของภิกษุผู้ปราศจากความ
กำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๖. เจโตขีลสูตร
กระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะยาน
อยากในกาม ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ
ประการที่ ๑ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ
เนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว
๒. เป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกาย ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ
ประการที่ ๒ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ
เนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว
๓. เป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในรูป ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ
ประการที่ ๓ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ
เนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว
๔. ฉันอาหารตามต้องการจนอิ่มแล้ว ไม่ประกอบความสุขในการนอน
ความสุขในการนอนเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ นี้เป็น
กิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๔ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร
เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว
๕. ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใด
หมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็น
เทพหรือเทพตนใดตนหนึ่ง’ จิตของภิกษุผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์
ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร
ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพหรือเทพตนใดตนหนึ่ง’
ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๕
ที่ภิกษุผู้น้อมจิตไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อ
กระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว
เหล่านี้ เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่ภิกษุนั้นตัดขาดแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๖. เจโตขีลสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการนี้ ที่ภิกษุ
รูปใดรูปหนึ่งละได้แล้ว กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้ ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตัด
ขาดแล้ว เธอจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
อุปมาด้วยแม่ไก่ฟักไข่
[๑๘๙] ภิกษุนั้น เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร๑
เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วย
จิตตสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร มี
ความเพียรยิ่งเป็นที่ ๕ ภิกษุผู้มีองค์ ๑๕๒ รวมทั้งความเพียรอันยิ่งอย่างนี้นั้น
ย่อมเป็นผู้ควรแก่ความเบื่อหน่ายยิ่ง๓ ควรแก่การตรัสรู้ และควรแก่การบรรลุธรรม
อันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
ไข่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ที่แม่ไก่นอนกกไว้อย่างดี ให้ความ
อบอุ่นอย่างสม่ำเสมอ ฟักแล้วอย่างดี แม้ว่าแม่ไก่นั้นจะไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ถ้าอย่างไร ขอลูกไก่เหล่านี้พึงใช้ปลายเล็บหรือจะงอยปาก เจาะทำลายเปลือกไข่
ออกมาโดยสวัสดิภาพ’ ก็ตาม ถึงอย่างนั้นลูกไก่เหล่านั้น ก็ต้องเจาะทำลายเปลือกไข่
ด้วยปลายเล็บหรือจะงอยปากออกมาโดยสวัสดิภาพได้ แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีองค์ ๑๕ รวมทั้งความเพียรอันยิ่งอย่างนี้ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ควรแก่ความเบื่อหน่ายยิ่ง ควรแก่การตรัสรู้ และควรแก่การ
บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
เจโตขีลสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๗. วนปัตถสูตร

๗. วนปัตถสูตร
ว่าด้วยการอยู่ป่า
[๑๙๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายว่าด้วย
การอยู่ป่าแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
[๑๙๑] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบแห่งใดแห่ง
หนึ่ง เมื่อเธอเข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้ง
มั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะ๑ ที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และภิกษุนั้นก็ไม่บรรลุธรรมอันเป็น
แดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ตนยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร๒ ที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย
ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้
เมื่อเราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่
ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และเราก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษม
จากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้น
ได้โดยยาก’ ภิกษุนั้นควรหลีกไปจากป่าทึบนั้น ไม่ควรอยู่ในเวลากลางคืน หรือใน
เวลากลางวัน

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๔ (สัพพาสวสูตร) หน้า ๑๗ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๒๓ (สัพพาสวสูตร) หน้า ๒๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๗. วนปัตถสูตร
[๑๙๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบแห่งใดแห่งหนึ่ง
เมื่อเธอเข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็
ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และภิกษุนั้นก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันเป็น
แดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย
ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้ามาอยู่อาศัยป่า
ทึบนี้ เมื่อเราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้ง
มั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และเราก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย
ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก แต่เราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่งจีวร
ฯลฯ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ฯลฯ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราไม่ได้ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อเรา
เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น
อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และเราก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
อันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ’ ภิกษุนั้นรู้แล้วควรหลีกไปจากป่าทึบนั้น ไม่ควรอยู่
เหตุผลของการอยู่ป่า
[๑๙๓] อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบแห่งใดแห่งหนึ่ง เมื่อ
เธอเข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น
อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และภิกษุนั้นก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน
ยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก
ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้ เมื่อเราเข้ามาอยู่อาศัย
ป่าทึบนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๗. วนปัตถสูตร
ก็สิ้นไป และเราก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ
ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช-
บริขาร ที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก แต่เราไม่ได้ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่งจีวร ฯลฯ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ฯลฯ
เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่ง
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนี้ สติที่ยัง
ไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และเราก็
บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ’ ภิกษุนั้นรู้แล้ว
ควรอยู่ในป่าทึบนั้น ไม่ควรหลีกไป
[๑๙๔] อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบแห่งใดแห่งหนึ่ง เมื่อเธอ
เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น
อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และภิกษุนั้นก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน
ยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิด
ขึ้นได้โดยไม่ยาก ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้ เมื่อ
เราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น
อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และเราก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอด
เยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก’
ภิกษุนั้นควรอยู่ในป่าทึบนั้นจนตลอดชีวิต ไม่ควรหลีกไป
เหตุผลการอยู่อาศัยบ้านเป็นต้น
[๑๙๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยบ้านแห่งใดแห่งหนึ่ง
ฯลฯ เข้าไปอยู่อาศัยนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง ฯลฯ เข้าไปอยู่อาศัยนครแห่งใดแห่งหนึ่ง
ฯลฯ เข้าไปอยู่อาศัยชนบทแห่งใดแห่งหนึ่ง ฯลฯ เข้าไปอยู่อาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
เมื่อเธอเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็
ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และภิกษุนั้นก็ไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษม
จากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๗. วนปัตถสูตร
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้น
ได้โดยยาก ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนี้ เมื่อเรา
เข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น
อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และเราก็ไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน
ยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก’
ภิกษุนั้นไม่ต้องบอกลา ควรหลีกไปในเวลากลางคืน หรือในเวลากลางวัน ไม่ควร
ติดตามบุคคลนั้นเลย
[๑๙๖] อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เมื่อเธอ
เข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น
อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และภิกษุนั้นก็ไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก
โยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้น
ได้โดยไม่ยาก ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนี้ เมื่อเรา
เข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น
อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และเราก็ไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน
ยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก
แต่เราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่งจีวร ฯลฯ เพราะเหตุแห่ง
บิณฑบาต ฯลฯ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนี้
สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่
สิ้นไปและเราก็ไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ’
ภิกษุนั้นถึงรู้แล้วก็ควรบอกลาก่อนแล้วจึงไป ไม่ควรติดตามบุคคลนั้นเลย
[๑๙๗] อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เมื่อ
เธอเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๗. วนปัตถสูตร
ที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และภิกษุนั้นก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
ที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก ภิกษุ
นั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนี้ เมื่อเราเข้าไปอยู่อาศัย
บุคคลนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป
ก็สิ้นไป และเราก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ
ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช-
บริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก แต่เราไม่ได้ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่งจีวร ฯลฯ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ฯลฯ
เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่ง
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนี้ สติที่ยัง
ไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และเราก็
บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ’ ภิกษุนั้นถึงแม้
จะรู้แล้วก็ควรติดตามบุคคลนั้น ยังไม่ควรหลีกไป
[๑๙๘] อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เมื่อเธอ
เข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะ
ที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และภิกษุนั้นย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน
ยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก
ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนี้ เมื่อเราเข้าไปอยู่อาศัย
บุคคลนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป
ก็สิ้นไปและเราก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ
ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช-
บริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก’ ภิกษุนั้นควรติดตาม
บุคคลนั้นไปจนตลอดชีวิต ไม่ควรหลีกไปแม้จะถูกขับไล่ก็ตาม”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
วนปัตถสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๘. มธุปิณฑิกสูตร

๘. มธุปิณฑิกสูตร
ว่าด้วยธรรมเทศนาอันไพเราะ
[๑๙๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงกบิลพัสดุ์ กลับจากบิณฑบาตภายหลังเสวย
พระกระยาหารเสร็จแล้ว เสด็จเข้าไปยังป่ามหาวันเพื่อทรงพักผ่อนกลางวัน แล้วจึง
ประทับพักผ่อนกลางวัน ณ โคนต้นมะตูมหนุ่ม ฝ่ายทัณฑปาณิศากยะกำลังเดิน
เที่ยวชมทิวทัศน์ ได้เสด็จเข้าไปยังป่ามหาวันแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค จนถึง
ต้นมะตูมหนุ่ม แล้วสนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว
ยืนขึ้นยันไม้เท้าลง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “พระสมณะ
มีปกติกล่าวอย่างไร บอกอย่างไร”
ตอบปัญหาทัณฑปาณิ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้มีอายุ บุคคลมีปกติกล่าวอย่างใดจึงไม่โต้เถียง
กับใคร ๆ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-
พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์แล้วดำรงอยู่ในโลก อนึ่ง สัญญาทั้งหลายย่อมไม่
ครอบงำพราหมณ์ผู้อยู่ปราศจากกามทั้งหลาย ผู้ไม่มีความสงสัย ผู้ตัดความ
คะนองได้ ผู้ปราศจากความทะยานอยากในภพน้อยภพใหญ่ได้โดยประการใด เรา
มีปกติกล่าวอย่างนั้น บอกอย่างนั้น โดยประการนั้น”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนั้นแล้ว ทัณฑปาณิศากยะสั่นศีรษะ แลบลิ้น
ทำหน้าผากย่นเป็น ๓ รอย ถือไม้เท้ายันขึ้นแล้วจากไป
[๒๐๐] ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นเข้าไปยัง
นิโครธาราม แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว จึงรับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๘. มธุปิณฑิกสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเช้านี้ เราครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงกบิลพัสดุ์ กลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว จึง
เข้าไปยังป่ามหาวันเพื่อพักผ่อนกลางวัน แล้วนั่งพักผ่อนกลางวัน ณ โคนต้น
มะตูมหนุ่ม แม้ทัณฑปาณิศากยะก็เดินเที่ยวชมทิวทัศน์เข้าไปยังป่ามหาวัน ครั้น
แล้วจึงเข้าไปหาเราจนถึงต้นมะตูมหนุ่ม ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ
พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ได้ยืนขึ้นยันไม้เท้าลง ณ ที่สมควร ครั้นแล้วได้ถามเราว่า
‘พระสมณะ มีปกติกล่าวอย่างไร บอกอย่างไร’ เมื่อทัณฑปาณิศากยะกล่าวอย่าง
นั้นแล้ว เราได้ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ บุคคลมีปกติกล่าวอย่างใดจึงจะไม่โต้เถียงกับใคร ๆ
ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์แล้วดำรงอยู่ในโลก อนึ่ง สัญญาทั้งหลายย่อมไม่ครอบงำ
พราหมณ์ผู้อยู่ปราศจากกามทั้งหลาย ผู้ไม่มีความสงสัย ผู้ตัดความคะนองได้
ผู้ปราศจากความทะยานอยากในภพน้อยภพใหญ่ได้โดยประการใด เรามีปกติกล่าว
อย่างนั้น บอกอย่างนั้น โดยประการนั้น’ เมื่อเรากล่าวอย่างนั้นแล้ว ทัณฑปาณิ-
ศากยะสั่นศีรษะ แลบลิ้น ทำหน้าผากย่นเป็น ๓ รอย ถือไม้เท้ายันขึ้นแล้ว
จากไป”
ทรงแสดงอุทเทส
[๒๐๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนั้นแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้
มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคมีปกติตรัสอย่างไรจึงจะไม่
โต้เถียงกับใคร ๆ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อม
ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์แล้วดำรงอยู่ในโลก อนึ่ง สัญญาทั้งหลายจะ
ไม่ครอบงำพราหมณ์นั้นผู้อยู่ปราศจากกามทั้งหลาย ผู้ไม่มีความสงสัย ผู้ตัดความ
คะนองได้ ผู้ปราศจากความทะยานอยากในภพน้อยภพใหญ่ได้อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ แง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญา๑ ย่อม
ครอบงำบุรุษ เพราะเหตุใด ถ้าสิ่งที่บุคคลจะพึงยินดี จะพึงยอมรับ จะพึงยึดถือ

เชิงอรรถ :
๑ แง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญา แปลจากคำว่า ปปญฺจสญฺ�าสงฺขา แยกอธิบายศัพท์ได้ดังนี้ คำว่า
ปปญฺจสญฺ�า หมายถึงสัญญาอันประกอบด้วยกิเลสเป็นเหตุเนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ คำว่า
สงฺขา หมายถึงแง่ต่าง ๆ ดังนั้น ปปญฺจส�ฺ�าสงฺขา จึงแปลว่า แง่ต่าง ๆ แห่งสัญญาอันประกอบด้วย
กิเลสเป็นเหตุเนิ่นช้า (ม.มู.อ. ๑/๒๐๑/๔๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๘. มธุปิณฑิกสูตร
ไม่มีในเพราะเหตุนั้น ข้อนี้เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็น
ที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็น
ที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย และเป็นที่สุดแห่งการถือท่อนไม้
การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การส่อเสียดยุยง และการ
กล่าวเท็จ บาปอกุศลธรรมเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือเพราะเหตุนั้น”
ครั้นพระผู้มีพระภาคผู้สุคตเจ้าได้ตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้า
ไปยังที่ประทับ
[๒๐๒] ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นได้มี
ความสงสัยว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสนี้แก่พวกเราโดย
ย่อว่า ‘ภิกษุ แง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญาย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าสิ่งที่
บุคคลจะพึงยินดี จะพึงยอมรับ จะพึงยึดถือ ไม่มีเพราะเหตุนั้น ข้อนี้เป็นที่สุด
แห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่ง
วิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่ง
อวิชชานุสัย และเป็นที่สุดแห่งการถือท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การ
แก่งแย่ง การวิวาท การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ บาปอกุศลธรรมเหล่านี้
ย่อมดับไปโดยไม่เหลือเพราะเหตุนั้น’ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุก
จากพุทธอาสน์เข้าไปยังที่ประทับ ใครเล่าหนอ จะพึงชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทส
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้”
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นเกิดความคิดขึ้นว่า “ท่านมหากัจจานะนี้ พระศาสดา
ทรงยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่านมหากัจจานะ
ก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรง
ชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ทางที่ดี เราทั้งหลายควรเข้าไปหาท่านมหากัจจานะ
จนถึงที่อยู่ แล้วควรสอบถามเนื้อความนี้กับท่านมหากัจจานะ”
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะจนถึงที่อยู่ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กล่าวกับท่านพระมหากัจจานะว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๘. มธุปิณฑิกสูตร
“ท่านกัจจานะ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสนี้แก่พวกเราโดยย่อว่า
‘ภิกษุ แง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญาย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าสิ่งที่บุคคล
จะพึงยินดี จะพึงยอมรับ จะพึงยึดถือ ไม่มีเพราะเหตุนั้น ข้อนี้เป็นที่สุดแห่ง
ราคานุสัย ฯลฯ บาปอกุศลธรรมเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือในเพราะเหตุนั้น’
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงจากไปไม่นาน พวกกระผมได้เกิดความสงสัยว่า ‘พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงอุทเทสนี้แก่พวกเราโดยย่อว่า ‘ภิกษุ แง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญา
ย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าสิ่งที่บุคคลจะพึงยินดี จะพึงยอมรับ จะพึงยึดถือ
ไม่มีเพราะเหตุนั้น ข้อนี้เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย ฯลฯ บาปอกุศลธรรมเหล่านี้
ย่อมดับไปโดยไม่เหลือในเพราะเหตุนั้น’ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร ทรง
ลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ ใครเล่าหนอ จะพึงชี้แจงเนื้อความแห่ง
อุทเทส ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้’
ท่านกัจจานะ พวกกระผมคิดว่า ‘ท่านมหากัจจานะนี้เป็นผู้ที่พระศาสดาทรง
ยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่านมหากัจจานะก็
สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรง
ชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ทางที่ดี เราทั้งหลายควรเข้าไปหาท่านมหากัจจานะ
จนถึงที่อยู่ แล้วควรสอบถามเนื้อความนี้กับท่านมหากัจจานะ’ ขอท่านมหากัจจานะ
จงชี้แจงเถิด”
[๒๐๓] ท่านพระมหากัจจานะจึงตอบว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อุปมาเหมือน
บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ ผ่านโคนและลำต้นของต้นไม้
ใหญ่ซึ่งมีแก่นไป เขาจะพึงเข้าใจว่าแก่นไม้ต้องแสวงหาที่กิ่งและใบไม้ แม้ฉันใด
ข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น เมื่อพระศาสดาทรงปรากฏเฉพาะหน้าท่านทั้งหลาย ท่าน
ทั้งหลายก็ผ่านพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นไป และจะพึงเข้าใจเนื้อความนั้นว่าต้อง
สอบถามกับเรา แท้จริง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ ทรงเห็นสิ่งที่
ควรเห็น เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ ประกาศ
ขยายเนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต และเวลา
นี้ก็เป็นเวลาอันสมควรที่พวกท่านจะทูลถามเนื้อความนี้กับพระผู้มีพระภาคพระองค์
นั้นแล้ว พระองค์ทรงตอบอย่างใด ท่านทั้งหลายควรทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๘. มธุปิณฑิกสูตร
ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวตอบว่า “ท่านกัจจานะ เป็นความจริงที่พระผู้มีพระภาค
ทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ ทรงเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม
เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ ประกาศ ขยายเนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็น
เจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต และเวลานี้ก็เป็นเวลาอันสมควรที่พวกกระผมจะทูล
ถามเนื้อความนี้กับพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงตอบอย่างใด พวกกระผมจะทรง
จำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้น อนึ่ง ท่านมหากัจจานะเป็นผู้ที่พระศาสดาทรงยกย่อง
ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่านมหากัจจานะก็สามารถจะ
ชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดย
พิสดารให้พิสดารได้ ขอท่านมหากัจจานะไม่ต้องหนักใจชี้แจงเถิด”
พระมหากัจจานะอธิบายอุทเทส
ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ท่าน
ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี กระผมจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระ
มหากัจจานะจึงได้กล่าวว่า
[๒๐๔] “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อว่า
‘ภิกษุ แง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญาย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าสิ่งที่บุคคล
จะพึงยินดี จะพึงยอมรับ จะพึงยึดถือ ไม่มีเพราะเหตุนั้น ข้อนี้เป็นที่สุดแห่ง
ราคานุสัย ฯลฯ บาปอกุศลธรรมเหล่านี้ย่อมดับไปโดยไม่เหลือในเพราะเหตุนั้น’
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร ทรงลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ
กระผมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรง
ชี้แจงไว้โดยพิสดารให้พิสดารได้อย่างนี้
จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุและรูปารมณ์ ความประจวบกันแห่ง
ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด บุคคลเสวยอารมณ์ใด
ย่อมหมายรู้อารมณ์นั้น บุคคลหมายรู้อารมณ์ใดย่อมตรึกอารมณ์นั้น บุคคลตรึก
อารมณ์ใดย่อมคิดปรุงแต่งอารมณ์นั้น บุคคลคิดปรุงแต่งอารมณ์ใด เพราะความคิด
ปรุงแต่งอารมณ์นั้นเป็นเหตุ แง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญาย่อมครอบงำบุรุษ ในรูป
ทั้งหลายที่จะพึงรู้แจ้งทางตาทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๘. มธุปิณฑิกสูตร
โสตวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยโสตะและสัททารมณ์ ฯลฯ
ฆานวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยฆานะและคันธารมณ์ ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยชิวหาและรสารมณ์ ฯลฯ
กายวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพารมณ์ ฯลฯ
มโนวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ ความประจวบกันแห่ง
ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด บุคคลเสวยอารมณ์
ใดย่อมหมายรู้อารมณ์นั้น บุคคลหมายรู้อารมณ์ใดย่อมตรึกอารมณ์นั้น บุคคล
ตรึกอารมณ์ใดย่อมคิดปรุงแต่งอารมณ์นั้น บุคคลคิดปรุงแต่งอารมณ์ใด เพราะความ
คิดปรุงแต่งอารมณ์นั้นเป็นเหตุ แง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญาย่อมครอบงำบุรุษใน
ธรรมารมณ์ทั้งหลายที่จะพึงรู้แจ้งทางใจ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
เมื่อมีจักขุ มีรูปารมณ์ และมีจักขุวิญญาณ เป็นไปได้ที่เขาจักบัญญัติผัสสะ
เมื่อมีการบัญญัติผัสสะ เป็นไปได้ที่เขาจักบัญญัติเวทนา เมื่อมีการบัญญัติเวทนา
เป็นไปได้ที่เขาจักบัญญัติสัญญา เมื่อมีการบัญญัติสัญญา เป็นไปได้ที่เขาจักบัญญัติวิตก
เมื่อมีการบัญญัติวิตก เป็นไปได้ที่เขาจักบัญญัติการครอบงำโดยแง่ต่าง ๆ แห่ง
ปปัญจสัญญา
เมื่อมีโสตะ มีสัททารมณ์ ฯลฯ
เมื่อมีฆานะ มีคันธารมณ์ ฯลฯ
เมื่อมีชิวหา มีรสารมณ์ ฯลฯ
เมื่อมีกาย มีโผฏฐัพพารมณ์ ฯลฯ
เมื่อมีมโน มีธรรมารมณ์ และมีมโนวิญญาณ เป็นไปได้ที่เขาจักบัญญัติผัสสะ
เมื่อมีการบัญญัติผัสสะ เป็นไปได้ที่เขาจักบัญญัติเวทนา เมื่อมีการบัญญัติเวทนา
เป็นไปได้ที่เขาจักบัญญัติสัญญา เมื่อมีการบัญญัติสัญญา เป็นไปได้ที่เขาจักบัญญัติวิตก
เมื่อมีการบัญญัติวิตก เป็นไปได้ที่เขาจักบัญญัติการครอบงำโดยแง่ต่าง ๆ แห่ง
ปปัญจสัญญา
เมื่อไม่มีจักขุ ไม่มีรูปารมณ์ ไม่มีจักขุวิญญาณ เป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจัก
บัญญัติผัสสะ เมื่อไม่มีการบัญญัติผัสสะ เป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจักบัญญัติเวทนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๘. มธุปิณฑิกสูตร
เมื่อไม่มีการบัญญัติเวทนา เป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจักบัญญัติสัญญา เมื่อไม่มีการ
บัญญัติสัญญา เป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจักบัญญัติวิตก เมื่อไม่มีการบัญญัติวิตก
เป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจักบัญญัติการครอบงำโดยแง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญา
เมื่อไม่มีโสตะ ไม่มีสัททารมณ์ ฯลฯ
เมื่อไม่มีฆานะ ไม่มีคันธารมณ์ ฯลฯ
เมื่อไม่มีชิวหา ไม่มีรสารมณ์ ฯลฯ
เมื่อไม่มีกาย ไม่มีโผฏฐัพพารมณ์ ฯลฯ
เมื่อไม่มีมโน ไม่มีธรรมารมณ์ ไม่มีมโนวิญญาณ เป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจัก
บัญญัติผัสสะ เมื่อไม่มีการบัญญัติผัสสะ เป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจักบัญญัติเวทนา
เมื่อไม่มีการบัญญัติเวทนา เป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจักบัญญัติสัญญา เมื่อไม่มีการบัญญัติ
สัญญา เป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจักบัญญัติวิตก เมื่อไม่มีการบัญญัติวิตก เป็นไปไม่
ได้เลยที่เขาจักบัญญัติการครอบงำโดยแง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญา
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสแก่พวกเราโดยย่อว่า
‘ภิกษุ แง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญาย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าสิ่งที่บุคคลจะ
พึงยินดี จะพึงยอมรับ จะพึงยึดถือ ไม่มีเพราะเหตุนั้น ข้อนี้เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย
ฯลฯ บาปอกุศลธรรมเหล่านี้ย่อมดับไปโดยไม่เหลือเพราะเหตุนั้น’ แล้ว ไม่ทรงชี้แจง
เนื้อความให้พิสดาร ทรงลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ กระผมรู้ทั่วถึง
เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร
ให้พิสดารได้อย่างนี้ เมื่อท่านปรารถนาควรพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วทูล
ถามเนื้อความนั้นเถิด พระองค์ทรงตอบอย่างใด ท่านทั้งหลายควรทรงจำเนื้อความ
นั้นไว้อย่างนั้น”
[๒๐๕] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระมหากัจจานะ
แล้วลุกจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ
ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๘. มธุปิณฑิกสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสแก่ข้าพระองค์
ทั้งหลายโดยย่อว่า ‘ภิกษุ แง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญาย่อมครอบงำบุรุษเพราะ
เหตุใด ถ้าสิ่งที่บุคคลจะพึงยินดี จะพึงยอมรับ จะพึงยึดถือ ไม่มีเพราะเหตุนั้น
ข้อนี้เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย ฯลฯ บาปอกุศลธรรมเหล่านี้ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ
เพราะเหตุนั้น’ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร ทรงลุกขึ้นจากพุทธอาสน์
เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ได้เกิดความสงสัยกันว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสแก่พวกเราโดยย่อว่า
‘ภิกษุ แง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญา ย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าสิ่งที่บุคคล
จะพึงยินดี จะพึงยอมรับ จะพึงยึดถือ ไม่มีเพราะเหตุนั้น ข้อนี้เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย
เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุด
แห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย และเป็นที่สุดแห่งการถือท่อนไม้ การถือ
ศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ
บาปอกุศลธรรมเหล่านี้ย่อมดับไปโดยไม่เหลือเพราะเหตุนั้น’ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความ
โดยพิสดาร ทรงลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ ใครเล่าหนอจะควร
ชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อนี้ ไม่ทรงชี้แจงไว้
โดยพิสดารให้พิสดารได้ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้มีความคิดว่า ‘ท่านพระมหากัจจานะ
นี้พระศาสดาทรงยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่าน
พระมหากัจจานะก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทส ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
ไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ทางที่ดี เราทั้งหลายควรเข้าไปหาท่าน
พระมหากัจจานะจนถึงที่อยู่ แล้วควรสอบถามเนื้อความนี้กับท่านพระมหากัจจานะ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายได้พากันเข้าไปหาท่านพระ
มหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้กับท่านพระมหากัจจานะ ท่านพระ
มหากัจจานะ ได้ชี้แจงเนื้อความด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะ
เหล่านี้แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๘. มธุปิณฑิกสูตร

ทรงสรรเสริญพระมหากัจจานะ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย มหากัจจานะเป็นบัณฑิต ภิกษุ
ทั้งหลาย มหากัจจานะเป็นผู้มีปัญญามาก แม้ว่าเธอทั้งหลายจะถามเนื้อความนี้
กับเรา เราก็จะพึงตอบเนื้อความนั้นอย่างนี้ เหมือนกับที่มหากัจจานะตอบ เรื่องนี้
มีเนื้อความดังนี้แล เธอทั้งหลายจงทรงจำเรื่องนั้นไว้อย่างนี้เถิด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนั้นแล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษผู้ถูกความหิวและความอ่อนเพลียครอบงำ
ได้ขนมหวาน เขากินในเวลาใด ๆ ก็จะพึงได้รับรสหวานอร่อย ในเวลานั้น ๆ
แม้ฉันใด ภิกษุผู้เป็นนักคิด เป็นบัณฑิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ใคร่ครวญเนื้อความ
แห่งธรรมบรรยายนี้ด้วยปัญญาในเวลาใด ก็จะพึงได้ความพอใจและความเลื่อมใส
แห่งใจในเวลานั้น ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เธอจงทรงจำไว้ว่า
ธรรมบรรยายนี้ชื่อมธุปิณฑิกบรรยาย”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
มธุปิณฑิกสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร

๙. เทฺวธาวิตักกสูตร
ว่าด้วยวิตก ๒ ประเภท
[๒๐๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาค จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อน เราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘ถ้ากระไร เราควรจัดวิตกออกเป็น ๒ ประเภท๑
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นจึงได้จัดกามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก
เป็นประเภทที่ ๑ และจัดเนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตก๒ เป็น
ประเภทที่ ๒

เชิงอรรถ :
๑ จัดวิตกออกเป็น ๒ ประเภท หมายถึงจัดวิตกฝ่ายอกุศลเป็นประเภทที่ ๑ จัดวิตกฝ่ายกุศลเป็นประเภท
ที่ ๒ (ม.มู.อ. ๒/๒๐๖/๔๐๖)
๒ กามวิตก หมายถึงความตรึกในเรื่องกาม
พยาบาทวิตก หมายถึงความตรึกในเรื่องปองร้ายผู้อื่น
วิหิงสาวิตก หมายถึงความตรึกในเรื่องเบียดเบียนผู้อื่น
เนกขัมมวิตก หมายถึงความตรึกในเรื่องออกจากกิเลส
อพยาบาทวิตก หมายถึงความตรึกในเรื่องไม่ปองร้ายผู้อื่น
อวิหิงสาวิตก หมายถึงความตรึกในเรื่องไม่เบียดเบียนผู้อื่น ตั้งแต่มีเมตตาเป็นส่วนเบื้องต้นจนถึงปฐมฌาน
(ม.มู.อ. ๑/๒๐๖/๔๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร

อกุศลวิตก ๓
[๒๐๗] ภิกษุทั้งหลาย กามวิตกย่อมเกิดขึ้นแก่เราผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า ‘กามวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เรา
แล้ว’ แต่กามวิตกนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง เป็นเหตุดับปัญญา เป็นส่วนแห่งความคับแค้น
ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า ‘เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง’ กามวิตก
ก็ดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า ‘เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง’ กามวิตก
ก็ดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า ‘เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง’
กามวิตกก็ดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า ‘เป็นเหตุดับปัญญา เป็นส่วนแห่ง
ความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน’ กามวิตกก็ดับสูญไป
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นย่อมละ บรรเทา ทำกามวิตกที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ให้
หมดสิ้นไป
[๒๐๘] ภิกษุทั้งหลาย พยาบาทวิตกย่อมเกิดขึ้นแก่เราผู้ไม่ประมาท มี
ความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ฯลฯ วิหิงสาวิตกย่อมเกิดขึ้น เรานั้นย่อม
ทราบชัดอย่างนี้ว่า ‘วิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว’ แต่วิหิงสาวิตกนั้นเป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง
เป็นเหตุดับปัญญา เป็นส่วนแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เมื่อเรา
พิจารณาเห็นว่า ‘เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง’ วิหิงสาวิตกก็ดับสูญไป เมื่อเรา
พิจารณาเห็นว่า ‘เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง’ วิหิงสาวิตกก็ดับสูญไป เมื่อเรา
พิจารณาเห็นว่า ‘เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง’ วิหิงสาวิตกก็ดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า ‘เป็นเหตุดับปัญญา เป็นส่วนแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไป
เพื่อนิพพาน’ วิหิงสาวิตกก็ดับสูญไป เรานั้นย่อมละ บรรเทา ทำวิหิงสาวิตกที่
เกิดขึ้นบ่อย ๆ ให้หมดสิ้นไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึกตรองถึงวิตกใด ๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปในวิตก
นั้น ๆ ถ้าเธอยิ่งตรึกตรองถึงกามวิตกมาก เธอก็ละทิ้งเนกขัมมวิตก กระทำแต่
กามวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อกามวิตก ถ้าภิกษุยิ่งตรึกตรองถึง
พยาบาทวิตกมาก ฯลฯ ถ้าภิกษุยิ่งตรึกตรองถึงวิหิงสาวิตกมาก เธอก็ละทิ้ง
อวิหิงสาวิตก กระทำแต่วิหิงสาวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อวิหิงสาวิตก
ในสารทสมัยเดือนท้ายแห่งฤดูฝน คนเลี้ยงโคต้องคอยระวังโคทั้งหลายในที่มี
ข้าวกล้าหนาแน่น เขาต้องตีต้อนโคทั้งหลายไปจากที่นั้น ๆ กั้นไว้ ห้ามไว้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะคนเลี้ยงโคมองเห็นการฆ่า การถูกจองจำ การเสียทรัพย์
การถูกติเตียน เพราะโคทั้งหลายเป็นต้นเหตุ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ได้เห็นโทษ ความเลวทราม ความเศร้าหมองแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย และเห็น
อานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นฝ่ายผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
กุศลวิตก ๓
[๒๐๙] ภิกษุทั้งหลาย เนกขัมมวิตกย่อมเกิดขึ้นแก่เราผู้ไม่ประมาท มีความ
เพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า ‘เนกขัมมวิตกนี้
เกิดขึ้นแก่เราแล้ว’ แต่เนกขัมมวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น เป็นเหตุทำปัญญาให้เจริญ
ไม่เป็นส่วนแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน ถ้าเราจะพึงตรึกตรองถึง
เนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดคืน เราก็จักมองไม่เห็นภัยอันจะเกิดจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย
หากเราจะพึงตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดวัน เราก็จักมองไม่เห็นภัยอันจะ
เกิดจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย หากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นตลอดทั้งคืน
ทั้งวัน เราก็จักมองไม่เห็นภัยอันจะเกิดจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย แต่เมื่อเราตรึก
ตรองนานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน
เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นตั้งจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ ทำให้เกิดสมาธิ
ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราปรารถนาไว้ว่า ‘จิตของเรา
อย่าฟุ้งซ่านอีกเลย’
[๒๑๐] ภิกษุทั้งหลาย อพยาบาทวิตกย่อมเกิดขึ้นแก่เราผู้ไม่ประมาท มี
ความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ฯลฯ อวิหิงสาวิตกย่อมเกิดขึ้น เรานั้นย่อม
ทราบชัดอย่างนี้ว่า ‘อวิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว’ แต่อวิหิงสาวิตกนั้นไม่เป็น
ไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง
ตนและผู้อื่น เป็นเหตุทำปัญญาให้เจริญ ไม่เป็นส่วนแห่งความคับแค้น เป็นไป
เพื่อนิพพาน ถ้าเราจะพึงตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นอยู่ตลอดคืน เราก็จักมองไม่
เห็นภัยอันจะเกิดจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย หากเราจะพึงตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตก
นั้นอยู่ตลอดวัน เราก็จักมองไม่เห็นภัยอันจะเกิดจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย หาก
เราจะพึงตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นตลอดทั้งคืนทั้งวัน เราก็จักมองไม่เห็นภัยอัน
จะเกิดจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย แต่เมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็
เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่าง
จากสมาธิ เรานั้นตั้งจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราปรารถนาไว้ว่า ‘จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลย’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึกตรองถึงวิตกใด ๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปในวิตก
นั้น ๆ มาก ถ้าภิกษุยิ่งตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกมาก เธอก็จะละกามวิตกได้
ทำเนกขัมมวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอนั้นก็จะน้อมไปเพื่อเนกขัมมวิตก ถ้า
ภิกษุยิ่งตรึกตรองถึงอพยาบาทวิตกมาก ฯลฯ ถ้าภิกษุยิ่งตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตก
มาก เธอก็จะละวิหิงสาวิตกได้ ทำอวิหิงสาวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอนั้น
ก็จะน้อมไปเพื่ออวิหิงสาวิตก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร
ในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน คนเลี้ยงโคต้องคอยระวัง โคทั้งหลายในที่ใกล้บ้าน
ทุก ๆ ด้าน เมื่อเขาไปสู่โคนต้นไม้หรือที่แจ้ง จะต้องทำสติอยู่เสมอว่า ‘นั้นฝูงโค’
แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ต้องทำสติอยู่เสมอว่า ‘เหล่านี้เป็นธรรม๑ (คือกุศลวิตก)’
[๒๑๑] ภิกษุทั้งหลาย เราได้ปรารภความเพียร มีความเพียรไม่ย่อหย่อนแล้ว
มีสติมั่นคง ไม่เลอะเลือน มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตตั้งมั่น มีอารมณ์
เป็นหนึ่ง เรานั้นสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป เราบรรลุทุติยฌาน
ที่มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ
และสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป เรามีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
เราบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
วิชชา ๓
[๒๑๒] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๒ ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้น
น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๓ เรานั้นระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้ เราบรรลุวิชชาที่ ๑ นี้ในปฐมยามแห่งราตรี กำจัดอวิชชาได้แล้ว
วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือนบุคคลผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ฉะนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงธรรมคือสมถะและวิปัสสนา (ม.มู.อ. ๑/๒๑๐/๔๑๒)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๕ ข้อ ๕๒ (ภยเภรวสูตร) หน้า ๔๑ ในเล่มนี้
๓ ดูเนื้อความเต็มในข้อ ๕๒ (ภยเภรวสูตร) หน้า ๔๑-๔๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร
[๒๑๓] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นน้อม
จิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิดด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์ ฯลฯ๑ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกาย
ทุจริต ฯลฯ เราเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์
ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล เราบรรลุวิชชาที่ ๒ นี้ในมัชฌิมยามแห่งราตรี
กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น
เหมือนบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ฉะนั้น
[๒๑๔] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นได้
น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่อเรารู้เห็นอย่างนี้ จิตจึงหลุดพ้นจากกามาสวะบ้าง
จิตจึงหลุดพ้นจากภวาสวะบ้าง จิตจึงหลุดพ้นจากอวิชชาสวะบ้าง เมื่อจิตหลุดพ้น
แล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่
ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เราบรรลุวิชชาที่ ๓ นี้
ในปัจฉิมยามแห่งราตรี กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว
ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือนบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
อยู่ฉะนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดูเนื้อความเต็มในข้อ ๕๓ (ภยเภรวสูตร) หน้า ๔๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร

ทรงชี้ทางผิดและทางถูก
[๒๑๕] ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมีเนื้อฝูงใหญ่พากันเข้าไปอาศัยบึงใหญ่
ในป่าดง มีชายคนหนึ่งผู้ปรารถนาความพินาศ ไม่ต้องการจะเกื้อกูล ไม่ประสงค์
ความปลอดภัยแก่ฝูงเนื้อนั้น เขาปิดทางที่ปลอดภัย มีความสวัสดี ไปได้ตามชอบ
ใจของฝูงเนื้อนั้น เปิดทางที่ไม่สะดวก ผูกเนื้อต่อตัวผู้ ซุ่มนางเนื้อต่อไว้
เมื่อเป็นเช่นนี้ สมัยต่อมา เนื้อฝูงใหญ่ก็ต้องมาตายเหลือจำนวนน้อย แต่ยังมีชาย
คนหนึ่งผู้ปรารถนาประโยชน์ ต้องการจะเกื้อกูล ประสงค์ความปลอดภัยแก่ฝูงเนื้อ
นั้น เขาเปิดทางที่ปลอดภัย มีความสวัสดี ไปได้ตามชอบใจของฝูงเนื้อนั้น ปิด
ทางที่ไม่สะดวก กำจัดเนื้อต่อตัวผู้ ทำลายนางเนื้อต่อแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ สมัยต่อมา
เนื้อฝูงใหญ่ก็ต้องมีจำนวนมากขึ้น คับคั่ง ล้นหลาม แม้ฉันใด ข้ออุปมานี้ก็ฉันนั้น
เราได้ทำขึ้นก็เพื่อจะให้เธอทั้งหลายรู้ความหมายของเนื้อความในอุปมานั้น มีอธิบาย
ดังต่อไปนี้
คำว่า บึงใหญ่ นี้ เป็นชื่อแห่งกามทั้งหลาย
คำว่า เนื้อฝูงใหญ่ นี้ เป็นชื่อของหมู่สัตว์ทั้งหลาย
คำว่า ชายผู้ปรารถนาความพินาศ ไม่ต้องการจะเกื้อกูล ไม่ประสงค์ความ
ปลอดภัย นี้ เป็นชื่อของมารใจบาป
คำว่า ทางที่ไม่สะดวก นี้ เป็นชื่อของมิจฉามรรค(ทางผิด)มีองค์ ๘ คือ

๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)
๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด)
๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด)
๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร
คำว่า เนื้อต่อตัวผู้ นี้ เป็นชื่อแห่งความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน
คำว่า นางเนื้อต่อ นี้ เป็นชื่อของอวิชชา
คำว่า ชายผู้ปรารถนาประโยชน์ ต้องการจะเกื้อกูล ประสงค์ความปลอดภัย
นี้ เป็นชื่อของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
คำว่า ทางที่ปลอดภัย มีความสวัสดี ไปได้ตามชอบใจ นี้ เป็นชื่อของ
อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังกล่าวมาแล้วนี้ เราได้เปิดทางที่ปลอดภัย
มีความสวัสดีที่พวกเธอควรดำเนินไปได้ตามใจชอบให้แล้ว และปิดทางที่ไม่สะดวก
ให้ด้วย กำจัดเนื้อต่อตัวผู้ให้แล้ว และทำลายนางเนื้อต่อให้แล้ว กิจใดที่ศาสดาผู้
หวังประโยชน์เกื้อกูล เอื้อเฟื้อ อาศัยความอนุเคราะห์จะพึงกระทำแก่สาวกทั้งหลาย
กิจนั้นตถาคตก็ได้กระทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลาย
จงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้มีความเดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอน
ของตถาคตสำหรับเธอทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
เทฺวธาวิตักกสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร

๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร
ว่าด้วยสัณฐานแห่งวิตก
[๒๑๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อุบายกำจัดอกุศลวิตก
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ขวนขวายในอธิจิต๑ ควรมนสิการถึงนิมิต ๕ ประการนี้
ตามเวลาอันสมควร
นิมิต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้อาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตก
ทั้งหลายอันเป็นบาปอกุศล ซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบ
ด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นควร
มนสิการนิมิตอื่นซึ่งประกอบด้วยกุศลนอกจากนิมิตนั้น เมื่อเธอ
มนสิการนิมิตอื่นซึ่งประกอบด้วยกุศลนอกจากนิมิตนั้น เธอย่อมละ
วิตกอันเป็นบาปอกุศล ซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วย
โทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อม

เชิงอรรถ :
๑ อธิจิต หมายถึงจิตมีสมาบัติ ๘ อันเป็นพื้นฐานแห่งวิปัสสนา เป็นจิตที่ยิ่งกว่าจิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจกุศล-
กรรมบถ ๑๐ ประการ (ม.มู.อ. ๑/๒๑๖/๔๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร
ตั้งมั่น สงบ เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายใน
โดยแท้ ช่างไม้หรือลูกมือของช่างไม้ ผู้ชำนาญ ใช้ลิ่มอันเล็ก ตอก
โยก ถอนลิ่มอันใหญ่ออกได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่ออาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใด วิตกทั้งหลายอันเป็น
บาปอกุศล ซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง
ประกอบด้วยโมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่น
ซึ่งประกอบด้วยกุศลนอกจากนิมิตนั้น เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่น
ซึ่งประกอบด้วยกุศลนอกจากนิมิตนั้น เธอย่อมละวิตกอันเป็น
บาปอกุศล ซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง
ประกอบด้วยโมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น ย่อม
ตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อม
ตั้งมั่น สงบ เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้
[๒๑๗] ภิกษุทั้งหลาย
๒. หากเมื่อภิกษุนั้นมนสิการนิมิตอื่นซึ่งประกอบด้วยกุศลนอกจาก
นิมิตนั้น วิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง
ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นอีกนั่นแล
ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษแห่งวิตกเหล่านั้นว่า ‘วิตกเหล่านี้ล้วน
แต่เป็นอกุศลแม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีโทษแม้อย่างนี้
วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีทุกข์เป็นวิบากแม้อย่างนี้’ เมื่อเธอพิจารณา
โทษแห่งวิตกเหล่านั้นอยู่ เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่ง
ประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วย
โมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ
เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้ หญิงสาว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร
หรือชายหนุ่มที่ชอบแต่งตัว มีผู้นำซากงู ซากสุนัข หรือซากศพ
มนุษย์มาผูกไว้ที่คอ ย่อมรู้สึกอึดอัด ระอา และรังเกียจ แม้ฉันใด
ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน หากเมื่อมนสิการนิมิตอื่นซึ่งประกอบ
ด้วยกุศลนอกจากนิมิตนั้น วิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบ
ด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้าง
ยังเกิดขึ้นอีก ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษแห่งวิตกเหล่านั้นว่า
‘วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศลแม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มี
โทษแม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีทุกข์เป็นวิบากแม้อย่างนี้’
เมื่อเธอพิจารณาโทษแห่งวิตกเหล่านั้นอยู่ เธอย่อมละวิตกอันเป็น
บาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง
ประกอบด้วยโมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้ง
อยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น
สงบ เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้
[๒๑๘] ภิกษุทั้งหลาย
๓. หากเมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษแห่งวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็น
บาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง
ประกอบด้วยโมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นอีก ภิกษุนั้นไม่ควรระลึกถึง
ไม่ควรมนสิการวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอไม่ระลึกถึง ไม่มนสิการ
วิตกเหล่านั้นอยู่ เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบ
ด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้างได้
วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอัน
เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ เป็นภาวะที่จิต
เป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้ คนมีตาดีไม่ต้องการที่
จะเห็นรูปที่ผ่านมา เขาควรหลับตาหรือเหลียวไปทางอื่นเสีย แม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร
ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน หากเมื่อพิจารณาโทษแห่ง
วิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง
ยังเกิดขึ้นอีกนั่นแล ฯลฯ เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิ
ในภายในโดยแท้
[๒๑๙] ภิกษุทั้งหลาย
๔. หากเมื่อภิกษุนั้นไม่ระลึกถึง ไม่มนสิการวิตกเหล่านั้น วิตกอัน
เป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง
ประกอบด้วยโมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นอีก ภิกษุนั้นควรมนสิการวิตักก-
สังขารสัณฐาน๑ แห่งวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอมนสิการวิตักกสังขาร-
สัณฐานแห่งวิตกเหล่านั้น เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่ง
ประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วย
โมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ
เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้ คนเดินเร็ว
เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจะรีบเดินทำไม ถ้ากระไร เราควร
ค่อย ๆ เดิน’ เขาก็ค่อย ๆ เดิน เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
‘เราจะค่อย ๆ เดินทำไม ถ้ากระไร เราควรยืน’ เขาก็ยืน เขาจะ
พึงมีความคิดอย่างนี้อีกว่า ‘เราจะยืนอยู่ทำไม ถ้ากระไร เราควรนั่ง’
เขาจึงนั่ง เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้อีกว่า ‘เราจะนั่งอยู่ทำไม
ถ้ากระไร เราควรนอน’ เขาก็นอน คนผู้นั้นเว้นอิริยาบถหยาบ ๆ
แล้วพึงใช้อิริยาบถละเอียด ๆ แม้ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน
หากเมื่อไม่ระลึกถึง ไม่มนสิการวิตกเหล่านั้น วิตกอันเป็นบาปอกุศล

เชิงอรรถ :
๑ วิตักกสังขารสัณฐาน หมายถึงที่ตั้งแห่งเหตุของวิตก (ม.มู.อ. ๑/๒๑๙/๔๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร
ซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ... ยังเกิดขึ้นอีกนั่นแล ฯลฯ เป็น
ภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้
[๒๒๐] ภิกษุทั้งหลาย
๕. หากเมื่อภิกษุนั้นมนสิการถึงวิตักกสังขารสัณฐานแห่งวิตกแม้เหล่านั้น
วิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วย
โทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นอีก ภิกษุนั้นควรกด
ฟันด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้
เร่าร้อน เมื่อเธอกดฟันด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิต
ข่มคั้นจิต ทำจิตให้เร่าร้อน เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่ง
ประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วย
โมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ
เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้ คนผู้มีกำลัง
มากจับคนผู้มีกำลังน้อยกว่าได้แล้วบีบ กด เค้น ที่ศีรษะ คอ
หรือก้านคอไว้ให้แน่น แม้ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน
หากเมื่อมนสิการถึงวิตักกสังขารสัณฐานแห่งวิตกแม้เหล่านั้น
วิตกอันเป็นบาปอกุศล ซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วย
โทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นอีก ภิกษุนั้นควรกด
ฟันด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้
เร่าร้อน เมื่อเธอกดฟันด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิต
ข่มคั้นจิต ทำจิตให้เร่าร้อน เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่ง
ประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วย
โมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ
เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร

ผู้ชำนาญวิถีทางแห่งวิตก
[๒๒๑] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใด วิตก
อันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วย
โมหะบ้างย่อมเกิดขึ้น เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นซึ่งประกอบด้วยกุศลนอกจาก
นิมิตนั้น เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบ
ด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่
ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ เป็นภาวะ
ที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้ เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษแห่งวิตก
เหล่านั้นอยู่ เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบ
ด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่
ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ เป็นภาวะ
ที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้ เมื่อภิกษุนั้นไม่ระลึกถึง ไม่มนสิการ
วิตกเหล่านั้น เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง
ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ
เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้
เมื่อภิกษุนั้นมนสิการวิตักกสังขารสัณฐานแห่งวิตกเหล่านั้น เธอย่อมละวิตก
อันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วย
โมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิ
ในภายในโดยแท้ เมื่อภิกษุนั้นกดฟันด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต
ทำจิตให้เร่าร้อน เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง
ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๓๑ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น