Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๓-๑ หน้า ๑ - ๕๑

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓-๑ สุตตันตปิฎกที่ ๐๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์



พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. คหปติวรรค
หมวดว่าด้วยคหบดี
๑. กันทรกสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อกันทรกะ
[๑] ข้าพเจ้า๑ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ใกล้สระโบกขรณีชื่อคัคครา เขตกรุงจัมปา๒
พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ครั้งนั้นแล บุตรของควาญช้างชื่อเปสสะและปริพาชก
ชื่อกันทรกะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ นายเปสสะบุตรของควาญช้าง
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๓ ส่วนกันทรกปริพาชกได้สนทนา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร แล้วเหลียวดู
ภิกษุสงฆ์ผู้นั่งนิ่งเงียบอยู่๑ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ เพียงเท่านี้ ท่าน
พระโคดมก็ชื่อว่าแนะนำให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบแล้ว ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตกาล ก็ทรงแนะนำให้
ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบเป็นอย่างยิ่งได้ถึงเพียงนี้ เหมือนท่านพระโคดมทรงแนะนำให้
ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบอยู่ในบัดนี้
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
ในอนาคตกาล ก็จักทรงแนะนำให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบเป็นอย่างยิ่งได้ถึงเพียงนี้
เหมือนท่านพระโคดมทรงแนะนำให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบอยู่ในบัดนี้”
มนุษย์มีปากกับใจไม่ตรงกัน
[๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น กันทรกะ ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น กันทรกะ แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตกาล
ก็ทรงแนะนำให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบเป็นอย่างยิ่งได้ถึงเพียงนี้ เหมือนเราแนะนำให้
ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบอยู่ในบัดนี้ แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งหลายในอนาคตกาล ก็จักทรงแนะนำให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบเป็นอย่างยิ่งได้ถึง
เพียงนี้ เหมือนเราแนะนำให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบอยู่ในบัดนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร
จริงอยู่ กันทรกะ ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุจำนวนมากผู้เป็นอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๑ทำกิจที่ควรทำ๒เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์
ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว๓หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ อนึ่ง ในภิกษุสงฆ์นี้
ยังมีภิกษุอีกจำนวนมากผู้ยังเป็นเสขบุคคล๔ มีปกติสงบ มีความเป็นอยู่สงบ มีปัญญา
มีความเป็นอยู่ด้วยปัญญา เธอเหล่านั้นมีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔ ประการอยู่

สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น) และโทมนัส(ความ
ทุกข์ใจ) ในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร
[๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายเปสสะบุตรของควาญช้างได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ดีแล้วเพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วง
โสกะ(ความเศร้าโศก) และปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) เพื่อดับทุกข์(ความทุกข์กาย)
และโทมนัส(ความทุกข์ใจ) เพื่อบรรลุญายธรรม๑ เพื่อทำให้แจ้งพระนิพพาน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่จริง แม้ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว
ก็มีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้อยู่ได้ตามกาลที่สมควร ขอประทานวโรกาส
ข้าพระองค์ทั้งหลายพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกได้
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ เพียงเท่านี้ พระผู้มี
พระภาคก็ชื่อว่าทรงทราบประโยชน์ และสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย ในเมื่อ
คนรกโลก คนเดนคน คนเจ้าเล่ห์ยังมีอยู่อย่างนี้ เป็นความจริงที่คนสอนยาก
สัตว์เลี้ยงฝึกง่าย เพราะข้าพระองค์สามารถให้ช้างที่ฝึกแล้วทำตามได้ เช่น ให้เดินไป
เดินมาในระหว่างกรุงจัมปาก็ได้ ให้ทำอาการต่าง ๆ คือ ยกชูขาหน้าทั้ง ๒ กลิ้ง
คู้เข่า ย่อตัวได้ทุกอย่าง แต่เหล่าชน คือ ทาสก็ดี คนรับใช้ก็ดี คนงานก็ดีของ
ข้าพระองค์ ทำอย่างหนึ่ง พูดอย่างหนึ่ง คิดอีกอย่างหนึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคก็ชื่อว่าทรงทราบ
ประโยชน์และสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย ในเมื่อคนรกโลก คนเดนคน
คนเจ้าเล่ห์ยังมีอยู่อย่างนี้ เป็นความจริงที่คนสอนยาก สัตว์เลี้ยงฝึกง่าย”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

บุคคล ๔ ประเภท
[๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น เปสสะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น
เปสสะ คนสอนยาก สัตว์เลี้ยงฝึกง่าย บุคคล ๔ ประเภท๑นี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ ประเภท ไหนบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
๒. เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
๓. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
๔. เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน
บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนนั้น เป็นผู้ไม่หิว๒ดับร้อน
เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน
เปสสะ บรรดาบุคคล ๔ ประเภทนี้ ท่านชอบใจบุคคลประเภทไหนเล่า”
นายเปสสะบุตรของควาญช้างกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
ไม่ชอบใจบุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
ข้าพระองค์ไม่ชอบใจบุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่น
ให้เดือดร้อน ข้าพระองค์ไม่ชอบใจบุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการ
ทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร
เดือดร้อน ข้าพระองค์ชอบใจบุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการ
ทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่น
ให้เดือดร้อน (เพราะ)บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนนั้น เป็นผู้
ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน”
[๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เปสสะ เพราะเหตุไรเล่า ท่านจึงไม่ชอบใจ
บุคคล ๓ ประเภทนี้”
นายเปสสะบุตรของควาญช้างกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคล
ผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน ชื่อว่าทำตนซึ่งรักสุข
เกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน ให้ร้อนรุ่ม เพราะเหตุนี้ ข้าพระองค์จึงไม่ชอบใจบุคคลนี้
บุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ชื่อว่าทำ
ผู้อื่นซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน ให้ร้อนรุ่ม เพราะเหตุนี้ ข้าพระองค์จึงไม่ชอบ
ใจบุคคลนี้ ส่วนบุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ชื่อว่า
ทำตนและผู้อื่นซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน ให้ร้อนรุ่ม เพราะเหตุนี้ ข้าพระองค์
จึงไม่ชอบใจบุคคลนี้ บุคคลใดไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตน
ให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน บุคคลนั้นชื่อว่าไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว
ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน เพราะเหตุนี้ ข้าพระองค์
จึงชอบใจบุคคลนี้ เอาเถิด บัดนี้ ข้าพระองค์ขอทูลลากลับ เพราะมีกิจ มีหน้าที่ที่จะ
ต้องทำอีกมาก พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เปสสะ เธอจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
จากนั้น นายเปสสะบุตรของควาญช้างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
แล้วลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร
[๖] ครั้งนั้น เมื่อนายเปสสะบุตรของควาญช้างจากไปไม่นาน พระผู้มีพระภาค
ได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย นายเปสสะบุตรของควาญช้าง
เป็นคนเฉลียวฉลาด๑ มีปัญญามาก๒ ถ้านายเปสสะบุตรของควาญช้างจะพึงนั่งสักครู่
เพียงชั่วเวลาที่เราจำแนกบุคคล ๔ ประเภทนี้โดยพิสดาร ก็จักได้รับประโยชน์อัน
ใหญ่หลวง๓ แต่ถึงจะฟังโดยสังเขปเพียงเท่านี้ นายเปสสะบุตรของควาญช้างก็ยังได้
รับประโยชน์อันใหญ่หลวง”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลที่สมควร
ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลที่สมควร ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงจำแนกบุคคล
๔ ประเภทนี้โดยพิสดาร ภิกษุทั้งหลายได้สดับจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
[๗] “บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นอเจลก(ประพฤติเปลือยกาย) ไม่มีมารยาท เลียมือ
เขาเชิญให้ไปรับอาหารก็ไม่ไป เขาเชิญให้หยุดรับอาหารก็ไม่หยุด ไม่รับอาหารที่เขา
แบ่งไว้ ไม่รับอาหารที่เขาทำเจาะจง ไม่ยินดีอาหารที่เขาเชิญ ไม่รับอาหารจาก
ปากหม้อ ไม่รับอาหารจากปากภาชนะ ไม่รับอาหารคร่อมธรณีประตู ไม่รับอาหาร
คร่อมท่อนไม้ ไม่รับอาหารคร่อมสาก ไม่รับอาหารของคน ๒ คนที่กำลังบริโภค
ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์ ไม่รับอาหารของหญิงผู้กำลังให้บุตรดื่มนม ไม่รับอาหาร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร
ของหญิงที่คลอเคลียชาย ไม่รับอาหารที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับอาหารในที่เลี้ยงสุนัข
ไม่รับอาหารในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ๆ ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา
ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง รับอาหารในเรือนหลังเดียว ยังชีพด้วยข้าวคำเดียว
รับอาหารในเรือน ๒ หลัง ยังชีพด้วยข้าว ๒ คำ ฯลฯ รับอาหารในเรือน ๗ หลัง
ยังชีพด้วยข้าว ๗ คำ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย ๑ ใบ ยังชีพด้วยอาหารใน
ถาดน้อย ๒ ใบ ฯลฯ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย ๗ ใบ กินอาหารที่เก็บไว้
ค้างคืน ๑ วัน กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๒ วัน ฯลฯ กินอาหารที่เก็บไว้
ค้างคืน ๗ วัน ถือการบริโภคอาหาร ๑๕ วันต่อ ๑ มื้ออยู่ ด้วยประการอย่างนี้
เขาเป็นผู้กินผักดองเป็นอาหาร กินข้าวฟ่างเป็นอาหาร กินลูกเดือยเป็นอาหาร
กินกากข้าวเป็นอาหาร กินสาหร่ายเป็นอาหาร กินรำเป็นอาหาร กินข้าวตังเป็น
อาหาร กินกำยานเป็นอาหาร กินหญ้าเป็นอาหาร กินมูลโคเป็นอาหาร กินเหง้า
และผลไม้ป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นยังชีพ เขานุ่งห่มผ้าป่าน นุ่งห่มผ้าแกมกัน
นุ่งห่มผ้าห่อศพ นุ่งห่มผ้าบังสุกุล นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ นุ่งห่มหนังเสือ นุ่งห่มหนังเสือ
มีเล็บ นุ่งห่มผ้าคากรอง นุ่งห่มผ้าเปลือกปอกรอง นุ่งห่มผ้าผลไม้กรอง นุ่งห่มผ้า
กัมพลผมมนุษย์ นุ่งห่มผ้ากัมพลขนสัตว์ นุ่งห่มผ้าขนปีกนกเค้า ถอนผมและหนวด
คือถือการถอนผมและหนวด ยืนอย่างเดียวไม่ยอมนั่ง เดินกระโหย่ง คือถือการเดิน
กระโหย่ง(เหยียบพื้นไม่เต็มเท้า) นอนบนหนาม คือถือการนอนบนหนาม อาบน้ำ
วันละ ๓ ครั้ง คือ ถือการลงอาบน้ำ๑ ถือการย่างและอบกายหลายรูปแบบอยู่
ด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการ
ทำตนให้เดือดร้อน
[๘] บุคคลเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ฆ่าแพะ ฆ่าสุกร ฆ่านก ฆ่าเนื้อ(เลี้ยงชีพ) เป็นคนโหดเหี้ยม
เป็นคนฆ่าปลา เป็นโจร เป็นคนฆ่าโจร เป็นคนฆ่าโค เป็นคนคุมเรือนจำ หรือบาง
พวกเป็นผู้ทำการทารุณ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบใน
การทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
[๙] บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็น
อย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษก๑แล้วก็ดี
เป็นพราหมณมหาศาลก็ดี พระราชานั้นโปรดให้สร้างโรงบูชายัญหลังใหม่ ทางด้าน
ทิศตะวันออกแห่งพระนคร ปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงนุ่งห่มหนังเสือมีเล็บ
ทรงทาพระวรกายด้วยเนยใสและน้ำมัน ทรงเกาพระปฤษฎางค์ด้วยเขามฤค เข้าไป
ยังโรงบูชายัญหลังใหม่พร้อมด้วยพระมเหสีและพราหมณ์ปุโรหิต บรรทมบนพื้นหญ้า
เขียวขจี มิได้ลาดด้วยเครื่องปูลาด ดำรงพระชนม์อยู่ด้วยน้ำนมเต้าที่ ๑ แห่งโค
แม่ลูกอ่อนที่มีอยู่ตัวเดียว พระมเหสีดำรงพระชนม์อยู่ด้วยน้ำนมเต้าที่ ๒ พราหมณ์
ปุโรหิตดำรงชีวิตอยู่ด้วยน้ำนมเต้าที่ ๓ ทรงบูชาไฟด้วยน้ำนมเต้าที่ ๔ ลูกโคมี
ชีวิตอยู่ด้วยน้ำนมที่เหลือ พระราชารับสั่งอย่างนี้ว่า ‘จงฆ่าโคตัวผู้ประมาณเท่านี้
บูชายัญ จงฆ่าลูกโคตัวผู้ประมาณเท่านี้บูชายัญ จงฆ่าลูกโคตัวเมียประมาณเท่านี้
บูชายัญ จงฆ่าแพะประมาณเท่านี้บูชายัญ จงฆ่าแกะประมาณเท่านี้บูชายัญ (จงฆ่าม้า
ประมาณเท่านี้บูชายัญ) จงตัดต้นไม้ประมาณเท่านี้เพื่อทำเสาบูชายัญ จงเกี่ยวหญ้า
ประมาณเท่านี้เพื่อลาดพื้น’ เหล่าชนผู้เป็นทาสก็ดี เป็นคนรับใช้ก็ดี เป็นคนงานก็ดี
ของพระราชานั้น ถูกอาชญาคุกคาม ถูกภัยคุกคาม มีน้ำตานองหน้า ร้องไห้ไป
ทำงานไป
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการ
ทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

พระพุทธคุณ
[๑๐] บุคคลเป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตน
ให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่น
ให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว
ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ตถาคต๑อุบัติขึ้นมาในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ๒ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่าง
ยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระ
ผู้มีพระภาค๓ ตถาคตรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ด้วยตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด๑
ประกาศพรหมจรรย์๒พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน คหบดี
บุตรคหบดี หรืออนุชน(คนผู้เกิดภายหลัง) ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ได้สดับธรรม
นั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต เมื่อมีศรัทธาย่อมตระหนักว่า ‘การอยู่ครองเรือนเป็น
เรื่องอึดอัด๓ เป็นทางมาแห่งธุลี๔ การบวชเป็นทางปลอดโปร่ง๕ การที่ผู้ครองเรือนจะ
ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ขัดไม่ใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี
เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต’
ต่อมา เขาละทิ้งกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ และเครือญาติน้อยใหญ่ โกนผมและหนวด
นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

สิกขาและสาชีพของภิกษุ๑
[๑๑] เขาเมื่อบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพ๒ของภิกษุ
ทั้งหลาย คือ
๑. ละ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความ
ละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
๒. ละ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ รับเอาแต่
ของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่
๓. ละ พฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์๓
เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรม๔ อันเป็นกิจของชาวบ้าน
๔. ละ เว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์
มีถ้อยคำเป็นหลักเชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก
๕. ละ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้วไม่ไป
บอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความจากฝ่ายโน้นแล้วไม่มา
บอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่งเสริมคนที่
ปรองดองกัน ชื่นชมยินดี เพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่ถ้อยคำ
ที่สร้างสรรค์ความสามัคคี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร
๖. ละ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ พูดแต่คำไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก
จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ
๗. ละ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง พูดอิง
ประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง
มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่เวลา
๘. เว้นขาดจากการพรากพืชคาม๑ และภูตคาม๒
๙. ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล๓
๑๐. เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการละเล่นที่
เป็นข้าศึกแก่กุศล
๑๑. เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้
ของหอมและเครื่องประทินผิว อันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัว
๑๒. เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่
๑๓. เว้นขาดจากการรับทองและเงิน
๑๔. เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร
๑๕. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
๑๖. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี
๑๗. เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย
๑๘. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
๑๙. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
๒๐. เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา
๒๑. เว้นขาดจากการรับเรือกสวน ไร่ นาและที่ดิน
๒๒. เว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร
๒๓. เว้นขาดจากการซื้อการขาย
๒๔. เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่องตวงวัด
๒๕. เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง
๒๖. เว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว การ
ปล้น และการขู่กรรโชก
ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกายและบิณฑบาตพออิ่มท้อง จะไป
ณ ที่ใด ๆ ก็ไปได้ทันที นกบินไป ณ ที่ใด ๆ ก็มีแต่ปีกเป็นภาระ แม้ฉันใด ภิกษุ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกายและบิณฑบาตพออิ่มท้อง
จะไป ณ ที่ใด ๆ ก็ไปได้ทันที ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์นี้แล้ว ย่อมเสวยสุข
อันปราศจากโทษในภายใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

การสำรวมอินทรีย์
[๑๒] ภิกษุนั้นเห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ๑ ไม่แยกถือ๒ ย่อมปฏิบัติเพื่อ
สำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา
และโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหู ...
ดมกลิ่นทางจมูก ...
ลิ้มรสทางลิ้น ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ...
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความสำรวม
อริยอินทรียสังวรนี้ ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนกับกิเลสในภายใน
ภิกษุนั้นทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร การฉัน การดื่ม
การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน
การตื่น การพูด การนิ่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

การละนิวรณ์
[๑๓] ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร และอริยสติ-
สัมปชัญญะนี้แล้วพักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา
ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันภัตตาหาร
เสร็จแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอละอภิชฌา (ความ
เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น) ในโลก มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากอภิชฌา ละพยาบาทและความมุ่งร้าย มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูล
สรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากพยาบาทและความมุ่งร้าย ละถีนมิทธะ (ความ
หดหู่และเซื่องซึม) ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ชำระ
จิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและความรำคาญใจ) เป็นผู้
ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา
(ความลังเลสงสัย) ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรมอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากวิจิกิจฉา
ฌาน ๔
ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต เป็นเครื่อง
ทอนกำลังปัญญาแล้ว สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะ
ที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’
เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน บรรลุจตุตถฌาน
ที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

วิชชา ๓
[๑๔] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑ ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง
๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง
๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอัน
มากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป๒เป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามี
ชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ
จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ
มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’
เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
[๑๕] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่
สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร
พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก๑ แต่หมู่สัตว์ที่
ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ
และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในสุคติโลกสวรรค์ เธอเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น
ไปตามกรรม อย่างนี้แล
[๑๖] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ๒ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ
ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๓ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว๔ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป๕’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๒. อัฏฐกนาครสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบ
ในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการ
ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน จึงเป็นผู้ไม่หิว
ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
กันทรกสูตรที่ ๑ จบ

๒. อัฏฐกนาครสูตร
ว่าด้วยธรรมเทศนาที่อัฏฐกนคร
[๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ เวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี สมัยนั้นแล
คหบดีชาวอัฏฐกนครชื่อทสมะ ได้เดินทางไปถึงเมืองปาตลีบุตรด้วยกิจที่ต้องทำ
บางอย่าง ครั้งนั้นแล ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนครได้เข้าไปพบภิกษุรูปหนึ่งที่กุกกุฏาราม
ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามภิกษุนั้นว่า “ท่านขอรับ บัดนี้ ท่านพระอานนท์
อยู่ที่ไหน ข้าพเจ้าต้องการจะพบท่าน”
ภิกษุนั้นตอบว่า “คหบดี ท่านพระอานนท์นี้อยู่ ณ เวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี”
ครั้งนั้น ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนครทำกิจที่ควรทำในเมืองปาตลีบุตรเสร็จแล้ว
ได้เข้าไปพบท่านพระอานนท์ถึงเวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้เรียนถามท่านพระอานนท์ว่า
[๑๘] “ท่านอานนท์ ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น
เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษม
จากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว มีอยู่หรือไม่หนอ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๒. อัฏฐกนาครสูตร
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “คหบดี ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิต
ที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป และเป็นที่
บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว มีอยู่”
ทสมคหบดีถามว่า “ท่านอานนท์ ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิต
ที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป และเป็นที่
บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุ
ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว เป็นอย่างไร”
รูปฌาน ๔
[๑๙] ท่านพระอานนท์ตอบว่า “คหบดี ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม
และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจาก
วิเวกอยู่ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้แต่ปฐมฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว
สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้น
ดำรงอยู่ในธรรม๑นั้นแล้ว ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่ถึงความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ๒ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๓(สังโยชน์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๒. อัฏฐกนาครสูตร
เบื้องต่ำ) ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ จักปรินิพพาน
ในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น
เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว (๑)
[๒๐] คหบดี อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุ
ทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้แต่ทุติยฌานนี้แล
ก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ’ (๒)
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุ
นั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้แต่ตติยฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ฯลฯ และ
เป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๓)
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้แต่
จตุตถฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจาก
โยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๔)
อัปปมัญญา ๔
อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่ว
ทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ๑ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้เมตตา-
เจโตวิมุตตินี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๒. อัฏฐกนาครสูตร
มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรมนั้นแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุ
ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๕)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีกรุณาจิต ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีมุทิตาจิต ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุก
หมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้อุเบกขา-
เจโตวิมุตตินี้ก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง
มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรมนั้นแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุ
ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๖-๗-๘)
อรูปฌาน ๓
อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศ
หาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้อากาสานัญจายตนฌาน
นี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไป
เป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรมนั้นแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๙)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ ภิกษุนั้นย่อม
เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้วิญญาณัญจายตนฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ใน
ธรรมนั้นแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๒. อัฏฐกนาครสูตร
อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัด
ดังนี้ว่า ‘แม้อากิญจัญญายตนฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูก
ปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรม
นั้นแล้ว ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะเพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจาก
โลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น
เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป และเป็นที่บรรลุธรรมเป็น
แดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว'' (๑๑)
ทสมคหบดีเลื่อมใสท่านพระอานนท์
[๒๑] เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนครจึง
กล่าวว่า
“ท่านอานนท์ ข้าพเจ้าเมื่อแสวงหาประตูอมตธรรมประตูเดียวได้รับประตู
อมตธรรม ๑๑ ประตูคราวเดียวกัน เปรียบเหมือนบุรุษแสวงหาแหล่งขุมทรัพย์
ขุมเดียว พึงพบแหล่งขุมทรัพย์ ๑๑ ขุมคราวเดียวกัน ข้าพเจ้าจักสามารถทำตน
ให้ปลอดภัยได้โดยประตูอมตธรรม ๑๑ ประตูนี้ประตูใดประตูหนึ่ง เปรียบเหมือน
บุรุษมีเรือน ๑๑ ประตู เมื่อเรือนนั้นถูกไฟไหม้ บุรุษนั้นสามารถทำตนให้ปลอดภัย
ได้โดยประตูใดประตูหนึ่ง
ท่านอานนท์ ธรรมดาอัญเดียรถีย์เหล่านี้ยังแสวงหาทรัพย์บูชาอาจารย์ เพื่อ
อาจารย์ ส่วนข้าพเจ้าจักไม่ทำการบูชาท่านอานนท์ได้อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร
ครั้งนั้นแล ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนครนิมนต์ภิกษุสงฆ์ชาวเมืองปาตลีบุตร
และเชิญชาวเมืองเวสาลีให้ประชุมกัน แล้วอังคาสภิกษุสงฆ์นั้นให้อิ่มหนำสำราญด้วย
ของเคี้ยวของฉันอันประณีต ด้วยตนเอง นิมนต์ภิกษุให้ครองผ้ารูปละ ๑ คู่ นิมนต์
ท่านพระอานนท์ให้ครองไตรจีวร และได้ให้สร้างวิหาร ๕๐๐ หลังถวายท่านพระ
อานนท์ ดังนี้แล
อัฏฐกนาครสูตรที่ ๒ จบ

๓. เสขปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยข้อปฏิบัติของพระเสขะ
[๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ สมัยนั้นแล ท้องพระโรงหลังใหม่ที่พวกเจ้าศากยะผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์
ทรงให้สร้างเสร็จได้ไม่นาน ยังไม่มีสมณะ พราหมณ์ หรือใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์
เข้าพักอาศัย ต่อมา พวกเจ้าศากยะผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ท้องพระโรงหลังใหม่ที่พวกเจ้า
ศากยะผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ให้สร้างเสร็จได้ไม่นาน ยังไม่มีสมณะ พราหมณ์ หรือ
ใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์เข้าพักอาศัย ขอพระผู้มีพระภาคทรงใช้ท้องพระโรงนั้นเป็นปฐมฤกษ์
ด้วยเถิด พวกเจ้าศากยะกรุงกบิลพัสดุ์จะใช้ภายหลังที่พระผู้มีพระภาคทรงใช้เป็น
ปฐมฤกษ์แล้ว ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่พวกเจ้าศากยะผู้ครอง
กรุงกบิลพัสดุ์ตลอดกาลนาน”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น พวกเจ้าศากยะผู้
ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงทรง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร
ลุกจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณแล้วเสด็จเข้าไปสู่
ท้องพระโรงหลังใหม่ แล้วจึงรับสั่งให้ปูลาดท้องพระโรงด้วยเครื่องลาดทั่วทุกแห่ง
ให้ปูลาดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมัน แล้วเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายปูลาดท้องพระโรงด้วยเครื่องลาด
ทั่วทุกแห่ง ให้ปูลาดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมันแล้ว ขอพระผู้มีพระภาค
จงทรงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไป
ยังท้องพระโรงพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงล้างพระบาทแล้วเสด็จเข้าไปสู่ท้องพระโรง
ประทับนั่งพิงเสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก แม้ภิกษุสงฆ์ก็ล้างเท้าเข้าไป
สู่ท้องพระโรงนั่งพิงฝาด้านหลัง ผินหน้าไปทางทิศตะวันออก ณ เบื้องพระปฤษฎางค์
พระผู้มีพระภาค ส่วนพวกเจ้าศากยะผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ล้างพระบาทแล้ว เสด็จ
เข้าไปสู่ท้องพระโรงประทับนั่งพิงฝาด้านตะวันออก ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก
ณ เบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พวกเจ้า
ศากยะผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาตลอดราตรี๑ แล้วรับสั่งเรียก
ท่านพระอานนท์มาตรัสว่า
‘อานนท์ เธอจงชี้แจงเสขปฏิปทา๒ให้แจ่มแจ้ง แก่พวกเจ้าศากยะผู้ครอง
กรุงกบิลพัสดุ์เถิด เราเมื่อยหลังจะขอพักสักหน่อย”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร
ท่านพระอานนท์๑ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว จากนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้
ปูผ้าสังฆาฏิเป็น ๔ ชั้น ทรงสำเร็จสีหไสยา๒ โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ซ้อนพระบาท
เหลื่อมพระบาท ทรงมีสติสัมปชัญญะ กำหนดพระทัยพร้อมจะเสด็จลุกขึ้น
[๒๓] ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เชิญเจ้าศากยมหานามะมาแล้วกล่าวว่า
“เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย๓ รู้จักประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยสัทธรรม๔ ๗ ประการ เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อัน
เป็นธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
[๒๔] พระอริยสาวกเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร๕อยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นอย่างนี้แล (๑)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร
พระอริยสาวกเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหู...
ดมกลิ่นทางจมูก...
ลิ้มรสทางลิ้น...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย...
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็น
อย่างนี้แล (๒)
พระอริยสาวกเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงกลืนกินอาหาร
ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่กลืนกินอาหาร
เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความ
เบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า ‘เราจักกำจัดเวทนาเก่า
และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษ และการอยู่
ผาสุก จักมีแก่เรา’
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นอย่างนี้แล (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร
พระอริยสาวกเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเครื่อง
ขัดขวาง ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็น
เครื่องขัดขวาง ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี นอนดุจ
ราชสีห์โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ กำหนดใจพร้อม
จะลุกขึ้นตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเครื่อง
ขัดขวาง ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง
เป็นอย่างนี้แล (๔)
สัทธรรม ๗ ประการ
[๒๕] พระอริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา คือ เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคตว่า ‘แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย
พระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี
รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. เป็นผู้มีหิริ คือ ละอายกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอาย
การประกอบบาปอกุศลธรรม
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
สะดุ้งกลัวการประกอบบาปอกุศลธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร
๔. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ๑ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมเหล่านี้
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด
พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์
ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร๒ เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อม
แห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระ
ในกุศลธรรมทั้งหลาย
๖. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติและปัญญาที่ยิ่ง จำได้ ระลึกได้
อย่างแม่นยำถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดไว้แม้นานมาแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร
๗. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับ
อันประเสริฐ ทำลายกิเลสให้ถึงความสิ้นสุดแห่งทุกข์โดยชอบ
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ เป็น
อย่างนี้แล (๕-๑๑)
[๒๖] พระอริยสาวกเป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเป็นธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง เป็น
ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่
ลำบาก เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบ
ระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มี
วิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัส
และโทมนัสดับไปก่อน บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกเป็นผู้ได้ฌาน ๔ ซึ่งเป็นธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง
เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
เป็นอย่างนี้แล (๑๒-๑๕)
อุปมาด้วยฟองไข่ที่แม่ไก่นอนกก
[๒๗] เจ้ามหานามะ เพราะพระอริยสาวกเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ เป็น
ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้ เป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอย่างนี้
เป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่องอย่างนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม
๗ ประการอย่างนี้ เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเป็นธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง เป็นธรรมเครื่อง
อยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากอย่างนี้ พระอริย-

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร
สาวกนี้บัณฑิตสรรเสริญว่า เป็นผู้มีเสขปฏิปทา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมซึ่งเป็น
ดุจฟองไข่ไก่ที่ไม่เน่า เป็นผู้ควรแก่การทำลายกิเลสด้วยญาณ เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้
และควรแก่การบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ฟองไข่ของแม่ไก่
๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟองที่แม่ไก่นอนกกไว้อย่างดี ให้ความอบอุ่นอย่าง
สม่ำเสมอ ฟักแล้วอย่างดี แม้ว่าแม่ไก่นั้นจะไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ทำอย่างไรหนอ ขอลูกไก่เหล่านี้พึงใช้ปลายเล็บหรือจะงอยปากเจาะทำลายเปลือก
ไข่ออกมาได้โดยสวัสดิภาพ’ ก็ตาม ถึงอย่างนั้น ลูกไก่เหล่านั้นก็ต้องเจาะทำลาย
เปลือกไข่ด้วยปลายเล็บหรือจะงอยปากออกมาโดยสวัสดิภาพได้ แม้ฉันใด พระอริย-
สาวกก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ เป็นผู้คุ้มครองทวาร
ในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้ เป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอย่างนี้ เป็นผู้ประกอบ
ความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่องอย่างนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ
อย่างนี้ เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเป็นธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากอย่างนี้
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกนี้บัณฑิตสรรเสริญว่า เป็นผู้มีเสขปฏิปทา เป็น
ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมซึ่งเป็นดุจฟองไข่ไก่ที่ไม่เน่า เป็นผู้ควรแก่การทำลายกิเลส
ด้วยญาณ เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ และควรแก่การบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก
โยคะอันยอดเยี่ยม
[๒๘] เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาที่ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้น ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๑ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ
อย่างนี้ นี้เป็นการทำลายกิเลสด้วยญาณข้อที่ ๑ ของพระอริยสาวกนั้น เปรียบเหมือน
ลูกไก่ออกจากเปลือกไข่ได้ ฉะนั้น (๑)
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
ที่ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้น เห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ๒ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ เธอรู้ชัด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร
ถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม นี้เป็นการทำลายกิเลสด้วยญาณข้อที่ ๒ ของพระ
อริยสาวกนั้น เปรียบเหมือนลูกไก่ออกจากเปลือกไข่ได้ ฉะนั้น (๒)
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
ที่ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้น ย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ๑ ปัญญาวิมุตติ๒อันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เป็นการทำลายกิเลส
ด้วยญาณข้อที่ ๓ ของพระอริยสาวกนั้น เปรียบเหมือนลูกไก่ออกจากเปลือกไข่ได้
ฉะนั้น (๓)
ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
[๒๙] เจ้ามหานามะ การที่พระอริยสาวกเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลแม้นี้ ก็เป็น
จรณะ๓ของพระอริยสาวกประการหนึ่ง
การที่พระอริยสาวกเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายแม้นี้ ก็เป็นจรณะ
ของพระอริยสาวกประการหนึ่ง
การที่พระอริยสาวกเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคแม้นี้ ก็เป็นจรณะของ
พระอริยสาวกประการหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร
การที่พระอริยสาวกเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่องแม้นี้
ก็เป็นจรณะของพระอริยสาวกประการหนึ่ง
การที่พระอริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการแม้นี้ ก็เป็นจรณะ
ของพระอริยสาวกประการหนึ่ง
การที่พระอริยสาวกเป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเป็นธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง เป็นธรรม
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากแม้นี้
ก็เป็นจรณะของพระอริยสาวกประการหนึ่ง
การที่พระอริยสาวกระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง
ฯลฯ๑ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
แม้นี้ ก็เป็นวิชชาของพระอริยสาวกประการหนึ่ง
การที่พระอริยสาวกเห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ๒ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
เธอรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมแม้นี้ ก็เป็นวิชชาของพระอริยสาวกประการหนึ่ง
การที่พระอริยสาวกทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะ
อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแม้นี้ ก็เป็นวิชชาของพระ
อริยสาวกประการหนึ่ง
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกนี้บัณฑิตสรรเสริญว่า เป็นผู้เพียบพร้อมด้วย
วิชชาแม้เพราะเหตุนี้ เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยจรณะแม้เพราะเหตุนี้ เป็นผู้เพียบพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะแม้เพราะเหตุนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร

คาถาของพรหมชื่อสนังกุมาร
[๓๐] เจ้ามหานามะ แม้พรหมชื่อสนังกุมาร ก็ได้กล่าวคาถานี้ว่า
‘ในหมู่ชนที่ถือตระกูลเป็นใหญ่
กษัตริย์จัดว่าประเสริฐที่สุด
ส่วนท่านผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและมนุษย์‘๑
เจ้ามหานามะ พรหมชื่อสนังกุมารกล่าวคาถานั้นไว้ชอบ ไม่ใช่ไม่ชอบ กล่าวไว้
ถูกต้อง ไม่ใช่ไม่ถูกต้อง มีประโยชน์ ไม่ใช่ไม่มีประโยชน์ พระผู้มีพระภาคทรง
เห็นด้วยแล้ว”
จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงลุกขึ้น แล้วตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า “ดีละ
ดีละ อานนท์ ดีจริง อานนท์ เธอได้กล่าวเสขปฏิปทาแก่เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครอง
กรุงกบิลพัสดุ์”
ท่านพระอานนท์ได้กล่าวภาษิตนี้แล้ว พระศาสดาก็ทรงยินดี เจ้าศายกะ
ทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ก็ทรงมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของท่านพระอานนท์
ดังนี้แล
เสขปฏิปทาสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

๔. โปตลิยสูตร
ว่าด้วยคหบดีชื่อโปตลิยะ
[๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวอังคุตตราปะชื่ออาปณะ
แคว้นอังคุตตราปะ ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังอาปณนิคม ทรงเที่ยวบิณฑบาตในอาปณนิคมแล้ว
เสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทรงเข้าไปยังราวป่า
แห่งหนึ่งเพื่อพักผ่อนกลางวัน แล้วประทับนั่งพักกลางวัน ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง
แม้โปตลิยคหบดีเองก็เช่นกัน นุ่งห่มเรียบร้อยกางร่มสวมรองเท้า เดินเที่ยวเล่นอยู่
ได้เข้าไปยังราวป่านั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสกับโปตลิยคหบดีว่า “คหบดี ที่นั่งมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ ก็เชิญนั่งเถิด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเชิญอย่างนี้แล้ว โปตลิยคหบดีโกรธ น้อยใจว่า
“พระสมณโคดมตรัสเรียกเราด้วยคำว่า ‘คหบดี’ จึงทำเฉยเสีย
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสเรียกโปตลิยคหบดีว่า “คหบดี ที่นั่งมีอยู่
ถ้าท่านประสงค์ ก็เชิญนั่งเถิด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเชิญอย่างนี้แล้ว โปตลิยคหบดีโกรธ น้อยใจว่า
“พระสมณโคดมตรัสเรียกเราด้วยคำว่า ‘คหบดี’ จึงทำเฉยเสีย
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสเรียกโปตลิยคหบดีว่า “คหบดี ที่นั่งมีอยู่
ถ้าท่านประสงค์ ก็เชิญนั่งเถิด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเชิญอย่างนี้แล้ว โปตลิยคหบดีโกรธ น้อยใจว่า
“พระสมณโคดม ตรัสเรียกเราด้วยคำว่า ‘คหบดี' แล้วจึงกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า “ท่านพระโคดม พระดำรัสที่พระองค์ตรัสเรียกข้าพระองค์ด้วยคำว่า ‘คหบดี’ นั้น
ไม่เหมาะ ไม่ควรเลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี กิริยาของท่าน ท่าทางของท่าน ลักษณะ
ของท่านเหล่านั้น บ่งว่าเป็นกิริยา ท่าทาง ลักษณะของคหบดีอยู่”
“ใช่แล้ว ท่านพระโคดม แต่ข้าพระองค์ละทิ้งการงานทุกอย่างแล้ว ตัดขาด
โวหารทุกอย่างแล้ว”
“คหบดี ท่านละทิ้งการงานทุกอย่าง ตัดขาดโวหารทุกอย่าง อย่างไรเล่า”
“ท่านพระโคดม ขอประทานวโรกาส ทรัพย์ก็ดี ธัญชาติก็ดี เงินก็ดี ทองก็ดี
ที่มีอยู่ทั้งหมด ข้าพระองค์มอบให้เป็นมรดกแก่บุตรทั้งหลาย ข้าพระองค์ไม่ต้อง
แนะนำ ไม่ต้องตักเตือนพวกเขาในสิ่งนั้น ๆ ข้าพระองค์มีเพียงอาหารและเครื่องนุ่งห่ม
ก็พอแล้ว ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ละทิ้งการงานทุกอย่าง ตัดขาดโวหารทุกอย่าง
อย่างนี้แล”
“คหบดี การตัดขาดโวหารที่ท่านพูดมา เป็นอย่างหนึ่ง แต่การตัดขาดโวหาร
ในอริยวินัย เป็นอีกอย่างหนึ่ง”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การตัดขาดโวหารในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม คือการตัดขาดโวหารใน
อริยวินัย แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด”
“คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
โปตลิยคหบดีทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

การตัดโวหาร ๘ ประการ
[๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี ธรรม ๘ ประการนี้ เป็นไปเพื่อการ
ตัดขาดโวหาร๑ในอริยวินัย
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลพึงละการฆ่าสัตว์ได้ เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์
๒. บุคคลพึงละการลักทรัพย์ได้ เพราะอาศัยการไม่ลักทรัพย์
๓. บุคคลพึงละการพูดเท็จได้ เพราะอาศัยการพูดจริง
๔. บุคคลพึงละการพูดส่อเสียดได้ เพราะอาศัยการไม่พูดส่อเสียด
๕. บุคคลพึงละความโลภคือความกำหนัดยินดีได้ เพราะอาศัยความไม่โลภ
คือความไม่กำหนัดยินดี
๖. บุคคลพึงละการนินทาและการประทุษร้ายได้ เพราะอาศัยการไม่นินทา
และการไม่ประทุษร้าย
๗. บุคคลพึงละความโกรธแค้นได้ เพราะอาศัยความไม่โกรธแค้น
๘. บุคคลพึงละความดูหมิ่นได้ เพราะอาศัยความไม่ดูหมิ่น
คหบดี ธรรม ๘ ประการนี้แล เรากล่าวโดยย่อ มิได้จำแนกให้พิสดาร ย่อม
เป็นไปเพื่อการตัดขาดโวหารในอริยวินัย”
โปตลิยคหบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๘ ประการนี้ พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้โดยย่อ มิได้จำแนกให้พิสดาร ย่อมเป็นไปเพื่อการตัดขาดโวหาร
ในอริยวินัย ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอนุเคราะห์จำแนกธรรม
๘ ประการนี้ให้พิสดารแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
โปตลิยคหบดีทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
[๓๓] “เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละการฆ่าสัตว์ได้ เพราะ
อาศัยการไม่ฆ่าสัตว์’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ฆ่าสัตว์เพราะ
เหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้นเสีย
อนึ่ง เราเป็นผู้ฆ่าสัตว์ แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย
ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วติเตียนได้๑ เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย หลังจากตายแล้วทุคติเป็น
อันหวังได้เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย’ การฆ่าสัตว์นั่นเองเป็นสังโยชน์ เป็นนิวรณ์๒
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นเพราะ
การฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์แล้ว อาสวะและความเร่าร้อน
ที่ทำความคับแค้น๓ เหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละการฆ่าสัตว์ได้
เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๔] เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละการลักทรัพย์ได้เพราะ
อาศัยการไม่ลักทรัพย์’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ลักทรัพย์เพราะ
เหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้นเสีย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร
อนึ่ง เราเป็นผู้ลักทรัพย์ แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้เพราะการลักทรัพย์เป็น
ปัจจัย ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วพึงติเตียนได้เพราะการลักทรัพย์เป็นปัจจัย หลังจากตาย
แล้วทุคติเป็นอันหวังได้เพราะการลักทรัพย์เป็นปัจจัย’ การลักทรัพย์นั่นเองเป็น
สังโยชน์ เป็นนิวรณ์
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นเพราะ
การลักทรัพย์เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลเว้นขาดจากการลักทรัพย์แล้ว อาสวะและความ
เร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละการ
ลักทรัพย์ได้ เพราะอาศัยการไม่ลักทรัพย์’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๕] เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละการพูดเท็จได้ เพราะอาศัย
การพูดจริง’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้พูดเท็จเพราะ
เหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้นเสีย
อนึ่ง เราเป็นผู้พูดเท็จ แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้เพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย
ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วพึงติเตียนได้เพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย หลังจากตายแล้วทุคติ
เป็นอันหวังได้เพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย’ การพูดเท็จนั่นเองเป็นสังโยชน์ เป็นนิวรณ์
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นเพราะ
การพูดเท็จเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลเว้นขาดจากการพูดเท็จแล้ว อาสวะและความ
เร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละการ
พูดเท็จได้ เพราะอาศัยการพูดจริง’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๖] เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละการพูดส่อเสียดได้ เพราะ
อาศัยการไม่พูดส่อเสียด’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้พูดส่อเสียด
เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้นเสีย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร
อนึ่ง เราเป็นผู้พูดส่อเสียด แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้เพราะการพูดส่อเสียด
เป็นปัจจัย ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วพึงติเตียนได้เพราะการพูดส่อเสียดเป็นปัจจัย หลังจาก
ตายแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้เพราะการพูดส่อเสียดเป็นปัจจัย’ การพูดส่อเสียด
นั่นเองเป็นสังโยชน์ เป็นนิวรณ์
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นเพราะ
การพูดส่อเสียดเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลเว้นขาดจากการพูดส่อเสียดแล้ว อาสวะและ
ความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละการ
พูดส่อเสียดได้ เพราะอาศัยการไม่พูดส่อเสียด’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๗] เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละความโลภคือความกำหนัด
ยินดีได้ เพราะอาศัยความไม่โลภคือความไม่กำหนัดยินดี’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีความโลภคือ
ความกำหนัดยินดีเพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัด
สังโยชน์เหล่านั้นเสีย
อนึ่ง เราเป็นผู้มีความโลภคือความกำหนัดยินดี แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้
เพราะความโลภคือความกำหนัดยินดีเป็นปัจจัย ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วพึงติเตียนได้
เพราะความโลภคือความกำหนัดยินดีเป็นปัจจัย หลังจากตายแล้วทุคติเป็นอันหวังได้
เพราะความโลภคือความกำหนัดยินดีเป็นปัจจัย’ ความโลภคือความกำหนัดยินดี
นั่นเองเป็นสังโยชน์ เป็นนิวรณ์
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นเพราะ
ความโลภคือความกำหนัดยินดีเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลเว้นขาดจากความโลภคือความ
กำหนัดยินดี อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรา
กล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละความโลภคือความกำหนัดยินดีได้ เพราะอาศัยความไม่โลภ
คือความไม่กำหนัดยินดี’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร
[๓๘] เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละการนินทาและการประทุษ-
ร้ายได้ เพราะอาศัยการไม่นินทาและการไม่ประทุษร้าย’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีการนินทาและ
การประทุษร้ายเพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์
เหล่านั้นเสีย
อนึ่ง เราเป็นผู้มีการนินทาและการประทุษร้าย แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้
เพราะการนินทาและการประทุษร้ายเป็นปัจจัย ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วพึงติเตียนได้เพราะ
การนินทาและการประทุษร้ายเป็นปัจจัย หลังจากตายแล้วทุคติเป็นอันหวังได้เพราะ
การนินทาและการประทุษร้ายเป็นปัจจัย’ การนินทาและการประทุษร้ายนั่นเองเป็น
สังโยชน์ เป็นนิวรณ์
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้น
เพราะการนินทาและการประทุษร้ายเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลไม่มีการนินทาและการ
ประทุษร้าย อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรา
กล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละการนินทาและการประทุษร้ายได้ เพราะอาศัยการไม่นินทา
และการไม่ประทุษร้าย’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๙] เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละความโกรธแค้นได้
เพราะอาศัยความไม่โกรธแค้น’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีความ
โกรธแค้น เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์
เหล่านั้นเสีย
อนึ่ง เราเป็นผู้มีความโกรธแค้น แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้เพราะความโกรธ
แค้นเป็นปัจจัย ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วพึงติเตียนได้เพราะความโกรธแค้นเป็นปัจจัย หลังจาก
ตายแล้วทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะความโกรธแค้นเป็นปัจจัย’ ความโกรธแค้น
นั่นเองเป็นสังโยชน์ เป็นนิวรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นเพราะ
ความโกรธแค้นเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลไม่มีความโกรธแค้น อาสวะและความเร่าร้อน
ที่ทำความโกรธแค้นเหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละความโกรธแค้นได้
เพราะอาศัยความไม่โกรธแค้น’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๔๐] เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละความดูหมิ่นได้ เพราะ
อาศัยความไม่ดูหมิ่น’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ดูหมิ่นเพราะ
เหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้นเสีย
อนึ่ง เราเป็นผู้ดูหมิ่น แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้เพราะความดูหมิ่นเป็นปัจจัย
ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วพึงติเตียนได้เพราะความดูหมิ่นเป็นปัจจัย หลังจากตายแล้วทุคติ
เป็นอันหวังได้เพราะความดูหมิ่นเป็นปัจจัย’ ความดูหมิ่นนั่นเองเป็นสังโยชน์ เป็น
นิวรณ์
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นเพราะ
ความดูหมิ่นเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลไม่ดูหมิ่น อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับ
แค้นเหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละความดูหมิ่นได้ เพราะอาศัย
ความไม่ดูหมิ่น’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๔๑] คหบดี ธรรม ๘ ประการที่เป็นไปเพื่อละ เพื่อตัดขาดโวหารในอริยวินัย
เรากล่าวไว้โดยย่อ จำแนกไว้แล้วโดยพิสดาร แต่เพียงเท่านี้ยังไม่ชื่อว่าเป็นการตัด
ขาดโวหารทั้งสิ้นได้ครบถ้วนโดยประการทั้งปวงในอริยวินัย”
โปตลิยคหบดีทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อย่างไรเล่า จึงจะชื่อว่า
เป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ได้ครบถ้วนโดยประการทั้งปวงในอริยวินัย ขอประทาน
วโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยวิธีที่จะตัดขาด
โวหารทั้งสิ้นได้ครบถ้วนโดยประการทั้งปวงในอริยวินัยด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว”
โปตลิยคหบดีทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

โทษแห่งกาม ๗ ประการ
[๔๒] “คหบดี เปรียบเหมือนสุนัขที่กำลังหิวโซ ยืนอยู่ใกล้เขียงของคนฆ่าโค
คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ชำนาญ โยนโครงกระดูกที่เชือดชำแหละเนื้อออก
หมดแล้ว แต่มีเลือดติดอยู่บ้างไปให้มัน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร สุนัขตัวนั้น
เมื่อแทะโครงกระดูกที่เชือดชำแหละเนื้อออกหมดแล้ว แต่มีเลือดติดอยู่บ้างนั้น
จะบรรเทาความหิวได้บ้างไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะโครงกระดูกที่เชือดชำแหละเนื้อออกหมดแล้วนั้น แม้จะมีเลือดติด
อยู่บ้าง สุนัขนั้นก็จะพึงมีความเหน็ดเหนื่อยและความหิวมากขึ้นอีก พระพุทธเจ้าข้า”
“คหบดี อริยสาวกก็อย่างนั้นเหมือนกัน เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘พระผู้มี
พระภาคตรัสกามทั้งหลายว่า มีอุปมาด้วยโครงกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้น
มาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่มากยิ่ง’ ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง
ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว จึงเว้นอุเบกขาที่มีอารมณ์ต่างกัน ที่อิงอาศัยอารมณ์
ต่างกัน แล้วเจริญอุเบกขาที่มีอารมณ์เดียว๑ ที่อิงอาศัยอารมณ์เดียว ซึ่งเป็นที่ดับไม่
เหลือแห่งความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง
[๔๓] คหบดี เปรียบเหมือนนกแร้ง นกตะกรุม หรือนกเหยี่ยว คาบชิ้นเนื้อ
บินไป ฝูงนกแร้งก็ดี ฝูงนกตะกรุมก็ดี ฝูงนกเหยี่ยวก็ดี พากันโผเข้าไปรุมจิกทึ้ง
ชิ้นเนื้อนั้น ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้านกแร้ง นกตะกรุม หรือนกเหยี่ยวนั้น
ไม่รีบปล่อยชิ้นเนื้อนั้นเสีย มันอาจถึงตาย หรือได้รับทุกข์ปางตาย เพราะชิ้นเนื้อนั้น
เป็นเหตุใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร
“คหบดี อริยสาวกก็อย่างนั้นเหมือนกัน เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘พระผู้มี
พระภาคตรัสกามทั้งหลายว่า มีอุปมาด้วยชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่มากยิ่ง’ ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วย
ปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว จึงเว้นอุเบกขาที่มีอารมณ์ต่างกัน ที่อิงอาศัยอารมณ์
ต่างกัน แล้วเจริญอุเบกขาที่มีอารมณ์เดียว ที่อิงอาศัยอารมณ์เดียว ซึ่งเป็นที่ดับ
ไม่เหลือแห่งความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง
[๔๔] คหบดี เปรียบเหมือนบุรุษถือคบหญ้าที่ไฟติดลุกโชนเดินทวนลมไป
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าบุรุษนั้นไม่รีบปล่อยคบหญ้า ที่มีไฟติดลุกโชน
นั้นเสีย คบหญ้าที่มีไฟติดลุกโชนนั้นก็จะพึงไหม้มือ ไหม้แขน หรืออวัยวะน้อยใหญ่
ส่วนใดส่วนหนึ่งของเขา เขาอาจถึงตาย หรือได้รับทุกข์ปางตาย เพราะคบเพลิงนั้น
เป็นเหตุใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“คหบดี อริยสาวกก็อย่างนั้นเหมือนกัน เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘พระผู้มี
พระภาคตรัสกามทั้งหลายว่า มีอุปมาด้วยคบเพลิง มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่มากยิ่ง’ ครั้นเห็นโทษของกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วย
ปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ฯลฯ เจริญอุเบกขา...
[๔๕] คหบดี เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิงมีความลึกกว่า ๑ ชั่วบุรุษ เต็ม
ด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว ปราศจากควัน ลำดับนั้น บุรุษผู้หนึ่งเป็นคนรักชีวิต
ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์มาถึงเข้า มีชาย ๒ คนเป็นคนแข็งแรงช่วยกัน
จับแขนเขาข้างละคนฉุดเข้าไปยังหลุมถ่านเพลิง ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คนผู้นั้นจะพึงน้อมกายเข้าไปอย่างนั้น ใช่ไหม”
“ไม่ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะบุรุษผู้นั้นรู้ว่า ‘ถ้าเราจักตกลงไปยังหลุมถ่านเพลิงนี้ อาจถึงตายหรือ
ได้รับทุกข์ปางตาย เพราะหลุมถ่านเพลิงนั้นเป็นเหตุ’ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร
“คหบดี อริยสาวกก็อย่างนั้นเหมือนกัน เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘พระผู้มี
พระภาคตรัสกามทั้งหลายว่า มีอุปมาด้วยหลุมถ่านเพลิง มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่มากยิ่ง’ ครั้นเห็นโทษของกามนี้ตามความ
เป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ฯลฯ เจริญอุเบกขา...
[๔๖] คหบดี คนฝันเห็นสวน ป่า สถานที่ สระโบกขรณี ที่น่ารื่นรมย์
เขาตื่นขึ้นมาก็ไม่เห็นอะไรเลย แม้ฉันใด อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นประจักษ์
ชัดดังนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลายว่า มีอุปมาด้วยความฝัน มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่มากยิ่ง ฯลฯ เจริญอุเบกขา...
[๔๗] คหบดี เปรียบเหมือนคนยืมทรัพย์สมบัติคือแก้วมณีและกุณฑลอย่างดี
(ของบุคคลอื่น) นั่งยานพาหนะไป เขาสวมใส่ทรัพย์สมบัติที่ตนยืมมาไว้รอบตัว
เดินไประหว่างร้านค้าในตลาด ประชาชนเห็นเขาแล้วก็ซุบซิบกันอย่างนี้ว่า ‘คนนี้
รวยจริง พวกคนรวยเขาใช้สอยสมบัติกันอย่างนี้เอง’ พวกเจ้าของพบเขา ณ ที่ใด
ที่หนึ่งเข้า ก็จะพึงนำเอาของของตนคืนไปในที่นั้น ๆ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
สมควรไหมกับการที่คนผู้นั้นไม่แสดงอาการหวงแหนในทรัพย์สมบัติ”
“สมควร พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะเจ้าของ(มีสิทธิ์) จะนำของของตนคืนไป พระพุทธเจ้าข้า”
“คหบดี อริยสาวกก็อย่างนั้นเหมือนกัน เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘พระผู้มี
พระภาคตรัสกามทั้งหลายว่า มีอุปมาด้วยของขอยืม มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่มากยิ่ง’ ฯลฯ เจริญอุเบกขา...
[๔๘] คหบดี เปรียบเหมือนราวป่าใหญ่ไม่ไกลจากหมู่บ้านหรือนิคม ต้นไม้
ในราวป่านั้นมีผลดกดาษดื่น แต่ยังไม่หล่นลงมาเลยสักผลเดียว ชายคนหนึ่งผู้
ต้องการผลไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาผลไม้ เขามาถึงราวป่านั้น เห็นต้นไม้ที่มีผลดก
ดาษดื่นนั้น เขาคิดอย่างนี้ว่า ‘ต้นไม้นี้มีผลดกดาษดื่น แต่ไม่มีผลหล่นลงมาสัก
ผลเดียว แต่เรารู้วิธีปีนขึ้นต้นไม้ ทางที่ดี เราควรปีนขึ้นต้นไม้นี้แล้วกินพออิ่ม และ
ใส่พกให้เต็ม’ เขาจึงปีนขึ้นต้นไม้นั้นแล้วกินพออิ่มและใส่พกให้เต็ม ต่อมา ชายคนที่ ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร
ต้องการผลไม้ถือขวานที่คมกริบเที่ยวเสาะแสวงหาผลไม้ เขามาถึงราวป่านั้น เห็น
ต้นไม้มีผลดกดาษดื่น เขาคิดอย่างนี้ว่า ‘ต้นไม้นี้มีผลดกดาษดื่น แต่ไม่มีผลหล่น
ลงมาสักผลเดียว และเราก็ไม่รู้วิธีปีนขึ้นต้นไม้ ทางที่ดี เราควรจะตัดต้นไม้นี้ที่โคนต้น
แล้วกินพออิ่มและใส่พกให้เต็ม’ เขาจึงตัดต้นไม้นั้นที่โคนต้น ท่านเข้าใจความข้อนั้น
ว่าอย่างไร ชายคนแรกโน้นที่ปีนขึ้นต้นไม้ก่อน ถ้าไม่รีบลงมา ต้นไม้ก็ล้มทับมือเท้า
หรืออวัยวะน้อยใหญ่ส่วนใดส่วนหนึ่งของเขาหักได้ เขาอาจถึงตายหรือได้รับทุกข์
ปางตาย เพราะต้นไม้นั้นเป็นเหตุใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี อริยสาวกก็อย่างนั้นเหมือนกัน เห็นประจักษ์
ชัดดังนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลายว่า มีอุปมาด้วยผลไม้ มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่มากยิ่ง’ ครั้นเห็นโทษของกามนี้ตาม
ความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว จึงเว้นอุเบกขาที่มีอารมณ์ต่างกัน
ที่อิงอาศัยอารมณ์ต่างกันแล้ว เจริญอุเบกขาที่มีอารมณ์เดียว ที่อิงอาศัยอารมณ์เดียว
ซึ่งเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง
วิชชา ๓
[๔๙] คหบดี อริยสาวกนี้นั้นแล อาศัยจตุตถฌานที่มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอันยอดเยี่ยมนี้ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง
ฯลฯ๑ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
อริยสาวกนี้นั้นแล อาศัยจตุตถฌานที่มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอันยอดเยี่ยมนี้
เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและ
เกิดไม่ดี ฯลฯ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร
อริยสาวกนี้นั้นแล อาศัยจตุตถฌานที่มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอันยอดเยี่ยมนี้
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
คหบดี เพียงเท่านี้แล ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้นได้ครบถ้วนโดยประการ
ทั้งปวงในอริยวินัย
โปตลิยคหบดีประกาศตนเป็นอุบาสก
[๕๐] คหบดี ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านพิจารณาเห็นการตัดขาด
โวหารเห็นปานนี้ในตน เหมือนการตัดขาดโวหารทั้งสิ้นได้ครบถ้วนโดยประการทั้งปวง
ในอริยวินัย กระนั้นหรือ”
โปตลิยคหบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นเช่นนั้น
กระไรได้ ซ้ำข้าพระองค์ยังกลับเป็นผู้ไกลจากการตัดขาดโวหารทั้งสิ้นได้ครบถ้วน โดย
ประการทั้งปวงในอริยวินัยเสียอีก เพราะเมื่อก่อนข้าพระองค์เข้าใจผิดพวกอัญเดียรถีย์
ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึงว่า ‘เป็นผู้รู้ทั่วถึง’ ได้คบหาพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึง
ว่า ‘คบหาบุคคลผู้รู้ทั่วถึง’ ได้ยกย่องพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะ
แห่งบุคคลผู้รู้ทั่วถึง แต่กลับเข้าใจภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงว่า ‘เป็นผู้ไม่รู้ทั่วถึง’ ได้คบหา
ภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงว่า ‘คบหาบุคคลผู้ไม่รู้ทั่วถึง’ ได้ตั้งภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงไว้ใน
ฐานะแห่งบุคคลผู้ไม่รู้ทั่วถึง แต่บัดนี้ ข้าพระองค์รู้จักพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้
ทั่วถึงว่า ‘เป็นผู้ไม่รู้ทั่วถึง’ คบหาพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึงว่า ‘คบหา
บุคคลผู้ไม่รู้ทั่วถึง’ ตั้งพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะแห่งบุคคลผู้
ไม่รู้ทั่วถึง แต่รู้จักภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงว่า ‘เป็นผู้รู้ทั่วถึง’ คบหาภิกษุทั้งหลายผู้รู้
ทั่วถึงว่า ‘คบหาบุคคลผู้รู้ทั่วถึง’ ตั้งภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะแห่งบุคคลผู้รู้
ทั่วถึง พระผู้มีพระภาคทรงทำความรักสมณะให้เกิดในหมู่สมณะ ทรงทำความเลื่อมใส
สมณะให้เกิดในหมู่สมณะ ทรงทำความเคารพสมณะให้เกิดในหมู่สมณะ แก่ข้าพระองค์
แล้วหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๕. ชีวกสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรง
ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมี
ตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและ
พระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล
โปตลิยสูตรที่ ๔ จบ

๕. ชีวกสูตร
ว่าด้วยหมอชีวกโกมารภัจ
[๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของหมอชีวกโกมารภัจ
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล หมอชีวกโกมารภัจเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ฟังมาอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลายฆ่าสัตว์
เจาะจงถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดมก็ทรงทราบการนั้น แต่ก็ยังเสวยเนื้อที่
เขาฆ่าเจาะจงพระองค์ ที่เขาอาศัยพระองค์ทำ’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลายฆ่าสัตว์เจาะจง
ถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดมก็ทรงทราบการนั้น แต่ก็ยังเสวยเนื้อที่เขาฆ่า
เจาะจงพระองค์ ที่เขาอาศัยพระองค์ทำ’ ชนเหล่านั้นจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่าง
สมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมา จะเป็น
เหตุให้ถูกตำหนิได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๕. ชีวกสูตร

เนื้อที่ควรฉันและไม่ควรฉัน
[๕๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ชีวก ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลาย
ฆ่าสัตว์เจาะจงถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดมก็ทรงทราบการนั้น แต่ก็ยัง
เสวยเนื้อที่เขาฆ่าเจาะจงพระองค์ ที่เขาอาศัยพระองค์ทำ’ ชนเหล่านั้นไม่ชื่อว่าพูด
ตรงตามที่เรากล่าวไว้ แต่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ที่ไม่มีอยู่
เรากล่าวเนื้อที่ภิกษุไม่ควรฉันไว้ด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ
๑. เนื้อที่ตนเห็น๑
๒. เนื้อที่ตนได้ยิน
๓. เนื้อที่ตนสงสัย
รากล่าวเนื้อที่ภิกษุไม่ควรฉันไว้ด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล
เรากล่าวเนื้อที่ภิกษุควรฉันไว้ด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ
๑. เนื้อที่ตนไม่เห็น
๒. เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน
๓. เนื้อที่ตนไม่สงสัย
ชีวก เรากล่าวเนื้อที่ภิกษุควรฉันไว้ด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล
การแผ่เมตตา
[๕๓] ชีวก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เธอ
มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน
ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิต
อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ด้วยประการ
อย่างนี้ คหบดีหรือบุตรคหบดีเข้าไปหาเธอแล้วนิมนต์เพื่อฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๕. ชีวกสูตร
เมื่อภิกษุต้องการจึงรับนิมนต์ เมื่อล่วงราตรีนั้นไป ในเวลาเช้า เธอครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของคหบดีหรือบุตรคหบดี นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว
คหบดีหรือบุตรคหบดีนั้นอังคาสเธอด้วยบิณฑบาตอันประณีต เธอไม่คิดอย่างนี้ว่า
‘ดีจริง คหบดีหรือบุตรคหบดีนี้พึงอังคาสเราด้วยบิณฑบาตอันประณีต’ ทั้งไม่คิด
อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ คหบดีหรือบุตรคหบดีจึงจะอังคาสเราด้วยบิณฑบาต
อันประณีตเช่นนี้ตลอดไป’ เธอไม่กำหนัด ไม่ยินดี ไม่รีบฉันบิณฑบาตนั้น มีปกติ
เห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออกจากทุกข์ ฉันอยู่
ชีวก เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในสมัยนั้น ภิกษุนั้นย่อมคิดเพื่อเบียดเบียน
ตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง หรือเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้างหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ในคราวนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าฉันอาหารอันไม่มีโทษเลย ใช่หรือไม่”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินมาแล้วว่า
‘พรหมมีปกติอยู่ด้วยเมตตา’ คำกล่าวที่เพียงได้ยินมานี้ข้าพระองค์เห็นว่าพระผู้มี
พระภาคทรงเป็นพยานได้ เพราะพระผู้มีพระภาคเองก็ทรงมีปกติอยู่ด้วยเมตตา”
“ชีวก บุคคลจะพึงมีความพยาบาทเพราะราคะ โทสะ โมหะใด ราคะ โทสะ
โมหะนั้นตถาคตละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
ชีวก หากเธอกล่าวหมายถึงการละราคะ โทสะ โมหะนี้ เราเห็นด้วย”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์กล่าวหมายถึงการละราคะ โทสะ โมหะ
นี้แล พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๕. ชีวกสูตร

การแผ่กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
[๕๔] “ชีวก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่
เธอมีกรุณาจิต ... มีมุทิตาจิต ... มีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่
เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ด้วยประการอย่างนี้ คหบดีหรือบุตรคหบดีเข้าไปหาเธอ
แล้วนิมนต์เพื่อฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น เมื่อภิกษุต้องการจึงรับนิมนต์ เมื่อล่วงราตรี
นั้นไป ในเวลาเช้า เธอครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของคหบดีหรือ
บุตรคหบดี นั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว คหบดีหรือบุตรคหบดีอังคาสเธอด้วย
บิณฑบาตอันประณีต เธอไม่คิดอย่างนี้ว่า ‘ดีจริง คหบดีหรือบุตรคหบดีนี้พึงอังคาส
เราด้วยบิณฑบาตอันประณีต’ ทั้งไม่คิดอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ คหบดีหรือบุตร
คหบดีจึงจะอังคาสเราด้วยบิณฑบาตอันประณีต เช่นนี้ตลอดไป’ เธอไม่กำหนัด ไม่ยินดี
ไม่รีบฉันบิณฑบาตนั้น มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออกจากทุกข์ ฉันอยู่
ชีวก เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในสมัยนั้น ภิกษุนั้นย่อมคิดเพื่อเบียดเบียน
ตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ในคราวนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าฉันอาหารอันไม่มีโทษเลย ใช่หรือไม่”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินมาแล้วว่า
‘พรหมมีปกติอยู่ด้วยอุเบกขา’ คำกล่าวที่เพียงได้ยินมานี้ข้าพระองค์เห็นว่าพระผู้มี
พระภาคทรงเป็นพยานได้ เพราะพระผู้มีพระภาคเองก็ทรงมีปกติอยู่ด้วยอุเบกขา”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ชีวก บุคคลจะพึงมีความเบียดเบียน มีความไม่ยินดี
มีความกระทบกระทั่ง เพราะราคะ โทสะ โมหะใด ราคะ โทสะ โมหะนั้นตถาคต
ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๑ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น