Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๔-๑๒ หน้า ๔๖๙ - ๕๑๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔-๑๒ สุตตันตปิฎกที่ ๐๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร
๗. ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว เพราะอาสวะ
ทั้งหลายสิ้นไป ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
[๔๑๕] ครั้งนั้น ท่านพระนันทกะโอวาทภิกษุณีเหล่านั้นด้วยโอวาทนี้แล้ว
จึงส่งไปด้วยคำว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงไปเถิด สมควรแก่เวลาแล้ว”
ลำดับนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระนันทกะ แล้ว
ลุกขึ้นจากอาสนะ กราบท่านพระนันทกะ กระทำประทักษิณ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้
มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสกับภิกษุณีเหล่านั้นดังนี้ว่า “ภิกษุณีทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไปเถิด สมควร
แก่เวลาแล้ว”
ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณ
แล้วจากไป
เมื่อภิกษุณีเหล่านั้นจากไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำนั้น ชนเป็นอันมากไม่
มีความเคลือบแคลงหรือความสงสัยเลยว่า ‘ดวงจันทร์ไม่เต็มดวงหรือเต็มดวง
หนอ’ แต่ที่แท้ ดวงจันทร์ก็เต็มดวงแล้ว ฉันใด ภิกษุณีเหล่านั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเป็นผู้มีใจยินดีต่อธรรมเทศนาของพระนันทกะและมีความดำริบริบูรณ์แล้ว
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุณี ๕๐๐ รูปนั้น รูปที่ได้คุณธรรมชั้นต่ำที่สุดเป็น
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
นันทโกวาทสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๕. จูฬราหุโลวาทสูตร

๕. จูฬราหุโลวาทสูตร๑
ว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระราหุล สูตรเล็ก
[๔๑๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่
ในที่สงัด ทรงเกิดความรำพึงขึ้นอย่างนี้ว่า “ธรรมเป็นเครื่องบ่มวิมุตติ๒ของราหุล
แก่กล้าแล้ว ทางที่ดี เราพึงแนะนำราหุลในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะให้ยิ่งขึ้นไป”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จ
เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ทรงเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้ว เสด็จกลับ
จากบิณฑบาตภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว รับสั่งเรียกท่านพระราหุลมา
ตรัสว่า “ราหุล เธอจงถือผ้านิสีทนะ(ผ้าสำหรับปูนั่งของสมณะ) เราจักเข้าไปยัง
ป่าอันธวัน เพื่อพักผ่อนกลางวัน”
ท่านพระราหุลทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ได้ถือผ้านิสีทนะตามเสด็จพระผู้มี
พระภาคไปเบื้องพระปฤษฎางค์
สมัยนั้น เทวดาหลายพันองค์ก็ติดตามพระผู้มีพระภาคไปด้วยคิดว่า “วันนี้
พระผู้มีพระภาค จักทรงแนะนำท่านพระราหุลในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะให้ยิ่งขึ้นไป”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๕. จูฬราหุโลวาทสูตร
ต่อมา พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่ป่าอันธวัน ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปู
ลาดไว้แล้วที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ฝ่ายท่านพระราหุลถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่
สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระราหุลดังนี้ว่า
[๔๑๗] “ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
ท่านพระราหุลกราบทูลว่า “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือรูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ จักขุวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๕. จูฬราหุโลวาทสูตร
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ จักขุสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร แม้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
[๔๑๘] “ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ โสตะเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ฆานะเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“กายเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๕. จูฬราหุโลวาทสูตร
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๕. จูฬราหุโลวาทสูตร
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ มโนสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร แม้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
[๔๑๙] “ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหม
จรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของท่าน
พระราหุลก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น และธรรมจักษุ๑อันปราศจากธุลี
ปราศจากมลทินได้เกิดแก่เทวดาหลายพันองค์ว่า
“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับเป็นธรรมดา”
ดังนี้แล
จูฬราหุโลวาทสูตรที่ ๕ จบ

๖. ฉฉักกสูตร
ว่าด้วยธรรม ๖ ประการ ๖ หมวด
[๔๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม มีความงามในเบื้องต้น๑ มีความงามใน
ท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์๒ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน คือธรรม ๖ ประการ ๖ หมวด เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรม ๖ ประการ ๖ หมวดนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“เธอทั้งหลายพึงทราบอายตนะภายใน ๖ พึงทราบอายตนะภายนอก ๖
พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ พึงทราบหมวดเวทนา ๖
พึงทราบหมวดตัณหา๓ ๖
อายตนะ ๑๒ ประการ
[๔๒๑] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบอายตนะภายใน ๖’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ
๑. จักขวายตนะ ๒. โสตายตนะ
๓. ฆานายตนะ ๔. ชิวหายตนะ
๕. กายายตนะ ๖. มนายตนะ
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบอายตนะภายใน ๖’ นั่น เพราะ
อาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
นี้เป็นหมวดธรรม ๖ หมวดที่ ๑ (๑)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบอายตนะภายนอก ๖’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ

๑. รูปายตนะ ๒. สัททายตนะ
๓. คันธายตนะ ๔. รสายตนะ
๕. โผฏฐัพพายตนะ ๖. ธัมมายตนะ๑

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบอายตนะภายนอก ๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
นี้เป็นหมวดธรรม ๖ หมวดที่ ๒ (๒)
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ
๑. เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด
๒. เพราะอาศัยโสตะและเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด
๓. เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ฆานวิญญาณจึงเกิด
๔. เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด
๕. เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ กายวิญญาณจึงเกิด
๖. เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
นี้เป็นหมวดธรรม ๖ หมวดที่ ๓ (๓)
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดผัสสะ ๖’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง
กล่าวไว้เช่นนั้น คือ
๑. เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ เป็นผัสสะ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร
๒. เพราะอาศัยโสตะและเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด ความประจวบ
แห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ
๓. เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ฆานวิญญาณจึงเกิด ความประจวบ
แห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ
๔. เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ความประจวบ
แห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ
๕. เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ กายวิญญาณจึงเกิด ความ
ประจวบแห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ
๖. เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความ
ประจวบแห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดผัสสะ ๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น
นี้เป็นหมวดธรรม ๖ หมวดที่ ๔ (๔)
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดเวทนา ๖’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง
กล่าวไว้เช่นนั้น คือ
๑. เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด๑
๒. เพราะอาศัยโสตะและเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด ...
๓. เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ฆานวิญญาณจึงเกิด ...
๔. เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ...
๕. เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ กายวิญญาณจึงเกิด ...
๖. เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความ
ประจวบแห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา
จึงเกิด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดเวทนา ๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น
นี้เป็นหมวดธรรม ๖ หมวดที่ ๕ (๕)
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดตัณหา ๖’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง
กล่าวไว้เช่นนั้น คือ
๑. เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหา๑จึงเกิด
๒. เพราะอาศัยโสตะและเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด ...
๓. เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ฆานวิญญาณจึงเกิด ...
๔. เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ...
๕. เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ กายวิญญาณจึงเกิด ...
๖. เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความ
ประจวบแห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา
จึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดตัณหา ๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น
นี้เป็นหมวดธรรม ๖ หมวดที่ ๖ (๖)
[๔๒๒] ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘จักขุเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง จักขุ
ย่อมปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘จักขุเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง จักขุเป็นอนัตตา
ด้วยอาการอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘รูปเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง รูปย่อมปรากฏทั้ง
ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป
สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’ เพราะฉะนั้น
คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘รูปเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง จักขุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา
ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘จักขุวิญญาณเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง จักขุวิญญาณ
ย่อมปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘จักขุวิญญาณเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง จักขุเป็น
อนัตตา รูปเป็นอนัตตา จักขุวิญญาณเป็นอนัตตา ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘จักขุสัมผัสเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง จักขุสัมผัส
ย่อมปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘จักขุสัมผัสเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง จักขุ
เป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา จักขุวิญญาณเป็นอนัตตา จักขุสัมผัสเป็นอนัตตา
ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘เวทนาเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง เวทนาย่อม
ปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’ เพราะ
ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘เวทนาเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง จักขุเป็นอนัตตา
รูปเป็นอนัตตา จักขุวิญญาณเป็นอนัตตา จักขุสัมผัสเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา
ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ตัณหาเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง ตัณหาย่อม
ปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’ เพราะ
ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘ตัณหาเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง จักขุเป็นอนัตตา
รูปเป็นอนัตตา จักขุวิญญาณเป็นอนัตตา จักขุสัมผัสเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา
ตัณหาเป็นอนัตตา ด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร
[๔๒๓] ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘โสตะเป็นอัตตา’ ...
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ฆานะเป็นอัตตา’ ...
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ชิวหาเป็นอัตตา’ ...
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘กายเป็นอัตตา’ ...
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘มโนเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง มโนย่อมปรากฏ
ทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดและความเสื่อมไป
สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’ เพราะฉะนั้น
คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘มโนเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง มโนเป็นอนัตตา ด้วยอาการ
อย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ธรรมารมณ์เป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง ธรรมารมณ์
ย่อมปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘ธรรมารมณ์เป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง มโน
เป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘มโนวิญญาณเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง มโนวิญญาณ
ย่อมปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘มโนวิญญาณเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง มโนเป็น
อนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา มโนวิญญาณเป็นอนัตตา ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘มโนสัมผัสเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง มโนสัมผัส
ย่อมปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘มโนสัมผัสเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง มโนเป็น
อนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา มโนวิญญาณเป็นอนัตตา มโนสัมผัสเป็นอนัตตา
ด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘เวทนาเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง เวทนาย่อม
ปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’ เพราะ
ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘เวทนาเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง มโนเป็นอนัตตา
ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา มโนวิญญาณเป็นอนัตตา มโนสัมผัสเป็นอนัตตา เวทนา
เป็นอนัตตา ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ตัณหาเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง ตัณหาย่อม
ปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’ เพราะ
ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘ตัณหาเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง มโนเป็นอนัตตา
ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา มโนวิญญาณเป็นอนัตตา มโนสัมผัสเป็นอนัตตา เวทนา
เป็นอนัตตา ตัณหาเป็นอนัตตา ด้วยอาการอย่างนี้
[๔๒๔] ภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทานี้แลเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงสักกายสมุทัย(ความ
เกิดขึ้นแห่งสักกายะ)
คือ บุคคลพิจารณาเห็น๑จักขุว่า ‘นั่นของเรา๒ เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา’
พิจารณาเห็นรูปว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นจักขุสัมผัสว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นตัณหาว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นโสตะว่า ‘นั่นของเรา ...

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร
พิจารณาเห็นฆานะว่า ‘นั่นของเรา ...
พิจารณาเห็นชิวหาว่า ‘นั่นของเรา ...
พิจารณาเห็นกายว่า ‘นั่นของเรา ...
พิจารณาเห็นมโนว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นธรรมารมณ์ว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นมโนวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นมโนสัมผัสว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นตัณหาว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนปฏิปทานี้เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงสักกายนิโรธ๑(ความดับสักกายะ)
คือ บุคคลพิจารณาเห็น๒จักขุว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา๓ เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นรูปว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นจักขุสัมผัสว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’
พิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นตัณหาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร
พิจารณาเห็นโสตะว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ
พิจารณาเห็นฆานะว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา ...
พิจารณาเห็นชิวหาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา ...
พิจารณาเห็นกายว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา ...
พิจารณาเห็นมโนว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นธรรมารมณ์ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’
พิจารณาเห็นมโนวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’
พิจารณาเห็นมโนสัมผัสว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’
พิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นตัณหาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
[๔๒๕] ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความ
ประจวบแห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุข
ที่สัตว์เสวยจึงเกิด เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด
บุคคลนั้นมีราคานุสัย(กิเลสอันนอนเนื่องอยู่ในสันดานคือราคะ) นอนเนื่องอยู่ อัน
ทุกขเวทนาถูกต้องแล้วย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความ
ลุ่มหลง๑ เขามีปฏิฆานุสัย(กิเลสนอนเนื่องอยู่ในสันดานคือปฏิฆะ) นอนเนื่องอยู่
อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่รู้ชัดถึงความเกิดขึ้น ความเสื่อมไป
คุณ โทษ และธรรมเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนานั้น ตามความเป็นจริง เขามี
อวิชชานุสัย(กิเลสนอนเนื่องอยู่ในสันดานคืออวิชชา) นอนเนื่องอยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลนั้นยังละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา
ไม่ได้ ยังบรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนาไม่ได้ ยังถอนอวิชชานุสัยเพราะ
อทุกขมสุขเวทนาไม่ได้ ยังละอวิชชาแล้วทำวิชชาให้เกิดไม่ได้ จักเป็นผู้กระทำที่สุด
ทุกข์ได้ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยโสตะและเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ฆานวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ กายวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์
เสวยจึงเกิด เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน ชมเชย ยึดติด
บุคคลนั้นมีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก
ลำบาก ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความลุ่มหลง เขามีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่
อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่รู้ชัดถึงความเกิดขึ้น ความเสื่อมไป
คุณ โทษ และธรรมเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนานั้น ตามความเป็นจริง เขามี
อวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลนั้นยังละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา
ไม่ได้ ยังบรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนาไม่ได้ ยังถอนอวิชชานุสัยเพราะ
อทุกขมสุขเวทนาไม่ได้ ยังละอวิชชาแล้วทำวิชชาให้เกิดไม่ได้ จักเป็นผู้กระทำที่สุด
ทุกข์ได้ในปัจจุบัน
[๔๒๖] ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความ
ประจวบแห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุข
ที่สัตว์เสวยจึงเกิด เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม
ไม่ยึดติด บุคคลนั้นไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร
เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความลุ่มหลง๑ บุคคลนั้น
ไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมรู้ชัดถึงความ
เกิดขึ้น ความเสื่อมไป คุณ โทษ และธรรมเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนานั้น
ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่มีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่
เป็นไปได้ที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนาได้ บรรเทาปฏิฆานุสัย
เพราะทุกขเวทนาได้ ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนาได้ ละอวิชชาแล้วทำ
วิชชา๒ ให้เกิดขึ้นได้แล้ว จักเป็นผู้กระทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยโสตะและเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ฆานวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ กายวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์
เสวยจึงเกิด เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
บุคคลนั้นไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้วย่อมไม่เศร้าโศก
ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความลุ่มหลง บุคคลนั้นไม่มี
ปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมรู้ชัดถึงความเกิดขึ้น
ความเสื่อมไป คุณ โทษ และธรรมเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนานั้น ตามความ
เป็นจริง บุคคลนั้นไม่มีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนาได้ บรรเทา
ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนาได้ ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนาได้ ละ
อวิชชาแล้วทำวิชชาให้เกิดขึ้นได้แล้ว จักเป็นผู้กระทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร
[๔๒๗] ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของ
ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ดังนี้แล
ฉฉักกสูตรที่ ๖ จบ

๗. สฬายตนวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอายตนะ ๖ ประการ
[๔๒๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเนื่องด้วยอายตนะ ๖ ที่สำคัญแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
[๔๒๙] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักขุตามความเป็นจริง เมื่อไม่
รู้ไม่เห็นรูปตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักขุวิญญาณตามความเป็นจริง เมื่อ
ไม่รู้ไม่เห็นจักขุสัมผัสตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่
สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมยินดีนักใน
จักขุ ย่อมยินดีนักในรูป ย่อมยินดีนักในจักขุวิญญาณ ย่อมยินดีนักในจักขุสัมผัส
ย่อมยินดีนักในสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็น
ปัจจัย
เมื่อบุคคลนั้นยินดี หมกมุ่น ลุ่มหลง พิจารณาเห็นเป็นคุณอยู่ อุปาทาน-
ขันธ์ ๕ ย่อมถึงความพอกพูนขึ้นต่อไป และตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่อันสหรคต
ด้วยความเพลิดเพลินยินดี ชวนให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ก็ย่อมเจริญขึ้น
ความกระวนกระวายที่เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น ความ
เดือดร้อนที่เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น ความเร่าร้อนที่
เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น เขาจึงเสวยทุกข์ทางกายบ้าง
เสวยทุกข์ทางใจบ้าง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นโสตะตามความเป็นจริง ...
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นฆานะตามความเป็นจริง ...
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นชิวหาตามความเป็นจริง ...
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นกายตามความเป็นจริง ...
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นธรรมารมณ์ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนวิญญาณตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนสัมผัสตามความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร
เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัยตามความเป็นจริง ย่อมยินดีนักในมโน ย่อมยินดีนักใน
ธรรมารมณ์ ย่อมยินดีนักในมโนวิญญาณ ย่อมยินดีนักในมโนสัมผัส ย่อมยินดีนัก
ในสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลนั้นยินดี หมกมุ่น ลุ่มหลง พิจารณาเห็นเป็นคุณอยู่
อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมถึงความพอกพูนขึ้นต่อไป และตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่อัน
สหรคตด้วยความเพลิดเพลินยินดี ชวนให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ก็ย่อมเจริญขึ้น
ความกระวนกระวายที่เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น ความ
เดือดร้อนที่เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น ความเร่าร้อนที่
เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น เขาจึงเสวยทุกข์ทางกายบ้าง
เสวยทุกข์ทางใจบ้าง
[๔๓๐] ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นจักขุตามความเป็นจริง เมื่อรู้
เมื่อเห็นรูปตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักขุวิญญาณตามความเป็นจริง เมื่อรู้
เมื่อเห็นจักขุสัมผัสตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่
สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่ยินดีใน
จักขุ ย่อมไม่ยินดีในรูป ย่อมไม่ยินดีในจักขุวิญญาณ ย่อมไม่ยินดีในจักขุสัมผัส
ย่อมไม่ยินดีในสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็น
ปัจจัย
เมื่อบุคคลนั้นไม่ยินดี ไม่หมกมุ่น ไม่หลุ่มหลง พิจารณาเห็นเป็นโทษอยู่
อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมไม่ถึงความพอกพูนขึ้นต่อไป เขาย่อมละตัณหาที่นำไปสู่ภพ
ใหม่อันสหรคตด้วยความเพลิดเพลินยินดี ชวนให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ได้
เขาย่อมละความกระวนกระวายที่เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจ ละความเดือดร้อน
ที่เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจ ละความเร่าร้อนที่เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจได้
จึงเสวยสุขทางกายบ้าง เสวยสุขทางใจบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร
[๔๓๑] ทิฏฐิของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้น๑ ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ ความดำริ
ของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ ความพยายามของบุคคลผู้มี
ธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ สติของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็น
สัมมาสติ สมาธิของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม
วจีกรรม อาชีวะของเขาจัดว่าบริสุทธิ์ดีในเบื้องต้นทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ของเขาย่อมถึงความเจริญเต็มที่
เมื่อบุคคลนั้นเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้อยู่อย่างนี้ สติปัฏฐาน ๔ ก็ดี
สัมมัปปธาน ๔ ก็ดี อิทธิบาท ๔ ก็ดี อินทรีย์ ๕ ก็ดี พละ ๕ ก็ดี โพชฌงค์
๗ ก็ดี ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
ธรรม ๒ นี้ คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา ของเขาย่อมเคียงคู่กันไป
บุคคลนั้นกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมละธรรมที่ควรละด้วย
ปัญญาอันยิ่ง ย่อมเจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมทำให้แจ้งธรรมที่
ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
ควรจะตอบว่า ‘อุปาทานขันธ์ ๕’ คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
คือ (๑) อวิชชา (๒) ภวตัณหา
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร
ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
คือ (๑) วิชชา (๒) วิมุตติ
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
[๔๓๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้ เมื่อเห็นโสตะตามความเป็นจริง ...
เมื่อรู้ เมื่อเห็นฆานะตามความเป็นจริง ...
เมื่อรู้ เมื่อเห็นชิวหาตามความเป็นจริง ...
เมื่อรู้ เมื่อเห็นกายตามความเป็นจริง ...
บุคคลเมื่อรู้ เมื่อเห็นมโนตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็นธรรมารมณ์ตาม
ความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็นมโนวิญญาณตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็น
มโนสัมผัสตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็นสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวย
ซึ่งเกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่ยินดีในมโน ย่อม
ไม่ยินดีในธรรมารมณ์ ย่อมไม่ยินดีในมโนวิญญาณ ย่อมไม่ยินดีในมโนสัมผัส
ย่อมไม่ยินดีในสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น
ปัจจัย
เมื่อบุคคลนั้นไม่ยินดี ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง พิจารณาเห็นเป็นโทษอยู่
อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมไม่ถึงความพอกพูนขึ้นต่อไป เขาย่อมละตัณหาที่นำไปสู่ภพ
ใหม่อันสหรคตด้วยความเพลิดเพลินยินดี ชวนให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ได้
ย่อมละความกระวนกระวายที่เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจ ละความเดือดร้อนที่
เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจ ละความเร่าร้อนที่เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจได้
จึงเสวยสุขทางกายบ้าง เสวยสุขทางใจบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร
[๔๓๓] ทิฏฐิของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้น ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ ความดำริของ
บุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ ความพยายามของบุคคลผู้มี
ธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ สติของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็น
สัมมาสติ สมาธิของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม
วจีกรรม อาชีวะของเขาจัดว่าบริสุทธิ์ในเบื้องต้นทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ อริยมรรค
มีองค์ ๘ นี้ของเขาย่อมถึงความเจริญเต็มที่
เมื่อบุคคลนั้นเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้อยู่อย่างนี้ สติปัฏฐาน ๔ ก็ดี
สัมมัปปธาน ๔ ก็ดี อิทธิบาท ๔ ก็ดี อินทรีย์ ๕ ก็ดี พละ ๕ ก็ดี
โพชฌงค์ ๗ ก็ดี ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
ธรรม ๒ นี้ คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา ของเขาย่อมเคียงคู่กันไป
บุคคลนั้นย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมละธรรมที่ควรละ
ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมเจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมทำให้แจ้ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
ควรจะตอบว่า ‘อุปาทานขันธ์ ๕’ คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์
๒. เวทนูปาทานขันธ์
๓. สัญญูปาทานขันธ์
๔. สังขารูปาทานขันธ์
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
คือ (๑) อวิชชา (๒) ภวตัณหา
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๘. นครวินเทยยสูตร
ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
คือ (๑) วิชชา (๒) วิมุตติ๑
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
สฬายตนวิภังคสูตรที่ ๗ จบ

๘. นครวินเทยยสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์และคหบดีชาวบ้านนครวินทะ
[๔๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์ของชาวแคว้นโกศลชื่อนครวินทะ พราหมณ์
และคหบดีชาวบ้านนครวินทะ ได้ทราบข่าวว่า
“ท่านพระสมณโคดมผู้เป็นศากยบุตร เสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล
เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงนครวินทะ
โดยลำดับ ท่านพระโคดมนั้น มีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เพรียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๘. นครวินเทยยสูตร
อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค‘๑ พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้วทรง
ประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง
และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้ เป็นความดีอย่าง
แท้จริง”๒
ครั้งนั้น พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านนครวินทะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ บางพวกถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกทูลสนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวก
ประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาคประทับนั่ง แล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวก
ประกาศชื่อและโคตร ในสำนักของพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
บางพวกนั่งนิ่งอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพราหมณ์และคหบดี
ชาวบ้านนครวินทะว่า
สมณพราหมณ์ผู้ไม่ควรสักการะ
[๔๓๕] “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามท่าน
ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เช่นไร อัน
ท่านทั้งหลายไม่ควรสักการะ ไม่ควรเคารพ ไม่ควรนับถือ ไม่ควรบูชา’ ท่าน
ทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
‘สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังไม่ปราศจากราคะ(ความกำหนัด) ยังไม่ปราศจาก
โทสะ(ความขัดเคือง) ยังไม่ปราศจากโมหะ(ความลุ่มหลง)ในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา
มีจิตยังไม่สงบในภายใน ประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ
สมณพราหมณ์เช่นนี้ ไม่ควรสักการะ ไม่ควรเคารพ ไม่ควรนับถือ ไม่ควรบูชา’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๘. นครวินเทยยสูตร
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า แม้เราทั้งหลายก็ยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา มีจิตยังไม่สงบในภายใน ยังประพฤติไม่
สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ เพราะเราทั้งหลายไม่เห็นแม้ความ
ประพฤติที่สม่ำเสมอนั้นที่สูง ๆ ขึ้นไปของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น
สมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงไม่ควรสักการะ ไม่ควรเคารพ ไม่ควรนับถือ ไม่ควรบูชา
สมณพราหมณ์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
สมณพราหมณ์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก...
สมณพราหมณ์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ มีจิตยังไม่สงบในภายใน ประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ สมณพราหมณ์เช่นนี้ ไม่ควรสักการะ
ไม่ควรเคารพ ไม่ควรนับถือ ไม่ควรบูชา
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า แม้เราทั้งหลายก็ยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ มีจิตยังไม่สงบในภายใน ยัง
ประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ เพราะเราทั้งหลายไม่เห็น
แม้ความประพฤติที่สม่ำเสมอนั้นที่สูง ๆ ขึ้นไปของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เพราะ
ฉะนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึงไม่ควรสักการะ ไม่ควรเคารพ ไม่ควรนับถือ
ไม่ควรบูชา’
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบ
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้เถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๘. นครวินเทยยสูตร

สมณพราหมณ์ผู้ควรสักการะ
[๔๓๖] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามท่าน
ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เช่นไร อันท่าน
ทั้งหลายควรสักการะ ควรเคารพ ควรนับถือ ควรบูชา’ ท่านทั้งหลายถูกถาม
อย่างนี้แล้ว พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘สมณพราหมณ์
เหล่าใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา
มีจิตสงบในภายใน ประพฤติสม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ
สมณพราหมณ์เช่นนี้ควรสักการะ ควรเคารพ ควรนับถือ ควรบูชา’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า แม้เราทั้งหลายยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยัง
ไม่ปราศจากโมหะในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา มีจิตยังไม่สงบในภายใน ยังประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ เพราะเราทั้งหลายเห็นแม้ความ
ประพฤติสม่ำเสมอนั้นที่สูง ๆ ขึ้นไปของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น
สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นจึงควรสักการะ ควรเคารพ ควรนับถือ ควรบูชา
สมณพราหมณ์เหล่าใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะใน
เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะใน
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะในรส
ที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะใน
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะใน
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ มีจิตสงบในภายใน ประพฤติสม่ำเสมอทางกาย ทาง
วาจา และทางใจ สมณพราหมณ์เช่นนี้ควรสักการะ ควรเคารพ ควรนับถือ
ควรบูชา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๘. นครวินเทยยสูตร
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าแม้เราทั้งหลายยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ มีจิตยังไม่สงบในภายใน ยัง
ประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ เพราะเราทั้งหลายเห็นแม้
ความประพฤติสม่ำเสมอนั้นที่สูง ๆ ขึ้นไปของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น
สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นจึงควรสักการะ ควรเคารพ ควรนับถือ ควรบูชา’
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบ
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้เถิด
ปฏิปทาของผู้ไม่มีราคะ
[๔๓๗] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามท่าน
ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ก็ท่าทางและการปฏิบัติของท่านผู้มีอายุทั้งหลายเป็นอย่างไร
จึงเป็นเหตุให้ท่านทั้งหลายกล่าวถึงท่านผู้มีอายุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ
เหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ เป็นผู้ปราศจากโทสะ
หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ เป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะแน่แท้’
ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่าง
นี้ว่า ‘จริงอย่างนั้น ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ย่อมใช้สอยเสนาสนะอันสงัด คือป่าดง
อันเป็นที่ไม่มีรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ซึ่งคนทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ จะพึงยินดี
ย่อมใช้สอยเสนาสนะอันสงัด คือป่าดงอันเป็นที่ไม่มีเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ซึ่ง
คนทั้งหลายฟังแล้ว ๆ จะพึงยินดี
ย่อมใช้สอยเสนาสนะอันสงัด คือป่าดงอันเป็นที่ไม่มีกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก
ซึ่งคนทั้งหลายดมแล้ว ๆ จะพึงยินดี
ย่อมใช้สอยเสนาสนะอันสงัด คือป่าดงอันเป็นที่ไม่มีรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ซึ่ง
คนทั้งหลายลิ้มแล้ว ๆ จะพึงยินดี
ย่อมใช้สอยเสนาสนะอันสงัด คือป่าดงอันเป็นที่ไม่มีโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย
ซึ่งคนทั้งหลายสัมผัสแล้ว ๆ จะพึงยินดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
ท่าทางและการปฏิบัติของท่านผู้มีอายุเหล่านี้แล เป็นเหตุให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย
กล่าวถึงท่านผู้มีอายุได้อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะ
หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ เป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ เป็น
ผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะแน่แท้’
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบ
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้เถิด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านนครวินทะ
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระโคดมชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือน
บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปใน
ที่มืด โดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์เหล่านี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ
พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำ
ข้าพระองค์ทั้งหลายว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
นครวินเทยยสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
ว่าด้วยการทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์
[๔๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสถามว่า
“สารีบุตร เธอมีอินทรีย์ผ่องใส มีผิวพรรณบริสุทธิ์ผุดผ่อง เธออยู่ด้วยวิหาร
ธรรมอะไรเป็นส่วนมากในบัดนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
ท่านพระสารีบุตรทูลตอบว่า “ข้าพระองค์อยู่ด้วยสุญญตา๑วิหารธรรมเป็น
ส่วนมากในบัดนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร ได้ยินว่าเธออยู่ด้วยวิหารธรรม
ของมหาบุรุษเป็นส่วนมากในบัดนี้ เพราะวิหารธรรมของมหาบุรุษ๒นี้ก็คือสุญญตา
เพราะฉะนั้น ถ้าภิกษุหวังว่า ‘เราพึงอยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรมเป็นส่วนมาก’
ภิกษุนั้นพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตโดยทางใด เราได้เที่ยว
บิณฑบาตในประเทศใด และเรากลับจากบิณฑบาตจากบ้านโดยทางใด ในที่นั้น
เรามีฉันทะ(ความพอใจ) ราคะ(ความกำหนัด) โทสะ(ความขัดเคือง) โมหะ
(ความลุ่มหลง) หรือปฏิฆะ(ความกระทบ) แห่งใจในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาบ้างไหม’
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตโดยทางใด เราได้
เที่ยวบิณฑบาตในประเทศใด และเรากลับจากบิณฑบาตจากบ้านโดยทางใด ในที่นั้น
เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือปฏิฆะแห่งใจในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาอยู่’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตโดยทางใด
เราได้เที่ยวบิณฑบาตในประเทศใด และเรากลับจากบิณฑบาตจากบ้านโดยทางใด
ในที่นั้น เราไม่มีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือปฏิฆะแห่งใจในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา’
สารีบุตร ภิกษุนั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน
อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นแล
[๔๓๙] สารีบุตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเข้า
บ้านเพื่อบิณฑบาตโดยทางใด เราได้เที่ยวบิณฑบาตในประเทศใด และเรากลับ
จากบิณฑบาตจากบ้านโดยทางใด ในที่นั้น ๆ เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะใน
เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูบ้างไหม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะในกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกบ้างไหม
เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นบ้างไหม
เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะในโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายบ้างไหม
เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะหรือปฏิฆะแห่งใจในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง
ทางใจบ้างไหม’
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตโดยทางใด เราได้
เที่ยวบิณฑบาตในประเทศใด และเรากลับจากบิณฑบาตจากบ้านโดยทางใด ในที่นั้น
เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะหรือปฏิฆะแห่งใจในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมนั้น
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตโดยทางใด เรา
ได้เที่ยวบิณฑบาตในประเทศใด และเรากลับจากบิณฑบาตจากบ้านโดยทางใด ใน
ที่นั้น เราไม่มีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือปฏิฆะแห่งใจในธรรมารมณ์ที่พึงรู้
แจ้งทางใจ’
สารีบุตร ภิกษุนั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน
อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นแล
[๔๔๐] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราละกามคุณ ๕
ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังละกามคุณ ๕ ไม่ได้’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อละกามคุณ ๕
แต่ถ้าภิกษุนั้นพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราละกามคุณ ๕ ได้แล้ว‘ ภิกษุนั้น
พึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[๔๔๑] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราละนิวรณ์ ๕ ได้
แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังละนิวรณ์ ๕ ไม่ได้’ ภิกษุ
นั้นพึงพยายามเพื่อละนิวรณ์ ๕
แต่ถ้าภิกษุนั้นพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราละนิวรณ์ ๕ ได้แล้ว’ ภิกษุนั้นพึง
ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์
นั้นแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
[๔๔๒] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เรากำหนดรู้
อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังกำหนดรู้
อุปาทานขันธ์ ๕ ไม่ได้’ ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อกำหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรากำหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แล้ว’
ภิกษุนั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[๔๔๓] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญสติปัฏฐาน ๔
ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญสติปัฏฐาน ๔ ไม่ได้’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔
แต่ถ้าภิกษุนั้นพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้แล้ว’
ภิกษุนั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[๔๔๔] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญสัมมัปปธาน ๔
ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญสัมมัปปธาน ๔ ไม่ได้’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อเจริญสัมมัปปธาน ๔
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญสัมมัปปธาน ๔ ได้แล้ว’ ภิกษุ
นั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[๔๔๕] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญอิทธิบาท ๔
ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญอิทธิบาท ๔ ไม่ได้’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อเจริญอิทธิบาท ๔
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญอิทธิบาท ๔ ได้แล้ว’ ภิกษุนั้น
พึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
[๔๔๖] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญอินทรีย์ ๕
ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญอินทรีย์ ๕ ไม่ได้’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อเจริญอินทรีย์ ๕
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญอินทรีย์ ๕ ได้แล้ว’ ภิกษุนั้น
พึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติปราโมทย์นั้นแล
[๔๔๗] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญพละ ๕ ได้
แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญพละ ๕ ไม่ได้’ ภิกษุ
นั้นพึงพยายามเพื่อเจริญพละ ๕
แต่ถ้าภิกษุนั้นพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญพละ ๕ ได้แล้ว’ ภิกษุนั้น
พึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[๔๔๘] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญโพชฌงค์ ๗
ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญโพชฌงค์ ๗ ไม่ได้’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อเจริญโพชฌงค์ ๗
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญโพชฌงค์ ๗ ได้แล้ว’ ภิกษุนั้น
พึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[๔๔๙] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญอริยมรรคมี
องค์ ๘ ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญอริยมรรค
มีองค์ ๘ ไม่ได้’ ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แล้ว’
ภิกษุนั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
[๔๕๐] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญสมถะและ
วิปัสสนาได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญสมถะและ
วิปัสสนาไม่ได้’ ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อเจริญสมถะและวิปัสสนา
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญสมถะและวิปัสสนาได้แล้ว’
ภิกษุนั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[๔๕๑] สารีบุตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราทำ
วิชชาและวิมุตติให้แจ้งได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังทำ
วิชชาและวิมุตติให้แจ้งไม่ได้’ ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อทำวิชชาและวิมุตติให้แจ้ง
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราทำวิชชาและวิมุตติให้แจ้งได้แล้ว’
ภิกษุนั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[๔๕๒] สารีบุตร ก็ในอดีต สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้ทำ
บิณฑบาตให้บริสุทธิ์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดก็ได้พิจารณาแล้ว ๆ
อย่างนี้ จึงทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ ในอนาคต สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งจักทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดก็
จักพิจารณาแล้ว ๆ อย่างนี้ จึงทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ ในบัดนี้ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ทั้งหมดย่อมพิจารณาแล้ว ๆ อย่างนี้ จึงทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ เพราะฉะนั้น
เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราพิจารณาแล้ว ๆ จักทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์’
สารีบุตร เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรมีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑๐. อินทริยภาวนาสูตร

๑๐. อินทริยภาวนาสูตร
ว่าด้วยการเจริญอินทรีย์
[๔๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เวฬุวัน๑ กัชชังคลานิคม ครั้งนั้นแล
อุตตรมาณพ ศิษย์ของปาราสิริยพราหมณ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ทูลสนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอุตตรมาณพ ศิษย์ของปาราสิริยพราหมณ์ว่า
“อุตตระ ปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกหรือไม่”
อุตตรมาณพกราบทูลว่า “แสดง ขอรับ”
“แสดงอย่างไร”
“พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ท่านปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์
แก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘สาวกของเราอย่าดูรูปทางตา อย่าฟังเสียงทางหู’
ดังนี้เป็นต้น ขอรับ”
“อุตตระ เมื่อเป็นเช่นนั้น สาวกผู้เจริญอินทรีย์แล้วตามคำของปาราสิริยพราหมณ์
ก็จักเป็นคนตาบอด เป็นคนหูหนวกแน่นอน เพราะคนตาบอดย่อมไม่เห็นรูปทางตา
คนหูหนวกย่อมไม่ได้ยินเสียงทางหู”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อุตตรมาณพศิษย์ของปาราสิริยพราหมณ์
ก็นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นว่า อุตตรมาณพศิษย์ของปาราสิริยพราหมณ์
นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงรับสั่งเรียกท่านพระ
อานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ ปาราสิริยพราหมณ์ย่อมแสดงการเจริญอินทรีย์แก่
สาวกทั้งหลายเป็นอย่างหนึ่ง แต่การเจริญอินทรีย์อันยอดเยี่ยมในอริยวินัยเป็น
อย่างหนึ่ง”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑๐. อินทริยภาวนาสูตร
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลสมควรแล้ว
ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลสมควรแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคพึงแสดงการเจริญ
อินทรีย์อันยอดเยี่ยมในอริยวินัย ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จัก
ทรงจำไว้”
“อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรื่องนี้ว่า
[๔๕๔] “การเจริญอินทรีย์อันยอดเยี่ยมในอริยวินัย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว จึงเกิดความชอบใจ เกิดความ
ไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจนี้
แล้ว ความชอบใจเป็นต้นนั้นถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต คือ อุเบกขา’ ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ
ความชอบใจและความไม่ชอบใจนั้น ที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้นจึงดับไป อุเบกขา
ย่อมดำรงมั่น เปรียบเหมือนบุรุษมีตาดีกระพริบตา แม้ฉันใด ความชอบใจ
ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมดับไปอย่างเร็วพลันทันที โดยไม่ยากอย่างนี้ อุเบกขาย่อม
ดำรงมั่น
อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาอันยอดเยี่ยม
ในอริยวินัย
[๔๕๕] อานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุได้ยินเสียงทางหูแล้วจึงเกิดความ
ชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ ภิกษุนั้น
รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจ
และความไม่ชอบใจนี้แล้ว ความชอบใจเป็นต้นนั้นถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ
อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต คือ อุเบกขา’ ความชอบใจ
ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจนั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้นจึงดับไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑๐. อินทริยภาวนาสูตร
อุเบกขาย่อมดำรงมั่น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังดีดนิ้วมือได้โดยไม่ยาก แม้ฉันใด
ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจอันเกิดขึ้นแล้วแก่
ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมดับไปอย่างเร็วพลันทันที โดยไม่ยาก
อย่างนี้
อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูอันยอดเยี่ยม
ในอริยวินัย
[๔๕๖] อีกประการหนึ่ง ภิกษุดมกลิ่นทางจมูกแล้วจึงเกิดความชอบใจ เกิด
ความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจทั้งความไม่ชอบใจ ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่
ชอบใจนี้แล้ว ความชอบใจเป็นต้นนั้นถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยกัน
และกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต คือ อุเบกขา’ ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ
ความชอบใจและความไม่ชอบใจนั้น ที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้นจึงดับไป อุเบกขา
ย่อมดำรงมั่น เปรียบเหมือนหยาดน้ำกลิ้งไปบนใบบัวที่เอียงนิดหน่อย ย่อมไม่ติดอยู่
แม้ฉันใด ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจอันเกิด
ขึ้นแล้วแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมดับไปอย่างเร็วพลันทันที โดย
ไม่ยากอย่างนี้ อุเบกขาย่อมดำรงมั่น
อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกอันยอด
เยี่ยมในอริยวินัย
[๔๕๗] อีกประการหนึ่ง ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้วจึงเกิดความชอบใจ เกิด
ความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่
ชอบใจนี้แล้ว ความชอบใจเป็นต้นนั้นถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยกัน
และกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต คือ อุเบกขา’ ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ
ความชอบใจและความไม่ชอบใจนั้น ที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้นจึงดับไป อุเบกขา
ย่อมดำรงมั่น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังตะล่อมก้อนเขฬะไว้ที่ปลายลิ้น แล้วถ่ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑๐. อินทริยภาวนาสูตร
ไปโดยไม่ยาก แม้ฉันใด ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่
ชอบใจอันเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมดับไปอย่างเร็ว
พลันทันที โดยไม่ยากอย่างนี้ อุเบกขาย่อมดำรงมั่น
อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นอันยอดเยี่ยม
ในอริยวินัย
[๔๕๘] อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้วจึงเกิดความ
ชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ ภิกษุนั้น
รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจ
และความไม่ชอบใจนี้แล้ว ความชอบใจเป็นต้นนั้นถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ
อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต คือ อุเบกขา’ ความชอบใจ
ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจนั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้นจึงดับไป
อุเบกขาย่อมดำรงมั่น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า แม้
ฉันใด ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจอันเกิดขึ้น
แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมดับไปอย่างเร็วพลันทันที โดยไม่ยาก
อย่างนี้ อุเบกขาย่อมดำรงมั่น
อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย
อันยอดเยี่ยมในอริยวินัย
[๔๕๙] อานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วจึงเกิด
ความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิด
ทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจนี้แล้ว ความชอบใจเป็นต้นนั้นถูกปัจจัยปรุงแต่ง
เป็นของหยาบ อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต คือ อุเบกขา’
ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจนั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่
ภิกษุนั้นจึงดับไป อุเบกขาย่อมดำรงมั่น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เอาหยดน้ำ ๒
หยด หรือ ๓ หยดใส่ลงในกะทะเหล็กที่ร้อนจัดตลอดวัน น้ำที่หยดลงยังช้าไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑๐. อินทริยภาวนาสูตร
ที่แท้หยดน้ำนั้นจะระเหยแห้งไปเร็วพลันทันที แม้ฉันใด ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ
ความชอบใจและความไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมดับไปอย่างเร็วพลันทันที โดยไม่ยากอย่างนี้ อุเบกขาย่อม
ดำรงมั่น
อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจอัน
ยอดเยี่ยมในอริยวินัย
อานนท์ การเจริญอินทรีย์อันยอดเยี่ยมในอริยวินัย เป็นอย่างนี้แล
[๔๖๐] พระเสขะผู้กำลังปฏิบัติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว จึงเกิดความชอบใจ เกิดความ
ไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ เพราะความชอบใจ ความ
ไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ภิกษุนั้นจึงอึดอัด
เบื่อหน่าย รังเกียจ
ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว จึงเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และ
เกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ เพราะความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความ
ชอบใจและความไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ภิกษุนั้นจึงอึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจ
อานนท์ พระเสขะผู้กำลังปฏิบัติ เป็นอย่างนี้แล
[๔๖๑] พระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว จึงเกิดความชอบใจ เกิดความ
ไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ ถ้าเธอหวังว่า ‘เราพึงมี
ความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่‘๑ ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูล
นั้นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑๐. อินทริยภาวนาสูตร
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่’ ก็มี
ความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่๑
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่
ไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่
ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูล
อยู่
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น แล้วมีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่
ไม่ปฏิกูลนั้นอยู่๒
[๔๖๒] อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ภิกษุดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ภิกษุถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว จึงเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ
และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ ถ้าเธอยังหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้
ในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่
ไม่ปฏิกูลอยู่
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่’ ก็มี
ความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่
ไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ไม่
ปฏิกูลอยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่ง
ที่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูล
อยู่
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น แล้วมีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่
ไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
อานนท์ พระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว เป็นอย่างนี้แล
[๔๖๓] อานนท์ เราแสดงการเจริญอินทรีย์อันยอดเยี่ยมในอริยวินัยไว้แล้ว
แสดงพระเสขะผู้กำลังปฏิบัติไว้แล้ว แสดงพระอริยะผู้เจริญอินทรีย์ไว้แล้ว ด้วย
ประการอย่างนี้ กิจที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัยความ
อนุเคราะห์แล้วพึงทำแก่สาวกทั้งหลายได้ เราก็ได้ทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว
อานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท
อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
อินทริยภาวนาสูตรที่ ๑๐ จบ
สฬายตนวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร ๒. ฉันโนวาทสูตร
๓. ปุณโณวาทสูตร ๔. นันทโกวาทสูตร
๕. จูฬราหุโลวาทสูตร ๖. ฉฉักกสูตร
๗. สฬายตนวิภังคสูตร ๘. นครวินเทยยสูตร
๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร ๑๐. อินทริยภาวนาสูตร

อุปริปัณณาสก์ จบ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๐๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น