Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๕-๑ หน้า ๑ - ๖๖

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕-๑ สุตตันตปิฎกที่ ๐๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค



พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๑. นฬวรรค ๑. โอฆตรณสูตร

พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. เทวตาสังยุต
๑. นฬวรรค
หมวดว่าด้วยต้นอ้อ
๑. โอฆตรณสูตร
ว่าด้วยการข้ามโอฆะ
[๑] ข้าพเจ้า๑ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป๒ เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะ
งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร๓ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์ทรงข้ามโอฆะ๔ ได้อย่างไร”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๑. นฬวรรค ๑. โอฆตรณสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้มีอายุ เราเองเมื่อไม่พัก๑ ไม่เพียร๒ จึงข้าม
โอฆะได้”
เทวดาทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็พระองค์เมื่อไม่พักไม่เพียรทรง
ข้ามโอฆะได้อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้มีอายุ เมื่อใดเรานั้นยังพักอยู่ เมื่อนั้นเราก็
ยังจมอยู่ เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้นเราก็ยังลอยอยู่แน่นอน เราไม่พักไม่เพียร
อย่างนี้แล จึงข้ามโอฆะได้”
เทวดานั้นได้กล่าวคาถานี้ว่า
นานจริงหนอ ข้าพเจ้าจึงได้พบพราหมณ์
ผู้ดับกิเลสได้สิ้นแล้ว ผู้ไม่พักไม่เพียรอยู่
ก็ข้ามตัณหาอันเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในโลก๓ได้
เทวดานั้นได้กล่าวคาถานี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัยแล้ว ครั้งนั้น เทวดา
คิดว่า “พระศาสดาของเราทรงพอพระทัยแล้ว” จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
กระทำประทักษิณ๔แล้วหายตัวไป๕ ณ ที่นั้นเอง
โอฆตรณสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๑. นฬวรรค ๒. นิโมกขสูตร

๒. นิโมกขสูตร
ว่าด้วยทางหลุดพ้น
[๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้
สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์
ทรงทราบนิโมกข์(ทางหลุดพ้น) ปโมกข์(ความหลุดพ้น) และวิเวก(ความสงัด)๑ของ
สัตว์ทั้งหลายหรือไม่”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้มีอายุ เราทราบนิโมกข์ ปโมกข์ และวิเวก
ของสัตว์ทั้งหลาย”
เทวดาทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์ทรงทราบนิโมกข์ ปโมกข์
และวิเวกของสัตว์ทั้งหลายอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ผู้มีอายุ เพราะความสิ้นไปแห่งภพ
อันมีความเพลิดเพลินเป็นมูล
เพราะความสิ้นไปแห่งสัญญาและวิญญาณ
เพราะความดับ เพราะความสงบแห่งเวทนาทั้งหลาย
เราจึงทราบนิโมกข์ ปโมกข์ และวิเวกของสัตว์ทั้งหลาย อย่างนี้แล
นิโมกขสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๑. นฬวรรค ๓. อุปนียสูตร

๓. อุปนียสูตร
ว่าด้วยชีวิตถูกชรานำเข้าไป
[๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ชีวิตถูกชรานำเข้าไป อายุจึงสั้น
ผู้ที่ถูกชรานำเข้าไปแล้วไม่มีเครื่องต้านทาน
บุคคลพิจารณาเห็นภัยนี้ในมรณะ
ควรทำบุญที่นำความสุขมาให้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ชีวิตถูกชรานำเข้าไป อายุจึงสั้น
ผู้ที่ถูกชรานำเข้าไปแล้วไม่มีเครื่องต้านทาน
บุคคลพิจารณาเห็นภัยนี้ในมรณะ
ควรละโลกามิส มุ่งสู่สันติ๑เถิด
อุปนียสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๑. นฬวรรค ๔. อัจเจนติสูตร

๔. อัจเจนติสูตร
ว่าด้วยกาลที่ล่วงเลยไป
[๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
กาล๑ล่วงเลยไป คืนผ่านพ้นไป
ช่วงแห่งวัย๒ละไปตามลำดับ
บุคคลพิจารณาเห็นภัยนี้ในมรณะ
ควรทำบุญที่นำความสุขมาให้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
กาลล่วงเลยไป คืนผ่านพ้นไป
ช่วงแห่งวัยละไปตามลำดับ
บุคคลพิจารณาเห็นภัยนี้ในมรณะ
ควรละโลกามิส มุ่งสู่สันติเถิด๓
อัจเจนติสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๑. นฬวรรค ๕. กติฉินทสูตร

๕. กติฉินทสูตร
ว่าด้วยบุคคลตัดอะไรจึงข้ามโอฆะได้
[๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลควรตัดธรรมเท่าไร
ควรละธรรมเท่าไร
ควรบำเพ็ญธรรมเท่าไรให้ยิ่งขึ้นไป
ภิกษุก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องเท่าไร
พระองค์จึงตรัสว่า ข้ามโอฆะได้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุคคลควรตัดธรรม ๕ ประการ๑
ควรละธรรม ๕ ประการ๒
ควรเจริญธรรม ๕ ประการ๓ ให้ยิ่งขึ้นไป
ภิกษุก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง ๕ ประการ๔ได้แล้ว
เราจึงกล่าวว่า ข้ามโอฆะได้๕
กติฉินทสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๑. นฬวรรค ๗. อัปปฏิวิทิตสูตร

๖. ชาครสูตร
ว่าด้วยความตื่น
[๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
เมื่อธรรมทั้งหลายตื่นอยู่ ธรรมประเภทไหนชื่อว่าหลับอยู่
เมื่อธรรมทั้งหลายหลับแล้ว ธรรมประเภทไหนชื่อว่าตื่นอยู่
บุคคลหมักหมมธุลีคือกิเลสเพราะธรรมประเภทไหน
บุคคลบริสุทธิ์เพราะธรรมประเภทไหน
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เมื่ออินทรีย์ ๕ ตื่นอยู่ นิวรณ์ ๕ ชื่อว่าหลับอยู่
เมื่อนิวรณ์ ๕ หลับแล้ว อินทรีย์ ๕ ชื่อว่าตื่นอยู่
บุคคลหมักหมมธุลีคือกิเลสเพราะนิวรณ์ ๕
บุคคลบริสุทธิ์เพราะอินทรีย์ ๕
ชาครสูตรที่ ๖ จบ

๗. อัปปฏิวิทิตสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่รู้แจ้งธรรม
[๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลเหล่าใดยังไม่รู้แจ้งธรรม๑
ย่อมถูกชักนำไปในวาทะของคนเหล่าอื่น๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๑. นฬวรรค ๘. สุสัมมุฏฐสูตร
บุคคลเหล่านั้นหลับอยู่ยังไม่ตื่น
บัดนี้เป็นกาลที่บุคคลเหล่านั้นควรจะตื่น
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุคคลเหล่าใดรู้แจ้งธรรมแล้ว
ย่อมไม่ถูกชักนำไปในวาทะของคนเหล่าอื่น
บุคคลเหล่านั้นผู้รู้ดี รู้ชอบ
ย่อมดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอในที่ที่ไม่สม่ำเสมอ๑
อัปปฏิวิทิตสูตรที่ ๗ จบ

๘. สุสัมมุฏฐสูตร
ว่าด้วยผู้ลืมเลือนธรรม
[๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลผู้ลืมเลือนธรรม
ย่อมถูกชักนำไปในวาทะของคนเหล่าอื่น
บุคคลเหล่านั้นหลับอยู่ยังไม่ตื่น
บัดนี้เป็นกาลที่บุคคลเหล่านั้นควรจะตื่น
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุคคลผู้ไม่ลืมเลือนธรรม
ย่อมไม่ถูกชักนำไปในวาทะของคนเหล่าอื่น
บุคคลเหล่านั้นผู้รู้ดี รู้ชอบ
ย่อมดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอในที่ที่ไม่สม่ำเสมอ
สุสัมมุฏฐสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๑. นฬวรรค ๙. มานกามสูตร

๙. มานกามสูตร
ว่าด้วยผู้มีมานะ
[๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลในโลกนี้ผู้มีมานะ(ความถือตัว)
ย่อมไม่มีการฝึกตนเอง
บุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคงย่อมไม่มีความรู้๑
บุคคลผู้ไม่ประมาทอยู่ในป่าคนเดียว
ก็ไม่ถึงจุดจบแห่งความตาย๒
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุคคลละมานะได้แล้ว มีใจมั่นคงดี
มีใจดี หลุดพ้นในธรรมทั้งปวง๓
เขาไม่ประมาท อยู่ในป่าคนเดียว
ก็ถึงจุดจบแห่งความตายได้
มานกามสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๑. นฬวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. อรัญญสูตร
ว่าด้วยป่า
[๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในป่า ผู้สงบ
ประพฤติธรรมอันประเสริฐ ฉันอาหารมื้อเดียว
เพราะเหตุอะไร ผิวพรรณจึงผ่องใส
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ภิกษุทั้งหลายไม่เศร้าโศกถึงอดีต
ไม่คิดถึงอนาคต กำหนดอยู่กับปัจจุบัน
เพราะเหตุนั้น ผิวพรรณจึงผ่องใส
เพราะคิดถึงอนาคต เศร้าโศกถึงอดีต
ด้วยเหตุนี้ ภิกษุทั้งหลายผู้เขลาจึงซูบซีด
เหมือนต้นอ้อสดที่ถูกถอนขึ้นแล้ว ฉะนั้น
อรัญญสูตรที่ ๑๐ จบ
นฬวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆตรณสูตร ๒. นิโมกขสูตร
๓. อุปนียสูตร ๔. อัจเจนติสูตร
๕. กติฉินทสูตร ๖. ชาครสูตร
๗. อัปปฏิวิทิตสูตร ๘. สุสัมมุฏฐสูตร
๙. มานกามสูตร ๑๐. อรัญญสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๑. นันทนสูตร

๒. นันทนวรรค
หมวดว่าด้วยสวนนันทนวัน
๑. นันทนสูตร
ว่าด้วยสวนนันทนวัน
[๑๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว เทวดาชั้นดาวดึงส์องค์หนึ่งมีเหล่านางอัปสร
แวดล้อม เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ ได้รับการบำรุงบำเรออยู่
ในสวนนันทนวัน ในเวลานั้น ได้กล่าวคาถานี้ว่า
เทวดาเหล่าใดยังไม่เคยเห็นสวนนันทนวัน
อันเป็นที่อยู่ของพวกนรเทพผู้มียศ ชั้นไตรทศ
เทวดาเหล่านั้นยังไม่รู้จักความสุข
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเทวดาองค์หนึ่งกล่าวอย่างนี้แล้ว อีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถา
ตอบเทวดานั้นว่า
เทวดาผู้เขลา ท่านไม่รู้จักถ้อยคำ
ของพระอรหันต์ทั้งหลายว่า สังขาร๑ทั้งปวง ไม่เที่ยง
มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ความสงบระงับสังขารเหล่านั้นเป็นความสุข
นันทนสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๒. นันทติสูตร

๒. นันทติสูตร
ว่าด้วยความยินดี
[๑๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
คนมีบุตรย่อมยินดีเพราะบุตร
คนมีโคย่อมยินดีเพราะโคเหมือนกัน
เพราะอุปธิ๑ทำให้นรชนยินดี
ฉะนั้นคนที่ไร้อุปธิจึงไม่ยินดี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
คนมีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตร
คนมีโคย่อมเศร้าโศกเพราะโคเหมือนกัน
เพราะอุปธิทำให้นรชนเศร้าโศก
ฉะนั้นคนที่ไร้อุปธิจึงไม่เศร้าโศก
นันทติสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๔. ขัตติยสูตร

๓. นัตถิปุตตสมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เสมอด้วยบุตรไม่มี
[๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ความรักเสมอด้วยบุตรไม่มี
ทรัพย์เสมอด้วยโคไม่มี
แสงสว่างเสมอด้วยดวงอาทิตย์ไม่มี
แหล่งน้ำทั้งหลายมีสมุทรเป็นยอดเยี่ยม
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ความรักเสมอด้วยตนไม่มี
ทรัพย์เสมอด้วยข้าวเปลือกไม่มี
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี
ฝนจัดเป็นแหล่งน้ำอันยอดเยี่ยม
นัตถิปุตตสมสูตรที่ ๓ จบ

๔. ขัตติยสูตร
ว่าด้วยกษัตริย์
[๑๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บรรดาสัตว์สองเท้า กษัตริย์ประเสริฐที่สุด
บรรดาสัตว์สี่เท้า โคพลิพัทประเสริฐที่สุด
บรรดาภรรยา ภรรยาที่เป็นกุมารีประเสริฐที่สุด
บรรดาบุตร บุตรที่เกิดก่อนประเสริฐที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๕. สณมานสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บรรดาสัตว์สองเท้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเสริฐที่สุด
บรรดาสัตว์สี่เท้า สัตว์อาชาไนยประเสริฐที่สุด
บรรดาภรรยา ภรรยาผู้เชื่อฟังดีประเสริฐที่สุด
บรรดาบุตร บุตรผู้เชื่อฟังประเสริฐที่สุด
ขัตติยสูตรที่ ๔ จบ

๕. สณมานสูตร
ว่าด้วยเสียงป่าครวญ
[๑๕] เทวดากล่าวว่า
เมื่อฝูงนกพากันพักร้อนอยู่ในเวลาเที่ยงวัน
ป่าใหญ่ส่งเสียงประหนึ่งว่าครวญครางอยู่
เสียงครวญครางแห่งป่าใหญ่นั้น
ปรากฏเป็นสิ่งที่น่ากลัวแก่ข้าพเจ้า๑
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เมื่อฝูงนกพากันพักร้อนอยู่ในเวลาเที่ยงวัน
ป่าใหญ่ส่งเสียงประหนึ่งว่าครวญครางอยู่
เสียงครวญครางแห่งป่าใหญ่นั้น
ปรากฏเป็นสิ่งที่น่ายินดีแก่เรา๑
สณมานสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๗. ทุกกรสูตร

๖. นิททาตันทิสูตร
ว่าด้วยความหลับและความเกียจคร้าน
[๑๖] เทวดากล่าวว่า
อริยมรรค๑ ไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ในโลกนี้
เพราะความหลับ ความเกียจคร้าน การบิดกาย
ความไม่ยินดีและความเมาอาหาร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เพราะใช้ความเพียรกำจัดความหลับ
ความเกียจคร้าน การบิดกาย
ความไม่ยินดีและความเมาอาหารนั้น
อริยมรรค๒จึงบริสุทธิ์ได้
นิททาตันทิสูตรที่ ๖ จบ
๗. ทุกกรสูตร
ว่าด้วยสมณธรรมที่ทำได้ยาก
[๑๗] เทวดากล่าวว่า
สมณธรรม คนไม่ฉลาดทำได้ยาก อดทนได้ยาก
เพราะสมณธรรมนั้นมีความคับแคบมาก
สำหรับคนพาลที่อาศัยอยู่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๘. หิริสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
คนพาลประพฤติสมณธรรมเป็นเวลานาน
หากไม่ห้ามจิต เขาตกอยู่ในอำนาจแห่งความดำริ
ก็จะพึงติดขัดในทุกบท๑
หากภิกษุยับยั้งความวิตกในใจไว้ได้
เหมือนเต่าหดอวัยวะไว้ในกระดองของตน
ก็จะไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย ไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น
ดับสนิทแล้ว ไม่พึงว่าร้ายใคร
ทุกกรสูตรที่ ๗ จบ

๘. หิริสูตร
ว่าด้วยหิริ
[๑๘] เทวดากล่าวว่า
คนผู้กีดกัน(อกุศลธรรม)ได้ด้วยหิริ มีอยู่น้อยในโลก
ภิกษุใดหลบหลีกนินทาได้ ตื่นตัวอยู่
เหมือนม้าชั้นดีหลบแส้ได้
ภิกษุเช่นนั้นมีอยู่น้อย๒
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ภิกษุเหล่าใดผู้กีดกัน(อกุศลธรรม)ได้ด้วยหิริ
มีสติ ประพฤติธรรมอยู่ทุกเมื่อ ถึงที่สุดแห่งทุกข์๓
ย่อมดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอในที่ที่ไม่สม่ำเสมอ
ภิกษุเหล่านั้นมีอยู่น้อย
หิริสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๙. กุฏิกาสูตร

๙. กุฏิกาสูตร
ว่าด้วยกระท่อม
[๑๙] เทวดาทูลถามว่า
ท่านไม่มีกระท่อมหรือ
ท่านไม่มีรังหรือ
ท่านไม่มีผู้สืบสกุลหรือ
ท่านเป็นผู้หลุดพ้นจากเครื่องผูกแล้วหรือ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
แน่นอน เราไม่มีกระท่อม
แน่นอน เราไม่มีรัง
แน่นอน เราไม่มีผู้สืบสกุล
แน่นอน เราเป็นผู้หลุดพ้นจากเครื่องผูกแล้ว
เทวดาทูลถามว่า
กระท่อมที่ข้าพเจ้ากล่าวกับท่าน คืออะไร
รังที่ข้าพเจ้ากล่าวกับท่าน คืออะไร
ผู้สืบสกุลที่ข้าพเจ้ากล่าวกับท่าน คืออะไร
เครื่องผูกที่ข้าพเจ้ากล่าวกับท่าน คืออะไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
กระท่อมที่ท่านกล่าวกับเรา คือมารดา
รังที่ท่านกล่าวกับเรา คือภรรยา
ผู้สืบสกุลที่ท่านกล่าวกับเรา คือบุตร
เครื่องผูกที่ท่านกล่าวกับเรา คือตัณหา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๑๐. สมิทธิสูตร
เทวดากล่าวว่า
ดีจริง ท่านไม่มีกระท่อม
ดีจริง ท่านไม่มีรัง
ดีจริง ท่านไม่มีผู้สืบสกุล
ดีจริง ท่านเป็นผู้หลุดพ้นจากเครื่องผูกแล้ว
กุฏิกาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สมิทธิสูตร
ว่าด้วยพระสมิทธิ
[๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตโปทาราม เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น
ท่านพระสมิทธิลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ไปที่แม่น้ำตโปทาเพื่อสรงน้ำ เสร็จแล้วขึ้นมา มีจีวร
ผืนเดียว๑ได้ยืนรอให้ตัวแห้งอยู่ ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะงดงาม
ยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วแม่น้ำตโปทา เข้าไปหาท่านพระสมิทธิถึงที่อยู่แล้วยืนอยู่
ในอากาศได้กล่าวกับท่านพระสมิทธิด้วยคาถาว่า
ภิกษุ ท่านไม่บริโภคแต่ยังขออยู่
ท่านบริโภคแล้วก็ต้องไม่ขอเลย
ภิกษุ ท่านบริโภคแล้วจงขอเถิด
กาล๒อย่าได้ล่วงท่านไปเลย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๑๐. สมิทธิสูตร
ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า
ข้าพเจ้ายังไม่รู้จักกาลเลย
เพราะกาลถูกปกปิดอยู่ยังไม่ปรากฏ
ฉะนั้น ถึงข้าพเจ้าไม่บริโภคแต่ก็ยังขออยู่
กาล๑อย่าได้ล่วงข้าพเจ้าไปเลย
ครั้งนั้น เทวดานั้นลงมายืนอยู่ที่พื้นดินแล้วได้กล่าวกับท่านพระสมิทธิว่า
“ภิกษุ ท่านเป็นนักบวชที่ยังหนุ่มแน่นมีผมดำสนิท อยู่ในวัยแรกรุ่นอันเจริญ
ไม่เพลิดเพลินในกามทั้งหลาย ขอท่านจงบริโภคกามทั้งหลายอันเป็นของมนุษย์เถิด
อย่าละกามที่เห็นเฉพาะหน้าแล้ววิ่งไปหากามอันมีอยู่ตามกาล๒เลย”
ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า “เทวดา ข้าพเจ้ามิได้ละกามที่เห็นเฉพาะหน้าแล้ววิ่ง
ไปหากามอันมีอยู่ตามกาลเลย ข้าพเจ้าละกามอันมีอยู่ตามกาลแล้ววิ่งไปหาธรรม
ที่เห็นเฉพาะหน้า กามทั้งหลายอันมีอยู่ตามกาลพระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษยิ่งนัก ธรรมนี้เป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน
พึงรู้เฉพาะตน”
เทวดากล่าวว่า “ภิกษุ ก็กามทั้งหลายอันมีอยู่ตามกาลพระผู้มีพระภาคตรัสว่า
มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษยิ่งนัก เป็นอย่างไร ธรรมนี้เป็นธรรม
ที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน เป็นอย่างไร”
ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า “เทวดา ข้าพเจ้าเองเป็นพระใหม่ บวชมาไม่นาน
เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้าไม่อาจจะบอกท่านโดยพิสดารได้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ ตโปทาราม เขต
กรุงราชคฤห์ ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามข้อความนั้นเถิด พึงจำ
ข้อความนั้นตามที่พระองค์ทรงเฉลยเถิด”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๑๐. สมิทธิสูตร
เทวดากล่าวว่า “ภิกษุ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พวกเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่
ทั้งหลายเหล่าอื่นแวดล้อมอยู่ พวกข้าพเจ้าจะเข้าไปเฝ้าไม่ได้ง่ายนัก หากท่านเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้ แม้พวกข้าพเจ้าก็จะมาฟังธรรมด้วย”
ท่านพระสมิทธิรับคำของเทวดานั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ไปที่แม่น้ำตโปทา
เพื่อสรงน้ำ เสร็จแล้วขึ้นมา มีจีวรผืนเดียวได้ยืนรอให้ตัวแห้งอยู่ ครั้นเมื่อราตรี
ผ่านไป เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วแม่น้ำตโปทา
เข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่แล้วยืนอยู่ในอากาศ ได้กล่าวคาถานี้ว่า
ภิกษุ ท่านไม่บริโภคแต่ยังขออยู่
ท่านบริโภคแล้วก็ต้องไม่ขอเลย
ภิกษุ ท่านบริโภคแล้วจงขอเถิด
กาลอย่าได้ล่วงท่านไปเลย
เมื่อเทวดากล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกับเทวดานั้นด้วยคาถาว่า
ข้าพเจ้ายังไม่รู้จักกาลเลย
เพราะกาลถูกปกปิดอยู่ยังไม่ปรากฏ
ฉะนั้น ถึงข้าพเจ้าไม่บริโภคแต่ก็ยังขออยู่
กาลอย่าได้ล่วงข้าพเจ้าไปเลย
ครั้งนั้น เทวดานั้นลงมายืนอยู่ที่พื้นดินแล้วได้กล่าวกับข้าพระองค์ดังนี้ว่า
“ภิกษุ ท่านเป็นนักบวชที่ยังหนุ่มแน่นมีผมดำสนิท อยู่ในวัยแรกรุ่นอันเจริญ
ไม่เพลิดเพลินในกามทั้งหลาย ขอท่านจงบริโภคกามทั้งหลายอันเป็นของมนุษย์เถิด
อย่าละกามที่เห็นเฉพาะหน้าแล้ววิ่งไปหากามอันมีอยู่ตามกาลเลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๑๐. สมิทธิสูตร
เมื่อเทวดานั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์จึงได้กล่าวกับเทวดานั้นดังนี้ว่า
“เทวดา ข้าพเจ้ามิได้ละกามที่เห็นเฉพาะหน้าแล้ววิ่งไปหากามอันมีอยู่ตามกาลเลย
ข้าพเจ้าละกามอันมีอยู่ตามกาลแล้ววิ่งไปหาธรรมที่เห็นเฉพาะหน้า กามทั้งหลาย
อันมีอยู่ตามกาลพระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้
มีโทษยิ่งนัก ธรรมนี้เป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”
เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว เทวดานั้นได้กล่าวกับข้าพระองค์ดังนี้ว่า
“ภิกษุ ก็กามทั้งหลายอันมีอยู่ตามกาลพระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษยิ่งนัก เป็นอย่างไร ธรรมนี้เป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึง
เห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน เป็นอย่างไร”
เมื่อเทวดากล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกับเทวดานั้นดังนี้ว่า “เทวดา
ข้าพเจ้าเองเป็นพระใหม่ บวชมาไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้าไม่อาจจะ
บอกท่านโดยพิสดารได้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ประทับอยู่ ณ ตโปทาราม เขตกรุงราชคฤห์ ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
แล้วทูลถามข้อความนั้นเถิด พึงจำข้อความนั้นตามที่พระองค์ทรงเฉลยเถิด”
เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว เทวดานั้นได้กล่าวกับข้าพระองค์ดังนี้ว่า
“ภิกษุ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พวกเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ทั้งหลายเหล่าอื่น
แวดล้อมอยู่ พวกข้าพเจ้าจะเข้าไปเฝ้าไม่ได้ง่ายนัก หากท่านเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคแล้วทูลถามข้อความนี้แทน แม้พวกข้าพเจ้าก็จะมาฟังธรรมด้วย ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ถ้าคำของเทวดานั้นเป็นจริง เทวดานั้นก็พึงมาใกล้ตโปทารามนี้”
เมื่อท่านพระสมิทธิกราบทูลอย่างนี้แล้ว เทวดานั้นได้กล่าวกับท่านพระสมิทธิ
ดังนี้ว่า “ทูลถามเถิด ทูลถามเถิด ภิกษุ ข้าพเจ้าตามมาถึงที่นี้แล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๑๐. สมิทธิสูตร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสบอกเทวดานั้น ด้วยคาถาทั้งหลายว่า
สัตว์ทั้งหลายมีความหมายรู้ในสิ่งที่เรียกขาน๑
ติดอยู่ในสิ่งที่เรียกขาน๒
ไม่กำหนดรู้สิ่งที่เรียกขาน
จึงตกอยู่ใต้อำนาจแห่งความตาย
ส่วนภิกษุกำหนดรู้สิ่งที่เรียกขานแล้ว๓
ไม่กำหนดหมายสิ่งที่เรียกขาน
เพราะสิ่งที่เรียกขานนั้นไม่มีแก่ภิกษุนั้น
ฉะนั้น เหตุที่จะเรียกขานท่านจึงไม่มี
ยักษ์๔ ถ้าท่านรู้ชัดก็จงบอกมาเถิด
เทวดานั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่รู้ทั่วถึงเนื้อความ
แห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างย่อนี้โดยพิสดารได้ ขอประทานวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดตรัสให้ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระองค์
ตรัสไว้อย่างย่อนี้โดยพิสดารเถิด”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๑๐. สมิทธิสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสคาถานี้ว่า
บุคคลใดถือตัวว่าเราเสมอเขา
เราเลิศกว่าเขา หรือเราด้อยกว่าเขา
บุคคลนั้นก็พึงทะเลาะกับเขา เพราะความถือตัวนั้น
บุคคลผู้ไม่หวั่นไหวในความถือตัวทั้ง ๓ นั้น
ย่อมไม่มีความถือตัวว่าเราเสมอเขา
เราเลิศกว่าเขา หรือเราด้อยกว่าเขา
ยักข์ ถ้าท่านรู้ชัดก็จงบอกมาเถิด
เทวดานั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่รู้ทั่วถึงเนื้อความ
แห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างย่อนี้โดยพิสดารได้ ขอประทานวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดตรัสให้ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระองค์
ตรัสไว้อย่างย่อนี้โดยพิสดารเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสคาถานี้ว่า
บุคคลละบัญญัติได้แล้ว ไม่เข้าถึงวิมาน๑
ตัดตัณหาในนามรูปนี้ได้แล้ว
เทวดาและมนุษย์ในโลกนี้ หรือในโลกอื่น
ในสวรรค์ หรือในสถานที่อยู่อาศัยของสัตว์ทุกจำพวก๒
ถึงจะเที่ยวค้นหาก็ไม่พบบุคคลนั้น
ผู้ตัดกิเลสเครื่องผูกได้แล้ว ไร้ทุกข์หมดความกระหาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ยักข์ ถ้าท่านรู้ชัดก็จงบอกมาเถิด
เทวดานั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความ
แห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างย่อนี้โดยพิสดารอย่างนี้ว่า
บุคคลไม่ควรทำบาปทางกาย ทางวาจา
หรือทางใจ ทางใดทางหนึ่งในโลกทั้งปวง
ควรละกามทั้งหลาย มีสติสัมปชัญญะ
ไม่พึงเสวยทุกข์อันประกอบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์”
สมิทธิสูตรที่ ๑๐ จบ
นันทนวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นันทนสูตร ๒. นันทติสูตร
๓. นัตถิปุตตสมสูตร ๔. ขัตติยสูตร
๕. สณมานสูตร ๖. นิททาตันทิสูตร
๗. ทุกกรสูตร ๘. หิริสูตร
๙. กุฏิกาสูตร ๑๐. สมิทธิสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]๓. สัตติวรรค ๑. สัตติสูตร

๓. สัตติวรรค
หมวดว่าด้วยหอก

๑. สัตติสูตร
ว่าด้วยหอก
[๒๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาคว่า
ภิกษุพึงอยู่อย่างมีสติ เพื่อละกามราคะ
เหมือนบุคคลถูกแทงด้วยหอก มุ่งถอนหอกออก
เหมือนบุคคลถูกไฟไหม้อยู่บนศีรษะ มุ่งดับไฟ ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ภิกษุพึงอยู่อย่างมีสติ เพื่อละสักกายทิฏฐิ
เหมือนบุคคลถูกแทงด้วยหอก มุ่งถอนหอกออก
เหมือนบุคคลถูกไฟไหม้อยู่บนศีรษะ มุ่งดับไฟ ฉะนั้น๑
สัตติสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต] ๓. สัตติวรรค ๓. ชฏาสูตร

๒. ผุสติสูตร
ว่าด้วยการถูกต้อง
[๒๒] เทวดากล่าวว่า
วิบากกรรมย่อมไม่ถูกต้องบุคคลผู้ไม่ถูกต้อง๑
แต่ถูกต้องบุคคลผู้ถูกต้องเท่านั้น
เพราะฉะนั้น วิบากกรรมจึงถูกต้องบุคคลผู้ถูกต้อง
ผู้ประทุษร้ายบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ผู้ใดประทุษร้ายบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย
ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๒
บาปย่อมกลับมาถึงผู้นั้น ซึ่งเป็นคนพาลอย่างแน่แท้
ดุจผงธุลีอันละเอียดที่บุคคลซัดไปทวนลมแล้ว ฉะนั้น๓
ผุสติสูตรที่ ๒ จบ

๓. ชฏาสูตร
ว่าด้วยความยุ่ง
[๒๓] เทวดาทูลถามว่า
หมู่สัตว์ยุ่งทั้งภายใน ยุ่งทั้งภายนอก
ถูกความยุ่งพาให้นุงนังแล้ว ข้าแต่พระโคดม
เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ว่า
ใครพึงแก้ความยุ่งนี้ได้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๓. สัตติวรรค ๔. มโนนิวารณสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
นรชนผู้มีปัญญา เห็นภัยในสังสารวัฏ
ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญจิตและปัญญา๑
มีความเพียร มีปัญญาเครื่องบริหาร
นั้นพึงแก้ความยุ่งนี้ได้
บุคคลเหล่าใดกำจัดราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว
บุคคลเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว เป็นพระอรหันต์
พวกเขาแก้ความยุ่งได้แล้ว
นาม๒ก็ดี รูปก็ดี ปฏิฆสัญญาก็ดี
รูปสัญญาก็ดี๓ ดับไม่เหลือในที่ใด
ความยุ่งนั้นก็ย่อมขาดหายไปในที่นั้น๔
ชฏาสูตรที่ ๓ จบ

๔. มโนนิวารณสูตร
ว่าด้วยการห้ามใจ
[๒๔] เทวดากราบทูลว่า
บุคคลห้ามใจจากอารมณ์ใด ๆ ได้
ทุกข์เพราะอารมณ์นั้น ๆ ย่อมไม่มาถึงเขา
เขาห้ามใจจากอารมณ์ทั้งปวงได้
ย่อมพ้นจากทุกข์ เพราะอารมณ์ทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๓. สัตติวรรค ๕. อรหันตสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุคคลไม่พึงห้ามใจจากอารมณ์ทั้งปวง
ไม่พึงห้ามใจที่ถึงความสำรวม๑
บาปเกิดขึ้นจากอารมณ์ใด ๆ
พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้นๆ
มโนนิวารณสูตรที่ ๔ จบ

๕. อรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์
[๒๕] เทวดากล่าวว่า
ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ ทำกิจเสร็จแล้ว
สิ้นอาสวะแล้ว เหลือแต่ร่างกายในชาติสุดท้าย
ภิกษุนั้นกล่าวว่า ‘เราพูด’ ดังนี้บ้าง
กล่าวว่า ‘คนทั้งหลายพูดกับเรา’ ดังนี้บ้าง
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ ทำกิจเสร็จแล้ว
สิ้นอาสวะแล้ว เหลือแต่ร่างกายในชาติสุดท้าย
ภิกษุนั้นกล่าวว่า ‘เราพูด’ ดังนี้บ้าง
กล่าวว่า ‘คนทั้งหลายพูดกับเรา’ ดังนี้บ้าง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๓. สัตติวรรค ๕. อรหันตสูตร
ภิกษุนั้นเป็นผู้ฉลาด ทราบคำพูดที่รู้กันในโลก
เธอกล่าวตามสมมติที่เขาพูดกัน
เทวดานั้นทูลถามว่า
ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ ทำกิจเสร็จแล้ว
สิ้นอาสวะแล้ว เหลือแต่ร่างกายในชาติสุดท้าย
ภิกษุนั้นยังติดมานะอยู่หรือหนอ
จึงกล่าวว่า ‘เราพูด’ ดังนี้บ้าง
กล่าวว่า ‘คนทั้งหลายพูดกับเรา’ ดังนี้บ้าง
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
กิเลสเครื่องผูกทั้งหลายไม่มีแก่ภิกษุผู้ละมานะได้แล้ว
มานะและกิเลสเครื่องผูกทั้งปวงอันภิกษุนั้นกำจัดได้แล้ว
ภิกษุผู้มีปัญญาดีล่วงพ้นความถือตัวได้แล้ว
ภิกษุนั้นกล่าวว่า ‘เราพูด’ ดังนี้บ้าง
กล่าวว่า ‘คนทั้งหลายพูดกับเรา’ ดังนี้บ้าง
ภิกษุนั้นเป็นผู้ฉลาด ทราบคำพูดที่รู้กันในโลก
เธอกล่าวตามสมมติที่เขาพูดกัน
อรหันตสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๓. สัตติวรรค ๖. ปัชโชตสูตร

๖. ปัชโชตสูตร
ว่าด้วยแสงสว่าง
[๒๖] เทวดาทูลถามว่า
โลกรุ่งเรืองเพราะแสงสว่างเหล่าใด
แสงสว่างเหล่านั้นมีอยู่เท่าไรในโลก
พวกข้าพระองค์มาเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
จะรู้แสงสว่างนั้นได้อย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ในโลกมีแสงสว่างอยู่ ๔ อย่าง
อย่างที่ ๕ ไม่มีในโลกนี้ คือ
(๑) ดวงอาทิตย์ส่องสว่างในกลางวัน
(๒) ดวงจันทร์ส่องสว่างในกลางคืน
(๓) ไฟส่องสว่างทั้งกลางวันและกลางคืนทุกหนทุกแห่ง
(๔) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเสริฐกว่าแสงสว่างทั้งหลาย
แสงสว่างนี้๑เป็นแสงสว่างอย่างยอดเยี่ยม
ปัชโชตสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๓. สัตติวรรค ๘. มหัทธนสูตร

๗. สรสูตร
ว่าด้วยความแล่นไป
[๒๗] เทวดาทูลถามว่า
ความแล่นไปจะหยุดที่ไหน
วัฏฏะไม่หมุนวนที่ไหน
นามและรูปดับไม่เหลือที่ไหน
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ดิน น้ำ ไฟ ลม ตั้งอยู่ไม่ได้ที่ใด
ความแล่นไปย่อมหยุดที่นี้
วัฏฏะไม่หมุนวนที่นี้
นามและรูปดับไม่เหลือที่นี้
สรสูตรที่ ๗ จบ

๘. มหัทธนสูตร
ว่าด้วยผู้มีทรัพย์มาก
[๒๘] เทวดาทูลถามว่า
กษัตริย์ทั้งหลายมีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
ทั้งมีแว่นแคว้น ไม่รู้จักพอในกามทั้งหลาย
ต่างแข่งขันกันและกัน
เมื่อกษัตริย์เหล่านั้นพากันขวนขวาย
วิ่งไปตามกระแสแห่งภพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๓. สัตติวรรค ๙. จตุจักกสูตร
บุคคลเหล่าไหนเล่าไม่มีความขวนขวาย
ละความโกรธและตัณหาในโลกได้
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลทั้งหลายสละเรือน สละลูก
และสละสัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รัก บวช
กำจัดราคะ โทสะ และอวิชชาได้
สิ้นอาสวะแล้ว เป็นพระอรหันต์
บุคคลเหล่านี้เป็นผู้ไม่มีความขวนขวายในโลก
มหัทธนสูตรที่ ๘ จบ

๙. จตุจักกสูตร
ว่าด้วยสรีรยนต์ ๔ ล้อ
[๒๙] เทวดาทูลถามว่า
ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า สรีรยนต์ ๔ ล้อ๑
มีประตู ๙ ประตู๒ เต็มไปด้วยของไม่สะอาด
ถูกโลภะประกอบไว้ เป็นเหมือนเปือกตม
สรีรยนต์นั้นจักแล่นไปได้อย่างไร๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๓. สัตติวรรค ๑๐. เอณิชังฆสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
เพราะตัดชะเนาะ๑ เชือกหนัง๒
ตัดความปรารถนาและความโลภอันเลวทราม
และเพราะถอนตัณหาพร้อมทั้งรากได้
สรีรยนต์นั้นจักแล่นไปได้อย่างนี้๓
จตุจักกสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. เอณิชังฆสูตร
ว่าด้วยพระผู้มีพระชงฆ์เหมือนเนื้อทราย
[๓๐] เทวดากล่าวว่า
พวกข้าพระองค์พากันมาเฝ้า ขอทูลถามพระองค์
ผู้มีพระชงฆ์เหมือนเนื้อทราย มีพระวรกายสมส่วน
มีความเพียร ฉันพระกระยาหารน้อย ไม่มีความโลเล
เป็นเหมือนราชสีห์และช้างเที่ยวไปตามลำพัง
ไม่มีความห่วงในกามทั้งหลาย
ว่า บุคคลหลุดพ้นจากทุกข์ได้อย่างไร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๓. สัตติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
กามคุณ๑ ๕ มีใจเป็นที่ ๖
บัณฑิตประกาศไว้ชัดแล้วในโลก
บุคคลละความพอใจในนามรูป๒นี้
ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ได้อย่างนี้
เอณิชังฆสูตรที่ ๑๐ จบ
สัตติวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัตติสูตร ๒. ผุสติสูตร
๓. ชฏาสูตร ๔. มโนนิวารณสูตร
๕. อรหันตสูตร ๖. ปัชโชตสูตร
๗. สรสูตร ๘. มหัทธนสูตร
๙. จตุจักกสูตร ๑๐. เอณิชังฆสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๑. สัพภิสูตร

๔. สตุลลปกายิกวรรค
หมวดว่าด้วยพวกเทวดาสตุลลปกายิกา

๑. สัพภิสูตร
ว่าด้วยสัตบุรุษ
[๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป พวกเทวดาสตุลลปกายิกา๑
จำนวนมากมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาคว่า
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
บุคคลรู้แจ้งสัทธรรม๒ของพวกสัตบุรุษแล้ว
ย่อมเป็นผู้ประเสริฐ ไม่เป็นผู้ตกต่ำ
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
บุคคลรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้วย่อมได้ปัญญา
หาได้ปัญญาจากคนอันธพาลอื่นไม่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๑. สัพภิสูตร
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
บุคคลรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว
ย่อมไม่เศร้าโศกในท่ามกลางคนผู้เศร้าโศก
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
บุคคลรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว
ย่อมรุ่งเรืองในท่ามกลางแห่งญาติ
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
สัตว์ทั้งหลายรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมไปสู่สุคติ
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
สัตว์ทั้งหลายรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว
ย่อมดำรงอยู่ได้ตลอดไป
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ-
ผู้มีพระภาค คำของใครหนอเป็นสุภาษิต”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดยอ้อม แต่ขอ
พวกท่านจงฟังคำของเราบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๒. มัจฉริสูตร
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
บุคคลรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว
ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถานี้แล้ว เทวดาเหล่านั้นมีใจยินดีถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นนั่นเอง
สัพภิสูตรที่ ๑ จบ

๒. มัจฉริสูตร
ว่าด้วยคนตระหนี่
[๓๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป พวกเทวดาสตุลล-
ปกายิกาจำนวนมากมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มี-
พระภาคว่า
เพราะความตระหนี่และความประมาท
บุคคลจึงให้ทานอย่างนี้ไม่ได้
บุคคลผู้หวังบุญรู้แจ้งอยู่จึงให้ทานได้
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
คนตระหนี่กลัวสิ่งใดแล้วไม่ให้ทาน
สิ่งนั้นนั่นเองเป็นภัยแก่เขาผู้ไม่ให้
ความหิวและความกระหายที่คนตระหนี่กลัว
ย่อมถูกต้องเขานั่นเองซึ่งเป็นคนเขลา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๒. มัจฉริสูตร
ทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า
ฉะนั้น บุคคลควรกำจัดความตระหนี่
ครอบงำมลทินแล้วให้ทานเถิด
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
คนเหล่าใดเมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้
เหมือนคนเดินทางไกลแบ่งของให้เพื่อนร่วมทาง
เมื่อคนเหล่าอื่นตาย คนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ตาย
ธรรมนี้เป็นธรรมเก่าแก่
คนพวกหนึ่งเมื่อมีของน้อยก็แบ่งให้ได้
พวกหนึ่งมีของมากกลับแบ่งให้ไม่ได้
ทักษิณาที่ให้จากของน้อย นับว่าเท่ากับของเป็นพัน
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
พวกคนพาลเมื่อจะให้ทานก็ให้ยาก
เมื่อจะทำงานก็ทำยาก
พวกอสัตบุรุษย่อมไม่ทำตามธรรมของสัตบุรุษ
เพราะธรรมของสัตบุรุษดำเนินตามได้แสนยาก
ฉะนั้น การไปจากโลกนี้ของพวกสัตบุรุษ
และอสัตบุรุษจึงแตกต่างกัน
พวกอสัตบุรุษพากันลงนรก
ส่วนพวกสัตบุรุษพากันขึ้นสวรรค์
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ-
ผู้มีพระภาค คำของใครหนอเป็นสุภาษิต”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๒. มัจฉริสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดยอ้อม แต่ขอ
พวกท่านจงฟังคำของเราบ้าง
แม้บุคคลใดประพฤติตนให้ยุ่งยากเลี้ยงดูภรรยา
และเมื่อของมีน้อยก็ให้ได้
บุคคลนั้นชื่อว่าประพฤติธรรม
เมื่อบุรุษ ๑๐๐,๐๐๐ คน บูชาภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป
การบูชาของบุรุษเหล่านั้น
จึงมีค่าไม่เท่าเสี้ยวหนึ่งของบุคคลเช่นนั้น
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
เพราะเหตุไร การบูชาอันใหญ่หลวงนี้
จึงมีค่าไม่เท่าส่วนแห่งทานที่บุคคลให้ด้วยความเหมาะสม
เมื่อบุรุษ ๑๐๐,๐๐๐ คน บูชาภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป
การบูชาของบุรุษเหล่านั้น
จึงมีค่าไม่เท่าเสี้ยวหนึ่งของบุคคลเช่นนั้น ได้อย่างไร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเทวดานั้นด้วยคาถาว่า
บุคคลพวกหนึ่งดำรงอยู่ในความไม่เหมาะสม
ทำร้ายเขา ฆ่าเขา หรือทำให้เขาเศร้าโศกแล้วจึงให้ทาน
ทักษิณานั้นจัดเป็นทักษิณาอันมีหน้านองด้วยน้ำตา
เป็นไปกับด้วยอาชญา จึงมีค่าไม่เท่าส่วนแห่งทาน
ที่ให้ด้วยความเหมาะสม
เมื่อบุรุษ ๑๐๐,๐๐๐ คน บูชาภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป
การบูชาของบุรุษเหล่านั้น
จึงมีค่าไม่เท่าเสี้ยวหนึ่งของบุคคลเช่นนั้น ได้อย่างนี้
มัจฉริสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๓. สาธุสูตร

๓. สาธุสูตร
ว่าด้วยผลสำเร็จแห่งทาน
[๓๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป พวกเทวดาสตุลลปกายิกาจำนวนมากมีวรรณะงดงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ทานให้ประโยชน์สำเร็จได้จริง
แม้เมื่อของมีน้อย ทานก็ให้ประโยชน์สำเร็จได้
เพราะความตระหนี่และความประมาท
บุคคลจึงให้ทานอย่างนี้ไม่ได้
บุคคลผู้หวังบุญรู้แจ้งอยู่จึงให้ทานได้
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ทานให้ประโยชน์สำเร็จได้จริง
อนึ่ง แม้เมื่อของมีน้อย ทานก็ให้ประโยชน์สำเร็จได้
คนพวกหนึ่งเมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้ได้
พวกหนึ่งมีของมากกลับแบ่งให้ไม่ได้
ทักษิณาที่ให้จากของน้อย นับว่าเท่ากับของเป็นพัน
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ทานให้ประโยชน์สำเร็จได้จริง
แม้เมื่อของมีน้อย ทานก็ให้ประโยชน์สำเร็จได้
อนึ่ง ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ให้ประโยชน์สำเร็จได้
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ทานกับการรบเสมอกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๓. สาธุสูตร
พวกวีรบุรุษแม้มีน้อยก็เอาชนะคนขี้ขลาดที่มากกว่าได้
ถ้าบุคคลมีศรัทธา ย่อมให้สิ่งของแม้มีน้อยได้
เพราะเหตุนั้น ทายกนี้จึงเป็นผู้มีความสุขในโลกหน้า
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ทานให้ประโยชน์สำเร็จได้จริง
แม้เมื่อของมีน้อย ทานก็ให้ประโยชน์สำเร็จได้
ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ให้ประโยชน์สำเร็จได้
อนึ่ง ทานที่ให้แม้แก่บุคคลผู้ได้ธรรม๑แล้วก็ยิ่งเป็นการดี
บุคคลใดให้ทานแก่บุคคลผู้ได้ธรรมแล้ว
ผู้มีความขยันหมั่นเพียรอันตนบรรลุแล้ว
บุคคลนั้นข้ามพ้นนรกแห่งยมราชได้แล้วเข้าถึงฐานะอันเป็นทิพย์
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ทานให้ประโยชน์สำเร็จได้จริง
แม้เมื่อของมีน้อย ทานก็ให้ประโยชน์สำเร็จได้
ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ให้ประโยชน์สำเร็จได้
ทานที่ให้แก่บุคคลผู้ได้ธรรมแล้วก็ยิ่งเป็นการดี
อนึ่ง แม้ทานที่บุคคลเลือกให้ก็เป็นทานให้ประโยชน์สำเร็จได้
ทานที่บุคคลเลือกให้ พระสุคตทรงสรรเสริญแล้ว
บุคคลเหล่าใด ควรแก่ทักษิณามีอยู่ในโลกคือหมู่สัตว์นี้
ทานทั้งหลายที่บุคคลเลือกให้แล้วในบุคคลเหล่านั้นย่อมมีผลมาก
เหมือนพืชทั้งหลายที่บุคคลหว่านลงในนาชั้นดี ฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๓. สาธุสูตร
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ทานให้ประโยชน์สำเร็จได้จริง
แม้เมื่อของมีน้อย ทานก็ให้ประโยชน์สำเร็จได้
ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้
ทานที่ให้แก่บุคคลผู้ได้ธรรมแล้วก็ยิ่งเป็นการดี
ทานที่บุคคลเลือกให้ก็ยิ่งเป็นการดี
อนึ่ง ความสำรวมแม้ในสัตว์ทั้งหลายก็ยิ่งเป็นการดี
บุคคลใดไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย
ไม่ทำบาปเพราะคำติเตียนจากผู้อื่น
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุคคลนั้น ซึ่งเป็นคนกลัวบาป
แต่ไม่สรรเสริญบุคคลผู้กล้าในการทำบาปนั้น
สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่ทำบาป เพราะกลัวบาปอย่างแท้จริง
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ-
ผู้มีพระภาค คำของใครหนอเป็นสุภาษิต”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คำพูดของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดยอ้อม แต่ขอ
พวกท่านจงฟังคำของเราบ้าง
ความจริง ทานที่ให้ด้วยศรัทธาบัณฑิตสรรเสริญมาก
แต่บทแห่งธรรม๑ประเสริฐกว่าทาน
เพราะว่าสัตบุรุษทั้งหลายผู้มีปัญญา
ในกาลก่อนก็ดี ในกาลก่อนโน้นก็ดี ได้บรรลุนิพพานนั่นเอง
สาธุสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๔. นสันติสูตร

๔. นสันติสูตร
ว่าด้วยความไม่มี
[๓๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป พวกเทวดาสตุลลปกายิกา
จำนวนมากมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ในหมู่มนุษย์ กามที่น่าใคร่ซึ่งคนเกาะเกี่ยวมัวเมาอยู่
จนไม่บรรลุนิพพานอันเป็นเหตุไม่หวนกลับมาสู่แดนมัจจุอีก
กามนั้นจะชื่อว่าเที่ยงแท้หามีไม่
ความลำบากเกิดจากฉันทะ ทุกข์เกิดจากฉันทะ
เพราะกำจัดฉันทะได้ จึงกำจัดความลำบากได้
เพราะกำจัดความลำบากได้ จึงกำจัดทุกข์ได้
อารมณ์อันงามทั้งหลายในโลก ยังไม่จัดเป็นกาม
ความกำหนัดที่เกิดจากความดำริเป็นกามของบุรุษ
อารมณ์อันงามทั้งหลายมีอยู่ในโลกอย่างนั้นเอง
ฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลายจึงกำจัดฉันทะในอารมณ์เหล่านั้น
บุคคลควรละความโกรธ สละมานะ
ก้าวล่วงสังโยชน์๑ได้หมดทุกอย่าง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๔. นสันติสูตร
ความทุกข์ย่อมไม่รุมเร้าคนนั้น ผู้ไม่ติดอยู่ในนามรูป
ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล๑
ภิกษุละบัญญัติแล้ว ไม่เข้าถึงวิมาน
ตัดตัณหาในนามรูปนี้ได้แล้ว
เทวดาและมนุษย์ในโลกนี้ก็ดี ในโลกอื่นก็ดี
ในสวรรค์ก็ดี ในสถานที่อันเป็นที่อาศัยแห่งสัตว์ทั้งปวงก็ดี
พากันเที่ยวค้นหาก็ไม่พบภิกษุนั้น
ผู้ตัดเครื่องผูกขาดแล้ว ไม่มีความทุกข์ ไม่มีตัณหา
(ท่านพระโมฆราชทูลถามว่า)
หากเทวดาและมนุษย์เหล่าใดในโลกนี้หรือในโลกอื่น
ไม่ได้เห็นภิกษุนั้นผู้อุดมกว่านรชน
ผู้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อนรชน ผู้หลุดพ้นอย่างนั้น
นอบน้อมภิกษุนั้นอยู่
เทวดาและมนุษย์เหล่านั้นบัณฑิตควรสรรเสริญหรือ
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภิกษุโมฆราช)
เทวดาและมนุษย์แม้เหล่านั้นบัณฑิตควรสรรเสริญ
เทวดาและมนุษย์เหล่าใดนอบน้อมภิกษุผู้หลุดพ้นอย่างนั้น
เทวดาและมนุษย์แม้เหล่านั้นรู้ธรรมแล้ว ละวิจิกิจฉาได้
เป็นผู้ข้ามพ้นธรรมเป็นเครื่องข้องได้
นสันติสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๕. อุชฌานสัญญิสูตร

๕. อุชฌานสัญญิสูตร
ว่าด้วยพวกเทวดาผู้มุ่งหมายจะเพ่งโทษ
[๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป พวกเทวดาผู้มุ่งหมาย
จะเพ่งโทษจำนวนมากมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ยืนอยู่ในอากาศ
เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ในอากาศได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลใด ตนเป็นอย่างหนึ่ง
กลับประกาศให้เขารู้อีกอย่างหนึ่ง
บุคคลนั้นชื่อว่าลวงเขาบริโภคโดยความเป็นขโมย
เหมือนพรานนกลวงจับนก ฉะนั้น
ความจริง บุคคลทำกรรมใด ควรพูดถึงกรรมนั้น
ไม่ทำกรรมใด ก็ไม่ควรพูดถึงกรรมนั้น
บัณฑิตทั้งหลายรู้จักบุคคลผู้ไม่ทำ ดีแต่พูด
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ใคร ๆ ไม่อาจดำเนินปฏิปทานี้
ด้วยเหตุสักว่าพูด หรือฟังอย่างเดียว
ผู้มีปัญญาทั้งหลายมีความเพียรเพ่งพินิจ
ย่อมพ้นจากเครื่องผูกของมารด้วยปฏิปทาอันมั่นคงนี้
ผู้มีปัญญาทั้งหลายทราบความเป็นไปของโลก
รู้ชัด ดับกิเลสได้แล้ว ข้ามพ้นตัณหาเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว
ย่อมไม่พูดโดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๕. อุชฌานสัญญิสูตร
ครั้งนั้น เทวดาเหล่านั้นลงมายืนอยู่บนพื้นดิน หมอบลงแทบพระยุคลบาท
ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ได้กระทำความผิดเพราะความโง่เขลาเบาปัญญา
พวกข้าพระองค์ได้สำคัญผิดว่าพระผู้มีพระภาคอันพวกเราพึงรุกราน ขอพระผู้มี
พระภาคโปรดอภัยโทษแก่พวกข้าพระองค์ เพื่อสำรวมต่อไปเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแย้มพระโอษฐ์แล้ว
ครั้งนั้น เทวดาเหล่านั้นผู้เพ่งโทษโดยประมาณยิ่ง กลับขึ้นไปบนอากาศ เทวดา
องค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
เมื่อเราขอโทษอยู่ หากบุคคลใดไม่ยอมยกโทษให้
ยังมีความโกรธอยู่ภายใน มีความแค้นเคืองหนัก
บุคคลนั้น ชื่อว่าย่อมผูกเวร
หากว่าในโลกนี้ โทษไม่มี ความผิดไม่มี
และเวรทั้งหลายไม่สงบ
บุคคลในโลกนี้พึงเป็นผู้ฉลาดได้อย่างไร
ใครบ้างไม่มีโทษ ใครบ้างไม่มีความผิด
ใครบ้างไม่ถึงความหลงใหล
ในโลกนี้ ใครเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้มีสติในกาลทุกเมื่อเล่า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
พระตถาคตพระองค์นั้นผู้ตรัสรู้แล้ว
ผู้อนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งปวง ไม่มีโทษ ไม่มีความผิด
พระตถาคตพระองค์นั้น ไม่ถึงความหลงใหล
พระตถาคตพระองค์นั้นเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้มีสติในกาลทุกเมื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๖. สัทธาสูตร
เมื่อพวกท่านขอโทษอยู่ หากบุคคลใดไม่ยอมยกโทษให้
ยังมีความโกรธอยู่ภายใน มีความแค้นเคืองหนัก
บุคคลนั้น ชื่อว่าย่อมผูกเวร
เราไม่ชอบใจเวรนั้น จึงยกโทษให้แก่ท่านทั้งหลาย
อุชฌานสัญญิสูตรที่ ๕ จบ

๖. สัทธาสูตร
ว่าด้วยศรัทธา
[๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป พวกเทวดาสตุลล-
ปกายิกาจำนวนมากมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาคว่า
ศรัทธาเป็นเพื่อนของบุรุษ
หากว่าความไม่มีศรัทธาไม่ตั้งอยู่
เพราะเหตุนั้น ยศและเกียรติย่อมมีแก่เขา
อนึ่ง ผู้นั้นละทิ้งร่างกายแล้วย่อมไปสู่สวรรค์
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลควรละความโกรธ สละมานะ
ก้าวล่วงสังโยชน์ได้หมดทุกอย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๗. สมยสูตร
เพราะว่ากิเลสเป็นเครื่องข้องย่อมไม่รุมเร้าบุคคลนั้น
ผู้ไม่ติดอยู่ในนามรูป ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
คนพาลมีปัญญาทราม
ประกอบความประมาทอยู่เสมอ
ส่วนคนฉลาดรักษาความไม่ประมาทไว้
เหมือนคนรักษาทรัพย์อันประเสริฐ ฉะนั้น
ท่านทั้งหลายอย่าประกอบความประมาท
และอย่าประกอบความเชยชมยินดีในกามเลย
เพราะว่าผู้ไม่ประมาทแล้ว เพ่งพินิจอยู่
ย่อมได้รับความสุขอย่างยิ่ง๑
สัทธาสูตรที่ ๖ จบ

๗. สมยสูตร
ว่าด้วยพวกเทวดาประชุมกัน
[๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์
อนึ่ง พวกเทวดาจากโลกธาตุทั้งสิบประชุมกันเป็นอันมากเพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาค
และภิกษุสงฆ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๗. สมยสูตร
ครั้งนั้น เทวดา ๔ องค์ที่เกิดในหมู่พรหมชั้นสุทธาวาสได้มีความดำริอย่างนี้ว่า
“พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ ประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้น
สักกะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์ อนึ่ง
พวกเทวดาจากโลกธาตุทั้งสิบประชุมกันเป็นอันมากเพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคและ
ภิกษุสงฆ์ ทางที่ดีแม้เราทั้งหลายควรเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ” แล้วกล่าว
คาถาเฉพาะตนในสำนักของพระผู้มีพระภาค
ครั้งนั้น เทวดาเหล่านั้นหายตัวไปจากหมู่พรหมชั้นสุทธาวาสมาปรากฏอยู่
เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า
ฉะนั้น ครั้งนั้น เทวดาเหล่านั้นถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาคว่า
การประชุมใหญ่ได้มีแล้วในป่าใหญ่
พวกเทวดามาประชุมพร้อมกันแล้ว
พวกข้าพระองค์พากันมาสู่ที่ประชุมอันเป็นธรรมนี้
เพื่อจะเยี่ยมเยียนหมู่ภิกษุผู้ที่ใคร ๆ ให้พ่ายแพ้ไม่ได้
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ในที่ประชุมนั้น ภิกษุทั้งหลายตั้งจิตไว้มั่น
ทำจิตตนเองให้ตรง ภิกษุเหล่านั้นเป็นบัณฑิต
ย่อมรักษาอินทรีย์ทั้งหลาย
เหมือนนายสารถีถือบังเหียนม้า บังคับให้วิ่งไปตามทาง ฉะนั้น
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ภิกษุเหล่านั้นตัดกิเลสดุจตะปูตรึงจิต๑ได้แล้ว
ตัดกิเลสดุจลิ่มสลัก๒ได้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๘. สกลิกสูตร
และถอนกิเลสดุจเสาเขื่อน๑ได้แล้ว
จึงไม่หวั่นไหว เป็นผู้หมดจด ปราศจากมลทิน
มีจักษุ๒ ฝึกตนดีแล้ว เป็นผู้ประเสริฐ ประพฤติธรรมอยู่
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลทั้งหลายผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
จักไม่ไปสู่อบายภูมิ ละร่างกายอันเป็นของมนุษย์แล้ว
จักบังเกิดเป็นเทวดาโดยสมบูรณ์
สมยสูตรที่ ๗ จบ

๘. สกลิกสูตร
ว่าด้วยสะเก็ดหิน
[๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ มัททกุจฉิ สถานที่พระราชทานอภัย
แก่หมู่เนื้อ เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น สะเก็ดหินกระทบพระบาทของผู้มีพระภาค
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงมีทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๘. สกลิกสูตร
เผ็ดร้อน อันไม่สบายพระทัย ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคมีพระสติสัมปชัญญะ
ทรงอดกลั้นทุกขเวทนานั้นไว้ได้ ไม่ทรงเดือดร้อน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น ทรงสำเร็จสีหไสยา
(การนอนดุจราชสีห์) โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท
มีพระสติสัมปชัญญะ
ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป พวกเทวดาสตุลลปกายิกาประมาณ ๗๐๐ องค์ มีวรรณะ
งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วมัททกุจฉิ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้วได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มี-
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสมณโคดมเป็นบุรุษดุจนาค๑จริง ก็แลพระ-
สมณโคดมมีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็ง
อย่างหนัก เผ็ดร้อน อันไม่สบายพระทัย ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ เพราะความที่พระองค์
เป็นบุรุษดุจนาค ไม่ทรงเดือดร้อน”
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสมณโคดมเป็นบุรุษดุจราชสีห์จริง ก็แลพระสมณโคดม
มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก
เผ็ดร้อน อันไม่สบายพระทัย ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ เพราะความที่พระองค์เป็นบุรุษ
ดุจราชสีห์ ไม่ทรงเดือดร้อน”
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสมณโคดมเป็นบุรุษอาชาไนยจริง ก็แลพระสมณโคดม
มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก
เผ็ดร้อนอันไม่สบายพระทัย ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ เพราะความที่พระองค์เป็นบุรุษ
อาชาไนยไม่ทรงเดือดร้อน”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๘. สกลิกสูตร
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสมณโคดมเป็นบุรุษผู้องอาจจริง ก็แลพระสมณโคดมมี
พระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก เผ็ดร้อน
อันไม่สบายพระทัย ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ เพราะความที่พระองค์เป็นบุรุษผู้องอาจ ไม่ทรง
เดือดร้อน”
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสมณโคดมเป็นบุรุษผู้ใฝ่ธุระจริง ก็แลพระสมณโคดม
มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก
เผ็ดร้อน อันไม่สบายพระทัย ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ เพราะความที่พระองค์เป็นบุรุษผู้
ใฝ่ธุระ ไม่ทรงเดือดร้อน”
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสมณโคดมเป็นบุรุษผู้ฝึกแล้วจริง ก็แลพระสมณโคดม
มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก
เผ็ดร้อน อันไม่สบายพระทัย ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ เพราะความที่พระองค์เป็นบุรุษ
ผู้ฝึกแล้ว ไม่ทรงเดือดร้อน”
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
“ท่านจงดูสมาธิ๑ที่พระสมณโคดมทรงเจริญดีแล้ว จงดูจิตที่พระสมณโคดมทรงให้
หลุดพ้นดีแล้ว๒ จิตที่เป็นไปตามราคะพระสมณโคดมก็ไม่ให้น้อมไปถึงแล้ว จิตที่
เป็นไปตามโทสะพระสมณโคดมก็ไม่ให้หวนกลับมาแล้ว และจิตของพระสมณโคดม
ไม่ต้องตั้งใจข่มและคอยห้ามปราม บุคคลใดพึงสำคัญพระสมณโคดมเป็นบุรุษดุจนาค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๘. สกลิกสูตร
เป็นบุรุษดุจราชสีห์ เป็นบุรุษอาชาไนย เป็นบุรุษผู้องอาจ เป็นบุรุษผู้ใฝ่ธุระ และ
เป็นบุรุษผู้ฝึกแล้วเห็นปานนี้ว่า เป็นผู้ที่ตนจะล่วงเกินได้ บุคคลนั้นจะเป็นอะไรเล่า
นอกเสียจากผู้ไม่มีทัสสนะ๑”
(เทวดานั้นครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาทั้งหลายเหล่านี้ว่า)
พราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ทรงเวททั้ง ๕๒ มีตบะ
ประพฤติธรรมอยู่อย่างสม่ำเสมอตั้ง ๑๐๐ ปี
แต่จิตของพราหมณ์เหล่านั้นก็ไม่หลุดพ้นโดยชอบ
เพราะพราหมณ์เหล่านั้นมีสภาพจิตต่ำ
จึงไม่ถึงจุดจบ๓(แห่งความตาย)
พราหมณ์เหล่านั้นถูกตัณหาครอบงำแล้ว
เกี่ยวข้องด้วยศีลพรต ประพฤติตบะอันเศร้าหมองอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี
แต่จิตของพราหมณ์เหล่านั้นก็ไม่หลุดพ้นแล้วโดยชอบ
เพราะพราหมณ์เหล่านั้นมีสภาพจิตต่ำ จึงไม่ถึงจุดจบ
บุคคลผู้มีมานะ ย่อมไม่มีการฝึกตนเอง
บุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง ย่อมไม่มีความรู้
บุคคลผู้ประมาทอยู่ในป่าคนเดียว
ก็ไม่ถึงจุดจบแห่งความตาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๙. ปฐมปัชชุนนธีตุสูตร
บุคคลละมานะได้แล้ว มีใจมั่นคงดี
มีใจดี หลุดพ้นในธรรมทั้งปวง
เขาไม่ประมาทอยู่ในป่าคนเดียว
ก็ถึงจุดจบแห่งความตายได้
สกลิกสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมปัชชุนนธีตุสูตร
ว่าด้วยธิดาของท้าวปัชชุนนะ สูตรที่ ๑
[๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุง
เวสาลี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อโกกนทา มีวรรณะงดงาม
ยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วป่ามหาวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาคว่า
หม่อมฉัน ชื่อโกกนทา เป็นธิดาของท้าวปัชชุนนะ
ขอถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์
ผู้เสด็จอยู่ในป่า ใกล้กรุงเวสาลี
หม่อมฉันได้ฟังสุนทรพจน์ในกาลก่อนว่า
ธรรม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุตรัสรู้แล้วโดยลำดับ
บัดนี้เมื่อพระสุคตผู้เป็นมุนี ทรงแสดง(ธรรม)อยู่
หม่อมฉันจึงรู้ชัด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๑๐. ทุติยปัชชุนนธีตุสูตร
ชนเหล่าใดมีปัญญาทราม
เที่ยวติเตียนธรรมอันประเสริฐ
ชนเหล่านั้นย่อมบังเกิดในนรกชื่อโรรุวะอันทารุณ
เสวยทุกข์ตลอดกาลนาน
ชนเหล่าใดมีความอดทน
และมีความสงบ เข้าถึงธรรมอันประเสริฐ
ชนเหล่านั้นละร่างกายอันเป็นของมนุษย์แล้ว
จักบังเกิดเป็นเทวดาโดยสมบูรณ์
ปฐมปัชชุนนธีตุสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยปัชชุนนธีตุสูตร
ว่าด้วยธิดาของท้าวปัชชุนนะ สูตรที่ ๒
[๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุง
เวสาลี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อจูฬโกกนทา มีวรรณะงดงาม
ยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วป่ามหาวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาคว่า
ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อโกกนทา
มีวรรณะสว่างดุจสายฟ้า มาแล้วในที่นี้
นอบน้อมพระพุทธเจ้า และพระธรรม
ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ซึ่งมีประโยชน์
หม่อมฉันพึงจำแนกธรรมนั้นโดยปริยายแม้มาก
ธรรมเช่นนี้มีอยู่โดยปริยาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ธรรมมีประมาณเท่าใดที่หม่อมฉันศึกษาแล้วด้วยใจ
หม่อมฉันจักกล่าวอรรถแห่งธรรมประมาณเท่านั้นโดยย่อ
บุคคลไม่ควรทำกรรมชั่วอะไร ๆ
ทางกาย ทางวาจา หรือทางใจในโลกทั้งปวง
บุคคลมีสติสัมปชัญญะ ละกามทั้งหลายได้แล้ว
ไม่พึงประสบทุกข์ ซึ่งประกอบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
ทุติยปัชชุนนธีตุสูตรที่ ๑๐ จบ
สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัพภิสูตร ๒. มัจฉริสูตร
๓. สาธุสูตร ๔. นสันติสูตร
๕. อุชฌานสัญญิสูตร ๖. สัทธาสูตร
๗. สมยสูตร ๘. สกลิกสูตร
๙. ปฐมปัชชุนนธีตุสูตร ๑๐. ทุติยปัชชุนนธีตุสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๕. อาทิตตวรรค ๑. อาทิตตสูตร

๕. อาทิตตวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งที่เป็นของร้อน

๑. อาทิตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นของร้อน
[๔๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะ
งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาคว่า
เมื่อเรือนถูกไฟไหม้แล้ว
เจ้าของเรือนขนเอาภาชนะใดออกไปได้
ภาชนะนั้นย่อมเป็นประโยชน์แก่เขา
ส่วนสิ่งของที่มิได้ขนออกไปย่อมถูกไฟไหม้ ฉันใด
โลกถูกชราและมรณะเผาแล้ว ก็ฉันนั้น
ควรนำออกด้วยการให้ทาน
เพราะทานที่บุคคลให้แล้ว ชื่อว่านำออกดีแล้ว
ทานที่บุคคลให้แล้วนั้นย่อมมีผลคือความสุข
ที่ยังมิได้ให้ ย่อมไม่มีผลอย่างนั้น
โจรยังปล้นเอาไปได้ พระราชายังริบเอาไปได้
ไฟยังไหม้ได้หรือสูญหายไปได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๕. อาทิตตวรรค ๒. กินททสูตร
อนึ่ง บุคคลจำต้องละร่างกาย
พร้อมด้วยสิ่งของเครื่องอาศัยเพราะการตายจากไป
ผู้มีปัญญารู้ชัดดังนี้แล้ว ควรใช้สอยและให้ทาน
ครั้นให้ทานและใช้สอยตามควรแล้วจะไม่ถูกติเตียน
ย่อมเข้าถึงสถานที่อันเป็นแดนสวรรค์
อาทิตตสูตรที่ ๑ จบ

๒. กินททสูตร
ว่าด้วยให้อะไร ชื่อว่าให้อะไร
[๔๒] เทวดาทูลถามว่า
บุคคลให้อะไร ชื่อว่าให้กำลัง
ให้อะไร ชื่อว่าให้วรรณะ
ให้อะไร ชื่อว่าให้ความสุข
ให้อะไร ชื่อว่าให้จักษุ
และใคร ชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลให้ข้าว ชื่อว่าให้กำลัง
ให้ผ้า ชื่อว่าให้วรรณะ
ให้ยานพาหนะ ชื่อว่าให้ความสุข
ให้ประทีป ชื่อว่าให้จักษุ
และผู้ให้ที่พักอาศัย ชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ส่วนผู้ที่พร่ำสอนธรรม ชื่อว่าให้อมตะ
กินททสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๕. อาทิตตวรรค ๔. เอกมูลสูตร

๓. อันนสูตร
ว่าด้วยข้าว
[๔๓] เทวดากล่าวว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก
ต่างก็พอใจข้าวด้วยกันทั้งนั้น
ส่วนผู้ที่ไม่พอใจข้าว ชื่อว่ายักษ์โดยแท้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ชนเหล่าใดมีใจเลื่อมใสให้ข้าวนั้นด้วยศรัทธา
ข้าวนั้นเองย่อมค้ำชูชนเหล่านั้นทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงกำจัดความตระหนี่
ครอบงำมลทินแล้วให้ทานเถิด
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
อันนสูตรที่ ๓ จบ

๔. เอกมูลสูตร
ว่าด้วยบาดาลมีรากอันเดียว
[๔๔] เทวดากล่าวว่า
บาดาลมีรากอันเดียว๑ มีวนเวียน ๒ อย่าง๒
มีมลทิน ๓ ประการ๓ มีเครื่องลาด ๕ ประการ๔
เป็นทะเลหมุนไปได้ทั้ง ๑๒ ด้าน๕ฤาษีข้ามพ้นได้แล้ว
เอกมูลสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๕. อาทิตตวรรค ๖. อัจฉราสูตร

๕. อโนมิยสูตร
ว่าด้วยพระนามไม่ต่ำต้อย
[๔๕] เทวดากล่าวว่า
เชิญท่านทั้งหลายดูพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้มีพระนามไม่ต่ำต้อย๑ ทรงเห็นประโยชน์อันละเอียดอ่อน
ให้ซึ่งปัญญา ไม่ทรงข้องอยู่ในอาลัยคือกาม
ตรัสรู้ธรรมทุกอย่าง มีพระปรีชา ดำเนินไปในทางอันประเสริฐ
ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
อโนมิยสูตรที่ ๕ จบ

๖. อัจฉราสูตร
ว่าด้วยนางอัปสร
[๔๖] เทวดาทูลถามว่า
ราวป่าน่าหลงใหล กึกก้องไปด้วยหมู่นางอัปสร
เป็นป่าที่หมู่ปีศาจอาศัยอยู่ จักออกไปได้อย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ทางนั้นชื่อว่าเป็นทางตรง ทิศนั้นชื่อว่าไม่มีภัย
รถชื่อว่าไม่มีเสียงดัง ประกอบด้วยล้อคือธรรม
หิริเป็นฝาประทุนของรถนั้น สติเป็นเกราะกั้นของรถนั้น
เรากล่าวธรรม มีสัมมาทิฏฐินำหน้าว่าเป็นนายสารถี
ยานชนิดนี้มีอยู่แก่ผู้ใด จะเป็นสตรีหรือบุรุษก็ตาม
ผู้นั้นไปใกล้นิพพานด้วยยานนี้แล
อัจฉราสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๕. อาทิตตวรรค ๘. เชตวนสูตร

๗. วนโรปสูตร
ว่าด้วยการปลูกป่า
[๔๗] เทวดาทูลถามว่า
บุญย่อมเจริญ ทั้งกลางวันและกลางคืน
ตลอดกาลทุกเมื่อ แก่ชนเหล่าไหน
ชนเหล่าไหนดำรงอยู่ในธรรม
สมบูรณ์ด้วยศีลแล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ชนเหล่าใดปลูกสวนอันน่ารื่นรมย์๑
ปลูกป่า สร้างสะพาน ขุดสระน้ำ บ่อน้ำ
และให้ที่พักอาศัย
บุญย่อมเจริญแก่ชนเหล่านั้น
ทั้งกลางวันและกลางคืนตลอดกาลทุกเมื่อ
ชนเหล่านั้นดำรงอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีลแล้ว
ย่อมไปสู่สวรรค์อย่างแน่นอน
วนโรปสูตรที่ ๗ จบ

๘. เชตวนสูตร
ว่าด้วยพระเชตวันวิหาร
[๔๘] อนาถบิณฑิกเทพบุตรได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
พระเชตวันนี้นั้นมีหมู่ฤาษีพำนักอยู่
พระผู้เป็นธรรมราชาก็ประทับอยู่
เป็นสถานที่ให้เกิดปีติแก่ข้าพระองค์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๕. อาทิตตวรรค ๙. มัจฉริสูตร
การงาน ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอันสูงสุด ๑๑
สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยธรรม ๕ ประการนี้
หาใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือด้วยทรัพย์ไม่
เพราะเหตุนั้นแหละ คนฉลาดเมื่อเห็นประโยชน์ตน
ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคายเถิด
เพราะเมื่อเลือกเฟ้นเช่นนี้ ย่อมหมดจดได้ในธรรมเหล่านั้น
พระสารีบุตรเท่านั้นเป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่าภิกษุผู้ถึงฝั่ง
ด้วยปัญญา ศีล และความสงบ๒
เชตวนสูตรที่ ๘ จบ

๙. มัจฉริสูตร
ว่าด้วยคนตระหนี่
[๔๙] เทวดาทูลถามว่า
คนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น
บริภาษผู้อื่น ทำอันตรายแก่คนเหล่าอื่นผู้ให้อยู่
วิบากของคนเหล่านั้นจะเป็นเช่นไร
และภพหน้าจะเป็นเช่นไร
ข้าพระองค์มาเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาค
ว่าจะรู้ข้อความนั้นได้อย่างไร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๕. อาทิตตวรรค ๙. มัจฉริสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
คนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น
บริภาษผู้อื่น ทำอันตรายแก่คนเหล่าอื่นผู้ให้อยู่
คนเหล่านั้นย่อมบังเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือยมโลก
ถ้าพวกเขามาเกิดเป็นมนุษย์ ก็เกิดในตระกูลคนยากจน
ซึ่งจะหาท่อนผ้า อาหาร ความยินดี และความสนุกสนานได้ยาก
คนพาลเหล่านั้น ต้องการสิ่งใดจากผู้อื่น
พวกเขาย่อมไม่ได้แม้สิ่งนั้น
นั่นเป็นวิบากในภพนี้ และภพหน้าก็ยังเป็นทุคติอีกด้วย
เทวดาทูลถามว่า
ข้อนี้ข้าพระองค์เข้าใจอย่างนี้
ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ขอทูลถามข้ออื่น
คนเหล่าใดในโลกนี้ ได้ความเป็นมนุษย์แล้ว
รู้เจรจาปราศรัย ปราศจากความตระหนี่
เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์
เป็นผู้มีความเคารพอย่างแรงกล้า
วิบากของคนเหล่านั้นจะเป็นเช่นไร และภพหน้าจะเป็นเช่นไร
ข้าพระองค์มาเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาค
ว่าจะรู้ข้อความนั้นได้อย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
คนเหล่าใดในโลกนี้ ได้ความเป็นมนุษย์แล้ว
รู้เจรจาปราศรัย ปราศจากความตระหนี่
เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์
เป็นผู้มีความเคารพอย่างแรงกล้า
คนเหล่านั้นย่อมปรากฏในสวรรค์ซึ่งเป็นที่อุบัติของพวกเขา
ถ้าพวกเขามาเกิดเป็นมนุษย์ ก็เกิดในตระกูลที่มั่งคั่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๕. อาทิตตวรรค ๑๐. ฆฏิการสูตร
ซึ่งจะหาท่อนผ้า อาหาร ความยินดี และความสนุกสนานได้ไม่ยาก
บันเทิงใจอยู่ในโภคทรัพย์ที่ผู้อื่นหาสะสมไว้
เหมือนเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
นั่นเป็นวิบากในภพนี้ ทั้งภพหน้าก็เป็นสุคติอีกด้วย
มัจฉริสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ฆฏิการสูตร
ว่าด้วยฆฏิการเทพบุตร
[๕๐] ฆฏิการเทพบุตรกราบทูลว่า
ภิกษุ ๗ รูป ผู้บังเกิดในพรหมโลกชั้นอวิหา
เป็นผู้หลุดพ้น สิ้นราคะและโทสะแล้ว
ข้ามพ้นตัณหาที่ซ่านไปในโลกได้
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
ภิกษุเหล่านั้นคือใครบ้าง
ได้ข้ามพ้นเปือกตม คือบ่วงความตาย
ที่ใคร ๆ ข้ามได้แสนยาก
ละทิ้งกายมนุษย์๑แล้วก้าวล่วงโยคะอันเป็นทิพย์๒ได้
ฆฏิการเทพบุตรทูลตอบว่า
ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้ คือ ท่านอุปกะ
ท่านผลคัณฑะ และท่านปุกกุสาติ
ภิกษุอีก ๔ รูป คือ ท่านภัททิยะ ท่านขัณฑเทวะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๕. อาทิตตวรรค ๑๐. ฆฏิการสูตร
ท่านพหุทันตี และท่านสิงคิยะ
ภิกษุเหล่านั้นละทิ้งกายมนุษย์แล้ว
ก้าวล่วงโยคะอันเป็นทิพย์ได้
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
ท่านผู้ฉลาดมักกล่าวสรรเสริญภิกษุเหล่านั้น
ผู้ละบ่วงแห่งมารได้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นรู้ธรรมของใครเล่า
จึงตัดเครื่องผูกคือภพได้
ฆฏิการเทพบุตรทูลตอบว่า
ท่านเหล่านั้นรู้ธรรมของผู้ใด
จึงตัดเครื่องผูกคือภพได้
ผู้นั้นมิใช่ใครอื่นนอกจากพระผู้มีพระภาค
(และ) นอกจากคำสั่งสอนของพระองค์
ท่านเหล่านั้นรู้ธรรมเป็นที่ดับไม่เหลือ
แห่งนามรูปแล้ว จึงตัดเครื่องผูกคือภพได้
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
ท่านกล่าววาจาลึกซึ้ง
ที่รู้ได้ยาก เข้าใจให้ดีได้ยาก
ท่านรู้ธรรมของใคร จึงกล่าววาจาเช่นนี้ได้
ฆฏิการเทพบุตรทูลตอบว่า
เมื่อก่อนข้าพระองค์เป็นช่างหม้อ
ปั้นหม้ออยู่ในแคว้นเวภฬิงคะ เป็นผู้เลี้ยงดูมารดาและบิดา
เป็นอุบาสกของพระกัสสปพุทธเจ้า เว้นขาดจากเมถุนธรรม
ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีอามิส
ได้เคยเป็นคนหมู่บ้านเดียวกันกับพระองค์
ทั้งเคยเป็นสหายของพระองค์ในกาลก่อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๕. อาทิตตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ข้าพระองค์รู้จักภิกษุ ๗ รูปเหล่านี้
ผู้หลุดพ้นแล้ว สิ้นราคะและโทสะแล้ว
ข้ามพ้นตัณหาที่ซ่านไปในโลกได้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
นายช่างหม้อ จริงอย่างที่ท่านพูดนั่นแหละ
เมื่อก่อนนั้นท่านเคยเป็นช่างหม้อ
ปั้นหม้ออยู่ในแคว้นเวภฬิงคะ เป็นผู้เลี้ยงดูมารดาและบิดา
เป็นอุบาสกของพระกัสสปพุทธเจ้า เว้นขาดจากเมถุนธรรม
ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีอามิส
ได้เคยเป็นคนหมู่บ้านเดียวกันกับเรา
ทั้งเคยเป็นสหายของเราในกาลก่อน
พระสังคีติกาจารย์กล่าวว่า
สหายเก่าทั้งสอง ผู้เคยอบรมตนมาแล้ว
เหลือไว้แต่ร่างกายในชาติสุดท้าย
ได้มาพบกันด้วยอาการอย่างนี้๑
ฆฏิการสูตรที่ ๑๐ จบ
อาทิตตวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาทิตตสูตร ๒. กินททสูตร
๓. อันนสูตร ๔. เอกมูลสูตร
๕. อโนมิยสูตร ๖. อัจฉราสูตร
๗. วนโรปสูตร ๘. เชตวนสูตร
๙. มัจฉริสูตร ๑๐. ฆฏิการสูตร

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น