Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๕-๓ หน้า ๑๓๓ - ๑๙๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๐๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๔. ปิยสูตร
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะชนผู้รักกันทำความเจริญใดให้แก่ผู้ที่ตนรักได้ ชนเหล่านั้นก็ทำความ
เจริญนั้นแก่ตนเองได้ ฉะนั้นชนเหล่านั้นจึงชื่อว่ารักตน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ถ้าบุคคลรู้ว่ารักตน ก็ไม่พึงชักนำตนไปในทางชั่ว
เพราะความสุขนั้นบุคคลผู้มักทำชั่วจะไม่ได้โดยง่าย
เมื่อบุคคลถูกความตายครอบงำ
ก็จะต้องละทิ้งภพมนุษย์ไป
ก็อะไรเล่าเป็นสมบัติของเขา
และเขาจะนำอะไรไปได้
อนึ่ง อะไรเล่าจะติดตามเขาไป
ดุจเงาติดตามตัวไป ฉะนั้น
สัตว์ผู้จะต้องตายในโลกนี้
ทำกรรมอันใด คือบุญและบาปทั้ง ๒ ประการ
บุญและบาปนั้นแลเป็นสมบัติของเขา
ทั้งเขาจะนำเอาบุญและบาปนั้นไปได้
อนึ่ง บุญและบาปนั้นย่อมติดตามเขาไป
ดุจเงาติดตามตัวไป ฉะนั้น
เพราะฉะนั้น บุคคลควรทำกรรมดี
สะสมไว้เป็นสมบัติในโลกหน้า
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
ปิยสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. อัตตรักขิตสูตร

๕. อัตตรักขิตสูตร
ว่าด้วยผู้รักษาตน
[๑๑๖] พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความ
คิดคำนึงอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าไหนหนอชื่อว่ารักษาตน ชนเหล่าไหนชื่อว่าไม่รักษาตน’
ข้าพระองค์ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ก็ชนบางพวกประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่รักษาตน’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะการรักษาเช่นนั้นเป็นการรักษาภายนอก มิใช่เป็นการรักษาภายใน ฉะนั้น
ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่าไม่รักษาตน ส่วนชนบางพวกประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต
มโนสุจริต ชนเหล่านั้นชื่อว่ารักษาตน แม้ว่าพลช้าง พลม้า พลรถหรือพลเดินเท้า
ไม่รักษาเขาก็ตาม ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่ารักษาตน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะการรักษาเช่นนั้นเป็นการรักษาภายใน มิใช่เป็นการรักษาภายนอก ฉะนั้น
ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่ารักษาตน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น ก็ชนบางพวกประพฤติกายทุจริต ฯลฯ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่รักษาตน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะการรักษาเช่นนั้นเป็นการรักษาภายนอก มิใช่เป็นการรักษาภายใน ฉะนั้น
ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่าไม่รักษาตน ส่วนชนบางพวกประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต
มโนสุจริต ชนเหล่านั้นชื่อว่ารักษาตน แม้ว่าพลช้าง พลม้า พลรถ หรือพลเดินเท้า
ไม่รักษาเขาก็ตาม ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่ารักษาตน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะการรักษาเช่นนั้นเป็นการรักษาภายใน มิใช่เป็นการรักษาภายนอก ฉะนั้น
ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่ารักษาตน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๖. อัปปกสูตร
พระผู้มีพระภาค ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
การสำรวมกายเป็นการดี
การสำรวมวาจาเป็นการดี
การสำรวมใจเป็นการดี
การสำรวมในที่ทั้งปวงเป็นการดี
บุคคลสำรวมในที่ทั้งปวงแล้วมีความละอายต่อบาป
เรากล่าวว่ารักษาตน
อัตตรักขิตสูตรที่ ๕ จบ

๖. อัปปกสูตร
ว่าด้วยสัตว์มีจำนวนน้อย
[๑๑๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึง
อย่างนี้ว่า ‘สัตว์เหล่าใดได้โภคะมากมายแล้ว ไม่มัวเมา ไม่ประมาท ไม่ติดอยู่ในกาม
และไม่ประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นมีจำนวนน้อยในโลก ส่วนสัตว์
เหล่าใดได้โภคะมากมายแล้ว มัวเมา ประมาท ติดอยู่ในกามและประพฤติผิด
ในสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นมีจำนวนมากในโลก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น สัตว์เหล่าใดได้โภคะมากมายแล้ว ไม่มัวเมา ไม่ประมาท ไม่ติดอยู่
ในกามและไม่ประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นมีจำนวนน้อยในโลก
ส่วนสัตว์เหล่าใดได้โภคะมากมายแล้ว มัวเมา ประมาท ติดอยู่ในกามและประพฤติ
ผิดในสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นมีจำนวนมากในโลก”
พระผู้มีพระภาค ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้กำหนัดกล้าในโภคะที่น่าใคร่
มักมาก หมกมุ่นในกาม ไม่รู้สึกตัวว่าละเมิด
เหมือนพวกเนื้อไม่รู้สึกตัวว่ามีบ่วงที่เขาดักไว้
ผลเผ็ดร้อนย่อมมีแก่สัตว์พวกนั้นในภายหลัง
เพราะกรรมนั้นมีวิบากเลวทราม
อัปปกสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๗. อัตถกรณสูตร

๗. อัตถกรณสูตร
ว่าด้วยการกระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์
[๑๑๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้นั่งพิจารณาคดี เห็นขัตติยมหาศาลบ้าง
พราหมณมหาศาลบ้าง คหบดีมหาศาลบ้าง ซึ่งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
มีทองและเงินมากมาย มีทรัพย์เครื่องปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์และธัญชาติมากมาย
กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเค้ามูล เพราะกามเป็นตัวการณ์
หม่อมฉันได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘บัดนี้ ไม่สมควรที่เราจะพิจารณาคดี (เพราะ)บัดนี้
ราชโอรสนามว่าวิฑูฑภะผู้มีหน้าชื่นบาน จักมาพิจารณาคดี”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น ขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล แม้บางพวก
เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมากมาย มีทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
มากมาย มีทรัพย์และธัญชาติมากมาย กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ เพราะกามเป็นเหตุ
เพราะกามเป็นเค้ามูล เพราะกามเป็นตัวการณ์ ข้อนั้นจักมีเพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่พวกเขาตลอดกาลนาน”
พระผู้มีพระภาค ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้กำหนัดกล้าในโภคะที่น่าใคร่
มักมาก หมกมุ่นในกาม ไม่รู้สึกตัวว่าละเมิด
เหมือนฝูงปลาไม่รู้สึกตัวว่ามีเครื่องดักที่เขาดักไว้ ฉะนั้น
ผลเผ็ดร้อนย่อมมีแก่สัตว์พวกนั้นในภายหลัง
เพราะกรรมนั้นมีวิบากเลวทราม
อัตถกรณสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๘. มัลลิกาสูตร

๘. มัลลิกาสูตร
ว่าด้วยเรื่องพระนางมัลลิกาเทวี
[๑๑๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลกับพระนางมัลลิกาเทวีได้ประทับ ณ ปราสาท
อันประเสริฐชั้นบน ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตรัสถามพระนางมัลลิกาเทวี
ดังนี้ว่า “มัลลิกา ใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของเธอมีบ้างไหม”
พระนางมัลลิกาเทวีได้ทูลสนองว่า “ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ใครอื่นซึ่ง
เป็นที่รักยิ่งกว่าตนของหม่อมฉันไม่มีเลย และใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของ
พระองค์มีอยู่หรือ”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “มัลลิกา ใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของเรา
ไม่มีเลย”
ต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลงจากปราสาทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ข้าพระองค์อยู่ที่ปราสาทอันประเสริฐชั้นบนกับ
พระนางมัลลิกาเทวี ได้พูดกับพระนางมัลลิกาเทวีดังนี้ว่า ‘มัลลิกา ใครอื่นซึ่งเป็น
ที่รักยิ่งกว่าตนของเธอมีบ้างไหม’ เมื่อข้าพระองค์ถามแล้วอย่างนี้ พระนางมัลลิกา
เทวีได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ใครอื่นซึ่งเป็นที่รัก
ยิ่งกว่าตนของหม่อมฉันไม่มี และใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของพระองค์มีอยู่หรือ”
เมื่อพระนางมัลลิกาเทวีกล่าวอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้พูดกับพระนางมัลลิกาเทวีดังนี้ว่า
“มัลลิกา ใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของเราไม่มี”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงได้ตรัสคาถานี้ในเวลานั้นว่า
บุคคลตั้งใจค้นหาทั่วทุกทิศ
ก็ไม่พบใครที่ไหนซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนเลย
สัตว์เหล่าอื่นก็รักตนมากเช่นนั้นเหมือนกัน
เพราะฉะนั้น ผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น
มัลลิกาสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๙. ยัญญสูตร

๙. ยัญญสูตร
ว่าด้วยการบูชายัญ
[๑๒๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตระเตรียมการบูชามหายัญ คือ โคตัวผู้ ๕๐๐ ตัว
ลูกโคตัวผู้ ๕๐๐ ตัว ลูกโคตัวเมีย ๕๐๐ ตัว แพะ ๕๐๐ ตัว และแกะ ๕๐๐ ตัว
ถูกนำไปผูกไว้ที่หลักเพื่อบูชายัญ แม้ข้าราชบริพารของพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น
ผู้เป็นทาส คนใช้หรือกรรมกรที่มีอยู่ แม้ชนเหล่านั้นก็ถูกอาชญาคุกคาม ถูกภัย
คุกคาม ร้องไห้น้ำตานองหน้า กระทำบริกรรมอยู่
ครั้นเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร๑เข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควรได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลได้
ตระเตรียมการบูชามหายัญ คือ โคตัวผู้ ๕๐๐ ตัว ลูกโคตัวผู้ ๕๐๐ ตัว ลูกโค
ตัวเมีย ๕๐๐ ตัว แพะ ๕๐๐ ตัว และแกะ ๕๐๐ ตัว ถูกนำไปผูกไว้ที่หลักเพื่อ
บูชายัญ แม้ข้าราชบริพารของพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น ผู้เป็นทาส คนใช้หรือ
กรรมกรที่มีอยู่ แม้ชนเหล่านั้นก็ถูกอาชญาคุกคาม ถูกภัยคุกคาม ร้องไห้น้ำตา
นองหน้า กระทำบริกรรมอยู่”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้
ในเวลานั้นว่า
มหายัญที่มีกิริยามากเหล่านั้น คือ
อัสวเมธ บุรุษเมธ สัมมาปาสะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๑๐. พันธนสูตร
วาชเปยยะ นิรัคคฬะ๑ไม่มีผลมาก
(เพราะ)พระอริยะผู้ปฏิบัติชอบแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ย่อมไม่เกี่ยวข้องกับยัญที่มีการฆ่าแพะ
แกะ โค และสัตว์ชนิดต่าง ๆ
ส่วนยัญใด ไม่มีกิริยา เอื้ออำนวยประโยชน์
ประชาชนบูชาตระกูลทุกเมื่อ
คือ ไม่มีการฆ่าแพะ แกะ โค และสัตว์ชนิดต่าง ๆ
พระอริยะผู้ปฏิบัติชอบ แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ย่อมเกี่ยวข้องกับยัญนั้น
นักปราชญ์พึงบูชายัญนั้น ที่มีผลมาก
เพราะเมื่อบูชายัญนั้นนั่นแหละ
ย่อมมีแต่ความดี ไม่มีความชั่ว
ยัญย่อมแพร่หลาย และเทวดาก็ยังเลื่อมใส๒
ยัญญสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. พันธนสูตร
ว่าด้วยเครื่องจองจำ
[๑๒๑] สมัยนั้น หมู่มหาชนถูกพระเจ้าปเสนทิโกศลให้จองจำไว้แล้ว บางพวก
ถูกจองจำด้วยเชือก บางพวกถูกจองจำด้วยขื่อคา บางพวกถูกจองจำด้วยโซ่ตรวน
ครั้นเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาต
ยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๑. ปฐมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้หมู่มหาชนถูกพระเจ้าปเสนทิ-
โกศลให้จองจำไว้แล้ว บางพวกถูกจองจำด้วยเชือก บางพวกถูกจองจำด้วยขื่อคา
บางพวกถูกจองจำด้วยโซ่ตรวน”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้
ในเวลานั้นว่า
นักปราชญ์ทั้งหลายไม่ได้กล่าวถึงเครื่องจองจำ
ที่ทำด้วยเหล็ก ทำด้วยไม้และทำด้วยหญ้า
ว่าเป็นเครื่องจองจำที่มั่นคง
แต่กล่าวถึงความกำหนัดยินดีนักในเครื่องประดับแก้วมณี
และความอาลัยในบุตรและภรรยาทั้งหลาย
ว่าเป็นเครื่องจองจำที่มั่นคง
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวถึงเครื่องจองจำ
ที่มีความกำหนัดยินดีนักในเครื่องประดับแก้วมณีเป็นต้นนั้น
ที่ต่ำ หย่อน แก้ได้ยาก ว่าเป็นเครื่องจองจำที่มั่นคง
ธีรชนตัดเครื่องจองจำแม้เช่นนั้นได้แล้วออกบวช
เป็นผู้ไม่มีความอาลัย ละกามสุขเสียได้๑
พันธนสูตรที่ ๑๐ จบ
วรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ทหรสูตร ๒. ปุริสสูตร
๓. ชรามรณสูตร ๔. ปิยสูตร
๕. อัตตรักขิตสูตร ๖. อัปปกสูตร
๗. อัตถกรณสูตร ๘. มัลลิกาสูตร
๙. ยัญญสูตร ๑๐. พันธนสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. สัตตชฎิลสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
๑. สัตตชฏิลสูตร
ว่าด้วยชฎิล ๗ คน
[๑๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาทของ
นางวิสาขามิคารมาตา เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาค
เสด็จออกจากที่หลีกเร้นแล้ว ประทับนั่งที่นอกซุ้มประตู ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิ-
โกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ
ที่สมควร
สมัยนั้น ชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก ๗ คน
ปริพาชก ๗ คน ผู้มีขนรักแร้ เล็บ และขนยาว ถือเครื่องบริขารต่าง ๆ เดินผ่านไป
ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ทันใดนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลุกจากที่ประทับ
ทรงห่มพระภูษาเฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง ทรงจดพระชานุมณฑลเบื้องขวา ณ
พื้นแผ่นดิน ประนมมือไปทางชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก
๗ คน ปริพาชก ๗ คน เหล่านั้นแล้วทรงประกาศพระนาม ๓ ครั้งว่า ‘ท่านเจ้าข้า
ข้าพเจ้าคือพระราชาปเสนทิโกศล ฯลฯ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าคือพระราชาปเสนทิโกศล”
ลำดับนั้น เมื่อชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก ๗ คน
ปริพาชก ๗ คน เหล่านั้นเดินผ่านไปได้ไม่นาน พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกนักบวชเหล่านั้น คงเป็นพระ-
อรหันต์ หรือท่านผู้บรรลุอรหัตตมรรคเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร พระองค์เป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม
ครอบครองเรือน บรรทมเบียดพระโอรสและพระชายา ทาจุรณจันทน์อันนำมาจาก
แคว้นกาสี ทรงมาลาของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีเงินทอง ยากที่จะรู้เรื่องนี้ว่า
คนพวกนี้เป็นพระอรหันต์ หรือว่าคนพวกนี้บรรลุอรหัตตมรรค’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. สัตตชฏิลสูตร
มหาบพิตร ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน ศีลนั้นจะพึงรู้ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่
ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจรู้ไม่ได้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่มี
ปัญญารู้ไม่ได้
มหาบพิตร ความสะอาดจะพึงรู้ได้ด้วยการเจรจา๑ ความสะอาดนั้นจะพึงรู้ได้
ด้วยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจรู้ไม่ได้ ผู้มีปัญญา
จึงจะรู้ได้ ผู้ไม่มีปัญญารู้ไม่ได้
มหาบพิตร กำลัง๒จะพึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย กำลังนั้นจะพึงรู้ได้ด้วยกาลนาน
ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจรู้ไม่ได้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่มี
ปัญญารู้ไม่ได้
มหาบพิตร ปัญญาจะพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา ปัญญานั้นจะพึงรู้ได้ด้วยกาลนาน
ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจรู้ไม่ได้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่มี
ปัญญารู้ไม่ได้”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง
ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า มหาบพิตร พระองค์เป็น
คฤหัสถ์ บริโภคกาม ฯลฯ ยากที่จะรู้เรื่องนี้ ฯลฯ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่มี
ปัญญารู้ไม่ได้”
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นักบวชเหล่านั้นเป็นคนของข้าพระองค์ เป็นบุรุษ
สอดแนม เป็นสายลับ เที่ยวสอดแนมไปยังชนบทแล้วพากันกลับมา ข้าพระองค์
จะรู้เรื่องราวหลังจากที่คนเหล่านั้นสืบมา บัดนี้คนเหล่านั้นคงจะชำระล้างละอองธุลี
นั้นแล้ว อาบสะอาดดี ลูบไล้ผิวดีแล้ว โกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้าขาว เอิบอิ่ม
เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอข้าพระองค์อยู่”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้
ในเวลานั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒. ปัญจราชสูตร
คนผู้รู้ดี ไม่ควรไว้วางใจใครเพราะผิวพรรณและรูปร่าง
ไม่ควรไว้วางใจใครเพราะการเห็นกันชั่วครู่เดียว
เพราะว่านักบวชผู้ไม่สำรวมทั้งหลายย่อมเที่ยวไปในโลกนี้
ด้วยเครื่องบริขารของเหล่านักบวชผู้สำรวมดีแล้ว
นักบวชเหล่านั้นผู้ไม่บริสุทธิ์ในภายใน
งามแต่ภายนอก แวดล้อมด้วยบริวารท่องเที่ยวอยู่ในโลก
ดุจตุ้มหูดินและเหรียญโลหะครึ่งมาสกหุ้มด้วยทองคำปลอมไว้
สัตตชฏิลสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปัญจราชสูตร
ว่าด้วยพระราชา ๕ พระองค์
[๑๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พระราชา ๕ พระองค์ มีพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเป็นประมุขผู้
เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ได้รับบำเรออยู่ มีคำถามเกิดขึ้นในระหว่างการ
สนทนากันว่า “อะไรเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย”
บรรดาพระราชาเหล่านั้น บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า “รูปเป็นยอดแห่งกาม
ทั้งหลาย”
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า “เสียงเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย”
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า “กลิ่นเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย”
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า “รสเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย”
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า “โผฏฐัพพะเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย”
ในขณะนั้น พระราชาเหล่านั้นไม่อาจจะตกลงกันได้ พระเจ้าปเสนทิโกศล
จึงได้ตรัสกับพระราชาเหล่านั้นดังนี้ว่า “มาเถิดท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พวกเราจัก
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลถามความข้อนี้กับพระองค์ พระองค์ทรงพยากรณ์
แก่พวกเราอย่างใด พวกเราก็พึงจำคำพยากรณ์นั้นไว้อย่างนั้น” พระราชาเหล่านั้น
ทรงรับพระดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒. ปัญจราชสูตร
ต่อมา พระราชา ๕ พระองค์นั้น มีพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเป็นประมุข
เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร
พระเจ้าปเสนทิโกศลได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายในที่นี้ เป็นราชาทั้ง ๕ องค์ เอิบอิ่ม
เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ได้รับบำเรออยู่ มีคำถามเกิดขึ้นในระหว่างการสนทนา
กันว่า ‘อะไรเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย’
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า ‘รูปเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย’
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า ‘เสียงเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย’
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า ‘กลิ่นเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย’
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า ‘รสเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย’
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า ‘โผฏฐัพพะเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย’ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ที่สุดแห่งความพอใจนั่นแหละ อาตมภาพ
กล่าวว่า เป็นยอดในกามคุณ ๕ รูปเหล่าใดเป็นที่พอใจของคนบางคน รูปเหล่านั้น
ไม่เป็นที่พอใจของคนบางคน เขาพอใจ มีความดำริเต็มรอบด้วยรูปเหล่าใด รูปอื่น
จากรูปเหล่านั้นจะยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า เขาก็ไม่ปรารถนา รูปเหล่านั้นเป็นรูปที่ดี
ยิ่งสำหรับเขา รูปเหล่านั้นเป็นรูปยอดเยี่ยมสำหรับเขา
มหาบพิตร เสียงเหล่าใด...
มหาบพิตร กลิ่นเหล่าใด...
มหาบพิตร รสเหล่าใด...
มหาบพิตร โผฏฐัพพะเหล่าใดเป็นที่พอใจของคนบางคน โผฏฐัพพะเหล่านั้น
ไม่เป็นที่พอใจของคนบางคน เขาพอใจ มีความดำริเต็มรอบด้วยโผฏฐัพพะเหล่าใด
โผฏฐัพพะอื่นจากโผฏฐัพพะเหล่านั้นจะยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า เขาก็ไม่ปรารถนา
โผฏฐัพพะเหล่านั้นเป็นโผฏฐัพพะที่ดียิ่งสำหรับเขา โผฏฐัพพะเหล่านั้นเป็นโผฏฐัพพะ
ยอดเยี่ยมสำหรับเขา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. โทณปากสูตร
สมัยนั้น จันทนังคลิกอุบาสกนั่งอยู่ในบริษัทนั้น ลำดับนั้น จันทนังคลิกอุบาสก
ลุกจากที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เหตุอย่างหนึ่งปรากฏ
แก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เหตุอย่างหนึ่งปรากฏแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “จันทนังคลิกะ เหตุนั้นจงปรากฏแก่ท่านเถิด”
ลำดับนั้น จันทนังคลิกอุบาสกได้สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเฉพาะพระพักตร์
ด้วยคาถาที่สมควรแก่เหตุนั้นว่า
ดอกปทุมชื่อโกกนุท บานในเวลาเช้า
ยังไม่สิ้นกลิ่น ยังหอมอยู่ ฉันใด
ท่านจงดูพระอังคีรส ผู้ไพโรจน์อยู่
ดุจดวงอาทิตย์รุ่งโรจน์อยู่ในอากาศ ฉันนั้น
ลำดับนั้น พระราชา ๕ พระองค์นั้น ทรงให้จันทนังคลิกอุบาสกห่มผ้า ๕ ผืน
ทันใดนั้น จันทนังคลิกอุบาสกก็ถวายให้พระผู้มีพระภาคทรงห่มผ้า ๕ ผืนเหล่านั้น
ปัญจราชสูตรที่ ๒ จบ

๓. โทณปากสูตร
ว่าด้วยการหุงข้าวสารทะนานหนึ่ง
[๑๒๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระกระยาหารที่หุงด้วยข้าวสารทะนานหนึ่ง
ทรงอึดอัด เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง
ณ ที่สมควร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยแล้วทรงอึดอัด
จึงได้ตรัสคาถานี้ในเวลานั้นว่า
มนุษย์ผู้มีสติอยู่ทุกเมื่อ
รู้จักประมาณในโภชนะที่ได้แล้ว
ย่อมมีเวทนาเบาบาง
เขาย่อมแก่ช้า อายุก็ยั่งยืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๔. ปฐมสังคามสูตร
สมัยนั้น มาณพชื่อสุทัสสนะ ยืนอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ของพระเจ้าปเสนทิ-
โกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งเรียกสุทัสสนมาณพมาตรัสว่า “มานี่สุทัสสนะ
เจ้าจงเรียนคาถาในสำนักของพระผู้มีพระภาค แล้วจงกล่าวในเวลาที่เราเสวยกระยาหาร
อนึ่ง เราจะให้ค่าอาหารแก่เจ้าวันละ ๑๐๐ กหาปณะ”
สุทัสสนมาณพรับสนองพระดำรัสพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “เป็นพระมหากรุณา
อย่างยิ่ง พระเจ้าข้า” แล้วเรียนคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้วกล่าว
ในเวลาที่พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระกระยาหารว่า
มนุษย์ผู้มีสติอยู่ทุกเมื่อ
รู้จักประมาณในโภชนะที่ได้แล้ว
ย่อมมีเวทนาเบาบาง
เขาย่อมแก่ช้า อายุก็ยั่งยืน
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงดำรงอยู่ได้โดยเสวยพระกระยาหารทะนานหนึ่ง
เป็นอย่างมากเรื่อยมา ต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศล มีพระวรกายกระปรี้กระเปร่า
ทรงลูบพระวรกายด้วยฝ่าพระหัตถ์ ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า “พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้นทรงอนุเคราะห์เราด้วยประโยชน์ทั้งสอง คือ ประโยชน์ในปัจจุบันและ
ประโยชน์ในภายหน้าอย่างแท้จริง”
โทณปากสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมสังคามสูตร
ว่าด้วยสงคราม สูตรที่ ๑
[๑๒๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัดจตุรงคินี-
เสนา๑ ยกไปรุกรานพระเจ้าปเสนทิโกศลทางแคว้นกาสี พระเจ้าปเสนทิโกศลทรง
สดับข่าวว่า “พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัดจตุรงคินี-
เสนายกมารุกรานเราทางแคว้นกาสี” จึงทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกออกไปต่อสู้กับ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๔. ปฐมสังคามสูตร
พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ป้องกันแคว้นกาสี ครั้งนั้น
พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ กับพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงทำ
สงครามต่อกัน
สงครามครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงชนะ
พระเจ้าปเสนทิโกศล ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้พ่ายแพ้ ก็เสด็จล่าทัพกลับกรุง
สาวัตถี ราชธานีของพระองค์
ครั้นเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ
ทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกมารุกรานพระเจ้าปเสนทิโกศลทางแคว้นกาสี พระเจ้า
ปเสนทิโกศลทรงสดับข่าวว่า ‘พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ
ทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกมารุกรานเราทางแคว้นกาสี จึงทรงจัดจตุรงคินีเสนา
ยกออกไปต่อสู้กับพระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ป้องกันแคว้น
กาสี ครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ กับพระเจ้าปเสนทิ-
โกศลทรงทำสงครามต่อกัน
สงครามครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงชนะ
พระเจ้าปเสนทิโกศล ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้พ่ายแพ้ ก็เสด็จล่าทัพกลับกรุง
สาวัตถี ราชธานีของพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร
ผู้ครองแคว้นมคธ มีมิตรเลว มีสหายเลว มีเพื่อนเลว ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศล
เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี วันนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพ่ายแพ้มาแล้ว
อย่างนี้ จักบรรทมเป็นทุกข์ตลอดราตรีนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๕. ทุติยสังคามสูตร
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้พ่ายแพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์
ผู้ละทั้งความชนะและความพ่ายแพ้ได้แล้ว
มีใจสงบ ย่อมนอนเป็นสุข๑
ปฐมสังคามสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยสังคามสูตร
ว่าด้วยสงคราม สูตรที่ ๒
[๑๒๖] ครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัด
จตุรงคินีเสนา ยกไปรุกรานพระเจ้าปเสนทิโกศลทางแคว้นกาสี พระเจ้าปเสนทิโกศล
ทรงสดับข่าวว่า “พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัดจตุรงคินี-
เสนา ยกมารุกรานเราทางแคว้นกาสี” จึงทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกออกไปต่อสู้กับ
พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ป้องกันแคว้นกาสี ครั้งนั้น พระเจ้า
อชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ กับพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทำสงคราม
ต่อกัน
สงครามครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชนะพระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร
ผู้ครองแคว้นมคธ และได้จับเป็นเชลยศึก ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้มี
พระดำริดังนี้ว่า “ถึงแม้พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธนี้ จะ
ประทุษร้ายเราผู้มิได้ประทุษร้าย แต่เธอก็ยังเป็นหลานของเรา ทางที่ดีเราควรยึด
พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้าทั้งหมดของพระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร
ผู้ครองแคว้นมคธแล้วปล่อยพระองค์ให้รอดชีวิตไป”
ครั้นเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เที่ยวไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๕. ทุติยสังคามสูตร
ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกมา
รุกรานพระเจ้าปเสนทิโกศลทางแคว้นกาสี พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสดับข่าวว่า
‘พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกมา
รุกรานเราทางแคว้นกาสี’ จึงทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกออกไปต่อสู้กับพระเจ้าอชาต-
ศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ป้องกันแคว้นกาสี ครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู
เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ กับพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงทำสงครามต่อกัน
สงครามครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชนะพระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร
ผู้ครองแคว้นมคธ และได้จับเป็นเชลยศึก ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้มีพระดำริ
ดังนี้ว่า ‘ถึงแม้พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธนี้ จะประทุษร้ายเรา
ผู้มิได้ประทุษร้าย แต่เธอก็ยังเป็นหลานของเรา ทางที่ดีเราควรยึดพลช้าง พลม้า
พลรถและพลเดินเท้าทั้งหมดของพระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ
แล้วปล่อยพระองค์ให้รอดชีวิตไป’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงยึดพลช้าง พลม้า
พลรถ และพลเดินเท้าทั้งหมดของพระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ
แล้วทรงปล่อยพระองค์ให้รอดชีวิตไป”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้
ในเวลานั้นว่า
คนจะแย่งชิงได้ เท่าที่การแย่งชิงนั้นจะเป็นไปได้
แต่เมื่อใดคนเหล่าอื่นมาแย่งชิงบ้าง
เมื่อนั้นผู้แย่งชิงนั้นก็กลับถูกเขาแย่งชิงไป
เพราะว่าบาปยังไม่ให้ผลเพียงใด
คนพาลย่อมสำคัญบาปว่าเป็นของดีเพียงนั้น
แต่เมื่อใดบาปให้ผล เมื่อนั้นคนพาลย่อมประสบทุกข์
ผู้ฆ่าย่อมได้รับการฆ่าตอบ ผู้ชนะย่อมได้รับการชนะตอบ
ผู้ด่าย่อมได้รับการด่าตอบ และผู้โกรธย่อมได้รับการโกรธตอบ
เพราะเมื่อกรรมให้ผล ผู้แย่งชิงนั้นย่อมถูกเขาแย่งชิงไป
ทุติยสังคามสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๖. ธีตุสูตร

๖. ธีตุสูตร
ว่าด้วยพระธิดา
[๑๒๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระเจ้า
ปเสนทิโกศล ถึงที่ประทับแล้วกราบทูล ณ ที่ใกล้พระกรรณของพระเจ้าปเสนทิโกศล
ว่า “ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท พระนางมัลลิกาเทวีประสูติพระธิดาแล้ว” เมื่อ
ราชบุรุษกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ไม่ทรงเบิกบานพระทัย
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ทรงเบิกบาน
พระทัย” จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
มหาบพิตรผู้เป็นใหญ่กว่าปวงชน
แท้จริง แม้หญิงบางคนก็ยังดีกว่า
ขอพระองค์จงชุบเลี้ยงไว้เถิด
หญิงผู้มีปัญญา มีศีล บำรุงแม่ผัวพ่อผัวดุจเทวดา
จงรักภักดีต่อสามี ยังมีอยู่
บุรุษที่เกิดจากหญิงนั้นย่อมแกล้วกล้า เป็นใหญ่ในทิศได้
บุตรของภรรยาดีเช่นนั้น ก็ครองราชสมบัติได้
ธีตุสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๗. ปฐมอัปปมาทสูตร

๗. ปฐมอัปปมาทสูตร
ว่าด้วยความไม่ประมาท สูตรที่ ๑
[๑๒๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือ
ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในภายหน้า มีอยู่หรือ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดประโยชน์ทั้งสอง
ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบันนี้ และประโยชน์ในภายหน้า มีอยู่”
พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึด
ประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบันนี้ และประโยชน์ในภายหน้า คืออะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดประโยชน์ในปัจจุบัน
และประโยชน์ในภายหน้าไว้ได้ คือ ความไม่ประมาท รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายที่
สัญจรไปบนแผ่นดินชนิดใดชนิดหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมดย่อมรวมลงในรอย
เท้าช้าง บัณฑิตกล่าวว่า รอยเท้าช้างเป็นเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่
ฉันใด มหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือประโยชน์ในปัจจุบัน
และประโยชน์ในภายหน้า คือ ความไม่ประมาท ก็ฉันนั้น”
พระผู้มีพระภาค ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
บุคคลเมื่อปรารถนาอายุ ความไม่มีโรค
วรรณะ สวรรค์ ความเกิดในตระกูลสูง
และความยินดีอย่างโอฬารต่อ ๆ ไป
พึงทำความไม่ประมาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๘. ทุติยอัปปมาทสูตร
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ
ความไม่ประมาทในการทำบุญ
บัณฑิตผู้ไม่ประมาทย่อมบรรลุประโยชน์ทั้งสอง
ธีรชนท่านเรียกว่า บัณฑิต
เพราะยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือ
ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในภายหน้า
ปฐมอัปปมาทสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยอัปปมาทสูตร
ว่าด้วยความไม่ประมาท สูตรที่ ๒
[๑๒๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความคิดคำนึงเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ผู้หลีกเร้นอยู่
ในที่สงัดอย่างนี้ว่า “ธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วนั่นแล เป็นธรรมสำหรับ
ผู้มีมิตรดี๑ มีสหายดี๒ มีเพื่อนดี๓ ไม่ใช่สำหรับผู้มีมิตรเลว มีสหายเลว มีเพื่อนเลว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น ธรรมที่อาตมภาพกล่าวไว้ดีแล้วนั่นแล เป็นธรรมสำหรับผู้มีมิตรดี
มีสหายดี มีเพื่อนดี ไม่ใช่สำหรับผู้มีมิตรเลว มีสหายเลว มีเพื่อนเลว มหาบพิตร
ครั้งหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่นิคมของหมู่เจ้าศากยะ ชื่อว่านครกะ ในแคว้นสักกะ
ครั้งนั้น ภิกษุอานนท์เข้าไปหาอาตมภาพถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
มหาบพิตรได้กล่าวกับอาตมภาพว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี
มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ กึ่งหนึ่ง”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๘. ทุติยอัปปมาทสูตร
อาตมภาพกล่าวว่า “อย่ากล่าวอย่างนั้น อานนท์ อย่ากล่าวอย่างนั้น อานนท์
ที่จริง ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์๑ทั้งหมดทีเดียว
อานนท์ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรค
มีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก (ความสงัด) อาศัยวิราคะ (ความ
คลายกำหนัด) อาศัยนิโรธ (ความดับ) น้อมไปในโวสสัคคะ (ความ
สละ)
๒. เจริญสัมมาสังกัปปะ ...
๓. เจริญสัมมาวาจา ...
๔. เจริญสัมมากัมมันตะ ...
๕. เจริญสัมมาอาชีวะ ...
๖. เจริญสัมมาวายามะ ...
๗. เจริญสัมมาสติ ...
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มากอย่างนี้แล
อนึ่ง ข้อที่ว่าความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์
ทั้งหมดทีเดียวนั้น พึงทราบโดยปริยายนี้ ด้วยว่า เหล่าสัตว์ผู้มีชาติ(ความเกิด)
เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชรา(ความแก่)เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากชรา
ผู้มีมรณะ(ความตาย)เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ(ความเศร้าโศก)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๘. ทุติยอัปปมาทสูตร
ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส
(ความคับแค้นใจ)เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส
เพราะอาศัยเราผู้เป็นมิตรดี
อานนท์ ข้อที่ว่าความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์
ทั้งหมดทีเดียวนั้น พึงทราบโดยปริยายนี้๑แล’
เพราะเหตุนั้นแล มหาบพิตร พระองค์พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักเป็นผู้
มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พระองค์ผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงอาศัย
ธรรมอย่างหนึ่งนี้ คือความไม่ประมาทในกุศลธรรม ทั้งหลายอยู่เถิด
มหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่ นางสนมผู้
ตามเสด็จจักมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระราชาเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่
เอาเถิด แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่’
มหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่ แม้พระบรม-
วงศานุวงศ์ ผู้ตามเสด็จจักมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระราชาเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัย
ความไม่ประมาทอยู่ เอาเถิด แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่
ประมาทอยู่’
มหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่ แม้กองทัพ
ก็จักมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระราชาเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่
เอาเถิด แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่’
มหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่ แม้ชาวนิคม
ชาวชนบทก็จักมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระราชาเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่
ประมาทอยู่ เอาเถิด แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่’

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๙. ปฐมอปุตตกสูตร
มหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่ แม้พระองค์
เองก็จักเป็นผู้ได้รับการคุ้มครอง รักษาแล้ว แม้ท้องพระคลังก็จักเป็นอันได้รับการ
คุ้มครอง รักษาแล้ว”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
เมื่อปรารถนาโภคะยิ่ง ๆ ขึ้นไป
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาทในการทำบุญ
บัณฑิตผู้ไม่ประมาทย่อมบรรลุประโยชน์ทั้งสอง
ธีรชนท่านเรียกว่า บัณฑิต
เพราะบรรลุประโยชน์ทั้งสอง คือ
ประโยชน์ในปัจจุบันและประโยชน์ในภายหน้า
ทุติยอัปปมาทสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมอปุตตกสูตร
ว่าด้วยทรัพย์ที่ไม่มีบุตร สูตรที่ ๑
[๑๓๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแต่ยังวัน
ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพระเจ้าปเสนทิ-
โกศลดังนี้ว่า “เชิญเถิด มหาบพิตร พระองค์เสด็จมาจากไหนแต่ยังวัน”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คหบดีผู้เป็นเศรษฐี
ในกรุงสาวัตถีนี้ ถึงแก่กรรมแล้ว ข้าพระองค์ให้ขนทรัพย์สมบัติที่ไม่มีบุตรนั้นมาไว้
ในพระราชวังแล้วจึงมาเข้าเฝ้า เฉพาะเงินเท่านั้นมี ๘,๐๐๐,๐๐๐ ส่วนเครื่องเงินนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๙. ปฐมอปุตตกสูตร
ไม่ต้องพูดถึง อนึ่ง คหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้นได้บริโภคอาหารเช่นนี้ คือ บริโภค
ปลายข้าวกับน้ำผักดอง ได้ใช้ผ้าเครื่องนุ่งห่มเช่นนี้ คือ นุ่งห่มผ้าเนื้อหยาบที่ตัด
เป็นสามชิ้นเย็บติดกัน ได้ใช้ยานพาหนะเช่นนี้ คือ ใช้รถเก่า ๆ กั้นร่มทำด้วยใบไม้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น อสัตบุรุษได้โภคะมากมายแล้ว ไม่ทำตนให้มีความสุขสำราญ ไม่ทำ
มารดาและบิดาให้ได้รับความสุขสำราญ ไม่ทำบุตรและภรรยาให้ได้รับความสุขสำราญ
ไม่ทำทาสและกรรมกรให้ได้รับความสุขสำราญ ไม่ทำมิตรและอำมาตย์๑ให้ได้รับ
ความสุขสำราญ ไม่ตั้งทักษิณาอันมีผลในเบื้องบน มีผลอันดี มีวิบากเป็นสุข
และเป็นไปเพื่อสวรรค์ไว้ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย โภคะเหล่านั้นของเขาที่มิได้ใช้
สอยโดยชอบอย่างนี้ พระราชาทั้งหลายริบไปบ้าง โจรทั้งหลายปล้นไปบ้าง ไฟ
ไหม้บ้าง น้ำพัดไปบ้าง ทายาททั้งหลายผู้ไม่เป็นที่รักนำไปบ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้
โภคะเหล่านั้นของเขาที่มิได้ใช้สอยโดยชอบ ย่อมเสียไปเปล่าโดยไม่มีการใช้สอย
มหาบพิตร ในถิ่นอมนุษย์ มีสระโบกขรณีซึ่งมีน้ำใส เย็น จืดสนิท ใสสะอาด
มีท่าน้ำดี น่ารื่นรมย์ น้ำนั้นคนไม่ตักเอาไป ไม่ดื่ม ไม่อาบ หรือไม่ทำตามที่ต้องการ
เมื่อเป็นเช่นนี้ น้ำที่ไม่ได้ใช้สอยโดยชอบนั้น พึงเสียไปเปล่าโดยไม่มีการใช้สอย
แม้ฉันใด มหาบพิตร อสัตบุรุษได้โภคะมากมายแล้ว ไม่ทำตนให้ได้รับความสุข
สำราญ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ โภคะเหล่านั้นของเขาที่มิได้ใช้สอยโดยชอบ ย่อมเสีย
ไปเปล่าโดยไม่มีการใช้สอย ฉันนั้นเหมือนกัน
มหาบพิตร ส่วนสัตบุรุษได้โภคะมากมายแล้ว ทำตนให้ได้รับความสุขสำราญ
ทำมารดาและบิดาให้ได้รับความสุขสำราญ ทำบุตรและภรรยาให้ได้รับความสุขสำราญ
ทำทาสและกรรมกรให้ได้รับความสุขสำราญ ทำมิตรและอำมาตย์ให้ได้รับความสุข
สำราญ ตั้งทักษิณาอันมีผลในเบื้องบน มีผลอันดี มีวิบากเป็นสุข เป็นไปเพื่อสวรรค์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๙. ปฐมอปุตตกสูตร
ไว้ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย โภคะเหล่านั้นของเขาที่ใช้สอยโดยชอบอยู่อย่างนี้
พระราชาทั้งหลายก็ริบไปไม่ได้ โจรทั้งหลายก็ปล้นเอาไปไม่ได้ ไฟก็ไหม้ไม่ได้
น้ำก็พัดไปไม่ได้ ทายาททั้งหลายผู้ไม่เป็นที่รักก็นำไปไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ โภคะ
เหล่านั้นของเขาที่ใช้สอยอยู่โดยชอบ ย่อมมีการใช้สอย ไม่เสียไปเปล่า
มหาบพิตร ในที่ไม่ไกลจากหมู่บ้าน หรือนิคม มีสระโบกขรณี ซึ่งมีน้ำใส
เย็น จืดสนิท ใสสะอาด มีท่าน้ำดี น่ารื่นรมย์ น้ำนั้นคนตักไปบ้าง ดื่มบ้าง อาบบ้าง
ทำตามที่ต้องการบ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ น้ำที่ใช้สอยอยู่โดยชอบนั้น ชื่อว่ามีการใช้สอย
ไม่เสียไปเปล่า แม้ฉันใด มหาบพิตร สัตบุรุษได้โภคะมากมายแล้ว ทำตนให้ได้รับ
ความสุขสำราญ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ โภคะเหล่านั้นของเขาที่ใช้สอยอยู่โดยชอบ
ย่อมมีการใช้สอย ไม่เสียไปเปล่า ฉันนั้นเหมือนกัน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
น้ำเย็นในถิ่นอมนุษย์ที่ไม่ได้ใช้สอย
ย่อมเหือดแห้งไป ฉันใด
ทรัพย์ที่คนชั่วได้แล้ว ตนเองไม่ได้ใช้
และไม่ให้คนอื่นใช้ ก็เสียไปเปล่า ฉันนั้น
ส่วนวิญญูชนผู้มีปัญญานั้น ได้โภคะแล้ว
ย่อมใช้สอยและประกอบกิจการงาน
เขาเป็นคนอาจหาญ เลี้ยงดูหมู่ญาติ ไม่ถูกติเตียน
ย่อมเข้าถึงแดนสวรรค์
ปฐมอปุตตกสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๐. ทุติยอปุตตกสูตร

๑๐. ทุติยอปุตตกสูตร
ว่าด้วยทรัพย์ที่ไม่มีบุตร สูตรที่ ๒
[๑๓๑] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแต่ยังวัน
ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพระเจ้า
ปเสนทิโกศลดังนี้ว่า “เชิญเถิด มหาบพิตร พระองค์เสด็จมาจากไหนแต่ยังวัน”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คหบดีผู้เป็นเศรษฐี
ในกรุงสาวัตถีนี้ ถึงแก่กรรมแล้ว ข้าพระองค์ให้ขนทรัพย์สมบัติที่ไม่มีบุตรนั้นมาไว้
ในพระราชวังแล้วก็มาเข้าเฝ้า เฉพาะเงินเท่านั้นมี ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ ส่วนเครื่องเงินนั้น
ไม่ต้องพูดถึง อนึ่ง คหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น ได้บริโภคอาหารเช่นนี้ คือ บริโภคปลายข้าว
กับน้ำผักดอง ได้ใช้ผ้าเครื่องนุ่งห่มเช่นนี้ คือ นุ่งห่มผ้าเนื้อหยาบที่ตัดเป็นสามชิ้น
เย็บติดกัน ได้ใช้ยานพาหนะเช่นนี้ คือ ใช้รถเก่า ๆ กั้นร่มทำด้วยใบไม้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น เรื่องเคยมีมาแล้ว คหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น ได้สั่งให้จัดเตรียม
บิณฑบาตถวายพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าพระนามว่าตครสิขีว่า ‘ท่านทั้งหลาย จงถวาย
อาหารบิณฑบาตแก่สมณะ’ แล้วลุกจากอาสนะเดินจากไป ภายหลังได้มีความ
เสียดายว่า ‘อาหารบิณฑบาตนี้ให้ทาสหรือกรรมกรบริโภคยังดีกว่า’ นอกจากนี้
เขายังปลิดชีวิตบุตรน้อยคนเดียวของพี่ชาย เพราะทรัพย์สมบัติเป็นเหตุอีกด้วย
มหาบพิตร ด้วยผลของกรรมที่คหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น สั่งให้จัดเตรียมอาหาร
บิณฑบาตถวายพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าพระนามว่าตครสิขี เขาจึงบังเกิดในสุคติโลก
สวรรค์ ๗ ครั้ง ด้วยเศษผลของกรรมนั้นเหมือนกัน ได้เป็นเศรษฐีในกรุงสาวัตถีนี้
แหละถึง ๗ ครั้ง
มหาบพิตร ด้วยผลของกรรมที่คหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้นถวายอาหารบิณฑบาตแล้ว
ภายหลังได้มีความเสียดายว่า ‘อาหารบิณฑบาตนี้ให้ทาสหรือกรรมกรบริโภค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๐. ทุติยอปุตตกสูตร
ยังดีกว่า’ เขาจึงไม่คิดอยากบริโภคอาหารอันมากมาย ไม่คิดอยากใช้ผ้าเครื่องนุ่งห่ม
อันมากมาย ไม่คิดอยากใช้ยานพาหนะอย่างโอ่อ่า ไม่คิดอยากบริโภคกาม-
คุณ ๕ ที่ดี ๆ
มหาบพิตร อนึ่ง ด้วยผลของกรรมที่คหบดีผู้เศรษฐีนั้นปลิดชีวิตบุตรน้อย
คนเดียวของพี่ชาย เพราะทรัพย์สมบัติเป็นเหตุ เขาจึงถูกไฟเผาอยู่ในนรกหลายปี
หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี ด้วยเศษผลของกรรมนั้นเหมือนกัน
ทรัพย์สมบัติที่ไม่มีบุตรรับเอา จึงถูกขนเข้าคลังหลวงนี้เป็นครั้งที่ ๗
มหาบพิตร ก็บุญเก่าของคหบดี ผู้เป็นเศรษฐีนั้นหมดสิ้นแล้ว และบุญใหม่ก็
ไม่ได้สะสมไว้ ในวันนี้ คหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้นถูกไฟเผาอยู่ในมหาโรรุวนรก”
พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คหบดีผู้เป็นเศรษฐี
บังเกิดในมหาโรรุวนรกอย่างนั้นหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อย่างนั้น มหาบพิตร คหบดีผู้เป็นเศรษฐี
บังเกิดในมหาโรรุวนรกแล้ว”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงินทอง
สิ่งของที่หวงแหนอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือทาส กรรมกร คนรับใช้
และผู้อาศัยที่มีอยู่ ทั้งหมดนั้นเขานำไปไม่ได้
จำต้องละทิ้งไว้ทั้งหมด
อนึ่ง บุคคลทำกรรมใดทางกาย
ทางวาจา หรือทางใจ
กรรมนั้นแลเป็นสมบัติของเขา
ทั้งเขาจะนำกรรมนั้นไปได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
อนึ่งกรรมนั้นย่อมติดตามเขาไป
ดุจเงาติดตามตัวไป ฉะนั้น
เพราะฉะนั้น บุคคลควรทำกรรมดี
สะสมไว้เป็นสมบัติในโลกหน้า
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
ทุติยอปุตตกสูตรที่ ๑๐ จบ
วรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้คือ

๑. สัตตชฏิลสูตร ๒. ปัญจราชสูตร
๓. โฑณปากสูตร ๔. ปฐมสังคามสูตร
๕. ทุติยสังคามสูตร ๖. ธีตุสูตร
๗. ปฐมอัปปมาทสูตร ๘. ทุติยอัปปมาทสูตร
๙. ปฐมอปุตตกสูตร ๑๐. ทุติยอปุตตกสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๑. ปุคคลสูตร

๓. ตติยวรรค
หมวดที่ ๓
๑. ปุคคลสูตร
ว่าด้วยบุคคล ๔ ประเภท
[๑๓๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพระเจ้า
ประเสนทิโกศลผู้ประทับนั่ง ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “มหาบพิตร บุคคล ๔ จำพวก๑นี้
มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้มืดมาและมืดไป
๒. บุคคลผู้มืดมาแต่สว่างไป
๓. บุคคลผู้สว่างมาแต่มืดไป
๔. บุคคลผู้สว่างมาและสว่างไป
บุคคลผู้มืดมาและมืดไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูล
ช่างสาน ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนเทขยะ เป็นตระกูล
ยากจน มีข้าว น้ำและสิ่งของเครื่องใช้น้อย เป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หา
ของกินและเครื่องนุ่งห่มได้ยาก และเขามีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย
มีความเจ็บป่วยมาก ตาบอด เป็นง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต
มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่อง
ประทีป และเขายังประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไป
เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๑. ปุคคลสูตร
อุปมาเหมือนบุรุษไปจากความมืดสู่ความมืดมิด หรือไปจากความมืดมัว
สู่ความมืดมัว หรือไปจากสายเลือดชั่วสู่สายเลือดชั่ว แม้ฉันใด มหาบพิตร ตถาคต
กล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น บุคคลผู้มืดมาและมืดไป เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้มืดมาแต่สว่างไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูล
ช่างสาน ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนเทขยะ เป็นตระกูล
ยากจน มีข้าว น้ำและสิ่งของเครื่องใช้น้อย เป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หา
ของกินและเครื่องนุ่งห่มได้ยาก และเขามีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย
มีความเจ็บป่วยมาก ตาบอด เป็นง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต
มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และ
เครื่องประทีป แต่เขาประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
อุปมาเหมือนบุรุษขึ้นจากแผ่นดินสู่บัลลังก์ หรือขึ้นจากบัลลังก์สู่หลังม้า หรือ
ขึ้นจากหลังม้าสู่คอช้าง หรือขึ้นจากคอช้างสู่ปราสาท แม้ฉันใด มหาบพิตร ตถาคต
กล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น บุคคลผู้มืดมาแต่สว่างไป เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้สว่างมาแต่มืดไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูล
พราหมณมหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล เป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์และธัญชาติ
มากมาย และเขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก ได้ข้าว น้ำ
ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แต่เขา
ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๑. ปุคคลสูตร
อุปมาเหมือนบุรุษลงจากปราสาทสู่คอช้าง หรือลงจากคอช้างสู่หลังม้า หรือลง
จากหลังม้าสู่บัลลังก์ หรือลงจากบัลลังก์สู่พื้นดิน หรือลงจากพื้นดินเข้าสู่ที่มืด
แม้ฉันใด มหาบพิตร ตถาคตกล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น บุคคลผู้สว่างมา
แต่มืดไป เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้สว่างมาและสว่างไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูล
พราหมณมหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล เป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์และธัญชาติ
มากมาย และเขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก ได้ข้าว น้ำ
ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป และเขาก็
ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรค์
อุปมาเหมือนบุรุษก้าวไปด้วยดีจากบัลลังก์สู่บัลลังก์ หรือก้าวไปด้วยดีจากหลัง
ม้าสู่หลังม้า หรือก้าวไปด้วยดีจากคอช้างสู่คอช้าง หรือก้าวไปด้วยดีจากปราสาทสู่
ปราสาท แม้ฉันใด มหาบพิตร ตถาคตกล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น บุคคล
ผู้สว่างมาและสว่างไป เป็นอย่างนี้แล
มหาบพิตร บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
มหาบพิตร บุรุษเข็ญใจไม่มีศรัทธา
เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น มีความดำริชั่ว
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีความเอื้อเฟื้อ
ด่าบริภาษสมณะ หรือพราหมณ์ หรือวณิพกอื่น ๆ
เขาเป็นคนไม่มีประโยชน์ เป็นคนมักโกรธ
ย่อมห้ามคนที่กำลังจะให้สิ่งของเครื่องใช้แก่คนที่กำลังขอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๑. ปุคคลสูตร
มหาบพิตรผู้เป็นใหญ่กว่าปวงชน
คนเช่นนั้นเมื่อตายแล้วย่อมเข้าถึงนรกอันโหดร้าย
บุคคลประเภทนี้ ชื่อว่าผู้มืดมาและมืดไป
มหาบพิตร บุรุษเข็ญใจ แต่มีศรัทธา
ไม่มีความตระหนี่ มีความดำริประเสริฐ
มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมให้ทาน
ย่อมลุกรับสมณะ หรือพราหมณ์ หรือวณิพกอื่น ๆ
ย่อมสำเหนียกในจรรยาอันเรียบร้อย
ไม่ห้ามคนที่กำลังจะให้สิ่งของเครื่องใช้แก่คนที่กำลังขอ
มหาบพิตรผู้เป็นใหญ่กว่าปวงชน
คนเช่นนั้นเมื่อตายแล้ว ย่อมเข้าถึงไตรทิพยสถาน
บุคคลประเภทนี้ ชื่อว่าผู้มืดมาแต่สว่างไป
มหาบพิตร บุรุษมั่งมี แต่ไม่มีศรัทธา
เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น มีความดำริชั่ว
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีความเอื้อเฟื้อ
ด่าบริภาษสมณะ หรือพราหมณ์ หรือวณิพกอื่น ๆ
เขาเป็นคนไม่มีประโยชน์ เป็นคนมักโกรธ
ย่อมห้ามคนที่กำลังจะให้สิ่งของเครื่องใช้แก่คนที่กำลังขอ
มหาบพิตรผู้เป็นใหญ่กว่าปวงชน
คนเช่นนั้นเมื่อตายแล้วย่อมเข้าถึงนรกอันโหดร้าย
บุคคลประเภทนี้ ชื่อว่าผู้สว่างมาและมืดไป
มหาบพิตร บุรุษมั่งมี ทั้งมีศรัทธา
ไม่มีความตระหนี่ มีความดำริประเสริฐ
มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมให้ทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๒. อัยยิกาสูตร
ย่อมลุกรับสมณะ หรือพราหมณ์ หรือวณิพกอื่น ๆ
ย่อมสำเหนียกในจรรยาอันเรียบร้อย
ไม่ห้ามคนที่กำลังจะให้สิ่งของเครื่องใช้แก่คนที่กำลังขอ
มหาบพิตรผู้เป็นใหญ่กว่าปวงชน
คนเช่นนั้นเมื่อตายแล้ว ย่อมเข้าถึงไตรทิพยสถาน
บุคคลประเภทนี้ ชื่อว่าผู้สว่างมาและสว่างไป
ปุคคลสูตรที่ ๑ จบ

๒. อัยยิกาสูตร
ว่าด้วยพระอัยยิกาของพระเจ้าปเสนทิโกศล
[๑๓๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
แต่ยังวัน ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับ
พระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ประทับนั่ง ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “เชิญเถิดมหาบพิตร พระองค์
เสด็จมาจากไหนแต่ยังวัน”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอัยยิกาของ
ข้าพระองค์ ทรงพระชรา แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัย มีพระชนม์ ๑๒๐ ชันษา
ได้ทิวงคตเสียแล้ว พระองค์เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของข้าพระองค์มาก พระพุทธเจ้าข้า
หากข้าพระองค์ใช้ช้างแก้วแลกแล้วจะพึงได้สมหวังว่า ‘ขอพระอัยยิกาของเรา
อย่าได้ทิวงคตเลย’ ข้าพระองค์ก็พึงให้แม้ซึ่งช้างแก้วเพื่อให้ได้สมหวังว่า ‘ขอพระ
อัยยิกาของเราอย่าได้ทิวงคตเลย’
หากข้าพระองค์ใช้ม้าแก้วแลกแล้วจะพึงได้สมหวังว่า ‘ขอพระอัยยิกาของเรา
อย่าได้ทิวงคตเลย’ ข้าพระองค์ก็พึงให้แม้ซึ่งม้าแก้วเพื่อให้ได้สมหวังว่า ‘ขอพระ
อัยยิกาของเราอย่าได้ทิวงคตเลย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๒. อัยยิกาสูตร
หากข้าพระองค์ใช้บ้านส่วยแลกแล้วจะพึงได้สมหวังว่า ‘ขอพระอัยยิกาของเรา
อย่าได้ทิวงคตเลย’ ข้าพระองค์ก็พึงให้แม้ซึ่งบ้านส่วยเพื่อให้ได้สมหวังว่า ‘ขอพระ
อัยยิกาของเราอย่าได้ทิวงคตเลย’
หากข้าพระองค์ใช้ชนบทแลกแล้วจะพึงได้สมหวังว่า ‘ขอพระอัยยิกาของเรา
อย่าได้ทิวงคตเลย’ ข้าพระองค์ก็พึงให้แม้ซึ่งชนบทเพื่อให้ได้สมหวังว่า ‘ขอพระอัยยิกา
ของเราอย่าได้ทิวงคตเลย’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัส
เรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า ‘สัตว์ทั้งปวงมีความตายเป็นธรรมดา มีความตายเป็นที่สุด
ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น สัตว์ทั้งปวงมีความตายเป็นธรรมดา มีความตายเป็นที่สุด ไม่ล่วงพ้น
ความตายไปได้ มหาบพิตร ภาชนะดินชนิดใดชนิดหนึ่ง ทั้งดิบและสุก ภาชนะดิน
เหล่านั้นทั้งหมด มีความแตกเป็นธรรมดา มีความแตกเป็นที่สุด ไม่พ้นความแตก
ไปได้ แม้ฉันใด มหาบพิตร สัตว์ทั้งปวงก็มีความตายเป็นธรรมดา มีความตาย
เป็นที่สุด ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ฉันนั้นเหมือนกัน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
สัตว์ทั้งปวงจักตาย เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด
สัตว์ทั้งหลายจักไปตามกรรม เข้าถึงผลบุญและบาป
คือ ผู้ทำบาปจักไปนรก ส่วนผู้ทำบุญจักไปสวรรค์
เพราะฉะนั้น บุคคลควรทำกรรมดี
สะสมไว้เป็นสมบัติในโลกหน้า
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
อัยยิกาสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๓. โลกสูตร

๓. โลกสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่เกิดประโยชน์แก่ชาวโลก
[๑๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมเท่าไรหนอ เมื่อเกิดขึ้นแก่ชาวโลกย่อมเกิดขึ้น
เพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ธรรม ๓ ประการ เมื่อเกิดขึ้นแก่ชาวโลก
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โลภธรรม เมื่อเกิดขึ้นแก่ชาวโลกย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์
เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก
๒. โทสธรรม เมื่อเกิดขึ้นแก่ชาวโลกย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์
เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก
๓. โมหธรรม เมื่อเกิดขึ้นแก่ชาวโลกย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์
เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก
มหาบพิตร ธรรม ๓ ประการนี้แล เมื่อเกิดขึ้นแก่ชาวโลกย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่
เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
โลภะ โทสะ และโมหะเกิดขึ้นภายในตน
ย่อมทำร้ายบุรุษผู้มีจิตเลวทราม
ดุจขุยไผ่กำจัดต้นไผ่ ฉะนั้น๑
โลกสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๔. อิสสัตถสูตร

๔. อิสสัตถสูตร
ว่าด้วยทานที่ประกอบด้วยองค์ ๕ มีผลมาก
[๑๓๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลควรให้ทาน ณ ที่ไหน”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร จิตเลื่อมใสในที่ใดล่ะ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานที่ให้ในที่ไหนจึงมีผลมาก”
“มหาบพิตร บุคคลควรให้ทานในที่ไหน นั่นประการหนึ่ง และทานที่ให้ในที่ไหน
จึงมีผลมาก นั่นประการหนึ่ง ทานที่ให้แก่ผู้มีศีลมีผลมาก ทานที่ให้ในผู้ทุศีลไม่มีผลมาก
ด้วยเหตุนั้น อาตมภาพจักย้อนถามพระองค์ในปัญหาข้อนั้นบ้าง พระองค์พอพระทัย
อย่างใดพึงชี้แจงอย่างนั้น พระองค์จะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ณ ที่นี้
การยุทธ์พึงปรากฏเฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ สงครามพึงประชิดกัน ถ้ากษัตริย์
หนุ่มเป็นผู้ไม่ได้ศึกษา ไม่ได้ฝึกปรือ ไม่มีความชำนาญ ไม่ได้ประลองการยิง เป็นคน
ขลาด หวาดสะดุ้ง มักวิ่งหนี มาอาสา พระองค์พึงชุบเลี้ยงคนนั้นหรือ และพระองค์
พึงต้องการคนเช่นนั้นหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่พึงชุบเลี้ยงคนนั้น และข้าพระองค์
ไม่ต้องการคนเช่นนั้นเลย”
“ถ้าพราหมณ์หนุ่มเป็นผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ มาอาสา ฯลฯ ถ้าแพศย์หนุ่มเป็น
ผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ มาอาสา ฯลฯ ถ้าศูทรหนุ่มเป็นผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ มาอาสา
พระองค์พึงชุบเลี้ยงคนนั้นหรือ และพระองค์พึงต้องการคนเช่นนั้นหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่พึงชุบเลี้ยงคนนั้น และข้าพระองค์
ไม่ต้องการคนเช่นนั้นเลย”
“มหาบพิตร พระองค์จะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ณ ที่นี้การยุทธ์
พึงปรากฏเฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ สงครามพึงประชิดกัน ถ้ากษัตริย์หนุ่มเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๔. อิสสัตถสูตร
ผู้ศึกษาดีแล้ว ได้ฝึกปรือแล้ว มีความชำนาญ ได้ฝึกการยิงมาแล้ว ไม่เป็นคน
ขลาด ไม่หวาดสะดุ้ง ไม่หลบหนี มาอาสา พระองค์พึงชุบเลี้ยงคนนั้นหรือ
และพระองค์พึงต้องการคนเช่นนั้นหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงชุบเลี้ยงคนนั้น และข้าพระองค์พึง
ต้องการคนเช่นนั้น”
“ถ้าพราหมณ์หนุ่มเป็นผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ มาอาสา ฯลฯ ถ้าแพศย์หนุ่ม
เป็นผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ มาอาสา ฯลฯ ถ้าศูทรหนุ่มเป็นผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ
มาอาสา พระองค์พึงชุบเลี้ยงคนนั้นหรือ และพระองค์พึงต้องการคนเช่นนั้นหรือ”
“ฉันนั้นนั่นแล มหาบพิตร แม้หากว่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
จากตระกูลใด และกุลบุตรนั้นเป็นผู้ละองค์ ๕ เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ทานที่ให้
แล้วในกุลบุตรนั้นจากตระกูลนั้น ย่อมมีผลมาก”
องค์ ๕ อะไรบ้างอันกุลบุตรนั้นละได้ คือ
๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) อันกุลบุตรนั้นละได้
๒. พยาบาท (ความคิดปองร้าย) อันกุลบุตรนั้นละได้
๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) อันกุลบุตรนั้นละได้
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) อันกุลบุตรนั้นละได้
๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) อันกุลบุตรนั้นละได้
องค์ ๕ นี้แลอันกุลบุตรนั้นละได้
กุลบุตรนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อะไรบ้าง
คือ กุลบุตรนั้น
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสีลขันธ์ของพระอเสขะ
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยสมาธิขันธ์ของพระอเสขะ
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาขันธ์ของพระอเสขะ
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์ของพระอเสขะ
๕. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ของพระอเสขะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๔. อิสสัตถสูตร
กุลบุตรนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ทานที่ให้แล้วในกุลบุตรผู้ละองค์ ๕
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมมีผลมาก”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ศิลปะธนู กำลัง และความเพียร๑มีอยู่ในชายใด
พระราชาผู้ทรงการยุทธ์พึงชุบเลี้ยงชายหนุ่มผู้เช่นนั้น
ไม่พึงชุบเลี้ยงชายหนุ่มผู้ไม่กล้าหาญ
เพราะเหตุแห่งชาติ ฉันใด
ธรรมคือขันติและโสรัจจะ๒ตั้งอยู่ในบุคคลใด
บุคคลพึงบูชาบุคคลนั้นผู้มีปัญญา
มีความประพฤติเยี่ยงพระอริยะ
แม้มีชาติตระกูลต่ำ ฉันนั้นเหมือนกัน
บุคคลพึงสร้างอาศรมอันเป็นที่รื่นรมย์
อาราธนาพระพหูสูตทั้งหลายให้อยู่ ณ ที่นั้น
พึงสร้างบ่อน้ำไว้ในป่าที่กันดารน้ำ
และสร้างสะพานในที่เป็นหล่ม
พึงถวายข้าว น้ำ ของเคี้ยว ผ้าและเสนาสนะ
ในท่านผู้ซื่อตรงทั้งหลาย ด้วยใจอันเลื่อมใส
เมฆมีสายฟ้าแลบแปลบปลาบ
มียอดตั้งร้อย คำรามอยู่ ตกรดแผ่นดิน
ทำที่ดอนและที่ลุ่มให้เต็ม แม้ฉันใด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๕. ปัพพโตปมสูตร
ทายกผู้มีศรัทธา เป็นบัณฑิตได้ฟังแล้ว
ตกแต่งโภชนาหาร เลี้ยงวณิพกด้วยข้าวน้ำให้อิ่มหนำ
เที่ยวไปในโรงทาน สั่งว่า ท่านทั้งหลายจงให้ ท่านทั้งหลายจงให้
และทายกนั้นบันลือเสียงเหมือนเมฆคำราม
เมื่อฝนกำลังตก สายธารแห่งบุญอันไพบูลย์นั้น
ย่อมหลั่งรดทายกผู้ให้ ฉันนั้น
อิสสัตถสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปัพพโตปมสูตร
ว่าด้วยชราและมรณะเป็นประดุจภูเขา
[๑๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแต่
ยังวัน ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพระเจ้า
ปเสนทิโกศลผู้ประทับนั่ง ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “เชิญเถิดมหาบพิตร พระองค์เสด็จ
มาจากไหนแต่ยังวัน”
พระเจ้าประเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กษัตราธิราชผู้ได้
มูรธาภิเษกแล้ว มัวเมาเพราะความเป็นใหญ่ ถูกความกำหนัดในกามกลุ้มรุมแล้ว
ผู้ถึงซึ่งความมั่นคงในชนบท ชนะปฐพีมณฑลใหญ่แล้วครอบครองอยู่ มีราช-
กรณียกิจอันใด บัดนี้ ข้าพระองค์ก็ขวนขวายในราชกรณียกิจอันนั้น”
“มหาบพิตร พระองค์จะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ณ ที่นี้ ราชบุรุษ
ของพระองค์ผู้ควรเชื่อถือ มีวาจาเป็นหลักฐาน มาจากทิศตะวันออก เข้ามาเฝ้า
พระองค์แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระองค์
มาจากทิศตะวันออก ณ ที่นั้นได้เห็นภูเขาใหญ่สูงเทียมเมฆกำลังกลิ้งบดสัตว์ทั้งปวง
พระเจ้าข้า ขอพระองค์ทรงกระทำสิ่งที่พึงกระทำเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๕. ปัพพโตปมสูตร
ลำดับนั้น บุรุษคนที่ ๒ ผู้ควรเชื่อถือ มีวาจาเป็นหลักฐาน มาจากทิศ
ตะวันตก ฯลฯ
ต่อจากนั้น บุรุษคนที่ ๓ ผู้ควรเชื่อถือ มีวาจาเป็นหลักฐาน มาจากทิศเหนือ
ฯลฯ
ต่อจากนั้น บุรุษคนที่ ๔ ผู้ควรเชื่อถือ มีวาจาเป็นหลักฐาน มาจากทิศใต้
เข้ามาเฝ้าพระองค์แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระองค์
มาจากทิศใต้ ณ ที่นั้น ได้เห็นภูเขาใหญ่สูงเทียมเมฆกำลังกลิ้งบดสัตว์ทั้งปวง
พระเจ้าข้า ขอพระองค์ทรงกระทำสิ่งที่พึงกระทำเถิด’ เมื่อมหาภัยร้ายกาจ ที่จะทำ
ให้มนุษย์สิ้นชีวิต อันใหญ่หลวงเห็นปานนี้ บังเกิดขึ้นแล้วแก่พระองค์ อะไรเล่าจะเป็น
กิจที่พระองค์ควรกระทำในฐานะเป็นมนุษย์ที่หาได้ยาก”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อมหาภัยร้ายกาจ ที่จะทำให้มนุษย์สิ้นชีวิต อันใหญ่
หลวงเห็นปานนี้ บังเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ อะไรเล่าจะเป็นกิจที่ข้าพระองค์ควรกระทำ
ในฐานะเป็นมนุษย์ที่หาได้ยาก นอกจากปฏิบัติธรรมให้เสมอต้นเสมอปลาย สร้างบุญ
กุศลเอาไว้”
“มหาบพิตร อาตมภาพขอถวายพระพรให้ทรงทราบ ชราและมรณะย่อม
ครอบงำพระองค์ เมื่อชราและมรณะครอบงำพระองค์อยู่ อะไรเล่าจะเป็นกิจที่พระองค์
ควรกระทำ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อชราและมรณะครอบงำข้าพระองค์อยู่ อะไรเล่า
จะเป็นกิจที่ข้าพระองค์ควรกระทำ นอกจากปฏิบัติธรรมให้เสมอต้นเสมอปลาย
สร้างบุญกุศลเอาไว้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กษัตราธิราชผู้ได้มูรธาภิเษกแล้ว มัวเมา
เพราะความเป็นใหญ่ ถูกความกำหนัดในกามกลุ้มรุมแล้ว ผู้ถึงความมั่นคงในชนบท
ผู้ชนะปฐพีมณฑลใหญ่แล้วครอบครองอยู่ ทรงทำการรบด้วยพลช้างเหล่าใด เมื่อชรา
และมรณะครอบงำอยู่ ก็ไม่ใช่คติ ไม่ใช่วิสัยที่จะทำการรบด้วยพลช้างแม้เหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๕. ปัพพโตปมสูตร
กษัตราธิราชผู้ได้มูรธาภิเษกแล้ว ฯลฯ ผู้ชนะปฐพีมณฑลใหญ่แล้วครอบครองอยู่
ทรงทำการรบด้วยพลม้าเหล่าใด ฯลฯ รบด้วยพลรถเหล่าใด ฯลฯ รบด้วยพลเดิน
เท้าแม้เหล่าใด เมื่อชราและมรณะครอบงำอยู่ ก็ไม่ใช่คติ ไม่ใช่วิสัยที่จะทำการรบ
ด้วยพลเดินเท้าแม้เหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในราชตระกูลนี้ มหาอำมาตย์
ผู้มีมนตร์ ซึ่งสามารถจะใช้มนตร์ทำลายข้าศึกที่ยกทัพมา ก็มีอยู่เหมือนกัน แต่เมื่อ
ชราและมรณะครอบงำอยู่ ก็ไม่ใช่คติ ไม่ใช่วิสัยที่จะทำการรบด้วยมนตร์แม้เหล่านั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง ในราชตระกูลนี้ เงินทองทั้งที่อยู่ในพื้นดิน ทั้งที่อยู่ใน
อากาศซึ่งพวกข้าพระองค์สามารถจะใช้เป็นเครื่องมือยุแหย่ให้ข้าศึกที่ยกทัพมาแตกกัน
ก็มีอยู่เป็นอันมาก แต่เมื่อชราและมรณะครอบงำก็ไม่ใช่คติ ไม่ใช่วิสัยที่จะทำการรบ
ด้วยทรัพย์แม้เหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็แลเมื่อชราและมรณะครอบงำอยู่
อะไรเล่าจะเป็นกิจที่ข้าพระองค์ควรกระทำ นอกจากปฏิบัติธรรมให้เสมอต้นเสมอปลาย
สร้างบุญกุศลเอาไว้”
“มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ก็เมื่อชราและ
มรณะครอบงำอยู่ อะไรเล่าจะเป็นกิจที่พระองค์ควรกระทำนอกจากปฏิบัติธรรมให้
เสมอต้นเสมอปลาย สร้างบุญกุศลเอาไว้”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ภูเขาใหญ่ล้วนแล้วด้วยศิลา สูงจดท้องฟ้า
กลิ้งบดสัตว์มาโดยรอบทั้ง ๔ ทิศ แม้ฉันใด
ชราและมรณะก็ฉันนั้น
ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย คือ พวกกษัตริย์
พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และคนเทขยะ
ไม่เว้นใคร ๆ ไว้เลย ย่อมย่ำยีเหล่าสัตว์ทั้งสิ้น
ณ ที่นั้น ไม่มียุทธภูมิสำหรับพลช้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๓. ตติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
(พลม้า) พลรถ พลเดินเท้า
และไม่อาจจะเอาชนะแม้ด้วยมนตร์หรือด้วยทรัพย์
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญา
เมื่อเห็นประโยชน์ตน พึงตั้งศรัทธาไว้ในพระพุทธเจ้า
พระธรรม และพระสงฆ์
ผู้ใดมีปกติประพฤติธรรมทางกาย ทางวาจา ทางใจ
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญผู้นั้นในโลกนี้โดยแท้
ผู้นั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์
ปัพพโตปมสูตรที่ ๕ จบ
วรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปุคคลสูตร ๒. อัยยิกาสูตร
๓. โลกสูตร ๔. อิสสัตถสูตร
๕. ปัพพโตปมสูตร

พระสูตรว่าด้วยกุศล ๕ สูตรนี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดงไว้แล้ว

โกสลสังยุต จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๑. ตโปกัมมสูตร

๔. มารสังยุต
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑
๑. ตโปกัมมสูตร
ว่าด้วยการบำเพ็ญตบะ
[๑๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธใกล้ฝั่ง
แม้น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
เกิดความรำพึงอย่างนี้ว่า “เราเป็นผู้พ้นแล้วหนอจากทุกกรกิริยานั้น เราเป็นผู้
พ้นดีแล้วหนอจากทุกกรกิริยาอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์นั้น เราเป็นผู้บรรลุโพธิ-
ญาณแล้ว”
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้ทราบความรำพึงของพระผู้มีพระภาคด้วยใจ จึงเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
มาณพทั้งหลายบริสุทธิ์ได้
ด้วยการบำเพ็ญตบะใด
ท่านหลีกจากการบำเพ็ญตบะนั้นแล้ว
เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ สำคัญว่าเป็นผู้บริสุทธิ์
ท่านพลาดจากทางแห่งความบริสุทธิ์แล้ว
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
เรารู้แล้วว่าตบะอื่นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔.มารสังยุต] ๑.ปฐมวรรค ๒. นาคสูตร
ตบะทั้งปวงหาอำนวยประโยชน์ให้ไม่
ดุจไม้พายหรือไม้ถ่อ ไม่อำนวยประโยชน์บนบก ฉะนั้น
จึงเจริญมรรค คือ ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อตรัสรู้
เป็นผู้บรรลุความบริสุทธิ์อย่างยอดเยี่ยมแล้ว
มารผู้กระทำซึ่งที่สุด เราได้กำจัดท่านเสียแล้ว
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต
ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
ตโปกัมมสูตรที่ ๑ จบ

๒. นาคสูตร
ว่าด้วยมารแปลงกายเป็นพญาช้าง
[๑๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธใกล้ฝั่ง
แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งในที่กลางแจ้ง
ในราตรีอันมืดมิด และฝนกำลังตกประปรายอยู่
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปต้องการจะให้ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพอง
สยองเกล้าเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาค จึงแปลงกายเป็นพญาช้างใหญ่ เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ พญาช้างนั้นมีศีรษะเหมือนก้อนหินใหญ่สีดำสนิท มีงา
ทั้งสองสีเหมือนเงินยวง มีงวงเหมือนงอนไถใหญ่
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
ท่านแปลงกายทั้งที่งามและไม่งาม
ท่องเที่ยวอยู่ตลอดกาลอันยาวนาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๓. สุภสูตร
มารผู้มีบาปเอ๋ย พอกันทีสำหรับการแปลงกายของท่าน
มารผู้กระทำซึ่งที่สุด เราได้กำจัดท่านเสียแล้ว
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต
ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
นาคสูตรที่ ๒ จบ

๓. สุภสูตร
ว่าด้วยร่างกายที่งาม
[๑๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธใกล้ฝั่ง
แม้น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งในที่กลางแจ้ง
ในราตรีอันมืดมิด และฝนกำลังตกประปรายอยู่
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปต้องการจะให้ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพอง
สยองเกล้าเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาค จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว
แสดงเพศต่าง ๆ หลากหลาย ทั้งที่งามและไม่งาม ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
ท่านแปลงกายทั้งที่งามและไม่งาม
ท่องเที่ยวอยู่ตลอดกาลอันยาวนาน
มารผู้มีบาปเอ๋ย พอกันทีสำหรับการแปลงกายของท่าน
มารผู้กระทำซึ่งที่สุด เราได้กำจัดท่านเสียแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๔. ปฐมมารปาสสูตร
ชนเหล่าใดสำรวมกาย วาจา ใจดีแล้ว
ชนเหล่านั้นย่อมไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร
ชนเหล่านั้นย่อมไม่เดินตามหลังมาร
ครั้งนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
สุภสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมมารปาสสูตร
ว่าด้วยบ่วงแห่งมาร สูตรที่ ๑
[๑๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย วิมุตติ(ความหลุดพ้น) อันยอดเยี่ยมเราบรรลุแล้ว วิมุตติอัน
ยอดเยี่ยมเรากระทำให้แจ้งแล้ว เพราะมนสิการโดยแยบคาย เพราะตั้งความเพียรไว้
ชอบโดยแยบคาย แม้เธอทั้งหลายก็จงบรรลุวิมุตติอันยอดเยี่ยม จงกระทำวิมุตติ
อันยอดเยี่ยมให้แจ้ง เพราะมนสิการโดยแยบคาย เพราะตั้งความเพียรไว้ชอบโดย
แยบคายเถิด”
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ท่านได้ถูกบ่วงแห่งมาร ทั้งที่เป็นของทิพย์
ทั้งที่เป็นของมนุษย์ คล้องไว้แล้ว
ท่านได้ถูกเครื่องผูกของมารผูกไว้แล้ว
สมณะ ท่านไม่พ้นจากเราไปได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. ทุติยมารปาสสูตร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
เราได้พ้นแล้วจากบ่วงแห่งมาร
ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
เราได้พ้นแล้วจากเครื่องผูกของมาร
มารผู้กระทำซึ่งที่สุด เราได้กำจัดท่านเสียแล้ว
ครั้งนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
ปฐมมารปาสสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยมารปาสสูตร
ว่าด้วยบ่วงแห่งมาร สูตรที่ ๒
[๑๔๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราพ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของ
มนุษย์ แม้พวกเธอก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
พวกเธอจงจาริกไป เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พวกเธออย่าได้
ไปโดยทางเดียวกันสองรูป จงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามใน
ท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. ทุติยมารปาสสูตร
พยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน สัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสดุจธุลีในตาน้อยมีอยู่
ย่อมเสื่อมเพราะไม่ได้ฟังธรรม จักมีผู้รู้ธรรม ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็จักไปยังตำบล
อุรุเวลาเสนานิคมเพื่อแสดงธรรม”
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ท่านได้ถูกบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์
ทั้งที่เป็นของมนุษย์ คล้องไว้แล้ว
ท่านได้ถูกเครื่องพันธนาการมากมายผูกไว้แล้ว
สมณะ ท่านไม่พ้นจากเราไปได้
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
เราได้พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง
ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
เราได้พ้นแล้วจากเครื่องพันธนาการมากมาย
มารผู้กระทำซึ่งที่สุด เราได้กำจัดท่านเสียแล้ว๑
ครั้งนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
ทุติยมารปาสสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๖. สัปปสูตร

๖. สัปปสูตร
ว่าด้วยมารแปลงกายเป็นพญางู
[๑๔๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งในที่กลางแจ้ง ในราตรีอัน
มืดมิด และฝนกำลังตกประปรายอยู่
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปต้องการจะให้ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพอง
สยองเกล้าเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาค จึงแปลงกายเป็นพญางูใหญ่ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ พญางูนั้นมีกายเหมือนเรือลำใหญ่ที่ขุดด้วยซุงทั้งต้น มีพังพาน
เหมือนเสื่อลำแพนผืนใหญ่สำหรับปูตากแป้งของช่างทำสุรา มีนัยน์ตาเหมือนถาด
สำริดใบใหญ่ของพระเจ้าโกศล มีลิ้นแลบออกจากปากเหมือนสายฟ้าแลบในขณะที่
เมฆกำลังกระหึ่ม มีเสียงหายใจเข้าหายใจออกเหมือนเสียงสูบของช่างทองที่กำลัง
พ่นลมอยู่ ฉะนั้น
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
มุนีใดอาศัยเรือนว่างอยู่
มุนีนั้นสำรวมตนได้แล้ว
เขาสละความอาลัยในอัตภาพนั้นเที่ยวไป
เพราะการสละความอาลัยในอัตภาพแล้วเที่ยวไปนั้น
เหมาะสมแก่ผู้เช่นนั้น
สัตว์ที่สัญจรไปมาก็มาก สิ่งที่น่ากลัวก็มาก
อนึ่ง เหลือบและสัตว์เลื้อยคลานก็ชุกชุม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๗. สุปติสูตร
แต่มหามุนีผู้อยู่ในเรือนว่าง
ไม่หวั่นไหวเพราะสิ่งที่น่ากลัวเหล่านั้นแม้เพียงขนลุก
ถึงแม้ท้องฟ้าจะแตก แผ่นดินจะไหว
สัตว์ทั้งหลายจะสะดุ้งกลัวกันก็ตามที
ถึงแม้หอกจะจ่ออยู่ที่อกก็ตามเถิด
พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไม่ทรงป้องกันตัว
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต
ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
สัปปสูตรที่ ๖ จบ

๗. สุปติสูตร
ว่าด้วยการบรรทม
[๑๔๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรมอยู่ในที่กลางแจ้งเกือบตลอด
ราตรี ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ทรงล้างพระบาทแล้วเสด็จเข้าพระวิหาร ทรงสำเร็จ
สีหไสยาโดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ
ทรงทำความหมายรู้ที่จะเสด็จลุกขึ้นไว้ในพระทัย
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ท่านหลับหรือ ทำไมท่านยังหลับอยู่เล่า
ท่านหลับเหมือนตายเชียวหรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๘. นันทนสูตร
ท่านหลับโดยคิดว่า ‘เราได้เรือนว่าง’ อย่างนั้นหรือ
เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นสูงแล้ว ทำไมท่านยังหลับอยู่เล่า
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
ผู้ไม่มีตัณหาดุจตาข่ายซึ่งซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ
ที่จะนำไปสู่ภพไหน ๆ ถึงหลับอยู่ก็ชื่อว่าตื่น
เพราะอุปธิทั้งปวง๑สิ้นไป
เรื่องอะไรของท่านในเรื่องนี้เล่า มาร
ครั้งนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
สุปติสูตรที่ ๗ จบ

๘. นันทนสูตร
ว่าด้วยความยินดี
[๑๔๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับแล้วได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
คนมีบุตรย่อมยินดีเพราะบุตร
คนมีโคย่อมยินดีเพราะโคเหมือนกัน
เพราะอุปธิทำให้นรชนยินดี
ฉะนั้นคนที่ไร้อุปธิจึงไม่ยินดี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๙. ปฐมอายุสูตร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
คนมีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตร
คนมีโคย่อมเศร้าโศกเพราะโคเหมือนกัน
เพราะอุปธิทำให้นรชนเศร้าโศก
ฉะนั้นคนที่ไร้อุปธิจึงไม่เศร้าโศก๑
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต
ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
นันทนสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมอายุสูตร
ว่าด้วยอายุ สูตรที่ ๑
[๑๔๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย อายุของมนุษย์ทั้งหลายนี้น้อยนัก จำต้องไปสู่สัมปรายภพ
ควรทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ สัตว์ผู้เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี ภิกษุ
ทั้งหลาย คนที่มีชีวิตอยู่ได้นานก็อยู่ได้เพียง ๑๐๐ ปี หรือจะอยู่เกินไปบ้างก็มีน้อย”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑๐. ทุติยอายุสูตร
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
มนุษย์ทั้งหลายมีอายุยืนยาว
คนดีไม่ควรดูหมิ่นอายุนั้นเลย
ควรทำตัวเหมือนเด็กอ่อนที่คอยแต่จะดื่มนม ฉะนั้น
ความตายยังมาไม่ถึงหรอก
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
มนุษย์ทั้งหลายมีอายุน้อย
คนดีควรดูหมิ่นอายุนั้น
ควรทำตัวเหมือนคนที่ถูกไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น
ความตายที่จะมาไม่ถึงไม่มี
ครั้งนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
ปฐมอายุสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยอายุสูตร
ว่าด้วยอายุ สูตรที่ ๒
[๑๔๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ฯลฯ เขตกรุง
ราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ฯลฯ ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย อายุของมนุษย์ทั้งหลายนี้น้อยนัก จำต้องไปสู่สัมปรายภพ
ควรทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ สัตว์ผู้เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี ภิกษุ
ทั้งหลาย คนที่มีชีวิตอยู่ได้นานก็อยู่ได้เพียง ๑๐๐ ปี หรือจะอยู่เกินไปบ้างก็มีน้อย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]
๑. ปฐมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
วันคืนไม่ล่วงไป ชีวิตไม่ดับไป
อายุหมุนตามสัตว์ทั้งหลาย
ดุจกงล้อหมุนตามทูบรถ ฉะนั้น
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
วันคืนล่วงไป ชีวิตดับไป
อายุของสัตว์ทั้งหลายสิ้นไป
เหมือนน้ำในแม่น้ำน้อยสิ้นไป ฉะนั้น๑
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต
ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
ทุติยอายุสูตรที่ ๑๐ จบ
วรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตโปกัมมสูตร ๒. นาคสูตร
๓. สุภสูตร ๔. ปฐมมารปาสสูตร
๕. ทุติยมารปาสสูตร ๖. สัปปสูตร
๗. สุปติสูตร ๘. นันทนสูตร
๙. ปฐมอายุสูตร ๑๐. ทุติยอายุสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๒. สีหสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
๑. ปาสาณสูตร
ว่าด้วยมารกลิ้งศิลา
[๑๔๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งในที่กลางแจ้งในราตรีอันมืดมิด
และฝนกำลังตกประปรายอยู่ ครั้งนั้น มารผู้มีบาปต้องการจะให้ความกลัว
ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาค จึงเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วกลิ้งศิลาขนาดใหญ่ลงไปในที่ใกล้พระผู้มีพระภาค
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
ถึงแม้ว่าท่านจะกลิ้งภูเขาคิชฌกูฏมาทั้งลูก
พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้หลุดพ้นแล้วโดยชอบ
ก็ไม่มีความหวั่นไหว
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา
พระสุคตทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
ปาสาณสูตรที่ ๑ จบ

๒. สีหสูตร
ว่าด้วยราชสีห์
[๑๔๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีบริษัทหมู่ใหญ่
แวดล้อม ทรงแสดงธรรมอยู่
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้ มีบริษัทหมู่ใหญ่
แวดล้อม แสดงธรรมอยู่ ทางที่ดีเราพึงเข้าไปหาพระสมณโคดมถึงที่ประทับ เพื่อให้
บริษัทหลงเข้าใจผิดเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๒. สัหสูตร
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูล
ผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ทำไมท่านจึงกล้าบันลือดุจราชสีห์
ในท่ามกลางบริษัท
คนที่พอจะต่อสู้กับท่านได้ก็ยังมี
ท่านเข้าใจว่า เป็นผู้ชนะแล้วหรือ
พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาว่า
พระตถาคตทั้งหลาย
ผู้เป็นมหาวีระ บรรลุทสพลญาณ๑
ข้ามตัณหาอันเป็นเหตุซ่านไปในโลกได้แล้ว
จึงกล้าบันลือในท่ามกลางบริษัท
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต
ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
สีหสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๓. สกลิกสูตร

๓. สกลิกสูตร
ว่าด้วยสะเก็ดหิน
[๑๔๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ มัททกุจฉิ สถานที่พระราชทานอภัย
แก่หมู่เนื้อ เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น สะเก็ดหินกระทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงมีทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก
เผ็ดร้อน อันไม่สบายพระทัย ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคมีพระสติสัมปชัญญะ
ทรงอดกลั้นทุกขเวทนานั้นไว้ได้ ไม่ทรงเดือดร้อน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น ทรงสำเร็จสีหไสยา
โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วทูลถามพระผู้มี
พระภาคด้วยคาถาว่า
ท่านนอนด้วยความซึมเซา
หรือมัวเมาคิดกาพย์กลอนอะไรอยู่
ประโยชน์ของท่านมีไม่มาก
ท่านอยู่ ณ ที่นอนที่นั่งอันสงัดแต่ผู้เดียว
ตั้งหน้าแต่จะหลับ ทำไมท่านยังหลับอยู่เล่า
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
เราไม่ได้นอนด้วยความซึมเซา
ทั้งมิได้มัวเมาคิดกาพย์กลอนอะไรอยู่หรอก
เราบรรลุประโยชน์แล้ว ปราศจากความเศร้าโศก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๓. สกลิกสูตร
อยู่ ณ ที่นอนที่นั่งอันสงัดแต่ผู้เดียว
นอนคำนึงถึงสัตว์ทั้งปวงด้วยความเอ็นดู
ลูกศรเสียบอกของชนเหล่าใด
ร้อยหทัยให้ลุ่มหลงอยู่ แม้ชนเหล่านั้นในโลกนี้
ทั้ง ๆ ที่มีลูกศรเสียบอกอยู่ ก็ยังหลับได้
ทำไมเราผู้ปราศจากลูกศรแล้ว จะหลับไม่ได้เล่า
เราเดินไป๑ก็ไม่หวาดหวั่น ถึงหลับอยู่ก็มิได้กลัวเกรง
กลางคืนและกลางวันไม่ทำให้เราเดือดร้อน
เราไม่พบเห็นความเสื่อมอะไร ๆ ในโลก
ฉะนั้น เราจึงนอนคำนึงถึงสัตว์ทั้งปวงด้วยความเอ็นดู
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต
ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
สกลิกสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๔. ปฏิรูปสูตร

๔. ปฏิรูปสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่สมควร
[๑๕๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเอกสาลา
แคว้นโกศล สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อม ทรงแสดง
ธรรมอยู่
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้มีคฤหัสถ์บริษัท
หมู่ใหญ่แวดล้อม แสดงธรรมอยู่ ทางที่ดีเราพึงเข้าไปหาพระสมณโคดมถึงที่ประทับ
เพื่อให้บริษัทหลงเข้าใจผิดเถิด”
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ท่านพร่ำสอนธรรมใดแก่ผู้อื่น
ธรรมนั้นไม่สมควรแก่ท่านเลย
เมื่อท่านกล่าวสอนธรรมนั้น
อย่าได้ข้องในความยินดียินร้าย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
พระสัมพุทธเจ้าทรงมีจิตเกื้อกูลอนุเคราะห์
ทรงพร่ำสอนธรรมใดแก่ผู้อื่น
ตถาคตหลุดพ้นจากความยินดียินร้ายในธรรมนั้นแล้ว
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต
ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
ปฏิรูปสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๕. มานสสูตร

๕. มานสสูตร
ว่าด้วยบ่วงใจ
[๑๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับแล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
บ่วงนี้เที่ยวไปในอากาศ
มีในใจ สัญจรไปอยู่
เราจักคล้องท่านด้วยบ่วงนั้น
สมณะ ท่านไม่พ้นจากเราไปได้๑
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เราปราศจากความพอใจในอารมณ์เหล่านี้
คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งเป็นที่รื่นรมย์ใจ
มารผู้กระทำซึ่งที่สุด เราได้กำจัดท่านเสียแล้ว๒
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต
ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
มานสสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๖. ปัตตสูตร

๖. ปัตตสูตร
ว่าด้วยเรื่องบาตร
[๑๕๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับ
เอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ที่เกี่ยวกับอุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุเหล่านั้นต่างใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมา
ด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้ทรงชี้แจงให้ภิกษุ
ทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่เกี่ยวกับอุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุเหล่านั้น
ต่างใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่ ทางที่
ดีเราพึงเข้าไปหาพระสมณโคดมถึงที่ประทับ เพื่อให้บริษัทหลงเข้าใจผิดเถิด”
สมัยนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้วางบาตรส่วนใหญ่ไว้ในที่กลางแจ้ง ลำดับนั้น มาร
ผู้มีบาปแปลงกายเป็นโคพลิพัทเดินไปยังที่วางบาตร ภิกษุรูปหนึ่งจึงบอกกับภิกษุ
อีกรูปหนึ่งว่า “ภิกษุ ภิกษุ โคพลิพัทนั่นกำลังจะทำบาตรแตก” เมื่อภิกษุนั้นพูด
อย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “นั่นไม่ใช่โคพลิพัท นั่นคือมารผู้มีบาป
มาเพื่อลวงให้เธอหลงเข้าใจผิด”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
อริยสาวกย่อมเบื่อหน่ายรูป
เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
อย่างนี้ว่า ‘เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ของเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๗. อายตนสูตร
แม้มารและเสนามารแสวงหาอยู่ในที่ทุกแห่ง
ก็ไม่พบอริยสาวกผู้เบื่อหน่ายแล้วอย่างนี้
ผู้มีอัตภาพอันเกษม และล่วงพ้นสังโยชน์ทั้งปวง
ลำดับนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
ปัตตสูตรที่ ๖ จบ

๗. อายตนสูตร
ว่าด้วยอายตนะ ๖
[๑๕๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา ที่เกี่ยวกับผัสสายตนะ ๖ ภิกษุเหล่านั้นต่างใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์
น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้แลทรงชี้แจงให้
ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่เกี่ยวกับผัสสายตนะ ๖ ภิกษุเหล่านั้น
ต่างใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่ ทางที่
ดีเราพึงเข้าไปหาพระสมณโคดมถึงที่ประทับ เพื่อให้บริษัทหลงเข้าใจผิดเถิด”
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้ร้องเสียงดัง
น่าสะพรึงกลัว ประดุจแผ่นดินจะถล่มในที่ใกล้พระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น ภิกษุ
รูปหนึ่งจึงกล่าวกับภิกษุอีกรูปหนึ่งอย่างนี้ว่า “ภิกษุ ภิกษุ แผ่นดินนี่จะถล่มทลาย
เสียละกระมัง” เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับภิกษุนั้นว่า
“ภิกษุ แผ่นดินนี้ไม่ถล่มหรอก ภิกษุทั้งหลาย นั้นคือมารผู้มีบาป มาเพื่อลวงให้
พวกเธอหลงเข้าใจผิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๘. ปิณฑสูตร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
และธรรมารมณ์ทั้งสิ้นนี้ เป็นโลกามิสอันแรงกล้า
ชาวโลกพากันหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์เหล่านี้
ส่วนสาวกของพระพุทธเจ้า มีสติ
ข้ามพ้นโลกามิสนั้น ทั้งข้ามพ้นบ่วงแห่งมารได้แล้ว
รุ่งเรืองอยู่ดุจดวงอาทิตย์ ฉะนั้น
ลำดับนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
อายตนสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปิณฑสูตร
ว่าด้วยเรื่องบิณฑบาต
[๑๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อปัญจ-
สาลา แคว้นมคธ สมัยนั้น ที่หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อปัญจสาลา มีงานนักขัตฤกษ์
แจกของแก่พวกเด็ก ๆ ครั้นรุ่งเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อปัญจสาลา สมัยนั้น
พราหมณคหบดีชาวปัญจสาลาถูกมารผู้มีบาปเข้าดลใจ ด้วยประสงค์ว่า “พระ-
สมณโคดมอย่าได้อาหารบิณฑบาตเลย”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อปัญจสาลา
เพื่อบิณฑบาตด้วยบาตรเปล่าอย่างใด ก็เสด็จกลับมาด้วยบาตรเปล่าอย่างนั้น ลำดับนั้น
มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “สมณะ ท่านได้อาหารบิณฑบาตบ้างไหม”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มารผู้มีบาป ท่านทำให้เราไม่ได้อาหารบิณฑบาต
มิใช่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๙. กัสสกสูตร
มารผู้มีบาปกราบทูลว่า “ถ้าอย่างนั้น ขอพระผู้มีพระภาคจงเสด็จเข้าไปยัง
หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อปัญจสาลาเพื่อบิณฑบาตใหม่อีกครั้ง ข้าพระองค์จักกระทำ
พระผู้มีพระภาคให้ได้อาหารบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
มารขัดขวางตถาคต ได้ประสบสิ่งมิใช่บุญแล้ว
มารผู้มีบาป ท่านเข้าใจว่า
‘บาปย่อมไม่ให้ผลแก่เรา’ อย่างนั้นหรือ
พวกเราไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
อยู่สุขสบายจริงหนอ พวกเราจักมีปีติเป็นภักษา
ดุจเทพชั้นอาภัสสร ฉะนั้น
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต
ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
ปิณฑสูตรที่ ๘ จบ

๙. กัสสกสูตร
ว่าด้วยมารแปลงกายเป็นชาวนา
[๑๕๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับ
เอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ที่ประกอบด้วยนิพพาน ภิกษุเหล่านั้นต่างใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมา
ด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้ทรงชี้แจงให้ภิกษุ
ทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยนิพพาน ฯลฯ ทางที่ดีเรา
พึงเข้าไปหาพระสมณโคดมถึงที่ประทับเพื่อลวงบริษัทให้หลงเข้าใจผิดเถิด” ครั้งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๙. กัสสกสูตร
มารผู้มีบาปจึงแปลงกายเป็นชาวนาแบกไถใหญ่ ถือประตักด้ามยาว ผมยาวรุงรัง
นุ่งผ้าเนื้อหยาบ เท้าทั้งสองเปื้อนโคลน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ทูล
ถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระสมณะ ท่านเห็นโคพลิพัทบ้างไหม”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มารผู้มีบาป ท่านต้องการอะไรเกี่ยวกับโคพลิพัท
ทั้งหลายเล่า”
มารกราบทูลว่า “ข้าแต่พระสมณะ จักขุ(ตา) เป็นของเรา รูปเป็นของเรา
อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจากจักขุสัมผัส(ความกระทบทางตา) เป็นของเรา ท่านจะ
หนีเราไปไหนพ้น
โสตะ(หู) เป็นของเรา สัททะ(เสียง) เป็นของเรา ฯลฯ
ฆานะ(จมูก) เป็นของเรา คันธะ(กลิ่น) เป็นของเรา ฯลฯ
ชิวหา(ลิ้น) เป็นของเรา รสเป็นของเรา ฯลฯ
กายเป็นของเรา โผฏฐัพพะ(สัมผัสทางกาย) เป็นของเรา ฯลฯ
มโน(ใจ) เป็นของเรา ธรรมารมณ์เป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจาก
มโนสัมผัส(ความกระทบทางใจ) เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มารผู้มีบาป จักขุเป็นของท่าน รูปเป็นของท่าน
อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจากจักขุสัมผัสเป็นของท่านโดยแท้ แต่ในที่ใดไม่มีจักขุ
ไม่มีรูป ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดจากจักขุสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน
โสตะเป็นของท่าน สัททะเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจาก
โสตสัมผัส(ความกระทบทางหู) เป็นของท่าน แต่ในที่ใดไม่มีโสตะ ไม่มีสัททะ ไม่มี
อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจากโสตสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน
ฆานะเป็นของท่าน คันธะเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจาก
ฆานสัมผัส(ความกระทบทางจมูก) เป็นของท่าน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔.มารสังยุต] ๒.ทุติยวรรค ๙. กัสสกสูตร
ชิวหาเป็นของท่าน รสเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจากชิวหา-
สัมผัส(ความกระทบทางลิ้น) เป็นของท่าน ฯลฯ
กายเป็นของท่าน โผฏฐัพพะเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจาก
กายสัมผัส(ความกระทบทางกาย) เป็นของท่าน ฯลฯ
มโนเป็นของท่าน ธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณ
อันเกิดจากมโนสัมผัส(ความกระทบทางใจ) เป็นของท่าน แต่ในที่ใดไม่มีมโน ไม่มี
ธรรมารมณ์ ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดจากมโนสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนิน
ของท่าน”
มารกราบทูลว่า
ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใดว่า ‘นี้ของเรา’
ทั้งยังกล่าวว่า ‘ของเรา’
ถ้าใจของท่านยังฝังอยู่ในสิ่งนั้น
สมณะ ท่านก็จะไม่พ้นจากเราไปได้
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา
ชนเหล่าใดกล่าว ชนเหล่านั้นไม่ใช่เรา
มารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้
ท่านย่อมไม่เห็นแม้ทางของเรา
ลำดับนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
กัสสกสูตรที่ ๙ จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น