Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๕-๕ หน้า ๒๖๕ - ๓๓๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕-๕ สุตตันตปิฎกที่ ๐๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๒. อักโกสสูตร
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม
อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์๑ ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
ต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว๒ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ท่านพระภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ธนัญชานีสูตรที่ ๑ จบ

๒. อักโกสสูตร
ว่าด้วยอักโกสกภารทวาชพราหมณ์
[๑๘๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ได้สดับมาว่า “ได้ยินว่า
พราหมณ์ภารทวาชโคตร ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในสำนักของพระสมณ-
โคดมแล้ว” จึงโกรธ ไม่พอใจ เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว ด่าบริภาษ
พระผู้มีพระภาคด้วยวาจาหยาบคาย อันมิใช่วาจาของสัตบุรุษ
เมื่ออักโกสกภารทวาชพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถาม
อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ดังนี้ว่า “พราหมณ์ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
มิตร อำมาตย์๓ ญาติและสาโลหิต๔ ผู้เป็นแขกของท่าน มาเยือนท่านบ้างไหม”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๒. อักโกสสูตร
อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ตอบว่า “พระโคดมผู้เจริญ มิตร อำมาตย์ ญาติ
และสาโลหิต ผู้เป็นแขกของข้า พระองค์ มาเยือนบ้างเป็นบางคราว”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
ท่านเคยจัดของเคี้ยวของบริโภคหรือของควรลิ้ม เพื่อต้อนรับมิตร อำมาตย์ ญาติ
และสาโลหิต ผู้เป็นแขกเหล่านั้นบ้างหรือไม่”
อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ตอบว่า “พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์จัด
ของเคี้ยวของบริโภคหรือของควรลิ้มเพื่อต้อนรับมิตร อำมาตย์ ญาติและสาโลหิต
ผู้เป็นแขกเหล่านั้นเป็นบางคราว”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ ถ้ามิตร อำมาตย์ ญาติและสาโลหิต
ผู้เป็นแขกเหล่านั้นไม่รับ ของเคี้ยวของบริโภคหรือของควรลิ้มนั้นจะเป็นของใคร”
อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ตอบว่า “พระโคดมผู้เจริญ ถ้ามิตร อำมาตย์
ญาติและสาโลหิตผู้เป็นแขกเหล่านั้นไม่รับ ของเคี้ยวของบริโภคหรือของควรลิ้มนั้น
ก็เป็นของข้าพระองค์อย่างเดิม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ข้อนี้ก็เหมือนกัน ท่านด่าเราผู้ไม่ด่าอยู่
ท่านโกรธต่อเราผู้ไม่โกรธอยู่ ท่านมาทะเลาะกับเราผู้ไม่ทะเลาะอยู่ เราไม่รับคำด่า
เป็นต้นของท่านนั้น พราหมณ์ ดังนั้น คำด่าเป็นต้นนั้น จึงเป็นของท่านผู้เดียว
พราหมณ์ ผู้ใดด่าตอบต่อบุคคลผู้ด่าอยู่ โกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธอยู่ ทะเลาะ
ตอบต่อบุคคลผู้ทะเลาะอยู่ ผู้นั้นเรากล่าวว่า ย่อมบริโภคด้วยกัน ย่อมกระทำตอบโต้
ต่อกัน แต่เรานั้นไม่บริโภคด้วยกัน ไม่กระทำตอบโต้กับท่านเป็นอันขาด พราหมณ์
ดังนั้น คำด่าเป็นต้นนั้น จึงเป็นของท่านผู้เดียว”
อักโกสกภารทวาชพราหมณ์กล่าวว่า “บริษัทพร้อมด้วยพระราชา ย่อมทราบ
พระโคดมผู้เจริญอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์’ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น
พระโคดมผู้เจริญยังโกรธอยู่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๒. อักโกสสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุคคลผู้ไม่โกรธ ฝึกตนแล้ว
มีความเป็นอยู่อย่างสม่ำเสมอ หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ
สงบ คงที่ จักมีความโกรธแต่ที่ไหนเล่า
ผู้ใดโกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ
ผู้นั้นย่อมเลวกว่าผู้โกรธ เพราะการโกรธตอบนั้น
บุคคลผู้ไม่โกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ
ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก
ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธ เป็นผู้มีสติ สงบใจไว้ได้
ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย
คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น
เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย๑
คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น
ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรม๒ย่อมเข้าใจว่าเป็นคนโง่
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระโคดมผู้เจริญเถิด”
อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของพระผู้มี
พระภาคแล้ว อนึ่ง ท่านพระอักโกสกภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๓. อสุรินทกสูตร
อยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้ง
ซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า
“ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ท่านพระอักโกสกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระ-
อรหันต์ทั้งหลาย
อักโกสสูตรที่ ๒ จบ

๓. อสุรินทกสูตร
ว่าด้วยอสุรินทกพราหมณ์
[๑๘๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ อสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ได้สดับมาว่า “ได้ยินว่า
พราหมณ์ภารทวาชโคตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในสำนักของพระสมณโคดมแล้ว”
จึงโกรธ ไม่พอใจ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว ด่า บริภาษพระผู้มี
พระภาคด้วยวาจาหยาบคาย อันมิใช่วาจาของสัตบุรุษ เมื่ออสุรินทกภารทวาชพราหมณ์
กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงนิ่งเสีย ลำดับนั้น อสุรินทกภารทวาช-
พราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระสมณะ เราชนะท่านแล้ว พระสมณะ
เราชนะท่านแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ชนพาลกล่าววาจาหยาบคาย ย่อมเข้าใจว่าตนเองชนะ
แต่ความอดกลั้นได้เป็นความชนะของบัณฑิตผู้รู้แจ้ง
ผู้ใดโกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ
ผู้นั้นย่อมเลวกว่าผู้โกรธ เพราะการโกรธตอบนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๔. พิลังคิกสูตร
บุคคลผู้ไม่โกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ
ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก
ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธ เป็นผู้มีสติ สงบใจไว้ได้
ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย
คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น
เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย
คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น
ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรมย่อมเข้าใจว่าเป็นคนโง่
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ”
อนึ่ง ท่านพระอสุรินทกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระ-
อรหันต์ทั้งหลาย
อสุรินทกสูตรที่ ๓ จบ

๔. พิลังคิกสูตร
ว่าด้วยพิลังคิกพราหมณ์
[๑๙๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ พิลังคิกภารทวาชพราหมณ์ได้สดับมาว่า “ได้ยินว่า
พราหมณ์ภารทวาชโคตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในสำนักของพระสมณโคดม”
จึงโกรธ ไม่พอใจ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้ยืนนิ่งอยู่ ณ ที่สมควร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดคำนึงของพิลังคิกภารทวาช-
พราหมณ์ด้วยพระทัยแล้ว ได้ตรัสกับพิลังคิกภารทวาชพราหมณ์ด้วยพระคาถาว่า
ผู้ใดประทุษร้ายต่อบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย
ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๕. อหิงสกสูตร
บาปย่อมกลับมาถึงบุคคลนั้นซึ่งเป็นคนพาลอย่างแน่แท้
ดุจผงธุลีอันละเอียดที่บุคคลซัดไปทวนลมแล้ว ฉะนั้น๑
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พิลังคิกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระโคดมผู้เจริญเถิด”
พิลังคิกภารทวาชพราหมณ์ได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของพระผู้มีพระภาค
แล้ว ฯลฯ ก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่า
กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึง
อยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ท่านพระพิลังคิกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย
พิลังคิกสูตรที่ ๔ จบ

๕. อหิงสกสูตร
ว่าด้วยอหิงสกภารทวาชพราหมณ์
[๑๙๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น อหิงสกภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่ออหิงสกะ
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่ออหิงสกะ”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๖. ชฏาสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ถ้าท่านชื่ออหิงสกะ ท่านก็ไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น
ผู้ใดไม่เบียดเบียนผู้อื่น ทางกาย ทางวาจา และทางใจ
ผู้นั้นจึงจะชื่ออหิงสกะโดยแท้
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อหิงสกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ”
อนึ่ง ท่านพระอหิงสกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย
อหิงสกสูตรที่ ๕ จบ

๖. ชฏาสูตร
ว่าด้วยชฏาพราหมณ์
[๑๙๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ชฏาภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
หมู่สัตว์ยุ่งทั้งภายใน ยุ่งทั้งภายนอก
ถูกความยุ่งพาให้นุงนังแล้ว ข้าแต่พระโคดม
เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ว่า
ใครพึงแก้ความยุ่งนี้ได้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
นรชนผู้มีปัญญาเห็นภัยในสังสารวัฏ
ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญจิตและปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑.อรหันตวรรค ๗. สุทธิกสูตร
มีความเพียร มีปัญญาเครื่องบริหาร
นั้นพึงแก้ความยุ่งนี้ได้
บุคคลเหล่าใดกำจัดราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว
บุคคลเหล่านั้น สิ้นอาสวะแล้ว เป็นพระอรหันต์
พวกเขาแก้ความยุ่งได้แล้ว
นามก็ดี รูปก็ดี ปฏิฆสัญญาก็ดี
รูปสัญญาก็ดี ดับไม่เหลือในที่ใด
ความยุ่งนั้นก็ย่อมขาดหายไปในที่นั้น๑
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ชฏาภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ”
อนึ่ง ท่านพระชฏาภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย
ชฏาสูตรที่ ๖ จบ

๗. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยสุทธิกภารทวาชพราหมณ์
[๑๙๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น สุทธิกภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
พราหมณ์บางคนในโลกแม้เป็นผู้มีศีล
บำเพ็ญตบะอยู่ ก็ยังหมดจดไม่ได้
พราหมณ์ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเท่านั้น
จึงจะหมดจดได้
ส่วนหมู่สัตว์อื่นนอกจากนี้จะหมดจดไม่ได้เลย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๘. อัคคิกสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
พราหมณ์ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
บุคคลถึงจะเป็นพราหมณ์โดยกำเนิด
สาธยายมนตร์เป็นอันมาก แต่เป็นผู้เน่าและสกปรกภายใน
อาศัยการโกหกเลี้ยงชีพ ไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์
ส่วนกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล
และคนเทขยะ ผู้ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
มีความบากบั่นอยู่เป็นนิตย์ ย่อมถึงความหมดจดอย่างยิ่งได้
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุทธิกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดม
ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ”
อนึ่ง ท่านพระสุทธิกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย
สุทธิกสูตรที่ ๗ จบ

๘. อัคคิกสูตร
ว่าด้วยอัคคิกพราหมณ์
[๑๙๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ปรุงข้าวปายาส
ด้วยเนยใสด้วยคิดว่า “เราจักบูชาไฟ จักบำเรอการบูชาไฟ”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้า
ไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ เสด็จไปบิณฑบาตตามลำดับตรอก เข้าไปถึงที่อยู่ของ
อัคคิกภารทวาชพราหมณ์แล้วได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๘. อัคคิกสูตร
อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับยืนบิณฑบาตอยู่
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
บุคคลผู้เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด
จบไตรเพท๑เป็นพหูสูต
พราหมณ์ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะนั้น
จึงควรบริโภคข้าวปายาสนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุคคลถึงจะเป็นพราหมณ์โดยกำเนิด
สาธยายมนตร์เป็นอันมาก แต่เป็นผู้เน่าและสกปรกภายใน
เป็นผู้แวดล้อมไปด้วยความโกหก ไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์
มุนีผู้บรรลุอภิญญา คือรู้ปุพเพนิวาสญาณอย่างแจ่มแจ้ง
เห็นสวรรค์และอบาย ทั้งบรรลุความสิ้นชาติ๒แล้ว
เพราะวิชชา ๓ เหล่านี้ จึงเป็นพราหมณ์ผู้จบไตรเพท
มุนีผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะนั้น จึงควรบริโภคข้าวปายาสนี้
อัคคิกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “พระโคดมผู้เจริญ ขอเชิญ
บริโภคเถิด พระองค์เป็นพราหมณ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
การที่เรากล่าวคาถามิใช่เพื่ออาหาร
พราหมณ์ นี้ไม่ใช่ธรรมเนียมของผู้เห็นธรรม
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่รับอาหารที่ได้มาเพราะการกล่าวคาถา
พราหมณ์ เมื่อธรรมเนียมมีอยู่ จึงมีการประพฤติอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๙. สุนทริกสูตร
ท่านจงบำรุงด้วยข้าวและน้ำ และด้วยปัจจัยอื่น
แก่พระขีณาสพ ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งปวง
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้มีความคะนองอันสงบแล้ว
เพราะศาสนานั้นเป็นเขตบุญของผู้แสวงบุญ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูล
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ”
อนึ่ง ท่านพระอัคคิกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย
อัคคิกสูตรที่ ๘ จบ

๙. สุนทริกสูตร
ว่าด้วยสุนทริกภารทวาชพราหมณ์
[๑๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสุนทริกา แคว้นโกศล
สมัยนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์บูชาไฟ บำเรอการบูชาไฟอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสุนทริกา
ครั้นบูชาแล้วลุกขึ้นจากที่นั่งเหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบด้วยคิดว่า “ใครหนอ ควรบริโภค
ข้าวปายาสอันเหลือจากการบูชานี้”
สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคทรงห่มผ้าคลุมพระวรกาย
ตลอดพระเศียรประทับนั่งที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ครั้นเห็นแล้วมือซ้ายถือข้าวปายาสที่
เหลือจากการบูชาไฟ มือขวาถือคนโทน้ำ เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปิดผ้าที่คลุมพระเศียรออก เพราะได้ยินเสียงเดินเข้า
มาของสุนทริกภารทวาชพราหมณ์
ครั้งนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กล่าวว่า “นี้สมณะโล้น นี้สมณะโล้น”
แล้วต้องการจะกลับจากที่นั้นทีเดียว ลำดับนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ได้มี
ความคิดดังนี้ว่า “พราหมณ์บางพวกในโลกนี้ เป็นผู้โล้นก็มี ทางที่ดีเราพึงเข้าไปหา
สมณะโล้นนั้นแล้วถามถึงชาติ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๙. สุนทริกสูตร
ลำดับนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านเป็นชาติอะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ท่านอย่าถามถึงชาติ แต่จงถามถึงความประพฤติเถิด
ไฟย่อมเกิดจากไม้ บุคคลถึงแม้เกิดในตระกูลต่ำก็เป็นมุนีได้
มีความทรงจำ เป็นผู้เฉลียวฉลาด๑
กีดกันอกุศลธรรมได้ด้วยหิริ ฝึกตนด้วยสัจจะ๒
ประกอบแล้วด้วยทมะ ถึงที่สุดเวท อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ผู้ใดน้อมการบูชาเข้าไปบูชามุนีนั้น
ผู้นั้นชื่อว่าบูชาพระทักขิไณยบุคคลถูกกาล
สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า
การบูชานี้ของข้าพระองค์จะเป็นอันบูชาดีแล้ว
เป็นการเซ่นสรวงดีแล้วเป็นแน่
ที่ข้าพระองค์ได้พบบุคคลผู้ถึงที่สุดเวทเช่นนั้น
ความจริง เพราะข้าพระองค์ไม่พบบุคคลเช่นพระองค์
ชนอื่นจึงได้บริโภคข้าวปายาสอันเหลือจากการบูชา
สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า “พระโคดมผู้เจริญ เชิญบริโภคเถิด
พระองค์เป็นพราหมณ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
การที่เรากล่าวคาถามิใช่เพื่ออาหาร
พราหมณ์ นี้ไม่ใช่ธรรมเนียมของผู้เห็นธรรม
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่รับอาหารที่ได้มาเพราะการกล่าวคาถา
พราหมณ์ เมื่อธรรมเนียมมีอยู่ จึงมีการประพฤติอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๙. สุนทริกสูตร
ท่านจงบำรุงด้วยข้าวและน้ำ และด้วยปัจจัยอื่น
แก่พระขีณาสพ ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งปวง
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้มีความคะนองอันสงบแล้ว
เพราะศาสนานั้นเป็นเขตบุญของผู้แสวงบุญ๑
ลำดับนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ถ้าเช่นนั้น ข้าพระองค์จะให้ข้าวปายาสอันเหลือจากการบูชานี้แก่ใคร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เรายังไม่เห็นบุคคลในโลก พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ซึ่งจะ
บริโภคข้าวปายาสที่เหลือจากการบูชานี้แล้ว พึงให้ถึงความย่อยไปโดยชอบ นอกจาก
ตถาคตหรือสาวกของตถาคต พราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงทิ้งข้าวปายาสที่เหลือ
จากการบูชานั้น ณ ที่ปราศจากของเขียว หรือจงทิ้งให้จมลงไปในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์”
ลำดับนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ทิ้งข้าวปายาสอันเหลือจากการบูชานั้น
ให้จมลงไปในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ ครั้งนั้น ข้าวปายาสที่เหลือจากการบูชานั้น ที่สุนทริก-
ภารทวาชพราหมณ์เทลงแล้วในน้ำย่อมมีเสียงดังจี่จี่ และเดือดเป็นควันคลุ้ง เหมือน
ผาลที่ร้อนตลอดทั้งวัน อันบุคคลจุ่มลงในน้ำย่อมมีเสียงดังจี่จี่ และเดือดเป็นควันคลุ้ง
ฉะนั้น
ลำดับนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ประหลาดใจเกิดขนลุกชูชัน เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับสุนทริกภารทวาชพราหมณ์ผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร
ด้วยพระคาถาทั้งหลายว่า
พราหมณ์ ท่านกำลังเผาไม้อยู่ อย่าสำคัญว่าบริสุทธิ์
ก็การเผาไม้นี้เป็นของภายนอก
ผู้ฉลาดทั้งหลายไม่กล่าวความบริสุทธิ์ด้วยการเผาไม้นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๙. สุนทริกสูตร
พราหมณ์ เราเลิกการเผาไม้ที่บุคคลพึงปรารถนา
ความบริสุทธิ์ด้วยการเผาไม้ซึ่งเป็นของภายนอก
ยังไฟ๑ให้โพลงภายในตนทีเดียว
เราเป็นพระอรหันต์ มีไฟอันโพลงแล้วเป็นนิตย์
มีจิตตั้งไว้ชอบแล้วเป็นนิตย์ ประพฤติพรหมจรรย์อยู่
พราหมณ์ มานะเป็นดุจภาระคือหาบของท่าน
ความโกรธเป็นดุจควัน มุสาวาทเป็นดุจเถ้า
ลิ้นเป็นดุจภาชนะเครื่องบูชา หทัยเป็นดุจที่ตั้งกองไฟ
ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นความรุ่งเรืองของบุรุษ
พราหมณ์ บุคคลผู้ถึงเวททั้งหลายนั่นแล
อาบในห้วงน้ำคือธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย
มีท่าคือศีล ไม่ขุ่นมัว อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว
มีตัวไม่เปียก ย่อมข้ามถึงฝั่ง๒
พราหมณ์ สัจจะ ธรรม ความสำรวม๓ พรหมจรรย์
การถึงธรรมอันประเสริฐ อาศัยในท่ามกลาง
ท่านจงทำความนอบน้อมในพระขีณาสพผู้ซื่อตรงทั้งหลาย
เรากล่าวคนนั้นว่า ผู้มีธรรมเป็นสาระ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ”
อนึ่ง ท่านพระสุนทริกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย
สุนทริกสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๑๐. พหุธิติสูตร

๑๐. พหุธิติสูตร
ว่าด้วยความสุขเป็นอันมาก
[๑๙๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้น
โกศล สมัยนั้น โคพลิพัท ๑๔ ตัวของพราหมณ์ภารทวาชโคตรคนหนึ่งได้หายไป
ครั้งนั้น พราหมณ์ภารทวาชโคตรเที่ยวแสวงหาโคพลิพัทเหล่านั้นอยู่ เข้าไปถึง
ราวป่านั้น ได้พบพระผู้มีพระภาคประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงสติไว้
เฉพาะหน้า อยู่ในราวป่านั้นแล้วเข้าไปหาพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กล่าวคาถา
เหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
โคพลิพัท ๑๔ ตัว ของพระสมณะนี้ไม่มีแน่
แต่ของเราหายไปได้ ๖๐ วันเข้าวันนี้
เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงมีความสุข
ต้นงาทั้งหลายที่ไม่งาม
มีเพียงใบสองใบ ในไร่ของพระสมณะนี้ไม่มีแน่
เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงมีความสุข
หนูทั้งหลายในฉางข้าวเปล่า ที่รบกวนพระสมณะนี้
ด้วยการยกหูชูหางขึ้นกระโดดโลดเต้นไม่มีแน่
เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงมีความสุข
เครื่องลาดของพระสมณะนี้ใช้ตั้งเจ็ดเดือน
ที่จะเกลื่อนกล่นด้วยสัตว์เล็กสัตว์น้อยทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นไม่มีแน่
เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงมีความสุข
หญิงหม้ายมีลูกสาว ๗ คน
มีลูกชายหนึ่งคนหรือสองคน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๑๐. พหุธิติสูตร
แต่ของพระสมณะนี้ไม่มีแน่
เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงมีความสุข
แมลงวันตัวลาย ชอบไต่ตอมคนหลับ
ที่จะไต่ตอมพระสมณะนี้ไม่มีแน่
เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงมีความสุข
ในเวลาใกล้รุ่ง เจ้าหนี้ทั้งหลาย
ที่จะตามทวงหนี้พระสมณะนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลายจงให้ ท่านทั้งหลายจงให้’ ไม่มีแน่
เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงมีความสุข
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาว่า
พราหมณ์ โคพลิพัท ๑๔ ตัวของเราไม่มีเลย
แต่ของท่านหายไปได้ ๖๐ วันเข้าวันนี้
เพราะเหตุนั้น เราจึงมีความสุข
ต้นงาทั้งหลายที่ไม่งาม
มีเพียงใบสองใบ ในไร่ของเราไม่มีเลย
เพราะเหตุนั้น เราจึงมีความสุข
หนูทั้งหลายในฉางข้าวเปล่า ที่จะรบกวนเรา
ด้วยการยกหูชูหางขึ้นกระโดดโลดเต้นไม่มีเลย
พราหมณ์ เพราะเหตุนั้น เราจึงมีความสุข
เครื่องลาดของเราใช้ตั้งเจ็ดเดือน ที่จะเกลื่อนกล่น
ด้วยสัตว์เล็กสัตว์น้อยทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นไม่มีเลย
เพราะเหตุนั้น เราจึงมีความสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๑๐. พหุธิติสูตร
หญิงหม้ายมีลูกสาว ๗ คน
มีลูกชายหนึ่งคนหรือสองคน
แต่ของเราไม่มีเลย
เพราะเหตุนั้น เราจึงมีความสุข
แมลงวันตัวลาย ชอบไต่ตอมคนหลับ
ที่จะไต่ตอมเราไม่มีเลย
เพราะเหตุนั้น เราจึงมีความสุข
พราหมณ์ ในเวลาใกล้รุ่ง
เจ้าหนี้ทั้งหลาย ที่จะตามทวงหนี้เราว่า
‘ท่านทั้งหลายจงให้ ท่านทั้งหลายจงให้’ ไม่มีเลย
เพราะเหตุนั้น เราจึงมีความสุข
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เปรียบเหมือนบุคคล
หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด
ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระสมณโคดม
ผู้เจริญ พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา
อุปสมบทในสำนักของพระโคดมผู้เจริญ”
พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว
ท่านพระภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหม-
จรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ท่านพระภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
พหุธิติสูตรที่ ๑๐ จบ
อรหันตวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ธนัญชานีสูตร ๒. อักโกสสูตร
๓. อสุรินทกสูตร ๔. พิลังคิกสูตร
๕. อหิงสกสูตร ๖. ชฏาสูตร
๗. สุทธิกสูตร ๘. อัคคิกสูตร
๙. สุนทริกสูตร ๑๐. พหุธิติสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๑. กสิภารทวาชสูตร

๒. อุปาสกวรรค
หมวดว่าด้วยอุบาสก
๑. กสิภารทวาชสูตร
ว่าด้วยกสิภารทวาชพราหมณ์
[๑๙๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเอกนาลา
ทักขิณาคีรีชนบท แคว้นมคธ สมัยนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์ประกอบไถจำนวน
๕๐๐ ในฤดูหว่านข้าว ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวร เสด็จเข้าไปยังที่ทำการงานของกสิภารทวาชพราหมณ์
สมัยนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์กำลังเลี้ยงอาหารกันอยู่ ครั้งนั้น พระผู้มี
พระภาคเสด็จเข้าไปยังสถานที่เลี้ยงอาหารของเขาแล้วประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร
กสิภารทวาชพราหมณ์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับยืนบิณฑบาตอยู่ ได้กราบทูล
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระสมณะ ข้าพระองค์ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว จึงบริโภค
ข้าแต่พระสมณะ แม้พระองค์ก็จงไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว จงบริโภคเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่านเหมือนกัน ครั้นไถ
และหว่านแล้วก็บริโภค”
กสิภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าพระองค์ไม่เห็นแอก ไถ ผาล ประตัก
หรือโคพลิพัททั้งหลายของท่าน เมื่อเป็นเช่นนี้ พระโคดมผู้เจริญยังกล่าวอย่างนี้ว่า
‘พราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้วก็บริโภค”
ครั้งนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
พระองค์ยืนยันว่าเป็นชาวนา
แต่ข้าพระองค์ไม่เห็นการไถของพระองค์
พระองค์ผู้เป็นชาวนา ข้าพระองค์ถามแล้วขอจงตรัสบอก
ข้าพระองค์จะรู้การไถของพระองค์นั้นได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๑. กสิภารทวาชสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน
ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ หิริเป็นงอนไถ
ใจเป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและประตัก
เราคุ้มครองกาย คุ้มครองวาจาได้แล้ว
สำรวมในการบริโภคอาหาร
เราดายหญ้า [คือวาจาสับปลับ] ด้วยคำสัตย์
โสรัจจะของเราช่วยทำงานให้สำเร็จ
ความเพียรของเราช่วยนำธุระไปให้ถึงความเกษมจากโยคะ
นำไปไม่ถอยหลัง นำไปถึงที่ ซึ่งบุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก
เราทำนาอย่างนี้ นาที่เราทำนั้นมีผลเป็นอมตะ๑
บุคคลครั้นทำนาอย่างนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
กสิภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า “พระโคดมผู้เจริญ ผู้เป็นชาวนา ขอจง
บริโภคผลที่เป็นอมตะที่ท่านไถเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
การที่เรากล่าวคาถามิใช่เพื่ออาหาร
พราหมณ์ นี้ไม่ใช่ธรรมเนียมของผู้เห็นธรรม
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่รับอาหารที่ได้มาเพราะการกล่าวคาถา
พราหมณ์ เมื่อธรรมเนียมมีอยู่ จึงมีการประพฤติอย่างนี้
ท่านจงบำรุงด้วยข้าวและน้ำ และด้วยปัจจัยอื่น
แก่พระขีณาสพ ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๒. อุทยสูตร
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้มีความคะนองอันสงบแล้ว
เพราะศาสนานั้นเป็นเขตบุญของผู้แสวงบุญ๑
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว กสิภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้
มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
กสิภารทวาชสูตรที่ ๑ จบ

๒. อุทยสูตร
ว่าด้วยอุทยพราหมณ์
[๑๙๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้า
ไปยังที่อยู่ของอุทยพราหมณ์ ลำดับนั้น อุทยพราหมณ์ตักข้าวใส่บาตรถวายจนเต็ม
แม้ครั้งที่ ๒ ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวร เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอุทยพราหมณ์ ฯลฯ ลำดับนั้น อุทยพราหมณ์ก็ตักข้าว
ใส่บาตรถวายจนเต็ม
แม้ครั้งที่ ๓ ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวร เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอุทยพราหมณ์ ฯลฯ ลำดับนั้น อุทยพราหมณ์ก็ตักข้าว
ใส่บาตรถวายจนเต็มแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้ติด
ในรสจึงเสด็จมาบ่อย ๆ”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๒. อุทยสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
กสิกรย่อมหว่านพืชบ่อย ๆ
ฝนย่อมตกบ่อย ๆ ชาวนาย่อมไถนาบ่อยๆ
แว่นแคว้นย่อมสมบูรณ์ด้วยธัญชาติบ่อย ๆ
ผู้ขอย่อมขอบ่อย ๆ ทานบดีย่อมให้บ่อย ๆ
ครั้นให้บ่อย ๆ แล้ว ก็เข้าถึงสวรรค์บ่อย ๆ
ผู้ต้องการน้ำนมย่อมรีดน้ำนมบ่อย ๆ
ลูกโคย่อมเข้าหาแม่โคบ่อย ๆ
บุคคลย่อมลำบากและดิ้นรนบ่อย ๆ
คนเขลาย่อมเข้าถึงครรภ์บ่อย ๆ
สัตว์ย่อมเกิดและตายบ่อย ๆ
บุคคลทั้งหลายย่อมนำซากศพไปป่าช้าบ่อย ๆ
ส่วนผู้มีปัญญาดุจแผ่นดินย่อมไม่เกิดบ่อย ๆ
เพราะได้มรรคแล้วไม่มีภพใหม่อีกต่อไป
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อุทยพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระโคดม
ผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน
ตลอดชีวิต”
อุทยสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๓. เทวหิตสูตร

๓. เทวหิตสูตร
ว่าด้วยเทวหิตพราหมณ์
[๑๙๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระประชวร
ด้วยโรคลม ท่านพระอุปวาณะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น พระผู้มี
พระภาครับสั่งเรียกท่านพระอุปวาณะมาตรัสว่า “อุปวาณะ เอาเถิด เธอจงจัดหา
น้ำร้อนสำหรับเรา”
ท่านพระอุปวาณะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวร เข้าไปยังที่อยู่ของเทวหิตพราหมณ์แล้วยืนนิ่งอยู่ ณ ที่สมควร
เทวหิตพราหมณ์ได้เห็นท่านพระอุปวาณะยืนนิ่งอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้
กล่าวกับท่านพระอุปวาณะด้วยคาถาว่า
ท่านเป็นสมณะโล้น ครองผ้าสังฆาฏิยืนนิ่งอยู่
ท่านปรารถนาอะไร แสวงหาอะไร มาเพื่อขออะไร
ท่านพระอุปวาณะตอบว่า
พระสุคตมุนีเป็นพระอรหันต์ในโลก
ทรงพระประชวรด้วยโรคลม
พราหมณ์ ถ้าท่านมีน้ำร้อน
ขอท่านจงถวายแด่พระสุคตมุนีด้วยเถิด
อาตมภาพปรารถนาจะนำไปถวายพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ควรบูชาสักการะ และนับถือกว่าบรรดาพระอริยบุคคล
ที่ควรบูชาสักการะ และนับถือเหล่านั้น
ครั้งนั้น เทวหิตพราหมณ์ให้บุรุษถือกาน้ำร้อนและห่อน้ำอ้อยตามไปถวายท่าน
พระอุปวาณะ ลำดับนั้น ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว
ทูลให้สรงสนาน และใช้น้ำร้อนละลายน้ำอ้อยแล้วถวายพระผู้มีพระภาค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๔. มหาสาลสูตร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหายจากพระอาการประชวร ต่อมาเทวหิต-
พราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ
พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
บุคคลพึงให้ไทยธรรม ณ ที่ไหน
ทานที่บุคคลให้ ณ ที่ไหน มีผลมาก
ทักษิณาสำเร็จผลอย่างไรแก่บุคคลผู้บูชาอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
มุนีผู้บรรลุอภิญญา คือรู้ปุพเพนิวาสญาณอย่างแจ่มแจ้ง
เห็นสวรรค์และอบาย ทั้งบรรลุความสิ้นชาติ๑แล้ว
บุคคลพึงให้ไทยธรรมในมุนีนี้ ทานที่ให้แล้วในมุนีนี้มีผลมาก
ทักษิณาสำเร็จผลอย่างนี้แก่บุคคลผู้บูชาอย่างนี้แล
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เทวหิตพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระโคดมผู้
เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
เทวหิตสูตรที่ ๓ จบ

๔. มหาสาลสูตร
ว่าด้วยพราหมณมหาศาล
[๒๐๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พราหมณมหาศาลคนหนึ่ง เป็นผู้เศร้าหมอง นุ่งผ้าเศร้าหมอง เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่
ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพราหมณมหาศาลนั้น
ดังนี้ว่า “พราหมณ์ ทำไมท่านจึงดูเศร้าหมอง นุ่งห่มก็เศร้าหมอง”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๔. มหาสาลสูตร
พราหมณมหาศาลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุตรของข้าพระองค์
๔ คนในบ้านนี้ คบคิดกับภรรยาแล้วขับข้าพระองค์ออกจากเรือน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเรียนคาถานี้ เมื่อหมู่
มหาชนประชุมกันที่สภา และเมื่อพวกบุตรมาประชุมกันพร้อมแล้ว จงกล่าวว่า
เราหลงชื่นชมและปรารถนาความเจริญแก่บุตรเหล่าใด
บุตรเหล่านั้นคบคิดกับภรรยารุมว่าเรา ดุจสุนัขรุมเห่าสุกร
ได้ยินว่า บุตรเหล่านั้นเป็นอสัตบุรุษผู้ลามก
ร้องเรียกเราว่าพ่อ ๆ
บุตรเหล่านั้นเหมือนยักษ์แปลงร่างมาเกิดเป็นบุตร
ละทิ้งเราผู้ล่วงเข้าปัจฉิมวัยไว้
บุตรเหล่านั้นกำจัดคนแก่ผู้ไม่มีสมบัติ
ออกจากที่อาศัยหากิน ดุจม้าแก่ที่เจ้าของปล่อยทิ้ง ฉะนั้น
บิดาของบุตรผู้เป็นพาล เป็นผู้เฒ่า ต้องขอเขากินในเรือนผู้อื่น
ว่ากันว่า ไม้เท้าของเรายังดีกว่า
พวกบุตรที่ไม่เชื่อฟังจะดีอะไร
เพราะไม้เท้าใช้ป้องกันโคหรือสุนัขดุ ๆ ได้
ในที่มืดใช้ยันไปข้างหน้าได้ ในที่ลึกใช้หยั่งควานเอาได้
พลาดแล้วช่วยพยุงไว้ได้ด้วยอานุภาพไม้เท้า
ครั้งนั้น พราหมณมหาศาลนั้นเรียนคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว
เมื่อหมู่มหาชนประชุมกันที่สภา และเมื่อพวกบุตรมาประชุมกันพร้อมแล้ว จึงได้
กล่าวว่า
เราหลงชื่นชมและปรารถนาความเจริญแก่บุตรเหล่าใด
บุตรเหล่านั้นคบคิดกับภรรยารุมว่าเรา ดุจสุนัขรุมเห่าสุกร
ได้ยินว่า บุตรเหล่านั้นเป็นอสัตบุรุษผู้ลามก
ร้องเรียกเราว่าพ่อ ๆ
บุตรเหล่านั้นเหมือนยักษ์แปลงร่างมาเกิดเป็นบุตร
ละทิ้งเราผู้ล่วงเข้าปัจฉิมวัยไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๔. มหาสาลสูตร
บุตรเหล่านั้นกำจัดคนแก่ผู้ไม่มีสมบัติ
ออกจากที่อาศัยหากินดุจม้าแก่ที่เจ้าของปล่อยทิ้ง ฉะนั้น
บิดาของบุตรผู้เป็นพาล เป็นผู้เฒ่า ต้องขอเขากินในเรือนผู้อื่น
ว่ากันว่า ไม้เท้าของเรายังดีกว่า
พวกบุตรที่ไม่เชื่อฟังจะดีอะไร
เพราะไม้เท้าใช้ป้องกันโคหรือสุนัขดุ ๆ ได้
ในที่มืดใช้ยันไปข้างหน้าได้ ในที่ลึกใช้หยั่งควานเอาได้
พลาดแล้วยังช่วยพยุงไว้ได้ด้วยอานุภาพไม้เท้า
ลำดับนั้น พวกบุตรนำพราหมณมหาศาลนั้นไปยังเรือน ให้อาบน้ำแล้ว
ให้นุ่งห่มผ้าคู่หนึ่ง พราหมณมหาศาลนั้นถือผ้าคู่หนึ่งไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าชื่อว่าเป็น
พราหมณ์ แสวงหาทรัพย์สำหรับอาจารย์ มาให้อาจารย์ ขอพระโคดมผู้เจริญ ผู้เป็น
อาจารย์ของข้าพเจ้า จงรับส่วนของอาจารย์เถิด” พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยความ
อนุเคราะห์
ครั้งนั้น พราหมณมหาศาลนั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำ
ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
มหาสาลสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๕. มานัตถัทธสูตร

๕. มานัตถัทธสูตร
ว่าด้วยมานัตถัทธพราหมณ์
[๒๐๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พราหมณ์ชื่อมานัตถัทธะ(กระด้างเพราะถือตัว) พำนักอยู่ในกรุงสาวัตถี
เขาไม่ไหว้มารดา บิดา อาจารย์ และพี่ชายเลย สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีบริษัท
หมู่ใหญ่แวดล้อม ทรงแสดงธรรมอยู่
ครั้งนั้น มานัตถัทธพราหมณ์ได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้มีบริษัท
หมู่ใหญ่แวดล้อมทรงแสดงธรรมอยู่ ทางที่ดีเราจะเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ
ถ้าพระสมณโคดมจักทักทายเรา เราก็จักทักทายท่าน ถ้าพระสมณโคดมไม่ทักทายเรา
เราก็จักไม่ทักทายท่าน”
ลำดับนั้น มานัตถัทธพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วยืน
นิ่งอยู่ ณ ที่สมควร ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคไม่ทรงทักทาย มานัตถัทธพราหมณ์
ต้องการจะกลับจากที่นั้นด้วยคิดว่า “พระสมณโคดมนี้ไม่รู้อะไร”
ทีนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดคำนึงของมานัตถัทธพราหมณ์ด้วย
พระทัยแล้ว ได้ตรัสกับมานัตถัทธพราหมณ์ด้วยพระคาถาว่า
พราหมณ์ ในโลกนี้ใครที่ยังมีมานะไม่ดีเลย
บุคคลมาด้วยประโยชน์ใด พึงเพิ่มพูนประโยชน์นั้นไว้
ครั้งนั้น มานัตถัทธพราหมณ์คิดว่า “พระสมณโคดมทรงทราบจิตของเรา”
จึงหมอบลงด้วยศีรษะที่ใกล้พระยุคลบาทพระผู้มีพระภาค ณ ที่นั้นเอง จุมพิตพระ
ยุคลบาทพระผู้มีพระภาคและนวดด้วยมือ ประกาศชื่อว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ข้าพระองค์ชื่อมานัตถัทธะ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อมานัตถัทธะ”
ครั้งนั้น บริษัทนั้นเกิดประหลาดใจว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
มานัตถัทธพราหมณ์นี้ไม่ไหว้มารดา บิดา อาจารย์ และพี่ชาย แต่พระสมณโคดม
ทรงทำคนเช่นนี้ให้ทำการนอบน้อมได้เป็นอย่างดียิ่ง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๕. มานัตถัทธสูตร
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกับมานัตถัทธพราหมณ์ว่า “พอละ พราหมณ์
เชิญลุกขึ้นนั่งบนที่นั่งของตนเถิด เพราะท่านมีจิตเลื่อมใสในเราแล้ว”
ลำดับนั้น มานัตถัทธพราหมณ์นั่งบนที่นั่งของตนแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคด้วยคาถาว่า
บุคคลไม่ควรทำมานะในใคร
ควรมีความเคารพในใคร พึงยำเกรงในใคร
บูชาใครด้วยดีแล้วจึงจะเป็นการดี
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลไม่ควรทำมานะในมารดา
บิดา พี่ชาย และในอาจารย์เป็นที่ ๔
พึงมีความเคารพในบุคคลเหล่านั้น
พึงยำเกรงในบุคคลเหล่านั้น
บูชาบุคคลเหล่านั้นด้วยดีแล้วจึงเป็นการดี
บุคคลพึงทำลายมานะ
ไม่ควรกระด้าง พึงนอบน้อมพระอรหันต์ ผู้เยือกเย็น
ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่านั้น
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มานัตถัทธพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระ
โคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
จนตลอดชีวิต”
มานัตถัทธสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๖. ปัจจนีกสูตร

๖. ปัจจนีกสูตร
ว่าด้วยปัจจนีกสาตพราหมณ์
[๒๐๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พราหมณ์ชื่อปัจจนีกสาตะ พำนัก
อยู่ในกรุงสาวัตถี ได้มีความคิดดังนี้ว่า “ทางที่ดีเราพึงเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่
ประทับเถิด พระสมณโคดมจักตรัสคำใด ๆ เราก็จักคัดค้านคำนั้น ๆ”
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรมอยู่ในที่กลางแจ้ง ลำดับนั้น ปัจจนีกสาต-
พราหมณ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ เดินตามพระผู้มีพระภาคซึ่งกำลัง
เสด็จจงกรมอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ขอพระองค์จงตรัสสมณธรรมเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ผู้ตั้งใจจะคัดค้าน มีจิตเศร้าหมอง
มากไปด้วยความแข่งดี จะไม่รู้ชัดคำสุภาษิต
ส่วนบุคคลใดกำจัดความแข่งดี ความไม่มีจิตเลื่อมใส
และถอนความอาฆาตออกแล้วฟังอยู่
บุคคลนั้นจึงจะรู้คำสุภาษิตได้
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ปัจจนีกสาตพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ปัจจนีกสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๗. นวกัมมิกสูตร

๗. นวกัมมิกสูตร
ว่าด้วยนวกัมมิกภารทวาชพราหมณ์
[๒๐๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้น
โกศล สมัยนั้น นวกัมมิกภารทวาชพราหมณ์ให้คนทำงานอยู่ในราวป่านั้น เขาได้เห็น
พระผู้มีพระภาคซึ่งประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
ที่โคนไม้สาละแห่งหนึ่ง ได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราให้คนทำงานอยู่ในราวป่าจึงยินดี
ส่วนพระสมณะนี้ให้คนทำอะไรอยู่จึงยินดี”
ลำดับนั้น นวกัมมิกภารทวาชพราหมณ์จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ภิกษุ ท่านทำงานอะไร จึงอยู่ในป่าไม้สาละ
พระโคดมอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว ได้ความยินดีอะไรหรือ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เราไม่ได้ทำงานอะไรในป่าหรอก
ป่าคือกิเลสอันเป็นข้าศึกถูกเราถอนรากเหง้าหมดแล้ว
เราไม่มีป่าคือกิเลส ปราศจากลูกศรคือกิเลส
ละความไม่ยินดี ยินดีอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นวกัมมิกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
นวกัมมิกสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๘. กัฏฐหารสูตร

๘. กัฏฐหารสูตร
ว่าด้วยคนหาฟืน
[๒๐๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้น
โกศล สมัยนั้น มาณพหลายคนซึ่งเป็นศิษย์ของพราหมณ์ภารทวาชโคตรคนหนึ่ง
เป็นคนหาฟืน พากันเข้าไปยังราวป่านั้นแล้วได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งคู้บัลลังก์
ตั้งพระกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า อยู่ในราวป่านั้น จึงเข้าไปหาพราหมณ์-
ภารทวาชโคตรถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับพราหมณ์ภารทวาชโคตรดังนี้ว่า “ขอท่าน
พึงทราบ พระสมณโคดมประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
อยู่ในราวป่า”
ลำดับนั้น พราหมณ์ภารทวาชโคตรพร้อมด้วยมาณพเหล่านั้นเข้าไปยังราวป่า
นั้นแล้ว ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงสติไว้
เฉพาะหน้าเช่นนั้นจริง จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูลด้วย
คาถาว่า
ภิกษุ ท่านเข้าไปสู่ป่าที่ว่างเปล่าปราศจากคน
ในป่าหนาทึบน่าหวาดเสียวนัก มีกายไม่ไหวหวั่น
มีประโยชน์อันงาม เพ่งพินิจอย่างดีหนอ
ท่านเป็นมุนีอาศัยป่า อยู่ในป่าแต่ผู้เดียว
ซึ่งไม่มีเสียงขับร้อง และเสียงบรรเลง
การที่ท่านมีใจยินดี อยู่ในป่าแต่ผู้เดียวนี้
ปรากฏเป็นข้อน่าอัศจรรย์แก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าปรารถนาไตรทิพย์อันยอดเยี่ยม๑
จึงอยากเป็นสหายกับท้าวมหาพรหมผู้เป็นอธิบดีของโลก
เหตุไรท่านจึงชอบใจป่าที่ปราศจากคน
ท่านทำความเพียรอยู่ที่นี้เพื่อจะบังเกิดเป็นพรหมหรือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๘. กัฏฐหารสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ความมุ่งหวัง๑หรือความเพลิดเพลินอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในอารมณ์หลายชนิดซึ่งมีอยู่ประจำทุกเมื่อนานาประการ
หรือตัณหาอันเป็นเหตุให้กระชับแน่นทั้งปวงนั้น
ซึ่งมีความไม่รู้เป็นมูลรากก่อให้เกิดต่อ ๆ ไป
เราทำให้สิ้นสุดพร้อมทั้งรากแล้ว
เรานั้นจึงไม่มีความมุ่งหวัง ไม่มีตัณหาอาศัย
ไม่มีตัณหาเข้ามาใกล้ มีปกติเห็นหมดจดในธรรมทั้งปวง
บรรลุสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม๒ ประเสริฐสุดแล้ว
เราจึงควรแก่ความเป็นพรหม แกล้วกล้า เพ่งพินิจอยู่๓
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
กัฏฐหารสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๙. มาตุโปสกสูตร

๙. มาตุโปสกสูตร
ว่าด้วยมาตุโปสกพราหมณ์
[๒๐๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น มาตุโปสกพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์แสวงหาภิกษาโดยธรรม
ได้มาแล้วก็เลี้ยงมารดาและบิดา ข้าพระองค์ทำเช่นนี้ ชื่อว่าทำกิจที่ควรทำหรือไม่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ชอบยิ่งนัก พราหมณ์ ท่านทำดังนี้ชื่อว่าได้ทำกิจที่
ควรทำแท้ ด้วยว่าผู้ใดแสวงหาภิกษาโดยธรรมได้มาแล้วก็เลี้ยงมารดาและบิดา ผู้นั้น
ย่อมประสบบุญเป็นอันมาก”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
บุคคลใดเลี้ยงมารดาและบิดาโดยชอบธรรม
เพราะการบำรุงเลี้ยงมารดาและบิดาเช่นนี้
บัณฑิตย่อมสรรเสริญบุคคลนั้นขณะที่ยังอยู่ในโลก
ครั้นจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในโลกสวรรค์
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มาตุโปสกพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะ
ยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ
ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
มาตุโปสกสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๑๐. ภิกขกสูตร

๑๐. ภิกขกสูตร
ว่าด้วยภิกขกพราหมณ์
[๒๐๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกขกพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นคนขอ พระองค์ก็
เป็นผู้ขอ ในเรื่องนี้เราจะมีอะไรแตกต่างกัน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุคคลขอคนเหล่าอื่นอยู่
ย่อมไม่เป็นภิกษุด้วยเหตุมีประมาณเพียงใด
ผู้สมาทานธรรมผิด๑ก็ไม่เป็นภิกษุด้วยเหตุมีประมาณเพียงนั้น
ผู้ใดในโลกนี้ละบุญและบาปได้แล้ว
ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการพิจารณา๒
ผู้นั้นแลจัดว่าเป็นภิกษุ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกขกพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ
ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ภิกขกสูตรที่ ๑๐ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๑๑. สังครวสูตร

๑๑. สังครวสูตร
ว่าด้วยสังครวพราหมณ์
[๒๐๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น สังครวพราหมณ์อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี มีลัทธิถือความบริสุทธิ์
ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ถือการลงอาบน้ำชำระร่างกายทั้งเวลาเย็น
และเวลาเช้าเป็นประจำ ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับมาจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉัน
ภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วจึงนั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สังครว-
พราหมณ์อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี เขามีลัทธิถือความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความ
บริสุทธิ์ด้วยน้ำ ถือการลงอาบน้ำชำระร่างกายทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้าเป็นประจำ
ข้าพระองค์ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอนุเคราะห์เสด็จเข้าไปหา
สังครวพราหมณ์ถึงที่อยู่ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์
โดยดุษณีภาพ
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้า
ไปหาสังครวพราหมณ์ถึงที่อยู่แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว
ลำดับนั้น สังครวพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคตรัสถามสังครวพราหมณ์ว่า “พราหมณ์ เขาพูดกันว่า ท่านได้ชื่อว่าถือ
ความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ท่านถือการลงอาบน้ำชำระ
ร่างกายทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้าเป็นประจำ จริงหรือ”
สังครวพราหมณ์กราบทูลว่า “จริงอย่างนั้น พระโคดมผู้เจริญ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๑๑. สังครวสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ ท่านเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงได้
ชื่อว่ามีลัทธิถือความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ถือการลง
อาบน้ำชำระร่างกายทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้าเป็นประจำเล่า”
สังครวพราหมณ์ทูลตอบว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บาปกรรมใดที่
ข้าพระองค์ทำเวลากลางวัน ข้าพระองค์ก็ลอยบาปกรรมนั้นด้วยการอาบน้ำเวลาเย็น
บาปกรรมใดที่ข้าพระองค์ทำเวลากลางคืน ข้าพระองค์ก็ลอยบาปกรรมนั้นด้วยการ
อาบน้ำเวลาเช้า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงได้
ชื่อว่ามีลัทธิถือความบริสุทธ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ถือการลง
อาบน้ำชำระร่างกายทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้าเป็นประจำ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
พราหมณ์ บุคคลผู้ถึงเวททั้งหลายนั่นแล
อาบในห้วงน้ำคือธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย
มีท่าคือศีล ไม่ขุ่นมัว อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว
มีตัวไม่เปียก ย่อมข้ามถึงฝั่ง๑
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สังครวพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระโคดม
ผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน
ตลอดชีวิต”
สังครวสูตรที่ ๑๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๑๒. โขมทุสสสูตร

๑๒. โขมทุสสสูตร
ว่าด้วยชาวโขมทุสสนิคม
[๒๐๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของเจ้าศากยะชื่อโขมทุสสะ
แคว้นสักกะ ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังโขมทุสสนิคม สมัยนั้น พราหมณ์และคหบดีชาวโขมทุสสนิคม
ประชุมกันอยู่ในสภาด้วยกรณียกิจบางอย่าง และฝนก็กำลังตกประปรายอยู่ ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังสภานั้น
พวกพราหมณ์และคหบดีชาวโขมทุสสนิคม ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล
จึงได้กล่าวดังนี้ว่า “คนพวกไหนชื่อว่าสมณะโล้น และคนพวกไหนรู้จักธรรมของสภา”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพราหมณ์และคหบดีชาวโขมทุสสนิคม
ด้วยพระคาถาว่า
ที่ใดไม่มีสัตบุรุษ ที่นั้นไม่ชื่อว่าสภา
คนเหล่าใดไม่กล่าวธรรม คนเหล่านั้นไม่ชื่อว่าสัตบุรุษ
เพราะพวกสัตบุรุษละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว
จึงกล่าวธรรมอยู่๑
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และคหบดีชาวโขมทุสสนิคมได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะ
ยิ่งนัก พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เหมือนบุคคล
หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด
ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ฉะนั้น พวกข้าพระองค์เหล่านี้ขอถึงพระโคดม
ผู้เจริญ พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำ
พวกข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
โขมทุสสสูตรที่ ๑๒ จบ
อุปาสกวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กสิภารทวาชสูตร ๒. อุทยสูตร
๓. เทวหิตสูตร ๔. มหาสาลสูตร
๕. มานัตถัทธสูตร ๖. ปัจจนีกสูตร
๗. นวกัมมิกสูตร ๘. กัฏฐหารสูตร
๙. มาตุโปสกสูตร ๑๐. ภิกขกสูตร
๑๑. สังครวสูตร ๑๒. โขมทุสสสูตร

พราหมณสังยุต จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต]๑. นิกขันตสูตร

๘. วังคีสสังยุต
๑. นิกขันตสูตร
ว่าด้วยผู้ออกบวช
[๒๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวี กับท่านพระ
นิโครธกัปปะผู้เป็นอุปัชฌาย์ สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะยังเป็นภิกษุใหม่บวชได้ไม่นาน
ถูกใช้ให้เฝ้าวิหาร
ครั้งนั้น สตรีจำนวนมากพากันประดับประดาร่างกายอย่างสวยงาม เข้าไปยัง
อารามเที่ยวดูที่อยู่ของภิกษุทั้งหลาย ในขณะนั้น ท่านพระวังคีสะเกิดความไม่ยินดี
เพราะได้เห็นสตรีเหล่านั้น ความกำหนัดรบกวนจิต
ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิดดังนี้ว่า “ไม่ใช่ลาภของเราเลย ไม่ใช่
ลาภของเราเลย เราได้ชั่วหนอ เราไม่ได้ดีหนอที่เราเกิดความไม่ยินดี ความกำหนัด
รบกวนจิต เหตุที่จะให้คนอื่นช่วยบรรเทาความไม่ยินดี ทำความยินดีให้เกิดขึ้น
แก่เรานั้น เราจะได้จากที่ไหน ทางที่ดีเราพึงบรรเทาความไม่ยินดี ทำความยินดีให้
เกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเองเถิด”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะบรรเทาความไม่ยินดีแล้ว ทำความยินดีให้เกิดขึ้น
แก่ตนด้วยตนเองแล้ว จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
ความตรึกกับความคะนองอย่างเลวทรามเหล่านี้
กำลังเข้าครอบงำเราผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
บุตรของคนสูงศักดิ์ได้ศึกษาวิชายิงธนูคราวละมาก ๆ
อย่างเชี่ยวชาญ ยิงลูกธนู ๑,๐๐๐ ลูก ไปรอบ ๆ ตัว
ถึงแม้หญิงจะมามากกว่าลูกธนูจำนวนนั้น
ก็จะเบียดเบียนเราผู้ตั้งมั่นในธรรมของตนไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๒. อรติสูตร
เพราะว่า เราได้สดับทางเป็นที่ให้ถึงนิพพานนี้
เบื้องพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ดวงอาทิตย์
ใจของเรายินดีแล้วในทางนั้นแน่นอน
มารผู้มีบาป ถ้าท่านยังเข้ามาหาเราผู้อยู่ด้วยอาการอย่างนี้
เราก็จะทำให้ท่านมองไม่เห็นทางของเรา๑
นิกขันตสูตรที่ ๑ จบ

๒. อรติสูตร
ว่าด้วยความไม่ยินดี
[๒๑๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวี
กับท่านพระนิโครธกัปปะผู้เป็นอุปัชฌาย์ สมัยนั้น ท่านพระนิโครธกัปปะกลับจาก
บิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปยังวิหาร แล้วออกมาใน
เวลาเย็นบ้าง ในเวลาภิกขาจารในวันรุ่งขึ้นบ้าง
สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะเกิดความไม่ยินดี ความกำหนัดรบกวนจิต ลำดับนั้น
ท่านพระวังคีสะได้มีความคิดดังนี้ว่า “ไม่ใช่ลาภของเราเลย ไม่ใช่ลาภของเราเลย
เราได้ชั่วหนอ เราไม่ได้ดีหนอที่เราเกิดความไม่ยินดี ความกำหนัดรบกวนจิต เหตุที่
จะให้คนอื่นช่วยบรรเทาความไม่ยินดี ทำความยินดีให้เกิดขึ้นแก่เรานั้น เราจะได้จาก
ที่ไหน ทางที่ดีเราพึงบรรเทาความไม่ยินดี ทำความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเองเถิด”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะบรรเทาความไม่ยินดีแล้ว ทำความยินดีให้เกิดขึ้นแก่
ตนด้วยตนเองแล้ว จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
ผู้ใดละความยินดี ความไม่ยินดี
และความตรึกเกี่ยวกับบ้านเรือนได้ทั้งหมด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๒. อรติสูตร
หมดตัณหา ไม่มีกิเลส ไม่พึงก่อตัณหาดุจป่าในที่ไหน ๆ
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ
รูปอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้
ทั้งที่อาศัยแผ่นดิน อยู่ในอากาศ อันนับเนื่องในภพ ๓
ล้วนไม่เที่ยง คร่ำคร่าไปทั้งนั้น
ท่านผู้รู้ทั้งหลายรู้แจ้งอย่างนี้แล้ว มีตนหลุดพ้นเที่ยวไป
เหล่าปุถุชนที่มีจิตหมกมุ่นในอุปธิทั้งหลาย
คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ
ท่านจงเป็นผู้ไม่หวั่นไหว กำจัดความพอใจในกามคุณ ๕ นี้
ผู้ใดไม่ติดอยู่ในกามคุณ ๕ นี้
บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่าเป็นมุนี
ถ้ามิจฉาวิตกที่อิงอาศัยทิฏฐิ ๖๐ ประการ๑
ซึ่งเป็นธรรมที่ไม่ตั้งมั่นในกาลไหน ๆ
ผู้ใดไม่พึงเป็นไปในอำนาจกิเลสด้วยอำนาจมิจฉาวิตกเหล่านั้น
ทั้งไม่ชอบกล่าวคำหยาบคาย ผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ
ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต มีจิตมั่นคงมานาน ไม่ลวงโลก
มีปัญญาเครื่องบริหาร หมดความทะเยอทะยาน
เป็นมุนี ได้บรรลุสันติบท ดับกิเลสแล้ว รอเวลาอยู่๒
อรติสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๓. เปสลาติมัญญนาสูตร

๓. เปสลาติมัญญนาสูตร
ว่าด้วยการนึกดูหมิ่นภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
[๒๑๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวี กับท่าน
พระนิโครธกัปปะผู้เป็นอุปัชฌาย์ สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะนึกดูหมิ่นภิกษุทั้งหลาย
ผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่าอื่น เพราะปฏิภาณของตน ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิด
ดังนี้ว่า “ไม่ใช่ลาภของเราเลย ไม่ใช่ลาภของเราเลย เราได้ชั่วหนอ เราไม่ได้ดีหนอ
ที่เราดูหมิ่นภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่าอื่น เพราะปฏิภาณของตน”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะให้ความเดือดร้อนเกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเองแล้ว จึงกล่าว
คาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
ท่านผู้เป็นสาวกของพระโคดม
ท่านจงละความเย่อหยิ่ง
และจงละทางแห่งความเย่อหยิ่งให้หมด
เพราะผู้ที่หมกมุ่นอยู่ในทางแห่งความเย่อหยิ่ง
จะต้องเดือดร้อนเป็นเวลานาน
หมู่สัตว์ที่ยังลบหลู่คุณท่าน
ถูกความเย่อหยิ่งกำจัดแล้ว ย่อมตกนรก
เหล่าปุถุชนที่ถูกความเย่อหยิ่งกำจัดแล้ว
เกิดในนรก ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน
บางครั้ง ภิกษุปฏิบัติชอบแล้ว
ชนะกิเลสได้ด้วยมรรค ไม่เศร้าโศกเลย
ยังกลับได้เกียรติคุณและความสุข
บัณฑิตทั้งหลายเรียกภิกษุผู้ปฏิบัติชอบเช่นนั้นว่าเป็นผู้เห็นธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๔. อานันทสูตร
เพราะเหตุนั้น ภิกษุในพระศาสนานี้
ไม่ควรมีกิเลสเครื่องตรึงใจ ๕ อย่าง
ควรมีแต่ความเพียรชอบ ละนิวรณ์ได้แล้ว เป็นผู้บริสุทธิ์
ทั้งละความเย่อหยิ่งได้หมด สงบระงับแล้ว
ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชา๑
เปสลาติมัญญนาสูตรที่ ๓ จบ

๔. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์
[๒๑๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี มีท่านพระวังคีสะเป็นปัจฉาสมณะ
สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะเกิดความไม่ยินดี ความกำหนัดรบกวนจิต
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ด้วยคาถาว่า
ท่านผู้เป็นสาวกของพระโคดม
กระผมถูกกามราคะแผดเผา
จิตของกระผมเร่าร้อน
ดังกระผมจะขอโอกาส ขอท่านโปรดอนุเคราะห์
ช่วยบอกเหตุที่ดับราคะให้ด้วย
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า
จิตของท่านเร่าร้อน เพราะความสำคัญผิด
ท่านจงละทิ้งนิมิตว่างาม ซึ่งประกอบด้วยราคะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๕. สุภาสิตสูตร
ท่านจงดูสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นของแปรผัน
โดยความเป็นทุกข์ และอย่าดูโดยความเป็นอัตตา
จงดับราคะแรงกล้า อย่าถูกราคะเผาผลาญบ่อย ๆ เลย
ท่านจงอบรมจิต ให้มีอารมณ์เดียว
ให้ตั้งมั่นดี ด้วยการพิจารณาเห็นว่าไม่งาม
จงอบรมกายคตาสติ และจงเป็นผู้เบื่อหน่ายให้มาก
ท่านจงอบรมความไม่มีนิมิต และจงถอนมานานุสัย
จากนั้น ท่านจักเป็นผู้สงบ เที่ยวไป เพราะละมานะได้๑
อานันทสูตรที่ ๔ จบ

๕. สุภาสิตสูตร
ว่าด้วยวาจาสุภาษิต
[๒๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๔ เป็นสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต ไม่มี
โทษ และวิญญูชนทั้งหลายไม่ติเตียน
วาจาประกอบด้วยองค์ ๔ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. กล่าวแต่วาจาสุภาษิตอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาทุพภาษิต
๒. กล่าวแต่วาจาที่เป็นธรรมอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาที่ไม่เป็นธรรม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๕. สุภาสิตสูตร
๓. กล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รักอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก
๔. กล่าวแต่วาจาจริงอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาเหลาะแหละ
ภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๔ เหล่านี้แล เป็นสุภาษิต ไม่เป็น
ทุพภาษิต ไม่มีโทษ และวิญญูชนทั้งหลายไม่ติเตียน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
สัตบุรุษทั้งหลายกล่าววาจาสุภาษิตว่าเป็นวาจาสูงสุด
บุคคลพึงกล่าววาจาที่เป็นธรรม
ไม่พึงกล่าววาจาที่ไม่เป็นธรรมเป็นที่สอง
บุคคลพึงกล่าววาจาอันเป็นที่รัก
ไม่พึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รักเป็นที่สาม
บุคคลพึงกล่าววาจาจริง
ไม่พึงกล่าววาจาเท็จเป็นที่สี่
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือ
ไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
ผู้มีพระภาค เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้
ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เนื้อความนั้นจงปรากฏแก่เธอเถิด วังคีสะ”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาทั้งหลาย
อันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ว่า
บุคคลพึงกล่าวแต่วาจา
ที่ไม่เป็นเหตุทำให้ตนเดือดร้อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๖. สารีปุตตสูตร
และไม่เป็นเหตุเบียดเบียนชนอื่น
วาจานั้นแลเป็นสุภาษิต
บุคคลพึงกล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รัก
ที่ชนทั้งหลายชื่นชอบ ไม่พึงพูดหยาบคายต่อชนเหล่าอื่น
พึงพูดแต่วาจาอันเป็นที่รัก
คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย
ธรรมนี้เป็นของเก่า
สัตบุรุษทั้งหลายตั้งมั่นแล้วในคำสัตย์
ทั้งที่เป็นอรรถและเป็นธรรม
พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด อันเกษม
เพื่อบรรลุนิพพาน เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์
พระวาจานั้นแล สูงสุดกว่าวาจาทั้งหลาย๑
สุภาสิตสูตรที่ ๕ จบ

๖. สารีปุตตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตร
[๒๑๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย
เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ
ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ด้วยวาจาชาวเมือง ที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้
ความหมายได้ ส่วนภิกษุเหล่านั้นต่างก็ใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วย
ความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๖. สารีปุตตสูตร
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิดดังนี้ว่า “ท่านพระสารีบุตรนี้ชี้แจงให้
ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ด้วยวาจาชาวเมือง ที่สละสลวย ไม่หยาบคาย
ให้รู้ความหมายได้ ส่วนภิกษุเหล่านั้นต่างก็ใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วย
ความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่ ทางที่ดีเราควรสรรเสริญท่านพระสารีบุตรด้วย
คาถาทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะหน้าเถิด”
ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไป
ทางที่ท่านพระสารีบุตรอยู่ ได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านพระสารีบุตร
เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพเจ้า ท่านพระสารีบุตร เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่
ข้าพเจ้า”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวกับท่านพระวังคีสะว่า “เนื้อความนั้นจงปรากฏแก่ท่านเถิด
ท่านวังคีสะ”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้สรรเสริญท่านพระสารีบุตร ด้วยคาถาทั้งหลาย
อันสมควร ณ ที่เฉพาะหน้าว่า
ท่านพระสารีบุตร เป็นนักปราชญ์
มีปัญญาลึกซึ้ง ฉลาดในทางและมิใช่ทาง
มีปัญญามาก แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย
แสดงโดยย่อก็ได้ โดยพิสดารก็ได้
เสียงที่เปล่งออกไพเราะ เหมือนเสียงนกสาลิกา
ปฏิภาณก็ปรากฏ
เมื่อท่านแสดงธรรมนั้นอยู่
ภิกษุทั้งหลายฟังเสียงอันไพเราะ
ก็มีจิตร่าเริงเบิกบานด้วยเสียงที่น่ายินดี
น่าฟัง ไพเราะจับใจ จึงตั้งใจฟัง๑
สารีปุตตสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๗. ปวารณาสูตร

๗. ปวารณาสูตร
ว่าด้วยการปวารณา
[๒๑๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาท
ของนางวิสาขามิคารมาตา เขตกรุงสาวัตถี พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ
๕๐๐ รูป ล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมีภิกษุสงฆ์
แวดล้อม ประทับนั่งในที่กลางแจ้ง เพื่อทรงปวารณาในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูภิกษุสงฆ์ผู้นั่งสงบเงียบ จึงรับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอปวารณาต่อเธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจะไม่ติเตียนกรรมอะไร ๆ อันเป็นไปทางกายหรือทางวาจาของเราบ้างหรือ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรลุกขึ้นจากอาสนะ
ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายติเตียนกรรมอะไร ๆ
อันเป็นไปทางพระกายหรือทางพระวาจาของพระผู้มีพระภาคไม่ได้เลย เพราะว่า
พระผู้มีพระภาคทรงทำทางที่ยังไม่อุบัติให้อุบัติ ทรงทำทางที่ยังไม่เกิดให้เกิด ทรงบอก
ทางที่ยังไม่มีผู้บอก เป็นผู้ทรงรู้ทาง ทรงรู้แจ้งทาง ทรงฉลาดในทาง ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ สาวกทั้งหลายในบัดนี้เป็นผู้เดินตามทาง บัดนี้ ข้าพระองค์ขอปวารณาต่อ
พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจะไม่ทรงติเตียนกรรมอะไร ๆ อันเป็นไปทางกาย
หรือทางวาจาของข้าพระองค์บ้างหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เราติเตียนกรรมอะไร ๆ อันเป็นไปทางกาย
หรือทางวาจาของเธอไม่ได้เลย เธอเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง
มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาแล่นไป มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญาชำแรกกิเลส๑ สารีบุตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๗. ปวารณาสูตร
โอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิยังจักรอันพระราชบิดาทรงให้เป็นไปแล้วให้เป็น
ไปตามได้โดยชอบ ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังธรรมจักรอันยอดเยี่ยม อันเรา
ให้เป็นไปแล้วให้เป็นไปตามได้โดยชอบแท้จริง”
ท่านพระสารีบุตรจึงกราบทูลอีกว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากว่าพระผู้มี
พระภาคไม่ทรงติเตียนกรรมอะไร ๆ อันเป็นไปทางกายหรือทางวาจาของข้าพระองค์
พระผู้มีพระภาคจะไม่ทรงติเตียนกรรมอะไร ๆ อันเป็นไปทางกายหรือทางวาจาของ
ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้บ้างหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เราไม่ติเตียนกรรมอะไร ๆ อันเป็นไปทาง
กายหรือทางวาจาของภิกษุ ๕๐๐ รูปแม้เหล่านี้ เพราะบรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้
ภิกษุ ๖๐ รูปเป็นผู้ได้วิชชา ๓ อีก ๖๐ รูปได้อภิญญา ๖ อีก ๖๐ รูปได้อุภโตภาค-
วิมุตติ๑ ส่วนที่เหลือเป็นผู้ได้ปัญญาวิมุตติ”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไปทาง
ที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มี
พระภาค เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อม
ปรากฏแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เนื้อความนั้นจงปรากฏแก่เธอเถิด วังคีสะ”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาทั้งหลาย
อันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ว่า
ในวัน ๑๕ ค่ำซึ่งเป็นวันวิสุทธิปวารณา
วันนี้ มีภิกษุ ๕๐๐ รูปมาประชุมกัน
ล้วนเป็นผู้ตัดกิเลสเครื่องผูกคือสังโยชน์ได้ขาด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๘. ปโรสหัสสสูตร
ไม่มีทุกข์ สิ้นภพสิ้นชาติแล้ว
เป็นผู้แสวงหาคุณธรรมอันประเสริฐ
พระเจ้าจักรพรรดิมีหมู่อำมาตย์แวดล้อม
เสด็จประพาสแผ่นดินอันไพศาล
มีมหาสมุทรสาครเป็นขอบเขตนี้ ฉันใด
สาวกทั้งหลายมีวิชชา ๓ ละมัจจุได้แล้ว
พากันแวดล้อมพระผู้มีพระภาคผู้ทรงชนะสงคราม
ทรงนำหมู่ เป็นผู้ยอดเยี่ยม ก็ฉันนั้น
สาวกทั้งปวงล้วนเป็นบุตรของพระผู้มีพระภาค
ในสาวกนี้ไม่มีความว่างเปล่า(จากคุณธรรม)เลย
ข้าพระองค์พึงถวายอภิวาทพระองค์
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งดวงอาทิตย์
ซึ่งทรงทำลายลูกศรคือตัณหาได้แล้ว๑
ปวารณาสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปโรสหัสสสูตร
ว่าด้วยภิกษุกว่า ๑,๐๐๐ รูป
[๒๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ๑,๒๕๐ รูป
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไป
ปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
อันประกอบด้วยนิพพาน ส่วนภิกษุเหล่านั้นต่างก็ใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึก
มาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๘. ปโรสหัสสสูตร
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคนี้ทรงชี้แจงให้
ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาอันประกอบด้วยนิพพาน ส่วนภิกษุเหล่านั้น
ต่างก็ใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่
ทางที่ดีเราควรจะสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะ
พระพักตร์เถิด”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไปทาง
ที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มี
พระภาค เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อม
ปรากฏแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เนื้อความนั้นจงปรากฏแก่เธอเถิด วังคีสะ”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาทั้งหลาย
อันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ว่า
ภิกษุกว่า ๑,๐๐๐ รูป เข้าไปเฝ้าพระสุคต
ผู้ทรงแสดงพระธรรมอันปราศจากธุลี
คือนิพพานอันไม่มีภัยแต่ที่ไหน
ภิกษุทั้งหลายฟังธรรมอันปราศจากมลทิน
ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีหมู่ภิกษุแวดล้อมทรงงดงามจริง
พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่านาคะ
เป็นพระฤๅษีผู้สูงสุดกว่าฤๅษีทั้งหลาย
ทรงโปรยฝนอมตธรรม ให้ตกรดพระสาวกทั้งหลาย
ข้าแต่พระมหาวีระเจ้า วังคีสะสาวกของพระองค์
ประสงค์จะเฝ้าพระศาสดาจึงออกจากที่พักกลางวัน
มาถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๘. ปโรสหัสสสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วังคีสะ คาถาเหล่านี้เธอตรึกตรองไว้ก่อนแล้ว
หรือปรากฏแก่เธอโดยฉับพลันทันที”
ท่านพระวังคีสะทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คาถาเหล่านี้ข้าพระองค์
มิได้ตรึกตรองไว้ก่อนเลย แต่ปรากฏแก่ข้าพระองค์โดยฉับพลันทันที”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วังคีสะ ขอให้คาถาที่เธอไม่ได้ตรึกตรองไว้ก่อนเหล่านี้
จงปรากฏแก่เธอยิ่ง ๆ ขึ้นไปเถิด”
ท่านพระวังคีสะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาคด้วย
คาถาทั้งหลาย ซึ่งตนไม่ได้ตรึกตรองไว้ก่อน ยิ่งขึ้นไปอีกว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงครอบงำทางเป็นที่เกิดขึ้นแห่งมาร
ทรงทำลายกิเลสเครื่องตรึงใจดุจตะปู
ท่านทั้งหลายจงดูพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงทำการปลดเปลื้องกิเลสเป็นเครื่องผูก
ผู้อันตัณหา มานะและทิฏฐิอิงอาศัยไม่ได้
ผู้ทรงจำแนกธรรมเป็นส่วน ๆ ได้นั้น
ความจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้ตรัสทางไว้หลายอย่างเพื่อถอนโอฆกิเลส
หากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสทางอมตะนั้นไว้แล้ว
ภิกษุทั้งหลายผู้เห็นธรรม ก็ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทำแสงสว่างให้เกิด ทรงรู้แจ่มแจ้ง
ได้เห็นนิพพานเป็นเหตุล่วงพ้นวิญญาณฐิติได้ทั้งหมด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๙. โกณฑัญญสูตร
ครั้นทรงรู้และทำให้แจ้งจึงได้แสดงธรรมอันเลิศ
แก่ภิกษุผู้เดินทางไกล ๑๐ รูป
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมไว้ดีอย่างนี้
ท่านผู้รู้แจ้งธรรมทั้งหลายจะมีความประมาทได้อย่างไร
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุผู้ไม่ประมาทในคำสอนของพระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น พึงตั้งใจศึกษาทุกเมื่อ๑
ปโรสหัสสสูตรที่ ๘ จบ

๙. โกณฑัญญสูตร
ว่าด้วยพระอัญญาโกณฑัญญะ
[๒๑๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะได้เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ซึ่งท่านไม่ได้เข้าเฝ้านานแล้ว ได้หมอบลงแทบพระยุคลบาท
ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า จุมพิตพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคแล้ว
นวดเฟ้นด้วยมือทั้งสองและประกาศชื่อว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ชื่อว่า
โกณฑัญญะ ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ชื่อว่าโกณฑัญญะ พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิดดังนี้ว่า “ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะนี้
นาน ๆ จึงจะได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้หมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มี
พระภาคด้วยเศียรเกล้า จุมพิตพระยุคลบาทแล้ว นวดเฟ้นด้วยมือทั้งสองและประกาศ
ชื่อว่า ‘ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ชื่อว่าโกณฑัญญะ ข้าแต่พระสุคต
ข้าพระองค์ชื่อว่าโกณฑัญญะ’ ทางที่ดีเราควรสรรเสริญท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ
ด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเถิด”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๑๐. โมคคัลลานสูตร
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เนื้อความนี้
ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เนื้อความนั้นจงปรากฏแก่เธอเถิด วังคีสะ”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้สรรเสริญท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ด้วยคาถา
ทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
ท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระ ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า
ได้มีความบากบั่นอย่างแรงกล้า
ได้วิเวกซึ่งเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขเป็นประจำ
เป็นผู้ไม่ประมาท ศึกษาอยู่ ได้บรรลุสิ่งที่พระสาวก
ผู้ทำตามคำสอนของพระศาสดาจะพึงบรรลุได้ทุกรูป
ท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระมีอานุภาพมาก
ได้บรรลุวิชชา ๓ ฉลาดในเจโตปริยญาณ
เป็นพุทธทายาท ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระศาสดาอยู่๑
โกณฑัญญสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. โมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยพระโมคคัลลานะ
[๒๑๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ วิหารกาฬศิลา ข้างภูเขา
อิสิคิลิ เขตกรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนแต่
เป็นพระอรหันต์ ได้ยินว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานะใช้จิตของท่านตามพิจารณาจิต
ของภิกษุเหล่านั้นที่หลุดพ้น ไม่มีอุปธิ
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคนี้ประทับอยู่
ณ วิหารกาฬศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ เขตกรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๑๐. โมคคัลลานสูตร
ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ท่านพระมหาโมคคัลลานะใช้จิตของ
ท่านตามพิจารณาจิตของภิกษุเหล่านั้นที่หลุดพ้น ไม่มีอุปธิ ทางที่ดีเราควรสรรเสริญ
ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ของ
พระผู้มีพระภาคเถิด”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือ
ไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
ผู้มีพระภาค เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อม
ปรากฏแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เนื้อความนั้นจงปรากฏแก่เธอเถิด วังคีสะ”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้สรรเสริญท่านพระมหาโมคคัลลานะ ด้วยคาถา
ทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคว่า
พระสาวกทั้งหลายผู้บรรลุวิชชา ๓ ละมัจจุได้
พากันแวดล้อมพระมหามุนีผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์
ประทับนั่งที่ข้างภูเขา
ท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้มีฤทธิ์มาก
ใช้จิตพิจารณากำหนดรู้จิตของพระขีณาสพเหล่านั้น
ที่หลุดพ้น ไม่มีอุปธิได้
พระขีณาสพเหล่านั้นพากันแวดล้อมพระมหามุนีโคดม
ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยสมบัติทุกประการ
ทรงถึงฝั่งแห่งทุกข์ เพียบพร้อมด้วยพระคุณมากอย่าง๑
โมคคัลลานสูตรที่ ๑๐ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๑๑. คัคคราสูตร

๑๑. คัคคราสูตร
ว่าด้วยเรื่องเกิดขึ้นที่สระโบกขรณีชื่อคัคครา
[๒๑๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งสระโบกขรณี ชื่อคัคครา
เขตกรุงจัมปา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป อุบาสกประมาณ
๗๐๐ คน อุบาสิกาประมาณ ๗๐๐ คน และเทวดาหลายพันองค์ ได้ยินว่า
พระผู้มีพระภาคมีพระวรรณะและมีพระยศรุ่งเรืองกว่าภิกษุ อุบาสก อุบาสิกา และ
เทวดาเหล่านั้นทั้งหมด
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคนี้ประทับอยู่ที่
ฝั่งสระโบกขรณี ชื่อคัคครา เขตกรุงจัมปา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป
อุบาสกประมาณ ๗๐๐ คน อุบาสิกาประมาณ ๗๐๐ คน และเทวดาหลายพันองค์
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคมีพระวรรณะและมีพระยศรุ่งเรืองกว่าภิกษุ อุบาสก
อุบาสิกาและเทวดาเหล่านั้นทั้งหมด ทางที่ดีเราควรสรรเสริญพระผู้มีพระภาค
ด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์เถิด”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือ
ไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระผู้มีพระภาค เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้
ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เนื้อความนั้นจงปรากฏแก่เธอเถิด วังคีสะ”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาอันสมควร
ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๑๒. วังคีสสูตร
ข้าแต่พระมหามุนีอังคีรส
พระองค์ไพโรจน์ล่วงโลกทั้งหมดด้วยพระยศ
เหมือนดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ที่ปราศจากมลทิน
สว่างจ้าอยู่บนท้องฟ้าที่ปราศจากเมฆหมอก๑
คัคคราสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. วังคีสสูตร
ว่าด้วยพระวังคีสะ
[๒๒๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะบรรลุอรหัตแล้วไม่นาน
เสวยวิมุตติสุขอยู่ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
ในกาลก่อน เราเป็นผู้มัวเมากาพย์กลอน
ได้เที่ยวไปแล้วทุกบ้านทุกเมือง
ต่อมา เราได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ศรัทธาก็เกิดขึ้นแก่เรา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ได้ทรงแสดงธรรม คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ แก่เรา
เราได้ฟังพระธรรมของพระองค์แล้วจึงบวช
พระมุนีได้ตรัสรู้พระโพธิญาณ
เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก
แก่ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายผู้ได้บรรลุ ได้เห็นนิยามธรรม๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต
การมาในสำนักของพระพุทธเจ้าของเราเป็นการมาดีแล้ว
วิชชา ๓ อันเราได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำแล้ว
เรารู้ขันธสันดานอันเราเคยอยู่ในกาลก่อน
ทิพพจักขุญาณ เราทำให้หมดจดแล้ว
เราเป็นผู้สำเร็จวิชชา ๓ บรรลุอิทธิวิธิญาณ ฉลาดในเจโตปริยญาณ
วังคีสสูตรที่ ๑๒ จบ
วังคีสสังยุต จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. นิกขันตสูตร ๒. อรติสูตร
๓. เปสลาติมัญญนาสูตร ๔. อานันทสูตร
๕. สุภาสิตสูตร ๖. สารีปุตตสูตร
๗. ปวารณาสูตร ๘. ปโรสหัสสสูตร
๙. โกณฑัญญสูตร ๑๐. โมคคัลลานสูตร
๑๑. คัคคราสูตร ๑๒. วังคีสสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๑. วิเวกสูตร

๙. วนสังยุต
๑. วิเวกสูตร
ว่าด้วยความสงัด
[๒๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล สมัยนั้น ภิกษุ
นั้นพักผ่อนอยู่ในที่พักกลางวัน ตรึกถึงอกุศลวิตกอันเลวทราม ซึ่งอิงอาศัยการ
ครองเรือน
ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดีต่อภิกษุนั้น
ประสงค์จะให้เธอสลดใจ จึงเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่แล้วกล่าวกับภิกษุนั้นด้วยคาถาว่า
ท่านต้องการความสงัดจึงเข้าป่า
ส่วนใจของท่านกลับพล่านไปภายนอก
ท่านป็นคน จงกำจัดความพอใจในคน
แต่นั้นท่านปราศจากความกำหนัดแล้ว จักมีความสุข
ท่านมีสติ ทำไมไม่ละความยินดีเล่า
เราเตือนให้ท่านระลึกถึงธรรมของสัตบุรุษ
เพราะธุลีคือกิเลสประดุจบาดาลข้ามได้ยาก
ความกำหนัดในกามอย่าได้ครอบงำท่านเลย
นกที่เปื้อนฝุ่น ย่อมสลัดละอองธุลีที่แปดเปื้อนให้ตกไป ฉันใด
ภิกษุผู้มีความเพียร มีสติ ย่อมสลัดละอองธุลีคือกิเลส
ที่แปดเปื้อนให้ตกไป ฉันนั้น
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกเทวดานั้นทำให้สลดใจ เกิดความสลดใจแล้ว
วิเวกสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๒. อุปัฏฐานสูตร

๒. อุปัฏฐานสูตร
ว่าด้วยเทวดาเตือนภิกษุผู้เข้าพักผ่อนในที่พักกลางวัน
[๒๒๒] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล
สมัยนั้นภิกษุนั้นนอนหลับในที่พักกลางวัน
ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดีต่อภิกษุ
นั้นประสงค์จะให้เธอสลดใจ จึงเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับภิกษุนั้นด้วย
คาถาว่า
ท่านจงลุกขึ้นเถิดภิกษุ จะนอนทำไม
มีประโยชน์อะไรด้วยความหลับ
ท่านเร่าร้อนเพราะกิเลส ถูกลูกศรเสียบแทงดิ้นรนอยู่
มัวหลับอยู่ทำไม
ท่านออกบวชด้วยศรัทธาใด
จงเพิ่มพูนศรัทธานั้นเถิด
อย่าตกไปสู่อำนาจแห่งความหลับเลย
ภิกษุนั้นกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
คนเขลาหมกมุ่นอยู่ในกามารมณ์เหล่าใด
กามารมณ์เหล่านั้นไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน
ความหลับจะพึงแผดเผาบรรพชิตผู้พ้นแล้ว
ผู้ไม่เกี่ยวข้องในกามารมณ์ซึ่งจะยังสัตว์ให้ติดอยู่ ได้อย่างไร
เพราะกำจัดฉันทราคะได้ และเพราะก้าวล่วงอวิชชาได้
ญาณนั้นจึงบริสุทธิ์อย่างยิ่ง
ความหลับจะแผดเผาบรรพชิต ได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๓. กัสสปโคตตสูตร
ความหลับจะพึงแผดเผาบรรพชิตผู้ไม่มีความเศร้าโศก
ไม่มีความคับแค้นใจ เพราะทำลายอวิชชาได้ด้วยวิชชา
และเพราะสิ้นอาสวะแล้ว ได้อย่างไร
ความหลับจะพึงแผดเผาบรรพชิต
ผู้ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
มีความเพียรมั่นคงเป็นนิตย์ ผู้หวังนิพพานอยู่ ได้อย่างไร
อุปัฏฐานสูตรที่ ๒ จบ

๓. กัสสปโคตตสูตร
ว่าด้วยพระกัสสปโคตร
[๒๒๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระกัสสปโคตรอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล
สมัยนั้น ท่านพักผ่อนอยู่ในที่พักกลางวัน ได้กล่าวสอนนายพรานเนื้อคนหนึ่ง
ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดีต่อท่านพระกัสสปโคตร
ประสงค์จะให้ท่านสลดใจ จึงเข้าไปหาแล้วได้กล่าวกับท่านพระกัสสปโคตรด้วยคาถาว่า
ภิกษุผู้กล่าวสอนนายพรานเนื้อ
ซึ่งเที่ยวไปตามซอกเขา ผู้มีปัญญาน้อย
ไม่รู้เหตุผล ในเวลาไม่ควร
ย่อมปรากฏแก่เราประดุจคนเขลา
เขาเป็นคนโง่ ถึงฟังธรรมอยู่ก็ไม่เข้าใจเนื้อความนั้น
ถึงมีประทีปสว่างอยู่ก็ไม่เห็น
เมื่อท่านกล่าวธรรมอยู่ ย่อมไม่รู้เนื้อความ
ข้าแต่ท่านกัสสปะ ถึงแม้ท่านถือประทีปอันสว่างตั้ง ๑๐ ดวง
เขาก็จักไม่เห็นรูป เพราะเขาไม่มีจักษุ
ลำดับนั้น ท่านพระกัสสปโคตรถูกเทวดานั้นทำให้สลดใจ เกิดความสลดใจแล้ว
กัสสปโคตตสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๔. สัมพหุลสูตร

๔. สัมพหุลสูตร
ว่าด้วยภิกษุหลายรูป
[๒๒๔] สมัยหนึ่ง ภิกษุหลายรูปอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล ครั้งนั้น
ภิกษุเหล่านั้นอยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาสแล้ว ก็หลีกไปสู่ที่จาริก ครั้งนั้น เทวดาผู้สิง
สถิตอยู่ในราวป่านั้น เมื่อไม่เห็นภิกษุเหล่านั้นก็คร่ำครวญถึง ได้กล่าวคาถานี้ใน
เวลานั้นว่า
ความเยื่อใยย่อมปรากฏเหมือนความไม่ยินดี
เพราะเห็นอาสนะมากมายเงียบสงัด
สาวกของพระสมณโคดมเหล่านั้น
ผู้มีถ้อยคำไพเราะ เป็นพหูสูต ไปที่ไหนกัน
เมื่อเทวดานั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวกับเทวดานั้นด้วย
คาถาว่า
ภิกษุทั้งหลายไม่ติดในที่อยู่
เที่ยวไปเป็นหมู่ เหมือนฝูงวานร
ไปสู่แคว้นมคธและแคว้นโกศล
บางพวกก็ไปสู่แคว้นวัชชี
สัมพหุลสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๖. อนุรุทธสูตร

๕. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์
[๒๒๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล
สมัยนั้น ท่านพระอานนท์อยู่รับแขกฝ่ายคฤหัสถ์มากเกินเวลา ครั้งนั้น เทวดาผู้สิง
สถิตอยู่ในราวป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดีต่อท่านพระอานนท์ ประสงค์จะให้
ท่านสลดใจ จึงเข้าไปหาท่านถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ด้วยคาถาว่า
ท่านพระอานนท์โคตมโคตร
ท่านจงเข้าไปยังสุมทุมพุ่มไม้ กำหนดนิพพานไว้ในใจ
เพ่งฌานไปเถิดและอย่าประมาท
เสียงวิพากษ์วิจารณ์ของคนจะช่วยอะไรท่านได้๑
อานันทสูตรที่ ๕ จบ

๖. อนุรุทธสูตร
ว่าด้วยพระอนุรุทธะ
[๒๒๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล
ครั้งนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์องค์หนึ่งชื่อชาลินี เคยเป็นภรรยาเก่าของท่านพระอนุรุทธะ
เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับท่านพระอนุรุทธะด้วยคาถาว่า
ท่านจงตั้งจิตของท่านไว้ในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์
ซึ่งพรั่งพร้อมด้วยอารมณ์อันน่าใคร่ทั้งปวง
ที่ท่านเคยอยู่มาในกาลก่อน
ท่านผู้อันหมู่เทพยกย่องแวดล้อมเป็นบริวารจะงดงาม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๖. อนุรุทธสูตร
ท่านพระอนุรุทธะกล่าวคาถานี้ว่า
เหล่านางเทพกัญญาผู้มีคติอันเลว
ดำรงมั่นอยู่ในสักกายทิฏฐิ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีคติอันเลวแม้เหล่านั้น
ก็ยังมีนางเทพกัญญาปรารถนา
เทวดานั้นกล่าวด้วยคาถานี้ว่า
เทพเหล่าใดยังไม่เคยเห็นสวนนันทนวัน
อันเป็นที่อยู่ของพวกนรเทพ ผู้มียศ ชั้นไตรทศ
เทพเหล่านั้นยังไม่รู้จักความสุข
ท่านพระอนุรุทธะกล่าวด้วยคาถานี้ว่า
เทวดาผู้เขลา ท่านไม่รู้แจ้งถ้อยคำ
ของพระอรหันต์ทั้งหลายว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ความสงบระงับสังขารเหล่านั้นเป็นความสุข
บัดนี้ การกลับไปอยู่ในสวรรค์ของเราไม่มีอีกต่อไป
ตัณหาดุจตาข่ายในหมู่เทพของเราไม่มี
การเวียนว่ายตายเกิดสิ้นไปแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป
อนุรุทธสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๘. กุลฆรณีสูตร

๗. นาคทัตตสูตร
ว่าด้วยพระนาคทัตตะ
[๒๒๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระนาคทัตตะอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล
สมัยนั้น ท่านพระนาคทัตตะเข้าไปยังหมู่บ้านแต่เช้า และกลับมาหลังเที่ยง ครั้งนั้น
เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดีต่อท่านพระนาคทัตตะประสงค์
จะให้ท่านสลดใจ จึงเข้าไปหาท่านพระนาคทัตตะถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับท่านพระ-
นาคทัตตะด้วยคาถาว่า
ท่านพระนาคทัตตะ ท่านเข้าไปยังหมู่บ้านตอนเช้า
และกลับมาตอนกลางวัน
ท่านเที่ยวไปเกินเวลา คลุกคลีกับคฤหัสถ์
พลอยร่วมสุขร่วมทุกข์กับเขา เรากลัวว่าท่านพระนาคทัตตะ
จะคะนองสุดฤทธิ์ จะพัวพันในตระกูลทั้งหลาย
ท่านอย่าตกไปสู่อำนาจของมัจจุราชผู้มีกำลัง
ผู้กระทำชีวิตให้สิ้นสุดเลย
ลำดับนั้น ท่านพระนาคทัตตะถูกเทวดานั้นทำให้สลดใจ เกิดความสลดใจแล้ว
นาคทัตตสูตรที่ ๗ จบ

๘. กุลฆรณีสูตร
ว่าด้วยหญิงแม่เรือนในตระกูล
[๒๒๘] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล สมัยนั้น
ภิกษุนั้นไปอยู่คลุกคลีในตระกูลแห่งหนึ่งเกินเวลา ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ใน
ราวป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดีต่อภิกษุนั้น ประสงค์จะให้ท่านสลดใจ จึงเนรมิต
เพศเป็นหญิงแม่เรือนในตระกูลนั้น เข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับภิกษุนั้น
ด้วยคาถาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๙. วัชชีปุตตสูตร
ชนทั้งหลายต่างประชุมสนทนากันที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำ
ในศาลาที่พัก ในสภาและข้าง ๆ ถนน
พวกเขาต่างพูดถึงดิฉันและท่านอย่างไรหนอ
ภิกษุนั้นกล่าวคาถานี้ว่า
แท้จริง เสียงที่เป็นข้าศึกมีมาก
ท่านผู้มีตบะต้องอดทน ไม่ต้องเก้อเขินด้วยเหตุนั้น
เพราะว่าสัตว์หาได้เศร้าหมองด้วยเหตุนั้นไม่
แต่ผู้ใดมักสะดุ้งเพราะเสียง ประดุจเนื้อทรายในป่า
นักปราชญ์เรียกผู้นั้นว่ามีใจเบา
วัตรของเขาย่อมไม่สมบูรณ์
กุลฆรณีสูตรที่ ๘ จบ

๙. วัชชีปุตตสูตร
ว่าด้วยภิกษุวัชชีบุตร
[๒๒๙] สมัยหนึ่ง ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่งอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง เขตกรุงเวสาลี
สมัยนั้น ในกรุงเวสาลี ได้มีการละเล่นมหรสพตลอดทั้งคืน ครั้งนั้น ภิกษุนั้นได้ฟัง
เสียงดนตรีที่บุคคลบรรเลงก้องกังวานอยู่ในกรุงเวสาลี คร่ำครวญอยู่ ได้กล่าวคาถานี้
ในเวลานั้นว่า
เราอยู่ในป่าคนเดียว
ดุจท่อนไม้ที่เขาทิ้งไว้ในป่า ฉะนั้น
ใครหนอจะเลวกว่าเราในราตรีเช่นนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๓๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น