Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๕-๖ หน้า ๓๓๑ - ๓๙๖

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕-๖ สุตตันตปิฎกที่ ๐๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๑๐. สัชฌายสูตร
ลำดับนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดีต่อท่าน
ประสงค์จะให้ภิกษุนั้นสลดใจ จึงเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับภิกษุนั้น
ด้วยคาถาว่า
ท่านอยู่ในป่าคนเดียว
ดุจท่อนไม้ที่เขาทิ้งไว้ในป่า ฉะนั้น
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมากยังรักท่านอยู่
ดุจสัตว์นรกยินดีต่อผู้ที่จะไปสวรรค์ ฉะนั้น๑
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกเทวดาทำให้สลดใจ เกิดความสลดใจแล้ว
วัชชีปุตตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สัชฌายสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้สาธยายธรรม
[๒๓๐] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล สมัยนั้น
ภิกษุนั้นเมื่อก่อนสาธยายมากจนเกินเวลา สมัยต่อมา ท่านขวนขวายน้อย อยู่เฉย ๆ
ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไป ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้นไม่ได้ฟังธรรมของ
ภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับภิกษุนั้นด้วยคาถาว่า
ภิกษุ เพราะเหตุไร ท่านเมื่ออยู่ร่วม
กับภิกษุทั้งหลาย จึงไม่สาธยายบทแห่งธรรม
เพราะบุคคลฟังธรรมแล้ว ย่อมเลื่อมใส
และสรรเสริญในปัจจุบัน
ภิกษุนั้นได้กล่าวคาถานี้ว่า
ความพอใจในบทแห่งธรรมทั้งหลาย
ได้มีแล้วในกาลก่อน จนถึงเวลาที่เรามาอยู่ร่วม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๑๑. อโยนิโสมนสิการสูตร
กับบุคคลผู้ปราศจากราคะ
และเพราะตั้งแต่เรามาอยู่ร่วมกับบุคคลผู้ปราศจากราคะ
สัตบุรุษทั้งหลายรู้ทั่วถึงรูป เสียง กลิ่น รส
และโผฏฐัพพะ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว
จึงได้กล่าวถึงการปล่อยวางอารมณ์นั้น ๆ
สัชฌายสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. อโยนิโสมนสิการสูตร
ว่าด้วยการมนสิการโดยไม่แยบคาย
[๒๓๑] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล สมัยนั้น
ท่านพักผ่อนอยู่ในที่พักกลางวัน ตรึกถึงอกุศลวิตกอันเลวทราม คือ กามวิตก
(ความตรึกเกี่ยวกับกาม) พยาบาทวิตก(ความตรึกเกี่ยวกับพยาบาท) และวิหิงสาวิตก
(ความตรึกเกี่ยวกับวิหิงสา) ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้นมีความ
อนุเคราะห์หวังดีต่อภิกษุนั้น ประสงค์จะให้ภิกษุนั้นสลดใจ จึงเข้าไปหาภิกษุนั้นถึง
ที่อยู่แล้วได้กล่าวกับภิกษุนั้นด้วยคาถาว่า
ท่านถูกวิตกเกาะกิน เพราะมนสิการโดยไม่แยบคาย
ท่านจงละการมนสิการโดยไม่แยบคาย
และจงใคร่ครวญโดยแยบคายเถิด
ท่านปรารภพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์
และศีลของตนแล้ว จะบรรลุความปราโมทย์ ปีติ
และความสุขโดยไม่ต้องสงสัย
แต่นั้น ท่านมากไปด้วยความปราโมทย์
จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกเทวดาทำให้สลดใจ เกิดความสลดใจแล้ว
อโยนิโสมนสิการสูตรที่ ๑๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๑๓. ปากดินทริยสูตร

๑๒. มัชฌัณหิกสูตร
ว่าด้วยเวลาเที่ยงวัน
[๒๓๒] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล ครั้งนั้น
เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้น เข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวคาถานี้ใน
สำนักของภิกษุนั้นว่า
เมื่อฝูงนกพากันพักร้อนอยู่ในเวลาเที่ยงวัน
ป่าใหญ่ส่งเสียงประหนึ่งว่าครวญครางอยู่
เสียงครวญครางแห่งป่าใหญ่นั้น
ปรากฏเป็นสิ่งที่น่ากลัวแก่ข้าพเจ้า๑
ภิกษุนั้นกล่าวคาถานี้ว่า
เมื่อฝูงนกพากันพักร้อนอยู่ในเวลาเที่ยงวัน
ป่าใหญ่ส่งเสียงประหนึ่งว่าครวญครางอยู่
เสียงครวญครางแห่งป่าใหญ่นั้น
ปรากฏเป็นสิ่งที่น่ายินดีแก่เรา๑
มัชฌัณหิกสูตรที่ ๑๒ จบ

๑๓. ปากตินทริยสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ไม่สำรวมอินทรีย์
[๒๓๓] สมัยหนึ่ง ภิกษุจำนวนมากอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล
เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดจาพร่ำเพรื่อ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ
มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราว
ป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดีต่อภิกษุเหล่านั้น ประสงค์จะให้ภิกษุเหล่านั้นสลดใจ
จึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นด้วยคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๑๓. ปากตินทริยสูตร
ในกาลก่อน พวกภิกษุสาวกของพระโคดม
เป็นอยู่เรียบง่าย ไม่มักมากการแสวงหาบิณฑบาต
ไม่มักมากแสวงหาที่นอนที่นั่ง
ท่านรู้ว่าสิ่งทั้งปวงในโลกเป็นของไม่เที่ยง
จึงกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ส่วนท่านเหล่านี้ทำตนเป็นคนเลี้ยงยาก
กิน ๆ แล้วก็นอน เหมือนคนที่โกงชาวบ้าน
หมกมุ่นอยู่ในเรือนของคนอื่น
ข้าพเจ้าทำอัญชลีต่อสงฆ์แล้ว
ขอพูดกับท่านบางพวกในที่นี้ว่า
พวกท่านถูกเขาทอดทิ้งแล้ว เป็นคนอนาถาเหมือนเปรต
ข้าพเจ้ากล่าวหมายเอาบุคคลพวกที่ประมาทอยู่
ส่วนท่านเหล่าใดไม่ประมาท
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่านเหล่านั้น๑
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นถูกเทวดานั้นทำให้สลดใจ เกิดความสลดใจแล้ว
ปากตินทริยสูตรที่ ๑๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๑๔. ปทุมปุปผสูตร

๑๔. ปทุมปุปผสูตร
ว่าด้วยดอกบัว
[๒๓๔] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล สมัยนั้น
ภิกษุนั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ลงสู่สระโบกขรณี
สูดดมกลิ่นดอกบัว ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดี
ต่อภิกษุนั้น ประสงค์จะให้ภิกษุนั้นสลดใจ จึงเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่แล้วได้กล่าว
กับภิกษุนั้นด้วยคาถาว่า
ท่านสูดดมกลิ่นดอกบัว
ที่เกิดในน้ำ ซึ่งใคร ๆ ไม่ได้ถวายแล้ว
นี้เป็นองค์อันหนึ่งแห่งความเป็นขโมย
ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นผู้ขโมยกลิ่น
ภิกษุนั้นได้กล่าวด้วยคาถาว่า
เราไม่ได้นำไป เราไม่ได้หัก
เราเพียงแต่ดมกลิ่นดอกบัวที่เกิดในน้ำห่าง ๆ
เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านจะเรียกเราว่า
เป็นผู้ขโมยกลิ่น ด้วยเหตุอะไรเล่า
ส่วนบุคคลที่ขุดเหง้าบัว หักดอกบัวปุณฑริก
เป็นผู้มีการงานอันไม่บริสุทธิ์อย่างนี้
ทำไมท่านจึงไม่เรียกเขาว่าเป็นขโมยเล่า
เทวดากล่าวด้วยคาถาว่า
บุรุษผู้มีบาปหนา แปดเปื้อนด้วยกิเลส
มีราคะเป็นต้นเกินเหตุ
เราไม่พูดถึงคนนั้น แต่เราควรจะกล่าวกับท่าน
บาปประมาณเท่าปลายขนเนื้อทราย
ย่อมปรากฏประดุจเท่าก้อนเมฆในนภากาศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต
แก่บุรุษผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
ผู้มักแสวงหาความสะอาด๑เป็นนิตย์
ภิกษุนั้นกล่าวด้วยคาถาว่า
ยักษ์ ท่านต้องรู้จักเราแน่
และท่านคงอนุเคราะห์เรา
ยักษ์ ท่านเห็นกรรมเช่นนี้ในกาลใด
ขอท่านพึงกล่าวในกาลนั้นอีกเถิด
เทวดากล่าวด้วยคาถาว่า
เราไม่ได้อาศัยท่านเป็นอยู่เลย
และเราก็ไม่ได้มีความเจริญเพราะท่าน
ภิกษุ ท่านนั่นแหละ พึงไปสู่สุคติด้วยกรรมที่ท่านพึงรู้เถิด
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกเทวดานั้นทำให้สลดใจ เกิดความสลดใจแล้ว
ปทุมปุปผสูตรที่ ๑๔ จบ
วนสังยุต จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. วิเวกสูตร ๒. อุปัฏฐานสูตร
๓. กัสสปโคตตสูตร ๔. สัมพหุลสูตร
๕. อานันทสูตร ๖. อนุรุทธสูตร
๗. นาคทัตตสูตร ๘. กุลฆรณีสูตร
๙. วัชชีปุตตสูตร ๑๐. สัชฌายสูตร
๑๑. อโยนิโสมนสิการสูตร ๑๒. มัชฌัณหิกสูตร
๑๓. ปากตินทริยสูตร ๑๔. ปทุมปุปผสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๑. อินทกสูตร

๑๐. ยักขสังยุต
๑. อินทกสูตร
ว่าด้วยอินทกยักษ์
[๒๓๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาอินทกูฏ ซึ่งเป็นภพของอินทก-
ยักษ์ เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น อินทกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่า รูปไม่ใช่ชีวะ
สัตว์นี้จะมีร่างกายนี้ได้อย่างไรหนอ
กระดูกและก้อนเนื้อมาจากไหน
สัตว์นี้จะอยู่ในครรภ์ได้อย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
รูปนี้เป็นกลละ๑ก่อน
จากกลละเกิดเป็นอัพพุทะ๒
จากอัพพุทะเกิดเป็นเปสิ (ชิ้นเนื้อเล็ก)
จากเปสิเกิดเป็นฆนะ (เป็นก้อน)
จากฆนะเกิดเป็นปุ่ม ๕ ปุ่ม๓ ต่อจากนั้น
ผม ขนและเล็บ จึงเกิดขึ้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๒. สักกสูตร
มารดาของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์นั้น
บริโภคข้าวน้ำโภชนาหารอย่างใด
สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดานั้น
ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปในครรภ์
ด้วยข้าวน้ำโภชนาหารอย่างนั้น
อินทกสูตรที่ ๑ จบ

๒. สักกสูตร
ว่าด้วยสักกยักษ์
[๒๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่บนภูเขาคิชกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ ครั้งนั้น สักกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
การสั่งสอนคนอื่นนั้น ไม่เหมาะแก่สมณะเช่นท่าน
ผู้ละกิเลสเครื่องร้อยรัดได้หมดแล้ว ผู้พ้นวิเศษแล้ว๑
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
สักกะ ธรรมเครื่องอยู่ร่วมกัน
ย่อมเกิดด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง
คนมีปัญญาไม่ควรทำใจหวั่นไหวไปตามเหตุนั้น
ถ้าคนมีใจผ่องใสแล้วสั่งสอนคนอื่น
บุคคลนั้นย่อมไม่เป็นผู้เกี่ยวข้องด้วยเหตุนั้น
นอกจากจะอนุเคราะห์เอ็นดู
สักกสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๓. สูจิโลมสูตร

๓. สูจิโลมสูตร
ว่าด้วยสูจิโลมยักษ์
[๒๓๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่บนเตียงชนิดมีเท้าตรึงติดกับ
แม่แคร่ อันเป็นภพของสูจิโลมยักษ์ ใกล้หมู่บ้านคยา สมัยนั้น ขรยักษ์และสูจิโลมยักษ์
เดินผ่านไปในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค
ครั้งนั้น ขรยักษ์ได้พูดกับสูจิโลมยักษ์ดังนี้ว่า “นั่นสมณะ”
สูจิโลมยักษ์กล่าวว่า “นั่นไม่ใช่สมณะ นั่นเป็นสมณะน้อย แต่จะเป็นสมณะ
หรือสมณะน้อย เราพอจะรู้ได้”
ลำดับนั้น สูจิโลมยักษ์เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว ได้เข้าไป
เหนี่ยวพระวรกายของพระองค์ พระผู้มีพระภาคทรงถอยพระวรกายไปเล็กน้อย
ต่อจากนั้น สูจิโลมยักษ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านกลัวเราไหม
สมณะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้มีอายุ เราไม่กลัวท่านหรอก แต่สัมผัสของ
ท่านหยาบกร้าน”
สูจิโลมยักษ์ทูลถามว่า “สมณะ เราจักถามปัญหากับท่าน ถ้าท่านไม่พยากรณ์
ตอบแก่เรา เราจักทำจิตของท่านให้พลุ่งพล่าน จักฉีกหัวใจของท่าน หรือจักจับ
ที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปยังฝั่งแม่น้ำคงคาข้างโน้น”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้มีอายุ เราไม่เห็นใครเลยในโลก พร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
ที่จะพึงทำจิตของเราให้พลุ่งพล่าน ฉีกหัวใจของเรา หรือจับเราที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปยัง
ฝั่งแม่น้ำคงคาข้างโน้นได้ เชิญท่านถามตามที่ท่านต้องการเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๓. สูจิโลมสูตร
สูจิโลมยักษ์จึงทูลถามด้วยคาถานี้ว่า
ราคะและโทสะมีอะไรเป็นเหตุ
ความไม่ยินดี๑ความยินดี๒
และความขนพองสยองเกล้า๓ เกิดจากอะไร
ความตรึกในใจเกิดจากอะไร
ย่อมผูกจิตไว้ได้เหมือนพวกเด็กผูกตีนกาไว้ ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ราคะและโทสะมีอัตภาพนี้เป็นเหตุ
ความไม่ยินดี ความยินดี
และความขนพองสยองเกล้าเกิดจากอัตภาพนี้
ความตรึกในใจเกิดจากอัตภาพนี้
ย่อมผูกจิตไว้เหมือนพวกเด็กผูกตีนกาไว้ ฉะนั้น
อกุศลวิตกเป็นอันมาก
เกิดจากความเยื่อใยคือตัณหา
เกิดขึ้นในตนแล้วแผ่ซ่านไปในวัตถุกามทั้งหลาย
เหมือนย่านไทรเกิดจากลำต้นไทรแล้วแผ่ซ่านไปในป่า ฉะนั้น
ชนเหล่าใดรู้อัตภาพนั้นว่าเกิดจากสิ่งใด
ชนเหล่านั้นย่อมบรรเทาเหตุเกิดนั้นเสียได้
ยักษ์ ท่านจงฟัง ชนเหล่านั้นย่อมข้ามห้วงแห่งกิเลสนี้
ซึ่งข้ามได้ยาก อันตนไม่เคยข้ามเพื่อความไม่มีภพใหม่ต่อไป๔
สูจิโลมสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๔. มณิภัททสูตร

๔. มณิภัททสูตร
ว่าด้วยมณิภัททยักษ์
[๒๓๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เจดีย์ชื่อมณิมาฬกะ อันเป็น
ภพของมณิภัททยักษ์ ในแคว้นมคธ ครั้งนั้น มณิภัททยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ความเจริญย่อมมีแก่คนมีสติทุกเมื่อ
คนมีสติย่อมได้รับความสุข
ความดีย่อมมีแก่คนมีสติเป็นนิตย์
และคนมีสติย่อมหลุดพ้นจากเวร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ความเจริญย่อมมีแก่คนมีสติทุกเมื่อ
คนมีสติย่อมได้รับความสุข
ความดีย่อมมีแก่คนมีสติเป็นนิตย์
แต่คนมีสติยังไม่หลุดพ้นจากเวร
ส่วนผู้ใดมีใจยินดีในความไม่เบียดเบียนตลอดทั้งวันและคืน
และเป็นผู้มีส่วนแห่งเมตตาในสรรพสัตว์
ผู้นั้นย่อมไม่มีเวรกับใคร ๆ
มณิภัททสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๕. สานุสูตร

๕. สานุสูตร
ว่าด้วยสามเณรสานุ
[๒๓๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น บุตรของอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสานุ
ถูกยักษ์เข้าสิง ครั้งนั้น อุบาสิกานั้นได้คร่ำครวญกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
ฉันได้สดับคำของพระอรหันต์ทั้งหลายว่า
‘ชนเหล่าใดเข้าอยู่จำอุโบสถอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ประการด้วยดี ตลอดดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕
และที่ ๘ แห่งปักษ์ ทั้งตลอดปาฏิหาริยปักษ์
ประพฤติพรหมจรรย์อยู่
ยักษ์ทั้งหลายย่อมเข้าสิงชนเหล่านั้นไม่ได้’ เป็นการถูกต้องแล้ว
บัดนี้ ฉันเห็นแล้ว ในวันนี้ยักษ์เข้าสิงสามเณรสานุ
ยักษ์กล่าวว่า
ท่านได้สดับคำของพระอรหันต์ทั้งหลายว่า
‘ชนเหล่าใดเข้าอยู่จำอุโบสถอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ประการด้วยดี ตลอดดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕
และที่ ๘ แห่งปักษ์ ทั้งตลอดปาฏิหาริยปักษ์
ประพฤติพรหมจรรย์อยู่
ยักษ์ทั้งหลายย่อมเข้าสิงชนเหล่านั้นไม่ได้’ เป็นการถูกต้องแล้ว
ท่านจงบอกสานุผู้ฟื้นขึ้นแล้วว่า ยักษ์สั่งคำนี้ไว้ว่า
ท่านอย่าได้กระทำกรรมอันลามกทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ
ถ้าท่านจักกระทำหรือกำลังกระทำกรรมอันลามก
ถึงท่านจะเหาะหนีไปก็ไม่พ้นจากความทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๕. สานุสูตร
สามเณรสานุฟื้นขึ้นแล้วกล่าวว่า
โยมแม่ ญาติและมิตรทั้งหลาย
ย่อมร้องไห้ถึงคนที่ตายแล้ว
หรือยังมีชีวิตอยู่แต่ไม่ปรากฏ
ท่านยังเห็นฉันซึ่งมีชีวิตอยู่แท้ ๆ
เพราะเหตุไรจึงร้องไห้ถึงฉันเล่า
อุบาสิกากล่าวว่า
ลูกเอ๋ย ญาติและมิตรทั้งหลาย
ย่อมร้องไห้ถึงคนที่ตายแล้ว
หรือยังมีชีวิตอยู่แต่ไม่ปรากฏ
แต่คนใดละกามแล้วยังคิดจะกลับมาในกามนี้อีก
ลูกเอ๋ย ญาติและมิตรทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงคนนั้น
เพราะเขาเป็นอยู่ต่อไปอีกก็เหมือนตายแล้ว
พ่อ เรายกท่านขึ้นจากการครองเรือนที่รุ่มร้อนแล้ว
ท่านยังปรารถนาจะตกลงไปสู่การครองเรือนอีก
พ่อ เรายกท่านขึ้นจากเหวแล้ว
ท่านยังปรารถนาจะตกลงไปสู่เหวอีกหรือ
เราจะโพนทะนาแก่ใครเล่าว่า
ขอท่านจงช่วยกัน ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน
ดุจสิ่งของที่ขนออกแล้วจากเรือนที่ไฟไหม้
แต่ท่านปรารถนาจะเผามันอีก
สานุสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๗. ปุนัพพสุสูตร

๖. ปิยังกรสูตร
ว่าด้วยปิยังกรยักษ์
[๒๔๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ในพระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแล้ว
สวดบทแแห่งธรรมทั้งหลายอยู่ ครั้งนั้น นางยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ปลอบบุตร
น้อยอย่างนี้ว่า
ปิยังกระ อย่าส่งเสียงไปเลย
ภิกษุกำลังสวดบทแห่งธรรมทั้งหลายอยู่
อนึ่ง เรารู้แจ้งบทแห่งธรรมแล้วปฏิบัติ
ข้อนั้นจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา
ปิยังกระกล่าวว่า
เราไม่เบียดเบียนสัตว์มีชีวิตทั้งหลาย
ไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่
ศึกษาทำตนให้เป็นคนมีศีลดี
จึงจะพ้นจากกำเนิดปีศาจ๑
ปิยังกรสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปุนัพพสุสูตร
ว่าด้วยปุนัพพสุยักษ์
[๒๔๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุ
ทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบ
ชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาอันประกอบด้วยนิพพาน ส่วนภิกษุเหล่านั้นต่าง
ก็ใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่ ครั้งนั้น
นางยักษิณีผู้เป็นมารดาของปุนัพพสุ ปลอบบุตรน้อยอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๗. ปุนัพพสุสูตร
ลูกอุตรา เจ้าจงนิ่งเถิด
ลูกปุนัพพสุ เจ้าจงนิ่งเถิด
จนกว่าแม่จะฟังพระธรรมของพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐ ผู้เป็นพระศาสดา
พระผู้มีพระภาคตรัสนิพพาน
อันเป็นเครื่องเปลื้องตนจากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง
เวลาที่ปรารถนาในธรรมนี้จะล่วงเลยแม่ไป
ลูกของตนเป็นที่รักในโลก
สามีของตนเป็นที่รักในโลก
แต่ความปรารถนาในธรรมนี้
เป็นที่รักของแม่ยิ่งกว่าลูกและสามีนั้น
เพราะว่าลูกหรือสามีที่รัก
จะพึงปลดเปลื้องแม่จากทุกข์ไม่ได้
ส่วนการฟังธรรมย่อมปลดเปลื้องสัตว์ทั้งหลายจากทุกข์ได้
เมื่อโลกถูกทุกข์ครอบงำอยู่ ประกอบแล้วด้วยชราและมรณะ
เราต้องการฟังธรรมที่ทำให้ตรัสรู้เพื่อจะพ้นจากชราและมรณะ
ลูกปุนัพพสุ เจ้าจงนิ่งเถิด
ปุนัพพสุพูดว่า
แม่ เราจักไม่พูด อุตรานี้ก็จักนิ่ง
ท่านจงใส่ใจถึงธรรมอย่างเดียว
การฟังพระสัทธรรมจงเป็นความสุข
แม่ เราไม่รู้พระสัทธรรม จึงได้เที่ยวไปลำบาก
พระพุทธเจ้าพระองค์นี้เป็นผู้ทำความสว่างให้
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้ลุ่มหลง
พระองค์เหลือแต่พระสรีระในชาติสุดท้าย
มีพระจักษุ แสดงธรรมอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๘. สุทัตตสูตร
ยักษิณีพูดว่า
น่าชื่นชมนัก บุตรผู้นอนบนอกเป็นคนฉลาด
บุตรของเราย่อมรักใคร่พระธรรมของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
ปุนัพพสุ เจ้าจงมีความสุขเถิด
วันนี้เราเป็นผู้ก้าวขึ้นไปดีแล้ว๑
เราและเจ้าเห็นอริยสัจแล้ว
แม้อุตราก็จงฟังคำของเรา
ปุนัพพสุสูตรที่ ๗ จบ

๘. สุทัตตสูตร
ว่าด้วยคหบดีชื่อสุทัตตะ
[๒๔๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าสีตวัน เขตกรุง
ราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีไปยังกรุงราชคฤห์ ด้วยกรณียกิจ
บางอย่าง ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้สดับว่า “ได้ยินว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น
แล้วในโลก” ในขณะนั้นเอง ก็ปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคขึ้นมาทันที
ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้มีความคิดดังนี้ว่า “วันนี้ไม่ใช่กาลที่จะเข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาค รอไว้พรุ่งนี้ก่อน เราจึงจะเข้าเฝ้า” ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีนอนรำพึงถึง
พระพุทธเจ้าเข้าใจว่า “สว่างแล้ว” จึงลุกขึ้นในตอนกลางคืนถึง ๓ ครั้ง ลำดับนั้น
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเดินไปทางประตูป่าช้า พวกอมนุษย์ทั้งหลายก็เปิดประตูให้
ครั้นเมื่อท่านอนาถบิณฑิกคหบดีออกไปจากเมือง แสงสว่างก็หายไป ความมืด
ปรากฏขึ้น ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง และความขนพองสยองเกล้าก็เกิดขึ้นตามมา
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีจึงใคร่จะรีบกลับจากที่นั้น ครั้งนั้น สิวกยักษ์หายตัวไปได้
ส่งเสียงให้ได้ยินว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๘. สุทัตตสูตร
ช้าง ๑๐๐,๐๐๐ เชือก ม้า ๑๐๐,๐๐๐ ตัว
รถเทียมด้วยม้าอัสดร ๑๐๐,๐๐๐ คัน
หญิงสาวที่ประดับตุ้มหูอัญมณี ๑๐๐,๐๐๐ คน
ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖๑ แห่งการก้าวเท้าไปข้างหน้าก้าวหนึ่ง
ท่านจงก้าวไปเถิดคหบดี ท่านจงก้าวไปเถิดคหบดี
การก้าวไปของท่านประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐเลย
ครั้งนั้น ความมืดได้หายไป แสงสว่างก็ปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี
ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง และความขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป
แม้ครั้งที่ ๒ แสงสว่างก็หายไป ความมืดก็ปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิก-
คหบดี ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง และความขนพองสยองเกล้าก็บังเกิดขึ้น
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีจึงใคร่ที่จะกลับจากที่นั้นอีก แม้ครั้งที่ ๒ สิวกยักษ์หายตัว
ไปได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า
ช้าง ๑๐๐,๐๐๐ เชือก ม้า ๑๐๐,๐๐๐ ตัว
ฯลฯ
ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการก้าวเท้าไปข้างหน้าก้าวหนึ่ง
ท่านจงก้าวไปเถิดคหบดี ท่านจงก้าวไปเถิดคหบดี
การก้าวไปของท่านประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐเลย
ครั้งนั้น ความมืดก็หายไป แสงสว่างก็ปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี
ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง และความขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๘. สุทัตตสูตร
แม้ครั้งที่ ๓ แสงสว่างก็หายไป ความมืดก็ปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิก-
คหบดี ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง และความขนพองสยองเกล้าก็บังเกิดขึ้น
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีจึงใคร่ที่จะกลับจากที่นั้นอีก แม้ครั้งที่ ๓ สิวกยักษ์หายตัวไป
ได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า
ช้าง ๑๐๐,๐๐๐ เชือก ม้า ๑๐๐,๐๐๐ ตัว
ฯลฯ
ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการก้าวเท้าไปข้างหน้าก้าวหนึ่ง
ท่านจงก้าวไปเถิดคหบดี ท่านจงก้าวไปเถิดคหบดี
การก้าวไปของท่านประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐเลย
ครั้งนั้น ความมืดก็หายไป แสงสว่างก็ปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี
ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง และความขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป ครั้งนั้น ท่าน
อนาถบิณฑิกคหบดีเดินเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงป่าสีตวัน
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นในเวลาเช้าตรู่แล้ว เสด็จจงกรมอยู่ในที่
กลางแจ้ง พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านอนาถบิณฑิกคหบดีผู้มาแต่ไกล ครั้นแล้ว
เสด็จลงจากที่จงกรม ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสกับท่านอนาถ-
บิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “มาเถิด สุทัตตะ” ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีคิดว่า
“พระผู้มีพระภาคทรงทักเราโดยชื่อ” จึงร่าเริงดีใจหมอบลงแทบพระยุคลบาทของ
พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าในที่นั้นเองแล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ พระองค์ประทับอยู่เป็นสุขหรือ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
พราหมณ์ผู้ดับกิเลสแล้ว
ย่อมอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ ไม่ติดอยู่ในกาม๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๙. ปฐมสุกกาสูตร
เป็นคนเยือกเย็น ไม่มีอุปกิเลส
ตัดกิเลสเครื่องข้องทุกอย่าง
พึงกำจัดความกระวนกระวายในใจ
เข้าถึงความสงบ ย่อมอยู่เป็นสุข๑
สุทัตตสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมสุกกาสูตร
ว่าด้วยสุกกาภิกษุณี สูตรที่ ๑
[๒๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ภิกษุณีชื่อสุกกามีบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อม
แสดงธรรมอยู่ ครั้งนั้น ยักษ์ผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในสุกกาภิกษุณี จากถนนนี้ไปยัง
ถนนโน้น จากตรอกนี้ไปยังตรอกโน้น ในกรุงราชคฤห์ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
พวกมนุษย์ในกรุงราชคฤห์เหล่านี้
ทำอะไรกัน มัวดื่มน้ำผึ้ง นอนอยู่
ไม่เข้าไปนั่งใกล้สุกกาภิกษุณีผู้แสดงอมตบทอยู่
ส่วนพวกคนที่มีปัญญา เข้าใจดื่มอมตบทนั้น
ซึ่งเป็นธรรมไม่นำกลับหลัง ทำผู้ฟังให้ชุ่มชื่น
มีโอชะ ดุจบุคคลเดินทางไกลดื่มน้ำฝน๒
ปฐมสุกกาสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๑๑. จีราสูตร

๑๐. ทุติยสุกกาสูตร
ว่าด้วยสุกกาภิกษุณี สูตรที่ ๒
[๒๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น อุบาสกคนหนึ่งได้ถวายโภชนาหารแก่สุกกา-
ภิกษุณี ครั้งนั้น ยักษ์ผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในสุกกาภิกษุณี จากถนนนี้ไปยังถนนโน้น
จากตรอกนี้ไปยังตรอกโน้น ในกรุงราชคฤห์ ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า
อุบาสกนี้มีปัญญา
ถวายโภชนาหารแก่สุกกาภิกษุณี
ผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง
ได้ประสบบุญมากหนอ
ทุติยสุกกาสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. จีราสูตร
ว่าด้วยจีราภิกษุณี
[๒๔๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น อุบาสกคนหนึ่งได้ถวายจีวรแก่จีราภิกษุณี
ครั้งนั้น ยักษ์ผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในจีราภิกษุณี จากถนนนี้ไปยังถนนโน้น จากตรอกนี้
ไปยังตรอกโน้น ในกรุงราชคฤห์ ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า
อุบาสกนี้มีปัญญา
ถวายจีวรแก่จีราภิกษุณี
ผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลสเครื่องประกอบทั้งปวง
ได้ประสบบุญมากหนอ
จีราสูตรที่ ๑๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๑๒. อาฬวกสูตร

๑๒. อาฬวกสูตร
ว่าด้วยอาฬวกยักษ์
[๒๔๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในภพของอาฬวกยักษ์ เขตเมืองอาฬวี
ครั้งนั้น อาฬวกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กล่าวกับพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ท่านจงออกมา สมณะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีแล้ว ผู้มีอายุ” แล้วก็เสด็จออกมา
อาฬวกยักษ์กล่าวว่า “ท่านจงเข้าไป สมณะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีแล้ว ผู้มีอายุ” แล้วก็เสด็จเข้าไป
แม้ครั้งที่ ๒ อาฬวกยักษ์ได้กล่าวกับพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านจงออกมา
สมณะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีแล้ว ผู้มีอายุ” แล้วก็เสด็จออกมา
อาฬวกยักษ์กล่าวว่า “ท่านจงเข้าไป สมณะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีแล้ว ผู้มีอายุ” แล้วก็เสด็จเข้าไป
แม้ครั้งที่ ๓ อาฬวกยักษ์ได้กล่าวกับพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านจงออกมา
สมณะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีแล้ว ผู้มีอายุ” แล้วก็เสด็จออกมา
อาฬวกยักษ์กล่าวว่า “ท่านจงเข้าไป สมณะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีแล้ว ผู้มีอายุ” แล้วก็เสด็จเข้าไป
แม้ครั้งที่ ๔ อาฬวกยักษ์ได้กล่าวกับพระผู้มีพระภาคดังนี้อีกว่า “ท่านจงออกมา
สมณะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ผู้มีอายุ เราจักไม่ออกไปละ ท่านจะทำอะไรก็จง
ทำเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๑๒. อาฬวกสูตร
อาฬวกยักษ์ได้กล่าวว่า “สมณะ เราจักถามปัญหากับท่าน ถ้าท่านไม่
พยากรณ์ตอบแก่เรา เราจักทำจิตของท่านให้พลุ่งพล่าน จักฉีกหัวใจของท่าน
หรือจักจับที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปยังฝั่งแม่น้ำคงคาข้างโน้น”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ผู้มีอายุ เราไม่เห็นใครเลยในโลก พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะพึง
ทำจิตของเราให้พลุ่งพล่านได้ ฉีกหัวใจของเรา หรือจับเราที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปยัง
ฝั่งแม่น้ำคงคาข้างโน้นได้ เชิญท่านถามตามที่ท่านต้องการเถิด”
อาฬวกยักษ์ถามว่า
อะไรเล่าเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
ที่ประเสริฐ ของบุรุษในโลกนี้
อะไรเล่าที่บุคคลประพฤติดีแล้ว นำความสุขมาให้
อะไรเล่ามีรสล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลาย
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวถึงชีวิต
ของผู้เป็นอยู่อย่างไร ว่าประเสริฐสุด
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ศรัทธาเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
ที่ประเสริฐ ของบุรุษในโลกนี้
ธรรม๑ที่บุคคลประพฤติดีแล้ว นำความสุขมาให้
ความสัตย์แลมีรสล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลาย
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวถึงชีวิต
ของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญา ว่าประเสริฐสุด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๑๒. อาฬวกสูตร
อาฬวกยักษ์ถามว่า
บุคคลข้ามโอฆะ๑ได้อย่างไรเล่า
ข้ามอรรณพ๑ได้อย่างไรเล่า
ล่วงทุกข์ได้อย่างไรเล่า บริสุทธิ์ได้อย่างไรเล่า
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา
ข้ามอรรณพได้ด้วยความไม่ประมาท
ล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร บริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา
อาฬวกยักษ์ถามว่า
บุคคลได้ปัญญาอย่างไรเล่า
ทำอย่างไรเล่าจึงจะหาทรัพย์ได้
บุคคลได้เกียรติยศอย่างไรเล่า
ทำอย่างไรเล่าจึงจะผูกมิตรไว้ได้
บุคคลละโลกนี้แล้วไปสู่โลกหน้า
ทำอย่างไรเล่าจึงจะไม่เศร้าโศก
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์
เพื่อบรรลุนิพพาน ไม่ประมาท
มีความรอบคอบ ฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา
บุคคลผู้ทำการเหมาะเจาะไม่ทอดธุระ
ขยันหมั่นเพียร ย่อมหาทรัพย์ได้
บุคคลย่อมได้เกียรติยศเพราะความสัตย์
บุคคลเมื่อให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต
บุคคลอยู่ครองเรือนประกอบด้วยศรัทธา
มีธรรม ๔ ประการนี้ คือ สัจจะ ธรรม๑ ธิติ จาคะ
ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
เชิญท่านถามสมณพราหมณ์เป็นอันมากเหล่าอื่นดูชิว่า
ในโลกนี้มีอะไรที่จะยิ่งไปกว่าสัจจะ ทมะ๑ ขันติ จาคะ เล่า
อาฬวกยักษ์กราบทูลว่า
ทำไมเล่า ข้าพระองค์จึงต้องถามสมณพราหมณ์
เป็นอันมากในบัดนี้
วันนี้ ข้าพระองค์รู้ชัดถึงประโยชน์ในภายหน้า
พระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงเมืองอาฬวี
เพื่อประโยชน์แก่ข้าพระองค์โดยแท้
วันนี้ ข้าพระองค์รู้ชัดถึงทานที่บุคคลให้ในที่ใดมีผลมาก
ข้าพระองค์จักเที่ยวจากบ้านไปยังบ้าน
จากเมืองไปยังเมือง นอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และพระธรรมซึ่งมีส่วนชักนำให้เป็นคนดี
อาฬวกสูตรที่ ๑๒ จบ
ยักขสังยุต จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. อินทกสูตร ๒. สักกสูตร
๓. สูจิโลมสูตร ๔. มณิภัททสูตร
๕. สานุสูตร ๖. ปิยังกรสูตร
๗. ปุนัพพสุสูตร ๘. สุทัตตสูตร
๙. ปฐมสุกกาสูตร ๑๐. ทุติยสุกกาสูตร
๑๑. จีราสูตร ๑๒. อาฬวกสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๑. สุวีรสูตร

๑๑. สักกสังยุต
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑
๑. สุวีรสูตร
ว่าด้วยสุวีรเทพบุตร
[๒๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกอสูรได้รบกับพวกเทพ ครั้งนั้น
ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งเรียกสุวีรเทพบุตรมาตรัสว่า ‘สุวีระ พวกอสูรเหล่านี้กำลัง
พากันมารบกับพวกเทพ ท่านจงไปป้องกันพวกอสูรไว้เถิด’ สุวีรเทพบุตรรับพระบัญชา
ของท้าวสักกะจอมเทพแล้วก็เผลอลืมเสีย
แม้ครั้งที่ ๒ ท้าวสักกะจอมเทพก็รับสั่งเรียกสุวีรเทพบุตรมาตรัสว่า ‘สุวีระ
พวกอสูรเหล่านั้นกำลังพากันมารบกับพวกเทพ ท่านจงไปป้องกันพวกอสูรไว้เถิด’
แม้ครั้งที่ ๒ สุวีรเทพบุตรรับพระบัญชาของท้าวสักกะจอมเทพแล้วก็เผลอลืมเสีย
แม้ครั้งที่ ๓ ท้าวสักกะจอมเทพก็รับสั่งเรียกสุวีรเทพบุตรมาตรัสว่า ‘สุวีระ
พวกอสูรเหล่านั้นกำลังพากันมารบกับพวกเทพ ท่านจงไปป้องกันพวกอสูรไว้เถิด’
แม้ครั้งที่ ๓ สุวีรเทพบุตรรับพระบัญชาของท้าวสักกะจอมเทพแล้วก็เผลอลืมเสีย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๑. สุวีรสูตร
ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสกับสุวีรเทพบุตรด้วยคาถาว่า
บุคคลไม่ขยัน ไม่พยายาม
แต่ประสบความสุขได้ ณ ที่ใด
สุวีระ ท่านจงไป ณ ที่นั้น
และจงพาเราไปให้ถึงที่นั้นด้วยเถิด
สุวีรเทพบุตรกราบทูลว่า
บุคคลผู้เกียจคร้าน ไม่ขยัน
ทั้งยังไม่ใช้ใคร ๆ ให้ช่วยทำกิจทั้งหลาย
เขาพรั่งพร้อมด้วยกามทุกอย่าง ข้าแต่ท้าวสักกะ
ขอพระองค์จงตรัสบอกฐานะอันประเสริฐนั้น
แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
บุคคลผู้เกียจคร้าน ไม่ขยัน
ประสบความสุขที่สุดได้ ณ ที่ใด
สุวีระ ท่านจงไป ณ ที่นั้น
และจงพาเราไปให้ถึงที่นั้นด้วยเถิด
สุวีรเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่ท้าวสักกะ ผู้ประเสริฐกว่าเทพ
ข้าพระองค์ทั้งหลายจะพึงได้ความสุขใด
โดยไม่ต้องทำการงาน ข้าแต่ท้าวสักกะ
ขอพระองค์จงตรัสบอกความสุขอันประเสริฐนั้น
ที่ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีความคับแค้นใจ
แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๒. สุสิมสูตร
ท้าวสักกะตรัสว่า
ถ้าความสุขจะมีได้โดยไม่ต้องทำการงาน
ไม่ว่าในที่ไหน ๆ ใคร ๆ ก็ดำรงชีพอยู่ไม่ได้
เพราะนั่นเป็นทางแห่งนิพพาน
สุวีระ ท่านจงไป ณ ที่นั้น
และจงพาเราไปให้ถึงที่นั้นด้วยเถิด
ภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทพนั้นอาศัยผลบุญของพระองค์เป็นอยู่ เสวย
ราชสมบัติอันมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วยความเป็นใหญ่แห่งเทพชั้นดาวดึงส์ ยังมา
พรรณนาคุณแห่งความเพียรคือความขยันได้ ข้อที่พวกเธอบวชในธรรมวินัยที่เรา
กล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ขยันหมั่นเพียร พยายามเพื่อบรรลุมรรคผลที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อได้มรรคผลที่ยังไม่ได้ เพื่อทำให้แจ้งมรรคผลที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้จะพึงงดงาม
ในธรรมวินัยนี้โดยแท้”
สุวีรสูตรที่ ๑ จบ

๒. สุสิมสูตร
ว่าด้วยสุสิมเทพบุตร
[๒๔๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกอสูรได้รบกับพวกเทพ ครั้งนั้น
ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งเรียกสุสิมเทพบุตรมาตรัสว่า ‘สุสิมะ พวกอสูรเหล่านี้กำลัง
พากันมารบกับพวกเทพ ท่านจงไปป้องกันพวกอสูรไว้เถิด’ สุสิมเทพบุตรรับพระบัญชา
ของท้าวสักกะจอมเทพแล้วก็เผลอลืมเสีย
แม้ครั้งที่ ๒ ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งเรียกสุสิมเทพบุตรมาตรัส ฯลฯ แล้วก็
เผลอลืมเสีย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๒. สุสิมสูตร
แม้ครั้งที่ ๓ ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งเรียกสุสิมเทพบุตรมาตรัสว่า ‘สุสิมะ
พวกอสูรเหล่านี้กำลังพากันมารบกับพวกเทพ ท่านจงไปป้องกันพวกอสูรไว้เถิด’
แม้ครั้งที่ ๓ สุสิมเทพบุตรรับพระบัญชาของท้าวสักกะจอมเทพแล้วก็เผลอลืมเสีย
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสกับสุสิมเทพบุตรด้วยคาถาว่า
บุคคลไม่ขยัน ไม่พยายาม
แต่ประสบความสุขได้ ณ ที่ใด
สุสิมะ ท่านจงไป ณ ที่นั้น
และจงพาเราไปให้ถึงที่นั้นด้วยเถิด
สุสิมเทพบุตรกราบทูลว่า
บุคคลผู้เกียจคร้าน ไม่ขยัน
ทั้งยังไม่ใช้ใคร ๆ ให้ช่วยทำกิจทั้งหลายอีกด้วย
เขาพรั่งพร้อมด้วยกามทุกอย่าง ข้าแต่ท้าวสักกะ
ขอพระองค์จงตรัสบอกฐานะอันประเสริฐนั้น
แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
ท้าวสักกะตรัสว่า
บุคคลผู้เกียจคร้าน ไม่ขยัน
ประสบความสุขที่สุดได้ ณ ที่ใด
สุสิมะ ท่านจงไป ณ ที่นั้น
และจงพาเราไปให้ถึงที่นั้นด้วยเถิด
สุสิมเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่ท้าวสักกะ ผู้ประเสริฐกว่าเทพ
ข้าพระองค์ทั้งหลายจะพึงได้ความสุขใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๓. ธชัคคสูตร
โดยไม่ต้องทำการงานเลย ข้าแต่ท้าวสักกะ
ขอพระองค์จงตรัสบอกความสุขอันประเสริฐนั้น
ที่ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีความคับแค้นใจ
แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
ท้าวสักกะตรัสว่า
ถ้าความสุขจะมีได้โดยไม่ต้องทำการงาน
ไม่ว่าในที่ไหน ๆ ใคร ๆ ก็ดำรงชีพอยู่ไม่ได้
เพราะนั่นเป็นทางแห่งนิพพาน
สุสิมะ ท่านจงไป ณ ที่นั้น
และจงพาเราไปให้ถึงที่นั้นด้วยเถิด
ภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทพนั้นอาศัยผลบุญของพระองค์เป็นอยู่
เสวยราชสมบัติอันมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วยความเป็นใหญ่แห่งเทพชั้นดาวดึงส์ ยังมา
พรรณนาคุณแห่งความเพียรคือความขยันได้ ข้อที่พวกเธอบวชในธรรมวินัยที่เรา
กล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ขยันหมั่นเพียร พยายามเพื่อบรรลุมรรคผลที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อได้มรรคผลที่ยังไม่ได้ เพื่อทำให้แจ้งมรรคผลที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้จะพึงงดงาม
ในธรรมวินัยนี้โดยแท้”
สุสิมสูตรที่ ๒ จบ

๓. ธชัคคสูตร
ว่าด้วยเรื่องยอดธง
[๒๔๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัส
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๓. ธชัคคสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทพกับอสูรประชิดกัน
ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งกับเทพชั้นดาวดึงส์ว่า
‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพอง
สยองเกล้า จะพึงเกิดขึ้นแก่พวกเทพผู้ไปในสงคราม สมัยนั้น พวกท่านพึงแลดูยอด
ธงของเรา เพราะว่า เมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของเราอยู่ ความกลัว ความหวาด
สะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป
ถ้าพวกท่านไม่แลดูยอดธงของเรา ทีนั้น พวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าว
ปชาบดีเทวราชเถิด เพราะว่า เมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชอยู่
ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป
ถ้าพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราช ทีนั้น พวกท่านก็พึงแลดู
ยอดธงของท้าววรุณเทวราชเถิด เพราะว่า เมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าววรุณ-
เทวราชอยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักเกิดขึ้น
ก็จักหายไป
ถ้าพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราช ทีนั้น พวกท่านพึงแลดู
ยอดธงของท้าวอีสานเทวราชเถิด เพราะว่า เมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าว-
อีสานเทวราชอยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้า
ที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป
เมื่อพวกเทพแลดูยอดธงของท้าวสักกะจอมเทพก็ดี แลดูยอดธงของท้าวปชา-
บดีเทวราชก็ดี แลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราชก็ดี แลดูยอดธงของท้าวอีสาน-
เทวราชก็ดี ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้า ที่จักเกิดขึ้น
พึงหายไปบ้าง ไม่หายไปบ้าง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า ท้าวสักกะจอมเทพยังไม่ปราศจากราคะ ไม่ปราศจากโทสะ
ไม่ปราศจากโมหะ เป็นผู้มีความกลัว มีความหวาดสะดุ้ง หนีไปอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนเรากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย หากว่าความกลัว
ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้า พึงบังเกิดแก่พวกเธอผู้อยู่ในป่า
อยู่ที่โคนไม้ หรืออยู่ในเรือนว่าง ทีนั้น พวกเธอพึงระลึกถึงเราเนือง ๆ เท่านั้นว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๓. ธชัคคสูตร
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย
พระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกผู้ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค๑ ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอระลึก
ถึงเราเนือง ๆ อยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้า
ที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๓. ธชัคคสูตร
ถ้าพวกเธอไม่ระลึกถึงเราเนือง ๆ ทีนั้น พวกเธอพึงระลึกถึงพระธรรมเนือง ๆ
ว่าพระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้
เฉพาะตน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอระลึกถึงพระธรรมอยู่เนือง ๆ ความกลัว
ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป
ถ้าพวกเธอไม่ระลึกถึงพระธรรมเนือง ๆ ทีนั้น พวกเธอพึงระลึกถึงพระสงฆ์
เนือง ๆ ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติ
ถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของ
พระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่
ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก เพราะว่า เมื่อพวก
เธอระลึกถึงพระสงฆ์อยู่เนือง ๆ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพอง
สยองเกล้าที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจาก
โทสะ ปราศจากโมหะ เป็นผู้ไม่มีความกลัว ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนีไป”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี
พึงระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเถิด
ความกลัวไม่พึงมีแก่เธอทั้งหลาย
ถ้าเธอทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่านรชน
ทีนั้น เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๔. เวปจิตติสูตร
ซึ่งเป็นเหตุนำออกจากทุกข์
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้ว
ถ้าเธอทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระธรรม
ซึ่งเป็นเหตุนำออกจากทุกข์
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้ว
ทีนั้น เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระสงฆ์
ผู้เป็นนาบุญ ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายระลึกถึง
พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์อยู่
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีเลย
ธชัคคสูตรที่ ๓ จบ

๔. เวปจิตติสูตร
ว่าด้วยท้าวเวปจิตติ
[๒๕๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทพกับอสูรประชิดกัน
ครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรรับสั่งกับพวกอสูรว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อ
สงครามระหว่างเทพกับอสูรประชิดกัน พวกอสูรพึงชนะ พวกเทพพึงพ่ายแพ้
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงจองจำท้าวสักกะจอมเทพด้วยเครื่องจองจำทั้ง ๕๑
รวมทั้งเครื่องผูกคอ แล้วพึงนำมายังเมืองอสูรในสำนักของเรา’
ฝ่ายท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งกับเทพชั้นดาวดึงส์ทั้งหลายว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์
ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงครามระหว่างเทพกับอสูรประชิดกัน พวกเทพพึงชนะ พวกอสูร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๔. เวปจิตติสูตร
พึงพ่ายแพ้ เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงจองจำท้าวเวปจิตติจอมอสูร ด้วยเครื่อง
จองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอ แล้วพึงนำมายังสภาชื่อสุธรรมา ในสำนักของเรา’
สงครามครั้งนั้น พวกเทพชนะ พวกอสูรพ่ายแพ้ ต่อมาเทพชั้นดาวดึงส์ได้
จองจำท้าวเวปจิตติจอมอสูรด้วยเครื่องจองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอ แล้วนำมา
ยังสภาชื่อสุธรรมา ในสำนักของท้าวสักกะจอมเทพ ได้ยินว่า ท้าวเวปจิตติจอมอสูร
ถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอ ได้ด่าบริภาษท้าวสักกะ
จอมเทพ ซึ่งกำลังเสด็จเข้าและออกยังสภาชื่อสุธรรมา ด้วยวาจาหยาบคาย อันมิใช่
วาจาของสัตบุรุษ
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น มาตลีเทพบุตรผู้สงเคราะห์ ได้ทูลถามท้าวสักกะ
จอมเทพด้วยคาถาว่า
ข้าแต่ท้าวสักกมฆวาน
พระองค์ได้ทรงสดับถ้อยคำอันหยาบคาย
ต่อหน้าของท้าวเวปจิตติจอมอสูร
ยังทรงอดทนได้เพราะความกลัว
หรือเพราะไม่มีกำลัง พระเจ้าข้า
ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
เราอดทนถ้อยคำอันหยาบคาย
ของท้าวเวปจิตติได้เพราะความกลัว
หรือเพราะไม่มีกำลังก็หาไม่
ด้วยว่า วิญญูชนเช่นเราจะพึงโต้ตอบกับคนพาลทำไม
มาตลีเทพบุตรกราบทูลว่า
พวกคนพาลพึงทำลายได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ถ้าเราไม่กีดกันไว้เสียก่อน
เพราะฉะนั้น ธีรชนพึงกีดกันพวกคนพาลไว้
ด้วยอาชญาอย่างรุนแรง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๔. เวปจิตติสูตร
ท้าวสักกะตรัสว่า
ผู้ใดรู้ว่าคนอื่นโกรธ เป็นผู้มีสติ สงบใจไว้ได้
เราเห็นว่า การสงบใจไว้ได้ของผู้นั้น
เป็นการกีดกันพวกคนพาลไว้ได้
มาตลีเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่ท้าววาสวะ ข้าพระองค์เห็นคุณ
และโทษในความอดกลั้นนี้ว่า
เมื่อใด คนพาลย่อมเข้าใจบุคคลนั้นว่า
ผู้นี้ย่อมอดกลั้นต่อเราเพราะความกลัว
เมื่อนั้น คนมีปัญญาทราม ก็ยิ่งข่มขี่ผู้นั้น
เหมือนโคตัวที่มีกำลังข่มขี่โคตัวที่แพ้ให้หนีไป ฉะนั้น
ท้าวสักกะตรัสว่า
บุคคลจะเข้าใจว่า คนนี้อดกลั้นต่อเราได้
เพราะความกลัว หรือไม่ก็ตามที
ประโยชน์ทั้งหลายของตนเป็นอย่างยิ่ง
ประโยชน์อื่นที่ยิ่งกว่าขันติไม่มี
บุคคลใดเป็นคนแข็งแรง
อดกลั้นต่อผู้อ่อนแรงกว่าได้
ความอดกลั้นของบุคคลนั้น
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเป็นขันติอย่างยิ่ง
เพราะว่าบุคคลผู้อ่อนแรงจำต้องอดทนอยู่เอง
กำลังของบุคคลใดไม่เข้มแข็ง
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงกำลังของบุคคลนั้นว่า ไม่ใช่กำลัง
เพราะว่าไม่มีบุคคลใดกล่าวโต้ตอบบุคคลผู้มีกำลัง
และมีธรรมคุ้มครองแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. สุภาสิตชยสูตร
ผู้ใดโกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ
ผู้นั้นย่อมเลวกว่าผู้โกรธ เพราะการโกรธตอบนั้น
บุคคลผู้ไม่โกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ
ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก
ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธ เป็นผู้มีสติ สงบใจไว้ได้
ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย
คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น
เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย
คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น
ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรมย่อมเข้าใจว่าเป็นคนโง่
ภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทพนั้นอาศัยผลบุญของพระองค์เป็นอยู่
เสวยราชสมบัติอันมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วยความเป็นใหญ่แห่งเทพชั้นดาวดึงส์ ยังมา
พรรณนาคุณของขันติและโสรัจจะไว้ ก็ข้อที่พวกเธอบวชในธรรมวินัยที่เรากล่าว
ชอบแล้ว เป็นผู้อดทนและสงบเสงี่ยมได้ นี้จะพึงงดงามในธรรมวินัยนี้โดยแท้”
เวปจิตติสูตรที่ ๔ จบ

๕. สุภาสิตชยสูตร
ว่าด้วยการแข่งขันคำสุภาษิต
[๒๕๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ฯลฯ พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทพกับอสูรประชิดกัน
ครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า ‘ท่านจอมเทพ
เราจงมาชนะกันด้วยการกล่าวคำสุภาษิตเถิด’ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ‘ท่านท้าว-
เวปจิตติ ตกลงตามนั้น พวกเรามาเอาชนะกันด้วยการกล่าวคำสุภาษิต’ ครั้งนั้น
พวกเทพและพวกอสูรได้ร่วมกันตั้งผู้ตัดสินโดยมีกติกาว่า ‘ผู้ตัดสินเหล่านี้จะต้องรู้
ทั่วถึงคำสุภาษิต และคำทุพภาษิต’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. สุภาสิตชยสูตร
ลำดับนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า
‘ท่านจอมเทพ ท่านจงตรัสคาถาขึ้นก่อน’ เมื่อท้าวเวปจิตติกล่าวเช่นนี้ ท้าวสักกะ
จอมเทพได้ตรัสกับท้าวเวปจิตติจอมอสูรว่า ‘ท่านท้าวเวปจิตติ ท่านเป็นเทพใน
เทวโลกนี้มาก่อน ฉะนั้น ขอให้ท่านจงกล่าวคาถาก่อน เมื่อท้าวสักกะตรัสเช่นนี้แล้ว
ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวคาถานี้ว่า
พวกคนพาลพึงทำลายได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ถ้าเราไม่กีดกันไว้เสียก่อน
เพราะฉะนั้น ธีรชนพึงกีดกันพวกคนพาลไว้
ด้วยอาชญาอย่างรุนแรง
เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวคาถานี้แล้ว พวกอสูรพากันอนุโมทนา
พวกเทพต่างก็พากันนิ่งเฉย ลำดับนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกับท้าวสักกะ
จอมเทพว่า ‘ท่านจอมเทพ ท่านจงกล่าวคาถาเถิด’ เมื่อท้าวเวปจิตติกล่าวเช่นนี้แล้ว
ท้าวสักกะจอมเทพได้กล่าวคาถานี้ว่า
ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธ เป็นผู้มีสติ สงบใจไว้ได้
เราเห็นว่า การสงบใจไว้ได้ของผู้นั้น
เป็นการกีดกันพวกคนพาลไว้ได้
เมื่อท้าวสักกะจอมเทพได้กล่าวคาถานี้แล้ว พวกเทพก็พากันอนุโมทนา พวกอสูร
ก็พากันนิ่งเฉย ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสกับท้าวเวปจิตติจอมอสูรดังนี้ว่า
‘ท้าวเวปจิตติ ท่านจงกล่าวคาถาต่อไปเถิด’ เมื่อท้าวสักกะตรัสเช่นนี้ ท้าวเวปจิตติ
จอมอสูรได้กล่าวคาถานี้ว่า
ท่านท้าววาสวะ ข้าพเจ้าเห็นคุณ
และโทษในความอดกลั้นนี้ว่า
เมื่อใด คนพาลเข้าใจบุคคลนั้นว่า
ผู้นี้ย่อมอดกลั้นต่อเราเพราะความกลัว
เมื่อนั้น คนมีปัญญาทรามก็ยิ่งข่มขี่ผู้นั้น
เหมือนโคตัวที่มีกำลังข่มขี่โคตัวที่แพ้ให้หนีไป ฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. สุภาสิตชยสูตร
เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรกล่าวคาถานี้แล้ว พวกอสูรพากันอนุโมทนา พวกเทพ
ต่างก็นิ่งเฉย ลำดับนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า
‘ท่านจอมเทพ ท่านจงกล่าวคาถาต่อไปเถิด’ เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรกล่าวเช่นนี้
ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า
บุคคลจะเข้าใจว่าผู้นี้อดกลั้นต่อเราได้
เพราะความกลัวหรือไม่ก็ตามที
ประโยชน์ทั้งหลายของตนเป็นอย่างยิ่ง
ประโยชน์ที่ยิ่งกว่าขันติไม่มี
บุคคลใดเป็นคนแข็งแรง
อดกลั้นต่อผู้อ่อนแรงกว่าได้
ความอดกลั้นของบุคคลนั้น
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเป็นขันติอย่างยิ่ง
เพราะว่าบุคคลผู้แข็งแรงจำต้องอดทนอยู่เอง
กำลังของบุคคลใดไม่เข้มแข็ง
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงกำลังของบุคคลนั้นว่า ไม่ใช่กำลัง
เพราะว่าไม่มีบุคคลใดกล่าวโต้ตอบบุคคลผู้มีกำลัง
และมีธรรมคุ้มครองแล้ว
ผู้ใดโกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ
ผู้นั้นย่อมเลวกว่าผู้โกรธ เพราะการโกรธตอบนั้น
บุคคลผู้ไม่โกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ
ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก
ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธ เป็นผู้มีสติ สงบใจไว้ได้
ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย
คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๖. กุลาวกสูตร
เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย
คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น
ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรมย่อมเข้าใจว่าเป็นคนโง่
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสคาถาเหล่านี้แล้ว พวกเทพพากัน
อนุโมทนา พวกอสูรต่างก็นิ่งเฉย ครั้งนั้น ผู้ตัดสินทั้งของพวกเทพและพวกอสูรได้
กล่าวดังนี้ว่า ‘ท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสคาถาทั้งหลายแล้ว แต่คาถาเหล่านั้นมีความ
เกี่ยวข้องกับอาชญา มีความเกี่ยวข้องกับศัสตรา เพราะเหตุนั้น จึงยังมีความ
ทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ส่วนท้าวสักกะจอมเทพตรัสคาถาทั้งหลายแล้ว
คาถาเหล่านั้นก็ไม่เกี่ยวข้องกับอาชญา ไม่เกี่ยวข้องกับศัสตรา เพราะเหตุนั้น จึงไม่มี
ความทะเลาะ ไม่มีความแก่งแย่ง ไม่มีความวิวาท ท้าวสักกะจอมเทพชนะเพราะได้
กล่าวคำสุภาษิต ชัยชนะด้วยการกล่าวคำสุภาษิต ได้เป็นของท้าวสักกะจอมเทพ
ด้วยประการฉะนี้”
สุภาสิตชยสูตรที่ ๕ จบ

๖. กุลาวกสูตร
ว่าด้วยรังนก
[๒๕๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทพกับอสูรประชิดกัน
สงครามครั้งนั้นพวกอสูรเป็นฝ่ายชนะ พวกเทพเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ พวกเทพผู้พ่ายแพ้
ต่างพากันหนีไปทางทิศเหนือ พวกอสูรได้ชวนกันไล่ติดตามพวกเทพเหล่านั้นไปทันที
ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสกับมาตลีสังคาหกเทพบุตรด้วยคาถาว่า
มาตลี เธอจงหลีกเลี่ยงรังนกในป่างิ้ว
โดยบ่ายหน้ารถกลับ
ถึงเราจะต้องสละชีวิตให้พวกอสูรก็ตามที
ขออย่าให้นกเหล่านี้พลัดพรากจากรังเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๗. นทุพภิยสูตร
ภิกษุทั้งหลาย มาตลีสังคาหกเทพบุตรรับพระดำรัสของท้าวสักกะจอมเทพว่า
‘ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์’ แล้วให้รถซึ่งเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว
หันกลับ ครั้งนั้น พวกอสูรคิดว่า ‘บัดนี้ รถซึ่งเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว
ของท้าวสักกะจอมเทพหันกลับมาแล้ว พวกเทพคงจักทำสงครามกับพวกอสูร
เป็นครั้งที่ ๒ อีกแน่’ พวกอสูรต่างตกใจหนีกลับเข้าไปยังเมืองอสูร ชัยชนะครั้งนี้
เป็นชัยชนะเพราะธรรมอย่างแท้จริงของท้าวสักกะจอมเทพ ด้วยประการฉะนี้
กุลาวกสูตรที่ ๖ จบ

๗. นทุพภิยสูตร
ว่าด้วยการไม่ประทุษร้าย
[๒๕๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพทรงหลีกเร้นประทับ
พักผ่อนอยู่ในที่พักเกิดความรำพึงอย่างนี้ว่า ‘เราไม่ควรประทุษร้ายแม้แก่ผู้ที่เป็น
ข้าศึกต่อเรา’ ครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ทราบความรำพึงของท้าวสักกะ
จอมเทพด้วยใจของตนแล้ว เข้าไปหาท้าวสักกะจอมเทพจนถึงที่ประทับ ท้าวสักกะ
จอมเทพได้ทอดพระเนตรเห็นท้าวเวปจิตติจอมอสูรมาแต่ไกลทีเดียว จึงได้ตรัสกับ
ท้าวเวปจิตติจอมอสูรดังนี้ว่า ‘หยุดเถิด ท่านท้าวเวปจิตติ ท่านถูกจับแล้ว’
ท้าวเวปจิตติถามว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านละทิ้งความคิดครั้งก่อนของท่าน
แล้วหรือ’ ท้าวสักกะตรัสว่า ‘ท่านท้าวเวปจิตติ ขอให้ท่านจงสาบานเพื่อที่จะไม่
ประทุษร้ายต่อเรา’
ท้าวเวปจิตติกล่าวคาถาว่า
ท่านท้าวสุชัมบดี บาปของคนพูดเท็จ
บาปของคนผู้ติเตียนพระอริยะ
บาปของคนผู้ประทุษร้ายต่อมิตร
และบาปของคนอกตัญญู
จงถูกต้องผู้ประทุษร้ายท่านเถิด
นทุพภิยสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๘. เวโรจนอสุรินทสูตร

๘. เวโรจนอสุรินทสูตร
ว่าด้วยท้าวเวโรจนะจอมอสูร
[๒๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นประทับ
พักผ่อนอยู่ในที่พักกลางวัน ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพกับท้าวเวโรจนะจอมอสูร
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วได้ยืนพิงบานประตูคนละข้าง ลำดับนั้น
ท้าวเวโรจนะจอมอสูรได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุรุษควรพยายามไปจนกว่าประโยชน์จะสำเร็จ
ประโยชน์อันงดงามอยู่ที่ความสำเร็จ
นี่เป็นถ้อยคำของเวโรจนะ
ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า
บุรุษควรพยายามไปจนกว่าประโยชน์จะสำเร็จ
ประโยชน์ทั้งหลายอันงดงามอยู่ที่ความสำเร็จ
ประโยชน์อื่นที่ยิ่งกว่าขันติไม่มี
ท้าวเวโรจนะจอมอสูรกล่าวว่า
สรรพสัตว์มีความต้องการในสิ่งนั้น ๆ ตามสมควร
ส่วนการบริโภคของสรรพสัตว์ มีการปรุงแต่งเป็นอย่างดี
ประโยชน์ทั้งหลายอันงดงามอยู่ที่ความสำเร็จ
นี้เป็นถ้อยคำของเวโรจนะ
ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า
สรรพสัตว์มีความต้องการในสิ่งนั้น ๆ ตามสมควร
ส่วนการบริโภคของสรรพสัตว์ มีการปรุงแต่งเป็นอย่างดี
ประโยชน์ทั้งหลายอันงดงามอยู่ที่ความสำเร็จ
ประโยชน์อื่นที่ยิ่งกว่าขันติไม่มี
เวโรจนอสุรินทสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๙. อารัญญกสูตร

๙. อารัญญกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ในป่า
[๒๕๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมจำนวนมากอาศัย
อยู่ในกุฎีที่มุงด้วยใบไม้ในราวป่า ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพกับท้าวเวปจิตติ
จอมอสูร เข้าไปหาฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านั้นถึงที่อยู่ ครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติ
จอมอสูร ทรงฉลองพระบาทหนาหลายชั้น ทรงพระขรรค์ มีผู้กั้นฉัตรให้ เข้าไปสู่
อาศรมทางประตูพิเศษ เข้าไปใกล้ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านั้นห่างไม่ถึงวา
ส่วนท้าวสักกะจอมเทพทรงถอดฉลองพระบาท ประทานพระขรรค์ให้แก่ผู้อื่น รับสั่ง
ให้ลดฉัตร เสด็จเข้าไปทางอาศรมโดยทางประตูเข้าออก ประคองอัญชลีนอบน้อม
ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านั้นแล้วอยู่ใต้ลม ครั้งนั้น ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม
เหล่านั้น ได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพด้วยคาถาว่า
กลิ่นของฤๅษีผู้ประพฤติพรตมานาน
ย่อมฟุ้งจากกายไปตามลม
ท้าวสหัสนัยน์๑ พระองค์จงถอยไปจากที่นี้
ท้าวเทวราช กลิ่นของพวกฤๅษี ไม่สะอาด
ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
กลิ่นของพวกฤๅษีผู้ประพฤติพรตมานาน
ย่อมฟุ้งจากกายไปตามลม
ท่านเจ้าข้า พวกข้าพเจ้าต่างก็มุ่งหวังกลิ่นนี้
เหมือนคนมุ่งหวังระเบียบดอกไม้อันวิจิตรบนศีรษะ ฉะนั้น
พวกเทพหามีความสำคัญในกลิ่น
ของผู้มีศีลนี้ว่า เป็นสิ่งปฏิกูลไม่
อารัญญกสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑๐. สมุททกสูตร

๑๐. สมุททกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ใกล้ฝั่งสมุทร
[๒๕๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ฯลฯ พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมจำนวนมาก
อาศัยอยู่ในกุฎีที่มุงด้วยใบไม้ใกล้ฝั่งสมุทร สมัยนั้น สงครามระหว่างพวกเทพกับ
อสูรประชิดกัน ครั้งนั้น ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า
‘พวกเทพดำรงอยู่ในธรรม พวกอสูรไม่ดำรงอยู่ในธรรม ภัยจากพวกอสูรพึงเกิด
แก่พวกเรา ทางที่ดีพวกเราพึงเข้าไปหาท้าวสมพรจอมอสูรแล้วขออภัยท่านเถิด’
ครั้งนั้น ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านั้น ได้หายตัวจากกุฎีที่มุงด้วยใบไม้
ใกล้ฝั่งสมุทรไปปรากฏอยู่ตรงหน้าท้าวสมพรจอมอสูร เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขน
ออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น ครั้งนั้น ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านั้น ได้กล่าว
กับท้าวสมพรจอมอสูรด้วยคาถาว่า
พวกฤๅษีมาขออภัยกับท่านท้าวสมพร
การให้ภัยหรือให้อภัย ท่านกระทำได้โดยแท้
ท้าวสมพรจอมอสูรได้กล่าวว่า
ไม่มีการให้อภัยแก่พวกฤๅษี
ผู้ชั่วช้า ผู้คบหาท้าวสักกะ
เราให้ภัยเท่านั้นแก่พวกท่านผู้ขออภัย
พวกฤๅษีกล่าวว่า
ท่านให้ภัยเท่านั้นแก่พวกเราผู้ขออภัย
พวกเราขอรับเอาแต่อภัยอย่างเดียว
ส่วนภัยจงเป็นของท่านเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๑. ปฐมวรรค รวมพระสูตรในวรรค
บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น
คนทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว
พ่อ ท่านหว่านพืชลงไปแล้ว ท่านจักต้องเสวยผลของมัน
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านั้น ได้สาปแช่งท้าว
สมพรจอมอสูรแล้วหายตัวไปต่อหน้าท้าวสมพรจอมอสูร ไปปรากฏอยู่ ณ กุฎีที่
มุงด้วยใบไม้ใกล้ฝั่งสมุทร เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
ครั้งนั้น ท้าวสมพรจอมอสูรถูกฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมสาปแช่งแล้ว ได้ยินว่า
ในคืนนั้น ตกใจหวาดหวั่นถึงสามครั้ง
สมุททกสูตรที่ ๑๐ จบ
วรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุวีรสูตร ๒. สุสิมสูตร
๓. ธชัคคสูตร ๔. เวปจิตติสูตร
๕. สุภาสิตชยสูตร ๖. กุลาวกสูตร
๗. นทุพภิยสูตร ๘. เวโรจนอสุรินทสูตร
๙. อารัญญกสูตร ๑๐. สมุททกสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. ปฐมเทวสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
๑. ปฐมเทวสูตร
ว่าด้วยเทพ สูตรที่ ๑
[๒๕๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ฯลฯ พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน
ได้สมาทานวัตตบท ๗ ประการอย่างบริบูรณ์ เพราะสมาทานวัตตบท ๗ ประการ
จึงได้เป็นท้าวสักกะ
วัตตบท ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เราพึงเลี้ยงมารดาและบิดาตลอดชีวิต
๒. เราพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลตลอดชีวิต
๓. เราพึงพูดจาแต่คำอ่อนหวานตลอดชีวิต
๔. เราไม่พึงพูดคำส่อเสียดตลอดชีวิต
๕. เราพึงมีใจปราศจากความตระหนี่ที่เป็นมลทิน อยู่ครองเรือน มีการ
บริจาคเป็นประจำ มีมือชุ่มเป็นนิตย์ ยินดีในการเสียสละ ควรที่ผู้
อื่นจะขอ ยินดีในการแจกจ่ายทานตลอดชีวิต
๖. เราพึงพูดแต่คำสัตย์ตลอดชีวิต
๗. เราไม่พึงโกรธตลอดชีวิต ถ้าแม้ความโกรธพึงเกิดขึ้นแก่เรา เราก็จะ
กำจัดโดยฉับพลันทันที
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน
ได้สมาทานวัตตบท ๗ ประการนี้อย่างบริบูรณ์ เพราะสมาทานวัตตบท ๗ ประการ
จึงได้เป็นท้าวสักกะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒. ทุติยเทวสูตร
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
เทพชั้นดาวดึงส์กล่าวถึงนรชนผู้เลี้ยงมารดาและบิดา
มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล
เจรจาแต่คำอ่อนหวาน สมานมิตร ละคำส่อเสียด
ประกอบในอุบายกำจัดความตระหนี่ มีวาจาสัตย์
ครอบงำความโกรธได้นั้นแลว่า เป็นสัตบุรุษ
ปฐมเทวสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยเทวสูตร
ว่าด้วยเทพ สูตรที่ ๒
[๒๕๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า ฯลฯ พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน
เป็นมาณพชื่อมฆะ เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวมฆวาน’
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้
ทานมาก่อน เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวปุรินททะ’
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้
ทานโดยเคารพ เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวสักกะ’
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้
ที่พักอาศัย เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าววาสวะ’
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงคิดเนื้อความได้ตั้งพันโดยครู่เดียว
เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวสหัสนัยน์’
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงมีนางอสุรกัญญานามว่าสุชา เป็น
ปชาบดี เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวสุชัมบดี’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒. ทุติยเทวสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เสวยราชสมบัติอันมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วย
ความเป็นใหญ่แห่งเทพชั้นดาวดึงส์ เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวเทวานมินทะ’
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน
ได้สมาทานวัตตบท ๗ ประการอย่างบริบูรณ์ เพราะสมาทานวัตตบท ๗ ประการจึง
ได้เป็นท้าวสักกะ
วัตตบท ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เราพึงเลี้ยงมารดาและบิดาตลอดชีวิต
๒. เราพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลตลอดชีวิต
๓. เราพึงพูดจาแต่คำอ่อนหวานตลอดชีวิต
๔. เราไม่พึงพูดคำส่อเสียดตลอดชีวิต
๕. เราพึงมีใจปราศจากความตระหนี่ที่เป็นมลทิน อยู่ครองเรือน มีการ
บริจาคเป็นประจำ มีมือชุ่มเป็นนิตย์ ยินดีในการเสียสละ ควรที่ผู้
อื่นจะขอ ยินดีในการแจกจ่ายทานตลอดชีวิต
๖. เราพึงพูดแต่คำสัตย์ตลอดชีวิต
๗. เราไม่พึงโกรธตลอดชีวิต ถ้าแม้ความโกรธพึงเกิดขึ้นแก่เรา เราก็จะ
กำจัดโดยฉับพลันทันที
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน
ได้สมาทานวัตตบท ๗ ประการนี้อย่างบริบูรณ์ เพราะสมาทานวัตตบท ๗ ประการ
จึงได้เป็นท้าวสักกะ”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
เทพชั้นดาวดึงส์กล่าวถึงนรชนผู้เลี้ยงมารดาและบิดา
มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล
เจรจาแต่คำอ่อนหวาน สมานมิตร ละคำส่อเสียด
ประกอบในอุบายกำจัดความตระหนี่ มีวาจาสัตย์
ครอบงำความโกรธได้นั้นแลว่า เป็นสัตบุรุษ
ทุติยเทวสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. ตติยเทวสูตร

๓. ตติยเทวสูตร
ว่าด้วยเทพ สูตรที่ ๓
[๒๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น เจ้าลิจฉวีนามว่ามหาลี เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท้าวสักกะจอมเทพหรือ
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาลี ตถาคตเห็นท้าวสักกะจอมเทพ”
เจ้ามหาลีได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ผู้ที่พระองค์ทรงเห็นนั้น
คงเป็นรูปจำลองของท้าวสักกะเป็นแน่ เพราะว่าท้าวสักกะจอมเทพยากที่ใคร ๆ จะ
เห็นได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“มหาลี ตถาคตรู้จักท้าวสักกะด้วย รู้ธรรมที่ทำให้เป็นท้าวสักกะด้วย ทั้งยังรู้
ถึงธรรมที่ท้าวสักกะสมาทานแล้วได้เป็นท้าวสักกะด้วย
มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน เป็นมาณพ
ชื่อมฆะ เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวมฆวาน’
มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้ทาน
มาก่อน เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวปุรินททะ’
มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้ทาน
โดยเคารพ เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวสักกะ’
มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้ที่พัก
อาศัย เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าววาสวะ’
มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงคิดเนื้อความตั้งพันได้โดยครู่เดียว เพราะเหตุนั้น
จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวสหัสนัยน์’
มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงมีนางอสุรกัญญานามว่าสุชา เป็นปชาบดี
เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวสุชัมบดี’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. ตติยเทวสูตร
มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ เสวยราชสมบัติอันมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วยความ
เป็นใหญ่แห่งเทพชั้นดาวดึงส์ เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวเทวานมินทะ’
มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้สมาทาน
วัตตบท ๗ ประการนี้อย่างบริบูรณ์ เพราะสมาทานวัตตบท ๗ ประการ จึงได้เป็น
ท้าวสักกะ
วัตตบท ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เราพึงเลี้ยงมารดาและบิดาตลอดชีวิต
๒. เราพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลตลอดชีวิต
๓. เราพึงพูดจาแต่คำอ่อนหวานตลอดชีวิต
๔. เราไม่พึงพูดคำส่อเสียดตลอดชีวิต
๕. เราพึงมีใจปราศจากความตระหนี่ที่เป็นมลทิน อยู่ครองเรือน มีการ
บริจาคเป็นประจำ มีมือชุ่มเป็นนิตย์ ยินดีในการเสียสละ ควรที่ผู้
อื่นจะขอ ยินดีในการแจกจ่ายทานตลอดชีวิต
๖. เราพึงพูดคำสัตย์ตลอดชีวิต
๗. เราไม่พึงโกรธตลอดชีวิต ถ้าแม้ความโกรธพึงเกิดขึ้นแก่เรา เราก็จะ
กำจัดโดยฉับพลันทันที
มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้สมาทาน
วัตตบท ๗ ประการนี้ครบบริบูรณ์ เพราะสมาทานวัตตบท ๗ ประการ จึงได้เป็น
ท้าวสักกะ”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
เทพชั้นดาวดึงส์กล่าวถึงนรชนผู้เลี้ยงมารดาและบิดา
มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล
เจรจาแต่คำอ่อนหวาน สมานมิตร ละคำส่อเสียด
ประกอบในอุบายกำจัดความตระหนี่ มีวาจาสัตย์
ครอบงำความโกรธได้นั้นแลว่า เป็นสัตบุรุษ
ตติยเทวสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๔. ทฬิททสูตร

๔. ทฬิททสูตร
ว่าด้วยผู้ขัดสน
[๒๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงราชคฤห์นี้เอง ได้มีบุรุษคนหนึ่งเป็น
คนขัดสน เป็นคนกำพร้า เป็นคนยากไร้ แต่เขายึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ
และปัญญา ในธรรมวินัยที่เราประกาศแล้ว หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงสุคติโลก-
สวรรค์ คือ ความเป็นสหายของเทพชั้นดาวดึงส์ เทพบุตรองค์นั้นรุ่งเรืองกว่าเทพ
เหล่าอื่นด้วยรัศมีและยศ ได้ยินว่า ในกาลครั้งนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์พากัน
กล่าวโทษ ติเตียนว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
เทพบุตรองค์นี้เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน เป็นคนขัดสน เป็นคนกำพร้า
เป็นคนยากไร้ หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ คือ ความเป็นสหายของ
เทพชั้นดาวดึงส์ ย่อมรุ่งเรืองกว่าเทพเหล่าอื่นด้วยรัศมีและยศ”
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งกับเทพชั้นดาวดึงส์ว่า ‘ท่านผู้
นิรทุกข์ ท่านทั้งหลายอย่ากล่าวโทษต่อเทพบุตรนี้เลย เทพบุตรนี้ เมื่อครั้งยังเป็น
มนุษย์ในกาลก่อน ยึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ในธรรมวินัยที่พระ
ตถาคตประกาศแล้ว หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ คือ ความเป็นสหาย
ของเทพชั้นดาวดึงส์ ย่อมรุ่งเรืองกว่าเทพเหล่าอื่นด้วยรัศมีและยศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๕. รามเณยยกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อทรงยินดีกับพวกเทพชั้น
ดาวดึงส์ จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า
ผู้ใดมีศรัทธาในพระตถาคตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
มีศีลงาม เป็นศีลที่พระอริยะชอบใจ๑และสรรเสริญ
มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง๒
บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน
ชีวิตของเขาก็ไม่สูญเปล่า
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึง
คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ควรหมั่นประกอบศรัทธา
ศีล ความเลื่อมใส๓ และการเห็นธรรม๔”
ทฬิททสูตรที่ ๔ จบ

๕. รามเณยยกสูตร
ว่าด้วยสถานที่น่ารื่นรมย์
[๒๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “สถานที่เช่นไรหนอเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๖. ยชมานสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสด้วยพระคาถาว่า
อารามอันวิจิตร ป่าอันวิจิตร
สระโบกขรณีที่สร้างอย่างดี
ยังไม่ถึงเศษ ๑ ส่วน ๑๖ แห่งภูมิสถานอันรื่นรมย์ของมนุษย์
พระอรหันต์ทั้งหลายอยู่ในที่ใด เป็นบ้านหรือเป็นป่า
เป็นที่ลุ่มหรือเป็นที่ดอนก็ตาม
ที่นั้นเป็นภูมิสถานที่น่ารื่นรมย์๑
รามเณยยกสูตรที่ ๕ จบ

๖. ยชมานสูตร
ว่าด้วยการบูชา
[๒๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น
ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับ
ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นสัตว์
ปรารถนาบุญ บูชาอยู่ ทำบุญซึ่งให้เกิดผล
ทานที่ให้แล้วในที่ไหนมีผลมาก พระพุทธเจ้าข้า๒
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ท่านผู้ปฏิบัติดี ๔ จำพวก
ท่านผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๗. วันทนาสูตร
นั่นคือพระสงฆ์ เป็นผู้ปฏิบัติตรง
ตั้งมั่นอยู่ในศีล สมาธิ และปัญญา
เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นสัตว์
ปรารถนาบุญ บูชาอยู่ ทำบุญซึ่งให้เกิดผล
ทานที่ให้แล้วในพระสงฆ์มีผลมาก๑
ยชมานสูตรที่ ๖ จบ

๗. วันทนาสูตร
ว่าด้วยการถวายบังคม
[๒๖๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นประทับพักผ่อนอยู่ใน
ที่พักกลางวัน ขณะนั้น ท้าวสักกะจอมเทพและท้าวสหัมบดีพรหมเสด็จเข้าไปเฝ้า
ถึงที่ประทับ ได้ประทับยืนพิงบานประตูคนละข้าง ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ
ได้ตรัสคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ผู้ชนะสงครามแล้ว
ทรงปลงภาระลงแล้ว๒ ผู้ไม่มีหนี้
ขอพระองค์โปรดลุกขึ้น เสด็จจาริกไปในโลก
อนึ่ง ดวงพระทัยของพระองค์หลุดพ้นดีแล้ว
เหมือนดวงจันทร์ในวันเพ็ญ ฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๘. ปฐมสักกนมัสสนสูตร
ท้าวสหัมบดีพรหมตรัสค้านว่า “จอมเทพ พระองค์ไม่ควรถวายบังคม
พระตถาคตอย่างนี้เลย แต่ควรจะถวายบังคมพระตถาคตอย่างนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า
ผู้ชนะสงคราม ผู้นำหมู่ ผู้ไม่มีหนี้
ขอพระองค์โปรดลุกขึ้น เสด็จจาริกไปในโลก
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์
จงทรงแสดงธรรมโปรดสัตว์โลกเถิด เพราะจักมีผู้รู้ธรรม๑”
วันทนสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฐมสักกนมัสสนสูตร
ว่าด้วยการนอบน้อมของท้าวสักกะ สูตรที่ ๑
[๒๖๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้น ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมี
มาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพตรัสกับมาตลีสังคาหกเทพบุตรว่า ‘สหายมาตลี ท่านจง
จัดเตรียมรถซึ่งเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว เราจะไปยังพื้นที่อุทยานเพื่อชมภูมิภาค
อันงดงาม’
มาตลีสังคาหกเทพบุตรทูลรับพระดำรัสแล้ว จัดเตรียมรถซึ่งเทียมด้วยม้า
อาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว เสร็จแล้วกราบทูลแก่ท้าวสักกะจอมเทพว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้นิรทุกข์ รถซึ่งเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว สำหรับพระองค์จัดเตรียมไว้
เสร็จแล้ว ขอพระองค์ทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด’
ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพขณะเสด็จลงจากเวชยันต์ปราสาท ทรงประนมมือ
นอบน้อมทิศใหญ่ทั้ง ๔ ด้วยดี ครั้งนั้น มาตลีสังคาหกเทพบุตรได้กราบทูลท้าว
สักกะจอมเทพด้วยคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๘. ปฐมสักกนมัสสนสูตร
พราหมณ์ทั้งหลายผู้จบไตรเพท
กษัตริย์ทั้งหลาย ณ ภูมิภาคทั้งหมด
ท้าวมหาราชทั้ง ๔ และทวยเทพผู้มียศชั้นไตรทศ
ย่อมนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่ท้าวสักกะ เมื่อเป็นเช่นนั้น
พระองค์ทรงนอบน้อมท่านผู้ควรบูชาคนใด
ท่านผู้ควรบูชาคนนั้น คือใครเล่า
ท้าวสักกะตรัสว่า
พราหมณ์ทั้งหลายผู้จบไตรเภท
กษัตริย์ทั้งหลาย ณ ภูมิภาคทั้งหมด
ท้าวมหาราชทั้ง ๔ และทวยเทพผู้มียศชั้นชาวไตรทศ
ย่อมนอบน้อมท่านผู้ใด ซึ่งเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
มีจิตตั้งมั่นตลอดกาลนาน ผู้บวชแล้วโดยชอบ
มีพรหมจรรย์เป็นเบื้องหน้า
คฤหัสถ์เหล่าใดเป็นผู้ทำบุญ
มีศีล เป็นอุบาสก เลี้ยงดูภรรยาโดยธรรม
มาตลี เรานอบน้อมคฤหัสถ์และนักบวชเหล่านั้น
มาตลีสังคาหกเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่ท้าวสักกะ ได้ยินว่า
พระองค์ทรงนอบน้อมบุคคลเหล่าใด
บุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก
ข้าแต่ท้าววาสวะ พระองค์ทรงนอบน้อมบุคคลเหล่าใด
แม้ข้าพระองค์ก็ขอนอบน้อมบุคคลเหล่านั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๙. ทุติยสักกนมัสสนสูตร
ท้าวมฆวาสุชัมบดีเทวราช ผู้เป็นประมุข
ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงนอบน้อมทิศทั้ง ๔
เสด็จขึ้นราชรถกลับไป”
ปฐมสักกนมัสสนสูตรที่ ๘ จบ

๙. ทุติยสักกนมัสสนสูตร
ว่าด้วยการนอบน้อมของท้าวสักกะ สูตรที่ ๒
[๒๖๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งกับมาตลีสังคาหก-
เทพบุตรว่า ‘สหายมาตลี ท่านจงจัดเตรียมรถซึ่งเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว
เราจะไปยังพื้นที่อุทยานเพื่อชมภูมิภาคอันงดงาม’
มาตลีสังคาหกเทพบุตรทูลรับพระดำรัสแล้ว จัดเตรียมรถม้าซึ่งเทียมด้วย
ม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว เสร็จแล้วกราบทูลแก่ท้าวสักกะจอมเทพว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้นิรทุกข์ รถซึ่งเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว สำหรับพระองค์ จัดเตรียมไว้
เสร็จแล้ว ขอพระองค์ทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด’
ได้ทราบว่า ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพขณะเสด็จลงจากเวชยันต์ปราสาท
ทรงประนมมือนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอยู่ ครั้งนั้น มาตลีสังคาหกเทพบุตรได้ทูล
ถามท้าวสักกะจอมเทพด้วยคาถาว่า
ข้าแต่ท้าววาสวะ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ย่อมนอบน้อมพระองค์เท่านั้น ข้าแต่ท้าวสักกะ
เมื่อเป็นเช่นนั้น พระองค์ทรงนอบน้อมท่านผู้ควรบูชาคนใด
ท่านผู้ควรบูชาคนนั้น คือใครเล่า
ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
มาตลี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด
ในโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๙. ทุติยสักกนมัสสนสูตร
เรานอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้เป็นศาสดา ผู้มีพระนามไม่ต่ำต้อย
มาตลี บุคคลเหล่าใดกำจัดราคะ โทสะ
และอวิชชาได้แล้ว บุคคลเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว
เป็นพระอรหันต์ เรานอบน้อมบุคคลเหล่านั้น
มาตลี บุคคลเหล่าใดกำจัดราคะ โทสะ
ก้าวล่วงอวิชชาได้ แต่ยังเป็นพระเสขะอยู่
ยินดีในธรรมอันเป็นเครื่องปราศจากการสั่งสม
เป็นผู้ไม่ประมาท ตามศึกษาอยู่
เรานอบน้อมบุคคลเหล่านั้น
มาตลีสังคาหกเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่ท้าวสักกะ ได้ยินว่า
พระองค์ทรงนอบน้อมบุคคลเหล่าใด
บุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก
ข้าแต่ท้าววาสวะ พระองค์ทรงนอบน้อมบุคคลเหล่าใด
แม้ข้าพระองค์ก็ขอนอบน้อมบุคคลเหล่านั้นเหมือนกัน
ท้าวมฆวาสุชัมบดีเทวราช ผู้เป็นประมุข
ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงนอบน้อมพระผู้มีพระภาค
เสด็จขึ้นราชรถกลับไป”
ทุติยสักกนมัสสนสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๐. ตติยสักกนมัสสนสูตร

๑๐. ตติยสักกนมัสสนสูตร
ว่าด้วยการนอบน้อมของท้าวสักกะ สูตรที่ ๓
[๒๖๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสกับมาตลีสังคาหก-
เทพบุตรว่า ‘สหายมาตลี ท่านจงจัดเตรียมรถซึ่งเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว
เราจะไปยังพื้นที่อุทยานเพื่อชมภูมิภาคอันงดงาม’
มาตลีสังคาหกเทพบุตรทูลรับพระดำรัสแล้ว จัดเตรียมรถซึ่งเทียมด้วยม้า
อาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว เสร็จแล้วกราบทูลแก่ท้าวสักกะจอมเทพว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้นิรทุกข์ รถซึ่งเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว สำหรับพระองค์จัดเตรียมไว้
เสร็จแล้ว ขอพระองค์ทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด’
ได้ทราบว่า ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพขณะเสด็จลงจากเวชยันต์ปราสาท
ทรงประนมมือนอบน้อมภิกษุสงฆ์อยู่ ครั้งนั้น มาตลีสังคาหกเทพบุตรได้ทูลถามท้าว
สักกะจอมเทพด้วยคาถาว่า
นรชนผู้นอนทับกายอันเปื่อยเน่าเหล่านี้
นอบน้อมพระองค์เท่านั้น พวกเขาจมอยู่ในซากศพ๑
เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความหิวและความกระหาย
ข้าแต่ท้าววาสวะ เพราะเหตุไรหนอ
พระองค์จึงทรงโปรดปรานท่านผู้ไม่มีเรือนเหล่านั้น
ขอพระองค์ตรัสบอกมรรยาทของฤๅษีทั้งหลาย
ข้าพระองค์ขอฟังพระดำรัสของพระองค์ พระเจ้าข้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๐. ตติยสักกนมัสสนสูตร
ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
มาตลี เราโปรดปรานมรรยาท
ของท่านผู้รู้ที่ไม่มีเรือนเหล่านั้น
เพราะท่านเหล่านั้นเป็นผู้ไม่มีความห่วงใย
ในบ้านที่ท่านจากไป
บุคคลผู้จะเก็บข้าวเปลือก
ของท่านเหล่านั้นไว้ในฉางก็ไม่มี
จะเก็บไว้ในหม้อก็ไม่มี จะเก็บไว้ในกระเช้าก็ไม่มี
ท่านเหล่านั้นมีวัตรงาม
แสวงหาอาหารที่ผู้อื่นทำเสร็จแล้ว
เยียวยาอัตภาพด้วยอาหารนั้น
ท่านเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์
กล่าวคำสุภาษิต เป็นผู้สงบ ประพฤติสม่ำเสมอ
มาตลี พวกเทวดายังโกรธกับอสูร
และสัตว์เป็นอันมากยังโกรธซึ่งกันและกัน
เมื่อเขายังโกรธกัน แต่ท่านเหล่านั้นไม่โกรธ
ดับ(ความโกรธ)เสียได้ในบุคคลผู้มีอาชญาในตน
เมื่อชนทั้งหลายยังมีความถือมั่น
ท่านเหล่านั้นไม่ถือมั่น
มาตลี เราจึงนอบน้อมท่านเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
มาตลีสังคาหกเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่ท้าวสักกะ ได้ยินว่า
พระองค์ทรงนอบน้อมบุคคลเหล่าใด
บุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก
ข้าแต่ท้าววาสวะ พระองค์ทรงนอบน้อมบุคคลเหล่าใด
แม้ข้าพระองค์ก็ขอนอบน้อมบุคคลเหล่านั้นเหมือนกัน
ท้าวมฆวาสุชัมบดีเทวราช ผู้เป็นประมุข
ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงนอบน้อมภิกษุสงฆ์
เสด็จขึ้นราชรถกลับไป”
ตติยสักกนมัสสนสูตรที่ ๑๐ จบ
วรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมเทวสูตร ๒. ทุติยเทวสูตร
๓. ตติยเทวสูตร ๔. ทฬิททสูตร
๕. รามเณยยกสูตร ๖. ยชมานสูตร
๗. วันทนาสูตร ๘. ปฐมสักกนมัสสนสูตร
๙. ทุติยสักกนมัสสนสูตร ๑๐. ตติยสักกนมัสสนสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๑. ฆัตวาสูตร

๓. ตติยวรรค
หมวดที่ ๓
๑. ฆัตวาสูตร
ว่าด้วยการฆ่า
[๒๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วประทับยืนอยู่ ณ ที่
สมควร ท้าวสักกะจอมเทพได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
บุคคลฆ่าอะไรได้จึงอยู่เป็นสุข
ฆ่าอะไรได้จึงไม่เศร้าโศก ข้าแต่พระโคดม
พระองค์ทรงพอพระทัยการฆ่าธรรมอย่างหนึ่ง คืออะไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลฆ่าความโกรธได้จึงอยู่เป็นสุข
ฆ่าความโกรธได้จึงไม่เศร้าโศก ท้าววาสวะ
พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญการฆ่าความโกรธ
ซึ่งมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน
เพราะบุคคลฆ่าความโกรธนั้นได้แล้ว จึงไม่เศร้าโศก๑
ฆัตวาสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๒. ทุพพัณณิยสูตร

๒. ทุพพัณณิยสูตร
ว่าด้วยยักษ์ผู้มีผิวพรรณไม่งาม
[๒๖๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ยักษ์ตนหนึ่งมี
ผิวพรรณไม่งาม ต่ำเตี้ย นั่งอยู่บนที่ประทับของท้าวสักกะจอมเทพ ได้ยินว่า ณ
ที่นั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์พากันกล่าวโทษตำหนิติเตียนว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ยักษ์ตนนี้มีผิวพรรณไม่งาม ต่ำเตี้ย นั่งอยู่บน
ที่ประทับของท้าวสักกะจอมเทพ’ พวกเทพชั้นดาวดึงส์กล่าวโทษตำหนิติเตียนด้วย
ประการใด ๆ ยักษ์ตนนั้นกลับเป็นผู้มีรูปงาม ทั้งน่าดูน่าชม และน่าเลื่อมใสยิ่งขึ้นกว่าเดิม
ด้วยประการนั้น ๆ
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์พากันเข้าไปเฝ้าท้าวสักกะจอม
เทพถึงที่ประทับ ได้กราบทูลท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
ขอประทานวโรกาส ยักษ์ตนหนึ่งมีผิวพรรณไม่งาม ต่ำเตี้ย นั่งอยู่บนที่ประทับของ
พระองค์ ได้ยินว่า ณ ที่นั้นพวกเทพชั้นดาวดึงส์พากันกล่าวโทษตำหนิติเตียนว่า
‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ยักษ์ตนนี้มีผิวพรรณไม่งาม
ต่ำเตี้ย นั่งอยู่บนที่ประทับของท้าวสักกะจอมเทพ’ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกเทพ
ชั้นดาวดึงส์กล่าวโทษตำหนิติเตียนด้วยประการใด ๆ ยักษ์ตนนั้นกลับเป็นผู้มีรูปงาม
ทั้งน่าชมและน่าเลื่อมใสยิ่งกว่าเดิม ด้วยประการนั้น ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
ยักษ์ตนนั้นคงเป็นผู้มีความโกรธเป็นอาหารเป็นแน่ทีเดียวพระเจ้าข้า’
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ เสด็จเข้าไปหายักษ์ผู้มีความโกรธ
เป็นอาหารนั้นจนถึงที่อยู่แล้วประนมมือไปทางที่ยักษ์ตนนั้นอยู่ ประกาศพระนาม ๓
ครั้งว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ เราคือท้าวสักกะจอมเทพ ... ท่านผู้นิรทุกข์ เราคือท้าวสักกะ
จอมเทพ ... ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพทรงประกาศพระนามด้วยประการใด ๆ
ยักษ์ตนนั้นกลับมีผิวพรรณไม่งามและต่ำเตี้ยยิ่งกว่าเดิม ยักษ์ตนนั้นเป็นผู้มีผิวพรรณ
ไม่งาม และต่ำเตี้ยยิ่งกว่าเดิมแล้วได้หายตัวไป ณ ที่นั้นเอง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๓. สัมพริมายาสูตร
ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพประทับนั่งบนที่ประทับของพระองค์แล้ว เมื่อจะ
ทรงทำให้พวกเทพชั้นดาวดึงส์ยินดี จึงตรัสคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
เราเป็นผู้มีจิตไม่ถูกโทสะกระทบกระทั่ง
เป็นผู้ที่ใคร ๆ จะชักนำไปไม่ได้ง่าย
เราไม่โกรธใครมานานแล้ว ความโกรธไม่ฝังอยู่ในใจเรา
ถึงเราโกรธก็ไม่กล่าวคำหยาบ และคำไม่ชอบเป็นอันขาด
เราเห็นประโยชน์ตน จึงบังคับตนได้”
ทุพพัณณิยสูตรที่ ๒ จบ

๓. สัมพริมายาสูตร
ว่าด้วยมายาของจอมอสูร
[๒๖๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวเวปจิตติจอมอสูรเจ็บไข้ ได้รับทุกข์
เจ็บไข้หนัก ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จไปเยี่ยมท้าวเวปจิตติจอมอสูรถึงที่อยู่
ตรัสถามถึงความเจ็บไข้ ท้าวเวปจิตติจอมอสูรเห็นท้าวสักกะจอมเทพกำลังเสด็จมา
แต่ไกลเทียวได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพว่า ‘ท่านจอมเทพ ขอจงช่วยรักษาข้าพเจ้า
ด้วยเถิด’
ท้าวสักกะตรัสว่า ‘ท่านท้าวเวปจิตติ ขอเชิญบอกมายาของจอมอสูรให้
ข้าพเจ้าทราบก่อน’
ท้าวเวปจิตติกล่าวว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ข้าพเจ้ายังบอกท่านไม่ได้ จนกว่าจะได้
สอบถามพวกอสูรดูก่อน’
ลำดับนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรสอบถามพวกอสูรว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย
เราจะบอกมายาของจอมอสูรให้ท้าวสักกะจอมเทพทราบ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๔. อัจจยสูตร
พวกอสูรทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์อย่าตรัสบอกมายาของ
จอมอสูรแก่ท้าวสักกะจอมเทพเลย’
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพ
ด้วยคาถาว่า
ท่านท้าวมฆวาสุชัมบดีเทวราช
บุคคลผู้มีมายาย่อมเข้าถึงนรกครบ ๑๐๐ ปี
เหมือนจอมอสูร ฉะนั้น”
สัมพริมายาสูตรที่ ๓ จบ

๔. อัจจยสูตร
ว่าด้วยโทษ
[๒๗๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุ ๒ รูปได้โต้เถียงกัน ในการ
โต้เถียงกันนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดล่วงเกิน ครั้งนั้น ภิกษุผู้พูดล่วงเกินนั้นขอโทษ
ในที่อยู่ของภิกษุนั้น แต่ภิกษุนั้นไม่ยกโทษให้ ลำดับนั้น ภิกษุจำนวนมาก
พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส
ภิกษุ ๒ รูปโต้เถียงกัน ในการโต้เถียงกันนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดล่วงเกิน ลำดับนั้น
ภิกษุผู้พูดล่วงเกินขอโทษในที่อยู่ของภิกษุนั้น แต่ภิกษุนั้นไม่ยกโทษให้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ คือ
๑. ผู้ไม่เห็นโทษว่าเป็นโทษ
๒. ผู้ไม่ยกโทษให้ตามสมควรแก่ธรรมเมื่อผู้อื่นขอโทษ
คนพาล ๒ จำพวกนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ คือ
๑. ผู้เห็นโทษว่าเป็นโทษ
๒. ผู้ยกโทษให้ตามสมควรแก่ธรรมเมื่อผู้อื่นขอโทษ
บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๕. อักโกธสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อจะทรงยังเทพชั้น
ดาวดึงส์ให้พลอยยินดี ณ เทวสภาชื่อสุธรรมา จึงได้ตรัสคาถานี้ในเวลานั้นว่า
ขอความโกรธจงตกอยู่ในอำนาจของท่านทั้งหลาย
ขอความเสื่อมคลายในมิตตธรรมอย่าได้มีแก่ท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายอย่าได้ติเตียนผู้ที่ไม่ควรติเตียน๑
และอย่าได้พูดคำส่อเสียดเลย
ความโกรธเป็นดุจภูเขา ย่ำยีคนเลว ฉะนี้แล”
อัจจยสูตรที่ ๔ จบ

๕. อักโกธสูตร
ว่าด้วยความไม่โกรธ
[๒๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อจะทรงทำให้เทพ
ชั้นดาวดึงส์ยินดี ณ เทวสภาชื่อสุธรรมา จึงได้ตรัสคาถานี้ในเวลานั้นว่า
ความโกรธอย่าได้ครอบงำท่านทั้งหลาย
และท่านทั้งหลายอย่าได้โกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ
ความไม่โกรธและความไม่เบียดเบียน๒
ย่อมมีในท่านผู้ประเสริฐทุกเมื่อ
ความโกรธเป็นดุจภูเขา ย่ำยีคนเลว ฉะนี้แล”
อักโกธสูตรที่ ๕ จบ
วรรคที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๓. ตติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ฆัตวาสูตร ๒. ทุพพัณณิยสูตร
๓. สัมพริมายาสูตร ๔. อัจจยสูตร
๕. อักโกธสูตร

พระสูตรว่าด้วยท้าวสักกะ ๕ สูตรนี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดงไว้แล้ว

สักกสังยุต จบบริบูรณ์
สคาถวรรคที่ ๑ จบ

รวมสังยุตที่มีในสคาถวรรคนี้ คือ

๑. เทวตาสังยุต ๒. เทวปุตตสังยุต
๓. โกสลสังยุต ๔. มารสังยุต
๕. ภิกขุนีสังยุต ๖. พรหมสังยุต
๗. พราหมณสังยุต ๘. วังคีสสังยุต
๙. วนสังยุต ๑๐. ยักขสังยุต
๑๑. สักกสังยุต

สคาถวรรคสังยุต จบบริบูรณ์

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ สุตตันตปิฎกที่ ๐๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น