Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๖-๑ หน้า ๑ - ๕๗

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖-๑ สุตตันตปิฎกที่ ๐๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค



พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๑. พุทธวรรค ๑.ปฏิจจสมุปปาทสูตร

พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. นิทานสังยุต
๑. พุทธวรรค
หมวดว่าด้วยพระพุทธเจ้า
๑. ปฏิจจสมุปปาทสูตร
ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท
[๑] ข้าพเจ้า๑ ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิจจสมุปบาทแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๑. พุทธวรรค ๑. ปฏิจจสมุปปาทสูตร
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย ปฏิจจสมุปบาท๑ เป็นอย่างไร
คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความ
คร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความ
คับแค้นใจ) จึงมี
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๑. พุทธวรรค ๒. วิภังคสูตร
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้’๑
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคแล้ว
ปฏิจจสมุปปาทสูตรที่ ๑ จบ

๒. วิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกปฏิจจสมุปบาท
[๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง จักจำแนกปฏิจจสมุปบาทแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๑. พุทธวรรค ๒. วิภังคสูตร
‘ภิกษุทั้งหลาย ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไร
คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ชราและมรณะ เป็นอย่างไร
คือ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนัง
เหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์
นั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา มรณะ เป็นอย่างไร คือ ความจุติ ความเคลื่อนไป ความ
ทำลายไป ความหายไป ความตายกล่าวคือมฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์
ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ
นี้เรียกว่า มรณะ
ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ
ชาติ เป็นอย่างไร
คือ ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิดเฉพาะ ความ
บังเกิดขึ้นเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของ
เหล่าสัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า ชาติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๑. พุทธวรรค ๒. วิภังคสูตร
ภพ มีเท่าไร
ภพมี ๓ ประการนี้ คือ
๑. กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร)
๒. รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร)
๓. อรูปภพ (ภพที่เป็นอรูปาวจร)
นี้เรียกว่า ภพ
อุปาทาน มีเท่าไร
อุปาทานมี ๔ ประการนี้ คือ
๑. กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม)
๒. ทิฏฐุปาทาน (ความยึดมั่นในทิฏฐิ)
๓. สีลัพพตุปาทาน (ความยึดมั่นในศีลพรต)
๔. อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในวาทะว่ามีอัตตา)
นี้เรียกว่า อุปาทาน
ตัณหา มีเท่าไร
ตัณหามี ๖ ประการนี้ คือ
๑. รูปตัณหา (ความทะยานอยากได้รูป)
๒. สัททตัณหา (ความทะยานอยากได้เสียง)
๓. คันธตัณหา (ความทะยานอยากได้กลิ่น)
๔. รสตัณหา (ความทะยานอยากได้รส)
๕. โผฏฐัพพตัณหา (ความทะยานอยากได้โผฏฐัพพะ)
๖. ธัมมตัณหา (ความทะยานอยากได้ธรรมารมณ์)
นี้เรียกว่า ตัณหา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๑. พุทธวรรค ๒. วิภังคสูตร
เวทนา มีเท่าไร
เวทนามี ๖ ประการนี้ คือ
๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางตา)
๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางหู)
๓. ฆานสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจมูก)
๔. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางลิ้น)
๕. กายสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางกาย)
๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางใจ)
นี้เรียกว่า เวทนา

ผัสสะ มีเท่าไร
ผัสสะมี ๖ ประการนี้ คือ
๑. จักขุสัมผัส (ความกระทบทางตา)
๒. โสตสัมผัส (ความกระทบทางหู)
๓. ฆานสัมผัส (ความกระทบทางจมูก)
๔. ชิวหาสัมผัส (ความกระทบทางลิ้น)
๕. กายสัมผัส (ความกระทบทางกาย)
๖. มโนสัมผัส (ความกระทบทางใจ)
นี้เรียกว่า ผัสสะ
สฬายตนะ มีเท่าไร
สฬายตนะมี ๖ ประการนี้ คือ
๑. จักขวายตนะ (อายตนะคือตา)
๒. โสตายตนะ (อายตนะคือหู)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๑. พุทธวรรค ๒. วิภังคสูตร
๓. ฆานายตนะ (อายตนะคือจมูก)
๔. ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น)
๕. กายายตนะ (อายตนะคือกาย)
๖. มนายตนะ (อายตนะคือใจ)
นี้เรียกว่า สฬายตนะ
นามรูป เป็นอย่างไร
คือ เวทนา(ความเสวยอารมณ์) สัญญา(ความจำได้หมายรู้) เจตนา(ความจงใจ)
ผัสสะ(ความกระทบ หรือสัมผัส) มนสิการ(ความกระทำไว้ในใจ) นี้เรียกว่า นาม
มหาภูต๑ ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูต ๔ นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า นามรูป
วิญญาณ มีเท่าไร
วิญญาณมี ๖ ประการนี้ คือ
๑. จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา)
๒. โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางหู)
๓. ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก)
๔. ชิวหาวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้น)
๕. กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางกาย)
๖. มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางใจ)
นี้เรียกว่า วิญญาณ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๑. พุทธวรรค ๒. ปฏิปทาสูตร
สังขารทั้งหลาย มีเท่าไร
สังขารมี ๓ ประการนี้ คือ
๑. กายสังขาร (สภาวะที่ปรุงแต่งกาย)
๒. วจีสังขาร (สภาวะที่ปรุงแต่งวาจา)
๓. จิตตสังขาร (สภาวะที่ปรุงแต่งใจ)
นี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย
อวิชชา เป็นอย่างไร
คือ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย(เหตุเกิดแห่งทุกข์) ความไม่รู้ใน
ทุกขนิโรธ(ความดับแห่งทุกข์) ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์) นี้เรียกว่า อวิชชา
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
วิภังคสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๑. พุทธวรรค ๓. ปฏิปทาสูตร

๓. ปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยปฏิปทา
[๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิปทา(ข้อปฏิบัติผิด) และสัมมาปฏิปทา
(ข้อปฏิบัติถูก) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย มิจฉาปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา๑
ภิกษุทั้งหลาย สัมมาปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา”
ปฏิปทาสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๑. พุทธวรรค ๔. วิปัสสีสูตร

๔. วิปัสสีสูตร
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
[๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
ก่อนแต่ตรัสรู้เมื่อเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า
‘โลก๑นี้ถึงความคับแค้น จึงเกิด แก่ ตาย จุติ และอุบัติ ก็บุคคลไม่รู้อุบายสลัดออก
จากทุกข์คือชราและมรณะนี้ เมื่อไรจึงจะพ้นจากทุกข์คือชราและมรณะนี้ได้’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
ชราและมรณะจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญา
ว่า ‘เมื่อชาติมี ชราและมรณะจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ชาติ
จึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อภพมี
ชาติจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ภพจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ภพจึงมี’
เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่ออุปาทานมี
ภพจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี อุปาทานจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
อุปาทานจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อตัณหามี อุปาทานจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ตัณหาจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อเวทนามี ตัณหาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๑. พุทธวรรค ๔. วิปัสสีสูตร
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี เวทนาจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อผัสสะมี เวทนาจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ผัสสะจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
ผัสสะจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อสฬายตนะมี ผัสสะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี สฬายตนะจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
สฬายตนะจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อนามรูปมี สฬายตนะจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี นามรูปจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
นามรูปจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อวิญญาณมี นามรูปจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี วิญญาณจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
วิญญาณจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อสังขารมี วิญญาณจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี‘๑
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะอะไรเป็น
ปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วย
พระปัญญาว่า ‘เมื่ออวิชชามี สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขาร
ทั้งหลายจึงมี’

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๑. พุทธวรรค ๔. วิปัสสีสูตร
อนึ่ง เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย
วิญญาณจึงมี ฯลฯ ดังพรรณนามาฉะนี้ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้
ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย จักขุ๑ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนได้เกิดขึ้นแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ว่า ‘สมุทัย(ความเกิดขึ้น) สมุทัย(ความ
เกิดขึ้น)’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ
ชราและมรณะจึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระ-
ปัญญาว่า ‘เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ชาติจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชาติจึงดับ’
เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อภพไม่มี
ชาติจึงไม่มี เพราะภพดับ ชาติจึงดับ’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ภพจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ภพจึงดับ’
เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่ออุปาทาน
ไม่มี ภพจึงไม่มี เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะอะไรดับ
อุปาทานจึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ตัณหา
จึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อ
เวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี เวทนาจึงไม่มี เพราะอะไรดับ เวทนา
จึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อ
ผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ’

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๑. พุทธวรรค ๔. วิปัสสีสูตร
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ผัสสะ
จึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อ
สฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ
สฬายตนะจึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะอะไรดับ
นามรูปจึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะอะไรดับ
วิญญาณจึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อสังขารทั้งหลายไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี สังขารทั้งหลายจึงไม่มี เพราะอะไรดับ
สังขารจึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารทั้งหลายจึงไม่มี เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ’
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ
ดังพรรณนามาฉะนี้ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนได้เกิดขึ้นแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ว่า ‘นิโรธ(ความดับ) นิโรธ(ความดับ)”
วิปัสสีสูตรที่ ๔ จบ
[พระพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์ ก็พึงขยายความอย่างนี้]

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๑. พุทธวรรค ๘.โกนาคมนสูตร

๕. สิขีสูตร
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี
[๕] “ภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
สิขี ... ”
สิขีสูตรที่ ๕ จบ

๖. เวสสภูสูตร
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภู
[๖] “ภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
เวสสภู ... ”
เวสสภูสูตรที่ ๖ จบ

๗. กกุสันธสูตร
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ
[๗] “ภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
กกุสันธะ ... ”
กกุสันธสูตรที่ ๗ จบ

๘. โกนาคมนสูตร
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ
[๘] “ภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
โกนาคมนะ ... ”
โกนาคมนสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๑. พุทธวรรค ๑๐. โคตมสูตร

๙. กัสสปสูตร
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ
[๙] “ภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
กัสสปะ ... ”
กัสสปสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. โคตมสูตร
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ
[๑๐] “ภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มี
ความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า ‘โลกนี้ถึงความคับแค้น จึงเกิด แก่ ตาย จุติ และอุบัติ
ก็บุคคลไม่รู้อุบายสลัดออกจากทุกข์ คือชราและมรณะนี้ เมื่อไรจึงจะพ้นจากทุกข์
คือ ชราและมรณะนี้ได้’
เรานั้นได้มีความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า ‘เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี เพราะอะไร
เป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี’ เพราะมนสิการโดยแยบคาย จึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า
‘เมื่อชาติมี ชราและมรณะจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี’
จากนั้น จึงดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี ฯลฯ ภพ ... อุปาทาน ...
ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ... สังขาร
ทั้งหลายจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี’ เพราะมนสิการโดย
แยบคาย จึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า ‘เมื่ออวิชชามี สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี’
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย
วิญญาณจึงมี ฯลฯ ดังพรรณนามาฉะนี้ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
มีได้ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๑. พุทธวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ‘สมุทัย สมุทัย’
จากนั้น จึงดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชรา
และมรณะจึงดับ’ เพราะมนสิการโดยแยบคาย จึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อชาติ
ไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ’
จากนั้น จึงดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ชาติจึงไม่มี ฯลฯ ภพ ... อุปาทาน ...
ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ... สังขาร
ทั้งหลายจึงไม่มี เพราะอะไรดับ สังขารจึงดับ’ เพราะมนสิการโดยแยบคาย จึงได้
รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า ‘เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารทั้งหลายจึงไม่มี เพราะอวิชชาดับ
สังขารจึงดับ’
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ
ดังพรรณนามาฉะนี้ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างในธรรมทั้งหลายที่
ไม่เคยได้ฟังมาก่อนได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ‘นิโรธ นิโรธ”
โคตมสูตรที่ ๑๐ จบ
พุทธวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฏิจจสมุปปาทสูตร ๒. วิภังคสูตร
๓. ปฏิปทาสูตร ๔. วิปัสสีสูตร
๕. สิขีสูตร ๖. เวสสภูสูตร
๗. กกุสันธสูตร ๘. โกนาคมนสูตร
๙. กัสสปสูตร ๑๐. โคตมสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๑. อาหารสูตร

๒. อาหารวรรค
หมวดว่าด้วยอาหาร

๑. อาหารสูตร
ว่าด้วยอาหาร
[๑๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างนี้ เป็นไปเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้ว
หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด๑
อาหาร ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. กวฬิงการาหาร (อาหาร คือคำข้าว) ที่หยาบหรือละเอียด
๒. ผัสสาหาร (อาหาร คือผัสสะ)
๓. มโนสัญเจตนาหาร (อาหาร คือมโนสัญเจตนา)
๔. วิญญาณาหาร (อาหาร คือวิญญาณ)
อาหาร ๔ อย่างนี้ เป็นไปเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่อ
อนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด
อาหาร ๔ อย่างนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๑. อาหารสูตร
อาหาร ๔ อย่างนี้ มีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นเหตุเกิด มีตัณหาเป็นกำเนิด
มีตัณหาเป็นแดนเกิด
อนึ่ง ตัณหานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไร
เป็นแดนเกิด
ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นกำเนิด มีเวทนา
เป็นแดนเกิด
เวทนานี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็น
แดนเกิด
เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีผัสสะเป็นกำเนิด มีผัสสะเป็น
แดนเกิด
ผัสสะนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็น
แดนเกิด
ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นเหตุเกิด มีสฬายตนะเป็นกำเนิด
มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด
สฬายตนะนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็น
แดนเกิด
สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ มีนามรูปเป็นเหตุเกิด มีนามรูปเป็นกำเนิด
มีนามรูปเป็นแดนเกิด
นามรูปนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็น
แดนเกิด
นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ มีวิญญาณเป็นเหตุเกิด มีวิญญาณเป็นกำเนิด
มีวิญญาณเป็นแดนเกิด
วิญญาณนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็น
แดนเกิด
วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ มีสังขารเป็นเหตุเกิด มีสังขารเป็นกำเนิด มีสังขาร
เป็นแดนเกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๒.โมลิยผัคคุนสูตร
อนึ่ง สังขารเหล่านี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด
สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นเหตุเกิด มีอวิชชาเป็นกำเนิด มี
อวิชชาเป็นแดนเกิด
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ดังพรรณนามาฉะนี้ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชานั้นดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ดังพรรณนามาฉะนี้ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วย
ประการฉะนี้”
อาหารสูตรที่ ๑ จบ

๒. โมลิยผัคคุนสูตร
ว่าด้วยพระโมลิยผัคคุนะ
[๑๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างนี้ เป็นไปเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้ว
หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด๑
อาหาร ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. กวฬิงการาหารที่หยาบหรือละเอียด
๒. ผัสสาหาร
๓. มโนสัญเจตนาหาร
๔. วิญญาณาหาร
อาหาร ๔ อย่างนี้ เป็นไปเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่อ
อนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๒.โมลิยผัคคุนสูตร
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระโมลิยผัคคุนะได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครหนอ ย่อมกลืนกินวิญญาณาหาร’
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า ‘ปัญหานี้ไม่สมควรถาม เรามิได้กล่าวว่า
‘ย่อมกลืนกิน’ ถ้าเราพึงกล่าวว่า ‘ย่อมกลืนกิน’ ในคำกล่าวนั้น ปัญหาที่สมควร
ถามก็คือ ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครหนอย่อมกลืนกิน’ เมื่อเรามิได้กล่าวอย่างนั้น
ผู้ที่ถามอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิญญาณาหารมีเพื่ออะไร’ ปัญหาของ
ผู้นั้นจึงเป็นปัญหาที่สมควรถาม ในปัญหานั้น คำตอบที่สมควรคือ ‘วิญญาณาหาร
เป็นปัจจัยเพื่อเกิดในภพใหม่ต่อไป เมื่อวิญญาณาหารนั้น เกิดแล้ว สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าย่อมถูกต้อง”
“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม เรามิได้กล่าวว่า ‘ย่อมถูกต้อง’ ถ้าเราพึงกล่าวว่า
‘ย่อมถูกต้อง” ในคำกล่าวนั้น ปัญหาที่สมควรถามก็คือ ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ใครเล่าย่อมถูกต้อง’ เมื่อเรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ที่ถามอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ เพราะอะไรเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’ ปัญหาของผู้นั้นจึงเป็นปัญหาที่สมควร
ถาม ในปัญหานั้น คำตอบที่สมควรคือ ‘เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าย่อมเสวยอารมณ์”
“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม’ เรามิได้กล่าวว่า ‘ย่อมเสวยอารมณ์’ ถ้าเราพึง
กล่าวว่า ‘ย่อมเสวยอารมณ์’ ในคำกล่าวนั้น ปัญหาที่สมควรถามก็คือ ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ใครหนอย่อมเสวยอารมณ์’ เมื่อเรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ที่ถามอย่างนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอะไรเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’ ปัญหาของผู้นั้นจึงเป็นปัญหา
ที่สมควรถาม ในปัญหานั้น คำตอบที่สมควรคือ ‘เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าย่อมทะยานอยาก”
“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม เรามิได้กล่าวว่า ‘ย่อมทะยานอยาก’ ถ้าเราพึง
กล่าวว่า ‘ย่อมทะยานอยาก’ ในคำกล่าวนั้น ปัญหาที่สมควรถามก็คือ ‘ข้าแต่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๓. สมณพราหมณสูตร
พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าย่อมทะยานอยาก’ เมื่อเรามิได้กล่าวอย่างนี้ ผู้ที่ถามอย่างนี้
ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอะไรเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’ ปัญหาของผู้นั้นจึงเป็น
ปัญหาที่สมควรถาม ในปัญหานั้น คำตอบที่สมควรคือ ‘เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าย่อมถือมั่น”
“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม เรามิได้กล่าวว่า ‘ย่อมถือมั่น’ ถ้าเราพึงกล่าวว่า
‘ย่อมถือมั่น’ ในคำกล่าวนั้นปัญหาที่สมควรถามก็คือ ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่า
ย่อมถือมั่น’ เมื่อเรามิได้กล่าวอย่างนี้ ผู้ที่ถามอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เพราะอะไรเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี’ ปัญหาของผู้นั้นจึงเป็นปัญหาที่สมควรถาม
ในปัญหานั้น คำตอบที่สมควรคือ ‘เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะ
อุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี’ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วย
ประการฉะนี้
ผัคคุนะ ก็เพราะผัสสายตนะทั้ง ๖ ดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะ
ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับ
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”
โมลิยผัคคุนสูตรที่ ๒ จบ

๓. สมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์
[๑๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดชราและมรณะ
ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัดปฏิปทา
ที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๔. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ไม่รู้ชัดชาติ ฯลฯ ไม่รู้ชัดภพ ... อุปาทาน ... ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ
สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ...
ไม่รู้ชัดสังขารทั้งหลาย ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร ไม่รู้ชัดความดับแห่งสังขาร
ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่จัดว่า
เป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้น
ก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดชราและมรณะ รู้ชัดความเกิด
แห่งชราและมรณะ รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ
แห่งชราและมรณะ รู้ชัดชาติ ฯลฯ รู้ชัดภพ ... อุปาทาน ... ตัณหา ... เวทนา ...
ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ...
รู้ชัดสังขารทั้งหลาย รู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร รู้ชัดความดับแห่งสังขาร รู้ชัด
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จัดว่าเป็นสมณะ
ในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้ง
ประโยชน์ของความเป็นสมณะ และประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
สมณพราหมณสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒
[๑๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดธรรมเหล่านี้
ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้ชัดความดับแห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้ชัดปฏิปทา
ที่ให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๔. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ไม่รู้ชัดธรรมเหล่าไหน ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งธรรมเหล่าไหน ไม่รู้ชัดความดับ
แห่งธรรมเหล่าไหน ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่าไหน
คือ ไม่รู้ชัดชราและมรณะ ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัดความดับ
แห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัดชาติ ฯลฯ
ไม่รู้ชัดภพ ... อุปาทาน ... ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป
... วิญญาณ ...
ไม่รู้ชัดสังขารทั้งหลาย ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร ไม่รู้ชัดความดับแห่งสังขาร
ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร ไม่รู้ชัดธรรมเหล่านี้ ไม่รู้ชัดความเกิดแห่ง
ธรรมเหล่านี้ ไม่รู้ชัดความดับแห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
ธรรมเหล่านี้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะ
และประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดธรรมเหล่านี้ รู้ชัดความเกิดแห่ง
ธรรมเหล่านี้ รู้ชัดความดับแห่งธรรมเหล่านี้ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งธรรม
เหล่านี้
รู้ชัดธรรมเหล่าไหน รู้ชัดความเกิดแห่งธรรมเหล่าไหน รู้ชัดความดับแห่งธรรม
เหล่าไหน รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่าไหน
คือ รู้ชัดชราและมรณะ รู้ชัดความเกิดแห่งชราและมรณะ รู้ชัดความดับแห่งชรา
และมรณะ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ รู้ชัดชาติ ฯลฯ
รู้ชัดภพ ... อุปาทาน ... ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ...
วิญญาณ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๕.กัจจานโคตตสูตร
รู้ชัดสังขารทั้งหลาย รู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร รู้ชัดความดับแห่งสังขาร รู้ชัด
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร รู้ชัดธรรมเหล่านี้ รู้ชัดความเกิดแห่งธรรมเหล่านี้
รู้ชัดความดับแห่งธรรมเหล่านี้ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่านี้
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ
และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ได้ทำให้แจ้งประโยชน์ของ
ความเป็นสมณะ และประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึง
อยู่ในปัจจุบัน”
ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๔ จบ

๕. กัจจานโคตตสูตร
ว่าด้วยพระกัจจานโคตร
[๑๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระกัจจานโคตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ’ นี้ ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไรหนอจึงเรียกว่าสัมมาทิฏฐิ”
“กัจจานะ โดยมากโลกนี้อาศัยที่สุด ๒ อย่าง คือ (๑) ความมี (๒) ความไม่มี
ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดขึ้นของโลกด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
ความไม่มีในโลก ก็ไม่มี เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริง ความมีในโลก ก็ไม่มี
กัจจานะ โดยมากโลกนี้ยังพัวพันอยู่ด้วยอุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่
ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่อง แต่อริยสาวกไม่เข้าไปถือมั่นอุบายและความยึดมั่น
อันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องว่า ‘อัตตาของเรา’ ไม่เคลือบแคลง
ไม่สงสัยว่า ‘ทุกข์นั้นแล เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับ ย่อมดับไป’ อริยสาวก
นั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๖. ธัมมกถิกสูตร
กัจจานะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จัดว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
ที่สุดอย่างที่ ๑ นี้ คือ สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ที่สุดอย่างที่ ๒ นี้ คือ สิ่งทั้งปวง
ไม่มีอยู่ ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้ง ๒ อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า
‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”๑
กัจจานโคตตสูตรที่ ๕ จบ

๖. ธัมมกถิกสูตร๒
ว่าด้วยพระธรรมกถึก
[๑๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก ภิกษุเป็น
ธรรมกถึก’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงเป็นธรรมกถึก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชราและมรณะ ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็น
ธรรมกถึก’
หากภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชราและ
มรณะ ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’
หากภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ
เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นชราและมรณะ ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน’

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๗. อเจลกัสสปสูตร
หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชาติ ฯลฯ
ภพ ... อุปาทาน ... ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ
... สังขารทั้งหลาย ... อวิชชา ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’
หากภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับอวิชชา
ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’
หากภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ
เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นอวิชชา ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน”
ธัมมกถิกสูตรที่ ๖ จบ

๗. อเจลกัสสปสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่ออเจลกัสสปะ
[๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวร๑ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ อเจลกัสสปะได้เห็นพระผู้มีพระภาค
กำลังเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้ทูล
ถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าพเจ้าขอถามเหตุบางอย่างกับท่านพระโคดม ถ้าท่านพระโคดมเปิดโอกาส
เพื่อตอบปัญหาแก่ข้าพเจ้า”
“กัสสปะ ยังไม่ใช่เวลาที่จะตอบปัญหาของท่าน เรากำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้าน”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๗. อเจลกัสสปสูตร
แม้ครั้งที่ ๒ อเจลกัสสปะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ‘ข้าพเจ้า
ขอถามเหตุบางอย่างกับท่านพระโคดม ถ้าท่านพระโคดมเปิดโอกาส เพื่อตอบปัญหา
แก่ข้าพเจ้า”
“กัสสปะ ยังไม่ใช่เวลาที่จะตอบปัญหาของท่าน เรากำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้าน”
แม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ ‘เรากำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้าน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนั้นแล้ว อเจลกัสสปะได้กราบทูลว่า “ข้าพเจ้า
ไม่ประสงค์ที่จะถามท่านพระโคดมมากนัก”
“กัสสปะ จงถามปัญหาที่ท่านประสงค์เถิด”
“ท่านพระโคดม ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองหรือ”
“อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสปะ”
“ท่านพระโคดม ทุกข์เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้หรือ”
“อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสปะ”
“ท่านพระโคดม ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วย และคนอื่นกระทำให้ด้วยหรือ”
“อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสปะ”
“ท่านพระโคดม ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่น
กระทำให้ก็มิใช่หรือ”
“อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสปะ”
“ท่านพระโคดม ทุกข์ไม่มีหรือ”
“กัสสปะ ทุกข์ไม่มีก็มิใช่ ทุกข์มีอยู่”
“ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดม ย่อมไม่รู้เห็นทุกข์หรือ”
“กัสสปะ เราไม่รู้เห็นทุกข์ก็มิใช่ เรานี่แหละที่รู้เห็นทุกข์โดยแท้”
“เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ท่านพระโคดม ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองหรือ
ท่านตรัสว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสปะ’
เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ท่านพระโคดม ทุกข์เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้หรือ’
ท่านตรัสว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสปะ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๗. อเจลกัสสปสูตร
เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ท่านพระโคดม ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วย และ
คนอื่นกระทำให้ด้วยหรือ’
ท่านตรัสว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสปะ’
เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ท่านพระโคดม ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตน
กระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หรือ’
ท่านตรัสว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสปะ’
เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ท่านพระโคดม ทุกข์ไม่มีหรือ’
ท่านตรัสว่า ‘กัสสปะ ทุกข์ไม่มีก็มิใช่ ทุกข์มีอยู่’
เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดม ย่อมไม่รู้เห็นทุกข์หรือ’
ท่านตรัสว่า ‘กัสสปะ เราไม่รู้เห็นทุกข์ก็มิใช่ เรานี่แหละที่รู้เห็นทุกข์โดยแท้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดตรัสบอกทุกข์แก่ข้าพเจ้า
ด้วยเถิด ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงทุกข์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด”
“กัสสปะ เมื่อเบื้องต้นมี(วาทะ)ว่า ‘ผู้นั้นกระทำ ผู้นั้นเสวย(ทุกข์)’ ต่อมา
มีวาทะว่า ‘ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง’ อันนั้นเป็นสัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง)
เมื่อมีผู้ถูกเวทนาเสียดแทง เบื้องต้นว่า ‘คนอื่นกระทำ คนอื่นเป็นผู้เสวย(ทุกข์)’
ต่อมามีวาทะว่า ‘ทุกข์คนอื่นกระทำให้’ อันนั้นเป็นอุจเฉททิฏฐิ(ความเห็นว่าขาดสูญ)
ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า ‘เพราะอวิชชา
เป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ความ
เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชานั้นดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปะได้กราบทูลว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้ง
โดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ ฯลฯ ด้วยตั้งใจว่า ‘คนตาดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๗. อเจลกัสสปสูตร
จักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็น
สรณะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของ
พระผู้มีพระภาค”
“กัสสปะ ผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ ประสงค์จะบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้
จะต้องอยู่ปริวาส๑ ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนสิ้นสุดการอยู่ปริวาสแล้ว เมื่อภิกษุ
พอใจก็จะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ อนึ่ง ในเรื่องนี้เราคำนึงถึงความแตกต่างระหว่าง
บุคคลด้วย”
เขากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ ประสงค์
จะบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือน
สิ้นสุดการอยู่ปริวาสแล้ว เมื่อภิกษุพอใจก็จะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ ข้าพระองค์
จักขออยู่ปริวาส ๔ ปี หลังจาก ๔ ปีสิ้นสุดการอยู่ปริวาสแล้ว เมื่อภิกษุพอใจก็จะ
ให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ”
อเจลกัสสปะได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคแล้ว เมื่อบวชแล้ว
ไม่นาน หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ไม่นานนัก ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๒ อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์๓ที่
เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ อนึ่ง ท่านกัสสปะได้เป็นพระ-
อรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
อเจลกัสสปสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๘. ติมพรุกขสูตร

๘. ติมพรุกขสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อติมพรุกขะ
[๑๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อติมพรุกขะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองหรือ”
“อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ”
“ท่านพระโคดม สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้หรือ”
“อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ”
“ท่านพระโคดม สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่น
กระทำให้ด้วยหรือ”
“อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ”
“ท่านพระโคดม สุขและทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และ
คนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หรือ”
“อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ”
“ท่านพระโคดม สุขและทุกข์ไม่มีหรือ”
“ติมพรุกขะ สุขและทุกข์ไม่มีก็มิใช่ สุขและทุกข์มีอยู่”
“ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดม ย่อมไม่รู้เห็นสุขและทุกข์หรือ”
“ติมพรุกขะ เราไม่รู้เห็นสุขและทุกข์ก็มิใช่ เรานี่แหละที่รู้เห็นสุขและทุกข์โดยแท้”
“เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ท่านพระโคดม สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองหรือ’
ท่านตรัสว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ’
เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ท่านพระโคดม สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้หรือ’
ท่านตรัสว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ’
เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ท่านพระโคดม สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วย
และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วยหรือ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๘. ติมพรุกขสูตร
ท่านตรัสว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ’
เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ท่านพระโคดม สุขและทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่
ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หรือ’
ท่านตรัสว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ’
เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ท่านพระโคดม สุขและทุกข์ไม่มีหรือ’
ท่านตรัสว่า ‘ติมพรุกขะ สุขและทุกข์ไม่มีก็มิใช่ สุขและทุกข์มีอยู่’
เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดม ย่อมไม่รู้เห็นสุขและทุกข์หรือ’
ท่านตรัสว่า ‘ติมพรุกขะ เราไม่รู้เห็นสุขและทุกข์ก็มิใช่ เรานี่แหละที่รู้เห็นสุข
และทุกข์โดยแท้’
ขอท่านพระโคดมโปรดตรัสบอกสุขและทุกข์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ขอท่านพระโคดม
โปรดแสดงสุขและทุกข์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด”
“เมื่อเบื้องต้นมีวาทะว่า ‘นั้นเวทนา ผู้นั้นเสวยเวทนา’ แต่เราไม่กล่าว
อย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง’ เมื่อบุคคลถูกเวทนาเสียดแทงว่า
‘เวทนาเป็นอย่างหนึ่ง บุคคลผู้เสวยเวทนาก็อย่างหนึ่ง’ ทั้งเราไม่กล่าวอย่างนี้ว่า
‘สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้’ ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้ ย่อม
แสดงธรรมโดยสายกลางว่า ‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วย
ประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ติมพรุกขปริพาชกได้กราบทูลว่า ‘ท่าน
พระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดม พระภาษิต
ของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่าน
พระโคดมพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำ
ข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต’
ติมพรุกขสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๙. พาลปัณฑิตสูตร

๙. พาลปัณฑิตสูตร
ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต
[๑๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย กายของคนพาลนี้ ผู้ถูกอวิชชาขวางกั้น ประกอบด้วยตัณหา
เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ กายและนามรูปภายนอกนี้๑ มีอยู่ทั้ง ๒ ส่วนอย่างนี้ เพราะ
อาศัยส่วนทั้ง ๒ นั้น ผัสสะจึงมี คนพาลถูกผัสสายตนะ ๖ หรืออายตนะอย่างใด
อย่างหนึ่งกระทบเข้า จึงเสวยสุขและทุกข์
กายของบัณฑิตนี้ ผู้ถูกอวิชชาขวางกั้น ประกอบด้วยตัณหา เกิดขึ้นแล้ว
อย่างนี้ กายและนามรูปภายนอกนี้ มีอยู่ทั้ง ๒ ส่วนอย่างนี้ เพราะอาศัยส่วน
ทั้ง ๒ นั้น ผัสสะจึงมี บัณฑิตถูกผัสสายตนะ ๖ หรืออายตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง
กระทบเข้า จึงเสวยสุขและทุกข์
ในชน ๒ จำพวกนั้น มีอะไรเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน
เป็นเหตุทำให้ต่างกัน ระหว่างบัณฑิตกับคนพาล
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก
มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ขอประทานวโรกาส เฉพาะ
พระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้
ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้”
“ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๙. พาลปัณฑิตสูตร
“กายของคนพาลนี้ ผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว และประกอบด้วยตัณหาใด
เกิดขึ้นแล้ว อวิชชานั้นแหละคนพาลยังละไม่ได้ และตัณหานั้นก็ยังไม่สิ้นไป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะคนพาลไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เพราะฉะนั้น
เมื่อตายไป คนพาลจึงเข้าถึงกาย๑ เมื่อยังมีการเข้าถึงกาย เขาจึงไม่พ้นไปจากชาติ
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราจึงกล่าวว่า ‘เขาไม่พ้น
จากทุกข์”
กายของบัณฑิต๒นี้ ผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว และประกอบด้วยตัณหาใด
เกิดขึ้นแล้ว อวิชชานั้นแหละบัณฑิตละได้แล้ว และตัณหานั้นก็หมดสิ้นไปแล้ว
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบัณฑิตได้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เพราะฉะนั้น
เมื่อตายไป บัณฑิตจึงไม่เข้าถึงกาย เมื่อไม่เข้าถึงกาย เขาจึงพ้นจากชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราจึงกล่าวว่า ‘เขาพ้นจากทุกข์’
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความแปลกกัน นี้เป็นความแตกต่างกัน นี้เป็นเหตุทำให้
ต่างกัน ระหว่างบัณฑิตกับคนพาล กล่าวคือการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์”
พาลปัณฑิตสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๑๐. ปัจจยสูตร

๑๐. ปัจจยสูตร
ว่าด้วยปัจจัย
[๒๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิจจสมุปบาท และปฏิจจสมุปปันนธรรมแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไร
คือ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี ตถาคตเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิดขึ้น
ก็ตาม ธาตุอันนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ความ
ที่มีสิ่งนี้เป็นปัจจัยของสิ่งนี้ ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้น ตถาคตรู้ บรรลุธาตุนั้น ครั้นรู้
บรรลุแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย และกล่าวว่า
‘เธอทั้งหลายจงดูเถิด’
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี ฯลฯ
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ...
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ...
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ...
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ...
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ...
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ...
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ...
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ...
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ...
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ตถาคตเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิดขึ้นก็ตาม
ธาตุอันนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ความที่มีสิ่งนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๑๐. ปัจจยสูตร
เป็นปัจจัยของสิ่งนี้ ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้น ตถาคตรู้ บรรลุธาตุนั้น ครั้นรู้ บรรลุแล้ว
จึงบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย และกล่าวว่า ‘เธอ
ทั้งหลายจงดูเถิด’ ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี
ในกระบวนการนี้ ตถตา (ความเป็นอย่างนั้น) อวิตถตา (ความไม่คลาดเคลื่อน)
อนัญญถตา (ความไม่เป็นอย่างอื่น) อิทัปปัจจยตา (ความที่มีสิ่งนี้เป็นปัจจัยของสิ่งนี้)
ดังพรรณนามาฉะนี้แล
นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปปันนธรรม เป็นอย่างไร
คือ ชราและมรณะเป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น มีความสิ้นไป มีความเสื่อมไป มีความคลายไป มีความดับไปเป็นธรรมดา
ชาติเป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความ
สิ้นไป มีความเสื่อมไป มีความคลายไป มีความดับไปเป็นธรรมดา
ภพเป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความ
สิ้นไป มีความเสื่อมไป มีความคลายไป มีความดับไปเป็นธรรมดา
อุปาทาน ฯลฯ ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ
... สังขารทั้งหลาย ...
อวิชชาเป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความ
สิ้นไป มีความเสื่อมไป มีความคลายไป มีความดับไปเป็นธรรมดา
นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม
เมื่อใดอริยสาวก๑เห็นปฏิจจสมุปบาท และปฏิจจสมุปปันนธรรมเหล่านี้ด้วยดี
ด้วยปัญญาอันชอบ๒ตามความเป็นจริง เมื่อนั้นอริยสาวกนั้น จักเข้าถึงที่สุดเบื้องต้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ว่า ‘ในอดีตเราได้มีแล้วหรือ ในอดีตเราไม่ได้มีหรือหนอ ในอดีตเราได้เป็นอะไรหนอ
ในอดีตเราได้เป็นอย่างไรหนอ ในอดีตเราเป็นอะไร จึงได้เกิดเป็นอะไรอีก’ หรือว่า
จักเข้าถึงที่สุดเบื้องปลายว่า ‘ในอนาคต เราจักมีหรือ ในอนาคตเราจักไม่มีหรือ
ในอนาคตเราจักเป็นอย่างไรหนอ ในอนาคตเราจักเป็นอะไร จึงจักเกิดเป็นอะไรอีก’
หรือจักมีความสงสัยในปัจจุบันอันเป็นไปในภายใน ณ บัดนี้ว่า ‘เรามีหรือหนอ
เราไม่มีหรือหนอ เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้มาจากไหนหนอ
เขาจักเป็นผู้ไปที่ไหนหนอ’ ข้อนี้เป็นไปไม่ได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอริยสาวกเห็นปฏิจจสมุปบาทและปฏิจจสมุปปันนธรรมเหล่านี้ด้วยดี
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง”
ปัจจยสูตรที่ ๑๐ จบ
อาหารวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาหารสูตร ๒. โมลิยผัคคุนสูตร
๓. สมณพราหมณสูตร ๔. ทุติยสมณพราหมณสูตร
๕. กัจจานโคตตสูตร ๖. ธัมมกถิกสูตร
๗. อเจลกัสสปสูตร ๘. ติมพรุกขสูตร
๙. พาลปัณฑิตสูตร ๑๐. ปัจจยสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๑. ทสพลสูตร

๓. ทสพลวรรค
หมวดว่าด้วยทสพลญาณ

๑. ทสพลสูตร
ว่าด้วยทสพลญาณ
[๒๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยทสพลญาณ๑ และจตุเวสารัชชญาณ๒ จึงยืนยัน
ฐานะที่องอาจ๓ บันลือสีหนาท๔ในบริษัท๕ทั้งหลาย ประกาศพรหมจักร๖ให้เป็นไปว่า
“รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๒. ทุติยทสพลสูตร
เวทนาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งเวทนา
เป็นอย่างนี้
สัญญาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสัญญา
เป็นอย่างนี้
สังขารเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสังขาร
เป็นอย่างนี้
วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง
วิญญาณเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้
จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับไป คือ เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”
ทสพลสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยทสพลสูตร
ว่าด้วยทสพลญาณ สูตรที่ ๒
[๒๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยทสพลญาณ และจตุเวสารัชชญาณ
จึงยืนยันฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ในบริษัททั้งหลาย ประกาศพรหมจักรให้เป็นไปว่า
‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้
เวทนาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งเวทนา
เป็นอย่างนี้
สัญญาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสัญญา
เป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๒. ทุติยทสพลสูตร
สังขารเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสังขารเป็น
อย่างนี้
วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง
วิญญาณเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้
จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับไป คือ เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้ว เป็นธรรมเข้าใจง่าย เปิดเผย ประกาศ
ไว้แล้ว เป็นดุจผืนผ้าเก่าที่ตัดไว้แล้วอย่างนี้ กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา สมควรแท้เพื่อ
ปรารภความเพียรในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้ว เป็นธรรมเข้าใจง่าย เปิดเผย ประกาศ
ไว้แล้ว เป็นดุจผืนผ้าเก่าที่ตัดไว้แล้วอย่างนี้ว่า ‘เนื้อและเลือดในร่างกายจงเหือดแห้งไป
จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูกก็ตามที ผลใดพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ
ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ (ถ้า)ไม่บรรลุผลนั้น ก็จักไม่
หยุดความเพียรของบุรุษ’
บุคคลผู้เกียจคร้าน เกลื่อนกล่นไปด้วยบาปอกุศลธรรมทั้งหลายย่อมอยู่เป็นทุกข์
และทำประโยชน์ของตนที่ยิ่งใหญ่ให้เสื่อมเสียไป ส่วนบุคคลผู้ปรารภความเพียร ผู้สงัด
จากบาปอกุศลธรรมทั้งหลายย่อมอยู่เป็นสุข และทำประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ของตนให้
บริบูรณ์ได้ การบรรลุธรรมที่เลิศด้วยธรรมอันเลว หามีไม่ แต่การบรรลุธรรมที่
เลิศด้วยธรรมอันเลิศ ย่อมมีได้ พรหมจรรย์นี้ ผ่องใสและน่าดื่ม พระศาสดาก็ยังอยู่
เฉพาะหน้า เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้งโดยตั้งใจว่า ‘บรรพชา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๓. อุปนิสสูตร
ของเราทั้งหลายนี้ เป็นของไม่ต่ำทราม ไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร จักมีแก่เรา
ทั้งหลาย เราทั้งหลายบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช-
บริขารของชนเหล่าใด สักการะของชนเหล่านั้น จักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เพราะ
เราทั้งหลาย’ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกดังพรรณนามาฉะนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พิจารณาเห็นประโยชน์ของตน สมควรแท้ เพื่อที่จะ
ทำกิจของตนให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท หรือว่าบุคคลผู้พิจารณาเห็นประโยชน์
ของผู้อื่น สมควรแท้ เพื่อที่จะทำกิจของผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท หรือ
บุคคลผู้พิจารณาเห็นประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย สมควรแท้ที่จะทำกิจของทั้ง ๒ ฝ่าย
ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท”
ทุติยทสพลสูตรที่ ๒ จบ

๓. อุปนิสสูตร
ว่าด้วยธรรมที่อาศัยกัน
[๒๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อรู้เห็น จึงกล่าวถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เราเมื่อไม่รู้เห็น จึงไม่กล่าวถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เมื่อรู้เห็นอะไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายจึงมี คือ เมื่อเรารู้เห็นอย่างนี้ว่า
‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้
เวทนาเป็นอย่างนี้ ฯลฯ
สัญญาเป็นอย่างนี้ ฯลฯ
สังขารเป็นอย่างนี้ ฯลฯ
วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง
วิญญาณเป็นอย่างนี้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๓. อุปนิสสูตร
เราเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แล ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายจึงมี
เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไป๑ มีอยู่ ขยญาณ(ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป) แม้ใด ย่อมมี
เรากล่าวว่าขยญาณแม้นั้นมีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งขยญาณ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘วิมุตติ‘๒
เรากล่าวว่าแม้วิมุตติก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งวิมุตติ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘วิราคะ‘๓
เรากล่าวว่าแม้วิราคะก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งวิราคะ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘นิพพิทา‘๔
เรากล่าวว่าแม้นิพพิทาก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่
อาศัยแห่งนิพพิทา สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ยถาภูตญาณทัสสนะ‘๕
เรากล่าวว่าแม้ยถาภูตญาณทัสสนะก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไร
เล่าเป็นที่อาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘สมาธิ’
เรากล่าวว่าแม้สมาธิก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งสมาธิ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘สุข’
เรากล่าวว่าแม้สุขก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งสุข สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ปัสสัทธิ‘๖
เรากล่าวว่าแม้ปัสสัทธิก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่
อาศัยแห่งปัสสัทธิ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ปีติ’

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๓. อุปนิสสูตร
เรากล่าวว่าแม้ปีติก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งปีติ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ปราโมทย์’
เรากล่าวว่าแม้ปราโมทย์ก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่
อาศัยแห่งปราโมทย์ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ศรัทธา’
เรากล่าวว่าแม้ศรัทธาก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่
อาศัยแห่งศรัทธา สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ทุกข์’
เรากล่าวว่าแม้ทุกข์ก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งทุกข์ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ชาติ’
เรากล่าวว่าแม้ชาติก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งชาติ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ภพ’
เรากล่าวว่าแม้ภพก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งภพ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘อุปาทาน’
เรากล่าวว่าแม้อุปาทานก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่
อาศัยแห่งอุปาทาน สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ตัณหา’
เรากล่าวว่าแม้ตัณหาก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่
อาศัยแห่งตัณหา สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘เวทนา’ ฯลฯ
สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ผัสสะ’ ... สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘สฬายตนะ’ ... สิ่งนั้นควร
เรียกว่า ‘นามรูป’ ... สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘วิญญาณ’ ... สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘สังขาร
ทั้งหลาย’
เรากล่าวว่าแม้สังขารทั้งหลายก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่า
เป็นที่อาศัยแห่งสังขารทั้งหลาย สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘อวิชชา’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้ สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อาศัย วิญญาณมี
สังขารเป็นที่อาศัย นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อาศัย สฬายตนะมีนามรูปเป็นที่อาศัย
ผัสสะมีสฬายตนะเป็นที่อาศัย เวทนามีผัสสะเป็นที่อาศัย ตัณหามีเวทนาเป็นที่อาศัย
อุปาทานมีตัณหาเป็นที่อาศัย ภพมีอุปาทานเป็นที่อาศัย ชาติมีภพเป็นที่อาศัย ทุกข์
มีชาติเป็นที่อาศัย ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อาศัย ปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อาศัย ปีติมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๔. อัญญติตถิยสูตร
ปราโมทย์เป็นที่อาศัย ปัสสัทธิมีปีติเป็นที่อาศัย สุขมีปัสสัทธิเป็นที่อาศัย สมาธิ
มีสุขเป็นที่อาศัย ยถาภูตญาณทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อาศัย นิพพิทามียถาภูต-
ญาณทัสสนะเป็นที่อาศัย วิราคะมีนิพพิทาเป็นที่อาศัย วิมุตติมีวิราคะเป็นที่อาศัย
ขยญาณมีวิมุตติเป็นที่อาศัย
เมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกบนยอดภูเขา น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ทำให้ซอกเขา ลำธาร
และห้วยเต็มเปี่ยม ซอกเขา ลำธารและห้วยทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว ทำหนองน้ำให้เต็ม
หนองน้ำเต็มเปี่ยมแล้ว ทำบึงให้เต็ม บึงเต็มแล้ว ทำแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อย
เต็มแล้ว ทำแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่เต็มแล้ว ก็ทำมหาสมุทรให้เต็ม แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อาศัย วิญญาณมีสังขารเป็นที่
อาศัย นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อาศัย สฬายตนะมีนามรูปเป็นที่อาศัย ผัสสะมี
สฬายตนะเป็นที่อาศัย เวทนามีผัสสะเป็นที่อาศัย ตัณหามีเวทนาเป็นที่อาศัย
อุปาทานมีตัณหาเป็นที่อาศัย ภพมีอุปาทานเป็นที่อาศัย ชาติมีภพเป็นที่อาศัย ทุกข์
มีชาติเป็นที่อาศัย ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อาศัย ปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อาศัย ปีติมี
ปราโมทย์เป็นที่อาศัย ปัสสัทธิมีปีติเป็นที่อาศัย สุขมีปัสสัทธิเป็นที่อาศัย สมาธิมีสุข
เป็นที่อาศัย ยถาภูตญาณทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อาศัย นิพพิทามียถาภูตญาณทัสสนะ
เป็นที่อาศัย วิราคะมีนิพพิทาเป็นที่อาศัย วิมุตติมีวิราคะเป็นที่อาศัย ขยญาณมี
วิมุตติเป็นที่อาศัย ฉันนั้นเหมือนกัน
อุปนิสสูตรที่ ๓ จบ

๔. อัญญติตถิยสูตร
ว่าด้วยอัญเดียรถีย์
[๒๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ... เขตกรุงราชคฤห์
ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ได้มีความคิดดังนี้ว่า “การเที่ยวไปบิณฑบาตยังกรุง
ราชคฤห์ยังเช้านัก ทางที่ดี เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด”
ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับพวกอัญเดียรถีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๔. อัญญติตถิยสูตร
ปริพาชกนั้น แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกนั้น ได้กล่าวกับท่าน
พระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านพระสารีบุตร มีสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์
เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง อนึ่ง สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์
เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์
เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย อนึ่ง สมณพราหมณ์
ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่
และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่
ท่านพระสารีบุตร ก็ในวาทะเหล่านี้ พระสมณโคดมตรัสไว้อย่างไร ตรัสบอก
ไว้อย่างไร และพวกข้าพเจ้าจะตอบอย่างไร จึงจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระสมณโคดม
ตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระสมณโคดมด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล
ทั้งไม่มีการคล้อยตามคำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
“ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘ทุกข์เป็นสภาวะที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
อาศัยปัจจัยอะไร คืออาศัยผัสสะ บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำเช่นนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้พูดตรงตาม
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้
อย่างสมเหตุสมผลทั้งไม่มีการคล้อยตามคำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้
ท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง ๔ นั้น ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ
บัญญัติว่า เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ทุกข์ที่พวกสมณ-
พราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เป็นสิ่งที่ตนกระทำ
เองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ทุกข์ที่
พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเอง
ก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง ๔ นั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่าย
กรรมวาทะบัญญัติว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ
เป็นไปไม่ได้เลยที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่คนอื่น
กระทำให้ จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ เป็นไปไม่ได้เลยที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๔. อัญญติตถิยสูตร
กรรมวาทะบัญญัติว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้
ด้วย จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ เป็นไปไม่ได้เลยที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ
บัญญัติว่า ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็
มิใช่ จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ”
ท่านพระอานนท์ได้ฟังท่านพระสารีบุตรสนทนาปราศรัยกับพวกอัญเดียรถีย์
ปริพาชกเหล่านั้น ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์
กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว ได้กราบทูลคำสนทนา
ทั้งหมดของท่านพระสารีบุตรกับพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อานนท์ ตามที่สารีบุตรพยากรณ์นั้น
ชื่อว่าพึงพยากรณ์โดยชอบ เรากล่าวว่า ทุกข์เป็นสภาวะที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น อาศัย
ปัจจัยอะไร คืออาศัยผัสสะ บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำเช่นนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้พูดตรง
ตามที่เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล
ทั้งไม่มีการคล้อยตามคำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้
ในวาทะทั้ง ๔ นั้น ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เป็น
สิ่งที่ตนกระทำเอง ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์
ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่น
กระทำให้ก็มิใช่ ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ในวาทะทั้ง ๔ นั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ
บัญญัติว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ ฯลฯ เป็นไป
ไม่ได้ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่
ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ
สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่เวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์นี้แหละ
ครั้นในเวลาเช้า เราครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุง
ราชคฤห์ อานนท์ เราได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘การเที่ยวไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์
ยังเช้านัก ทางที่ดี เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๔. อัญญติตถิยสูตร
ครั้งนั้น เราได้เข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก แล้วนั่ง ณ ที่
สมควร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวคำนี้กับเราว่า
“ท่านพระโคดม สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์เป็น
สิ่งที่ตนกระทำเอง อนึ่ง สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์เป็น
สิ่งที่คนอื่นกระทำให้ สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์เป็น
สิ่งที่ตนกระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย อนึ่ง สมณพราหมณ์ฝ่าย
กรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่
และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่
ก็ในวาทะเหล่านี้ ท่านพระโคดมตรัสไว้อย่างไร ตรัสบอกไว้อย่างไร และพวก
ข้าพเจ้าจะตอบว่าอย่างไร จึงจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระโคดมตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่
ท่านพระโคดมด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ทั้งไม่มีการคล้อยตาม
คำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
อานนท์ เมื่ออัญเดียรถีย์ปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวว่า ‘ท่าน
ทั้งหลาย เรากล่าวว่า ทุกข์เป็นสภาวะที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น อาศัยปัจจัยอะไร คือ
อาศัยผัสสะ บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำเช่นนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้พูดตรงตามที่เรากล่าวไว้
ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ทั้งไม่มีการคล้อยตาม
คำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้’
ท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง ๔ นั้น ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรม-
วาทะบัญญัติว่า เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ทุกข์ที่
พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ ก็เกิดขึ้น
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เป็นสิ่ง
ที่ตนกระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัย
เหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็ไม่ใช่ ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๔. อัญญติตถิยสูตร
ท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง ๔ นั้น เป็นไปไม่ได้ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่าย
กรรมวาทะบัญญัติว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ ฯลฯ
พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ
พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตน
กระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ
“พระพุทธเจ้าข้า น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่เนื้อความทั้งหมด พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้ด้วยบท ๆ เดียว พึงมีหรือ ที่เนื้อความเหมือนอย่างนี้ เมื่อพระองค์
ตรัสโดยพิสดาร จะเป็นเนื้อความที่ลึกซึ้งด้วย จะเป็นกระแสความที่ลึกซึ้งด้วย”
“อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เนื้อความในเรื่องนี้จงปรากฏชัดแก่เธอเองเถิด”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าใคร ๆ พึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์
ชราและมรณะมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็น
แดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ชราและ
มรณะ มีชาติเป็นเหตุ มีชาติเป็นเหตุเกิด มีชาติเป็นกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด’
ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ ตอบอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า’
ถ้าใคร ๆ พึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านพระอานนท์ ชาติมีอะไรเป็นเหตุ
มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้
พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ชาติมีภพเป็นเหตุ มีภพเป็นเหตุเกิด มีภพเป็นกำเนิด
มีภพเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า’
‘ถ้าใคร ๆ พึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ภพมีอะไรเป็นเหตุ
มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้
พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ภพมีอุปาทานเป็นเหตุ มีอุปาทานเป็นเหตุเกิด
มีอุปาทานเป็นกำเนิด มีอุปาทานเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบ
อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า’
ถ้าใคร ๆ พึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ อุปาทาน ฯลฯ ตัณหา
ฯลฯ เวทนา ฯลฯ ผัสสะมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย
ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นเหตุเกิด มีสฬายตนะเป็นกำเนิด มีสฬายตนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๓. ทสพลวรรค ๕. ภูมิชสูตร
เป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ก็เพราะ
ผัสสายตนะทั้ง ๖ นั้น ดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนา
จึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วย
ประการฉะนี้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบดังกล่าวมานี้แล”
อัญญติตถิยสูตรที่ ๔ จบ

๕. ภูมิชสูตร
ว่าด้วยพระภูมิชะ
[๒๕] พระผู้มีภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระภูมิชะออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระ-
สารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับท่าน
พระสารีบุตรแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว ท่านพระภูมิชะได้ถามท่านพระสารีบุตร
ดังนี้ว่า
“ท่านพระสารีบุตร สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า สุขและ
ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง
สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่คนอื่น
กระทำให้
สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ตน
กระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย
สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๓. ทสพลวรรค ๕. ภูมิชสูตร
ในวาทะเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลาย ตรัสไว้อย่างไร ตรัสบอกไว้
อย่างไร และเราทั้งหลายจะตอบอย่างไร จึงจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล
ทั้งไม่มีการคล้อยตามคำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
“ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สุขและทุกข์เป็นสภาวะที่อาศัยปัจจัย
เกิดขึ้น อาศัยปัจจัยอะไร คืออาศัยผัสสะ บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำเช่นนี้ จึงชื่อว่าเป็น
ผู้พูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ
ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ทั้งไม่มีการคล้อยตามคำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูก
ตำหนิได้
ในวาทะทั้ง ๔ นั้น สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า
เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์
ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ สุข
และทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่
ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ในวาทะทั้ง ๔ นั้น เป็นไปไม่ได้ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า
สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง จะเสวยสุขและทุกข์เว้นจากผัสสะ เป็นไปไม่ได้ที่
พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ เป็นไปไม่ได้ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่าย
กรรมวาทะบัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และ
คนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ จะเสวยสุขและทุกข์เว้นจากผัสสะ”
ท่านพระอานนท์ได้ฟังการสนทนาปราศรัยของท่านพระสารีบุตรกับท่าน
พระภูมิชะแล้ว ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว ได้กราบทูลคำสนทนาทั้งหมดของ
ท่านพระสารีบุตรกับท่านพระภูมิชะแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อานนท์ ตามที่สารีบุตรพยากรณ์นั้นชื่อว่า
พึงพยากรณ์โดยชอบ เรากล่าวว่า สุขและทุกข์เป็นสภาวะที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น อาศัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๓. ทสพลวรรค ๕. ภูมิชสูตร
ปัจจัยอะไร คืออาศัยผัสสะ บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำเช่นนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้พูดตรงตามที่
เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ทั้งไม่มี
การคล้อยตามคำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้
ในวาทะทั้ง ๔ นั้น สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า
เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ
ฯลฯ สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่าย
กรรมวาทะบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ ที่คนอื่นกระทำให้
ก็มิใช่นั้น ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ในวาทะทั้ง ๔ นั้น เป็นไปไม่ได้ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า
สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง จะเสวยสุขและทุกข์เว้นจากผัสสะ สมณพราหมณ์
ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ สมณพราหมณ์ฝ่าย
กรรมวาทะบัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และ
คนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ จะเสวยสุขและทุกข์เว้นจากผัสสะ
เมื่อกายมีอยู่ สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายใน จึงเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางกาย
เป็นเหตุ หรือว่าเมื่อวาจามีอยู่ สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายใน จึงเกิดขึ้น เพราะความ
จงใจทางวาจาเป็นเหตุ หรือว่าเมื่อใจมีอยู่ สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายใน จึงเกิดขึ้น
เพราะความจงใจทางใจเป็นเหตุ และเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยด้วย
บุคคลปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายในเกิด
ขึ้นด้วยตนเองบ้าง ปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปใน
ภายในเกิดขึ้นเพราะคนอื่นบ้าง บุคคลรู้สึกตัวอยู่ ปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัย
ให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายในเกิดขึ้นบ้าง ไม่รู้สึกตัวอยู่ ปรุงแต่งกายสังขาร
ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลปรุงแต่งวจีสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายในเกิดขึ้น
ด้วยตนเองบ้าง ปรุงแต่งวจีสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๖. อุปวาณสูตร
เกิดขึ้นเพราะคนอื่นบ้าง บุคคลรู้สึกตัวอยู่ ฯลฯ บ้าง ไม่รู้สึกตัวอยู่ ปรุงแต่งวจี-
สังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลปรุงแต่งมโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายในเกิดขึ้น
ด้วยตนเองบ้าง ปรุงแต่งมโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายใน
เกิดขึ้นเพราะคนอื่นบ้าง บุคคลรู้สึกตัวอยู่ ฯลฯ บ้าง ไม่รู้สึกตัวอยู่ ปรุงแต่งมโน-
สังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายในเกิดขึ้นบ้าง
อานนท์ อวิชชาแทรกอยู่แล้วในธรรมเหล่านี้ เพราะอวิชชานั้นแหละดับไปไม่
เหลือด้วยวิราคะ กายซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายในเกิดขึ้นนั้น จึงไม่มี
วาจาซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายในเกิดขึ้นนั้น จึงไม่มี มโนซึ่งเป็น
ปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายในเกิดขึ้นนั้น จึงไม่มี เขตไม่มี ฯลฯ วัตถุไม่มี
ฯลฯ อายตนะไม่มี ฯลฯ หรืออธิกรณ์ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายใน
เกิดขึ้นนั้น ไม่มี”
ภูมิชสูตรที่ ๕ จบ

๖. อุปวาณสูตร
ว่าด้วยพระอุปวาณะ
[๒๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่ตน
กระทำเอง สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ สมณ-
พราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่น
กระทำให้ด้วย สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุ
ที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๗. ปัจจยสูตร
ในวาทะเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างไร ตรัสบอกไว้อย่างไร และข้าพระองค์
ทั้งหลายจะตอบอย่างไร จึงจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่า
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ทั้งไม่มีการ
คล้อยตามคำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
“อุปวาณะ เรากล่าวว่าทุกข์เป็นสภาวะที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น อาศัยปัจจัย อะไร
คือ อาศัยผัสสะ บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำเช่นนี้ จึงชื่อว่าพูดตรงตามที่เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่า
กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ทั้งไม่มีการคล้อยตาม
คำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้
ในวาทะทั้ง ๔ นั้น ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์บัญญัติว่า เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง
ก็เกิดขึ้น เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ ฯลฯ ทุกข์ที่พวก
สมณพราหมณ์ ฯลฯ ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์เหล่านั้นบัญญัติว่าเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย
อุปวาณะ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น เป็นไปไม่ได้ที่สมณพราหมณ์บัญญัติว่า ทุกข์เป็น
สิ่งที่ตนกระทำเอง จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ ฯลฯ เป็นไปไม่ได้ที่สมณพราหมณ์ ฯลฯ
เป็นไปไม่ได้ที่สมณพราหมณ์ ฯลฯ เป็นไปไม่ได้ที่สมณพราหมณ์บัญญัติว่า ทุกข์เกิดขึ้น
เพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ จะเสวยทุกข์เว้น
จากผัสสะ”
อุปวาณสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปัจจยสูตร
ว่าด้วยปัจจัย
[๒๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๗. ปัจจยสูตร
ชราและมรณะ เป็นอย่างไร
คือ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมี
หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่า
สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา
ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทำลายไป ความหายไป ความตายกล่าวคือ
มฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดแห่ง
ชีวิตินทรีย์ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ
ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ นี้เรียกว่า ชราและมรณะ
เพราะชาติเกิด ชราและมรณะจึงเกิด เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (วาจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

ชื่อว่าปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ
ชาติเป็นอย่างไร ฯลฯ ภพเป็นอย่างไร ... อุปาทานเป็นอย่างไร ... ตัณหาเป็น
อย่างไร ... เวทนาเป็นอย่างไร ... ผัสสะเป็นอย่างไร ... สฬายตนะเป็นอย่างไร ...
นามรูปเป็นอย่างไร ... วิญญาณเป็นอย่างไร
สังขารทั้งหลาย มีเท่าไร
สังขารมี ๓ ประการนี้ คือ
๑. กายสังขาร (สภาวะที่ปรุงแต่งกาย)
๒. วจีสังขาร (สภาวะที่ปรุงแต่งวาจา)
๓. จิตตสังขาร (สภาวะที่ปรุงแต่งใจ)
นี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๓. ทสพลวรรค ๘. ภิกขุสูตร
เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ชื่อว่าปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดปัจจัยอย่างนี้ รู้ชัดความเกิดแห่งปัจจัย
อย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งปัจจัยอย่างนี้ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งปัจจัย
อย่างนี้
เมื่อนั้นอริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ๑บ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วย
ทัศนะบ้าง ผู้ถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณอันเป็นเสขะบ้าง
ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสขะบ้าง บรรลุกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะผู้มี
ปัญญาเพิกถอนกิเลสบ้าง ดำรงอยู่ใกล้ประตูอมตนิพพานบ้าง”
ปัจจยสูตรที่ ๗ จบ

๘. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ
[๒๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้ชัดชราและมรณะ รู้ชัดความเกิดแห่ง
ชราและมรณะ รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
ชราและมรณะ รู้ชัดชาติ ฯลฯ รู้ชัดภพ ... รู้ชัดอุปาทาน ... รู้ชัดตัณหา ... รู้ชัดเวทนา
... รู้ชัดผัสสะ ... รู้ชัดสฬายตนะ ... รู้ชัดนามรูป ... รู้ชัดวิญญาณ ... รู้ชัดสังขารทั้งหลาย
รู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร รู้ชัดความดับแห่งสังขาร รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ
แห่งสังขาร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๓. ทสพลวรรค ๘. ภิกขุสูตร
ชราและมรณะ เป็นอย่างไร
คือ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนัง
เหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่า
สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา
ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทำลายไป ความหายไป ความตายกล่าว
คือมฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดแห่ง
ชีวิตินทรีย์ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ
ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ นี้เรียกว่า ชราและมรณะ
เพราะชาติเกิด ชราและมรณะจึงเกิด เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ชื่อว่าปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ
ชาติเป็นอย่างไร ฯลฯ ภพเป็นอย่างไร ... อุปาทานเป็นอย่างไร ... ตัณหาเป็น
อย่างไร ... เวทนาเป็นอย่างไร ... ผัสสะเป็นอย่างไร ... สฬายตนะเป็นอย่างไร ...
นามรูปเป็นอย่างไร ... วิญญาณเป็นอย่างไร
สังขารทั้งหลาย มีเท่าไร
สังขารมี ๓ ประการนี้ คือ
๑. กายสังขาร
๒. วจีสังขาร
๓. จิตตสังขาร
นี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย
เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ชื่อว่าปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๙. สมณพราหมณสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดความเกิดแห่งชรา
และมรณะอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความ
ดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดชาติอย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดภพ ... อุปาทาน ...
ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ... รู้ชัดสังขาร
ทั้งหลายอย่างนี้ รู้ชัดความเกิดแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งสังขารอย่างนี้
รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้
เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะ
บ้าง ผู้ถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณอันเป็นเสขะบ้าง
ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสขะบ้าง บรรลุกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะผู้
มีปัญญาเพิกถอนกิเลสบ้าง ดำรงอยู่ใกล้ประตูอมตนิพพานบ้าง”
ภิกขุสูตรที่ ๘ จบ

๙. สมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์
[๒๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดชราและมรณะ
ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัด
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัดชาติ ฯลฯ ไม่รู้ชัดภพ ... อุปาทาน
... ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ... ไม่รู้ชัด
สังขารทั้งหลาย ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร ไม่รู้ชัดความดับแห่งสังขาร ไม่รู้ชัด
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่า
เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์ของความ
เป็นสมณะ หรือประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๑๐. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดชราและมรณะ รู้ชัดความเกิด
แห่งชราและมรณะ รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ
แห่งชราและมรณะ รู้ชัดชาติ” ฯลฯ รู้ชัดภพ ... อุปาทาน ... ตัณหา ... เวทนา ...
ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ... รู้ชัดสังขารทั้งหลาย รู้ชัดความเกิด
แห่งสังขาร รู้ชัดความดับแห่งสังขาร รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ
และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้งประโยชน์ของ
ความเป็นสมณะ และประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึง
อยู่ในปัจจุบัน”
สมณพราหมณสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒
[๓๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดชราและมรณะ
ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัด
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักก้าว
ล่วงชราและมรณะ ดำรงอยู่ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดชาติ ฯลฯ ไม่รู้ชัดภพ ...
อุปาทาน ... ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ...
ไม่รู้ชัดสังขารทั้งหลาย ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร ไม่รู้ชัดความดับแห่งสังขาร
ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักก้าวล่วง
สังขารทั้งหลาย ดำรงอยู่ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดชราและมรณะ รู้ชัดความเกิด
แห่งชราและมรณะ รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ
แห่งชราและมรณะ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักก้าวล่วงชราและมรณะ ดำรงอยู่
ข้อนั้นเป็นไปได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๕๗ }

2 ความคิดเห็น :