Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๖-๒ หน้า ๕๘ - ๑๑๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖-๒ สุตตันตปิฎกที่ ๐๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดชาติ ฯลฯ รู้ชัดภพ ... อุปาทาน ...
ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ... รู้ชัดสังขารทั้งหลาย
รู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร รู้ชัดความดับแห่งสังขาร รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
สังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักก้าวล่วงสังขารทั้งหลายดำรงอยู่ ข้อนั้น
เป็นไปได้”
ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๑๐ จบ
ทสพลวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ทสพลสูตร ๒. ทุติยทสพลสูตร
๓. อุปนิสสูตร ๔. อัญญติตถิยสูตร
๕. ภูมิชสูตร ๖. อุปวาณสูตร
๗. ปัจจยสูตร ๘. ภิกขุสูตร
๙. สมณพราหมณสูตร ๑๐. ทุติยสมณพราหมณสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๑. ภูตสูตร

๔. กฬารขัตติยวรรค
หมวดว่าด้วยพระกฬารขัตติยะ

๑. ภูตสูตร
ว่าด้วยภูตะ๑
[๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกท่านพระสารีบุตรมาตรัสว่า ‘สารีบุตร
อชิตมาณพได้กล่าวคาถานี้ไว้ในอชิตปัญหา ปารายนวรรคว่า
พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม๒
และพระเสขะเหล่าใดที่มีอยู่เป็นอันมากในที่นี้
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว
ขอพระองค์ผู้มีปัญญา โปรดตรัสบอกการดำเนินชีวิต
ของพระอรหันตขีณาสพ และพระเสขะเหล่านั้น๓
เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคาถาที่กล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารได้อย่างไร’
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้นิ่งอยู่ พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสกับท่านพระสารีบุตรเป็นครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระสารีบุตรก็ได้นิ่งอยู่
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับท่านพระสารีบุตรเป็นครั้งที่ ๓ ว่า ‘สารีบุตร อชิต-
มาณพ ได้กล่าวคาถานี้ไว้ในอชิตปัญหา ปารายนวรรคว่า
พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม
และพระเสขะเหล่าใดที่มีอยู่เป็นอันมากในที่นี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๑. ภูตสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว
ขอพระองค์ผู้มีปัญญา โปรดตรัสบอกการดำเนินชีวิต
ของพระอรหันตขีณาสพ และพระเสขะเหล่านั้น
เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคาถาที่กล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารได้อย่างไร’
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรก็ยังนิ่งอยู่ถึง ๓ ครั้ง
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “สารีบุตร เธอเห็นหรือว่า นี้คือภูตะ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า
‘นี้คือภูตะ’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด
เพื่อดับภูตะ บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘ภูตะนี้เกิดเพราะ
อาหารนั้น’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด
เพื่อดับภูตะที่เกิดเพราะอาหารนั้น บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริง
ว่า ‘ภูตะใดเกิดแล้ว ภูตะนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น’
ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อดับภูตะ
ซึ่งมีความดับเป็นธรรมดาเพราะอาหารนั้นดับไป
บุคคลชื่อว่าเป็นเสขะด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า
บุคคลชื่อว่ามีสังขาตธรรม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘นี้คือภูตะ’ ครั้นเห็น
อย่างนั้นแล้ว จึงเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับ เพราะไม่
ถือมั่นภูตะ บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘ภูตะนี้เกิดเพราะ
อาหารนั้น’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด
ดับ เพราะไม่ถือมั่นภูตะที่เกิดเพราะอาหารนั้น บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตาม
ความเป็นจริงว่า ‘ภูตะใดเกิดแล้ว ภูตะนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับ
แห่งอาหารนั้น’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย คลาย
กำหนัด ดับ เพราะไม่ถือมั่นภูตะที่มีความดับเป็นธรรมดา บุคคลชื่อว่ามีสังขาตธรรม
เป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๑. ภูตสูตร
คาถานี้อชิตมาณพกล่าวไว้ในอชิตปัญหา ปารายนวรรคว่า
พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม
และพระเสขะเหล่าใดที่มีอยู่เป็นอันมากในที่นี้
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว
ขอพระองค์ผู้มีปัญญา โปรดตรัสบอกการดำเนินชีวิต
ของพระอรหันตขีณาสพ และพระเสขะเหล่านั้น
ข้าพระองค์รู้เนื้อความแห่งคาถาที่กล่าวไว้โดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า
‘นี้คือภูตะ’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด
เพื่อดับภูตะ บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘ภูตะนี้เกิดเพราะ
อาหารนั้น’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด
เพื่อดับภูตะที่เกิดเพราะอาหารนั้น บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริง
ว่า ‘ภูตะใดเกิดแล้ว ภูตะนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น’
ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อดับภูตะที่
มีความดับเป็นธรรมดาเพราะอาหารนั้นดับไป
บุคคลชื่อว่าเป็นเสขะด้วยการปฏิบัติอย่างนี้”
บุคคลชื่อว่ามีสังขาตธรรม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘นี้คือภูตะ’ ครั้นเห็น
อย่างนั้นแล้ว จึงเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับ เพราะไม่
ถือมั่นภูตะ บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘ภูตะนี้เกิดเพราะ
อาหารนั้น’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย คลาย
กำหนัด ดับ เพราะไม่ถือมั่นภูตะที่เกิดเพราะอาหารนั้น บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ
ตามความเป็นจริงว่า ‘ภูตะใดเกิดแล้ว ภูตะนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความ
ดับแห่งอาหารนั้น’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย
คลายกำหนัด ดับ เพราะไม่ถือมั่นภูตะที่มีความดับเป็นธรรมดา
บุคคลชื่อว่ามีสังขาตธรรมเป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๒. กฬารสูตร
คาถานี้อชิตมาณพกล่าวไว้ในอชิตปัญหา ปารายนวรรคว่า
พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม
และพระเสขะเหล่าใดที่มีอยู่เป็นอันมากในที่นี้
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว
ขอพระองค์ผู้มีปัญญา โปรดตรัสบอกการดำเนินชีวิต
ของพระอรหันตขีณาสพ และพระเสขะเหล่านั้น
สารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งคาถาที่กล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้แล”
ภูตสูตรที่ ๑ จบ

๒. กฬารสูตร
ว่าด้วยพระกฬาระ
[๓๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระกฬารขัตติยะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่าน
พระสารีบุตรดังนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร พระโมลิยผัคคุนะได้บอกคืนสิกขา กลับมา
เป็นคฤหัสถ์แล้ว’
“ท่านโมลิยผัคคุนะนั้นคงไม่ได้ความพอใจในพระธรรมวินัยนี้กระมัง”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านสารีบุตรคงได้ความพอใจในพระธรรมวินัยนี้กระมัง”
“ท่านผู้มีอายุ ผมไม่สงสัยเลย”
“ท่านผู้มีอายุ ก็ต่อไปเล่า ท่านไม่สงสัยหรือ”
“ท่านผู้มีอายุ ถึงต่อไปผมก็ไม่ลังเล”
ลำดับนั้น พระกฬารขัตติยะลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๒. กฬารสูตร
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งให้เรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า ‘มาเถิด
ภิกษุ เธอจงไปเรียกสารีบุตรมาตามคำของเราว่า ‘ท่านสารีบุตร พระศาสดารับสั่งให้
ท่านเข้าเฝ้า’ ภิกษุนั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่
แล้วเรียนว่า ‘ท่านสารีบุตร พระศาสดารับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้า’ ท่านพระสารีบุตรรับคำแล้ว
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า ‘สารีบุตร ได้ทราบว่าเธอพยากรณ์อรหัตตผล
ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป จริงหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หาได้กล่าวเนื้อความโดยบท โดยพยัญชนะ
เช่นนี้ไม่”
“สารีบุตร กุลบุตรย่อมพยากรณ์อรหัตตผลโดยปริยาย(โดยอ้อม)อย่างใดอย่างหนึ่ง
เมื่อเป็นเช่นนั้น อรหัตตผลที่เธอพยากรณ์ไปแล้ว บุคคลพึงเห็นตามที่เธอพยากรณ์หรือ”
“แม้ข้าพระองค์ก็ได้กราบทูลไว้อย่างนี้มิใช่หรือว่า ‘ข้าพระองค์หาได้กล่าวเนื้อ
ความโดยบท โดยพยัญชนะเช่นนี้ไม่”
“ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ท่านรู้เห็นอย่างไร จึงพยากรณ์
อรหัตตผลว่า ‘ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึง
พยากรณ์อย่างไร”
“ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ท่านรู้เห็นอย่างไร จึงพยากรณ์
อรหัตตผลว่า ‘ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว
พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ ชาติมีสิ่งใดเป็นเหตุ เมื่อต้นเหตุแห่งชาตินั้น
สิ้นไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงรู้ว่า ‘ข้าพเจ้าเป็นผู้สิ้นแล้ว’ เพราะปัจจัยแห่งชาตินั้นสิ้นไปแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๒. กฬารสูตร
ครั้นรู้ว่า ‘ข้าพเจ้าเป็นผู้สิ้นแล้ว ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เมื่อข้าพระองค์
ถูกถามอย่างนี้ ก็พึงพยากรณ์อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ก็ชาติมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น
เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์
อย่างไร”
“ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ ข้าพระองค์พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘ชาติมีภพ
เป็นเหตุ มีภพเป็นเหตุเกิด มีภพเป็นกำเนิด มีภพเป็นแดนเกิด”
“ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ก็ภพเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น
เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์
อย่างไร”
“ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ ข้าพระองค์พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘ภพมีอุปาทาน
เป็นเหตุ มีอุปาทานเป็นเหตุเกิด มีอุปาทานเป็นกำเนิด มีอุปาทานเป็นแดนเกิด”
“ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ก็อุปาทานเล่า มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ
มีอะไรเป็นแดนเกิด’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร”
“ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร อุปาทานเล่า มีอะไรเป็นเหตุ
ฯลฯ มีอะไรเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘อุปาทาน
มีตัณหาเป็นเหตุ ฯลฯ มีตัณหาเป็นแดนเกิด”
“ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ก็ตัณหาเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึง
พยากรณ์อย่างไร”
“ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ตัณหาเล่ามีอะไรเป็นเหตุ
มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้
พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็น
กำเนิด มีเวทนาเป็นแดนเกิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๒. กฬารสูตร
“ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ก็เวทนาเล่า มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ มี
อะไรเป็นแดนเกิด’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร”
“ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ก็เวทนาเล่ามีอะไรเป็นเหตุ
ฯลฯ มีอะไรเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘เวทนา
มีผัสสะเป็นเหตุ ฯลฯ มีผัสสะเป็นแดนเกิด”
“ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ท่านรู้เห็นอย่างไร ความเพลิดเพลิน
ในเวทนาจึงไม่ปรากฏ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร”
“ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ท่านรู้เห็นอย่างไร ความ
เพลิดเพลินในเวทนาจึงไม่ปรากฏ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า
เวทนามี ๓ ประการ

เวทนา ๓ ประการอะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา
๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เวทนาทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นสภาวะไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายจึงไม่ปรากฏ”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร ตามที่เธอพยากรณ์ความข้อนั้นโดยย่อ ก็ได้ใจความ
ดังนี้ว่า ‘เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งล้วนเป็นทุกข์ทั้งนั้น’
อนึ่ง ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร เพราะความหลุดพ้นเช่นไร
ท่านจึงพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เมื่อถูกถาม
อย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๒. กฬารสูตร
“ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร เพราะความหลุดพ้นเช่นไร
ท่านจึงพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ข้าพระองค์ถูก
ถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘อาสวะทั้งหลายไม่ครอบงำท่านผู้มีสติอยู่อย่างใด
เราก็เป็นผู้มีสติอยู่อย่างนั้น เพราะความหลุดพ้นในภายใน เพราะอุปาทานทั้งปวง
สิ้นไป ทั้งเราก็มิได้ดูหมิ่นตนเองด้วย’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ ข้าพระองค์พึงพยากรณ์
อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร ตามที่เธอพยากรณ์ความข้อนั้นโดยย่อ ก็ได้ใจความ
ดังนี้ว่า ‘อาสวะเหล่าใดอันพระสมณะกล่าวแล้ว ข้าพเจ้าไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง
ในอาสวะเหล่านั้นว่า ‘อาสวะเหล่านั้น ข้าพเจ้าละได้แล้วหรือยัง”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสภาษิตนี้แล้ว ได้เสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับ
เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังพระวิหารได้ไม่นานนัก ท่านพระสารีบุตรได้
กล่าวกับภิกษุทั้งหลายในที่นั้นว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
ถามปัญหาข้อแรกกับผม ซึ่งผมยังไม่เคยรู้มาก่อน ผมจึงทูลตอบปัญหาล่าช้าไป
ต่อเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาปัญหาข้อแรกของผมแล้ว ผมจึงคิดได้ว่า
ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ
ตลอดทั้งวัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ด้วยบทอื่น ๆ
ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งวัน
แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยาย
อื่น ๆ ตลอดทั้งคืน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ด้วยบท
อื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งคืน
แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วย
ปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งคืนทั้งวัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มี
พระภาคได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งคืนทั้งวัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๒. กฬารสูตร
แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผม ตลอด ๒ คืน ๒ วัน
ฯลฯ แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ ตลอด ๒ คืน ๒ วัน
ฯลฯ
แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผม ตลอด ๓ คืน ๓ วัน
... แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ ตลอด ๓ คืน ๓ วัน ...
แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผม ตลอด ๔ คืน ๔ วัน ...
แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ ตลอด ๔ คืน ๔ วัน ...
แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผม ตลอด ๕ คืน
๕ วัน ... แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ ตลอด ๕ คืน
๕ วัน ...
แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผม ตลอด ๖ คืน ๖ วัน ...
แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ ตลอด ๖ คืน ๖ วัน ...
แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยาย
อื่น ๆ ตลอด ๗ คืน ๗ วัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาค
ได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอด ๗ คืน ๗ วัน”
ลำดับนั้น พระกฬารขัตติยะลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ท่านสารีบุตรบันลือสีหนาทว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสถามปัญหาข้อแรกกับผม ซึ่งผมยังไม่เคยรู้มาก่อน ผมจึงทูลตอบ
ปัญหาล่าช้าไป ต่อเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาปัญหาข้อแรกของผมแล้ว
ผมจึงคิดได้ว่า ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผมด้วยบทอื่น ๆ
ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งวัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาค
ได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งวัน
แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผม ตลอดทั้งคืน ฯลฯ
แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผม ตลอดทั้งคืนทั้งวัน ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๓. กฬารสูตร
แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผม ตลอด ๒ คืน ๒ วัน
... ตลอด ๓ คืน ๓ วัน ... ตลอด ๔ คืน ๔ วัน ... ตลอด ๕ คืน ๕ วัน ... ตลอด
๖ คืน ๖ วัน ...
แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วย
ปริยายอื่น ๆ ตลอด ๗ คืน ๗ วัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มี
พระภาคได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอด ๗ คืน ๗ วัน”
“ภิกษุ ก็เพราะธัมมธาตุอันสารีบุตรแทงตลอดดีแล้ว แม้จะถามความข้อนั้น
กับสารีบุตรด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งวัน สารีบุตรก็คงตอบความ
ข้อนั้นแก่เราด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งวัน
แม้ถ้าเราจะถามความข้อนั้นกับสารีบุตรด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอด
ทั้งคืน สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้น ตลอดทั้งคืน ฯลฯ
แม้ถ้าเราจะถามความข้อนั้นกับสารีบุตร ตลอดทั้งคืนทั้งวัน ... สารีบุตรก็คง
ตอบความข้อนั้นแก่เราได้ตลอดทั้งคืนทั้งวัน ...
แม้ถ้าเราจะถามความข้อนั้นกับสารีบุตร ตลอด ๒ คืน ๒ วัน ... สารีบุตรก็คง
ตอบความข้อนั้นแก่เราได้ ตลอด ๒ คืน ๒ วัน ...
แม้ถ้าเราจะถามความข้อนั้นกับสารีบุตรตลอด ๓ คืน ๓ วัน ... สารีบุตรก็คง
ตอบความข้อนั้นแก่เราได้ตลอด ๓ คืน ๓ วัน ...
แม้ถ้าเราจะถามความข้อนั้นกับสารีบุตร ตลอด ๔ คืน ๔ วัน ... สารีบุตรก็คง
ตอบความข้อนั้นแก่เราได้ ตลอด ๔ คืน ๔ วัน ...
แม้ถ้าเราจะถามความข้อนั้นกับสารีบุตร ตลอด ๕ คืน ๕ วัน ... สารีบุตรก็คง
ตอบความข้อนั้นแก่เราได้ ตลอด ๕ คืน ๕ วัน ...
แม้ถ้าเราจะถามความข้อนั้นกับสารีบุตร ตลอด ๖ คืน ๖ วัน ... สารีบุตรก็
คงตอบความข้อนั้นแก่เราได้ ตลอด ๖ คืน ๖ วัน ...
แม้ถ้าเราจะถามความข้อนั้นกับสารีบุตรด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ
ตลอด ๗ คืน ๗ วัน สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้นแก่เราได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วย
ปริยายอื่น ๆ ตลอด ๗ คืน ๗ วัน”
กฬารสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๓. ญาณวัตถุสูตร

๓. ญาณวัตถุสูตร
ว่าด้วยญาณวัตถุ
[๓๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงญาณวัตถุ ๔๔ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ญาณวัตถุ ๔๔ อะไรบ้าง คือ
๑. ความรู้ในชราและมรณะ
๒. ความรู้ในความเกิดแห่งชราและมรณะ
๓. ความรู้ในความดับแห่งชราและมรณะ
๔. ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ
๕. ความรู้ในชาติ
๖. ความรู้ในความเกิดแห่งชาติ
๗. ความรู้ในความดับแห่งชาติ
๘. ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชาติ
๙. ความรู้ในภพ
๑๐. ความรู้ในความเกิดแห่งภพ
๑๑. ความรู้ในความดับแห่งภพ
๑๒. ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งภพ
๑๓. ความรู้ในอุปาทาน
๑๔. ความรู้ในความเกิดแห่งอุปาทาน
๑๕. ความรู้ในความดับแห่งอุปาทาน
๑๖. ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน
๑๗. ความรู้ในตัณหา
๑๘. ความรู้ในความเกิดแห่งตัณหา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๓. ญาณวัตถุสูตร
๑๙. ความรู้ในความดับแห่งตัณหา
๒๐. ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งตัณหา
๒๑. ความรู้ในเวทนา
๒๒. ความรู้ในความเกิดแห่งเวทนา
๒๓. ความรู้ในความดับแห่งเวทนา
๒๔. ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา
๒๕. ความรู้ในผัสสะ ... (๒๖-๒๘)
๒๙. ความรู้ในสฬายตนะ ... (๓๐-๓๒)
๓๓. ความรู้ในนามรูป ... (๓๔-๓๖)
๓๗. ความรู้ในวิญญาณ ... (๓๘-๔๐)
๔๑. ความรู้ในสังขารทั้งหลาย
๔๒. ความรู้ในความเกิดแห่งสังขาร
๔๓. ความรู้ในความดับแห่งสังขาร
๔๔. ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร
เหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๔๔

ชราและมรณะ เป็นอย่างไร
คือ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนัง
เหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่า
สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา
ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทำลายไป ความหายไป ความตายกล่าวคือ
มฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดแห่ง
ชีวิตินทรีย์ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ
ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ นี้เรียกว่า ชราและมรณะ
เพราะชาติเกิด ชราและมรณะจึงเกิด เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๓. ญาณวัตถุสูตร
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ชื่อว่าปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดความเกิด
แห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้
ถึงความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ นี้ชื่อว่าธัมมญาณของอริยสาวกนั้น เมื่อนั้น
อริยสาวกนั้นพิจารณานัยในอดีตและอนาคตด้วยธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้ว
ไม่ประกอบด้วยกาล อันตนได้บรรลุแล้ว อันตนหยั่งรู้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ได้รู้ชราและมรณะ ได้รู้ความเกิด
แห่งชราและมรณะ ได้รู้ความดับแห่งชราและมรณะ ได้รู้ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
ชราและมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น
สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตเหล่าใดเหล่าหนึ่งก็จักรู้ชราและมรณะ จักรู้
ความเกิดแห่งชราและมรณะ จักรู้ความดับชราและมรณะ จักรู้ปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งชราและมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่า
อันวยญาณของอริยสาวกนั้น
ญาณ ๒ ประการนี้ คือ (๑) ธัมมญาณ๑ (๒) อันวยญาณ๒ของอริยสาวก
เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิบ้าง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๓. ญาณวัตถุสูตร
ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้ถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วย
ญาณอันเป็นเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสขะบ้าง บรรลุกระแสแห่งธรรมบ้าง
เป็นพระอริยะผู้มีปัญญาเพิกถอนกิเลสบ้าง ดำรงอยู่ใกล้ประตูอมตนิพพานบ้าง
ชาติเป็นอย่างไร ฯลฯ ภพเป็นอย่างไร ... อุปาทานเป็นอย่างไร ... ตัณหาเป็น
อย่างไร ... เวทนาเป็นอย่างไร ...ผัสสะเป็นอย่างไร ... สฬายตนะเป็นอย่างไร ...
นามรูปเป็นอย่างไร ... วิญญาณเป็นอย่างไร ...

สังขารทั้งหลาย มีเท่าไร
สังขารมี ๓ ประการนี้ คือ
๑. กายสังขาร
๒. วจีสังขาร
๓. จิตตสังขาร
นี้เรียกว่าสังขารทั้งหลาย
เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ชื่อว่าปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร
เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดสังขารทั้งหลายอย่างนี้ รู้ชัดความเกิดแห่งสังขารอย่างนี้
รู้ชัดความดับแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้
นี้ชื่อว่าธัมมญาณของอริยสาวกนั้น เมื่อนั้นอริยสาวกนั้นพิจารณานัยในอดีตและ
อนาคตด้วยธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้ว ไม่ประกอบด้วยกาล อันตนได้บรรลุแล้ว
อันตนหยั่งรู้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ได้รู้สังขารทั้งหลาย ได้รู้ความ
เกิดแห่งสังขาร ได้รู้ความดับแห่งสังขาร ได้รู้ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร
เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๔. ทุติยญาณวัตถุสูตร
สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็จักรู้สังขารทั้งหลาย จักรู้
ความเกิดแห่งสังขาร จักรู้ความดับแห่งสังขาร จักรู้ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
สังขาร เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่าอันวยญาณของอริยสาวกนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ญาณ ๒ ประการนี้ คือ (๑) ธัมมญาณ (๒) อันวยญาณ
ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ถึงพร้อม
ด้วยทิฏฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้ถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง
ประกอบด้วยญาณอันเป็นเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสขะบ้าง บรรลุ
กระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะผู้มีปัญญาเพิกถอนกิเลสบ้าง ดำรงอยู่ใกล้ประตู
อมตนิพพานบ้าง”
ญาณวัตถุสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยญาณวัตถุสูตร
ว่าด้วยญาณวัตถุ สูตรที่ ๒
[๓๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงญาณวัตถุ ๗๗ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

“ญาณวัตถุ ๗๗ ๑ อะไรบ้าง คือ
๑. ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี
๒. ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๕. อวิชชาปัจยสูตร
๓. แม้ในอดีต ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี
๔. ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี
๕. แม้ในอนาคต ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี
๖. ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี
๗. ความรู้ว่า ธัมมฐิติญาณ๑ของชาตินั้น มีความสิ้นไป มีความเสื่อมไป
มีความคลายไป มีความดับไปเป็นธรรมดา
๘. ความรู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ฯลฯ (๙-๑๔)
๑๕. ความรู้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ... (๑๖-๒๑)
๒๒. ความรู้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ... (๒๓-๒๘)
๒๙. ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ... (๓๐-๓๕)
๓๖. ความรู้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ... (๓๗-๔๒)
๔๓. ความรู้ว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ... (๔๔-๔๙)
๕๐. ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ... (๕๑-๕๖)
๕๗. ความรู้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ... (๕๘-๖๓)
๖๔. ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ... (๖๕-๗๐)
๗๑. ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
๗๒. ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี
๗๓. แม้ในอดีต ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
๗๔. ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี
๗๕. แม้ในอนาคต ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
๗๖. ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี
๗๗. ความรู้ว่า ธัมมฐิติญาณของอวิชชานั้น มีความสิ้นไป มีความเสื่อมไป
มีความคลายไป มีความดับไปเป็นธรรมดา
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๗๗”
ทุติยญาณวัตถุสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๕. อวิชชาปัจยสูตร

๕. อวิชชาปัจจยสูตร
ว่าด้วยอวิชชาเป็นปัจจัย
[๓๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการ
ฉะนี้ ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชราและมรณะเป็นอย่างไร ชราและมรณะนี้เป็นของใคร”
“ภิกษุ ปัญหานี้ไม่สมควรถาม ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ชราและมรณะเป็นอย่างไร
ชราและมรณะนี้เป็นของใคร’ หรือพึงกล่าวว่า ‘ชราและมรณะเป็นอย่างอื่น ชราและ
มรณะนี้เป็นของผู้อื่น’ คำทั้งสองนั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ
เท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ การอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ย่อมไม่มี ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมโดยสาย
กลางว่า ‘เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี”
“ชาติเป็นอย่างไร และชาตินี้เป็นของใคร”
“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ชาติเป็นอย่างไร และชาตินี้เป็น
ของใคร’ หรือพึงกล่าวว่า ‘ชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้เป็นของผู้อื่น’ คำทั้งสอง
นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า
‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ตถาคตไม่
เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า ‘เพราะภพเป็นปัจจัย
ชาติจึงมี”
“ภพเป็นอย่างไร และภพนี้เป็นของใคร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๕. อวิชชาปัจยสูตร
“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ภพเป็นอย่างไร และภพนี้เป็น
ของใคร’ หรือพึงกล่าวว่า ‘ภพเป็นอย่างอื่น และภพนี้เป็นของผู้อื่น’ คำทั้งสอง
นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า
‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ตถาคตไม่
เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า ‘เพราะอุปาทานเป็น
ปัจจัย ภพจึงมี’ ฯลฯ ‘เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี’ ... ‘เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’ ... ‘เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’ ... ‘เพราะสฬายตนะ
เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’ ... ‘เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี’ ... ‘เพราะ
วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี’ ... ‘เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี”
“สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไร และสังขารเหล่านี้เป็นของใคร”
“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไร และ
สังขารเหล่านี้ เป็นของใคร’ หรือพึงกล่าวว่า ‘สังขารทั้งหลายเป็นอย่างอื่น และ
สังขารเหล่านี้เป็นของผู้อื่น’ คำทั้งสองนั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่
พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ การอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน การอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรม
โดยสายกลางว่า ‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี”
“เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก
อันบุคคลเสพผิด ที่ดิ้นรนไปว่า ‘ชราและมรณะเป็นอย่างไร ชราและมรณะนี้เป็น
ของใคร หรือว่าชราและมรณะเป็นอย่างอื่น ชราและมรณะนี้เป็นของผู้อื่นว่า ‘ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมดอัน
อริยสาวกนั้นละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอน
โคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก
อันบุคคลเสพผิด ที่ดิ้นรนไปว่า ‘ชาติเป็นอย่างไร และชาตินี้เป็นของใคร หรือว่า
ชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้เป็นของผู้อื่นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือว่า
ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมดอันอริยสาวกนั้นละได้เด็ดขาดแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๖. ทุติยอวิชชาปัจจยสูตร
ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้
ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก
อันบุคคลเสพผิด ที่ดิ้นรนไปว่า ‘ภพเป็นอย่างไร ฯลฯ อุปาทานเป็นอย่างไร ...
ตัณหาเป็นอย่างไร ... เวทนาเป็นอย่างไร ... ผัสสะเป็นอย่างไร ... สฬายตนะเป็น
อย่างไร ... นามรูปเป็นอย่างไร ... วิญญาณเป็นอย่างไร ...
เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก
อันบุคคลเสพผิด ที่ดิ้นรนไปว่า ‘สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไร และสังขารเหล่านี้เป็น
ของใคร หรือว่าสังขารทั้งหลายเป็นอย่างอื่น และสังขารเหล่านี้เป็นของผู้อื่น ชีวะ
กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือว่าชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ ทิฏฐิเหล่านั้น
ทั้งหมดอันอริยสาวกนั้นละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด
รากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้”
อวิชชาปัจจยสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยอวิชชาปัจจยสูตร
ว่าด้วยอวิชชาเป็นปัจจัย สูตรที่ ๒
[๓๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ชราและมรณะเป็นอย่างไร ชราและมรณะนี้เป็นของใคร’ หรือ
พึงกล่าวว่า ‘ชราและมรณะเป็นอย่างอื่น ชราและมรณะนี้เป็นของผู้อื่น’ คำทั้งสอง
นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า
‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ตถาคตไม่
เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า ‘เพราะชาติเป็นปัจจัย
ชราและมรณะจึงมี”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๖. ทุติยอวิชชาปัจจยสูตร
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ชาติเป็นอย่างไร ... ภพเป็นอย่างไร ... อุปาทานเป็นอย่างไร ...
ตัณหาเป็นอย่างไร ... เวทนาเป็นอย่างไร ... ผัสสะเป็นอย่างไร ... สฬายตนะเป็นอย่างไร
... นามรูปเป็นอย่างไร ... วิญญาณเป็นอย่างไร’ ...
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไร และสังขารเหล่านี้เป็นของใคร’
หรือพึงกล่าวว่า ‘สังขารทั้งหลายเป็นอย่างอื่น และสังขารเหล่านี้เป็นของผู้อื่น’
คำทั้งสองนั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า
‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมี
ทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี
ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า ‘เพราะอวิชชา
เป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี’
เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก
อันบุคคลเสพผิด ที่ดิ้นรนไปว่า ‘ชราและมรณะเป็นอย่างไร ชราและมรณะนี้เป็น
ของใคร หรือว่าชราและมรณะเป็นอย่างอื่น ชราและมรณะนี้เป็นของผู้อื่น ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือว่าชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ ทิฏฐิเหล่านั้น
ทั้งหมดอันอริยสาวกนั้นละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูก
ตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก
อันบุคคลเสพผิด ที่ดิ้นรนไปว่า ‘ชาติเป็นอย่างไร ฯลฯ ภพเป็นอย่างไร ... อุปาทาน
เป็นอย่างไร ... ตัณหาเป็นอย่างไร ... เวทนาเป็นอย่างไร ... ผัสสะเป็นอย่างไร ...
สฬายตนะเป็นอย่างไร ... นามรูปเป็นอย่างไร ... วิญญาณเป็นอย่างไร ... สังขาร
ทั้งหลายเป็นอย่างไร และสังขารเหล่านี้เป็นของใคร หรือว่าสังขารทั้งหลายเป็น
อย่างอื่น และสังขารเหล่านี้เป็นของผู้อื่น ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือว่าชีวะ
กับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมดอันอริยสาวกนั้นละได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้
ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้”
ทุติยอวิชชาปัจจยสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๘. เจตนาสูตร

๗. นตุมหสูตร
ว่าด้วย(กาย)ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
[๓๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย กายนี้มิใช่ของเธอทั้งหลาย ทั้งมิใช่ของผู้อื่น กายนี้เธอทั้งหลาย
พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า๑ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมมนสิการปฏิจจสมุปบาทโดยแยบคายในกายนั้นว่า
‘เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี
สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับไป คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขาร
ทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกอง
ทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้ อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ
สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
มีได้ด้วยประการฉะนี้”
นตุมหสูตรที่ ๗ จบ

๘. เจตนาสูตร
ว่าด้วยเจตนา
[๓๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจงใจ ดำริ และนึกคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมมณปัจจัย๒
เพื่อความตั้งมั่นแห่งวิญญาณ เมื่ออารัมมณปัจจัยมี ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี
เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดแห่งภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อ
ความบังเกิดแห่งภพใหม่ต่อไปมี ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงมีต่อไป ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๙. ทุติยเจตนาสูตร
ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังนึกคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมมณปัจจัย เพื่อความ
ตั้งมั่นแห่งวิญญาณ เมื่ออารัมมณปัจจัยมี ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณ
นั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดแห่งภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อความบังเกิด
แห่งภพใหม่ต่อไปมี ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จึงมีต่อไป ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่นึกคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่เป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อ
ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณ เมื่ออารัมมณปัจจัยไม่มี ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี
เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดแห่งภพใหม่ต่อไปจึงไม่มี
เมื่อความบังเกิดแห่งภพใหม่ต่อไปไม่มี ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”
เจตนาสูตรที่ ๘ จบ

๙. ทุติยเจตนาสูตร
ว่าด้วยเจตนา สูตรที่ ๒
[๓๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจงใจ ดำริ และนึกคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมมณปัจจัย
เพื่อความตั้งมั่นแห่งวิญญาณ เมื่ออารัมมณปัจจัยมี ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี
เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความหยั่งลงแห่งนามรูปจึงมี เพราะนาม
รูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ... ตัณหา ... อุปาทาน ... ภพ ... ชาติ ... ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้
ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๑๐. ตติยเจตนาสูตร
ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังนึกคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อ
ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณ เมื่ออารัมมณปัจจัยมี ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อ
วิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความหยั่งลงแห่งนามรูปจึงมี เพราะนามรูป
เป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วย
ประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่นึกคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่เป็น
อารัมมณปัจจัยเพื่อความตั้งมั่นแห่งวิญญาณ เมื่ออารัมมณปัจจัยไม่มี ความตั้งมั่น
แห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่เจริญขึ้นแล้ว ความหยั่งลง
แห่งนามรูปจึงไม่มี เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”
ทุติยเจตนาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ตติยเจตนาสูตร
ว่าด้วยเจตนา สูตรที่ ๓
[๔๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจงใจ ดำริ และนึกคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมมณปัจจัย
เพื่อความตั้งมั่นแห่งวิญญาณ เมื่ออารัมมณปัจจัยมี ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี
เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว นติ๑ จึงมี เมื่อนติมี คติภพในการเวียนมา
จึงมี เมื่อคติภพในการเวียนมามี จุติและอุบัติจึงมี เมื่อจุติและอุบัติมี ชาติ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่นึกคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อความ
ตั้งมั่นแห่งวิญญาณ เมื่ออารัมมณปัจจัยมี ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อ
วิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว นติจึงมี เมื่อนติมี คติภพในการเวียนมาจึงมี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เมื่อคติภพในการเวียนมามี จุติและอุบัติจึงมี เมื่อจุติและอุบัติมี ชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่นึกคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่เป็น
อารัมมณปัจจัยเพื่อความตั้งมั่นแห่งวิญญาณ เมื่ออารัมมณปัจจัยไม่มี ความตั้งมั่น
แห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่เจริญขึ้นแล้ว นติจึงไม่มี
เมื่อนติไม่มี คติภพในการเวียนมาจึงไม่มี เมื่อคติภพในการเวียนมาไม่มี จุติและอุบัติ
จึงไม่มี เมื่อจุติและอุบัติไม่มี ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”
ตติยเจตนาสูตรที่ ๑๐ จบ
กฬารขัตติยวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ภูตสูตร ๒. กฬารสูตร
๓. ญาณวัตถุสูตรร ๔. ทุติยญาณวัตถุสูตร
๕. อวิชชาปัจจยสูตรร ๖. ทุติยอวิชชาปัจจยสูตร
๗. นตุมหสูตรร ๘. เจตนาสูตร
๙. ทุติยเจตนาสูตรร ๑๐. ตติยเจตนาสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๑. ปัญจเวรภยสูตร

๕. คหปติวรรค
หมวดว่าด้วยคหบดี

๑. ปัญจเวรภยสูตร
ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ
[๔๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านอนาถบิณฑิก-
คหบดีดังนี้ว่า
“คหบดี เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้น อริย-
สาวกผู้ประกอบด้วยธรรมที่เป็นองค์แห่งโสดาปัตติผล ๔ ประการ และญายธรรม
อันประเสริฐ๑ ที่อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวก
นั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า ‘เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน
มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้จะตรัสรู้ในภายหน้าอย่างแน่นอน’
ภัยเวร ๕ ประการสงบแล้ว เป็นอย่างไร คือ
๑. บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวรใด ซึ่งมีในชาตินี้บ้าง ชาติหน้าบ้าง
เสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย ภัยเวรนั้น
ของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ สงบแล้วด้วยประการฉะนี้
๒. บุคคลผู้ลักทรัพย์ ย่อมประสบภัยเวรใด ซึ่งมีในชาตินี้บ้าง ชาติหน้าบ้าง
เสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง เพราะการลักทรัพย์เป็นปัจจัย ภัยเวรนั้น
ของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์สงบแล้ว ด้วยประการฉะนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๑. ปัญจเวรภยสูตร
๓. บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ย่อมประสบภัยเวรใด ซึ่งมีในชาตินี้บ้าง
ชาติหน้าบ้าง เสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง เพราะการประพฤติผิด
ในกามเป็นปัจจัย ภัยเวรนั้นของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการประพฤติ
ผิดในกามสงบแล้ว ด้วยประการฉะนี้
๔. บุคคลผู้พูดเท็จ ย่อมประสบภัยเวรใด ซึ่งมีในชาตินี้บ้าง ชาติหน้าบ้าง
เสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง เพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย ภัยเวรนั้น
ของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จสงบแล้ว ด้วยประการฉะนี้
๕. บุคคลผู้ตั้งอยู่ในความประมาท เพราะการเสพของมึนเมาคือสุรา
และเมรัย ย่อมประสบภัยเวรใด ซึ่งมีในชาตินี้บ้าง ชาติหน้าบ้าง
เสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง เพราะการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาทเป็นปัจจัย ภัยเวรนั้นของอริยสาวกผู้
เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาทสงบแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ภัยเวร ๕ ประการนี้ สงบแล้ว
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรมที่เป็นองค์แห่งโสดาปัตติผล ๔ ประการ เป็น
อย่างไร คือ
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้าว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วย
วิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้
อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค”๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๑. ปัญจเวรภยสูตร
๒. อริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า
“พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึง
เห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”
๓. อริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า
“พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติ
ถูกทาง๑ ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญ
อันยอดเยี่ยมของโลก”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๑. ปัญจเวรภยสูตร
๔. อริยสาวกผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะปรารถนา อันไม่ขาด ไม่ทะลุ
ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิ
ถูกต้องไม่ได้ เป็นไปเพื่อสมาธิ
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรมที่เป็นองค์แห่งโสดาปัตติผล ๔ ประการนี้
ญายธรรมอันประเสริฐ ที่อริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
เป็นอย่างไร คือ
คหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมมนสิการปฏิจจสมุปบาทโดยแยบคายว่า
‘เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
คหบดี เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้นอริยสาวก
ผู้ประกอบด้วยธรรมที่เป็นองค์แห่งโสดาปัตติผล ๔ ประการ และญายธรรมอันประเสริฐ
ที่อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึง
พยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า ‘เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว
มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำ
เป็นธรรมดา เป็นผู้จะตรัสรู้ในภายหน้าอย่างแน่นอน”
ปัญจเวรภยสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๒. ทุติยปัญจเวรภยสูตร

๒. ทุติยปัญจเวรภยสูตร
ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ สูตรที่ ๒
[๔๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้น
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรมที่เป็นองค์แห่งโสดาปัตติผล ๔ ประการ และญายธรรม
อันประเสริฐ ที่อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้น
หวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า ‘เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว ฯลฯ มีอันไม่
ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้จะตรัสรู้ในภายหน้าอย่างแน่นอน
ภัยเวร ๕ ประการสงบแล้ว เป็นอย่างไร คือ
๑. บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ
๒. บุคคลผู้ลักทรัพย์ ฯลฯ
๓. บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
๔. บุคคลผู้พูดเท็จ ฯลฯ
๕. บุคคลผู้ตั้งอยู่ในความประมาท เพราะเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
ฯลฯ
ภัยเวร ๕ ประการนี้สงบแล้ว
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรมที่เป็นองค์แห่งโสดาปัตติผล ๔ ประการ เป็น
อย่างไร คือ
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า ฯลฯ
๒. ในพระธรรม ฯลฯ
๓. ในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. อริยสาวกผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะปรารถนา ฯลฯ
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรมที่เป็นองค์แห่งโสดาปัตติผล ๔ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๕. คหปติวรรค ๓. ทุกขสูตร
ญายธรรมอันประเสริฐ ที่อริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
เป็นอย่างไร คือ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมมนสิการปฏิจจสมุปบาทโดย
แยบคาย ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ญายธรรมอันประเสริฐ ที่อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอด
ดีแล้วด้วยปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้น
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรมที่เป็นองค์แห่งโสดาปัตติผล ๔ ประการนี้ และญาย-
ธรรมอันประเสริฐนี้ ที่อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวก
นั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า ‘เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน
มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้จะตรัสรู้ในภายหน้าอย่างแน่นอน”
ทุติยปัญจเวรภยสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุกขสูตร๑
ว่าด้วยทุกข์
[๔๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดแห่งทุกข์ และความดับแห่งทุกข์
เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระ-
ดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุ(ตา)และรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม
๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด ความเกิดแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้แล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๕. คหปติวรรค ๓.ทุกขสูตร
เพราะอาศัยโสตะ(หู)และเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะ(จมูก)
และกลิ่น ... เพราะอาศัยชิวหา(ลิ้น)และรส ... เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ...
เพราะอาศัยมโน(ใจ)และธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม
๓ ประการ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด
ความเกิดแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้แล
ความดับแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม
๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้
ด้วยประการฉะนี้
ความดับแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้แล
เพราะอาศัยโสตะและเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะ
และกลิ่น ... เพราะอาศัยชิวหาและรส ... เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ... เพราะ
อาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ
เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหา
จึงเกิด เพราะตัณหานั้นดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ
ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการ
ฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย ความดับแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้แล
ทุกขสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๔. โลกสูตร

๔. โลกสูตร๑
ว่าด้วยโลก
[๔๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งโลก เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ความเกิดแห่งโลก๒ เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม
๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงเกิด เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ภพจึงเกิด เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงเกิด เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิด
ความเกิดแห่งโลก เป็นอย่างนี้แล
เพราะอาศัยโสตะและเสียง ... เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ... เพราะอาศัย
ชิวหาและรส ... เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์
มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด ฯลฯ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิด
ความเกิดแห่งโลก เป็นอย่างนี้แล
ความดับแห่งโลก เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม
๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๕. ญาติกสูตร
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วย
ประการฉะนี้
ความดับแห่งโลก เป็นอย่างนี้แล
เพราะอาศัยโสตะและเสียง ... เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ... เพราะอาศัย
ชิวหาและรส ... เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์
มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้น
ดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ความดับแห่งโลก เป็นอย่างนี้แล”
โลกสูตรที่ ๔ จบ

๕. ญาติกสูตร๑
ว่าด้วยการแสดงธรรม ณ หมู่บ้านญาติกะ
[๔๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำหนักอิฐ ใกล้หมู่บ้านญาติกะ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดได้ตรัสธรรมบรรยายนี้ว่า
“เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม
๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงเกิด ฯลฯ ความเกิดขึ้น
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เพราะอาศัยโสตะและเสียง ... เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ... เพราะอาศัย
ชิวหาและรส ... เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๕. ญาติกสูตร
มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหาเป็น
ปัจจัย อุปาทานจึงเกิด ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการ
ฉะนี้
เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม
๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เพราะอาศัยโสตะและเสียง ฯลฯ เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ
จึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา
จึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นดับไปไม่เหลือด้วย
วิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งยืนแอบฟังพระผู้มีพระภาคอยู่ พระผู้มีพระภาคได้ทอด
พระเนตรเห็นภิกษุนั้นผู้ยืนแอบฟังอยู่ ได้ตรัสถามภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ภิกษุ เธอได้ฟัง
ธรรมบรรยายนี้หรือไม่”
“ข้าพระองค์ได้ฟังอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอจงศึกษาธรรมบรรยายนี้ จงเล่าเรียนธรรมบรรยายนี้ จงทรงจำ
ธรรมบรรยายนี้ เพราะธรรมบรรยายนี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่ง
พรหมจรรย์”
ญาติกสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๖. อัญญตรพราหมณสูตร

๖.อัญญตรพราหมณสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ผู้หนึ่ง
[๔๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล พราหมณ์ผู้หนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับพระผู้พระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม คนนั้นทำเหตุ คนนั้นเสวยผลหรือหนอ”
“พราหมณ์ โวหารนี้ว่า ‘คนนั้นทำเหตุ คนนั้นเสวยผล’ นี้เป็นที่สุดอย่างหนึ่ง”
“ท่านพระโคดม ก็คนอื่นทำเหตุ คนอื่นเสวยผลหรือ”
“พราหมณ์ โวหารนี้ว่า ‘คนอื่นทำเหตุ คนอื่นเสวยผล’ นี้เป็นที่สุดอีก
อย่างหนึ่ง ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนั้น ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า
‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
ฯลฯ ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้ อนึ่ง เพราะอวิชชา
ดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์นั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า ‘ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดม
พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำ
ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
อัญญตรพราหมณสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๗. ชาณุสโสณิสูตร

๗. ชาณุสโสณิสูตร
ว่าด้วยชาณุสโสณิพราหมณ์
[๔๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ชาณุสโสณิพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว ชาณุสโสณิพราหมณ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม สิ่งทั้งปวงมีหรือ”
“พราหมณ์ โวหารนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวงมี’ นี้เป็นที่สุดอย่างหนึ่ง”
“ท่านพระโคดม ก็สิ่งทั้งปวงไม่มีหรือ”
“พราหมณ์ โวหารนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่มี’ นี้เป็นที่สุดอีกอย่างหนึ่ง
ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนั้น ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า
‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ชาณุสโสณิพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า ‘ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระ
โคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ชาณุสโสณิสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๘. โลกายติกสูตร

๘. โลกายติกสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ผู้รอบรู้คัมภีร์โลกายตะ๑
[๔๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล พราหมณ์ผู้รอบรู้คัมภีร์โลกายตะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว พราหมณ์ผู้รอบรู้คัมภีร์โลกายตะ
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม สิ่งทั้งปวงมีหรือ”
“พราหมณ์ ข้อที่ว่า ‘สิ่งทั้งปวงมี’ นี้ เป็นโลกายตะข้อที่ ๑”
“ท่านพระโคดม ก็สิ่งทั้งปวงไม่มีหรือ”
“พราหมณ์ ข้อที่ว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่มี’ นี้ เป็นโลกายตะข้อที่ ๒”
“ท่านพระโคดม สิ่งทั้งปวงมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันหรือ”
“พราหมณ์ ข้อที่ว่า ‘สิ่งทั้งปวงมีสภาพเป็นอย่างเดียวกัน’ นี้ เป็นโลกายตะ
ข้อที่ ๓”
“ท่านพระโคดม ก็สิ่งทั้งปวงมีสภาพต่างกันหรือ”
“พราหมณ์ ข้อที่ว่า ‘สิ่งทั้งปวงมีสภาพต่างกัน’ นี้ เป็นโลกายตะข้อที่ ๔
ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนั้น ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า
‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ผู้รอบรู้คัมภีร์โลกายตะได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะ
ยิ่งนัก ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต’
โลกายติกสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๙. อริยสาวกสูตร

๙. อริยสาวกสูตร
ว่าด้วยอริยสาวก
[๔๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ...
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ จึงไม่มีความสงสัยอย่างนี้ว่า ‘เมื่ออะไรมี
อะไรจึงมี เพราะอะไรเกิดขึ้น อะไรจึงเกิดขึ้น (เพราะอะไรมี สังขารทั้งหลายจึงมี
เพราะอะไรมี วิญญาณจึงมี) เมื่ออะไรมี นามรูปจึงมี เมื่ออะไรมี สฬายตนะจึงมี
เมื่ออะไรมี ผัสสะจึงมี เมื่ออะไรมี เวทนาจึงมี เมื่ออะไรมี ตัณหาจึงมี เมื่ออะไรมี
อุปาทานจึงมี เมื่ออะไรมี ภพจึงมี เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี เมื่ออะไรมี ชราและ
มรณะจึงมี’
โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับ จึงมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า
‘เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (เมื่ออวิชชามี สังขารทั้งหลาย
จึงมี เมื่อสังขารทั้งหลายมี วิญญาณจึงมี) เมื่อวิญญาณมี นามรูปจึงมี เมื่อนามรูปมี
สฬายตนะจึงมี เมื่อสฬายตนะมี ผัสสะจึงมี เมื่อผัสสะมี เวทนาจึงมี เมื่อเวทนามี
ตัณหาจึงมี เมื่อตัณหามี อุปาทานจึงมี เมื่ออุปาทานมี ภพจึงมี ฯลฯ เมื่อชาติมี
ชราและมรณะจึงมี อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘โลกนี้เกิดขึ้นอย่างนี้’
อริยสาวกผู้ได้สดับ จึงไม่มีความสงสัยอย่างนี้ว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี อะไรจึงไม่มี
เพราะอะไรดับ อะไรจึงดับ (เมื่ออะไรไม่มี สังขารทั้งหลายจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี
วิญญาณจึงไม่มี) เมื่ออะไรไม่มี นามรูปจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เมื่อ
อะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี เวทนาจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ตัณหาจึงไม่มี
เมื่ออะไรไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ภพจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ชาติจึงไม่มี
เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี’
โดยที่แท้ อริสาวกผู้ได้สดับ จึงมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า
‘เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ (เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารทั้งหลาย
จึงไม่มี เมื่อสังขารทั้งหลายไม่มี วิญญาณจึงไม่มี) เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๑๐. ทุติยอริยสาวกสูตร
เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ฯลฯ อุปาทานจึงไม่มี ... ภพจึงไม่มี ... ชาติจึงไม่มี
เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘โลกนี้ดับอย่างนี้’
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดความเกิดและความดับไปแห่งโลกตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ เมื่อนั้น อริยสาวกนี้ เราเรียกว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิบ้าง
ฯลฯ ดำรงอยู่ใกล้ประตูอมตนิพพานบ้าง”
อริยสาวกสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยอริยสาวกสูตร
ว่าด้วยอริยสาวก สูตรที่ ๒
[๕๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ...
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ จึงไม่มีความสงสัยอย่างนี้ว่า ‘เมื่ออะไรมี
อะไรจึงมี เพราะอะไรเกิดขึ้น อะไรจึงเกิดขึ้น เมื่ออะไรมี สังขารทั้งหลายจึงมี เมื่ออะไรมี
วิญญาณจึงมี เมื่ออะไรมี นามรูปจึงมี เมื่ออะไรมี สฬายตนะจึงมี เมื่ออะไรมี ผัสสะ
จึงมี เมื่ออะไรมี เวทนาจึงมี เมื่ออะไรมี ตัณหาจึงมี เมื่ออะไรมี อุปาทานจึงมี
เมื่ออะไรมี ภพจึงมี เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี’
โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับ จึงมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า
‘เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่ออวิชชามี สังขารทั้ง
หลายจึงมี เมื่อสังขารทั้งหลายมี วิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณมี นามรูปจึงมี เมื่อ
นามรูปมี สฬายตนะจึงมี เมื่อสฬายตนะมี ผัสสะจึงมี เมื่อผัสสะมี เวทนาจึงมี เมื่อ
เวทนามี ตัณหาจึงมี เมื่อตัณหามี อุปาทานจึงมี เมื่ออุปาทานมี ภพจึงมี เมื่อภพมี
ชาติจึงมี เมื่อชาติมี ชราและมรณะจึงมี” อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘โลกนี้เกิดขึ้น
อย่างนี้’
อริยสาวกผู้ได้สดับ จึงไม่มีความสงสัยอย่างนี้ว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี อะไรจึงไม่มี
เพราะอะไรดับ อะไรจึงดับ เมื่ออะไรไม่มี สังขารทั้งหลายจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี วิญญาณ
จึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี นามรูปจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๑๐. ทุติยอริยสาวกสูตร
ผัสสะจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี เวทนาจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ฯลฯ
อุปาทาน ... ภพ ... ชาติ ... เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี’
โดยที่แท้ อริสาวกผู้ได้สดับ จึงมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า
‘เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารทั้งหลาย
จึงไม่มี เมื่อสังขารทั้งหลายไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี
เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ฯลฯ เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี’
อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘โลกนี้ดับอย่างนี้’
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดความเกิดและความดับไปแห่งโลกตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ เมื่อนั้น อริยสาวกนี้ เราเรียกว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิบ้าง
ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้ถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณ
อันเป็นเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสขะบ้าง บรรลุกระแสแห่งธรรมบ้าง
เป็นพระอริยะมีปัญญาเพิกถอนกิเลสบ้าง ดำรงอยู่ใกล้ประตูอมตนิพพานบ้าง”
ทุติยอริยสาวกสูตรที่ ๑๐ จบ
คหปติวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปัญจเวรภยสูตร ๒. ทุติยปัญจเวรภยสูตร
๓. ทุกขสูตร ๔. โลกสูตร
๕. ญาติกสูตร ๖. อัญญตรพราหมณสูตร
๗. ชาณุสโสณิสูตร ๘. โลกายติกสูตร
๙. อริยสาวกสูตร ๑๐. ทุติยอริยสาวกสูตรv

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๑. ปริวีมังสนสูตร

๖. ทุกขวรรค
หมวดว่าด้วยทุกข์

๑. ปริวีมังสนสูตร
ว่าด้วยการพิจารณา
[๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุเมื่อพิจารณา จึงชื่อว่าพิจารณา
เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ ทุกประการ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาค
เป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความ
แห่งภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
“ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ‘ชรา
และมรณะนี้ใด มีทุกข์หลายอย่างนับไม่ถ้วนเกิดขึ้นในโลก ชราและมรณะที่เป็นทุกข์
นี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิดหนอ เมื่อ
อะไรมี ชราและมรณะจึงมี เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี’ เธอพิจารณาอยู่
จึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ชราและมรณะนี้ใด มีทุกข์หลายอย่างนับไม่ถ้วนเกิดขึ้นในโลก ทุกข์นี้
มีชาติเป็นเหตุ มีชาติเป็นเหตุเกิด มีชาติเป็นกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด เมื่อชาติมี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๑. ปริวีมังสนสูตร
ชราและมรณะจึงมี เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี” เธอรู้ชัดชราและมรณะ
รู้ชัดความเกิดแห่งชราและมรณะ รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะ รู้ชัดปฏิปทาอัน
เหมาะสมที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ และเธอเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนั้น ชื่อว่าผู้
มีปกติประพฤติตามธรรม เราเรียกภิกษุนี้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ เพื่อ
ความดับแห่งชราและมรณะโดยชอบ ทุกประการ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ‘ชาตินี้ มีอะไรเป็นเหตุ
มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี
เมื่ออะไรไม่มี ชาติจึงไม่มี’ เธอพิจารณาอยู่ จึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ชาติมีภพเป็นเหตุ
มีภพเป็นเหตุเกิด มีภพเป็นกำเนิด มีภพเป็นแดนเกิด เมื่อภพมี ชาติจึงมี เมื่อภพ
ไม่มี ชาติจึงไม่มี’ เธอรู้ชัดชาติ รู้ชัดความเกิดแห่งชาติ รู้ชัดความดับแห่งชาติ
รู้ชัดปฏิปทาอันเหมาะสมที่ให้ถึงความดับแห่งชาติ และเธอผู้ปฏิบัติอย่างนั้น ชื่อว่า
ผู้มีปกติประพฤติตามธรรม เราเรียกภิกษุนี้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์เพื่อ
ความดับชาติโดยชอบ ทุกประการ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ‘ภพนี้มีอะไรเป็นเหตุ
ฯลฯ
อุปาทานนี้มีอะไรเป็นเหตุ ...
ตัณหานี้มีอะไรเป็นเหตุ ...
เวทนานี้มีอะไรเป็นเหตุ ...
ผัสสะนี้มีอะไรเป็นเหตุ ...
สฬายตนะนี้มีอะไรเป็นเหตุ ...
นามรูปนี้มีอะไรเป็นเหตุ ...
วิญญาณนี้มีอะไรเป็นเหตุ ...
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ‘สังขารเหล่านี้มีอะไร
เป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี สังขาร
ทั้งหลายจึงมี เมื่ออะไรไม่มี สังขารทั้งหลายจึงไม่มี’ เธอพิจารณาอยู่ จึงรู้ชัดอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๑. ปริวีมังสนสูตร
ว่า ‘สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นเหตุเกิด มีอวิชชาเป็นกำเนิด
มีอวิชชาเป็นแดนเกิด เมื่ออวิชชามี สังขารทั้งหลายจึงมี เมื่ออวิชชาไม่มี สังขาร
ทั้งหลายจึงไม่มี’
ภิกษุนั้นรู้ชัดสังขารทั้งหลาย จึงรู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร รู้ชัดความดับแห่ง
สังขาร รู้ชัดปฏิปทาอันเหมาะสมที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร และเธอผู้ปฏิบัติ
อย่างนั้น ชื่อว่าผู้มีปกติประพฤติตามธรรม
ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกภิกษุนี้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ เพื่อความดับ
แห่งสังขารโดยชอบ ทุกประการ
บุรุษบุคคล๑นี้ตกอยู่ในอวิชชา ถ้าสังขารที่เป็นบุญปรุงแต่ง วิญญาณก็
ประกอบด้วยบุญ ถ้าสังขารที่เป็นบาปปรุงแต่ง วิญญาณก็ประกอบด้วยบาป
ถ้าสังขารที่เป็นอาเนญชาปรุงแต่ง วิญญาณก็ประกอบด้วยอาเนญชา ในกาลใด
ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้น ในกาลนั้น ภิกษุนั้นก็ไม่ปรุงแต่งปุญญาภิสังขาร๒
อปุญญาภิสังขาร๓และอาเนญชาภิสังขาร๔ เพราะกำจัดอวิชชาได้ เพราะมีวิชชา
เกิดขึ้น เมื่อไม่ปรุงแต่ง ไม่จงใจ ก็ไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ก็ไม่
สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๑. ปริวีมังสนสูตร
ถ้าภิกษุนั้นเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่า
หมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’ ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘ทุกขเวทนา
นั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าหมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’ ถ้าเธอเสวย
อทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าหมกมุ่น’
รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’ ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก(กิเลส) เสวย
สุขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก(กิเลส) เสวยทุกขเวทนานั้น
ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก(กิเลส) เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น
ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนาที่มีกาย
เป็นที่สุด’ เมื่อเสวยเวทนาที่มีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนาที่มีชีวิต
เป็นที่สุด’ รู้ชัดว่า ‘หลังจากตายแล้ว การเสวยอารมณ์ทั้งหมด ไม่น่าเพลิดเพลิน
จักเย็น จักเหลืออยู่เพียงสรีรธาตุในโลกนี้เท่านั้น’
เปรียบเหมือนบุรุษยกหม้อที่ร้อนออกจากเตาเผาหม้อ วางบนพื้นที่เรียบ
ไออุ่นที่หม้อนั้นพึงหายไป เหลืออยู่เพียงกระเบื้องหม้อเท่านั้น อุปมานี้ฉันใด อุปไมย
ก็ฉันนั้น ภิกษุเมื่อเสวยเวทนาที่มีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนาที่มีกาย
เป็นที่สุด’ เมื่อเสวยเวทนาที่มีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนาที่มีชีวิตเป็น
ที่สุด’ รู้ชัดว่า ‘หลังจากตายแล้ว การเสวยอารมณ์ทั้งหมด ไม่น่าเพลิดเพลิน
จักเย็น จักเหลืออยู่เพียงสรีรธาตุในโลกนี้เท่านั้น’
เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุผู้ขีณาสพพึงปรุงแต่ง
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขารบ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสังขารทั้งหลายไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะสังขารดับ
วิญญาณพึงปรากฏหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๑. ปริวีมังสนสูตร
“อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิญญาณไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะวิญญาณดับ
นามรูปพึงปรากฏหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อีกอย่างหนึ่ง เมื่อนามรูปไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะนามรูปดับ
สฬายตนะพึงปรากฏหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสฬายตนะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะสฬายตนะดับ
ผัสสะพึงปรากฏหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อีกอย่างหนึ่ง เมื่อผัสสะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะผัสสะดับ เวทนาพึง
ปรากฏหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อีกอย่างหนึ่ง เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะเวทนาดับ ตัณหา
พึงปรากฏหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อีกอย่างหนึ่ง เมื่อตัณหาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะตัณหาดับ อุปาทาน
พึงปรากฏหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุปาทานไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะอุปาทานดับ ภพ
พึงปรากฏหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๒. อุปาทานสูตร
“อีกอย่างหนึ่ง เมื่อภพไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะภพดับ ชาติพึง
ปรากฏหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อีกอย่างหนึ่ง เมื่อชาติไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะชาติดับ ชราและมรณะ
พึงปรากฏหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงสำคัญ จงเชื่อ น้อมใจเชื่อข้อความ
นั้นอย่างนั้นเถิด จงหมดความเคลือบแคลงสงสัยในข้อนั้นเถิด นั่นแลคือที่สุด
แห่งทุกข์”
ปริวีมังสนสูตรที่ ๑ จบ

๒. อุปาทานสูตร
ว่าด้วยความยึดมั่นถือมั่น
[๕๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลาย
ที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็น
ปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เปรียบเหมือนกองไฟใหญ่ที่สุมด้วยไม้ ๑๐ เล่มเกวียนบ้าง ๒๐ เล่มเกวียนบ้าง
๓๐ เล่มเกวียนบ้าง ๔๐ เล่มเกวียนบ้าง พึงลุกโพลง บุรุษใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้งและ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๒. อุปาทานสูตร
ไม้แห้งเข้าไปในกองไฟนั้น ทุก ๆ ระยะ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ กองไฟใหญ่นั้น ได้อาหาร๑
อย่างนั้น ได้เชื้อ๒อย่างนั้น พึงลุกโพลงตลอดกาลนาน อุปมานี้ฉันใด อุปไมย
ก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่ง
อุปาทาน ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้น
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน
ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกองไฟใหญ่ที่สุมด้วยไม้ ๑๐ เล่มเกวียนบ้าง
๒๐ เล่มเกวียนบ้าง ๓๐ เล่มเกวียนบ้าง ๔๐ เล่มเกวียนบ้าง พึงลุกโพลง บุรุษ
ไม่ใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้งและไม้แห้งเข้าไปในกองไฟนั้นทุก ๆ ระยะ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้
กองไฟใหญ่นั้นไม่ได้อาหารอย่างนั้น ไม่ได้เชื้ออย่างนั้น พึงดับไป เพราะสิ้นเชื้อเก่า
และไม่เติมเชื้อใหม่ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ
ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทาน
จึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”
อุปาทานสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๓. สังโยชนสูตร

๓. สังโยชนสูตร
ว่าด้วยสังโยชน์
[๕๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่
เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์๑ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็น
ปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันพึงติดไฟได้ ก็เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ บุรุษเติม
น้ำมันและใส่ไส้ในประทีปน้ำมันนั้นทุก ๆ ระยะ เมื่อเป็นอย่างนี้ ประทีปน้ำมันนั้น
ได้อาหารอย่างนั้น ได้เชื้ออย่างนั้น พึงลุกโพลงตลอดกาลนาน อุปมานี้ฉันใด อุปไมย
ก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัย
แห่งสังโยชน์ ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทาน
จึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติ
เป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้น
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๔. ทุติยสังโยชนสูตร
เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์
ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันพึงติดไฟได้ ก็เพราะอาศัยน้ำมัน
และไส้ บุรุษไม่เติมน้ำมันและไม่ใส่ไส้ในประทีปน้ำมันนั้นทุก ๆ ระยะ เมื่อเป็นอย่างนี้
ประทีปน้ำมันนั้น ไม่ได้อาหารอย่างนั้น ไม่ได้เชื้ออย่างนั้น พึงดับไป เพราะสิ้น
เชื้อเก่าและไม่เติมเชื้อใหม่ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษ
เนือง ๆ ในธรรมทั้งหลาย ที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”
สังโยชนสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยสังโยชนสูตร
ว่าด้วยสังโยชน์ สูตรที่ ๒
[๕๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันพึงติดไฟได้ ก็เพราะอาศัยน้ำมัน
และไส้ บุรุษเติมน้ำมันและใส่ไส้ในประทีปน้ำมันนั้นทุก ๆ ระยะ เมื่อเป็นอย่างนี้
ประทีปน้ำมันนั้น ได้อาหารอย่างนั้น ได้เชื้ออย่างนั้น พึงลุกโพลงตลอดกาลนาน
อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรม
ที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๕. มหารุกขสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันพึงติดไฟได้ ก็เพราะอาศัยน้ำมัน
และไส้ บุรุษไม่เติมน้ำมันและไม่ใส่ไส้ในประทีปน้ำมันนั้นทุก ๆ ระยะ เมื่อเป็นอย่างนี้
ประทีปน้ำมันนั้น ไม่ได้อาหารอย่างนั้น ไม่ได้เชื้ออย่างนั้น พึงดับไป เพราะสิ้นเชื้อเก่า
และไม่เติมเชื้อใหม่ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ
ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทาน
จึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”
ทุติยสังโยชนสูตรที่ ๔ จบ

๕. มหารุกขสูตร
ว่าด้วยต้นไม้ใหญ่
[๕๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่
เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้
ด้วยประการฉะนี้
เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ขยายไปรอบ ๆ รากทั้งหมดนั้น
ย่อมดูดอาหารขึ้นไปข้างบน เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้นได้อาหารอย่างนั้น ได้สาร
อย่างนั้น พึงยืนต้นอยู่ได้ตลอดกาลนาน อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุ
พิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลาย ที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน
ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ภพจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน
ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๖. ทุติยมหารุกขสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ (ยืนต้นอยู่อย่างนั้น) ทีนั้นบุรุษถือ
จอบและตะกร้าเดินมา ตัดต้นไม้ที่โคนต้นแล้ว ขุดลงไป ครั้นขุดลงไปแล้ว ก็ถอนราก
ใหญ่น้อย โดยที่สุดแม้เท่าก้านแฝกขึ้น บุรุษนั้นพึงตัดต้นไม้นั้นเป็นท่อนเล็กท่อน
ใหญ่แล้วพึงผ่า ครั้นผ่าแล้ว ทำให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วเกลี่ย ผึ่งลม ผึ่งแดด
ครั้นผึ่งลม ผึ่งแดดแล้ว เอาไฟเผา ครั้นเอาไฟเผาแล้ว ทำให้เป็นเขม่า ครั้นทำ
ให้เป็นเขม่าแล้ว พึงโปรยที่ลมแรงหรือลอยในแม่น้ำที่มีกระแสเชี่ยว เมื่อเป็นอย่างนี้
ต้นไม้ใหญ่นั้นถูกตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณา
เห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน ตัณหาย่อมดับ เพราะ
ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”
มหารุกขสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยมหารุกขสูตร
ว่าด้วยต้นไม้ใหญ่ สูตรที่ ๒
[๕๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ขยายไปรอบ ๆ
รากทั้งหมดนั้นย่อมดูดอาหารขึ้นไปข้างบน เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้นได้อาหาร
อย่างนั้น ได้สารอย่างนั้น พึงยืนต้นอยู่ได้ตลอดกาลนาน อุปมานี้ฉันใด อุปไมย
ก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัย
แห่งอุปาทาน ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ (ยืนต้นอยู่อย่างนั้น) ทีนั้นบุรุษถือจอบ
และตะกร้าเดินมา ตัดต้นไม้ที่โคนต้นแล้ว ขุดลงไป ครั้นขุดลงไปแล้ว ก็ถอนราก
ใหญ่น้อยแม้เท่าก้านแฝกขึ้น ฯลฯ หรือลอยในแม่น้ำที่มีกระแสเชี่ยว เมื่อเป็น
อย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้นถูกตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๗. ตรุณรุกขสุตร
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อ
ภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน ตัณหาย่อมดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วย
ประการฉะนี้”
ทุติยมหารุกขสูตรที่ ๖ จบ

๗. ตรุณรุกขสูตร
ว่าด้วยต้นไม้อ่อน
[๕๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่
เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เปรียบเหมือนต้นไม้อ่อน (ยืนต้นอยู่อย่างนั้น) บุรุษพึงถนอมรากพรวนดิน
รดน้ำสม่ำเสมอ เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้อ่อนนั้นได้อาหารอย่างนั้น ได้สารอย่างนั้น
พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณา
เห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลาย ที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ตัณหาย่อมเจริญ
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้
ด้วยประการฉะนี้
เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์
ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้อ่อน (ยืนต้นอยู่อย่างนั้น) ทีนั้นบุรุษถือจอบ
และตะกร้าเดินมา ฯลฯ หรือลอยในแม่น้ำที่มีกระแสเชี่ยว เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้อ่อน
นั้น ถูกตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็น
โทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”
ตรุณรุกขสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๘. นามรูปสูตร

๘. นามรูปสูตร
ว่าด้วยนามรูป
[๕๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่
เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ นามรูปย่อมหยั่งลง เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ขยายไปรอบ ๆ รากทั้งหมดนั้น
ย่อมดูดอาหารขึ้นไปข้างบน เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้นได้อาหารอย่างนั้น
ได้สารอย่างนั้น พึงยืนต้นอยู่ได้ตลอดกาลนาน อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุ
พิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ นามรูปย่อม
หยั่งลง เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลาย ที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์
นามรูปย่อมไม่หยั่งลง เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกอง
ทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ (ยืนต้นอยู่อย่างนั้น) ทีนั้นบุรุษถือจอบ
และตะกร้าเดินมา ฯลฯ เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุ
พิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ นามรูปย่อมไม่
หยั่งลง เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
มีได้ด้วยประการฉะนี้”
นามรูปสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๙. วิญญาณสูตร

๙. วิญญาณสูตร
ว่าด้วยวิญญาณ
[๕๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่
เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ วิญญาณย่อมหยั่งลง เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ขยายไปรอบ ๆ ฯลฯ อุปมานี้
ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลาย
ที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ วิญญาณย่อมหยั่งลง เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูป
จึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์
วิญญาณย่อมไม่หยั่งลง เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ (ยืนต้นอยู่อย่างนั้น) ทีนั้นบุรุษถือจอบ
และตะกร้าเดินมา ฯลฯ เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุ
พิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ วิญญาณย่อม
ไม่หยั่งลง เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
มีได้ด้วยประการฉะนี้”
วิญญาณสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๑๐. นิทานสูตร

๑๐. นิทานสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นต้นเหตุ
[๖๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า
กัมมาสทัมมะ แคว้นกุรุ
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมลึกซึ้ง แต่ถึงอย่างนั้น
ก็ปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนกับว่าเป็นธรรมง่าย ๆ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ อย่าพูดอย่างนั้น อานนท์ อย่าพูดอย่างนั้น
ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง สุดจะคาดคะเนได้ ก็เพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ
ไม่บรรลุธรรมนี้ หมู่สัตว์จึงยุ่ง เหมือนขอดด้ายของช่างหูก เป็นปมนุงนังเหมือน
กระจุกด้าย เหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ไม่ข้ามพ้นอบาย๑ ทุคติ วินิบาต
สงสาร
เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่ง
อุปาทาน ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทาน
เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ขยายไปรอบ ๆ รากทั้งหมดนั้น
ดูดอาหารขึ้นไปข้างบน เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้นได้อาหารอย่างนั้น ได้สารอย่างนั้น
พึงยืนต้นอยู่ได้ตลอดกาลนาน อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณา
เห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน ตัณหาย่อมเจริญ
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๑๐. นิทานสูตร
เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน
ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ (ยืนต้นอยู่อย่างนั้น) ทีนั้นบุรุษถือจอบและตะกร้าเดินมา
ตัดต้นไม้นั้นที่โคนต้นแล้ว ขุดลงไป ครั้นขุดลงไปแล้ว ก็ถอนรากใหญ่น้อยโดยที่สุด
แม้เท่าก้านแฝกขึ้น บุรุษนั้นพึงตัดต้นไม้นั้นเป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่ ครั้นตัดต้นไม้นั้น
เป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่แล้วพึงผ่า ครั้นผ่าแล้ว ทำให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วเกลี่ย
ผึ่งลม ผึ่งแดด ครั้นผึ่งลม ผึ่งแดดแล้ว เอาไฟเผา ครั้นเอาไฟเผาแล้ว ทำให้เป็น
เขม่า ครั้นทำให้เป็นเขม่าแล้ว พึงโปรยที่ลมแรง หรือลอยในแม่น้ำที่มีกระแสเชี่ยว
เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้นถูกตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น
เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน ตัณหา
ย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ
ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”
นิทานสูตรที่ ๑๐ จบ
ทุกขวรรคที่ ๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปริวีมังสนสูตร ๒. อุปาทานสูตร
๓. สังโยชนสูตร ๔. ทุติยสังโยชนสูตร
๕. มหารุกขสูตร ๖. ทุติยมหารุกขสูตร
๗. ตรุณรุกขสูตร ๘. นามรูปสูตร
๙. วิญญาณสูตร ๑๐. นิทานสูตร

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น