Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๖-๓ หน้า ๑๑๕ - ๑๗๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๐๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑. อัสสุตวาสูตร

๗. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยพระสูตรที่มีเนื้อหาสำคัญ

๑. อัสสุตวาสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่ได้สดับ
[๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ๑ พึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง
หลุดพ้นบ้าง จากกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุที่การประชุมก็ดี ความสิ้นไปก็ดี การยึดถือก็ดี การทอดทิ้งกาย
ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ก็ดี ย่อมปรากฏ เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้
สดับพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง จากกายนั้น
ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่อาจ
เบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะจิตเป็นต้นนี้ ถูกรัดไว้ด้วยตัณหา ยึดถือว่าเป็นของเรา เป็นสิ่งที่ปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับยึดมั่นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ตลอดกาลนาน
เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ จึงไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจาก
จิตเป็นต้นนั้นได้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑. อัสสุตวาสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ พึงยึดถือกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต
ทั้ง ๔ นี้ โดยความเป็นอัตตายังประเสริฐกว่า ส่วนการยึดถือจิตโดยความเป็นอัตตา
ไม่ประเสริฐเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ๑ ปีบ้าง ๒ ปีบ้าง
๓ ปีบ้าง ๔ ปีบ้าง ๕ ปีบ้าง ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง
๑๐๐ ปีบ้าง หรือเกินกว่าบ้าง ก็ยังปรากฏ
ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่ง
เกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน เปรียบเหมือนลิงเมื่อเที่ยวไปในป่าเล็ก
และป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งไม้นั้นแล้ว ย่อมจับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งนั้นแล้วย่อมจับ
กิ่งอื่นต่อไป ฉะนั้น ตถาคตจึงเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’
จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมมนสิการปฏิจจสมุปบาทนั้นแหละโดย
แยบคาย ในกายและจิตนั้นว่า ‘เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น
สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ความเกิด
ขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย
กำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อัสสุตวาสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๒. ทุติยอัสสุตวาสูตร

๒. ทุติยอัสสุตวาสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่ได้สดับ สูตรที่ ๒
[๖๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ พึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง
หลุดพ้นบ้าง จากกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุที่การประชุมก็ดี ความสิ้นไปก็ดี การยึดถือก็ดี การทอดทิ้งกายซึ่ง
เป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ก็ดี ย่อมปรากฏ เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
พึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้างจากกายนั้น
ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับไม่อาจ
เบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะจิตเป็นต้นนี้ ถูกรัดไว้ด้วยตัณหา ยึดถือว่าเป็นของเรา เป็นสิ่งที่ปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับยึดมั่นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ตลอดกาลนาน
เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ จึงไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจาก
จิตเป็นต้นนั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ พึงยึดถือกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต
ทั้ง ๔ นี้ โดยความเป็นอัตตายังประเสริฐกว่า ส่วนการยึดถือจิตโดยความเป็นอัตตา
ไม่ประเสริฐเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ๑ ปีบ้าง ๒ ปีบ้าง
๓ ปีบ้าง ๔ ปีบ้าง ๕ ปีบ้าง ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง
๑๐๐ ปีบ้าง หรือเกินกว่าบ้าง ก็ยังปรากฏ
ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่ง
เกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๒. ทุติยอัสสุตวาสูตร
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมมนสิการปฏิจจสมุปบาทนั้นแหละโดย
แยบคาย ในกายและจิตนั้นว่า ‘เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น
สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
สุขเวทนาเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา
เพราะผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้นแหละดับไป สุขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา ซึ่งเสวยอารมณ์อันเกิดจากผัสสะนั้น
ก็ดับระงับไป
ทุกขเวทนาเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
เพราะผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้นแหละดับไป ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา ซึ่งเสวยอารมณ์อันเกิดจากผัสสะนั้น
ก็ดับระงับไป
อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนา
เพราะผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแหละดับไป อทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนา ซึ่งเสวยอารมณ์อันเกิดจาก
ผัสสะนั้น ก็ดับระงับไป
ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้สองท่อนเสียดสีกันจึงเกิดความร้อนลุกเป็นไฟ แต่ถ้า
แยกไม้สองท่อนนั้นออกจากกัน ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีกันนั้น ก็จะดับมอดลง
แม้ฉันใด
สุขเวทนาเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา
เพราะผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้นแหละดับไป สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา ซึ่งเสวยอารมณ์อันเกิดจากผัสสะนั้น ก็ดับ
ระงับไป
ทุกขเวทนาเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
เพราะผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้นแหละดับไป ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา ซึ่งเสวยอารมณ์อันเกิดจากผัสสะนั้น ก็ดับ
ระงับไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๓. ปุตตมังสสูตร
อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะที่ปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนา
เพราะผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแหละดับไป อทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนา ซึ่งเสวยอารมณ์อันเกิด
จากผัสสะนั้น ก็ดับระงับไป ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในผัสสะ
แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย
กำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ทุติยอัสสุตวาสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปุตตมังสสูตร
ว่าด้วยเนื้อบุตร
[๖๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างนี้ เป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์
ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด
อาหาร ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. กวฬิงการาหาร ที่หยาบหรือละเอียด
๒. ผัสสาหาร
๓. มโนสัญเจตนาหาร
๔. วิญญาณาหาร
อาหาร ๔ อย่างนี้ เป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่อ
อนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๓. ปุตตมังสสูตร
กวฬิงการาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร
คือ เปรียบเหมือนภรรยาสามีทั้งสอง ถือเอาเสบียงเล็กน้อย เดินทางกันดาร๑
เขาทั้งสองมีบุตรน้อย ๑ คนทั้งน่ารัก และน่าพอใจ ขณะที่พวกเขากำลังเดินทาง
กันดาร เสบียงที่มีเพียงเล็กน้อยได้หมดสิ้นไป แต่ทางกันดารของพวกเขายังไม่ผ่านไป
ยังเหลืออยู่ไกล ลำดับนั้น เขาทั้งสองตกลงกันว่า ‘เสบียงที่เหลืออยู่เล็กน้อย ได้หมด
สิ้นไปแล้ว แต่ทางกันดารยังเหลืออยู่ไกล ทางที่ดี พวกเราช่วยกันฆ่าบุตรน้อย ที่น่า
รักน่าพอใจคนนี้เสีย ทำเป็นเนื้อเค็มและเนื้อย่าง บริโภคเนื้อบุตร ก็จะข้ามพ้นทาง
กันดารที่เหลืออยู่ได้ เราทั้ง ๓ อย่าพินาศพร้อมกันเลย’ ต่อมา ภรรยาสามีทั้งสองนั้น
ก็ฆ่าบุตรน้อยที่น่ารักน่าพอใจคนนั้น ทำเป็นเนื้อเค็มและเนื้อย่าง บริโภคเนื้อบุตรนั้น
แหละจึงข้ามพ้นทางกันดารนั้นไปได้ พวกเขาบริโภคเนื้อบุตรไปพลาง ทุบอกไปพลาง
รำพันว่า ‘บุตรน้อยอยู่ที่ไหน บุตรน้อยอยู่ที่ไหน’
เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ พวกเขาบริโภคเนื้อบุตรเป็นอาหาร เพื่อเล่น เพื่อความมัวเมา หรือเพื่อ
ตกแต่ง เพื่อประดับร่างกายหรือ”
“หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“พวกเขาบริโภคอาหารที่ปรุงจากเนื้อบุตรเพียงเพื่อจะข้ามทางกันดารให้พ้นหรือ”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เรากล่าวว่า ‘บุคคลพึงเห็น
กวฬิงการาหาร (เปรียบเหมือนเนื้อบุตร)’ เมื่ออริยสาวกกำหนด๒รู้กวฬิงการาหาร
ได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ราคะซึ่งเกิดจากกามคุณ ๕ เมื่อกำหนดรู้ราคะซึ่งเกิดจาก
กามคุณ ๕ ได้แล้ว สังโยชน์ที่เป็นเครื่องชักนำอริยสาวกให้มาสู่โลกนี้อีก ก็ไม่มี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๓. ปุตตมังสสูตร
ผัสสาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร
คือ เปรียบเหมือนแม่โคที่ไม่มีหนังหุ้ม ถ้ายืนพิงฝาอยู่ ก็จะถูกฝูงสัตว์ที่อาศัย
ฝาเจาะกิน ถ้ายืนพิงต้นไม้อยู่ ก็จะถูกฝูงสัตว์ที่อาศัยต้นไม้เจาะกิน ถ้าลงไปยืน
แช่น้ำอยู่ ก็จะถูกฝูงสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำกัดกิน ถ้ายืนอยู่ในที่แจ้ง ก็จะถูกฝูงสัตว์
ที่อาศัยอยู่ในอากาศเกาะจิกกิน ไม่ว่าแม่โคตัวที่ไม่มีหนังหุ้มตัวนั้นจะไปอาศัยอยู่ใน
สถานที่ใด ๆ ก็ตาม ก็ถูกจำพวกสัตว์ที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้น ๆ กัดกินอยู่ร่ำไป
อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เรากล่าวว่า ‘บุคคลพึงเห็นผัสสาหาร (เปรียบเหมือน
แม่โคที่ไม่มีหนังหุ้ม)’ เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้ผัสสาหารได้แล้วก็เป็นอันกำหนดรู้
เวทนา ๓ ประการ เมื่อกำหนดรู้เวทนา ๓๑ ประการได้แล้ว เรากล่าวว่าไม่มีสิ่งใดที่
อริยสาวกพึงทำให้ยิ่งไปกว่านี้
มโนสัญเจตนาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร
คือ เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ลึกกว่าชั่วคน เต็มไปด้วยถ่านเพลิง ไม่มีเปลว
ไม่มีควัน ครั้งนั้นบุรุษคนหนึ่งต้องการมีชีวิตไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์เดินมา
บุรุษมีกำลัง ๒ คนจับแขนของเขาคนละข้างฉุดไปลงหลุมถ่านเพลิง ทันใดนั้น เขามี
เจตนาปรารถนาตั้งใจจะไปให้ไกลจากหลุมถ่านเพลิง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเขารู้ว่า ‘ถ้าเราจักตกหลุมถ่านเพลิงนี้ เราจักต้องตายหรือถึงทุกข์
ปางตาย เพราะเหตุนั้น’ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เรากล่าวว่า ‘บุคคลพึง
เห็นมโนสัญเจตนาหาร (เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง)’ เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้มโน-
สัญเจตนาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ตัณหา ๓๒ ประการ เมื่อกำหนดรู้ตัณหา
๓ ประการได้แล้ว เรากล่าวว่าไม่มีสิ่งใดที่อริยสาวกพึงทำให้ยิ่งไปกว่านี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๓. ปุตตมังสสูตร
วิญญาณาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร
คือ เปรียบเหมือนราชบุรุษทั้งหลายจับโจรผู้ประพฤติชั่วได้แล้ว จึงทูลแสดงแด่
พระราชาว่า ‘ขอเดชะ ผู้นี้เป็นโจรประพฤติชั่วต่อพระองค์ ขอจงทรงลงพระอาญา
ตามที่ทรงพระราชประสงค์แก่โจรผู้นี้เถิด’
พระราชามีพระกระแสรับสั่งว่า ‘ท่านทั้งหลาย จงไปช่วยกันประหารมัน
ด้วยหอก ๑๐๐ เล่มในเวลาเช้า’ ราชบุรุษทั้งหลายก็ช่วยกันประหารนักโทษคนนั้น
ด้วยหอก ๑๐๐ เล่มในเช้าวันนั้น
ต่อมาในเวลาเที่ยงวัน พระราชาทรงซักถามราชบุรุษทั้งหลายว่า ‘ท่านทั้งหลาย
นักโทษคนนั้นเป็นอย่างไรบ้าง’
ราชบุรุษทั้งหลายกราบทูลว่า ‘เขายังมีชีวิตอยู่ พระพุทธเจ้าข้า’ จึงมี
พระกระแสรับสั่งว่า ‘ท่านทั้งหลาย จงไปช่วยกันประหารมันด้วยหอก ๑๐๐ เล่ม
ในเวลาเที่ยงวัน’ ราชบุรุษทั้งหลายก็ช่วยกันประหารนักโทษคนนั้นด้วยหอก ๑๐๐ เล่ม
ในเวลาเที่ยงวัน
ต่อมาในเวลาเย็น พระราชาทรงซักถามราชบุรุษทั้งหลายอีกว่า ‘ท่านทั้งหลาย
นักโทษคนนั้นเป็นอย่างไรบ้าง’
ราชบุรุษทั้งหลายกราบทูลว่า ‘เขายังมีชีวิตอยู่ พระพุทธเจ้าข้า’ จึงมี
พระกระแสรับสั่งว่า ‘ท่านทั้งหลาย จงไปช่วยกันประหารมันด้วยหอก ๑๐๐ เล่ม
ในเวลาเย็น’
ราชบุรุษทั้งหลายก็ช่วยกันประหารนักโทษคนนั้นด้วยหอก ๑๐๐ เล่ม ในเวลาเย็น
เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ เมื่อเขาถูกประหารด้วยหอก ๓๐๐ เล่มตลอดทั้งวัน จะพึงได้เสวยทุกข์-
โทมนัสซึ่งมีการประหารนั้นเป็นเหตุ มิใช่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๔. อัตถิราคสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเขาถูกประหารแม้ด้วยหอก ๑ เล่ม ยังได้เสวย
ทุกข์โทมนัสซึ่งมีการประหารนั้นเป็นเหตุ ไม่ต้องพูดถึงเมื่อถูกประหารด้วยหอก
๓๐๐ เล่ม”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เรากล่าวว่า ‘บุคคลพึงเห็น
วิญญาณาหาร (เปรียบเหมือนนักโทษประหาร)’ เมื่ออริยสาวก กำหนดรู้วิญญาณา-
หารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้นามรูปได้ เมื่อกำหนดรู้นามรูปได้แล้ว เรากล่าวว่า
ไม่มีสิ่งใดที่อริยสาวกพึงทำให้ยิ่งไปกว่านี้”
ปุตตมังสสูตรที่ ๓ จบ

๔. อัตถิราคสูตร
ว่าด้วยราคะมีอยู่
[๖๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างนี้ เป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้
เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด
อาหาร ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. กวฬิงการาหาร ที่หยาบหรือละเอียด
๒. ผัสสาหาร
๓. มโนสัญเจตนาหาร
๔. วิญญาณาหาร
อาหาร ๔ อย่างนี้ เป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่อ
อนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด
ถ้าราคะ(ความกำหนัด) นันทิ(ความเพลิดเพลิน) ตัณหา(ความทะยานอยาก)
มีอยู่ ในกวฬิงการาหาร วิญญาณจะตั้งอยู่งอกงามในกวฬิงการาหารนั้น ที่ใดวิญญาณ
ตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมมีนามรูปหยั่งลง ที่ใดมีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมมีความเจริญ
แห่งสังขารทั้งหลาย ที่ใดมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมมีการเกิดในภพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๔. อัตถิราคสูตร
ใหม่ต่อไป ที่ใดมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่นั้นย่อมมีชาติ ชราและมรณะต่อไป ที่ใด
มีชาติ ชราและมรณะต่อไป เรากล่าวว่าที่นั้นมีความโศก มีความกระวนกระวาย
และมีความคับแค้น
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา มีอยู่ในผัสสาหาร ...
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา มีอยู่ในมโนสัญเจตนาหาร ...
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา มีอยู่ในวิญญาณาหาร วิญญาณจะตั้งอยู่งอกงาม
ในวิญญาณาหารนั้น ที่ใดมีวิญญาณตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมมีนามรูปหยั่งลง
ที่ใดมีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่ใดมีความเจริญ
แห่งสังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่ใดมีการเกิดในภพใหม่
ต่อไป ที่นั้นย่อมมีชาติ ชราและมรณะต่อไป ที่ใดมีชาติ ชราและมรณะต่อไป เรากล่าว
ว่า ที่นั้นมีความโศก มีความกระวนกระวายและมีความคับแค้น
เปรียบเหมือนเมื่อมีน้ำย้อม ครั่ง ขมิ้น สีเขียว หรือสีแดงอ่อน ช่างย้อมหรือ
จิตรกรพึงเขียนรูปภาพสตรีหรือรูปภาพบุรุษ ให้ได้สัดส่วนครบถ้วนลงบนแผ่นกระดานที่
ขัดดีแล้ว ฝาผนัง หรือแผ่นผ้า อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ถ้าราคะ นันทิ ตัณหามี
อยู่ในกวฬิงการาหาร วิญญาณจะตั้งอยู่งอกงามในกวฬิงการาหารนั้น ที่ใดมีวิญญาณ
ตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมมีนามรูปหยั่งลง ที่ใดมีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมมีความ
เจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่ใดมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมมีการเกิด
ในภพใหม่ต่อไป ที่ใดมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่นั้นย่อมมีชาติ ชราและมรณะต่อไป
ที่ใดมีชาติ ชราและมรณะต่อไป เรากล่าวว่าที่นั้นมีความโศก มีความกระวนกระวาย
และมีความคับแค้น
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา มีอยู่ในผัสสาหาร ...
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา มีอยู่ในมโนสัญเจตนาหาร ...
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา มีอยู่ในวิญญาณาหาร วิญญาณจะตั้งอยู่งอกงาม
ในวิญญาณาหารนั้น ที่ใดมีวิญญาณตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมมีนามรูปหยั่งลง ที่ใด
มีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่ใดมีความเจริญแห่ง
สังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่ใดมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๔. อัตถิราคสูตร
ที่นั้นย่อมมีชาติ ชราและมรณะต่อไป เรากล่าวว่าที่นั้นมีความโศก มีความกระวน-
กระวาย และมีความคับแค้น
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา ไม่มีในกวฬิงการาหาร วิญญาณจะ
ไม่ตั้งอยู่งอกงามในกวฬิงการาหารนั้น ที่ใดวิญญาณไม่ตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมไม่มี
นามรูปหยั่งลง ที่ใดไม่มีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย
ที่ใดไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่ใด
ไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่นั้นย่อมไม่มีชาติ ชราและมรณะต่อไป ที่ใดไม่มีชาติ
ชราและมรณะต่อไป เรากล่าวว่าที่นั้นไม่มีความโศก ไม่มีความกระวนกระวาย และ
ไม่มีความคับแค้น
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา ไม่มีในผัสสาหาร ...
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา ไม่มีในมโนสัญเจตนาหาร ...
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา ไม่มีในวิญญาณาหาร วิญญาณจะไม่ตั้งอยู่งอกงามใน
วิญญาณาหารนั้น ที่ใดวิญญาณไม่ตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมไม่มีนามรูปหยั่งลง ที่ใด
ไม่มีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่ใดไม่มีความ
เจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่ใดไม่มีการเกิดใน
ภพใหม่ต่อไป ที่นั้นย่อมไม่มีชาติ ชราและมรณะต่อไป ที่ใดไม่มีชาติ ชราและมรณะต่อไป
เรากล่าวว่าที่นั้นไม่มีความโศก ไม่มีความกระวนกระวาย และไม่มีความคับแค้น
เปรียบเหมือนเรือนยอด๑ หรือศาลาเรือนยอด๒ มีหน้าต่างด้านทิศเหนือทิศใต้
หรือทิศตะวันออก พอดวงอาทิตย์ขึ้น แสงสว่างที่เข้าทางหน้าต่าง จะพึงส่องไปที่ไหน”
“ส่องไปที่ฝาด้านทิศตะวันตก พระพุทธเจ้าข้า”
“ถ้าไม่มีฝาด้านทิศตะวันตกเล่า แสงสว่างนั้นจะพึงส่องไปที่ไหน”
“ที่แผ่นดิน พระพุทธเจ้าข้า”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๗. มหาวรรค ๕. นครสูตร
“ถ้าไม่มีแผ่นดินเล่า แสงสว่างนั้นจะพึงส่องไปที่ไหน”
“ที่น้ำ พระพุทธเจ้าข้า”
“ถ้าไม่มีน้ำเล่า แสงสว่างจะพึงส่องไปที่ไหน”
“ไม่มีที่ส่อง พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา ไม่มีใน
กวฬิงการาหาร ฯลฯ
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา ไม่มีในผัสสาหาร ...
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา ไม่มีในมโนสัญเจตนาหาร ...
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา ไม่มีในวิญญาณาหาร วิญญาณจะไม่ตั้งอยู่งอกงามใน
วิญญาณาหารนั้น ที่ใดวิญญาณไม่ตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมไม่มีนามรูปหยั่งลง ที่ใด
ไม่มีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่ใดไม่มีความ
เจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่ใดไม่มีการเกิดใน
ภพใหม่ต่อไป ที่นั้นย่อมไม่มีชาติ ชราและมรณะต่อไป ที่ใดไม่มีชาติ ชราและมรณะ
ต่อไป เรากล่าวว่าที่นั้นไม่มีความโศก ไม่มีความกระวนกระวาย และไม่มีความ
คับแค้น”
อัตถิราคสูตรที่ ๔ จบ

๕. นครสูตร
ว่าด้วยนคร
[๖๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความ
คิดคำนึงอย่างนี้ว่า ‘โลกนี้ถึงความคับแค้น จึงเกิด แก่ ตาย จุติและอุบัติ ก็บุคคล
ไม่รู้อุบายสลัดออกจากทุกข์คือชราและมรณะนี้ เมื่อไรจึงจะพ้นจากทุกข์คือชราและ
มรณะนี้ได้’ เราได้ดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ชรา
และมรณะจึงมี’ เพราะมนสิการโดยแยบคาย เราจึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อชาติมี
ชราและมรณะจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๗. มหาวรรค ๕. นครสูตร
เราได้ดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี ฯลฯ ภพจึงมี ... อุปาทานจึงมี ... ตัณหา
จึงมี ... เวทนาจึงมี ... ผัสสะจึงมี... สฬายตนะจึงมี ... นามรูปจึงมี ... เพราะอะไร
เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี’ เพราะมนสิการโดยแยบคาย เราจึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า
‘เพราะวิญญาณมี นามรูปจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี’
เราได้ดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี วิญญาณจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี’
เพราะมนสิการโดยแยบคาย เราจึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า ‘เพราะนามรูปมี วิญญาณ
จึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี’
เราได้ดำริว่า ‘วิญญาณนี้ย่อมกลับมา ไม่พ้นจากนามรูป ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
โลกจึงเกิด แก่ ตาย จุติ และอุบัติ กล่าวคือ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณ
จึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ
จึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่
เคยได้ฟังมาก่อนได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘สมุทัย สมุทัย’
เราได้ดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชราและ
มรณะจึงดับ’ เพราะมนสิการโดยแยบคาย เราจึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อชาติ
ไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ’
เราได้ดำริว่า ‘เพราะอะไรไม่มี ชาติจึงไม่มี ฯลฯ ภพจึงไม่มี ... อุปาทานจึง
ไม่มี ... ตัณหาจึงไม่มี ... เวทนาจึงไม่มี ... ผัสสะจึงไม่มี ... สฬายตนะจึงไม่มี ...
นามรูปจึงไม่มี ... เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับ’ เพราะมนสิการโดยแยบคาย เราจึงได้
รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า ‘เพราะวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะวิญญาณดับ นามรูป
จึงดับ’
เราได้ดำริว่า ‘เพราะอะไรไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะอะไรดับ วิญญาณจึงดับ’
เพราะมนสิการโดยแยบคาย เราจึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า ‘เพราะนามรูปไม่มี
วิญญาณจึงไม่มี เพราะนามรูปดับ วิญญาณจึงดับ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๗. มหาวรรค ๕. นครสูตร
เราได้ดำริว่า ‘มรรคนี้เราได้บรรลุแล้วด้วยปัญญาเครื่องตรัสรู้ คือ เพราะนามรูป
ดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะ
จึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้
ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่
เคยได้ฟังมาก่อนได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘นิโรธ นิโรธ’
เปรียบเหมือนบุรุษเมื่อเที่ยวไปในป่าเล็ก ป่าใหญ่ พบทางเก่าที่คนสมัยก่อน
เคยใช้เดินไปมา เขาเดินตามทางนั้นไป พบนครเก่า ราชธานีโบราณซึ่งสมบูรณ์ด้วย
สวนดอกไม้ ป่าไม้ สระโบกขรณี เชิงเทิน ล้วนน่ารื่นรมย์ ที่คนสมัยก่อนเคยอยู่
อาศัย ต่อมาเขาได้กราบทูลพระราชา หรือเรียนแก่ราชมหาอำมาตย์ว่า ‘ขอเดชะ
ขอพระองค์โปรดทรงรับรู้เถิดพระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าเมื่อเที่ยวไปในป่าเล็ก
ป่าใหญ่ ได้พบทางเก่าที่คนสมัยก่อนเคยใช้เดินไปมา ข้าพระพุทธเจ้าเดินตามทาง
นั้นไป ขณะเดินอยู่ ก็ได้พบนครเก่า ราชธานีโบราณซึ่งสมบูรณ์ด้วยสวนดอกไม้ ป่าไม้
สระโบกขรณี เชิงเทิน ล้วนน่ารื่นรมย์ ที่คนสมัยก่อนเคยอยู่อาศัย ขอพระองค์โปรด
ให้สร้างพระนครนั้นเถิด พระพุทธเจ้าข้า’ หลังจากนั้น พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์
จึงได้สร้างนครนั้นขึ้นมา ต่อมาพระนครนั้นได้มั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก
มีพลเมืองหนาแน่น ทั้งถึงความเจริญไพบูลย์ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เราได้
พบทางเก่า ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ เคยเสด็จพระดำเนิน
ทางเก่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ เคยเสด็จพระดำเนิน เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้คือทางเก่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ เคยเสด็จพระดำเนิน เราก็
ได้ดำเนินตามทางนั้น ได้รู้ชัดชราและมรณะ ได้รู้ชัดความเกิดแห่งชราและมรณะ
ได้รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะ และได้รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและ
มรณะ เราได้ดำเนินไปตามทางนั้นแล้ว ขณะดำเนินไปได้รู้ชัดชาติ ฯลฯ ได้รู้ชัดภพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๗. มหาวรรค ๖. สัมมสสูตร
... ได้รู้ชัดอุปาทาน ... ได้รู้ชัดตัณหา ... ได้รู้ชัดเวทนา ... ได้รู้ชัดผัสสะ ... ได้รู้ชัด
สฬายตนะ ... ได้รู้ชัดนามรูป ... ได้รู้ชัดวิญญาณ ... เราได้ดำเนินตามทางนั้นแล้ว
ขณะดำเนินไป ได้รู้ชัดสังขารทั้งหลาย ได้รู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร ได้รู้ชัดความ
ดับแห่งสังขาร ได้รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร ครั้นได้รู้ชัดอริยมรรค
มีองค์ ๘ นั้นแล้ว เราจึงบอกแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้จึงได้บริบูรณ์ กว้างขวาง รู้จักกันโดยมาก มั่นคงดี
กระทั่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ดีแล้ว”
นครสูตรที่ ๕ จบ

๖. สัมมสสูตร
ว่าด้วยการพิจารณาปัจจัยภายใน
[๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวกุรุ ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ
แคว้นกุรุ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพิจารณาปัจจัยภายในกันบ้างหรือ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมพิจารณาปัจจัยภายใน”
“เธอพิจารณาปัจจัยภายในอย่างไร”
ลำดับนั้น ภิกษุรูปนั้นก็ได้ทูลเล่าถวายให้ทรงทราบ (แต่)ไม่เป็นที่พอพระทัย
ของพระผู้มีพระภาค
เมื่อเธอกราบทูลอย่างนั้นแล้ว ท่านพระอานนท์ก็ได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระ
ผู้มีพระภาค ถึงเวลาที่จะทรงแสดงเรื่องนี้แล้ว ข้าแต่พระสุคต ถึงเวลาที่จะทรงแสดง
เรื่องนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายได้ฟังปัจจัยภายในที่พระองค์ตรัสไว้แล้วก็จักทรงจำไว้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๗. มหาวรรค ๖. สัมมสสูตร
“อานนท์ ถ้าเช่นนั้นเธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาปัจจัย
ภายในว่า ‘ชราและมรณะนี้ใด มีทุกข์หลายอย่างนับไม่ถ้วนเกิดขึ้นในโลก ชราและ
มรณะที่เป็นทุกข์นี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็น
แดนเกิด เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี’
เธอพิจารณาอยู่ จึงรู้อย่างนี้ว่า ‘ชราและมรณะนี้ใด มีทุกข์หลายอย่างนับไม่ถ้วนเกิด
ขึ้นในโลก ชราและมรณะที่เป็นทุกข์นี้ มีอุปธิ๑เป็นเหตุ มีอุปธิเป็นเหตุเกิด มีอุปธิเป็น
กำเนิด มีอุปธิเป็นแดนเกิด เมื่ออุปธิมี ชราและมรณะจึงมี เมื่ออุปธิไม่มี ชราและ
มรณะจึงไม่มี’ เธอรู้ชัดชราและมรณะ รู้ชัดความเกิดแห่งชราและมรณะ รู้ชัดความ
ดับแห่งชราและมรณะ และรู้ชัดปฏิปทาอันเหมาะสมที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ
และเธอผู้ปฏิบัติอย่างนั้น ชื่อว่าผู้มีปกติประพฤติตามธรรม เราเรียกภิกษุนี้ว่า เป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ เพื่อความดับแห่งชราและมรณะโดยชอบทุกประการ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาปัจจัยภายในว่า ‘อุปธินี้มี
อะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี
อุปธิจึงมี เมื่ออะไรไม่มี อุปธิจึงไม่มี’ เธอพิจารณาอยู่จึงรู้อย่างนี้ว่า ‘อุปธิมีตัณหา
เป็นเหตุ มีตัณหาเป็นเหตุเกิด มีตัณหาเป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด เมื่อ
ตัณหามี อุปธิจึงมี เมื่อตัณหาไม่มี อุปธิจึงไม่มี’ เธอรู้ชัดอุปธิ รู้ชัดความเกิด
แห่งอุปธิ รู้ชัดความดับแห่งอุปธิ และรู้ชัดปฏิปทาอันเหมาะสมที่ให้ถึงความดับ
แห่งอุปธิ และเธอผู้ปฏิบัติอย่างนั้น ชื่อว่าผู้มีปกติประพฤติตามธรรม เราเรียก
ภิกษุนี้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ เพื่อความดับแห่งอุปธิโดยชอบทุกประการ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาปัจจัยภายในว่า ‘ตัณหานี้
เมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้นในที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน’ เธอพิจารณาอยู่จึงรู้
อย่างนี้ว่า ‘รูปที่เป็นปิยรูป๒ เป็นสาตรูป๓ใดมีอยู่ในโลก ตัณหาเมื่อเกิดขึ้นย่อม
เกิดขึ้นในรูปนั้น เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในรูปนั้น ก็อะไรเล่าเป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๗. มหาวรรค ๖. สัมมสสูตร
คือ จักขุเป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก ฯลฯ โสตะเป็นปิยรูป เป็นสาตรูป
ในโลก ... ฆานะเป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก ... ชิวหาเป็นปิยรูป เป็นสาตรูป
ในโลก ... กายเป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก ... มโนเป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก
ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดขึ้นในมโนนั้น เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในมโนนั้น’
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีต ได้เห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็นสาตรูป
ในโลก โดยความเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา ไม่มีโรค เกษม สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำตัณหาให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำตัณหาให้
เจริญแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำอุปธิให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดทำอุปธิให้เจริญแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำทุกข์ให้เจริญ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำทุกข์ให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่พ้น
จากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นไม่พ้นจากทุกข์ไปได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคต จักเห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็น
สาตรูปในโลก โดยความเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา ไม่มีโรค เกษม สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าจักทำตัณหาให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
จักทำตัณหาให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าจักทำอุปธิให้เจริญ สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่าใดจักทำอุปธิให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าจักทำ
ทุกข์ให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดจักทำทุกข์ให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าจักไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นจักไม่พ้นจากทุกข์ไปได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน เห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็น
สาตรูปในโลก โดยความเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา ไม่มีโรค เกษม สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำตัณหาให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำตัณหา
ให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำอุปธิให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดทำอุปธิให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำทุกข์ให้เจริญ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดทำทุกข์ให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่พ้นจากชาติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๗. มหาวรรค ๖. สัมมสสูตร
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นไม่พ้นจากทุกข์ไปได้
เปรียบเหมือนขันสำริดใส่สุราสมบูรณ์ด้วยสี กลิ่นและรส แต่ขันใบนั้นเจือยาพิษ
ขณะนั้น มีบุรุษเดินฝ่าความร้อนอบอ้าวเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากระหายน้ำมา คนทั้งหลาย
จึงพูดกับเขาว่า ‘พ่อหนุ่ม ขันสำริดใส่สุราใบนี้ สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่นและรสมีไว้สำหรับ
ท่าน แต่ว่ามันเจือยาพิษ ถ้าท่านต้องการก็จงดื่มเถิด เพราะเมื่อดื่ม สุรานั้นก็จักซึมซาบ
ด้วยสีบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง ก็แหละครั้นดื่มแล้ว ท่านจะตาย หรือถึงทุกข์ปางตาย
เพราะการดื่มนั้น’ บุรุษนั้นไม่ทันพิจารณาขันน้ำสำริดนั้น ก็รีบดื่มจนหมด เขาพึงตาย
หรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะการดื่มนั้น
ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งในอดีต ได้เห็นรูปที่เป็นปิยรูปในโลก ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งในอนาคต ฯลฯ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน เห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็น
สาตรูปในโลก โดยความเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา ไม่มีโรค เกษม สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำตัณหาให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำตัณหา
ให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำอุปธิให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดทำอุปธิให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำทุกข์ให้เจริญ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดทำทุกข์ให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่พ้นจากชาติ
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นไม่พ้นจากทุกข์ไปได้
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีต ได้เห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็น
สาตรูปในโลก โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นภัย
สมณะหรือพรามหณ์เหล่านั้นชื่อว่าละตัณหาได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
ละตัณหาได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละอุปธิได้แล้ว สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดละอุปธิได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละทุกข์ได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละทุกข์ได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าพ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๗. มหาวรรค ๖. สัมมสสูตร
ไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้แล้ว เรากล่าวว่า
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นพ้นจากทุกข์ได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคต จักเห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็น
สาตรูปในโลก โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นภัย
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าจักละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
จักละตัณหาได้ ฯลฯ เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นจักพ้นจากทุกข์ไปได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน เห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็น
สาตรูปในโลก โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นภัย
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดชื่อว่า
ละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดชื่อว่าละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าพ้นไปจากชาติ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เรากล่าวว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นพ้นจากทุกข์ไปได้
เปรียบเหมือนขันสำริดใส่สุราสมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรส แต่ขันใบนั้นเจือ
ยาพิษ ขณะนั้นมีบุรุษเดินฝ่าความร้อนอบอ้าวเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากระหายน้ำมา
คนทั้งหลายจึงพูดกับเขาว่า ‘พ่อหนุ่ม ขันสำริดใส่สุราใบนี้ สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น
และรสมีไว้สำหรับท่าน แต่ว่ามันเจือยาพิษ ถ้าท่านต้องการก็จงดื่มเถิด เพราะเมื่อ
ดื่มสุรานั้นก็จักซึมซาบด้วยสีบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง ก็แหละครั้นดื่มแล้ว ท่านจะตาย
หรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะการดื่มนั้น’ ลำดับนั้น บุรุษนั้นพึงคิดว่า ‘ความกระหาย
สุรานี้ เราอาจจะบรรเทาได้ด้วยน้ำดื่ม ฟองน้ำส้ม น้ำข้าวผสมเกลือหรือน้ำยาดอง
แต่เราจะไม่ดื่มสุราที่ให้ประโยชน์สุขแก่เรามาช้านานนั้นเลย’ เขาพิจารณาขันสำริด
นั้นแล้ว ก็ไม่ดื่ม เททิ้งไป เขาจึงไม่ตายหรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะการดื่มนั้น
ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งในอดีต ได้เห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นภัย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ชื่อว่าละตัณหาได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละตัณหาได้แล้ว สมณะหรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๗. นฬกลาปิสูตร
พราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละอุปธิได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละอุปธิได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละทุกข์ได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละ
ทุกข์ได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าพ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้แล้ว เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
พ้นจากทุกข์ได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคต ฯลฯ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน เห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็น
สาตรูปในโลก โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นภัย
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละ
ตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าพ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นพ้นจากทุกข์ไปได้”
สัมมสสูตรที่ ๖ จบ

๗. นฬกลาปิสูตร
ว่าด้วยกำไม้อ้อ
[๖๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะพักอยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้นถึงเวลาเย็น ท่านพระมหาโกฏฐิตะออก
จากที่หลีกเร้น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่
บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับท่านพระสารีบุตรแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระ-
มหาโกฏฐิตะได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ชราและมรณะเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้
เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย หรือว่าชราและมรณะ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๗. นฬกลาปิสูตร
“ท่านโกฏฐิตะ ชราและมรณะเป็นสิ่งที่ตนกระทำเองก็มิใช่ เป็นสิ่งที่คนอื่น
กระทำให้ก็มิใช่ เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วยก็มิใช่
ทั้งชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่
หามิได้ แต่เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี”
“ท่านสารีบุตร ชาติเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ เป็นสิ่ง
ที่ตนกระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย หรือว่าชาติเกิดขึ้นเพราะอาศัย
เหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หรือ”
“ท่านโกฏฐิตะ ชาติเป็นสิ่งที่ตนกระทำเองก็มิใช่ เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ก็มิใช่
เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วยก็มิใช่ ทั้งชาติเกิดขึ้น
เพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หามิได้ แต่เพราะภพ
เป็นปัจจัย ชาติจึงมี”
“ท่านสารีบุตร ภพเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ฯลฯ อุปาทานเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ...
ตัณหาเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ... เวทนาเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ....
ผัสสะเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ... สฬายตนะเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ....
นามรูปเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง
ด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย หรือว่านามรูปเกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำ
เองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หรือ”
“ท่านโกฏฐิตะ นามรูปเป็นสิ่งที่ตนกระทำเองก็มิใช่ เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้
ก็มิใช่ เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วยก็มิใช่ ทั้งนามรูป
เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หามิได้ แต่
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี”
“ท่านสารีบุตร วิญญาณเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ เป็นสิ่ง
ที่ตนกระทำเองด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย หรือว่าวิญญาณเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๗. นฬกลาปิสูตร
“ท่านโกฏฐิตะ วิญญาณเป็นสิ่งที่ตนกระทำเองก็มิใช่ เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้
ก็มิใช่ เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วยก็มิใช่ ทั้งวิญญาณ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หามิได้ แต่เพราะ
นามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี”
“เราเพิ่งรู้ชัดภาษิตของท่านสารีบุตรเดี๋ยวนี้เอง”
“ท่านโกฏฐิตะ นามรูปเป็นสิ่งที่ตนกระทำเองก็มิใช่ เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้
ก็มิใช่ เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วยก็มิใช่ ทั้งนามรูป
เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หามิได้
แต่เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี”
“อนึ่ง เราเพิ่งรู้ภาษิตของท่านสารีบุตรเดี๋ยวนี้เอง”
“ท่านโกฏฐิตะ วิญญาณเป็นสิ่งที่ตนกระทำเองก็มิใช่ เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้
ก็มิใช่ เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วยก็มิใช่ ทั้งวิญญาณ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หามิได้ แต่
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี”
“ท่านสารีบุตร ผมจะเข้าใจเนื้อความแห่งภาษิตนี้ได้อย่างไร”
“ถ้าเช่นนั้น ผมจักเปรียบเทียบให้ท่านฟัง บุรุษทั้งหลายผู้มีความรู้ในโลกนี้
ย่อมรู้เนื้อความแห่งภาษิตได้แม้ด้วยการเปรียบเทียบ
เปรียบเหมือนไม้อ้อ ๒ กำ พึงตั้งอยู่ได้เพราะอาศัยกันและกัน อุปมานี้ฉันใด
อุปไมยก็ฉันนั้น เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
ผัสสะจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เปรียบเหมือนไม้อ้อทั้ง ๒ กำนั้น ถ้าดึงออกเสียกำหนึ่ง อีกกำหนึ่งก็ล้ม
ถ้าดึงออกอีกกำหนึ่ง อีกกำหนึ่งก็ล้ม อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เพราะ
นามรูปดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๗. นฬกลาปิสูตร
สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”
“ท่านสารีบุตร สุภาษิตตามที่ท่านกล่าวมานี้ เป็นสิ่งน่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ ผมชื่นชมคำสุภาษิตของท่านสารีบุตรจำนวน ๓๖ เรื่องนี้”๑
“ท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับชราและมรณะ ควรเรียกว่า ‘ภิกษุธรรมกถึก’ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชราและมรณะ ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้น เพราะความเบื่อหน่าย คลาย
กำหนัด ดับ เพราะไม่ถือมั่นชราและมรณะ ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้บรรลุนิพพานใน
ปัจจุบัน’
ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชาติ ฯลฯ
ภพ ... อุปาทาน ... ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ
... สังขารทั้งหลาย ...
ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับอวิชชา
ควรเรียกว่า ‘ภิกษุธรรมกถึก’ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลาย
กำหนัด เพื่อดับอวิชชา ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’ ถ้าภิกษุ
เป็นผู้หลุดพ้น เพราะความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับ เพราะไม่ถือมั่นอวิชชา
ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน”
นฬกลาปิสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๘. โกสัมพิสูตร

๘. โกสัมพิสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรม ณ กรุงโกสัมพี
[๖๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระมุสิละ ท่านพระปวิฏฐะ ท่านพระนารทะ และท่านพระ
อานนท์พักอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระปวิฏฐะได้ถาม
ท่านพระมุสิละว่า
“ท่านมุสิละ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา
เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
ท่านมุสิละมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมีหรือ’
ท่านพระมุสิละได้ตอบว่า ‘ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ
เว้นจากการฟังตามกันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้
กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี”
“ท่านมุสิละ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ท่านมุสิละมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมีหรือ’ ฯลฯ
‘เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี’ ... ‘เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี’ ...
‘เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’ ... ‘เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’ ...
‘เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’ ... ‘เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี’
... ‘เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี’ ... ‘เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี’
... ‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมีหรือ’
“ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี”
“ท่านมุสิละ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ท่านมุสิละมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะชาติดับ ชรา และมรณะจึงดับหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๘. โกสัมพิสูตร
“ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า “เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ”
“ท่านมุสิละ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ท่านมุสิละมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะภพดับ ชาติจึงดับหรือ’ ฯลฯ ‘เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ’ ... ‘เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ’ ... ‘เพราะเวทนาดับ
ตัณหาจึงดับ’ ... ‘เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ’ ... ‘เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ’
... ‘เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ’ ... ‘เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ’ ...
‘เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ’ ... ‘เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับหรือ”
“ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ”
“ท่านมุสิละ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา
เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
ท่านมุสิละมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘ความดับแห่งภพเป็นนิพพานหรือ”
“ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘ความดับแห่งภพเป็นนิพพาน”๑
“ถ้าเช่นนั้น ท่านมุสิละก็เป็นพระอรหันตขีณาสพละสิ”
เมื่อท่านพระปวิฏฐะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมุสิละได้นิ่งเสีย
ลำดับนั้น ท่านพระนารทะได้กล่าวกับท่านพระปวิฏฐะว่า ‘ดีละ ท่านปวิฏฐะ
ผมพึงได้ปัญหานี้ ท่านจงถามปัญหานี้เถิด ผมจะตอบปัญหานี้แก่ท่าน”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๘. โกสัมพิสูตร
“ท่านนารทะได้ปัญหานี้ ผมจะถามปัญหานี้กับท่าน และท่านจงตอบปัญหานี้
แก่ผม
ท่านนารทะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา
เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
ท่านนารทะมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมีหรือ”
“ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี”
“ท่านนารทะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ท่านนารทะมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี’ ฯลฯ
‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมีหรือ”
“ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี”
“ท่านนารทะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ท่านนารทะมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับหรือ”
“ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ”
“ท่านนารทะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ท่านนารทะมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะภพดับ ชาติจึงดับหรือ’ ฯลฯ
‘เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๘. โกสัมพิสูตร
“ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ”
“ท่านนารทะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ท่านนารทะมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘ความดับแห่งภพเป็นนิพพานหรือ”
“ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘ความดับแห่งภพเป็นนิพพาน”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านนารทะก็เป็นพระอรหันตขีณาสพละสิ”
“ท่านผู้มีอายุ ข้อว่า ‘ความดับแห่งภพเป็นนิพพาน’ ผมเห็นดีด้วยปัญญา
อันชอบตามความเป็นจริง แต่ผมไม่ใช่พระอรหันตขีณาสพ เปรียบเหมือนบ่อน้ำใน
ทางกันดารที่บ่อนั้นไม่มีเชือก ไม่มีคันโพง ทันใดนั้น มีบุรุษเดินฝ่าความร้อนอบอ้าว
เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากระหายน้ำมา เขามองดูบ่อน้ำนั้น ก็รู้ว่ามีน้ำ แต่สัมผัสด้วย
กายไม่ได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ข้อว่า ‘ความดับแห่งภพเป็นนิพพาน’
ผมก็เห็นดีด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง แต่ผมไม่ใช่พระอรหันตขีณาสพ”
เมื่อท่านพระนารทะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้ถามพระปวิฏฐะว่า
‘ท่านพระปวิฏฐะชอบพูดอย่างนี้ ท่านพูดอะไรกับท่านพระนารทะบ้าง”
“ท่านอานนท์ ผมชอบพูดอย่างนี้ ผมไม่ได้พูดอะไรกับท่านพระนารทะ นอกจาก
กัลยาณธรรม นอกจากกุศลธรรม”
โกสัมพิสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๙. อุปยันติสูตร

๙. อุปยันติสูตร
ว่าด้วยน้ำขึ้นน้ำลง
[๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมหาสมุทรน้ำขึ้น๑ก็ทำให้แม่น้ำใหญ่ขึ้นตาม แม่น้ำใหญ่
เมื่อขึ้นก็ทำให้แม่น้ำน้อยขึ้นตาม แม่น้ำน้อยเมื่อขึ้นก็ทำให้บึงใหญ่ขึ้นตาม บึงใหญ่
เมื่อขึ้นก็ทำให้บึงน้อยขึ้นตาม ฉันใด
อวิชชาเมื่อเกิดขึ้นก็ทำให้สังขารทั้งหลายเกิดขึ้นตาม สังขารทั้งหลายเมื่อเกิดขึ้น
ก็ทำให้วิญญาณเกิดขึ้นตาม วิญญาณเมื่อเกิดขึ้นก็ทำให้นามรูปเกิดขึ้นตาม นามรูป
เมื่อเกิดขึ้นก็ทำให้สฬายตนะเกิดขึ้นตาม สฬายตนะเมื่อเกิดขึ้นก็ทำให้ผัสสะเกิดขึ้นตาม
ผัสสะเมื่อเกิดขึ้นก็ทำให้เวทนาเกิดขึ้นตาม เวทนาเมื่อเกิดขึ้นก็ทำให้ตัณหาเกิดขึ้นตาม
ตัณหาเมื่อเกิดขึ้นก็ทำให้อุปาทานเกิดขึ้นตาม อุปาทานเมื่อเกิดขึ้นก็ทำให้ภพเกิดขึ้นตาม
ภพเมื่อเกิดขึ้นก็ทำให้ชาติเกิดขึ้นตาม ชาติเมื่อเกิดขึ้นก็ทำให้ชราและมรณะเกิดขึ้นตาม
ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อมหาสมุทรน้ำลงก็ทำให้แม่น้ำใหญ่ลงตาม แม่น้ำใหญ่เมื่อลงก็ทำให้แม่น้ำ
น้อยลงตาม แม่น้ำน้อยเมื่อลงก็ทำให้บึงใหญ่ลงตาม บึงใหญ่เมื่อลงก็ทำให้บึงน้อย
ลงตาม ฉันใด
อวิชชาเมื่อไม่เกิดขึ้นก็ทำให้สังขารทั้งหลายไม่เกิดขึ้นตาม สังขารทั้งหลายเมื่อ
ไม่เกิดขึ้นก็ทำให้วิญญาณไม่เกิดขึ้นตาม วิญญาณเมื่อไม่เกิดขึ้นก็ทำให้นามรูปไม่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร
เกิดขึ้นตาม นามรูปเมื่อไม่เกิดขึ้นก็ทำให้สฬายตนะไม่เกิดขึ้นตาม สฬายตนะเมื่อ
ไม่เกิดขึ้นก็ทำให้ผัสสะไม่เกิดขึ้นตาม ผัสสะเมื่อไม่เกิดขึ้นก็ทำให้เวทนาไม่เกิดขึ้นตาม
เวทนาเมื่อไม่เกิดขึ้นก็ทำให้ตัณหาไม่เกิดขึ้นตาม ตัณหาเมื่อไม่เกิดขึ้นก็ทำให้อุปาทาน
ไม่เกิดขึ้นตาม อุปาทานเมื่อไม่เกิดขึ้นก็ทำให้ภพไม่เกิดขึ้นตาม ภพเมื่อไม่เกิดขึ้น
ก็ทำให้ชาติไม่เกิดขึ้นตาม ชาติเมื่อไม่เกิดขึ้นก็ทำให้ชราและมรณะไม่เกิดขึ้นตาม
ฉันนั้นเหมือนกัน”
อุปยันติสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร
ว่าด้วยสุสิมปริพาชก
[๗๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ที่เทวดาและมนุษย์สักการะ เคารพ
นับถือ บูชา ประพฤติอ่อนน้อม ทรงได้รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน-
ปัจจัยเภสัชบริขาร แม้ภิกษุสงฆ์ก็เป็นผู้ที่เทวดาและมนุษย์สักการะ เคารพ นับถือ
บูชา ประพฤติอ่อนน้อม ได้รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช-
บริขาร แต่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเป็นผู้ที่เทวดาและมนุษย์ไม่สักการะ ไม่เคารพ
ไม่นับถือ ไม่บูชา ไม่ประพฤติอ่อนน้อม ไม่ได้รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
สมัยนั้น สุสิมปริพาชกพักอยู่ ณ กรุงราชคฤห์กับบริษัทปริพาชกจำนวนมาก
ครั้งนั้น บริษัททั้งหลายของสุสิมปริพาชกได้กล่าวกับสุสิมปริพาชก ดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร
‘มาเถิดท่านสุสิมะ ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระสมณโคดม ท่าน
เรียนธรรมแล้ว พึงบอกสอนพวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าเรียนธรรมนั้นแล้ว จักบอก
แก่พวกคฤหัสถ์ เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ที่เทวดาและมนุษย์สักการะ
เคารพ นับถือ บูชา ประพฤติอ่อนน้อม จักได้รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร’
สุสิมปริพาชกรับคำบริษัทของตนแล้วเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับท่านพระอานนท์แล้วนั่ง
ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
“ท่านพระอานนท์ ผมปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้”
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์พาสุสิมปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สุสิมปริพาชกนี้กล่าวว่า ‘ท่านพระอานนท์ ผมปรารถนา
จะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้”
“อานนท์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้สุสิมะบวชเถิด”
สุสิมปริพาชกได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากพากันอวดอ้างอรหัตตผลในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควร
ทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ท่านสุสิมะได้ฟังมาว่า “ข่าวว่า ภิกษุจำนวนมากอวดอ้างอรหัตตผล ในสำนัก
พระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร
ครั้งนั้น ท่านสุสิมะเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็น
ที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามภิกษุเหล่านั้นว่า ‘ข่าวว่า
ท่านทั้งหลายอวดอ้างอรหัตตผลในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ข้าพระองค์ทั้งหลาย
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป จริงหรือ”
“จริง ท่านผู้มีอายุ”
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลาย
อย่าง คือคนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้
ปรากฏก็ได้หรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา ทะลุกำแพง(และ)ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือน
ไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่
แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้
ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจ
ทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้บ้างหรือ”๑
“ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ”
“ท่านทั้งหลายรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และ
เสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์บ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ”
“ท่านทั้งหลายรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมกำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วยจิตของตน
คือจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโมหะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร
จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ
ก็รู้ชัดว่าจิตเป็นมหัคคตะ หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตมี
จิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่าจิตไม่มี
จิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ชัดว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ชัด
ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัด
ว่าจิตไม่หลุดพ้นบ้างหรือ”๑
“ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ”
“ท่านทั้งหลายรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง
๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง
๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอัน
มากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่อ
อย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น จุติ
จากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ
มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้น จึงมาเกิดในภพนี้’
ท่านทั้งหลายย่อมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และชีวประวัติ
อย่างนี้บ้างหรือ”๒
“ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ”
“ท่านทั้งหลายรู้เห็นอยู่อย่างนี้ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำ
และชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย หมู่สัตว์ที่ประกอบกาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร
ทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่น
ให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้ว จะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้าย
พระอริยะ มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขา
หลังจากตายแล้ว จะไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ ท่านทั้งหลายเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลัง
จุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์
อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้บ้างหรือ”๑
“ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ”
“ท่านทั้งหลายรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมถูกต้องอารุปปวิโมกข์๒อันสงบก้าวล่วงรูปทั้งหลาย
เสียได้ด้วยนามกายอยู่บ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ”
“บัดนี้ คำตอบนี้ และการไม่เข้าถึงธรรมเหล่านี้ มีอยู่ในเรื่องนี้ เรื่องนี้เป็น
อย่างไรกันแน่”
“ท่านสุสิมะ พวกผมหลุดพ้นได้ด้วยปัญญา”
“ผมไม่เข้าใจเนื้อความแห่งคำที่ท่านทั้งหลายกล่าวโดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร
ขอโอกาส ขอท่านทั้งหลายจงกล่าวเท่าที่ผมจะเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่ท่านทั้งหลาย
กล่าวโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารเถิด”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร
“ท่านจะเข้าใจหรือไม่ก็ตาม แต่พวกผมก็หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา”
ครั้งนั้น ท่านสุสิมะลุกขึ้นจากอาสนะแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลคำที่ตนสนทนากับภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด
แด่พระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “สุสิมะ ธัมมฐิติญาณ๑เกิดก่อน นิพพานญาณ๒
เกิดภายหลัง”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เข้าใจเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระองค์
ตรัสโดยย่อนี้โดยพิสดารได้ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดตรัสโดย
ประการที่ข้าพระองค์จะพึงเข้าใจเนื้อความแห่งพระดำรัส ที่พระองค์ตรัสโดยย่อนี้ได้
โดยพิสดารด้วยเถิด”
“สุสิมะ เธอจะเข้าใจหรือไม่ก็ตาม ความจริงธัมมฐิติญาณเกิดก่อน นิพพาน-
ญาณเกิดภายหลัง เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร
“เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณาเห็น
สิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“สังขารเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณาเห็น
สิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณาเห็น
สิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“สุสิมะ เพราะเหตุนั้น รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
เป็นไปภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้
รูปทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปภายในหรือ
ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ เวทนาทั้งหมดนั้น
เธอพึงเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปภายในหรือ
ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ สังขารทั้งหมดนั้น
เธอพึงเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ วิญญาณ
ทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
สุสิมะ อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ใน
เวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย
กำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า
‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร
“เธอเห็นว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมีหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอเห็นว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมีหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอเห็นว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมีหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอเห็นว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมีหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมีหรือ ... เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย เวทนาจึงมี ... เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี... เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี...เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี...เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย นามรูปจึงมี” .... เธอเห็นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมีหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอเห็นว่า เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอเห็นว่า เพราะภพดับ ชาติจึงดับหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ... เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ ... เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ ... เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ ...
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ... เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ... เพราะ
วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ... เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... เพราะอวิชชาดับ
สังขารจึงดับหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร
“สุสิมะ เธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือคนเดียวแสดง
เป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏก็ได้หรือให้หายไป
ก็ได้ ทะลุฝา ทะลุกำแพง (และ)ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือ
ดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดิน
ก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลก
ก็ได้บ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์บ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมกำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วยจิตของตน คือ
จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ ฯลฯ จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตไม่หลุดพ้นบ้างหรือ”๑
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ฯลฯ
ย่อมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และชีวประวัติอย่างนี้บ้าง
หรือ”๒
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ ฯลฯ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้ บ้างหรือ”๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมถูกต้องอารุปปวิโมกข์๑อันสงบก้าวล่วงรูปทั้งหลาย
เสียได้ ด้วยนามกายอยู่บ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“สุสิมะ บัดนี้ คำตอบนี้ และการไม่เข้าถึงธรรมเหล่านี้ มีอยู่ในเรื่องนี้ เรื่องนี้
เป็นอย่างไรกันแน่”
ลำดับนั้น ท่านพระสุสิมะได้หมอบลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค
ด้วยเศียรเกล้า กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ตกถึงข้าพระองค์
เพราะความโง่เขลาเบาปัญญา ข้าพระองค์บวชขโมยธรรมในธรรมวินัยที่พระองค์
ตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงรับโทษของข้าพระองค์โดยความ
เป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด พระพุทธเจ้าข้า’
“สุสิมะ โทษได้ตกถึงเธอ เพราะความโง่เขลาเบาปัญญา เธอบวชขโมยธรรม
ในธรรมวินัยที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เปรียบเหมือนราชบุรุษทั้งหลายจับโจรผู้
ประพฤติชั่วได้แล้ว จึงทูลแสดงแด่พระราชาว่า ‘ขอเดชะ ผู้นี้ประพฤติชั่วต่อ
พระองค์ ขอจงทรงลงพระอาญาตามที่ทรงพระประสงค์แก่โจรผู้นี้เถิด’ พระราชา
รับสั่งราชบุรุษผู้นั้นว่า ‘ท่านทั้งหลายจงไปเอาเชือกที่เหนียวมัดบุรุษนี้ไพล่หลังให้แน่น
แล้วเอามีดโกนโกนศีรษะ แห่ประจานไปตามถนน ตามทางสี่แยก ด้วยลั่นฆ้อง
กลองนำออกไปทางประตูด้านทิศทักษิณ(ทิศใต้) แล้วจงตัดศีรษะทางด้านทิศทักษิณ
ของตัวเมือง ราชบุรุษทั้งหลายก็เอาเชือกที่เหนียวมัดโจรผู้นั้นไพล่หลังให้แน่น
แล้วเอามีดโกนโกนศีรษะ แห่ประจานไปตามถนน ตามทางสี่แยก ด้วยลั่นฆ้องกลอง
นำออกไปทางประตูด้านทิศทักษิณ แล้วตัดศีรษะทางด้านทิศทักษิณของตัวเมือง ฉะนั้น’

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร
เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นพึงเสวยทุกข์และโทมนัส เพราะ
การกระทำความผิดนั้นบ้างหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“สุสิมะ บุรุษนั้นต้องเสวยทุกข์และโทมนัส เพราะการกระทำความผิดนั้น
นับแต่การบวชของเธอผู้ขโมยธรรมในธรรมวินัยที่ตถาคตกล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ยังมี
ผลเป็นทุกข์และเผ็ดร้อนกว่าการเสวยทุกข์และโทมนัสนั้น ทั้งยังเป็นไปเพื่อวินิบาต
(ปราศจากความสุข) แต่เพราะเธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วแสดงคืนตาม
วิธีที่ถูกต้อง เรารับโทษนั้นของเธอ ผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วแสดงคืน
ตามวิธีที่ถูกต้อง ผู้นั้นจะได้สำรวมต่อไป ข้อนี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ”
สุสิมปริพพาชกสูตรที่ ๑๐ จบ
มหาวรรคที่ ๗ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัสสุตวาสูตร ๒. ทุติยอัสสุตวาสูตร
๓. ปุตตมังสสูตร ๔. อัตถิราคสูตร
๕. นครสูตร ๖. สัมมสสูตร
๗. นฬกลาปิสูตร ๘. โกสัมพิสูตร
๙. อุปยันติสูตร ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๘. สมณพราหมณวรรค ๑. ชรามรณสูตร

๘. สมณพราหมณวรรค
หมวดว่าด้วยสมณพราหมณ์

๑. ชรามรณสูตร
ว่าด้วยชราและมรณะ
[๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดชราและมรณะ
ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัด
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่จัดว่า
เป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้น
ก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดชราและมรณะ ฯลฯ รู้ชัด
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จัดว่าเป็น
สมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้
แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” ( สุตตันตะเป็นอย่างเดียว)
ชรามรณสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๙. อันตรเปยยาล ๒-๑๑. ชาติสุตตาทิทสกะ รวมวรรคที่มีในสังยุต

๒-๑๑. ชาติสุตตาทิทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๐ สูตรมีชาติสูตรเป็นต้น
[๗๒] (๒) ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
ฯลฯ ไม่รู้ชัดชาติ ฯลฯ

(๓) ไม่รู้ชัดภพ ... สูตรที่ ๓ จบ
(๔) ไม่รู้ชัดอุปาทาน ... สูตรที่ ๔ จบ
(๕) ไม่รู้ชัดตัณหา ... สูตรที่ ๕ จบ
(๖) ไม่รู้ชัดเวทนา ... สูตรที่ ๖ จบ
(๗) ไม่รู้ชัดผัสสะ ... สูตรที่ ๗ จบ
(๘) ไม่รู้ชัดสฬายตนะ ... สูตรที่ ๘ จบ
(๙) ไม่รู้ชัดนามรูป ... สูตรที่ ๙ จบ
(๑๐) ไม่รู้ชัดวิญญาณ ... สูตรที่ ๑๐ จบ

(๑๑) สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดสังขารทั้งหลาย ไม่รู้ชัดความ
เกิดแห่งสังขาร ไม่รู้ชัดความดับแห่งสังขาร ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร
ฯลฯ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้ง ฯลฯ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
สูตรที่ ๑๑ จบ
สมณพราหมณวรรคที่ ๘ จบ

รวมความที่มีในวรรคนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสปัจจยาการ ๑๑
โดยจำแนกปัจจยาการหนึ่ง ๆ ตามแบบอริยสัจ ๔
สมณพราหมณวรรคที่ ๘ รวมอยู่ในนิทานสังยุต

รวมวรรคที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. พุทธวรรค ๒. อาหารวรรค
๓. ทสพลวรรค ๔. กฬารขัตติยวรรค
๕. คหปติวรรค ๖. ทุกขวรรค
๗. มหาวรรค ๘. สมณพราหมณวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๙. อันตรเปยยาล ๒-๑๑. ทุติยสัตถุสุตตาทิทสกะ

๙. อันตรเปยยาล
หมวดว่าด้วยพระสูตรที่มีเนื้อความละไว้ในระหว่าง

๑. สัตถุสูตร
ว่าด้วยศาสดา
[๗๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้เห็นชราและมรณะตามความเป็นจริง พึงแสวงหา
ศาสดา เพื่อรู้ชราและมรณะตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้เห็นความเกิดแห่งชราและ
มรณะตามความเป็นจริง พึงแสวงหาศาสดา เพื่อรู้ความเกิดแห่งชราและมรณะตาม
ความเป็นจริง เมื่อไม่รู้เห็นความดับแห่งชราและมรณะตามความเป็นจริง พึงแสวงหา
ศาสดา เพื่อรู้ความดับแห่งชราและมรณะตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้เห็นปฏิปทาที่
ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะตามความเป็นจริง พึงแสวงหาศาสดา เพื่อรู้ปฏิปทา
ที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะตามความเป็นจริง” (สุตตันตะเป็นอย่างเดียวกัน)
สัตถุสูตรที่ ๑ จบ
[เนื้อความที่ละไว้ทั้งหมดก็ขยายความเหมือนอย่างนี้]

๒-๑๑. ทุติยสัตถุสุตตาทิทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๐ สูตรมีทุติยสัตถุสูตรเป็นต้น
(๒) “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้เห็นชาติตามความเป็นจริง” ...
สูตรที่ ๒ จบ
(๓) “บุคคลเมื่อไม่รู้เห็นภพตามความเป็นจริง” ...
สูตรที่ ๓ จบ
(๔) “บุคคลเมื่อไม่รู้เห็นอุปาทานตามความเป็นจริง” ...
สูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๙. อันตรเปยยาล ๒-๑๑. ทุติยสัตถุสุตตาทิทสกะ
(๕) “บุคคลเมื่อไม่รู้เห็นตัณหาตามความเป็นจริง” ...
สูตรที่ ๕ จบ
(๖) “บุคคลเมื่อไม่รู้เห็นเวทนาตามความเป็นจริง” ...
สูตรที่ ๖ จบ
(๗) “บุคคลเมื่อไม่รู้เห็นผัสสะตามความเป็นจริง” ...
สูตรที่ ๗ จบ
(๘) “บุคคลเมื่อไม่รู้เห็นสฬายตนะตามความเป็นจริง” ...
สูตรที่ ๘ จบ
(๙) “บุคคลเมื่อไม่รู้เห็นนามรูปตามความเป็นจริง” ...
สูตรที่ ๙ จบ
(๑๐) “บุคคลเมื่อไม่รู้เห็นวิญญาณตามความเป็นจริง” ...
สูตรที่ ๑๐ จบ
(๑๑) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้เห็นสังขารทั้งหลายตามความเป็นจริง พึง
แสวงหาศาสดา เพื่อรู้สังขารทั้งหลายตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้เห็นความเกิดแห่ง
สังขารตามความเป็นจริง พึงแสวงหาศาสดา เพื่อรู้ความเกิดแห่งสังขารตามความ
เป็นจริง เมื่อไม่รู้เห็นความดับแห่งสังขารตามความเป็นจริง พึงแสวงหาศาสดา
เพื่อรู้ความดับแห่งสังขารตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้เห็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ
แห่งสังขารตามความเป็นจริง พึงแสวงหาศาสดา เพื่อรู้ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
สังขารตามความเป็นจริง”
สูตรที่ ๑๑ จบ
[บัณฑิตพึงกระทำกิจในอริยสัจ ๔ ทุก ๆ สูตร]

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๙. อันตรเปยยาล ๒-๑๒. ทุติยสัตถุสุตตาทิทสกะ

๒-๑๒. สิกขาสุตตาทิเปยยาลเอกาทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๑ สูตรที่ละไว้มีสิกขาสูตรเป็นต้น
(๒) “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้เห็นชราและมรณะตามความเป็นจริง
พึงกระทำการศึกษาเพื่อรู้ชราและมรณะตามความเป็นจริง”
สูตรที่ ๒ จบ
[เนื้อความที่ละไว้บัณฑิตพึงกระทำกิจในอริยสัจ ๔ ทุก ๆ สูตร]
(๓) “บุคคลเมื่อไม่รู้ชราและมรณะ ฯลฯ พึงกระทำความเพียร” ...
สูตรที่ ๓ จบ
(๔) “บุคคลเมื่อไม่รู้ชราและมรณะ ฯลฯ พึงกระทำความพอใจ” ...
สูตรที่ ๔ จบ
(๕) “บุคคลเมื่อไม่รู้ชราและมรณะ ฯลฯ พึงกระทำความอุตสาหะ” ...
สูตรที่ ๕ จบ
(๖) “บุคคลเมื่อไม่รู้ชราและมรณะ ฯลฯ พึงกระทำความความเพียรไม่
ถอยกลับ” ...
สูตรที่ ๖ จบ
(๗) “บุคคลเมื่อไม่รู้ชราและมรณะ ฯลฯ พึงกระทำความเพียรเครื่องเผา
กิเลส” ...
สูตรที่ ๗ จบ
(๘) “บุคคลเมื่อไม่รู้ชราและมรณะ ฯลฯ พึงกระทำความเพียรอย่างกล้าหาญ” ...
สูตรที่ ๘ จบ
(๙) “บุคคลเมื่อไม่รู้ชราและมรณะ ฯลฯ พึงกระทำความเพียรติดต่อ” ...
สูตรที่ ๙ จบ
(๑๐) “บุคคลเมื่อไม่รู้ชราและมรณะ ฯลฯ พึงตั้งสติ” ...
สูตรที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๙. อันตรเปยยาล รวมพระสูตรที่มีในเปยยาล
(๑๑) “บุคคลเมื่อไม่รู้ชราและมรณะ ฯลฯ พึงดำรงสัมปชัญญะ” ...
สูตรที่ ๑๑ จบ
(๑๒) “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ชราและมรณะ ฯลฯ พึงกระทำความไม่
ประมาท” ...
สูตรที่ ๑๒ จบ
อันตรเปยยาลที่ ๙ จบ

รวมพระสูตรที่มีในเปยยาลนี้ คือ

๑. สัตถุสูตร ๒. สิกขาสูตร
๓. โยคสูตร ๔. ฉันทสูตร
๕. อุสโสฬหิสูตร ๖. อัปปฏิวานิสูตร
๗. อาตัปปสูตร ๘. วิริยสูตร
๙. สาตัจจสูตร ๑๐. สติสูตร
๑๑. สัมปชัญญสูตร ๑๒. อัปปมาทสูตร

พระสูตรที่มีอันตรเปยยาล จบ

เบื้องต้นพระสูตรมี ๑๒ สูตร รวมทั้งพระสูตรที่ละไว้ในระหว่าง
เข้าเป็น ๑๓๒ สูตร พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วด้วย(จำนวนตามแบบ)อริยสัจ ๔
รวมความในพระสูตรที่ละไว้ในระหว่าง จบ

นิทานสังยุต จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๒. อภิสมยสังยุต] ๑. นขสิขาสูตร

๒. อภิสมยสังยุต
๑. นขสิขาสูตร
ว่าด้วยฝุ่นติดปลายเล็บ
[๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงใช้ปลายพระนขาช้อนฝุ่นขึ้นมา
เล็กน้อย แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ฝุ่นเพียงเล็กน้อยที่เราใช้ปลายเล็บช้อนขึ้นมานี้ก็ดี
แผ่นดินใหญ่นี้ก็ดี อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แหละมีมากกว่า ส่วนฝุ่นที่พระองค์
ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่แล้ว ฝุ่นที่
พระองค์ใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึง
เศษหนึ่งส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ความทุกข์ที่หมดสิ้นไปของ
บุคคลผู้เป็นอริยสาวกผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ผู้รู้แจ้ง นี้แหละมีมากกว่า ส่วนความ
ทุกข์ที่เหลือมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ที่หมดสิ้นไปซึ่งมีในก่อน ความ
ทุกข์ที่ได้รับมากมายใน ๗ อัตภาพ มีประมาณน้อยไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึง
เศษหนึ่งส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐
การตรัสรู้ธรรมมีประโยชน์ยิ่งใหญ่อย่างนี้ การได้ธรรมจักษุมีประโยชน์ยิ่งใหญ่
อย่างนี้”
นขสิขาสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๒. อภิสมยสังยุต] ๒. โปกขรณีสูตร

๒. โปกขรณีสูตร
ว่าด้วยสระโบกขรณี
[๗๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสระโบกขรณียาว ๕๐ โยชน์ กว้าง ๕๐ โยชน์
ลึก ๕๐ โยชน์ มีน้ำเต็มเสมอขอบ กา(ก้ม)ดื่มกินได้ บุรุษพึงใช้ปลายหญ้าคาวิดน้ำ
ขึ้นจากสระโบกขรณี เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ น้ำที่บุรุษใช้
ปลายหญ้าคาวิดขึ้นก็ดี น้ำในสระโบกขรณีก็ดี อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในสระโบกขรณีนี้แหละมีมากกว่า ส่วนน้ำที่บุรุษใช้
ปลายหญ้าคาวิดขึ้นมีปริมาณน้อย เมื่อเทียบกับน้ำในสระโบกขรณี น้ำที่บุรุษใช้
ปลายหญ้าคาวิดขึ้น ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึง
เศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ความทุกข์ที่หมดสิ้นไปของบุคคลผู้
เป็นอริยสาวกผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ผู้รู้แจ้ง นี้แหละมีมากกว่า ส่วนความทุกข์ที่เหลือ
มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ที่หมดไปสิ้นไปซึ่งมีในก่อน ความทุกข์ที่
ได้รับมากมายใน ๗ อัตภาพ มีประมาณน้อย ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึง
เศษหนึ่งส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐
การตรัสรู้ธรรมมีประโยชน์ยิ่งใหญ่อย่างนี้ การได้ธรรมจักษุมีประโยชน์ยิ่งใหญ่
อย่างนี้”
โปกขรณีสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๒. อภิสมยสังยุต] ๔. ทุติยสัมเภชชอุทกสูตร

๓. สัมเภชชอุทกสูตร
ว่าด้วยแม่น้ำไหลมาบรรจบกัน
[๗๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี
สรภู มหี ไหลมาบรรจบกัน บุรุษพึงวักน้ำ ๒ หยดหรือ ๓ หยดจากแม่น้ำ
เหล่านั้น เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ น้ำที่บุรุษวักขึ้น ๒ หยด
หรือ ๓ หยดก็ดี น้ำที่ไหลมาบรรจบกันก็ดี อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำที่ไหลมาบรรจบกันนี้แหละมีมากกว่า ส่วนน้ำที่
บุรุษวักขึ้น ๒ หยดหรือ ๓ หยดมีปริมาณน้อย เมื่อเทียบกับน้ำที่ไหลมาบรรจบกัน
น้ำ ๒ หยดหรือ ๓ หยดที่บุรุษวักขึ้นมีปริมาณน้อย ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึง
เศษหนึ่งส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ฯลฯ การได้ธรรมจักษุมีประโยชน์
ยิ่งใหญ่อย่างนี้”
สัมเภชชอุทกสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยสัมเภชชอุทกสูตร
ว่าด้วยแม่น้ำที่ไหลมาบรรจบกัน สูตรที่ ๒
[๗๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี
สรภู มหี ไหลมาบรรจบกัน น้ำนั้นพึงเหือดแห้ง เหลืออยู่ ๒ หยดหรือ ๓ หยด
เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือน้ำที่ไหลมาบรรจบกันที่เหือดแห้งไป
ก็ดี หรือ น้ำ ๒ หยดหรือ ๓ หยดที่เหลืออยู่ก็ดี อย่างไหนจะมากกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๒. อภิสมยสังยุต] ๕. ปฐวีสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำที่ไหลมาบรรจบกันซึ่งเหือดแห้งไปนี้แหละมากกว่า
ส่วนน้ำ ๒ หยดหรือ ๓ หยดที่เหลืออยู่มีปริมาณน้อย เมื่อเทียบกับน้ำที่ไหลมา
บรรจบกันที่เหือดแห้งไป น้ำ ๒ หยดหรือ ๓ หยดที่เหลืออยู่มีปริมาณน้อย ไม่ถึง
เศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ฯลฯ การได้ธรรมจักษุมีประโยชน์
ยิ่งใหญ่อย่างนี้”
ทุติยสัมเภชชอุทกสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐวีสูตร
ว่าด้วยแผ่นดิน
[๗๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษวางก้อนดินเหนียวเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน
ไว้บนแผ่นดินใหญ่ เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ก้อนดินเหนียว
เท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้ก็ดี แผ่นดินใหญ่ก็ดี อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แหละมีมากกว่า ส่วนก้อนดินเหนียวเท่า
เมล็ดกระเบา ๗ ก้อน ที่บุรุษวางไว้มีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ ก้อนดิน
เหนียวที่บุรุษวางไว้มีจำนวนน้อย ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑,๐๐๐
ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ฯลฯ การได้ธรรมจักษุมี
ประโยชน์ยิ่งใหญ่อย่างนี้”
ปฐวีสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๒. อภิสมยสังยุต] ๗. สมุททสูตร

๖. ทุติยปฐวีสูตร
ว่าด้วยแผ่นดิน สูตรที่ ๒
[๗๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแผ่นดินใหญ่ พึงหมดสิ้นไป เหลือก้อนดิน
เหนียวเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
แผ่นดินใหญ่ที่หมดสิ้นไปก็ดี ก้อนดินเหนียวเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่เหลืออยู่ก็ดี
อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่ที่หมดสิ้นไปนี้แหละมีมากกว่า ส่วนก้อน
ดินเหนียวเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่เหลืออยู่มีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดิน
ใหญ่ที่หมดสิ้นไป ก้อนดินเหนียวเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่เหลืออยู่มีจำนวนน้อย
ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ฯลฯ การได้ธรรมจักษุมี
ประโยชน์ยิ่งใหญ่อย่างนี้”
ทุติยปฐวีสูตรที่ ๖ จบ

๗. สมุททสูตร
ว่าด้วยสมุทร
[๘๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงวักน้ำ ๒ หยดหรือ ๓ หยดขึ้นจาก
มหาสมุทร เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ น้ำที่บุรุษวักขึ้น ๒ หยด
หรือ ๓ หยดก็ดี น้ำในมหาสมุทรก็ดี อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในมหาสมุทรนี้แหละมีมากกว่า ส่วนน้ำที่บุรุษ
วักขึ้น ๒ หยดหรือ ๓ หยดมีปริมาณน้อย เมื่อเทียบกับน้ำในมหาสมุทร น้ำที่บุรุษ
วักขึ้น ๒ หยดหรือ ๓ หยด ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑,๐๐๐
ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ฯลฯ การได้ธรรมจักษุมี
ประโยชน์ยิ่งใหญ่อย่างนี้”
สมุททสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๒. อภิสมยสังยุต] ๙. ปัพพตสูตร

๘. ทุติยสมุททสูตร
ว่าด้วยสมุทร สูตรที่ ๒
[๘๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนน้ำในมหาสมุทรพึงเหือดแห้งไป เหลือน้ำอยู่
๒ หยดหรือ ๓ หยด เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ น้ำในมหาสมุทร
ที่เหือดแห้งไปก็ดี น้ำ ๒ หยดหรือ ๓ หยดที่เหลืออยู่ก็ดี อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในมหาสมุทรที่เหือดแห้งไปนี้แหละมีมากกว่า
ส่วนน้ำ ๒ หยดหรือ ๓ หยดที่เหลืออยู่มีปริมาณน้อย เมื่อเทียบกับน้ำในมหาสมุทร
ที่เหือดแห้งไป น้ำ ๒ หยดหรือ ๓ หยดที่เหลืออยู่มีปริมาณน้อย ไม่ถึงเศษหนึ่ง
ส่วน ๑๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ฯลฯ การได้ธรรมจักษุมี
ประโยชน์ยิ่งใหญ่อย่างนี้”
ทุติยสมุททสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปัพพตสูตร
ว่าด้วยภูเขา
[๘๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงวางก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด ๗ ก้อน
ไว้บนขุนเขาหิมพานต์ เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ก้อนหินเท่า
เมล็ดพันธุ์ผักกาด ๗ ก้อน ที่บุรุษวางไว้ก็ดี ขุนเขาหิมพานต์ก็ดี อย่างไหนจะมาก
กว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาหิมพานต์นี้แหละมีมากกว่า ส่วนก้อนหินเท่า
เมล็ดพันธุ์ผักกาด ๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้มีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับขุนเขาหิมพานต์
ก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด ๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้มีจำนวนน้อย ไม่ถึงเศษหนึ่ง
ส่วน ๑๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ฯลฯ การได้ธรรมจักษุมี
ประโยชน์ยิ่งใหญ่อย่างนี้”
ปัพพตสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๒. อภิสมยสังยุต] ๑๐. ทุติยปัพพตสูตร

๑๐. ทุติยปัพพตสูตร
ว่าด้วยภูเขา สูตรที่ ๒
[๘๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนขุนเขาหิมพานต์ที่ทลายกระจัดกระจายไป เหลือ
ก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดอยู่ ๗ ก้อน เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร คือ ขุนเขาหิมพานต์ที่ทลายกระจัดกระจายไปก็ดี ก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์
ผักกาด ๗ ก้อนที่เหลืออยู่ก็ดี อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาหิมพานต์ที่ทลายกระจัดกระจายไปนี้แหละมี
มากกว่า ส่วนก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด ๗ ก้อนที่เหลืออยู่มีจำนวนน้อย
เมื่อเทียบกันกับขุนเขาหิมพานต์ที่ทลายกระจัดกระจายไป ก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์
ผักกาด ๗ ก้อนที่เหลืออยู่มีจำนวนน้อย ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่ง
ส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ความทุกข์ที่หมดสิ้นไปของ
บุคคลผู้เป็นอริยสาวกผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ผู้รู้แจ้งนี้แหละมีมากกว่า ส่วนความทุกข์
ที่เหลือมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ที่หมดสิ้นไปซึ่งมีในก่อน ความทุกข์
ที่ได้รับมากมายใน ๗ อัตภาพมีประมาณน้อย ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึง
เศษหนึ่งส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐
การตรัสรู้ธรรมมีประโยชน์ยิ่งใหญ่อย่างนี้ การได้ธรรมจักษุมีประโยชน์ยิ่งใหญ่
อย่างนี้”
ทุติยปัพพตสูตรที่ ๑๐ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๒. อภิสมยสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๑. ตติยปัพพตสูตร
ว่าด้วยภูเขา สูตรที่ ๓
[๘๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษวางก้อนหินเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อน
ไว้บนขุนเขาสิเนรุ เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ก้อนหินเท่าเมล็ด
ถั่วเขียว ๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้ก็ดี ขุนเขาสิเนรุก็ดี อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาสิเนรุนี้แหละมีมากกว่า ส่วนก้อนหินเท่าเมล็ด
ถั่วเขียว ๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้มีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับขุนเขาสิเนรุ ก้อนหิน
เท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่ง
ส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อเทียบกับการบรรลุ๑ ของบุคคล
ผู้เป็นอริยสาวกผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ การบรรลุคุณวิเศษของอัญเดียรถีย์ สมณพราหมณ์
และปริพาชกทั้งหลาย มีปริมาณน้อย ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่ง
ส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ มีการบรรลุยิ่งใหญ่อย่างนี้ มีอภิญญายิ่งใหญ่อย่างนี้”
ตติยปัพพตสูตรที่ ๑๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นขสิขาสูตร ๒. โปกขรณีสูตร
๓. สัมเภชชอุทกสูตร ๔. ทุติยสัมเภชชอุทกสูตร
๕. ปฐวีสูตร ๖. ทุติยปฐวีสูตร
๗. สมุททสูตร ๘. ทุติยสมุททสูตร
๙. ปัพพตสูตร ๑๐. ทุติยปัพพตสูตร
๑๑. ตติยปัพพตสูตร

อภิสมยสังยุต จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓.ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๑. ธาตุนานัตตสูตร

๓. ธาตุสังยุต

๑. นานัตตวรรค
หมวดว่าด้วยความต่าง

๑. ธาตุนานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งธาตุ
[๘๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความต่างแห่งธาตุแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ จักขุธาตุ (ธาตุคือจักขุปสาท) รูปธาตุ (ธาตุคือรูปารมณ์) จักขุวิญญาณธาตุ
(ธาตุคือจักขุวิญญาณ)
โสตธาตุ (ธาตุคือโสตปสาท) สัททธาตุ (ธาตุคือสัททารมณ์) โสตวิญญาณธาตุ
(ธาตุคือโสตวิญญาณ)
ฆานธาตุ (ธาตุคือฆานปสาท) คันธธาตุ (ธาตุคือคันธารมณ์) ฆานวิญญาณธาตุ
(ธาตุคือฆานวิญญาณ)
ชิวหาธาตุ (ธาตุคือชิวหาปสาท) รสธาตุ (ธาตุคือรสารมณ์) ชิวหาวิญญาณธาตุ
(ธาตุคือชิวหาวิญญาณ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๒. ผัสสนานัตตสูตร
กายธาตุ (ธาตุคือกายปสาท) โผฏฐัพพธาตุ (ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์) กาย-
วิญญาณธาตุ (ธาตุคือกายวิญญาณ)
มโนธาตุ (ธาตุคือมโน) ธัมมธาตุ (ธาตุคือธรรมารมณ์) มโนวิญญาณธาตุ
(ธาตุคือมโนวิญญาณ)
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ‘ความต่างแห่งธาตุ”
ธาตุนานัตตสูตรที่ ๑ จบ

๒. ผัสสนานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งผัสสะ
[๘๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ จักขุธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ ชิวหาธาตุ กายธาตุ มโนธาตุ
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ จักขุสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ ...
... เพราะอาศัยโสตธาตุ
... เพราะอาศัยฆานธาตุ
... เพราะอาศัยชิวหาธาตุ
... เพราะอาศัยกายธาตุ
มโนสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ
ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุเป็น
อย่างนี้”
ผัสสนานัตตสูตรที่ ๒ จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น