Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๖-๔ หน้า ๑๗๑ - ๒๒๗

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖-๔ สุตตันตปิฎกที่ ๐๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๔. เวทนานานัตตสูตร

๓. โนผัสสนานัตตสูตร
ว่าด้วยธาตุที่ไม่อาศัยความต่างแห่งผัสสะ
[๘๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ
ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ จักขุธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่ง
ธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ เป็นอย่างไร
คือ จักขุสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ จักขุธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
จักขุสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ มโนธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยมโนสัมผัส
ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ เป็นอย่างนี้”
โนผัสสนานัตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. เวทนานานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งเวทนา
[๘๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ
ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ จักขุธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๕. ทุติยเวทนานานัตตสูตร
ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่ง
เวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ เป็นอย่างไร
คือ จักขุสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ จักขุสัมผัสสชาเวทนาเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยจักขุสัมผัส ฯลฯ
มโนสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ มโนสัมผัสสชาเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัย
มโนสัมผัส
ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ เป็นอย่างนี้”
เวทนานานัตตสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยเวทนานานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งเวทนา สูตรที่ ๒
[๘๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งผัสสะ
ไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความต่างแห่งผัสสะ
ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ จักขุธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่าง
แห่งเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งผัสสะไม่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความต่างแห่งผัสสะ เป็นอย่างไร
คือ จักขุสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ จักขุสัมผัสสชาเวทนาเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยจักขุสัมผัส จักขุสัมผัสไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัสสชาเวทนา จักขุธาตุไม่
เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัส ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๗. สัญญานานัตตสูตร
มโนสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ มโนสัมผัสสชาเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัย
มโนสัมผัส มโนสัมผัสไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัสสชาเวทนา มโนธาตุไม่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยมโนสัมผัส
ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งผัสสะไม่
เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความต่างแห่งผัสสะ เป็นอย่างนี้”
ทุติยเวทนานานัตตสูตรที่ ๕ จบ

๖. พาหิรธาตุนานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งธาตุภายนอก
[๙๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความต่างแห่งธาตุแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงฟัง ...
ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ ธัมมธาตุ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ”
พาหิรธาตุนานัตตสูตรที่ ๖ จบ

๗. สัญญานานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งสัญญา
[๙๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญา(ความจำได้)เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่าง
แห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะ(ความดำริ)เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง
สัญญา ความต่างแห่งฉันทะ(ความพอใจ)เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ
ความต่างแห่งปริฬาหะ(ความเร่าร้อน)เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่าง
แห่งปริเยสนา(การแสวงหา)เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๗. สัญญานานัตตสูตร
ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ รูปธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุ
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่ง
สังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่งฉันทะ เกิดขึ้น
เพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งปริฬาหะเกิดขึ้น เพราะอาศัย
ความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งปริเยสนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง
ปริฬาหะ เป็นอย่างไร
รูปสัญญา๑เกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ รูปสังกัปปะ๒เกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัญญา
รูปฉันทะ๓เกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสังกัปปะ รูปปริฬาหะ๔เกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปฉันทะ
รูปปริเยสนา๕เกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปปริฬาหะ ฯลฯ
ธัมมสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมธาตุ ธัมมสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ธัมมสัญญา ธัมมฉันทะเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสังกัปปะ ธัมมปริฬาหะเกิดขึ้น
เพราะอาศัยธัมมฉันทะ ธัมมปริเยสนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมปริฬาหะ
ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่งฉันทะ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งปริฬาหะเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งปริเยสนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง
ปริฬาหะเป็นอย่างนี้”
สัญญานานัตตสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๘. โนปริเยสนานานัตตสูตร

๘. โนปริเยสนานานัตตสูตร
ว่าด้วยธาตุที่ไม่อาศัยความต่างแห่งปริเยสนา
[๙๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ฯลฯ
ความต่างแห่งปริเยสนา ...
ความต่างแห่งปริฬาหะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา ความต่าง
แห่งฉันทะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่างแห่งสังกัปปะไม่
เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งสัญญาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา
ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ รูปธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุ
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ฯลฯ
ความต่างแห่งปริเยสนา ...
ความต่างแห่งปริฬาหะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา
ความต่างแห่งฉันทะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่างแห่ง
สังกัปปะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งสัญญาไม่
เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยความต่างแห่งสัญญา เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๙. พาหิรผัสสนานัตตสูตร
คือ รูปสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ ฯลฯ
ธัมมสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมธาตุ ธัมมสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ธัมมสัญญา ฯลฯ
ธัมมปริเยสนา ...
ธัมมปริฬาหะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมปริเยสนา ธัมมฉันทะไม่เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยธัมมปริฬาหะ ธัมมสังกัปปะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมฉันทะ ธัมมสัญญาไม่
เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสังกัปปะ ธัมมธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ฯลฯ
ความต่างแห่งปริเยสนา ...
ความต่างแห่งปริฬาหะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา ฯลฯ
ความต่างแห่งสัญญา ...
ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา เป็นอย่างนี้”
โนปริเยสนานานัตตสูตรที่ ๘ จบ

๙. พาหิรผัสสนานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งผัสสะเพราะอาศัยธาตุภายนอก
[๙๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่งผัสสะ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งฉันทะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา
ความต่างแห่งปริฬาหะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งปริเยสนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๙. พาหิรผัสสนานัตตสูตร
เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่างแห่งลาภะเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความต่างแห่งปริเยสนา
ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ รูปธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุ
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ฯลฯ ความ
ต่างแห่งลาภะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา เป็นอย่างไร
คือ รูปสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ รูปสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัญญา
รูปสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสังกัปปะ รูปสัมผัสสชาเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูป
สัมผัส รูปฉันทะเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัมผัสสชาเวทนา รูปปริฬาหะเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยรูปฉันทะ รูปปริเยสนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปปริฬาหะ รูปลาภะเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยรูปปริเยสนา ฯลฯ ธัมมสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมธาตุ ธัมมสังกัปปะเกิด
ขึ้นเพราะอาศัยธัมมสัญญา ธัมมสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสังกัปปะ ธัมมสัมผัสส-
ชาเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสัมผัส ธัมมฉันทะเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสัมผัสส-
ชาเวทนา ธัมมปริฬาหะเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมฉันทะ ธัมมปริเยสนาเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยธัมมปริฬาหะ ธัมมลาภะเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมปริเยสนา
ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ฯลฯ ความต่าง
แห่งลาภะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนาเป็นอย่างนี้”
พาหิรผัสสนานัตตสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๑๐. ทุติยพาหิรผัสสนานัตตสูตร

๑๐. ทุติยพาหิรผัสสนานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งผัสสะเพราะอาศัยธาตุภายนอก สูตรที่ ๒
[๙๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ผัสสะ ... เวทนา...
ฉันทะ ... ปริฬาหะ ... ความต่างแห่งลาภะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา
ความต่างแห่งปริเยสนาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งลาภะ ความต่างแห่ง
ปริฬาหะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา ความต่างแห่งฉันทะไม่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ... เวทนา ... ผัสสะ ... สังกัปปะ ... ความต่าง
แห่งสัญญาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา
ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ รูปธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุ
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ... ผัสสะ ... เวทนา ... ฉันทะ ... ปริฬาหะ ...
ปริเยสนา ... ความต่างแห่งลาภะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา
ความต่างแห่งปริเยสนาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งลาภะ ... ปริฬาหะ
... ฉันทะ ... เวทนา ... ความต่างแห่งผัสสะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่าง
แห่งเวทนา ความต่างแห่งสัญญาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ
ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา เป็นอย่างไร
คือ รูปสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ ฯลฯ ธัมมสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ธัมมธาตุ (ธัมมสังกัปปะ)เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสัญญา ฯลฯ ธัมมปริเยสนาเกิดขึ้น
เพราะอาศัยธัมมปริฬาหะ ธัมมลาภะเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมปริเยสนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๑๐. ทุติยพาหิรผัสสนานัตตสูตร
ธัมมปริเยสนาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมลาภะ ธัมมปริฬาหะไม่เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยธัมมปริเยสนา ธัมมฉันทะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมปริฬาหะ ธัมมสัมผัสสชา-
เวทนาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมฉันทะ ธัมมสัมผัสไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมม-
สัมผัสสชาเวทนา ธัมมสังกัปปะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสัมผัส ธัมมสัญญาไม่เกิด
ขึ้นเพราะอาศัยธัมมสังกัปปะ ธัมมธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ผัสสะ ... เวทนา ...
ฉันทะ ... ปริฬาหะ ... ปริเยสนา ... ความต่างแห่งลาภะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่าง
แห่งปริเยสนา
ความต่างแห่งปริเยสนาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งลาภะ ความต่างแห่ง
ปริฬาหะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา ความต่างแห่งฉันทะไม่เกิด
ขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่างแห่งเวทนาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งผัสสะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา
ความต่างแห่งสังกัปปะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่ง
สัญญาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา เป็นอย่างนี้”
ทุติยพาหิรผัสสนานัตตสูตรที่ ๑๐ จบ
นานัตตวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ธาตุนานัตตสูตร ๒. ผัสสนานัตตสูตร
๓. โนผัสสนานัตตสูตร ๔. เวทนานานัตตสูตร
๕. ทุติยเวทนานานัตตสูตร ๖. พาหิรธาตุนานัตตตสูตร
๗. สัญญานานัตตสูตร ๘. โนปริเยสนานานัตตสูตร
๙. พาหิรผัสสนานัตตสูตร ๑๐. ทุติยพาหิรผัสสนานัตตสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๑. สัตตธาตุสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒

๑. สัตตธาตุสูตร
ว่าด้วยธาตุ ๗
[๙๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ธาตุมี ๗ ประการ ธาตุ ๗ ประการอะไรบ้าง คือ

๑. อาภาธาตุ๑ ๒. สุภธาตุ๒
๓. อากาสานัญจายตนธาตุ๓ ๔. วิญญาณัญจายตนธาตุ๔
๕. อากิญจัญญายตนธาตุ๕ ๖. เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ๖
๗. สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ๗

ธาตุมี ๗ ประการนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๑. สัตตธาตุสูตร
ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาภาธาตุ สุภธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ
วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ และ
สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ ธาตุเหล่านี้อาศัยอะไรจึงปรากฏได้”
“ภิกษุ อาภาธาตุอาศัยความมืดจึงปรากฏได้ สุภธาตุอาศัยความไม่งามจึง
ปรากฏได้ อากาสานัญจายตนธาตุอาศัยรูปสมาบัติจึงปรากฏได้ วิญญาณัญจายตน-
ธาตุอาศัยอากาสานัญจายตนสมาบัติจึงปรากฏได้ อากิญจัญญายตนธาตุอาศัย
วิญญาณัญจายตนสมาบัติจึงปรากฏได้ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุอาศัย
อากิญจัญญายตนสมาบัติจึงปรากฏได้ สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุอาศัยนิโรธสมาบัติจึง
ปรากฏได้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาภาธาตุ สุภธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ
วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ
และสัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ บุคคลจะเข้าถึงธาตุเหล่านี้ได้อย่างไร”
“ภิกษุ อาภาธาตุ สุภธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ วิญญาณัญจายตนธาตุ
อากิญจัญญายตนธาตุ ธาตุเหล่านี้ เป็นสัญญาสมาบัติที่บุคคลจะเข้าถึงได้
เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ เป็นสังขาราวิเสสสมาบัติ๑ที่บุคคลจะเข้าถึงได้ สัญญา-
เวทยิตนิโรธธาตุ เป็นนิโรธสมาบัติที่บุคคลจะเข้าถึงได้”
สัตตธาตุสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๒. สนิทานสูตร

๒. สนิทานสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นต้นเหตุ
[๙๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย กามวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น พยาบาทวิตก
มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น วิหิงสาวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
กามวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น พยาบาทวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น
ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น วิหิงสาวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น เป็นอย่างไร
กามสัญญา(ความหมายรู้กาม) เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามธาตุ กามสังกัปปะ
(ความดำริในกาม) เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามสัญญา กามฉันทะ(ความพอใจในกาม)
เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามสังกัปปะ กามปริฬาหะ(ความเร่าร้อนเพราะกาม) เกิดขึ้น
เพราะอาศัยกามฉันทะ กามปริเยสนา(การแสวงหากาม) เกิดขึ้นเพราะอาศัย
กามปริฬาหะ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหากามปริเยสนา ย่อมปฏิบัติผิด ๓ ทาง
คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
พยาบาทสัญญา(ความหมายรู้พยาบาท) เกิดขึ้นเพราะอาศัยพยาบาทธาตุ
พยาบาทสังกัปปะ(ความดำริในพยาบาท) เกิดขึ้นเพราะอาศัยพยาบาทสัญญา...
พยาบาทฉันทะ(ความพอใจในพยาบาท) ... พยาบาทปริฬาหะ(ความเร่าร้อนเพราะ
พยาบาท) ... พยาบาทปริเยสนา (การแสวงหาพยาบาท)
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาพยาบาทปริเยสนา ย่อมปฏิบัติผิด ๓ ทาง คือ
ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
วิหิงสาสัญญา (ความหมายรู้ความเบียดเบียน) เกิดขึ้นเพราะอาศัยวิหิงสาธาตุ
วิหิงสาสังกัปปะ(ความดำริในความเบียดเบียน) เกิดขึ้นเพราะอาศัยวิหิงสาสัญญา ...
วิหิงสาฉันทะ (ความพอใจในความเบียดเบียน) ... วิหิงสาปริฬาหะ (ความเร่าร้อน
เพราะความเบียดเบียน) ... วิหิงสาปริเยสนา (การแสวงหาความเบียดเบียน)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๒. สนิทานสูตร
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาวิหิงสาปริเยสนา ย่อมปฏิบัติผิด ๓ ทาง คือ
ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง
หากเขาไม่รีบดับด้วยมือและด้วยเท้า เมื่อเป็นเช่นนี้ บรรดาสัตว์มีชีวิตที่อาศัยหญ้า
และไม้อยู่ พึงถึงความพินาศย่อยยับ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมณะหรือ
พราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ไม่รีบละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งอกุศล-
สัญญาที่เกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอ สมณะหรือพราหมณ์นั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความ
อึดอัด ความคับแค้น ความเร่าร้อน ในปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวังทุคติได้
เนกขัมมวิตก(ความตรึกในการออกบวช) มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
อพยาบาทวิตก(ความตรึกในความไม่พยาบาท) มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
อวิหิงสาวิตก(ความตรึกในความไม่เบียดเบียน)มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
เนกขัมมวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น อพยาบาทวิตกมีเหตุจึง
เกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น อวิหิงสาวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมธาตุ เนกขัมมสังกัปปะเกิดขึ้น
เพราะอาศัยเนกขัมมสัญญา เนกขัมมฉันทะเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมสังกัปปะ
เนกขัมมปริฬาหะเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมฉันทะ เนกขัมมปริเยสนาเกิดขึ้น
เพราะอาศัยเนกขัมมปริฬาหะ อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาเนกขัมมปริเยสนา
ย่อมปฏิบัติชอบ ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
อพยาบาทสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยอพยาบาทธาตุ อพยาบาทสังกัปปะเกิด
ขึ้นเพราะอาศัยอพยาบาทสัญญา ... อพยาบาทฉันทะ ... อพยาบาทปริฬาหะ ...
อพยาบาทปริเยสนา
อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาอพยาบาทปริเยสนา ย่อมปฏิบัติชอบ ๓ ทาง
คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. คิญชกาวสถสูตร
อวิหิงสาสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาธาตุ อวิหิงสาสังกัปปะเกิดขึ้น
เพราะอาศัยอวิหิงสาสัญญา อวิหิงสาฉันทะเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาสังกัปปะ
อวิหิงสาปริฬาหะเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาฉันทะ อวิหิงสาปริเยสนาเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยอวิหิงสาปริฬาหะ อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาอวิหิงสาปริเยสนา ย่อม
ปฏิบัติชอบ ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง
เขารีบดับคบหญ้านั้นด้วยมือและด้วยเท้า เมื่อเป็นเช่นนี้ บรรดาสัตว์มีชีวิตที่อาศัย
หญ้าและไม้อยู่ จึงไม่ถึงความพินาศย่อยยับ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมณะ
หรือพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง รีบละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่ง
อกุศลสัญญาที่เกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอ สมณะหรือพราหมณ์นั้นย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มี
ความอึดอัด ความคับแค้น ความเร่าร้อน ในปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวัง
สุคติได้”
สนิทานสูตรที่ ๒ จบ

๓. คิญชกาวสถสูตร
ว่าด้วยการแสดงธรรม ณ ตำหนักอิฐ
[๙๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำหนักอิฐ ใกล้หมู่บ้าน
ญาติกะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุ ทิฏฐิเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุ
วิตกเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. คิญชกาวสถสูตร
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระกัจจานะได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิที่ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในบุคคลที่มิใช่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า๑ นี้ย่อมปรากฏเพราะอาศัยอะไร”
“กัจจานะ ธาตุคืออวิชชานี้ เป็นธาตุใหญ่ สัญญาที่เลว ทิฏฐิที่เลว วิตกที่เลว
เจตนาที่เลว ความปรารถนาที่เลว ความตั้งใจที่เลว บุคคลที่เลว วาจาที่เลว เกิดขึ้น
เพราะอาศัยธาตุที่เลว บุคคลที่เลวนั้น ย่อมบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่เลว เรากล่าวว่า ความเกิดของบุคคลนั้นเลว
สัญญาที่ปานกลาง ทิฏฐิที่ปานกลาง วิตกที่ปานกลาง เจตนาที่ปานกลาง
ความปรารถนาที่ปานกลาง ความตั้งใจที่ปานกลาง บุคคลที่ปานกลาง วาจาที่
ปานกลาง เกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุที่ปานกลาง บุคคลที่ปานกลางนั้น ย่อมบอก
แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ปานกลาง
เรากล่าวว่า ความเกิดของบุคคลนั้นปานกลาง
กัจจานะ สัญญาที่ประณีต ทิฏฐิที่ประณีต วิตกที่ประณีต เจตนาที่ประณีต
ความปรารถนาที่ประณีต ความตั้งใจที่ประณีต บุคคลที่ประณีต วาจาที่ประณีต
เกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุที่ประณีต บุคคลที่ประณีตนั้น ย่อมบอก แสดง บัญญัติ
กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ประณีต เรากล่าวว่า ความเกิด
ของบุคคลนั้นประณีต”
คิญชกาวสถสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๔. หีนาธิมุตติกสูตร

๔. หีนาธิมุตติกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มีอัธยาศัยเลวและอัธยาศัยงาม
[๙๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
แม้ในอดีต สัตว์ทั้งหลายก็ได้คบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
แม้ในอนาคต สัตว์ทั้งหลายก็จักคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว สัตว์
ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
ภิกษุทั้งหลาย แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุ
อย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีอัธยาศัยเลว สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
อัธยาศัยงาม”
หีนาธิมุตติกสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๕. จังกมสูตร

๕. จังกมสูตร
ว่าด้วยการจงกรม
[๙๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์
สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากในที่ไม่ไกลพระผู้มี
พระภาค ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากในที่ไม่
ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระมหากัสสปะก็กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมาก
ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระอนุรุทธะก็กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมาก
ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระปุณณมันตานีบุตรก็กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุ
จำนวนมากในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระอุบาลีก็กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุ
จำนวนมากในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระอานนท์ก็กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุ
จำนวนมากในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค แม้พระเทวทัตก็กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุ
จำนวนมากในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
บุคคลผู้มีอัธยาศัยเหมือนกันจึงคบกันได้
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นสารีบุตรกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวน
มากหรือไม่”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนมีปัญญามาก
เธอทั้งหลายเห็นมหาโมคคัลลานะกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนมีฤทธิ์มาก
เธอทั้งหลายเห็นมหากัสสปะกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๕. จังกมสูตร
“ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนกล่าวเรื่องธุดงค์๑
เธอทั้งหลายเห็นอนุรุทธะกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนมีตาทิพย์
เธอทั้งหลายเห็นปุณณมันตานีบุตรกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมาก
หรือไม่”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนเป็นธรรมกถึก
เธอทั้งหลายเห็นอุบาลีกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนทรงวินัย
เธอทั้งหลายเห็นอานนท์กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนเป็นพหูสูต
เธอทั้งหลายเห็นเทวทัตกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนมีความปรารถนาชั่ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๖. สคาถาสูตร
สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัย
เลว คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
แม้ในอดีต สัตว์ทั้งหลายก็ได้คบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
แม้ในอนาคต สัตว์ทั้งหลายก็จักคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
ภิกษุทั้งหลาย แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุ
อย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีอัธยาศัยเลว สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
อัธยาศัยงาม”
จังกมสูตรที่ ๕ จบ

๖. สคาถาสูตร
ว่าด้วยธรรมเทศนาที่มีคาถา
[๑๐๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
สัตว์ผู้มีอัธยาศัยเหมือนกันจึงคบกันได้
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว
แม้ในอดีต สัตว์ทั้งหลายได้คบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน
แม้ในอนาคต สัตว์ทั้งหลายจักคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๖. สคาถาสูตร
แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว
เปรียบเหมือนคูถ(อุจจาระ)กับคูถรวมเข้ากันได้ มูตร(ปัสสาวะ)กับมูตรรวม
เข้ากันได้ เขฬะ(น้ำลาย) กับเขฬะรวมเข้ากันได้ ปุพโพ(น้ำหนอง)กับปุพโพรวมเข้ากันได้
โลหิต(เลือด)กับโลหิตรวมเข้ากันได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สัตว์ทั้งหลายคบค้า
สมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว
แม้ในอดีต ฯลฯ
แม้ในอนาคต ฯลฯ
แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว
สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้มี
อัธยาศัยงาม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
แม้ในอดีต สัตว์ทั้งหลายได้คบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
แม้ในอนาคต สัตว์ทั้งหลายจักคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
เปรียบเหมือนน้ำนมสดกับน้ำนมสดรวมเข้ากันได้ น้ำมันกับน้ำมันรวมเข้ากันได้
เนยใสกับเนยใสรวมเข้ากันได้ น้ำผึ้งกับน้ำผึ้งรวมเข้ากันได้ น้ำอ้อยกับน้ำอ้อยรวม
เข้ากันได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุ
อย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
อัธยาศัยงาม
แม้ในอดีต ฯลฯ
แม้ในอนาคต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๗. อัสสัทธสังสันทนสูตร
ภิกษุทั้งหลาย แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุ
อย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
อัธยาศัยงาม”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปว่า
“ป่าคือกิเลส เกิดเพราะการคลุกคลีกัน
ย่อมขาดไป เพราะการไม่คลุกคลีกัน
บุคคลเกาะท่อนไม้เล็กพึงจมลงในห้วงน้ำใหญ่ฉันใด
แม้สาธุชนอาศัยคนเกียจคร้านก็ย่อมจมลงฉันนั้น
เพราะฉะนั้น พึงเว้นคนเกียจคร้าน
ผู้มีความเพียรย่อหย่อนนั้นเสีย
พึงอยู่ร่วมกับบัณฑิตผู้สงัด เป็นอริยะ
มีใจเด็ดเดี่ยว เพ่งพินิจ ปรารภความเพียรเป็นนิจ”
สคาถาสูตรที่ ๖ จบ

๗. อัสสัทธสังสันทนสูตร
ว่าด้วยการคบค้าสมาคมกันของสัตว์ผู้ไม่มีศรัทธา
[๑๐๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลายผู้
ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย คบค้า
สมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย สัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน คบค้าสมาคมกับ
สัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม คบค้าสมาคมกับสัตว์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๗. อัสสัทธสังสันทนสูตร
ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
แม้ในอดีต สัตว์ทั้งหลายได้คบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ไม่มีหิริ ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ
ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย ได้คบค้า
สมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย สัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน ได้คบค้าสมาคมกับ
สัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
แม้ในอนาคต สัตว์ทั้งหลายจักคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ไม่มีหิริ จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ
... กับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย ... กับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสุตะน้อย สัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน ... กับสัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสติหลงลืม ... กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มี
โอตตัปปะ ... กับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย ... กับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย สัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน ... กับสัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม ... กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์ทั้งหลายผู้มี
ปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๘. อัสสัทธมูลกสูตร
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญา
แม้ในอดีต ฯลฯ
แม้ในอนาคต ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกัน” ฯลฯ
อัสสัทธสังสันทนสูตรที่ ๗ จบ

๘. อัสสัทธมูลกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้ไม่มีศรัทธาเป็นมูล
[๑๐๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลายผู้
ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา
แม้ในอดีต สัตว์ทั้งหลายได้คบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน ฯลฯ
แม้ในอนาคต สัตว์ทั้งหลายจักคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๘. อัสสัทธมูลกสูตร
แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายก็คบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา (๑)
สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มี
ศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ฯลฯ (พึงรู้ความพิสดารเหมือนวาระแรก) (๒)
สัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ โดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย คบค้า
สมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสุตะมาก คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ฯลฯ (๓)
สัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ โดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน คบค้า
สมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๙. อหิริกมูลกสูตร
สัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ปรารภความเพียร คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ฯลฯ (๔)
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ โดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลาย
ผู้ไม่มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติ
หลงลืม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสติมั่นคง คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา” ฯลฯ (๕)
อัสสัทธมูลกสูตรที่ ๘ จบ

๙. อหิริกมูลกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้ไม่มีหิริเป็นมูล
[๑๐๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มี
โอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มี
ปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ(ความละอายต่อบาป) คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ(ความเกรงกลัวต่อบาป) คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
ปัญญา ฯลฯ (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๙. อหิริกมูลกสูตร
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสุตะน้อย คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา
ทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มี
สุตะมาก คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ฯลฯ (๒)
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลาย
ผู้เกียจคร้าน คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน สัตว์ทั้งหลายผู้มี
ปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ปรารภความเพียร คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ฯลฯ (๓)
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสติหลงลืม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์ทั้งหลายผู้มี
ปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มี
สติมั่นคง คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา” ฯลฯ (๔)
อหิริกมูลกสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๐. อโนตตัปปมูลกสูตร

๑๐. อโนตตัปปมูลกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้ไม่มีโอตตัปปะเป็นมูล
[๑๐๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ฯลฯ (๑)
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ
สัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ สัตว์
ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร
สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ฯลฯ (๒)
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์
ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา” ฯลฯ (๓)
อโนตตัปปมูลกสูตรที่ ๑๐ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๑. อัปปัสสุตมูลกสุตร

๑๑. อัปปัสสุตมูลกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มีสุตะน้อยเป็นมูล
[๑๐๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย สัตว์ทั้งหลาย
ผู้เกียจคร้าน คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน สัตว์ทั้งหลายผู้มี
ปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก สัตว์
ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร
สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ฯลฯ (๑)
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย สัตว์
ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม สัตว์ทั้งหลายผู้มี
สุตะมาก คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา” ฯลฯ (๒)
อัปปัสสุตมูลกสูตรที่ ๑๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๒. กุสีตมูลกสูตร

๑๒. กุสีตมูลกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เกียจคร้านเป็นมูล
[๑๐๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสติหลงลืม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์ทั้งหลายผู้มี
ปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารภ
ความเพียร คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง สัตว์
ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา” ฯลฯ
กุสีตมูลกสูตรที่ ๑๒ จบ
[ส่วนที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ในทุกแห่ง พึงทำเหมือนอย่างข้างต้น]
ทุติยวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัตตธาตุสูตร ๒. สนิทานสูตร
๓. คิญชกาวสถสูตร ๔. หีนาธิมุตติกสูตร
๕. จังกมสูตร ๖. สคาถาสูตร
๗. อัสสัทธสังสันทนสูตร ๘. อัสสัทธมูลกสูตร
๙. อหิริกมูลกสูตร ๑๐. อโนตตัปปมูลกสูตร
๑๑. อัปปัสสุตมูลกสูตร ๑๒. กุสีตมูลกสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๓. กัมมปถวรรค ๑. อสมาหิตสูตร

๓. กัมมปถวรรค
หมวดว่าด้วยกรรมบถ

๑. อสมาหิตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มีจิตไม่มั่นคง
[๑๐๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มี
โอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีจิต
ไม่มั่นคง๑ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีจิตไม่มั่นคง สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา
ทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์
ทั้งหลายผู้มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีจิตมั่นคง คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีจิตมั่นคง สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญา”
อสมาหิตสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๓. กัมมปถวรรค ๓. ปัญจสิกขาปทสูตร

๒. ทุสสีลสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้ทุศีล
[๑๐๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลายผู้
ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้ทุศีล คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้ทุศีล สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีศีล คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีศีล สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา”
ทุสสีลสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปัญจสิกขาปทสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มีศีล ๕
[๑๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ฆ่าสัตว์ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ฆ่าสัตว์ สัตว์ทั้งหลายผู้ลักทรัพย์
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ลักทรัพย์ สัตว์ทั้งหลายผู้ประพฤติผิดในกาม คบค้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๓. กัมมปถวรรค ๔.สัตตกัมมปถสูตร
สมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ประพฤติผิดในกาม สัตว์ทั้งหลายผู้พูดเท็จ คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้พูดเท็จ สัตว์ทั้งหลายผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาท คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท
สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาด
จากการฆ่าสัตว์ สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม สัตว์ทั้งหลายผู้
เว้นขาดจากการพูดเท็จ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและ
เมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท”
ปัญจสิกขาปทสูตรที่ ๓ จบ

๔. สัตตกัมมปถสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มีกรรมบถ ๗
[๑๑๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ฆ่าสัตว์ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ฆ่าสัตว์ สัตว์ทั้งหลายผู้ลักทรัพย์
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ลักทรัพย์ สัตว์ทั้งหลายผู้ประพฤติผิดในกาม คบค้า
สมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ประพฤติผิดในกาม สัตว์ทั้งหลายผู้พูดเท็จ คบค้าสมาคมกับ
สัตว์ทั้งหลายผู้พูดเท็จ สัตว์ทั้งหลายผู้พูดส่อเสียด คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้พูดส่อเสียด สัตว์ทั้งหลายผู้พูดคำหยาบ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้พูดคำหยาบ
สัตว์ทั้งหลายผู้พูดเพ้อเจ้อ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้พูดเพ้อเจ้อ
สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ... สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการ
ลักทรัพย์ ... สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ... สัตว์ทั้งหลาย
ผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ... สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คบค้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๓. กัมมปถวรรค ๕. ทสกัมมปถสูตร
สมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจาก
การพูดคำหยาบ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาด
จากการพูดเพ้อเจ้อ”
สัตตกัมมปถสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทสกัมมปถสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มีกรรมบถ ๑๐
[๑๑๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ฆ่าสัตว์ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ฆ่าสัตว์ สัตว์ทั้งหลายผู้ลักทรัพย์
... สัตว์ทั้งหลายผู้ประพฤติผิดในกาม ... สัตว์ทั้งหลายผู้พูดเท็จ ... สัตว์ทั้งหลายผู้
พูดส่อเสียด ... สัตว์ทั้งหลายผู้พูดคำหยาบ ... สัตว์ทั้งหลายผู้พูดเพ้อเจ้อ คบค้า
สมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้พูดเพ้อเจ้อ สัตว์ทั้งหลายผู้มีอภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยาก
ได้ของคนอื่น)มาก คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอภิชฌามาก สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีจิตพยาบาท คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีจิตพยาบาท สัตว์ทั้งหลายผู้มี
มิจฉาทิฏฐิ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาทิฏฐิ
สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาด
จากการฆ่าสัตว์ สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ... สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาด
จากการประพฤติผิดในกาม ... สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ... สัตว์
ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด ... สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
... สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้น
ขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีอภิชฌามาก คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีอภิชฌามาก สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีจิตพยาบาท คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีจิตพยาบาท สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาทิฏฐิ คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีสัมมาทิฏฐิ”
ทสกัมมปถสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๓. กัมมปถวรรค ๗. ทสังคสูตร

๖. อัฏฐังคิกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘
[๑๑๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้มีมิจฉาทิฏฐิ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาทิฏฐิ สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีมิจฉาสังกัปปะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาวาจา ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉากัมมันตะ
... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาอาชีวะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาวายามะ ... สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีมิจฉาสติ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาสมาธิ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
มิจฉาสมาธิ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาทิฏฐิ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาทิฏฐิ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาสังกัปปะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาวาจา ... สัตว์ทั้งหลายผู้มี
สัมมากัมมันตะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาอาชีวะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาวายามะ
... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาสติ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาสมาธิ คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีสัมมาสมาธิ”
อัฏฐังคิกสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทสังคสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐
[๑๑๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้มีมิจฉาทิฏฐิ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาทิฏฐิ สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีมิจฉาสังกัปปะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาวาจา ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉากัมมันตะ
... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาอาชีวะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาวายามะ ... สัตว์ทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๓. กัมมปถวรรค ๗. ทสังคสูตร
ผู้มีมิจฉาสติ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาสมาธิ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีมิจฉาสมาธิ สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาญาณ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
มิจฉาญาณ๑ สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาวิมุตติ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
มิจฉาวิมุตติ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาทิฏฐิ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาทิฏฐิ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาสังกัปปะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาวาจา ... สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสัมมากัมมันตะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาอาชีวะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมา-
วายามะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาสติ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาสมาธิ ... สัตว์
ทั้งหลายผู้มีสัมมาญาณ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาญาณ สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสัมมาวิมุตติคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาวิมุตติ”
ทสังคสูตรที่ ๗ จบ
[ส่วนที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันในที่ทุกแห่ง พึงทำเหมือนอย่างข้างต้น]

รวมพระสูตรในวรรคนี้ ๗ สูตร คือ

๑. อสมาหิตสูตร ๒. ทุสลีลสูตร
๓. ปัญจสิกขาปทสูตร ๔. สัตตกัมมปถสูตร
๕. ทสกัมมปถสูตร ๖. อัฏฐังคิกสูตร
๗. ทสังคสูตร

กัมมปถวรรคที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๒. ปุพเพสัมโพธสูตร

๔. จตุตถวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมะ สูตรละ ๔ ประการ
๑. จตุธาตุสูตร
ว่าด้วยธาตุ ๔
[๑๑๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ธาตุมี ๔ ประการนี้ ธาตุ ๔ ประการอะไรบ้าง คือ

๑. ปฐวีธาตุ ๒. อาโปธาตุ
๓. เตโชธาตุ ๔. วาโยธาตุ

ภิกษุทั้งหลาย ธาตุมี ๔ ประการนี้”
จตุธาตุสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปุพเพสัมโพธสูตร
ว่าด้วยความดำริก่อนตรัสรู้
[๑๑๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิด
คำนึงอย่างนี้ว่า ‘อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของปฐวีธาตุ อะไรเป็นเครื่องสลัดออก
จากปฐวีธาตุ
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของอาโปธาตุ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากอาโปธาตุ
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของเตโชธาตุ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากเตโชธาตุ
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของวาโยธาตุ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากวาโยธาตุ’
เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยปฐวีธาตุ’ นี้เป็นคุณ
ของปฐวีธาตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๒. ปุพเพสัมโพธสูตร
ปฐวีธาตุเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของ
ปฐวีธาตุ
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในปฐวีธาตุ นี้เป็นเครื่อง
สลัดออกจากปฐวีธาตุ
สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยอาโปธาตุ ...
สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยเตโชธาตุ ...
สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยวาโยธาตุ ... นี้เป็นคุณของวาโยธาตุ
วาโยธาตุเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษ
ของวาโยธาตุ
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในวาโยธาตุ นี้เป็นเครื่อง
สลัดออกจากวาโยธาตุ
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดเรายังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้ ตามความ
เป็นจริง ตราบนั้นเราก็ปฏิญาณไม่ได้ว่า ‘เป็นผู้ได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอัน
ยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
เมื่อใดเรารู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออก
โดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น
เราจึงปฏิญาณได้ว่า ‘เป็นผู้ได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
อนึ่ง ญาณและทัสสนะ๑เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้
เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
ปุพเพสัมโพธสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๔. จตุตถวรรค ๓. อจริงสูตร

๓. อจริงสูตร
ว่าด้วยการเที่ยวแสวงหาคุณโทษและเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔
[๑๑๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของปฐวีธาตุ ได้พบคุณของปฐวีธาตุ
ได้เห็นคุณของปฐวีธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา เราได้แสวงหาโทษของปฐวีธาตุ ได้พบ
โทษของปฐวีธาตุ ได้เห็นโทษของปฐวีธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหา
เครื่องสลัดออกจากปฐวีธาตุ ได้พบเครื่องสลัดออกจากปฐวีธาตุ ได้เห็นเครื่องสลัดออก
จากปฐวีธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของอาโปธาตุ ...
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของเตโชธาตุ ...
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของวาโยธาตุ ได้พบคุณของวาโยธาตุ ได้เห็นคุณของ
วาโยธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของวาโยธาตุ ได้พบโทษของ
วาโยธาตุ เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากวาโยธาตุ ได้เห็นโทษของวาโยธาตุ
เท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา เราได้พบเครื่องสลัดออกจากวาโยธาตุ ได้เห็นเครื่องสลัด
ออกจากวาโยธาตุ เท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดเรายังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้ ตามความ
เป็นจริง ตราบนั้นเราก็ปฏิญาณไม่ได้ว่า ‘เป็นผู้ได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอัน
ยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-
พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
เมื่อใดเรารู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออก
โดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้นเรา
จึงปฏิญาณได้ว่า ‘เป็นผู้ได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
อนึ่ง ญาณและทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้
เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
อจริงสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๔. โนเจทังสูตร

๔. โนเจทังสูตร
ว่าด้วยคุณโทษและเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔
[๑๑๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณของปฐวีธาตุจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายไม่พึงยินดีในปฐวีธาตุ
แต่เพราะคุณของปฐวีธาตุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในปฐวีธาตุ
ถ้าโทษของปฐวีธาตุจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายไม่พึงเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ แต่เพราะ
โทษของปฐวีธาตุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ
ถ้าเครื่องสลัดออกจากปฐวีธาตุจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายไม่พึงสลัดตนออกจาก
ปฐวีธาตุ แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากปฐวีธาตุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดตน
ออกจากปฐวีธาตุ
ถ้าคุณของอาโปธาตุจักไม่ได้มี ...
ถ้าคุณของเตโชธาตุจักไม่ได้มี ...
ถ้าคุณของวาโยธาตุจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงยินดีในวาโยธาตุ แต่เพราะ
คุณของวาโยธาตุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในวาโยธาตุ
ถ้าโทษของวาโยธาตุจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายไม่พึงเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ แต่เพราะ
โทษของวาโยธาตุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ
ถ้าเครื่องสลัดออกของวาโยธาตุจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายไม่พึงสลัดตนออกจาก
วาโยธาตุ แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากวาโยธาตุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดตน
ออกจากวาโยธาตุ
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดสัตว์เหล่านี้ยังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความ
เป็นโทษ และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้
ตามความเป็นจริง ตราบนั้นสัตว์เหล่านี้ยังสลัดตนออกไม่ได้ พรากตนออกไม่ได้
ยังไม่หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจเป็นอิสระอยู่ไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๕. เอกันตทุกขสูตร
เมื่อใดสัตว์เหล่านี้รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่อง
สลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้ ตามความเป็นจริง
เมื่อนั้นสัตว์เหล่านี้ย่อมสลัดตนออกได้ พรากตนออกได้ หลุดพ้นไปจากโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
มีใจเป็นอิสระอยู่ได้”
โนเจทังสูตรที่ ๔ จบ

๕. เอกันตทุกขสูตร
ว่าด้วยธาตุ ๔ มีทุกข์โดยส่วนเดียว
[๑๑๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าปฐวีธาตุนี้จักได้มีทุกข์โดยส่วนเดียว ถูกทุกข์ติดตาม มีทุกข์
หยั่งลง สุขไม่หยั่งลง สัตว์ทั้งหลายไม่พึงยินดีในปฐวีธาตุ แต่เพราะปฐวีธาตุมีสุข
ติดตาม มีสุขหยั่งลง มีทุกข์ไม่หยั่งลง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในปฐวีธาตุ
ถ้าอาโปธาตุนี้ ...
ถ้าเตโชธาตุนี้ ...
ถ้าวาโยธาตุนี้จักได้มีทุกข์โดยส่วนเดียว ถูกทุกข์ติดตาม มีทุกข์หยั่งลง มีสุข
ไม่หยั่งลง สัตว์ทั้งหลายไม่พึงยินดีในวาโยธาตุ แต่เพราะวาโยธาตุมีสุขติดตาม มีสุข
หยั่งลง มีทุกข์ไม่หยั่งลง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในวาโยธาตุ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าปฐวีธาตุนี้จักได้มีสุขโดยส่วนเดียว มีสุขติดตาม มีสุขหยั่งลง
มีทุกข์ไม่หยั่งลง สัตว์ทั้งหลายไม่พึงเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ แต่เพราะปฐวีธาตุถูกทุกข์
ติดตาม มีทุกข์หยั่งลง มีสุขไม่หยั่งลง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ
ถ้าอาโปธาตุนี้ ...
ถ้าเตโชธาตุนี้ ...
ถ้าวาโยธาตุนี้จักได้มีสุขโดยส่วนเดียว มีสุขติดตาม มีสุขหยั่งลง มีทุกข์ไม่
หยั่งลง สัตว์ทั้งหลายไม่พึงเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ แต่เพราะวาโยธาตุถูกทุกข์ติดตาม
มีทุกข์หยั่งลง มีสุขไม่หยั่งลง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ”
เอกันตทุกขสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๗. อุปปาทสูตร

๖. อภินันทสูตร
ว่าด้วยความชื่นชมธาตุ ๔
[๑๑๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดชื่นชมปฐวีธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าชื่นชมทุกข์ ผู้ใดชื่นชมทุกข์
เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่หลุดพ้นจากทุกข์
ผู้ใดชื่นชมอาโปธาตุ ...
ผู้ใดชื่นชมเตโชธาตุ ...
ผู้ใดชื่นชมวาโยธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าชื่นชมทุกข์ ผู้ใดชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้น
ไม่หลุดพ้นจากทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย แต่ผู้ใดไม่ชื่นชมปฐวีธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าไม่ชื่นชมทุกข์ ผู้ใดไม่
ชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ‘ผู้นั้นหลุดพ้นจากทุกข์’
ผู้ใดไม่ชื่นชมอาโปธาตุ ...
ผู้ใดไม่ชื่นชมเตโชธาตุ ...
ผู้ใดไม่ชื่นชมวาโยธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าไม่ชื่นชมทุกข์ ผู้ใดไม่ชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า
‘ผู้นั้นหลุดพ้นจากทุกข์”
อภินันทสูตรที่ ๖ จบ

๗. อุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งธาตุ ๔ เป็นทุกข์
[๑๒๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่ง
ปฐวีธาตุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชรา
และมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งอาโปธาตุ ... แห่ง
เตโชธาตุ ... แห่งวาโยธาตุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งโรค เป็นความ
ปรากฏแห่งชราและมรณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๘. สมณพราหมณสูตร
ภิกษุทั้งหลาย แต่ความดับ ความระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งปฐวีธาตุ นี้เป็น
ความดับแห่งทุกข์ ความระงับโรค ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ
ความดับ ความระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งอาโปธาตุ ... แห่งเตโชธาตุ ...
แห่งวาโยธาตุ นี้เป็นความดับแห่งทุกข์ ความระงับโรค ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ”
อุปปาทสูตรที่ ๗ จบ

๘. สมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์
[๑๒๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๔ ประการนี้ ธาตุ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ปฐวีธาตุ ๒. อาโปธาตุ
๓. เตโชธาตุ ๔. วาโยธาตุ

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้คุณโทษและเครื่องสลัดออกจากธาตุ
๔ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่จัดว่าเป็นสมณะ
ในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้
แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่าน
เหล่านั้นก็ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และประโยชน์ของความเป็น
พราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
สมณพราหมณสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๑๐. ตติยสมณพราหมณสูตร

๙. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒
[๑๒๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๔ ประการนี้ ธาตุ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ปฐวีธาตุ ๒. อาโปธาตุ
๓. เตโชธาตุ ๔. วาโยธาตุ

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดความเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้ คุณ
โทษ และเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้ ตามความเป็นจริง ฯลฯ ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” (เนื้อความโดยละเอียดพึงเทียบกับสูตรที่ ๘)
ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ตติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๓
[๑๒๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดปฐวีธาตุ ความเกิด
แห่งปฐวี ความดับแห่งปฐวีธาตุ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งปฐวีธาตุ
ไม่รู้ชัดอาโปธาตุ ฯลฯ ไม่รู้ชัดเตโชธาตุ ... ไม่รู้ชัดวาโยธาตุ ความเกิดแห่ง
วาโยธาตุ ความดับแห่งวาโยธาตุ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวาโยธาตุ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้น ไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์
ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และ
ประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดปฐวีธาตุ ความเกิด
แห่งปฐวีธาตุ ความดับแห่งปฐวีธาตุ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งปฐวีธาตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๔. จตุตถวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดอาโปธาตุ ฯลฯ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดเตโชธาตุ ...
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดวาโยธาตุ ความเกิดแห่งวาโยธาตุ
ความดับแห่งวาโยธาตุ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวาโยธาตุ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้น จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์
ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และประโยชน์ของความ
เป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
ตติยสมณพราหมณสูตรที่ ๑๐ จบ
จตุตถวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จตุธาตุสูตร ๒. ปุพเพสัมโพธสูตร
๓. อจริงสูตร ๔. โนเจทังสูตร
๕. เอกันตทุกขสูตร ๖. อภินันทสูตร
๗. อุปปาทสูตร ๘. สมณพราหมณสูตร
๙. ทุติยสมณพราหมณสูตร ๑๐. ตติยสมณพราหมณสูตร

ธาตุสังยุต จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑. ติณกัฏฐสูตร

๔. อนมตัคคสังยุต

๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑

๑. ติณกัฏฐสูตร
ว่าด้วยหญ้าและท่อนไม้
[๑๒๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น
ที่สุดเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียน
ท่องเที่ยวไป
เปรียบเหมือนบุรุษตัดหญ้า ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้แล้วรวมเป็น
กองเดียวกัน ครั้นรวมกันแล้ว จึงมัด มัดละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่านี้เป็นมารดา
ของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเรา มารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้นไม่พึงสิ้นสุด
ส่วนหญ้า ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้พึงหมดสิ้นไป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๒. ปฐวีสูตร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น ที่สุดเบื้องปลาย
ไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป
อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เธอทั้งหลายเสวยความทุกข์ ได้รับความลำบาก
ได้รับความพินาศเต็มป่าช้า๑เป็นเวลายาวนาน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อ
หลุดพ้นจากสังขารทั้งปวง”
ติณกัฏฐสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฐวีสูตร
ว่าด้วยแผ่นดิน
[๑๒๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น
ที่สุดเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียน
ท่องเที่ยวไป
เปรียบเหมือนบุรุษพึงปั้นมหาปฐพีนี้ให้เป็นก้อน ก้อนละเท่าเมล็ดกระเบาแล้ว
วางไว้ สมมติว่านี้เป็นบิดาของเรา นี้เป็นบิดาของบิดาของเรา บิดาของบิดาแห่งบุรุษนั้น
ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนมหาปฐพีนี้พึงหมดสิ้นไป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๓. อัสสุสูตร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น ที่สุดเบื้อง
ปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป
อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เธอทั้งหลายเสวยความทุกข์ เสวยความลำบาก
ได้รับความพินาศเต็มป่าช้าเป็นเวลายาวนาน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อ
หลุดพ้นจากสังขารทั้งปวง”
ปฐวีสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัสสุสูตร
ว่าด้วยน้ำตา
[๑๒๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ เธอทั้งหลาย
จะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร น้ำตาที่หลั่งไหลของเธอทั้งหลายผู้วนเวียนท่องเที่ยวไป
คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบกับสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ
โดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ธรรมตามที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว
น้ำตาที่หลั่งไหลของข้าพระองค์ทั้งหลายผู้วนเวียนท่องเที่ยวไป คร่ำครวญร้องไห้อยู่
เพราะประสบกับสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้
นี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย”
“ถูกละ ถูกละ เธอทั้งหลายรู้ธรรมตามที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ ถูกต้องแล้ว
น้ำตาที่หลั่งไหลของเธอทั้งหลายผู้วนเวียนท่องเที่ยวไป คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะ
ประสบกับสิ่งที่ไม่น่าพอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้แหละ
มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๔. ขีรสูตร
เธอทั้งหลายได้ประสบความตายของมารดามาช้านาน น้ำตาที่หลั่งไหลของเธอ
ทั้งหลายผู้ประสบความตายของมารดา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบกับสิ่งที่
ไม่น่าพอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจนี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทร
ทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
เธอทั้งหลายได้ประสบความตายของบิดา ... ของพี่ชายน้องชาย ... ของพี่สาว
น้องสาว ... ของบุตร ... ของธิดา ... ความเสื่อมของญาติ ... ความเสื่อมแห่งโภคะ ...
ความเสื่อมเพราะโรคมาช้านาน น้ำตาที่หลั่งไหลของเธอทั้งหลายผู้ประสบความเสื่อม
เพราะโรค คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบกับสิ่งที่ไม่น่าพอใจ เพราะพลัดพราก
จากสิ่งที่พอใจนี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อ
หลุดพ้นจากสังขารทั้งปวง”
อัสสุสูตรที่ ๓ จบ

๔. ขีรสูตร
ว่าด้วยน้ำนม
[๑๒๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ เธอทั้งหลาย
จะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร น้ำนมของมารดาที่เธอทั้งหลายผู้วนเวียนท่องเที่ยวไป
โดยกาลนานนี้ดื่มแล้ว กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ธรรมตามที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว
น้ำนมของมารดาที่ข้าพระองค์ทั้งหลายผู้วนเวียนท่องเที่ยวไปโดยกาลนานนี้ ดื่มแล้ว
นี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. ปัพพตสูตร
“ถูกละ ถูกละ เธอทั้งหลายรู้ธรรมตามที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ ถูกต้องแล้ว
น้ำนมของมารดาที่เธอทั้งหลายผู้วนเวียนท่องเที่ยวไปโดยกาลนานนี้ดื่มแล้ว นี้แหละ
มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...
ขีรสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปัพพตสูตร
ว่าด้วยภูเขา
[๑๒๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี...
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่
สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปหนึ่งนานเพียงไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า “ภิกษุ กัปหนึ่งนานนักหนา มิใช่เรื่องง่ายที่จะนับ
กัปนั้นว่า เท่านี้ปี เท่านี้ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี””
“พระองค์อาจอุปมาได้ไหม พระพุทธเจ้าข้า”
“อาจอุปมาได้ ภิกษุ เปรียบเหมือนภูเขาศิลาแท่งทึบลูกใหญ่ มีความยาว
๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง บุรุษพึงเอาผ้า
แคว้นกาสี๑ลูบภูเขานั้น ๑๐๐ ปีต่อครั้ง ภูเขาศิลาลูกใหญ่นั้นพึงหมดสิ้นไป เพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๖. สาสปสูตร
ความพยายามนี้ ยังเร็วกว่า ส่วนกัปหนึ่งยังไม่หมดสิ้นไป กัปนานนักหนาอย่างนี้
บรรดากัปที่นานนักหนาอย่างนี้ เธอได้ท่องเที่ยวไป มิใช่ ๑ กัป มิใช่ ๑๐๐ กัป มิใช่
๑,๐๐๐ กัป มิใช่ ๑๐๐,๐๐๐ กัป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ
ภิกษุ เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อหลุดพ้น
จากสังขารทั้งปวง”
ปัพพตสูตรที่ ๕ จบ

๖. สาสปสูตร
ว่าด้วยเมล็ดผักกาด
[๑๒๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่
สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปหนึ่งนานเพียงไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า “ภิกษุ กัปหนึ่งนานนักหนา มิใช่เรื่องง่ายที่จะ
นับกัปนั้นว่า เท่านี้ปี ฯลฯ หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี””
“พระองค์อาจอุปมาได้ไหม พระพุทธเจ้าข้า”
“อาจอุปมาได้ ภิกษุ เปรียบเหมือนนครที่สร้างด้วยเหล็ก๑มีความยาว ๑ โยชน์
กว้าง ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ เต็มด้วยเมล็ดผักกาด รวมกันเป็นกลุ่มก้อน บุรุษ
พึงหยิบเมล็ดผักกาดออกจากนครนั้น ๑๐๐ ปีต่อ ๑ เมล็ด เมล็ดผักกาดกองใหญ่นั้น
พึงหมดสิ้นไป เพราะความพยายามนี้ยังเร็วกว่า ส่วนกัปหนึ่ง ยังไม่หมดสิ้นไป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๗. สาวกสูตร
กัปนานนักหนาอย่างนี้ บรรดากัปที่นานนักหนาอย่างนี้ เธอได้ท่องเที่ยวไป มิใช่ ๑ กัป
มิใช่ ๑๐๐ กัป มิใช่ ๑,๐๐๐ กัป มิใช่ ๑๐๐,๐๐๐ กัป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้นจาก
สังขารทั้งปวง”
สาสปสูตรที่ ๖ จบ

๗. สาวกสูตร
ว่าด้วยพระสาวก
[๑๓๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่
สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปทั้งหลายที่ผ่านพ้นไปแล้ว มากเท่าไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย กัปทั้งหลายที่ผ่านพ้นไปแล้วมาก
นักหนา มิใช่เรื่องง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป
หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป”
“พระองค์อาจอุปมาได้ไหม พระพุทธเจ้าข้า”
“อาจอุปมาได้ ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสาวก ๔ รูปในธรรมวินัยนี้
มีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี หากเธอเหล่านั้นพึงระลึกย้อนหลังไปได้ วันละ
๑๐๐,๐๐๐ กัป กัปที่เธอเหล่านั้นระลึกไปไม่ถึงยังมีอยู่ ต่อมาสาวก ๔ รูป มีอายุ
๑๐๐ ปี มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี พึงมรณภาพไปทุก ๑๐๐ ปี กัปที่ผ่านพ้นไปแล้วมาก
นักหนาอย่างนี้ มิใช่เรื่องง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้
๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...
สาวกสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๘. คังคาสูตร

๘. คังคาสูตร
ว่าด้วยแม่น้ำคงคา
[๑๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ กัปทั้งหลายที่ผ่านพ้นไปแล้วมากเท่าไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า “พราหมณ์ กัปทั้งหลายที่ผ่านพ้นไปแล้ว
มากนักหนา มิใช่เรื่องง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้
๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป”
“พระองค์อาจอุปมาได้ไหม พระพุทธเจ้าข้า”
“อาจอุปมาได้ พราหมณ์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคานี้เริ่มต้นจากที่ใด และถึง
มหาสมุทร ณ ที่ใด เม็ดทรายในระหว่างนี้ง่ายที่จะนับได้ว่า เท่านี้เม็ด เท่านี้
๑๐๐ เม็ด เท่านี้ ๑,๐๐๐ เม็ด หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ เม็ด กัปทั้งหลายที่ผ่านพ้น
ไปแล้วมากกว่าเม็ดทรายเหล่านั้น มิใช่เรื่องง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป
เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น ที่สุดเบื้องปลาย
ไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป
สัตว์เหล่านั้นก็เสวยความทุกข์ เสวยความลำบาก ได้รับความพินาศเต็มป่าช้าเป็น
เวลายาวนาน
พราหมณ์ เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อ
หลุดพ้นจากสังขารทั้งปวง”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ผู้นั้นได้กราบทูลว่า “ท่าน
พระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดม พระ
ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดม จงทรงจำข้า
พระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
คังคาสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑๐. ปุคคลสูตร

๙. ทัณฑสูตร
ว่าด้วยท่อนไม้
[๑๓๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น
ที่สุดเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียน
ท่องเที่ยวไป ฯลฯ
เปรียบเหมือนท่อนไม้ที่บุคคลโยนขึ้นไปบนอากาศ บางคราวตกลงทางโคน
บางคราวก็ตกลงทางขวาง บางคราวก็ตกลงทางปลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็
ฉันนั้น สัตว์ทั้งหลายผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป
บางคราวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น บางคราวก็จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...
ทัณฑสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ปุคคลสูตร
ว่าด้วยบุคคล
[๑๓๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารมีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ โครงกระดูก
ร่างกระดูก กองกระดูกของบุคคลคนหนึ่งผู้วนเวียนท่องเที่ยวไปตลอด ๑ กัป ถ้านำ
กระดูกนั้นนำมากองรวมกันได้ และกระดูกที่กองรวมกันไว้ ไม่สูญหายไป พึงใหญ่
เท่าภูเขาเวปุลละนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑๐. ปุคคลสูตร
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปว่า
“เราผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ได้กล่าวไว้ว่า
กระดูกของบุคคลคนหนึ่งที่สะสมไว้ ๑ กัป
พึงกองสุมเท่าภูเขา ก็ภูเขาที่เรากล่าวถึงนั้น
คือ ภูเขาหลวงชื่อเวปุลละ อยู่ทิศเหนือของภูเขาคิชฌกูฏ
ซึ่งตั้งล้อมรอบกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
เมื่อใดบุคคลเห็นอริยสัจ คือ ทุกข์
เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความดับทุกข์
และอริยมรรคมีองค์ ๘ อันยังสัตว์ให้ถึงความดับทุกข์
ด้วยปัญญาอันชอบ
เมื่อนั้น เขาท่องเที่ยวไป ๗ ชาติเป็นอย่างมาก
ก็จะทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์ทั้งปวงสิ้นไป”
ปุคคลสูตรที่ ๑๐ จบ
ปฐมวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ติณกัฏฐสูตร ๒. ปฐวีสูตร
๓. อัสสุสูตร ๔. ขีรสูตร
๕. ปัพพตสูตร ๖. สาสปสูตร
๗. สาวกสูตร ๘. คังคาสูตร
๙. ทัณฑสูตร ๑๐. ปุคคลสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒. สุขิตสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒

๑. ทุคคตสูตร
ว่าด้วยผู้มีความทุกข์
[๑๓๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น
พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น
ที่สุดเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียน
ท่องเที่ยวไป เธอทั้งหลายเห็นบุคคลผู้มีความทุกข์มีมือและเท้าไม่สมประกอบ พึง
สันนิษฐานบุคคลนี้ว่า ‘แม้เราทั้งหลายก็เคยเสวยความทุกข์เช่นนี้มาแล้ว โดยกาลนาน’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...
ทุคคตสูตรที่ ๑ จบ

๒. สุขิตสูตร
ว่าด้วยผู้มีความสุข
[๑๓๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ... เธอทั้งหลายเห็น
บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยความสุข มีบริวารคอยรับใช้ พึงสันนิษฐานบุคคลนี้ว่า
‘แม้เราทั้งหลายก็เคยเสวยความสุขเช่นนี้มาแล้ว โดยกาลนาน’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...
สุขิตสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. ติงสมัตตสูตร

๓. ติงสมัตตสูตร
ว่าด้วยภิกษุ ๓๐ รูป
[๑๓๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ... เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น ภิกษุชาวเมืองปาวาประมาณ ๓๐ รูป ทั้งหมดล้วนเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงผ้าไตรจีวร
เป็นวัตร (แต่)ยังมีสังโยชน์๑ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า ‘ภิกษุชาวเมืองปาวาประมาณ ๓๐ รูปนี้
ทั้งหมดล้วนเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงผ้าไตรจีวรเป็นวัตร (แต่)ยังมีสังโยชน์ ทางที่ดี เราพึง
แสดงธรรมให้ภิกษุเหล่านี้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ขณะที่นั่งบนอาสนะ
นี้แหละ’ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น ที่สุดเบื้องปลาย
ไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป
เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร โลหิตที่หลั่งไหลของเธอทั้งหลายผู้ถูกตัด
ศีรษะวนเวียนท่องเที่ยวไปโดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ อย่างไหนจะ
มากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ธรรมตามที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว
โลหิตที่หลั่งไหลของข้าพระองค์ทั้งหลายผู้ถูกตัดศีรษะวนเวียนท่องเที่ยวไปโดยกาลนานนี้
นี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย”
“ถูกละ ถูกละ เธอทั้งหลายรู้ธรรมตามที่เราแสดงอย่างนี้ ถูกต้องแล้ว โลหิต
ที่หลั่งไหลของเธอทั้งหลายผู้ถูกตัดศีรษะวนเวียนท่องเที่ยวไปโดยกาลนานนี้ นี้แหละ
มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นโค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๔. มาตุสูตร
ซึ่งถูกตัดศีรษะมาช้านาน โลหิตที่หลั่งไหลนี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทร
ทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นกระบือ ซึ่งถูกตัดศีรษะมาช้านาน
โลหิตที่หลั่งไหลนี้แหละมากกว่า ฯลฯ เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นแกะ ฯลฯ เกิดเป็น
แพะ ฯลฯ เกิดเป็นเนื้อ ฯลฯ เกิดเป็นสุกร ฯลฯ เกิดเป็นไก่ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายถูกจับตัดศีรษะด้วยข้อหาว่าเป็นโจรฆ่าชาวบ้าน
มาช้านาน โลหิตที่หลั่งไหลนี้แหละมากกว่า ฯลฯ ถูกจับตัดศีรษะด้วยข้อหาว่า
เป็นโจรปล้นในทางเปลี่ยว ฯลฯ ถูกจับตัดศีรษะด้วยข้อหาว่าเป็นโจรประพฤติผิดใน
ภรรยาของผู้อื่นมาช้านาน โลหิตที่หลั่งไหลนี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทร
ทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ-
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของ
ภิกษุชาวเมืองปาวาประมาณ ๓๐ รูป ก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น
ติงสมัตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. มาตุสูตร
ว่าด้วยผู้เคยเป็นมารดา
[๑๓๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ผู้ไม่เคย
เป็นมารดาโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...
มาตุสูตรที่ ๔ จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น