Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๘-๑ หน้า ๑ - ๕๕

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘-๑ สุตตันตปิฎกที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค



พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๑. อัชฌัตตานิจจสูตร

พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. สฬายตนสังยุต
๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. อนิจจวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง
๑. อัชฌัตตานิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในไม่เที่ยง
[๑] ข้าพเจ้า๑ ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย จักขุ (ตา) ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์
สิ่งนั้นเป็นอนัตตา (ไม่ใช่อัตตา) สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๑. อัชฌัตตานิจจสูตร
โสตะ (หู) ไม่เที่ยง ฯลฯ
ฆานะ (จมูก) ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ
ชิวหา (ลิ้น) ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น
อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
กายไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ
มโน (ใจ) ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น
อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัด
ว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๑ ทำกิจที่ควรทำ๒ เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๓
อัชฌัตตานิจจสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๓. อัชฌัตตานัตตสูตร

๒. อัชฌัตตทุกขสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในเป็นทุกข์
[๒] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใด
เป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้
ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
โสตะเป็นทุกข์ ฯลฯ
ฆานะเป็นทุกข์ ฯลฯ
ชิวหาเป็นทุกข์ ฯลฯ
กายเป็นทุกข์ ฯลฯ
มโนเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น
เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อัชฌัตตทุกขสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัชฌัตตานัตตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในเป็นอนัตตา
[๓] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น
นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
โสตะเป็นอนัตตา ฯลฯ
ฆานะเป็นอนัตตา ฯลฯ
ชิวหาเป็นอนัตตา ฯลฯ
กายเป็นอนัตตา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๔. พาหิรานิจจสูตร
มโนเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอัน
ชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อัชฌัตตานัตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. พาหิรานิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกไม่เที่ยง
[๔] “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์
สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
สัททะ (เสียง) ฯลฯ
คันธะ (กลิ่น) ฯลฯ
รส ฯลฯ
โผฏฐัพพะ (สิ่งที่ถูกต้องกาย) ฯลฯ
ธรรมารมณ์๑ ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น
เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย
กำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป”
พาหิรานิจจสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๖. พาหิรานัตตสูตร

๕. พาหิรทุกขสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกเป็นทุกข์
[๕] “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น
อนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
สัททะ ฯลฯ
คันธะ ฯลฯ
รส ฯลฯ
โผฏฐัพพะ ฯลฯ
ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา
สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พาหิรทุกขสูตรที่ ๕ จบ

๖. พาหิรานัตตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกเป็นอนัตตา
[๖] “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น
นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
สัททะ ฯลฯ
คันธะ ฯลฯ
รส ฯลฯ
โผฏฐัพพะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๗. อัชฌัตตานิจจาตีตานาคตสูตร
ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พาหิรานัตตสูตรที่ ๖ จบ

๗. อัชฌัตตานิจจาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง
[๗] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง ไม่ต้องกล่าวถึง
จักขุที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยจักขุที่เป็นอดีต
ไม่ยินดีจักขุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ
ดับจักขุที่เป็นปัจจุบัน
โสตะ ... ไม่เที่ยง ฯลฯ
ฆานะ ... ไม่เที่ยง ฯลฯ
ชิวหาทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง ไม่ต้องกล่าวถึงชิวหาที่เป็นปัจจุบัน
อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยชิวหาที่เป็นอดีต ไม่ยินดีชิวหาที่เป็น
อนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชิวหาที่เป็น
ปัจจุบัน
กาย ... ไม่เที่ยง ฯลฯ
มโน ... ไม่เที่ยง ไม่ต้องกล่าวถึงมโนที่เป็นปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยมโนที่เป็นอดีต
ไม่ยินดีมโนที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
มโนที่เป็นปัจจุบัน”
อัชฌัตตานิจจาตีตานาคตสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๙. อัชฌัตตานัตตาตีตานาคตสูตร

๘. อัชฌัตตทุกขาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์
[๘] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์ ไม่ต้องกล่าวถึง
จักขุที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยจักขุที่เป็นอดีต
ไม่ยินดีจักขุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
จักขุที่เป็นปัจจุบัน
โสตะ ... เป็นทุกข์ ฯลฯ
ฆานะ ... เป็นทุกข์ ฯลฯ
ชิวหาทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์ ไม่ต้องกล่าวถึงชิวหาที่เป็นปัจจุบัน
อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยชิวหาที่เป็นอดีต ไม่ยินดีชิวหาที่
เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชิวหาที่
เป็นปัจจุบัน
กาย ... เป็นทุกข์ ฯลฯ
มโนทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์ ไม่ต้องกล่าวถึงมโนที่เป็นปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยมโนที่เป็นอดีต
ไม่ยินดีมโนที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ
ดับมโนที่เป็นปัจจุบัน”
อัชฌัตตทุกขาตีตานาคตสูตรที่ ๘ จบ

๙. อัชฌัตตานัตตาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา
[๙] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา ไม่ต้องกล่าว
ถึงจักขุที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยจักขุที่เป็น
อดีต ไม่ยินดีจักขุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับจักขุที่เป็นปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๑๐. พาหิรานิจจาตีตานาคตสูตร
โสตะ ... เป็นอนัตตา ฯลฯ
ฆานะ ... เป็นอนัตตา ฯลฯ
ชิวหาทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา ไม่ต้องกล่าวถึงชิวหาที่เป็นปัจจุบัน
อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยชิวหาที่เป็นอดีต ไม่ยินดีชิวหาที่เป็น
อนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชิวหาที่เป็น
ปัจจุบัน
กาย ... เป็นอนัตตา ฯลฯ
มโนทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา ไม่ต้องกล่าวถึงมโนที่เป็นปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยมโนที่เป็น
อดีต ไม่ยินดีมโนที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับมโนที่เป็นปัจจุบัน”
อัชฌัตตานัตตาตีตานาคตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. พาหิรานิจจาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง
[๑๐] “ภิกษุทั้งหลาย รูปทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง ไม่ต้องกล่าวถึงรูป
ที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยรูปที่เป็นอดีต ไม่ยินดี
รูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูปที่เป็น
ปัจจุบัน
สัททะ ฯลฯ
คันธะ ฯลฯ
รส ฯลฯ
โผฏฐัพพะ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง ไม่ต้องกล่าวถึงธรรมารมณ์ที่เป็น
ปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๑๒. พาหิรานัตตาตีตานาคตสูตร
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยธรรมารมณ์ที่
เป็นอดีต ไม่ยินดีธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อ
คลายกำหนัด เพื่อดับธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน”
พาหิรานิจจาตีตานาคตสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. พาหิรทุกขาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์
[๑๑] “ภิกษุทั้งหลาย รูปทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์ ไม่ต้องกล่าวถึง
รูปที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยรูปที่เป็นอดีต
ไม่ยินดีรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
รูปที่เป็นปัจจุบัน ฯลฯ
พาหิรทุกขาตีตานาคตสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. พาหิรานัตตาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา
[๑๒] “ภิกษุทั้งหลาย รูปทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา ไม่ต้องกล่าว
ถึงรูปที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยรูปที่เป็น
อดีต ไม่ยินดีรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับรูปที่เป็นปัจจุบัน
สัททะ ฯลฯ
คันธะ ฯลฯ
รส ฯลฯ
โผฏฐัพพะ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา ไม่ต้องกล่าวถึงธรรมารมณ์
ที่เป็นปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยธรรมารมณ์ที่
เป็นอดีต ไม่ยินดีธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อ
คลายกำหนัด เพื่อดับธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน”
พาหิรานัตตาตีตานาคตสูตรที่ ๑๒ จบ
อนิจจวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัชฌัตตานิจจสูตร ๒. อัชฌัตตทุกขสูตร
๓. อัชฌัตตานัตตสูตร ๔. พาหิรานิจจสูตร
๕. พาหิรทุกขสูตร ๖. พาหิรานัตตสูตร
๗. อัชฌัตตานิจจาตีตานาคตสูตร ๘. อัชฌัตตทุกขาตีตานาคตสูตร
๙. อัชฌัตตานัตตาตีตานาคตสูตร ๑๐. พาหิรานิจจาตีตานาคตสูตร
๑๑. พาหิรทุกขาตีตานาคตสูตร ๑๒. พาหิรานัตตาตีตานาคตสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๑. ปฐมปุพเพสัมโพธสูตร

๒. ยมกวรรค
หมวดว่าด้วยคู่
๑. ปฐมปุพเพสัมโพธสูตร
ว่าด้วยความดำริก่อนตรัสรู้ สูตรที่ ๑
[๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้
ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘อะไรหนอเป็นคุณ๑ อะไรเป็นโทษ๒ของจักขุ (ตา) อะไรเป็น
เครื่องสลัดออกจากจักขุ ฯลฯ โสตะ (หู) ฯลฯ ฆานะ (จมูก) ฯลฯ ชิวหา (ลิ้น) ฯลฯ
กาย อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของมโน (ใจ) อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากมโน
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยจักขุเกิดขึ้น
นี้เป็นคุณของจักขุ สภาพที่จักขุไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้
เป็นโทษของจักขุ ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ๓ ในจักขุ
นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากจักขุ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยโสตะ ฯลฯ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยฆานะ ฯลฯ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยชิวหาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของชิวหา สภาพที่ชิวหาไม่
เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของชิวหา ธรรมเป็นที่กำจัด
ฉันทราคะ๔ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในชิวหา นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากชิวหา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๒. ทุติยปุพเพสัมโพธสูตร
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยกาย ฯลฯ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยมโน นี้เป็นคุณของมโน สภาพที่มโนไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของมโน ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรม
เป็นที่ละฉันทราคะในมโน นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากมโน’
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดเรายังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายใน ๖ ประการนี้
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ ตราบนั้นเราก็ยังไม่ยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิ-
ญาณอันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อม
ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์’
แต่เมื่อใดเรารู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ เครื่องสลัดออกโดย
ความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายใน ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริงอย่างนี้
เมื่อนั้นเราจึงยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์’
อนึ่ง ญาณทัสสนะ๑ เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้
เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
ปฐมปุพเพสัมโพธสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยปุพเพสัมโพธสูตร
ว่าด้วยความดำริก่อนตรัสรู้ สูตรที่ ๒
[๑๔] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิด
ดังนี้ว่า ‘อะไรหนอเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของรูป อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากรูป
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของสัททะ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากสัททะ ฯลฯ
คันธะ ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของธรรมารมณ์
อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากธรรมารมณ์’

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๒. ทุติยปุพเพสัมโพธสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยรูปเกิดขึ้น
นี้เป็นคุณของรูป สภาพที่รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้
เป็นโทษของรูป ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในรูป นี้เป็น
เครื่องสลัดออกจากรูป
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยสัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ
ฯลฯ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยธรรมารมณ์เกิดขึ้น นี้เป็นคุณของธรรมารมณ์ สภาพ
ที่ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของ
ธรรมารมณ์ ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในธรรมารมณ์
นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากธรรมารมณ์’
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดเรายังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายนอก ๖ ประการนี้
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ ตราบนั้นเราก็ยังไม่ยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิ
ญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์’
แต่เมื่อใด เรารู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ เครื่องสลัดออก
โดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายนอก ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริง
อย่างนี้ เมื่อนั้นเราจึงยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา
และมนุษย์’
อนึ่ง ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็น
ชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
ทุติยปุพเพสัมโพธสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๓. ปฐมอัสสาทปริเยสนสูตร

๓. ปฐมอัสสาทปริเยสนสูตร
ว่าด้วยการแสวงหาคุณของอายตนะ สูตรที่ ๑
[๑๕] “ภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของจักขุ ได้พบคุณของจักขุแล้ว
คุณของจักขุมีประมาณเท่าใด เราเห็นคุณประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา เราได้
เที่ยวแสวงหาโทษของจักขุ ได้พบโทษของจักขุแล้ว โทษของจักขุมีประมาณเท่าใด
เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากจักขุ ได้พบเครื่องสลัดออกจากจักขุแล้ว
เครื่องสลัดออกจากจักขุมีประมาณเท่าใด เราเห็นเครื่องสลัดออกประมาณเท่านั้น
ดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของโสตะ ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของฆานะ ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของชิวหา ได้พบคุณของชิวหาแล้ว คุณของชิวหามี
ประมาณเท่าใด เราเห็นคุณประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของชิวหา ได้พบโทษของชิวหาแล้ว โทษของชิวหามี
ประมาณเท่าใด เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากชิวหา ได้พบเครื่องสลัดออกจากชิวหาแล้ว
เครื่องสลัดออกจากชิวหามีประมาณเท่าใด เราเห็นเครื่องสลัดออกประมาณเท่านั้น
ดีแล้วด้วยปัญญา ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของมโน ได้พบคุณของมโนแล้ว คุณของมโนมี
ประมาณเท่าใด เราเห็นคุณประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของมโน ได้พบโทษของมโนแล้ว โทษของมโนมี
ประมาณเท่าใด เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากมโน ได้พบเครื่องสลัดออกจากมโนแล้ว
เครื่องสลัดออกจากมโนมีประมาณเท่าใด เราเห็นเครื่องสลัดออกประมาณเท่านั้น
ดีแล้วด้วยปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๔. ทุติยอัสสาทปริเยสนสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดเรายังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายใน ๖ ประการนี้
ตามความเป็นจริง ฯลฯ รู้ ... อนึ่ง ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติ
ของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
ปฐมอัสสาทปริเยสนสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยอัสสาทปริเยสนสูตร
ว่าด้วยการแสวงหาคุณของอายตนะ สูตรที่ ๒
[๑๖] “ภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของรูป ได้พบคุณของรูปแล้ว
คุณของรูปมีประมาณเท่าใด เราเห็นคุณประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของรูป พบโทษของรูปแล้ว โทษของรูปมีประมาณ
เท่าใด เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากรูป ได้พบเครื่องสลัดออกจากรูปแล้ว
เครื่องสลัดออกจากรูปมีประมาณเท่าใด เราเห็นเครื่องสลัดออกประมาณเท่านั้น
ดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของสัททะ ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของคันธะ ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของรส ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของโผฏฐัพพะ ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของธรรมารมณ์ ได้พบคุณของธรรมารมณ์แล้ว คุณ
ของธรรมารมณ์มีประมาณเท่าใด เราเห็นคุณมีประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของธรรมารมณ์ ได้พบโทษของธรรมารมณ์แล้ว โทษ
ของธรรมารมณ์มีประมาณเท่าใด เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากธรรมารมณ์ ได้พบเครื่องสลัดออก
จากธรรมารมณ์แล้ว เครื่องสลัดออกจากธรรมารมณ์มีประมาณเท่าใด เราเห็น
เครื่องสลัดออกประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๕. ปฐมโนเจอัสสาทสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดเรายังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
เครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายนอก ๖ ประการนี้
ตามความเป็นจริง ฯลฯ รู้ ... อนึ่ง ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของ
เราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
ทุติยอัสสาทปริเยสนสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมโนเจอัสสาทสูตร
ว่าด้วยการปฏิเสธคุณของอายตนะ สูตรที่ ๑
[๑๗] “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณของจักขุจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจ
ในจักขุ แต่เพราะคุณของจักขุมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในจักขุ
ถ้าโทษของจักขุจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในจักขุ แต่
เพราะโทษของจักขุมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในจักขุ
ถ้าเครื่องสลัดออกจากจักขุจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากจักขุ
แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากจักขุมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากจักขุ
ถ้าคุณของโสตะจักไม่มีแล้ว ... ถ้าคุณของฆานะจักไม่มีแล้ว ... ถ้าคุณของ
ชิวหาจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในชิวหา แต่เพราะคุณของชิวหามีอยู่
ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในชิวหา
ถ้าโทษของชิวหาจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในชิวหา แต่
เพราะโทษของชิวหามีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในชิวหา
ถ้าเครื่องสลัดออกจากชิวหาจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจาก
ชิวหา แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากชิวหามีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจาก
ชิวหา
ถ้าคุณของกายจักไม่มีแล้ว ... ถ้าคุณของมโนจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่
พึงติดใจในมโน แต่เพราะคุณของมโนมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในมโน
ถ้าโทษของมโนจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในมโน แต่เพราะ
โทษของมโนมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในมโน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๖. ทุติยโนเจอัสสาทปริเยสนสูตร
ถ้าเครื่องสลัดออกจากมโนจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากมโน
แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากมโนมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากมโน
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดสัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดย
ความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายใน
๖ ประการนี้ตามความเป็นจริง ตราบนั้นสัตว์ทั้งหลายจะออกไป หลุดไป พ้นไป
จากโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ มีใจปราศจากแดน๑ อยู่ไม่ได้เลย
แต่เมื่อใดสัตว์ทั้งหลายรู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และ
เครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายใน ๖ ประการนี้ตาม
ความเป็นจริง เมื่อนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงออกไป หลุดไป พ้นไป จากโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์
มีใจปราศจากแดนอยู่ได้”
ปฐมโนเจอัสสาทสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยโนเจอัสสาทสูตร
ว่าด้วยการปฏิเสธคุณของอายตนะ สูตรที่ ๒
[๑๘] “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณของรูปจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจ
ในรูป แต่เพราะคุณของรูปมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในรูป
ถ้าโทษของรูปจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป แต่เพราะ
โทษของรูปมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในรูป
ถ้าเครื่องสลัดออกจากรูปจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากรูป
แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากรูปมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากรูป
ถ้าคุณของสัททะ ฯลฯ ของคันธะ ฯลฯ ของรส ฯลฯ ของโผฏฐัพพะ ฯลฯ
ถ้าคุณของธรรมารมณ์จักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในธรรมารมณ์
แต่เพราะคุณของธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในธรรมารมณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๗. ปฐมาภินันทสูตร
ถ้าโทษของธรรมารมณ์จักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์
แต่เพราะโทษของธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์
ถ้าเครื่องสลัดออกจากธรรมารมณ์จักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออก
จากธรรมารมณ์ เพราะเครื่องสลัดออกจากธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึง
สลัดออกจากธรรมารมณ์
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดสัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดย
ความเป็นโทษ เครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายนอก ๖
ประการนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายจะออกไป หลุดไป พ้นไป
จากโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ มีใจปราศจากแดนอยู่ไม่ได้เลย
แต่เมื่อใดสัตว์ทั้งหลายรู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ เครื่อง
สลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายใน ๖ ประการนี้ ตาม
ความเป็นจริง เมื่อนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงออกไป หลุดไป พ้นไป จากโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และ
มนุษย์ มีใจปราศจากแดนอยู่ได้”
ทุติยโนเจอัสสาทสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมาภินันทสูตร
ว่าด้วยผู้เพลิดเพลินอายตนะ สูตรที่ ๑
[๑๙] “ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เพลิดเพลินจักขุ ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่
เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ผู้ที่เพลิดเพลินโสตะ ฯลฯ
ผู้ที่เพลิดเพลินฆานะ ฯลฯ
ผู้ที่เพลิดเพลินชิวหา ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า
‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ผู้ที่เพลิดเพลินกาย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๘. ทุติยาภินันทสูตร
ผู้ที่เพลิดเพลินมโน ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า
‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินจักขุ ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่
เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้’
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินโสตะ ฯลฯ
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินฆานะ ฯลฯ
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินชิวหา ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรา
กล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้’
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินกาย ฯลฯ
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินมโน ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรา
กล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้”
ปฐมาภินันทสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยาภินันทสูตร
ว่าด้วยผู้เพลิดเพลินอายตนะ สูตรที่ ๒
[๒๐] “ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เพลิดเพลินรูป ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่
เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ผู้ที่เพลิดเพลินสัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ
ผู้ที่เพลิดเพลินธรรมารมณ์ ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่เพลิดเพลินทุกข์ เรา
กล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินรูป ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่เพลิดเพลิน
ทุกข์ เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้’
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินสัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินธรรมารมณ์ ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินทุกข์
เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้”
ทุติยาภินันทสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๑๐. ทุติยทุกขุปปาทสูตร

๙. ปฐมทุกขุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ สูตรที่ ๑
[๒๑] “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความ
ปรากฏแห่งจักขุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความ
ปรากฏแห่งชราและมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งโสตะ ฯลฯ แห่ง
ฆานะ ฯลฯ แห่งชิวหา ฯลฯ แห่งกาย ฯลฯ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งมโน นี้เป็นความ
เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งจักขุ นี้
เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งโสตะ ฯลฯ แห่งฆานะ ฯลฯ
แห่งชิวหา ฯลฯ แห่งกาย ฯลฯ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งมโน นี้เป็นความดับแห่งทุกข์
เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”
ปฐมทุกขุปปาทสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยทุกขุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ สูตรที่ ๒
[๒๒] “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความ
ปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความ
ปรากฏแห่งชราและมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งสัททะ ฯลฯ
แห่งคันธะ ฯลฯ แห่งรส ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งธรรมารมณ์ นี้
เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและ
มรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งรูป นี้
เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งสัททะ ฯลฯ แห่งคันธะ ฯลฯ
แห่งรส ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพะ ฯลฯ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความดับ
แห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”
ทุติยทุกขุปปาทสูตรที่ ๑๐ จบ
ยมกวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปุพเพสัมโพธสูตร ๒. ทุติยปุพเพสัมโพธสูตร
๓. ปฐมอัสสาทปริเยสนสูตร ๔. ทุติยอัสสาทปริเยสนสูตร
๕. ปฐมโนเจอัสสาทสูตร ๖. ทุติยโนเจอัสสาทสูตร
๗. ปฐมาภินันทสูตร ๘. ทุติยาภินันทสูตร
๙. ปฐมทุกขุปปาทสูตร ๑๐. ทุติยทุกขุปปาทสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๒. ปหานสูตร

๓. สัพพวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งทั้งปวง
๑. สัพพสูตร
ว่าด้วยสิ่งทั้งปวง
[๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวง
คือ (๑) จักขุกับรูป (๒) โสตะกับสัททะ (๓) ฆานะกับคันธะ (๔) ชิวหากับรส
(๕) กายกับโผฏฐัพพะ (๖) มโนกับธรรมารมณ์
นี้เราเรียกว่า ‘สิ่งทั้งปวง’
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าจักบอกเลิกสิ่งทั้งปวงแล้ว
บัญญัติสิ่งอื่นแทน’ คำพูดของผู้นั้นคงเป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ครั้นถูกถามเข้าก็คง
ตอบไม่ได้และถึงความลำบากอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาถูกถามในสิ่ง
อันมิใช่วิสัย๑”
สัพพสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปหานสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง
[๒๔] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม เพื่อละสิ่งทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง เป็นอย่างไร
คือ จักขุเป็นสิ่งที่ควรละ รูปเป็นสิ่งที่ควรละ จักขุวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรละ
จักขุสัมผัสเป็นสิ่งที่ควรละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๓. อภิญญาปริญญาปหานสูตร
โสตะเป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ
ฆานะเป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ
ชิวหาเป็นสิ่งที่ควรละ รสเป็นสิ่งที่ควรละ ชิวหาวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรละ
ชิวหาสัมผัสเป็นสิ่งที่ควรละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ
กายเป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ
มโน๑เป็นสิ่งที่ควรละ ธรรมารมณ์เป็นสิ่งที่ควรละ มโนวิญญาณ๒เป็นสิ่งที่
ควรละ มโนสัมผัส๓เป็นสิ่งที่ควรละ แม้ความเสวยอารมณ์๔ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือ
มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง เป็นอย่างนี้แล”
ปหานสูตรที่ ๒ จบ

๓. อภิญญาปริญญาปหานสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อรู้ยิ่งกำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง
[๒๕] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวงแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเพื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง เป็นอย่างไร
คือ จักขุเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ รูปเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้
แล้วละ จักขุวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ จักขุสัมผัสเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง
กำหนดรู้แล้วละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๔. ปฐมอปริชานนสูตร
ชิวหาเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ รสเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ
ชิวหาวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ ชิวหาสัมผัสเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนด
รู้แล้วละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
ชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ
กายเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ ฯลฯ
มโนเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ ธรรมารมณ์เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง
กำหนดรู้แล้วละ มโนวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ มโนสัมผัสเป็น
สิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง เป็นอย่างนี้แล”
อภิญญาปริญญาปหานสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมอปริชานนสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่กำหนดรู้สิ่งทั้งปวง สูตรที่ ๑
[๒๖] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด
ไม่ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่งทั้งปวงอะไรเล่า
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
คือ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละจักขุ เป็นผู้ไม่ควร
เพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละรูป
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด
ไม่ละจักขุวิญญาณ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้
ไม่คลายกำหนัด ไม่ละจักขุสัมผัส เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง
ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิ
ใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๔. ปฐมอปริชานนสูตร
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละชิวหา เป็นผู้ไม่ควร
เพื่อความสิ้นทุกข์ ... รส ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ บุคคล
เมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นผู้ไม่ควร
เพื่อความสิ้นทุกข์ ... กาย ฯลฯ
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละมโน เป็นผู้ไม่ควร
เพื่อความสิ้นทุกข์ ... ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละแม้ความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นผู้ไม่
ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่ง
ทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้ยิ่ง๑ กำหนดรู้๒ คลายกำหนัด๓ ละสิ่งทั้งปวง
ได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
อนึ่ง บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวงอะไรเล่าได้
เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
คือ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละจักขุได้ เป็นผู้ควรเพื่อความ
สิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละรูปได้ เป็นผู้ควรเพื่อความ
สิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละจักขุวิญญาณได้ เป็นผู้ควร
เพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละจักขุสัมผัสได้ เป็น
ผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละแม้ความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยได้
ก็เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๕. ทุติยอปริชานนสูตร
บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละชิวหาได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้น
ทุกข์ ... รส ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนด
รู้ คลายกำหนัด ละแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยได้ ก็เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ... กาย ฯลฯ
บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละมโนได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
... ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนด
รู้ คลายกำหนัด ละแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยได้ ก็เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวงนี้แลได้
เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์”
ปฐมอปริชานนสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยอปริชานนสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่กำหนดรู้สิ่งทั้งปวง สูตรที่ ๒
[๒๗] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด
ไม่ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่งทั้งปวงอะไรเล่า
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
คือ จักขุ รูป จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณ ฯลฯ
ชิวหา รส ชิวหาวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณ
กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางกายวิญญาณ
มโน ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่ง
ทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๖. อาทิตตสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวงได้
เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
อนึ่ง บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวงอะไรเล่าได้ เป็นผู้
ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
คือ จักขุ รูป จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณ ฯลฯ
ชิวหา รส ชิวหาวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณ
กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางกายวิญญาณ
มโน ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวงนี้แลได้
เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์”
ทุติยอปริชานนสูตรที่ ๕ จบ

๖. อาทิตตสูตร๑
ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน
[๒๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลคยาสีสะ ริมฝั่งแม่น้ำคยา
พร้อมกับภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน
คือ จักขุเป็นของร้อน รูปเป็นของร้อน จักขุวิญญาณเป็นของร้อน จักขุสัมผัส
เป็นของร้อน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ‘ร้อนเพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๖. อทิตตสูตร
ไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะชาติ (ความเกิด) เพราะ
ชรา (ความแก่) เพราะมรณะ (ความตาย) เพราะโสกะ (ความเศร้าโศก) เพราะ
ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) เพราะทุกข์ (ความทุกข์กาย) เพราะโทมนัส (ความ
ทุกข์ใจ) เพราะอุปายาส (ความคับแค้นใจ)’ ฯลฯ
ชิวหาเป็นของร้อน รสเป็นของร้อน ชิวหาวิญญาณเป็นของร้อน ชิวหาสัมผัส
เป็นของร้อน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ‘ร้อนเพราะ
ไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะ
มรณะ เพราะโสกะ เพราะปริเทวะ เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส’ ฯลฯ
มโนเป็นของร้อน ธรรมารมณ์เป็นของร้อน มโนวิญญาณเป็นของร้อน
มโนสัมผัสเป็นของร้อน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า
‘ร้อนเพราะไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะชาติ เพราะชรา
เพราะมรณะ เพราะโสกะ เพราะปริเทวะ เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิต
หลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอาทิตตสูตรนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นก็มีใจยินดี ต่างชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ ภิกษุ ๑,๐๐๐
รูปนั้นก็มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น
อาทิตตสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๗. อันธภูตสูตร

๗. อันธภูตสูตร
ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงเป็นของมืดมน
[๒๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของมืดมน ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของ
มืดมน
คือ จักขุเป็นของมืดมน รูปเป็นของมืดมน จักขุวิญญาณเป็นของมืดมน
จักขุสัมผัสเป็นของมืดมน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของมืดมน มืดมนเพราะอะไร เรา
กล่าวว่า ‘มืดมนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะมรณะ เพราะโสกะ เพราะปริเทวะ
เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส’ ฯลฯ
ชิวหาเป็นของมืดมน รสเป็นของมืดมน ชิวหาวิญญาณเป็นของมืดมน
ชิวหาสัมผัสเป็นของมืดมน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของมืดมน มืดมนเพราะอะไร
เรากล่าวว่า ‘มืดมนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะมรณะ เพราะโสกะ เพราะปริเทวะ
เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส’
กายเป็นของมืดมน ฯลฯ
มโนเป็นของมืดมน ธรรมารมณ์เป็นของมืดมน มโนวิญญาณเป็นของมืดมน
มโนสัมผัสเป็นของมืดมน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของมืดมน มืดมนเพราะอะไร เรา
กล่าวว่า ‘มืดมนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะมรณะ เพราะโสกะ เพราะปริเทวะ
เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๘. สมุคฆาตสารุปปสูตร
จักขุสัมผัส ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่
สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อันธภูตสูตรที่ ๗ จบ

๘. สมุคฆาตสารุปปสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความกำหนดหมาย
[๓๐] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความ
กำหนดหมาย๑ ทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความกำหนดหมายทั้งปวง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่กำหนดหมายจักขุ ไม่กำหนดหมายในจักขุ ไม่
กำหนดหมายเพราะจักขุ ไม่กำหนดหมายว่า ‘จักขุของเรา’
ไม่กำหนดหมายรูป ไม่กำหนดหมายในรูป ไม่กำหนดหมายเพราะรูป ไม่
กำหนดหมายว่า ‘รูปของเรา’
ไม่กำหนดหมายจักขุวิญญาณ ไม่กำหนดหมายในจักขุวิญญาณ ไม่กำหนด
หมายเพราะจักขุวิญญาณ ไม่กำหนดหมายว่า ‘จักขุวิญญาณของเรา’
ไม่กำหนดหมายจักขุสัมผัส ไม่กำหนดหมายในจักขุสัมผัส ไม่กำหนดหมาย
เพราะจักขุสัมผัส ไม่กำหนดหมายว่า ‘จักขุสัมผัสของเรา’
ไม่กำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๘. สมุคฆาตสารุปปสูตร
แม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’ ฯลฯ
ไม่กำหนดหมายชิวหา ไม่กำหนดหมายในชิวหา ไม่กำหนดหมายเพราะชิวหา
ไม่กำหนดหมายว่า ‘ชิวหาของเรา’
ไม่กำหนดหมายรส ไม่กำหนดหมายในรส ไม่กำหนดหมายเพราะรส ไม่
กำหนดหมายว่า ‘รสของเรา’
ไม่กำหนดหมายชิวหาวิญญาณ ไม่กำหนดหมายในชิวหาวิญญาณ ไม่
กำหนดหมายเพราะชิวหาวิญญาณ ไม่กำหนดหมายว่า ‘ชิวหาวิญญาณของเรา’
ไม่กำหนดหมายชิวหาสัมผัส ไม่กำหนดหมายในชิวหาสัมผัส ไม่กำหนดหมาย
เพราะชิวหาสัมผัส ไม่กำหนดหมายว่า ‘ชิวหาสัมผัสของเรา’
ไม่กำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมาย
แม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
ชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’ ฯลฯ
ไม่กำหนดหมายมโน ไม่กำหนดหมายในมโน ไม่กำหนดหมายเพราะมโน
ไม่กำหนดหมายว่า ‘มโนของเรา’
ไม่กำหนดหมายธรรมารมณ์ ไม่กำหนดหมายในธรรมารมณ์ ไม่กำหนด
หมายเพราะธรรมารมณ์ ไม่กำหนดหมายว่า ‘ธรรมารมณ์ของเรา’
ไม่กำหนดหมายมโนวิญญาณ ไม่กำหนดหมายในมโนวิญญาณ ไม่กำหนด
หมายเพราะมโนวิญญาณ ไม่กำหนดหมายว่า ‘มโนวิญญาณของเรา’
ไม่กำหนดหมายมโนสัมผัส ไม่กำหนดหมายในมโนสัมผัส ไม่กำหนดหมาย
เพราะมโนสัมผัส ไม่กำหนดหมายว่า ‘มโนสัมผัสของเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๙. ปฐมสมุคฆาตสัปปายสูตร
ไม่กำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมาย
แม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
ไม่กำหนดหมายสิ่งทั้งปวง ไม่กำหนดหมายในสิ่งทั้งปวง ไม่กำหนดหมาย
เพราะสิ่งทั้งปวง ไม่กำหนดหมายว่า ‘สิ่งทั้งปวงของเรา’
ภิกษุผู้ไม่กำหนดหมายอยู่อย่างนี้ย่อมไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น
ย่อมไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ย่อมดับเฉพาะตนเอง รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความกำหนดหมายทั้งปวง
เป็นอย่างนี้แล”
สมุคฆาตสารุปปสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมสมุคฆาตสัปปายสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การเพิกถอน
ความกำหนดหมาย สูตรที่ ๑
[๓๑] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันเป็นสัปปายะ๑แก่การเพิกถอน
ความกำหนดหมายทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การเพิกถอนความกำหนดหมายทั้งปวงนั้น เป็น
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่กำหนดหมายจักขุ ไม่กำหนดหมายในจักขุ ไม่
กำหนดหมายเพราะจักขุ ไม่กำหนดหมายว่า ‘จักขุของเรา’ ไม่กำหนดหมายรูป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๙. ปฐมสมุคฆาตสัปปายสูตร
ฯลฯ ไม่กำหนดหมายจักขุวิญญาณ ... ไม่กำหนดหมายจักขุสัมผัส ... ไม่กำหนด
หมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้เพราะ
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
ภิกษุกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด
กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมายนั้น
คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพอยู่นั่นเอง
ฯลฯ
ไม่กำหนดหมายชิวหา ไม่กำหนดหมายในชิวหา ไม่กำหนดหมายเพราะชิวหา
ไม่กำหนดหมายว่า ‘ชิวหาของเรา’ ไม่กำหนดหมายรส ฯลฯ ไม่กำหนดหมาย
ชิวหาวิญญาณ ... ไม่กำหนดหมายชิวหาสัมผัส ... ไม่กำหนดหมายแม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
ไม่กำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่
กำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิด
ขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
ภิกษุกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด
กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมายนั้น
คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพอยู่นั่นเอง
ฯลฯ
ไม่กำหนดหมายมโน ไม่กำหนดหมายในมโน ไม่กำหนดหมายเพราะมโน ไม่
กำหนดหมายว่า ‘มโนของเรา’ ไม่กำหนดหมายธรรมารมณ์ ฯลฯ ไม่กำหนดหมาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๑๐. ทุติยสมุคฆาตสัปปายสูตร
มโนวิญญาณ ... ไม่กำหนดหมายมโนสัมผัส ... ไม่กำหนดหมายแม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ไม่กำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมาย
ว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
อนึ่ง ภิกษุกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด
กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมายนั้น
คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพอยู่นั่นเอง
ไม่กำหนดหมายแม้ขันธ์ ธาตุ และอายตนะเท่าที่มีอยู่ ไม่กำหนดหมายใน
ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ไม่กำหนดหมายแม้เพราะขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ไม่
กำหนดหมายว่า ‘ขันธ์ ธาตุ และอายตนะนั้นของเรา’
ภิกษุผู้ไม่กำหนดหมายอยู่อย่างนี้ย่อมไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น
ก็ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ย่อมดับเฉพาะตนเอง รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่
จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก
ต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การเพิกถอนความกำหนดหมาย
ทั้งปวง เป็นอย่างนี้แล”
ปฐมสมุคฆาตสัปปายสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยสมุคฆาตสัปปายสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การเพิกถอน
ความกำหนดหมาย สูตรที่ ๒
[๓๒] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การเพิกถอน
ความกำหนดหมายทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๑๐. ทุติยสมุคฆาตสัปปายสูตร
ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การเพิกถอนความกำหนดหมายทั้งปวง เป็น
อย่างไร
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“รูป ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๑๐. ทุติยสมุคฆาตสัปปายสูตร
“รส ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์
ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหา-
สัมผัสเป็นปัจจัย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อ
จิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การเพิกถอนความกำหนดหมาย
ทั้งปวง เป็นอย่างนี้แล”
ทุติยสมุคฆาตสัปปายสูตรที่ ๑๐ จบ
สัพพวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัพพสูตร ๒. ปหานสูตร
๓. อภิญญาปริญญาปหานสูตร ๔. ปฐมอปริชานนสูตร
๕. ทุติยอปริชานนสูตร ๖. อาทิตตสูตร
๗. อันธภูตสูตร ๘. สมุคฆาตสารุปปสูตร
๙. ปฐมสมุคฆาตสัปปายสูตร ๑๐. ทุติยสมุคฆาตสัปปายสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๔. ชาติธัมมวรรค ๑-๑๐. ชาติธัมมาทิสุตตทสกะ

๔. ชาติธัมมวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา
๑-๑๐. ชาติธัมมาทิสุตตทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๐ สูตร มีชาติธัมมสูตรเป็นต้น
[๓๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
(สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี) ณ ที่นั้น ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา
คือ จักขุมีความเกิดเป็นธรรมดา รูป ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส
มีความเกิดเป็นธรรมดา แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ
ชิวหา ฯลฯ รส ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาสัมผัสมีความเกิดเป็น
ธรรมดา แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็มีความเกิดเป็นธรรมดา
กาย ฯลฯ
มโนมีความเกิดเป็นธรรมดา ธรรมารมณ์มีความเกิดเป็นธรรมดา มโนวิญญาณ
มีความเกิดเป็นธรรมดา มโนสัมผัสมีความเกิดเป็นธรรมดา แม้ความเสวยอารมณ์
ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็มีความ
เกิดเป็นธรรมดา
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ...
แม้ในรูป ฯลฯ แม้ในจักขุวิญญาณ ฯลฯ แม้ในจักขุสัมผัส ฯลฯ
รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
สูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๔. ชาติธัมมวรรค ๑-๑๐. ชาติธัมมาทิสุตตทสกะ
[๓๔] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๒ จบ
[๓๕] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๓ จบ
[๓๖] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความตายเป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๔ จบ
[๓๗] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๕ จบ
[๓๘] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๖ จบ
[๓๙] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๗ จบ
[๔๐] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๘ จบ
[๔๑] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๙ จบ
[๔๒] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา
คือ จักขุมีความดับไปเป็นธรรมดา รูปมีความดับไปเป็นธรรมดา จักขุวิญญาณ
มีความดับไปเป็นธรรมดา จักขุสัมผัสมีความดับไปเป็นธรรมดา แม้ความเสวยอารมณ์
ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็มีความ
ดับไปเป็นธรรมดา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๔. ชาติธัมมวรรค ๑-๑๐. ชาติธัมมาทิสุตตทสกะ
ชิวหามีความดับไปเป็นธรรมดา รสมีความดับไปเป็นธรรมดา ชิวหาวิญญาณ
มีความดับไปเป็นธรรมดา ชิวหาสัมผัสมีความดับไปเป็นธรรมดา แม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็มีความดับไปเป็นธรรมดา ฯลฯ
มโนมีความดับไปเป็นธรรมดา ธรรมารมณ์มีความดับไปเป็นธรรมดา มโน-
วิญญาณมีความดับไปเป็นธรรมดา แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือ
มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความดับไปเป็นธรรมดา
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
นิโรธธัมมสูตรที่ ๑๐ จบ
ชาติธัมมวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ชาติธัมมสูตร ๒. ชราธัมมสูตร
๓. พยาธิธัมมสูตร ๔. มรณธัมมสูตร
๕. โสกธัมมสูตร ๖. สังกิเลสิกธัมมสูตร
๗. ขยธัมมสูตร ๘. วยธัมมสูตร
๙. สมุทยธัมมสูตร ๑๐. นิโรธธัมมสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๕. สัพพอนิจจวรรค ๑-๙. อนิจจทิสุตตนวกะ

๕. สัพพอนิจจวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง
๑-๙. อนิจจาทิสุตตนวกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๙ สูตร มีอนิจจสูตรเป็นต้น
[๔๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
(สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี) ณ ที่นั้น ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง
คือ จักขุไม่เที่ยง รูปไม่เที่ยง จักขุวิญญาณไม่เที่ยง จักขุสัมผัสไม่เที่ยง แม้
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ฯลฯ
ชิวหาไม่เที่ยง รสไม่เที่ยง ชิวหาวิญญาณไม่เที่ยง ชิวหาสัมผัสไม่เที่ยง แม้
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัส
เป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง
กายไม่เที่ยง ฯลฯ
มโนไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มโนวิญญาณไม่เที่ยง มโนสัมผัสไม่เที่ยง
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๕. สัพพอนิจจวรรค ๑-๙. อนิจจทิสุตตนวกะ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อ
จิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
สูตรที่ ๑ จบ
[๔๔] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ
สูตรที่ ๒ จบ
[๔๕] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ
สูตรที่ ๓ จบ
[๔๖] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่ง ฯลฯ
สูตรที่ ๔ จบ
[๔๗] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้ ฯลฯ
สูตรที่ ๕ จบ
[๔๘] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ ฯลฯ
สูตรที่ ๖ จบ
[๔๙] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง ฯลฯ
สูตรที่ ๗ จบ
[๕๐] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่งแล้วกำหนดรู้ ฯลฯ
สูตรที่ ๘ จบ
[๕๑] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงถูกประทุษร้าย ฯลฯ
สูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๕. สัพพอนิจจวรรค ๑๐. อุปัสสัฏฐสูตร

๑๐. อุปัสสัฏฐสูตร
ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงถูกเบียดเบียน
[๕๒] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงถูกเบียดเบียน
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงถูกเบียดเบียน
คือ จักขุถูกเบียดเบียน รูปถูกเบียดเบียน จักขุวิญญาณถูกเบียดเบียน
จักขุสัมผัสถูกเบียดเบียน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ถูกเบียดเบียน ฯลฯ
ชิวหาถูกเบียดเบียน รสถูกเบียดเบียน ชิวหาวิญญาณถูกเบียดเบียน
ชิวหาสัมผัสถูกเบียดเบียน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ถูกเบียดเบียน
กายถูกเบียดเบียน ฯลฯ
มโนถูกเบียดเบียน ธรรมารมณ์ถูกเบียดเบียน มโนวิญญาณถูกเบียดเบียน
มโนสัมผัสถูกเบียดเบียน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ถูกเบียดเบียน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อ
จิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
อุปัสสัฏฐสูตรที่ ๑๐ จบ
สัพพอนิจจวรรคที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๕. สัพพอนิจจวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนิจจสูตร ๒. ทุกขสูตร
๓. อนัตตาสูตร ๔. อภิญเญยยสูตร
๕. ปริญเญยยสูตร ๖. ปหาตัพพสูตร
๗. สัจฉิกาตัพพสูตร ๘. อภิญเญยยปริญเญยยสูตร
๙. อุปัททุตสูตร ๑๐. อุปัสสัฏฐสูตร

ปฐมปัณณาสก์ในสฬายตนวรรค จบบริบูรณ์

รวมวรรคที่มีในปฐมปัณณาสก์นี้ คือ

๑. อนิจจวรรค ๒. ยมกวรรค
๓. สัพพวรร ๔. ชาติธัมมวรรค
๕. สัพพอนิจจวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑.อวิชชาวรรค ๑. อวิชชาปหานสูตร

๒. ทุติยปัณณาสก์
๑. อวิชชาวรรค
หมวดว่าด้วยอวิชชา
๑. อวิชชาปหานสูตร
ว่าด้วยการละอวิชชา
[๕๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร๑ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงจะละอวิชชา๒ได้ วิชชา๓จึงจะเกิดขึ้น”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้เห็นจักขุโดยความไม่เที่ยง
จึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น เมื่อรู้เห็นรูปโดยความไม่เที่ยงจึงจะละอวิชชาได้
วิชชาจึงจะเกิดขึ้น เมื่อรู้เห็นจักขุวิญญาณ ... จักขุสัมผัส ... เมื่อรู้เห็นแม้ความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
โดยความไม่เที่ยงจึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น
เมื่อรู้เห็นโสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโนโดยความไม่เที่ยงจึงจะละ
อวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น เมื่อรู้เห็นธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส แม้
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยโดยความไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น
ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แลจึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น”
อวิชชาปหานสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑.อวิชชาวรรค ๓. สัญโญชนสมุคฆาตสูตร

๒. สัญโญชนปหานสูตร
ว่าด้วยการละสังโยชน์
[๕๔] ภิกษุทั้งหลายได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงจะละสังโยชน์๑ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เห็นจักขุโดยความ
ไม่เที่ยงจึงจะละสังโยชน์ได้ เมื่อรู้เห็นรูปโดยความไม่เที่ยงจึงจะละสังโยชน์ได้ เมื่อรู้
เห็นจักขุวิญญาณโดยความไม่เที่ยงจึงจะละสังโยชน์ได้ เมื่อรู้เห็นจักขุสัมผัสโดย
ความไม่เที่ยงจึงจะละสังโยชน์ได้ เมื่อรู้เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความไม่เที่ยงจึงจะละ
สังโยชน์ได้
เมื่อรู้เห็นโสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโน ... ธรรมารมณ์ ...
มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่
สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความไม่เที่ยงจึงจะละสังโยชน์ได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แลจึงจะละสังโยชน์ได้”
สัญโญชนปหานสูตรที่ ๒ จบ

๓. สัญโญชนสมุคฆาตสูตร
ว่าด้วยการถอนสังโยชน์
[๕๕] ภิกษุทั้งหลายได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงจะถอนสังโยชน์ได้”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑.อวิชชาวรรค ๕. อาสวสมุคฆาตสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เห็นจักขุโดยความ
เป็นอนัตตาจึงจะถอนสังโยชน์ได้ เมื่อรู้เห็นรูปโดยความเป็นอนัตตา ... จักขุวิญญาณ
... จักขุสัมผัส ... เมื่อรู้เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความเป็นอนัตตาจึงจะถอนสังโยชน์ได้
เมื่อรู้เห็นโสตะ ... ฆานะ... ชิวหา ... กาย ... มโน ... ธรรมารมณ์ ... มโน-
วิญญาณ ... มโนสัมผัส ... เมื่อรู้เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือ
มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยจึงจะถอนสังโยชน์ได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แลจึงจะถอนสังโยชน์ได้”
สัญโญชนสมุคฆาตสูตรที่ ๓ จบ

๔. อาสวปหานสูตร
ว่าด้วยการละอาสวะ
[๕๖] ภิกษุทั้งหลายได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงจะละอาสวะ๑ได้” ฯลฯ
อาสวปหานสูตรที่ ๔ จบ

๕. อาสวสมุคฆาตสูตร
ว่าด้วยการถอนอาสวะ
[๕๗] ภิกษุทั้งหลายได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงจะถอนอาสวะได้” ฯลฯ
อาสวสมุคฆาตสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑.อวิชชาวรรค ๗. อนุสยสมุคฆาตสูตร

๖. อนุสยปหานสูตร
ว่าด้วยการละอนุสัย
[๕๘] ภิกษุทั้งหลายได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงจะละอนุสัย๑ได้” ฯลฯ
อนุสยปหานสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนุสยสมุคฆาตสูตร
ว่าด้วยการถอนอนุสัย
[๕๙] ภิกษุทั้งหลายได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงจะถอนอนุสัยได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เห็นจักขุโดยความ
เป็นอนัตตาจึงจะถอนอนุสัยได้ ฯลฯ
บุคคลเมื่อรู้เห็นโสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโน ... ธรรมารมณ์ ...
มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... บุคคลเมื่อรู้เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือ
ทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความเป็นอนัตตาจึง
จะถอนอนุสัยได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แลจึงจะถอนอนุสัยได้”
อนุสยสมุคฆาตสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑.อวิชชาวรรค ๘. สัพพุปาทานปริญญาสูตร

๘. สัพพุปาทานปริญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวง
[๖๐] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวง๑แก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวง เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด อริยสาวกผู้ได้สดับเห็น
อยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา เมื่อ
เบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เพราะหลุดพ้น
จึงรู้ชัดว่า ‘เรากำหนดรู้อุปาทานได้แล้ว’
เพราะอาศัยโสตะและสัททะ โสตวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ
เพราะอาศัยฆานะและคันธะ ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ฯลฯ
เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ฯลฯ
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม
๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด อริยสาวกผู้ได้สดับ
เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในเวทนา เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
เพราะหลุดพ้นจึงรู้ชัดว่า ‘เรากำหนดรู้อุปาทานได้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวงเป็นอย่างนี้แล”
สัพพุปาทานปริญญาสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑.อวิชชาวรรค ๑๐. ทุติยสัพพุปาทานปริยาทานสูตร

๙. ปฐมสัพพุปาทานปริยาทานสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวง สูตรที่ ๑
[๖๑] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวงแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวง เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด อริยสาวกผู้ได้สดับเห็น
อยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา เมื่อ
เบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เพราะหลุดพ้น
จึงรู้ชัดว่า ‘เราครอบงำอุปาทานได้แล้ว’ ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยมโนและ
ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ-
วิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา เมื่อ
เบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เพราะหลุดพ้น
จึงรู้ชัดว่า ‘เราครอบงำอุปาทานได้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวงเป็นอย่างนี้แล”
ปฐมสัพพุปาทานปริยาทานสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยสัพพุปาทานปริยาทานสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวง สูตรที่ ๒
[๖๒] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวงแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑.อวิชชาวรรค ๑๐. ทุติยสัพพุปาทานปริยาทานสูตร
ธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวง เป็นอย่างไร
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“รูป ฯลฯ จักขุวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“จักขุสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“โสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโน ... ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ
... มโนสัมผัส แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑.อวิชชาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
รส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหาวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหาสัมผัส ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิด
ขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย
กำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ...
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวง เป็นอย่างนี้แล”
ทุติยสัพพุปาทานปริยาทานสูตรที่ ๑๐ จบ
อวิชชาวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อวิชชาปหานสูตร ๒. สัญโญชนปหานสูตร
๓. สัญโญชนสมุคฆาตสูตร ๔. อาสวปหานสูตร
๕. อาสวสมุคฆาตสูตร ๖. อนุสยปหานสูตร
๗. อนุสยสมุคฆาตสูตร ๘. สัพพุปาทานปริญญาสูตร
๙. ปฐมสัพพุปาทานปริยาทานสูตร ๑๐. ทุติยสัพพุปาทานปริยาทานสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๑. ปฐมมิคชาลสูตร

๒. มิคชาลวรรค
หมวดว่าด้วยพระมิคชาละ
๑. ปฐมมิคชาลสูตร
ว่าด้วยพระมิคชาละ สูตรที่ ๑
[๖๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระมิคชาละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า
‘มีปกติอยู่ผู้เดียว มีปกติอยู่ผู้เดียว’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่ามีปกติ
อยู่ผู้เดียว อนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่าไรจึงชื่อว่ามีปกติอยู่กับเพื่อน”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มิคชาละ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน
เชยชม ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลิน๑
ย่อมเกิดขึ้น เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัด เมื่อมีความกำหนัด ก็มี
ความเกี่ยวข้อง ภิกษุผู้ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า
‘ผู้มีปกติอยู่กับเพื่อน’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้
ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินย่อมเกิดขึ้น
เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัด เมื่อมีความกำหนัด ก็มีความเกี่ยว
ข้อง ภิกษุผู้ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า ‘ผู้มี
ปกติอยู่กับเพื่อน’ ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ ถึงจะใช้สอยเสนาสนะที่เป็นป่าโปร่ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๑. ปฐมมิคชาลสูตร
และป่าทึบ๑อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของ
ผู้คน ควรเป็นที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้นก็จริง ถึงอย่างนั้น เราก็
ยังเรียกว่า ‘ผู้มีปกติอยู่กับเพื่อน’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขายังละตัณหาที่เป็น
เพื่อนนั้นไม่ได้ ฉะนั้นเราจึงเรียกว่า ‘ผู้มีปกติอยู่กับเพื่อน’
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอ
ไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลินย่อมดับไป เมื่อไม่มี
ความเพลิดเพลิน ก็ไม่มีความกำหนัด เมื่อไม่มีความกำหนัด ก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง
ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า ‘ผู้มีปกติ
อยู่ผู้เดียว’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... มีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลิน
ย่อมดับไป เมื่อไม่มีความเพลิดเพลิน ก็ไม่มีความกำหนัด เมื่อไม่มีความกำหนัด
ก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง
เราเรียกว่า ‘ผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว’
ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ แม้จะอยู่รายล้อมไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา พวกเดียรถีย์๒ สาวกของเดียรถีย์
ในละแวกบ้านก็จริง ถึงอย่างนั้น เราก็เรียกว่า ‘ผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว’
(มิคชาละ ภิกษุผู้อยู่อย่างนี้ เราเรียกว่า ‘ผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว‘) ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะเธอละตัณหาที่เป็นเพื่อนนั้นได้แล้ว ฉะนั้นเราจึงเรียกว่า ‘ผู้มีปกติอยู่
ผู้เดียว”
ปฐมมิคชาลสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๒. ทุติยมิคชาลสูตร

๒. ทุติยมิคชาลสูตร
ว่าด้วยพระมิคชาละ สูตรที่ ๒
[๖๔] ครั้งนั้น ท่านพระมิคชาละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่ง
ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท๑ มีความเพียร อุทิศ
กายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มิคชาละ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม
ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลิน
ย่อมเกิดขึ้น เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิด’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นมีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
อยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินย่อม
เกิดขึ้น เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิด’
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อ
เธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลินย่อมดับไป เรา
กล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... มีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้
ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์
นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความ
เพลิดเพลินย่อมดับไป เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ”

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น