Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๙-๑๒ หน้า ๖๐๔ - ๖๕๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙-๑๒ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. ตถสูตร
ว่าด้วยสิ่งจริงแท้
[๑๐๙๐] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๔ อย่างนี้ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็น
อย่างอื่น
สิ่ง ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
ข้อที่ว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ เป็น
ของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๔ อย่างนี้ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ตถสูตรที่ ๑๐ จบ
ธัมมจักกัปปวัตตนวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ๒. ตถาคตสูตร
๓. ขันธสูตร ๔. อัชฌัตติกายตนสูตร
๕. ปฐมธารณสูตร ๖. ทุติยธารณสูตร
๗. อวิชชาสูตร ๘. วิชชาสูตร
๙. สังกาสนสูตร ๑๐. ตถสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๓. โกฏิคามวรรค ๑. ปฐมโกฏิคามสูตร

๓. โกฏิคามวรรค
หมวดว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่โกฏิคาม
๑. ปฐมโกฏิคามสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่โกฏิคาม สูตรที่ ๑
[๑๐๙๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โกฏิคาม แคว้นวัชชี
ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔ ประการ เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยวเร่ร่อนไป๑
ตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดทุกขอริยสัจ เราและเธอทั้งหลายจึง
เที่ยวเร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
๒. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดทุกขสมุทยอริยสัจ ฯลฯ
๓. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ
๔. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เราและ
เธอทั้งหลายจึงเที่ยวเร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย เราได้รู้แจ้งแทงตลอดทุกขอริยสัจ เราได้รู้แจ้งแทงตลอดทุกข-
สมุทยอริยสัจ เราได้รู้แจ้งแทงตลอดทุกขนิโรธอริยสัจ เราได้รู้แจ้งแทงตลอดทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เราถอนภวตัณหาได้แล้ว ภวเนตติ๒สิ้นไปแล้ว บัดนี้
ภพใหม่ไม่มีอีก”๓
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๓. โกฏิคามวรรค ๒. ทุติยโกฏิคามสูตร
“เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ประการตามความเป็นจริง
เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยวเร่ร่อนไป
ในชาตินั้น ๆ ตลอดกาลยาวนาน
อริยสัจ ๔ ประการนี้เราและเธอทั้งหลายเห็นแล้ว
ภวเนตติเราถอนได้แล้ว รากเหง้าแห่งทุกข์เราตัดขาดแล้ว
บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
ปฐมโกฏิคามสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยโกฏิคามสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่โกฏิคาม สูตรที่ ๒
[๑๐๙๒] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัด
ตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้นย่อมไม่รู้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็น
สมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยตนเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้น จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์
ทั้งท่านเหล่านั้นย่อมรู้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะและประโยชน์แห่งความ
เป็นพราหมณ์ด้วยตนเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ชนเหล่าใดไม่รู้ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์
ธรรมชาติเป็นที่ดับทุกข์ลงได้สิ้นเชิง
และไม่รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ชนเหล่านั้นเป็นผู้เสื่อมจากเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ
เป็นผู้ไม่ควรที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
เป็นผู้เข้าถึงชาติและชราแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๓. โกฏิคามวรรค ๔. อรหันตสูตร
ส่วนชนเหล่าใดรู้ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์
ธรรมชาติเป็นที่ดับทุกข์ลงได้สิ้นเชิง
และรู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ชนเหล่านั้นเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ
เป็นผู้ควรที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ไม่เป็นผู้เข้าถึงชาติและชรา”๑
ทุติยโกฏิคามสูตรที่ ๒ จบ

๓. สัมมาสัมพุทธสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เรียกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๑๐๙๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
อริยสัจ ๔ ประการนี้
เพราะเรารู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการนี้ตามความเป็นจริง ชาวโลกจึงเรียกตถาคต
ว่า ‘พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
สัมมาสัมพุทธสูตรที่ ๓ จบ

๔. อรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๑๐๙๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้
ตรัสรู้ตามความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งหมดได้ตรัสรู้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๓. โกฏิคามวรรค ๕. อาสวักขยสูตร
อริยสัจ ๔ ประการตามความเป็นจริง แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใด
เหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักตรัสรู้ตามความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งหมดเหล่านั้นจักตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการตามความเป็นจริง แม้พระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมตรัสรู้ตามความเป็นจริง พระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งหมดย่อมตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการตามความ
เป็นจริง

อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้ตรัสรู้ตามความ
เป็นจริง ฯลฯ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักตรัสรู้
ฯลฯ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมตรัสรู้
ตามความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งหมดย่อมตรัสรู้
อริยสัจ ๔ ประการนี้ตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
อรหันตสูตรที่ ๔ จบ

๕. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นอาสวะ
[๑๐๙๕] “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะของผู้รู้ ผู้เห็น มิได้กล่าว
ความสิ้นอาสวะของผู้ไม่รู้ ผู้ไม่เห็น
ความสิ้นอาสวะของผู้รู้ ผู้เห็นอะไร
คือ ความสิ้นอาสวะของผู้รู้ ผู้เห็นว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
ความสิ้นอาสวะของผู้รู้ ผู้เห็น อย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๓. โกฏิคามวรรค ๗. ตถสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิทา”
อาสวักขยสูตรที่ ๕ จบ

๖. มิตตสูตร
ว่าด้วยการชักชวนมิตรให้รู้อริยสัจ
[๑๐๙๖] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคน
เหล่าใดจะเป็นมิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตาม ให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง
เธอทั้งหลายพึงชักชวนคนเหล่านั้นให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในการรู้อริยสัจ ๔ ประการ
ตามความเป็นจริง

อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคนเหล่าใดจะเป็นมิตร อำมาตย์
ญาติ สาโลหิตก็ตาม ให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง เธอทั้งหลายพึงชักชวนคน
เหล่านั้นให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในการรู้อริยสัจ ๔ ประการนี้ตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
มิตตสูตรที่ ๖ จบ

๗. ตถสูตร
ว่าด้วยสิ่งจริงแท้
[๑๐๙๗] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๓. โกฏิคามวรรค ๙. ปริญเญยยสูตร
อริยสัจ ๔ ประการนี้ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ฉะนั้น จึงเรียกว่า
‘อริยสัจ’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ตถสูตรที่ ๗ จบ

๘. โลกสูตร
ว่าด้วยพระตถาคตเป็นอริยะในโลก
[๑๐๙๘] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
พระตถาคตเป็นอริยะในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่
สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ฉะนั้น จึงเรียกว่า ‘อริยสัจ’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
โลกสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปริญเญยยสูตร
ว่าด้วยอริยสัจที่ควรกำหนดรู้
[๑๐๙๙] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
อริยสัจ ๔ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๓. โกฏิคามวรรค ๑๐. ควัมปติสูตร
บรรดาอริยสัจ ๔ ประการนี้ อริยสัจที่ควรกำหนดรู้ก็มี อริยสัจที่ควรละก็มี
อริยสัจที่ควรทำให้แจ้งก็มี อริยสัจที่ควรเจริญก็มี
อริยสัจที่ควรกำหนดรู้ อะไรบ้าง คือ
ทุกขอริยสัจควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทยอริยสัจควรละ ทุกขนิโรธอริยสัจควร
ทำให้แจ้ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจควรเจริญ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ปริญเญยยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ควัมปติสูตร
ว่าด้วยพระควัมปติ
[๑๑๐๐] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระหลายรูปอยู่ ณ เมืองสหชนิยะ แคว้นเจตี
สมัยนั้น เมื่อภิกษุผู้เถระหลายรูปกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จ
แล้ว นั่งประชุมกันที่โรงกลม ได้สนทนากันขึ้นในระหว่างว่า “ท่านทั้งหลาย ผู้ใด
เห็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกขสมุทัยบ้าง เห็นทุกขนิโรธบ้าง เห็นทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทาบ้าง”
เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระควัมปติเถระได้กล่าวกับ
ภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมได้ฟัง ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระ
ผู้มีพระภาคว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกขสมุทัยบ้าง เห็น
ทุกขนิโรธบ้าง เห็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาบ้าง ผู้ใดเห็นทุกขสมุทัย ผู้นั้น
ชื่อว่าเห็นทุกข์บ้าง เห็นทุกขนิโรธบ้าง เห็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาบ้าง ผู้ใด
เห็นทุกขนิโรธ ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกข์บ้าง เห็นทุกขสมุทัยบ้าง เห็นทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทาบ้าง ผู้ใดเห็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกข์บ้าง เห็น
ทุกขสมุทัยบ้าง เห็นทุกขนิโรธบ้าง”
ควัมปติสูตรที่ ๑๐ จบ
โกฏิคามวรรคที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๓. โกฏิคามวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมโกฏิคามสูตร ๒. ทุติยโกฏิคามสูตร
๓. สัมมาสัมพุทธสูตร ๔. อรหันตสูตร
๕. อาสวักขยสูตร ๖. มิตตสูตร
๗. ตถสูตร ๘. โลกสูตร
๙. ปริญเญยยสูตร ๑๐. ควัมปติสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๔. สีสปาวนวรรค ๑. สีสปาวนสูตร

๔. สีสปาวนวรรค
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่สีสปาวัน
๑. สีสปาวนสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่สีสปาวัน
[๑๑๐๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สีสปาวัน เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคทรงหยิบใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบขึ้นมา แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ใบประดู่ลาย
๒-๓ ใบที่เราหยิบขึ้นมากับใบที่อยู่บนต้น อย่างไหนจะมากกว่ากัน” ลำดับนั้น
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ใบที่อยู่บนต้นไม้นั้นแลมากกว่า ใบประดู่ลาย ๒-๓
ใบที่พระองค์ทรงหยิบขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วแต่มิได้บอกเธอทั้งหลายก็มีมากเหมือนกัน
เพราะเหตุไร เราจึงมิได้บอก
เพราะสิ่งนี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ
ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น เรา
จึงมิได้บอก
สิ่งอะไรเล่าที่เราบอกแล้ว
คือ เราได้บอกว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’
เพราะเหตุไร เราจึงบอก
เพราะสิ่งนี้มีประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพิ่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
เพราะเหตุนั้น เราจึงบอก
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
สีสปาวนสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๔. สีสปาวนวรรค ๓. ทัณฑสูตร

๒. ขทิรปัตตสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยใบตะเคียน
[๑๑๐๒] “ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรา
ยังไม่รู้แจ้งทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทาอริยสัจตามความเป็นจริง แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้’
เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึงกล่าวว่า ‘เราจักใช้ใบตะเคียน ใบทองหลาง หรือ
ใบมะขามป้อมห่อน้ำหรือห่อใบตาลนำไป’ แม้ฉันใด เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึง
กล่าวว่า ‘เราไม่ได้รู้แจ้งทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความ
เป็นจริง แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้’ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
แต่เป็นไปได้ที่บุคคลจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราได้รู้แจ้งทุกขอริยสัจ ทุกข-
สมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความเป็นจริง
แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้’
เป็นไปได้ที่บุคคลจะพึงกล่าวว่า ‘เราจักใช้ใบบัว ใบทองกวาว หรือใบย่านทราย
ห่อน้ำหรือห่อใบตาลนำไป’ แม้ฉันใด เป็นไปได้ที่บุคคลจะพึงกล่าวว่า ‘เราได้รู้แจ้ง
ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความเป็นจริง แล้วจักทำ
ที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้’ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ขทิรปัตตสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทัณฑสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยท่อนไม้
[๑๑๐๓] “ภิกษุทั้งหลาย ท่อนไม้ที่ขว้างไปบนอากาศ บางคราวเอาโคนลงมา
บางคราวเอาตรงกลางลงมา บางคราวเอาปลายลงมา แม้ฉันใด สัตว์ทั้งหลายผู้มี
อวิชชาปิดกั้น มีตัณหาโยงใยจึงแล่นไป ท่องเที่ยวไป บางคราวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น
บางคราวจากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๔. สีสปาวนวรรค ๔. เจลสูตร
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ประการ
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ทัณฑสูตรที่ ๓ จบ

๔. เจลสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยผ้าที่ถูกไฟไหม้
[๑๑๐๔] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อผ้าถูกไฟไหม้หรือศีรษะถูกไฟไหม้ ควรทำอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อผ้าถูกไฟไหม้หรือศีรษะถูกไฟไหม้ ควรทำความ
พอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติ
และสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น
พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ควรวางเฉย ไม่ควรใส่ใจถึงผ้าที่ถูกไฟไหม้หรือศีรษะที่ถูกไฟ
ไหม้ ควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการ
ที่ยังไม่รู้แจ้งตามความเป็นจริง
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความ
เป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
เจลสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๔. สีสปาวนวรรค ๖. ปาณสูตร

๕. สัตติสตสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยผู้ถูกหอก ๑๐๐ เล่มทิ่มแทง
[๑๑๐๕] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนใคร ๆ พึงกล่าวกับบุรุษผู้มีอายุ ๑๐๐
ปี มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปีว่า ‘มาเถิด พ่อมหาจำเริญ ชนทั้งหลายจักใช้หอก ๑๐๐ เล่ม
ทิ่มแทงท่านในเวลาเช้า ใช้หอก ๑๐๐ เล่มทิ่มแทงในเวลาเที่ยง ใช้หอก ๑๐๐
เล่มทิ่มแทงในเวลาเย็น ท่านนั้นถูกหอกทิ่มแทงวันละ ๓๐๐ เล่ม มีอายุ ๑๐๐ ปี
มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี เมื่อล่วงไป ๑๐๐ ปี ก็จักรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการที่ยังไม่ได้รู้แจ้ง
กุลบุตรผู้เห็นประโยชน์ควรยอมรับข้อเสนอนั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสงสารนี้มีเบื้องต้นกับเบื้องปลายกำหนดรู้ไม่ได้ เบื้องต้นและที่สุดแห่ง
การประหารด้วยหอก การประหารด้วยดาบ การประหารด้วยหลาว และการ
ประหารด้วยขวานย่อมไม่ปรากฏ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่
กล่าวว่าการรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการ มีได้พร้อมกับทุกข์และโทมนัส แต่เรากล่าวว่า
การรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการมีได้พร้อมกับสุขและโสมนัสเท่านั้น
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
สัตติสตสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปาณสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยหลาวเสียบสัตว์
[๑๑๐๖] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงตัดหญ้า ท่อนไม้ กิ่งไม้ และ
ใบไม้ในชมพูทวีปนี้มารวมกันเป็นกองเดียวกัน ครั้นรวมเป็นกองเดียวกันแล้ว พึงทำ
ให้เป็นหลาว ครั้นทำให้เป็นหลาวแล้ว พึงเสียบสัตว์ขนาดใหญ่ที่มีอยู่ในมหาสมุทร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๔. สีสปาวนวรรค ๗. ปฐมสุริยสูตร
เข้าที่หลาวขนาดใหญ่ เสียบสัตว์ขนาดกลางที่มีอยู่ในมหาสมุทรเข้าที่หลาวขนาด
กลาง เสียบสัตว์ขนาดเล็กที่มีอยู่ในมหาสมุทรเข้าที่หลาวขนาดเล็ก สัตว์ขนาดเขื่อง
ในมหาสมุทรยังไม่ทันหมด หญ้า ท่อนไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ในชมพูทวีปนี้พึงหมด
สิ้นไปเสียก่อน
ภิกษุทั้งหลาย การที่จะเสียบสัตว์ขนาดเล็กในมหาสมุทรซึ่งมีมากกว่าสัตว์
ขนาดเขื่องนั้นเข้าที่หลาว มิใช่ทำได้ง่าย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะตัวมันมีขนาดเล็ก อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น อบายก็ใหญ่นัก
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ หลุดพ้นจากอบายที่ใหญ่อย่างนั้นแล้ว ย่อมรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ปาณสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมสุริยสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยดวงอาทิตย์ สูตรที่ ๑
[๑๑๐๗] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะอุทัย ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมา
ก่อนเป็นบุพนิมิต ฉันใด สัมมาทิฏฐิก็ฉันนั้นเหมือน เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต
เพื่อความตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการ ภิกษุผู้มีสัมมาทิฏฐิพึงหวังได้ว่าจักรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ปฐมสุริยสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๔. สีสปาวนวรรค ๙. อินทขีลสูตร

๘. ทุติยสุริยสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยดวงอาทิตย์ สูตรที่ ๒
[๑๑๐๘] “ภิกษุทั้งหลาย ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบ
ใด ความสว่างไสวเจิดจ้าก็ยังไม่ปรากฏตราบนั้น เวลานั้นมีแต่ความมืดมนอนธการ
กลางวัน และกลางคืนไม่ปากฏ เดือนและกึ่งเดือนไม่ปรากฏ ฤดูและปีก็ไม่ปรากฏ
แต่เมื่อใด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้น ความสว่างไสว
เจิดจ้า ย่อมปรากฏ เวลานั้นไม่มีความมืดมนอนธการ กลางวันและกลางคืนก็ปรากฏ
เดือนและกึ่งเดือนก็ปรากฏ ฤดูและปีก็ปรากฏ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้นในโลกตราบใด
ความสว่างไสวเจิดจ้าก็ยังไม่ปรากฏตราบนั้น เวลานั้นมีแต่ความมืดมนอนธการ
การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การ
ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ ประการ ก็ยังไม่มี
แต่เมื่อใด ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก เมื่อนั้น ความ
สว่างไสวเจิดจ้าก็ปรากฏ เวลานั้นไม่มีความมืดมนอนธการ การบอก การแสดง
การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔
ประการก็ย่อมมี ฉันนั้นเหมือนกัน
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ทุติยสุริยสูตรที่ ๘ จบ

๙. อินทขีลสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเสาเขื่อนที่ปักไว้ลึก
[๑๑๐๙] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ สมณะหรือพราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๔. สีสปาวนวรรค ๙. อินทขีลสูตร
เหล่านั้นย่อมมองหน้า๑ของสมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่นด้วยคิดว่า ‘ท่านผู้นี้เมื่อรู้
ก็รู้จริง เมื่อเห็น ก็เห็นจริง’
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้ายเป็นของเบา มักลอยไปตามลม
วางไว้บนพื้นอันราบเรียบ ลมทางทิศตะวันออกพัดปุยนุ่นหรือปุยฝ้ายนั้นไปทางทิศ
ตะวันตก ลมทางทิศตะวันตกพัดไปทางทิศตะวันออก ลมทางทิศเหนือพัดไปทาง
ทิศใต้ ลมทางทิศใต้พัดไปทางทิศเหนือ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะปุยฝ้ายเป็นของเบา อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมมองหน้าของสมณะ
หรือพราหมณ์เหล่าอื่นด้วยคิดว่า ‘ท่านผู้นี้เมื่อรู้ ก็รู้จริง เมื่อเห็น ก็เห็นจริง’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดตามความ
เป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ไม่ต้องมองหน้าของสมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่นด้วยคิดว่า ‘ท่านผู้นี้เมื่อรู้ ก็รู้จริง
เมื่อเห็น ก็เห็นจริง’
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเสาเหล็กหรือเสาเขื่อนมีลำต้นปักไว้ลึก ฝังไว้ดี
ไม่ไหว ไม่โยก แม้หากพายุฝนพัดมาจากทิศตะวันออกอย่างรุนแรงก็ไม่สั่น
ไม่สะเทือน ไม่สะท้าน แม้หากพายุฝนพัดมาจากทิศตะวันตก ฯลฯ แม้หากพายุ
ฝนพัดมาจากทิศเหนือ ฯลฯ แม้หากพายุฝนพัดมาจากทิศใต้อย่างรุนแรงก็ไม่สั่น
ไม่สะเทือน ไม่สะท้าน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเสาเหล็กหรือเสาเขื่อนมีลำต้นปักไว้ลึก ฝังไว้ดี อุปมานี้ฉันใด อุปไมย
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๔. สีสปาวนวรรค ๑๐. วาทัตถิกสูตร
‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่ต้อง
มองหน้าของสมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่นด้วยคิดว่า ‘ท่านผู้นี้เมื่อรู้ ก็รู้จริง เมื่อเห็น
ก็เห็นจริง’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเห็นอริยสัจ ๔ ประการดีแล้ว
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
อินทขีลสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. วาทัตถิกสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ผู้ต้องการโต้วาทะ
[๑๑๑๐] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์
ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ แม้หากสมณะหรือพราหมณ์ผู้ต้องการวาทะ
แสวงหาวาทะ มาจากทิศตะวันออกด้วยคิดว่า ‘จักโต้วาทะกับภิกษุนั้น’ เป็นไปไม่ได้
เลยที่ภิกษุรูปนั้นจักสะทกสะท้านหรือหวั่นไหวต่อสมณะหรือพราหมณ์นั้นด้วยสหธรรม๑
แม้หากสมณะหรือพราหมณ์ผู้ต้องการวาทะ แสวงหาวาทะ มาจากทิศตะวันตก
ฯลฯ แม้หากสมณะหรือพราหมณ์ผู้ต้องการวาทะ แสวงหาวาทะ มาจากทิศเหนือ
ฯลฯ แม้หากสมณะหรือพราหมณ์ผู้ต้องการวาทะ แสวงหาวาทะมาจากทิศใต้ด้วย
คิดว่า ‘จักโต้วาทะกับภิกษุนั้น’ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุรูปนั้นจักสะทกสะท้านหรือ
หวั่นไหวต่อสมณะหรือพราหมณ์นั้นด้วยสหธรรม
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเสาหินยาว ๑๖ ศอก เสาหินนั้นมีลำต้นปักลง
ไปข้างล่าง ๘ ศอก อยู่ข้างบน ๘ ศอก แม้หากพายุฝนพัดมาจากทิศตะวันออก
อย่างรุนแรงก็ไม่สั่น ไม่สะเทือน ไม่สะท้าน แม้หากพายุฝนพัดมาจากทิศตะวันตก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๔. สีสปาวนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ฯลฯ แม้หากพายุฝนพัดมาจากทิศเหนือ ฯลฯ แม้หากพายุฝนพัดมาจากทิศใต้
อย่างรุนแรงก็ไม่สั่น ไม่สะเทือน ไม่สะท้าน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเสาหินมีลำต้นปักไว้ลึก ฝังไว้ดี อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ แม้หากสมณะหรือพราหมณ์ต้องการวาทะ แสวงหาวาทะ มาจากทิศ
ตะวันออกด้วยคิดว่า ‘จักโต้วาทะกับภิกษุนั้น’ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุรูปนั้นจักสะทก
สะท้านหรือหวั่นไหวต่อสมณะหรือพรหมณ์นั้นด้วยสหธรรม แม้หากสมณะหรือ
พราหมณ์ต้องการวาทะ แสวงหาวาทะ มาจากทิศตะวันตก ฯลฯ แม้หากสมณะ
หรือพราหมณ์ต้องการวาทะ แสวงหาวาทะ มาจากทิศเหนือ ฯลฯ แม้หากสมณะ
หรือพราหมณ์ผู้ต้องการวาทะ แสวงหาวาทะมาจากทิศใต้ด้วยคิดว่า ‘จักโต้วาทะ
กับภิกษุนั้น’ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุรูปนั้นจักสะทกสะท้าน หรือหวั่นไหวต่อสมณะ
หรือพราหมณ์นั้นด้วยสหธรรม
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเห็นอริยสัจ ๔ ประการดีแล้ว
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
วาทัตถิกสูตรที่ ๑๐ จบ
สีสปาวนวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สีสปาวนสูตร ๒. ขทิรปัตตสูตร
๓. ทัณฑสูตร ๔. เจลสูตร
๕. สัตติสตสูตร ๖. ปาณสูตร
๗. ปฐมสุริยสูตร ๘. ทุติยสุริยสูตร
๙. อินทขีลสูตร ๑๐. วาทัตถิกสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๕. ปปาตวรรค ๑. โลกจินตาสูตร

๕. ปปาตวรรค
หมวดว่าด้วยเหวคือสังสารวัฏ
๑. โลกจินตาสูตร
ว่าด้วยการคิดเรื่องโลก
[๑๑๑๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว บุรุษคนหนึ่งออกจากกรุงราชคฤห์
เข้าไปยังสระโบกขรณีชื่อสุมาคธาด้วยตั้งใจว่า ‘จักคิดเรื่องโลก’ แล้วนั่งคิดเรื่องโลก
อยู่ริมสระโบกขรณีชื่อสุมาคธา เขาได้เห็นกองทัพ ๔ เหล่าเข้าไปสู่ก้านบัวที่ริม
สระโบกขรณีชื่อสุมาคธาแล้วคิดดังนี้ว่า ‘เราชื่อว่าเป็นคนบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน เห็นสิ่ง
ที่ไม่มีในโลก’ ต่อมา เขาเข้าไปยังเมืองบอกแก่หมู่มหาชนว่า ‘ท่านทั้งหลาย
ข้าพเจ้าเป็นคนบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน เห็นสิ่งที่ไม่มีในโลก’
หมู่มหาชนถามว่า ‘ท่านผู้เจริญ ท่านเป็นบ้าอย่างไร มีจิตฟุ้งซ่านอย่างไร
และอะไรที่ท่านเห็นแล้วแต่ไม่มีในโลก’
‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จะเล่าให้ฟัง ข้าพเจ้าออกจากกรุงราชคฤห์เข้าไปยังสระ
โบกขรณีชื่อสุมาคธาด้วยตั้งใจว่า ‘จักคิดเรื่องโลก’ แล้วนั่งคิดเรื่องโลกอยู่ริมสระ
โบกขรณีชื่อสุมาคธา ข้าพเจ้าได้เห็นกองทัพ ๔ เหล่าเข้าไปสู่ก้านบัวที่ริมสระโบกขรณี
ชื่อสุมาคธา ข้าพเจ้าเป็นบ้าอย่างนี้ มีจิตฟุ้งซ่านอย่างนี้ และสิ่งนี้ที่ข้าพเจ้าเห็น
แล้วแต่ไม่มีในโลก’
‘บุรุษผู้เจริญ ท่านเป็นคนบ้าแน่ มีจิตฟุ้งซ่านแน่ และสิ่งนี้ที่ท่านเห็นแล้วแต่
ไม่มีในโลก’
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นได้เห็นสิ่งนั้นจริงทีเดียว ไม่ใช่ไม่จริง
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกัน
ในสงครามนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรพ่ายแพ้ พวกอสูรที่พ่ายแพ้กลัวแล้วพา
กันเข้าสู่บุรีอสูรทางก้านบัวทำจิตของเทวดาทั้งหลายให้งงงวยอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๕. ปปาตวรรค ๒. ปปาตสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายอย่าคิดเรื่องโลกว่า ‘โลกเที่ยง หรือ
โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือ
ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตาย
แล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หรือหลังจาก
ตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะความคิดนี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไป
เพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อ
สงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
เธอทั้งหลายเมื่อจะคิด พึงคิดว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะความคิดนี้มีประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
โลกจินตาสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปปาตสูตร
ว่าด้วยเหวคือสังสารวัฏ
[๑๑๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “มาเถิด
ภิกษุทั้งหลาย เราจักเข้าไปยังยอดเขากั้นเขตแดนเพื่อพักผ่อนกลางวัน”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ต่อมา พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วย
ภิกษุจำนวนมากเสด็จเข้าไปยังยอดเขากั้นเขตแดน ภิกษุรูปหนึ่งได้แลเห็นเหวใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๕. ปปาตวรรค ๒. ปปาตสูตร
บนยอดเขากั้นเขตแดน จึงทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เหวนี้ใหญ่หนอ เหวนี้ใหญ่จริงหนอ เหวอื่นที่ใหญ่กว่าและน่ากลัวกว่าเหวนี้มีอยู่หรือ
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เหวอื่นที่ใหญ่และน่ากลัวกว่าเหวนี้มีอยู่ ภิกษุ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหวอื่นที่ใหญ่กว่าและน่ากลัวกว่าเหวนี้ เป็นอย่างไร”
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิทา’ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นย่อมยินดียิ่งในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติ ยินดียิ่งในสังขารทั้ง
หลายที่เป็นไปเพื่อชรา ยินดียิ่งในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อมรณะ ยินดียิ่งในสังขาร
ทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นผู้ยินดียิ่งแล้วในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติ
ผู้ยินดียิ่งแล้วในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชรา ผู้ยินดียิ่งแล้วในสังขารทั้งหลายที่
เป็นไปเพื่อมรณะ ผู้ยินดียิ่งแล้วในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาส ย่อมปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติบ้าง ย่อมปรุง
แต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชราบ้าง ย่อมปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อ
มรณะบ้าง ย่อมปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสบ้าง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นครั้นปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติก็ดี
ครั้นปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชราก็ดี ครั้นปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็น
ไปเพื่อมรณะก็ดี ครั้นปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสก็ดี ย่อมตกไปสู่เหวคือชาติบ้าง ตกไปสู่เหวคือชราบ้าง ตก
ไปสู่เหวคือมรณะบ้าง ตกไปสู่เหวคือโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสบ้าง
เรากล่าวว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และชื่อว่าไม่พ้นจากทุกข์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๕. ปปาตวรรค ๓. มหาปริฬาหสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อม
ไม่ยินดียิ่งในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติ ไม่ยินดียิ่งในสังขารทั้งหลายที่เป็นไป
เพื่อชรา ไม่ยินดียิ่งในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อมรณะ ไม่ยินดียิ่งในสังขารทั้ง
หลายที่เป็นไปเพื่อโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมไม่ปรุงแต่ง
สังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติบ้าง ไม่ปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชราบ้าง
ไม่ปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อมรณะบ้าง ไม่ปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็น
ไปเพื่อโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสบ้าง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นครั้นไม่ปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติก็ดี
ครั้นไม่ปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชราก็ดี ครั้นไม่ปรุงแต่งสังขารทั้งหลาย
ที่เป็นไปเพื่อมรณะก็ดี ครั้นไม่ปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสก็ดี ย่อมไม่ตกไปสู่เหวคือชาติบ้าง ไม่ตกไปสู่เหวคือชราบ้าง
ไม่ตกไปสู่เหวคือมรณะบ้าง ไม่ตกไปสู่เหวคือโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสบ้าง เรากล่าวว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมพ้นจากชาติ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และชื่อว่าพ้นจากทุกข์’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ปปาตสูตรที่ ๒ จบ

๓. มหาปริฬาหสูตร
ว่าด้วยนรกชื่อมหาปริฬาหะ
[๑๑๑๓] “ภิกษุทั้งหลาย นรกชื่อมหาปริฬาหะ (มีความเร่าร้อนมาก) มีอยู่
ในนรกนั้น บุคคลเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งทางตาได้ แต่เห็นได้เฉพาะรูปที่ไม่น่า
ปรารถนา ไม่เห็นรูปที่น่าปรารถนา เห็นได้เฉพาะรูปที่ไม่น่าใคร่ ไม่เห็นรูปที่น่าใคร่
เห็นได้เฉพาะรูปที่ไม่น่าพอใจ ไม่เห็นรูปที่น่าพอใจ ฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งทางหู
ได้ ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะอย่างใดอย่างหนึ่งทางกายได้ ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์
อย่างใดอย่างหนึ่งทางใจได้ แต่รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่รู้
แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าปรารถนา รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ไม่น่าใคร่ ไม่รู้แจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๕. ปปาตวรรค ๓. มหาปริฬาหสูตร
ธรรมารมณ์ที่น่าใคร่ รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์
ที่น่าพอใจ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเร่าร้อนนั้นมากหนอ ความเร่าร้อนนั้นมาก
จริงหนอ ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความเร่าร้อนนี้มีอยู่หรือ
พระพุทธเจ้าข้า”
“ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความเร่าร้อนนี้มีอยู่ ภิกษุ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความ
เร่าร้อนนี้ เป็นอย่างไร”
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นผู้ยินดียิ่งแล้วในสังขารทั้งหลาย ที่เป็นไปเพื่อชาติ
ฯลฯ ผู้ยินดียิ่งแล้ว ฯลฯ ย่อมปรุงแต่ง ฯลฯ ครั้นปรุงแต่งแล้ว ย่อมเร่าร้อน
เพราะความเร่าร้อนคือชาติบ้าง ย่อมเร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนคือชราบ้าง ย่อม
เร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนคือมรณะบ้าง ย่อมเร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนคือโสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสบ้าง เรากล่าวว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
และชื่อว่าไม่พ้นจากทุกข์’
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่ยินดียิ่งในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติ
ฯลฯ ผู้ไม่ยินดียิ่งแล้ว ฯลฯ ย่อมไม่ปรุงแต่ง ฯลฯ ครั้นไม่ปรุงแต่งแล้ว ย่อมไม่
เร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนคือชาติบ้าง ย่อมไม่เร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนคือ
ชราบ้าง ย่อมไม่เร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนคือมรณะบ้าง ย่อมไม่เร่าร้อนเพราะ
ความเร่าร้อนคือโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสบ้าง เรากล่าวว่า
‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาส และชื่อว่าพ้นจากทุกข์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๕. ปปาตวรรค ๔. กูฏาคารสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
มหาปริฬาหสูตรที่ ๓ จบ

๔. กูฏาคารสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเรือนยอด
[๑๑๑๔] “ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรา
ยังไม่รู้แจ้งทุกขอริยสัจ ฯลฯ ไม่รู้แจ้งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความ
เป็นจริง แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้’
เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึงกล่าวว่า ‘เรายังไม่ได้สร้างเรือนชั้นล่าง แล้วจัก
ต่อชั้นบนแห่งเรือนยอด’ แม้ฉันใด เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึงกล่าวว่า ‘เรายัง
ไม่รู้แจ้งทุกขอริยสัจ ฯลฯ ไม่รู้แจ้งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความเป็นจริง
แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้’ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
แต่เป็นไปได้ที่บุคคลจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราได้รู้แจ้งทุกขอริยสัจ ฯลฯ ได้
รู้แจ้งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความเป็นจริง แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์โดย
ชอบได้’
เป็นไปได้ที่บุคคลจะพึงกล่าวว่า ‘เราได้สร้างเรือนชั้นล่างแล้ว จักต่อชั้นบนแห่ง
เรือนยอด’ แม้ฉันใด เป็นไปได้ที่บุคคลจะพึงกล่าวว่า ‘เราได้รู้แจ้งทุกขอริยสัจ ฯลฯ
ได้รู้แจ้งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความเป็นจริง’ แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์
โดยชอบได้’ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
กูฏาคารสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๕. ปปาตวรรค ๕. วาลสูตร

๕. วาลสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยปลายขนทราย
[๑๑๑๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงเวสาลี ได้เห็นลิจฉวีกุมารจำนวนมากฝึกยิงลูกศรอยู่ใน
สัณฐาคารให้เข้าทางช่องดาลเล็ก ๆ จากที่ไกล ติดต่อกันได้ ไม่ผิดพลาด จึงคิดดังนี้
ว่า “ลิจฉวีกุมารเหล่านี้ฝึกแล้วหนอ ฝึกดีแล้วหนอ ที่ยิงลูกศรให้เข้าทางช่องดาล
เล็ก ๆ จากที่ไกล ติดต่อกันได้ ไม่ผิดพลาด”
ท่านพระอานนท์ ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงเวสาลีแล้ว กลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงเวสาลี ได้เห็นลิจฉวีกุมารจำนวนมากฝึกยิงลูกศรอยู่ในสัณฐาคาร
ให้เข้าทางช่องดาลเล็ก ๆ จากที่ไกล ติดต่อกันได้ ไม่ผิดพลาด จึงคิดดังนี้
ว่า ‘ลิจฉวีกุมารเหล่านี้ฝึกแล้วหนอ ฝึกดีแล้วหนอ ที่ยิงลูกศรให้เข้าทางช่องดาล
เล็ก ๆ จากที่ไกล ติดต่อกันได้ ไม่ผิดพลาด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
ผู้ที่ยิงลูกศรให้เข้าทางช่องดาลเล็ก ๆ จากที่ไกล ติดต่อกันได้ ไม่ผิดพลาด หรือผู้ที่
ใช้ปลายขนทรายซึ่งแบ่งเป็น ๗ เสี่ยง แทงเข้าที่ปลายขนทราย อย่างไหนทำได้ยาก
กว่าหรือเกิดได้ยากกว่ากัน”
“ผู้ที่ใช้ปลายขนทรายซึ่งแบ่งเป็น ๗ เสี่ยง แทงเข้าที่ปลายขนทรายนี้แล ทำ
ได้ยากกว่า และเกิดได้ยากกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ที่แท้เหล่าชนผู้แทงตลอดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ ชื่อว่าแทงตลอดสิ่งที่แทงตลอดได้ยากกว่า
อานนท์ เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
วาลสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๕. ปปาตวรรค ๖. อันธการสูตร

๖. อันธการสูตร
ว่าด้วยความมืดคือสังสารวัฏ
[๑๑๑๖] “ภิกษุทั้งหลาย โลกันตนรกมีแต่ความทุกข์มืดมนอนธการ มัวเป็น
หมอก สัตว์ในนรกนั้นไม่ได้รับประโยชน์จากแสงสว่างของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
ที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ความมืดนั้นมากหนอ ความมืดนั้นมากจริงหนอ ความมืดอื่น
ที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความมืดนี้มีอยู่หรือ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ ความมืดอย่างอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความมืดนี้มีอยู่”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความมืดอย่างอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความมืดนี้
เป็นอย่างไร”
“ภิกษุ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้
ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นยินดียิ่งในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติ ฯลฯ
ผู้ยินดียิ่งแล้ว ฯลฯ ย่อมปรุงแต่ง ฯลฯ ครั้นปรุงแต่งแล้ว ย่อมตกไปสู่ความมืด
คือชาติบ้าง ตกไปสู่ความมืดคือชราบ้าง ตกไปสู่ความมืดคือมรณะบ้าง ตกไปสู่
ความมืดคือโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสบ้าง เรากล่าวว่า ‘สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส และชื่อว่าไม่พ้นจากทุกข์’
ภิกษุ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่
ยินดียิ่งในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติ ฯลฯ ผู้ไม่ยินดียิ่งแล้ว ฯลฯ ย่อมไม่
ปรุงแต่ง ฯลฯ ครั้นไม่ปรุงแต่งแล้ว ย่อมไม่ตกไปสู่ความมืดคือชาติบ้าง ไม่ตกไป
สู่ความมืดคือชราบ้าง ไม่ตกไปสู่ความมืดคือมรณะบ้าง ไม่ตกไปสู่ความมืดคือโสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสบ้าง เรากล่าวว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
และชื่อว่าพ้นจากทุกข์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๕. ปปาตวรรค ๗. ปฐมฉิคคฬยุคสูตร
ภิกษุ เพราะเหตุนั้น เธอพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
อันธการสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมฉิคคฬยุคสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแอกมีรูเดียว สูตรที่ ๑
[๑๑๑๗] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงโยนแอกที่มีรูเดียวลงไปใน
มหาสมุทร ในมหาสมุทรนั้นมีเต่าตาบอดอยู่ตัวหนึ่ง มันโผล่ขึ้นมา ๑๐๐ ปีต่อครั้ง
เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เต่าตาบอดโผล่ขึ้นมา ๑๐๐ ปีต่อครั้ง
จะสอดคอเข้าไปในแอกที่มีรูเดียวโน้นได้บ้างหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเวลาล่วงเลยไปนาน บางครั้งบางคราวมันก็จะ
สอดคอเข้าไปในแอกนั้นได้แน่”
“ภิกษุทั้งหลาย เต่าตาบอดนั้น เมื่อโผล่ขึ้นมา ๑๐๐ ปีต่อครั้ง จะสอดคอ
เข้าไปในแอกที่มีรูเดียวโน้นยังเร็วกว่า แต่เราไม่กล่าวว่าคนพาลผู้ตกไปสู่วินิบาต
คราวเดียวแล้วกลับได้เป็นมนุษย์อีก (จะเร็วกว่านั้น)
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะในวินิบาตนั้นไม่มีการประพฤติธรรม การประพฤติชอบ การทำกุศล
และการทำบุญ ในวินิบาตนั้นมีแต่การเคี้ยวกินกันเอง การเคี้ยวกินผู้มีกำลังน้อยกว่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไม่ได้เห็นอริยสัจ ๔ ประการ
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ปฐมฉิคคฬยุคสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๕. ปปาตวรรค ๙. ปฐมสิเนรุปัพพตราชสูตร

๘. ทุติยฉิคคฬยุคสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแอกมีรูเดียว สูตรที่ ๒
[๑๑๑๘] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาปฐพีนี้เนื่องเป็นอันเดียวกัน
บุรุษพึงโยนแอกที่มีรูเดียวลงบนมหาปฐพีนั้น ลมทางทิศตะวันออกพัดแอกนั้นไป
ทางทิศตะวันตก ลมทางทิศตะวันตกพัดไปทางทิศตะวันออก ลมทางทิศเหนือพัด
ไปทางทิศใต้ ลมทางทิศใต้พัดไปทางทิศเหนือ บนมหาปฐพีนั้นมีเต่าตาบอดอยู่ตัว
หนึ่ง มันโผล่ขึ้นมา ๑๐๐ ปีต่อครั้ง เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
เต่าตาบอดโผล่ขึ้นมา ๑๐๐ ปีต่อครั้ง จะสอดคอเข้าไปในแอกที่มีรูเดียวโน้นได้
บ้างหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่เต่าตาบอดนั้นโผล่ขึ้นมา ๑๐๐ ปีต่อครั้ง จะ
สอดคอเข้าไปในแอกที่มีรูเดียวโน้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน การได้ความเป็น
มนุษย์ก็ยาก การที่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกก็ยาก การที่
ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วรุ่งเรืองในโลกก็ยาก บัดนี้เต่านั้นได้ความเป็นมนุษย์
นี้แล้ว ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก และธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศแล้วก็รุ่งเรืองในโลก
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ทุติยฉิคคฬยุคสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมสิเนรุปัพพตราชสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยขุนเขาสิเนรุ สูตรที่ ๑
[๑๑๑๙] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงเก็บก้อนหินขนาดเมล็ดถั่วเขียว
๗ ก้อนของขุนเขาสิเนรุ เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ก้อนหินขนาด
เมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่บุรุษนั้นเก็บมากับขุนเขาสิเนรุ อย่างไหนจะมากกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๕. ปปาตวรรค ๑๐. ทุติยสิเนรุปัพพตราชสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาสิเนรุนี้แลมากกว่า ก้อนหินขนาดเมล็ดถั่วเขียว
๗ ก้อนที่บุรุษนั้นเก็บมามีเพียงเล็กน้อย ก้อนหินขนาดเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่
บุรุษนั้นเก็บมา เมื่อเทียบกับขุนเขาสิเนรุแล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือ
ไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลผู้เป็น
อริยสาวกใดรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
ทุกข์ที่หมดสิ้นไปของบุคคลผู้เป็นอริยสาวกนั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ผู้รู้ยิ่ง มีมากกว่า
ที่เหลืออยู่ มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ซึ่งมีอยู่ก่อนที่หมดสิ้นไปแล้ว
คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว อย่างมากมีได้เพียง ๗ ชาติ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ปฐมสิเนรุปัพพตราชสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยสิเนรุปัพพตราชสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยขุนเขาสิเนรุ สูตรที่ ๒
[๑๑๒๐] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนขุนเขาสิเนรุหมดสิ้นไป เหลือก้อนหิน
ขนาดเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อน เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ขุนเขา
สิเนรุที่หมดสิ้นไปกับก้อนหินขนาดเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่เหลืออยู่ อย่างไหนจะ
มากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาสิเนรุที่หมดสิ้นไปนี้แลมากกว่า ก้อนหินขนาด
เมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่เหลืออยู่ มีเพียงเล็กน้อย ก้อนหินขนาดเมล็ดถั่วเขียว ๗
ก้อนที่ยังเหลืออยู่ เมื่อเทียบกับขุนเขาสิเนรุที่หมดสิ้นไปแล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบ
เคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลผู้เป็น
อริยสาวกใดรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
ทุกข์ที่หมดสิ้นไปของบุคคลผู้เป็นอริยสาวกนั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ผู้รู้ยิ่ง มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๕. ปปาตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
มากกว่า ที่เหลืออยู่ มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ซึ่งมีอยู่ก่อนที่หมด
สิ้นไปแล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว อย่างมากมีได้
เพียง ๗ ชาติ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ทุติยสิเนรุปัพพตราชสูตรที่ ๑๐ จบ
ปปาตวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โลกจินตาสูตร ๒. ปปาตสูตร
๓. มหาปริฬาหสูตร ๔. กูฏาคารสูตร
๕. วาลสูตร ๖. อันธกาลสูตร
๗. ปฐมฉิคคฬยุคสูตร ๘. ทุติยฉิคคฬยุคสูตร
๙. ปฐมสิเนรุปัพพตราชสูตร ๑๐. ทุติยสิเนรุปัพพตราชสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๖. อภิสมยวรรค ๒. โปกขรณีสูตร

๖. อภิสมยวรรค
หมวดว่าด้วยการรู้ยิ่ง
๑. นขสิขสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยฝุ่นที่ปลายเล็บ
[๑๑๒๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงใช้ปลายพระนขาช้อนฝุ่นขึ้นมาเล็กน้อย
แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจ
ความข้อนั้นว่าอย่างไร ฝุ่นเล็กน้อยนี้ที่เราใช้ปลายเล็บช้อนขึ้นมา กับแผ่นดินใหญ่นี้
อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า
ฝุ่นที่พระองค์ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย ฝุ่นเล็กน้อยที่พระองค์
ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมา เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่แล้ว คำนวณไม่ได้
เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลผู้เป็นอริยสาวกใดรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ ทุกข์ที่หมดสิ้นไปของ
บุคคลผู้เป็นอริยสาวกนั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ผู้รู้ยิ่ง มีมากกว่า ที่เหลืออยู่ มี
ประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ซึ่งมีอยู่ก่อนที่หมดสิ้นไปแล้ว คำนวณไม่ได้
เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว อย่างมากมีได้เพียง ๗ ชาติ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
นขสิขสูตรที่ ๑ จบ

๒. โปกขรณีสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยน้ำในสระโบกขรณี
[๑๑๒๒] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสระโบกขรณียาว ๕๐ โยชน์ กว้าง
๕๐ โยชน์ สูง ๕๐ โยชน์ เต็มด้วยน้ำเสมอฝั่ง กาดื่มกินได้ บุรุษใช้ปลายหญ้าคา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๖. อภิสมยวรรค ๓. ปฐมสัมเภชชสูตร
จุ่มน้ำขึ้นจากสระโบกขรณีนั้น เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร น้ำที่
บุรุษใช้ปลายหญ้าคาจุ่มขึ้นมากับน้ำในสระโบกขรณี อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในสระโบกขรณีนี้แลมากกว่า น้ำที่บุรุษใช้ปลาย
หญ้าคาจุ่มขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย น้ำที่บุรุษใช้ปลายหญ้าคาจุ่มขึ้นมา เมื่อเทียบกับ
น้ำในสระโบกขรณีแล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ เธอทั้งหลายพึง
ทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
โปกขรณีสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปฐมสัมเภชชสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยน้ำที่ไหลมาบรรจบกัน สูตรที่ ๑
[๑๑๒๓] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา
แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ไหลมาบรรจบกัน ณ ที่ใด บุรุษ
ช้อนน้ำ ๒-๓ หยดขึ้นมาจากที่นั้น เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
น้ำ ๒-๓ หยดที่บุรุษนั้นช้อนขึ้นมากับน้ำที่ไหลมาบรรจบกัน อย่างไหนจะมาก
กว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำที่ไหลมาบรรจบกันนี้แลมากกว่า น้ำ ๒-๓ หยด
ที่บุรุษนั้นช้อนขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย น้ำ ๒-๓ หยดที่บุรุษนั้นช้อนขึ้นมา เมื่อ
เทียบกับน้ำที่ไหลมาประจบกันแล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึง
ส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ เธอทั้งหลายพึง
ทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ปฐมสัมเภชชสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๖. อภิสมยวรรค ๕. ปฐมมหาปฐวีสูตร

๔. ทุติยสัมเภชชสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยน้ำที่ไหลมาบรรจบกัน สูตรที่ ๒
[๑๑๒๔] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา
แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ไหลมาบรรจบกัน ณ ที่ใด
น้ำในที่นั้นพึงหมดสิ้นไป เหลือน้ำอยู่ ๒-๓ หยด เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อ
นั้นว่าอย่างไร น้ำที่ไหลมาบรรจบกันซึ่งหมดสิ้นไป กับน้ำ ๒-๓ หยดที่เหลืออยู่
อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำที่ไหลมาบรรจบกันซึ่งหมดสิ้นไปนี้แลมากกว่า น้ำ
๒-๓ หยดที่เหลืออยู่มีเพียงเล็กน้อย น้ำ ๒-๓ หยดที่เหลืออยู่ เมื่อเทียบกับน้ำ
ที่ไหลมาบรรจบกันซึ่งหมดสิ้นไปแล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่
ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ เธอทั้ง
หลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา”
ทุติยสัมเภชชสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมมหาปฐวีสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแผ่นดินใหญ่ สูตรที่ ๑
[๑๑๒๕] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงเก็บก้อนดินขนาดเมล็ดกระเบา
๗ ก้อนจากแผ่นดินใหญ่ เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ก้อนดินขนาด
เมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่บุรุษนั้นเก็บมากับแผ่นดินใหญ่นี้ อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ก้อนดินขนาดเมล็ดกระเบา
๗ ก้อนที่บุรุษนั้นเก็บมามีเพียงเล็กน้อย ก้อนดินขนาดเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่
บุรุษนั้นเก็บมา เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่แล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้
หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ เธอทั้งหลายพึง
ทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ปฐมมหาปฐวีสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๖. อภิสมยวรรค ๗. ปฐมมหาสมุททสูตร

๖. ทุติยมหาปฐวีสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแผ่นดินใหญ่ สูตรที่ ๒
[๑๑๒๖] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแผ่นดินใหญ่พึงหมดสิ้นไป เหลือแต่
ก้อนดินขนาดเมล็ดกระเบาอยู่ ๗ ก้อน เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
แผ่นดินใหญ่ที่หมดสิ้นไปกับก้อนดินขนาดเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่เหลืออยู่ อย่างไหน
จะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่ที่หมดสิ้นไปนี้แลมากกว่า ก้อนดินขนาด
เมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่มีเพียงเล็กน้อย ก้อนดินขนาดเมล็ดกระเบา ๗
ก้อนที่เหลืออยู่ เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ที่หมดสิ้นไปแล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียง
กันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ เธอทั้งหลาย
พึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา”
ทุติยมหาปฐวีสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมมหาสมุททสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยน้ำในมหาสมุทร สูตรที่ ๑
[๑๑๒๗] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงช้อนน้ำในมหาสมุทรขึ้นมา ๒-
๓ หยด เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร น้ำ ๒-๓ หยดที่บุรุษนั้น
ช้อนขึ้นมากับน้ำในมหาสมุทร อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในมหาสมุทรนี้แลมากกว่า น้ำ ๒-๓ หยดที่บุรุษ
ช้อนขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย น้ำ ๒-๓ หยดที่บุรุษนั้นช้อนขึ้นมา เมื่อเทียบกับน้ำ
ในมหาสมุทรแล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ เธอทั้งหลาย
พึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ปฐมมหาสมุททสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๖. อภิสมยวรรค ๙. ปฐมปัพพตูปมสูตร

๘. ทุติยมหาสมุททสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยน้ำในมหาสมุทร สูตรที่ ๒
[๑๑๒๘] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนน้ำในมหาสมุทรพึงหมดสิ้นไป เหลือ
น้ำอยู่ ๒-๓ หยด เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร น้ำในมหาสมุทร
ที่หมดสิ้นไป กับน้ำ ๒-๓ หยดที่ยังเหลืออยู่ อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในมหาสมุทรที่หมดสิ้นไปนี้แลมากกว่า น้ำ ๒-๓
หยดที่เหลืออยู่มีเพียงเล็กน้อย น้ำ ๒-๓ หยดที่เหลืออยู่ เมื่อเทียบกับน้ำใน
มหาสมุทรที่หมดสิ้นไปแล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ เธอทั้งหลาย
พึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ทุติยมหาสมุททสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมปัพพตูปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยขุนเขาหิมพานต์ สูตรที่ ๑
[๑๑๒๙] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงเก็บก้อนหินขนาดเมล็ดผักกาด
๗ ก้อนของขุนเขาหิมพานต์ เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ก้อนหิน
ขนาดเมล็ดผักกาด ๗ ก้อน ที่บุรุษนั้นเก็บมากับขุนเขาหิมพานต์ อย่างไหนจะมาก
กว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาหิมพานต์นี้แลมากกว่า ก้อนหินขนาดเมล็ด
ผักกาด ๗ ก้อนที่บุรุษเก็บมา มีเพียงเล็กน้อย ก้อนหินขนาดเมล็ดผักกาด ๗
ก้อนที่บุรุษนั้นเก็บมา เมื่อเทียบกับขุนเขาหิมพานต์แล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียง
กันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ เธอทั้งหลาย
พึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ปฐมปัพพตูปมสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๖. อภิสมยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. ทุติยปัพพตูปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยขุนเขาหิมพานต์ สูตรที่ ๒
[๑๑๓๐] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนขุนเขาหิมพานต์พึงหมดสิ้นไป เหลือ
แต่ก้อนหินขนาดเมล็ดผักกาดอยู่ ๗ ก้อน เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร ขุนเขาหิมพานต์ที่หมดสิ้นไป กับก้อนหินขนาดเมล็ดผักกาด ๗ ก้อนที่เหลือ
อยู่ อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาหิมพานต์ที่หมดสิ้นไปนี้แลมากกว่า ก้อนหิน
ขนาดเมล็ดผักกาด ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่ เมื่อเทียบกับขุนเขาหิมพานต์ที่หมดสิ้น
ไปแล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลผู้เป็น
อริยสาวกใดรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
ทุกข์ที่หมดสิ้นไปของบุคคลผู้เป็นอริยสาวกนั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ผู้รู้ยิ่ง มีมากกว่า
ที่เหลืออยู่ มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ซึ่งมีอยู่ก่อนที่หมดสิ้นไปแล้ว
คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว อย่างมากมีได้เพียง ๗ ชาติ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ทุติยปัพพตูปมสูตรที่ ๑๐ จบ
อภิสมยวรรคที่ ๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นขสิขสูตร ๒. โปกขรณีสูตร
๓. ปฐมสัมเภชชสูตร ๔. ทุติยสัมเภชชสูตร
๕. ปฐมมหาปฐวีสูตร ๖. ทุติยมหาปฐวีสูตร
๗. ปฐมมหาสมุททสูตร ๘. ทุติยมหาสมุททสูตร
๙. ปฐมปัพพตูปมสูตร ๑๐. ทุติยปัพพตูปมสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๗. ปฐมอามกธัญญเปยยาลวรรค ๒. ปัจจันตสูตร

๗. ปฐมอามกธัญญเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยอามกธัญญเปยยาลที่ ๑
๑. อัญญตรสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่กลับมาเกิดนอกจากมนุษย์
[๑๑๓๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงใช้ปลายพระนขาช้อนฝุ่นขึ้นมาเล็กน้อย
แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญ
ความข้อนั้นว่าอย่างไร ฝุ่นเล็กน้อยที่เราใช้ปลายเล็บช้อนขึ้นมากับแผ่นดินใหญ่นี้
อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า
ฝุ่นที่พระองค์ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมา ฝุ่นเล็กน้อยที่พระองค์ทรงใช้ปลาย
พระนขาช้อนขึ้นมา เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่แล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้
หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายที่กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์
มีเพียงเล็กน้อย ส่วนสัตว์ที่กลับมาเกิดนอกจากมนุษย์มีจำนวนมากกว่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไม่ได้เห็นอริยสัจ ๔ ประการ
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
อัญญตรสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปัจจันตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่กลับมาเกิดในปัจจันตชนบท
[๑๑๓๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงใช้ปลายพระนขาช้อนฝุ่นขึ้นมาเล็กน้อย
แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๗. ปฐมอามกธัญญเปยยาลวรรค ๔. สุราเมรยสูตร
ความข้อนั้นว่าอย่างไร ฝุ่นเล็กน้อยนี้ที่เราใช้ปลายเล็บช้อนขึ้นมากับแผ่นดินใหญ่นี้
อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า
ฝุ่นที่พระองค์ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย ฝุ่นเล็กน้อยที่พระองค์
ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมา เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่แล้ว คำนวณไม่ได้
เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท
มีเพียงเล็กน้อย ส่วนสัตว์ที่กลับมาเกิดในปัจจันตชนบทในหมู่ชาวมิลักขะผู้โง่เขลา
มีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
ปัจจันตสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปัญญาสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่มีปัญญาจักษุ
[๑๑๓๓] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่ประกอบด้วย
ปัญญาจักษุ อย่างประเสริฐ มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ตกอยู่ในอวิชชา ลุ่มหลง
มีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
ปัญญาสูตรที่ ๓ จบ

๔. สุราเมรยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการดื่มสุราและเมรัย
[๑๑๓๔] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการดื่ม
น้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่
เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทมีจำนวน
มากกว่า ฯลฯ
สุราเมรยสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๗. ปฐมอามกธัญญเปยยาลวรรค ๙. พรหมัญญสูตร

๕. โอทกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เกิดในน้ำ
[๑๑๓๕] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เกิดบนบกมีจำนวน
น้อย ส่วนสัตว์ที่เกิดในน้ำมีจำนวนมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร ฯลฯ
โอทกสูตรที่ ๕ จบ

๖. มัตเตยยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เกื้อกูลแก่มารดา
[๑๑๓๖] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เกื้อกูลแก่มารดา
มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เกื้อกูลแก่มารดามีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
มัตเตยยสูตรที่ ๖ จบ

๗. เปตเตยยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เกื้อกูลแก่บิดา
[๑๑๓๗] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เกื้อกูลแก่บิดา
มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เกื้อกูลแก่บิดามีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
เปตเตยยสูตรที่ ๗ จบ

๘. สามัญญสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เกื้อกูลแก่สมณะ
[๑๑๓๘] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เกื้อกูลแก่สมณะ
มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เกื้อกูลแก่สมณะมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
สามัญญสูตรที่ ๘ จบ

๙. พรหมัญญสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เกื้อกูลแก่พราหมณ์
[๑๑๓๙] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เกื้อกูลแก่พราหมณ์
มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เกื้อกูลแก่พราหมณ์มีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
พรหมัญญสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๗. ปฐมอามกธัญญเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. ปจายิกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่อ่อนน้อมต่อผู้เจริญ
[๑๑๔๐] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่อ่อนน้อมต่อบุคคล
ผู้เจริญที่สุดในตระกูลมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่อ่อนน้อมต่อบุคคลผู้เจริญที่สุดใน
ตระกูลมีจำนวนมากกว่า”
ปจายิกสูตรที่ ๑๐ จบ
ปฐมอามกธัญญเปยยาลวรรคที่ ๗ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัญญตรสูตร ๒. ปัจจันตสูตร
๓. ปัญญาสูตร ๔. สุราเมรยสูตร
๕. โอทกสูตร ๖. มัตเตยยสูตร
๗. เปตเตยยสูตร ๘. สามัญญสูตร
๙. พรหมัญญสูตร ๑๐. ปจายิกสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๘. ทุติยอามกธัญญเปยยาลวรรค ๔. มุสาวาทสูตร

๘. ทุติยอามกธัญญเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยอามกธัญญเปยยาลที่ ๒
๑. ปาณาติปาตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
[๑๑๔๑] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการฆ่า
สัตว์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์มีจำนวนมากกว่า ข้อนั้น
เพราะเหตุไร ฯลฯ
ปาณาติปาตสูตรที่ ๑ จบ

๒. อทินนาทานสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการลักทรัพย์
[๑๑๔๒] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการลัก
ทรัพย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการลักทรัพย์มีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
อทินนาทานสูตรที่ ๒ จบ

๓. กาเมสุมิจฉาจารสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
[๑๑๔๓] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกามมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
มีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
กาเมสุมิจฉาจารสูตรที่ ๓ จบ

๔. มุสาวาทสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการพูดเท็จ
[๑๑๔๔] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการพูด
เท็จมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการพูดเท็จมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
มุสาวาทสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๘. ทุติยอามกธัญญเปยยาลวรรค ๘. พีชคามสูตร

๕. เปสุญญสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากคำส่อเสียด
[๑๑๔๕] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากคำส่อ
เสียดมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากคำส่อเสียดมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
เปสุญญสูตรที่ ๕ จบ

๖. ผรุสวาจาสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากคำหยาบ
[๑๑๔๖] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากคำหยาบ
มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากคำหยาบมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
ผรุสวาจาสูตรที่ ๖ จบ

๗. สัมผัปปลาปสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ
[๑๑๔๗] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากคำเพ้อ
เจ้อมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
สัมผัปปลาปสูตรที่ ๗ จบ

๘. พีชคามสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม
[๑๑๔๘] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการ
พรากพืชคามและภูตคามมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการพรากพืชคาม
และภูตคามมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
พีชคามสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๘. ทุติยอามกธัญญเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๙. วิกาลโภชนสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล
[๑๑๔๙] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการ
บริโภคอาหารในเวลาวิกาลมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการบริโภค
อาหารในเวลาวิกาลมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
วิกาลโภชนสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. คันธวิเลปนสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากของหอมและเครื่องลูบไล้
[๑๑๕๐] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการ
ทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ของหอมและเครื่องประทินผิวอันเป็น
ลักษณะแห่งการแต่งตัวมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการทัดทรง ประดับ
ตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอม และเครื่องประทินผิว อันเป็นลักษณะแห่ง
การแต่งตัว มีจำนวนมากกว่า”
คันธวิเลปนสูตรที่ ๑๐ จบ
ทุติยอามกธัญญเปยยาลวรรคที่ ๘ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปาณาติปาตสูตร ๒. อทินนาทานสูตร
๓. กาเมสุมิจฉาจารสูตร ๔. มุสาวาทสูตร
๕. เปสุญญสูตร ๖. ผรุสวาจาสูตร
๗. สัมผัปปลาปสูตร ๘. พีชคามสูตร
๙. วิกาลโภชนสูตร ๑๐. คันธวิเลปนสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๙. ตติยอามกธัญญเปยยาลวรรค ๓. ชาตรูปรชตสูตร

๙. ตติยอามกธัญญเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยอามกธัญญเปยยาลที่ ๓
๑. นัจจคีตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ฯ
[๑๑๕๑] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการ
ฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลมีจำนวนน้อย
ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการละเล่นอัน
เป็นข้าศึกแก่กุศลมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
นัจจคีตสูตรที่ ๑ จบ

๒. อุจจาสยนสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่
[๑๑๕๒] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจาก
ที่นอนสูงใหญ่มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่มีจำนวนมาก
กว่า ฯลฯ
อุจจาสยนสูตรที่ ๒ จบ

๓. ชาตรูปรชตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการรับทองและเงิน
[๑๑๕๓] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการรับ
ทองและเงินมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการรับทองและเงินมีจำนวนมาก
กว่า ฯลฯ
ชาตรูปรชตสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๙. ตติยอามกธัญญเปยยาลวรรค ๗. ทาสีทาสสูตร

๔. อามกธัญญสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ
[๑๑๕๔] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการรับ
ธัญญาหารดิบมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบมี
จำนวนมากกว่า ฯลฯ
อามกธัญญสูตรที่ ๔ จบ

๕. อามกมังสสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
[๑๑๕๕] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการรับ
เนื้อดิบมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
อามกมังสสูตรที่ ๕ จบ

๖. กุมาริกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี
[๑๑๕๖] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการรับ
สตรีและกุมารีมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารีมีจำนวน
มากกว่า ฯลฯ
กุมาริกสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทาสีทาสสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย
[๑๑๕๗] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการรับ
ทาสหญิงและทาสชายมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและ
ทาสชายมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
ทาสีทาสสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๙. ตติยอามกธัญญเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๘. อเชฬกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
[๑๑๕๘] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการรับ
แพะและแกะมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการรับแพะและแกะมีจำนวน
มากกว่า ฯลฯ
อเชฬกสูตรที่ ๘ จบ

๙. กุกกุฏสูกรสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
[๑๑๕๙] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการรับ
ไก่และสุกรมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการรับไก่และสุกรมีจำนวนมาก
กว่า ฯลฯ
กุกกุฏสูกรสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. หัตถิควัสสสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า ฯ
[๑๑๖๐] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการรับ
ช้าง โค ม้า และลามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า
และลามีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
หัตถิควัสสสูตรที่ ๑๐ จบ

ตติยอามกธัญญเปยยาลวรรคที่ ๙ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นัจจคีตสูตร ๒. อุจจาสยนสูตร
๓. ชาตรูปรชตสูตร ๔. อามกธัญญสูตร
๕. อามกมังสสูตร ๖. กุมาริกสูตร
๗. ทาสีทาสสูตร ๘. อเชฬกสูตร
๙. กุกกุฏสูกรสูตร ๑๐. หัตถิควัสสสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๐. จตุตถอามกธัญญเปยยาลวรรค ๓. ทูเตยยสูตร

๑๐. จตุตถอามกธัญญเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยอามกธัญญเปยยาลที่ ๔
๑. เขตตวัตถุสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการรับเรือกสวน ไร่นา และที่ดิน
[๑๑๖๑] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการรับ
เรือกสวน ไร่นา และที่ดินมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการรับเรือกสวน
ไร่นา และที่ดินมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
เขตตวัตถุสูตรที่ ๑ จบ

๒. กยวิกกยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการซื้อการขาย
[๑๑๖๒] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการซื้อ
ขายมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการซื้อขายมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
กยวิกกยสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทูเตยยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทน ฯ
[๑๑๖๓] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการทำ
หน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสารมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการทำ
หน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสารมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
ทูเตยยสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๐. จตุตถอามกธัญญเปยยาลวรรค ๖-๑๑. เฉทนาทิสูตร

๔. ตุลากูฏสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ฯ
[๑๑๖๔] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการโกง
ด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่องตวงวัดมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาด
จากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่องตวงวัดมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
ตุลากูฏสูตรที่ ๔ จบ

๕. อุกโกฏนสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการรับสินบน ฯ
[๑๑๖๕] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการรับ
สินบน การล่อลวง และการตลบตะแลงมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจาก
การรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลงมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
อุกโกฏนสูตรที่ ๕ จบ

๖-๑๑. เฉทนาทิสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการตัดเป็นต้น
[๑๑๖๖-๑๑๗๑] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจาก
การตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว การปล้น และการกรรโชกมี
จำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิง
วิ่งราว การปล้น และการกรรโชกมีจำนวนมากกว่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไม่ได้เห็นอริยสัจ ๔ ประการ
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๐. จตุตถอามกธัญญเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
เฉทนาทิสูตรที่ ๖-๑๑ จบ
จตุตถอามกธัญญเปยยาลวรรคที่ ๑๐ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เขตตวัตถุสูตร ๒. กยวิกกยสูตร
๓. ทูเตยยสูตร ๔. ตุลากูฏสูตร
๕. อุกโกฏนสูตร ๖. เฉทนสูตร
๗. วธนสูตร ๘. พันธนสูตร
๙. วิปราโมสสูตร ๑๐. อาโลปสูตร
๑๑. สหสาการสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๑. ปัญจคติเปยยาลวรรค ๒. มนุสสจุติติรัจฉานสูตร

๑๑. ปัญจคติเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยปัญจคติเปยยาล
๑. มนุสสจุตินิรยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในนรก
[๑๑๗๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงใช้ปลายพระนขาช้อนฝุ่นขึ้นมาเล็กน้อย
แล้ว รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจ
ความข้อนั้นว่าอย่างไร ฝุ่นเล็กน้อยนี้ที่เราใช้ปลายเล็บช้อนขึ้นมา กับแผ่นดินใหญ่นี้
อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า
ฝุ่นที่พระองค์ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย ฝุ่นเล็กน้อยที่พระองค์
ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมา เมื่อเทียบกับแผ่นใหญ่แล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบ
เคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากมนุษย์กลับมาเกิดใน
หมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากมนุษย์แล้วไปเกิดในนรกมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
มนุสสจุตินิรยสูตรที่ ๑ จบ

๒. มนุสสจุติติรัจฉานสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
[๑๑๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากมนุษย์กลับ
มาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากมนุษย์แล้วไปเกิดในกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
มนุสสจุติติรัจฉานสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๑. ปัญจคติเปยยาลวรรค ๑๙-๒๑. ติรัจฉานมนุสสนิรยาทิสูตร

๓. มนุสสจุติเปตติวิสยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในภูมิแห่งเปรต
[๑๑๗๔] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายที่จุติจาก
มนุษย์แล้วกลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากมนุษย์แล้วไป
เกิดในภูมิแห่งเปรตมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
มนุสสจุติเปตติวิสยสูตรที่ ๓ จบ

๔-๖. มนุสสจุติเทวนิรยาทิสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดเป็นเทวดาและเกิดในนรกเป็นต้น
[๑๑๗๕-๑๑๗๗] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจาก
มนุษย์แล้วไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในนรก
ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในภูมิแห่งเปรตมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
มนุสสจุติเทวนิรยาทิสูตรที่ ๔-๖ จบ

๗-๙. เทวจุตินิรยาทิสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่จุติจากเทวดาไปเกิดในนรกเป็นต้น
[๑๑๗๘-๑๑๘๐] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากเทวดา
มาเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากเทวดาไปเกิดในนรก ฯลฯ
เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในภูมิแห่งเปรตมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
เทวจุตินิรยาทิสูตรที่ ๗-๙ จบ

๑๐-๑๒. เทวมนุสสนิรยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่จุติจากเทวดามาเกิดเป็นมนุษย์และเกิดในนรก ฯ
[๑๑๘๑-๑๑๘๓] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากเทวดา
มาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากเทวดาไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิด
ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในภูมิแห่งเปรตมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
เทวมนุสสนิรยสูตรที่ ๑๐-๑๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๑. ปัญจคติเปยยาลวรรค ๑๙-๒๑. ติรัจฉานมนุสสนิรยาทิสูตร

๑๓-๑๕. นิรยมนุสสนิรยาทิสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่จุติจากนรกมาเกิดเป็นมนุษย์และเกิดในนรกเป็นต้น
[๑๑๘๔-๑๑๘๖] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากนรก
มาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากนรกกลับมาเกิดในนรก ฯลฯ
เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในภูมิแห่งเปรตมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
นิรยมนุสสนิรยาทิสูตรที่ ๑๓-๑๕ จบ

๑๖-๑๘. นิรยเทวนิรยาทิสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่จุติจากนรกไปเกิดเป็นเทวดาและเกิดในนรกเป็นต้น
[๑๑๘๗-๑๑๘๙] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากนรก
ไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากนรกกลับมาเกิดในนรก ฯลฯ
เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในภูมิแห่งเปรตมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
นิรยเทวนิรยาทิสูตรที่ ๑๖-๑๘ จบ

๑๙-๒๑. ติรัจฉานมนุสสนิรยาทิสูตร
ว่าด้วยสัตว์ดิรัจฉานที่จุติมาเกิดเป็นมนุษย์และเกิดในนรกเป็นต้น
[๑๑๙๐-๑๑๙๒] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉานมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
ไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในภูมิแห่งเปรตมีจำนวน
มากกว่า ฯลฯ
ติรัจฉานมนุสสนิรยาทิสูตรที่ ๑๙-๒๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๑. ปัญจคติเปยยาลวรรค ๓๐. เปตติเทวเปตติวิสยสูตร

๒๒-๒๔. ติรัจฉานเทวนิรยาทิสูตร
ว่าด้วยสัตว์ดิรัจฉานที่จุติไปเกิดเป็นเทวดาและเกิดในนรกเป็นต้น
[๑๑๙๓-๑๑๙๕] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจาก
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในภูมิแห่ง
เปรตมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
ติรัจฉานเทวนิรยาทิสูตรที่ ๒๒-๒๔ จบ

๒๕-๒๗. เปตติมนุสสนิรยาทิสูตร
ว่าด้วยเปรตที่จุติมาเกิดเป็นมนุษย์และเกิดในนรกเป็นต้น
[๑๑๙๖-๑๑๙๘] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากภูมิ
แห่งเปรตมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากภูมิแห่งเปรตไปเกิดใน
นรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในภูมิแห่งเปรตมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
เปตติมนุสสนิรยาทิสูตรที่ ๒๕-๒๗ จบ

๒๘-๒๙. เปตติเทวนิรยาทิสูตร
ว่าด้วยเปรตที่จุติไปเกิดเป็นเทวดาและเกิดในนรกเป็นต้น
[๑๑๙๙-๑๒๐๐] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากภูมิ
แห่งเปรตไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากภูมิแห่งเปรตไปเกิดใน
นรกมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากภูมิแห่งเปรตไปเกิดใน
หมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากภูมิแห่งเปรตไปเกิดในกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
เปตติเทวนิรยาทิสูตรที่ ๒๘-๒๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๑. ปัญจคติเปยยาล ๓๐. เปตติเทวเปตติวิสยสูตร วรรครวมพระสูตรที่มีในวรรค

๓๐. เปตติเทวเปตติวิสยสูตร
ว่าด้วยเปรตที่จุติไปเกิดเป็นเทวดาและเกิดในภูมิแห่งเปรต
[๑๒๐๑] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากภูมิแห่งเปรต
ไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากภูมิแห่งเปรตกลับมาเกิดในภูมิ
แห่งเปรตมีจำนวนมากกว่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ประการ
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
เปตติเทวเปตติวิสยสูตรที่ ๓๐ จบ
ปัญจคติเปยยาลวรรคที่ ๑๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มนุสสจุตินิรยสูตร ๒. มนุสสจุติติรัจฉานสูตร
๓. มนุสสจุติเปตติวิสยสูตร ๔-๖. มนุสสจุติเทวนิรยาทิสูตร
๗-๙. เทวจุตินิรยาทิสูตร ๑๐-๑๒. เทวมนุสสนิรยสูตร
๑๓-๑๕. นิรยมนุสสนิรยาทิสูตร ๑๖-๑๘. นิรยเทวนิรยาทิสูตร
๑๙-๒๑. ติรัจฉานมนุสสนิรยาทิสูตร ๒-๒๔. ติรัจฉานเทวนิรยาทิสูตร
๒๕-๒๗. เปตติมนุสสนิรยาทิสูตร ๒๘-๒๙. เปตติเทวนิรยาทิสูตร
๓๐. เปตติเทวเปตติวิสยสูตร

สัจจสังยุตที่ ๑๒ จบ มหาวรรคที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๑. ปัญจคติเปยยาล รวมสังยุตที่มีในมหาวารวรรค

รวมสังยุตที่มีในมหาวารวรรคนี้ คือ

๑. มัคคสังยุต ๒. โพชฌังคสังยุต
๓. สติปัฏฐานสังยุต ๔. อินทริยสังยุต
๕. สัมมัปปธานสังยุต ๖. พลสังยุต
๗. อิทธิปาทสังยุต ๘. อนุรุทธสังยุต
๙. ฌานสังยุต ๑๐. อานาปานสังยุต
๑๑. โสตาปัตติสังยุต ๑๒. สัจจสังยุต

มหาวารวรรคสังยุต จบ
สังยุตตนิกาย จบบริบูรณ์

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น