Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๐-๑ หน้า ๑ - ๔๖

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐-๑ สุตตันตปิฎกที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอกก ทุก ติกนิบาต



พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑.รูปาทิวรรค

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. รูปาทิวรรค
หมวดว่าด้วยรูปเป็นต้นที่ครอบงำจิตบุรุษและสตรี
[๑] ข้าพเจ้า๑ ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นรูปอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้
เหมือนรูปสตรีนี้ ภิกษุทั้งหลาย รูปสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้ (๑)
[๒] เราไม่เห็นเสียงอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้เหมือนเสียง
สตรีนี้ เสียงสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้ (๒)
[๓] เราไม่เห็นกลิ่นอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้เหมือนกลิ่น
สตรีนี้ กลิ่นสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้ (๓)
[๔] เราไม่เห็นรสอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้เหมือนรส
สตรีนี้ รสสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้ (๔)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒. นีวรณปหานวรรค
[๕] เราไม่เห็นโผฏฐัพพะ(การสัมผัสทางกาย)อื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิต
ของบุรุษอยู่ได้เหมือนโผฏฐัพพะสตรีนี้ โผฏฐัพพะสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษ
อยู่ได้ (๕)
[๖] เราไม่เห็นรูปอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้เหมือนรูปบุรุษนี้
รูปบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้ (๖)
[๗] เราไม่เห็นเสียงอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้เหมือน
เสียงบุรุษนี้ เสียงบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้ (๗)
[๘] เราไม่เห็นกลิ่นอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้เหมือนกลิ่น
บุรุษนี้ กลิ่นบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้ (๘)
[๙] เราไม่เห็นรสอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้เหมือนรสบุรุษนี้
รสบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้ (๙)
[๑๐] เราไม่เห็นโผฏฐัพพะอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้เหมือน
โผฏฐัพพะบุรุษนี้ โผฏฐัพพะบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้ (๑๐)
รูปาทิวรรคที่ ๑ จบ

๒. นีวรณปหานวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมเป็นเหตุละนิวรณ์
[๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่เป็นเหตุให้กามฉันทะ(ความพอใจในกาม)ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว
ก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นเหมือนสุภนิมิต๑นี้ เมื่อมนสิการสุภนิมิตโดยไม่
แยบคาย๒ กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความ
เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๑)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒. นีวรณปหานวรรค
[๑๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้พยาบาท(ความคิดร้าย)ที่
ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นเหมือน
ปฏิฆนิมิต๑ นี้ เมื่อมนสิการปฏิฆนิมิตโดยไม่แยบคาย พยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น
และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๒)
[๑๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้ถีนมิทธะ(ความหดหู่และ
เซื่องซึม)ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง
ขึ้นเหมือนความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน ความเมื่อยขบของร่างกาย ความเมา
อาหาร และความที่จิตหดหู่นี้ เมื่อมีจิตหดหู่ ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และ
ที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๓)
[๑๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่าน
และร้อนใจ)ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์
ยิ่งขึ้นเหมือนความไม่สงบแห่งจิตนี้ เมื่อมีจิตไม่สงบ อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๔)
[๑๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย)ที่
ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นเหมือน
อโยนิโสมนสิการ(การมนสิการโดยไม่แยบคาย)นี้ เมื่อมนสิการโดยไม่แยบคาย วิจิกิจฉา
ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๕)
[๑๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้เหมือนอสุภนิมิต๒ นี้ เมื่อมนสิการอสุภนิมิตโดย
แยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้๓ (๖)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒. นีวรณปหานวรรค
[๑๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้พยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่
เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้เหมือนเมตตาเจโตวิมุตติ๑ นี้ เมื่อมนสิการเมตตา
เจโตวิมุตติโดยแยบคาย พยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็
ละได้ (๗)
[๑๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่
เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้เหมือนความริเริ่ม ความพากเพียร ความบากบั่นนี้
เมื่อปรารภความเพียร๒ แล้ว ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว
ก็ละได้ (๘)
[๑๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด
ขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้เหมือนความสงบแห่งจิตนี้ เมื่อมีจิตสงบแล้ว
อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ (๙)
[๒๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้น
ก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้เหมือนโยนิโสมนสิการ(การมนสิการโดยแยบคาย)
นี้ เมื่อมนสิการโดยแยบคาย วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็
ละได้ (๑๐)
นีวรณปหานวรรคที่ ๒ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๓. อกัมมนิยวรรค

๓. อกัมมนิยวรรค
หมวดว่าด้วยจิตที่ไม่ควรแก่การใช้งาน
[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมไม่ควรแก่การใช้งานเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมไม่
ควรแก่การใช้งาน (๑)
[๒๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญแล้วย่อมควรแก่การใช้งานเหมือน
จิตนี้ จิตที่ได้เจริญแล้วย่อมควรแก่การใช้งาน (๒)
[๒๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๓)
[๒๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๔)
[๒๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญไม่ปรากฏชัดแล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไป
เพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๕)
[๒๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์มากเหมือนจินี้ จิตที่ได้เจริญปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๖)
[๒๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญไม่ทำให้มากแล้ว๑ ย่อมเป็น
ไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ได้ทำให้มากแล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๗)
[๒๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป
เพื่อประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
มาก (๘)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๔. อทันตวรรค
[๒๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญไม่ทำให้มากแล้วย่อมนำ
ทุกข์มาให้เหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ได้ทำให้มากแล้วย่อมนำทุกข์มาให้ (๙)
[๓๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมนำสุขมา
ให้เหมือนจิตนี้ จิตที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมนำสุขมาให้ (๑๐)
อกัมมนิยวรรคที่ ๓ จบ

๔. อทันตวรรค
หมวดว่าด้วยจิตที่ไม่ได้ฝึก
[๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่ได้ฝึกแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้ฝึกแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๑)
[๓๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้ฝึกแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก
เหมือนจิตนี้ จิตที่ได้ฝึกแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๒)
[๓๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้คุ้มครองแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้คุ้มครองแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์
มาก (๓)
[๓๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้คุ้มครองแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ได้คุ้มครองแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๔)
[๓๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้รักษาแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้รักษาแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์
มาก (๕)
[๓๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้รักษาแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ได้รักษาแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๖ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๕. ปณิหิตอัจฉวรรค
[๓๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๗)
[๓๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน
มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๘)
[๓๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้คุ้มครอง ไม่ได้รักษา
ไม่ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้
คุ้มครอง ไม่ได้รักษา ไม่ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๙)
[๔๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้ฝึก ได้คุ้มครอง ได้รักษา ได้สำรวม
แล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ได้ฝึก ได้คุ้มครอง ได้รักษา ได้
สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๐)
อทันตวรรคที่ ๔ จบ

๕. ปณิหิตอัจฉวรรค
หมวดว่าด้วยผลแห่งจิตที่ตั้งไว้ผิดและถูก
[๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลย๑ที่เดือยข้าว๒
สาลีหรือเดือยข้าวเหนียวที่บุคคลตั้งไว้ไม่ตรงจักตำมือหรือเท้าที่ไปกระทบเข้า หรือ
ทำให้เลือดออก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตั้งเดือยข้าวไว้ไม่ตรง แม้ฉันใด เป็นไป
ไม่ได้เลยที่ภิกษุรูปนั้นมีจิตที่ตั้งไว้ผิดจักทำลายอวิชชา(ความไม่รู้แจ้ง) ให้วิชชา(ความ
รู้แจ้ง)เกิดขึ้น ทำนิพพานให้แจ้ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตั้งจิตไว้ผิด ฉันนั้น
เหมือนกัน (๑)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๕. ปณิหิตอัจฉวรรค
[๔๒] เป็นไปได้ที่เดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวเหนียวที่บุคคลตั้งไว้ตรงจักตำมือ
หรือเท้าที่ไปกระทบเข้า หรือทำให้เลือดออก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตั้งเดือยข้าวไว้
ตรง แม้ฉันใด เป็นไปได้ที่ภิกษุรูปนั้นมีจิตที่ตั้งไว้ถูกจักทำลายอวิชชา ให้วิชชาเกิดขึ้น
ทำนิพพานให้แจ้ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตั้งจิตไว้ถูก ฉันนั้นเหมือนกัน (๒)
[๔๓] เรากำหนดจิต(ของผู้อื่น)ด้วยจิต(ของตน)อย่างนี้แล้วย่อมรู้ชัดบุคคลบาง
คนในโลกนี้ผู้มีจิตอันโทสะประทุษร้าย ถ้าบุคคลนี้ตายในสมัยนี้ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตของบุคคลนั้นถูกโทสะประทุษ
ร้าย ก็เพราะเหตุที่จิตยังคิดประทุษร้าย สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจึงไป
เกิดในอบาย(ภาวะหรือที่อันปราศจากความเจริญ) ทุคติ(ภาวะหรือที่ชั่ว) วินิบาต๑ (ที่
อันมีแต่ความร้อนรน) นรก (๓)
[๔๔] เรากำหนดจิต(ของผู้อื่น)ด้วยจิต(ของตน)อย่างนี้แล้วย่อมรู้ชัดบุคคลบาง
คนในโลกนี้ผู้มีจิตผ่องใส ถ้าบุคคลนี้ตายในสมัยนี้ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือนได้รับ
อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตของเขาผ่องใส ก็เพราะเหตุ
ที่จิตผ่องใส สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ (๔)
[๔๕] ห้วงน้ำที่ขุ่นมัว ไม่ใสสะอาด เป็นโคลนตม บุคคลผู้มีตาดี ยืนอยู่บนฝั่ง
มองไม่เห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้องถ้วยบ้าง ฝูงปลาที่ว่าย
ไปและหยุดอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะน้ำขุ่นมัว แม้ฉันใด ภิกษุ
รูปนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นไปไม่ได้เลยที่จักรู้ประโยชน์ตน รู้ประโยชน์ผู้อื่น รู้
ประโยชน์ทั้งสอง หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ๒อันวิเศษยิ่ง
กว่าธรรมของมนุษย์๓ด้วยจิตที่ขุ่นมัว๔ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตขุ่นมัว (๕)
[๔๖] ห้วงน้ำที่ไม่ขุ่นมัว ใสสะอาด บุคคลผู้มีตาดียืนอยู่บนฝั่งพึงมองเห็นหอย
โข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้องถ้วยบ้าง ฝูงปลาที่ว่ายไปและหยุดอยู่

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๖. อัจฉราสังฆาตวรรค
บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะน้ำไม่ขุ่นมัว แม้ฉันใด ภิกษุรูปนั้น ก็ฉัน
นั้นเหมือนกัน เป็นไปได้ที่จักรู้ประโยชน์ตน รู้ประโยชน์ผู้อื่น รู้ประโยชน์ทั้งสอง หรือ
จักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์
ด้วยจิตที่ไม่ขุ่นมัว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตไม่ขุ่นมัว (๖)
[๔๗] บัณฑิตกล่าวว่าต้นจันทน์เป็นต้นไม้ที่เลิศกว่าต้นไม้ทุกชนิด เพราะเป็น
ของอ่อนและใช้งานได้ดี แม้ฉันใด เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญทำให้
มากแล้ว เป็นของอ่อนและควรแก่การใช้งานเหมือนจิตนี้ จิตที่ได้เจริญทำให้มาก
แล้วย่อมเป็นของอ่อนและควรแก่การใช้งาน (๗)
[๔๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงเร็วเหมือนจิตนี้ จิตนี้
เปลี่ยนแปลงเร็วจนเปรียบเทียบกับอะไรไม่ได้ง่าย ๆ (๘)
[๔๙] จิตนี้ผุดผ่อง๑ แต่จิตนั้นแลเศร้าหมองเพราะอุปกิเลส๒ ที่เกิดขึ้น
ภายหลัง (๙)
[๕๐] จิตนี้ผุดผ่องและจิตนั้นแลหลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสที่เกิดขึ้นภายหลัง (๑๐)
ปณิหิตอัจฉวรรคที่ ๕ จบ

๖. อัจฉราสังฆาตวรรค
หมวดว่าด้วยผลแห่งจิตชั่วลัดนิ้วมือเดียว
[๕๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่จิตนั้นแลเศร้า
หมองเพราะอุปกิเลสที่เกิดขึ้นภายหลังปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ๓ ย่อมไม่ทราบจิตนั้นตามความ
เป็นจริง เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวว่า “ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมไม่มีการอบรมจิต” (๑)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๖. อัจฉราสังฆาตวรรค
[๕๒] จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแลหลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสที่เกิดขึ้นมาภาย
หลัง อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น เราจึง
กล่าวว่า “อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมมีการอบรมจิต” (๒)
[๕๓] ถ้าภิกษุเสพ๑เมตตาจิตแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว ภิกษุนี้เราเรียกว่า อยู่ไม่ห่าง
จากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ฉันอาหารบิณฑบาต
ของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภิกษุผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มาก (๓)
[๕๔] ถ้าภิกษุเจริญเมตตาจิตแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว ภิกษุนี้เราเรียกว่า อยู่ไม่ห่าง
จากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ฉันอาหารบิณฑบาต
ของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภิกษุผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มาก (๔)
[๕๕] ถ้าภิกษุมนสิการเมตตาจิตแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว ภิกษุนี้เราเรียกว่า อยู่
ไม่ห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ฉันอาหาร
บิณฑบาตของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภิกษุผู้ทำเมตตาจิตนั้น
ให้มาก (๕)
[๕๖] อกุศลธรรมทั้งหลายที่เป็นส่วนอกุศล ที่เป็นฝ่ายอกุศลทั้งหมด มีใจเป็น
หัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นร่วมกันภายหลัง (๖)
[๕๗] กุศลธรรมทั้งหลายที่เป็นส่วนกุศล ที่เป็นฝ่ายกุศลทั้งหมด มีใจเป็น
หัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นร่วมกันภายหลัง (๗)
[๕๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
ก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความประมาทนี้
เมื่อประมาทแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็
เสื่อมไป (๘)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๗. วีริยารัมภาทิวรรค
[๕๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความไม่ประมาทนี้
เมื่อไม่ประมาทแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ก็เสื่อมไป (๙)
[๖๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความเกียจคร้านนี้
เมื่อเกียจคร้าน อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็
เสื่อมไป (๑๐)
อัจฉราสังฆาตวรรคที่ ๖ จบ

๗. วีริยารัมภาทิวรรค
หมวดว่าด้วยการปรารภความเพียรเป็นต้น
[๖๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่น แม้อย่าง
หนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้วเสื่อมไปเหมือนการปรารภความเพียรนี้ เมื่อปรารภความเพียร๑ กุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๑)
[๖๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิด
ขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความมักมากนี้ เมื่อมัก
มาก อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๒)
[๖๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความมักน้อยนี้ เมื่อ
มักน้อย กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๓)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๗. วีริยารัมภาทิวรรค
[๖๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
ก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความไม่สันโดษนี้
เมื่อไม่สันโดษ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็
เสื่อมไป (๔)
[๖๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความสันโดษนี้ เมื่อ
สันโดษ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๕)
[๖๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนอโยนิโสมนสิการ
(การมนสิการโดยไม่แยบคาย)นี้ เมื่อมนสิการโดยไม่แยบคาย อกุศลธรรมที่ยังไม่
เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๖)
[๖๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนโยนิโสมนสิการ
(การมนสิการโดยแยบคาย)นี้ เมื่อมนสิการโดยแยบคาย กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
ก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๗)
[๖๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความไม่มีสัมปชัญญะ
(ความรู้ชัด)นี้ เมื่อไม่มีสัมปชัญญะ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๘)
[๖๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความมีสัมปชัญญะนี้
เมื่อมีสัมปชัญญะ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็
เสื่อมไป (๙)
[๗๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความมีปาปมิตร (มิตร
ชั่ว)นี้ เมื่อมีปาปมิตร อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ก็เสื่อมไป (๑๐)
วีริยารัมภาทิวรรคที่ ๗ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๘. กัลยาณมิตตาทิวรรค

๘. กัลยาณมิตตาทิวรรค
หมวดว่าด้วยกัลยาณมิตรเป็นต้น
[๗๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้วเสื่อมไปเหมือนความมีกัลยาณมิตร(มิตรดี)นี้ เมื่อมีกัลยาณมิตร กุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๑)
[๗๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนการประกอบอกุศล
ธรรมเนือง ๆ และการไม่ประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ นี้ เพราะการประกอบอกุศล
ธรรมเนือง ๆ และการไม่ประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิด
ขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๒)
[๗๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนการประกอบกุศล
ธรรมเนือง ๆ และการไม่ประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ นี้ เพราะการประกอบกุศล
ธรรมเนือง ๆ และการไม่ประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิด
ขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๓)
[๗๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้โพชฌงค์๑ (ธรรมที่เป็นองค์
แห่งการตรัสรู้)ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้โพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ถึง
ความเจริญเต็มที่เหมือนอโยนิโสมนสิการ(การมนสิการโดยไม่แยบคาย)นี้ เมื่อ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๙. ปมาทาทิวรรค
มนสิการโดยไม่แยบคาย โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ไม่ถึง
ความเจริญเต็มที่ (๔)
[๗๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น
ก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้โพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วถึงความเจริญเต็มที่เหมือนโยนิโส-
มนสิการ(การมนสิการโดยแยบคาย)นี้ เมื่อมนสิการโดยแยบคาย โพชฌงค์ที่ยังไม่
เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความเจริญเต็มที่ (๕)
[๗๖] ความเสื่อมญาติเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ความเสื่อมปัญญาเลวร้ายกว่า
ความเสื่อมทั้งหลาย (๖)
[๗๗] ความเจริญด้วยญาติเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ความเจริญด้วยปัญญายอด
เยี่ยมกว่าความเจริญทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เรา
ทั้งหลายจักเจริญด้วยความเจริญทางปัญญา” เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล (๗)
[๗๘] ความเสื่อมโภคทรัพย์เป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ความเสื่อมปัญญาเลวร้าย
กว่าความเสื่อมทั้งหลาย (๘)
[๗๙] ความเจริญด้วยโภคทรัพย์เป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ความเจริญด้วยปัญญา
ยอดเยี่ยมกว่าความเจริญทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้
ว่า “เราทั้งหลายจักเจริญด้วยความเจริญทางปัญญา” เธอทั้งหลายพึงสำเหนียก
อย่างนี้แล (๙)
[๘๐] ความเสื่อมยศเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ความเสื่อมปัญญาเลวร้ายกว่า
ความเสื่อมทั้งหลาย (๑๐)
กัลยาณมิตตาทิวรรคที่ ๘ จบ

๙. ปมาทาทิวรรค
หมวดว่าด้วยความประมาทเป็นต้น
[๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ความเจริญด้วยยศเป็นเรื่อง
เล็กน้อย แต่ความเจริญด้วยปัญญายอดเยี่ยมกว่าความเจริญทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น
เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราทั้งหลายจักเจริญด้วยความเจริญทาง
ปัญญา” เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๔ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๙. ปมาทาทิวรรค
[๘๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน
ความประมาทนี้ ความประมาทย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๒)
[๘๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือน
ความไม่ประมาทนี้ ความไม่ประมาทย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๓)
[๘๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน
ความเกียจคร้านนี้ ความเกียจคร้านย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๔)
[๘๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนการ
ปรารภความเพียรนี้ การปรารภความเพียรย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๕)
[๘๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน
ความมักมากนี้ ความมักมากย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๖)
[๘๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือน
ความมักน้อยนี้ ความมักน้อยย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๗)
[๘๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน
ความไม่สันโดษนี้ ความไม่สันโดษย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๘)
[๘๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือน
ความสันโดษนี้ ความสันโดษย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๙)
[๙๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน
อโยนิโสมนสิการ(การมนสิการโดยไม่แยบคาย)นี้ อโยนิโสมนสิการย่อมเป็นไปเพื่อ
มิใช่ประโยชน์มาก (๑๐)
[๙๑] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือน
โยนิโสมนสิการ(การมนสิการโดยแยบคาย)นี้ โยนิโสมนสิการย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์มาก (๑๑)
[๙๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน
ความไม่มีสัมปชัญญะนี้ ความไม่มีสัมปชัญญะย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๑๒)
[๙๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือน
ความมีสัมปชัญญะนี้ ความมีสัมปชัญญะย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๕ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๐. ทุติยปมาทาทิวรรค
[๙๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน
ความมีปาปมิตรนี้ ความมีปาปมิตรย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๑๔)
[๙๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือน
ความมีกัลยาณมิตรนี้ ความมีกัลยาณมิตรย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๕)
[๙๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน
การประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ และการไม่ประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ นี้ การ
ประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ และการไม่ประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ ย่อมเป็นไปเพื่อ
มิใช่ประโยชน์มาก (๑๖)
[๙๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนการ
ประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ และการไม่ประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ นี้ การประกอบ
กุศลธรรมเนือง ๆ และการไม่ประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
มาก (๑๗)
ปมาทาทิวรรคที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยปมาทาทิวรรค
หมวดว่าด้วยความประมาทเป็นต้น หมวดที่ ๒
[๙๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะพูดถึงองค์ประกอบภาย
ใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน
ความประมาทนี้ ความประมาทย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๑)
[๙๙] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนความไม่ประมาทนี้ ความไม่ประมาทย่อมเป็น
ไปเพื่อประโยชน์มาก (๒)
[๑๐๐] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนความเกียจคร้านนี้ ความเกียจคร้านย่อม
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๖ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๐. ทุติยปมาทาทิวรรค
[๑๐๑] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนการปรารภความเพียรนี้ การปรารภความ
เพียรย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๔)
[๑๐๒] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ฯลฯ ความมักมากย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๕)
[๑๐๓] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ฯลฯ ความมักน้อยย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๖)
[๑๐๔] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ฯลฯ ความไม่สันโดษย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๗)
[๑๐๕] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ฯลฯ ความสันโดษย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๘)
[๑๐๖] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ฯลฯ อโยนิโสมนสิการย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๙)
[๑๐๗] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ฯลฯ โยนิโสมนสิการย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๐)
[๑๐๘] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ฯลฯ ความไม่มีสัมปชัญญะย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๑๑)
[๑๐๙] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ฯลฯ ความมีสัมปชัญญะย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๒)
[๑๑๐] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายนอก เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนความมีปาปมิตรนี้ ความมีปาปมิตรย่อม
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๑๓)
[๑๑๑] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายนอก เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนความมีกัลยาณมิตรนี้ ความมีกัลยาณมิตร
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๗ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๐. ทุติยปมาทาทิวรรค
[๑๑๒] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนการประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ และการ
ไม่ประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ นี้ การประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ และการไม่
ประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๑๕)
[๑๑๓] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนการประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ และการไม่
ประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ นี้ การประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ และการไม่ประกอบ
อกุศลธรรมเนือง ๆ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๖)
[๑๑๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ หายไป
แห่งสัทธรรม๑ เหมือนความประมาทนี้ ความประมาทย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ
หายไปแห่งสัทธรรม (๑๗)
[๑๑๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ
ไม่หายไปแห่งสัทธรรมเหมือนความไม่ประมาทนี้ ความไม่ประมาทย่อมเป็นไปเพื่อความ
ดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๑๘)
[๑๑๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ หายไป
แห่งสัทธรรมเหมือนความเกียจคร้านนี้ ความเกียจคร้านย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม
สูญ หายไปแห่งสัทธรรม (๑๙)
[๑๑๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อม
สูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรมเหมือนการปรารภความเพียรนี้ การปรารภความเพียร
ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๒๐)
[๑๑๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความมักมากย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเสื่อมสูญ หายไปแห่งสัทธรรม (๒๑)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๐. ทุติยปมาทาทิวรรค
[๑๑๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความมักน้อยย่อมเป็นไปเพื่อ
ความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๒๒)
[๑๒๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความไม่สันโดษย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเสื่อมสูญ หายไปแห่งสัทธรรม (๒๓)
[๑๒๑] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความสันโดษย่อมเป็นไปเพื่อ
ความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๒๔)
[๑๒๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ อโยนิโยมนสิการย่อมเป็นไป
เพื่อความเสื่อมสูญ หายไปแห่งสัทธรรม (๒๕)
[๑๒๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ โยนิโสมนสิการย่อมเป็นไปเพื่อ
ความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๒๖)
[๑๒๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความไม่มีสัมปชัญญะย่อมเป็น
ไปเพื่อความเสื่อมสูญ หายไปแห่งสัทธรรม (๒๗)
[๑๒๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความมีสัมปชัญญะย่อมเป็นไป
เพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๒๘)
[๑๒๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความมีปาปมิตรย่อมเป็นไป
เพื่อความเสื่อมสูญ หายไปแห่งสัทธรรม (๒๙)
[๑๒๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความมีกัลยาณมิตรย่อมเป็นไป
เพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๓๐)
[๑๒๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ การประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ
และการไม่ประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ หายไปแห่ง
สัทธรรม (๓๑)
[๑๒๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อม
สูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรมเหมือนการประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ และการไม่ประกอบ
อกุศลธรรมเนือง ๆ นี้ การประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ และการไม่ประกอบอกุศลธรรม
เนือง ๆ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๓๒)
(จตุกโกฏิกะ จบ)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๑. อธัมมวรรค
[๑๓๐] ภิกษุพวกที่แสดงอธรรมว่า “เป็นธรรม” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่
คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่
เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพ๑สิ่งที่ไม่ใช่
บุญเป็นอันมาก และทำให้สัทธรรมนี้สูญหายไป (๓๓)
[๑๓๑-๑๓๙] ภิกษุพวกที่แสดงธรรมว่า “เป็นอธรรม” ฯลฯ แสดงสิ่งที่มิใช่
วินัยว่า “เป็นวินัย” ฯลฯ แสดงวินัยว่า “มิใช่วินัย” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้
ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ตถาคต
ภาษิตไว้ กล่าวไว้ว่า “ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้” ฯลฯ แสดงกรรมที่
ตถาคตไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมาว่า “ตถาคตได้ประพฤติปฏิบัติมา” ฯลฯ แสดงกรรม
ที่ตถาคตได้ประพฤติปฏิบัติมาว่า “ตถาคตไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมา” ฯลฯ แสดงสิ่งที่
ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า “ตถาคตได้บัญญัติไว้” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติไว้
ว่า “ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุข
แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก และทำให้
สัทธรรมนี้สูญหายไป (๔๒)
ทุติยปมาทาทิวรรคที่ ๑๐ จบ

๑๑. อธัมมวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมและอธรรม
[๑๔๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอธรรมว่า
“เป็นอธรรม” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อ
ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก และดำรงสัทธรรมนี้ไว้ได้ (๑)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๒. อนาปัตติวรรค
[๑๔๑-๑๔๙] ภิกษุพวกที่แสดงธรรมว่า “เป็นธรรม” ฯลฯ แสดงสิ่งที่มิใช่วินัย
ว่า “มิใช่วินัย” ฯลฯ แสดงวินัยว่า “เป็นวินัย” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้
ไม่ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ตถาคตได้
ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้” ฯลฯ แสดงกรรมที่ตถาคต
ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมาว่า “ตถาคตไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมา” ฯลฯ แสดงกรรมที่
ตถาคตได้ประพฤติปฏิบัติมาว่า “ตถาคตได้ประพฤติปฏิบัติมา” ฯลฯ แสดงสิ่งที่
ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า “ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติ
ไว้” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่
คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อม
ประสพบุญเป็นอันมาก และดำรงสัทธรรมนี้ไว้ได้ (๑๐)
อธัมมวรรคที่ ๑๑ จบ

๑๒. อนาปัตติวรรค
หมวดว่าด้วยอาบัติและอนาบัติ
[๑๕๐-๑๕๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งที่ไม่
เป็นอาบัติว่า “เป็นอาบัติ” ฯลฯ แสดงอาบัติว่า “ไม่เป็นอาบัติ” ฯลฯ แสดงอาบัติ
เบาว่า “เป็นอาบัติหนัก” ฯลฯ แสดงอาบัติหนักว่า “เป็นอาบัติเบา” ฯลฯ แสดง
อาบัติชั่วหยาบว่า “เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ” ฯลฯ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า “เป็น
อาบัติชั่วหยาบ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่า “เป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ”๑ ฯลฯ
แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่า “เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่ทำคืน
ได้ว่า “เป็นอาบัติที่ทำคืนไม่ได้” ฯลฯ แสดงอาบัติที่ทำคืนไม่ได้ว่า “เป็นอาบัติที่ทำ
คืนได้” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่
ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก และทำให้สัทธรรมนี้สูญหายไป (๑๐)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๓. เอกปุคคลวรรค
[๑๖๐] ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งที่ไม่เป็นอาบัติว่า “ไม่เป็นอาบัติ” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก และ
ดำรงสัทธรรมนี้ไว้ได้ (๑๑)
[๑๖๑] ภิกษุพวกที่แสดงอาบัติว่า “เป็นอาบัติ” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คน
หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก และดำรง
สัทธรรมนี้ไว้ได้ (๑๒)
[๑๖๒-๑๖๙] ภิกษุพวกที่แสดงอาบัติเบาว่า “เป็นอาบัติเบา” ฯลฯ แสดง
อาบัติหนักว่า “เป็นอาบัติหนัก” ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า “เป็นอาบัติชั่วหยาบ”
ฯลฯ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า “เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่มีส่วน
เหลือว่า “เป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่า “เป็น
อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่ทำคืนได้ว่า “เป็นอาบัติที่ทำคืนได้” ฯลฯ
แสดงอาบัติที่ทำคืนไม่ได้ว่า “เป็นอาบัติที่ทำคืนไม่ได้” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่
คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก และดำรง
สัทธรรมนี้ไว้ได้ (๒๐)
อนาปัตติวรรคที่ ๑๒ จบ

๑๓. เอกปุคคลวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคลผู้เป็นเอก
[๑๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อเกิดขึ้นใน
โลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาว
โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลผู้เป็น
เอกคือใคร คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บุคคลผู้เป็นเอกนี้แล เมื่อเกิด
ขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์
ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๒ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๓. เอกปุคคลวรรค
[๑๗๑] ความปรากฏแห่งบุคคลผู้เป็นเอกหาได้ยากในโลก บุคคลผู้เป็นเอกคือ
ใคร คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ความปรากฏแห่งบุคคลผู้เป็นเอก
นี้แลหาได้ยากในโลก (๒)
[๑๗๒] บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์๑ บุคคล
ผู้เป็นเอกคือใคร คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บุคคลผู้เป็นเอกนี้แล
เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์ (๓)
[๑๗๓] การตายของบุคคลผู้เป็นเอกเป็นเหตุให้คนจำนวนมากพลอยเดือดร้อน
ไปด้วย บุคคลผู้เป็นเอกคือใคร คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า การตาย
ของบุคคลผู้เป็นเอกนี้แลเป็นเหตุให้คนจำนวนมากพลอยเดือดร้อนไปด้วย (๔)
[๑๗๔] บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นไม่เป็นที่สอง๒ ไม่มี
สหาย๓ ไม่มีอัตภาพใดเหมือน๔ ไม่มีใครเปรียบเทียบ๕ ไม่มีผู้ทำกิจเปรียบเทียบ๖ หา

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๑. ปฐมวรรค
บุคคลเปรียบเทียบมิได้๑ หาผู้เสมอมิได้๒ เสมอกับบุคคลผู้หาผู้เสมอมิได้๓ เป็นผู้เลิศ
กว่าสัตว์สองเท้า๔ บุคคลผู้เป็นเอกคือใคร คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
บุคคลผู้เป็นเอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นไม่เป็นที่สอง ไม่มีสหาย ไม่มี
อัตภาพใดเหมือน ไม่มีใครเปรียบเทียบ ไม่มีผู้ทำกิจเปรียบเทียบ หาบุคคลเปรียบ
เทียบมิได้ หาผู้เสมอมิได้ เสมอกับบุคคลผู้หาผู้เสมอมิได้ เป็นผู้เลิศกว่าสัตว์สอง
เท้า (๕)
[๑๗๕-๑๘๖] ความปรากฏแห่งบุคคลผู้เป็นเอกเป็นความปรากฏแห่งจักษุอัน
ยิ่งใหญ่ เป็นความปรากฏแห่งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่ เป็นความปรากฏแห่งโอภาสอัน
ยิ่งใหญ่ เป็นความปรากฏแห่งอนุตตริยะ ๖๕ เป็นการทำให้แจ้งปฏิสัมภิทา ๔๖ เป็น
การรู้แจ้งชัดธาตุหลายชนิด เป็นการรู้แจ้งชัดธาตุที่แตกต่างกัน เป็นการทำให้แจ้ง
ผลคือวิชชา(ความรู้แจ้ง)และวิมุตติ(ความหลุดพ้น) เป็นการทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล บุคคลผู้เป็นเอกคือใคร คือ พระตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะความปรากฏแห่งบุคคลผู้เป็นเอกนี้แล จึงมีความ
ปรากฏแห่งจักษุอันยิ่งใหญ่ มีความปรากฏแห่งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่ มีความปรากฏ
แห่งโอภาสอันยิ่งใหญ่ มีความปรากฏแห่งอนุตตริยะ ๖ มีการทำให้แจ้งปฏิสัมภิทา ๔

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๑. ปฐมวรรค
มีการรู้แจ้งชัดธาตุหลายชนิด มีการรู้แจ้งชัดธาตุที่แตกต่างกัน มีการทำให้แจ้งผล
คือวิชชาและวิมุตติ มีการทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และ
อรหัตตผล (๖-๑๗)
[๑๘๗] เราไม่เห็นบุคคลอื่นแม้คนเดียวที่เผยแผ่โดยชอบซึ่งธรรมจักรอันยอด
เยี่ยมที่ตถาคตประกาศไว้แล้วเหมือนสารีบุตรนี้ สารีบุตรย่อมเผยแผ่โดยชอบซึ่ง
ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมที่ตถาคตประกาศไว้แล้ว (๑๘)
เอกปุคคลวรรคที่ ๑๓ จบ

๑๔. เอตทัคควรรค
หมวดว่าด้วยเอตทัคคะ๑

๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑
[๑๘๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อัญญาโกณฑัญญะเลิศกว่า
ภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นรัตตัญญู๒ (๑)
[๑๘๙] สารีบุตรเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีปัญญามาก (๒)
[๑๙๐] มหาโมคคัลลานะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีฤทธิ์มาก (๓)
[๑๙๑] มหากัสสปะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ทรงธุดงค์ และ
สรรเสริญคุณแห่งธุดงค์ (๔)
[๑๙๒] อนุรุทธะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีตาทิพย์ (๕)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๒. ทุติยวรรค
[๑๙๓] ภัททิยกาฬิโคธายบุตรเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เกิดใน
ตระกูลสูง (๖)
[๑๙๔] ลกุณฏกภัททิยะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีเสียง
ไพเราะ (๗)
[๑๙๕] ปิณโฑลภารทวาชะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้บันลือ
สีหนาท๑ (๘)
[๑๙๖] ปุณณมันตานีบุตรเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็น
ธรรมกถึก (๙)
[๑๙๗] มหากัจจานะ๒เลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้อธิบายความ
หมายแห่งธรรมที่กล่าวไว้โดยย่อได้พิสดาร (๑๐)
ปฐมวรรค จบ

๑๔. เอตทัคควรรค
๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
[๑๙๘] จูฬปันถกเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้สามารถเนรมิตกาย
มโนมัย๓ (๑)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๒. ทุติยวรรค
[๑๙๙] จูฬปันถกเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏ๑ (๒)
[๒๐๐] มหาปันถกเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ฉลาดในสัญญา-
วิวัฏ๒ (๓)
[๒๐๑] สุภูติเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่มี
กิเลส (๔)
[๒๐๒] สุภูติเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล (๕)
[๒๐๓] เรวตขทิรวนิยะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร (๖)
[๒๐๔] กังขาเรวตะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ยินดีในฌาน (๗)
[๒๐๕] โสณโกฬิวิสะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ปรารภความ
เพียร๓ (๘)
[๒๐๖] โสณกุฏิกัณณะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้กล่าวถ้อยคำ
ไพเราะ๔ (๙)
[๒๐๗] สีวลีเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีลาภ (๑๐)
[๒๐๘] วักกลิเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา (๑๑)
ทุติยวรรค จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๓. เอตทัคควรรค

๑๔. เอตทัคควรรค
๓. ตติยวรรค
หมวดที่ ๓
[๒๐๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ราหุลเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้
ใคร่ต่อการศึกษา (๑)
[๒๑๐] รัฐบาลเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้บวชด้วยศรัทธา (๒)
[๒๑๑] กุณฑธานะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้จับสลากได้ก่อน (๓)
[๒๑๒] วังคีสะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีปฏิภาณ (๔)
[๒๑๓] อุปเสนวังคันตบุตรเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นที่เลื่อมใส
ของคนโดยรอบ (๕)
[๒๑๔] ทัพพมัลลบุตรเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้จัดแจง
เสนาสนะ (๖)
[๒๑๕] ปิลินทวัจฉะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจ
ของเหล่าเทวดา (๗)
[๒๑๖] พาหิยทารุจีริยะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้รู้แจ้งได้เร็ว (๘)
[๒๑๗] กุมารกัสสปะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้แสดงธรรมได้
วิจิตร (๙)
[๒๑๘] มหาโกฏฐิตะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา
(๑๐)
ตติยวรรค จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๔. จตุตถวรรค

๑๔. เอตทัคควรรค
๔. จตุตถวรรค
หมวดที่ ๔
[๒๑๙] อานนท์เลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นพหูสูต๑ (๑)
[๒๒๐] อานนท์เลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีสติ๒ (๒)
[๒๒๑] อานนท์เลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีคติ๓ (๓)
[๒๒๒] อานนท์เลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีธิติ๔ (๔)
[๒๒๓] อานนท์เลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นอุปัฏฐาก (๕)
[๒๒๔] อุรุเวลกัสสปะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีบริวารมาก (๖)
[๒๒๕] กาฬุทายีเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ยังสกุลให้เลื่อมใส (๗)
[๒๒๖] พักกุละเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีอาพาธน้อย (๘)
[๒๒๗] โสภิตะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ระลึกชาติได้ (๙)
[๒๒๘] อุบาลีเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ทรงวินัย (๑๐)
[๒๒๙] นันทกะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้กล่าวสอนนางภิกษุณี (๑๑)
[๒๓๐] นันทะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์๕
ทั้งหลายได้ (๑๒)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๕. ปัญจมวรรค
[๒๓๑] มหากัปปินะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้กล่าวสอนภิกษุ (๑๓)
[๒๓๒] สาคตะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ฉลาดในเตโชธาตุ (๑๔)
[๒๓๓] ราธะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีปฏิภาณแจ่มแจ้ง (๑๕)
[๒๓๔] โมฆราชเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง (๑๖)
จตุตถวรรค จบ

๑๔. เอตทัคควรรค
๕. ปัญจมวรรค
หมวดที่ ๕
[๒๓๕] มหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้เป็น
รัตตัญญู (๑)
[๒๓๖] เขมาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้มีปัญญามาก (๒)
[๒๓๗] อุบลวรรณาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้มีฤทธิ์มาก (๓)
[๒๓๘] ปฏาจาราเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ทรงวินัย (๔)
[๒๓๙] ธรรมทินนาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้เป็นธรรม-
กถึก (๕)
[๒๔๐] นันทาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ยินดีในฌาน (๖)
[๒๔๑] โสณาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ปรารภความเพียร (๗)
[๒๔๒] สกุลาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้มีตาทิพย์ (๘)
[๒๔๓] ภัททากุณฑลเกสาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้รู้แจ้งได้
เร็ว (๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๐ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๖. ฉัฏฐวรรค
[๒๔๔] ภัททากาปิลานีเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ระลึก
ชาติได้ (๑๐)
[๒๔๕] ภัททากัจจานาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้บรรลุอภิญญา
ใหญ่ (๑๑)
[๒๔๖] กิสาโคตมีเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ทรงจีวรเศร้า
หมอง (๑๒)
[๒๔๗] สิงคาลมาตาเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้หลุดพ้นด้วย
ศรัทธา (๑๓)
ปัญจมวรรค จบ

๑๔. เอตทัคควรรค
๖. ฉัฏฐวรรค
หมวดที่ ๖
[๒๔๘] พ่อค้าชื่อตปุสสะและภัลลิกะเลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้
ถึงสรณะก่อน (๑)
[๒๔๙] สุทัตตอนาถบิณฑิกคหบดีเลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้
ยินดียิ่งในการถวายทาน (๒)
[๒๕๐] จิตตคหบดีชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑ์เลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา
ผู้เป็นธรรมกถึก (๓)
[๒๕๑] หัตถกอุบาสกชาวกรุงอาฬวีเลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้
สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ ๔ (๔)
[๒๕๒] เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา
ผู้ถวายรสอันประณีต (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๑ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๗. สัตตมวรรค
[๒๕๓] อุคคคหบดีชาวกรุงเวสาลีเลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้
ถวายโภชนะเป็นที่น่าชอบใจ (๖)
[๒๕๔] อุคคตคหบดีชาวหัตถีคามเลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้
อุปัฏฐากพระสงฆ์ (๗)
[๒๕๕] สูรอัมพัฏฐะเลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เลื่อมใสอย่าง
แน่นแฟ้น (๘)
[๒๕๖] ชีวกโกมารภัจจ์เลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เลื่อมใส
เฉพาะบุคคล (๙)
[๒๕๗] นกุลปิตาคหบดีเลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้กล่าวถ้อยคำ
ที่ทำให้เกิดความคุ้นเคย (๑๐)
ฉัฏฐวรรค จบ

๑๔. เอตทัคควรรค
๗. สัตตมวรรค
หมวดที่ ๗
[๒๕๘] สุชาดาธิดาของเสนานีกุฎุมพีเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา
ผู้ถึงสรณะก่อน (๑)
[๒๕๙] วิสาขามิคารมาตาเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ยินดียิ่ง
ในการถวายทาน (๒)
[๒๖๐] ขุชชุตตราเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้เป็นพหูสูต (๓)
[๒๖๑] สามาวดีเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้มีปกติอยู่ด้วย
เมตตา (๔)
[๒๖๒] อุตตรานันทมาตาเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ยินดีใน
ฌาน (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๒ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๕.อัฏฐานบาลี ๑. ปฐมวรรค
[๒๖๓] สุปปวาสาโกลิยธิดาเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ถวาย
รสอันประณีต (๖)
[๒๖๔] สุปปิยาอุบาสิกาเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้บำรุงภิกษุ
อาพาธ (๗)
[๒๖๕] กาติยานีเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้เลื่อมใสอย่าง
แน่นแฟ้น (๘)
[๒๖๖] นกุลมาตาคหปตานีเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้กล่าว
ถ้อยคำที่ทำให้เกิดความคุ้นเคย (๙)
[๒๖๗] กาลีอุบาสิกาชาวเมืองกุรรฆระ เลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา
ผู้เลื่อมใสเพราะได้ยินได้ฟังตาม ๆ กันมา (๑๐)
สัตตมวรรค จบ
เอตทัคควรรคที่ ๑๔ จบ

๑๕. อัฏฐานบาลี
บาลีว่าด้วยความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้

๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑
[๒๖๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลย๑ที่บุคคลผู้ถึง
พร้อมด้วยทิฏฐิ๒ พึงยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นสภาวะเที่ยง แต่เป็นไปได้๓ ที่
ปุถุชนพึงยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นสภาวะเที่ยง (๑)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๕.อัฏฐานบาลี ๑. ปฐมวรรค
[๒๖๙] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงยึดถือสังขารไร ๆ โดย
ความเป็นสุข แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นสุข (๒)
[๒๗๐] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงยึดถือธรรมไร ๆ โดยความ
เป็นอัตตา แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงยึดถือธรรมไร ๆ โดยความเป็นอัตตา (๓)
[๒๗๑] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงฆ่ามารดา แต่เป็นไปได้
ที่ปุถุชนพึงฆ่ามารดา (๔)
[๒๗๒] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงฆ่าบิดา แต่เป็นไปได้ที่
ปุถุชนพึงฆ่าบิดา (๕)
[๒๗๓] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงฆ่าพระอรหันต์ แต่เป็น
ไปได้ที่ปุถุชนพึงฆ่าพระอรหันต์ (๖)
[๒๗๔] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ พึงมีจิตประทุษร้าย ทำ
ร้ายตถาคตให้ห้อเลือด แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงมีจิตประทุษร้าย ทำร้ายตถาคตให้
ห้อเลือด (๗)
[๒๗๕] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงทำลายสงฆ์ แต่เป็นไป
ได้ที่ปุถุชนพึงทำลายสงฆ์ (๘)
[๒๗๖] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงนับถือศาสดาอื่น แต่
เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงนับถือศาสดาอื่น (๙)
[๒๗๗] เป็นไปไม่ได้เลยที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์พึงเสด็จ
อุบัติพร้อมกันในโลกธาตุเดียวกัน๑ แต่เป็นไปได้ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระ
องค์เดียวพึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียว (๑๐)
ปฐมวรรค จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๕.อัฏฐานบาลี ๓. ตติยวรรค

๑๕. อัฏฐานบาลี
๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
[๒๗๘] เป็นไปไม่ได้เลยที่พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ พระองค์พึงเสด็จอุบัติพร้อมกัน
ในโลกธาตุเดียวกัน แต่เป็นไปได้ที่พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์เดียวพึงเสด็จอุบัติใน
โลกธาตุเดียว (๑)
[๒๗๙] เป็นไปไม่ได้เลยที่สตรีพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เป็นไป
ได้ที่บุรุษพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (๒)
[๒๘๐] เป็นไปไม่ได้เลยที่สตรีพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แต่เป็นไปได้ที่บุรุษพึง
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ (๓)
[๒๘๑-๒๘๓] เป็นไปไม่ได้เลยที่สตรีพึงครองความเป็นท้าวสักกะ ฯลฯ เป็นมาร
ฯลฯ เป็นพรหม แต่เป็นไปได้ที่บุรุษพึงครองความเป็นท้าวสักกะ ฯลฯ เป็นมาร ฯลฯ
เป็นพรหม (๔-๖)
[๒๘๔] เป็นไปไม่ได้เลยที่กายทุจริตจะพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
แต่เป็นไปได้ที่กายทุจริตจะพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ (๗)
[๒๘๕-๒๘๖] เป็นไปไม่ได้เลยที่วจีทุจริต ฯลฯ เป็นไปไม่ได้เลยที่มโนทุจริตจะ
พึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่มโนทุจริตจะพึงเกิดผลที่ไม่
น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ (๘-๙)
ทุติยวรรค จบ

๑๕. อัฏฐานบาลี
๓. ตติยวรรค
หมวดที่ ๓
[๒๘๗] เป็นไปไม่ได้เลยที่กายสุจริตจะพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่กายสุจริตจะพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๕ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๕.อัฏฐานบาลี ๓. ตติยวรรค
[๒๘๘-๒๘๙] เป็นไปไม่ได้เลยที่วจีสุจริต ฯลฯ เป็นไปไม่ได้เลยที่มโนสุจริตจะ
พึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่มโนสุจริตจะพึงเกิด
ผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ (๒-๓)
[๒๙๐] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ประกอบกายทุจริต หลังจากตายแล้วจะไป
เกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะความประกอบกายทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย แต่เป็นไป
ได้ที่บุคคลผู้ประกอบกายทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต๑
นรก เพราะความประกอบกายทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย (๔)
[๒๙๑-๒๙๒] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ประกอบวจีทุจริต ฯลฯ เป็นไปไม่ได้
เลยที่บุคคลผู้ประกอบมโนทุจริตหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะ
ความประกอบมโนทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้ประกอบมโนทุจริต
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะประกอบมโนทุจริต
เป็นเหตุเป็นปัจจัย (๕-๖)
[๒๙๓] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ประกอบกายสุจริต หลังจากตายแล้วจะไป
เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความประกอบกายสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย
แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้ประกอบกายสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
เพราะประกอบกายสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย (๗)
[๒๙๔-๒๙๕] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ประกอบวจีสุจริต ฯลฯ เป็นไปไม่ได้
เลยที่บุคคลผู้ประกอบมโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก เพราะประกอบมโนสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้ประกอบ
มโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะประกอบมโนสุจริต
เป็นเหตุเป็นปัจจัย (๘-๙)
ตติยวรรค จบ
อัฏฐานบาลีที่ ๑๕ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๑. ปฐมวรรค

๑๖. เอกธัมมบาลี
บาลีว่าด้วยธรรมอันเป็นเอก๑
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑
[๒๙๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร
คือ พุทธานุสสติ(การระลึกถึงพระพุทธเจ้า)
ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
อย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๑)
[๒๙๗] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความ
เบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน
ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร
คือ ธัมมานุสสติ(การระลึกถึงพระธรรม) ฯลฯ สังฆานุสสติ(การระลึกถึง
พระสงฆ์) ฯลฯ สีลานุสสติ(การระลึกถึงศีล) ฯลฯ จาคานุสสติ(การระลึกถึงการ
บริจาค) ฯลฯ เทวตานุสสติ(การระลึกถึงเทวดา) ฯลฯ อานาปานัสสติ(สติกำหนด
ลมหายใจเข้าออก) ฯลฯ มรณัสสติ(การระลึกถึงความตาย) ฯลฯ กายคตาสติ(สติ
อันไปในกาย) ฯลฯ อุปสมานุสสติ(การระลึกถึงธรรมอันเป็นที่สงบ)
ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
อย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๑๐)
ปฐมวรรค จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๒. ทุติยวรรค

๑๖. เอกธัมมบาลี
๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
[๒๙๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อ
ความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นเหมือนมิจฉาทิฏฐิ๑(ความเห็นผิด)นี้ เมื่อเป็นมิจฉาทิฏฐิ
อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์
ยิ่งขึ้น (๑)
[๒๙๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
ก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นเหมือนสัมมาทิฏฐิ๒
(ความเห็นชอบ)นี้ เมื่อเป็นสัมมาทิฏฐิ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิด
ขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๒)
[๓๐๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
ก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไปเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้ เมื่อเป็นมิจฉาทิฏฐิ
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๓)
[๓๐๑] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
ขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไปเหมือนสัมมาทิฏฐินี้ เมื่อเป็นสัมมาทิฏฐิ
อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป (๔)
[๓๐๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้มิจฉาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดขึ้น
ก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญยิ่งขึ้นเหมือนอโยนิโสมนสิการ เมื่อมนสิการโดยไม่
แยบคาย มิจฉาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญยิ่งขึ้น (๕)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๒. ทุติยวรรค
[๓๐๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดขึ้น
ก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญยิ่งขึ้นเหมือนโยนิโสมนสิการ เมื่อมนสิการโดย
แยบคาย สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญยิ่งขึ้น (๖)
[๓๐๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้เหล่าสัตว์ หลังจากตาย
แล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เหมือนมิจฉาทิฏฐินี้ เหล่าสัตว์ที่ประกอบ
ด้วยมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก (๗)
[๓๐๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้เหล่าสัตว์ หลังจากตาย
แล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์เหมือนสัมมาทิฏฐินี้ เหล่าสัตว์ที่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ
หลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ (๘)
[๓๐๖] กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรมที่ถือ
ปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควร
แก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารทั้งหลาย ของบุคคลผู้เป็น
มิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่า
พอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความเห็นเลวทราม
กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ ... ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะความเห็นเลวทราม เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดา เมล็ดบวบขม หรือเมล็ดน้ำ
เต้าขมที่บุคคลเพาะไว้ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมด ย่อม
เป็นไปเพื่อความเป็นของขม เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมล็ด
สะเดาเป็นต้นนั้นเลว ฉะนั้น (๙)
[๓๐๗] กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรมที่ถือ
ปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควร
แก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็น
สัมมาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
เกื้อกูล เป็นสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความเห็นดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๙ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๓. ตติยวรรค
กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ ... ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะความเห็นดี เปรียบเหมือนพันธุ์อ้อย พันธุ์ข้าวสาลีหรือเมล็ดจันทน์ที่บุคคล
เพาะไว้ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมดย่อมเป็นไปเพื่อความ
เป็นของหวาน น่าอร่อย น่าชื่นใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพันธุ์อ้อยเป็นต้นนั้นดี
ฉะนั้น (๑๐)
ทุติยวรรค จบ

๑๖. เอกธัมมบาลี
๓. ตติยวรรค
หมวดที่ ๓
[๓๐๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อเกิดขึ้นใน
โลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่
ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคล
ผู้เป็นเอกคือใคร คือ บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริต บุคคลนั้นทำให้คน
หมู่มากออกจากสัทธรรม๑ ให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรม๒ บุคคลผู้เป็นเอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้น
ในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่
ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (๑)
[๓๐๙] บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่
มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอกคือใคร คือ บุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ
มีความเห็นไม่วิปริต บุคคลนั้นทำให้คนหมู่มากออกจากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ใน
สัทธรรม บุคคลผู้เป็นเอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คน
หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (๒)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๓. ตติยวรรค
[๓๑๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่มีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้ โทษ
ทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง (๓)
[๓๑๑] เราไม่เห็นบุคคลอื่นแม้คนเดียวที่ปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก
เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหมือนโมฆบุรุษชื่อว่ามักขลินี้
โมฆบุรุษชื่อมักขลิเกิดขึ้นในโลก เป็นเหมือนลอบที่ดักมนุษย์ เพื่อไม่เกื้อกูล
เพื่อทุกข์ เพื่อความเสื่อม เพื่อความพินาศแก่สัตว์เป็นอันมากเปรียบเหมือนบุคคล
ดักลอบไว้ที่ปากอ่าว เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความเสื่อม เพื่อความพินาศแก่
ปลาเป็นอันมาก ฉะนั้น (๔)
[๓๑๒] ผู้ชักชวน ผู้ถูกชักชวน ผู้ถูกชักชวนแล้วปฏิบัติตามคำชักชวน ในธรรม
วินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี คนทั้งหมดนั้นย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ไม่ดี (๕)
[๓๑๓] ผู้ชักชวน ผู้ถูกชักชวน ผู้ถูกชักชวนแล้วปฏิบัติตามคำชักชวน ในธรรม
วินัยที่กล่าวไว้ดี คนทั้งหมดนั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะธรรมที่กล่าวไว้ดี (๖)
[๓๑๔] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี ทายก(ผู้ให้)พึงรู้จักประมาณ ปฏิคาหก
(ผู้รับ)ไม่จำต้องรู้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ไม่ดี (๗)
[๓๑๕] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี ปฏิคาหกพึงรู้จักประมาณ ทายกไม่จำต้องรู้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ดี (๘)
[๓๑๖] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี ผู้ปรารภความเพียรย่อมอยู่เป็นทุกข์ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ไม่ดี (๙)
[๓๑๗] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี ผู้เกียจคร้านย่อมอยู่เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี (๑๐)
[๓๑๘] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี ผู้เกียจคร้านย่อมอยู่เป็นสุข ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ไม่ดี (๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๔๑ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๔. จตุตถวรรค
[๓๑๙] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี ผู้ปรารภความเพียรย่อมอยู่เป็นสุข ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ดี (๑๒)
[๓๒๐] คูถ(อุจจาระ)แม้เพียงเล็กน้อยก็มีกลิ่นเหม็น แม้ฉันใด ภพแม้เพียงเล็กน้อย
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่สรรเสริญโดยที่สุดแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว (๑๓)
[๓๒๑] มูตร(ปัสสาวะ)แม้เพียงเล็กน้อยก็มีกลิ่นเหม็น ... น้ำลายแม้เพียงเล็ก
น้อยก็มีกลิ่นเหม็น ... น้ำหนองแม้เพียงเล็กน้อยก็มีกลิ่นเหม็น ... เลือดแม้เพียงเล็ก
น้อยก็มีกลิ่นเหม็นแม้ฉันใด ภพแม้เพียงเล็กน้อยก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่สรรเสริญ
โดยที่สุดแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว (๑๔)
ตติยวรรค จบ

๑๖. เอกธัมมบาลี
๔. จตุตถวรรค
หมวดที่ ๔
[๓๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ในชมพูทวีปนี้ สวนอันน่า
รื่นรมย์ ป่าอันน่ารื่นรมย์ ภูมิประเทศอันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์มี
จำนวนน้อยนัก ส่วนสถานที่ที่เป็นที่ดอน ที่ลุ่ม ที่มีน้ำหลาก ที่มีตอไม้และหนาม
ที่มีภูเขาสูงชันลาดต่ำมีจำนวนมากกว่า แม้ฉันใด สัตว์ที่เกิดบนบกมีจำนวนน้อย
ส่วนสัตว์ที่เกิดในน้ำมีจำนวนมากกว่า ฉันนั้นเหมือนกันแล (๑)
[๓๒๓] สัตว์ที่กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไปเกิดใน
กำเนิดอื่น๑นอกจากมนุษย์มีจำนวนมากกว่า สัตว์ที่กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบทมี
จำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่กลับมาเกิดในปัจจันตชนบท ในหมู่ชาวมิลักขะผู้โง่เขลามี
จำนวนมากกว่า (๒)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๔. จตุตถวรรค
[๓๒๔] สัตว์ที่มีปัญญา๑ ไม่โง่เขลา ไม่เป็นเหมือนคนหนวก คนใบ้ สามารถรู้
เนื้อความแห่งคำสุภาษิตและทุพภาษิตได้มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่มีปัญญา โง่
เขลา เป็นเหมือนคนหนวก คนใบ้ ไม่สามารถรู้เนื้อความแห่งคำสุภาษิตและทุพภาษิต
ได้มีจำนวนมากกว่า (๓)
[๓๒๕] สัตว์ที่ประกอบด้วยปัญญาจักษุอย่างประเสริฐมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์
ที่ตกอยู่ในอวิชชา ลุ่มหลงมีจำนวนมากกว่า (๔)
[๓๒๖] สัตว์ที่ได้เห็นตถาคต๒มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่ได้เห็นตถาคตมี
จำนวนมากกว่า (๕)
[๓๒๗] สัตว์ที่ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่
ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้มีจำนวนมากกว่า (๖)
[๓๒๘] สัตว์ที่ฟังธรรมแล้วทรงจำไว้ได้มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ฟังธรรมแล้ว
ทรงจำไว้ไม่ได้มีจำนวนมากกว่า (๗)
[๓๒๙] สัตว์ที่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้มีจำนวนน้อย ส่วน
สัตว์ที่ไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้มีจำนวนมากกว่า (๘)
[๓๓๐] สัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรม และปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมมี
จำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรม แต่ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
มีจำนวนมากกว่า (๙)
[๓๓๑] สัตว์ที่สลดใจในเหตุอันควรสลดใจมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่สลดใจ
ในเหตุอันควรสลดใจมีจำนวนมากกว่า (๑๐)
[๓๓๒] สัตว์ที่สลดใจ ทำความเพียรโดยแยบคายมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่
สลดใจ ไม่ทำความเพียรโดยแยบคายมีจำนวนมากกว่า (๑๑)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๔. จตุตถวรรค
[๓๓๓] สัตว์ที่ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ๑ ได้เอกัคคตาจิต(จิตมี
อารมณ์เป็นหนึ่ง)มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วไม่ได้สมาธิ
ไม่ได้เอกัคคตาจิตมีจำนวนมากกว่า (๑๒)
[๓๓๔] สัตว์ที่ได้ข้าวอันเลิศและรสอันเลิศมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่ได้ข้าวอัน
เลิศและรสอันเลิศยังชีพด้วยการแสวงหาด้วยภัตที่ใส่กระเบื้องมามีจำนวนมากกว่า (๑๓)
[๓๓๕] สัตว์ที่ได้อรรถรส๒ ธรรมรส๓ และวิมุตติรส๔มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์
ที่ไม่ได้อรรถรส ธรรมรส และวิมุตติรสมีจำนวนมากกว่า เพราะเหตุนั้นแล เธอ
ทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเป็นผู้ได้อรรถรส ธรรมรส และวิมุตติรส”
เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล (๑๔)
[๓๓๖-๓๓๘] ในชมพูทวีปนี้ สวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าอันน่ารื่นรมย์ ภูมิประเทศ
อันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์มีจำนวนน้อยนัก ส่วนสถานที่ที่เป็นที่ดอน
ที่ลุ่ม ที่มีน้ำหลาก ที่มีตอไม้และหนาม ที่มีภูเขาสูงชันลาดต่ำมีจำนวนมากกว่า แม้
ฉันใด สัตว์ที่จุติจากมนุษย์กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจาก
มนุษย์ไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัย (แดน
เปรต)มีจำนวนมากกว่า ฉันนั้นเหมือนกันแล (๑๕-๑๗)
[๓๓๙-๓๔๑] สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์
ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัย
มีจำนวนมากกว่า (๑๘-๒๐)
[๓๔๒-๓๔๔] สัตว์ที่จุติจากเทวดากลับมาเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วน
สัตว์ที่จุติจากเทวดาไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดใน
เปรตวิสัยมีจำนวนมากกว่า (๒๑-๒๓)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๔. จตุตถวรรค
[๓๔๕-๓๔๗] สัตว์ที่จุติจากเทวดามาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์
ที่จุติจากเทวดาไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัย
มีจำนวนมากกว่า (๒๔-๒๖)
[๓๔๘-๓๕๐] สัตว์ที่จุติจากนรกมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่
จุติจากนรกไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัยมี
จำนวนมากกว่า (๒๗-๒๙)
[๓๕๑-๓๕๓] สัตว์ที่จุติจากนรกไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่
จุติจากนรกไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัยมี
จำนวนมากกว่า (๓๐-๓๒)
[๓๕๔-๓๕๖] สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานมาเกิดในหมู่มนุษย์ มีจำนวนน้อย
ส่วนสัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัยมีจำนวนมากกว่า (๓๓-๓๕)
[๓๕๗-๓๕๙] สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวน
น้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัยมีจำนวนมากกว่า (๓๖-๓๘)
[๓๖๐-๓๖๒] สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วน
สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดใน
เปรตวิสัยมีจำนวนมากกว่า (๓๙-๔๑)
[๓๖๓-๓๖๕] สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วน
สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิด
ในเปรตวิสัยมีจำนวนมากกว่า (๔๒-๔๔)
จตุตถวรรค จบ
(ชัมพุทีปเปยยาล๑ จบ)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค

๑๗. ปสาทกรธัมมวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่ทำให้เกิดความเลื่อมใส
[๓๖๖-๓๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้อยู่ป่าเป็น
วัตร ความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
ความเป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ความเป็นธรรมกถึก ความเป็นวินัยธร ความเป็น
พหูสูต ความเป็นผู้มั่นคง ความถึงพร้อมด้วยอากัปกิริยา๑ ความถึงพร้อมด้วย
บริวารที่ดี ความเป็นผู้มีบริวารมาก ความเป็นกุลบุตร ความเป็นผู้มีรูปผิวพรรณ
งาม ความเป็นผู้เจรจาไพเราะ ความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย
ทั้งหมดนี้ เป็นชื่อเรียกลาภนั่นเอง (๑-๑๖)
(ปสาทกรธรรมวรรคที่ ๑๗ จบ)

๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค
หมวดว่าด้วยผลแห่งจิตชั่วลัดนิ้วมือเดียว อีกหมวดหนึ่ง
[๓๘๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญปฐมฌานแม้ชั่ว
ลัดนิ้วมือเดียว ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้อยู่ไม่ห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของศาสดา
ปฏิบัติตามโอวาท ฉันบิณฑบาตของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่จำเป็นต้องพูดถึง
ภิกษุผู้ทำให้มากซึ่งปฐมฌานนั้น (๑)
[๓๘๓-๓๘๙] ถ้าภิกษุเจริญทุติยฌานแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว ... เจริญตติยฌาน
... เจริญจตุตถฌาน ... เจริญเมตตาเจโตวิมุตติ ... เจริญกรุณาเจโตวิมุตติ ... เจริญ
มุทิตาเจโตวิมุตติ ... เจริญอุเปกขาเจโตวิมุตติ ฯลฯ (๒-๘)
[๓๙๐-๓๙๓] ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ... พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น