Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๐-๒ หน้า ๔๗ - ๙๒

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐-๒ สุตตันตปิฎกที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอกก ทุก ติกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค
... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย๑อยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ (๙-๑๒)
[๓๙๔-๓๙๗] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่ง
มั่น๒เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม
ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุ
สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดให้เกิดขึ้น ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่
เกิดขึ้นแล้ว (๑๓-๑๖)
[๓๙๘-๔๐๑] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร๓...
เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีริยสมาธิปธานสังขาร ... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบ
ด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธาน-
สังขาร ... (๑๗-๒๐)
[๔๐๒-๔๐๖] ภิกษุเจริญสัทธินทรีย์ ... เจริญวีริยินทรีย์ ... เจริญสตินทรีย์ ...
เจริญสมาธินทรีย์ ... เจริญปัญญินทรีย์ ... (๒๑-๒๕)
[๔๐๗-๔๑๑] ภิกษุเจริญสัทธาพละ ... เจริญวีริยพละ ... เจริญสติพละ ...
เจริญสมาธิพละ ... เจริญปัญญาพละ ... (๒๖-๓๐)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค
[๔๑๒-๔๑๘] ภิกษุเจริญสติสัมโพชฌงค์ ... เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ...
เจริญวีริยสัมโพชฌงค์ ... เจริญปีติสัมโพชฌงค์ ... เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...
เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... เจริญอุเปกขาสัมโพชฌงค์ ... (๓๑-๓๗)
[๔๑๙-๔๒๖] ภิกษุเจริญสัมมาทิฏฐิ ... เจริญสัมมาสังกัปปะ ... เจริญสัมมา-
วาจา ... เจริญสัมมากัมมันตะ ... เจริญสัมมาอาชีวะ ... เจริญสัมมาวายามะ ...
เจริญสัมมาสติ ... เจริญสัมมาสมาธิ... (๓๘-๔๕)
[๔๒๗] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้รูปภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดเล็ก มี
สีสันดีหรือไม่ดี เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้อย่างนี้ว่า “เรารู้
เราเห็น” (๔๖)
[๔๒๘] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้รูปภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดใหญ่ มี
สีสันดีหรือไม่ดี เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้อย่างนี้ว่า “เรารู้
เราเห็น” (๔๗)
[๔๒๙] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดเล็ก มี
สีสันดีหรือไม่ดี เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้อย่างนี้ว่า “เรารู้
เราเห็น” (๔๘)
[๔๓๐] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดใหญ่ มี
สีสันดีหรือไม่ดี เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้อย่างนี้ว่า “เรารู้
เราเห็น” (๔๙)
[๔๓๑] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกเขียว มีสีเขียว
เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้
อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๕๐)
[๔๓๒] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกเหลือง มีสี
เหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความ
จำได้หมายรู้อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๔๘ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค
[๔๓๓] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกแดง มีสีแดง
เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้
อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๕๒)
[๔๓๔] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกขาว มีสีขาว
เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้
อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๕๓)
[๔๓๕] ภิกษุผู้มีรูปฌานเป็นอารมณ์ย่อมเห็นรูปภายนอกทั้งหลายได้ (๕๔)
[๔๓๖] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายในย่อมเห็นรูปภายนอกทั้งหลาย
ได้ (๕๕)
[๔๓๗] ภิกษุเป็นผู้น้อมใจไปว่า “งาม” เท่านั้น (๕๖)
[๔๓๘] ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน๑อยู่โดยกำหนดว่า “อากาศหา
ที่สุดมิได้” เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดถึงนานัตตสัญญาโดย
ประการทั้งปวง (๕๗)
[๔๓๙] ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌาน๒ อยู่โดยกำหนดว่า “วิญญาณหาที่สุดมิได้” (๕๘)
[๔๔๐] ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌาน๓ อยู่โดยกำหนดว่า “ไม่มีอะไร” (๕๙)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค
[๔๔๑] ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญา-
นาสัญญายตนฌานอยู่ (๖๐)
[๔๔๒] ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธ(สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา)อยู่ (๖๑)
[๔๔๓-๔๕๒] ภิกษุเจริญปฐวีกสิณ ... เจริญอาโปกสิณ ... เจริญเตโชกสิณ ...
เจริญวาโยกสิณ ... เจริญนีลกสิณ ... เจริญปีตกสิณ ... เจริญโลหิตกสิณ ... เจริญ
โอทาตกสิณ ... เจริญอากาสกสิณ ... เจริญวิญญาณกสิณ ... (๖๒-๗๑)
[๔๕๓-๔๖๒] ภิกษุเจริญอสุภสัญญา ... เจริญมรณสัญญา ... เจริญอาหาเร-
ปฏิกูลสัญญา ... เจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ... เจริญอนิจจสัญญา ... เจริญ
อนิจเจทุกขสัญญา ... เจริญทุกเขอนัตตสัญญา ... เจริญปหานสัญญา ... เจริญวิราคสัญญา
... เจริญนิโรธสัญญา... (๗๒-๘๑)
[๔๖๓-๔๗๒] ภิกษุเจริญอนิจจสัญญา ... เจริญอนัตตสัญญา ... เจริญมรณ-
สัญญา ... เจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา ... เจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ... เจริญ
อัฏฐิกสัญญา ... เจริญปุฬวกสัญญา ... เจริญวินีลกสัญญา ... เจริญวิจฉิททกสัญญา ...
เจริญอุทธุมาตกสัญญา ... ( ๘๒-๙๑)
[๔๗๓-๔๘๒] ภิกษุเจริญพุทธานุสสติ ... เจริญธัมมานุสสติ ...เจริญสังฆานุสสติ
... เจริญสีลานุสสติ ... เจริญจาคานุสสติ ... เจริญเทวตานุสสติ ... เจริญอานาปานสติ
... เจริญมรณัสสติ ... เจริญกายคตาสติ ... เจริญอุปสมานุสสติ ... (๙๒-๑๐๑)
[๔๘๓-๔๙๒] ภิกษุเจริญสัทธินทรีย์ที่ประกอบด้วยปฐมฌาน ... เจริญ
วีริยินทรีย์ ... เจริญสตินทรีย์ ... เจริญสมาธินทรีย์ ... เจริญปัญญินทรีย์ ... เจริญ
สัทธาพละ ... เจริญวีริยพละ ... เจริญสติพละ ... เจริญสมาธิพละ ... เจริญปัญญาพละ
... (๑๐๒-๑๑๑)
[๔๙๓-๕๖๒] ภิกษุเจริญสัทธินทรีย์ที่ประกอบด้วยทุติยฌาน ฯลฯ ที่ประกอบ
ด้วยตติยฌาน ฯลฯ ที่ประกอบด้วยจตุตถฌาน ฯลฯ ที่ประกอบด้วยเมตตา ฯลฯ
ที่ประกอบด้วยกรุณา ฯลฯ ที่ประกอบด้วยมุทิตา ฯลฯ ที่ประกอบด้วยอุเบกขา ...
เจริญวีริยินทรีย์ ... เจริญสตินทรีย์ ... เจริญสมาธินทรีย์ ... เจริญปัญญินทรีย์ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๕๐ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๙. กายคตาสติวรรค
เจริญสัทธาพละ ... เจริญวีริยพละ ... เจริญสติพละ ... เจริญสมาธิพละ ... เจริญ
ปัญญาพละ ... ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้อยู่ไม่ห่างจากฌาน ทำตามคำสอน
ของศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ฉันบิณฑบาตของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงภิกษุผู้ทำให้มากซึ่งปัญญาพละที่ประกอบด้วยอุเบกขา (๑๑๒-๑๘๑)
อปรอัจฉราสังฆาตวรรคที่ ๑๘ จบ

๑๙. กายคตาสติวรรค
หมวดว่าด้วยผลแห่งการเจริญกายคตาสติ
[๕๖๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูป
หนึ่งได้เจริญทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นส่วนแห่งวิชชา๑ย่อม
เป็นภาวนาที่หยั่งลงในจิตของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนมหาสมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่งสัมผัส
ด้วยใจแล้ว๒ แม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่งที่ไหลไปสู่สมุทรย่อมปรากฏภายในจิตของ
ผู้นั้น (๑)
[๕๖๔-๕๗๐] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป
เพื่อสังเวชใหญ่๓ เพื่อประโยชน์ใหญ่๔ เพื่อธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะใหญ่๕ เพื่อ
สติและสัมปชัญญะ เพื่อได้ญาณทัสสนะ๖ เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง
ผลแห่งวิชชาและวิมุตติ๗ ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอก
นี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสังเวชใหญ่ เพื่อประโยชน์ใหญ่
เพื่อธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะใหญ่ เพื่อสติและสัมปชัญญะ เพื่อได้ญาณทัสสนะ
เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพื่อทำให้แจ้งซึ่งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ (๒-๘)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๙. กายคตาสติวรรค
[๕๗๑] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้
จิตก็สงบ แม้วิตกและวิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญ
เต็มที่ ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคล
ได้เจริญทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกและวิจารก็สงบ ธรรมที่
เป็นส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญเต็มที่ (๙)
[๕๗๒] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ
กายคตาสติ เมื่อธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่
ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ (๑๐)
[๕๗๓] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่
เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ธรรมอันเป็น
เอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มาก
แล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญ
ไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๑๑)
[๕๗๔] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมละอวิชชาได้
วิชชาเกิดขึ้นย่อมละอัสมิมานะได้ อนุสัย๑ย่อมถึงความถอนขึ้น ย่อมละสังโยชน์ได้
ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอันเป็นเอกนี้แล ที่บุคคลได้
เจริญทำให้มากแล้วย่อมละอวิชชาได้ วิชชาเกิดขึ้นย่อมละอัสมิมานะ๒ได้ อนุสัยถึง
ความถอนขึ้นย่อมละสังโยชน์ได้ (๑๒)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๙. กายคตาสติวรรค
[๕๗๕-๕๗๖] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป
เพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร
คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ
ความแตกฉานแห่งปัญญา เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน (๑๓-๑๔)
[๕๗๗-๕๗๙] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมมี
ความเข้าใจแจ่มแจ้งธาตุหลายชนิด๑ มีความเข้าใจแจ่มแจ้งธาตุที่แตกต่างกัน มีความ
แตกฉานในธาตุหลายชนิด ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอัน
เป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมมีความเข้าใจแจ่มแจ้งธาตุหลายชนิด
มีความเข้าใจแจ่มแจ้งธาตุที่แตกต่างกัน มีความแตกฉานในธาตุหลายชนิด (๑๕-๑๗)
[๕๘๐-๕๘๓] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ
ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล ธรรมอันเป็นเอก
คืออะไร คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล (๑๘-๒๑)
[๕๘๔-๕๙๙] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ
ได้ปัญญา๒ เพื่อความเจริญแห่งปัญญา๓ เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา เพื่อความ
เป็นผู้มีปัญญามาก๔ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแน่นหนา๕ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญา

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒๐. อมตวรรค
ไพบูลย์ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลุ่มลึก๑ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง๒ เพื่อ
ความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง๓ เพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา เพื่อความเป็นผู้มี
ปัญญาว่องไว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง เพื่อความ
เป็นผู้มีปัญญาคล่องแคล่ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม๔ และเพื่อความเป็น
ผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอก
นี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา เพื่อความเจริญแห่ง
ปัญญา เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก เพื่อความเป็นผู้
มีปัญญาแน่นหนา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลุ่มลึก
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง เพื่อความ
เป็นผู้มากด้วยปัญญา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาว่องไว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคล่องแคล่ว เพื่อความเป็นผู้
มีปัญญาเฉียบแหลม และเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส (๒๒-๓๗)
กายคตาสติวรรคที่ ๑๙ จบ

๒๐. อมตวรรค
หมวดว่าด้วยอมตธรรม
[๖๐๐] ชนเหล่าใดไม่เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่บรรลุอมตธรรม
ชนเหล่าใดเจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าบรรลุอมตธรรม (๑)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒๐. อมตวรรค
[๖๐๑] ชนเหล่าใดไม่ได้เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้บรรลุอมต-
ธรรม ชนเหล่าใดได้เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้บรรลุอมตธรรม (๒)
[๖๐๒] ชนเหล่าใดมีกายคตาสติเสื่อม ชนเหล่านั้นชื่อว่ามีอมตธรรมเสื่อม
ชนเหล่าใดมีกายคตาสติไม่เสื่อม ชนเหล่านั้นชื่อว่ามีอมตธรรมไม่เสื่อม (๓)
[๖๐๓] ชนเหล่าใดเบื่อกายคตาสติ๑ ชนเหล่านั้นชื่อว่าเบื่ออมตธรรม ชน
เหล่าใดชอบใจกายคตาสติ๒ ชนเหล่านั้นชื่อว่าชอบใจอมตธรรม (๔)
[๖๐๔] ชนเหล่าใดประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าประมาทอมตธรรม
ชนเหล่าใดไม่ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ประมาทอมตธรรม (๕)
[๖๐๕] ชนเหล่าใดหลงลืมกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าหลงลืมอมตธรรม
ชนเหล่าใดไม่หลงลืมกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่หลงลืมอมตธรรม (๖)
[๖๐๖] ชนเหล่าใดไม่ได้เสพกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้เสพอมตธรรม
ชนเหล่าใดได้เสพกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้เสพอมตธรรม (๗)
[๖๐๗] ชนเหล่าใดไม่ได้เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้เจริญอมต-
ธรรม ชนเหล่าใดได้เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้เจริญอมตธรรม (๘)
[๖๐๘] ชนเหล่าใดไม่ได้ทำกายคตาสติให้มาก ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้ทำ
อมตธรรมให้มาก ชนเหล่าใดได้ทำกายคตาสติให้มาก ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้ทำ
อมตธรรมให้มาก (๙)
[๖๐๙] ชนเหล่าใดไม่ได้รู้ยิ่งกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้รู้ยิ่งอมตธรรม
ชนเหล่าใดได้รู้ยิ่งกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้รู้ยิ่งอมตธรรม (๑๐)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒๐. อมตวรรค
[๖๑๐] ชนเหล่าใดไม่ได้กำหนดรู้กายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้กำหนดรู้
อมตธรรม ชนเหล่าใดได้กำหนดรู้กายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้กำหนดรู้
อมตธรรม (๑๑)
[๖๑๑] ชนเหล่าใดไม่ได้ทำกายคตาสติให้แจ้ง ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ได้ทำ
อมตธรรมให้แจ้ง ชนเหล่าใดได้ทำกายคตาสติให้แจ้ง ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้ทำ
อมตธรรมให้แจ้ง (๑๒)
(เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชมภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค)
อมตวรรคที่ ๒๐ จบ

เอกกนิบาต จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. กัมมกรณวรรค ๑. วัชชสูตร

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต
__________________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ปฐมปัณณาสก์

๑. กัมมกรณวรรค
หมวดว่าด้วยวิธีการลงโทษ
๑. วัชชสูตร
ว่าด้วยโทษ
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย โทษ ๒ ประการนี้
โทษ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โทษที่ให้ผลในภพนี้ ๒. โทษที่ให้ผลในภพหน้า
โทษที่ให้ผลในภพนี้ เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๕๗ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑. กัมมกรณวรรค ๑. วัชชสูตร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นพระราชารับสั่งให้จับโจรผู้มักประพฤติชั่วแล้วให้
ลงโทษทัณฑ์นานาชนิด คือ เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ตีด้วยไม้ตะบอง
บ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง ตัดหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งหู
และจมูกบ้าง ทำให้เป็นภาชนะสำหรับรองหม้อน้ำข้าวบ้าง ทำให้เกลี้ยงเกลาเหมือน
สังข์บ้าง ทำให้มีปากเหมือนปากราหูบ้าง ทำให้มีพวงมาลัยไฟบ้าง ทำให้มือมีไฟลุก
โชติช่วงบ้าง ทำให้เป็นเกลียวหนังเนื้อทรายบ้าง ทำให้นุ่งหนังตนเองเหมือนนุ่งผ้าขี้ริ้ว
บ้าง ทำให้ยืนกวางบ้าง ทำให้เหมือนเนื้อติดเบ็ดบ้าง ทำให้เป็นชิ้นเท่ากหาปณะบ้าง
ทำให้เป็นที่รับน้ำด่างบ้าง ทำให้หมุนเหมือนกลอนเหล็กบ้าง ทำให้เป็นตั่งที่ทำด้วย
ฟางบ้าง ราดด้วยน้ำมันร้อนบ้าง ให้สุนัขกัดกินบ้าง ให้นอนหงายบนหลาวทั้งที่ยัง
มีชีวิตอยู่บ้าง ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง
เขามีความคิดอย่างนี้ว่า “เพราะกรรมชั่วเช่นใดเป็นเหตุ พระราชารับสั่งให้จับ
โจรผู้มักประพฤติชั่ว แล้วให้ลงโทษทัณฑ์นานาชนิด คือ เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ตัด
ศีรษะด้วยดาบบ้าง ก็ถ้าเราเองพึงทำกรรมชั่วเช่นนั้น พระราชาพึงรับสั่งให้จับเรา
แล้วให้ลงโทษทัณฑ์นานาชนิดอย่างนี้ คือ เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ตัดศีรษะด้วย
ดาบบ้าง” เขากลัวโทษที่ให้ผลในภพนี้ ไม่เที่ยวแย่งชิงสิ่งของของคนอื่น ๆ นี้เรียกว่า
โทษที่ให้ผลในภพนี้
โทษที่ให้ผลในภพหน้า เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ผลของกายทุจริตเป็นผลที่
เลวทราม เป็นทุกข์ ซึ่งบุคคลจะต้องได้รับในภพหน้าแน่นอน ผลของวจีทุจริตเป็นผล
ที่เลวทราม เป็นทุกข์ ซึ่งบุคคลจะต้องได้รับในภพหน้าแน่นอน ผลของมโนทุจริตเป็น
ผลที่เลวทราม เป็นทุกข์ ซึ่งบุคคลจะต้องได้รับในภพหน้าแน่นอน ก็ถ้าเราพึง
ประพฤติชั่วทางกาย ประพฤติชั่วทางวาจา ประพฤติชั่วทางใจ ความชั่วบางอย่างนั้น
พึงเป็นเหตุให้เราหลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก” เขากลัวโทษ
ที่ให้ผลในภพหน้า จึงละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต
ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่า โทษที่ให้ผลใน
ภพหน้า
ภิกษุทั้งหลาย โทษ ๒ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๕๘ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑. กัมมกรณวรรค ๒. ปธานสูตร
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักกลัวโทษที่ให้ผล
ในภพนี้ จักกลัวโทษที่ให้ผลในภพหน้า จักเป็นคนขลาดต่อโทษ มีปกติเห็นโทษโดย
ความเป็นของน่ากลัว” เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล บุคคลผู้ขลาดต่อโทษ
มีปกติเห็นโทษโดยความเป็นของน่ากลัว พึงหวังเหตุแห่งความหลุดพ้นจากโทษ๑
ทั้งมวลได้
วัชชสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปธานสูตร
ว่าด้วยความเพียรที่เกิดได้ยาก
[๒] ภิกษุทั้งหลาย ความเพียรที่เกิดได้ยากในโลก ๒ ประการนี้
ความเพียร ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเพียรของพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนเพื่อทำให้เกิดเครื่อง
นุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค
๒. ความเพียรของผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อสละทิ้ง
อุปธิ๒ ทั้งปวง
ความเพียรที่เกิดได้ยากในโลก ๒ ประการนี้แล
บรรดาความเพียร ๒ ประการนี้ ความเพียรเพื่อสละทิ้งอุปธิทั้งปวงเป็นธรรม
ยอดเยี่ยม เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเริ่มตั้ง
ความเพียรเพื่อสละทิ้งอุปธิทั้งปวง๋
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
ปธานสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑. กัมมกรณวรรค ๔. อตปนียสูตร

๓. ตปนียสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน
[๓] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน ๒ ประการนี้
ธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้

๑. ทำแต่กายทุจริต ๒. ไม่ได้ทำกายสุจริต
๑. ทำแต่วจีทุจริต ๒. ไม่ได้ทำวจีสุจริต
๑. ทำแต่มโนทุจริต ๒. ไม่ได้ทำมโนสุจริต

เขาเดือดร้อนอยู่ว่า “เราทำแต่กายทุจริต ไม่ได้ทำกายสุจริต ทำแต่วจีทุจริต
ไม่ได้ทำวจีสุจริต ทำแต่มโนทุจริต ไม่ได้ทำมโนสุจริต”
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน ๒ ประการนี้แล
ตปนียสูตรที่ ๓ จบ

๔. อตปนียสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน
[๔] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน ๒ ประการนี้
ธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้

๑. ทำแต่กายทุจริต ๒. ไม่ได้ทำกายสุจริต
๑. ทำแต่วจีทุจริต ๒. ไม่ได้ทำวจีสุจริต
๑. ทำแต่มโนทุจริต ๒. ไม่ได้ทำมโนสุจริต

เขาย่อมไม่เดือดร้อนอยู่ว่า “เราทำแต่กายสุจริต ไม่ได้ทำกายทุจริต ทำแต่
วจีสุจริต ไม่ได้ทำวจีทุจริต ทำแต่มโนสุจริต ไม่ได้ทำมโนทุจริต”
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน ๒ ประการนี้แล
อตปนียสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑. กัมมกรณวรรค ๕. อุปัญญาตสูตร

๕. อุปัญญาตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ทรงรู้สัพพัญญุตญาณ
[๕] ภิกษุทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงธรรม ๒ ประการ
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความไม่สันโดษเพียงแค่กุศลธรรมทั้งหลาย
๒. ความไม่ท้อถอยในการบำเพ็ญเพียร
ภิกษุทั้งหลาย เราเริ่มตั้งความเพียรไม่ย่อหย่อนว่า “จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น
และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่พึง
บรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว
จักไม่หยุดความเพียร” สัมโพธิญาณนั้นเราบรรลุได้ด้วยความไม่ประมาท ธรรม
เป็นแดนเกษมจากโยคะที่ยอดเยี่ยม๑ เราก็บรรลุได้ด้วยความไม่ประมาท แม้ถ้าเธอ
ทั้งหลายพึงตั้งความเพียรไม่ย่อหย่อนว่า “จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็
ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่พึงบรรลุด้วย
เรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่
หยุดความเพียร” ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๒อันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแน่แท้
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเริ่มตั้งความ
เพียรไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดใน
สรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่พึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความ
เพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียร”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
อุปัญญาตสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑. กัมมกรณวรรค ๗. กัณหสูตร

๖. สัญโญชนสูตร
ว่าด้วยกิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์
[๖] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การเห็นธรรมที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์โดยความพอใจ
๒. การเห็นธรรมที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์โดยความเบื่อหน่าย
บุคคลผู้เห็นธรรมที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์โดยความพอใจอยู่ย่อมละราคะ โทสะ
และโมหะไม่ได้ เรากล่าวว่า “บุคคลยังละราคะ โทสะ และโมหะไม่ได้ ย่อมไม่พ้นจาก
ชาติ(ความเกิด) ชรา(ความแก่) มรณะ(ความตาย) โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ
(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) อุปายาส(ความคับ
แค้นใจ) และย่อมไม่พ้นจากทุกข์”๑
บุคคลผู้เห็นธรรมที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์โดยความเบื่อหน่ายอยู่ย่อมละราคะ
โทสะ และโมหะได้ เรากล่าวว่า “บุคคลละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว ย่อมพ้นจาก
ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส และย่อมพ้นจากทุกข์”
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้แล
สัญโญชนสูตรที่ ๖ จบ

๗. กัณหสูตร
ว่าด้วยธรรมฝ่ายดำ
[๗] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายดำ ๒ ประการนี้
ธรรมฝ่ายดำ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อหิริกะ (ความไม่อายบาป) ๒. อโนตตัปปะ (ความไม่กลัวบาป)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายดำ ๒ ประการนี้แล
กัณหสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑. กัมมกรณวรรค ๙. จริยสูตร

๘. สุกกสูตร
ว่าด้วยธรรมฝ่ายขาว
[๘] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ ประการนี้
ธรรมฝ่ายขาว ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. หิริ (ความอายบาป) ๒. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ ประการนี้แล
สุกกสูตรที่ ๘ จบ

๙. จริยสูตร
ว่าด้วยจริยธรรมคุ้มครองโลก
[๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ ประการย่อมคุ้มครองโลก๑
ธรรมฝ่ายขาว ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. หิริ ๒. โอตตัปปะ
ธรรมฝ่ายขาว ๒ ประการนี้แล หากไม่คุ้มครองโลก ชาวโลกไม่พึงบัญญัติว่า
“มารดา น้า ป้า ภรรยาของอาจารย์ หรือภรรยาของครู” โลกจักถึงความสำส่อน
กันเหมือนพวกแพะ แกะ ไก่ หมู สุนัขบ้าน และสุนัขจิ้งจอกฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะเหตุที่ธรรมฝ่ายขาว ๒ ประการนี้คุ้มครองโลก ฉะนั้น
ชาวโลกจึงบัญญัติคำว่า “มารดา น้า ป้า ภรรยาของอาจารย์ หรือภรรยาของครู”
จริยสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค

๑๐. วัสสูปนายิกสูตร
ว่าด้วยการเข้าพรรษา
[๑๐] ภิกษุทั้งหลาย การเข้าพรรษา ๒ อย่างนี้
การเข้าพรรษา ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การเข้าพรรษาต้น ๒. การเข้าพรรษาหลัง
ภิกษุทั้งหลาย การเข้าพรรษา ๒ อย่างนี้แล
วัสสูปนายิกสูตรที่ ๑๐ จบ
กัมมกรณวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วัชชสูตร ๒. ปธานสูตร
๓. ตปนียสูตร ๔. อตปนียสูตร
๕. อุปัญญาตสูตร ๖. สัญโญชนสูตร
๗. กัณหสูตร ๘. สุกกสูตร
๙. จริยสูตร ๑๐. วัสสูปนายิกสูตร

๒. อธิกรณวรรค
หมวดว่าด้วยอธิกรณ์
[๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พละ๑ ๒ ประการนี้
พละ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปฏิสังขานพละ (กำลังคือการพิจารณา)
๒. ภาวนาพละ (กำลังคือการเจริญ)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค
ปฏิสังขานพละ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ผลของกายทุจริตเป็นผลที่เลว
ทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า ผลของวจีทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพ
หน้า ผลของมโนทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า” บุคคลนั้นครั้นเห็น
ประจักษ์ดังนี้แล้วย่อมละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต
ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่า ปฏิสังขานพละ
ภาวนาพละ เป็นอย่างไร
คือ ในพละ ๒ ประการนั้น ภาวนาพละเป็นของพระเสขะ บุคคลนั้นอาศัยพละ
ของพระเสขะย่อมละราคะ โทสะ และโมหะได้ ครั้นละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว
เขาย่อมไม่ทำกรรมที่เป็นอกุศล ไม่ประพฤติกรรมที่เป็นบาป นี้เรียกว่า ภาวนาพละ
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ ประการนี้แล (๑)
[๑๒] พละ ๒ ประการนี้
พละ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปฏิสังขานพละ ๒. ภาวนาพละ
ปฏิสังขานพละ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ผลของกายทุจริตเป็นผลที่เลว
ทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า ผลของวจีทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพ
หน้า ผลของมโนทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า” บุคคลนั้นครั้นเห็น
ประจักษ์ดังนี้แล้วย่อมละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต
ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่า ปฏิสังขานพละ
ภาวนาพละ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้บำเพ็ญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ บำเพ็ญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ... บำเพ็ญวีริยสัมโพชฌงค์
... บำเพ็ญปีติสัมโพชฌงค์ ... บำเพ็ญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... บำเพ็ญสมาธิสัมโพชฌงค์
... บำเพ็ญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน
การสละ นี้เรียกว่า ภาวนาพละ
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ ประการนี้แล (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๖๕ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค
[๑๒] พละ ๒ ประการนี้
พละ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปฏิสังขานพละ ๒. ภาวนาพละ
ปฏิสังขานพละ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ผลของกายทุจริตเป็นผลที่เลว
ทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า ผลของวจีทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพ
หน้า ผลของมโนทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า” บุคคลนั้นครั้นเห็น
ประจักษ์ดังนี้แล้ว ย่อมละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต
ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่า ปฏิสังขานพละ
ภาวนาพละ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก๑อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่
มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ อนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมี
อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า “ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว
เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า ภาวนาพละ
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ ประการนี้แล (๓)
พระธรรมเทศนาของพระตถาคต ๒ แบบ
[๑๔] ธรรมเทศนาของตถาคต๒ ๒ แบบนี้
ธรรมเทศนาของตถาคต ๒ แบบ อะไรบ้าง คือ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค
๑. ธรรมเทศนาแบบย่อ๑ ๒. ธรรมเทศนาแบบพิสดาร๒
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของตถาคต ๒ แบบนี้แล (๔)
เหตุให้อธิกรณ์ยืดเยื้อและไม่ยืดเยื้อ
[๑๕] ในอธิกรณ์ใด๓ ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็นโจทก์ยังมิได้พิจารณา
ตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้นพึงหวังได้ดังนี้ว่า “จักเป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความ
รุนแรง๔ เพื่อความร้ายแรง๕ และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก” ส่วนในอธิกรณ์ใด
ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็นโจทก์พิจารณาตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้นพึงหวังได้
ดังนี้ว่า “จักไม่เป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายแรง และ
ภิกษุทั้งหลายจักอยู่ผาสุก”
ภิกษุผู้ต้องอาบัติพิจารณาตนเองให้ดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้ต้องอาบัติในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “เราแลต้องอาบัติที่
เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงได้เห็นว่าเราต้องอาบัติที่เป็น
อกุศลทางกายบางอย่าง ถ้าเราไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง ภิกษุ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค
นั้นก็ไม่พึงเห็นว่าเราต้องอาบัติที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง ก็เพราะเราต้องอาบัติ
ที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงได้เห็นว่าเราต้องอาบัติที่เป็นอกุศล
ทางกายบางอย่าง ครั้นเห็นแล้วจึงไม่พอใจ ภิกษุนั้นเมื่อไม่พอใจ จึงว่ากล่าวเราผู้มี
วาจาไม่น่าพอใจ เราผู้มีวาจาไม่น่าพอใจถูกภิกษุนั้นว่ากล่าว จึงไม่พอใจ เมื่อไม่พอใจ
จึงบอกแก่ผู้อื่นว่า “ด้วยเหตุนี้ โทษในอธิกรณ์นั้นจึงครอบงำแต่เฉพาะเราเท่านั้น
เหมือนในเรื่องสินค้า โทษย่อมครอบงำเฉพาะบุคคลผู้จำต้องเสียภาษี”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ต้องอาบัติพิจารณาตนเองให้ดีเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้เป็นโจทก์พิจารณาตนเองให้ดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้เป็นโจทก์ในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ภิกษุนี้แลต้องอาบัติที่
เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง เพราะเหตุนั้น เราจึงได้เห็นว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติที่เป็น
อกุศลทางกายบางอย่าง ถ้าภิกษุนี้ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง
เราก็ไม่พึงเห็นว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง ก็เพราะภิกษุนี้ต้อง
อาบัติที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง ฉะนั้น เราจึงได้เห็นว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติที่เป็น
อกุศลทางกายบางอย่าง ครั้นเห็นแล้วจึงไม่พอใจ เราเมื่อไม่พอใจ ได้ว่ากล่าวภิกษุนี้
ผู้มีวาจาไม่น่าพอใจ ภิกษุนี้ผู้มีวาจาไม่น่าพอใจนี้ถูกเราว่ากล่าว จึงไม่พอใจ เมื่อไม่
พอใจจึงบอกแก่ผู้อื่นว่า “ด้วยเหตุนี้ โทษในอธิกรณ์นั้นจึงครอบงำแต่เฉพาะเรา
เท่านั้นเหมือนในเรื่องสินค้า โทษย่อมครอบงำเฉพาะบุคคลผู้จำต้องเสียภาษี”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์พิจารณาตนเองให้ดีเป็นอย่างนี้แล
ในอธิกรณ์ใด ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็นโจทก์ยังไม่พิจารณาตนเองให้ดี
ในอธิกรณ์นั้นพึงหวังได้ดังนี้ว่า “จักเป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความรุนแรง เพื่อ
ความร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก”
ส่วนในอธิกรณ์ใด ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็นโจทก์พิจารณาตนเองให้ดี
ในอธิกรณ์นั้นพึงหวังได้ดังนี้ว่า “จักไม่เป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความรุนแรง
เพื่อความร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ผาสุก” (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๖๘ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค

เหตุให้เกิดในทุคติและสุคติ
[๑๖] ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๑ ได้ทูล
ถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่สม่ำ
เสมอ คือประพฤติไม่ชอบธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
พราหมณ์ทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติสม่ำ
เสมอ คือประพฤติชอบธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์”
พราหมณ์นั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดม
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่ง
นัก ท่านพระโคดมประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคล
หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด๒โดย
ตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระ
ธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” (๖)
[๑๗] ครั้งนั้น พราหมณ์ชานุสโสณิเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูล

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค
ถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะทำและเพราะไม่ทำ”
พราหมณ์ชานุสโสณิทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย
ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์เพราะทำและไม่ทำอย่างนี้”
พราหมณ์นั้นกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ย่อมไม่รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตที่
ท่านพระโคดมตรัสไว้โดยย่อโดยพิสดารได้ ขอประทานวโรกาส ขอท่านพระโคดม
โปรดแสดงธรรมโดยวิธีที่ข้าพระองค์จะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตที่ท่านพระโคดม
ตรัสไว้โดยย่อได้โดยพิสดารเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
พราหมณ์ชานุสโสณิทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
“พราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำแต่กายทุจริต ไม่ทำกายสุจริต ทำแต่
วจีทุจริต ไม่ทำวจีสุจริต ทำแต่มโนทุจริต ไม่ทำมโนสุจริต สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะทำและเพราะไม่ทำ
อย่างนี้แล ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ทำแต่กายสุจริต ไม่ทำกายทุจริต ทำแต่วจีสุจริต
ไม่ทำวจีทุจริต ทำแต่มโนสุจริต ไม่ทำมโนทุจริต สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตาย
แล้วจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์เพราะทำและเพราะไม่ทำอย่างนี้แล”
พราหมณ์ชานุสโสณิกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระ
โคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” (๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๗๐ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค

โทษแห่งทุจริต ๕ อย่าง
[๑๘] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “อานนท์ กายทุจริต
วจีทุจริตและมโนทุจริต เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำโดยส่วนเดียว”
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลทำกายทุจริต
วจีทุจริต และมโนทุจริตที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำโดยส่วนเดียว
บุคคลนั้นจะได้รับโทษอะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เมื่อบุคคลทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตที่เรา
กล่าวว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำโดยส่วนเดียว บุคคลนั้นจะได้รับโทษดังต่อไปนี้ คือ (๑)
แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้ (๒) ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมติเตียนได้ (๓) กิตติศัพท์อันชั่ว
ย่อมกระฉ่อนไป (๔) หลงลืมสติตาย (๕) หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก เมื่อบุคคลทำกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริตที่เรากล่าวว่าไม่ควร
ทำโดยส่วนเดียว บุคคลนั้นจะได้รับโทษนี้”
อานิสงส์แห่งสุจริต ๕ อย่าง
อานนท์ กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรทำโดย
ส่วนเดียว
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลทำกายสุจริต
วจีสุจริต และมโนสุจริตที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าควรทำโดยส่วนเดียว บุคคลนั้นจะ
ได้รับอานิสงส์อะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต
ที่เรากล่าวว่าควรทำโดยส่วนเดียว บุคคลนั้นจะได้รับอานิสงส์ดังต่อไปนี้ คือ (๑) แม้
ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้ (๒) ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมสรรเสริญ (๓) กิตติศัพท์อันงาม
ย่อมขจรไป (๔) ไม่หลงลืมสติตาย (๕) หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริตที่เรากล่าวว่าควรทำโดยส่วนเดียว
บุคคลนั้นจะได้รับอานิสงส์นี้” (๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๗๑ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค

การละอกุศลและการบำเพ็ญกุศล
[๑๙] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละอกุศล บุคคลสามารถละอกุศลได้ ถ้า
บุคคลไม่สามารถละอกุศลนี้ได้ เราไม่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงละอกุศล”
ก็เพราะบุคคลสามารถละอกุศลได้ ฉะนั้นเราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงละ
อกุศล” ถ้าอกุศลนี้ที่บุคคลละได้แล้วพึงเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เราไม่พึง
กล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงละอกุศล” ก็เพราะอกุศลที่บุคคลละได้แล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข ฉะนั้นเราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงละอกุศล”
เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศล บุคคลสามารถบำเพ็ญกุศลได้ ถ้าบุคคลไม่สามารถ
บำเพ็ญกุศลนี้ได้ เราไม่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศล” ก็เพราะ
บุคคลสามารถบำเพ็ญกุศลได้ ฉะนั้นเราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศล”
ถ้ากุศลนี้ที่บุคคลบำเพ็ญแล้วพึงเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เราไม่พึงกล่าวอย่าง
นี้ว่า “เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศล” ก็เพราะกุศลที่บุคคลบำเพ็ญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ
เกื้อกูล เพื่อสุข ฉะนั้นเราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศล” (๙)
ธรรมที่ทำให้ศาสนาเสื่อมและเจริญ
[๒๐] ธรรม ๒ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาไม่ดี๑
๒. อรรถที่สืบทอดขยายความไม่ดี๒
แม้อรรถแห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดีก็ชื่อว่าเป็นการสืบทอดขยายความไม่ดี
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไป
แห่งสัทธรรม (๑๐)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๓. พาลวรรค
[๒๑] ธรรม ๒ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หาย
ไปแห่งสัทธรรม
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาดี
๒. อรรถที่สืบทอดขยายความดี
แม้อรรถแห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ดีก็ชื่อว่าเป็นการสืบทอดขยายความดี
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่
เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๑๑)
อธิกรณวรรคที่ ๒ จบ

๓. พาลวรรค
หมวดว่าด้วยคนพาล
[๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้
คนพาล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ
๒. คนที่ไม่ยอมรับตามความเป็นจริงเมื่อบุคคลอื่นแสดงโทษ
คนพาล ๒ จำพวกนี้แล
บัณฑิต ๒ จำพวกนี้
บัณฑิต ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ
๒. คนที่ยอมรับตามความเป็นจริงเมื่อบุคคลอื่นแสดงโทษ
บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล (๑)
[๒๓] คน ๒ จำพวกนี้ย่อมกล่าวตู่ตถาคต
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๗๓ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๓. พาลวรรค
๑. คนเจ้าโทสะที่มีความโหดร้ายอยู่ภายใน
๒. คนที่เชื่อโดยยึดถือผิด
คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมกล่าวตู่ตถาคต (๒)
[๒๔] คน ๒ จำพวกนี้ย่อมกล่าวตู่ตถาคต
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคต
ได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้”
๒. คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคต
ไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้”
คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมกล่าวตู่ตถาคต
คน ๒ จำพวกนี้ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคต
ไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้”
๒. คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคตได้
ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้”
คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต (๓)
[๒๕] คน ๒ จำพวกนี้ย่อมกล่าวตู่ตถาคต
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่แสดงสุตตันตะที่ควรขยายความว่า “สุตตันตะมีการขยาย
ความแล้ว”
๒. คนที่แสดงสุตตันตะที่มีการขยายความแล้วว่า “สุตตันตะที่ควร
ขยายความ”
คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมกล่าวตู่ตถาคต (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๗๔ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๓. พาลวรรค
[๒๖] คน ๒ จำพวกนี้ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่แสดงสุตตันตะที่ควรขยายความว่า “สุตตันตะควรขยาย
ความ”
๒. คนที่แสดงสุตตันตะที่มีการขยายความแล้วว่า “สุตตันตะที่มี
การขยายความแล้ว”
คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต (๕)
คติและฐานะ ๒ อย่างเป็นต้น
[๒๗] ผู้มีการงานปกปิดไว้๑ พึงหวังได้๒คติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ
นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ผู้มีการงานไม่ปกปิดไว้พึงหวังได้คติอย่าง ๑ ใน ๒
อย่าง คือ เทวดาหรือมนุษย์ (๖)
[๒๘] ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิพึงหวังได้คติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือ
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน (๗)
[๒๙] ผู้เป็นสัมมาทิฏฐิพึงหวังได้คติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ เทวดาหรือ
มนุษย์ (๘)
[๓๐] สถานที่รองรับคนทุศีล ๒ แห่ง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
สถานที่รองรับคนมีศีล ๒ แห่ง คือ เทวดาหรือมนุษย์ (๙)
[๓๑] เราพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์๓ ๒ ประการจึงอาศัยเสนาสนะอัน
เงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ๔

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๓. พาลวรรค
อำนาจประโยชน์ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เห็นการอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของตน๑
๒. อนุเคราะห์คนรุ่นหลัง
เราพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้แลจึงอาศัยเสนาสนะอันเงียบ
สงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ (๑๐)
[๓๒] ธรรม ๒ ประการนี้เป็นฝ่ายวิชชา
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สมถะ (การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ)
๒. วิปัสสนา (ความเห็นแจ้ง)
สมถะที่ภิกษุเจริญแล้วย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร
คือ ย่อมให้จิตเจริญ
จิต๒ที่เจริญแล้วย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร
คือ ย่อมละราคะได้
วิปัสสนาที่ภิกษุเจริญแล้วย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร
คือ ย่อมให้ปัญญาเจริญ
ปัญญาที่เจริญแล้วย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร
คือ ย่อมละอวิชชาได้
จิตที่เศร้าหมองเพราะราคะย่อมไม่หลุดพ้น ปัญญา๓ที่เศร้าหมองเพราะอวิชชา
ย่อมไม่เจริญ เพราะสำรอกราคะจึงมีเจโตวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชา จึงมีปัญญา-
วิมุตติ (๑๑)
พาลวรรคที่ ๓ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

๔. สมจิตตวรรค
หมวดว่าด้วยเทวดาพร้อมใจกัน
[๓๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภูมิอสัตบุรุษและภูมิ
สัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภูมิอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษเป็นคนอกตัญญู๑ เป็นคนอกตเวที๒ ความเป็นคนอกตัญญู
ความเป็นคนอกตเวที อสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ความเป็นคนอกตัญญู และ
ความเป็นคนอกตเวที ทั้งหมดนี้เป็นภูมิอสัตบุรุษ
ภูมิสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ สัตบุรุษเป็นคนกตัญญู เป็นคนกตเวที ความเป็นคนกตัญญู ความเป็นคน
กตเวที สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ความเป็นคนกตัญญู และความเป็นคนกตเวที
ทั้งหมดนี้เป็นภูมิสัตบุรุษ (๑)
การตอบแทนที่ทำได้ยาก
[๓๔] การทำตอบแทนแก่ท่านทั้งสองเราไม่กล่าวว่าเป็นการทำได้โดยง่าย
ท่านทั้งสองคือใคร คือ มารดาและบิดา ถึงบุตรจะมีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี
ประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง ประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง ปฏิบัติ
ท่านทั้งสองนั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ และการบีบนวด๓ และแม้
ท่านทั้งสองนั้นจะถ่ายอุจจาระและปัสสาวะลงบนบ่าทั้งสองของเขานั่นแล การ
กระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่าอันบุตรได้ทำ หรือทำตอบแทนแก่มารดาและบิดาเลย ถึง
บุตรจะสถาปนามารดาและบิดาไว้ในราชสมบัติซึ่งเป็นเจ้าเหนือหัวแห่งแผ่นดินใหญ่ที่มี

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค
รัตนะ ๗ ประการมากมายนี้ การกระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่าอันบุตรได้ทำ หรือทำ
ตอบแทนแก่มารดาและบิดาเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาและบิดามีอุปการะ
มาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย
ส่วนบุตรคนใดให้มารดาและบิดาผู้ไม่มีศรัทธา สมาทาน ตั้งมั่น ดำรงอยู่ใน
สัทธาสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา) ให้มารดาและบิดาผู้ทุศีล สมาทาน ตั้งมั่น
ดำรงอยู่ในสีลสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยศีล) ให้มารดาและบิดาผู้ตระหนี่ สมาทาน
ตั้งมั่น ดำรงอยู่ในจาคสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยการเสียสละ) ให้มารดาและบิดาผู้
ไม่มีปัญญา สมาทาน ตั้งมั่น ดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้นชื่อว่าอันบุตรได้ทำและทำตอบแทน
แก่มารดาและบิดา (๒)
วาทะ ๒ อย่าง
[๓๕] ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูล
ถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดมมีวาทะ๑อย่างไร กล่าวถึงอะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เรามีวาทะว่าควรทำ และมีวาทะว่า
ไม่ควรทำ”
พราหมณ์ทูลถามว่า “ท่านพระโคดมมีวาทะว่าควรทำและมีวาทะว่าไม่ควรทำ
อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เรากล่าวว่า ไม่ควรทำกายทุจริต วจีทุจริต และ
มโนทุจริต ไม่ควรทำบาปอกุศลธรรมหลายอย่าง แต่ควรทำกายสุจริต วจีสุจริต และ
มโนสุจริต ควรทำกุศลธรรมหลายอย่าง พราหมณ์ เรามีวาทะว่าควรทำและมีวาทะ
ว่าไม่ควรทำอย่างนี้แล”

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค
พราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” (๓)
ทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวก
[๓๖] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ทักขิไณยบุคคล(คนที่ควรแก่ของทำบุญ)ในโลกมีกี่จำพวก และควรให้ทาน
ในเขตไหน
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ในโลกมีทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. พระเสขะ (ผู้ยังต้องศึกษา)
๒. พระอเสขะ (ผู้ไม่ต้องศึกษา)
ในโลกมีทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวกนี้แล และพึงให้ทานในเขตนี้
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้ พระสุคตศาสดาครั้นตรัสพระดำรัสนี้แล้ว
ได้ตรัสพระคาถาประพันธ์นี้ต่อไปอีกว่า
ในโลกนี้ พระเสขะและพระอเสขะ
เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาของทายกผู้บูชาอยู่
พระเสขะและพระอเสขะเหล่านั้นเป็นคนตรง
ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
นี้เป็นเขต๑ของทายกผู้บูชาอยู่
ทานที่ให้ในเขตนี้มีผลมาก (๔)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

บุคคลผู้มีสังโยชน์ ๒ จำพวก
[๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่ปราสาทของวิสาขามิคาร-
มาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นตอบรับแล้ว ท่านพระสารีบุตร
จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลที่มีสังโยชน์ภายใน๑ และบุคคลที่มี
สังโยชน์ภายนอก๒ ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นตอบรับแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
บุคคลผู้มีสังโยชน์ภายใน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระ(มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัยในโทษแม้
เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นหลังจากมรณภาพแล้วจะ
ไปเกิดในหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง๓ เธอจุติจากอัตภาพนั้น เป็นอาคามี กลับมาสู่ความ
เป็นมนุษย์นี้
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์ภายใน เป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้
บุคคลผู้มีสังโยชน์ภายนอก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษา

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค
อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นบรรลุเจโตวิมุตติที่สงบอย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุนั้น
หลังจากมรณภาพแล้วจะไปเกิดในหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง๑ เธอจุติจากอัตภาพนั้นเป็น
อนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์ภายนอก เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็น
มนุษย์นี้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบ
พร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ
ดับกามทั้งหลาย ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับภพ
ทั้งหลาย เธอปฏิบัติเพื่อสิ้นตัณหา เธอปฏิบัติเพื่อสิ้นความโลภ หลังจากมรณภาพ
แล้วจะไปเกิดในหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง เธอจุติจากอัตภาพนั้นเป็นอนาคามีไม่กลับมา
สู่ความเป็นมนุษย์นี้
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์ภายนอกเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็น
มนุษย์นี้
ครั้งนั้น เทวดาจำนวนมากพร้อมใจกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว ได้ยืน ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ณ ปราสาทของวิสาขามิคารมาตา ในบุพพาราม ท่านพระสารีบุตร
นั้นกำลังเทศนาถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ภายในและบุคคลที่มีสังโยชน์ภายนอกให้ภิกษุ
ทั้งหลายฟัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัทต่างร่าเริง ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มี
พระภาคทรงพระกรุณาเสด็จไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ต่อจากนั้น ได้ทรงหายจาก
พระเชตวันไปปรากฏต่อหน้าท่านพระสารีบุตรที่ปราสาทของวิสาขามิคารมาตาใน
บุพพาราม เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น พระผู้มี
พระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ฝ่ายท่านพระสารีบุตรก็ถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
สารีบุตร เทวดาจำนวนมากพร้อมใจกันเข้าไปหาเราถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่
ณ ที่สมควร ได้กล่าวดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ณ ปราสาทของวิสาขามิคาร-
มาตา ในบุพพาราม ท่านพระสารีบุตรนั้นกำลังเทศนาถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ภายใน
และบุคคลที่มีสังโยชน์ภายนอกให้ภิกษุทั้งหลายฟัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัท
ต่างร่าเริง ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงพระกรุณาเสด็จไปหาท่าน
พระสารีบุตรถึงที่อยู่เถิด” เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ในพื้นที่มีขนาดพอที่ปลายเหล็ก
แหลมจรดลงได้ จำนวน ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง ๓๐ องค์บ้าง ๔๐ องค์บ้าง
๕๐ องค์บ้าง ๖๐ องค์บ้าง แต่ก็ไม่เบียดเสียดกัน
เธออาจมีความคิดอย่างนี้ว่า “จิตซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในพื้น
ที่มีขนาดพอที่ปลายเหล็กแหลมจรดลงได้จำนวน ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง
๓๐ องค์บ้าง ๔๐ องค์บ้าง ๕๐ องค์บ้าง ๖๐ องค์บ้าง แต่ก็ไม่เบียดเสียดกันอย่าง
นั้น เป็นจิตอันเทวดาเหล่านั้นได้เจริญในภพนั้นแน่นอน” ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นอย่าง
นั้น จิตซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในพื้นที่มีขนาดพอที่ปลายเหล็กแหลม
จรดลงได้ จำนวน ๑๐ องค์บ้าง ฯลฯ แต่ก็ไม่เบียดเสียดกันอย่างนั้น เป็นจิตอัน
เทวดาเหล่านั้นได้เจริญในธรรมวินัยนี้นั่นเอง
เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเป็นผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจ
สงบ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ ก็จักสงบด้วย
เราจักนำกายและจิตที่สงบเท่านั้นเข้าไปในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย”
สารีบุตร เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
สารีบุตร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ได้เสียโอกาส
แล้ว (๕)
เหตุปัจจัยแห่งการวิวาท
[๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกัททมทหะ เขตเมืองวรณา
ครั้งนั้น พราหมณ์อารามทัณฑะเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ได้สนทนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๘๒ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่าน
พระมหากัจจานะดังนี้ว่า “ท่านกัจจานะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้แม้กษัตริย์
ก็ขัดแย้งกับกษัตริย์ แม้พราหมณ์ก็ขัดแย้งกับพราหมณ์ แม้คหบดีก็ขัดแย้งกับ
คหบดี”
พระมหากัจจานะตอบว่า “พราหมณ์ เพราะความยึดมั่นกามราคะ ตกอยู่ใน
อำนาจกามราคะ กำหนัดยินดีในกามราคะ ถูกกามราคะกลุ้มรุม และถูกกามราคะ
ครอบงำเป็นเหตุ แม้กษัตริย์ก็ขัดแย้งกับกษัตริย์ แม้พราหมณ์ก็ขัดแย้งกับพราหมณ์
แม้คหบดีก็ขัดแย้งกับคหบดี”
พราหมณ์อารามทัณฑะถามว่า “อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สมณะขัดแย้ง
กับสมณะ”
พระมหากัจจานะตอบว่า “เพราะความยึดมั่นทิฏฐิราคะ๑ ตกอยู่ในอำนาจทิฏฐิ
ราคะ กำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ ถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม และถูกทิฏฐิราคะครอบงำเป็น
เหตุ แม้สมณะก็ขัดแย้งกับสมณะ”
พราหมณ์อารามทัณฑะถามว่า “บุคคลที่ล่วงพ้นความยึดมั่นกามราคะ การ
ตกอยู่ในอำนาจกามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุม
และการถูกกามราคะครอบงำนี้ และบุคคลที่ล่วงพ้นความยึดมั่นทิฏฐิราคะ การตก
อยู่ในอำนาจทิฏฐิราคะ ความกำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ การถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม
และการถูกทิฏฐิราคะครอบงำนี้ยังมีอยู่ในโลกหรือ”
พระมหากัจจานะตอบว่า “บุคคลที่ล่วงพ้นความยึดมั่นกามราคะ การตกอยู่ใน
อำนาจกามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุม และการ
ถูกกามราคะครอบงำนี้ และบุคคลที่ล่วงพ้นความยึดมั่นทิฏฐิราคะ การตกอยู่ใน
อำนาจทิฏฐิราคะ ความกำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ การถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม และ
การถูกทิฏฐิราคะครอบงำนี้ยังมีอยู่ในโลก”

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค
พราหมณ์อารามทัณฑะถามว่า “ก็ใครในโลกที่ล่วงพ้นความยึดมั่นกามราคะ
การตกอยู่ในอำนาจกามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะ
กลุ้มรุม และการถูกกามราคะครอบงำนี้ และที่ล่วงพ้นความยึดมั่นทิฏฐิราคะ การ
ตกอยู่ในอำนาจทิฏฐิราคะ ความกำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ การถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม
และการถูกทิฏฐิราคะครอบงำนี้”
พระมหากัจจานะตอบว่า “ในชนบทด้านทิศตะวันออกมีเมืองหลวงชื่อสาวัตถี
ณ กรุงสาวัตถีนั้น ขณะนี้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นกำลัง
ประทับอยู่ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงล่วงพ้นความยึดมั่นกามราคะ การตกอยู่
ในอำนาจกามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุม
และการถูกกามราคะครอบงำนี้ และทรงล่วงพ้นความยึดมั่นทิฏฐิราคะ การตกอยู่ใน
อำนาจทิฏฐิราคะ ความกำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ การถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม และการ
ถูกทิฏฐิราคะครอบงำนี้”
เมื่อพระมหากัจจานะตอบอย่างนี้แล้ว พราหมณ์อารามทัณฑะได้ลุกจากที่นั่ง
ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกเข่าข้างขวาลงบนแผ่นดิน ประนมมือไปยังทิศที่พระผู้มี
พระภาคประทับอยู่ อุทานขึ้น ๓ ครั้งว่า
“ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบ
น้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมพระผู้มี
พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ทรงล่วงพ้นความยึดมั่นกามราคะ
การตกอยู่ในอำนาจกามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะ
กลุ้มรุม และการถูกกามราคะครอบงำนี้ และทรงล่วงพ้นความยึดมั่นทิฏฐิราคะ การ
ตกอยู่ในอำนาจทิฏฐิราคะ ความกำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ การถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม
และการถูกทิฏฐิราคะครอบงำนี้
ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่าน
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านกัจจานะประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบ
เหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีป
ในที่มืดโดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดมพระองค์
นั้น พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านกัจจานะจงจำข้าพเจ้าว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๘๔ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

ภูมิคนแก่และภูมิคนหนุ่ม
[๓๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ที่ป่าคุนทาวัน เขตเมืองมธุรา
ครั้งนั้น พราหมณ์กัณฑรายนะเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ได้สนทนา
ปราศรัย ฯลฯ พราหมณ์กัณฑรายนะผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า “ท่าน
กัจจานะ ข้าพเจ้าได้ฟังมาว่า สมณะกัจจานะไม่ยอมกราบ ไม่ลุกรับพวกพราหมณ์
ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย หรือไม่เชื้อเชิญให้นั่ง ท่านกัจจานะ เรื่องที่
ข้าพเจ้าได้ทราบมานั้นจริงทีเดียว การที่ท่านกัจจานะทำเช่นนั้นไม่สมควรเลย”
ท่านพระมหากัจจานะตอบว่า “ภูมิคนแก่และภูมิคนหนุ่มที่พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงรู้ทรงเห็นพระองค์นั้นตรัสไว้มีอยู่ ถึงแม้นับแต่เกิดมา
บุคคลจะเป็นคนแก่มีอายุ ๘๐ ปี ๙๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปี แต่เขายังบริโภคกาม อยู่ใน
ท่ามกลางกาม ถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผา ถูกกามวิตกกัดกินอยู่ ยังเป็นผู้
ขวนขวายเพื่อแสวงหากาม เขาย่อมถึงการนับว่าเป็นหนุ่ม ไม่ใช่ผู้ใหญ่แท้ ถึงแม้ว่า
จะเป็นเด็ก๑ ยังหนุ่มมีผมดำสนิท ประกอบด้วยความเป็นคนหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย
แต่เขาไม่บริโภคกาม ไม่อยู่ในท่ามกลางกาม ไม่ถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผา
ไม่ถูกกามวิตกกัดกินอยู่ ไม่ขวนขวายเพื่อแสวงหากาม เขาย่อมถึงการนับว่า
เป็นบัณฑิต เป็นผู้ใหญ่แท้”
เมื่อท่านพระมหากัจจานะกล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์กัณฑรายนะได้ลุกจากที่
นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าของภิกษุหนุ่ม ๑๐๐ รูป ด้วยเศียรเกล้า
กล่าวว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ใหญ่ ตั้งอยู่ในภูมิของผู้ใหญ่ แต่ข้าพเจ้าเป็น
เด็ก ตั้งอยู่ในภูมิของเด็ก ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอ
ท่าน กัจจานะจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอด
ชีวิต” (๗)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๔. สมจิตตวรรค

สมัย ๒ อย่าง
[๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาที่พวกโจรมีกำลัง๑ พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลายย่อม
อ่อนกำลัง ในสมัยนั้น พระเจ้าแผ่นดินย่อมไม่สะดวกที่จะเสด็จผ่านไป เสด็จออกไป
หรือออกคำสั่งไปยังชนบทชายแดน แม้พวกพราหมณ์และคหบดีก็ไม่สะดวกที่จะ
ผ่านไป ออกไป หรือตรวจตราการงานภายนอก
ในทำนองเดียวกัน ในเวลาที่พวกภิกษุเลวทรามมีกำลัง๒ พวกภิกษุผู้มีศีลเป็น
ที่รักย่อมอ่อนกำลัง ในสมัยนั้น ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักย่อมนิ่งเงียบ นั่งในท่ามกลาง
สงฆ์หรืออพยพไปอยู่ชนบทชายแดน ข้อนี้นั้นย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก
เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ในเวลาที่พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลายมีกำลัง พวกโจรย่อมอ่อนกำลัง ในสมัยนั้น
พระเจ้าแผ่นดินย่อมมีความสะดวกที่จะเสด็จผ่านไป เสด็จออกไป หรือออกคำสั่งไป
ยังชนบทชายแดน แม้พวกพราหมณ์และคหบดีก็มีความสะดวกที่จะผ่านไป ออกไป
หรือตรวจตราการงานภายนอก
ในทำนองเดียวกัน ในเวลาที่ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักมีกำลัง ภิกษุเลวทรามย่อม
อ่อนกำลัง ในสมัยนั้น ภิกษุเลวทรามย่อมนิ่งเงียบ นั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์หรือออก
ไปทางใดทางหนึ่ง ข้อนี้นั้นย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก
เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (๘)
การปฏิบัติที่ทรงสรรเสริญและไม่ทรงสรรเสริญ
[๔๑] ภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญการปฏิบัติผิดของคน ๒ จำพวก คือ
คฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิด เพราะการปฏิบัติผิดเป็นเหตุ
ย่อมไม่ทำให้ญายกุศลธรรม๓สำเร็จบริบูรณ์

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค
ภิกษุทั้งหลาย เราสรรเสริญการปฏิบัติชอบของคน ๒ จำพวก คือ คฤหัสถ์
หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติชอบ เพราะการปฏิบัติชอบเป็นเหตุย่อม
ทำให้ญายกุศลธรรมสำเร็จบริบูรณ์ (๙)
บุคคลผู้ทำให้ศาสนาเสื่อมและเจริญ
[๔๒] ภิกษุพวกที่คัดค้านอรรถและธรรมโดยสูตรที่ตนเรียนไว้ไม่ดีด้วยพยัญชน-
ปฏิรูป๑นั้นชื่อว่าปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อ
ไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุย่อมประสพสิ่งไม่ใช่บุญเป็นอันมาก และชื่อว่าทำให้สัทธรรมนี้สูญหายไป
ภิกษุพวกที่อนุโลมอรรถและธรรมโดยสูตรที่ตนเรียนไว้ดีด้วยพยัญชนปฏิรูปนั้น
ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คน
หมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพ
บุญเป็นอันมาก และชื่อว่าดำรงสัทธรรมนี้ไว้ได้ (๑๐)
สมจิตตวรรคที่ ๔ จบ

๕. ปริสวรรค
หมวดว่าด้วยบริษัท
[๔๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้
บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บริษัทตื้น ๒. บริษัทลึก
บริษัทตื้น เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า
พูดพร่ำเพรื่อ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวม
อินทรีย์ บริษัทเช่นนี้เรียกว่า บริษัทตื้น

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค
บริษัทลึก เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่โลเล ไม่
ปากกล้า ไม่พูดพร่ำเพรื่อ มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตแน่วแน่
สำรวมอินทรีย์ บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทลึก
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล
บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทลึกเป็นเลิศ (๑)
[๔๔] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้
บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บริษัทที่แตกแยกกัน ๒. บริษัทที่สามัคคีกัน
บริษัทที่แตกแยกกัน เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุต่างบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน
ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่แตกแยกกัน
บริษัทที่สามัคคีกัน เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน
เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ บริษัทนี้เรียกว่า
บริษัทที่สามัคคีกัน
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล
บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่สามัคคีกันเป็นเลิศ (๒)
[๔๕] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้
บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บริษัทที่ไม่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม
๒. บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม
บริษัทที่ไม่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๘๘ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุเถระเป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน๑ เป็น
ผู้นำในโวกกมนธรรม๒ ทอดธุระ๓ในปวิเวก๔ ไม่ปรารภความเพียร๕เพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คน
รุ่นหลังพากันตามอย่างพวกภิกษุเถระเหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้นก็เป็นผู้มักมาก
เป็นผู้ย่อหย่อน เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม ทอดธุระในปวิเวก ไม่ปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำ
ให้แจ้ง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่ไม่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม
บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุเถระ ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน หมดธุระใน
โวกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คนรุ่นหลังพากัน
ตามอย่างพวกภิกษุเถระเหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้นก็ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน
หมดธุระในโวกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง บริษัทนี้เรียกว่า
บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล
บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยมเป็นเลิศ (๓)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค
[๔๖] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้
บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บริษัทที่ไม่เป็นอริยะ ๒. บริษัทที่เป็นอริยะ
บริษัทที่ไม่เป็นอริยะ เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้
ทุกขสมุทัย(เหตุเกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)” บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่ไม่เป็นอริยะ
บริษัทที่เป็นอริยะ เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้
ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่เป็น
อริยะ
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล
บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่เป็นอริยะเป็นเลิศ (๔)
[๔๗] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้
บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บริษัทหยากเยื่อ ๒. บริษัทใสสะอาด
บริษัทหยากเยื่อ เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุถึงฉันทาคติ(ลำเอียงเพราะชอบ)
โทสาคติ(ลำเอียงเพราะชัง) โมหาคติ(ลำเอียงเพราะหลง) ภยาคติ(ลำเอียงเพราะ
กลัว) บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทหยากเยื่อ
บริษัทใสสะอาด เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุไม่ถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ
ภยาคติ บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทใสสะอาด
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล
บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทใสสะอาดเป็นเลิศ (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๙๐ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค
[๔๘] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้
บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บริษัทที่ดื้อด้าน ไม่ไต่ถาม และไม่ได้รับการแนะนำ
๒. บริษัทที่ไต่ถาม ได้รับการแนะนำ และไม่ดื้อด้าน
บริษัทที่ดื้อด้าน ไม่ไต่ถาม และไม่ได้รับการแนะนำ เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ ล้ำลึก มีเนื้อ
ความลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วยความว่าง พวกภิกษุไม่ตั้งใจฟังให้ดี
ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และไม่ให้ความสำคัญธรรมว่าควรเรียน
ควรท่องจำให้ขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ท่านผู้เชี่ยวชาญได้รจนาไว้เป็นบทกวี
มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร อยู่ภายนอก๑เป็นสาวกภาษิต๒ ภิกษุเหล่านั้นกลับ
ตั้งใจฟังอย่างดี เงี่ยหูฟัง เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และให้ความสำคัญธรรมว่าควร
เรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ ครั้นท่องจำธรรมนั้นแล้ว ไม่สอบสวน ไม่ไต่ถามกันว่า
“พุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ภิกษุเหล่านั้นไม่
เปิดเผยธรรมที่ยังไม่ได้เปิดเผย ไม่ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย และไม่
บรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่าง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่ดื้อด้าน
ไม่ไต่ถาม และไม่ได้รับการแนะนำ
บริษัทที่ไต่ถาม ได้รับการแนะนำ และไม่ดื้อด้าน เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ท่านผู้เชี่ยวชาญรจนาไว้เป็น
บทกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร อยู่ภายนอก เป็นสาวกภาษิต พวกภิกษุไม่
ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และไม่ให้ความสำคัญธรรม
ว่าควรเรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ ล้ำลึก
มีเนื้อความลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วยความว่าง ภิกษุเหล่านั้นกลับ
ตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และให้ความสำคัญธรรมว่าควร

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค
เรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ ครั้นท่องจำธรรมนั้นแล้วย่อมสอบสวนไต่ถามกันว่า
“พุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ภิกษุเหล่านั้นเปิด
เผยธรรมที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย และบรรเทาความ
สงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่าง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่ไต่ถาม ได้รับการ
แนะนำ และไม่ดื้อด้าน
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล
บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่ไต่ถาม ได้รับการแนะนำ และไม่ดื้อด้าน
เป็นเลิศ (๖)
[๔๙] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้
บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บริษัทที่หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม
๒. บริษัทที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส
บริษัทที่หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุต่างสรรเสริญคุณของกันและกันต่อหน้า
คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาวว่า “ภิกษุรูปโน้นเป็นอุภโตภาควิมุต๑ ภิกษุรูปโน้นเป็นปัญญาวิมุต๒
ภิกษุรูปโน้นเป็นกายสักขี๓ ภิกษุรูปโน้นเป็นทิฏฐิปัตตะ๔ ภิกษุรูปโน้นเป็นสัทธาวิมุต๕

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น