Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๑-๒ หน้า ๔๔ - ๘๖

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑-๒ สุตตันตปิฎกที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๘.อริยวังสสูตร
ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคงในความสันโดษด้วยจีวร
ตามแต่จะได้ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ
เป็นของเก่า
๒. สันโดษด้วยบิณฑบาตตามแต่จะได้ กล่าวสรรเสริญความสันโดษ
ด้วยบิณฑบาตตามแต่จะได้ ไม่แสวงหาอันไม่สมควรเพราะบิณฑบาต
เป็นเหตุ ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่กระวนกระวาย ครั้นได้แล้วก็ไม่ติดใจ
ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง มองเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก
ฉันอยู่ และไม่ยกตนข่มผู้อื่นเพราะความสันโดษด้วบิณฑบาตตาม
แต่จะได้นั้น ภิกษุใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง
ในความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามแต่จะได้ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้
ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ เป็นของเก่า
๓. สันโดษด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้ กล่าวสรรเสริญความสันโดษ
ด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้ ไม่แสวงหาอันไม่สมควรเพราะเสนาสนะ
เป็นเหตุ ไม่ได้เสนาสนะก็ไม่กระวนกระวาย ครั้นได้แล้วก็ไม่ติดใจ
ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง มองเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก
ใช้สอยอยู่ และไม่ยกตนข่มผู้อื่นเพราะความสันโดษด้วยเสนาสนะ
ตามแต่จะได้นั้น ภิกษุใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติ
มั่นคงในความสันโดษด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้ ภิกษุนี้เราเรียกว่า
ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ เป็นของเก่า
๔. มีภาวนาเป็นที่รื่นรมย์ ยินดีในภาวนา มีปหานะ (การละ) เป็นที่
รื่นรมย์ ยินดีในปหานะ และไม่ยกตนข่มผู้อื่นเพราะความเป็นผู้มี
ภาวนาเป็นที่รื่นรมย์ ยินดีในภาวนา เพราะความเป็นผู้มีปหานะ
เป็นที่รื่นรมย์ ยินดีในปหานะนั้น ภิกษุใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มี
สัมปชัญญะ มีสติมั่นคงในภาวนาและปหานะ ภิกษุนี้เราเรียกว่า
ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ เป็นของเก่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยวงศ์ ๔ ประการนี้แลรู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กัน
มานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง
ไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๙.ธัมมปทสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยอริยวงศ์ ๔ ประการนี้ แม้จะอยู่ในทิศ
ตะวันออก ก็ครอบงำความไม่ยินดีได้ ความไม่ยินดีครอบงำเธอไม่ได้ แม้จะอยู่ใน
ทิศตะวันตก ... แม้จะอยู่ในทิศเหนือ ... แม้จะอยู่ในทิศใต้ ก็ครอบงำความไม่ยินดีได้
ความไม่ยินดีครอบงำเธอไม่ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเธอเป็นนักปราชญ์ ชื่อว่า
เป็นผู้ครอบงำความไม่ยินดีและความยินดีได้
ความไม่ยินดีครอบงำนักปราชญ์๑ ไม่ได้
ความไม่ยินดีครอบงำนักปราชญ์ไม่ได้
แต่นักปราชญ์ครอบงำความไม่ยินดีได้
เพราะนักปราชญ์ชื่อว่าผู้ครอบงำความไม่ยินดี
ราคะหรือโทสะอะไร
จะปิดกั้นบุคคลผู้บรรเทากิเลสแล้ว
ผู้ละกรรมทุกอย่างได้เด็ดขาด
ใครเล่าจะสามารถติเตียนเขา
ผู้เป็นเหมือนแท่งทองชมพูนุท
แม้เทวดาและมนุษย์ก็สรรเสริญเขา
ถึงพรหมก็สรรเสริญเขา
อริยวังสสูตรที่ ๘ จบ

๙. ธัมมปทสูตร
ว่าด้วยธรรมบท
[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบท๒ ๔ ประการนี้ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน
รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง
จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ธรรมบท ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๑๐.ปริพพาชกสูตร
๑. อนภิชฌา (ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) เป็นธรรมบทที่รู้กันว่า
ล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบ
ล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูก
สมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
๒. อพยาบาท (ความไม่คิดร้าย) เป็นธรรมบท ...
๓. สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) เป็นธรรมบท ...
๔. สัมมาสมาธิ (ความตั้งจิตมั่นชอบ) เป็นธรรมบทที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กัน
มานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคย
ถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้
รู้คัดค้าน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบท ๔ ประการนี้แลที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กัน
ว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง
จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
บุคคลพึงเป็นผู้ไม่มีอภิชฌาอยู่
มีจิตไม่พยาบาท มีสติ
มีจิตแน่วแน่ ตั้งมั่นดีอยู่ภายใน
ธัมมปทสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ปริพพาชกสูตร
ว่าด้วยปริพาชก
[๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ สมัยนั้นแล ปริพาชกหลายท่านที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกัน อาศัยอยู่ใน
ปริพาชการาม ริมฝั่งแม่น้ำสิปปินี คือ อันนภารปริพาชก วธรปริพาชก สกุลุทายี-
ปริพาชก และปริพาชกท่านอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกัน ครั้นในเวลาเย็น
พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น๑ เข้าไปยังปริพาชการาม ริมฝั่งแม่น้ำสิปปินี
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสกับปริพาชกเหล่านั้นดังนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๑๐.ปริพพาชกสูตร
“ปริพาชกทั้งหลาย ธรรมบท ๔ ประการนี้ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กัน
ว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง
จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ธรรมบท ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนภิชฌาเป็นธรรมบทที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็น
อริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูก
ลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
๒. อพยาบาทเป็นธรรมบท ฯลฯ
๓. สัมมาสติเป็นธรรมบท ฯลฯ
๔. สัมมาสมาธิเป็นธรรมบทที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็น
อริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูก
ลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ปริพาชกทั้งหลาย ธรรมบท ๔ ประการนี้แลที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน
รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง
จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบอกคืน๑อนภิชฌาที่เป็นธรรมบทนั้นแล้ว
บัญญัติบุคคลผู้มีอภิชฌา มีราคะแรงกล้าในกามทั้งหลายว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์’
ในเรื่องนั้นเราพึงกล่าวกับบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ถูกบัญญัติว่าเป็นสมณะหรือ
พราหมณ์นั้นจงมา จงกล่าว จงพูด เราจักดูอานุภาพของเขา’ เป็นไปไม่ได้เลยที่
บุคคลนั้นจักบอกคืนอนภิชฌาที่เป็นธรรมบทแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีอภิชฌา มีราคะ
แรงกล้าในกามทั้งหลายว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบอกคืนอพยาบาทที่เป็นธรรมบทนั้นแล้ว
บัญญัติบุคคลผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งจิตชั่วร้ายว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์’
ในเรื่องนั้นเราพึงกล่าวกับบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ถูกบัญญัติว่าเป็นสมณะหรือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๑๐.ปริพพาชกสูตร
พราหมณ์นั้นจงมา จงกล่าว จงพูด เราจักดูอานุภาพของเขา’ เป็นไปไม่ได้เลยที่
บุคคลนั้นจักบอกคืนอพยาบาทที่เป็นธรรมบทแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีจิตพยาบาท
มีความดำริแห่งจิตชั่วร้ายว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบอกคืนสัมมาสติที่เป็นธรรมบทนั้นแล้ว
บัญญัติบุคคลผู้หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์’ ในเรื่อง
นั้นเราพึงกล่าวกับบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ถูกบัญญัติว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์นั้น
จงมา จงกล่าว จงพูด เราจักดูอานุภาพของเขา’ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลนั้นจัก
บอกคืนสัมมาสติที่เป็นธรรมบทแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ
ว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบอกคืนสัมมาสมาธิที่เป็นธรรมบทนั้นแล้ว
บัญญัติบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่งว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์’ ในเรื่อง
นั้นเราพึงกล่าวกับบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ถูกบัญญัติว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
นั้นจงมา จงกล่าว จงพูด เราจักดูอานุภาพของเขา’ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลนั้น
จักบอกคืนสัมมาสมาธิที่จัดเป็นธรรมบทแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิต
กวัดแกว่งว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
บุคคลใดสำคัญธรรมบท ๔ ประการนี้ว่าควรติเตียน ควรคัดค้าน บุคคลนั้น
ย่อมได้รับฐานะ๑ ๔ ประการ พร้อมทั้งเหตุคล้อยตามวาทะไม่ชอบธรรม ที่น่าติเตียน
ในปัจจุบัน
ฐานะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ถ้าติเตียน คัดค้านอนภิชฌาที่จัดเป็นธรรมบท ก็ชื่อว่าเป็นผู้บูชา
สรรเสริญสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีอภิชฌา มีราคะแรงกล้าในกาม
ทั้งหลาย
๒. ถ้าติเตียน คัดค้านอพยาบาทที่จัดเป็นธรรมบท ก็ชื่อว่าเป็นผู้บูชา
สรรเสริญสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งจิต
ชั่วร้าย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๓. ถ้าติเตียน คัดค้านสัมมาสติที่จัดเป็นธรรมบท ก็ชื่อว่าเป็นผู้บูชา
สรรเสริญสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ
๔. ถ้าติเตียน คัดค้านสัมมาสมาธิที่จัดเป็นธรรมบท ก็ชื่อว่าเป็นผู้
บูชาสรรเสริญสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง
บุคคลใดสำคัญธรรมบท ๔ ประการนี้ว่าควรติเตียน ควรคัดค้าน บุคคลนั้น
ย่อมได้รับฐานะ ๔ ประการพร้อมทั้งเหตุคล้อยตามวาทะไม่ชอบธรรม ที่น่าติเตียน
ในปัจจุบัน ปริพาชกชื่อวัสสะและภัญญะ ผู้อยู่ในอุกกลชนบท เป็นอเหตุกวาทะ๑
อกิริยวาทะ๒ นัตถิกวาทะ๓ สำคัญธรรมบท ๔ ประการนี้ว่าไม่ควรติเตียน ไม่ควร
คัดค้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกลัวการนินทา การกระทบกระทั่ง และการ
กล่าวให้ร้าย”
บุคคลผู้ไม่พยาบาท
มีสติทุกเมื่อ มีจิตตั้งมั่นดีภายใน
ผู้ศึกษาในธรรมเป็นเครื่องกำจัดอภิชฌา
เราเรียกว่า ผู้ไม่ประมาท
ปริพพาชกสูตรที่ ๑๐ จบ
อุรุเวลวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอุรุเวลสูตร ๒. ทุติยอุรุเวลสูตร
๓. โลกสูตร ๔. กาฬการามสูตร
๕. พรหมจริยสูตร ๖. กุหสูตร
๗. สันตุฏฐิสูตร ๘. อริยวังสสูตร
๙. ธัมมปทสูตร ๑๐. ปริพพาชกสูตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๒. สังคหสูตร

๔. จักกวรรค
หมวดว่าด้วยจักร
๑. จักกสูตร
ว่าด้วยจักร ๔ ประการ
[๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย จักร๑ ๔ ประการนี้เป็นเหตุให้
เทวดาและมนุษย์ผู้ประกอบแล้วเป็นไปได้ และถึงความเป็นใหญ่ ความไพบูลย์ใน
โภคะทั้งหลายต่อกาลไม่นานนัก
จักร ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปฏิรูปเทสวาสะ (การอยู่ในถิ่นที่ดี)
๒. สัปปุริสูปัสสยะ (การสมาคมกับสัตบุรุษ)
๓. อัตตสัมมาปณิธิ (การตั้งตนไว้ชอบ)
๔. ปุพเพกตปุญญตา (ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ก่อนแล้ว)
จักร ๔ ประการนี้แลเป็นเหตุให้เทวดาและมนุษย์ผู้ประกอบแล้วเป็นไปได้ และ
ถึงความเป็นใหญ่ ความไพบูลย์ในโภคะทั้งหลายต่อกาลไม่นานนัก
ข้าวเปลือก ทรัพย์ ยศ ชื่อเสียง
และความสุขย่อมหลั่งไหลมาสู่นรชน
ผู้อยู่ในถิ่นที่ดี ผูกไมตรีกับอริยชน
สมบูรณ์ด้วยการตั้งตนไว้ชอบ ได้ทำความดีไว้ก่อนแล้ว
จักกสูตรที่ ๑ จบ

๒. สังคหสูตร
ว่าด้วยสังคหวัตถุ
[๓๒] ภิกษุทั้งหลาย สังคหวัตถุ (ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว) ๔ ประการนี้
สังคหวัตถุ ๔ ประการ๒ อะไรบ้าง คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.จักกวรรค ๓.สีหสูตร
๑. ทาน (การให้)
๒. เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก)
๓. อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์)
๔. สมานัตตตา (การวางตนสม่ำเสมอ)
ภิกษุทั้งหลาย สังคหวัตถุ ๔ ประการนี้แล
ทาน เปยยวัชชะ อัตถจริยาในโลกนี้
และสมานัตตตาในธรรมนั้น ๆ ตามสมควร
สังคหธรรมเหล่านี้แลช่วยอุ้มชูโลก
เหมือนลิ่มสลักที่ยึดคุมรถซึ่งแล่นไปไว้ได้ฉะนั้น
ถ้าไม่พึงมีธรรมเหล่านี้ มารดาหรือบิดา
ก็ไม่พึงได้การนับถือหรือการบูชาเพราะบุตรเป็นเหตุ
แต่เพราะบัณฑิตเล็งเห็นความสำคัญของสังคหธรรมเหล่านี้
ฉะนั้น บัณฑิตเหล่านั้นจึงถึงความเป็นใหญ่
และเป็นผู้น่าสรรเสริญ
สังคหสูตรที่ ๒ จบ

๓. สีหสูตร
ว่าด้วยพญาราชสีห์
[๓๓] ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาเย็น พญาราชสีห์ออกจากที่อาศัย บิดกาย
ชำเลืองดูรอบ ๆ ทั้ง ๔ ทิศ บันลือสีหนาท ๓ ครั้งแล้วหลีกไปหาเหยื่อ โดยมาก
สัตว์ดิรัจฉานที่ได้ฟังพญาราชสีห์บันลือสีหนาทย่อมถึงความกลัว หวาดหวั่น และ
สะดุ้ง สัตว์พวกที่อาศัยอยู่ในโพรงก็หลบเข้าโพรง พวกที่อยู่ในน้ำก็ดำลงในน้ำ พวกที่
อยู่ในป่าก็หนีเข้าป่า พวกสัตว์ปีกก็บินขึ้นสู่อากาศ พญาช้างที่ถูกล่ามไว้ด้วยเครื่อง
ผูกคือเชือกหนังที่มั่นคงแข็งแรง ในหมู่บ้าน ตำบล และเมืองหลวง ก็ตัดทำลาย
เครื่องผูกเหล่านั้น ตกใจกลัว ถ่ายมูตรและกรีส๑ หนีไปทางใดทางหนึ่ง บรรดา
สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย พญาราชสีห์เป็นสัตว์มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีศักดิ์มากอย่างนี้
มีอานุภาพมากอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.จักกวรรค ๓.สีหสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดตถาคต๑อุบัติในโลก เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเอง
โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึก ผู้ที่ควร
ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค๒ แสดงธรรมว่า ‘สักกายะ๓เป็นอย่างนี้ สักกายสมุทัย (เหตุเกิด
สักกายะ) เป็นอย่างนี้ สักกายนิโรธ (ความดับสักกายะ) เป็นอย่างนี้ สักกายนิโรธ-
คามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับสักกายะ) เป็นอย่างนี้’ เมื่อนั้นเทวดาพวกที่มี
อายุยืน มีวรรณะ มีสุขมาก สถิตอยู่ในวิมานสูงเป็นเวลานาน ฟังธรรมเทศนา
ของตถาคตแล้ว โดยมากย่อมถึงความกลัว หวาดหวั่น สะดุ้งว่า “ผู้เจริญทั้งหลาย
ทราบมาว่า พวกเราเป็นผู้ไม่เที่ยง แต่ได้สำคัญตนว่า ‘เที่ยง’ เป็นผู้ไม่ยั่งยืน แต่ได้
สำคัญตนว่า ‘ยั่งยืน’ เป็นผู้ไม่คงที่ แต่ได้สำคัญตนว่า ‘คงที่’ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
พวกเราเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ เกี่ยวเนื่องอยู่ในสักกายะ” ดังนี้ บรรดา
ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก ตถาคตเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีศักดิ์มากอย่างนี้ มี
อานุภาพมากอย่างนี้ อย่างนั้นเหมือนกัน
เมื่อใดพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดา
หาบุคคลเปรียบเทียบมิได้๔ ตรัสรู้ยิ่งแล้ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๔.อัคคัปปสาทสูตร
ประกาศธรรมจักร คือ
สักกายะ เหตุเกิดสักกายะ ความดับสักกายะ
และอริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ให้ถึงความดับทุกข์
แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก
เมื่อนั้นเทวดาที่มีอายุยืน มีวรรณะ มียศ
หวาดหวั่น ฟังคำของตถาคต
ผู้เป็นอรหันต์ หลุดพ้นแล้ว ผู้คงที่
ได้ถึงความสะดุ้งดุจเนื้อกลัวราชสีห์
ด้วยคิดว่า ‘ท่านผู้เจริญ ทราบว่า
พวกเราเป็นผู้ไม่เที่ยง ยังไม่ก้าวล่วงสักกายะ’
สีหสูตรที่ ๓ จบ

๔. อัคคัปปสาทสูตร
ว่าด้วยความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
[๓๔] ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ๔ ประการนี้
ความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม มี
รูปหรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่
ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าเรากล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์มีประมาณเท่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใส
ในพระพุทธเจ้าชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่
บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
๒. ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมีประมาณเท่าใด อริยมรรคมีองค์ ๘ เรา
กล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใสในอริยมรรคมีองค์ ๘
ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใส
ในสิ่งที่เลิศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๔.อัคคัปปสาทสูตร
๓. ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งหรือธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมีประมาณ
เท่าใด วิราคะ (ความคลายกำหนัด) คือ ความสร่างความเมา
ความดับความกระหาย ความถอนอาลัย ความตัดวัฏฏะ ความ
สิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับทุกข์ นิพพาน๑เรา
กล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใสในวิราคธรรม ชื่อว่า
เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่ง
ที่เลิศ
๔. หมู่ก็ดี คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด พระสงฆ์สาวกของตถาคต
ได้แก่ พระอริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล๒ พระสงฆ์สาวกของ
พระผู้มีพระภาคนี้เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของ
ต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอด
เยี่ยมของโลก เรากล่าวว่าเลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น บุคคลผู้
เลื่อมใสในสงฆ์ ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมี
แก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ๔ ประการนี้แล
บุญที่เลิศ คือ อายุ วรรณะ
ยศ เกียรติ สุข และพละ
ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้เลื่อมใส
ผู้รู้ธรรมที่เลิศโดยความเป็นธรรมที่เลิศ
ผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ
ซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลชั้นเยี่ยม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๕.วัสสการสูตร
ผู้เลื่อมใสในพระธรรมที่เลิศ
อันเป็นที่คลายความกำหนัด
เป็นที่สงบระงับ นำสุขมาให้
ผู้เลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศ
ซึ่งเป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ให้ทานในท่านผู้เลิศ
นักปราชญ์ผู้ตั้งมั่นในธรรมที่เลิศ
ให้ทานแก่ท่านผู้เลิศ
เกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ย่อมถึงความเป็นผู้เลิศ๑ บันเทิงอยู่
อัคคัปปสาทสูตรที่ ๔ จบ

๕. วัสสการสูตร
ว่าด้วยวัสสการพราหมณ์
[๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น วัสสการพราหมณ์ผู้เป็นมหาอำมาตย์แห่งแคว้น
มคธเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ
พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พวกข้าพเจ้าบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
ว่าเป็นมหาบุรุษผู้มีปัญญามาก
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลในโลกนี้
๑. เป็นพหูสูตแห่งเรื่องที่ฟังนั้น ๆ รู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้น ๆ ว่า ‘นี้
เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้’

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๕.วัสสการสูตร
๒. มีสติ ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้
๓. เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำของคฤหัสถ์
๔. ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา อันเป็นอุบายในการงานที่
จะต้องช่วยกันทำนั้น ๆ สามารถทำได้ สามารถจัดได้
ข้าแต่ท่านพระโคดม พวกข้าพเจ้าบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
นี้แลว่าเป็นมหาบุรุษผู้มีปัญญามาก ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าข้าพเจ้าพึงยินดี ขอ
ท่านพระโคดมทรงยินดีตามข้าพเจ้า ถ้าข้าพเจ้าพึงคัดค้าน ขอท่านพระโคดมทรง
คัดค้านตามข้าพเจ้าด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เราไม่ยินดีตาม แต่ไม่คัดค้านท่าน เรา
บัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการว่าเป็นมหาบุรุษผู้มีปัญญามาก
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลในโลกนี้
๑. ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก ให้คนหมู่
มากตั้งอยู่ในอริยธรรมที่ควรรู้ คือ ความเป็นผู้มีกัลยาณธรรม
ความเป็นผู้มีกุศลธรรม
๒. ปรารถนาจะตรึกตรองเรื่องใด ก็ตรึกตรองเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะ
ตรึกตรองเรื่องใด ก็ไม่ตรึกตรองเรื่องนั้น ปรารถนาจะดำริเรื่องใด
ก็ดำริเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะดำริเรื่องใด ก็ไม่ดำริเรื่องนั้น ถึงความ
เชี่ยวชาญในจิตในแนวทางแห่งการตรึกตรองทั้งหลาย
๓. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๔. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้น
ไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
พราหมณ์ เราไม่ยินดีตาม แต่ไม่คัดค้านท่านเลย เราบัญญัติบุคคลผู้
ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลว่าเป็นมหาบุรุษผู้มีปัญญามาก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๕.วัสสการสูตร
วัสสการพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ ท่านพระโคดมตรัสเรื่องนี้ไว้ดียิ่งนัก พวกข้าพเจ้าจะทรงจำท่านพระโคดมไว้
ว่า เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ว่า แท้ที่จริง ท่านพระโคดมทรงปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก ให้คนหมู่มากตั้งอยู่ในอริยธรรมที่
ควรรู้ คือ ความเป็นผู้มีกัลยาณธรรม ความเป็นผู้มีกุศลธรรม ท่านพระโคดมทรง
ปรารถนาจะตรึกตรองเรื่องใด ก็ตรึกตรองเรื่องนั้น ไม่ทรงปรารถนาจะตรึกตรอง
เรื่องใด ก็ไม่ทรงตรึกตรองเรื่องนั้น ทรงปรารถนาจะดำริเรื่องใด ก็ดำริเรื่องนั้น
ไม่ทรงปรารถนาจะดำริเรื่องใด ก็ไม่ดำริเรื่องนั้น ทรงถึงความเชี่ยวชาญในจิตใน
แนวทางแห่งการตรึกตรองทั้งหลาย ทรงได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่
เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ทรงทำให้
แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ท่านกล่าววาจาแสดงความเห็นด้วยใน
เรื่องนี้ และเราจักเฉลยแก่ท่านว่า แท้ที่จริง เราปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก
เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก ให้คนหมู่มากตั้งอยู่ในอริยธรรมที่ควรรู้ คือ ความเป็นผู้มี
กัลยาณธรรม ความเป็นผู้มีกุศลธรรม ก็เราปรารถนาจะตรึกตรองเรื่องใด ก็ตรึก
ตรองเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะตรึกตรองเรื่องใด ก็ไม่ตรึกตรองเรื่องนั้น ปรารถนา
จะดำริเรื่องใด ก็ดำริเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะดำริเรื่องใด ก็ไม่ดำริเรื่องนั้น ถึงความ
เชี่ยวชาญในจิตในแนวทางแห่งการตรึกตรองทั้งหลาย เราได้ฌาน ๔ อันมีใน จิตยิ่ง
ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วย ปัญญาอัน
ยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
บุคคลผู้รู้แจ้งทางปลดเปลื้องสรรพสัตว์
จากบ่วงแห่งมัจจุราช ประกาศธรรมที่ควรรู้
ที่เกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์
อนึ่ง ชนจำนวนมากเลื่อมใส
เพราะเห็นหรือได้ฟังข่าวของบุคคลใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.จักกวรรค ๖.โทณสูตร
เราเรียกบุคคลนั้น
ผู้ฉลาดในธรรมที่เป็นทางและมิใช่ทาง
ผู้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีอาสวะ เป็นพุทธะ๑
ธำรงชาติสุดท้ายว่า เป็นมหาบุรุษ
วัสสการสูตรที่ ๕ จบ

๖. โทณสูตร
ว่าด้วยโทณพราหมณ์
[๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จทางไกลระหว่างเมืองอุกกัฏฐะ๒กับเมือง
เสตัพยะ โทณพราหมณ์ก็ได้เดินทางไกลระหว่างเมืองอุกกัฏฐะกับเมืองเสตัพยะ ได้
เห็นรอยกงจักรมีซี่กำตั้งพันซี่ มีกง มีดุมครบ มีส่วนประกอบครบทุกอย่างที่รอย
พระบาทของพระผู้มีพระภาค ได้มีความคิดว่า “ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ รอยเท้าเหล่านี้คงไม่ใช่รอยเท้ามนุษย์” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลง
ข้างทางประทับนั่งที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ทรงคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะ
หน้า ลำดับนั้น โทณพราหมณ์เดินตามรอยพระบาทของพระผู้มีพระภาค ได้เห็น
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง มีพระอาการกิริยาน่าพอใจ น่าเลื่อมใส
มีพระอินทรีย์สงบ มีพระทัยสงบ บรรลุการฝึกและความสงบยอดเยี่ยม๓ ทรงฝึกตน
แล้ว คุ้มครองแล้ว สำรวมอินทรีย์ ผู้ชื่อว่านาคะ๔ ครั้นแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านผู้เจริญเป็นเทวดาใช่หรือไม่”

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.จักกวรรค ๖.โทณสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เราไม่ใช่เทวดา พราหมณ์”
โทณพราหมณ์ทูลถามว่า “ท่านผู้เจริญ เป็นคนธรรพ์ใช่หรือไม่”
“เราไม่ใช่คนธรรพ์ พราหมณ์”
“ท่านผู้เจริญ เป็นยักษ์ใช่หรือไม่”
“เราไม่ใช่ยักษ์ พราหมณ์”
“ท่านผู้เจริญ เป็นมนุษย์ใช่หรือไม่”
“เราไม่ใช่มนุษย์ พราหมณ์”
โทณพราหมณ์ทูลถามว่า “ท่านเมื่อถูกถามว่า ‘ท่านผู้เจริญเป็นเทวดาใช่หรือไม่’
ก็ตอบว่า ‘เราไม่ใช่เทวดา พราหมณ์’ เมื่อถูกถามว่า ‘ท่านผู้เจริญเป็นคนธรรพ์
ใช่หรือไม่’ ก็ตอบว่า ‘เราไม่ใช่คนธรรพ์ พราหมณ์’ เมื่อถูกถามว่า ‘ท่านผู้เจริญ
เป็นยักษ์ใช่หรือไม่’ ก็ตอบว่า ‘เราไม่ใช่ยักษ์ พราหมณ์’ เมื่อถูกถามว่า ‘ท่านผู้เจริญ
เป็นมนุษย์ใช่หรือไม่’ ก็ตอบว่า ‘เราไม่ใช่มนุษย์ พราหมณ์’ ถ้าอย่างนั้น ท่าน
เป็นอะไรกันแน่”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ เราพึงเป็นเทวดา เพราะยังละ
อาสวะเหล่าใดไม่ได้ แต่อาสวะเหล่านั้นเราละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ
ไปไม่ได้ เราพึงเป็นคนธรรพ์ เพราะยังละอาสวะเหล่าใดไม่ได้ ... พึงเป็นยักษ์ ...
พึงเป็นมนุษย์ เพราะยังละอาสวะเหล่าใดไม่ได้ แต่อาสวะเหล่านั้นเราละได้เด็ดขาด
แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
พราหมณ์ เราเกิดเจริญเติบโตในโลก แต่อยู่เหนือโลก ไม่แปดเปื้อนด้วยโลก
เหมือนดอกอุบล (บัวเขียว) ดอกปทุม (บัวหลวง) ดอกปุณฑริก (บัวขาว) เกิดเจริญ
เติบโตในน้ำ แต่อยู่เหนือน้ำ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำฉะนั้น ท่านจงจำเราไว้ว่า ‘เป็น
พระพุทธเจ้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๗.อปริหานิยสูตร
อาสวะทั้งหลายที่เป็นเหตุให้เกิดเป็นเทวดา
หรือเป็นคนธรรพ์ผู้เที่ยวไปในอากาศ
เป็นเหตุให้ถึงความเป็นยักษ์
และความเป็นมนุษย์ ได้สิ้นไปแล้ว
ถูกเรากำจัดแล้ว ทำให้หมดเครื่องผูกพันแล้ว
ดอกปุณฑริกที่งดงาม
ย่อมไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำฉันใด
เราก็ย่อมไม่แปดเปื้อนด้วยโลกฉันนั้น
พราหมณ์ เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นพระพุทธเจ้า
โทณสูตรที่ ๖ จบ

๗. อปริหานิยสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม
[๓๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ไม่อาจเสื่อม๑
ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพานแน่แท้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สมบูรณ์ด้วยศีล
๒. คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๓. รู้จักประมาณในการบริโภค
๔. ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ
ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีล เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีล เป็นอย่างนี้แล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๗.อปริหานิยสูตร
ภิกษุคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ๑ ย่อม
ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ...
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ซึ่ง
เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึง
รักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุรู้จักประมาณในการบริโภค เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงฉันอาหาร ไม่ใช่เพื่อเล่น
ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้
แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์
พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า “เราจักกำจัดเวทนาเก่าและจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษ และการอยู่ผาสุกจักมีแก่เรา” ภิกษุรู้จัก
ประมาณในการบริโภค เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุขัดขวางด้วยการ
จงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุขัดขวางด้วยการ
จงกรม ด้วยการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี นอนดุจราชสีห์โดยข้างเบื้องขวา
ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้นตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี
ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอด
ปัจฉิมยามแห่งราตรี ภิกษุประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ เป็นอย่างนี้แล๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ไม่อาจเสื่อม ชื่อว่า
อยู่ใกล้นิพพานแน่แท้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๘.ปฏิลีนสูตร
ภิกษุตั้งอยู่ในศีล สำรวมอินทรีย์
รู้จักประมาณในการบริโภค
ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ
มีความเพียรอยู่อย่างนี้
ไม่เกียจคร้านตลอดคืนและวัน
ชื่อว่าบำเพ็ญกุศลธรรม
เพื่อบรรลุสภาวะอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท
หรือมีปกติเห็นภัยในความประมาท
ไม่อาจเสื่อม ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพานแน่แท้
อปริหานิยสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฏิลีนสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้หลีกเร้น
[๓๘] ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกภิกษุว่า ผู้มีปัจเจกสัจจะ๑อันบรรเทาได้ ผู้มี
การแสวงหาอันสละได้ดี ผู้มีกายสังขารอันระงับได้ ผู้หลีกเร้น
ภิกษุผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ เป็นอย่างไร
คือ ปัจเจกสัจจะเป็นอันมาก เช่น เห็นว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลก
มีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคน
ละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก
หลังจากตายแล้วตถาคต๒เกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิด
อีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ เหล่านั้นทั้งหมดของสมณะและพราหมณ์จำนวนมาก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๘.ปฏิลีนสูตร
อันภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรเทาได้ กำจัดได้ สละได้ คลายได้ ปล่อยวางได้ ละได้
สละคืนได้ ภิกษุผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละการใฝ่หากาม๑ ละการแสวงหาภพ๒ ระงับการ
แสวงหาพรหมจรรย์ได้๓ ภิกษุผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้มีกายสังขารอันระงับได้๔ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส
ดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
ภิกษุผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้หลีกเร้น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละอัสมิมานะ๕ได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้น
ตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
ภิกษุผู้หลีกเร้น เป็นอย่างนี้แล
เราเรียกภิกษุว่า ผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ ผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี
ผู้มีกายสังขารอันระงับได้ ผู้หลีกเร้น ด้วยประการฉะนี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๙.อุชชยสูตร
การใฝ่หากาม การแสวงหาภพ
และการแสวงหาพรหมจรรย์
อันภิกษุในธรรมวินัยนี้สละได้เด็ดขาดแล้ว
การยึดถือว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้จริงอันเป็นพื้นฐานแห่งทิฏฐิ
ภิกษุถอนขึ้นแล้วด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุผู้คลายกำหนัดได้ทั้งหมด
หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา
ชื่อว่าสละคืนการแสวงหา
ถอนรากฐานแห่งทิฏฐิได้
ภิกษุนั้นแลเป็นผู้สงบ
มีสติ สงบระงับ ไม่พ่ายแพ้
ชื่อว่าเป็นพุทธะ เพราะละมานะได้
เราเรียกว่า ผู้หลีกเร้น
ปฏิลีนสูตรที่ ๘ จบ

๙. อุชชยสูตร
ว่าด้วยปัญหาของอุชชยพราหมณ์
[๓๙] สมัยนั้น อุชชยพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “แม้ท่านพระโคดมเองก็ทรงสรรเสริญยัญของพวก
ข้าพเจ้าหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เราไม่ได้สรรเสริญยัญไปเสียทุกอย่าง และ
เราก็ไม่ได้ติเตียนยัญไปเสียทั้งหมด เราไม่สรรเสริญยัญที่มีกิริยา๑ คือ ยัญที่มีการฆ่า
โค ๑ ยัญที่มีการฆ่าแพะ แกะ ๑ ยัญที่มีการฆ่าไก่ สุกร ๑ ยัญที่ทำให้สัตว์ต่าง ๆ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๙.อุชชยสูตร
ได้รับความเดือดร้อน ๑ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระอรหันต์หรือท่านผู้บรรลุ
อรหัตตมรรคย่อมไม่เกี่ยวข้องกับยัญที่มีกิริยาอย่างนั้น
พราหมณ์ แต่เราสรรเสริญยัญที่ไม่มีกิริยา คือ นิจทาน๑ และอนุกูลยัญ๒ คือ
ยัญที่ไม่มีการฆ่าโค ๑ ยัญที่ไม่มีการฆ่าแพะ แกะ ๑ ยัญที่ไม่มีการฆ่าไก่ สุกร ๑
ยัญที่ไม่ทำให้สัตว์ต่าง ๆ ได้รับความเดือดร้อน ๑ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระ
อรหันต์หรือท่านผู้บรรลุอรหัตตมรรคย่อมเกี่ยวข้องกับยัญที่ไม่มีกิริยาอย่างนี้”
มหายัญที่มีกิริยามากเหล่านั้น คือ
อัสวเมธ บุรุษเมธ สัมมาปาสะ
วาชเปยยะ นิรัคคละ๓ ไม่มีผลมาก
พระอริยะผู้ปฏิบัติชอบ แสวงหาคุณยิ่งใหญ่
ย่อมไม่เกี่ยวข้องกับยัญ
ที่มีการฆ่าแพะ แกะ โค และสัตว์ต่าง ๆ
แต่พระอริยะผู้ปฏิบัติชอบ แสวงหาคุณยิ่งใหญ่
ย่อมเกี่ยวข้องกับยัญที่ไม่มีกิริยา
เอื้ออำนวยประโยชน์ ประชาชนบูชาทุกเมื่อ
และไม่มีการฆ่าแพะ แกะ โค และสัตว์ต่าง ๆ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๑๐.อุทายิสูตร
นักปราชญ์พึงบูชายัญนี้ที่มีผลมาก
เพราะเมื่อบูชายัญอย่างนี้
ย่อมมีแต่ความดี ไม่มีความชั่ว
ยัญย่อมแพร่หลาย และเทวดาก็เลื่อมใส
อุชชยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุทายิสูตร
ว่าด้วยปัญหาของอุทายิพราหมณ์
[๔๐] ครั้งนั้นแล อุทายิพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “แม้ท่านพระโคดมก็ทรงสรรเสริญยัญของพวก
ข้าพระองค์หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เราไม่ได้สรรเสริญยัญไปเสียทุกอย่าง
และเราก็ไม่ได้ติเตียนยัญไปเสียทั้งหมด เราไม่สรรเสริญยัญ๑ที่มีกิริยา คือ ยัญที่มี
การฆ่าโค ๑ ยัญที่มีการฆ่าแพะ แกะ ๑ ยัญที่มีการฆ่าไก่ สุกร ๑ ยัญที่ทำให้สัตว์
ต่าง ๆ ได้รับความเดือดร้อน ๑ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระอรหันต์หรือท่านผู้
บรรลุอรหัตตมรรคย่อมไม่เกี่ยวข้องกับยัญที่มีกิริยาอย่างนั้น
พราหมณ์ แต่เราสรรเสริญยัญที่ไม่มีกิริยา คือ นิจทานและอนุกูลยัญ คือ
ยัญที่ไม่มีการฆ่าโค ๑ ยัญที่ไม่มีการฆ่าแพะ แกะ ๑ ยัญที่ไม่มีการฆ่าไก่ สุกร ๑
ยัญที่ไม่ทำให้สัตว์ต่าง ๆ ได้รับความเดือดร้อน ๑ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระ
อรหันต์หรือท่านผู้บรรลุอรหัตตมรรคย่อมเกี่ยวข้องกับยัญที่ไม่มีกิริยาอย่างนี้”
ท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ สำรวมระวัง
ย่อมเกี่ยวข้องกับยัญ๒ที่จัดเตรียมไว้อย่างดี
ไม่มีกิริยา เหมาะสมกับเวลาเช่นนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ท่านผู้รู้ผู้ฉลาดในบุญ
มีกิเลสเปรียบเหมือนหลังคาอันเปิดแล้ว
ล่วงเลยตระกูลและคติ๑ในโลก
ย่อมสรรเสริญยัญชนิดนี้
ถ้าบุคคลทำการบูชาในปกติทาน
หรือในมตกทานตามสมควร
มีจิตเลื่อมใส บูชาในนาที่ดี
คือท่านพรหมจารีทั้งหลาย
ยัญที่บุคคลบูชาดีแล้ว
เซ่นสรวงดีแล้ว สมบูรณ์ดี
ทำไว้ในทักขิไณยบุคคล
ยัญย่อมแพร่หลาย และเทวดาก็เลื่อมใส
บัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์ มีศรัทธา๒
มีใจพ้นแล้ว๓ บูชายัญอย่างนี้แล้ว
ย่อมเข้าถึงโลกที่ปราศจากความเบียดเบียน เป็นสุข
อุทายิสูตรที่ ๑๐ จบ
จักกวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จักกสูตร ๒. สังคหสูตร
๓. สีหสูตร ๔. อัคคัปปสาทสูตร
๕. วัสสการสูตร ๖. โทณสูตร
๗. อปริหานิยสูตร ๘. ปฏิลีนสูตร
๙. อุชชยสูตร ๑๐. อุทายิสูตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๑.สมาธิภาวนาสูตร

๕. โรหิตัสสวรรค
หมวดว่าด้วยโรหิตัสสเทพบุตร
๑. สมาธิภาวนาสูตร
ว่าด้วยสมาธิภาวนา
[๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา๑ ๔ ประการนี้
สมาธิภาวนา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุข
ในปัจจุบัน
๒. สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณ-
ทัสสนะ
๓. สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ
๔. สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น
อาสวะ
สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มี
วิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุ
ทุติยฌานมีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่
ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ
อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุ
จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ สมาธิภาวนานี้ที่
บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๑.สมาธิภาวนาสูตร
สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ๑
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มนสิการถึงอาโลกสัญญา (ความกำหนดหมายในแสง
สว่าง) อธิษฐานทิวาสัญญา (ความกำหนดหมายว่ากลางวัน) ว่า กลางคืนเหมือน
กลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัดไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่าง๒อยู่
สมาธิภาวนานี้ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ
สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้แจ้งเวทนาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งเวทนา
ที่ดับไป รู้แจ้งสัญญาที่เกิดขึ้น ... รู้แจ้งวิตกที่เกิดขึ้น รู้แจ้งวิตกที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่
ดับไป สมาธิภาวนานี้ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ
สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทาน
ขันธ์ ๕ อยู่ว่า “รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็น
อย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งเวทนา
เป็นอย่างนี้ สัญญาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง
สัญญาเป็นอย่างนี้ สังขารเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ ความดับ
แห่งสังขารเป็นอย่างนี้ วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้
ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้” สมาธิภาวนานี้ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อม
เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ
ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ก็คำนี้เรากล่าวไว้ในปุณณกปัญหาในปารายนวรรค หมายถึง
ข้อความนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๒. ปัฐหพยากรณสูตร
บุคคลใดรู้สิ่งสูงต่ำ๑ในโลก๒
ไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้หวั่นไหว๓ในโลกไหน ๆ๔
เรากล่าวว่า บุคคลเป็นผู้สงบ๕
ไม่มีควันคือความโกรธ
ไม่มีกิเลสกระทบจิต ไม่มีความหวัง
ข้ามพ้นชาติและชราได้แล้ว
สมาธิภาวนาสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปัญหพยากรณสูตร
ว่าด้วยวิธีการตอบปัญหา
[๔๒] ภิกษุทั้งหลาย การตอบปัญหา ๔ ประการนี้
การตอบปัญหา ๔ ประการ๖ อะไรบ้าง คือ
๑. เอกังสพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรตอบโดยนัยเดียว)
๒. วิภัชชพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรแยกตอบ)
๓. ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรตอบโดยย้อนถาม)
๔. ฐปนียปัญหา (ปัญหาที่ควรงดตอบ)
ภิกษุทั้งหลาย การตอบปัญหา ๔ ประการนี้แล
(๑) ตอบโดยนัยเดียว (๒) แยกตอบ
(๓) ตอบโดยย้อนถาม (๔) งดตอบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๓.ปฐมโกธครุสูตร
อนึ่ง บัณฑิตเรียกภิกษุผู้รู้ความเหมาะสม๑
ในฐานะแห่งปัญหานั้น ๆ ว่า
เป็นผู้ฉลาดในปัญหาทั้ง ๔
บุคคลเช่นนั้น ใคร ๆ เทียบได้ยาก
เอาชนะได้ยาก เป็นคนลึกซึ้ง ให้แพ้ได้ยาก
และฉลาดในประโยชน์ทั้งสอง
คือ ด้านเจริญและด้านเสื่อม
บัณฑิตย่อมเว้นด้านเสื่อม ถือเอาด้านเจริญ
ธีรชนเพราะรู้จักประโยชน์
ชาวโลกจึงเรียกว่า “บัณฑิต”
ปัญหพยากรณสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปฐมโกธครุสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้มักโกรธ สูตรที่ ๑
[๔๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้มักโกรธ ไม่เคารพสัทธรรม
๒. บุคคลผู้มักลบหลู่ ไม่เคารพสัทธรรม
๓. บุคคลผู้เห็นแก่ลาภ ไม่เคารพสัทธรรม
๔. บุคคลผู้เห็นแก่สักการะ ไม่เคารพสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๔. ทุติยโกธครุสูตร
๑. บุคคลผู้เคารพสัทธรรม ไม่มักโกรธ
๒. บุคคลผู้เคารพสัทธรรม ไม่มักลบหลู่
๓. บุคคลผู้เคารพสัทธรรม ไม่เห็นแก่ลาภ
๔. บุคคลผู้เคารพสัทธรรม ไม่เห็นแก่สักการะ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ภิกษุผู้มักโกรธ มักลบหลู่
เห็นแก่ลาภและเห็นแก่สักการะ
ย่อมไม่งอกงามในธรรม
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
ส่วนภิกษุผู้เคารพสัทธรรม
ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ย่อมงอกงามในธรรม
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
ปฐมโกธครุสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยโกธครุสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้มักโกรธ สูตรที่ ๒
[๔๔] ภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๔ ประการนี้
อสัทธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้มักโกรธ ไม่เคารพสัทธรรม
๒. ความเป็นผู้มักลบหลู่ ไม่เคารพสัทธรรม
๓. ความเป็นผู้เห็นแก่ลาภ ไม่เคารพสัทธรรม
๔. ความเป็นผู้เห็นแก่สักการะ ไม่เคารพสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๔ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สัทธรรม ๔ ประการนี้
สัทธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๕.โรหิตัสสสูตร
๑. ความเป็นผู้เคารพสัทธรรม ไม่เป็นผู้มักโกรธ
๒. ความเป็นผู้เคารพสัทธรรม ไม่เป็นผู้มักลบหลู่
๓. ความเป็นผู้เคารพสัทธรรม ไม่เป็นผู้เห็นแก่ลาภ
๔. ความเป็นผู้เคารพสัทธรรม ไม่เป็นผู้เห็นแก่สักการะ
ภิกษุทั้งหลาย สัทธรรม ๔ ประการนี้แล
ภิกษุผู้มักโกรธ มักลบหลู่
เห็นแก่ลาภและเห็นแก่สักการะ
ย่อมไม่งอกงามในสัทธรรม
เหมือนพืชที่หว่านไว้ในนาไม่ดี
ส่วนภิกษุผู้เคารพสัทธรรม
ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ย่อมงอกงามในธรรม
เหมือนต้นไม้งอกงามเพราะยางเหนียวฉะนั้น
ทุติยโกธครุสูตรที่ ๔ จบ

๕. โรหิตัสสสูตร
ว่าด้วยโรหิตัสสเทพบุตร
[๔๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น โรหิตัสสเทพบุตรเมื่อราตรี๑ผ่านไป
มีวรรณะงามยิ่ง ทำพระเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์สามารถหรือหนอที่จะทรงรู้ ทรงเห็น หรือ
ทรงถึงที่สุดแห่งโลก๒ที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติด้วยการไป”

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๕.โรหิตัสสสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด
ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป”
โรหิตัสสเทพบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลก
ที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป”
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว ข้าพระองค์เป็นฤๅษีชื่อโรหิตัสสะ
เป็นบุตรของผู้ใหญ่บ้าน มีฤทธิ์ เหาะได้ ความเร็วของข้าพระองค์นั้นเปรียบได้กับ
นายขมังธนู ผู้ยิงธนูแม่นยำ ศึกษามาดีแล้ว ผู้เชี่ยวชาญ ฝึกซ้อมมาดี พึงยิงลูกศร
เบาให้ผ่านเงาตาลด้านขวางไปได้โดยไม่ยากฉะนั้น การย่างเท้าแต่ละก้าวของ
ข้าพระองค์เปรียบได้กับระยะทางจากทะเลด้านตะวันออกถึงทะเลด้านตะวันตกฉะนั้น
ความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘เราจักถึงที่สุดแห่งโลกด้วยการไป’ เกิดแก่ข้าพระองค์นั้น
ผู้เพียบพร้อมด้วยความเร็วและการย่างเท้าอย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
นั้นแลเว้นจากการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
การหลับ และการบรรเทาความเหน็ดเหนื่อย มีอายุ ๑๐๐ ปี ดำรงชีพอยู่ได้ตั้ง ๑๐๐
ปี ดำเนินไปได้ตั้ง ๑๐๐ ปี ยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกก็ตายเสียก่อนในระหว่างทาง
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัส
เรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย
ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่
ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป เราไม่กล่าวว่า
การที่บุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
อนึ่ง เราบัญญัติโลก๑ ความเกิดแห่งโลก๒ ความดับแห่งโลก๓ และข้อปฏิบัติ
ให้ถึงความดับแห่งโลก๔ ในร่างกายที่มีประมาณวาหนึ่ง มีสัญญา มีใจนี้เอง”

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๖.ทุติยโรหิตัสสสูตร
ไม่ว่าในเวลาไหน ที่สุดแห่งโลก
ใครก็ถึงไม่ได้ด้วยการไป
และเมื่อยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลก
ย่อมไม่มีการเปลื้องตนจากทุกข์
เพราะเหตุนั้นแล ผู้รู้แจ้งโลก มีปัญญาดี
ถึงที่สุดแห่งโลก อยู่จบพรหมจรรย์
สงบระงับ รู้ที่สุดแห่งโลก
ย่อมไม่หวังทั้งโลกนี้และโลกหน้า
โรหิตัสสสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยโรหิตัสสสูตร
ว่าด้วยโรหิตัสสเทพบุตร สูตรที่ ๒
[๔๖] ครั้นราตรีนั้นผ่านไปแล้ว พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย คืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป โรหิตัสสเทพบุตรมีวรรณะงามยิ่ง
ทำพระเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้ถาม
เราดังนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์สามารถหรือหนอที่จะทรงรู้ ทรงเห็น หรือทรง
ถึงที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติด้วยการไป ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเทพบุตรกล่าวอย่างนี้ เราจึงได้กล่าวกับเขาว่า
เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่
อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว
โรหิตัสสเทพบุตรได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัส
เรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย
ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว ข้าพระองค์เป็นฤๅษีชื่อโรหิตัสสะ
เป็นบุตรของผู้ใหญ่บ้าน มีฤทธิ์ เหาะได้ ความเร็วของข้าพระองค์นั้นเปรียบได้กับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๖.ทุติยโรหิตัสสสูตร
นายขมังธนูผู้ยิงธนูแม่นยำ ศึกษามาดีแล้ว ผู้เชี่ยวชาญ ฝึกซ้อมมาดี พึงยิงลูกศรเบา
ให้ผ่านเงาตาลด้านขวางไปได้โดยไม่ยากฉะนั้น การย่างเท้าแต่ละก้าวของข้าพระองค์
เปรียบได้กับระยะทางจากทะเลด้านตะวันออกถึงทะเลด้านตะวันตกฉะนั้น ความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘เราจักถึงที่สุดแห่งโลกด้วยการไป’ เกิดแก่ข้าพระองค์นั้นผู้
เพียบพร้อมด้วยความเร็วและการย่างเท้าอย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
นั้นแลเว้นจากการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
การหลับ และการบรรเทาความเหน็ดเหนื่อย มีอายุ ๑๐๐ ปี ดำรงชีพอยู่ได้ตั้ง ๑๐๐
ปี ดำเนินไปได้ตั้ง ๑๐๐ ปี ยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกก็ตายเสียก่อนในระหว่างทาง
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัส
เรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย
ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขา
กล่าวอย่างนี้ เราจึงกล่าวกับเทพบุตรนั้นดังนี้ว่า
เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า
‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป และเราไม่กล่าวว่าการที่บุคคลยังไม่ถึง ที่สุด
แห่งโลกจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
อนึ่ง เราบัญญัติโลก ความเกิดแห่งโลก ความดับแห่งโลก และข้อปฏิบัติให้
ถึงความดับแห่งโลก ในร่างกายที่มีประมาณวาหนึ่ง มีสัญญา มีใจนี้เอง”
ไม่ว่าในเวลาไหน ที่สุดแห่งโลก
ใครก็ถึงไม่ได้ด้วยการไป
และเมื่อยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลก
ย่อมไม่มีการเปลื้องตนจากทุกข์
เพราะเหตุนั้นแล ผู้รู้แจ้งโลก มีปัญญาดี
ถึงที่สุดแห่งโลก อยู่จบพรหมจรรย์
สงบระงับ รู้ที่สุดแห่งโลก
ย่อมไม่หวังทั้งโลกนี้และโลกหน้า
ทุติยโรหิตัสสสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๗.สุวิทูรสูตร

๗. สุวิทูรสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน
[๔๗] ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้
สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๑
๒. ฝั่งนี้กับฝั่งโน้นของทะเล นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๒
๓. จุดที่ดวงอาทิตย์ขึ้นกับจุดที่ดวงอาทิตย์ตก นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกัน
เหลือเกินอย่างที่ ๓
๔. ธรรมของสัตบุรุษ(คนดี)กับธรรมของอสัตบุรุษ(คนชั่ว) นี้เป็นสิ่งที่อยู่
ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้แล
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า
ฟ้ากับดินอยู่ไกลกัน
ฝั่ง(ทั้งสอง)ของทะเลอยู่ไกลกัน
จุดที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกก็อยู่ไกลกัน
บัณฑิตกล่าวว่า ธรรมของสัตบุรุษ
กับธรรมของอสัตบุรุษอยู่ไกลยิ่งกว่านั้น
สมาคมของสัตบุรุษยั่งยืนนาน
ดำรงอยู่ตราบนานเท่านาน
ส่วนสมาคมของอสัตบุรุษย่อมจืดจางเร็ว
เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษ
จึงห่างไกลจากธรรมของอสัตบุรุษ
สุวิทูรสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๘. วิสาขสูตร

๘. วิสาขสูตร
ว่าด้วยการแสดงธรรมของวิสาขปัญจาลิบุตร
[๔๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านวิสาขปัญจาลิบุตรชี้แจง
ให้ภิกษุทั้งหลายในหอฉันเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ด้วยวาจาชาวเมืองที่
สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ เกี่ยวเนื่องกับนิพพาน ไม่อิงอาศัย
วัฏฏะ ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นเข้าไปยังหอฉัน
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ใครหนอชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายในหอฉันเห็นชัด ชวนใจให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถา ด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้
เกี่ยวเนื่องกับนิพพาน ไม่อิงอาศัยวัฏฏะ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้จริญ ท่านวิสาขปัญจาลิบุตร
ชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายในหอฉันเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้
อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ด้วยวาจาชาว
เมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ เกี่ยวเนื่องกับนิพพาน ไม่
อิงอาศัยวัฏฏะ”
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านวิสาขปัญจาลิบุตรดังนี้ว่า “ดีจริง
ดีจริง วิสาขะ ดีเหลือเกินที่เธอชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอา
ไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ เกี่ยวเนื่องกับ
นิพพาน ไม่อิงอาศัยวัฏฏะ”
บุคคลผู้ไม่พูด
ชนทั้งหลายย่อมไม่รู้ว่าเป็นคนพาลหรือบัณฑิต
ส่วนบุคคลผู้ที่พูด
ชนทั้งหลายย่อมรู้ว่าเป็นผู้แสดงอมตธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๙.วิปัลลาสสูตร
บุคคลพึงประกาศ เชิดชู
ยกย่องธรรม๑ซึ่งเป็นธงชัยของฤๅษี
ฤๅษีทั้งหลายมีสุภาษิตเป็นธงชัย
ธรรมเป็นธงชัยของฤๅษี
วิสาขสูตรที่ ๘ จบ

๙. วิปัลลาสสูตร
ว่าด้วยวิปลาส
[๔๙] ภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส๒ จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการนี้
สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
๒. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
๓. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็น
อัตตา
๔. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่างาม
ภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส ๔ ประการนี้
สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่า
ไม่เที่ยง
๒. สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่า
เป็นทุกข์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๙.วิปัลลาสสูตร
๓. สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาสในสิ่งที่เป็นอนัตตา
ว่าเป็นอนัตตา
๔. สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่า
ไม่งาม
ภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส ๔ ประการ
นี้แล
เหล่าสัตว์ผู้ถูกมิจฉาทิฏฐิทำลาย
มีจิตซัดส่าย สำคัญผิด
หมายรู้ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
หมายรู้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
หมายรู้ในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา
หมายรู้ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม
สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าติดอยู่ในเครื่องประกอบของมาร
ไม่มีความเกษมจากโยคะ
ประสบกับความเกิดและความตาย
ท่องเที่ยวไปสู่สังสารวัฏ
ก็ในกาลใดพระพุทธเจ้า
ผู้จุดประกายให้แสงสว่าง เสด็จอุบัติขึ้นในโลก
ในกาลนั้นพระองค์ย่อมประกาศธรรม๑นี้
ที่ให้สัตว์ถึงความดับทุกข์
สัตว์เหล่านั้นผู้มีปัญญา
ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
กลับได้ความคิดเป็นของตนเอง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๑๐.อุปักกิเลสสูตร
ได้เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง
ได้เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์
ได้เห็นสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอนัตตา
ได้เห็นสิ่งที่ไม่งามว่าเป็นของไม่งาม
ยึดถือสัมมาทิฏฐิ พ้นทุกข์ทั้งหมดได้
วิปัลลาสสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุปักกิเลสสูตร
ว่าด้วยสิ่งมัวหมอง
[๕๐] ภิกษุทั้งหลาย สิ่งมัวหมองที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์มัวหมอง
ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง ๔ ประการนี้
สิ่งมัวหมอง ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เมฆเป็นสิ่งมัวหมอง ที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์มัวหมอง
ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง
๒. หมอกเป็นสิ่งมัวหมอง ที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์มัวหมอง
ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง
๓. ควันและฝุ่นละอองเป็นสิ่งมัวหมอง ที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
มัวหมอง ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง
๔. ราหูผู้เป็นจอมอสูรเป็นสิ่งมัวหมอง ที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
มัวหมอง ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งมัวหมองที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์มัวหมอง ไม่
ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง ๔ ประการนี้แล
เช่นเดียวกันแล อุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัวหมอง ไม่สง่า
ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ๔ ประการนี้
อุปกิเลส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๑๐.อุปักกิเลสสูตร
๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งดื่มสุราและเมรัย ไม่เว้นขาดจากการดื่ม
สุราและเมรัย นี้เป็นอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
มัวหมอง ไม่สง่า ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ประการที่ ๑
๒. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งเสพเมถุนธรรม ไม่เว้นขาดจากการเสพ
เมถุนธรรม นี้เป็นอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์มัวหมอง ไม่สง่า
ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ประการที่ ๒
๓. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งยินดีทองและเงิน ไม่เว้นขาดจากการรับทอง
และเงิน นี้เป็นอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์มัวหมอง ไม่สง่า
ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ประการที่ ๓
๔. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งดำเนินชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ไม่เว้นขาดจาก
มิจฉาชีพ นี้เป็นอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์มัวหมอง ไม่
สง่า ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ประการที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัวหมอง ไม่สง่า
ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ๔ ประการนี้แล
สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
ถูกราคะและโทสะปกคลุม
ถูกอวิชชาหุ้มห่อ ยินดีรูปที่น่ารัก
ดื่มสุราและเมรัย เสพเมถุน
เป็นคนมืดบอด ยินดีทองและเงิน
สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
ดำเนินชีวิตด้วยมิจฉาชีพ
พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์
ตรัสอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
มัวหมอง ไม่สง่า ไม่ผ่องใส
เป็นที่รู้กันว่าไม่บริสุทธิ์
มีธุลี ถูกความมืดปกคลุม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เป็นทาสแห่งตัณหา ถูกตัณหาชักนำ
ให้อัตภาพหยาบเจริญเติบโต
ย่อมยินดีการเกิดใหม่
อุปักกิเลสสูตรที่ ๑๐ จบ
โรหิตัสสวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สมาธิภาวนาสูตร ๒. ปัญหพยากรณสูตร
๓. ปฐมโกธครุสูตร ๔. ทุติยโกธครุสูตร
๕. โรหิตัสสสูตร ๖. ทุติยโรหิตัสสสูตร
๗. สุวิทูรสูตร ๘. วิสาขสูตร
๙. วิปัลลาสสูตร ๑๐. อุปักกิเลสสูตร

ปฐมปัณณาสก์ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๑. ปฐมปุญญาภิสันทสูตร

๒. ทุติยปัณณาสก์
๑. ปุญญาภิสันทวรรค
หมวดว่าด้วยห้วงบุญกุศล
๑. ปฐมปุญญาภิสันทสูตร
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล สูตรที่ ๑
[๕๑] (เหตุเกิดที่เมืองสาวัตถี) ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล๑ ๔ ประการนี้
นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อ
เกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุใช้สอยจีวรของทายกใด บรรลุเจโตสมาธิที่ประมาณไม่ได้อยู่
ห้วงบุญกุศลของทายกนั้น ประมาณไม่ได้ นำสุขมาให้ เป็นไป
เพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
๒. ภิกษุฉันบิณฑบาตของทายกใด ฯลฯ
๓. ภิกษุใช้สอยเสนาสนะของทายกใด ฯลฯ
๔. ภิกษุบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารของทายกใด บรรลุเจโตสมาธิ
ที่ประมาณไม่ได้อยู่ ห้วงบุญกุศลของทายกนั้นประมาณไม่ได้ นำสุข
มาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์
เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล ๔ ประการนี้แลนำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้
อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๑. ปฐมปุญญาภิสันทสูตร
การที่จะกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญกุศล ๔ ประการ
นี้ว่า “ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็น
ผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ” ดังนี้
ไม่ใช่จะทำได้ง่าย แท้จริง ห้วงบุญกุศลนี้ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ ที่
นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้เลย’
การกำหนดประมาณของน้ำในมหาสมุทรว่า “น้ำมีปริมาณเท่านี้อาฬหกะ
น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑๐๐ อาฬหกะ น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑,๐๐๐ อาฬหกะ หรือน้ำมี
ปริมาณเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ อาฬหกะ” ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย แท้จริง ประมาณ
ของน้ำในมหาสมุทรนั้น ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นห้วงน้ำใหญ่ ที่นับไม่ได้ ประมาณ
ไม่ได้เลย’ แม้ฉันใด
การที่จะกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญกุศล ๔ ประการ
นี้ว่า “ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุข
เป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ”
ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย แท้จริง ห้วงบุญกุศลนี้ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่
ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้เลย’ ฉันนั้นเหมือนกันแล
แม่น้ำหลายสายคับคั่งไปด้วยหมู่ปลา
ไหลบ่าไปยังมหาสมุทรอันเป็นที่ขังน้ำขนาดใหญ่
ประมาณไม่ได้ มีสิ่งที่น่ากลัวมาก๑
เป็นแหล่งรัตนะชั้นเยี่ยมฉันใด
สายธารแห่งบุญย่อมหลั่งไหลไปสู่นรชนผู้เป็นบัณฑิต
ผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน ที่นั่ง และเครื่องปูลาด
เปรียบเหมือนแม่น้ำคือห้วงน้ำไหลไปยังมหาสมุทรฉันนั้น๒
ปฐมปุญญาภิสันทสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๒.ทุติยปุญญาภิสันทสูตร

๒. ทุติยปุญญาภิสันทสูตร
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล สูตรที่ ๒
[๕๒] ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล ๔๑ อย่างนี้นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้
อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน
พระพุทธเจ้าว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็น
พระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชา
และจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่าง
ยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค”๒ ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล ประการที่ ๑
นี้นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผลให้เกิดในสวรรค์
เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
๒. อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า
“พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึง
เห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๓ ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล
ประการที่ ๒ นี้นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล
ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ
๓. อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า
“พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น