Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๑-๓ หน้า ๘๗ - ๑๓๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๒.ทุติยปุญญาภิสันทสูตร
ถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็น
นาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก” ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศลประการ
ที่ ๓ นี้นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดใน
สวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
๔. อริยสาวกประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ๑ ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ
เป็นไปเพื่อสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศลประการที่ ๔ นี้นำสุข
มาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์
เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล ๔ ประการนี้แลนำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้
อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ
ผู้ใดมีศรัทธาในตถาคตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
มีศีลงาม เป็นศีลที่พระอริยะชอบใจ(และ)สรรเสริญ
มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง๒
บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน
ชีวิตของเขาก็ไม่สูญเปล่า
เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญาเมื่อระลึกถึง
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ควรหมั่นประกอบ
ศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส๓และการเห็นธรรม๔
ทุติยปุญญาภิสันทสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๓.ปฐมสังวาสสูตร

๓. ปฐมสังวาสสูตร
ว่าด้วยการอยู่ร่วมกัน สูตรที่ ๑
[๕๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จทางไกลระหว่างเมืองมธุรากับเมือง
เวรัญชา คหบดีและคหปตานีเป็นจำนวนมากก็ได้เดินทางไกลระหว่างเมืองมธุรา
กับเมืองเวรัญชา สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลงข้างทาง ประทับนั่งที่โคนต้นไม้
ต้นหนึ่ง คหบดีและคหปตานีเหล่านั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งที่โคนต้นไม้
ต้นหนึ่ง จึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ
ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับคหบดีและคหปตานีเหล่านั้นดังนี้ว่า
คหบดีและคหปตานี การอยู่ร่วมกัน ๔ ประการนี้
การอยู่ร่วมกัน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาผี
๒. สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา
๓. สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาผี
๔. สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา
สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาผี เป็นอย่างไร
คือ สามีในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย๑อันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นผู้ทุศีล มีธรรม
เลวทราม มีใจถูกความตระหนี่อันเป็นมลทินครอบงำ ด่าและติเตียนสมณพราหมณ์
อยู่ครองเรือน แม้ภรรยาของเขาก็เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
พูดเท็จ เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นผู้ทุศีล
มีธรรมเลวทราม มีใจถูกความตระหนี่อันเป็นมลทินครอบงำ ด่าและติเตียนสมณ
พราหมณ์ อยู่ครองเรือน สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาผี เป็นอย่างนี้แล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๓.ปฐมสังวาสสูตร
สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา เป็นอย่างไร
คือ สามีในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็น
เหตุแห่งความประมาท เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม มีใจถูกความตระหนี่อันเป็น
มลทินครอบงำ ด่าและติเตียนสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน ส่วนภรรยาของเขา
เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติ
ผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและ
เมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม มีใจปราศจาก
ความตระหนี่อันเป็นมลทิน ไม่ด่าและไม่ติเตียนสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน
สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา เป็นอย่างนี้แล
สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาผี เป็นอย่างไร
คือ สามีในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้น
ขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการเสพของ
มึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม
มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน ไม่ด่าและไม่ติเตียนสมณพราหมณ์ อยู่
ครองเรือน ส่วนภรรยาของเขาเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม มีใจถูกความตระหนี่
อันเป็นมลทินครอบงำ ด่าและติเตียนสมณพราหมณ์ สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาผี
เป็นอย่างนี้แล
สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา เป็นอย่างไร
คือ สามีในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เว้นขาดจากการเสพของ
มึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม
มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน ไม่ด่าและไม่ติเตียนสมณพราหมณ์ แม้
ภรรยาของเขาก็เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เว้นขาดจากการเสพของมึนเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม มีใจ
ปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน ไม่ด่าและไม่ติเตียนสมณพราหมณ์ สามีเทวดา
อยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา เป็นอย่างนี้แล
คหบดีและคหปตานี การอยู่ร่วมกัน ๔ อย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๓.ปฐมสังวาสสูตร
สามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่ายเป็นผู้ทุศีล
ตระหนี่ ชอบด่าว่าสมณพราหมณ์
ชื่อว่าเป็นผีมาอยู่ร่วมกัน
สามีเป็นผู้ทุศีล
ตระหนี่ ชอบด่าว่าสมณพราหมณ์
ส่วนภรรยาเป็นผู้มีศีล
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ๑ ปราศจากความตระหนี่
ภรรยานั้นชื่อว่าเป็นเทวดาอยู่ร่วมกับสามีผี
สามีเป็นผู้มีศีล
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่
ส่วนภรรยาเป็นผู้ทุศีล
ตระหนี่ ชอบด่าว่าสมณพราหมณ์
ภรรยานั้นชื่อว่าเป็นผีอยู่ร่วมกับสามีเทวดา
ส่วนสามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่าย
เป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ
สำรวมระวัง ดำเนินชีวิตโดยธรรม
เจรจาคำไพเราะอ่อนหวานต่อกัน
มีความเจริญรุ่งเรือง มีความผาสุก
มีความประพฤติเสมอกันทั้ง ๒ ฝ่าย
รักใคร่ ไม่คิดร้ายต่อกัน
ทั้ง ๒ ฝ่ายประพฤติธรรมในโลกนี้
มีศีลและวัตรเสมอกัน เสวยอารมณ์ที่น่าใคร่
ย่อมเพลิดเพลินบันเทิงใจในเทวโลก
ปฐมสังวาสสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๔.ทุติยสังวาสสูตร

๔. ทุติยสังวาสสูตร
ว่าด้วยการอยู่ร่วมกัน สูตรที่ ๒
[๕๔] ภิกษุทั้งหลาย การอยู่ร่วมกัน ๔ ประการนี้
การอยู่ร่วมกัน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาผี
๒. สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา
๓. สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาผี
๔. สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา
สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาผี เป็นอย่างไร
คือ สามีในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูด
ส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท เป็น
มิจฉาทิฏฐิ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม มีใจถูกความตระหนี่อันเป็นมลทินครอบงำ
ด่าและติเตียนสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน แม้ภรรยาของเขาก็เป็นผู้ฆ่าสัตว์
ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม
มีใจถูกความตระหนี่อันเป็นมลทินครอบงำ ด่าและติเตียนสมณพราหมณ์ อยู่ครอง
เรือน สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาผี เป็นอย่างนี้แล
สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา เป็นอย่างไร
คือ สามีในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ มีใจถูกความตระหนี่อันเป็น
มลทินครอบงำ ด่าและติเตียนสมณพราหมณ์อยู่ครองเรือน ส่วนภรรยาของเขา
เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติ
ผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการ
พูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตไม่พยาบาท
เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็น
มลทิน ไม่ด่าและไม่ติเตียนสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยา
เทวดา เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๔.ทุติยสังวาสสูตร
สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาผี เป็นอย่างไร
คือ สามีในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาด
จากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม มีใจปราศจากความ
ตระหนี่อันเป็นมลทิน ไม่ด่าและไม่ติเตียนสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน ส่วนภรรยา
ของเขา เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีใจถูกความตระหนี่อันเป็นมลทินครอบงำ ด่าและติเตียน
สมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาผี เป็นอย่างนี้แล
สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา เป็นอย่างไร
คือ สามีในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีใจปราศจากความ
ตระหนี่อันเป็นมลทิน ไม่ด่าและไม่ติเตียนสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน แม้ภรรยา
ของเขาก็เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ไม่ด่าและไม่ติเตียนสมณพราหมณ์
สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การอยู่ร่วมกัน ๔ ประการนี้แล
สามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่ายเป็นผู้ทุศีล
ตระหนี่ ชอบด่าว่าสมณพราหมณ์
ชื่อว่าเป็นผีมาอยู่ร่วมกัน
สามีเป็นผู้ทุศีล
ตระหนี่ ชอบด่าว่าสมณพราหมณ์
ส่วนภรรยาเป็นผู้มีศีล
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่
ภรรยานั้นชื่อว่าเป็นเทวดาอยู่ร่วมกับสามีผี
สามีเป็นผู้มีศีล
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่
ส่วนภรรยาเป็นผู้ทุศีล
ตระหนี่ ชอบด่าว่าสมณพราหมณ์
ภรรยานั้นชื่อว่าเป็นผีอยู่ร่วมกับสามีเทวดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๕.ปฐมสมชีวีสูตร
สามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่าย
เป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ
สำรวมระวัง ดำเนินชีวิตโดยธรรม
เจรจาคำไพเราะอ่อนหวานต่อกัน
มีความเจริญรุ่งเรือง มีความผาสุก
มีความประพฤติเสมอกันทั้ง ๒ ฝ่าย
รักใคร่ ไม่คิดร้ายต่อกัน
ทั้ง ๒ ฝ่ายประพฤติธรรมในโลกนี้
มีศีลและวัตรเสมอกัน เสวยอารมณ์ที่น่าใคร่
ย่อมเพลิดเพลินบันเทิงใจในเทวโลก
ทุติยสังวาสสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมสมชีวีสูตร
ว่าด้วยผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เสมอกัน สูตรที่ ๑
[๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่เภสกฬามฤคทายวัน เขตกรุงสุงสุมารคีระ๑
แคว้นภัคคะ ครั้นในเวลาเช้าพระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของนกุลปิตาคหบดี ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว
ลำดับนั้น นกุลปิตาคหบดีและนกุลมาตาคหปตานี๒พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นับแต่เวลาที่ข้าพระองค์นำนกุลมาตาคหปตานีมา
ข้าพระองค์ไม่เคยคิดที่จะประพฤตินอกใจนกุลมาตาคหปตานี ไหนเลยจะประพฤติ
นอกใจด้วยกายเล่า พวกข้าพระองค์ปรารถนาที่จะพบกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้า”

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๖. ทุติยสมชีวีสูตร
แม้นกุลมาตาคหปตานีก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ นับแต่เวลาที่นกุลปิตาคหบดีหนุ่มนำหม่อมฉันผู้ยังเป็นสาวมา หม่อมฉัน
ไม่เคยคิดที่จะประพฤตินอกใจนกุลปิตาคหบดี ไหนเลยจะประพฤตินอกใจด้วยกาย
เล่า พวกข้าพระองค์ปรารถนาที่จะพบกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดีและคหปตานี ถ้าสามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่าย
หวังจะพบกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ทั้ง ๒ ฝ่ายพึงมีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอ
กัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน สามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่ายนั้นย่อมได้
พบกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้า”
สามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่าย
เป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ
สำรวมระวัง ดำเนินชีวิตโดยธรรม
เจรจาคำไพเราะอ่อนหวานต่อกัน
มีความเจริญรุ่งเรือง มีความผาสุก
มีความประพฤติเสมอกันทั้ง ๒ ฝ่าย
รักใคร่ ไม่คิดร้ายต่อกัน
ทั้ง ๒ ฝ่าย ประพฤติธรรมในโลกนี้
มีศีลและวัตรเสมอกัน เสวยอารมณ์ที่น่าใคร่
ย่อมเพลิดเพลินบันเทิงใจในเทวโลก
ปฐมสมชีวีสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยสมชีวีสูตร
ว่าด้วยผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เสมอกัน สูตรที่ ๒
[๕๖] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่ายหวังที่จะพบกันทั้งในชาตินี้
และชาติหน้า ทั้ง ๒ ฝ่ายพึงมีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน
มีปัญญาเสมอกัน สามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่ายนั้นย่อมได้พบกันทั้งในชาตินี้และ
ชาติหน้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๗.สุปปวาสาสูตร
สามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่าย
เป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ
สำรวมระวัง ดำเนินชีวิตโดยธรรม
เจรจาคำไพเราะอ่อนหวานต่อกัน
มีความเจริญรุ่งเรือง มีความผาสุก
มีความประพฤติเสมอกันทั้ง ๒ ฝ่าย
รักใคร่ ไม่คิดร้ายต่อกัน
ทั้ง ๒ ฝ่ายประพฤติธรรมในโลกนี้
มีศีลและวัตรเสมอกัน เสวยอารมณ์ที่น่าใคร่
ย่อมเพลิดเพลินบันเทิงใจในเทวโลก
ทุติยสมชีวีสูตรที่ ๖ จบ

๗. สุปปวาสาสูตร
ว่าด้วยสุปปวาสาโกฬิยธิดา
[๕๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในนิคมของโกฬิยราชสกุล ชื่อ
ปัชชเนละ แคว้นโกฬิยะ๑ ครั้นในเวลาเช้าพระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของสุปปวาสาโกฬิยธิดา ประทับนั่งบน
พุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ลำดับนั้น สุปปวาสาโกฬิยธิดาได้นำของขบฉันอัน
ประณีตประเคนพระผู้มีพระภาคให้อิ่มหนำด้วยตนเอง เมื่อพระผู้มีพระภาคเสวย
เสร็จ ทรงวางพระหัตถ์จากบาตรแล้ว สุปปวาสาโกฬิยธิดาจึงนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับสุปปวาสาโกฬิยธิดาดังนี้ว่า
สุปปวาสา อริยสาวิกาผู้ให้โภชนะชื่อว่าให้ฐานะ ๔ ประการแก่ปฏิคาหก
ฐานะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อายุ ๒. วรรณะ
๓. สุขะ ๔. พละ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๗.สุปปวาสาสูตร
ครั้นให้อายุแล้วย่อมมีส่วนได้อายุอันเป็นทิพย์หรืออันเป็นของมนุษย์ ครั้นให้
วรรณะแล้วย่อมมีส่วนได้วรรณะอันเป็นทิพย์หรืออันเป็นของมนุษย์ ครั้นให้สุขะแล้ว
ย่อมมีส่วนได้สุขะอันเป็นทิพย์หรืออันเป็นของมนุษย์ ครั้นให้พละแล้วย่อมมีส่วนได้
พละอันเป็นทิพย์หรืออันเป็นของมนุษย์
สุปปวาสา อริยสาวิกาผู้ให้โภชนะชื่อว่าให้ฐานะ ๔ ประการนี้แก่ปฏิคาหก
ทักษิณาคือโภชนะที่อริยสาวิกาให้
ซึ่งปรุงอย่างดี สะอาด ประณีต สมบูรณ์ด้วยรส
ชื่อว่าให้ในท่านผู้ปฏิบัติตรง
ประกอบพร้อมด้วยกิริยามารยาท๑ ถึงความเป็นใหญ่๒
ทักษิณานั้นเชื่อมต่อบุญกับบุญ
เป็นทักษิณามีผลมาก
ที่พระพุทธเจ้าผู้รู้แจ้งโลกทรงสรรเสริญ
ชนผู้ระลึกถึงยัญ๓เช่นนั้น
เกิดความยินดี เที่ยวไปในโลก
กำจัดมลทินคือความตระหนี่พร้อมทั้งรากเหง้า
ไม่ถูกใครนินทา ย่อมเข้าถึงฐานะคือสวรรค์
สุปปวาสาสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๙.โภชนสูตร

๘. สุทัตตสูตร
ว่าด้วยสุทัตตคหบดี
[๕๘] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า
คหบดี อริยสาวกผู้ให้โภชนะชื่อว่าให้ฐานะ๑ ๔ ประการแก่ปฏิคาหก
ฐานะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อายุ ๒. วรรณะ
๓. สุขะ ๔. พละ
ครั้นให้อายุแล้วย่อมมีส่วนได้อายุอันเป็นทิพย์หรืออันเป็นของมนุษย์ ครั้นให้
วรรณะแล้ว ฯลฯ ครั้นให้สุขะแล้ว ฯลฯ ครั้นให้พละแล้วย่อมมีส่วนได้พละอันเป็น
ทิพย์หรืออันเป็นของมุนษย์
คหบดี อริยสาวก ผู้ให้โภชนะชื่อว่าให้ฐานะ ๔ ประการนี้แก่ปฏิคาหก
ผู้ให้โภชนะโดยเคารพตามเวลาอันควร
แก่ท่านผู้สำรวม บริโภคโภชนะที่ผู้อื่นให้
ชื่อว่าเพิ่มให้ฐานะ ๔ ประการ คือ
อายุ วรรณะ สุขะ และพละ
นรชนผู้ให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ
ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในที่ที่ตนเกิด
สุทัตตสูตรที่ ๘ จบ

๙. โภชนสูตร
ว่าด้วยทายกผู้ให้โภชนะ
[๕๙] ภิกษุทั้งหลาย ทายกผู้ให้โภชนะชื่อว่าให้ฐานะ ๔ ประการแก่ปฏิคาหก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๑๐.คิหิสามีจิสูตร
ฐานะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อายุ ๒. วรรณะ
๓. สุขะ ๔. พละ
ครั้นให้อายุแล้วย่อมมีส่วนได้อายุอันเป็นทิพย์หรืออันเป็นของมนุษย์ ครั้นให้
วรรณะแล้ว ฯลฯ ครั้นให้สุขะแล้ว ฯลฯ ครั้นให้พละแล้วย่อมมีส่วนได้พละอัน
เป็นทิพย์หรืออันเป็นของมนุษย์
ภิกษุทั้งหลาย ทายกผู้ให้โภชนะชื่อว่าให้ฐานะ ๔ ประการแก่ปฏิคาหก
ผู้ให้โภชนะโดยเคารพตามเวลาอันควร
แก่ท่านผู้สำรวม บริโภคโภชนะที่ผู้อื่นให้
ชื่อว่าเพิ่มให้ฐานะ ๔ ประการ คือ
อายุ วรรณะ สุขะ และพละ
นรชนผู้ให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ
ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในที่ที่ตนเกิด
โภชนสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. คิหิสามีจิสูตร
ว่าด้วยการปฏิบัติปฏิปทาที่เหมาะสมแก่คฤหัสถ์
[๖๐] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า
คหบดี อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่
เหมาะสมแก่คฤหัสถ์ ที่เป็นเหตุให้ได้ยศ เป็นไปเพื่อให้เกิดในสวรรค์
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑. บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร
๒. บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยบิณฑบาต
๓. บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยเสนาสนะ
๔. บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร
คหบดี อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่
เหมาะสมแก่คฤหัสถ์ ที่เป็นเหตุให้ได้ยศ เป็นไปเพื่อให้เกิดในสวรรค์
บัณฑิตทั้งหลายบำรุงท่านผู้มีศีล ผู้ปฏิบัติชอบ
ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และยารักษาโรค
ชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่เหมาะสมแก่คฤหัสถ์
บุญย่อมเจริญยิ่งแก่บัณฑิตเหล่านั้น
ทุกเมื่อทั้งกลางวันและกลางคืน
เขาครั้นทำกรรมดีงามแล้ว
ย่อมเข้าถึงฐานะคือสวรรค์
คิหิสามีจิสูตรที่ ๑๐ จบ
ปุญญาภิสันทวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปุญญาภิสันทสูตร ๒. ทุติยปุญญาภิสันทสูตร
๓. ปฐมสังวาสสูตร ๔. ทุติยสังวาสสูตร
๕. ปฐมสมชีวีสูตร ๖. ทุติยสมชีวีสูตร
๗. สุปปวาสาสูตร ๘. สุทัตตสูตร
๙. โภชนสูตร ๑๐. คิหิสามีจิสูตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๑.ปัตตกัมมสูตร

๒. ปัตตกัมมวรรค
หมวดว่าด้วยกรรมอันสมควร
๑. ปัตตกัมมสูตร
ว่าด้วยกรรมอันสมควร
[๖๑] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า
คหบดี ธรรม ๔ ประการนี้เป็นสิ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยาก
ในโลก
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ขอโภคะจงเกิดขึ้นแก่เราพร้อมกับความชอบธรรม๑ นี้เป็นธรรม
ประการที่ ๑ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๒. เราได้โภคทรัพย์พร้อมกับความชอบธรรมแล้ว ขอยศ๒จงเฟื่องฟู
แก่เราพร้อมด้วยญาติ มิตร สหาย นี้เป็นธรรมประการที่ ๒ ที่
น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๓. เราได้โภคทรัพย์พร้อมกับความชอบธรรม ได้ยศพร้อมด้วยญาติ
มิตร สหายแล้ว ขอเราจงมีชีวิตอยู่นาน รักษาอายุให้ยั่งยืน นี้เป็น
ธรรมประการที่ ๓ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยาก
ในโลก
๔. เราได้โภคทรัพย์พร้อมกับความชอบธรรม ได้ยศพร้อมด้วยญาติ
มิตร สหาย มีชีวิตอยู่นาน รักษาอายุให้ยั่งยืนแล้ว หลังจากตาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๑.ปัตตกัมมสูตร
แล้ว ขอให้เราเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ที่
น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
คหบดี ธรรม ๔ ประการนี้แลเป็นสิ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้
ยากในโลก
คหบดี ธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ธรรม ๔ ประการนี้แลที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
๒. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
๓. จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการเสียสละ)
๔. ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
สัทธาสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้มีศรัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า “แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดย
ชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควร
ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค” นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา
สีลสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เว้นขาด
จากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท นี้เรียกว่า
สีลสัมปทา
จาคสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มี
จาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ทาน
และการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน นี้เรียกว่า จาคสัมปทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๑.ปัตตกัมมสูตร
ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลมีใจถูกอภิชฌาวิสมโลภะ๑ครอบงำอยู่ ย่อมทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ไม่
ยินดีสิ่งที่ควรทำ เมื่อทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีสิ่งที่ควรทำ ย่อมเสื่อมจากยศและ
ความสุข บุคคลมีใจถูกพยาบาท (ความคิดร้าย) ครอบงำอยู่ ย่อมทำสิ่งที่ไม่ควรทำ
ไม่ยินดีสิ่งที่ควรทำ เมื่อทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีสิ่งที่ควรทำ ย่อมเสื่อมจากยศ
และความสุข มีใจถูกถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) ครอบงำอยู่ ย่อมทำสิ่งที่
ไม่ควรทำ ไม่ยินดีสิ่งที่ควรทำ เมื่อทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีสิ่งที่ควรทำ ย่อมเสื่อม
จากยศและความสุข มีใจถูกอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) ครอบงำอยู่
มีใจถูกวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ครอบงำอยู่ ย่อมทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีสิ่งที่
ควรทำ เมื่อทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีสิ่งที่ควรทำ ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข
อริยสาวกนั้นแลรู้ว่า ‘อภิชฌาวิสมโลภะทำให้จิตเศร้าหมอง’ จึงละอภิชฌา-
วิสมโลภะที่ทำให้จิตเศร้าหมองเสีย รู้ว่า ‘พยาบาททำให้จิตเศร้าหมอง’ จึงละ
พยาบาทที่ทำให้จิตเศร้าหมองเสีย รู้ว่า ‘ถีนมิทธะทำให้จิตเศร้าหมอง’ จึงละ
ถีนมิทธะที่ทำให้จิตเศร้าหมองเสีย รู้ว่า ‘อุทธัจจกุกกุจจะทำให้จิตเศร้าหมอง’ จึง
ละอุทธัจจกุกกุจจะที่ทำให้จิตเศร้าหมองเสีย รู้ว่า ‘วิจิกิจฉาทำให้จิตเศร้าหมอง’
จึงละวิจิกิจฉาที่ทำให้จิตเศร้าหมองเสีย
เมื่อใดอริยสาวกรู้ว่า ‘อภิชฌาวิสมโลภะทำให้จิตเศร้าหมอง’ จึงละอภิชฌา-
วิสมโลภะที่ทำให้จิตเศร้าหมองเสีย รู้ว่า ‘พยาบาททำให้จิตเศร้าหมอง’ ... รู้ว่า
‘ถีนมิทธะทำให้จิตเศร้าหมอง’ ... รู้ว่า ‘อุทธัจจกุกกุจจะทำให้จิตเศร้าหมอง’ ... รู้ว่า
‘วิจิกิจฉาทำให้จิตเศร้าหมอง’ จึงละวิจิกิจฉาที่ทำให้จิตเศร้าหมองเสีย เมื่อนั้นอริย-
สาวกนี้ชื่อว่ามีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง มองเห็นแนวทาง สมบูรณ์ด้วย
ปัญญา นี้เรียกว่า ปัญญาสัมปทา
คหบดี ธรรม ๔ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อได้ธรรม ๔ ประการนี้แล ที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๑.ปัตตกัมมสูตร
อริยสาวกนั้นแลชื่อว่าทำกรรมอันสมควร ๔ ประการด้วยโภคทรัพย์ที่หามา
ได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ
ประกอบด้วยธรรม๑ ได้มาโดยธรรม๒
กรรมอันสมควร ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ย่อมบำรุงตนเอง มารดา บิดา บุตร ภรรยา
ทาส กรรมกร คนรับใช้ มิตร และอำมาตย์ให้เป็นสุข บริหารให้
เป็นสุขโดยชอบด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม
ได้มาโดยธรรม นี้เป็นฐานะที่ ๑ ที่อริยสาวกนั้นถึงแล้ว ถึงโดย
สมควร ใช้สอยตามเหตุ
๒. อริยสาวกย่อมป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟ น้ำ พระราชา โจร
คนที่ไม่ชอบกัน หรือจากทายาทด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วย
ความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อ
ต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม ทำตนให้ปลอดภัย
นี้เป็นฐานะที่ ๒ ที่อริยสาวกนั้นถึงแล้ว ถึงโดยสมควร ใช้สอย
ตามเหตุ
๓. อริยสาวกย่อมทำพลี๓ ๕ อย่าง คือ ญาติพลี อติถิพลี ปุพพเปตพลี
ราชพลี เทวตาพลีด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วย
ธรรม ได้มาโดยธรรม นี้เป็นฐานะที่ ๓ ที่อริยสาวกนั้นถึงแล้ว ถึง
โดยสมควร ใช้สอยตามเหตุ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๑.ปัตตกัมมสูตร
๔. อริยสาวกบำเพ็ญทักษิณาที่มีผลสูงขึ้นไป๑ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี๒
มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์๓ ไว้ในสมณพราหมณ์ผู้เว้นขาดจาก
ความมัวเมาและความประมาท ผู้ดำรงมั่นอยู่ในขันติและโสรัจจะ
ฝึกอบรมตน ทำตนให้สงบ ทำตนให้ดับเย็นสนิท๔ด้วยโภคทรัพย์
ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง
อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม นี้เป็นฐานะ
ที่ ๔ ที่อริยสาวกนั้นถึงแล้ว ถึงโดยสมควร ใช้สอยตามเหตุ
คหบดี อริยสาวกนั้นชื่อว่าทำกรรมอันสมควร ๔ ประการนี้ด้วยโภคทรัพย์ที่
หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ
ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม โภคทรัพย์ของใครก็ตาม หมดสิ้นไปเพราะ
กรรมอื่นนอกจากกรรมอันสมควร ๔ ประการนี้ โภคทรัพย์เหล่านี้ เราเรียกว่า
ถึงแล้วโดยไม่ใช่เหตุ ถึงโดยไม่สมควร ใช้สอยตามเหตุอันไม่ควร ส่วนโภคทรัพย์
ของใครก็ตาม หมดสิ้นไปเพราะกรรมอันสมควร ๔ ประการนี้ โภคทรัพย์เหล่านี้
เราเรียกว่า ถึงแล้วโดยเหตุ ถึงโดยสมควร ใช้สอยตามเหตุ
นรชนผู้จะต้องตายเมื่อคำนึงถึงว่า
‘โภคทรัพย์ทั้งหลายเราได้บริโภคแล้ว
คนที่ควรเลี้ยงเราได้เลี้ยงแล้ว
อันตรายทั้งหลายเราได้ข้ามพ้นแล้ว
ทักษิณาที่มีผลสูงขึ้นไปเราได้ให้แล้ว
และพลีกรรม ๕ อย่างเราได้ทำแล้ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๒.อานัณยสูตร
ท่านผู้มีศีล สำรวมระวัง
ประพฤติพรหมจรรย์เราได้บำรุงแล้ว
ประโยชน์ที่บัณฑิตผู้อยู่ครองเรือนปรารถนา
เราก็ได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
กรรมที่ไม่ก่อความเดือดร้อนในภายหลังเราได้ทำแล้ว’
ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในอริยธรรม๑
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในชาตินี้เอง
เขาตายไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์
ปัตตกัมมสูตรที่ ๑ จบ

๒. อานัณยสูตร
ว่าด้วยสุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้
[๖๒] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า
คหบดี สุข ๔ ประการนี้คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม๒พึงได้รับตามกาล ตามสมัย
สุข ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อัตถิสุข (สุขเกิดจากความมีทรัพย์)
๒. โภคสุข (สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์)
๓. อานัณยสุข๓ (สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้)
๔. อนวัชชสุข (สุขเกิดจากความประพฤติที่ไม่มีโทษ)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๒.อานัณยสูตร
อัตถิสุข เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้มีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความหมั่นเพียร เก็บรวบรวม
ด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม เขาได้รับสุข
โสมนัสว่า ‘เรามีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วย
น้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม’ นี้เรียกว่า
อัตถิสุข
โภคสุข เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้ใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วย
ความหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม
ได้มาโดยธรรม เขาได้รับสุขโสมนัสว่า ‘เราใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญด้วย
โภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบ
เหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม’ นี้เรียกว่า โภคสุข
อานัณยสุข เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้ไม่เป็นหนี้ใคร ไม่ว่าจะน้อยหรือมากก็ตาม เขาได้รับสุข
โสมนัสว่า ‘เราไม่เป็นหนี้ใคร ไม่ว่าจะน้อยหรือมาก’ นี้เรียกว่า อานัณยสุข
อนวัชชสุข เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษ วจีกรรมที่ไม่
มีโทษ และมโนกรรมที่ไม่มีโทษ เขาได้รับสุขโสมนัสว่า ‘เราประกอบด้วยกายกรรม
ที่ไม่มีโทษ วจีกรรมที่ไม่มีโทษ มโนกรรมที่ไม่มีโทษ’ นี้เรียกว่า อนวัชชสุข
คหบดี คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามพึงได้รับสุข ๔ ประการนี้แลตามกาล ตามสมัย
นรชนผู้จะต้องตาย
รู้สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้
ระลึกถึงสุขเกิดจากความมีทรัพย์
เสวยสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์
ย่อมเห็นแจ้งด้วยปัญญา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๓.พรหมสูตร
ผู้มีปัญญาดีเห็นชัดอยู่อย่างนี้ย่อมรู้ส่วนทั้ง ๒ ว่า
สุขแม้ทั้ง ๓ นี้มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖
แห่งสุขเกิดจากความประพฤติอันไม่มีโทษ
อานัณยสูตรที่ ๒ จบ

๓. พรหมสูตร๑
ว่าด้วยสกุลที่มีพรหม
[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุล
นั้นชื่อว่ามีพรหม บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามี
บุรพาจารย์ บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามีบุรพเทพ
บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามีอาหุไนยบุคคล
คำว่า “พรหม” นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา คำว่า “บุรพาจารย์” นี้เป็นชื่อ
ของมารดาบิดา คำว่า “บุรพเทพ” นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา คำว่า “อาหุไนยบุคคล”
นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา๒ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก
บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตร
มารดาบิดาผู้อนุเคราะห์ประชา
ท่านเรียกว่าพรหม บุรพาจารย์
และอาหุไนยบุคคลของบุตรทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงนมัสการ
และสักการะมารดาบิดานั้นด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน
การอบกลิ่น การให้อาบน้ำ และการชำระเท้า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๕.รูปสูตร
เพราะการปรนนิบัติมารดาบิดานั้นแล
บัณฑิตทั้งหลายจึงสรรเสริญเขาในโลกนี้เอง
เขาตายไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์
พรหมสูตรที่ ๓ จบ

๔. นิรยสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้เกิดในนรก
[๖๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่
ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ฆ่าสัตว์ ๒. ลักทรัพย์
๓. ประพฤติผิดในกาม ๔. พูดเท็จ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่
ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์
การพูดเท็จ และการคบหาภรรยาของผู้อื่น
เรากล่าวว่าเป็นกรรมเศร้าหมอง
บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่สรรเสริญเลย
นิรยสูตรที่ ๔ จบ

๕. รูปสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณ
[๖๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๕.รูปสูตร
๑. บุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณ เลื่อมใสในรูป
๒. บุคคลผู้ถือเสียงเป็นประมาณ เลื่อมใสในเสียง
๓. บุคคลผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ๑ เลื่อมใสในความเศร้าหมอง
๔. บุคคลผู้ถือธรรมเป็นประมาณ เลื่อมใสในธรรม
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ชนเหล่าใดถือประมาณในรูป
และชนเหล่าใดคล้อยไปตามเสียง
ชนเหล่านั้นชื่อว่าตกอยู่ในอำนาจของฉันทราคะ๒
ย่อมไม่รู้จักบุคคลนั้น คือ
บุคคลนั้นแลเป็นคนเขลา ไม่รู้คุณภายในของเขา
และไม่เห็นข้อปฏิบัติภายนอกของเขา
ถูกห้อมล้อมไว้โดยรอบ ย่อมถูกเสียงชักนำไป
อนึ่ง บุคคลผู้ไม่รู้คุณภายใน๓
แต่เห็นข้อปฏิบัติภายนอก๔
มองแต่ผลในภายนอก๕
ย่อมถูกเสียงชักนำไป
ส่วนบุคคลที่รู้คุณภายใน
และเห็นแจ้งข้อปฏิบัติภายนอก
เห็นธรรมปราศจากเครื่องกั้น
ย่อมไม่ถูกเสียงชักนำไป
รูปสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๗.อหิราชสูตร

๖. สราคสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้มีราคะ
[๖๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้มีราคะ ๒. บุคคลผู้มีโทสะ
๓. บุคคลผู้มีโมหะ ๔. บุคคลผู้มีมานะ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ชนทั้งหลายผู้กำหนัดมาก
ในธรรมที่เป็นเหตุแห่งความกำหนัด
เพลิดเพลินอย่างยิ่งในรูปที่น่ารัก
เป็นสัตว์ต่ำทราม ถูกโมหะ (ความหลง) หุ้มห่อไว้
ย่อมทำให้เครื่องผูกพันเจริญขึ้น
เป็นคนไม่ฉลาด ทำอกุศลกรรมที่เกิดจากราคะบ้าง
เกิดจากโทสะบ้าง เกิดจากโมหะบ้าง
ที่มีแต่ความคับแค้น เพิ่มทุกข์อยู่ร่ำไป
สัตว์ที่ถูกอวิชชา (ความไม่รู้) หุ้มห่อไว้
เป็นผู้มืดบอด ปราศจากจักษุคือปัญญา
มีสภาวะเหมือนธรรมทั้งหลายที่มีอยู่
ย่อมไม่สำคัญว่าเราทั้งหลายก็มีสภาวะเหมือนอย่างนั้น
สราคสูตรที่ ๖ จบ

๗. อหิราชสูตร
ว่าด้วยตระกูลพญางู
[๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งในเขตกรุงสาวัตถีถูกงูกัด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๗.อหิราชสูตร
ถึงแก่มรณภาพ ลำดับนั้น ภิกษุหลายรูปพากันไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในเขตกรุงสาวัตถีถูกงูกัดถึงแก่มรณภาพ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นคงจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตให้
ตระกูลพญางู ๔ ตระกูล เพราะถ้าเธอแผ่เมตตาจิตให้ตระกูลพญางู ๔ ตระกูล
เธอก็จะไม่ถูกงูกัดถึงแก่มรณภาพ
ตระกูลพญางู ๔ ตระกูล อะไรบ้าง คือ
๑. ตระกูลพญางูชื่อวิรูปักษ์ ๒. ตระกูลพญางูชื่อเอราปถะ
๓. ตระกูลพญางูชื่อฉัพยาบุตร ๔. ตระกูลพญางูชื่อกัณหาโคตมกะ
ภิกษุนั้นคงจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตให้ตระกูลพญางู ๔ ตระกูลนี้ เพราะถ้าเธอแผ่
เมตตาจิตให้ตระกูลพญางู เธอก็จะไม่ถูกงูกัดถึงแก่มรณภาพ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแผ่เมตตาจิตให้ตระกูลพญางู ๔ ตระกูลนี้
เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน”
เราขอมีเมตตาต่อตระกูลพญางูวิรูปักษ์
เราขอมีเมตตาต่อตระกูลพญางูเอราปถะ
เราขอมีเมตตาต่อตระกูลพญางูฉัพยาบุตร
เราขอมีเมตตาต่อตระกูลพญางูกัณหาโคตมกะ
เราขอมีเมตตาต่อสัตว์ไม่มีเท้า
เราขอมีเมตตาต่อสัตว์สองเท้า
เราขอมีเมตตาต่อสัตว์สี่เท้า
เราขอมีเมตตาต่อสัตว์หลายเท้า
สัตว์ไม่มีเท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา
สัตว์สองเท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา
สัตว์สี่เท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา
สัตว์หลายเท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๘. เทวทัตตสูตร
ขอสรรพสัตว์ที่มีลมหายใจ
ขอสรรพสัตว์ที่ยังมีชีวิตทั้งมวล
จงประสพกับความเจริญ
ความเลวร้ายอย่าได้มาแผ้วพานสัตว์ใด ๆ เลย
พระพุทธเจ้ามีพระคุณหาประมาณมิได้ พระธรรมมีพระคุณหาประมาณมิได้
พระสงฆ์มีพระคุณหาประมาณมิได้ สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย คือ งู แมงป่อง ตะขาบ
แมงมุม ตุ๊กแก หนูมีคุณพอประมาณ
เราทำการรักษา ทำการป้องกันไว้แล้ว ขอหมู่สัตว์ผู้มีชีวิตทั้งหลายจงหลีก
ไป เรานั้นขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาค ขอนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๗
พระองค์๑
อหิราชสูตรที่ ๗ จบ

๘. เทวทัตตสูตร
ว่าด้วยพระเทวทัต
[๖๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ ณ ที่นั้น เมื่อพระเทวทัตหลีกไปไม่นานนัก พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสปรารภพระเทวทัตว่า “ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง
เกิดขึ้นแก่พระเทวทัตเพื่อฆ่าตน เพื่อความเสื่อม
ลาภสักการะและชื่อเสียงเกิดขึ้นแก่พระเทวทัตเพื่อฆ่าตน เพื่อความเสื่อม
เหมือนต้นกล้วยเผล็ดผลเพื่อฆ่าตน เพื่อความพินาศ
ลาภสักการะและชื่อเสียงเกิดขึ้นแก่พระเทวทัตเพื่อฆ่าตน เพื่อความเสื่อม
เหมือนต้นไผ่ตกขุยเพื่อฆ่าตน เพื่อความพินาศ
ลาภสักการะและชื่อเสียงเกิดขึ้นแก่พระเทวทัตเพื่อฆ่าตน เพื่อความเสื่อม
เหมือนไม้อ้อออกดอกเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความพินาศ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๙.ปธานสูตร
ลาภสักการะและชื่อเสียงเกิดขึ้นแก่พระเทวทัตเพื่อฆ่าตน เพื่อความเสื่อม
เหมือนแม่ม้าอัสดร๑ตั้งครรภ์เพื่อฆ่าตน เพื่อความพินาศ”
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนผลกล้วยฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ดอกอ้อฆ่าต้นอ้อ
ลูกม้าอัสดรฆ่าแม่ม้าฉะนั้น
เทวทัตตสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปธานสูตร๒
ว่าด้วยปธาน
[๖๙] ภิกษุทั้งหลาย ปธาน (ความเพียร) ๔ ประการนี้
ปธาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สังวรปธาน (เพียรระวัง) ๒. ปหานปธาน (เพียรละ)
๓. ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ) ๔. อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษา)
สังวรปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตมุ่งมั่นเพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังวรปธาน
ปหานปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตมุ่งมั่นเพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า ปหานปธาน
ภาวนาปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตมุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๑๐.อธัมมิกสูตร
อนุรักขนาปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตมุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน
ภิกษุทั้งหลาย ปธาน ๔ ประการนี้แล
ปธาน ๔ ประการนี้ คือ
สังวรปธาน ปหานปธาน
ภาวนาปธาน และอนุรักขนาปธาน
พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ทรงแสดงไว้แล้ว
ที่เป็นเหตุให้ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ผู้มีความเพียรถึงความสิ้นทุกข์
ปธานสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อธัมมิกสูตร
ว่าด้วยพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมและผู้ตั้งอยู่ในธรรม
[๗๐] ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาที่พระราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรม๑ แม้พวกข้าราชการ
ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อพวกข้าราชการไม่ตั้งอยู่ในธรรม แม้พราหมณ์และคหบดี
ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อพราหมณ์และคหบดีไม่ตั้งอยู่ในธรรม แม้ชาวนิคมและชาว
ชนบทก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อชาวนิคมและชาวชนบทไม่ตั้งอยู่ในธรรม ดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์ก็โคจร(หมุน)ไปไม่สม่ำเสมอ เมื่อดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โคจรไป
ไม่สม่ำเสมอ หมู่ดาวนักษัตรก็โคจรไปไม่สม่ำเสมอ เมื่อหมู่ดาวนักษัตรโคจรไปไม่
สม่ำเสมอ คืนและวันก็หมุนเวียนไปไม่สม่ำเสมอ เมื่อคืนและวันหมุนเวียนไปไม่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๑๐.อธัมมิกสูตร
สม่ำเสมอ เดือนหนึ่งและครึ่งเดือนก็หมุนเวียนไปไม่สม่ำเสมอ เมื่อเดือนหนึ่งและ
ครึ่งเดือนหมุนเวียนไปไม่สม่ำเสมอ ฤดูและปีก็หมุนเวียนไปไม่สม่ำเสมอ เมื่อฤดู
และปีหมุนเวียนไปไม่สม่ำเสมอ ลมก็พัดไปไม่สม่ำเสมอ พัดไปผิดทางไม่สม่ำเสมอ
เมื่อลมพัดไปไม่สม่ำเสมอ พัดไปผิดทางไม่สม่ำเสมอ พวกเทวดาก็ขัดเคืองใจ
เมื่อพวกเทวดาขัดเคืองใจ ฝนก็ไม่ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล
ข้าวกล้าทั้งหลายก็ออกรวงสุกไม่พร้อมกัน
ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายบริโภคข้าวกล้าที่สุกไม่พร้อมกันย่อมมีอายุ
น้อย ๑ มีผิวพรรณไม่ดี ๑ มีกำลังไม่ดี ๑ มีความเจ็บป่วยมาก ๑
ในเวลาที่พระราชาตั้งอยู่ในธรรม แม้พวกข้าราชการก็ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อพวก
ข้าราชการตั้งอยู่ในธรรม แม้พราหมณ์และคหบดีก็ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อพราหมณ์
และคหบดีตั้งอยู่ในธรรม แม้ชาวนิคมและชาวชนบทก็ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อชาวนิคม
และชาวชนบทตั้งอยู่ในธรรม ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็โคจรไปสม่ำเสมอ เมื่อ
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โคจรไปสม่ำเสมอ หมู่ดาวนักษัตรก็โคจรไปสม่ำเสมอ
เมื่อหมู่ดาวนักษัตรโคจรไปสม่ำเสมอ คืนและวันก็หมุนเวียนไปสม่ำเสมอ เมื่อคืน
และวันหมุนเวียนไปสม่ำเสมอ เดือนหนึ่งและครึ่งเดือนก็หมุนเวียนไปสม่ำเสมอ
เมื่อเดือนหนึ่งและครึ่งเดือนหมุนเวียนไปสม่ำเสมอ ฤดูและปีก็หมุนเวียนไปสม่ำเสมอ
เมื่อฤดูและปีหมุนเวียนไปสม่ำเสมอ ลมก็พัดไปสม่ำเสมอ พัดไปถูกทางสม่ำเสมอ
เมื่อลมพัดไปสม่ำเสมอ พัดไปถูกทางสม่ำเสมอ พวกเทวดาก็ไม่ขัดเคืองใจ เมื่อ
พวกเทวดาไม่ขัดเคืองใจ ฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อฝนตกต้องตามฤดูกาล
ข้าวกล้าทั้งหลายก็ออกรวงสุกพร้อมกัน
ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายบริโภคข้าวกล้าสุกพร้อมกันย่อมมีอายุยืน ๑
มีผิวพรรณผ่องใส ๑ มีกำลัง ๑ มีความเจ็บป่วยน้อย ๑
เมื่อฝูงโคข้ามน้ำไป
ถ้าโคจ่าฝูงไปคดเคี้ยว
โคทั้งฝูงก็ไปคดเคี้ยวตามกัน
ในเมื่อโคจ่าฝูงไปคดเคี้ยว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน
ผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้เป็นใหญ่
ถ้าผู้นั้นประพฤติไม่เป็นธรรม
ประชาชนชาวเมืองนั้นก็จะประพฤติไม่เป็นธรรมตามไปด้วย
หากพระราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรม
ชาวเมืองนั้นก็อยู่เป็นทุกข์
เมื่อฝูงโคข้ามน้ำไป
ถ้าโคจ่าฝูงไปตรง
โคทั้งฝูงก็ไปตรงตามกัน
ในเมื่อโคจ่าฝูงไปตรง
ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน
ผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้เป็นใหญ่
ถ้าผู้นั้นประพฤติชอบธรรม
ประชาชนชาวเมืองนั้นก็จะประพฤติชอบธรรมตามไปด้วย
หากพระราชาตั้งอยู่ในธรรม
ชาวเมืองนั้นก็อยู่เป็นสุข๑
อธัมมิกสูตรที่ ๑๐ จบ
ปัตตกัมมวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปัตตกัมมสูตร ๒. อานัณยสูตร
๓. พรหมสูตร ๔. นิรยสูตร
๕. รูปสูตร ๖. สราคสูตร
๗. อหิราชสูตร ๘. เทวทัตตสูตร
๙. ปธานสูตร ๑๐. อธัมมิกสูตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๓.อปัณณกวรรค ๒.สัมมาทิฏฐิสูตร

๓. อปัณณกวรรค
หมวดว่าด้วยข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด
๑. ปธานสูตร
ว่าด้วยความเพียรเป็นเหตุสิ้นอาสวะ
[๗๑] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมปฏิบัติปฏิปทา
ที่ไม่ผิด และชื่อว่าได้สร้างเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ๑
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. มีศีล ๒. เป็นพหูสูต
๓. ปรารภความเพียร ๔. มีปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมปฏิบัติปฏิปทา
ที่ไม่ผิด และชื่อว่าได้สร้างเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ
ปธานสูตรที่ ๑ จบ

๒. สัมมาทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นเหตุสิ้นอาสวะ
[๗๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมปฏิบัติปฏิปทา
ที่ไม่ผิด และชื่อว่าได้สร้างเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม)
๒. อพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท)
๓. อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน)
๔. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๓.อปัณณกวรรค ๓.สัปปุริสสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมปฏิบัติปฏิปทา
ที่ไม่ผิด และชื่อว่าได้สร้างเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ
สัมมาทิฏฐิสูตรที่ ๒ จบ

๓. สัปปุริสสูตร
ว่าด้วยธรรมของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ
[๗๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการพึงทราบว่า เป็น
อสัตบุรุษ
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อสัตบุรุษในโลกนี้ถึงไม่มีใครถามก็เปิดเผยข้อเสียหายของบุคคลอื่นได้
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงอสัตบุรุษผู้ถูกถามเลย และอสัตบุรุษผู้ถูกถาม
ก็ตอบปัญหาทันที ไม่อ้อมค้อม ไม่หน่วงเหนี่ยว กล่าวถึงข้อเสีย
ของบุคคลอื่นอย่างละเอียดเต็มที่ นี้พึงทราบว่า ‘ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ’
๒. อสัตบุรุษถึงถูกใครถามก็ไม่เปิดเผยข้อดีของบุคคลอื่น ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงอสัตบุรุษผู้ไม่ถูกถามเลย และอสัตบุรุษผู้ถูกถามก็ตอบ
ปัญหาอ้อมค้อม หน่วงเหนี่ยว กล่าวสรรเสริญข้อดีของบุคคลอื่น
ไม่ละเอียดเต็มที่ นี้พึงทราบว่า ‘ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ’
๓. อสัตบุรุษถึงถูกใครถามก็ไม่เปิดเผยข้อเสียของตน ไม่จำเป็นต้อง
พูดถึงอสัตบุรุษผู้ไม่ถูกถาม และอสัตบุรุษผู้ถูกถามก็ตอบปัญหา
อ้อมค้อม หน่วงเหนี่ยว กล่าวถึงข้อเสียของตนไม่ละเอียดเต็มที่
นี้พึงทราบว่า ‘ผู้นี้เป็นอสัตบุรษ’
๔. อสัตบุรุษถึงไม่ถูกใครถามก็เปิดเผยข้อดีของตน ไม่จำเป็นต้อง
พูดถึงอสัตบุรุษผู้ถูกถาม และอสัตบุรุษผู้ถูกถามก็รีบตอบปัญหา
ไม่อ้อมค้อม ไม่หน่วงเหนี่ยว กล่าวสรรเสริญข้อดีของตนอย่าง
ละเอียดเต็มที่ นี้พึงทราบว่า ‘ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลพึงทราบว่า เป็น
อสัตบุรุษ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๓.อปัณณกวรรค ๓.สัปปุริสสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการพึงทราบว่า เป็น
สัตบุรุษ
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัตบุรุษในโลกนี้ถึงถูกใครถามก็ไม่เปิดเผยข้อเสียของบุคคลอื่น ไม่
จำเป็นต้องพูดถึงสัตบุรุษผู้ไม่ถูกถาม และสัตบุรุษผู้ถูกถามก็ตอบ
ปัญหาอ้อมค้อม หน่วงเหนี่ยว กล่าวถึงข้อเสียของบุคคลอื่นอย่าง
ไม่ละเอียดเต็มที่ นี้พึงทราบว่า ‘ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ’
๒. สัตบุรุษถึงไม่ถูกใครถามก็เปิดเผยข้อดีของบุคคลอื่น ไม่จำเป็นต้อง
พูดถึงสัตบุรุษผู้ถูกถาม และสัตบุรุษผู้ถูกถามก็รีบตอบปัญหาไม่
อ้อมค้อม ไม่หน่วงเหนี่ยว กล่าวสรรเสริญข้อดีของบุคคลอื่น
อย่างละเอียดเต็มที่ นี้พึงทราบว่า ‘ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ’
๓. สัตบุรุษถึงไม่ถูกใครถามก็เปิดเผยข้อเสียของตน ไม่จำเป็นต้องพูด
ถึงสัตบุรุษผู้ถูกถาม และสัตบุรุษผู้ถูกถามก็รีบตอบปัญหาไม่
อ้อมค้อม ไม่หน่วงเหนี่ยว กล่าวข้อเสียของตนอย่างละเอียดเต็มที่
นี้พึงทราบว่า ‘ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ’
๔. สัตบุรุษถึงถูกใครถามก็ไม่เปิดเผยข้อดีของตน ไม่จำเป็นต้องพูด
ถึงสัตบุรุษผู้ไม่ถูกถาม และสัตบุรุษผู้ถูกถามก็รีบตอบปัญหา
อ้อมค้อม หน่วงเหนี่ยว กล่าวสรรเสริญข้อดีของตนอย่างไม่
ละเอียดเต็มที่ นี้พึงทราบว่า ‘ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลพึงทราบว่า เป็น
สัตบุรุษ
ภิกษุทั้งหลาย หญิงสะใภ้มีความละอายและเกรงกลัวมากในแม่สามี พ่อสามี
สามี รวมถึงพวกทาส กรรมกร และคนรับใช้ ตลอดช่วงเวลาคืนหนึ่งหรือวันหนึ่ง
ที่นางถูกนำมา(สู่ตระกูลสามี) สมัยต่อมา เพราะอาศัยอยู่จนคุ้นเคย จึงกล่าวกับ
แม่สามี พ่อสามี แม้กระทั่งสามีว่า ‘หลีกไป พวกท่านจะรู้เรื่องอะไรเล่า’ แม้ฉันใด
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตลอดช่วงเวลาคืนหนึ่งหรือวัน
หนึ่งที่เธอออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เธอยังมีความละอาย มีความเกรงกลัว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๓.อปัณณกวรรค ๕. ทุติยอัคคสูตร
มากในเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา รวมถึงพวกคนวัดและสมณุทเทส๑
สมัยต่อมา เพราะอาศัยอยู่รวมกันจนคุ้นเคย เธอกล่าวกับอาจารย์ แม้กระทั่ง
อุปัชฌาย์อย่างนี้ว่า ‘หลีกไป พวกท่านจะรู้เรื่องอะไรเล่า’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจัก
มีใจเหมือนหญิงสะใภ้ที่มาอยู่ใหม่’ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
สัปปุริสสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมอัคคสูตร
ว่าด้วยธรรมอันเลิศ สูตรที่ ๑
[๗๔] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเลิศ ๔ ประการนี้
ธรรมอันเลิศ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ศีลอันเลิศ ๒. สมาธิอันเลิศ
๓. ปัญญาอันเลิศ ๔. วิมุตติอันเลิศ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเลิศ ๔ ประการนี้แล
ปฐมอัคคสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยอัคคสูตร
ว่าด้วยธรรมอันเลิศ สูตรที่ ๒
[๗๕] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเลิศ๒ ๔ ประการนี้
ธรรมอันเลิศ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปอันเลิศ ๒. เวทนาอันเลิศ
๓. สัญญาอันเลิศ ๔. ภพอันเลิศ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเลิศ ๔ ประการนี้แล
ทุติยอัคคสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๓.อปัณณกวรรค ๖.กุสินารสูตร

๖. กุสินารสูตร
ว่าด้วยพุทธกิจในกรุงกุสินารา
[๗๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ระหว่างต้นรังทั้งคู่ ในสาลวันของ
เจ้ามัลละ ซึ่งเป็นทางเข้ากรุงกุสินารา ในสมัยเป็นที่ปรินิพพาน ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูล
รับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุแม้เพียงรูปเดียวพึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลงใน
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มรรค หรือในปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ) เธอทั้งหลาย
จงถามเถิด อย่าได้มีความเดือดร้อนใจภายหลังว่า ‘พระศาสดาประทับอยู่ตรงหน้า
ของเราทั้งหลาย เราทั้งหลายยังไม่สามารถทูลถามพระผู้มีพระภาคต่อหน้าได้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นได้นิ่งเงียบ
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ...
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุแม้เพียงรูปเดียวพึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลง
ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มรรค หรือในปฏิปทา เธอทั้งหลายจงถามเถิด
อย่าได้มีความเดือดร้อนใจภายหลังว่า ‘พระศาสดาประทับอยู่ตรงหน้าของเราทั้งหลาย
เราทั้งหลายก็ยังไม่สามารถทูลถามพระผู้มีพระภาคต่อหน้าได้”
แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุเหล่านั้นก็ยังพากันนิ่งอยู่
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เป็นได้ที่เธอทั้งหลายไม่ถามเพราะความเคารพในพระศาสดา แม้เพื่อนจงบอกแก่
เพื่อนเถิด” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นได้นิ่งเงียบ ลำดับนั้น
ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ข้าพระองค์เลื่อมใส
อย่างนี้ว่า ‘ในภิกษุสงฆ์นี้ ภิกษุแม้แต่รูปเดียวไม่มีความสงสัยหรือเคลือบแคลงใน
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มรรค หรือในปฏิปทา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๓.อปัณณกวรรค ๗. อจินเตยยสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เธอกล่าวเพราะความเลื่อมใส ในเรื่องนี้
ตถาคตเองก็มีความรู้เหมือนกันว่า ‘ในภิกษุสงฆ์นี้ ภิกษุแม้แต่รูปเดียวไม่มีความ
สงสัยหรือเคลือบแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มรรค หรือในปฏิปทา’
อานนท์ ในจำนวนภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ภิกษุผู้มีคุณธรรมชั้นต่ำสุด๑ เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๒ในวันข้างหน้า”
กุสินารสูตรที่ ๖ จบ

๗. อจินเตยยสูตร
ว่าด้วยอจินไตย
[๗๗] ภิกษุทั้งหลาย อจินไตย (เรื่องไม่ควรคิด) ๔ ประการนี้บุคคลไม่ควรคิด
ใครคิดพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ความเดือดร้อน
อจินไตย ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พุทธวิสัย๓ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๒. ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน
๓. วิบากแห่งกรรม ๔. ความคิดเรื่องโลก๔
ภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ ประการนี้บุคคลไม่ควรคิด ใครคิดพึงมีส่วนแห่ง
ความเป็นบ้า ความเดือดร้อน
อจินเตยยสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๓.อปัณณกวรรค ๘.ทักขิณสูตร

๘. ทักขิณสูตร
ว่าด้วยความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา
[๗๘] ภิกษุทั้งหลาย ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา๑(ของทำบุญ) ๔ ประการนี้
ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก(ผู้ให้) แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก(ผู้รับ)
๒. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
๓. ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก
๔. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีล มีธรรม
เลวทราม ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้แล
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มี
กัลยาณธรรม ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่าง
นี้แล
ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม แม้ปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล มี
ธรรมเลวทราม ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้แล
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม แม้ปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล มี
กัลยาณธรรม ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ ประการนี้แล
ทักขิณสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๓.อปัณณกวรรค ๙. วณิชชสูตร

๙. วณิชชสูตร
ว่าด้วยเหตุให้การค้าขายขาดทุนหรือได้กำไร
[๗๙] สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบ
การค้าขายขาดทุน อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบการ
ค้าขายไม่ได้กำไรตามที่ประสงค์ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้
ประกอบการค้าขายได้กำไรตามที่ประสงค์ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคน
ในโลกนี้ประกอบการค้าขายได้กำไรยิ่งกว่าที่ประสงค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้เข้าไปหา
สมณะหรือพราหมณ์ปวารณาว่า ‘ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าต้องการปัจจัย นิมนต์
บอกเถิด’ แต่เขากลับไม่ถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้น
กลับมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ เขาประกอบการค้าขายใด ๆ ก็ย่อมขาดทุน
บุคคลบางคนในโลกนี้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์ปวารณาว่า ‘ท่านผู้เจริญ
พระคุณเจ้าต้องการปัจจัย นิมนต์บอกเถิด’ แต่เขาถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ไม่ตรง
ตามที่สมณะหรือพราหมณ์ประสงค์ ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้
เขาจะประกอบการค้าขายใดๆ ก็ไม่ได้กำไรตามที่ประสงค์
บุคคลบางคนในโลกนี้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์ปวารณาว่า ‘ท่านผู้เจริญ
พระคุณเจ้าต้องการปัจจัย นิมนต์บอกเถิด’ เขาถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ตามที่
สมณะหรือพราหมณ์ประสงค์ ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้
เขาจะประกอบการค้าขายใดๆ ก็ได้กำไรตามที่ประสงค์
บุคคลบางคนในโลกนี้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์ปวารณาว่า ‘ท่านผู้เจริญ
พระคุณเจ้าต้องการปัจจัย นิมนต์บอกเถิด’ เขาถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ยิ่งกว่าที่
สมณะหรือพราหมณ์ประสงค์ ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้
เขาจะประกอบการค้าขายใด ๆ ก็ได้กำไรยิ่งกว่าที่ประสงค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๓.อปัณณกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
สารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบการค้าขาย
ขาดทุน และไม่ได้กำไรตามที่ประสงค์
นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบการค้าขายได้กำไรตาม
ที่ประสงค์ และได้กำไรยิ่งกว่าที่ประสงค์”
วณิชชสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. กัมโพชสูตร
ว่าด้วยเหตุให้มาตุคามไปแคว้นกัมโพชะไม่ได้
[๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้มาตุคาม(สตรี)นั่งในสภา
ไม่ได้ ทำงานใหญ่ไม่ได้ ไปแคว้นกัมโพชะก็ไม่ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ มาตุคามเป็นคนมักโกรธ ชอบริษยา
ตระหนี่ ไม่มีปัญญา
นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้มาตุคามนั่งในสภาไม่ได้ ทำงานใหญ่ไม่ได้ ไปแคว้น
กัมโพชะก็ไม่ได้”
กัมโพชสูตรที่ ๑๐ จบ
อปัณณกวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปธานสูตร ๒. สัมมาทิฏฐิสูตร
๓. สัปปุริสสูตร ๔. ปฐมอัคคสูตร
๕. ทุติยอัคคสูตร ๖. กุสินารสูตร
๗. อจินเตยยสูตร ๘. ทักขิณสูตร
๙. วณิชชสูตร ๑๐. กัมโพชสูตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค ๒. มุสาวาทสูตร

๔. มจลวรรค
หมวดว่าด้วยสมณะผู้ไม่หวั่นไหว
๑. ปาณาติปาตสูตร
ว่าด้วยผู้ฆ่าสัตว์และผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
[๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔
ประการย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๔. เป็นผู้พูดเท็จ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ปาณาติปาตสูตรที่ ๑ จบ

๒. มุสาวาทสูตร
ว่าด้วยผู้พูดเท็จและผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
[๘๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค ๓.อวัณณารหสูตร
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้พูดเท็จ ๒. เป็นผู้พูดส่อเสียด
๓. เป็นผู้พูดคำหยาบ ๔. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
มุสาวาทสูตรที่ ๒ จบ

๓. อวัณณารหสูตร
ว่าด้วยผู้กล่าวสรรเสริญผู้ควรติเตียนและผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียน
[๘๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ๑ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง กล่าวสรรเสริญผู้ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง กล่าวติเตียนผู้ควรสรรเสริญ
๓. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง แสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
๔. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค ๔. โกธครุสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ๑ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ
๓. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควร
เลื่อมใส
๔. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว แสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
อวัณณารหสูตรที่ ๓ จบ

๔. โกธครุสูตร
ว่าด้วยผู้มักโกรธและผู้ไม่มักโกรธ
[๘๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้มักโกรธ ไม่เคารพสัทธรรม
๒. เป็นผู้มักลบหลู่ ไม่เคารพสัทธรรม
๓. เป็นผู้เห็นแก่ลาภ ไม่เคารพสัทธรรม
๔. เป็นผู้เห็นแก่สักการะ ไม่เคารพสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค ๕.ตโมตมสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เคารพสัทธรรม ไม่มักโกรธ
๒. เป็นผู้เคารพสัทธรรม ไม่มักลบหลู่
๓. เป็นผู้เคารพสัทธรรม ไม่เห็นแก่ลาภ
๔. เป็นผู้เคารพสัทธรรม ไม่เห็นแก่สักการะ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
โกธครุสูตรที่ ๔ จบ

๕. ตโมตมสูตร
ว่าด้วยผู้มืดมาและมืดไป
[๘๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้มืดมาและมืดไป ๒. บุคคลผู้มืดมาแต่สว่างไป
๓. บุคคลผู้สว่างมาแต่มืดไป ๔. บุคคลผู้สว่างมาและสว่างไป
บุคคลผู้มืดมาและมืดไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูลช่างสาน
ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนเทขยะ เป็นตระกูลยากจน มีข้าว
น้ำและสิ่งของเครื่องใช้น้อย เป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หาของกินและเครื่อง
นุ่งห่มได้ยาก และเขามีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย มีความเจ็บป่วยมาก
ตาบอด เป็นง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน
ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป และเขายัง
ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก บุคคลผู้มืดมาและมืดไป เป็นอย่างนี้แล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค ๕.ตโมตมสูตร
บุคคลผู้มืดมาแต่สว่างไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูลช่างสาน
ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนเทขยะ เป็นตระกูลยากจน มีข้าว
น้ำและสิ่งของเครื่องใช้น้อย เป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หาของกินและเครื่อง
นุ่งห่มได้ยาก และเขามีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย มีความเจ็บป่วยมาก
ตาบอด เป็นง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน
ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แต่เขา
ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
บุคคลผู้มืดมาแต่สว่างไป เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้สว่างมาแต่มืดไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูล
พราหมณมหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล๑ เป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์และธัญชาติ
มากมาย และเขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก ได้ข้าว น้ำ
ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แต่
เขาประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก บุคคลผู้สว่างมาแต่มืดไป เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้สว่างมาและสว่างไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูล
พราหมณมหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล เป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มี
โภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์และธัญชาติ
มากมาย และเขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก ได้ข้าว น้ำ
ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น