Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๓-๑๐ หน้า ๔๒๔ - ๔๗๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓-๑๐ สุตตันตปิฎกที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก อัฏฐก นวกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ราคเปยยาล
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ
... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ
... เพื่อความดับไปแห่งราคะ
... เพื่อความสละราคะ
... เพื่อความสละคืนราคะ...
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการนี้ เพื่อความสละคืนราคะ ฯลฯ
(๔-๓๐)
[๑๔๗-๖๒๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการ เพื่อรู้ยิ่งโทสะ
(ความคิดประทุษร้าย)
... เพื่อกำหนดรู้โทสะ
... เพื่อความสิ้นโทสะ
... เพื่อละโทสะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ
... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ
... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ
... เพื่อความสละโทสะ
... เพื่อความสละคืนโทสะ ... โมหะ(ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ) ...
อุปนาหะ(ความผูกโกรธ) ... มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปลาสะ(ความตีเสมอ) ...
อิสสา (ความริษยา) ... มัจฉริยะ(ความตระหนี่) ... มายา(มารยา) ... สาเถยยะ
(ความโอ้อวด) ... ถัมภะ(ความหัวดื้อ) ... สารัมภะ(ความแข่งดี) ... มานะ(ความถือตัว)
... อติมานะ (ความดูหมิ่นเขา) ... มทะ(ความมัวเมา) ... ปมาทะ (ความประมาท) ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการนี้ เพื่อความสละคืนปมาทะ
(๓๑-๕๑๐)
ราคเปยยาล จบ
อัฏฐกนิบาต จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๑.สัมโพธิสูตร
พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. สัมโพธิวรรค
หมวดว่าด้วยสัมโพธิ๑
๑. สัมโพธิสูตร
ว่าด้วยสัมโพธิ
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย
อะไรเป็นเหตุแห่งการเจริญธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งสัมโพธิ’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
ถูกถามอย่างนี้แล้ว จะตอบพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างไร”

เชิงอรรถ :
๑ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรค ๔ คือโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค
(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗/๒๔๒, ที.สี.อ. ๑/๓๗๓/๒๘๑, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๘๗/๒๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๑.สัมโพธิสูตร
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ๑ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระภาค
แล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสดังนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย
อะไรเป็นเหตุแห่งการเจริญธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งสัมโพธิ’ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้
ควรตอบพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี๒ นี้เป็นเหตุ
ประการที่ ๑ แห่งการเจริญธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งสัมโพธิ
๒. ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นเหตุประการที่ ๒ แห่งการ
เจริญธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งสัมโพธิ
๓. ภิกษุเป็นผู้ได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง ที่เป็นสัปปายะแห่งความ
เป็นไปของจิต๓ คือ อัปปิจฉกถา(เรื่องความมักน้อย) สันตุฏฐิกถา
(เรื่องความสันโดษ) ปวิเวกกถา(เรื่องความสงัด) อสังสัคคกถา(เรื่อง
ความไม่คลุกคลี) วิริยารัมภกถา(เรื่องการปรารภความเพียร)

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๘๓ (มูลกสูตร) หน้า ๔๐๗-๔๐๘ ในเล่มนี้
๒ มิตรดี หมายถึงมิตรที่มีคุณธรรมคือศีลเป็นต้น
สหาย หมายถึงเพื่อนร่วมงานที่ดี
เพื่อนดี หมายถึงเพื่อนที่รักใคร่ สนิทสนมรู้ใจกัน ซื่อสัตย์ต่อกัน (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒)
๓ เป็นสัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต หมายถึงเป็นที่สบายและเป็นอุปการะแก่การชักนำจิตเข้าสู่สมถะ
และวิปัสสนา (องฺ.นวก.อ. ๓/๑/๒๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๑.สัมโพธิสูตร
สีลกถา(เรื่องศีล) สมาธิกถา(เรื่องสมาธิ) ปัญญากถา(เรื่องปัญญา)
วิมุตติกถา(เรื่องวิมุตติ) วิมุตติญาณทัสสนกถา(เรื่องความรู้ความเห็น
ในวิมุตติ) ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
นี้เป็นเหตุประการที่ ๓ แห่งการเจริญธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งสัมโพธิ
๔. ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร๑ เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรม
เกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลาย นี้เป็นเหตุประการที่ ๔ แห่งการเจริญธรรมที่เป็นฝ่าย
แห่งสัมโพธิ
๕. ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
เห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความ
สิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นเหตุประการที่ ๕ แห่งการเจริญธรรมที่เป็น
ฝ่ายแห่งสัมโพธิ
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้มีศีล สำรวม
ด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษ
แม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้ได้กถา
เป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง ที่เป็นสัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต คือ อัปปิจฉกถา
สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา
ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบาก
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้ปรารภ
ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น
มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ปรารภความเพียร หมายถึงประกอบความเพียรในสัมมัปปธาน (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๘๔/๒๙๒) อีกนัยหนึ่ง
หมายถึงระดมความเพียรเต็มที่ (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๔๓/๓๕๑) และดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๑/๑๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๑.สัมโพธิสูตร
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้มีปัญญา คือ
ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ
ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้ว พึงเจริญธรรม
๔ ประการให้ยิ่งขึ้นไป คือ
๑. พึงเจริญอสุภะเพื่อละราคะ๑
๒. พึงเจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท๒
๓. พึงเจริญอานาปานสติเพื่อตัดวิตก๓
๔. พึงเจริญอนิจจสัญญาเพื่อถอนอัสมิมานะ๔
ภิกษุทั้งหลาย อนัตตสัญญาย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ได้อนิจจสัญญา ภิกษุผู้ได้
อนัตตสัญญา ย่อมบรรลุนิพพานที่ถอนอัสมิมานะได้ในปัจจุบัน
สัมโพธิสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เจริญอสุภะเพื่อละราคะ หมายถึงเจริญอสุภกัมมัฏฐานเพื่อข่มกามราคะที่เกิดขึ้นเพราะความประมาท
ขาดสติสังวรไม่รู้เท่าทันเป็นเบื้องต้น จากนั้นจึงเริ่มบำเพ็ญวิปัสสนาต่อไป เปรียบเทียบได้กับกระบวนการ
ของการเกี่ยวข้าว คือ ขณะที่ชาวนาเกี่ยวข้าวอยู่นั้นมีฝูงโคทำลายรั้วเข้ามาในนาได้ ชาวนาจำต้องวางเคียว
ไว้ก่อน แล้วถือไม้เรียวไปไล่ฝูงโคออกไปแล้วกลับมาซ่อมรั้วให้ดี จากนั้นจึงถือเคียวเกี่ยวข้าวต่อ ผู้บำเพ็ญ
เพียรเหมือนชาวนา ปัญญาเหมือนเคียว เวลาบำเพ็ญเหมือนเวลาเกี่ยวข้าว อสุภกัมมัฏฐานเหมือนไม้เรียว
สติสังวรเหมือนรั้ว ราคะเหมือนฝูงโค (องฺ.นวก.อ. ๓/๑/๒๘๕)
๒ เจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท หมายถึงเจริญเมตตากัมมัฏฐานเพื่อละความโกรธที่เกิดขึ้น (องฺ.นวก.อ.
๓/๑/๒๘๖)
๓ ดู ม.ม. ๑๓/๑๔๑/๙๕-๙๖, ม.อุ. ๑๔/๑๔๗/๑๓๐-๑๓๑, สํ.ม. ๑๙/๙๗๗/๒๖๙, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๖/
๑๓๑-๑๓๒)
๔ อัสมิมานะ หมายถึงมานะ (ความถือตัวเป็นอย่างนั้นอย่างนี้) ๙ ประการ คือ (๑) เป็นผู้เลิศกว่าเขา
ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๒) เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๓) เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
(๔) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๖) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัว
ว่าด้อยกว่าเขา (๗) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๘) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา
(๙) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๘/๓๓๙, องฺ.นวก.อ. ๓/๑/๒๘๖) และดู
อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๒๓๙/๓๑๔, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๓๒/๕๓๖,๘๖๖-๘๗๗/๕๕๔-๕๕๘,๙๖๒/๖๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๒.นิสสยสูตร
๒. นิสสยสูตร
ว่าด้วยนิสสัย
[๒] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลที่เรียกกันว่า ‘ผู้ถึงพร้อมด้วยนิสสัย๑ ผู้ถึงพร้อม
ด้วยนิสสัย’ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยนิสสัย ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
๑. ถ้าภิกษุอาศัยศรัทธาแล้ว ละอกุศล เจริญกุศลได้ อกุศลนั้นย่อม
เป็นอันเธอละได้แน่แท้
๒. ถ้าภิกษุอาศัยหิริ ฯลฯ
๓. ถ้าภิกษุอาศัยโอตตัปปะ ฯลฯ
๔. ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะ ฯลฯ
๕. ถ้าภิกษุอาศัยปัญญาแล้ว ละอกุศล เจริญกุศลได้ อกุศลนั้นย่อม
เป็นอันเธอละได้แน่แท้ อกุศลที่ภิกษุละได้แล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา
อันเป็นอริยะ๒ เป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้ว ละได้ดีแล้ว
ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรม ๕ ประการแล้ว พึงอาศัยธรรม ๔ ประการอยู่
ธรรม ๔ ประการ๓ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาแล้วเสพ
๒. พิจารณาแล้วอดกลั้น

เชิงอรรถ :
๑ นิสสัย ในที่นี้หมายถึงที่พึ่ง (องฺ.นวก.อ. ๓/๒/๒๘๖)
๒ ปัญญาอันเป็นอริยะ หมายถึงปัญญาในอริยมรรคพร้อมทั้งวิปัสสนา (องฺ.นวก.อ. ๓/๒/๒๘๖)
๓ พิจารณาแล้วเสพ หมายถึงพิจารณาแล้วเสพปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น
พิจารณาแล้วอดกลั้น หมายถึงพิจารณาแล้วอดกลั้นต่อความหนาวเป็นต้น
พิจารณาแล้วเว้น หมายถึงพิจารณาแล้วเว้นช้างดุร้าย หรือคนพาลเป็นต้น
พิจารณาแล้วบรรเทา หมายถึงพิจารณาแล้วบรรเทาอกุศลวิตก มีกามวิตก เป็นต้น ดู ที.ปา. ๑๑/๓๐๘/
๒๐๐, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๐/๔๐, ที.ปา.อ. ๓๐๘/๒๐๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๓.เมฆิยสูตร
๓. พิจารณาแล้วเว้น
๔. พิจารณาแล้วบรรเทา
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยนิสสัย เป็นอย่างนี้แล”
นิสสยสูตรที่ ๒ จบ
๓. เมฆิยสูตร
ว่าด้วยพระเมฆิยะ๑
[๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ จาลิกาบรรพต๒ เขตเมือง
จาลิกา สมัยนั้น ท่านพระเมฆิยะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค๓ ครั้งนั้นแล
ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืน ณ
ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
ปรารถนาจะเข้าไปยังชันตุคามเพื่อบิณฑบาต” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เมฆิยะ เธอจง
กำหนดเวลาที่ควร ณ บัดนี้เถิด”
ครั้นเวลาเช้า ท่านพระเมฆิยะครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยัง
ชันตุคามเพื่อบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เดินไป
ตามฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ขณะที่เที่ยวเดินพักผ่อน อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬานั้น ได้เห็น
ป่ามะม่วงที่งดงาม น่ารื่นรมย์ จึงมีความคิดดังนี้ว่า “ป่ามะม่วงนี้ช่างงดงาม
น่ารื่นรมย์จริง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรของกุลบุตรผู้ต้องการบำเพ็ญเพียร ถ้าพระ
ผู้มีพระภาคทรงอนุญาตเรา เราจะกลับมาบำเพ็ญเพียร ในป่ามะม่วงนี้”

เชิงอรรถ :
๑ ดู ขุ.อุ. ๒๕/๓๑/๑๓๙
๒ ที่ชื่อว่า จาลิกา เพราะเป็นภูเขาที่ปรากฏแก่ผู้แลดูในวันอุโบสถข้างแรม(กาฬปักษ์) ว่าเหมือนกับกำลังเคลื่อนไหว
ทั้งนี้เนื่องจากภูเขานี้มีสีขาวล้วนทั้งลูกซึ่งตัดกับความมืดในเวลากลางคืน (องฺ.นวก.อ. ๓/๓/๒๘๖-๒๘๗)
๓ พระเมฆิยเถระ เป็นพระอุปัฏฐากอีกรูปหนึ่งของพระผู้มีพระภาค เนื่องจากในต้นพุทธกาล (๒๐ พรรษาแรก)
พระผู้มีภาคไม่มีพระอุปัฏฐากประจำ บางคราวได้พระนาคสมาละ บางคราวได้พระนาคิตะ บางคราวได้
พระอุปวาหนะ บางคราวได้พระสุนักขัตตะ บางคราวได้พระสาคตะ บางคราวได้สามเณรจุนทะ (ขุ.อุ.อ.
๓๑/๒๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๓.เมฆิยสูตร
ต่อมา ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เข้าไปยังชันตุคามเพื่อบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้ว
เดินไปตามฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ขณะที่เที่ยวเดินพักผ่อนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ได้เห็น
ป่ามะม่วงที่งดงาม น่ารื่นรมย์ จึงมีความคิดดังนี้ว่า ‘ป่ามะม่วงนี้ช่างงดงาม น่า
รื่นรมย์จริง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรสำหรับกุลบุตรผู้ต้องการบำเพ็ญเพียรโดยแท้
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตเรา เราจะกลับมาบำเพ็ญเพียรในป่ามะม่วงนี้’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะกลับไปบำเพ็ญเพียรในป่า
มะม่วงนั้น”
เมื่อท่านพระเมฆิยะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับท่านดัง
นี้ว่า “เมฆิยะ เราอยู่คนเดียว เธอจงรอจนกว่าภิกษุรูปอื่นจะมา”๑
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระเมฆิยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก๒ ทั้งไม่มีการ
สั่งสมกิจที่ทำแล้ว๓ ส่วนข้าพระองค์ยังมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งยังต้องสั่งสม
กิจที่ทำแล้ว ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะกลับไป
บำเพ็ญเพียรในป่ามะม่วงนั้น”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เมฆิยะ เราอยู่คนเดียว เธอจงรอจนกว่าภิกษุรูปอื่น
จะมา”

เชิงอรรถ :
๑ นัยว่าพระดำรัสนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสด้วยพระประสงค์ที่จะประวิงเวลารอให้จิตของท่านพระเมฆิยะอ่อน
โยนเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร (องฺ.นวก.อ. ๓/๓/๒๘๗)
๒ ไม่มีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ในที่นี้หมายถึงไม่มีกิจ ๔ อย่างในอริยสัจ ๔ ประการ กิจ ๔ อย่างนั้น
คือ ปริญญากิจ (หน้าที่กำหนดรู้ทุกข์) ปหานกิจ (หน้าที่ละเหตุเกิดทุกข์) สัจฉิกิริยากิจ (หน้าที่ทำให้แจ้ง
ความดับทุกข์) และภาวนากิจ (หน้าที่อบรมมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ) (องฺ.นวก.อ. ๓/๓/๒๘๗, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
๓/๔๙/๑๔๑, ที.สี.อ. ๑/๒๔๘/๒๐๓)
๓ ไม่มีการสั่งสมกิจที่ทำแล้ว ในที่นี้หมายถึงไม่ต้องเพิ่มพูนกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เคยทำมาก่อน
อีกนัยหนึ่ง หมายถึงไม่ต้องเจริญมรรคที่เจริญได้แล้ว และไม่ต้องละกิเลสที่ละได้แล้วอีก (องฺ.นวก.อ. ๓/๓/
๒๘๗, ขุ.เถร.อ. ๖๔๔/๒๖๒) และดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๕/๕๓๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๓.เมฆิยสูตร
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระเมฆิยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งไม่มีการ
สั่งสมกิจที่ทำแล้ว ส่วนข้าพระองค์ยังมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งยังต้องสั่ง
สมกิจที่ทำแล้ว ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะกลับไป
บำเพ็ญเพียรในป่ามะม่วงนั้น”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เมฆิยะ เมื่อเธอพูดว่า ‘จะไปบำเพ็ญเพียร’ เราจะพึง
ว่าอะไร เธอจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด” ลำดับนั้น ท่านพระเมฆิยะ
ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วเข้าไปยังป่ามะม่วงนั้น
อาศัยป่ามะม่วงนั้น นั่งพักกลางวันอยู่ ณ โคนไม้มะม่วงต้นหนึ่ง เมื่อท่านพักอยู่
ในป่ามะม่วงนั้น บาปอกุศลวิตก ๓ ประการ คือ กามวิตก(ความตรึกในทางกาม)
พยาปาทวิตก(ความตรึกในทางพยาบาท) วิหิงสาวิตก(ความตรึกในทางเบียดเบียน)
เกิดขึ้นโดยมาก
ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะได้มีความคิดดังนี้ว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาแท้ ๆ แต่กระนั้นก็ยังถูกบาป
อกุศลวิตก ๓ ประการ คือ กามวิตก พยาปาทวิตก วิหิงสาวิตกรุมเร้าจิตได้”
ต่อมา ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อข้าพระองค์อยู่ในป่ามะม่วงนั้น
บาปอกุศลวิตก ๓ ประการ คือ กามวิตก พยาปาทวิตก วิหิงสาวิตกเกิดขึ้น
โดยมาก ข้าพระองค์จึงมีความคิดดังนี้ว่า ‘น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ เราออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาแท้ ๆ แต่กระนั้นก็ยังถูกบาปอกุศลวิตก
๓ ประการ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกรุมเร้าจิตได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เมฆิยะ ธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความ
แก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๓.เมฆิยสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นธรรม
ประการที่ ๑ ที่เป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นธรรมประการที่ ๒
ที่เป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง ที่เป็น
สัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา
ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา
ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ ที่เป็นไป
เพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อ
ให้กุศลธรรมเกิด เป็นผู้มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง
ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ที่เป็นไป
เพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็น
เครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรก
กิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นธรรมประการที่ ๕ ที่เป็นไป
เพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้ได้กถา
เป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง ที่เป็นสัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต คือ อัปปิจฉกถา
ฯลฯ วิมุตติญาณทัสสนกถา ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๔.นันทกสูตร
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้ปรารภ
ความเพียร ฯลฯ ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ
ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
เมฆิยะ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้ว พึงเจริญธรรม ๔ ประการ
ให้ยิ่งขึ้นไป คือ
๑. พึงเจริญอสุภะเพื่อละราคะ
๒. พึงเจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท
๓. พึงเจริญอานาปานสติเพื่อตัดวิตก
๔. พึงเจริญอนิจจสัญญาเพื่อถอนอัสมิมานะ
เมฆิยะ อนัตตสัญญาย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ได้อนิจจสัญญา ภิกษุผู้ได้อนัตตสัญญา
ย่อมบรรลุนิพพานที่ถอนอัสมิมานะได้ในปัจจุบัน”
เมฆิยสูตรที่ ๓ จบ
๔. นันทกสูตร
ว่าด้วยพระนันทกะแสดงธรรม
[๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระนันทกะชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย
เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ
ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาในหอฉัน
ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปยังหอฉัน
ได้ประทับยืนรอที่ซุ้มประตูด้านนอกจนจบกถา ทรงทราบว่าจบกถาแล้ว ทรงกระแอม
แล้วเคาะที่บานประตู ภิกษุเหล่านั้นเปิดประตูถวายพระผู้มีพระภาคแล้ว
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังหอฉัน ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้
ตรัสกับท่านพระนันทกะดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๔.นันทกสูตร
“นันทกะ ธรรมบรรยาย๑ที่เธอแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายนี้ยาวจริงนะ แม้เราคอย
ฟังอยู่ที่ซุ้มประตูด้านนอกจนจบกถา ก็ยังรู้สึกเมื่อยหลัง”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระนันทกะรู้สึกกระดากใจ ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ทราบเลยว่า ‘พระผู้มี
พระภาคประทับยืนรอที่ซุ้มประตูด้านนอก ถ้าข้าพระองค์รู้ ก็จะแสดงไม่ได้ถึงเพียงนี้”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าท่านพระนันทกะกำลังกระดากใจ จึง
ตรัสกับท่านดังนี้ว่า “ดีละ ดีละ นันทกะ การที่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตรออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา นั่งประชุมกันทำกิจ ๒ อย่าง คือ ธรรมีกถา
หรือความเป็นผู้นิ่งอย่างพระอริยะ นันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล เธอชื่อ
ว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า
‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล
เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล แต่ไม่ได้เจโตสมาธิภายใน เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่
บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี
เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา
มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรม
ด้วยปัญญาอันยิ่ง เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ นันทกะ สัตว์สี่เท้า
แต่เท้าข้างหนึ่งของมันบกพร่องพิการ มันชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน
แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น
อย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา
มีศีล ได้เจโตสมาธิภายใน และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง’ เมื่อใด
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิภายใน และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วย
ปัญญาอันยิ่ง เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้”


เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาตข้อ ๕๑ หน้า ๘๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๔.นันทกสูตร
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะ
เข้าไปยังพระวิหาร
ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระนันทกะ
จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย บัดนี้ พระผู้มีพระภาคทรง
ประกาศพรหมจรรย์๑ที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนด้วยบท ๔ ประการแล้ว เสด็จลุก
จากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร พระองค์ตรัสว่า
‘นันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น
อย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา
มีศีล’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
องค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล แต่ไม่ได้เจโตสมาธิภายใน ฯลฯ ได้เจโตสมาธิ
ภายใน แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วย
องค์นั้นอย่างนี้ นันทกะ สัตว์สี่เท้าแต่เท้าข้างหนึ่งของมันบกพร่องพิการ มันชื่อว่า
เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มี
ศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญา
อันยิ่ง เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้
บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิภายใน
และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล
ได้เจโตสมาธิภายใน และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อนั้น เธอจึง
ชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้’
ผู้มีอายุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนาธรรม
ตามกาล ๕ ประการนี้


เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ สัตตกนิบาตข้อ ๖ หน้า ๑๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๔.นันทกสูตร
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อม
ทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความ
งามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุ
ทั้งหลายโดยวิธีใด ๆ ภิกษุนั้นย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพ และเป็นที่ยกย่องของพระศาสดาโดยวิธีนั้น ๆ นี้เป็นอานิสงส์
ประการที่ ๑ ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนาธรรมตามกาล
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์ ฯลฯ
แก่ภิกษุทั้งหลายโดยวิธีใด ๆ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้อรรถและรู้ธรรม
ในธรรมนั้นโดยวิธีนั้น ๆ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ ในการฟัง
ธรรมตามกาลและการสนทนาธรรมตามกาล
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์
ฯลฯ แก่ภิกษุทั้งหลายโดยวิธีใด ๆ ภิกษุนั้นย่อมเห็นแจ้งบทที่ลึกซึ้ง
ในธรรมนั้นด้วยปัญญา๑ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ ในการฟังธรรม
ตามกาลและการสนทนาธรรมตามกาล

เชิงอรรถ :
๑ ปัญญา ในที่นี้หมายถึงมัคคปัญญาพร้อมทั้งวิปัสสนา ปัญญาเกี่ยวกับการพิจารณาและการรู้แจ้ง หรือ
ปัญญาที่เกี่ยวกับการเรียนและการสอบถาม (องฺ.นวก.อ. ๓/๔/๒๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๕.พลสูตร
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์
ฯลฯ แก่ภิกษุทั้งหลายโดยวิธีใด ๆ เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายย่อม
ยกย่องเธออย่างยิ่งว่า ‘ท่านผู้นี้ได้บรรลุแล้ว หรือกำลังบรรลุแน่แท้’
นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนา
ธรรมตามกาล
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อม
ทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง
และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและ
พยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลายโดยวิธีใด ๆ
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ มีใจยังไม่บรรลุ๑
ปรารถนาธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุ
เหล่านั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
โดยวิธีนั้น ๆ ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว๒ บรรลุ
ประโยชน์ตน๓โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว๔ หลุดพ้นแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ไม่บรรลุ ในที่นี้หมายถึงไม่บรรลุอรหัตตผล (องฺ.นวก.อ. ๓/๔/๒๘๙)
๒ ปลงภาระได้แล้ว ในที่นี้หมายถึงละขันธภาระ กิเลสภาระ และอภิสังขารภาระได้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๙)
๓ บรรลุประโยชน์ตน ในที่นี้หมายถึงบรรลุอรหัตตผล (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๙)
๔ สิ้นภวสังโยชน์แล้ว ในที่นี้หมายถึงสิ้นกิเลสที่เป็นเครื่องผูกสัตว์ คร่าสัตว์มาไว้ในภพทั้งหลาย (องฺ.ติก.อ.
๒/๓๘/๑๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๕.พลสูตร
เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ประกอบธรรมเป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน๑อยู่เนือง ๆ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๕
ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนาธรรมตามกาล
ผู้มีอายุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนาธรรมตาม
กาล ๕ ประการนี้แล”
นันทกสูตรที่ ๔ จบ
๕. พลสูตร
ว่าด้วยพละ
[๕] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๔ ประการนี้
พละ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)
๒. วิริยพละ (กำลังคือความเพียร)
๓. อนวัชชพละ (กำลังคือกรรมที่ไม่มีโทษ)
๔. สังคหพละ (กำลังคือการสงเคราะห์)
ปัญญาพละ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็น
อกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมมีโทษ นับว่าเป็นธรรมมีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรม
ไม่มีโทษ นับว่าเป็นธรรมไม่มีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมดำ นับว่าเป็นธรรมดำ
ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมขาว นับว่าเป็นธรรมขาว ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่ควรเสพ
นับว่าเป็นธรรมที่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่ไม่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมที่
ไม่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่ไม่สามารถทำความเป็นอริยะ นับว่าเป็นธรรม
ที่ไม่สามารถทำความเป็นอริยะ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมสามารถทำความเป็นอริยะ
นับว่าเป็นธรรมสามารถทำความเป็นอริยะ ธรรมเหล่านั้นแลเป็นธรรมที่บุคคลเห็น
ได้ด้วยดี พิจารณาแล้วด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ปัญญาพละ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมที่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน หมายถึงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันทั้งที่เป็นโลกิยะ และ
เป็นโลกุตตระ (องฺ.นวก.อ. ๓/๔/๒๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๕.พลสูตร
วิริยพละ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมมีโทษ
นับว่าเป็นธรรมมีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมดำ นับว่าเป็นธรรมดำ ธรรมเหล่าใด
เป็นธรรมที่ไม่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมที่ไม่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่ไม่
สามารถทำความเป็นอริยะ นับว่าเป็นธรรมที่ไม่สามารถทำความเป็นอริยะ บุคคล
สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละธรรมเหล่านั้น
ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมไม่มีโทษ นับว่าเป็น
ธรรมไม่มีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมขาว นับว่าเป็นธรรมขาว ธรรมเหล่าใดเป็น
ธรรมที่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมที่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่สามารถทำ
ความเป็นอริยะ นับว่าเป็นธรรมที่สามารถทำความเป็นอริยะ บุคคลสร้างฉันทะ
พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อได้ธรรมเหล่านั้น นี้เรียกว่า
วิริยพละ
อนวัชชพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษ ประกอบ
ด้วยวจีกรรมที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรมที่ไม่มีโทษ นี้เรียกว่า อนวัชชพละ
สังคหพละ เป็นอย่างไร
คือ สังคหวัตถุ(ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว) ๔ ประการนี้๑ ได้แก่ (๑) ทาน (การให้)
(๒) เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก) (๓) อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์) (๔) สมานัตตตา
(การวางตนสม่ำเสมอ) ภิกษุทั้งหลาย การให้ธรรมเลิศกว่าการให้ทั้งหลาย การแสดง
ธรรมบ่อย ๆ แก่บุคคลผู้ต้องการจะฟัง เงี่ยโสตลงสดับเลิศกว่าวาจาเป็นที่รัก
ทั้งหลาย การชักชวนคนที่ไม่มีศรัทธาให้ตั้งมั่น ดำรงมั่นในสัทธาสัมปทา ชักชวน
คนที่ไม่มีศีลให้ตั้งมั่น ดำรงมั่นในสีลสัมปทา ชักชวนคนที่มีความตระหนี่ให้ตั้งมั่น
ดำรงมั่นในจาคสัมปทา ชักชวนคนที่มีปัญญาทรามให้ตั้งมั่น ดำรงมั่นในปัญญา-
สัมปทา เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย การที่พระโสดาบันมีตนเสมอกับ


เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๓/๒๐๖, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๓๒/๕๑, ๒๕๖/๓๗๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๕.พลสูตร
พระโสดาบัน พระสกทาคามีมีตนเสมอกับพระสกทาคามี พระอนาคามีมีตนเสมอ
กับพระอนาคามี พระอรหันต์มีตนเสมอกับพระอรหันต์ เลิศกว่าความมีตนเสมอ
ทั้งหลาย นี้เรียกว่า สังคหพละ
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๔ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยพละ ๔ ประการนี้ ย่อมข้ามพ้นภัย
๕ ประการได้
ภัย ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อาชีวิกภัย (ภัยเนื่องด้วยการเลี้ยงชีพ)
๒. อสิโลกภัย (ภัยคือความเสื่อมเสียชื่อเสียง)
๓. ปริสสารัชชภัย (ภัยคือความครั่นคร้ามในบริษัท)
๔. มรณภัย (ภัยคือความตาย)
๕. ทุคคติภัย (ภัยคือทุคติ)
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราไม่กลัวอาชีวิกภัย เราจัก
กลัวอาชีวิกภัยไปทำไม เรามีพละ ๔ ประการ คือ (๑) ปัญญาพละ (๒) วิริยพละ
(๓) อนวัชชพละ (๔) สังคหพละ คนมีปัญญาทรามพึงกลัวอาชีวิกภัย คนเกียจคร้าน
พึงกลัวอาชีวิกภัย คนมีการงานทางกายที่มีโทษ มีการงานทางวาจาที่มีโทษ และมี
การงานทางใจที่มีโทษพึงกลัวอาชีวิกภัย คนผู้ไม่สงเคราะห์ใคร ๆ พึงกลัวอาชีวิกภัย
เราไม่กลัวอสิโลกภัย ฯลฯ
เราไม่กลัวปริสสารัชชภัย ฯลฯ
เราไม่กลัวมรณภัย ฯลฯ
เราไม่กลัวทุคคติภัย เราจักกลัวทุคคติภัยไปทำไม เรามีพละ ๔ ประการ คือ
(๑) ปัญญาพละ (๒) วิริยพละ (๓) อนวัชชพละ (๔) สังคหพละ คนมีปัญญาทราม
พึงกลัวทุคคติภัย คนเกียจคร้านพึงกลัวทุคคติภัย คนมีการงานทางกายที่มีโทษ
มีการงานทางวาจาที่มีโทษ และมีการงานทางใจที่มีโทษพึงกลัวทุคคติภัย คนผู้ไม่
สงเคราะห์ใคร ๆ พึงกลัวทุคคติภัย’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยพละ ๔ ประการนี้แล ย่อมข้ามพ้นภัย
๕ ประการนี้ได้
พลสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๖.เสวนาสูตร
๖. เสวนาสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ควรเสพและไม่ควรเสพ๑
[๖] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ฯลฯ
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้บุคคลก็พึงทราบว่ามี ๒ ประเภท คือ บุคคลที่ควรคบ
และบุคคลที่ไม่ควรคบ แม้จีวรก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ จีวรที่ควรใช้สอย และจีวร
ที่ไม่ควรใช้สอย แม้บิณฑบาตก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ บิณฑบาตที่ควรฉัน และ
บิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน แม้เสนาสนะก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือเสนาสนะที่ควรอยู่
อาศัย และเสนาสนะที่ไม่ควรอยู่อาศัย แม้บ้านและนิคมก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ
บ้านและนิคมที่ควรอยู่อาศัย และบ้านและนิคมที่ไม่ควรอยู่อาศัย แม้ชนบทและ
ประเทศก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ ชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และชนบท
และประเทศที่ไม่ควรอยู่อาศัย
เรากล่าวไว้เช่นนี้แล๒ว่า ‘แม้บุคคลก็พึงทราบว่ามี ๒ ประเภท คือ บุคคล
ที่ควรคบ และบุคคลที่ไม่ควรคบ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาบุคคล ๒ ประเภทนั้น บุคคลใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเรา
คบบุคคลนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป บริขาร
สำหรับชีวิตเหล่าใด คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร
ที่เราผู้เป็นบรรพชิตควรเตรียมไว้ให้พร้อม บริขารสำหรับชีวิตเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้น
ได้โดยยาก และประโยชน์คือความเป็นสมณะที่เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ต้องการ ก็ยังไม่ถึงความเจริญเต็มที่’ ภิกษุแม้รู้บุคคลนั้นในเวลากลางคืนหรือกลางวัน
ก็ตาม ก็ไม่ต้องบอกลา จากไปได้ ไม่ควรติดตามบุคคลนั้นไป
บุคคลใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราคบบุคคลนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น
กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป บริขารสำหรับชีวิตเหล่าใด คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ----------------------------------------

--
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๔/๑๑๖-๑๑๙
๒ ดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๖๓/๕๗๑-๕๗๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๖.เสวนาสูตร
และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร ที่เราผู้เป็นบรรพชิตควรเตรียมไว้ให้พร้อม บริขาร
สำหรับชีวิตเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก และประโยชน์คือความเป็นสมณะที่เรา
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการ ก็ยังไม่ถึงความเจริญเต็มที่’ ภิกษุแม้รู้
บุคคลนั้น ก็ไม่ต้องบอกลา จากไปได้ ไม่ควรติดตามบุคคลนั้นไป
บุคคลใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราคบบุคคลนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป
กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น บริขารสำหรับชีวิตเหล่าใด คือ จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร ที่เราผู้เป็นบรรพชิตควรเตรียมไว้ให้พร้อม
บริขารสำหรับชีวิตเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก และประโยชน์คือความเป็นสมณะ
ที่เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการ ก็ยังไม่ถึงความเจริญเต็มที่’ ภิกษุรู้
บุคคลนั้นแล้วควรติดตามบุคคลนั้นไป ไม่ควรจากไป
บุคคลใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราคบบุคคลนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป
กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น และบริขารสำหรับชีวิตเหล่าใด คือ จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร ที่เราผู้เป็นบรรพชิตควรเตรียมไว้ให้พร้อม
บริขารสำหรับชีวิตเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก และประโยชน์คือความเป็นสมณะ
ที่เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการ ก็ยังไม่ถึงความเจริญเต็มที่’ ภิกษุควร
ติดตามบุคคลนั้นไปจนตลอดชีวิต ไม่พึงจากไป แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้บุคคลก็พึงทราบว่ามี ๒ ประเภท คือ บุคคลที่
ควรคบ และบุคคลที่ไม่ควรคบ’
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้จีวรก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ จีวรที่ควร
ใช้สอย และจีวรที่ไม่ควรใช้สอย’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาจีวร ๒ อย่างนั้น จีวรใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราใช้สอย
จีวรนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป’ จีวรนี้ไม่ควร
ใช้สอย จีวรใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราใช้สอยจีวรนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป
กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ จีวรนี้ควรใช้สอย
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้จีวรก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ จีวรที่ใช้ควรสอย
และจีวรที่ไม่ควรใช้สอย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๖.เสวนาสูตร
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘แม้บิณฑบาตก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ บิณฑบาต
ที่ควรฉัน และบิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาบิณฑบาต ๒ อย่างนั้น บิณฑบาตใดภิกษุรู้ว่า
‘เมื่อเราฉันบิณฑบาตนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลาย
เสื่อมไป บิณฑบาตนี้ไม่ควรฉัน บิณฑบาตใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราฉันบิณฑบาตนี้แล
อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ บิณฑบาตนี้ควรฉัน
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้บิณฑบาตก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ บิณฑบาต
ที่ควรฉัน และบิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘แม้เสนาสนะก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ เสนาสนะ
ที่ควรอยู่อาศัย และเสนาสนะที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าว
ไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาเสนาสนะ ๒ อย่างนั้น เสนาสนะใดภิกษุรู้ว่า
‘เมื่อเราอยู่อาศัยเสนาสนะนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลาย
เสื่อมไป’ เสนาสนะนี้ไม่ควรอยู่อาศัย เสนาสนะใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัย
เสนาสนะนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’
เสนาสนะนี้ควรใช้สอย
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้เสนาสนะก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ เสนาสนะ
ที่ควรอยู่อาศัย และเสนาสนะที่ไม่ควรอยู่อาศัย’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘แม้บ้านและนิคมก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ บ้าน
และนิคมที่ควรอยู่อาศัย และบ้านและนิคมที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาบ้านและนิคม ๒ อย่างนั้น บ้านและนิคมใด
ภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยบ้านและนิคมนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น
กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป’ บ้านและนิคมนี้ไม่ควรอยู่อาศัย บ้านและนิคมใดภิกษุ
รู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยบ้านและนิคมนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรม
ทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ บ้านและนิคมนี้ควรอยู่อาศัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๗.สุตวาสูตร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้บ้านและนิคมก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ บ้าน
และนิคมที่ควรอยู่อาศัย และบ้านและนิคมที่ไม่ควรอยู่อาศัย’
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้ชนบทและประเทศก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง
คือ ชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และชนบทและประเทศที่ไม่ควรอยู่อาศัย’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนั้นว่า บรรดาชนบทและประเทศ ๒ อย่างนั้น ชนบทและ
ประเทศใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยชนบทและประเทศนี้ อกุศลธรรมทั้งหลาย
เจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป’ ชนบทและประเทศนี้ไม่ควรอยู่อาศัย
ชนบทและประเทศใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยชนบทและประเทศนี้แล อกุศลธรรม
ทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ ชนบทและประเทศนี้ควรอยู่อาศัย
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้ชนบทและประเทศก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ
ชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และชนบทและประเทศที่ไม่ควรอยู่อาศัย’
เสวนาสูตรที่ ๖ จบ
๗. สุตวาสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อสุตวา
[๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อสุตวาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ สนทนาปราศรัยกับ
พระผู้มีพระภาค พอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ข้าพระองค์อยู่ในกรุงราชคฤห์
อันมีชื่อว่าคิริพพชะนี้แล ณ ที่นั้นแล ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์
พระผู้มีพระภาคว่า ‘สุตวา ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๗.สุตวาสูตร
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นไม่อาจล่วงละเมิดฐานะ
๕ ประการ๑ได้ คือ
๑. ไม่อาจจงใจปลงชีวิตสัตว์
๒. ไม่อาจถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย
๓. ไม่อาจเสพเมถุนธรรม
๔. ไม่อาจพูดเท็จทั้งที่รู้
๕. ไม่อาจสะสมบริโภคกามเหมือนที่เคยเป็นคฤหัสถ์มาก่อน
คำนี้ข้าพระองค์ได้สดับรับมาจากพระผู้มีพระภาค ใส่ใจทรงจำไว้ได้ถูกต้องดีแล้ว
ไช่ไหม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สุตวา จริง คำนี้ท่านได้สดับรับมาใส่ใจทรงจำไว้ได้
ถูกต้องดีแล้ว สุตวา คราวก่อนและคราวนี้ เราก็ยังกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุใดเป็น
อรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว
บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
ภิกษุนั้นไม่อาจล่วงละเมิดฐานะ ๙ ประการ คือ
๑. ไม่อาจจงใจปลงชีวิตสัตว์
๒. ไม่อาจถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย
๓. ไม่อาจเสพเมถุนธรรม
๔. ไม่อาจพูดเท็จทั้งที่รู้
๕. ไม่อาจสะสมบริโภคกามเหมือนที่เคยเป็นคฤหัสถ์มาก่อน
๖. ไม่อาจลำเอียงเพราะชอบ
๗. ไม่อาจลำเอียงเพราะชัง
๘. ไม่อาจลำเอียงเพราะหลง
๙. ไม่อาจลำเอียงเพราะกลัว’

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๖/๒๐๙, ม.ม. ๑๓/๒๓๔/๒๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๘.สัชฌาสูตร
สุตวา คราวก่อนและคราวนี้ เราก็ยังกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุใดเป็นอรหันต-
ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุ
ประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุ
นั้นไม่อาจล่วงละเมิดฐานะ ๙ ประการนี้แล”
สุตวาสูตรที่ ๗ จบ
๘. สัชฌสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อสัชฌะ
[๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อสัชฌะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ สนทนาปราศรัย
กับพระผู้มีพระภาค พอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ข้าพระองค์อยู่ในกรุงราชคฤห์
อันมีชื่อว่าคิริพพชะนี้แล ณ ที่นั้นแล ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์
พระผู้มีพระภาคว่า ‘สัชฌะ ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นไม่อาจล่วงละเมิดฐานะ
๕ ประการ คือ
๑. ไม่อาจจงใจปลงชีวิตสัตว์
๒. ไม่อาจถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย
๓. ไม่อาจเสพเมถุนธรรม
๔. ไม่อาจพูดเท็จทั้งที่รู้
๕. ไม่อาจสะสมบริโภคกามเหมือนที่เคยเป็นคฤหัสถ์มาก่อน
คำนี้ข้าพระองค์ได้สดับรับมาจากพระผู้มีพระภาคใส่ใจทรงจำไว้ได้ถูกต้องดีแล้ว
ใช่ไหม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สัชฌะ จริง คำนี้ท่านได้สดับรับมาใส่ใจทรงจำไว้ได้
ถูกต้องดีแล้ว สัชฌะ คราวก่อนและคราวนี้ เราก็ยังกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุใดเป็นอรหันต-

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๙.ปุคคลสูตร
ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุ
ประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้น
ไม่อาจล่วงละเมิดฐานะ ๙ ประการ คือ
๑. ไม่อาจจงใจปลงชีวิตสัตว์
ฯลฯ
๕. ไม่อาจสะสมบริโภคกามเหมือนที่เคยเป็นคฤหัสถ์มาก่อน
๖. ไม่อาจบอกคืนพระพุทธเจ้า๑
๗. ไม่อาจบอกคืนพระธรรม
๘. ไม่อาจบอกคืนพระสงฆ์
๙. ไม่อาจบอกคืนสิกขา’
สัชฌะ คราวก่อนและคราวนี้ เราก็ยังกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุใดเป็นอรหันต-
ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุ
ประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุ
นั้นไม่อาจล่วงละเมิดฐานะ ๙ ประการนี้แล”
สัชฌสูตรที่ ๘ จบ
๙. ปุคคลสูตร
ว่าด้วยบุคคล ๙ จำพวก
[๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๙ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๙ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. พระอรหันต์
๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล
๓. พระอนาคามี

เชิงอรรถ :
๑ บอกคืนพระพุทธเจ้า ในที่นี้หมายถึงปฏิเสธว่ามิใช่พระพุทธเจ้า ในข้อต่อมา คือ บอกคืนพระธรรม บอกคืน
พระสงฆ์ และบอกคืนสิกขาก็มีนัยเดียวกันนี้ (องฺ.นวก.อ. ๓/๗/๒๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๑๐.อาหุเนยยสูตร
๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
๕. พระสกทาคามี
๖. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
๗. พระโสดาบัน
๘. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
๙. ปุถุชน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๙ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
ปุคคลสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. อาหุเนยยสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
[๑๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๙ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ของโลก
บุคคล ๙ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. พระอรหันต์
๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล
๓. พระอนาคามี
๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
๕. พระสกทาคามี
๖. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
๗. พระโสดาบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๘. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
๙. โคตรภูบุคคล๑
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๙ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
อาหุเนยยสูตรที่ ๑๐ จบ
สัมโพธิวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัมโพธิสูตร ๒. นิสสยสูตร
๓. เมฆิยสูตร ๔. นันทกสูตร
๕. พลสูตร ๖. เสวนาสูตร
๗. สุตวาสูตร ๘. สัชฌสูตร
๙. ปุคคลสูตร ๑๐. อาหุเนยยสูตร


เชิงอรรถ :
๑ โคตรภูบุคคล หมายถึงท่านผู้เจริญวิปัสสนามีกำลังสูงสุด จิตอยู่ในหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างปุถุชนกับโสดา-
ปัตติมรรค (องฺ.นวก.อ. ๓/๘-๑๐/๒๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๑.สีหนาทสูตร
๒. สีหนาทวรรค
หมวดว่าด้วยการบันลือสีหนาท
๑. สีหนาทสูตร
ว่าด้วยการบันลือสีหนาท
[๑๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จำพรรษาอยู่ในกรุงสาวัตถีแล้ว ปรารถนา
จะจาริกไปในชนบท”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เธอจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
ทำประทักษิณแล้วจากไป
ครั้งนั้นแล เมื่อท่านพระสารีบุตรจากไปแล้วไม่นาน ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกระทบข้าพระองค์
แล้ว ไม่ขอโทษ ก็จาริกไป”
ต่อมา พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า “ภิกษุ เธอจงมา
จงไปเรียกสารีบุตรตามคำของเราว่า ‘ท่านสารีบุตร พระศาสดาเรียกท่าน” ภิกษุนั้น
ทูลสนองรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้วเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้กล่าว
กับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร พระศาสดารับสั่งเรียกท่าน” ท่านพระ
สารีบุตรรับคำแล้ว
สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะและท่านพระอานนท์ถือลูกกุญแจเที่ยว
ประกาศไปในวิหารว่า “ออกไปเถิด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ออกไปเถิด ท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย บัดนี้ ท่านพระสารีบุตรจักบันลือสีหนาทต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาค”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๑.สีหนาทสูตร
ครั้นท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับท่านพระสารีบุตรว่า “สารีบุตร
เพื่อนพรหมจารีรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้กล่าวหาเธอว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระ
สารีบุตรกระทบข้าพระองค์แล้ว ไม่ขอโทษ ก็จาริกไป”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่ตั้งมั่นกาย-
คตาสติ(สติไปในกาย)ไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่งใน
ธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ ก็พึงจาริกไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
๑. ชนทั้งหลายย่อมทิ้งของสะอาดบ้าง ทิ้งของไม่สะอาดบ้าง ทิ้งคูถบ้าง
ทิ้งมูตรบ้าง ทิ้งน้ำลายบ้าง ทิ้งหนองบ้าง ทิ้งเลือดบ้าง ลงบน
แผ่นดิน แต่แผ่นดินก็ไม่อึดอัด ระอา หรือรังเกียจสิ่งนั้น
แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจเสมอด้วยแผ่นดิน
ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ๑ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ
ไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่งในพระธรรม-
วินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป
๒. ชนทั้งหลายย่อมล้างของสะอาดบ้าง ล้างของไม่สะอาดบ้าง ล้างคูถ
บ้าง ล้างมูตรบ้าง ล้างน้ำลายบ้าง ล้างหนองบ้าง ล้างเลือดบ้าง
ในน้ำ แต่น้ำก็ไม่อึดอัด ระอา หรือรังเกียจสิ่งนั้น แม้ฉันใด
ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจเสมอด้วยน้ำ ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ
ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุใดไม่ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารี
รูปใดรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป
๓. ไฟย่อมไหม้ของสะอาดบ้าง ไหม้ของไม่สะอาดบ้าง ไหม้คูถบ้าง
ไหม้มูตรบ้าง ไหม้น้ำลายบ้าง ไหม้หนองบ้าง ไหม้เลือดบ้าง แต่ไฟก็

เชิงอรรถ :
๑ มหัคคตะ แปลว่าถึงความเป็นใหญ่ กล่าวคือเป็นรูปาวจรกุศลและอรูปาวจรกุศล เพราะสามารถข่มกิเลสได้
หรือดำเนินไปด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะและปัญญาที่กว้างขวาง (ขุ.ป.อ. ๑/๑๐๔/๓๖๖, อภิ.สงฺ.อ. ๑๒/๙๒)
และดู อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๖๐-๒๖๘/๕๗-๘๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๑.สีหนาทสูตร
ไม่อึดอัด ระอา หรือรังเกียจสิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน มีใจเสมอด้วยไฟ ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใด
ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใด
รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป
๔. ลมย่อมพัดของสะอาดบ้าง พัดของไม่สะอาดบ้าง พัดคูถบ้าง พัด
มูตรบ้าง พัดน้ำลายบ้าง พัดหนองบ้าง พัดเลือดบ้าง แต่ลมก็ไม่
อึดอัด ระอา หรือรังเกียจสิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน มีใจเสมอด้วยลม ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่
ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใด
รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป
๕. ผ้าเช็ดธุลีย่อมเช็ดของสะอาดบ้าง เช็ดของไม่สะอาดบ้าง เช็ดคูถบ้าง
เช็ดมูตรบ้าง เช็ดน้ำลายบ้าง เช็ดหนองบ้าง เช็ดเลือดบ้าง แต่
ผ้าเช็ดธุลีก็ไม่อึดอัด ระอา หรือรังเกียจสิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจเสมอด้วยผ้าเช็ดธุลี ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ
ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุใดไม่ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารี
รูปใดรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป
๖. เด็กจัณฑาลผู้ชายหรือเด็กจัณฑาลผู้หญิง หิ้วตะกร้า นุ่งผ้าชายขาด
เมื่อเข้าไปสู่บ้านหรือนิคม ย่อมตั้งจิตนอบน้อมเท่านั้นเข้าไป แม้
ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจเสมอด้วยเด็กจัณฑาล
ผู้ชายหรือเด็กจัณฑาลผู้หญิง ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่
ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใด
รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๑.สีหนาทสูตร
๗. โคผู้เขาหัก สงบเสงี่ยม ได้รับการฝึกมาดี ได้รับการแนะนำมาดี
ให้สำเหนียกดี เดินไปตามถนนหนทาง ตามทางแยกน้อยใหญ่ ไม่ดีด
หรือขวิดใคร ๆ แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจเสมอ
ด้วยโคผู้เขาหัก ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่ตั้งมั่น
กายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง
ในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป
๘. สตรีหรือบุรุษที่ยังหนุ่มสาว มีปกติชอบแต่งตัว สรงน้ำดำหัวแล้ว
พึงอึดอัด ระอา หรือรังเกียจซากงู ซากสุนัข หรือซากมนุษย์ที่
คล้องคอไว้ แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมอึดอัด
ระอา รังเกียจกายอันเปื่อยเน่านี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใด
ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใด
รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป
๙. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษประคองถาดมันข้นที่มีช่องน้อยใหญ่
น้ำไหลออกได้ข้างบน ไหลออกได้ข้างล่าง แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมบริหารกายนี้ที่มีช่องน้อยช่องใหญ่๑ ไหลเข้า
ไหลออกอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่ตั้งมั่นกายคตาสติไว้
ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่งในพระธรรมวินัย
นี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป
ลำดับนั้น ภิกษุรูปนั้นลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่า หมอบลงแทบพระบาท
ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าแล้ว กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ โทษได้มาถึงข้าพระองค์ผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง เป็นคนไม่ฉลาด
ที่ได้กล่าวตู่ท่านพระสารีบุตรด้วยคำที่ไม่มีอยู่ เปล่าประโยชน์ เป็นเรื่องเท็จ ไม่เป็นจริง
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอดโทษแก่ข้าพระองค์เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด”

เชิงอรรถ :
๑ ช่องน้อยช่องใหญ่ ในที่นี้หมายถึงปากแผลทั้ง ๙ (ทวาร ๙ คือ ช่องตาทั้งสอง ช่องหูทั้งสอง ช่องจมูก
ทั้งสอง ช่องปาก ทวารหนัก ทวารเบา) (องฺ.นวก.อ. ๓/๑๑/๒๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๒.สอุปาทิเสสสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โทษได้มาถึงเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง เป็นคน
ไม่ฉลาด ที่เธอได้กล่าวตู่สารีบุตรด้วยคำที่ไม่มีอยู่ เปล่าประโยชน์ เป็นเรื่องเท็จ
ไม่เป็นจริง แต่เพราะเธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม เราย่อม
อดโทษนั้นแก่เธอ ข้อที่ภิกษุเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความ
สำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในอริยวินัย”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “สารีบุตร เธอจง
อดโทษให้แก่โมฆบุรุษผู้นี้เถิด ก่อนที่ศีรษะของเขาจะแตกเป็น ๗ เสี่ยง เพราะโทษ
นั้นนั่นเอง”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะอดโทษ
แก่ท่านรูปนั้น ถ้าท่านรูปนั้นได้กล่าวกับข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ขอท่านผู้มีอายุนั้น
จงอดโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด”
สีหนาทสูตรที่ ๑ จบ
๒. สอุปาทิเสสสูตร
ว่าด้วยสอุปาทิเสสบุคคล
[๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตร ครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังกรุงสาวัตถี เพื่อบิณฑบาต ต่อมา ท่านพระสารีบุตร
ได้มีความคิดดังนี้ว่า “การเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถียังเช้านัก ทางที่ดี เราควร
เข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก” ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงเข้าไป
ยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัยกับอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้น พอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
สมัยนั้นเอง อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น กำลังนั่งประชุมสนทนากันดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นสอุปาทิเสส๑(ยังมีอุปาทิเหลือ) เมื่อตายไป
ล้วนไม่พ้นจากนรก ไม่พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ไม่พ้นจากเปรตวิสัย ไม่พ้นจาก
อบาย ทุคติ และวินิบาต


เชิงอรรถ :
๑สอุปาทิเสส ในที่นี้หมายถึงมีอุปาทานเหลืออยู่ (องฺ.นวก.อ. ๓/๑๒/๒๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๒.สอุปาทิเสสสูตร
ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรไม่ยินดีไม่คัดค้านภาษิตของอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้น ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า “เราจักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนัก
ของพระผู้มีพระภาค”
ครั้นท่านพระสารีบุตรเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต
หลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ครอง
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังกรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ได้มีความคิด
ดังนี้ว่า ‘การเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ยังเช้านัก ทางที่ดี เราควรเข้าไปยัง
อารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก’ ครั้นแล้ว ข้าพระองค์จึงเข้าไปยังอารามของ
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัยกับอัญเดียรถีย์เหล่านั้น พอเป็นที่
บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
สมัยนั้น อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น กำลังนั่งประชุมกันสนทนากันดังนี้ว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นสอุปาทิเสส เมื่อตายไป ล้วนไม่พ้น
จากนรก ไม่พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ไม่พ้นจากเปรตวิสัย ไม่พ้นจากอบาย
ทุคติ และวินิบาต’ ข้าพระองค์ไม่ยินดีไม่คัดค้านภาษิตของอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
ลุกจากอาสนะจากมาด้วยคิดว่า ‘เราจักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระ
ผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร อัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้เขลาไม่เฉียบแหลม
เป็นพวกไหน และพวกไหนจักรู้จักบุคคลผู้เป็นสอุปาทิเสสว่าเป็นสอุปาทิเสส หรือ
จักรู้จักบุคคลผู้เป็นอนุปาทิเสส๑ว่าเป็นอนุปาทิเสส
สารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้ เป็นสอุปาทิเสส เมื่อตายไป ก็พ้นจากนรกได้
พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานได้ พ้นจากเปรตวิสัยได้ พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาตได้


เชิงอรรถ :
๑อนุปาทิเสส หมายถึงไม่มีอุปาทานเหลืออยู่ ได้แก่ ปราศจากความถือมั่น(นิคคหณะ) (องฺ.นวก.อ. ๓/๑๒/
๒๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๒.สอุปาทิเสสสูตร
บุคคล ๙ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิ
ให้บริบูรณ์ มีปกติทำปัญญาพอประมาณ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ
๕ ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นอันตราปรินิพพายี นี้เป็นบุคคลจำพวก
ที่ ๑ ผู้เป็นสอุปาทิเสส เมื่อตายไป ก็พ้นจากนรกได้ พ้นจากกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉานได้ พ้นจากเปรตวิสัยได้ พ้นจากอบาย ทุคติ และ
วินิบาตได้
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิ
ให้บริบูรณ์ มีปกติทำปัญญาพอประมาณ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ
๕ ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นอสังขารปรินิพพายี ฯลฯ
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นสสังขารปรินิพพายี ฯลฯ
๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี ฯลฯ
๖. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิ
พอประมาณ มีปกติทำปัญญาพอประมาณ เพราะสังโยชน์ ๓
ประการสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง เขาจึงเป็น
สกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียว ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ นี้เป็น
บุคคลจำพวกที่ ๖ ผู้เป็นสอุปาทิเสส เมื่อตายไป ก็พ้นจากนรกได้
ฯลฯ พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาตได้
๗. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิ
พอประมาณ มีปกติทำปัญญาพอประมาณ เพราะสังโยชน์ ๓
ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นเอกพีชี เกิดเป็นมนุษย์อีกเพียงครั้งเดียว
ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๗ ผู้เป็นสอุปาทิเสส
เมื่อตายไป ก็พ้นจากนรกได้ ฯลฯ พ้นจากอบาย ทุคติ และ
วินิบาตได้
๘. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิ
พอประมาณ มีปกติทำปัญญาพอประมาณ เพราะสังโยชน์ ๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๒.สอุปาทิเสสสูตร
ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นโกลังโกละ ท่องเที่ยวไปสู่ตระกูล ๒ หรือ
๓ ตระกูล ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๘ ผู้เป็น
สอุปาทิเสส เมื่อตายไป ก็พ้นจากนรกได้ ฯลฯ พ้นจากอบาย ทุคติ
และวินิบาตได้
๙. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิ
พอประมาณ มีปกติทำปัญญาพอประมาณ เพราะสังโยชน์ ๓
ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นสัตตักขัตตุปรมะ ท่องเที่ยวไปในเทวดา
และมนุษย์อย่างมาก ๗ ครั้ง ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ นี้เป็นบุคคล
จำพวกที่ ๙ ผู้เป็นสอุปาทิเสส เมื่อตายไป ก็พ้นจากนรกได้ พ้นจาก
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานได้ พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาตได้
สารีบุตร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม เป็นพวกไหน และ
พวกไหนจักรู้จักบุคคลผู้เป็นสอุปาทิเสสว่าเป็นสอุปาทิเสส หรือจักรู้จักบุคคลผู้เป็น
อนุปาทิเสสว่าเป็นอนุปาทิเสส สารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้แล เป็นสอุปาทิเสส
เมื่อตายไป ก็พ้นจากนรกได้ พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานได้ พ้นจากเปรตวิสัยได้
พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาตได้
สารีบุตร ธรรมบรรยายนี้ยังไม่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ก่อน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะประสงค์ว่า ชนทั้งหลายฟังธรรมบรรยายนี้แล้ว
อย่านำมาซึ่งความประมาท อีกอย่างหนึ่ง เรากล่าวธรรมบรรยายนี้โดยมุ่งถึงปัญหา”
สอุปาทิเสสสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๓.โกฏฐิตสูตร
๓. โกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระมหาโกฏฐิตะ
[๑๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถาม
ท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลในปัจจุบัน๑ ขอกรรมนั้นจงให้ผลในอนาคตแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลในอนาคต ขอกรรมนั้นจงให้ผลในปัจจุบันแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลเป็นสุข ขอกรรมนั้นจงให้ผลเป็นทุกข์แก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลเป็นทุกข์ ขอกรรมนั้นจงให้ผลเป็นสุขแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลสำเร็จแล้ว ขอกรรมนั้นจงไม่ให้ผลสำเร็จแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดยังไม่ให้ผลสำเร็จ ขอกรรมนั้นจงให้ผลสำเร็จแก่เราเถิด’ ได้ไหม”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๖๓/๕๗๗, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๑๗/๓๕๗, อภิ.ก. ๓๗/๖๓๕/๓๘๕,๘๙๐-
๘๙๑/๕๐๖-๕๐๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๓.โกฏฐิตสูตร
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลมาก ขอกรรมนั้นจงให้ผลน้อยแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลน้อย ขอกรรมนั้นจงให้ผลมากแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผล ขอกรรมนั้นจงไม่ให้ผลแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดไม่ให้ผล ขอกรรมนั้นจงให้ผลแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหม-
จรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลในปัจจุบัน ขอกรรม
นั้นจงให้ผลในอนาคตแก่เราเถิด ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลในอนาคต ขอกรรมนั้นจงให้ผลใน
ปัจจุบันแก่เราเถิด ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลเป็นสุข ขอกรรมนั้นจงให้ผลเป็นทุกข์แก่
เราเถิด ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลเป็นทุกข์ ขอกรรมนั้นจงให้ผลเป็นสุขแก่
เราเถิด ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลสำเร็จแล้ว ขอกรรมนั้นจงไม่ให้ผลสำเร็จ
แก่เราเถิด ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๓.โกฏฐิตสูตร
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดยังไม่ให้ผลสำเร็จ ขอกรรมนั้นจงให้ผลสำเร็จแก่
เราเถิด ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลมาก ขอกรรมนั้นจงให้ผลน้อยแก่เราเถิด
ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลน้อย ขอกรรมนั้นจงให้ผลมากแก่เราเถิด
ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผล ขอกรรมนั้นจงไม่ให้ผลแก่เราเถิด ได้ไหม’
ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดไม่ให้ผล ขอกรรมนั้นจงให้ผลแก่เราเถิด ได้ไหม’
ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’ เมื่อเป็นเช่นนั้น บุคคลจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์อะไร”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุ บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้
มีพระภาคเพื่อเห็นสิ่งที่ยังไม่เห็น เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยัง
ไม่ทำให้แจ้ง เพื่อตรัสรู้สิ่งที่ยังไม่ตรัสรู้
คือ บุคคลอยู่ประพฤติพรมหจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อรู้สิ่งที่ยังไม่รู้ เพื่อเห็น
สิ่งที่ยังไม่เห็น เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เพื่อตรัสรู้
สิ่งที่ยังไม่ตรัสรู้ว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิทา’
ผู้มีอายุ บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคก็เพื่อรู้สิ่งที่ยังไม่รู้
เพื่อเห็นสิ่งที่ยังไม่เห็น เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เพื่อตรัสรู้สิ่งที่ยังไม่ตรัสรู้นี้แล”
โกฏฐิตสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๔.สมิทธิสูตร
๔. สมิทธิสูตร
ว่าด้วยเรื่องวิตก
[๑๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับท่านพระสมิทธิดังนี้ว่า
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตก(วิตกอันเป็นความดำริ) ของบุรุษมีอะไรเป็นอารมณ์
เกิดขึ้น”
“มีนามรูปเป็นอารมณ์ ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นต่างกันที่ไหน”
“ที่ธาตุ ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นเหตุเกิด”
“มีผัสสะเป็นเหตุเกิด ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นที่ประชุม”
“มีเวทนาเป็นที่ประชุม ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นประมุข”
“มีสมาธิเป็นประมุข ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นใหญ่”
“มีสติเป็นใหญ่ ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นยิ่ง”
“มีปัญญาเป็นยิ่ง ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นแก่น”
“มีวิมุตติเป็นแก่น ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นที่หยั่งลง”
“มีนิพพานเป็นที่หยั่งลง ขอรับ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๔.สมิทธิสูตร
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านสมิทธิ เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ
สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นอารมณ์เกิดขึ้น’ ท่านก็ตอบว่า ‘มีนามรูปเป็นอารมณ์
ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นต่างกันที่ไหน’ ท่านก็
ตอบว่า ‘ที่ธาตุ ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นเหตุเกิด’ ท่านก็
ตอบว่า ‘มีผัสสะเป็นเหตุเกิด ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นที่ประชุม’
ท่านก็ตอบว่า ‘มีเวทนาเป็นที่ประชุม ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นประมุข’ ท่านก็
ตอบว่า ‘มีสมาธิเป็นประมุข ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นใหญ่’ ท่านก็
ตอบว่า ‘มีสติเป็นใหญ่ ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นยิ่ง’ ท่านก็
ตอบว่า ‘มีปัญญาเป็นยิ่ง ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นแก่น’
ท่านก็ตอบว่า ‘มีวิมุตติเป็นแก่น ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นที่หยั่งลง’
ท่านก็ตอบว่า ‘มีนิพพานเป็นที่หยั่งลง ขอรับ’
ดีละ ดีละ ท่านสมิทธิ ดีจริง ท่านสมิทธิ ท่านถูกเราถามปัญหาแล้วก็แก้ได้
แต่ท่านอย่าทะนงตนด้วยการแก้ปัญหานั้น”
สมิทธิสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๖.สัญญาสูตร
๕. คัณฑสูตร
ว่าด้วยฝีมีปากแผล ๙ แห่ง
[๑๕] ภิกษุทั้งหลาย ฝีที่เกิดมาได้หลายปี มีปากแผลที่ไม่แตก ๙ แผล
เป็นแดนไหลออกแห่งทุกสิ่ง ไหลออกแต่สิ่งที่ไม่สะอาด ไหลออกแต่สิ่งที่มีกลิ่นเหม็น
ไหลออกแต่สิ่งที่น่ารังเกียจ เป็นแดนไหลเข้าแห่งทุกสิ่ง ไหลเข้าแต่สิ่งที่ไม่สะอาด
ไหลเข้าแต่สิ่งที่มีกลิ่นเหม็น ไหลเข้าแต่สิ่งที่น่ารังเกียจ แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ‘ฝี’ นี้เป็นชื่อของกายที่สำเร็จมาจากมหาภูตรูป ๔ นี้
ที่มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เติบโตมาด้วยข้าวสุกและขนม มีความไม่เที่ยง มีการ
ไล้ทาบีบนวดแตกสลายและกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา กายนั้นมีปากแผลที่
ไม่แตก ๙ แผล เป็นแดนไหลออกแห่งทุกสิ่ง ไหลออกแต่สิ่งที่ไม่สะอาด ไหลออก
แต่สิ่งที่มีกลิ่นเหม็น ไหลออกแต่สิ่งที่น่ารังเกียจ เป็นแดนไหลเข้าแห่งทุกสิ่ง ไหลเข้า
แต่สิ่งที่ไม่สะอาด ไหลเข้าแต่สิ่งที่มีกลิ่นเหม็น ไหลเข้าแต่สิ่งที่น่ารังเกียจ ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายควรเบื่อหน่ายในกายนี้
คัณฑสูตรที่ ๕ จบ
๖. สัญญาสูตร๑
ว่าด้วยสัญญา
[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๙ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ๒ มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญา ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
๒. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา)

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๖/๑๒๓
๒ อมตะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๘-๔๙/๑๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๗.กุลสูตร
๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร)
๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินใน
โลกทั้งปวง)
๕. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยง
แห่งสังขาร)
๗. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)
๘. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
๙. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๙ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญาสูตรที่ ๖ จบ
๗. กุลสูตร๑
ว่าด้วยตระกูล
[๑๗] ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ ภิกษุยังไม่
เคยเข้าไปหา ก็ไม่ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ก็ไม่ควรนั่งใกล้
องค์ ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
ตระกูล
๑. ต้อนรับด้วยความไม่เต็มใจ
๒. ไหว้ด้วยความไม่เต็มใจ
๓. ให้อาสนะด้วยความไม่เต็มใจ
๔. ปกปิดของที่มีอยู่

เชิงอรรถ :
๑ ดู สัตตกนิบาต ข้อ ๑๓ (กุลสูตร) หน้า ๑๙-๒๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๗.กุลสูตร
๕. มีของมาก แต่ถวายน้อย
๖. มีของประณีต แต่ถวายของเศร้าหมอง
๗. ถวายโดยไม่เคารพ ไม่ถวายโดยเคารพ
๘. ไม่นั่งใกล้เพื่อฟังธรรม
๙. ไม่ยินดีภาษิตของภิกษุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ ประการนี้แล ภิกษุยังไม่เคยเข้า
ไปหา ก็ไม่ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ก็ไม่ควรนั่งใกล้
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ ภิกษุยังไม่เคยเข้าไปหา
ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ควรนั่งใกล้
องค์ ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
ตระกูล
๑. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
๒. ไหว้ด้วยความเต็มใจ
๓. ให้อาสนะด้วยความเต็มใจ
๔. ไม่ปกปิดของที่มีอยู่
๕. มีของมาก ก็ถวายมาก
๖. มีของประณีต ก็ถวายของประณีต
๗. ถวายโดยความเคารพ ไม่ถวายโดยไม่เคารพ
๘. นั่งใกล้เพื่อฟังธรรม
๙. ยินดีภาษิตของภิกษุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ ประการนี้แล ภิกษุยังไม่เคย
เข้าไปหา ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ควรนั่งใกล้
กุลสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๘.นวังคุโปสถสูตร
๘. นวังคุโปสถสูตร
ว่าด้วยการรักษาอุโบสถที่มีองค์ ๙
[๑๘] ภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า
๑. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธ
และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูล
ต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ
วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู
มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้
เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำ
อุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๑ นี้
ฯลฯ๑
๘. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอน
บนที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอด
ชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่
นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดวัน
หนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระ
อรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วย
องค์ที่ ๘ นี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๔๑ (สังขิตตุโปสถสูตร) หน้า ๓๐๓-๓๐๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๙.เทวตาสูตร
๙. บุคคลมีเมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ...
ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน๑ ทิศเบื้องล่าง๒ ทิศเฉียง๓ แผ่ไปตลอดโลกทั่ว
ทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ๔
ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อุโบสถเป็นอัน
ประกอบด้วยองค์ ๙ นี้
ภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๙ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างนี้
นวังคุโปสถสูตรที่ ๘ จบ
๙. เทวตาสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการต้อนรับของเทวดา
[๑๙] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป๕ เทวดาจำนวนมาก มี
วรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เรา
แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บรรพชิต
ทั้งหลายเข้ามายังเรือนของข้าพระองค์ทั้งหลายผู้เคยเป็นมนุษย์ ข้าพระองค์เหล่านั้น
ได้ลุกรับ แต่ไม่กราบไหว้ ข้าพระองค์เหล่านั้นทำหน้าที่ยังไม่บริบูรณ์ มีความร้อนใจ
เดือดร้อนใจในภายหลัง จึงเกิดในหมู่เทพชั้นต่ำ’
เทวดาจำนวนมากอีกพวกหนึ่งเข้ามาหาเราแล้วกล่าวดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ บรรพชิตทั้งหลายเข้ามายังเรือนของข้าพระองค์ทั้งหลายผู้เคยเป็นมนุษย์
ข้าพระองค์เหล่านั้นได้ลุกรับ กราบไหว้ แต่ไม่ให้อาสนะแก่บรรพชิตเหล่านั้น ข้าพระองค์---------------------------------------

---
๑ ทิศเบื้องบน หมายถึงเทวโลก (วิสุทธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕)
๒ ทิศเบื้องล่าง หมายถึงนรกและนาค (วิสุทธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕)
๓ ทิศเฉียง หมายถึงทิศย่อยของทิศใหญ่ หรือทิศรอง (วิสุทธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕)
๔ ดูเชิงอรรถที่ ๑ นวกนิบาต ข้อ ๑๑ หน้า ๔๕๒ ในเล่มนี้
๕ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๓๒ หน้า ๔๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๙.เทวตาสูตร
เหล่านั้นทำหน้าที่ยังไม่บริบูรณ์ มีความร้อนใจ เดือดร้อนใจในภายหลัง จึงเกิดใน
หมู่เทพชั้นต่ำ’
เทวดาจำนวนมากอีกพวกหนึ่งเข้ามาหาเราแล้วกล่าวดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ บรรพชิตทั้งหลายเข้ามายังเรือนของข้าพระองค์ทั้งหลายผู้เคยเป็นมนุษย์
ข้าพระองค์เหล่านั้นได้ลุกรับ กราบไหว้ และให้อาสนะ แต่ไม่ได้แบ่งปันของให้ตาม
ความสามารถ ตามกำลัง ฯลฯ แบ่งปันของให้ตามความสามารถ ตามกำลัง แต่ไม่
นั่งใกล้เพื่อฟังธรรม ฯลฯ นั่งใกล้เพื่อฟังธรรม แต่ไม่เงี่ยโสตฟังธรรม ฯลฯ เงี่ยโสต
ฟังธรรม แต่ฟังแล้วก็ไม่ทรงจำธรรมไว้ได้ ฯลฯ ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ได้ แต่ไม่
พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ ฯลฯ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำ
ไว้ได้ แต่หารู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมไม่ ข้าพระองค์เหล่านั้น
ทำหน้าที่ยังไม่บริบูรณ์ มีความร้อนใจ เดือดร้อนใจในภายหลัง จึงเกิดในหมู่เทพชั้นต่ำ’
เทวดาจำนวนมากอีกพวกหนึ่งเข้ามาหาเราแล้วกล่าวดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ บรรพชิตทั้งหลายเข้ามายังเรือนของข้าพระองค์ทั้งหลายผู้เคยเป็นมนุษย์
ข้าพระองค์เหล่านั้นได้ลุกรับ กราบไหว้ ให้อาสนะ แบ่งปันของให้ตามความสามารถ
ตามกำลัง นั่งใกล้เพื่อฟังธรรม เงี่ยโสตฟังธรรม ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ได้ พิจารณา
เนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ และรู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’
ข้าพระองค์เหล่านั้นทำหน้าที่บริบูรณ์แล้ว ไม่มีความร้อนใจ ไม่เดือดร้อนใจใน
ภายหลัง จึงเกิดในหมู่เทพชั้นประณีต’
ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง๑ เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท
อย่าเป็นผู้มีวิปปฏิสาร(ความร้อนใจ) ในภายหลังเหมือนเทวดาพวกแรก ๆ เหล่านั้นเลย
เทวตาสูตรที่ ๙ จบ


เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑,๒ สัตตกนิบาต ข้อ ๗๔ หน้า ๑๗๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๑๐.เวลามสูตร
๑๐. เวลามสูตร
ว่าด้วยเวลามพราหมณ์
[๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกเศรษฐีเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสกับท่านดังนี้ว่า “ท่านคหบดี ในตระกูลของท่านยังให้ทานอยู่หรือ”
อนาถบิณฑิกคหบดีกราบทูลว่า “ในตระกูลของข้าพระองค์ยังให้ทานอยู่
พระพุทธเจ้าข้า แต่ทานนั้นแลเป็นของเศร้าหมอง เป็นปลายข้าวกับน้ำผักดอง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี บุคคลให้ทานเศร้าหมอง หรือประณีตก็ตาม
ถ้าให้ทานนั้นโดยไม่เคารพ ไม่ทำความนอบน้อมให้ทาน ไม่ให้ด้วยมือของตนเอง
ให้ทานเหมือนจะทิ้ง๑ เป็นผู้ไม่เห็นผลที่จะตามมาให้ทาน๒ ในตระกูลที่ทานนั้น ๆ
บังเกิดผล เขาไม่น้อมจิตไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี ไม่น้อมจิตไปเพื่อนุ่งห่มผ้า
อย่างดี ไม่น้อมจิตไปเพื่อใช้ยานอย่างดี และไม่น้อมจิตไปเพื่อบริโภคกามคุณ๓ ๕
อย่างดี แม้แต่บริวารของผู้ให้ทานนั้น คือ บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ หรือกรรมกร
ก็ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจใฝ่รู้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผลกรรม
ที่ตนได้กระทำโดยไม่เคารพ

เชิงอรรถ :
๑ ให้ทานเหมือนจะทิ้ง ในที่นี้หมายถึงไม่ให้ทานอย่างต่อเนื่อง ให้ทานเหมือนต้องการจะทิ้ง (องฺ.นวก.อ.
๓/๒๐/๒๙๗)
๒ ไม่เห็นผลที่จะตามมาให้ทานในที่นี้หมายถึงไม่เชื่อกรรมและผลกรรมแต่ก็ให้ทาน (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๐/๒๙๗)
๓ กามคุณ แยกอธิบายว่า ที่ชื่อว่า กาม เพราะมีความหมายว่าเป็นสิ่งที่บุคคลพึงใคร่ ที่ชื่อว่า คุณ เพราะมี
ความหมายว่าผูกพันไว้ ร้อยรัดไว้ ดุจคำว่า “อนฺตํ อนฺตคุณํ” แปลว่า “ไส้ใหญ่ ไส้เล็ก” ดู ที.ม. ๑๐/๓๗๗/
๒๕๑, ม.มู. ๑๒/๑๑๐/๗๙, ขุ.ขุ. ๒๕/๓/๒, และดุจคำว่า “กยิรา มาลาคุเณ พหู” แปลว่า “ช่างดอกไม้พึง
ร้อยพวงมาลัยไว้เป็นจำนวนมาก” ดู ขุ.ธ. ๒๕/๕๓/๒๖ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๓/๑๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น