Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๔-๕ หน้า ๒๐๐ - ๒๔๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔-๕ สุตตันตปิฎกที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก เอกาทสกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต
_______________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๙. โกกาลิกสูตร
๙. โกกาลิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุชื่อว่าโกกาลิกะ
[๘๙] ครั้งนั้นแล โกกาลิกภิกษุเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นผู้มีความ
ปรารถนาชั่ว ลุอำนาจความปรารถนาชั่ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธออย่ากล่าว
อย่างนั้น เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตร
และโมคคัลลานะ เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก”
แม้ครั้งที่ ๒ โกกาลิกภิกษุก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคทรงเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของข้าพระองค์ ทรงมีพระ-
พุทธพจน์ที่ข้าพระองค์เชื่อถือได้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ
ก็ยังเป็นผู้ปรารถนาชั่ว ลุอำนาจความปรารถนาชั่ว พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธออย่ากล่าว
อย่างนั้น เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตรและ
โมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก”
แม้ครั้งที่ ๓ โกกาลิกภิกษุก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
แม้พระผู้มีพระภาคทรงเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของข้าพระองค์ ทรงมีพระพุทธพจน์ที่ข้า
พระองค์เชื่อถือได้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะก็ยังเป็นผู้มี
ความปรารถนาชั่ว ลุอำนาจความปรารถนาชั่ว พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธออย่ากล่าวอย่าง
นั้น เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตรและ
โมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก”
ครั้งนั้น โกกาลิกภิกษุลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำ
ประทักษิณแล้วหลีกไป เมื่อโกกาลิกภิกษุหลีกไปไม่นาน ร่างกายก็มีตุ่มขนาดเท่า
เมล็ดพันธุ์ผักกาดเกิดขึ้นทั่วร่าง ตุ่มเหล่านั้นโตเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด แล้วก็โตเท่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๙. โกกาลิกสูตร
เมล็ดถั่วเขียว โตเท่าเมล็ดถั่วดำ โตเท่าเมล็ดพุทรา โตเท่าเมล็ดกระเบา โตเท่าผล
มะขามป้อม โตเท่าผลมะตูมอ่อน โตเท่าผลมะตูมแก่ แล้วก็แตกเยิ้ม หนองและเลือด
หลั่งไหลออกมา ได้ทราบว่าโกกาลิกภิกษุนั้นนอนบนใบตอง เหมือนปลากินยาพิษ
ครั้งนั้นแล ตุทิปัจเจกพรหม๑เข้าไปหาโกกาลิกภิกษุถึงที่อยู่ ยืนอยู่กลาง
อากาศกล่าวกับโกกาลิกภิกษุว่า “ท่านโกกาลิกะ ท่านจงทำจิตให้เลื่อมใสในท่าน
พระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเถิด เพราะท่านพระสารีบุตรและท่านพระ
โมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก”
โกกาลิกภิกษุถามว่า “ผู้มีอายุ ท่านเป็นใคร”
ตุทิปัจเจกพรหมตอบว่า “เราเป็นตุทิปัจเจกพรหม”
โกกาลิกภิกษุถามว่า “ผู้มีอายุ ท่านได้รับพยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า
เป็นอนาคามีแล้วมิใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนั้น ไฉนท่านจึงมาที่นี้อีก ท่านจงเห็นว่าความ
ผิดนี้ของท่านมีอยู่เถิด”
ลำดับนั้น ตุทิปัจเจกพรหม จึงได้กล่าวกับโกกาลิกภิกษุด้วยคาถาว่า
ผรุสวาจา(คำหยาบ)เป็นเหมือนผึ่ง
เครื่องตัดตนของคนพาลผู้กล่าวคำชั่ว
ย่อมเกิดที่ปากของคนพาล
ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรติเตียน
หรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสมความผิดไว้ด้วยปาก
ย่อมไม่ประสบความสุข เพราะความผิดนั้น
การปราชัยด้วยทรัพย์
ในการเล่นการพนันจนหมดตัวนี้
เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย

เชิงอรรถ :
๑ ตุทิปัจเจกพรหม คือ พระตุทิเถระผู้เป็นอุปัชฌาย์ของพระโกกาลิกะ ซึ่งบรรลุอนาคามิผลแล้วไปบังเกิดใน
พรหมโลก (องฺ.ทสก.อ. ๓/๘๙/๓๖๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๙. โกกาลิกสูตร
แต่การที่บุคคลมีใจประทุษร้าย
ในบุคคลผู้ดำเนินไปดีแล้วนี้เท่านั้น
เป็นความผิดมากกว่า
บุคคลผู้ตั้งวาจาและใจอันชั่วติเตียนพระอริยะ
ย่อมเข้าถึงนรกสิ้น ๑๓๖,๐๐๐ นิรัพพุทกัป๑
กับอีก ๕ อัพพุทกัป
ครั้งนั้น โกกาลิกภิกษุได้มรณภาพด้วยอาพาธนั้นเองแล้วไปเกิดในปทุมนรก
เพราะมีจิตผูกอาฆาตในพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ
ครั้นปฐมยามผ่านไปแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหมมีวรรณะงามยิ่ง ทำพระเชตวัน
วิหารทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืน
อยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
โกกาลิกภิกษุมรณภาพแล้วไปเกิดในปทุมนรก เพราะมีจิตผูกอาฆาตในท่านพระ
สารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะ พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้นท้าวสหัมบดีพรหมกราบทูลดังนี้แล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำ
ประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง
ครั้นราตรีนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย คืนนี้เมื่อปฐมยามผ่านไปแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหมมีวรรณะงามยิ่ง ทำ
พระเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้
กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โกกาลิกภิกษุมรณภาพแล้วไปเกิดใน
ปทุมนรก เพราะมีจิตผูกอาฆาตในท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะ”
ภิกษุทั้งหลาย ครั้นท้าวสหัมบดีพรหมกล่าวดังนี้แล้ว ไหว้เรา ทำประทักษิณแล้ว
หายไป ณ ที่นั้นเอง
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ประมาณอายุในปทุมนรกนานเท่าไรหนอ”

เชิงอรรถ :
๑ นิรัพพุทกัป เป็นจำนวนกัปที่ใช้สังขยา(การกำหนดนับ)จำนวนสูง (ตามนัย องฺ.ทสก.อ. ๓/๘๙/๓๖๖)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า เท่ากับ ๑ มี ๐ ตามหลัง ๖๓ ตัว บ้างว่า ๑๐๐ ล้าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๙. โกกาลิกสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ประมาณอายุในปทุมนรกนานนัก
ประมาณอายุในปทุมนรกนั้นยากที่จะนับได้ว่า ‘ประมาณเท่านี้ปี ประมาณ ๑๐๐ ปี
เท่านี้ ประมาณ ๑,๐๐๐ ปีเท่านี้ ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปีเท่านี้”
ภิกษุทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์พอจะยกอุปมาได้หรือไม่
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ได้ ภิกษุ” แล้วตรัสว่า “ภิกษุ หนึ่งเกวียนเมล็ดงา
ของชาวโกศลมีอัตรา ๒๐ ขารี๑ ล่วงไปแล้ว ๑๐๐,๐๐๐ ปี บุรุษจึงนำเมล็ดงาออก
จากเกวียนนั้นหนึ่งเมล็ด เมล็ดงาหนึ่งเกวียนของชาวโกศลซึ่งมีอัตรา ๒๐ ขารี
นั้นจะพึงหมดไปโดยทำนองนี้เร็วกว่า แต่ว่า ๑ อัพพุทนรก๒หาหมดไปไม่ ๒๐
อัพพุทนรก เป็น ๑ นิรัพพุทนรก ๒๐ นิรัพพุทนรก เป็น ๑ อพัพพนรก ๒๐
อพัพพนรก เป็น ๑ อุหหนรก ๒๐ อุหหนรก เป็น ๑ อัฏฏนรก ๒๐ อัฏฏนรก
เป็น ๑ กุมุทนรก ๒๐ กุมุทนรก เป็น ๑ โสคันธิกนรก ๒๐ โสคันธิกนรก เป็น ๑
อุปปลนรก ๒๐ อุปปลนรก เป็น ๑ ปุณฑริกนรก ๒๐ ปุณฑริกนรก เป็น ๑
ปทุมนรก ภิกษุ โกกาลิกภิกษุไปเกิดในปทุมนรก เพราะมีจิตผูกอาฆาตในสารีบุตร
และโมคคัลลานะ”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า

เชิงอรรถ :
๑ ๔ กุฑุวะ หรือ ปสตะ (ฟายมือ) เป็น ๑ ปัตถะ (กอบ)
๔ ปัตถะ เป็น ๑ อาฬหกะ
๔ อาฬหกะ เป็น ๑ โทณะ
๔ โทณะ เป็น ๑ มาณิกา
๔ มาณิกา เป็น ๑ ขารี
๒๐ ขารี เป็น ๑ วาหะ
๒๐ วาหะ เป็น ๑ ธารณะ
๑๐ ธารณะ เป็น ๑ ปละ
๑๐๐ ปละ เป็น ๑๒ ตุลา
๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ
(อภิธา.ฏี. คาถา ๔๘๐-๔๘๔)
๒ อัพพุทนรก นิรัพพุทนรก อพัพพนรก อุหหนรก อัฏฏนรก กุมุทนรก โสคันธิกนรก อุปปลนรก ปุณฑริกนรก
ปทุมนรก ทั้งหมดนี้ อยู่ในอเวจีมหานรก เป็นนรกเล็กอยู่ในนรกใหญ่ ไม่มีภูมิเป็นของตนเอง แต่เป็นที่ซึ่ง
สัตว์จะต้องรับกรรม เช่น อัพพุทนรก เป็นสถานที่ทรมานสัตว์โดยการนับชิ้นเนื้อเป็นเครื่องบอกระยะเวลา
ในการทรมานสัตว์ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๘๙/๓๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๑๐. ขีณาสวพลสูตร
ผรุสวาจาเป็นเหมือนผึ่ง
เครื่องตัดตนของคนพาลผู้กล่าวคำชั่ว
ย่อมเกิดที่ปากของคนพาล
ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรติเตียน
หรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสมความผิดไว้ด้วยปาก
ย่อมไม่ประสบความสุข เพราะความผิดนั้น
การปราชัยด้วยทรัพย์
ในการเล่นการพนันจนหมดตัวนี้
เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย
แต่การที่บุคคลมีใจประทุษร้าย
ในบุคคลผู้ดำเนินไปดีแล้วนี้เท่านั้น
เป็นความผิดมากกว่า
บุคคลผู้ตั้งวาจาและใจอันชั่วติเตียนพระอริยะ
ย่อมเข้าถึงนรกสิ้น ๑๓๖,๐๐๐ นิรัพพุทกัป
กับอีก ๕ อัพพุทกัป
โกกาลิกสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ขีณาสวพลสูตร๑
ว่าด้วยกำลังของพระขีณาสพ
[๙๐] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“สารีบุตร ภิกษุขีณาสพมีกำลังเท่าไร จึงปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า
‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว”

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.อฏฐก. ๒๓/๒๘/๑๘๓-๑๘๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๑๐. ขีณาสวพลสูตร
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพมีกำลัง ๑๐
ประการ จึงปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’
กำลัง ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เห็นว่าเป็น
สภาวะไม่เที่ยงด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง แม้ข้อที่สังขาร
ทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงด้วยปัญญาอัน
ชอบตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพ
อาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’
๒. กามทั้งหลายเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง แม้ข้อที่กามทั้งหลายเป็นธรรมที่
ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิงด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัย
ปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’
๓. จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติน้อมไป โน้มไป โอนไป ตั้งอยู่ในวิเวก
ยินดียิ่งในเนกขัมมะ ปราศจากเงื่อนธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดย
ประการทั้งปวง แม้ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติน้อมไป โน้มไป
โอนไป ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ ปราศจากเงื่อนธรรมอันเป็นที่
ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ที่
ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเรา
สิ้นแล้ว’
๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อที่
สติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลัง
ของภิกษุขีณาสพ ที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๕. สัมมัปปธาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ...
๖. อิทธิบาท ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ...
๗. อินทรีย์ ๕ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ...
๘. พละ ๕ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ...
๙. โพชฌงค์ ๗ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ...
๑๐. มรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว [แม้ข้อที่
มรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลัง
ของภิกษุขีณาสพ ที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว‘]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพมีกำลัง ๑๐ ประการนี้แล จึงปฏิญญา
ความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’
ขีณาสวพลสูตรที่ ๑๐ จบ
เถรวรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วาหุนสูตร ๒. อานันทสูตร
๓. ปุณณิยสูตร ๔. พยากรณสูตร
๕. กัตถีสูตร ๖. อธิมานสูตร
๗. นัปปิยสูตร ๘. อักโกสกสูตร
๙. โกกาลิกสูตร ๑๐. ขีณาสวพลสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๑. กามโภคีสูตร
๕. อุปาสกวรรค
หมวดว่าด้วยอุบาสก
๑. กามโภคีสูตร
ว่าด้วยกามโภคีบุคคล๑
[๙๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดี ได้เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า
คหบดี กามโภคีบุคคล ๑๐ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
กามโภคีบุคคล ๑๐ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วย
การงานที่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข และไม่แจกจ่าย
ไม่ทำบุญ
๒. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วย
การงานที่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข แต่ไม่แจกจ่าย ไม่
ทำบุญ
๓. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วย
การงานที่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย
ทำบุญ
๔. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์ทั้งโดยชอบธรรม และ
ไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว
ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข และไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ

เชิงอรรถ :
๑ กามโภคีบุคคล หมายถึงผู้บริโภคกาม, ผู้ครองเรือน, คฤหัสถ์ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๕/๒๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๑. กามโภคีสูตร
๕. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์ทั้งโดยชอบธรรมและ
ไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว
บำรุงตนให้เป็นสุข แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ
๖. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์ทั้งโดยชอบธรรมและ
ไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว
บำรุงตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย ทำบุญ
๗. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วย
การงานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข และไม่
แจกจ่าย ไม่ทำบุญ
๘. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วย
การงานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข แต่ไม่แจกจ่าย
ไม่ทำบุญ
๙. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วย
การงานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย
ทำบุญ แต่เป็นผู้มัวเมา หมกมุ่น จดจ่อ ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็น
เครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้น
๑๐. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการ
งานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย
ทำบุญ ทั้งเป็นผู้ไม่มัวเมา ไม่หมกมุ่น ไม่จดจ่อ เห็นโทษ มีปัญญา
เป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้น
บรรดากามโภคีบุคคล ๑๐ จำพวกนั้น กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์
โดยไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข
ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญนี้ ควรติเตียนโดย ๓ สถาน คือ ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑
นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิด’ ควรติเตียนโดย
สถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควรติเตียนโดยสถานที่ ๓ นี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย
ไม่ทำบุญ’ คหบดี กามโภคีบุคคลนี้ ควรติเตียนโดย ๓ สถานนี้ (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๑. กามโภคีสูตร
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิด ครั้น
แสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญนี้ ควรติเตียนโดย
๒ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว คือ ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า
‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิด’ ควรสรรเสริญโดยสถาน
เดียวนี้ว่า ‘บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควรติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย
ไม่ทำบุญ’ คหบดี กามโภคีบุคคลนี้ ควรติเตียนโดย ๒ สถานนี้ แต่ควรสรรเสริญ
โดยสถานเดียวนี้ (๒)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิด ครั้น
แสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย ทำบุญนี้ ควรติเตียนโดย
สถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน คือ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ว่า
‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิด’ ควรสรรเสริญโดยสถาน
ที่ ๑ นี้ว่า ‘บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘แจกจ่าย
ทำบุญ’ คหบดี กามโภคีบุคคลนี้ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ ควรสรรเสริญโดย
๒ สถานนี้ (๓)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์ทั้งโดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม ด้วย
การงานที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข และไม่
แจกจ่าย ไม่ทำบุญนี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว ควรติเตียนโดย ๓ สถาน คือ
ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่
ไม่ผิด’ ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วย
การงานที่ผิด’ ควรติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควร
ติเตียนโดยสถานที่ ๓ นี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ’ คหบดี กามโภคีบุคคลนี้ ควร
สรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ ควรติเตียนโดย ๓ สถานนี้ (๔)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์ทั้งโดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม ด้วย
การงานที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข แต่ไม่
แจกจ่าย ไม่ทำบุญนี้ ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน ควรติเตียนโดย ๒ สถาน
คือ ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๑. กามโภคีสูตร
งานที่ผิด’ ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม
ด้วยการงานที่ผิด’ ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควร
ติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ’ คหบดี กามโภคีบุคคลนี้ควร
สรรเสริญโดย ๒ สถานนี้ ควรติเตียนโดย ๒ สถานนี้ (๕)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์ทั้งโดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม ด้วย
การงานที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย
ทำบุญนี้ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน ควรติเตียนโดยสถานเดียว คือ ควรสรรเสริญ
โดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด’ ควร
ติเตียนโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิด’
ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๓
นี้ว่า ‘แจกจ่าย ทำบุญ’ คหบดี กามโภคีบุคคลผู้บริโภคกามคุณนี้ ควรสรรเสริญ
โดย ๓ สถานนี้ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ (๖)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้น
แสวงหาได้แล้ว ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข และไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญนี้ ควรสรรเสริญ
โดยสถานเดียว ควรติเตียนโดย ๒ สถาน คือ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ว่า
‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด’ ควรติเตียนโดยสถาน
ที่ ๑ นี้ว่า ‘ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควรติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย
ไม่ทำบุญ’ คหบดี กามโภคีบุคคลนี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ ควรติเตียน
โดย ๒ สถานนี้ (๗)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้น
แสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญนี้ ควรสรรเสริญ
โดย ๒ สถาน ควรติเตียนโดยสถานเดียว คือ ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า
‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด’ ควรสรรเสริญโดยสถาน
ที่ ๒ นี้ว่า ‘บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย
ไม่ทำบุญ’ คหบดี กามโภคีบุคคลนี้ ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานนี้ ควรติเตียน
โดยสถานเดียวนี้ (๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๑. กามโภคีสูตร
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้น
แสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย ทำบุญ ทั้งเป็นผู้มัวเมา
หมกมุ่น จดจ่อ ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่า
นั้นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน ควรติเตียนโดยสถานเดียว คือ ควรสรรเสริญโดย
สถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด’ ควร
สรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควรสรรเสริญโดยสถาน
ที่ ๓ นี้ว่า ‘แจกจ่าย ทำบุญ’ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘เป็นผู้มัวเมา
หมกมุ่น จดจ่อ ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์
เหล่านั้น’ คหบดี กามโภคีบุคคลนี้ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถานนี้ ควรติเตียนโดย
สถานเดียวนี้ (๙)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้น
แสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย ทำบุญ ทั้งเป็นผู้ไม่มัวเมา
ไม่หมกมุ่น ไม่จดจ่อ เห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครี่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์
เหล่านั้นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๔ สถาน คือ ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า
‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด’ ควรสรรเสริญโดย
สถานที่ ๒ นี้ว่า ‘บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๓ นี้ว่า
‘แจกจ่าย ทำบุญ’ ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๔ นี้ว่า ‘ไม่มัวเมา ไม่หมกมุ่น
ไม่จดจ่อ เห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้น’ คหบดี
กามโภคีบุคคลนี้ ควรสรรเสริญโดย ๔ สถานนี้ (๑๐)
คหบดี กามโภคีบุคคล ๑๐ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
บรรดากามโภคีบุคคล ๑๐ จำพวกนี้ กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดย
ชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข และ
แจกจ่าย ทำบุญ ทั้งเป็นผู้ไม่มัวเมา ไม่หมกมุ่น ไม่จดจ่อ เห็นโทษ มีปัญญาเป็น
เครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้นนี้ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นหัวหน้า
สูงส่ง ล้ำเลิศ เปรียบเหมือนนมสดที่เกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิด
จากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส ชาวโลกเรียกว่า เลิศกว่า
นมส้มเป็นต้น เหล่านั้น ฉันใด บรรดากามโภคีบุคคล ๑๐ จำพวกนี้ กามโภคีบุคคลที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๒. ภยสูตร
แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุง
ตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย ทำบุญ ทั้งเป็นผู้ไม่มัวเมา ไม่หมกมุ่น ไม่จดจ่อ
เห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้นนี้ เป็นผู้เลิศ
ประเสริฐ เป็นหัวหน้า สูงส่ง ล้ำเลิศ ฉันนั้นเหมือนกัน
กามโภคีสูตรที่ ๑ จบ
๒. ภยสูตร
ว่าด้วยภัยเวร
[๙๒] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า
คหบดี เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการได้แล้ว ประกอบด้วยองค์
เครื่องบรรลุโสดา๑ ๔ ประการ และเห็นแจ้งแทงตลอดอริยญายธรรม๒ด้วยปัญญาแล้ว
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น เมื่อหวังอยู่พึงพยากรณ์ตนเองว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาต๓สิ้นแล้ว เป็น
โสดาบัน๔ ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๕ ในวันข้างหน้า’
อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย จึงประสพภัยเวรที่เป็นไป
ในปัจจุบันบ้าง ในสัมปรายภพบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง บุคคลผู้

เชิงอรรถ :
๑ องค์เครื่องบรรลุโสดา ในที่นี้หมายถึงคุณสมบัติของพระโสดาบัน (สํ.ม.อ. ๓/๔๗๘/๓๐๗)
๒ อริยญายธรรม หมายถึงมรรคพร้อมทั้งวิปัสสนา (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๑-๙๒/๓๖๗)
๓ อบาย ทุคติ วินิบาต ทั้ง ๓ คำนี้เป็นไวพจน์ของนรก (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๓/๕๐)
๔ โสดาบัน หมายถึงผู้ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะคำว่า โสตะ เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕๓๐)
๕ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรค ๓ เบื้องสูง (สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค) (องฺ.ติก.อ.
๒/๘๗/๒๔๒, องฺ.ติก.ฏีกา. ๒/๘๗/๒๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๒. ภยสูตร
เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ย่อมไม่ประสพภัยเวรที่เป็นไปในปัจจุบัน ที่เป็น
ไปในสัมปรายภพ ทั้งไม่ต้องเสวยทุกขโทมนัสทางใจ บุคคลผู้เว้นขาด
จากการฆ่าสัตว์แล้ว ย่อมระงับภัยเวรนั้นได้ อย่างนี้
๒. บุคคลผู้ลักทรัพย์ ...
๓. บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ...
๔. บุคคลผู้พูดเท็จ ...
๕. บุคคลผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย๑อันเป็นเหตุแห่งความประมาท
เพราะการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
เป็นปัจจัย จึงประสพภัยเวรที่เป็นไปในปัจจุบันบ้าง ในสัมปรายภพบ้าง
ต้องเสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง บุคคลผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทแล้ว ย่อมไม่ประสพภัย
เวรที่เป็นไปในปัจจุบัน ที่เป็นไปในสัมปรายภพ ทั้งไม่ต้องเสวยทุกข-
โทมนัสทางใจ บุคคลผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาทแล้ว ย่อมระงับภัยเวรนั้นได้ อย่างนี้
อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการ เป็นอย่างนี้แล
อริยสาวกประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า “แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์
เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็น
สารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค”

เชิงอรรถ :
๑ สุราและเมรัย หมายถึง สุรา ๕ อย่าง คือ (๑) สุราแป้ง (๒) สุราขนม (๓) สุราข้าวสุก (๔) สุราใส่เชื้อ
(๕) สุราผสมเครื่องปรุง และเมรัย ๕ อย่าง คือ (๑) เครื่องดองดอกไม้ (๒) เครื่องดองผลไม้ (๓) เครื่อง
ดองน้ำอ้อย (๔) เครื่องดองน้ำผึ้ง (๕) เครื่องดองผสมเครื่องปรุง (ขุ.ขุ.อ. หน้า ๑๗-๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๒. ภยสูตร
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า “พระธรรม
เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน
พึงรู้เฉพาะตน”
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า “พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติ
สมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี
พระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควร
แก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก”
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะใคร่ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท
ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ
อริยสาวกประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล
อริยสาวกนั้นเห็นแจ้งแทงตลอดอริยญายธรรมด้วยปัญญา เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้พิจาณาเห็นอย่างนี้ว่า “เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี
สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป
สิ่งนี้จึงดับไป๑ คือ

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี


เชิงอรรถ :
๑ สํ.ม. ๑๙/๑๐๒๔/๓๓๗, ขุ.อุ. ๒๕/๑/๙๓, ขุ.ม. ๒๙/๑๘๖/๓๗๐, ขุ.จู. ๓๐/๘๘/๑๙๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๒. ภยสูตร

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาสจึงมี

กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีความเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาสจึงดับ

กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีความดับด้วยอาการอย่างนี้”
อริยสาวกนั้นเห็นแจ้งแทงตลอดอริยญายธรรมด้วยปัญญา เป็นอย่างนี้แล
เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ ประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา
๔ ประการนี้ และเห็นแจ้งแทงตลอดอริยญายธรรมนี้แลด้วยปัญญาแล้ว เมื่อนั้น
อริยสาวกนั้น เมื่อหวังอยู่พึงพยากรณ์ตนเองว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เป็น
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
ภยสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๓. กิงทิฏฐิกสูตร
๓. กิงทิฏฐิกสูตร
ว่าด้วยคำถามเกี่ยวกับทิฏฐิ๑
[๙๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี ได้ออกจาก
กรุงสาวัตถีแต่ยังวัน เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ขณะนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีได้มี
ความคิดว่า “ยังไม่ใช่เวลาที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาค เพราะพระองค์ยังทรงหลีกเร้น๒
อยู่ ยังไม่ใช่เวลาที่จะเยี่ยมเยือนภิกษุทั้งหลายผู้อบรมจิต เพราะภิกษุเหล่านั้น
ยังหลีกเร้นอยู่ ทางที่ดี เราควรจะเข้าไปยังอารามของอัญเดียรถีย์ปริพาชก”
ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก
สมัยนั้นแล พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก กำลังร่วมประชุมกัน ส่งเสียงเอ็ดอึง นั่ง
สนทนากันถึงติรัจฉานกถามีประการต่าง ๆ ได้เห็นท่านอนาถบิณฑิกคหบดีผู้กำลัง เดิน
มาจากที่ไกล จึงชวนกันให้หยุดว่า “จงเงียบเสียงเถิด ท่านทั้งหลายอย่าได้ส่งเสียง
เลย อนาถบิณฑิกคหบดีคนนี้เป็นสาวกของพระสมณโคดมกำลังเดินมายังอาราม
อนาถบิณฑิกคหบดีนี้เป็นสาวกคนหนึ่งบรรดาคฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มผ้าขาวของพระสมณ-
โคดม ซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี พวกเขาชอบเสียงเบา ถูกฝึกให้มีเสียงเบา กล่าว
ชมผู้พูดเสียงเบา ทำอย่างไร เขาทราบว่าบริษัท๓ เงียบเสียง ก็จะสำคัญว่าควรเข้าหา”
ครั้นแล้ว อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นจึงพากันนิ่งเงียบ ลำดับนั้น อนาถบิณฑิก-
คหบดีเข้าไปหาอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่
บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นจึง
ถามว่า “คหบดี ขอท่านจงบอกเถิด พระสมณโคดมมีทิฏฐิอย่างไร”

เชิงอรรถ :
๑ ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงลัทธิ คือ คติความเชื่อถือหรือความคิดเห็น (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๖/๒๐๒)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๕๐ (ภัณฑนสูตร) หน้า ๑๐๖ ในเล่มนี้
๓ บริษัท คือ หมู่, คณะ, ที่ประชุม, ประชุมชน เช่น พุทธบริษัท ๔ แต่ในที่นี้หมายถึงหมู่คณะของพวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๓. กิงทิฏฐิกสูตร
อนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่ทราบทิฏฐิทั้งหมดของ
พระผู้มีพระภาคเลย”
“เอาเถิดท่านคหบดี ตามที่ท่านว่า ท่านไม่ทราบทิฏฐิทั้งหมดของพระสมณ-
โคดม ขอท่านจงบอกเถิด พวกภิกษุมีทิฏฐิอย่างไร”
“ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่ทราบทิฏฐิทั้งหมดของภิกษุทั้งหลายเลย”
“เอาเถิดท่านคหบดี ตามที่ท่านว่า ท่านไม่ทราบทิฏฐิทั้งหมดของพระสมณ-
โคดม ทั้งไม่ทราบทิฏฐิทั้งหมดของพวกภิกษุอย่างนี้ ท่านจงบอกเถิด ท่านมีทิฏฐิ
อย่างไร”
“ท่านผู้เจริญ ไม่ยากที่ข้าพเจ้าจะบอกทิฏฐิของข้าพเจ้าว่ามีทิฏฐิอย่างใด เชิญ
ท่านทั้งหลายบอกทิฏฐิของตนก่อนเถิด ไม่ยากที่ข้าพเจ้าจักบอกทิฏฐิของข้าพเจ้าว่า
มีทิฏฐิอย่างใดในภายหลัง”
เมื่ออนาถบิณฑิกคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกคนหนึ่งได้กล่าวกับอนาถ-
บิณฑิกคหบดีว่า “คหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
ปริพาชกคนหนึ่งกล่าวกับอนาถบิณฑิกคหบดีว่า “คหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
แม้ปริพาชกอีกคนหนึ่งก็กล่าวกับอนาถบิณฑิกคหบดีว่า “โลกมีที่สุด....” อีก
คนหนึ่งกล่าวว่า “โลกไม่มีที่สุด...” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “ชีวะ๑กับสรีระเป็นอย่าง
เดียวกัน...” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน....” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า
“หลังจากตายแล้วตถาคต๒เกิดอีก...” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “หลังจากตายแล้ว
ตถาคตไม่เกิดอีก...” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่
เกิดอีกก็มี...” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “คหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”

เชิงอรรถ :
๑ ชีวะ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณอมตะหรืออาตมัน (ตามนัย อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑/๑๒๙)
๒ ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่นใช้มาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า
อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงสัตว์ (เทียบ ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๓. กิงทิฏฐิกสูตร
เมื่อปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว อนาถบิณฑิกคหบดีจึงได้กล่าวว่า “ข้าแต่พระ
คุณเจ้าผู้เจริญ ท่านผู้ใดกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘คหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ทิฏฐิของท่านผู้นี้เกิดขึ้นเพราะการมนสิการโดยไม่
แยบคายของตนเป็นเหตุ หรือเพราะคำพูดของผู้อื่นเป็นเหตุ ก็ทิฏฐินี้แล เกิดขึ้น
ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเท่านั้นที่ท่านผู้นี้ติดแล้ว เข้าถึงแล้ว
แม้ท่านผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘คหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้น
จริง อย่างอื่นไม่จริง’ ทิฏฐิของท่านผู้นี้เกิดขึ้นเพราะการมนสิการโดยไม่แยบคายของ
ตนเป็นเหตุ หรือเพราะคำพูดของผู้อื่นเป็นเหตุ ก็ทิฏฐินี้แล เกิดขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น
อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์
สิ่งนั้นเท่านั้นที่ท่านผู้นี้ติดแล้ว เข้าถึงแล้ว
แม้ท่านผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘คหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มี
ที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจาก
ตายแล้วตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีก
ก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ทิฏฐิของท่านผู้นี้เกิดขึ้นเพราะการมนสิการ
โดยไม่แยบคายเป็นเหตุ หรือเพราะคำพูดของผู้อื่นเป็นเหตุ ก็ทิฏฐินี้แล เกิดขึ้น
ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเท่านั้นที่ท่านผู้นี้ติดแล้ว เข้าถึงแล้ว”
เมื่ออนาถบิณฑิกคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้วปริพาชกเหล่านั้นจึงได้กล่าวว่า “คหบดี
เราทั้งหมดบอกทิฏฐิของตนแล้ว ขอท่านจงบอกเถิด ท่านมีทิฏฐิอย่างไร”
“ท่านผู้เจริญ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัย
เกิดขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นข้าพเจ้า
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๓. กิงทิฏฐิกสูตร
“คหบดี สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัย
เกิดขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเท่านั้น ที่
ท่านเองติดแล้ว เข้าถึงแล้ว”
“ท่านผู้เจริญ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น
ข้าพเจ้าได้เห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ และรู้ชัดอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งสิ่งนั้น
อย่างยอดเยี่ยม ตามความเป็นจริง”
เมื่ออนาถบิณฑิกคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกเหล่านั้นพากันนั่งนิ่ง
เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา โต้ตอบไม่ได้ อนาถบิณฑิกคหบดีทราบว่าปริพาชก
เหล่านั้นพากันนั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา โต้ตอบไม่ได้ จึงลุกจากที่นั่ง
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบ
ทูลเรื่องที่สนทนาปราศรัยกับอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นแด่พระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบทุกประการ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อย่างนั้นแหละ คหบดี ท่านสามารถข่ม
โมฆบุรุษเหล่านั้นได้อย่างแนบเนียนตามกาลอันควร โดยชอบธรรม”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงชี้แจงให้อนาถบิณฑิกคหบดีเห็นชัด ชวนใจ
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาแล้ว อนาถบิณฑิกคหบดีก็ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
ทำประทักษิณแล้วหลีกไป
เมื่ออนาถบิณฑิกคหบดีหลีกไปไม่นาน พระผู้มีพระภาคจึงรับสั่งเรียกภิกษุทั้ง
หลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดบวชได้ ๑๐๐ พรรษา ในธรรมวินัยนี้ แม้
ภิกษุนั้นก็พึงข่มพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกได้อย่างแนบเนียน โดยชอบธรรมอย่างนี้
เหมือนอนาถบิณฑิกคหบดีข่มได้แล้ว”
กิงทิฏฐิกสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๔. วัชชิยมาหิตสูตร
๔. วัชชิยมาหิตสูตร
ว่าด้วยวัชชิยมาหิตคหบดี
[๙๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ริมฝั่งสระคัคคราโบกขรณี
เขตกรุงจำปา ครั้งนั้น วัชชิยมาหิตคหบดีออกจากกรุงจำปาแต่ยังวัน เพื่อเฝ้า
พระผู้มีพระภาค ได้มีความคิดว่า “ยังไม่ใช่เวลาที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาค เพราะ
พระองค์ยังทรงหลีกเร้นอยู่ ยังไม่ใช่เวลาที่จะเยี่ยมเยือนภิกษุทั้งหลายผู้อบรมจิต
เพราะภิกษุเหล่านั้นยังหลีกเร้นอยู่ ทางที่ดี เราควรจะเข้าไปยังอารามของอัญเดียรถีย์
ปริพาชก”
ครั้งนั้นแล วัชชิยมาหิตคหบดีเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก
สมัยนั้นแล พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกกำลังร่วมประชุมกัน ส่งเสียงเอ็ดอึง นั่งสนทนา
กันถึงติรัจฉานกถา๑มีประการต่าง ๆ ได้เห็นวัชชิยมาหิตคหบดีผู้กำลังเดินมาจากที่ไกล
จึงชวนกันให้หยุดว่า “จงเงียบเสียงเถิด ท่านทั้งหลายอย่าได้ส่งเสียงเลย วัชชิย-
มาหิตคหบดีคนนี้เป็นสาวกของพระสมณโคดมกำลังเดินมายังอาราม วัชชิยมาหิต-
คหบดีนี้ เป็นสาวกคนหนึ่งบรรดาคฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มผ้าขาวของพระสมณโคดม ซึ่ง
อาศัยอยู่ในกรุงจำปา พวกเขาชอบเสียงเบา ถูกฝึกให้มีเสียงเบา กล่าวชมผู้พูดเสียง
เบา ทำอย่างไร เขาทราบว่าบริษัท๒ เงียบเสียง ก็จะสำคัญว่าควรเข้าหา”
ครั้นแล้ว อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นจึงพากันนิ่งเงียบ ลำดับนั้น วัชชิยมาหิต-
คหบดีเข้าไปหาอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศัยพอเป็นที่
บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
จึงถามว่า
“คหบดี นัยว่า พระสมณโคดมทรงติเตียนตบะทั้งหมด กล่าวโทษผู้มีตบะ
เลี้ยงชีพเศร้าหมอง๓โดยส่วนเดียว จริงหรือ”

เชิงอรรถ :
๑ ติรัจฉานกถา ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๖๙ (ปฐมกถาวัตถุสูตร) หน้า ๑๕๐ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๙๓ (กิงทิฏฐิกสูตร) หน้า ๒๑๖ ในเล่มนี้
๓ เลี้ยงชีพเศร้าหมอง ในที่นี้หมายถึงประกอบทุกกรกิริยา ดำรงชีวิตอย่างฝืดเคือง ทรมานตนให้ลำบาก
(องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๔/๓๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๔. วัชชิยมาหิตสูตร
วัชชิยมาหิตคหบดีตอบว่า “ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคจะได้ทรงติเตียนตบะ
ทั้งหมดก็หามิได้ จะได้กล่าวโทษผู้มีตบะทุกคนผู้เลี้ยงชีพเศร้าหมองโดยส่วนเดียวก็
หามิได้ พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนตบะที่ควรติเตียน สรรเสริญตบะที่ควรสรรเสริญ
เมื่อทรงติเตียนสิ่งที่ควรติเตียน สรรเสริญสิ่งที่ควรสรรเสริญ จึงชื่อว่าวิภัชชวาที(มีปกติ
ตรัสจำแนก) ในเรื่องนี้พระผู้มีพระภาคมิใช่เอกังสวาที(มีปกติตรัสโดยส่วนเดียว)”
เมื่อวัชชิยมาหิตคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกคนหนึ่งจึงได้กล่าวกับวัชชิย-
มาหิตคหบดีดังนี้ว่า “ประเดี๋ยวก่อน คหบดี พระสมณโคดมผู้ที่ท่านสรรเสริญ เป็นผู้
แนะนำในทางฉิบหาย๑ เป็นผู้ไม่มีบัญญัติ๒”
“ท่านผู้เจริญ แม้ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้ากล่าวกับท่านทั้งหลายโดยชอบธรรม พระผู้
มีพระภาคทรงบัญญัติว่า ‘นี้กุศล นี้อกุศล’ พระผู้มีพระภาคเมื่อทรงบัญญัติกุศลและ
อกุศลอย่างนี้ จึงชื่อว่าทรงมีบัญญัติ มิใช่ผู้ทรงแนะนำในทางฉิบหาย ไม่ใช่ผู้ไม่มี
บัญญัติ”
เมื่อวัชชิยมาหิตคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกทั้งหลายพากันนั่งนิ่ง เก้อเขิน
คอตก ก้มหน้า ซบเซา โต้ตอบไม่ได้ วัชชิยมาหิตคหบดีทราบว่าปริพาชกเหล่านั้น
นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา โต้ตอบไม่ได้ จึงลุกจากที่นั่ง เข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลเรื่องที่สนทนา
ปราศัยกับอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นแด่พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทุกประการ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อย่างนั้นแหละ คหบดี ท่านสามารถข่ม
โมฆบุรุษเหล่านั้นได้อย่างแนบเนียนตามกาลอันควร โดยชอบธรรม เราไม่กล่าวตบะ
ทั้งหมดว่า ‘ควรบำเพ็ญ หรือไม่ควรบำเพ็ญ’ เราไม่กล่าวการสมาทานทั้งหมดว่า
‘ควรสมาทาน หรือไม่ควรสมาทาน’ เราไม่กล่าวความมุ่งมั่น๓ทั้งหมดว่า ‘ควรมุ่งมั่น

เชิงอรรถ :
๑ เป็นผู้แนะนำในทางฉิบหาย ในที่นี้หมายถึงให้สัตว์ถึงความพินาศ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๔/๓๖๗)
๒ เป็นผู้ไม่มีบัญญัติ หมายถึงไม่สามารถบัญญัติอะไร หรือบัญญัตินิพพานที่ไม่สามารถจะเห็นประจักษ์ได้
(องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๔/๓๖๗)
๓ มุ่งมั่น หมายถึงทำความเพียรเป็นหลักใหญ่ (องฺ.เอกก.อ. ๔/๓๙๔/๔๔๐) ได้แก่สัมมัปปธาน ๔ (องฺ.
จตุกฺก. ๒๑/๖๙/๘๔-๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๔. วัชชิยมาหิตสูตร
หรือไม่ควรมุ่งมั่น’ เราไม่กล่าวการสละคืนทั้งหมดว่า ‘ควรสละคืน หรือไม่ควร
สละคืน’ เราไม่กล่าวความหลุดพ้นทั้งหมดว่า ‘‘ควรหลุดพ้น หรือไม่ควรหลุดพ้น’
ตบะใด เมื่อบุคคลบำเพ็ญอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรม
ทั้งหลาย เสื่อมไป ตบะเช่นนั้น เรากล่าวว่า ‘ไม่ควรบำเพ็ญ’ ส่วนตบะใด เมื่อบุคคล
บำเพ็ญอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น ตบะเช่นนั้น
เรากล่าวว่า ‘ควรบำเพ็ญ’
การสมาทานใด เมื่อบุคคลสมาทานอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศล
ธรรมทั้งหลายเสื่อมไป การสมาทานเช่นนั้น เรากล่าวว่า ‘ไม่ควรสมาทาน’ ส่วน
การสมาทานใด เมื่อบุคคลสมาทานอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรม
ทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น การสมาทานเช่นนั้น เรากล่าวว่า ‘ควรสมาทาน’
ความมุ่งมั่นใด เมื่อบุคคลมุ่งมั่นอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศล
ธรรมทั้งหลายเสื่อมไป ความมุ่งมั่นเช่นนั้น เรากล่าวว่า ‘ไม่ควรมุ่งมั่น’ ส่วนความมุ่ง
มั่นใด เมื่อบุคคลมุ่งมั่นอยู่ อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น ความมุ่งมั่น
เช่นนั้น เรากล่าวว่า ‘ควรมุ่งมั่น’
การสละคืนใด เมื่อบุคคลสละคืนอยู่ อกุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป
การสละคืนเช่นนั้น เรากล่าวว่า ‘ไม่ควรสละคืน’ ส่วนการสละคืนใด เมื่อบุคคลสละ
คืนอยู่ อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น การสละคืนเช่นนั้น เรากล่าวว่า
‘ควรสละคืน’
ความหลุดพ้นใด เมื่อบุคคลหลุดพ้นอยู่ อกุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมไป ความหลุดพ้นเช่นนั้น เรากล่าวว่า ‘ไม่ควรหลุดพ้น’ ส่วนความหลุดพ้นใด
เมื่อบุคคลหลุดพ้นอยู่ อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น ความหลุดพ้นเช่น
นั้น เรากล่าวว่า ‘ควรหลุดพ้น’
ลำดับนั้นแล วัชชิยมาหิตคหบดีผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด
ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น
ร่าเริงด้วยธรรมมีกถาแล้วจึงลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ
แล้วหลีกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๕. อุตติยสูตร
เมื่อวัชชิยมาหิตคหบดีหลีกไปไม่นาน พระผู้มีพระภาคจึงรับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีธุลีคือกิเลสใน
นัยน์ตาน้อยตลอดกาลนาน แม้ภิกษุนั้นก็พึงข่มอัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายได้
อย่างแนบเนียน โดยชอบธรรมอย่างนี้เหมือนวัชชิยมาหิตคหบดีข่มได้แล้ว”
วัชชิยมาหิตสูตรที่ ๔ จบ
๕. อุตติยสูตร
ว่าด้วยอุตติยปริพาชกทูลถามพระผู้มีพระภาค
[๙๕] ครั้งนั้นแล อุตติยปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้
ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดม โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง
หรือหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุตติยะ ข้อว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่าง
อื่นไม่จริง’ นี้เราไม่ตอบ”
“ท่านพระโคดม โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริงหรือ”
“อุตติยะ แม้ข้อว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ นี้เราก็ไม่ตอบ”
“ท่านพระโคดม โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน...
ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตาย
แล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจาก
ตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริงหรือ๑”
“อุตติยะ แม้ข้อว่า ‘โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็นอย่าง
เดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก ...
หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีก

เชิงอรรถ :
๑ เทียบดูเนื้อความนี้พร้อมทั้งเชิงอรรถในข้อ ๙๓ (กิงทิฏฐิกสูตร) หน้า ๒๑๗ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๕. อุตติยสูตร
ก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ นี้เราก็ไม่ตอบ”
“ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘ท่านพระโคดม โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่
จริงหรือหนอ’ ก็กล่าวว่า ‘อุตติยะ ข้อว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
นี้เราไม่ตอบ’
เมื่อถูกถามว่า ‘ท่านพระโคดม โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่
จริงหรือ’ ก็กล่าวว่า ‘อุตติยะ แม้ข้อว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
นี้เราก็ไม่ตอบ’
เมื่อถูกถามว่า ‘ท่านพระโคดม โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระ
เป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคต
เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี
ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริงหรือ’ ก็กล่าวว่า ‘อุตติยะ แม้ข้อว่า ‘โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ...
ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตาย
แล้วตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีก
ก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ นี้เราก็ไม่ตอบ’ ท่านพระโคดมจะตอบใน
ทางไหน”
“อุตติยะ เราแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความหมดจด
แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะ และปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุ
ญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง”
“ข้อที่ท่านพระโคดมได้ทรงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ
ความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และ
โทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้งนั้น ก็จักเป็นเหตุให้สัตว์โลก
ทั้งหมดหรือกึ่งหนึ่ง หรือสามส่วนออกไปจากทุกข์ได้หรือ”
เมื่ออุตติยปริพาชกทูลถามอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงนิ่งเสีย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๕. อุตติยสูตร
ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์มีความคิดอย่างนี้ว่า “อุตติยปริพาชกอย่าได้มี
มิจฉาทิฏฐิอย่างนี้เลยว่า ‘พระสมณโคดมถูกเราถามปัญหาเฉพาะหน้าทั้งหมด ย่อม
เลี่ยง ไม่ทรงวิสัชนา หรือไม่สามารถวิสัชนาแน่นอน’ เพราะมิจฉาทิฏฐินั้น จะพึง
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่เธอ”
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวกับอุตติยปริพาชกว่า “อุตติยะผู้มีอายุ
ถ้าเช่นนั้น เราจักอุปมาแก่ท่าน บุคคลผู้รู้บางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้อรรถแห่งภาษิตได้
ด้วยอุปมา เปรียบเหมือนนครของพระราชาที่ตั้งอยู่ชายแดน นครนั้นมีป้อมมั่นคง
มีกำแพงและประตูมั่นคง มีประตูเดียว นายประตูในนครนั้น เป็นบัณฑิต ฉลาด
มีปัญญา ห้ามคนที่ไม่รู้จัก ให้คนที่รู้จักเข้าไปได้ เขาเดินเลียบไปตามทางเลียบ
กำแพงโดยรอบนครนั้น ไม่เห็นที่ต่อกำแพงหรือช่องกำแพงโดยที่สุดแม้เพียงช่องที่แมว
ออกได้ และเขาก็ไม่มีความรู้อย่างนี้ว่า ‘สัตว์มีจำนวนเท่านี้เข้ามายังนครนี้ หรือออก
ไปจากนครนี้’ โดยที่แท้ เขามีความรู้ในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘สัตว์ใหญ่ ๆ บางเหล่า
ที่เข้ามายังนครนี้ หรือออกไปจากนครนี้ทั้งหมด เข้ามาหรือออกไปทางประตูนี้’ แม้ฉันใด
พระตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มิได้ทรงมีความขวนขวายอย่างนี้ว่า ‘สัตว์โลก
ทั้งหมด หรือกึ่งหนึ่ง หรือสามส่วนจักออกจากทุกข์ได้’ โดยที่แท้ พระตถาคตทรงมี
พระญาณในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่ออกไปแล้ว กำลังออกไป
หรือจักออกไปจากโลก สัตว์เหล่านั้นทั้งหมดละนิวรณ์ ๕ ประการที่เป็นเครื่องเศร้า
หมองแห่งใจ เป็นเครื่องทอนกำลังปัญญา เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔ เจริญ
โพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริงแล้วจึงออกไป กำลังออกไป หรือจักออกไปจากโลก
อย่างนี้’ ท่านอุตติยะ ก็เพราะท่านได้ทูลถามปัญหานั้นกับพระผู้มีพระภาคด้วยเหตุ
อย่างอื่น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงไม่ทรงตอบปัญหานั้นแก่ท่าน”
อุตติยสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๖. โกกนุทสูตร
๖. โกกนุทสูตร
ว่าด้วยโกกนุทปริพาชกถามพระอานนท์
[๙๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ ตโปทาราม เขตกรุงราชคฤห์
ได้ลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง เข้าไปยังแม่น้ำตโปทาเพื่อเอาน้ำลูบตัว เสร็จแล้วกลับขึ้นมา
ครองผ้าผืนเดียว ยืนผึ่งตัวอยู่ แม้โกกนุทปริพาชกก็ลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง ได้ไปยัง
แม่น้ำตโปทาเพื่อเอาน้ำลูบตัว เห็นท่านพระอานนท์เดินมาแต่ที่ไกลจึงถามว่า “ท่าน
เป็นใคร อยู่ที่นี้”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ เราเป็นภิกษุ”
“เป็นภิกษุพวกไหน”
“พวกสมณศากยบุตร”
“หากท่านจะให้โอกาสแก้ปัญหา ข้าพเจ้าจะขอถามข้อข้องใจบางอย่างกับท่าน”
“เชิญถามเถิด เราฟังแล้วจักแก้”
“ท่านมีทิฏฐิ๑อย่างนี้หรือว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“ผู้มีอายุ เรามิได้มีทิฏฐิอย่างนั้นเลย ว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“ท่านมีทิฏฐิอย่างนี้หรือว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“เรามิได้มีทิฏฐิอย่างนั้นเลยว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“ท่านมีทิฏฐิอย่างนี้หรือว่า ‘โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็น
อย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิด
อีก... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่
เกิดอีก ก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง”
“ผู้มีอายุ เรามิได้มีทิฏฐิอย่างนั้นเลยว่า ‘โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๙๓ (กิงทิฏฐิกสูตร) หน้า ๒๑๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๖. โกกนุทสูตร
ตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคต
เกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านก็ไม่รู้ ไม่เห็นละซิ”
“ผู้มีอายุ เราไม่รู้ ไม่เห็น ก็หามิได้ เรารู้อยู่ เห็นอยู่”
“ท่านเมื่อถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘ท่านมีทิฏฐิอย่างนี้หรือว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’ ก็กล่าวว่า ‘ผู้มีอายุ เรามิได้มีทิฏฐิอย่างนั้นเลยว่า ‘โลกเที่ยง นี้
เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
เมื่อถูกถามว่า ‘ท่านมีทิฏฐิอย่างนี้หรือว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ ก็กล่าวว่า ‘ผู้มีอายุ เรามิได้มีทิฏฐิอย่างนั้นเลยว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’
เมื่อถูกถามว่า ‘ท่านมีทิฏฐิอย่างนี้หรือว่า ‘โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะ
กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคต
เกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ก็กล่าวว่า ‘ผู้มีอายุ เรามิได้มีทิฏฐิอย่างนั้นเลย
‘โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคน
ละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก
... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิด
อีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
เมื่อถูกถามว่า ‘ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่รู้ไม่เห็นละซิ’ ก็กล่าวว่า ‘ผู้มีอายุ เราไม่รู้
ไม่เห็น ก็หามิได้ เรารู้อยู่ เห็นอยู่’ ผู้มีอายุ ก็เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จะพึงเข้าใจได้
อย่างไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ข้อว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ นี้เป็นทิฏฐิอย่างหนึ่ง ข้อว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ นี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๖. โกกนุทสูตร
เป็นทิฏฐิอย่างหนึ่ง ข้อว่า ‘โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน
... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก ... หลังจาก
ตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ...
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
นี้เป็นทิฏฐิอย่างหนึ่ง ผู้มีอายุ ทิฏฐิ๑ มูลเหตุแห่งทิฏฐิ๒ ทิฏฐิที่ยึดมั่น๓ ทิฏฐิที่กลุ้มรุม๔
ความเพิกถอนทิฏฐิ๕ มีประมาณเท่าใด เรารู้ เราเห็นทิฏฐิเป็นต้นนั้นประมาณเท่านั้น
เรารู้ทิฏฐิเป็นต้นนั้นจึงกล่าวว่า ‘รู้อยู่’ เราเห็นทิฏฐิเป็นต้นนั้นจึงกล่าวว่า ‘เห็นอยู่’
เราจะกล่าวว่า ‘ไม่รู้ ไม่เห็น’ ได้อย่างไร ผู้มีอายุ เรารู้อยู่ เห็นอยู่”
“ท่านชื่ออะไร และเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายเรียกท่านว่าอย่างไร”
“ผู้มีอายุ เราชื่อ ‘อานนท์’ และเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายก็เรียกเราว่า ‘อานนท์’
“ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าสนทนาอยู่กับอาจารย์ใหญ่ แต่ไม่รู้เลยว่าเป็น ‘ท่าน
อานนท์’ ถ้าข้าพเจ้าจะพึงรู้ว่า ‘ท่านผู้นี้คือท่านอานนท์’ ข้าพเจ้าก็จะไม่กล่าวตอบโต้
ถึงเพียงนี้ ขอท่านอานนท์จงยกโทษให้ข้าพเจ้าเถิด”
โกกนุทสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงทิฏฐิ ๖๒ ประการ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๖/๓๖๙)
๒ มูลเหตุแห่งทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงมูลเหตุทิฏฐิ ๘ ประการ คือ ขันธ์ อวิชชา ผัสสะ สัญญา วิตก อโยนิโส
มนสิการ ปาปมิตร และปรโตโฆสะ(การฟังอสัทธรรมจากผู้อื่น) (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๖/๓๖๙)
๓ ทิฏฐิที่ยึดมั่น นี้เป็นชื่อของทิฏฐิที่ครอบงำสัตว์ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๖/๓๖๙)
๔ ทิฏฐิที่กลุ้มรุม ในที่นี้หมายถึงทิฏฐิ ๑๘ ประการ คือ (๑) ทิฏฐิ(ความเห็นที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง)
(๒) การตกอยู่ในทิฏฐิ (๓) ความรกชัฏคือทิฏฐิ (๔) ความกันดารคือทิฏฐิ (๕) เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ
(๖) ความดิ้นรนคือทิฏฐิ (๗) เครื่องผูกคือทิฏฐิ (๘) ลูกศรคือทิฏฐิ (๙) ความคับแค้นคือทิฏฐิ (๑๐)
ความกังวลคือทิฏฐิ (๑๑) เครื่องจองจำคือทิฏฐิ (๑๒) เหวคือทิฏฐิ (๑๓) อนุสัยคือทิฏฐิ (๑๔) ความ
เดือดร้อนคือทิฏฐิ (๑๕) ความเร่าร้อนคือทิฏฐิ (๑๖) เครื่องร้อยรัดคือทิฏฐิ (๑๗) อุปาทานคือทิฏฐิ, ความ
ยึดมั่นคือทิฏฐิ (๑๘) ความยึดมั่นถือมั่นคือทิฏฐิ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๖/๓๖๙, ขุ.ป.อ. ๑๒๗-๑๒๘/๕๓) และ
ดู ขุ.ป. ๒๙/๑๒/๔๐
๕ ความเพิกถอนทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงโสดาปัตติมรรค ที่ชื่อว่า ทิฏฐิสมุคฆาตะ เพราะถอนทิฏฐิได้ทั้งหมด
(องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๖/๓๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๗. อาหุเนยยสูตร
๗. อาหุเนยยสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
[๙๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ
และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขา-
บททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลายที่มี
ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบ
ถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
๔. เป็นสัมมาทิฏฐิ ประกอบด้วยความเห็นชอบ
๕. แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคน
แสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง
และภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่น
ดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดิน
ก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำ
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจ
ทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
๖. ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้
ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๗. อาหุเนยยสูตร
๗. กำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ว่า
มีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ... หรือ
ปราศจากโทสะ ... จิตมีโมหะ ... หรือปราศจากโมหะ ... จิตหดหู่ ... หรือ
ฟุ้งซ่าน ... จิตเป็นมหัคคตะ๑ ... หรือไม่เป็นมหัคคตะ ... จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
... หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ... จิตเป็นสมาธิ ... หรือไม่เป็นสมาธิ ... จิต
หลุดพ้น ... หรือไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น
๘. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง
๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐
ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐
ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอัน
มากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น
เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุ
อย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่อ
อย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์และมีอายุอย่างนั้น ๆ
จุติจากภพนั้นแล้วจึงมาเกิดในภพนี้’ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อม
ทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
๙. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิด
ดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไป
ตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิดและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตาม
ความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าว
ร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความ
เห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เห็นหมู่

เชิงอรรถ :
๑ มหัคคตะ แปลว่า ถึงความเป็นใหญ่ หมายถึงรูปาวจรกุศลจิต และอรูปาวจรกุศลจิต (ขุ.ป.อ. ๑/๑๐๔/๓๖๖)
และดูอภิธรรมปิฎก แปล เล่ม ๓๔ ข้อ ๑๖๐-๒๖๘ หน้า ๕๗-๘๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๘. เถรสูตร
สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิดทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและ
เกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม
กรรมอย่างนี้แล
๑๐. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล จึงเป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนา
บุญอันยอดเยี่ยมของโลก
อาหุเนยยสูตรที่ ๗ จบ
๘. เถรสูตร
ว่าด้วยคุณธรรมของพระเถระ
[๙๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเถระประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ จะอยู่ใน
ทิศใด ๆ ย่อมอยู่สำราญโดยแท้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเถระ
๑. เป็นรัตตัญญู๑ บวชมานาน
๒. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๓. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลายที่มี
ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์
ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๔. ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสองได้๒ดี จำแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดยพิสดาร
วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ

เชิงอรรถ :
๑ รัตตัญญู ในที่นี้หมายถึงรู้ราตรีนาน คือ บวช รู้แจ้งธรรม และเป็นพระขีณาสพ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๘๘/๑๒๒)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๓ (อุพพหิกาสูตร) หน้า ๘๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๙. อุปาลิสูตร
๕. เป็นผู้ฉลาดในการระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้น
๖. เป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมเป็นที่พอใจ มีปราโมทย์อย่างยิ่ง
ในอภิธรรม และอภิวินัย
๗. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชช-
บริขารตามแต่จะได้
๘. เป็นผู้น่าเลื่อมใสในการก้าวไปและถอยกลับ เป็นผู้สำรวมดีในการนั่งใน
ละแวกบ้าน
๙. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๑๐. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเถระประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล จะอยู่ในทิศใด ๆ
ย่อมอยู่สำราญโดยแท้
เถรสูตรที่ ๘ จบ
๙. อุปาลิสูตร
ว่าด้วยพระอุบาลีขออนุญาตอยู่ป่า
[๙๙] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ปรารถนาจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด
คือป่าโปร่งและป่าทึบอยู่๑”

เชิงอรรถ :
๑ ป่าโปร่ง หมายถึงป่าอยู่นอกเสาหลักเขตเมืองออกไปอย่างน้อยชั่ว ๕๐๐ ธนู
ป่าทึบ หมายถึงที่ไม่มีคนอยู่อาศัยเลยเขตหมู่บ้านไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๑/๓๐, องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๙/๓๗๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๙. อุปาลิสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี เสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ
อยู่ลำบาก ทำวิเวก๑ได้ยาก ในการอยู่โดดเดี่ยวก็อภิรมย์ได้ยาก ป่าทั้งหลายเห็นจะ
ชักนำจิตของภิกษุผู้ยังไม่ได้สมาธิ๒ให้หวาดหวั่น อุบาลี ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรา
ยังไม่ได้สมาธิ จักอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบอยู่’ ผู้นั้นพึงหวัง
ข้อนี้ได้ว่า ‘จักจมลง๓หรือจักฟุ้งซ่าน๔’
เปรียบเหมือนมีห้วงน้ำใหญ่ ถ้ามีช้างใหญ่สูง ๗ ศอก หรือ ๗ ศอกครึ่งมาถึงเข้า
ช้างนั้นพึงคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรจะลงสู่ห้วงน้ำนี้แล้วล้างหูเล่นบ้าง ล้างหลัง
เล่นบ้าง อาบ ดื่ม ขึ้นมาแล้วหลีกไปตามปรารถนา’ ช้างนั้นลงสู่ห้วงน้ำนั้นแล้ว
พึงล้างหูเล่นบ้าง ล้างหลังเล่นบ้าง อาบ ดื่ม ขึ้นมาแล้วหลีกไปตามปรารถนา
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะช้างนั้นมีร่างกายใหญ่ จึงต้องลงน้ำลึก
ครั้นกระต่ายหรือเสือปลามาถึงห้วงน้ำนั้นเข้า กระต่ายหรือเสือปลานั้นพึงคิด
อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นอะไรและช้างใหญ่เป็นอะไร ทางที่ดี เราควรจะลงสู่ห้วงน้ำนี้แล้ว
ล้างหูเล่นบ้าง ล้างหลังเล่นบ้าง อาบ ดื่ม ขึ้นมาแล้วหลีกไปตามปรารถนา’ กระต่าย
หรือเสือปลานั้นลงสู่ห้วงน้ำนั้นโดยฉับพลัน ไม่ทันได้พิจารณา จำต้องหวังข้อนี้ได้ว่า
‘จักจมลงหรือจักลอยขึ้น’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระต่ายหรือเสือปลานั้น มีร่าง
กายเล็ก ลงในห้วงน้ำลึกไม่ได้ ฉันใด
ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราเมื่อยังไม่ได้สมาธิ จักอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด
คือป่าโปร่งและป่าทึบอยู่ ผู้นั้นจำต้องหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักจมลงหรือจักฟุ้งซ่าน’ ฉันนั้น
เหมือนกัน
เปรียบเหมือนเด็กอ่อนยังนอนหงาย เล่นมูตรและคูถของตน เธอเข้าใจเรื่องนั้น
อย่างไร การเล่นนี้เป็นการเล่นของเด็กอ่อนโดยทั่วไปหรือ”
พระอุบาลีกราบทูลว่า “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

เชิงอรรถ :
๑ วิเวก ในที่นี้หมายถึงกายวิเวก(สงัดกาย) (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๙/๓๗๐)
๒ สมาธิ ในที่นี้หมายถึงอุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๙/๓๗๐)
๓ จมลง หมายถึงจมลงเพราะกามวิตก (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๙/๓๗๐)
๔ ฟุ้งซ่าน หมายถึงฟุ้งซ่านเพราะพยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตก (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๙/๓๗๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๙. อุปาลิสูตร
“อุบาลี สมัยต่อมา เด็กคนนั้นเองเจริญเติบโตขึ้น มีอินทรีย์แก่กล้าขึ้น เล่น
เครื่องเล่นสำหรับเด็ก คือเล่นไถน้อย ๆ เล่นตีไม้หึ่ง เล่นกังหันไม้ เล่นกังหันใบไม้
เล่นตวงทราย เล่นรถน้อย ๆ เล่นธนูน้อย ๆ เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร การเล่นนี้
ยิ่งกว่า ประณีตกว่าการเล่นที่มีมาก่อนหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อุบาลี สมัยต่อมา เด็กคนนั้นเองเจริญเติบโตขึ้นอีก มีอินทรีย์แก่กล้าเต็มที่
อิ่มเอิบพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่ด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ ชวนใจให้กำหนัด ด้วยเสียงที่พึงรู้
แจ้งทางหู ... ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ... ด้วยรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... ด้วย
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
ชวนใจให้กำหนัด เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร การเล่นนี้ยิ่งกว่า ประณีตกว่าการเล่นที่
มีมาก่อนหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อุบาลี ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอด
เยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า๑ เป็นพระผู้มี
พระภาค๒ ตถาคตรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ด้วยตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น๓ มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด
ประกาศ พรหมจรรย์๔พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์๕ครบถ้วน”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๑ (เสนาสนสูตร) หน้า ๑๗ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๑๑ (เสนาสนสูตร) หน้า ๑๗ ในเล่มนี้
๓ มีความงามในเบื้องต้น หมายถึงศีล มีความงามในท่ามกลาง หมายถึงอริยมรรค มีความงามในที่สุด
หมายถึงพระนิพพาน (ที.สี.อ. ๑๙๐/๑๕๙)
๔ พรหมจรรย์ หมายถึงความประพฤติประเสริฐ มีนัย ๑๐ ประการ คือ ทาน (การให้) ไวยาวัจจะ (การ
ขวนขวายช่วยเหลือ) ปัญจสีละ (ศีลห้า) อัปปมัญญา (การประพฤติพรหมวิหารอย่างไม่มีขอบเขต) เมถุน-
วิรัติ (การงดเว้นจากการเสพเมถุน) สทารสันโดษ (ความยินดีเฉพาะคู่ครองของตน) วิริยะ (ความเพียร
อุโปสถังคะ (องค์อุโบสถ) อริยมรรค (ทางอันประเสริฐ) และศาสนา (พระพุทธศาสนา) ในที่นี้หมายถึงศาสนา
(ที.สี.อ. ๑๙๐/๑๖๐-๑๖๒)
๕ บริสุทธิ์ หมายถึงไม่มีสิ่งเป็นโทษที่จะต้องนำออก บริบูรณ์ หมายถึงเต็มที่แล้ว โดยไม่ต้องนำไปเพิ่มอีก
(ตามนัย วิ.อ. ๑/๑/๑๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๙. อุปาลิสูตร
คหบดี หรือบุตรคหบดีผู้เกิดภายหลังในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ฟังธรรมนั้นแล้ว
ได้ศรัทธาในตถาคต ได้ศรัทธาแล้วพิจารณาเห็นว่า ‘ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมา
แห่งธุลี บรรพชาปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้อยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้
บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ที่ขัดแล้วนี้ มิใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี เราควรจะ
ปลงผม และหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต’
สมัยต่อมา เขาได้ละกองโภคทรัพย์น้อยใหญ่ เครือญาติน้อยใหญ่แล้ว ปลงผม
และหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
เมื่อบวชแล้ว เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพ๑เสมอด้วยภิกษุทั้งหลาย
ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความ
เอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
เป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ คือ รับเอาแต่ของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่
เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่
เป็นผู้ละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่าง
ไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน
เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำ
เป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก
เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้วไม่ไปบอก
ฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วไม่มาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลาย
ฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้
ที่สามัคคีกัน พูดแต่ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี
เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก
จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ
เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง พูดอิงประโยชน์
พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วย
ประโยชน์เหมาะแก่เวลา

เชิงอรรถ :
๑ สิกขา หมายถึงไตรสิกขา คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา สาชีพ หมายถึงสิกขาบท
ที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ ดูวินัยปิฎกแปล เล่มที่ ๑ หน้า ๓๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๙. อุปาลิสูตร
ภิกษุนั้นเป็นผู้เว้นขาดจากการพรากพีชคามและภูตคาม ฉันมื้อเดียว ไม่ฉัน
ตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล๑ เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง
ประโคมดนตรี และดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ
ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ ของหอม และเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่ง
การแต่งตัว เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่ เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เว้นขาด
จากการรับธัญญาหารดิบ๒ เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เว้นขาดจากการรับสตรีและ
กุมารี เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา เว้นขาดจาก
การรับเรือกสวนไร่นาและที่ดิน เว้นขาดจากการรับทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร
เว้นขาดจากการซื้อขาย เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วย
เครื่องตวงวัด เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบแตลง เว้นขาด
จากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และการขู่กรรโชก
ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกาย และบิณฑบาตพออิ่มท้อง จะไป
ณ ที่ใด ๆ ก็ไปได้ทันทีเหมือนนกบินไป ณ ที่ใด ๆ ก็มีแต่ปีกเป็นภาระ ภิกษุนั้นผู้
ประกอบด้วยอริยสีลขันธ์อย่างนี้ ชื่อว่าเสวยสุขอันไม่มีโทษภายใน
ภิกษุนั้นเห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ๓ ไม่แยกถือ๔ ปฏิบัติเพื่อสำรวมในจักขุนทรีย์
ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยาก

เชิงอรรถ :
๑ เวลาวิกาล หมายถึงเวลาที่ห้ามไว้เฉพาะแต่ละเรื่อง ในที่นี้หมายถึงผิดเวลาที่กำหนดไว้ คือตั้งแต่หลังเที่ยง
วันจนถึงเวลาอรุณขึ้น (ที.สี.อ. ๑๐/๗๕)
๒ ธัญญาหารดิบ หมายถึงธัญชาติที่มีเมล็ดมีเปลือกสมบูรณ์พร้อมที่จะงอกได้ (ที.สี.อ. ๑๐/๗๕) ในคัมภีร์
อภิธานัปปทีปิกา ว่ามี ๗ อย่าง คือ (๑) ข้าวไม่มีแกลบ (๒) ข้าวเปลือก (๓) หญ้ากับแก้ (๔) ข้าวละมาน
(๕) ลูกเดือย (๖) ข้าวแดง (๗) ข้าวฟ่าง
๓ รวบถือ หมายถึงมองภาพด้านเดียว คือมองภาพรวมโดยเห็นเป็นหญิงหรือชาย เห็นว่ารูปสวย เสียงไพเราะ
กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสที่อ่อนนุ่ม เป็นอารมณ์ที่น่าปรารถนา ด้วยอำนาจฉันทราคะ (อภิ.สงฺ.อ. ๑๓๕๒/
๔๕๖-๗)
๔ แยกถือ หมายถึงมองภาพ ๒ ด้าน คือมองแยกแยะเป็นส่วน ๆ ไปด้วยอำนาจกิเลส เช่น เห็นมือเท้าว่า
สวยหรือไม่สวย เห็นอาการยิ้มแย้ม หัวเราะ การพูด การเหลียวซ้าย แลขวา ว่าน่ารักหรือไม่น่ารัก ถ้า
เห็นว่าสวยน่ารักก็เกิดอิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่น่าปรารถนา) ถ้าเห็นว่าไม่สวย ไม่น่ารัก ก็เกิดอนิฏฐารมณ์
(อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา) (อภิ.สงฺ.อ. ๑๓๕๒/๔๕๖-๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๙. อุปาลิสูตร
ได้ของเขา)และโทมนัส(ความทุกข์ใจ)ครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวม
ในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อสำรวมใน
มนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุนั้นผู้ประกอบ
ด้วยอริยอินทรียสังวรอย่างนี้ จึงชื่อว่าเสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสภายใน
ภิกษุนั้นเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การ
เหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร การฉัน การดื่ม
การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน
การตื่น การพูด การนิ่ง
ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร และอริยสติสัมปชัญญะ
อย่างนี้แล้ว พักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ
ป่าช้า ป่าทึบ ที่แจ้ง ลอมฟาง ภิกษุนั้นไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี
ก็นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
ภิกษุนั้นละอภิชฌาในโลก๑แล้วมีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากอภิชฌา ละความมุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูล
สรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ(ความ
หดหู่และเซื่องซึม) ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ชำระ
จิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) เป็นผู้ไม่
ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจะกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา
(ความลังเลสงสัย) ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา

เชิงอรรถ :
๑ โลก ในที่นี้หมายถึงสภาพที่ต้องแตกสลาย กล่าวคืออุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่ ความยึดติดว่า รูป เวทนา สัญญา
สังขาร และวิญญาณ มีตัวตนและเป็นของตนอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ (ที.สี.อ. ๒๑๗/๑๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๙. อุปาลิสูตร
ภิกษุนั้นครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองใจ เป็นเครื่องทอน
กำลังปัญญาแล้ว สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มี
วิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ อุบาลี เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร การอยู่นี้
ยิ่งกว่าและประณีตกว่าการอยู่ทั้งหลายที่มีมาก่อนหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อุบาลี สาวกทั้งหลายของเราเมื่อพิจารณาเห็นธรรมแม้นี้แลในตน จึงอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบอยู่ แต่สาวกของเราเหล่านั้นยังไม่บรรลุ
ประโยชน์ของตนก่อน
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ... อยู่
อุบาลี เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร การอยู่นี้ยิ่งกว่า และประณีตกว่าการอยู่ทั้งหลายที่
มีมาก่อนหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อุบาลี สาวกทั้งหลายของเราเมื่อพิจารณาเห็นธรรมแม้นี้ในตน จึงอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบอยู่ แต่สาวกของเราเหล่านั้นยังไม่บรรลุ
ประโยชน์ของตนก่อน
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวย
สุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ... อยู่ อุบาลี เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร การอยู่นี้
ยิ่งกว่า และประณีตกว่าการอยู่ทั้งหลายที่มีมาก่อนหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อุบาลี สาวกทั้งหลายของเราเมื่อพิจารณาเห็นธรรมแม้นี้ในตน จึงอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบอยู่ แต่สาวกของเราเหล่านั้นยังไม่บรรลุ
ประโยชน์ของตนก่อน
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ... อยู่ อุบาลี เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร การอยู่นี้ยิ่งกว่าและ
ประณีตกว่าการอยู่ทั้งหลายที่มีมาก่อนหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๙. อุปาลิสูตร
“อุบาลี สาวกทั้งหลายของเราเมื่อพิจารณาเห็นธรรมแม้นี้ในตน จึงอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบอยู่ แต่สาวกของเราเหล่านั้นยังไม่บรรลุ
ประโยชน์ของตนก่อน
อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากาสาสนัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศ
หาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดย
ประการทั้งปวง อุบาลี เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร การอยู่นี้ยิ่งกว่าและประณีตกว่า
การอยู่ทั้งหลายที่มีมาก่อนหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อุบาลี สาวกทั้งหลายของเราเมื่อพิจารณาเห็นธรรมแม้นี้ในตน จึงอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบอยู่ แต่สาวกของเราเหล่านั้นยังไม่บรรลุ
ประโยชน์ของตนก่อน
อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงบรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ... ภิกษุล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงบรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนด
ว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ... ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต’
อยู่ อุบาลี เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร การอยู่นี้ยิ่งกว่าและประณีตกว่าการอยู่
ทั้งหลายที่มีมาก่อนหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อุบาลี อีกประการหนึ่ง สาวกทั้งหลายของเราเมื่อพิจารณาเห็นธรรมแม้นี้
ในตน จึงอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบอยู่ แต่สาวกของเราเหล่า
นั้นยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนก่อน
อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ และอาสวะทั้งหลายของภิกษุนั้นเป็นอันสิ้นไปแล้ว
เพราะเห็นด้วยปัญญา อุบาลี เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร การอยู่นี้ยิ่งกว่าและประณีต
กว่าการอยู่ทั้งหลายที่มีมาก่อนหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค ๑๐. อภัพพสูตร
“อุบาลี สาวกทั้งหลายของเราเมื่อพิจารณาเห็นธรรมแม้นี้ในตน จึงอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบอยู่ แต่สาวกของเราเหล่านั้นยังไม่บรรลุ
ประโยชน์ของตนก่อน อุบาลี เธอจงอยู่ในสงฆ์เถิด เมื่อเธออยู่ในสงฆ์ ความสำราญ
จักมี๑’
อุปาลิสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. อภัพพสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ไม่อาจทำให้แจ้งอรหัตตผล
[๑๐๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๑๐ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลได้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ราคะ (ความกำหนัด) ๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
๓. โมหะ (ความหลง) ๔. โกธะ (ความโกรธ)
๕. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ๖. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน)
๗. ปฬาสะ (ความตีเสมอ) ๘. อิสสา (ความริษยา)
๙. มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๑๐. มานะ (ความถือตัว)

บุคคลยังละธรรม ๑๐ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
บุคคลละธรรม ๑๐ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ อรรถกถาอธิบายว่า การที่พระผู้มีพระภาคทรงเตือนให้พระอุบาลีอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ไม่ทรงอนุญาตให้
ท่านอยู่ป่า เพราะทรงเห็นว่าการอยู่ป่าจะทำให้ท่านบำเพ็ญวิปัสสนาธุระคือการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ได้เพียงด้านเดียว ไม่สามารถบำเพ็ญคันถธุระคือการเรียนพระคัมภีร์ให้สำเร็จได้ แต่การอยู่ในท่ามกลาง
สงฆ์ จะทำให้ท่านบำเพ็ญธุระได้ทั้ง ๒ ด้าน และบรรลุพระอรหัตตผลได้ด้วย ทั้งจักเป็นหัวหน้าในการ
สังคายนาพระวินัยปิฎก (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๙/๓๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. อุปาสกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑. ราคะ ๒. โทสะ
๓. โมหะ ๔. โกธะ
๕. อุปนาหะ ๖. มักขะ
๗. ปฬาสะ ๘. อิสสา
๙. มัจฉริยะ ๑๐. มานะ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๑๐ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลได้
อภัพพสูตรที่ ๑๐ จบ
อุปาสกวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กามโภคีสูตร ๒. ภยสูตร
๓. กิงทิฏฐิกสูตร ๔. วัชชิยมาหิตสูตร
๕. อุตติยสูตร ๖. โกกนุทสูตร
๗. อาหุเนยยสูตร ๘. เถรสูตร
๙. อุปาลิสูตร ๑๐. อภัพพสูตร

ทุติยปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๑. สมณสัญญาสูตร
๓. ตติยปัณณาสก์
๑. สมณสัญญาวรรค
หมวดว่าด้วยสมณสัญญา๑
๑. สมณสัญญาสูตร
ว่าด้วยสมณสัญญา
[๑๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สมณสัญญา ๓ ประการนี้
ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วย่อมให้ธรรม ๗ ประการบริบูรณ์
สมณสัญญา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
สมณสัญญาว่า
๑. เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์
๒. ชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น
๓. มารยาทอย่างอื่นที่เราควรทำมีอยู่
สมณสัญญา ๓ ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมให้ธรรม ๗
ประการบริบูรณ์
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีปกติทำต่อเนื่อง ประพฤติต่อเนื่องเป็นนิตย์ในศีลทั้งหลาย
๒. เป็นผู้ไม่มีอภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา)
๓. เป็นผู้ไม่มีพยาบาท (ความคิดร้าย)
๔. เป็นผู้ไม่มีมานะ (ความถือตัว)
๕. เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา

เชิงอรรถ :
๑ สมณสัญญา คือความกำหนดหมายรู้ที่เกิดขึ้นแก่สมณะ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๐๑/๓๗๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๒. โพชฌังคสูตร
๖. เป็นผู้มีการพิจารณาปัจจัยทั้งหลายอันเป็นบริขารแห่งชีวิตว่า ‘ปัจจัย
เหล่านี้มีประโยชน์เช่นนี้’ แล้วจึงบริโภค
๗. เป็นผู้ปรารภความเพียร
ภิกษุทั้งหลาย สมณสัญญา ๓ ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อม
ให้ธรรม ๗ ประการนี้บริบูรณ์
สมณสัญญาสูตรที่ ๑ จบ
๒. โพชฌังคสูตร๑
ว่าด้วยโพชฌงค์
[๑๐๒] ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้) ๗ ประการนี้
ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมให้วิชชา ๓ ประการบริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้)
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือการเฟ้นธรรม)
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร)
๔. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ)
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ)
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น)
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความมีใจเป็นกลาง
เพราะเห็นตามเป็นจริง)
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมให้
วิชชา ๓ ประการบริบูรณ์
วิชชา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๐/๒๒๑, ๓๕๗/๒๕๘, องฺ.สตฺตก. ๒๓/๒๖/๒๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๓. มิจฉัตตสูตร
๑. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ฯลฯ
เขาระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
๒. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม
เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้
เป็นไปตามกรรมว่า ฯลฯ อย่างนี้แล๑
๓. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมให้
วิชชา ๓ ประการนี้บริบูรณ์
โพชฌังคสูตรที่ ๒ จบ
๓. มิจฉัตตสูตร
ว่าด้วยมิจฉัตตธรรม
[๑๐๓] ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยมิจฉัตตธรรม(ธรรมที่ผิด) จึงมีการพลาด
จากสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล
เพราะอาศัยมิจฉัตตธรรมอย่างไร จึงมีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ไม่มี
การบรรลุสวรรค์และมรรคผล
คือ ผู้มีมิจฉาทิฏฐิ(เห็นผิด) ย่อมมีมิจฉาสังกัปปะ(ดำริผิด)
ผู้มีมิจฉาสังกัปปะ ย่อมมีมิจฉาวาจา(เจรจาผิด)
ผู้มีมิจฉาวาจา ย่อมมีมิจฉากัมมันตะ(กระทำผิด)
ผู้มีมิจฉากัมมันตะ ย่อมมีมิจฉาอาชีวะ(เลี้ยงชีพผิด)
ผู้มีมิจฉาอาชีวะ ย่อมมีมิจฉาวายามะ(พยายามผิด)
ผู้มีมิจฉาวายามะ ย่อมมีมิจฉาสติ(ระลึกผิด)

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๙๗ (อาหุเนยยสูตร) หน้า ๒๒๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๓. มิจฉัตตสูตร
ผู้มีมิจฉาสติ ย่อมมีมิจฉาสมาธิ(ตั้งจิตมั่นผิด)
ผู้มีมิจฉาสมาธิ ย่อมมีมิจฉาญาณะ(รู้ผิด)
ผู้มีมิจฉาญาณะ ย่อมมีมิจฉาวิมุตติ(หลุดพ้นผิด)
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยมิจฉัตตธรรมอย่างนี้แล จึงมีการพลาดจากสวรรค์
และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยสัมมัตตธรรม(ธรรมที่ถูก) จึงมีการบรรลุสวรรค์
และมรรคผล ไม่มีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล
เพราะอาศัยสัมมัตตธรรมอย่างไร จึงมีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการ
พลาดจากสวรรค์และมรรคผล
คือ ผู้มีสัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) ย่อมมีสัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ)
ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมมีสัมมาวาจา(เจรจาชอบ)
ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมมีสัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ)
ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมมีสัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ)
ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมมีสัมมาวายามะ(พยายามชอบ)
ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมมีสัมมาสติ(ระลึกชอบ)
ผู้มีสัมมาสติ ย่อมมีสัมมาสมาธิ(ตั้งจิตมั่นชอบ)
ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมมีสัมมาญาณะ(รู้ชอบ)
ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมมีสัมมาวิมุตติ(หลุดพ้นชอบ)
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยสัมมัตตธรรมอย่างนี้แล จึงมีการบรรลุสวรรค์และ
มรรคผล ไม่มีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล
มิจฉัตตสูตรที่ ๓ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๔. พีชสูตร
๔. พีชสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนเมล็ดพืช
[๑๐๔] ภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่
ทิฏฐิ(ความเห็น) วจีกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ มโนกรรมที่ถือ
ปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และ
สังขารทั้งหลายของบุคคลผู้มีมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ
มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ มิจฉาญาณะ และมิจฉาวิมุตติ
ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ
ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฏฐิเลวทราม
กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ ... ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะทิฏฐิเลวทราม เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดา เมล็ดบวบขม หรือเมล็ดน้ำเต้าขมที่
บุคคลเพาะไว้ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมดย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเป็นของขม เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมล็ดสะเดาเป็นต้น
นั้นเลว
กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรมที่ถือปฏิบัติให้
บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ
เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้มีสัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ และสัมมาวิมุตติ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลที่
น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เกื้อกูล เป็นสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฏฐิดี
กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ ... ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะทิฏฐิดี เปรียบเหมือนพันธุ์อ้อย พันธุ์ข้าวสาลี หรือเมล็ดจันทน์ที่บุคคลเพาะไว้
ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมดย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นของ
หวาน น่าอร่อย น่าชื่นใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพันธุ์อ้อยเป็นต้นนั้นดี
พีชสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๕. วิชชาสูตร
๕. วิชชาสูตร
ว่าด้วยวิชชา
[๑๐๕] ภิกษุทั้งหลาย อวิชชา(ความไม่รู้แจ้ง)เป็นประธานแห่งการเข้าถึง
อกุศลธรรม อหิริ(ความไม่อายบาป) อโนตตัปปะ(ความไม่กลัวบาป) ก็มีตามมาด้วย
๑. ผู้มีอวิชชาไม่เห็นแจ้ง ย่อมมีมิจฉาทิฏฐิ
๒. ผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ย่อมมีมิจฉาสังกัปปะ
๓. ผู้มีมิจฉาสังกัปปะ ย่อมมีมิจฉาวาจา
๔. ผู้มีมิจฉาวาจา ย่อมมีมิจฉากัมมันตะ
๕. ผู้มีมิจฉากัมมันตะ ย่อมมีมิจฉาอาชีวะ
๖. ผู้มีมิจฉาอาชีวะ ย่อมมีมิจฉาวายามะ
๗. ผู้มีมิจฉาวายามะ ย่อมมีมิจฉาสติ
๘. ผู้มีมิจฉาสติ ย่อมมีมิจฉาสมาธิ
๙. ผู้มีมิจฉาสมาธิ ย่อมมีมิจฉาญาณะ
๑๐. ผู้มีมิจฉาญาณะ ย่อมมีมิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย วิชชา(ความรู้แจ้ง)เป็นประธานแห่งการเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลาย
หิริ(ความอายบาป)และโอตตัปปะ(ความกลัวบาป) ก็มีตามมาด้วย
๑. ผู้มีวิชชาเห็นแจ้ง ย่อมมีสัมมาทิฏฐิ
๒. ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมมีสัมมาสังกัปปะ
๓. ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมมีสัมมาวาจา
๔. ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมมีสัมมากัมมันตะ
๕. ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมมีสัมมาอาชีวะ
๖. ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมมีสัมมาวายามะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๖. นิชชรสูตร
๗. ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมมีสัมมาสติ
๘. ผู้มีสัมมาสติ ย่อมมีสัมมาสมาธิ
๙. ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมมีสัมมาญาณะ
๑๐. ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมมีสัมมาวิมุตติ
วิชชาสูตรที่ ๕ จบ
๖. นิชชรสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งความเสื่อม
[๑๐๖] ภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งความเสื่อม ๑๐ ประการนี้
เหตุแห่งความเสื่อม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่
เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอันมาก
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย
๒. เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ มิจฉาสังกัปปะย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็น
อันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศล-
ธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย
๓. เมื่อมีสัมมาวาจา มิจฉาวาจาย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็นอันมาก
ที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวาจาเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอัน
มากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวาจาเป็นปัจจัย
๔. เมื่อมีสัมมากัมมันตะ มิจฉากัมมันตะย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็น
อันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉากัมมันตะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศล-
ธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมากัมมันตะเป็น
ปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๖. นิชชรสูตร
๕. เมื่อมีสัมมาอาชีวะเป็นปัจจัย มิจฉาอาชีวะย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรม
เป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาอาชีวะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และ
กุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาอาชีวะเป็น
ปัจจัย
๖. เมื่อมีสัมมาวายามะ มิจฉาวายามะย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็นอัน
มากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวายามะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรม
เป็นอันมากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวายามะเป็นปัจจัย
๗. เมื่อมีสัมมาสติ มิจฉาสติย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็นอันมาก ที่
เกิดขึ้นเพราะมิจฉาสติเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอันมาก
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาสติเป็นปัจจัย
๘. เมื่อมีสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็นอันมาก
ที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาสมาธิเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอัน
มากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาสมาธิเป็นปัจจัย
๙. เมื่อมีสัมมาญาณะ มิจฉาญาณะย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็นอัน
มากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาญาณะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรม
เป็นอันมากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาญาณะเป็นปัจจัย
๑๐. เมื่อมีสัมมาวิมุตติ มิจฉาวิมุตติย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็นอันมาก
ที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอัน
มากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งความเสื่อม ๑๐ ประการนี้แล
นิชชรสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๔๙ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น