Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๔-๖ หน้า ๒๕๐ - ๒๙๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔-๖ สุตตันตปิฎกที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก เอกาทสกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต
_______________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๗. โธวนสูตร
๗. โธวนสูตร
ว่าด้วยธรรมเนียมการล้างกระดูกผู้ตาย
[๑๐๗] ภิกษุทั้งหลาย ในทักขิณาชนบท มีธรรมเนียมการล้างกระดูกของ
ญาติผู้ตาย ในธรรมเนียมการล้างกระดูกนั้น มีข้าวบ้าง น้ำบ้าง ของเคี้ยวบ้าง ของ
บริโภคบ้าง เครื่องลิ้มบ้าง เครื่องดื่มบ้าง การฟ้อนรำบ้าง เพลงขับบ้าง การประโคม
บ้าง ธรรมเนียมการล้างนี้มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่าไม่มี แต่การล้างนั้นแลเป็นของเลว
เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่เป็นของพระอริยะ ไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน
เราจักแสดงการล้างอันเป็นของพระอริยะที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ซึ่งสัตว์
ทั้งหลายผู้มีชาติ(ความเกิด)เป็นธรรมดาอาศัยแล้วย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชรา(ความ
แก่)เป็นธรรมดาย่อมพ้นจากชรา ผู้มีมรณะ(ความตาย)เป็นธรรมดาย่อมพ้นจากมรณะ
ผู้มีโสกะ(ความโศก) ปริเทวะ(ความร่ำไร) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ)
และอุปายาส(ความคับแค้นใจ)เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
การล้างอันเป็นของพระอริยะที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลาย
กำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานซึ่งสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีชาติเป็นธรรมดาอาศัยแล้วย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากชรา
ผู้มีมรณะเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็น
อย่างไร คือ
๑. ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมล้างมิจฉาทิฏฐิได้ ล้างบาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่
เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยได้ และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึง
ความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๘. ติกิจฉกสูตร
๒. ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมล้างมิจฉาสังกัปปะได้ ...
๓. ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมล้างมิจฉาวาจาได้ ...
๔. ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมล้างมิจฉากัมมันตะได้ ...
๕. ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมล้างมิจฉาอาชีวะได้ ...
๖. ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมล้างมิจฉาวายามะได้ ...
๗. ผู้มีสัมมาสติ ย่อมล้างมิจฉาสติได้ ...
๘. ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมล้างมิจฉาสมาธิได้ ...
๙. ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมล้างมิจฉาญาณะได้ ...
๑๐. ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมล้างมิจฉาวิมุตติได้ ล้างบาปอกุศลธรรมเป็นอัน
มากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยได้ และกุศลธรรมเป็นอันมาก
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย การล้างอันเป็นของพระอริยะนี้แล ที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
อย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ซึ่งสัตว์ทั้งหลายผู้มีชาติเป็นธรรมดาอาศัยแล้วย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา
ย่อมพ้นจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาส
โธวนสูตรที่ ๗ จบ
๘. ติกิจฉกสูตร
ว่าด้วยแพทย์ให้ยาระบาย
[๑๐๘] ภิกษุทั้งหลาย แพทย์ทั้งหลายย่อมให้ยาระบาย เพื่อบำบัดอาพาธอัน
มีดีเป็นสมุฏฐานบ้าง มีเสลดเป็นสมุฏฐานบ้าง มีลมเป็นสมุฏฐานบ้าง ยาระบายนี้มีอยู่
เรามิได้กล่าวว่าไม่มี แต่ยาระบายนี้แล ใช้ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง
เราจักแสดงยาระบายอันเป็นของพระอริยะที่ใช้ได้ผลแน่นอน มิใช่ไร้ผล ซึ่ง
สัตว์ทั้งหลายผู้มีชาติเป็นธรรมดาอาศัยแล้วย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๘. ติกิจฉกสูตร
ย่อมพ้นจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสได้ เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ยาระบายอันเป็นของพระอริยะที่ใช้ได้ผลแน่นอน มิใช่ไร้ผล ซึ่งสัตว์ทั้งหลายผู้
มีชาติเป็นธรรมดาอาศัยแล้วย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากชรา
ผู้มีมรณะเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เป็น
อย่างไร คือ
๑. ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมระบายมิจฉาทิฏฐิได้ ระบายบาปอกุศลธรรมเป็นอัน
มากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยได้ และกุศลธรรมเป็นอันมาก
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย
๒. ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมระบายมิจฉาสังกัปปะได้ ...
๓. ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมระบายมิจฉาวาจาได้ ...
๔. ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมระบายมิจฉากัมมันตะได้ ...
๕. ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมระบายมิจฉาอาชีวะได้ ...
๖. ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมระบายมิจฉาวายามะได้ ...
๗. ผู้มีสัมมาสติ ย่อมระบายมิจฉาสติได้ ...
๘. ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมระบายมิจฉาสมาธิได้ ...
๙. ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมระบายมิจฉาญาณะได้ ...
๑๐. ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมระบายมิจฉาวิมุตติได้ ระบายบาปอกุศลธรรมเป็น
อันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยได้ และกุศลธรรมเป็นอัน
มากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๙. วมนสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ยาระบายอันเป็นของพระอริยะนี้แลที่ใช้ได้ผลแน่นอน มิใช่ไร้ผล
ซึ่งสัตว์ทั้งหลายผู้มีชาติเป็นธรรมดาอาศัยแล้วย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา
ย่อมพ้นจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและ
อุปายาสได้
ติกิจฉกสูตรที่ ๘ จบ
๙. วมนสูตร
ว่าด้วยแพทย์ให้ยาสำรอก
[๑๐๙] ภิกษุทั้งหลาย แพทย์ทั้งหลายย่อมให้ยาสำรอก เพื่อบำบัดอาพาธอัน
มีดีเป็นสมุฏฐานบ้าง มีเสลดเป็นสมุฏฐานบ้าง มีลมเป็นสมุฏฐานบ้าง ยาสำรอกนี้มีอยู่
เรามิได้กล่าวว่าไม่มี แต่ยาสำรอกนี้แล ใช้ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง
เราจักแสดงยาสำรอกอันเป็นของพระอริยะที่ใช้ได้ผลแน่นอน มิใช่ไร้ผล ซึ่ง
สัตว์ทั้งหลายผู้มีชาติเป็นธรรมดาอาศัยแล้วย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา
ย่อมพ้นจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสได้ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ๑
ยาสำรอกอันเป็นของพระอริยะที่ใช้ได้ผลแน่นอน มิใช่ไร้ผล ซึ่งสัตว์ทั้งหลายผู้
มีชาติเป็นธรรมดาอาศัยแล้วย่อมพ้นจากชาติ ฯลฯ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้
เป็นอย่างไร คือ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๑๐๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๙. วมนสูตร
๑. ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมสำรอกมิจฉาทิฏฐิได้ สำรอกบาปอกุศลธรรมเป็น
อันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยได้ และกุศลธรรมเป็นอันมาก
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย
๒. ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมสำรอกมิจฉาสังกัปปะได้ ...
๓. ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมสำรอกมิจฉาวาจาได้ ...
๔. ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมสำรอกมิจฉากัมมันตะได้ ...
๕. ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมสำรอกมิจฉาอาชีวะได้ ...
๖. ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมสำรอกมิจฉาวายามะได้ ...
๗. ผู้มีสัมมาสติ ย่อมสำรอกมิจฉาสติได้ ...
๘. ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมสำรอกมิจฉาสมาธิได้ ...
๙. ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมสำรอกมิจฉาญาณะได้ ฯลฯ
๑๐. ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมสำรอกมิจฉาวิมุตติได้ สำรอกบาปอกุศลธรรมเป็น
อันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยได้ และกุศลธรรมเป็นอัน
มากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย ยาสำรอกอันเป็นของพระอริยะนี้แล ที่ใช้ได้ผลแน่นอน มิใช่ไร้ผล
ซึ่งสัตว์ทั้งหลายผู้มีชาติเป็นธรรมดาอาศัยแล้วย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา
ย่อมพ้นจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสได้
วมนสูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๑๐. นิทธมนิยสูตร
๑๐. นิทธมนิยสูตร
ว่าด้วยธรรมอันบุคคลพึงกำจัด
[๑๑๐] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันบุคคลพึงกำจัด ๑๐ ประการนี้
ธรรมอันบุคคลพึงกำจัด ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมกำจัดมิจฉาทิฏฐิได้ กำจัดบาปอกุศลธรรมเป็น
อันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยได้ และกุศลธรรมเป็นอันมาก
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย
๒. ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมกำจัดมิจฉาสังกัปปะได้ ...
๓. ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมกำจัดมิจฉาวาจาได้ ...
๔. ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมกำจัดมิจฉากัมมันตะได้ ...
๕. ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมกำจัดมิจฉาอาชีวะได้ ...
๖. ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมกำจัดมิจฉาวายามะได้ ...
๗. ผู้มีสัมมาสติ ย่อมกำจัดมิจฉาสติได้ ...
๘. ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมกำจัดมิจฉาสมาธิได้ ...
๙. ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมกำจัดมิจฉาญาณะได้ ...
๑๐. ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมกำจัดมิจฉาวิมุตติได้ กำจัดบาปอกุศลธรรมเป็น
อันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยเสียได้ และกุศลธรรม เป็น
อันมากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันบุคคลพึงกำจัด ๑๐ ประการนี้แล
นิทธมนิยสูตรที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค ๑๑. ปฐมอเสขสูตร
๑๑. ปฐมอเสขสูตร
ว่าด้วยพระอเสขะ สูตรที่ ๑
[๑๑๑] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ‘อเสขะ อเสขะ’ นี้ ภิกษุเป็นพระอเสขะด้วย
เหตุเพียงเท่าไรหนอ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิที่เป็นอเสขะ
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสังกัปปะที่เป็นอเสขะ
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวาจาที่เป็นอเสขะ
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมากัมมันตะที่เป็นอเสขะ
๕. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาอาชีวะที่เป็นอเสขะ
๖. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวายามะที่เป็นอเสขะ
๗. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสติที่เป็นอเสขะ
๘. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสมาธิที่เป็นอเสขะ
๙. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาญาณะ๑ที่เป็นอเสขะ
๑๐. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวิมุตติที่เป็นอเสขะ
ภิกษุ ภิกษุเป็นพระอเสขะ อย่างนี้แล”
ปฐมอเสขสูตรที่ ๑๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สัมมาญาณะ ในสูตรนี้หมายถึงสัมมาทิฏฐินั่นเอง ท่านตรัสไว้เพื่อให้องค์ธรรมครบบริบูรณ์ และธรรม
ทั้งหมดนี้ เป็นธรรมชั้นอรหัตตผล (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๑/๓๗๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. สมณสัญญาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑๒. ทุติยอเสขสูตร
ว่าด้วยพระอเสขะ สูตรที่ ๒
[๑๑๒] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นอเสขะ๑ ๑๐ ประการนี้
ธรรมที่เป็นอเสขะ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัมมาทิฏฐิที่เป็นอเสขะ ๒. สัมมาสังกัปปะที่เป็นอเสขะ
๓. สัมมาวาจาที่เป็นอเสขะ ๔. สัมมากัมมันตะที่เป็นอเสขะ
๕. สัมมาอาชีวะที่เป็นอเสขะ ๖. สัมมาวายามะที่เป็นอเสขะ
๗. สัมมาสติที่เป็นอเสขะ ๘. สัมมาสมาธิที่เป็นอเสขะ
๙. สัมมาญาณะที่เป็นอเสขะ ๑๐. สัมมาวิมุตติที่เป็นอเสขะ

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นของพระอเสขะ ๑๐ ประการนี้แล
ทุติยอเสขสูตรที่ ๑๒ จบ
สมณสัญญาวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สมณสัญญาสูตร ๒. โพชฌังคสูตร
๓. มิจฉัตตสูตร ๔. พีชสูตร
๕. วิชชาสูตร ๖. นิชชรสูตร
๗. โธวนสูตร ๘. ติกิจฉกสูตร
๙. วมนสูตร ๑๐. นิทธมนิยสูตร
๑๑. ปฐมอเสขสูตร ๑๒. ทุติยอเสขสูตร


เชิงอรรถ :
๑ อเสขะ หมายถึงธรรมระดับโลกุตตระของพระอเสขะ คือพระอรหันตขีณาสพ ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาค
ตรัสธรรมนี้สำหรับพระขีณาสพเท่านั้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๒/๓๒๐,๓/๑๑๒/๓๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๑. ปฐมอธัมมสูตร
๒. ปัจโจโรหณิวรรค
หมวดว่าด้วยพิธีลอยบาป
๑. ปฐมอธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สูตรที่ ๑
[๑๑๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็น
ธรรมและไม่เป็นประโยชน์ ควรทราบทั้งสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ ครั้นทราบ
แล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์
สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและไม่เป็นประโยชน์ อะไรบ้าง คือ

๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)
๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด)
๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด)
๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๘. มิจฉาสมาธิ(ตั้งจิตมั่นผิด)
๙. มิจฉาญาณะ (รู้ผิด) ๑๐. มิจฉาวิมุตติ (หลุดพ้นผิด)

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและไม่เป็นประโยชน์
สิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ อะไรบ้าง คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
๙. สัมมาญาณะ (รู้ชอบ) ๑๐. สัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ)

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็น
ธรรมและไม่เป็นประโยชน์ ควรทราบทั้งสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ ครั้น
ทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ปฐมอเสขสูตรที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๒. ทุติยอธัมมสูตร
๒. ทุติยอธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สูตรที่ ๒
[๑๑๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม
ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติ
ตามสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์
สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็น
ประโยชน์ อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาทิฏฐิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะ
สัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๒. มิจฉาสังกัปปะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสังกัปปะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม
บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย นี้
เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญ
เต็มที่เพราะสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๓. มิจฉาวาจาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวาจาเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวาจาเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่
เพราะสัมมาวาจาเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๔. มิจฉากัมมันตะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมากัมมันตะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม
บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉากัมมันตะเป็นปัจจัย นี้
เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญ
เต็มที่เพราะสัมมากัมมันตะเป็นปัจจัยนี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๕. มิจฉาอาชีวะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาอาชีวะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาอาชีวะเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่ง
ที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่
เพราะสัมมาอาชีวะเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๒. ทุติยอธัมมสูตร
๖. มิจฉาวายามะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวายามะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม
บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวายามะเป็นปัจจัย นี้
เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญ
เต็มที่เพราะสัมมาวายามะเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๗. มิจฉาสติเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสติเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศล-
ธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาสติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมา-
สติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๘. มิจฉาสมาธิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสมาธิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาสมาธิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะ
สัมมาสมาธิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๙. มิจฉาญาณะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาญาณะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาญาณะเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่ง
ที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่
เพราะสัมมาญาณะเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๑๐. มิจฉาวิมุตติเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวิมุตติเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะ
สัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็น
ธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์
ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ทุติยอธัมมสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๓. ตติยอธัมมสูตร
๓. ตติยอธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สูตรที่ ๓
[๑๑๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม
ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติ
ตามสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้
แล้วจึงเสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงหลีกไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ปรึกษา
กันว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทส๑นี้โดยย่อว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบ
ทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้วควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็น
ธรรมและเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอ จะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้”
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นร่วมกันว่า “ท่านอานนท์นี้แล พระศาสดา
ทรงสรรเสริญแล้ว และเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง ท่านสามารถจะจำแนก
เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดย
พิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่แล้วเรียน
ถามเนื้อความนี้กับท่าน และจักทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่ท่านตอบแก่พวกเรา”
ครั้นแล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควรได้เรียนว่า
“ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดยย่อว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้ง
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็น
ธรรมและเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร

เชิงอรรถ :
๑ อุทเทส ในที่นี้หมายถึง บทมาติกา-หัวข้อธรรม (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๕/๓๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๓. ตติยอธัมมสูตร
ผู้มีอายุ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงหลีกไปไม่นาน พวกกระผมได้ปรึกษากันว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดยย่อว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้ง
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็น
ธรรมและเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้
ผู้มีอายุ พวกกระผมได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่านอานนท์นี้แล พระศาสดา
ทรงสรรเสริญแล้ว และเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง ท่านสามารถจะจำแนก
เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดย
พิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่แล้ว
เรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน และจักทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่ท่านตอบแก่
พวกเรา’ ขอท่านอานนท์จงจำแนกเถิด”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่เฉพาะ
หน้าผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละเลยพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสีย สำคัญ
เนื้อความนี้ว่าควรถามข้าพเจ้า เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้
เที่ยวแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นมีอยู่ ก็มองข้ามรากและลำต้นไปเสีย
สำคัญกิ่งและใบว่าเป็นแก่นไม้ที่ตนพึงแสวงหา พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นผู้มี
พระจักษุ๑ มีพระญาณ มีพระธรรม๒ เป็นผู้ประเสริฐ๓ ตรัสบอกได้๔ ทรงให้เป็นไปได้๕

เชิงอรรถ :
๑ มีพระจักษุ หมายถึงมีพระปัญญาจักษุโดยทรงเป็นผู้นำของชาวโลกในการเห็นธรรมด้วยพระสยัมภูญาณ
๒ มีพระธรรม หมายถึงทรงแสดงธรรมให้ปริยัติธรรมเป็นไปได้ หรือทรงให้โพธิปักขิยธรรม (ธรรมอันเป็น
ฝ่ายแห่งการตรัสรู้) ๓๗ ประการ ได้แก่ (๑) สติปัฏฐาน ๔ (๒) สัมมัปปธาน ๔ (๓) อิทธิบาท ๔ (๔) อินทรีย์
๕ (๕) พละ ๕ (๖) โพชฌงค์ ๗ (๗) มรรคมีองค์ ๘ (องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๑๓๓-๑๑๖/๔๓๘)
๓ เป็นผู้ประเสริฐ หมายถึงทรงบรรลุพระสยัมภูญาณแล้วแสดงอริยมรรคแก่ชาวโลก (องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๑๓๓-
๑๑๖/๔๓๙)
๔ ตรัสบอกได้ ในที่นี้หมายถึงตรัสบอกอริยสัจ ๔ ได้ (องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๑๑๓-๑๑๖/๔๓๙)
๕ ทรงให้เป็นไปได้ หมายถึงตรัสบอกให้รู้แจ้งอริยสัจ ๔ (องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๑๑๓-๑๑๖/๔๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๓. ตติยอธัมมสูตร
ทรงแสดงประโยชน์๑ ประทานอมตธรรม๒ เป็นเจ้าของธรรม๓ เป็นพระตถาคต ทรงรู้
ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ก็เวลานี้แล เป็นเวลาสมควรที่ท่าน
ทั้งหลายพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้ พึงทรงจำเนื้อความ
นั้นไว้ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงตอบแก่ท่านทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นเรียนว่า “ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงเป็นผู้มี
พระจักษุ มีพระญาณ มีพระธรรม เป็นผู้ประเสริฐ ตรัสบอกได้ ทรงให้เป็นไปได้ ทรง
แสดงประโยชน์ ประทานอมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต ทรงรู้ธรรมที่
ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ก็เวลานี้แล เป็นเวลาสมควรที่กระผมทั้งหลายพึง
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้ และทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่
พระผู้มีพระภาคทรงตอบแก่พวกกระผมอย่างแน่นอน ท่านอานนท์เอง พระศาสดา
ทรงสรรเสริญ และเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง ย่อมสามารถจะจำแนก
เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดย
พิสดารนี้ให้พิสดารได้ ถ้าท่านอานนท์ไม่มีความหนักใจแล้ว ขอจงจำแนกเถิด”
พระอานนท์กล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟัง จง
ใส่ใจให้ดี ข้าพเจ้าจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าว
เรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสโดยย่อว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้ง
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็น
ธรรมและเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร

เชิงอรรถ :
๑ ทรงแสดงประโยชน์ หมายถึงทรงให้สรรพสัตว์พ้นจากความทุกข์ ความบีบคั้นโดยให้บรรลุพระนิพพาน
อันเป็นประโยชน์ยอดเยี่ยม (องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๑๑๓-๑๑๖/๔๓๙)
๒ ประทานอมตธรรม หมายถึงทรงแสดงข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุ เพื่อรู้แจ้งอมตธรรมแก่สรรพสัตว์ (องฺ.ทสก.ฏีกา
๓/๑๑๓-๑๑๖/๔๓๙)
๓ เป็นเจ้าของธรรม หมายถึงเป็นเจ้าของโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ (องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๑๑๓-๑๑๖/๔๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๓. ตติยอธัมมสูตร
สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็น
ประโยชน์ อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาทิฏฐิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะ
สัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๒. มิจฉาสังกัปปะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสังกัปปะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๓. มิจฉาวาจาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวาจาเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๔. มิจฉากัมมันตะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมากัมมันตะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๕. มิจฉาอาชีวะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาอาชีวะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๖. มิจฉาวายามะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวายามะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๗. มิจฉาสติเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสติเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๘. มิจฉาสมาธิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสมาธิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๙. มิจฉาญาณะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาญาณะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...๑
๑๐. มิจฉาวิมุตติเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวิมุตติเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะ
สัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสโดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและ
เป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะเข้าไป
ยังพระวิหาร ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ ก็ท่านทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๑๑๔ (ทุติยอธัมมสูตร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๓. ตติยอธัมมสูตร
เมื่อหวังอยู่ พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้เถิด ขอท่าน
ทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงตอบแก่ท่านทั้งหลายเถิด”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่าน
พระอานนท์แล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อว่า ‘ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม
และเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์
เข้าไปยังพระวิหาร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงหลีกไปไม่นาน ข้าพระองค์
ทั้งหลายได้ปรึกษากันว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อ
ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบ
ทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่
เป็นธรรมและเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านั้นได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่าน
อานนท์นี้แล พระศาสดาทรงสรรเสริญแล้ว และเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง
ท่านสามารถจะจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่
ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่าน
อานนท์ถึงที่อยู่แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน และจักทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตาม
ที่ท่านตอบแก่พวกเรา’ ครั้นแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงเข้าไปหาท่านอานนท์ถึง
ที่อยู่แล้วเรียนถามเนื้อความนี้ ท่านอานนท์ได้จำแนกเนื้อความอย่างชัดเจนแก่ข้า
พระองค์ทั้งหลายด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๔. อชิตสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ดีละ ดีละ อานนท์เป็นบัณฑิต มี
ปัญญามาก แม้หากเธอทั้งหลายพึงเข้ามาหาเราแล้วถามเนื้อความนี้ ถึงเราเองก็พึง
ตอบเนื้อความนี้อย่างที่อานนท์ได้ตอบแล้วนั่นเอง นี้แลเป็นเนื้อความแห่งอุทเทสนั้น
และเธอทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด”
ตติยอธัมมสูตรที่ ๓ จบ
๔. อชิตสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อว่าอชิตะ
[๑๑๖] ครั้งนั้น อชิตปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้สนทนาปราศรัยพอ
เป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม เพื่อนพรหมจารีของข้าพเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นบัณฑิต
เพราะมีจิตตุปบาท ๕๐๐ ดวง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้อัญเดียรถีย์ทั้งหลายผู้ถูกข่มขี่แล้ว
รู้ตัวว่าถูกข่มขี่”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังทรงจำเหตุแห่งความเป็นบัณฑิตได้หรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เวลานี้เป็นเวลาสมควร
ข้าแต่พระสุคต เวลานี้เป็นเวลาสมควรที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดง ภิกษุทั้งหลาย
ได้ฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๔. อชิตสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะ๑ที่ไม่เป็นธรรมด้วย
วาทะที่ไม่เป็นธรรม และย่อมชักนำบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วยวาทะที่
ไม่เป็นธรรมนั้น เพราะวาทะที่ไม่เป็นธรรมนั้น บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้น
จึงสรรเสริญขึ้นพร้อมกันว่า ‘ท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ท่านผู้นี้เป็น
บัณฑิตหนอ’
บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่เป็นธรรมด้วยวาทะที่ไม่เป็นธรรม
และย่อมชักนำบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วยวาทะที่ไม่เป็นธรรมนั้น เพราะ
วาทะที่ไม่เป็นธรรมนั้น บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้นจึงสรรเสริญขึ้นพร้อมกันว่า
‘ท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ’
บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะทั้งที่เป็นธรรมและไม่เป็นธรรม
ด้วยวาทะที่ไม่เป็นธรรม และย่อมชักนำบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วย
วาทะที่ไม่เป็นธรรมนั้น เพราะวาทะที่ไม่เป็นธรรมนั้น บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม
นั้นจึงสรรเสริญขึ้นพร้อมกันว่า ‘ท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ท่านผู้นี้เป็น
บัณฑิตหนอ’
บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่ไม่เป็นธรรม ด้วยวาทะที่เป็นธรรม
และย่อมชักนำบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วยวาทะที่เป็นธรรมนั้น เพราะ
วาทะที่เป็นธรรมนั้น บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้นจึงสรรเสริญขึ้นพร้อมกันว่า
‘ท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ’
บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่เป็นธรรมด้วยวาทะที่เป็นธรรม
และย่อมชักนำบริษัทผู้ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วยวาทะที่เป็นธรรมนั้น เพราะ
วาทะที่เป็นธรรมนั้น บริษัทผู้ประกอบด้วยธรรมนั้นจึงสรรเสริญขึ้นพร้อมกันว่า
‘ท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ’

เชิงอรรถ :
๑ วาทะ ในที่นี้หมายถึงลัทธิ(ความเชื่อถือ)หรือแนวคิดความเห็น (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๖/๒๐๒) เช่น อุจเฉทวาทะ
คือลัทธิที่ถือว่าตายแล้วไม่เกิดอีก เป็นแนวคิดเชิงวัตถุนิยม ลัทธินี้ทำให้มนุษย์หมกมุ่นในกามสุข (ที.สี.อ.
๘๔/๑๑๐) หรือ อมราวิกเขปวาทะ คือลัทธิที่มีความเห็นหลบเลี่ยงไม่แน่นอนว่าใช่หรือไม่ใช่ เป็นความเห็น
ที่ลื่นไหลจับได้ยากเหมือนปลาไหล (ที.สี.อ. ๖๑/๑๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๔. อชิตสูตร
บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่
เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม
และเป็นประโยชน์
สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็น
ประโยชน์ อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาทิฏฐิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะ
สัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๒. มิจฉาสังกัปปะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสังกัปปะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๓. มิจฉาวาจาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวาจาเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๔. มิจฉากัมมันตะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมากัมมันตะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๕. มิจฉาอาชีวะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาอาชีวะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๖. มิจฉาวายามะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาอาชีวะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๗. มิจฉาสติเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสติเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๘. สัมมาสมาธิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสมาธิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๙. มิจฉาญาณะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาญาณะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๑๐. มิจฉาวิมุตติเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวิมุตติเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะ
สัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็น
ธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์
ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
อชิตสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๕. สคารวสูตร
๕. สคารวสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อว่าสคารวะ
[๑๑๗] ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อว่าสคารวะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่
สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นฝั่งนี้๑ อะไรเป็นฝั่งโน้น๒”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์

๑. มิจฉาทิฏฐิเป็นฝั่งนี้ สัมมาทิฏฐิเป็นฝั่งโน้น
๒. มิจฉาสังกัปปะเป็นฝั่งนี้ สัมมาสังกัปปะเป็นฝั่งโน้น
๓. มิจฉาวาจาเป็นฝั่งนี้ สัมมาวาจาเป็นฝั่งโน้น
๔. มิจฉากัมมันตะเป็นฝั่งนี้ สัมมากัมมันตะเป็นฝั่งโน้น
๕. มิจฉาอาชีวะเป็นฝั่งนี้ สัมมาอาชีวะเป็นฝั่งโน้น
๖. มิจฉาวายามะเป็นฝั่งนี้ สัมมาวายามะเป็นฝั่งโน้น
๗. มิจฉาสติเป็นฝั่งนี้ สัมมาสติเป็นฝั่งโน้น
๘. มิจฉาสมาธิเป็นฝั่งนี้ สัมมาสมาธิเป็นฝั่งโน้น
๙. มิจฉาญาณะเป็นฝั่งนี้ สัมมาญาณะเป็นฝั่งโน้น
๑๐. มิจฉาวิมุตติเป็นฝั่งนี้ สัมมาวิมุตติเป็นฝั่งโน้น

พราหมณ์ นี้แลเป็นฝั่งนี้ นี้แลเป็นฝั่งโน้น
ในหมู่มนุษย์ เหล่าชนผู้ไปถึงฝั่งโน้น๓มีจำนวนน้อย
ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งนี้๔ทั้งนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ฝั่งนี้ ในที่นี้หมายถึงโลกิยธรรม (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕)
๒ ฝั่งโน้น ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรธรรม (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕)
๓ ฝั่งโน้น ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕)
๔ ฝั่งนี้ ในที่นี้หมายถึงสักกายทิฏฐิ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๕. สคารวสูตร
ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามธรรม
ในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยชอบ๑
ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะ๒
อันเป็นบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก จักถึงฝั่งโน้น
บัณฑิตละธรรมดำ แล้วพึงเจริญธรรมขาว๓
ออกจากวัฏฏะมาสู่วิวัฏฏะ๔
ละกามทั้งหลายแล้วเป็นผู้หมดความกังวล
พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวก๕ที่ยินดีได้ยากยิ่ง
บัณฑิตพึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว
จากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย
บัณฑิตเหล่าใดอบรมจิตโดยชอบ
ในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย
ไม่ถือมั่น ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น
บัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว
มีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก๖
สคารวสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยชอบ หมายถึงโลกุตตรธรรม ๙ ประการ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน
๑ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕)
๒ วัฏฏะ ในที่นี้หมายถึงวัฏฏะ ๓ คือ (๑) กิเลสวัฏฏ์ วงจรกิเลสประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน
(๒) กัมมวัฏฏ์ วงจรกรรมประกอบด้วยสังขารและกรรมภพ (๓) วิปากวัฏฏ์ วงจรวิบาก ประกอบด้วย
วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปอุปปัตติภพ ชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น
(องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕)
๓ ธรรมดำ หมายถึงอกุศลธรรม ได้แก่ กายทุจริต เป็นต้น ธรรมขาว หมายถึงกุศลธรรม ได้แก่ กายสุจริต
เป็นต้น (สํ.ม.อ. ๓/๓๑-๓๔/๑๙๖, ขุ.ธ.อ. ๔/๔๕-๔๗)
๔ วิวัฏฏะ หมายถึงนิพพาน (สํ.ม.อ. ๓/๓๑-๓๔/๑๙๖, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕)
๕ วิเวก หมายถึงกายวิเวก(ความสงัดกาย) จิตตวิเวก(ความสงัดจิต) และอุปธิวิเวก(ความสงัดจากกิเลส)
(องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕)
๖ ดู สํ.ม. ๑๙/๓๔/๑๙, ขุ.ธ. ๒๕/๘๕-๘๙/๓๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๖. โอริมตีรสูตร
๖. โอริมตีรสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นฝั่งนี้และธรรมที่เป็นฝั่งโน้น๑
[๑๑๘] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงฝั่งนี้และฝั่งโน้นแก่เธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ฝั่งนี้และฝั่งโน้น อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิเป็นฝั่งนี้ สัมมาทิฏฐิเป็นฝั่งโน้น ฯลฯ๒
๑๐. มิจฉาวิมุตติเป็นฝั่งนี้ สัมมาวิมุตติเป็นฝั่งโน้น
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นฝั่งนี้ นี้แลเป็นฝั่งโน้น
ในหมู่มนุษย์ เหล่าชนผู้ไปถึงฝั่งโน้นมีจำนวนน้อย
ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งนี้ทั้งนั้น
ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามธรรม
ในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยชอบ
ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะ
อันเป็นบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก จักถึงฝั่งโน้น
บัณฑิตละธรรมดำแล้วพึงเจริญธรรมขาว
ออกจากวัฏฏะมาสู่วิวัฏฏะ
ละกามทั้งหลายแล้วเป็นผู้หมดความกังวล
พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวกที่ยินดีได้ยากยิ่ง
บัณฑิตพึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว
จากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑,๒ (สคารวสูตร) หน้า ๒๖๙ ในเล่มนี้
๒ ดูความเต็มในข้อ ๑๑๗ (สคารวสูตร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๗. ปฐมปัจโจโรหณีสูตร
บัณฑิตเหล่าใดอบรมจิตโดยชอบ
ในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย
ไม่ถือมั่น ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น
บัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว
มีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก
โอริมตีรสูตรที่ ๖ จบ
๗. ปฐมปัจโจโรหณีสูตร
ว่าด้วยพิธีลอยบาป สูตรที่ ๑
[๑๑๙] สมัยนั้น พราหมณ์ชื่อว่าชาณุสโสณิสรงน้ำดำหัวในวันอุโบสถ นุ่งห่ม
ผ้าไหมคู่ใหม่ ยืนถือกำหญ้าคาสดอยู่ ณ ที่สมควร ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นแล้วได้ตรัสถามชาณุสโสณิพราหมณ์ดังนี้ว่า
“พราหมณ์ เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงสรงน้ำดำหัวในวันอุโบสถ นุ่งห่มผ้าไหม
คู่ใหม่ ยืนถือกำหญ้าคาสดอยู่ ณ ที่สมควร วันนี้เป็นวันอะไรของตระกูลพราหมณ์”
ชาณุสโสณิพราหมณ์กราบทูลว่า “ท่านพระโคดม วันนี้เป็นวันลอยบาปของ
ตระกูลพราหมณ์”
“พราหมณ์ พิธีลอยบาปของพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร”
“ท่านพระโคดม ในวันอุโบสถ พราหมณ์ทั้งหลายในโลกนี้ พากันสรงน้ำดำหัว
นุ่งห่มผ้าไหมคู่ใหม่ ทาแผ่นดินด้วยโคมัยสด ลาดด้วยหญ้าคาที่เขียวสดแล้วนอนใน
ระหว่างกองทรายและเรือนไฟ ในราตรีนั้น พราหมณ์เหล่านั้นลุกขึ้นแล้วประคอง
อัญชลีนอบน้อมไฟ ๓ ครั้งด้วยกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าทั้งหลายขอลอยบาปต่อท่านผู้
เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอลอยบาปต่อท่านผู้เจริญ’ และบำเรอไฟให้อิ่มหนำด้วย
เนยใส น้ำมัน และเนยข้นจำนวนมาก พอล่วงราตรีนั้นไปจึงเลี้ยงพราหมณ์ทั้งหลาย
ให้อิ่มหนำด้วยของเคี้ยวของบริโภคอันประณีต ท่านพระโคดม พิธีลอยบาปของ
พราหมณ์ทั้งหลาย เป็นอย่างนี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๗. ปฐมปัจโจโรหณีสูตร
“พราหมณ์ พิธีลอยบาปของพราหมณ์ทั้งหลายเป็นอย่างหนึ่ง พิธีลอยบาปใน
อริยวินัยเป็นอีกอย่างหนึ่ง”
“ท่านพระโคดม พิธีลอยบาปในอริยวินัยเป็นอย่างไร ขอประทานวโรกาส
ขอท่านพระโคดมโปรดแสดงธรรมที่เป็นพิธีลอยบาปในอริยวินัยแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด”
“พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ชาณุสโสณิพราหมณ์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
พราหมณ์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาทิฏฐิมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาทิฏฐิ ลอยมิจฉาทิฏฐิ
๒. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาสังกัปปะมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาสังกัปปะ ลอยมิจฉาสังกัปปะ
๓. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาวาจามีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาวาจา ลอยมิจฉาวาจา
๔. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉากัมมันตะมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉากัมมันตะ ลอยมิจฉากัมมันตะ
๕. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาอาชีวะมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาอาชีวะ ลอยมิจฉาอาชีวะ
๖. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาวายามะมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาวายามะ ลอยมิจฉาวายามะ
๗. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาสติมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาสติ ลอยมิจฉาสติ
๘. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาสมาธิมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาสมาธิ ลอยมิจฉาสมาธิ
๙. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาญาณะมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาญาณะ ลอยมิจฉาญาณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๘. ทุติยปัจโจโรหณีสูตร
๑๐. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาวิมุตติมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาวิมุตติ ลอยมิจฉาวิมุตติ
พราหมณ์ พิธีลอยบาปในอริยวินัย เป็นอย่างนี้แล
ชาณุสโสณิพราหมณ์กราบทูลว่า “ท่านพระโคดม พิธีลอยบาปของพราหมณ์
ทั้งหลายเป็นอย่างหนึ่ง พิธีลอยบาปในอริยวินัยก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง พิธีลอยบาป
ของพราหมณ์ทั้งหลายย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งพิธีลอยบาปในอริยวินัยนี้ ท่าน
พระโคดม ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำ
ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ปฐมปัจโจโรหณีสูตรที่ ๗ จบ
๘. ทุติยปัจโจโรหณีสูตร
ว่าด้วยพิธีลอยบาป สูตรที่ ๒
[๑๒๐] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพิธีลอยบาปอันเป็นของพระอริยะแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
พิธีลอยบาปอันเป็นของพระอริยะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาทิฏฐิมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาทิฏฐิ ลอยมิจฉาทิฏฐิ
๒. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาสังกัปปะมีผลชั่ว ...
๓. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาวาจามีผลชั่ว ...
๔. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉากัมมันตะมีผลชั่ว ...
๕. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาอาชีวะมีผลชั่ว ...
๖. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาวายามะมีผลชั่ว ...
๗. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาสติมีผลชั่ว ...
๘. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาสมาธิมีผลชั่ว ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๙. ปุพพังคมสูตร
๙. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาญาณะมีผลชั่ว ...๑
๑๐. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาวิมุตติมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาวิมุตติ ลอยมิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า พิธีลอยบาปอันเป็นของพระอริยะ
ทุติยปัจโจโรหณีสูตรที่ ๘ จบ
๙. ปุพพังคมสูตร
ว่าด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรม
[๑๒๑] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็น
บุพนิมิต ฉันใด สัมมาทิฏฐิก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
ฉันนั้น
ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมมีสัมมาสังกัปปะ
ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมมีสัมมาวาจา
ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมมีสัมมากัมมันตะ
ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมมีสัมมาอาชีวะ
ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมมีสัมมาวายามะ
ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมมีสัมมาสติ
ผู้มีสัมมาสติ ย่อมมีสัมมาสมาธิ
ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมมีสัมมาญาณะ
ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมมีสัมมาวิมุตติ๒
ปุพพังคมสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๑๑๙ (ปฐมปัจโจโรหณีสูตร)
๒ เป็น ๑๐ ประการ โดยนับจำนวนองค์ธรรมตามข้อ ๑๒๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. ปัจโจโรหณิวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑๐. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อสิ้นอาสวะ
[๑๒๒] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ
๙. สัมมาญาณะ ๑๐. สัมมาวิมุตติ

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
อาสวักขยสูตรที่ ๑๐ จบ
ปัจโจโรหณิวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอธัมมสูตร ๒. ทุติยอธัมมสูตร
๓. ตติยอธัมมสูตร ๔. อชิตสูตร
๕. สคารวสูตร ๖. โอริมตีรสูตร
๗. ปฐมปัจโจโรหณิสูตร ๘. ทุติยปัจโจโรหณิสูตร
๙. ปุพพังคมสูตร ๑๐. อาสวักขยสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. ปริสุทธวรรค ๑. ปฐมสูตร
๓. ปริสุทธวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่บริสุทธิ์
๑. ปฐมสูตร
สูตรที่ ๑ ว่าด้วยธรรมที่บริสุทธิ์
[๑๒๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็น
ธรรมที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เว้นวินัยของพระสุคต๑แล้วย่อมไม่มี
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
๙. สัมมาญาณะ (รู้ชอบ) ๑๐. สัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ)

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นธรรมที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เว้นวินัย
ของพระสุคตแล้วย่อมไม่มี
ปฐมสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ วินัยของพระสุคต หมายถึงธรรมที่พระสุคตแสดง ซึ่งมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง
และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ครบถ้วน คำว่า
สุคต เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า มีความหมายหลายนัยดังนี้คือ (๑) เสด็จไปงาม คือบริสุทธิ์ ได้แก่
ดำเนินไปด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ (๒) เสด็จไปยังสถานที่ดี คืออมตนิพพาน (๓) เสด็จไปโดยธรรม คือไม่กลับ
มาหากิเลสที่ทรงละได้แล้ว (๔) ทรงตรัสไว้โดยธรรม คือตรัสพระวาจาที่ควรในฐานะที่ควรเท่านั้น (วิ.อ.
๑/๑/๑๐๘ และดู องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๑๖๐/๑๖๗-๑๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. ปริสุทธวรรค ๓. ตติยสูตร
๒. ทุติยสูตร
สูตรที่ ๒ ว่าด้วยธรรมที่ให้เกิดธรรม
[๑๒๔] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ ที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น เว้น
วินัยของพระสุคตแล้วย่อมไม่เกิดขึ้น
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ๑ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น เว้นวินัยของ
พระสุคตแล้วย่อมไม่เกิดขึ้น
ทุติยสูตรที่ ๒ จบ
๓. ตติยสูตร
สูตรที่ ๓ ว่าด้วยธรรมมีผลมาก
[๑๒๕] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นธรรมมีผลมาก มีอานิสงส์
มาก เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมไม่มี
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นธรรมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมไม่มี
ตติยสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ “ฯลฯ” ที่ปรากฏในข้อ ๑๒๔ ถึงข้อ ๑๓๑ นี้ ดูความเต็มในข้อ ๑๒๓ (ปฐมสูตร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. ปริสุทธวรรค ๕. ปัญจมสูตร
๔. จตุตถสูตร
สูตรที่ ๔ ว่าด้วยธรรมที่กำจัดราคะ โทสะและโมหะ
[๑๒๖] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ
โทสะ และโมหะเป็นที่สุด เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมไม่มี
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และ
โมหะเป็นที่สุด เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมไม่มี
จตุตถสูตรที่ ๔ จบ
๕. ปัญจมสูตร
สูตรที่ ๕ ว่าด้วยธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย
[๑๒๗] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
อย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมเป็นไปไม่ได้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่าง
ที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมเป็นไปไม่ได้
ปัญจมสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. ปริสุทธวรรค ๗. สัตตมสูตร
๖. ฉัฏฐสูตร
สูตรที่ ๖ ว่าด้วยธรรมที่ให้เกิดธรรม
[๑๒๘] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ที่
ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมไม่เกิดขึ้น
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่
เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมไม่เกิดขึ้น
ฉัฏฐสูตรที่ ๖ จบ
๗. สัตตมสูตร
สูตรที่ ๗ ว่าด้วยธรรมมีผลมาก
[๑๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมไม่มี
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล
มาก มีอานิสงส์มาก เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมไม่มี
สัตตมสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. ปริสุทธวรรค ๙. นวมสูตร
๘. อัฏฐมสูตร
สูตรที่ ๘ ว่าด้วยธรรมที่กำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
[๑๓๐] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว เป็น
ธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมไม่มี
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว เป็นธรรม
มีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมไม่มี
อัฏฐมสูตรที่ ๘ จบ
๙. นวมสูตร
สูตรที่ ๙ ว่าด้วยธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย
[๑๓๑] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อ
รู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมเป็นไปไม่ได้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เว้นวินัยของพระสุคตแล้วย่อมเป็นไปไม่ได้
นวมสูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. ปริสุทธวรรค ๑๑. เอกาทสมสูตร
๑๐. ทสมสูตร
สูตรที่ ๑๐ ว่าด้วยมิจฉัตตธรรม
[๑๓๒] ภิกษุทั้งหลาย มิจฉัตตธรรม (ธรรมที่ผิด) ๑๐ ประการนี้
มิจฉัตตธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. มิจฉาทิฏฐิ ๒. มิจฉาสังกัปปะ
๓. มิจฉาวาจา ๔. มิจฉากัมมันตะ
๕. มิจฉาอาชีวะ ๖. มิจฉาวายามะ
๗. มิจฉาสติ ๘. มิจฉาสมาธิ
๙. มิจฉาญาณะ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ

ภิกษุทั้งหลาย มิจฉัตตธรรม ๑๐ ประการนี้แล
ทสมสูตรที่ ๑๐ จบ
๑๑. เอกาทสมสูตร
สูตรที่ ๑๑ ว่าด้วยสัมมัตตธรรม
[๑๓๓] ภิกษุทั้งหลาย สัมมัตตธรรม (ธรรมที่ถูก) ๑๐ ประการนี้
สัมมัตตธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. ปริสุทธวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ
๙. สัมมาญาณะ ๑๐. สัมมาวิมุตติ

ภิกษุทั้งหลาย สัมมัตตธรรม ๑๐ ประการนี้แล
เอกาทสมสูตรที่ ๑๑ จบ
ปริสุทธวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมสูตร ๒. ทุติยสูตร
๓. ตติยสูตร ๔. จตุตถสูตร
๕. ปัญจมสูตร ๖. ฉัฏฐสูตร
๗. สัตตมสูตร ๘. อัฏฐมสูตร
๙. นวมสูตร ๑๐. ทสมสูตร
๑๑. เอกาทสมสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สาธุวรรค ๑. สาธุสูตร
๔. สาธุวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่ดี และธรรมที่ไม่ดี
๑. สาธุสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ดี และธรรมที่ไม่ดี
[๑๓๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ดีและธรรม
ที่ไม่ดีแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูล
รับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่ไม่ดี อะไรบ้าง คือ

๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)
๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด)
๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด)
๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)
๙. มิจฉาญาณะ (รู้ผิด) ๑๐. มิจฉาวิมุตติ (หลุดพ้นผิด)

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ดี
ธรรมที่ดี อะไรบ้าง คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
๙. สัมมาญาณะ (รู้ชอบ) ๑๐. สัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ)

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ดี
สาธุสูตรที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สาธุวรรค ๓. อกุสลสูตร
๒. อริยธัมมสูตร
ว่าด้วยอริยธรรม และอนริยธรรม
[๑๓๕] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอริยธรรมและอนริยธรรมแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อนริยธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ๑ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อนริยธรรม
อริยธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อริยธรรม
อริยธัมมสูตรที่ ๒ จบ
๓. อกุสลสูตร
ว่าด้วยอกุศลธรรม และกุศลธรรม
[๑๓๖] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอกุศลธรรมและกุศลธรรมแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อกุศลธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อกุศลธรรม

เชิงอรรถ :
๑ “ฯลฯ” ที่ปรากฏในข้อ ๑๓๕ ถึงข้อ ๑๕๔ นี้ ดูความเต็มในข้อ ๑๓๔ (สาธุสูตร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สาธุวรรค ๕. ธัมมสูตร
กุศลธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า กุศลธรรม
อกุสลสูตรที่ ๓ จบ
๔. อัตถสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นประโยชน์ และที่ไม่เป็นประโยชน์
[๑๓๗] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นประโยชน์และธรรมที่ไม่เป็น
ประโยชน์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่ไม่เป็นประโยชน์ อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่เป็นประโยชน์
ธรรมที่เป็นประโยชน์ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นประโยชน์
อัตถสูตรที่ ๔ จบ
๕. ธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรม และอธรรม
[๑๓๘] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมและอธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สาธุวรรค ๗. สาวัชชสูตร
อธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธรรม
ธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรม
ธัมมสูตรที่ ๕ จบ
๖. สาสวสูตร
ว่าด้วยธรรมที่มีอาสวะ และที่ไม่มีอาสวะ
[๑๓๙] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่มีอาสวะและธรรมที่ไม่มีอาสวะแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่มีอาสวะ อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่มีอาสวะ
ธรรมที่ไม่มีอาสวะ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่มีอาสวะ
สาสวสูตรที่ ๖ จบ
๗. สาวัชชสูตร
ว่าด้วยธรรมที่มีโทษ และที่ไม่มีโทษ
[๑๔๐] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่มีโทษและธรรมที่ไม่มีโทษแก่เธอทั้ง
หลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระ
ดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สาธุวรรค ๙. อาจยคามิสูตร
ธรรมที่มีโทษ อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่มีโทษ
ธรรมที่ไม่มีโทษ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่มีโทษ
สาวัชชสูตรที่ ๗ จบ
๘. ตปนียสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุ และไม่เป็นเหตุให้เดือดร้อน
[๑๔๑] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นเหตุให้เดือดร้อนและธรรมที่ไม่
เป็นเหตุให้เดือดร้อนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่เป็นเหตุให้เดือดร้อน อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้เดือดร้อน
ธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เดือดร้อน อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เดือดร้อน
ตปนียสูตรที่ ๘ จบ
๙. อาจยคามิสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติ ปฏิสนธิ และนิพพาน
[๑๔๒] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติและปฏิสนธิ และ
ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานแก่เธอทั้หลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก
กล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สาธุวรรค ๑๑. ทุกขวิปากสูตร
ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติและปฏิสนธิ อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติและปฏิสนธิ
ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน
อาจยคามิสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ทุกขุทรยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่มีทุกข์ และที่มีสุขเป็นกำไร
[๑๔๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร และธรรมที่มีสุข
เป็นกำไรแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร
ธรรมที่มีสุขเป็นกำไร อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่มีสุขเป็นกำไร
ทุกขุทรยสูตรที่ ๑๐ จบ
๑๑. ทุกขวิปากสูตร
ว่าด้วยธรรมที่มีทุกข์ และที่มีสุขเป็นวิบาก
[๑๔๔] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่มีทุกข์เป็นวิบาก และธรรมที่มีสุข
เป็นวิบากแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่า
นั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สาธุวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ธรรมที่มีทุกข์เป็นวิบาก อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่มีทุกข์เป็นวิบาก
ธรรมที่มีสุขเป็นวิบาก อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่มีสุขเป็นวิบาก
ทุกขวิปากสูตรที่ ๑๑ จบ
สาธุวรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สาธุสูตร ๒. อริยธัมมสูตร
๓. อกุสลสูตร ๔. อัตถสูตร
๕. ธัมมสูตร ๖. สาสวสูตร
๗. สาวัชชสูตร ๘. ตปนียสูตร
๙. อาจยคามิสูตร ๑๐. ทุกขุทรยสูตร
๑๑. ทุกขวิปากสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. อริยมัคควรรค ๒. กัณหมัคคสูตร
๕. อริยมัคควรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่เป็นอริยมรรค
๑. อริยมัคคสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นอริยมรรค และที่ไม่ใช่อริยมรรค
[๑๔๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็น
อริยมรรคและธรรมที่ไม่ใช่อริยมรรคแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่อง
นี้ว่า
ธรรมที่ไม่ใช่อริยมรรค อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด)ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ (หลุดพ้นผิด)
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ใช่อริยมรรค
ธรรมที่เป็นอริยมรรค อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ)
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นอริยมรรค
อริยมัคคสูตรที่ ๑ จบ
๒. กัณหมัคคสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นฝ่ายดำ และที่เป็นฝ่ายขาว
[๑๔๖] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นฝ่ายดำและธรรมที่เป็นฝ่ายขาว
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่เป็นฝ่ายดำ อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นฝ่ายดำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. อริยมัคควรรค ๔. สัปปุริสธัมมสูตร
ธรรมที่เป็นฝ่ายขาว อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นฝ่ายขาว
กัณหมัคคสูตรที่ ๒ จบ
๓. สัทธัมมสูตร
ว่าด้วยสัทธรรม และอสัทธรรม
[๑๔๗] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัทธรรมและอสัทธรรมแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อสัทธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อสัทธรรม
สัทธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัทธรรม
สัทธัมมสูตรที่ ๓ จบ
๔. สัปปุริสธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมของสัตบุรุษ และธรรมของอสัตบุรุษ
[๑๔๘] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. อริยมัคควรรค ๕. อุปปาเทตัพพสูตร
ธรรมของอสัตบุรุษ อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมของอสัตบุรุษ
ธรรมของสัตบุรุษ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมของสัตบุรุษ
สัปปุริสธัมมสูตรที่ ๔ จบ
๕. อุปปาเทตัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรให้เกิดขึ้น และที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น
[๑๔๙] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรให้เกิดขึ้นและธรรมที่ไม่ควรให้
เกิดขึ้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรมที่ควรให้เกิดขึ้น อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรให้เกิดขึ้น
อุปปาเทตัพพสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. อริยมัคควรรค ๗. ภาเวตัพพสูตร
๖. อาเสวิตัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรเสพ๑และที่ไม่ควรเสพ
[๑๕๐] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรเสพและธรรมที่ไม่ควรเสพแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่ไม่ควรเสพ อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรเสพ
ธรรมที่ควรเสพ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรเสพ
อาเสวิตัพพสูตรที่ ๖ จบ
๗. ภาเวตัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรเจริญ และที่ไม่ควรเจริญ
[๑๕๑] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรเจริญและธรรมที่ไม่ควรเจริญ
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่ไม่ควรเจริญ อะไรบ้าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ เสพ ในที่นี้หมายถึงการนึกหน่วง รู้ เห็น พิจารณา อธิษฐานจิต น้อมใจเชื่อ ประคองความเพียร ตั้งสติไว้
ตั้งจิตไว้ กำหนดรู้ด้วยปัญญา รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญ
ธรรมที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๓/๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. อริยมัคควรรค ๘. พหุลีกาตัพพสูตร
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรเจริญ
ธรรมที่ควรเจริญ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรเจริญ
ภาเวตัพพสูตรที่ ๗ จบ
๘. พหุลีกาตัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรทำให้มาก และที่ไม่ควรทำให้มาก
[๑๕๒] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรทำให้มากและธรรมที่ไม่ควร
ทำให้มากแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่ไม่ควรทำให้มาก อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรทำให้มาก
ธรรมที่ควรทำให้มาก อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรทำให้มาก
พหุลีกาตัพพสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. อริยมัคควรรค ๑๐. สัจฉิกาตัพพสูตร
๙. อนุสสริตัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรระลึก และที่ไม่ควรระลึก
[๑๕๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรระลึกและธรรมที่ไม่ควรระลึก
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่ไม่ควรระลึก อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรระลึก
ธรรมที่ควรระลึก อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรระลึก
อนุสสริตัพพสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. สัจฉิกาตัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรทำให้แจ้ง และที่ไม่ควรทำให้แจ้ง
[๑๕๔] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรทำให้แจ้งและธรรมที่ไม่ควร
ทำให้แจ้งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่า
นั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้ง อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. อริยมัคควรรค ๑๐. สัจฉิกาตัพพสูตร
ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๑๐. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
สัจฉิกาตัพพสูตรที่ ๑๐ จบ
อริยมัคควรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อริยมัคคสูตร ๒. กัณหมัคคสูตร
๓. สัทธัมมสูตร ๔. สัปปุริสธัมมสูตร
๕. อุปปาเทตัพพสูตร ๖. อาเสวิตัพพสูตร
๗. ภาเวตัพพสูตร ๘. พหุลีกาตัพพสูตร
๙. อนุสสริตัพพสูตร ๑๐. สัจฉิกาตัพพสูตร

ตติยปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. ปุคคลวรรค ๑. เสวิตัพพสูตร
๔. จตุตถปัณณาสก์
๑.ปุคคลวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคล
๑. เสวิตัพพสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ควรเสพ๑
[๑๕๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐
ประการ เป็นผู้ไม่ควรเสพ
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)
๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด)
๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด)
๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)
๙. มิจฉาญาณะ (รู้ผิด) ๑๐. มิจฉาวิมุตติ (หลุดพ้นผิด)

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐. ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเสพ
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรเสพ
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)


เชิงอรรถ :
๑ เสพ ในที่นี้หมายถึงเข้าไปหา (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๖/๑๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. ปุคคลวรรค ๒-๑๒. ภชิตัพพาทิสูตร

๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
๙. สัมมาญาณะ (รู้ชอบ) ๑๐. สัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ)

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเสพ
เสวิตัพพสูตรที่ ๑ จบ
๒-๑๒. ภชิตัพพาทิสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ควรคบ๑เป็นต้น
[๑๕๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรคบ ...
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรคบ ...
[๑๕๗] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้๒ ...
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรเข้าไปนั่งใกล้ ...
[๑๕๘] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรบูชา ... บุคคล
ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรบูชา ...
[๑๕๙] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรสรรเสริญ ...
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรสรรเสริญ ...
[๑๖๐] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเคารพ ... บุคคล
ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรเคารพ ...
[๑๖๑] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรยำเกรง ... บุคคล
ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรยำเกรง ...
[๑๖๒] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรให้ยินดี ... บุคคล
ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรให้ยินดี ...
[๑๖๓] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมไม่บริสุทธิ์ ... บุคคล
ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมบริสุทธิ์ ...

เชิงอรรถ :
๑ คบ ในที่นี้หมายถึงให้ความสนิทสนม (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๖/๑๐๔)
๒ เข้าไปนั่งใกล้ หมายถึงเข้าไปนั่งใกล้แล้วสักการะ เคารพอยู่เสมอ ๆ (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๖/๑๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๙๙ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น