Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๕-๘ หน้า ๔๕๘ - ๕๒๒

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕-๘ สุตตันตปิฎกที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน



พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต] ๔. จตุตถวรรค ๑๐. เทวทัตตสูตร
ส่วนผู้ใดละโมหะได้
ไม่ลุ่มหลงในอารมณ์ที่เป็นเหตุแห่งความหลง
ผู้นั้นย่อมกำจัดโมหะทั้งหมดได้เด็ดขาด
เหมือนดวงอาทิตย์กำจัดความมืด ฉะนั้น๑
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
อันตรามลสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. เทวทัตตสูตร
ว่าด้วยพระเทวทัตถูกอสัทธรรมครอบงำ
[๘๙] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัตถูกอสัทธรรม ๓ ประการครอบงำย่ำยีจิต ต้องไป
เกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อสัทธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เทวทัตถูกความปรารถนาชั่วครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
๒. เทวทัตถูกความมีมิตรชั่วครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไป
เกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
๓. เมื่อยังมีมรรคผลที่ควรทำให้สูงขึ้นไป เทวทัตกลับมาถึงความเสื่อม
เสียกลางคัน เพราะบรรลุคุณวิเศษขั้นต่ำ
ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตถูกอสัทธรรม ๓ ประการนี้แล ครอบงำย่ำยีจิต ต้อง
ไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕/๒๐, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๒๘/๔๒๗-๔๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต] ๔. จตุตถวรรค ๑๐. เทวทัตตสูตร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ใคร ๆ อย่าได้เกิดเป็นคนปรารถนาชั่ว
ไม่ว่าในกาลไหน ๆ ในโลก
เธอทั้งหลายจงรู้จักเทวทัตว่า
มีคติเหมือนกับคนปรารถนาชั่ว
เทวทัตเป็นที่ยกย่องกันว่า เป็นบัณฑิต
เป็นที่รู้กันว่า ได้อบรมตนแล้ว
เราได้ฟังมาว่า เทวทัตดุจรุ่งเรืองอยู่ด้วยยศ
เทวทัตนั้นสั่งสมความประมาท
เบียดเบียนตถาคตนั้น
จึงต้องไปเกิดในนรกอเวจี มีประตู ๔ ด้าน
น่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก
ผู้ใดประทุษร้ายต่อคนที่ไม่ประทุษร้าย
ผู้ไม่ทำกรรมชั่ว
บาปย่อมถูกต้องเฉพาะผู้นั้นเท่านั้น
ผู้มีจิตคิดประทุษร้าย ไม่มีความเอื้อเฟื้อ
ผู้ใดเบียดเบียนตถาคต ผู้เสด็จไปดี
มีพระทัยสงบ ด้วยการกล่าวตำหนิ
การตำหนิพระองค์ ย่อมฟังไม่ขึ้น
เปรียบเหมือนผู้ที่ตั้งใจประทุษร้ายมหาสมุทร
ด้วยยาพิษจำนวนเป็นหม้อ
เขาไม่อาจประทุษร้ายได้ เพราะมหาสมุทรน่ากลัว๑

เชิงอรรถ :
๑ น่ากลัว หมายถึงทั้งกว้างและลึก (ขุ.อิติ.อ. ๘๙/๓๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต] ๔. จตุตถวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุผู้ดำเนินตามมรรคาของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวก
พึงถึงความสิ้นทุกข์ได้
บัณฑิตทำพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกให้เป็นกัลยาณมิตร
และคบหาท่านเหล่านั้น๑
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
เทวทัตตสูตรที่ ๑๐ จบ
จตุตถวรรค จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วิตักกสูตร ๒. สักการสูตร
๓. เทวสัททสูตร ๔. ปัญจปุพพนิมิตตสูตร
๕. พหุชนหิตสูตร ๖. อสุภานุปัสสีสูตร
๗. ธัมมานุธัมมปฏิปันนสูตร ๘. อันธกรณสูตร
๙. อันตรามลสูตร ๑๐. เทวทัตตสูตร


เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.จู. (แปล) ๗/๓๕๐/๒๑๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๑. อัคคัปปสาทสูตร
๕. ปัญจมวรรค
หมวดที่ ๕
๑. อัคคัปปสาทสูตร๑
ว่าด้วยความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
[๙๐] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ๓ ประการนี้
ความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ๓ ประการ คือ
๑. สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า และมีเท้ามากก็ตาม
มีรูป หรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่
ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่าสัตว์มีประมาณเท่านั้น บุคคล
ผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศ
ย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
๒. ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งหรือธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งมีประมาณเท่าใด
วิราคะ(ความคลายกำหนัด) คือความสร่างความเมา ความดับความ
กระหาย ความถอนอาลัย ความตัดวัฏฏะ ความสิ้นตัณหา ความ
คลายกำหนัด ความดับทุกข์ นิพพาน บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่า
ธรรมเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใสในวิราคธรรม ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่ง
ที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๓๔/๕๓-๕๕, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๓๒/๔๙-๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๑. อัคคัปปสาทสูตร
[ธรรมทั้งหลายที่ปัจจัยปรุงแต่งมีประมาณเท่าใด อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

เรากล่าวว่า เลิศกว่าธรรมเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใสในอริยมรรคมีองค์ ๘ ชื่อว่า
เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เสื่อมใสในสิ่งที่เลิศ] ๑
๓. หมู่ก็ดี คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด พระสงฆ์สาวกของตถาคต ได้แก่
อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล๒ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้
เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่
ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใส
ในสงฆ์ ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้
เสื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ๓ ประการนี้แล”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
บุญที่เลิศ คือ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สุข และพละ
ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้เลื่อมใส
ผู้รู้ธรรมที่เลิศโดยความเป็นธรรมที่เลิศ

เชิงอรรถ :
๑ ข้อความนี้ ดู ขุ.อิติ.อ. ๙๐/๓๒๕ ประกอบ
๒ ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๐๗/๒๒๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๒. ชีวกสูตร
ผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลชั้นเยี่ยม
ผู้เลื่อมใสในพระธรรมที่เลิศ อันเป็นที่คลายความกำหนัด
และเป็นที่สงบระงับ นำสุขมาให้
ผู้เลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศ ซึ่งเป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ให้ทานแก่ท่านผู้เลิศ
นักปราชญ์ตั้งมั่นในธรรมที่เลิศ ให้ทานแก่ท่านผู้เลิศ
เกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ย่อมถึงความเป็นผู้เลิศ บันเทิงอยู่
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
อัคคัปปสาทสูตรที่ ๑ จบ
๒. ชีวกสูตร
ว่าด้วยชีวิตของผู้ทุศีล
[๙๑] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย การที่ภิกษุทุศีลเที่ยวบิณฑบาตเลี้ยงชีพนี้ เป็นการกระทำ
ที่ต่ำทราม การที่ภิกษุทุศีลประพฤติเช่นนี้ย่อมถูกชาวโลกด่าว่า “เจ้าคนนี้อุ้มบาตร
เที่ยวขอชาวโลกเลี้ยงชีพ”
กุลบุตรต่างเป็นผู้ตระหนักในเหตุ อาศัยความตระหนักในเหตุ จึงเข้ามาใช้ชีวิต
เที่ยวขอก้อนข้าวนี้ มิใช่ถูกพระราชารับสั่งให้นำไปจองจำ มิใช่ถูกพวกโจรนำไปกักขัง
มิใช่เป็นลูกหนี้ มิใช่ตกอยู่ในห้วงอันตราย มิใช่มุ่งจะยึดเป็นอาชีพ แท้จริง กุลบุตร
เหล่านั้นเข้ามาบวชด้วยเหตุผลว่า “พวกเราต่างถูกความเกิด ความแก่ ความตาย
ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความเสียใจ ความตรอมใจ ทับถมครอบงำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๒. ชีวกสูตร
จมอยู่ในทุกข์ สาละวนอยู่กับทุกข์ ทำอย่างไรเล่า การทำที่สุดกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
จะพึงปรากฏได้”
กุลบุตรนี้เป็นผู้บวชแล้วด้วยเหตุผลตามที่กล่าวแล้วนี้ แต่แล้วกุลบุตรนั้นกลับ
มีความละโมบ กำหนัดยินดีอย่างแรงกล้าในกาม มีจิตพยาบาท คิดประทุษร้าย
หลงลืมสติ ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น กระสับกระส่าย ไม่สำรวมอินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย ท่อนฟืนในที่เผาศพ ถูกไฟไหม้ทั้งด้านหัวและท้าย และตรง
กลางยังเปื้อนคูถ จะใช้เป็นฟืนในบ้านหรือในป่าก็ไม่ได้ทั้งนั้น ฉันใด บุคคลผู้นี้ก็
เปรียบเช่นนั้น เราเรียกว่า “เป็นคนเสื่อมจากโภคะของคฤหัสถ์ และไม่สามารถ
บำเพ็ญประโยชน์สำหรับความเป็นสมณะให้บริบูรณ์ได้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
คนผู้มีส่วนชั่ว เสื่อมจากโภคะของคฤหัสถ์
ทั้งยังทำลายประโยชน์ของความเป็นสมณะให้เสื่อมสูญสิ้นไป
เหมือนท่อนฟืนในที่เผาศพมอดไหม้ไป ฉะนั้น
ภิกษุชั่วจำนวนมากมีผ้ากาสาวะพันที่คอ
มีธรรมเลวทราม ไม่สำรวม
ย่อมตกนรกเพราะบาปกรรมทั้งหลาย
การกลืนกินก้อนเหล็กแดงที่ร้อนดุจเปลวเพลิง
ยังดีกว่าการที่ภิกษุผู้ทุศีล ไม่สำรวม
บริโภคอาหารที่ชาวบ้านเขาถวาย๑
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
ชีวกสูตรที่ ๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูธรรมบท ข้อ ๓๐๗-๓๐๘ หน้า ๑๒๙, อิติวุตตกะ ข้อ ๔๘ หน้า ๓๙๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๓. สังฆาฏิกัณณสูตร
๓. สังฆาฏิกัณณสูตร
ว่าด้วยผู้เกาะชายผ้าสังฆาฏิ
[๙๒] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย แม้ถ้าภิกษุจับชายผ้าสังฆาฏิแล้วเดินตามรอยเท้าเรา ติดตาม
ไปข้างหลัง แต่ภิกษุนั้นมีความละโมบ กำหนัดยินดีอย่างแรงกล้าในกาม มีจิต
พยาบาท คิดประทุษร้าย หลงลืมสติ ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น กระสับกระส่าย
ไม่สำรวมอินทรีย์ แท้จริงแล้ว ภิกษุนั้นก็ยังชื่อว่าอยู่ห่างไกลเรา เราก็ห่างไกล
ภิกษุนั้น นั่นเป็นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นยังไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรม
ชื่อว่าไม่เห็นเรา
ภิกษุทั้งหลาย แม้ถ้าภิกษุอยู่ไกลเราถึง ๑๐๐ โยชน์ แต่ภิกษุนั้นไม่มีความ
ละโมบ ไม่กำหนัดยินดีอย่างแรงกล้าในกาม มีจิตไม่พยาบาท ไม่คิดประทุษร้าย
มีสติตั้งมั่น มีความรู้สึกตัว มีจิตตั้งมั่น แน่วแน่ สำรวมอินทรีย์ แท้จริงแล้ว
ภิกษุนั้นก็ชื่อว่าอยู่ใกล้เรา เราก็อยู่ใกล้ภิกษุนั้น นั่นเป็นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุ
นั้นเห็นธรรม เมื่อเห็นธรรม ชื่อว่าเห็นเรา”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
บุคคลผู้มักมาก มีความคับแค้น
ตกอยู่ในอำนาจตัณหา ยังดับความเร่าร้อนไม่ได้
ถึงจะติดตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้หมดตัณหาที่ทำให้หวั่นไหว ผู้ทรงดับความเร่าร้อนได้
ผู้นั้นชื่อว่ามีความกำหนัดยินดี
เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ปราศจากความกำหนัดยินดี
เป็นผู้อยู่ห่างไกล๑

เชิงอรรถ :
๑ เป็นผู้อยู่ห่างไกล หมายถึงอยู่ห่างไกลจากสภาวธรรม (ขุ.อิติ.อ. ๙๒/๓๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๔. อัคคิสูตร
ส่วนบุคคลผู้เป็นบัณฑิต
พิจารณารู้ธรรม๑ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว
ต่อมาจึงกำหนดรู้ธรรมนั้น
เป็นผู้หมดกิเลสที่ทำให้หวั่นไหว สงบระงับกิเลสได้เด็ดขาด
ดุจห้วงน้ำสงบเรียบยามสงัดลม ฉะนั้น
ผู้นั้นไม่หวั่นไหว ดับความเร่าร้อนได้แล้ว
ชื่อว่าหมดความกำหนัดยินดี
เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่ทรงมีความหวั่นไหว
ทรงดับความเร่าร้อนได้
ทรงปราศจากความกำหนัดยินดี เป็นผู้อยู่ใกล้ทีเดียว
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
สังฆาฏิกัณณสูตรที่ ๓ จบ
๔. อัคคิสูตร
ว่าด้วยไฟกิเลส
[๙๓] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย ไฟ ๓ กองนี้
ไฟ ๓ กอง คือ
๑. ไฟคือราคะ ๒. ไฟคือโทสะ ๓. ไฟคือโมหะ
ภิกษุทั้งหลาย ไฟ ๓ กองนี้แล”

เชิงอรรถ :
๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงอริยสัจ ๔ ประการ (ขุ.อิติ.อ. ๙๒/๓๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๔. อัคคิสูตร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ไฟคือราคะ ย่อมเผาผลาญนรชนผู้กำหนัด
หมกมุ่นอยู่ในกามทั้งหลาย
ไฟคือโทสะ ย่อมเผาผลาญนรชนผู้มีจิตพยาบาท ชอบฆ่าสัตว์
ไฟคือโมหะ ย่อมเผาผลาญนรชนผู้ลุ่มหลง
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
หมู่สัตว์ เมื่อไม่รู้จักไฟทั้ง ๓ กองนี้
จึงยินดียิ่งในสักกายะ๑
ไม่พ้นจากบ่วงแห่งมาร สั่งสมเพื่อเกิดในนรก
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อสุรกาย และแดนเปรต
ส่วนชนทั้งหลายผู้หมั่นอบรมตนในศาสนธรรม
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งกลางวันและกลางคืน
หมั่นเจริญอสุภสัญญาเป็นนิตย์
ย่อมทำไฟคือราคะให้ดับลงได้
ชนทั้งหลายที่มีคุณธรรมสูง
ย่อมดับไฟคือโทสะลงได้ด้วยเมตตา
และย่อมดับไฟคือโมหะด้วยปัญญา
อันเป็นเครื่องทำลายกิเลสได้เด็ดขาด
ชนผู้มีปัญญารักษาตนเหล่านั้น
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ดับไฟทั้ง ๓ กองนั้นได้แล้ว
ชื่อว่าดับกิเลสได้สิ้นเชิง ล่วงพ้นทุกข์ได้ทั้งสิ้น

เชิงอรรถ :
๑ ยินดียิ่งในสักกายะ หมายถึงเพลิดเพลินยินดีในอุปาทานขันธ์ ๕ ด้วยอำนาจตัณหา ทิฏฐิ และมานะ (ขุ.อิติ.อ.
๙๓/๓๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๕. อุปปริกขสูตร
บัณฑิตทั้งหลายผู้เห็นแจ้งอริยสัจ
จบเวท รู้สิ่งทั้งปวงโดยชอบ
ย่อมไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก
เพราะรู้ยิ่งถึงภาวะที่สิ้นสุดการเกิด
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
อัคคิสูตรที่ ๔ จบ
๕. อุปปริกขสูตร
ว่าด้วยการพิจารณาโดยวิธีที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน
[๙๔] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรพิจารณาโดยประการที่วิญญาณ(จิต)ของตนไม่ฟุ้งซ่าน
ไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก ไม่ติดอยู่ภายใน จึงไม่หวาดสะดุ้งเพราะไม่ยึดติดใน
อารมณ์ต่าง ๆ
ภิกษุทั้งหลาย ครั้นวิญญาณไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก ไม่ติด
อยู่ภายใน เมื่อภิกษุไม่หวาดสะดุ้ง เพราะไม่ยึดมั่นอารมณ์ต่าง ๆ เหตุแห่งทุกข์คือชาติ
และความเกิดทุกข์คือชราและมรณะ ก็จะเกิดมีไม่ได้อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ภิกษุละกิเลสเครื่องข้อง ๗ ประการ๑ ได้
ตัดตัณหาที่นำไปสู่ภพได้เด็ดขาด
มีสงสารคือชาติหมดสิ้นแล้ว
ย่อมไม่มีภพใหม่
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
อุปปริกขสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ กิเลสเครื่องข้อง ๗ ประการ คือ (๑) ตัณหา (๒) ทิฏฐิ (๓) มานะ (๔) โกธะ (๕) อวิชชา (๖) กิเลส
(๗) ทุจริต (ขุ.อิติ.อ. ๙๔/๓๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๖. กามูปปัตติสูตร
๖. กามูปปัตติสูตร
ว่าด้วยผู้ยังเสพกามไม่สามารถล่วงสังสารทุกข์ได้
[๙๕] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย การเสพกาม ๓ ประการนี้
การเสพกาม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การเสพกามของสัตว์ผู้มีความใคร่ปรากฏอยู่เป็นนิตย์๑
๒. การเสพกามของเทวดาผู้ยินดีในกามสมบัติที่ตนเนรมิต๒
๓. การเสพกามของเทวดาผู้ยินดีในกามสมบัติที่เทวดาอื่นเนรมิตให้๓
ภิกษุทั้งหลาย การเสพกาม ๓ ประการนี้แล”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
สัตว์ผู้มีความใคร่ปรากฏอยู่เป็นนิตย์
เทวดาผู้ยินดีในกามสมบัติที่ตนเนรมิต
เทวดาผู้ยินดีในกามสมบัติที่เทวดาอื่นเนรมิตให้
และสัตว์เหล่าอื่นที่เสพกามอยู่เป็นนิตย์
ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสารวัฏที่มีสภาวะอย่างนี้และสภาวะอย่างอื่น
บัณฑิตรู้โทษในการเสพกามทั้งหลายนี้แล้ว
ควรละเว้นกามทั้งที่เป็นของทิพย์และของมนุษย์ทั้งหมด

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงมนุษย์ และเทวดาตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา จนถึงชั้นดุสิต (ขุ.อิติ.อ. ๙๕/๓๔๐)
๒ หมายถึงเทวดาชั้นนิมมานรดี (ขุ.อิติ.อ. ๙๕/๓๔๐)
๓ หมายถึงเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี (ขุ.อิติ.อ. ๙๕/๓๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๗. กามโยคสูตร
บัณฑิตทั้งหลาย ตัดกระแสตัณหาที่กำหนัดยินดี
ในปิยรูปสาตรูป๑ที่คนทั่วไปล่วงพ้นได้ยากขาดสิ้นแล้ว
ชื่อว่าดับกิเลสได้สิ้นเชิง ล่วงพ้นทุกข์ได้ทั้งสิ้น
บัณฑิตทั้งหลายผู้เห็นแจ้งอริยสัจ
จบเวท รู้สิ่งทั้งปวงโดยชอบ
ย่อมไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก
เพราะรู้ยิ่งถึงภาวะสิ้นสุดการเกิด
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
กามูปปัตติสูตรที่ ๖ จบ
๗. กามโยคสูตร
ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยกามไปสู่วัฏฏสงสาร
[๙๖] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบตนด้วยกามโยคะ๒ ประกอบตนด้วยภวโยคะ๓
ชื่อว่าเป็นอาคามี๔ คือยังต้องกลับมาเกิดในกามภูมิอีก
บุคคลผู้พรากตนออกจากกามโยคะ แต่ยังประกอบตนด้วยภวโยคะ ชื่อว่าเป็น
อนาคามี๕คือเป็นผู้ไม่ต้องกลับมาเกิดในกามภูมิอีก

เชิงอรรถ :
๑ ปิยรูปสาตรูป หมายถึงรูปเป็นต้นที่น่ารักและน่าพอใจด้วยอำนาจสุขเวทนา (ขุ.อิติ.อ.๙๕/๓๔๑)
๒ กามโยคะ หมายถึงราคะที่ประกอบด้วยกามคุณ ๕ (กามราคะ) (ขุ.อิติ.อ.๙๖/๓๔๒)
๓ ภวโยคะ หมายถึงความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปภพและอรูปภพ อีกอย่างหนึ่ง หมายถึงราคะ
ที่ประกอบด้วยสัสสตทิฏฐิ (ขุ.อิติ.อ.๙๖/๓๔๒)
๔ อาคามี หมายถึงผู้อยู่ในพรหมโลก สามารถมาเกิดยังมนุษยโลกได้ (ขุ.อิติ.อ.๙๖/๓๔๒)
๕ อนาคามี หมายถึงผู้ไม่กลับมาเกิดในกามโลกอีก (ขุ.อิติ.อ.๙๖/๓๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๘. กัลยาณสีลสูตร
บุคคลผู้พรากตนออกจากกามโยคะและภวโยคะได้ขาดแล้ว ชื่อว่าเป็นอรหันต์
คือเป็นผู้สิ้นอาสวกิเลสแล้ว”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบตน
ด้วยกามโยคะและภวโยคะทั้งสอง
ชื่อว่ายังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ
ส่วนผู้ที่ละกามทั้งหลายได้เด็ดขาด
แต่ยังไม่ถึงความสิ้นอาสวะ
ยังประกอบตนด้วยภวโยคะ
บัณฑิตทั้งหลาย เรียกว่า เป็นอนาคามี
แต่ผู้ที่ตัดความสงสัยได้
สิ้นทั้งมานะและภพที่จะเกิดใหม่
ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว
เป็นผู้ชื่อว่า ถึงฝั่งแล้วในโลก
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
กามโยคสูตรที่ ๗ จบ
๘. กัลยาณสีลสูตร
ว่าด้วยผู้มีศีลงาม ธรรมงาม และปัญญางาม
[๙๗] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม และมีปัญญางาม เราจึงเรียกว่า
‘เป็นพระอรหันต์แท้จริง อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นบุรุษผู้สูงสุด’ ในธรรมวินัยนี้
ผู้มีศีลงาม เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบท
ทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีศีลงามอย่างนี้แล เป็นผู้มีศีลงาม ด้วยอาการดังกล่าวนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๘. กัลยาณสีลสูตร
ผู้มีธรรมงาม เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้หมั่นประกอบความเพียรติดต่อกันด้วยการเจริญโพธิ-
ปักขิยธรรม ๓๗ ประการอยู่เสมอ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีธรรมงามอย่างนี้แล เป็นผู้
มีศีลงาม มีธรรมงาม ด้วยอาการดังกล่าวนี้
ผู้มีปัญญางาม เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญางาม
อย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม และมีปัญญางาม ด้วยอาการดังกล่าวนี้ เราจึง
เรียกว่า ‘เป็นพระอรหันต์แท้จริง อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นบุรุษผู้สูงสุด’ ในธรรมวินัยนี้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์
ตรัสเรียกภิกษุผู้ไม่มีความชั่วทางกาย วาจา ใจ
มีหิริครองใจนั้นว่า เป็นผู้มีศีลงาม
ตรัสเรียกภิกษุผู้บำเพ็ญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
มาแล้วเป็นอย่างดี
ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องฟูใจนั้นว่า เป็นผู้มีธรรมงาม
ตรัสเรียกภิกษุผู้รู้แจ้งความสิ้นทุกข์ของตนในอัตภาพนี้เท่านั้น
ผู้หาอาสวะมิได้นั้นว่า เป็นผู้มีปัญญางาม
ตรัสเรียกภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยธรรมมีศีลเป็นต้นนั้น
ผู้ไม่มีทุกข์ ตัดความสงสัยได้แล้ว
ไม่อาศัยโลกทั้งปวง ละกิเลสทุกอย่างในโลกได้หมดสิ้น
(ว่าเป็นผู้มีปัญญางาม)
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
กัลยาณสีลสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๙. ทานสูตร
๙. ทานสูตร
ว่าด้วยการให้ทาน
[๙๘] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่าง คือ อามิสทาน(การให้สิ่งของ)และธรรม-
ทาน(การให้ธรรม) บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ
การจำแนก ๒ อย่าง คือ การจำแนกด้วยอามิส และการจำแนกด้วยธรรม
บรรดาการจำแนก ๒ อย่างนี้ การจำแนกด้วยธรรมเป็นเลิศ
การอนุเคราะห์ ๒ อย่าง คือ การอนุเคราะห์ด้วยอามิส และการอนุเคราะห์
ด้วยธรรม บรรดาการอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
วิญญูชนผู้มีจิตเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และพระอริยสงฆ์ผู้ประเสริฐ เป็นนาบุญอันเลิศของโลก
เมื่อทราบชัดทานและการจำแนก
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสสรรเสริญว่า ยอดเยี่ยมอย่างยิ่ง
ใครเล่าจะไม่ถวายทานในกาลอันสมควร
ประโยชน์อย่างยอดเยี่ยมนั้นย่อมสำเร็จแก่คน ๒ ฝ่าย คือ
ฝ่ายแสดงธรรมและฝ่ายฟังธรรม
ผู้มีจิตเลื่อมใสในคำสอนของพระสุคต
และผู้ไม่ประมาทในคำสอนของพระสุคต
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
ทานสูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๑๐. เตวิชชสูตร
๑๐. เตวิชชสูตร๑
ว่าด้วยวิชชา ๓
[๙๙] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เราบัญญัติเรียกผู้บรรลุวิชชา ๓ ว่าเป็นพราหมณ์ โดยธรรม
เราหาบัญญัติเรียกบุคคลอื่นว่า เป็นพราหมณ์ โดยเหตุเพียงการกล่าวอ้างตามที่ผู้
อื่นเรียกกันไม่
ก็เราบัญญัติเรียกผู้บรรลุวิชชา ๓ ว่าเป็นพราหมณ์ โดยธรรม เราหาบัญญัติ
เรียกบุคคลอื่นว่า เป็นพราหมณ์ โดยเหตุเพียงการกล่าวอ้างตามที่ผู้อื่นเรียกกันไม่
มีอธิบายอย่างไร คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง
๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง
๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอัน
มากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัป๒เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏะและวิวัฏฏกัป
เป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ
มีอาหาร เสวยสุขทุกข์และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิด
ในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ
มีอาหาร เสวยสุขทุกข์และอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิด
ในภพนี้’ ภิกษุนั้นระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป
และชีวประวัติอย่างนี้ เธอชื่อว่าได้บรรลุวิชชาที่ ๑ นี้แล้ว ความ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๕๙/๒๒๕-๒๒๙
๒ สังวัฏฏกัป คือกัปฝ่ายเสื่อม ได้แก่ ช่วงระยะเวลาที่โลกกำลังพินาศ วิวัฏฏกัป คือกัปฝ่ายเจริญ ได้แก่
ช่วงระยะเวลาเวลาที่โลกกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ (ตามนัย วิ.อ. ๑/๑๒/๑๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๑๐. เตวิชชสูตร
มืดมิดคืออวิชชา เธอกำจัดได้แล้ว แสงสว่าง๑คือวิชชาได้เกิดขึ้น
แก่เธอ เปรียบเหมือนแสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความ
เพียรอุทิศกายและใจ
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและ
ชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบ
กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความ
เห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบ
กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความ
เห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ หลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เธอเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ
กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี
ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม
อย่างนี้ เธอชื่อว่าได้บรรลุวิชชาที่ ๒ นี้แล้ว๒ ความมืดมิดคืออวิชชา
เธอกำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชาได้เกิดขึ้นแก่เธอ เปรียบเหมือน
แสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรอุทิศกายและใจ
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ อันไม่
มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน เธอชื่อว่าได้บรรลุวิชชาที่ ๓ นี้แล้ว๓ ความมืดมิดคืออวิชชา

เชิงอรรถ :
๑ ความมืดมิด (ตมะ) ในที่นี้หมายถึงโมหะ ที่เรียกว่า มืดมิด เพราะปิดบังมิให้ระลึกชาติได้ แสงสว่าง
(อาโลกะ) ในที่นี้หมายถึงวิชชา ที่เรียกว่า แสงสว่าง เพราะทำให้เกิดแสงสว่างทำลายความมืดมิดได้
วิชชาขั้นที่ ๑ นี้ได้แก่ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือความรู้เป็นเครื่องระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ใน
กาลก่อน (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๔, ขุ.อิติ.อ. ๙๙/๓๕๗)
๒ วิชชาที่ ๒ นี้ได้แก่ทิพพจักขุญาณ คือ ความรู้ที่สามารถเล็งเห็นหมู่สัตว์ที่เป็นไปต่าง ๆ กัน เพราะอำนาจ
กรรม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าจุตูปปาตญาณ เป็นญาณคือแสงสว่างที่ทำลายความมืดมิดคืออวิชชาที่ปิดบังการ
จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๔, ขุ.อิติ.อ. ๙๙/๓๕๙)
๓ วิชชาที่ ๓ นี้ ได้แก่ อรหัตตมัคคญาณ เป็นญาณคือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ทั้ง ๑๐ ประการ หรือ
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาสวักขยญาณ เป็นญาณคือแสงสว่างที่ทำลายความมืดมิดคืออวิชชาที่ปิดบัง
อริยสัจ ๔ ประการ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๖, ขุ.อิติ.อ. ๙๙/๓๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เธอกำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชาได้เกิดขึ้นแก่เธอ เปรียบเหมือน
แสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรอุทิศกายและใจ
ภิกษุทั้งหลาย เราบัญญัติเรียกผู้บรรลุวิชชา ๓ ว่าเป็นพราหมณ์ โดยธรรม
เราหาบัญญัติเรียกบุคคลอื่นว่า เป็นพราหมณ์ โดยเหตุเพียงการกล่าวอ้างตามที่
ผู้อื่นเรียกกันไม่ อย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
บุคคลใดรู้ปุพเพนิวาสญาณ เห็นทั้งสวรรค์และอบาย
บรรลุธรรมที่สิ้นความเกิด
เป็นมุนี อยู่จบพรหมจรรย์เพราะรู้ยิ่ง
เป็นพราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ โดยวิชชา ๓ นี้
เราเรียกบุคคลนั้นว่า ได้วิชชา ๓
หาเรียกบุคคลอื่นว่า ได้วิชชา ๓ ตามที่ผู้อื่นเรียกกันไม่
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
เตวิชชสูตรที่ ๑๐ จบ
ปัญจมวรรค จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัคคัปปสาทสูตร ๒. ชีวกสูตร
๓. สังฆาฏิกัณณสูตร ๔. อัคคิสูตร
๕. อุปปริกขสูตร ๖. กามูปปัตติสูตร
๗. กามโยคสูตร ๘. กัลยาณสีลสูตร
๙. ทานสูตร ๑๐. เตวิชชสูตร

ติกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต] ๑. พราหมณธัมมยาคสูตร
๔. จตุกกนิบาต
๑. พราหมณธัมมยาคสูตร
ว่าด้วยการบูชายัญด้วยธรรมของผู้เป็นพราหมณ์
[๑๐๐] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เรานี้แลเป็นพราหมณ์ผู้ควรแก่การขอ ขวนขวายในธรรมทาน
ตลอดเวลา ทรงไว้ซึ่งอัตภาพสุดท้าย เป็นศัลยแพทย์ ผ่าตัดกิเลสผู้เชี่ยวชาญ
เธอทั้งหลายเป็นบุตร ผู้เนื่องในอกของเรา คือ เกิดแต่ปาก เกิดแต่ธรรม ธรรม
สร้างสรรค์ไว้ จงเป็นธรรมทายาทเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย
ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ คือ (๑) อามิสทาน (๒) ธรรมทาน บรรดา
ทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ
การจำแนก ๒ อย่างนี้ คือ (๑) การจำแนกอามิส (๒) การจำแนกธรรม
บรรดาการจำแนก ๒ อย่างนี้ การจำแนกธรรมเป็นเลิศ
การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ คือ (๑) การอนุเคราะห์ด้วยอามิส (๒) การอนุเคราะห์
ด้วยธรรม บรรดาการอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ
การบูชายัญ ๒ อย่างนี้ คือ (๑) การบูชายัญด้วยอามิส (๒) การบูชายัญ
ด้วยธรรม บรรดาการบูชายัญ ๒ อย่างนี้ การบูชายัญด้วยธรรมเป็นเลิศ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต] ๒. สุลภสูตร
สัตว์ทั้งหลายย่อมนอบน้อมตถาคต
ผู้บูชาด้วยธรรม ไม่มีความตระหนี่
อนุเคราะห์สรรพสัตว์เสมอ
เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและมนุษย์
ผู้ถึงฝั่งแห่งภพ เช่นนั้น
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
พราหมณธัมมยาคสูตรที่ ๑ จบ
๒. สุลภสูตร๑
ว่าด้วยปัจจัยที่หาได้ง่าย
[๑๐๑] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัย ๔ อย่างนี้ มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ
ปัจจัย ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. บรรดาจีวร บังสุกุลจีวร(ผ้าที่ได้มาจากกองฝุ่น) มีค่าน้อย หาได้ง่าย
และไม่มีโทษ
๒. บรรดาโภชนะ ปิณฑิยาโลปโภชนะ(โภชนะคือคำข้าวที่ได้มาด้วยกำลัง
ปลีแข้ง) มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ
๓. บรรดาเสนาสนะ รุกขมูลเสนาสนะ(เสนาสนะคือโคนไม้) มีค่าน้อย
หาได้ง่าย และไม่มีโทษ
๔. บรรดายารักษาโรค ปูติมุตตเภสัช(ยาดองน้ำมูตรเน่า) มีค่าน้อย
หาได้ง่าย และไม่มีโทษ
ปัจจัย ๔ อย่างนี้แล มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๗/๔๒-๔๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต] ๓. อาสวักขยสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัย ๔ ที่มีค่าน้อย หาได้ง่าย
และไม่มีโทษนี้ เราจึงกล่าวว่า “เป็นองค์ประกอบแห่งคุณเครื่องความเป็นสมณะ๑
อย่างหนึ่งของภิกษุนี้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
จิตของภิกษุผู้สันโดษด้วยปัจจัย
ที่มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ
ย่อมไม่มีความคับแค้น ไม่ติดขัดทั่วทิศ
เพราะปรารภจีวร โภชนะ เสนาสนะ (และยารักษาโรค)
และธรรมที่เหมาะแก่ความเป็นสมณะที่ภิกษุนั้นกล่าวแล้ว
อันภิกษุผู้สันโดษ ไม่ประมาท บรรลุแล้ว
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
สุลภสูตรที่ ๒ จบ
๓. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นอาสวะ
[๑๐๒] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวถึงความสิ้นอาสวะทั้งหลายสำหรับภิกษุผู้รู้อยู่ ผู้เห็น
อยู่ หากล่าวถึงความสิ้นอาสวะทั้งหลายสำหรับภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่ไม่

เชิงอรรถ :
๑ คุณเครื่องความเป็นสมณะ หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ ประการ สมถะ วิปัสสนา หรืออริยมรรค เมื่อว่า
โดยย่อมี ๒ ประการ คือ (๑) คุณเครื่องภายนอก ได้แก่ ธรรมเครื่องอาศัยของสัตบุรุษและการฟัง
สัทธรรม (๒) คุณเครื่องภายใน ได้แก่ โยนิโสมนสิการ(การมนสิการโดยแยบคาย) และธัมมานุธัมมปฏิบัติ
(การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม) คุณเครื่องความเป็นสมณะนั้น มีธรรมที่เป็นองค์ประกอบเหล่านี้ คือ
ความมักน้อย ความสันโดษ ความสงัด ความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ความปรารภความเพียร เป็นต้น
(ขุ.อิติ.อ. ๑๐๑/๓๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต] ๓. อาสวักขยสูตร
ภิกษุรู้อะไร เห็นอะไร จึงชื่อว่ามีความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
คือ ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า ‘นี้ทุกข’ จึงชื่อว่ามีความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า ‘นี้ทุกขสมุทัย(เหตุเกิดทุกข์)’ จึงชื่อว่ามีความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า ‘นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์)’ จึงชื่อว่ามีความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า ‘นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)’ จึง
ชื่อว่ามีความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงชื่อว่ามีความสิ้นอาสวะ
ทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ญาณในความสิ้นกิเลสย่อมเกิดขึ้นแก่พระเสขะ
ผู้กำลังศึกษาและปฏิบัติตามทางสายตรงก่อน
ลำดับต่อจากนั้นอัญญินทรีย์จึงเกิดขึ้น๑
ต่อจากอัญญินทรีย์นั้น วิมุตติญาณอันสูงสุด
และญาณในความสิ้นกิเลส
ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านผู้หลุดพ้นด้วยอรหัตตผลว่า
“สังโยชน์ทั้งหลายสิ้นไปแล้ว’
คนพาลผู้เกียจคร้าน ไม่รู้แจ้ง ไม่ควรบรรลุนิพพาน
เป็นที่ปลดเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงนี้เลย
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
อาสวักขยสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูอิติวุตตกะ ข้อ ๖๒ หน้า ๔๑๘ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต] ๔. สมณพราหมณสูตร
๔. สมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณะหรือพราหมณ์
[๑๐๓] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดไม่รู้แจ้งตามความเป็นจริงว่า
‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้น เราหายกย่องว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะไม่ หายกย่องว่าเป็นพราหมณ์ใน
หมู่พราหมณ์ไม่ เพราะว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่ได้ทำให้แจ้งผลคือ
ความเป็นสมณะ และผลคือความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดรู้แจ้งตามความเป็นจริงว่า
‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นแล เรายกย่องว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ ยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่
พราหมณ์ เพราะว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นได้ทำให้แจ้งผลคือความเป็นสมณะ
และผลคือความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันนั่นแล”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดไม่รู้จักทุกข์
เหตุเกิดทุกข์ ธรรมชาติเป็นที่ดับทุกข์ลงได้สิ้นเชิง
และไม่รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นผู้เสื่อมจากเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต] ๕. สีลสัมปันนสูตร
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
เป็นผู้เข้าถึงชาติและชราแท้
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดรู้จักทุกข์
เหตุเกิดทุกข์ ธรรมชาติเป็นที่ดับทุกข์ลงได้สิ้นเชิง
และรู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ
เป็นผู้ควรเพื่อจะทำที่สุดทุกข์ได้
และเป็นผู้ไม่เข้าถึงชาติและชรา๑
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
สมณพราหมณสูตรที่ ๔ จบ
๕. สีลสัมปันนสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
[๑๐๔] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดสมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยสมาธิ สมบูรณ์
ด้วยปัญญา สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นผู้กล่าวสอน
ให้รู้แจ้ง ชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง เป็นผู้สามารถกล่าวบรรยายสัทธรรมให้เข้าใจง่าย
การได้เห็นภิกษุเหล่านั้น เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก การได้ฟัง(ธรรม)ภิกษุ
เหล่านั้น เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก การได้เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น เรากล่าวว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบสุตตนิบาต ข้อ ๗๓๐-๗๓๓ หน้า ๖๗๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต] ๕. สีลสัมปันนสูตร
มีอุปการะมาก การได้เข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้น เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก การได้
ระลึกถึงภิกษุเหล่านั้น เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก และการได้ออกบวชตามภิกษุ
เหล่านั้น เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก นั่นเป็นเพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะ
เมื่อภิกษุเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้๑ภิกษุผู้ทรงคุณดังกล่าวนั้น สีลขันธ์ สมาธิขันธ์
ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ แม้ที่ยังไม่บริบูรณ์ก็จะถึงความ
บริบูรณ์ด้วยภาวนา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทรงคุณเห็นปานนี้นั้น เราเรียกว่า ‘ศาสดา’ บ้าง
‘สัตถวาหะ(ผู้นำหมู่คณะ)’ บ้าง ‘รณัญชหะ(ผู้ละข้าศึกคือกิเลส)’ บ้าง ‘ตโมนุทะ(ผู้
บรรเทาความมืด)’ บ้าง ‘อาโลกกร(ผู้ทำแสงสว่าง)’ บ้าง ‘โอภาสกร(ผู้ทำโอภาส)’ บ้าง
‘ปัชโชตกร(ผู้ทำความรุ่งเรือง)’ บ้าง ‘ปภังกร(ผู้ทำรัศมี)’ บ้าง ‘อุกการธาร(ผู้ทรง
ประทีปคือปัญญา)’ บ้าง ‘อริยะ(พระอริยะ)’ บ้าง ‘จักขุมันตะ(ผู้มีปัญญาจักษุ)’ บ้าง”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
การได้เห็นพระอริยะทั้งหลายผู้อบรมตนดีแล้ว
ดำรงชีวิตโดยธรรมเสมอ
ย่อมเป็นเหตุให้เกิดปราโมทย์แก่บัณฑิตผู้รู้แจ้ง
พระอริยะทั้งหลายผู้ทำรัศมี ทำแสงสว่าง
เป็นนักปราชญ์ มีปัญญาจักษุ ละข้าศึกคือกิเลส
ประกาศสัทธรรม ทำสัตว์โลกให้เกิดปัญญาสว่างไสว
ซึ่งหากบัณฑิตได้ฟังคำสอนแล้ว รู้สิ่งทั้งปวงโดยชอบ
ย่อมไม่กลับมาเกิดอีกแน่นอน
เพราะรู้ยิ่งภาวะที่สิ้นสุดการเกิด
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
สีลสัมปันนสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เข้าไปนั่งใกล้ หมายถึงถามปัญหาและปฏิบัติตาม (ขุ.อิติ.อ. ๑๐๔/๓๗๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต] ๖. ตัณหุปปาทสูตร
๖. ตัณหุปปาทสูตร๑
ว่าด้วยที่เกิดตัณหา
[๑๐๕] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ย่อมเกิดขึ้นในที่เกิดตัณหา ๔ อย่างนี้
ที่เกิดตัณหา ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ตัณหาเมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะจีวรเป็นเหตุ
๒. ตัณหาเมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะบิณฑบาตเป็นเหตุ
๓. ตัณหาเมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะเสนาสนะเป็นเหตุ
๔. ตัณหาเมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะสมบัติและวิบัติเป็นเหตุ
ภิกษุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ย่อมเกิดขึ้นในที่เกิดตัณหา ๔ อย่างนี้แล”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
บุคคลผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปตลอดกาลยาวนาน
ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสารวัฏที่มีสภาวะอย่างนี้และสภาวะอย่างอื่น
ภิกษุรู้โทษนี้ รู้ตัณหาอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
พึงเป็นผู้ไม่มีตัณหา ไม่มีความถือมั่น มีสติสัมปชัญญะอยู่
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
ตัณหุปปาทสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๙/๑๕, ที.ปา. ๑๑/๓๑๑/๒๐๔, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๙๑/๕๔๐, ขุ.จู. (แปล)
๓๐/๑๐๗/๓๖๔, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๓๙/๔๕๘/๕๘๙ และดูอิติวุตตกะ ข้อ ๑๕ หน้า ๓๕๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต] ๗. สพรหมกสูตร
๗. สพรหมกสูตร๑
ว่าด้วยมารดาบิดาเป็นพรหมของบุตร
[๑๐๖] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่า
มีพรหม บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามีบุรพเทพ
บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามีบุรพาจารย์ บุตรของ
สกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามีอาหุไนยบุคคล
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า พรหม นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา คำว่า บุรพเทพ นี้เป็น
ชื่อของมารดาบิดา คำว่า บุรพาจารย์ นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา คำว่า อาหุไนย-
บุคคล นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา๒ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดาเป็นผู้มี
อุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
มารดาบิดาผู้อนุเคราะห์ประชา
ท่านเรียกว่าพรหม บุรพเทพ บุรพาจารย์
และอาหุไนยบุคคลของบุตรทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๑/๑๘๓, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖๓/๑๐๗, ขุ.ชา. (แปล) ๒๘/๑๘๑-๑๘๓/๘๔
๒ มารดาบิดา ชื่อว่า พรหม เพราะมีพรหมวิหารธรรม ๔ ประการ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ชื่อว่า
บุรพเทพ เพราะเป็นดุจเทพผู้มีพรหมวิหารธรรม ไม่คำนึงความผิดที่บุตรทำไป พร้อมที่จะให้อภัย มุ่งหวัง
แต่ความเจริญแก่บุตร นำประโยชน์เกื้อกูลและความสุขมาแก่บุตร ชื่อว่า บุรพาจารย์ เพราะเป็นอาจารย์
คนแรกที่สอนลูกให้เรียนรู้การนั่ง การยืน การเดิน การนอน การเคี้ยว การกิน รวมทั้งสอนให้รู้จักพูดและ
รู้จักอะไรควร อะไรมิควร ชื่อว่า อาหุไนยบุคคล เพราะเป็นผู้ควรแก่ปฏิการคุณที่บุตรพึงทำตอบแทน เช่น
การปรนนิบัติท่านด้วยอาหารเครื่องนุ่งห่ม (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๑๑/๑๑๑-๑๑๒, ขุ.อิติ.อ. ๑๐๖/๓๗๙-๓๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต] ๘. พหุการสูตร
เพราะเหตุนั้นแล บัณฑิตพึงนมัสการ
และสักการะมารดาบิดานั้นด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน
การอบกลิ่น การอาบน้ำ และการล้างเท้า
เพราะการปรนนิบัติมารดาบิดานั้น
บัณฑิตจึงสรรเสริญเขาในโลกนี้เอง
เขาตายไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
สพรหมกสูตรที่ ๗ จบ
๘. พหุการสูตร
ว่าด้วยผู้มีอุปการะมาก
[๑๐๗] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์และคหบดีทั้งหลายผู้บำรุงอุปถัมภ์เธอทั้งหลายด้วย
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ชื่อว่าเป็นผู้มีอุปการะมาก
แก่เธอทั้งหลาย
ข้อที่เธอทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง
และมีความงามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์ บริสุทธิ์
บริบูรณ์ ครบถ้วนแก่พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้น ชื่อว่าเธอทั้งหลายก็มีอุปการะ
มากแก่พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์และบรรพชิตต่างพึ่งพาอาศัยกันและกันอยู่ ประพฤติ
พรหมจรรย์เพื่อต้องการสลัดโอฆะออกให้ได้ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ด้วยประการ
ดังกล่าวนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต] ๘. พหุการสูตร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
คฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือนและบรรพชิตผู้ไม่อยู่ครองเรือน
ทั้ง ๒ ฝ่าย ต่างอาศัยกันและกัน
จึงบรรลุสัทธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมได้
ฝ่ายบรรพชิตผู้ไม่อยู่ครองเรือนย่อมต้องการปัจจัย ๔ คือ
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช
อันเป็นเครื่องบรรเทาอันตรายจากฝ่ายคฤหัสถ์
ฝ่ายคฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน
อาศัยพระอริยะผู้ปฏิบัติดีแล้ว
เชื่อมั่นคำสั่งสอนและการปฏิบัติดีของพระอรหันต์
เป็นผู้เพ่งพินิจอยู่ด้วยอริยปัญญา
ประพฤติธรรมอันเป็นทางนำไปสู่สุคติโลกสวรรค์ในอัตภาพนี้
มีความเพลิดเพลิน เสวยกามสุข รื่นเริงบันเทิงใจอยู่ในเทวโลก
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
พหุการสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต] ๙. กุหสูตร
๙. กุหสูตร๑
ว่าด้วยภิกษุผู้หลอกลวง
[๑๐๘] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดหลอกลวง กระด้าง เป็นคนประจบ ชอบวางท่า
อวดดี และมีจิตไม่ตั้งมั่น ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าไม่ใช่ผู้นับถือเรา อยู่ห่างไกลจาก
ธรรมวินัยนี้ และย่อมไม่ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
ส่วนภิกษุเหล่าใดไม่หลอกลวง ไม่เป็นคนประจบ เป็นนักปราชญ์ ไม่กระด้าง
และมีจิตตั้งมั่นดี ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าผู้นับถือเรา ไม่ห่างไกลจากธรรมวินัยนี้ และ
ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
พวกภิกษุผู้หลอกลวง กระด้าง เป็นคนประจบ
ชอบวางท่า อวดดี และมีจิตไม่ตั้งมั่น
ย่อมไม่งอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
ส่วนพวกภิกษุผู้ไม่หลอกลวง ไม่ประจบ
เป็นนักปราชญ์ ไม่กระด้าง และมีจิตตั้งมั่นดี
ย่อมงอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
กุหสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๖/๔๑-๔๒, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๔๑/๑๕๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต] ๑๐. นทีโสตสูตร
๑๐. นทีโสตสูตร
ว่าด้วยกิเลสเปรียบด้วยกระแสน้ำ
[๑๐๙] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมาว่า ชายคนหนึ่งถูกกระแสน้ำคือปิยรูปสาตรูปพัดพาไปอยู่
คนมีตาดียืนอยู่บนฝั่ง เห็นชายคนนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พ่อหนุ่ม ท่านถูกกระแส
น้ำคือปิยรูปสาตรูปพัดไปอยู่แล้วจริง ๆ แต่ในกระแสน้ำนี้มีห้วงน้ำลึกภายใต้ที่มีคลื่น
มีน้ำวน มีสัตว์ร้าย มีผีเสื้อน้ำ ซึ่งท่านจมไปถึงแล้วต้องถึงความตาย หรือไม่ก็ได้
รับความทุกข์ปางตายแน่นอน’ ครั้นชายคนนั้นได้ยินเสียงของชายที่อยู่บนฝั่งนั้นแล้ว
ก็พยายามใช้ทั้งมือและเท้าแหวกว่ายทวนกระแสน้ำขึ้นมา
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทำข้ออุปมานี้ไว้เพื่อให้เข้าใจความแจ่มแจ้ง ก็ในอุปมานี้
มีความหมายดังนี้
คำว่า ‘กระแสน้ำ’ เป็นชื่อของตัณหา
คำว่า ‘ปิยรูปสาตรูป’ เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖
คำว่า ‘ห้วงน้ำลึกภายใต้’ เป็นชื่อของโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
คำว่า ‘มีคลื่น’ เป็นชื่อของความโกรธและความคับแค้นใจ
คำว่า ‘มีน้ำวน’ เป็นชื่อของกามคุณ ๕
คำว่า ‘มีสัตว์ร้าย มีผีเสื้อน้ำ’ เป็นชื่อของมาตุคาม
คำว่า ‘ทวนกระแสน้ำ’ เป็นชื่อของเนกขัมมะ
คำว่า ‘พยายามใช้ทั้งมือและเท้าแหวกว่าย’ เป็นชื่อการเริ่มทำความเพียร
คำว่า ‘คนมีตาดียืนอยู่บนฝั่ง’ หมายถึงตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต] ๑๑. จรสูตร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ภิกษุพึงละกามทั้งหลายให้ได้
แม้จะด้วยความยากลำบาก
เมื่อปรารถนาความเกษมจากโยคะต่อไป
ควรเป็นผู้มีสัมปชัญญะ มีจิตหลุดพ้นจากกิเลสได้
ในเวลาที่บรรลุมรรคผลนั้น ๆ ก็จะสัมผัสวิมุตติได้
ภิกษุนั้นเป็นผู้จบเวท อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ถึงที่สุดของโลก๑ เราเรียกว่า เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
นทีโสตสูตรที่ ๑๐ จบ
๑๑. จรสูตร๒
ว่าด้วยอิริยาบถเดิน
[๑๑๐] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากามวิตก(ความตรึกในทางกาม) พยาบาทวิตก(ความตรึก
ในทางพยาบาท) หรือวิหิงสาวิตก(ความตรึกในทางเบียดเบียน) เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้
กำลังเดิน และภิกษุรับวิตกนั้น ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นสุด ไม่ให้ถึงความ
ไม่มี ภิกษุแม้กำลังเดิน ผู้เป็นอย่างนี้ ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ เราเรียกว่า
‘ผู้เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อนต่อเนื่องตลอดไป’

เชิงอรรถ :
๑ โลก ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ (ขุ.อิติ.อ.๑๐๙/๓๙๖)
๒ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๑/๒๐-๒๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต] ๑๑. จรสูตร
ถ้ากามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้กำลังยืน และภิกษุ
รับวิตกนั้น ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นสุด ไม่ให้ถึงความไม่มี ภิกษุแม้กำลังยืน
ผู้เป็นอย่างนี้ ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ เราเรียกว่า ‘ผู้เกียจคร้าน มีความเพียร
ย่อหย่อนต่อเนื่องตลอดไป’
ถ้ากามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้กำลังนั่ง และภิกษุ
รับวิตกนั้น ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นสุด ไม่ให้ถึงความไม่มี ภิกษุแม้กำลังนั่ง
ผู้เป็นอย่างนี้ ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ เราเรียกว่า ‘ผู้เกียจคร้าน มีความเพียร
ย่อหย่อนต่อเนื่องตลอดไป’
ถ้ากามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้กำลังนอน ตื่นอยู่
และภิกษุรับวิตกนั้น ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นสุด ไม่ให้ถึงความไม่มี ภิกษุ
แม้กำลังนอน ตื่นอยู่ ผู้เป็นอย่างนี้ ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ เราเรียกว่า
‘ผู้เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อนต่อเนื่องตลอดไป’
ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้
กำลังเดิน และภิกษุไม่รับวิตกนั้น ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ภิกษุ
แม้กำลังเดิน ผู้เป็นอย่างนี้ มีความเพียร มีโอตตัปปะ เราเรียกว่า ‘ผู้ปรารภ
ความเพียร อุทิศกายและใจต่อเนื่องตลอดไป’
ถ้ากามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้กำลังยืน และ
ภิกษุไม่รับวิตกนั้น ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ภิกษุแม้กำลังยืน ผู้เป็น
อย่างนี้ มีความเพียร มีโอตตัปปะ เราเรียกว่า ‘ผู้ปรารภความเพียร อุทิศกาย
และใจต่อเนื่องตลอดไป’
ถ้ากามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้กำลังนั่ง และภิกษุ
ไม่รับวิตกนั้น ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ภิกษุแม้นั่งแล้ว ผู้เป็นอย่างนี้
มีความเพียร มีโอตตัปปะ เราเรียกว่า ‘ผู้ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจต่อเนื่อง
ตลอดไป’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต] ๑๑. จรสูตร
ถ้ากามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้กำลังนอน ตื่นอยู่
และภิกษุไม่รับวิตกนั้น ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ภิกษุแม้กำลังนอน
ตื่นอยู่ ผู้เป็นอย่างนี้ มีความเพียร มีโอตตัปปะ เราเรียกว่า ‘ผู้ปรารภความเพียร
อุทิศกายและใจต่อเนื่องตลอดไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ถ้าภิกษุใดผู้กำลังเดิน ยืน นั่ง หรือนอน
นึกคิดถึงอกุศลวิตกที่เกี่ยวเนื่องกับการครองเรือน
ภิกษุนั้นชื่อว่าเดินทางผิด
หมกมุ่นอยู่ในอารมณ์เป็นเหตุแห่งความหลง
ภิกษุเช่นนั้นไม่สามารถบรรลุสัมโพธิญาณ๑อันสูงสุดได้
ส่วนภิกษุใดผู้กำลังเดิน ยืน นั่ง หรือนอนให้วิตกสงบ
ยินดีในธรรมเป็นที่ระงับวิตก
ภิกษุนั้นสามารถบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุดได้
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
จรสูตรที่ ๑๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สัมโพธิญาณ หมายถึงญาณอันสูงสุด คืออรหัตตผล (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๑/๒๙๐) หรือหมายถึงอริยมัคค-
ญาณ (ขุ.อิติ.อ. ๑๑๐/๓๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต] ๑๒. สัมปันนสีลสูตร
๑๒. สัมปันนสีลสูตร๑
ว่าด้วยผู้มีศีลสมบูรณ์
[๑๑๑] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์สมบูรณ์
สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัย
ในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายเถิด
เมื่อเธอทั้งหลายเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์สมบูรณ์ สำรวมด้วยการ
สังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย จะมีกิจอะไรที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกเล่า
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้กำลังเดินอยู่ ปราศจากอภิชฌา(เพ่งเล็งอยากได้
ของเขา) พยาบาท(ความคิดร้าย) ถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม) อุทธัจจกุกกุจจะ
(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) ละวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย)ได้ ปรารภความเพียร
ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่
เป็นสมาธิ ภิกษุแม้กำลังเดินอยู่ ผู้เป็นอย่างนี้ มีความเพียร มีโอตตัปปะ เราเรียก
ว่า ‘ผู้ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจต่อเนื่องตลอดไป’
ถ้าภิกษุผู้กำลังยืนปราศจากอภิชฌา พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ
ละวิจิกิจฉาได้ ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ
ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ ภิกษุแม้กำลังยืน ผู้เป็นอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๒/๒๒-๒๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต] ๑๒. สัมปันนสีลสูตร
มีความเพียร มีโอตตัปปะ เราเรียกว่า ‘ผู้ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจต่อเนื่อง
ตลอดไป’
ถ้าภิกษุผู้กำลังนั่ง ปราศจากอภิชฌา พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ
ละวิจิกิจฉาได้ ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ
ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ ภิกษุแม้กำลังนั่ง ผู้เป็นอย่างนี้
มีความเพียร มีโอตตัปปะ เราเรียกว่า ‘ผู้ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจ
ต่อเนื่องตลอดไป’
ถ้าภิกษุผู้กำลังนอน ตื่นอยู่ ปราศจากอภิชฌา พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจ-
กุกกุจจะ ละวิจิกิจฉาได้ ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม
มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ ภิกษุแม้กำลังนอน ตื่นอยู่
ผู้เป็นอย่างนี้ มีความเพียร มีโอตตัปปะ เราเรียกว่า ‘ผู้ปรารภความเพียร อุทิศกาย
และใจต่อเนื่องตลอดไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ภิกษุควรเดินสำรวม ยืนสำรวม นั่งสำรวม นอนสำรวม
คู้เข้าสำรวม เหยียดออกสำรวม
พิจารณาความเกิด และความดับแห่งธรรมขันธ์๑
ทั่วภูมิอันเป็นที่อยู่ของสัตว์ทั้งชั้นบน ชั้นกลาง ชั้นล่าง

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมขันธ์ หมายถึงเบญจขันธ์ (ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) (ขุ.อิติ.อ. ๑๑๑/๔๑๐,
องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๒/๒๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต] ๑๓. โลกสูตร
นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกภิกษุเช่นนั้น ผู้มีความเพียร
ละกิเลสอยู่อย่างนี้ ประพฤติตนสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน
ผู้ศึกษาข้อปฏิบัติที่สมควรแก่ความสงบใจ๑
มีสติทุกเมื่อว่า ‘ผู้อุทิศกายและใจต่อเนื่อง’
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
สัมปันนสีลสูตรที่ ๑๒ จบ
๑๓. โลกสูตร๒
ว่าด้วยโลก
[๑๑๒] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้
พระอรหันต์กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตตรัสรู้โลก๓แล้ว ตถาคตพรากจากโลก ตถาคตตรัสรู้
เหตุเกิดแห่งโลก ตถาคตละเหตุเกิดแห่งโลกแล้ว ตถาคตตรัสรู้ความดับแห่งโลก
ตถาคตทำให้แจ้งความดับแห่งโลก ตถาคตตรัสรู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งโลก
ตถาคตบำเพ็ญข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งโลกแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ผู้ศึกษาข้อปฏิบัติที่สมควรแก่ความสงบใจ หมายถึงผู้ปฏิบัติบำเพ็ญให้เกิดญาณทัสสนวิสุทธิอันเป็นข้อ
ปฏิบัติสมควรแก่อริยมรรค กล่าวคือ เจโตสมถะ เพราะสงบระงับกิเลสได้สิ้นเชิง (ขุ.อิติ.อ. ๑๑๑/๔๑๐)
๒ ดูเทียบ ที.ปา. ๑๑/๑๘๘/๑๑๗, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๓/๓๗-๓๙
๓ โลก มีความหมายหลายนัย แต่ในที่นี้หมายถึงทุกขอริยสัจ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓/๓๐๑, ขุ.อิติ.อ. ๑๑๒/๔๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต] ๑๓. โลกสูตร
เพราะตถาคตตรัสรู้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ๑ ธรรมารมณ์
ที่ได้รู้แจ้ง ที่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ถึง แสวงหา ตรองตามด้วยใจทั้งหมด ฉะนั้น
ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’
เพราะตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในราตรีใด และปรินิพพานด้วย
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุในราตรีใด ในระหว่างนี้ ย่อมภาษิต กล่าว แสดงออก
ซึ่งคำใด คำนั้นทั้งหมดเป็นจริงอย่างนั้นแล ไม่เป็นอย่างอื่น ฉะนั้น ชาวโลกจึง
เรียกว่า ‘ตถาคต’
เพราะตถาคตกล่าวอย่างใด (ยถาวาที) ก็ทำอย่างนั้น (ตถาการี) ทำอย่างใด
(ยถาการี) ก็กล่าวอย่างนั้น (ตถาวาที) ฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตเป็นผู้ยิ่งใหญ่ เห็นถ่องแท้ แผ่อำนาจไปในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา
และมนุษย์ ฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
บุคคลใดรู้แจ้งโลกทั้งปวงตามความเป็นจริงทั้งหมด
พรากจากโลกทั้งปวง ไม่มีกิเลสสั่งสมอยู่ในโลกทั้งปวง
บุคคลนั้นแลครอบงำอารมณ์ได้ทั้งหมด

เชิงอรรถ :
๑ รูปที่ได้เห็น หมายถึงรูปายตนะ (อายตนะคือรูป) เสียงที่ได้ฟัง หมายถึงสัททายตนะ (อายตนะคือเสียง)
อารมณ์ที่ได้ทราบ หมายถึงคันธายตนะ (อายตนะคือกลิ่น) รสายตนะ (อายตนะคือรส) โผฏฐัพพายตนะ
(อายตนะคือโผฏฐัพพะ)
อารมณ์ทั้ง ๓ นี้ ชื่อว่าอารมณ์ที่ได้ทราบ เพราะเป็นสภาวะที่เข้ามากระทบจมูก ลิ้นหรือกายแล้วเท่านั้น
จึงกำหนดได้ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓/๓๐๑, ขุ.อิติ.อ. ๑๑๒/๔๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต] ๑๓. โลกสูตร
เป็นนักปราชญ์ ปลดเปลื้องกิเลสที่ร้อยรัดได้ทั้งหมด
บรรลุนิพพานที่มีความสงบอย่างยิ่ง ไม่มีภัยแต่ที่ไหน
บุคคลนี้สิ้นอาสวะ เป็นพุทธะ
ไม่มีทุกข์ ตัดความสงสัยได้
บรรลุความสิ้นกรรมทั้งปวง
หลุดพ้นเพราะสิ้นอุปธิ
บุคคลนั้นเป็นผู้มีโชค ตรัสรู้
เปรียบเหมือนราชสีห์ที่ยอดเยี่ยม
ประกาศพรหมจักรแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก
เพราะเหตุนั้น เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ที่ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ
จึงมาประชุมกันนมัสการพระองค์ผู้ยิ่งใหญ่ ทรงแกล้วกล้า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนมัสการพระพุทธเจ้านั้น
ผู้ยิ่งใหญ่ ทรงแกล้วกล้า ด้วยการสรรเสริญว่า
‘เป็นผู้ฝึกฝนที่ประเสริฐสุดในหมู่ผู้ฝึกตนทั้งหลาย
เป็นฤๅษีผู้สงบกว่าผู้สงบทั้งหลาย
เป็นผู้หลุดพ้นที่ยอดเยี่ยมกว่าผู้หลุดพ้นทั้งหลาย
เป็นผู้ข้ามพ้นที่ประเสริฐกว่าผู้ข้ามพ้นทั้งหลาย
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ไม่มีบุคคลที่เปรียบเทียบกับพระองค์ได้
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
โลกสูตรที่ ๑๓ จบ
จตุกกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต] รวมพระสูตรที่มีในนิบาต
รวมพระสูตรที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. พราหมณธัมมยาคสูตร ๒. สุลภสูตร
๓. อาสวักขยสูตร ๔. สมณพราหมณสูตร
๕. สีลสัมปันนสูตร ๖. ตัณหุปปาทสูตร
๗. สพรหมกสูตร ๘. พหุการสูตร
๙. กุหสูตร ๑๐. นทีโสตสูตร
๑๑. จรสูตร ๑๒. สัมปันนสีลสูตร
๑๓. โลกสูตร

ในคัมภีร์อิติวุตตกะ มีจำนวนพระสูตรทั้งหมด ๑๑๒ สูตร
อิติวุตตกะ จบ
รวมพระสูตรที่มีในอิติวุตตกะ
เอกกนิบาต มี ๒๗ สูตร ทุกนิบาต มี ๒๒ สูตร
ติกนิบาต มี ๕๐ สูตร จตุกกนิบาต มี ๑๓ สูตร
รวมพระสูตรที่พระอรหันต์ทั้งหลายรวบรวมร้อยกรองไว้ ตั้งชื่อว่าอิติวุตตกะ
เพื่อให้พระพุทธศาสนาดำรงอยู่ชั่วกาลนาน จำนวน ๑๑๒ สูตร
อิติวุตตกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค] ๑. อุรคสูตร
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย สุตตนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. อุรควรรค
หมวดว่าด้วยการกำจัดกิเลสดุจงูลอกคราบ
๑. อุรคสูตร
ว่าด้วยการกำจัดกิเลสดุจงูลอกคราบ
[๑] ภิกษุผู้กำจัดความโกรธที่เกิดขึ้นได้
เหมือนหมองูกำจัดพิษงูที่แผ่ซ่านไปด้วยยากำจัดพิษ
ชื่อว่าละฝั่งในได้๑ ดุจงูลอกคราบทิ้งไป ฉะนั้น
[๒] ภิกษุผู้ตัดราคะ๒พร้อมทั้งอนุสัยกิเลสได้ทั้งหมด
เหมือนคนลงไปตัดดอกปทุมที่งอกขึ้นในสระจนหมดสิ้น
ชื่อว่าละฝั่งในได้ ดุจงูลอกคราบทิ้งไป ฉะนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ฝั่งใน หมายถึงสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ คือ (๑) สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตาของตน)
(๒) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) (๓) สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลและวัตร) (๔) กามราคะ (ความ
กำหนัดในกาม) (๕) ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งในใจ) (ขุ.สุ.อ. ๑/๑/๑๒)
๒ ราคะ ในที่นี้หมายถึงกามคุณ ๕ (ขุ.สุ.อ.๑/๑/๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค] ๑. อุรคสูตร
[๓] ภิกษุตัดตัณหาที่ท่วมทับสัตว์โลก เป็นไปรวดเร็ว
ให้เหือดแห้งไปทีละน้อย ๆ จนหมดสิ้น
ชื่อว่าละฝั่งในได้ ดุจงูลอกคราบทิ้งไป ฉะนั้น
[๔] ภิกษุผู้กำจัดมานะได้หมดสิ้น
เหมือนห้วงน้ำใหญ่พัดสะพานไม้อ้อที่อ่อนกำลังให้ทะลายไปหมดสิ้น
ชื่อว่าละฝั่งในได้ ดุจงูลอกคราบทิ้งไป ฉะนั้น
[๕] ภิกษุผู้ใช้ปัญญาค้นคว้าอยู่
ไม่พบแก่นสารในภพทั้งหลาย๑
เหมือนพราหมณ์ค้นหาดอกมะเดื่อบนต้นไม่พบ ฉะนั้น
ชื่อว่าละฝั่งในได้ ดุจงูลอกคราบทิ้งไป ฉะนั้น
[๖] ภิกษุผู้ไม่มีกิเลสกำเริบภายในจิต
และล่วงพ้นความเจริญและความเสื่อมมีประการต่าง ๆ ได้
ชื่อว่าละฝั่งในได้ ดุจงูลอกคราบทิ้งไป ฉะนั้น
[๗] ภิกษุผู้ระงับวิตกทั้งหลายได้
กำหนดวิตกทุกอย่างที่เกิดขึ้นภายในตนได้ด้วยดี
ชื่อว่าละฝั่งในได้ ดุจงูลอกคราบทิ้งไป ฉะนั้น
[๘] ภิกษุผู้ไม่ทำความเพียรตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป
ล่วงพ้นปปัญจธรรม๒ได้ทั้งหมด
ชื่อว่าละฝั่งในได้ ดุจงูลอกคราบทิ้งไป ฉะนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ไม่พบแก่นสารในภพทั้งหลาย หมายถึงไม่พบนิจจภาวะ(ภาวะเที่ยง) หรืออัตตภาวะ(ภาวะที่เป็นอัตตา)
ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญีภพ อสัญญีภพ เนวสัญญีนาสัญญีภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ และ
ปัญจโวการภพ (ขุ.สุ.อ. ๑/๕/๑๘)
๒ ปปัญจธรรม หมายถึงกิเลสเครื่องเนิ่นช้า มี ๓ อย่าง คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ (ขุ.สุ.อ.๑/๘/๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๕๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค] ๑. อุรคสูตร
[๙] ภิกษุผู้ไม่ทำความเพียรตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป
รู้สิ่งทั้งหมด๑ในโลกว่า มีภาวะผันแปร
ชื่อว่าละฝั่งในได้ ดุจงูลอกคราบทิ้งไป ฉะนั้น
[๑๐] ภิกษุผู้ไม่ทำความเพียรตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป
รู้สิ่งทั้งหมดในโลกว่า มีภาวะผันแปร เป็นผู้ปราศจากโลภะ
ชื่อว่าละฝั่งในได้ ดุจงูลอกคราบทิ้งไป ฉะนั้น
[๑๑] ภิกษุผู้ไม่ทำความเพียรตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป
รู้สิ่งทั้งหมดในโลกว่า มีภาวะผันแปร เป็นผู้ปราศจากราคะ
ชื่อว่าละฝั่งในได้ ดุจงูลอกคราบทิ้งไป ฉะนั้น
[๑๒] ภิกษุผู้ไม่ทำความเพียรตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป
รู้สิ่งทั้งหมดในโลกว่า มีภาวะผันแปร เป็นผู้ปราศจากโทสะ
ชื่อว่าละฝั่งในได้ ดุจงูลอกคราบทิ้งไป ฉะนั้น
[๑๓] ภิกษุผู้ไม่ทำความเพียรตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป
รู้สิ่งทั้งหมดในโลกว่า มีภาวะผันแปร เป็นผู้ปราศจากโมหะ
ชื่อว่าละฝั่งในได้ ดุจงูลอกคราบทิ้งไป ฉะนั้น
[๑๔] ภิกษุผู้ไม่มีอนุสัยกิเลส๒ใด ๆ
และถอนรากอกุศลธรรม๓ได้หมดสิ้น
ชื่อว่าละฝั่งในได้ ดุจงูลอกคราบทิ้งไป ฉะนั้น

เชิงอรรถ :
๑ สิ่งทั้งหมด ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ธาตุ และอายตนะ (ขุ.สุ.อ. ๑/๙/๒๐)
๒ อนุสัยกิเลส หมายถึงกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน มี ๗ ประการ คือ (๑) กามราคะ (ความกำหนัด
ในกาม) (๒) ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งในใจ) (๓) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) (๔) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
(๕) มานะ (ความถือตัว) (๖) ภวราคะ (ความกำหนัดในภพ) (๗) อวิชชา (ความไม่รู้) (ขุ.สุ.อ.๑/๑๔/๒๑)
๓ รากอกุศลธรรม หมายถึงราคะ โทสะ และโมหะ (ขุ.สุ.อ.๑/๑๔/๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๕๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค] ๒. ธนิยสูตร
[๑๕] ภิกษุผู้ไม่มีกิเลสที่เกิดจากความกระวนกระวายใด ๆ
อันเป็นปัจจัยเพื่อมาสู่ฝั่งใน
ชื่อว่าละฝั่งในได้ ดุจงูลอกคราบทิ้งไป ฉะนั้น
[๑๖] ภิกษุผู้ไม่มีกิเลสที่เกิดจากตัณหานุสัยดุจป่าใด ๆ
ซึ่งเป็นเหตุกำหนดความผูกพันไว้ในภพ
ชื่อว่าละฝั่งในได้ ดุจงูลอกคราบทิ้งไป ฉะนั้น
[๑๗] ภิกษุผู้ละนิวรณ์๑ ๕ ได้
ข้ามพ้นความสงสัยได้แล้ว ปราศจากกิเลสเพียงดังลูกศร
ชื่อว่าละฝั่งในได้ ดุจงูลอกคราบทิ้งไป ฉะนั้น
อุรคสูตรที่ ๑ จบ
๒. ธนิยสูตร
ว่าด้วยการโต้ตอบระหว่างนายธนิยะกับพระพุทธเจ้า
[๑๘] (นายธนิยะเจ้าของโคกล่าวดังนี้)
ข้าพเจ้าปรุงอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว รีดน้ำนมโคไว้แล้ว
อยู่ร่วมกับบริวารช่วยเหลือกัน ใกล้ฝั่งแม่น้ำมหี
มุงหลังคากั้นฝาเรือน นำไฟมาติดไว้เรียบร้อย
ฝนเอ๋ย หากท่านอยากตกก็เชิญตกลงมาเถิด
[๑๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้)
เราเป็นผู้ไม่โกรธ ปราศจากกิเลสดุจตะปูตรึงใจ
พักแรม ๑ ราตรี ใกล้ฝั่งแม่น้ำมหี
เพิงที่พักคืออัตภาพ ก็ปราศจากหลังคาเครื่องมุงบัง
กองไฟคือราคะเป็นต้นก็ดับหมดแล้ว
ฝนเอ๋ย หากท่านอยากตกก็เชิญตกลงมาเถิด

เชิงอรรถ :
๑ นิวรณ์ หมายถึงธรรมเป็นเครื่องกั้นความดี มี ๕ ประการ คือ (๑) กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
(๒) พยาบาท (ความคิดร้าย) (๓) ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) (๔) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่าน
และร้อนใจ) (๕) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) (ขุ.สุ.อ.๑/๑๗/๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๕๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค] ๒. ธนิยสูตร
[๒๐] (นายธนิยะเจ้าของโคกล่าวดังนี้)
ฝูงโคของข้าพเจ้าไม่มีเหลือบและยุงมารบกวน
เที่ยวหากิน ณ ริมฝั่งแม่น้ำที่มีหญ้างอกงาม
จึงสามารถทนฝนที่ตกลงมาได้ดี
ฝนเอ๋ย หากท่านอยากตกก็เชิญตกลงมาเถิด
[๒๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้)
เราผูกแพคืออริยมรรค ตกแต่งคือบำเพ็ญดีแล้ว
กำจัดห้วงน้ำคือกิเลสได้แล้ว ข้ามไปจนถึงฝั่งแล้ว๑
จึงไม่มีความต้องการแพนั้นอีกต่อไป
ฝนเอ๋ย หากท่านอยากตกก็เชิญตกลงมาเถิด
[๒๒] (นายธนิยะเจ้าของโคกล่าวดังนี้)
ภรรยาของข้าพเจ้าเป็นหญิงเชื่อฟัง ไม่โลเล๒
ครองรักร่วมกันมานานหลายปี เป็นที่ไว้วางใจของข้าพเจ้า
ความชั่ว๓ใด ๆ ของนาง ข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินเลย
ฝนเอ๋ย หากท่านอยากตกก็เชิญตกลงมาเถิด
[๒๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้)
จิตของเราเชื่อฟังเรา หลุดพ้นกิเลสแล้ว
เราฝึกอบรมมานานจนเป็นจิตที่ฝึกหัดดีแล้ว
ดังนั้น เราจึงไม่มีความชั่ว๔ใด ๆ ต่อไป
ฝนเอ๋ย หากท่านอยากตกก็เชิญตกลงมาเถิด

เชิงอรรถ :
๑ ข้ามไปจนถึงฝั่ง หมายถึงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ (ขุ.สุ.อ. ๑/๒๑/๓๓)
๒ โลเล หมายถึงความลุ่มหลง ความอยากของสตรี มี ๕ อย่าง (๑) โลเลในอาหาร (๒) โลเลในเครื่อง
ประดับ (๓) โลเลในบุรุษอื่น (๔) โลเลในทรัพย์ (๕) โลเลในการเที่ยวเตร่ (ขุ.สุ.อ. ๑/๒๒/๓๓)
๓ ความชั่ว (บาป) ที่นายธนิยะกล่าวนั้นหมายถึงความประพฤตินอกใจ (ขุ.สุ.อ. ๑/๒๒/๓๓)
๔ ความชั่ว ที่พระผู้มีพระภาคตรัสนั้นหมายถึงกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร และอาชีวะที่ไม่บริสุทธิ์
(ขุ.สุ.อ. ๑/๒๓/๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๕๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค] ๒. ธนิยสูตร
[๒๔] (นายธนิยะเจ้าของโคกล่าวดังนี้)
ข้าพเจ้าเป็นผู้ทำการงานของตนเองเลี้ยงชีวิต
ทั้งบุตรธิดาของข้าพเจ้าก็พร้อมหน้า ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
ความชั่ว๑ใด ๆ ของบุตรธิดาเหล่านั้น ข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินเลย
ฝนเอ๋ย หากท่านอยากตกก็เชิญตกลงมาเถิด
[๒๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้)
เราไม่เป็นลูกจ้างใคร๒
เที่ยวไปด้วยความเป็นสัพพัญญู
ผู้ไม่มีความต้องการในโลกทั้งปวง
เราจึงไม่มีความต้องการด้วยค่าจ้างอีกต่อไป
ฝนเอ๋ย หากท่านอยากตกก็เชิญตกลงมาเถิด
[๒๖] (นายธนิยะเจ้าของโคกล่าวดังนี้)
ในจำนวนฝูงโคของข้าพเจ้านี้
มีทั้งโครุ่นที่ยังไม่ได้ฝึก
ลูกโคที่ยังดื่มนม แม่โคที่กำลังตั้งครรภ์
แม่โควัยเจริญพันธุ์ และโคสำคัญที่เป็นจ่าฝูง
ฝนเอ๋ย หากท่านอยากตกก็เชิญตกลงมาเถิด
[๒๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้)
ในจำนวนฝูงโคคือศาสนธรรมของเรานี้
ไม่มีทั้งโครุ่นที่ยังไม่ได้ฝึก๓

เชิงอรรถ :
๑ ความชั่ว ของบุตรธิดาที่นายธนิยะกล่าวนั้น หมายถึงความเป็นโจร เป็นภรรยาของคนอื่น หรือเป็นผู้ทุศีล
(ขุ.สุ.อ. ๑/๒๔/๓๖)
๒ ไม่เป็นลูกจ้างใคร หมายถึงไม่เป็นทาสแห่งตัณหา (ขุ.สุ.อ. ๑/๒๕/๓๖)
๓ โครุ่นที่ยังไม่ได้ฝึก ในที่นี้หมายถึงปริยุฏฐานกิเลส (ขุ.สุ.อ. ๑/๒๗/๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๕๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค] ๒. ธนิยสูตร
ลูกโคที่ยังดื่มนม๑ แม่โคที่กำลังตั้งครรภ์๒
แม่โควัยเจริญพันธุ์๓และโคสำคัญที่เป็นจ่าฝูง๔
ฝนเอ๋ย หากท่านอยากตกก็เชิญตกลงมาเถิด
[๒๘] (นายธนิยะเจ้าของโคกล่าวดังนี้)
ข้าพเจ้าปักเสาสำหรับล่ามโคไว้แน่นหนา ไม่โยกคลอน
เชือกพิเศษสำหรับล่ามโคทั้งหลาย
ก็ฝั้นด้วยหญ้าปล้องใหม่ ๆ มีรูปทรงกะทัดรัดดี
ถึงแม้โคหนุ่ม ๆ จะดิ้นดึง ก็ไม่สามารถทำให้ขาดได้เลย
ฝนเอ๋ย หากท่านอยากตกก็เชิญตกลงมาเถิด
[๒๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้)
เราได้ตัดเครื่องผูกทั้งหลาย
เหมือนโคอุสภะสลัดเชือกที่ล่ามไว้จนขาดสะบั้น
ทำลายเถาหัวด้วนเหมือนช้างทำลายเถาหัวด้วนจนแหลกละเอียด๕
จึงไม่ต้องกลับมาเกิดอีก
ฝนเอ๋ย หากท่านอยากตกก็เชิญตกลงมาเถิด
[๓๐] (พระสังคีติกาจารย์กล่าวดังนี้)
ทันใดนั่นเอง ฝนห่าใหญ่ได้ตกลงมา
จนน้ำท่วมเต็มทั้งที่ลุ่มและที่ดอน
นายธนิยะเจ้าของโคได้ยินเสียงฝนที่กำลังตกอยู่
ได้กราบทูลเนื้อความดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ ลูกโคที่ยังดื่มนม ในที่นี้หมายถึงอนุสัยกิเลส (ขุ.สุ.อ. ๑/๒๗/๓๗)
๒ แม่โคที่กำลังตั้งครรภ์ ในที่นี้หมายถึงปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขาร (ขุ.สุ.อ.
๑/๒๗/๓๗)
๓ แม่โควัยเจริญพันธุ์ ในที่นี้หมายถึงตัณหา (ขุ.สุ.อ.๑/๒๗/๓๗)
๔ โคจ่าฝูง ในที่นี้หมายถึงอภิสังขารวิญญาณ (ขุ.สุ.อ.๑/๒๗/๓๗)
๕ พระองค์ทรงทำลายเถาหัวด้วน คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ ด้วยโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค
และอนาคามิมรรค เหมือนช้างทำลายเถาหัวด้วน ทรงตัดเครื่องผูกคืออุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
ด้วยอรหัตตมรรคเหมือนโคอุสภะสลัดเชือก (ขุ.สุ.อ. ๑/๒๙/๓๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๕๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค] ๒. ธนิยสูตร
[๓๑] เป็นลาภของพวกข้าพระองค์ไม่น้อยเลย
ที่พวกข้าพระองค์ได้เห็นพระผู้มีพระภาค
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ
พวกข้าพระองค์ขอถึงพระองค์เป็นสรณะ
ข้าแต่พระมหามุนี ขอพระองค์ทรงเป็นพระศาสดา
ของพวกข้าพระองค์เถิด
[๓๒] ข้าพระองค์และภรรยามีศรัทธาเชื่อฟังพระองค์
ขอประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของพระสุคต
ข้าพระองค์ทั้งสองขอเป็นผู้ไปถึงฝั่งแห่งชาติและมรณะ
จะเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
[๓๓] (มารผู้มีบาปกล่าวดังนี้)
คนมีบุตรก็เพลิดเพลินบุตร
เช่นเดียวกับคนมีโคก็เพลิดเพลินโค
เพราะคนมีอุปธิ๑เป็นเหตุเพลิดเพลิน
คนที่ไม่มีอุปธิย่อมไม่เพลิดเพลินเลย
[๓๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้)
คนมีบุตรก็เศร้าโศกเพราะบุตร
เช่นเดียวกับคนมีโคก็เศร้าโศกเพราะโค
เพราะคนมีอุปธิเป็นเหตุเศร้าโศก
คนที่ไม่มีอุปธิ ย่อมไม่เศร้าโศกเลย
ธนิยสูตรที่ ๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อุปธิ หมายถึงกิเลสที่ทำให้ติดอยู่ในวัฏฏสงสารมี ๔ อย่าง คือ (๑) กามูปธิ (อุปธิคือกาม) (๒) ขันธูปธิ
(อุปธิคือขันธ์) (๓) กิเลสูปธิ (อุปธิคือกิเลส) (๔) อภิสังขารูปธิ (อุปธิคืออภิสังขาร) (ขุ.สุ.อ. ๑/๓๓/๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๕๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค] ๓. ขัคควิสาณสูตร
๓. ขัคควิสาณสูตร๑
ว่าด้วยพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้ประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๓๕] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
บุคคลยกโทษในสัตว์ทุกจำพวก
ไม่เบียดเบียนสัตว์หนึ่งสัตว์ใดในบรรดาสัตว์เหล่านั้น
ไม่ต้องการบุตร(แล้ว) จะพึงต้องการสหายจากไหนเล่า
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด๒
[๓๖] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
ความรักย่อมมีแก่ผู้มีความเกี่ยวข้อง
ทุกข์นี้ย่อมเป็นไปตามความรัก
บุคคลเมื่อเพ่งเห็นโทษอันเกิดจากความรัก
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๓๗] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
บุคคลเมื่ออนุเคราะห์มิตร สหายผู้ใจดี
มีใจผูกพัน ย่อมทำประโยชน์๓ให้เสื่อมไปได้

เชิงอรรถ :
๑ คาถาที่ ๓๕-๗๕ เป็นคำที่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแต่ละองค์กล่าวไว้ คือ พระผู้มีพระภาคตรัสเล่าประวัติ
ในอดีตชาติของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์นั้น ๆ ได้กล่าวคาถาว่าอย่างนั้น ๆ
ให้พระอานนท์ฟัง (ขุ.สุ.อ. ๑/๔๘) และดูเทียบ ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๒๑-๑๖๑/๓๙๓-๔๙๙
๒ ประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด หมายถึงประพฤติตามจริยา ๘ อย่าง คือ (๑) ความประพฤติ
ในอิริยาบถ ๔ (๒) ความประพฤติในอายตนะภายในและภายนอก (๓) ความประพฤติในสติปัฏฐาน ๔
(๔) ความประพฤติในสมาธิคือฌาน ๔ (๕) ความประพฤติในอริยสัจ ๔ (๖) ความประพฤติในอริยมรรค ๔
(๗) ความประพฤติในสามัญญผล ๔ (๘) ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก
และสามารถละตัณหาได้ ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ละกิเลสได้สิ้นเชิง ดำเนินทางสายเอกกล่าวคือ
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ และตรัสรู้
อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เหมือนแรดมีนอเดียว ไม่มีนอที่สอง (ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๒๑/๓๙๕-๔๐๑, ขุ.สุ.อ.
๑/๓๕/๖๐-๖๑)
๓ ประโยชน์ มี ๓ อย่าง คือ (๑) ทิฏฐธัมมิกัตถะ (ประโยชน์ในโลกนี้) (๒) สัมปรายิกัตถะ (ประโยชน์ใน
โลกหน้า) (๓) ปรมัตถะ (ประโยชน์ยอดเยี่ยม) (ขุ.สุ.อ.๑/๓๗/๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๕๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค] ๓. ขัคควิสาณสูตร
บุคคลเมื่อเพ่งเห็นภัยในความเชยชิด
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๓๘] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
กอไผ่กว้างใหญ่เกาะเกี่ยวกันไว้ ฉันใด
ความห่วงใยในบุตรและทาระ
ก็กว้างใหญ่เกาะเกี่ยวไว้ ฉันนั้น
บุคคลเมื่อไม่เกี่ยวข้องเหมือนหน่อไผ่
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๓๙] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
เนื้อในป่า มิได้ถูกผูกมัดไว้
ย่อมเที่ยวหาอาหารได้ตามความพอใจ ฉันใด
วิญญูชนเมื่อเพ่งเห็นธรรมที่ให้ถึงความเสรี๑
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๔๐] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งเปล่งอุทานดังนี้)
ในท่ามกลางสหาย ย่อมมีการปรึกษากัน
ในเรื่องที่อยู่ เรื่องการดำรงตน เรื่องการไป เรื่องการเที่ยวจาริก
บุคคลเมื่อเพ่งเห็นการบวชที่ให้ถึงความเสรี
ที่พวกคนพาลไม่มุ่งหวัง
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๔๑] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
ในท่ามกลางสหาย ย่อมมีการเล่น มีความยินดี
และในบุตรก็ย่อมมีความรักอันไพบูลย์

เชิงอรรถ :
๑ ความเสรี มี ๒ อย่าง (๑) ธัมมเสรี ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
โพชฌงค์ ๗ และอริยมรรคมีองค์ ๘ (๒) บุคคลเสรี คือ ผู้ที่มีธัมมเสรี (ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๒๕/๔๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๕๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค] ๓. ขัคควิสาณสูตร
บุคคลเมื่อรังเกียจความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๔๒] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งเปล่งอุทานดังนี้)
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแผ่เมตตาไปทั้ง ๔ ทิศ ไม่ขัดเคือง
ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้๑
ครอบงำอันตรายทั้งหลาย และไม่หวาดเสียว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๔๓] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
แม้บรรพชิตพวกหนึ่ง และคฤหัสถ์ที่กำลังครองเรือน
สงเคราะห์ได้ยาก๒
บุคคลพึงเป็นผู้ขวนขวายน้อยทั้งในผู้อื่นและในบุตร
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๔๔] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้กล้าหาญ
ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว๓
ตัดเครื่องผูกพันของคฤหัสถ์แล้ว
เหมือนต้นทองหลางที่ใบร่วงหล่นแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด

เชิงอรรถ :
๑ ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ หมายถึงยินดีปัจจัยตามที่ได้(ยถาลาภสันโดษ) ยินดีตามกำลัง(ยถาพลสันโดษ)
ยินดีตามสมควร(ยถาสารุปปสันโดษ) เช่นได้จีวรไม่ว่าจะหยาบ ละเอียด เศร้าหมอง ประณีต คงทน หรือ
เก่าก็ตาม ก็ยินดีด้วยสันโดษทั้ง ๓ นั้น (ขุ.สุ.อ. ๑/๔๒/๘๒, ขุ.จู.อ. ๑๒๘/๑๑๗)
๒ สงเคราะห์ได้ยาก หมายถึงเป็นผู้ถูกความไม่สันโดษครอบงำ (ขุ.สุ.อ. ๑/๔๓/๘๔)
๓ เครื่องหมายคฤหัสถ์ คือ ผม หนวด ผ้าขาว เครื่องประดับ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ สตรี บุตร ทาส
เป็นต้น (ขุ.สุ.อ. ๑/๔๔/๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๕๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค] ๓. ขัคควิสาณสูตร
[๔๕] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
ถ้าบุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน
เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี๑ เป็นนักปราชญ์
ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว
พึงมีใจแช่มชื่น มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้นเถิด
[๔๖] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
ถ้าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน
เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์
ก็พึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเถิด
เหมือนพระราชาทรงละทิ้งแคว้นที่ทรงชนะแล้ว
ทรงประพฤติอยู่พระองค์เดียว
และเหมือนช้างมาตังคะละทิ้งโขลงอยู่ตัวเดียวในป่า ฉะนั้น๒
[๔๗] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
เราสรรเสริญสหายสัมปทาโดยแท้
บุคคลควรคบสหายผู้ประเสริฐสุด (หรือ) ผู้เสมอกัน
ถ้าบุคคลไม่ได้สหายเหล่านี้ พึงเป็นผู้บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๔๘] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
บุคคลเห็นกำไลทอง ๒ วง อันสุกปลั่ง
ที่ช่างทองทำสำเร็จอย่างดี กระทบกันอยู่ที่ข้อมือแล้ว๓
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๔ หน้า ๑๓๕ ในเล่มนี้
๒ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๔๖๔/๓๕๕, ขุ.ชา. (แปล) ๒๗/๑๗-๑๙/๓๐๓ และดูธรรมบทข้อ ๓๒๘-๓๒๙ หน้า
๑๓๕-๑๓๖ ในเล่มนี้
๓ หมายถึงเกิดความเบื่อหน่ายด้วยพิจารณาเห็นว่าคนอยู่ด้วยกันเป็นจำนวนมาก ย่อมกระทบกระะทั่งกันได้
ด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ ดุจกำไลมือกระทบกัน (ขุ.สุ.อ. ๑/๔๘/๙๑) และดู ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๓๔/๔๓๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๕๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค] ๓. ขัคควิสาณสูตร
[๔๙] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งเปล่งอุทานดังนี้)
ด้วยอาการอย่างนี้ การกล่าววาจา๑
หรือความเกี่ยวข้องกับเพื่อน พึงมีแก่เรา
บุคคลเมื่อเพ่งเห็นภัย๒นี้ต่อไป
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๕๐] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
เพราะกามทั้งหลายสวยงาม
มีรสอร่อย น่ารื่นเริงใจ
ยั่วยวนจิตด้วยอารมณ์หลายรูปแบบ
บุคคลเห็นโทษในกามคุณแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๕๑] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
คำว่า ‘กาม’ นี้ เป็นอันตราย เป็นดุจฝี เป็นอุปัทวะ
เป็นโรค เป็นดุจลูกศร และเป็นภัย
บุคคลเห็นภัยนี้ในกามคุณแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๕๒] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
บุคคลครอบงำภัยทั้งปวงเหล่านี้ คือ
ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย
ลม แดด เหลือบ และสัตว์เลื้อยคลานแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด

เชิงอรรถ :
๑ การกล่าววาจา ในที่นี้หมายถึงติรัจฉานกถา ๓๒ ประการ มีเรื่องพระราชา เรื่องโจร เป็นต้น (ขุ.จู. (แปล)
๓๐/๑๓๕/๔๓๙)
๒ ภัย หมายถึงชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย ราชภัย โจรภัย เป็นต้น (ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๓๕/๔๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๕๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค] ๓. ขัคควิสาณสูตร
[๕๓] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละทิ้งหมู่ มีขันธ์๑เกิดดีแล้ว
มีดอกบัว (คือธรรม) เป็นผู้ยิ่งใหญ่
อยู่ในป่าตามความชอบใจได้
เหมือนนาคะ๒ละทิ้งโขลงแล้วอยู่ในป่าได้ตามชอบใจ
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๕๔] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
บุคคลสัมผัสวิมุตติใด ซึ่งเกิดขึ้นตามสมัย
วิมุตตินั้น เป็นไปไม่ได้สำหรับบุคคล
ผู้ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
บุคคลใคร่ครวญถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์แล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๕๕] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า)ประพฤติล่วงทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนาม๓
ถึงนิยาม๔ ได้เฉพาะมรรค๕แล้ว
เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องให้ผู้อื่นแนะนำ
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด

เชิงอรรถ :
๑ ขันธ์ ในที่นี้หมายถึงอเสขสีลขันธ์ (กองแห่งศีลของพระอเสขะ) (ขุ.สุ.อ.๑/๕๓/๙๙)
๒ นาคะ ที่เป็นชื่อของช้าง เพราะช้างไดรับการฝึกให้อยู่ในระเบียบที่มนุษย์ต้องการได้ เพราะช้างไม่กลับมาสู่
ระดับเดิมที่ยังไม่ได้ฝึก หรือเพราะช้างมีสรีระใหญ่ ที่เป็นชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้า เพราะท่านฝึกตนในศีล
ที่พระอริยะใคร่ เพราะท่านไม่กลับมาสู่ภูมิที่ไม่ได้ฝึก เพราะท่านไม่ทำความชั่ว หรือเพราะท่านมีคุณอันยิ่งใหญ่
(ขุ.สุ.อ.๑/๕๓/๙๘)
๓ ทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนาม ในที่นี้หมายถึงทิฏฐิ ๖๒ เป็นเสี้ยนหนามต่อสัมมาทิฏฐิ (ขุ.สุ.อ.๑/๕๕/๑๐๒)
๔ ถึงนิยาม ในที่นี้หมายถึงบรรลุมรรค ๔ (ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๔๑/๔๕๓)
๕ มรรค ในที่นี้หมายถึงอริยมรรคมีองค์ ๘ (ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๔๑/๔๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๕๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค] ๓. ขัคควิสาณสูตร
[๕๖] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) เป็นผู้ไม่โลภ
ไม่หลอกลวง ไม่กระหาย ไม่มีความลบหลู่
กำจัดกสาวะ(กิเลสดุจน้ำย้อม) และโมหะได้แล้ว
ไม่มีความหวัง๑ในโลกทั้งปวง
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๕๗] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
บุคคลพึงละเว้นสหายชั่วผู้ไม่เห็นประโยชน์
ผู้ตั้งอยู่ในธรรมที่ผิด
ไม่พึงคบคนผู้ขวนขวาย๒ และผู้ประมาทด้วยตนเอง
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๕๘] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
บุคคลพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม
ผู้ยิ่งใหญ่ มีปฏิภาณ รู้จักประโยชน์แล้ว
พึงกำจัดความสงสัยได้
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๕๙] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่ชื่นชมการเล่น
ความยินดี และความสุขในโลก ไม่ใส่ใจ
งดเว้นจากฐานะแห่งการประดับตกแต่ง พูดคำจริง
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๖๐] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละทิ้งบุตร ภรรยา บิดา มารดา
ทรัพย์ ธัญชาติ พวกพ้อง และกาม ตามส่วนแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด

เชิงอรรถ :
๑ ไม่มีความหวัง หมายถึงไม่มีตัณหา (ขุ.สุ.อ.๑/๕๖/๑๐๕)
๒ ขวนขวาย หมายถึงเกี่ยวข้องในธรรมผิดด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ ๑๐ ประการ (ขุ.สุ.อ.๑/๕๗/๑๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๕๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค] ๓. ขัคควิสาณสูตร
[๖๑] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย
ในกามนี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก
ผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดุจขอเหล็กแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๖๒] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ทำลายสังโยชน์แล้ว
เหมือนสัตว์น้ำทำลายข่าย
และเหมือนไฟไหม้เชื้อมอดหมดไปไม่กลับมา
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๖๓] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
ภิกษุเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ
และไม่เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข
คุ้มครองอินทรีย์ รักษาใจได้แล้ว
ไม่ชุ่มด้วยกิเลส ไฟกิเลสมิได้เผา
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๖๔] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว
ครองผ้ากาสาวะ ออกบวช
เหมือนต้นทองหลางที่ใบร่วงหล่นแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด๑
[๖๕] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่ทำความยินดีในรส ไม่โลเล
ผู้ที่ไม่ต้องเลี้ยงคนอื่น เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก
มีใจไม่ผูกพันในตระกูลต่าง ๆ
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด

เชิงอรรถ :
๑ ข้อความคล้ายกันกับสุตตนิบาตข้อ ๔๔ หน้า ๕๐๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๕๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค] ๓. ขัคควิสาณสูตร
[๖๖] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละนิวรณ์ ๕ อย่าง
ขจัดอุปกิเลส๑แห่งจิตทั้งปวงได้แล้ว
ไม่อิงอาศัย ตัดความรัก และความชังได้แล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๖๗] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละทิ้งสุขและทุกข์
โสมนัส โทมนัสก่อน ๆ ได้แล้ว
ได้อุเบกขาและสมถะอันสะอาดแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๖๘] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ตั้งความเพียร
เพื่อบรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง๒
มีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน
มีความบากบั่นมั่นคง เข้าถึงเรี่ยวแรงและกำลังแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๖๙] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่ละการหลีกเร้น๓และฌาน
ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นนิตย์

เชิงอรรถ :
๑ อุปกิเลส หมายถึงอกุศลธรรมที่เข้าไปเบียดเบียนจิต มี ๑๖ คือ (๑) อภิชฌาวิสามโลภะ คิดเพ่งเล็งอยากได้
(๒) พยาบาท คิดร้ายเขา (๓) โกธะ ความโกรธ (๔) อุปนาหะ ความผูกโกรธ (๕) มักขะ ความลบหลู่
คุณท่าน (๖) ปลาสะ ความตีเสมอ (๗) อิสสา ความริษยา (๘) มัจฉริยะ ความตระหนี่ (๙) มายา มารยา
(๑๐) สาเถยยะ ความโอ้อวดหลอกเขา (๑๑) ถัมภะ ความหัวดื้อ (๑๒) สารัมภะ ความแข่งดี (๑๓) มานะ
ความถือตัว (๑๔) อติมานะ ความถือตัวว่ายิ่งกว่าเขา (๑๕) มทะ ความมัวเมา (๑๖) ปมาทะ ความประมาท
(ขุ.สุ.อ.๑/๖๖/๑๑๗)
๒ ประโยชน์อย่างยิ่ง หมายถึงนิพพาน (ขุ.สุ.อ.๑/๖๘/๑๒๑)
๓ การหลีกเร้น ในที่นี้หมายถึงกายวิเวก (สงัดกาย) (ขุ.สุ.อ.๑/๖๙/๑๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๕๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค] ๓. ขัคควิสาณสูตร
พิจารณาเห็นโทษในภพแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๗๐] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ปรารถนาความสิ้นตัณหา
ไม่ประมาท ไม่โง่เขลา คงแก่เรียน มีสติ
ผู้มีสังขาตธรรม ผู้แน่นอน มีความมุ่งมั่น
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๗๑] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง เหมือนราชสีห์
ไม่ติดข่าย๑ เหมือนลม
ไม่เปียกน้ำ๒ เหมือนบัว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๗๒] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
พญาสีหราชมีเขี้ยวเป็นกำลัง
ข่มขี่ ครอบงำเนื้อทั้งหลายเที่ยวไป ฉันใด
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็มีปัญญาเป็นกำลัง
ครอบงำบุคคลทั้งหลายด้วยปัญญา
ใช้เสนาสนะอันสงัด
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๗๓] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) เสพอาศัยเมตตา กรุณา
มุทิตา และอุเบกขา อันเป็นวิมุตติตามกาล

เชิงอรรถ :
๑ ข่าย หมายถึง ตัณหาและทิฏฐิ (ขุ.จู (แปล) ๓๐/๑๕๗/๔๙๓)
๒ ไม่เปียกน้ำ ในที่นี้หมายถึงไม่ติดด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ (ขุ.จู (แปล) ๓๐/๑๕๗/๔๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๕๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค] ๔. กิสภารทวาชสูตร
สัตว์โลกทั้งปวงมิได้เกลียดชัง
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๗๔] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละราคะ โทสะ และโมหะ
ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว
ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๗๕] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
ทุกวันนี้ มิตรทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ
จึงคบและเสพด้วย
มิตรที่ไม่มุ่งประโยชน์หาได้ยาก
มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามุ่งประโยชน์ตน ไม่สะอาด๑
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
ขัคควิสาณสูตรที่ ๓ จบ
๔. กสิภารทวาชสูตร๒
ว่าด้วยภารทวาชพราหมณ์ผู้เป็นชาวนา
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ว่า
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ทักขิณาคีรีมหาวิหาร๓ ใกล้หมู่บ้าน
พราหมณ์ ชื่อเอกนาฬา แคว้นมคธ สมัยนั้น ในฤดูหว่านข้าว กสิภารทวาช-
พราหมณ์ได้ประกอบไถจำนวน ๕๐๐ เล่ม เตรียมไถนา

เชิงอรรถ :
๑ ไม่สะอาด หมายถึงกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมไม่สะอาด (ขุ.สุ.อ.๑/๗๕/๑๓๑)
๒ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๙๗/๒๘๓
๓ ทักขิณาคีรีมหาวิหาร นี้ตั้งอยู่ทางทิศใต้ติดเชิงภูเขาที่ล้อมรอบกรุงราชคฤห์ ใกล้หมู่บ้านพราหมณ์
(ขุ.สุ.อ.๑/๔/๑๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๕๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค] ๔. กิสภารทวาชสูตร
ครั้งนั้น ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปยังที่ทำการงานของกสิภารทวาชพราหมณ์ ขณะนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์
กำลังเลี้ยงอาหารกันอยู่ พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังสถานที่เลี้ยงอาหารของเขาแล้ว
ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร
กสิภารทวาชพราหมณ์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับยืนบิณฑบาตอยู่ จึงกราบทูล
ดังนี้ว่า “ท่านพระสมณะ ข้าพเจ้าไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว จึงบริโภค
ท่านพระสมณะ แม้ท่านก็จงไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว จงบริโภค”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน ครั้นไถและ
หว่านแล้ว จึงบริโภค”
กสิภารทวาชพราหมณ์ทูลถามว่า “ท่านพระสมณะ ข้าพเจ้าไม่เห็นแอก ไถ
ผาล ประตัก หรือโคทั้งหลายของท่านพระโคดมเลย ถึงกระนั้น ท่านพระโคดม
ยังพูดอย่างนี้ว่า ‘พราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว จึงบริโภค”
ลำดับนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๗๖] ท่านปฏิญญาว่าเป็นชาวนา
แต่ข้าพเจ้าไม่เห็นสัมภาระแห่งการไถของท่านเลย
ท่านผู้เป็นชาวนา ข้าพเจ้าถามแล้ว
ขอจงบอก ข้าพเจ้าจะรู้สัมภาระแห่งการไถของท่านได้อย่างไร
[๗๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้)
ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน
ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ หิริเป็นงอนไถ
ใจเป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและประตัก
[๗๘] เราคุ้มครองกาย คุ้มครองวาจาได้แล้ว
สำรวมในการบริโภคอาหาร
เราดายหญ้า (คือวาจาสับปลับ) ด้วยคำสัตย์
โสรัจจะของเราช่วยทำงานให้สำเร็จ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๕๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค] ๔. กิสภารทวาชสูตร
[๗๙] ความเพียรของเราช่วยนำธุระไป
ให้ถึงความเกษมจากโยคะ นำไปไม่ถอยหลัง
นำไปถึงที่ซึ่งบุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก
[๘๐] เราไถนาอย่างนี้
นาที่เราไถนั้นมีผลเป็นอมตะ๑
บุคคลครั้นไถนาอย่างนี้แล้ว
ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
ลำดับนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์เทข้าวปายาสใส่ถาดสำริดใบใหญ่แล้วน้อมถวาย
พระผู้มีพระภาค พร้อมกับกราบทูลว่า “ขอท่านพระโคดมจงบริโภคข้าวปายาสเถิด
เพราะท่านผู้เจริญทรงเป็นชาวนา ทรงไถนาอันมีผลเป็นอมตะ”
[๘๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้)
เราไม่บริโภคโภชนะ
ที่ได้มาเพราะการขับกล่อม
พราหมณ์ ธรรมนั้นไม่ใช่ธรรมของผู้พิจารณา
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ไม่รับโภชนะที่ได้มาเพราะการขับกล่อม
พราหมณ์ เมื่อธรรมมีอยู่
การเลี้ยงชีพแบบนี้ก็ยังมีอยู่
[๘๒] อนึ่ง ท่านจงบำรุงพระขีณาสพ
ผู้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
มีความคะนองสงบแล้ว ด้วยข้าวและน้ำ
เพราะว่าการบำรุงนั้น
เป็นเขตบุญของผู้แสวงบุญ
กสิภารทวาชพราหมณ์ทูลถามว่า “ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้าพเจ้า
จะนำข้าวปายาสนี้ไปถวายใครเล่า”

เชิงอรรถ :
๑ ผลเป็นอมตะ คือ มีนิพพานเป็นอานิสงส์ (ขุ.สุ.อ. ๑/๘๐/๑๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๕๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค] ๔. กิสภารทวาชสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ เราไม่เห็นใครในโลก พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ที่บริโภค
ข้าวปายาสนั้นแล้ว จะให้ย่อยได้ตามปกติ นอกเสียจากตถาคตหรือสาวกของตถาคต
เท่านั้น พราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงนำข้าวปายาสนี้ไปเททิ้งบนพื้นดินที่ปราศจาก
ต้นไม้ใบหญ้า หรือเทลงในน้ำที่ไม่มีสัตว์อาศัยอยู่เถิด”
ลำดับนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์จึงนำข้าวปายาสนั้นไปเททิ้งลงในน้ำที่ไม่มี
สัตว์อาศัยอยู่ พอข้าวปายาสนั้นถูกเทจมลงในน้ำ ก็เกิดเสียงดังแฉ่ ๆ ปรากฏ
ควันโขมงคลุ้งขึ้นรอบด้าน เหมือนก้อนเหล็กที่ถูกเผาไฟให้ร้อนอยู่ตลอดวันแล้ว
ถูกนำไปหย่อนลงในน้ำ ก็เกิดเสียงดังแฉ่ ๆ ปรากฏควันโขมงคลุ้งขึ้นรอบด้าน ฉะนั้น
เมื่อเห็นดังนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์จึงสลดใจ เกิดอาการขนพองสยองเกล้า
ตรงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ หมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มี
พระภาค พร้อมกับกราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดม
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะ
ยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือน
บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีป
ในที่มืด โดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม
พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์
ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต ข้าแต่ท่านพระโคดม
ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของท่านพระโคดมด้วยเถิด
พระพุทธเจ้าข้า”
กสิภารทวาชพราหมณ์ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค หลังจาก
อุปสมบทแล้วไม่นาน ท่านพระภารทวาชะจากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์
ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึง
อยู่ในปัจจุบัน ได้รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป
จึงเป็นอันว่า ท่านพระภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดา
พระอรหันต์ทั้งหลาย
กสิภารทวาชสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๕๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค] ๕. จุนทสูตร
๕. จุนทสูตร
ว่าด้วยปัญหาของนายจุนทกัมมารบุตร
[๘๓] (นายจุนทกัมมารบุตรทูลถามปัญหาดังนี้)
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระพุทธเจ้าผู้เป็นมุนี
มีพระปัญญามาก ทรงเป็นเจ้าของพระธรรม ปราศจากตัณหา
ทรงเป็นผู้ประเสริฐสุดในบรรดาสรรพสัตว์มีสัตว์ ๒ เท้าเป็นต้น
ทรงเป็นผู้เลิศกว่านายสารถีผู้ฝึกทั้งหลายว่า
ในโลกนี้มีสมณะอยู่กี่จำพวก
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกให้ข้าพระองค์ทราบด้วยเถิด
[๘๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้)
จุนทะ สมณะมีอยู่ ๔ จำพวก ไม่มีสมณะจำพวกที่ ๕
เราถูกท่านถามต่อหน้าอย่างนี้ ก็จะชี้แจงให้ท่านทราบ
สมณะ ๔ จำพวกนั้น คือ
๑. สมณะผู้ชนะกิเลสทั้งปวงด้วยมรรค
๒. สมณะผู้แสดงมรรคแก่ชนเหล่าอื่น
๓. สมณะผู้ดำรงอยู่ในมรรค
๔. สมณะผู้ประทุษร้ายมรรค
[๘๕] (นายจุนทกัมมารบุตรทูลถามปัญหาดังนี้)
พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงบัญญัติเรียก
สมณะผู้ชนะกิเลสทั้งปวงด้วยมรรคว่าอย่างไร
ทรงบัญญัติเรียกสมณะผู้มีปกติเพ่งมรรค ไม่มีผู้เปรียบเทียบนั้นว่าอย่างไร
ทรงบัญญัติเรียกสมณะผู้ดำรงอยู่ในมรรคนั้นว่าอย่างไร
ทรงบัญญัติเรียกสมณะผู้ประทุษร้ายมรรคนั้นว่าอย่างไร
ข้าพระองค์ทูลถามแล้วขอพระองค์ตรัสบอกแก่ข้าพระองค์
ขอพระองค์ทรงชี้แจงแก่ข้าพระองค์เถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๕๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค] ๕. จุนทสูตร
[๘๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้)
พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงบัญญัติเรียก
สมณะผู้ข้ามพ้นความสงสัยได้เด็ดขาด
ปราศจากกิเลสดุจลูกศร ยินดียิ่งในนิพพาน
ไม่ติดอยู่ในตัณหา ผู้แนะนำสั่งสอนชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลกว่า
เป็นสมณะผู้ชนะกิเลสทั้งปวงด้วยมรรค
[๘๗] ภิกษุใดในธรรมวินัยนี้ รู้ว่า นิพพานเป็นบรมธรรม
แล้วบอก เปิดเผยนิพพานธรรมในธรรมวินัยนี้
พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงบัญญัติเรียกภิกษุ
ผู้ตัดความสงสัยได้แล้ว เป็นมุนี
ไม่มีตัณหาทำให้หวั่นไหวนั้นว่า
เป็นสมณะจำพวกที่ ๒ ผู้แสดงมรรค
[๘๘] ภิกษุใดเป็นผู้สำรวมแล้ว มีสติ เสพบทอันไม่มีโทษ๑
ดำรงอยู่ในมรรคคือบทแห่งธรรมที่แสดงไว้ดีแล้ว
พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงบัญญัติเรียกภิกษุนั้นว่า
เป็นสมณะจำพวกที่ ๓ ผู้ดำรงอยู่ในมรรค
[๘๙] ภิกษุใดทำตนเลียนแบบพระอริยะ ผู้มีวัตรดีงาม
ชอบเอาหน้า ประทุษร้ายตระกูล
คะนองกาย วาจา ใจ มีมายา ไม่สำรวม พูดเพ้อเจ้อ
ภิกษุผู้เที่ยวเลียนแบบ จัดเป็นสมณะจำพวกที่ ๔ ผู้ประทุษร้ายมรรค
[๙๐] อนึ่ง คฤหัสถ์ผู้ได้สดับแล้ว เป็นอริยสาวก มีปัญญา
รู้ซึ้งถึงลักษณะสมณะทั้ง ๔ จำพวกนั้น
แล้วรู้ว่า สมณะทั้งหมดไม่เป็นเช่นนี้
เพราะเห็นเช่นนี้ ศรัทธาของเขาจึงไม่เสื่อมไป

เชิงอรรถ :
๑ เสพบทอันไม่มีโทษ หมายถึงปฏิบัติตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ (ขุ.สุ.อ.๑/๘๘/๑๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๕๒๒ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น