Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๐-๓ หน้า ๑๑๓ - ๑๖๗

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส



พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
การถามอีก ๓ อย่าง คือ
๑. การถามถึงสติปัฏฐาน ๒. การถามถึงสัมมัปปธาน
๓. การถามถึงอิทธิบาท
การถามอีก ๓ อย่าง คือ
๑. การถามถึงอินทรีย์ ๒. การถามถึงพละ
๓. การถามถึงโพชฌงค์
การถามอีก ๓ อย่าง คือ
๑. การถามถึงมรรค ๒. การถามถึงผล
๓. การถามถึงนิพพาน
คำว่า ขอทูลถามปัญหานั้น อธิบายว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ คือ
ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้น
แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด รวมความว่า ขอทูลถามปัญหานั้น
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นด้วยเถิด อธิบายว่า ขอโปรดตรัส
คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ
รวมความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์
โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านเมตตคูทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ รวม
ความว่า ท่านเมตตคูทูลถาม ดังนี้
คำว่า ข้าพระองค์ย่อมสำคัญพระองค์ว่าทรงเป็นผู้จบเวท ทรงอบรม
พระองค์แล้ว อธิบายว่า ข้าพระองค์ย่อมสำคัญพระองค์ว่าทรงเป็นผู้จบเวท สำคัญ
พระองค์ว่ามีพระองค์อบรมแล้ว คือ เข้าใจอย่างนี้ รู้อย่างนี้ รู้ละเอียดอย่างนี้ รู้
เฉพาะอย่างนี้ แทงตลอดอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
ว่าด้วยผู้จบเวท
คำว่า ทรงเป็นผู้จบเวท ทรงอบรมพระองค์แล้ว อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงเป็นผู้จบเวท อย่างไร
ญาณ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ฯลฯ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิมังสา
วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิในมรรคทั้ง ๔ เรียกว่า เวท
พระผู้มีพระภาคทรงถึงที่สุด ทรงบรรลุที่สุด ทรงถึงส่วนสุด ทรงบรรลุส่วนสุด
ทรงถึงปลายสุด ทรงบรรลุปลายสุด ทรงถึงท้ายสุด ทรงบรรลุท้ายสุด ทรงถึงที่
ปกป้อง ทรงบรรลุที่ปกป้อง ทรงถึงที่หลีกเร้น ทรงบรรลุที่หลีกเร้น ทรงถึงที่พึ่ง
ทรงบรรลุที่พึ่ง ทรงถึงที่ไม่มีภัย ทรงบรรลุที่ไม่มีภัย ทรงถึงที่ไม่จุติ ทรงบรรลุที่ไม่จุติ
ทรงถึงที่ไม่ตาย ทรงบรรลุที่ไม่ตาย ทรงถึงที่ดับ ทรงบรรลุที่ดับแห่งชาติ ชรา
และมรณะ ด้วยเวทเหล่านั้น
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคชื่อว่าทรงเป็นผู้จบเวท เพราะทรงถึงที่สุดแห่ง
เวททั้งหลาย
ชื่อว่าทรงเป็นผู้จบเวท เพราะทรงถึงที่สุดด้วยเวททั้งหลาย
ชื่อว่าทรงเป็นผู้จบเวท เพราะทรงเป็นผู้รู้แจ้งธรรม ๗ ประการ คือ
๑. ทรงรู้แจ้งสักกายทิฏฐิ
๒. ทรงรู้แจ้งวิจิกิจฉา
๓. ทรงรู้แจ้งสีลัพพตปรามาส
๔. ทรงรู้แจ้งราคะ
๕. ทรงรู้แจ้งโทสะ
๖. ทรงรู้แจ้งโมหะ
๗. ทรงรู้แจ้งมานะ
และพระองค์ทรงรู้แจ้งบาปอกุศลธรรมซึ่งเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง ก่อภพใหม่
มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติชราและมรณะต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สภิยะ)
บุคคลวิจัยเวททั้งหมดของสมณพราหมณ์ที่มีอยู่
เป็นผู้ปราศจากราคะในเวทนาทั้งปวง
ก้าวล่วงเวททั้งปวงแล้ว ชื่อว่าผู้จบเวท๑
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงเป็นผู้จบเวท อย่างนี้
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงอบรมพระองค์แล้ว เป็นอย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคทรงอบรมพระวรกายแล้ว อบรมศีล อบรมจิต อบรม
ปัญญา อบรมสติปัฏฐาน อบรมสัมมัปปธาน อบรมอิทธิบาท อบรมอินทรีย์
อบรมพละ อบรมโพชฌงค์ อบรมมรรค ทรงละกิเลสได้แล้ว รู้แจ้งธรรมที่ไม่
กำเริบแล้ว ทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว พระองค์ทรงกำหนดรู้ทุกข์ได้แล้ว ละสมุทัยได้แล้ว
เจริญมรรคได้แล้ว ทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้แล้ว กำหนดรู้ธรรมที่
ควรกำหนดรู้ได้แล้ว ละธรรมที่ควรละได้แล้ว เจริญธรรมที่ควรเจริญได้แล้ว ทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งได้แล้ว พระองค์ทรงมีธรรมไม่น้อย ใหญ่ ลึกซึ้ง ประมาณไม่ได้
หยั่งลงได้ยาก มีพระธรรมรัตนะมาก เปรียบดังทะเลหลวง ประกอบด้วยอุเบกขา
มีองค์ ๖ (คือ)
ว่าด้วยอุเบกขามีองค์ ๖
พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูปทางพระเนตรแล้ว ไม่ดีพระทัย ไม่เสียพระทัย
ทรงวางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ทรงสดับเสียงทางพระโสตแล้ว ฯลฯ ทรงดม
กลิ่นทางพระนาสิกแล้ว ฯลฯ ทรงลิ้มรสทางพระชิวหาแล้ว ฯลฯ ทรงถูกต้อง
โผฏฐัพพะทางพระวรกายแล้ว ฯลฯ ทรงรู้ธรรมารมณ์ทางพระทัยแล้ว ก็ไม่ดีพระทัย
ไม่เสียพระทัย ทรงวางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่
พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูปทางพระเนตรแล้ว ก็ไม่ติดพระทัย ไม่ทรงยินดีรูป
ที่น่าพอพระทัย ไม่ทรงให้เกิดความกำหนัด พระองค์มีพระวรกายตั้งมั่น มีพระทัย
ตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ทรงเห็นรูปนั้นที่ไม่น่าพอพระทัยทาง

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๕๓๕/๔๓๘, ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๘๐/๒๔๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
พระเนตรแล้ว ก็ไม่เสียพระทัย ไม่กริ้ว ไม่หดหู่ ไม่พยาบาท พระองค์มีพระวรกาย
ตั้งมั่น มีพระทัยตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีภายใน ทรงหลุดพ้นดีแล้ว สดับเสียงทาง
พระโสตแล้ว ฯลฯ ทรงดมกลิ่นทางพระนาสิกแล้ว ฯลฯ ทรงลิ้มรสทางพระ-
ชิวหาแล้ว ฯลฯ ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะทางพระวรกายแล้ว ฯลฯ ทรงรู้ธรรมารมณ์
ทางพระทัยแล้ว ก็ไม่ติดพระทัย ไม่ทรงยินดีธรรมารมณ์ที่น่าพอพระทัย ไม่ทรงให้
เกิดความกำหนัด พระองค์มีพระวรกายตั้งมั่น มีพระทัยตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีภายใน
ทรงหลุดพ้นดีแล้ว ทรงรู้ธรรมารมณ์นั้นที่ไม่น่าพอใจทางพระทัยแล้ว ก็ไม่เสียพระทัย
ไม่กริ้ว ไม่หดหู่ ไม่พยาบาท พระองค์มีพระวรกายตั้งมั่น มีพระทัยตั้งมั่น ดำรง
อยู่ด้วยดีภายใน หลุดพ้นดีแล้ว
พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูปทางพระเนตรแล้ว ก็มีพระวรกายตั้งมั่นในรูปที่
ชอบพระทัยและไม่ชอบพระทัย มีพระทัยตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีภายใน หลุดพ้นดีแล้ว
สดับเสียงทางพระโสตแล้ว ฯลฯ ทรงดมกลิ่นทางพระนาสิกแล้ว ฯลฯ ทรงลิ้มรส
ทางพระชิวหาแล้ว ฯลฯ ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะทางพระวรกายแล้ว ฯลฯ ทรงรู้
ธรรมารมณ์ทางพระทัยแล้ว ก็มีพระวรกายตั้งมั่นในธรรมารมณ์ที่ชอบพระทัยและ
ไม่ชอบพระทัย มีพระทัยตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีภายใน หลุดพ้นดีแล้ว
พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูปทางพระเนตรแล้ว ก็ไม่ทรงกำหนัดในรูปที่ชวน
กำหนัด ไม่ขัดเคืองในรูปที่ชวนขัดเคือง ไม่หลงในรูปที่ชวนให้หลง ไม่โกรธในรูปที่
ชวนให้โกรธ ไม่เศร้าหมองในรูปที่ชวนให้เศร้าหมอง ไม่มัวเมาในรูปที่ชวนให้มัวเมา
สดับเสียงทางพระโสตแล้ว ฯลฯ ทรงดมกลิ่นทางพระนาสิกแล้ว ฯลฯ ทรงลิ้มรส
ทางพระชิวหาแล้ว ฯลฯ ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะทางพระวรกายแล้ว ฯลฯ ทรงรู้
ธรรมารมณ์ทางพระทัยแล้ว ก็ไม่ทรงกำหนัดในธรรมารมณ์ที่ชวนให้กำหนัด ไม่
ทรงขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่ชวนให้ขัดเคือง ไม่หลงในธรรมารมณ์ที่ชวนให้หลง
ไม่ทรงมัวเมาในธรรมารมณ์ที่ชวนให้มัวเมา ไม่ทรงเศร้าหมองในธรรมารมณ์ที่ชวน
ให้เศร้าหมอง
พระผู้มีพระภาคเมื่อทอดพระเนตร ก็สักว่าทอดพระเนตร เมื่อสดับก็สักว่า
สดับ เมื่อรับรู้ กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็สักว่ารับรู้ เมื่อรู้แจ้งธรรมารมณ์ก็สักว่ารู้แจ้ง
ไม่ทรงติดในรูปที่ทรงเห็น ไม่ทรงติดในเสียงที่ได้สดับ ไม่ทรงติดในกลิ่น ไม่ทรงติด
ในรสและไม่ทรงติดในสัมผัสที่รับรู้ ไม่ทรงติดในธรรมารมณ์ที่ทรงรู้แจ้ง ไม่มีตัณหา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
ไม่มีใจประทุษร้าย ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องในรูป
ที่ทรงเห็น มีพระทัยเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ ไม่มีตัณหา ไม่มีใจประทุษร้าย
ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย ไม่ทรงพัวพัน พ้นขาด ไม่ทรงเกี่ยวข้องในเสียงที่ได้สดับ
ฯลฯ ในกลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ ฯลฯ ในธรรมารมณ์ที่ทรงรู้แจ้ง มีพระทัย
เป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่
พระผู้มีพระภาคมีพระเนตร ทรงเห็นรูปทางพระเนตร แต่พระผู้มีพระภาคไม่
ทรงมีความกำหนัดด้วยความพอพระทัย มีพระทัยหลุดพ้นดีแล้ว พระผู้มีพระภาค
ก็มีพระโสต สดับเสียงทางพระโสต แต่ไม่ทรงมีความกำหนัดด้วยความพอพระทัย
มีพระทัยหลุดพ้นดีแล้ว พระผู้มีพระภาคก็มีพระนาสิก ทรงดมกลิ่นทางพระนาสิก
แต่ไม่ทรงมีความกำหนัดด้วยความพอพระทัย มีพระทัยหลุดพ้นดีแล้ว พระผู้มี-
พระภาคก็มีพระชิวหา ทรงลิ้มรสทางพระชิวหา แต่ไม่ทรงมีความกำหนัดด้วย
ความพอพระทัย มีพระทัยหลุดพ้นดีแล้ว พระผู้มีพระภาคก็มีพระวรกาย ทรงถูก
ต้องโผฏฐัพพะทางพระวรกาย แต่ไม่ทรงมีความกำหนัดด้วยความพอพระทัย มี
พระทัยหลุดพ้นดีแล้ว พระผู้มีพระภาคก็มีพระทัย ทรงรู้ธรรมารมณ์ทางพระทัยแล้ว
แต่ไม่ทรงมีความกำหนัดด้วยความพอพระทัย มีพระทัยหลุดพ้นดีแล้ว
ตาชอบรูป ยินดีในรูป ชื่นชมในรูป พระผู้มีพระภาคทรงฝึก คุ้มครอง รักษา
สำรวมพระเนตร และทรงแสดงธรรมเพื่อสำรวมตานั้น หูชอบเสียง ยินดีในเสียง
ชื่นชมในเสียง ฯลฯ จมูกชอบกลิ่น ยินดีในกลิ่น ฯลฯ ลิ้นชอบรส ยินดีในรส
ชื่นชมในรส พระผู้มีพระภาคทรงฝึก คุ้มครอง รักษา สำรวมลิ้น และทรงแสดง
ธรรมเพื่อสำรวมลิ้นนั้น กายชอบโผฏฐัพพะ ยินดีในโผฏฐัพพะ ชื่นชมในโผฏฐัพพะ
ใจชอบธรรมารมณ์ ยินดีในธรรมารมณ์ ชื่นชมในธรรมารมณ์ พระผู้มีพระภาคทรงฝึก
คุ้มครอง รักษา สำรวม และทรงแสดงธรรมเพื่อสำรวมใจนั้น
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)
คนทั้งหลายนำสัตว์พาหนะที่ฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม
พระราชาย่อมทรงราชพาหนะที่ฝึกแล้ว
ในหมู่มนุษย์ คนที่ฝึกแล้ว ซึ่งอดกลั้นต่อคำล่วงเกินได้ ประเสริฐสุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
ม้าอัสดร ม้าอาชาไนย ม้าสินธพ ช้างใหญ่
ที่ได้รับการฝึกหัดแล้ว ประเสริฐ
แต่คนที่ฝึกหัดแล้ว ประเสริฐกว่าสัตว์พาหนะเหล่านั้น
เพราะใครก็ไปถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไป
ด้วยยานพาหนะเหล่านั้นไม่ได้
เหมือนบุคคลผู้ฝึกแล้ว มีตนฝึกหัดแล้วอย่างดี ไปถึงได้๑
พระอรหันต์ทั้งหลาย หลุดพ้นจากภพใหม่แล้ว
บรรลุถึงภูมิที่ฝึกแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวในมานะทั้งหลาย
ท่านเป็นผู้ชนะแล้วในโลก๒
ผู้ใดอบรมอินทรีย์แล้วในโลกทั้งปวง ทั้งภายในและภายนอก
ผู้นั้นเป็นผู้อบรมแล้ว ฝึกดีแล้ว รู้ชัดทั้งโลกนี้และปรโลก
รอคอยอยู่แต่เวลาเท่านั้น๓
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงอบรมพระองค์แล้ว อย่างนี้ รวมความว่า
ข้าพระองค์ย่อมสำคัญพระองค์ว่า ทรงเป็นผู้จบเวท ทรงอบรมพระองค์แล้ว
ว่าด้วยทุกข์
คำว่า จากไหนหนอ ในคำว่า ทุกข์เหล่านี้เกิดมาจากไหนหนอ เป็นคำถาม
ด้วยความสงสัย เป็นคำถามด้วยความข้องใจ เป็นคำถาม ๒ แง่ เป็นคำถามมี
มุมหลายหลากว่า “อย่างนี้หรือหนอ มิใช่หรือหนอ เป็นอะไรเล่าหนอ เป็น
อย่างไรเล่าหนอ” รวมความว่า จากไหนหนอ
คำว่า ทุกข์ ได้แก่ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทว-
ทุกขโทมนัสอุปายาสทุกข์ ทุกข์คือความเสียหาย ทุกข์เนื่องจากการเกิดในนรก
ทุกข์เนื่องจากการเกิดในกำเนิดเดรัจฉาน ทุกข์เนื่องจากการเกิดในเปตวิสัย ทุกข์

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ธ. ๒๕/๓๒๑-๓๒๓/๗๒, ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๙๐/๒๘๒
๒ สํ.ข. ๑๗/๗๖/๖๘
๓ ขุ.สุ. ๒๕/๕๒๒/๔๓๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
เนื่องจากการเกิดในโลกมนุษย์ ทุกข์เนื่องจากการถือกำเนิดในครรภ์ ทุกข์เนื่องจาก
การอยู่ในครรภ์ ทุกข์เนื่องจากการคลอดจากครรภ์ ทุกข์ที่สืบเนื่องมาจากผู้เกิด
ทุกข์ของผู้เกิดที่เนื่องมาจากผู้อื่น ทุกข์ที่เกิดจากความพยายามของตนเอง ทุกข์ที่
เกิดจากความพยายามของผู้อื่น ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ทุกข์ในสงสาร
ทุกข์ที่เกิดจากความแปรผัน โรคทางตา โรคทางหู โรคทางจมูก โรคทางลิ้น โรค
ทางกาย โรคศีรษะ โรคหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด ไข้หวัด ไข้พิษ ไข้เชื่อมซึม
โรคท้อง เป็นลมสลบ ลงแดง จุกเสียด อหิวาตกโรค โรคเรื้อน ฝี กลาก
มองคร่อ ลมบ้าหมู หิดเปื่อย หิดด้าน หิด หูด โรคละลอก โรคดีซ่าน
โรคดีกำเริบ โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง ความเจ็บป่วยที่เกิด
จากดี ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเสมหะ ความเจ็บป่วยที่เกิดจากลม ไข้สันนิบาต
ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดู ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการผลัดเปลี่ยน
อิริยาบถไม่ได้ส่วน ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความพากเพียรเกินกำลัง ความเจ็บ
ป่วยที่เกิดจากผลกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวด
อุจจาระ ปวดปัสสาวะ ทุกข์ที่เกิดจากสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์
เลื้อยคลาน ทุกข์เพราะมารดาตาย ทุกข์เพราะบิดาตาย ทุกข์เพราะพี่ชายน้องชาย
ตาย ทุกข์เพราะพี่สาวน้องสาวตาย ทุกข์เพราะบุตรตาย ทุกข์เพราะธิดาตาย
ทุกข์เพราะความพินาศของญาติ ทุกข์เพราะความเสียหายที่เกิดจากโรค ทุกข์
เพราะโภคทรัพย์พินาศ ทุกข์เพราะสีลวิบัติ ทุกข์เพราะทิฏฐิวิบัติ
ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าใดปรากฏในเบื้องต้น ความดับแห่งธรรมเหล่านั้น
ย่อมปรากฏในเบื้องปลาย วิบากอาศัยกรรม กรรมก็อาศัยวิบาก รูปอาศัยนาม
นามก็อาศัยรูป นามรูปเป็นไปตามชาติ ชราติดตาม พยาธิครอบงำ มรณะย่ำยี
ตกอยู่ในความทุกข์ ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่หลีกเร้น ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย เหล่า
นี้เรียกว่า ทุกข์
ท่านเมตตคูทูลถามถึงมูล เหตุ ต้นเหตุ การเกิดขึ้น แดนเกิด สมุฏฐาน อาหาร
อารมณ์ ปัจจัย เหตุเกิดแห่งทุกข์เหล่านี้ว่า เกิดมาจากไหนหนอ คือ เกิดจากไหน
เกิดขึ้นจากไหน บังเกิดจากไหน บังเกิดขึ้นจากไหน ปรากฏจากไหน ได้แก่ มี
อะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด คือ
ขอทูลถาม ทูลขอ ทูลอาราธนา ทูลให้ทรงประกาศ รวมความว่า ทุกข์เหล่านี้
เกิดมาจากไหนหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า อะไรก็ตาม ในคำว่า ทุกข์หลายรูปแบบอะไรก็ตาม ... ในโลก ได้แก่
ทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง คำว่า
อะไรก็ตาม นี้ เป็นคำกล่าวรวม ๆ ไว้ทั้งหมด
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก
คำว่า หลายรูปแบบ ได้แก่ ทุกข์หลายอย่าง ต่างประการ รวมความว่า
ทุกข์หลายรูปแบบอะไรก็ตาม ... ในโลก ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
(ท่านเมตตคูทูลถาม ดังนี้)
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
ข้าพระองค์ย่อมสำคัญพระองค์ว่า ทรงเป็นผู้จบเวท
ทรงอบรมพระองค์แล้ว ทุกข์หลายรูปแบบอะไรก็ตามในโลก
ทุกข์เหล่านี้เกิดมาจากไหนหนอ
[๑๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เมตตคู)
เธอได้ถามถึงแดนเกิดแห่งทุกข์กับเราแล้ว
เราจะบอกแดนเกิดแห่งทุกข์นั้นแก่เธอตามที่เรารู้
ทุกข์หลายรูปแบบอะไรก็ตามในโลก
ล้วนเกิดมาจากอุปธิเป็นต้นเหตุ (๒)
คำว่า แห่งทุกข์ ในคำว่า เธอได้ถามถึงแดนเกิดแห่งทุกข์กับเราแล้ว
ได้แก่ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทวทุกขโทมนัส
อุปายาสทุกข์
คำว่า เธอได้ถามถึงแดนเกิด อธิบายว่า เธอได้ถามถึงมูล ถามถึงเหตุ
ถามถึงต้นเหตุ ถามถึงการเกิดขึ้น ถามถึงแดนเกิด ถามถึงสมุฏฐาน ถามถึงอาหาร
ถามถึงอารมณ์ ถามถึงปัจจัย ถามถึงเหตุเกิดแห่งทุกข์ คือ ขอ อัญเชิญ ให้ประกาศ
รวมความว่า เธอได้ถามถึงแดนเกิดแห่งทุกข์กับเราแล้ว
คำว่า เมตตคู เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า
พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
เมตตคู
คำว่า แดนเกิดแห่งทุกข์นั้น ในคำว่า เราจะบอกแดนเกิดแห่งทุกข์นั้นแก่
เธอตามที่เรารู้ อธิบายว่า เราจะบอก คือ จักพูด แสดง บัญญัติ กำหนด เปิด
เผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศมูล บอกเหตุ บอกต้นเหตุ บอกการเกิดขึ้น
บอกแดนเกิด บอกสมุฏฐาน บอกอาหาร บอกอารมณ์ บอกปัจจัย บอกเหตุเกิด
รวมความว่า เราจะบอกแดนเกิดแห่งทุกข์นั้นแก่เธอ
คำว่า ตามที่เรารู้ อธิบายว่า เราจะบอกธรรมที่รู้ด้วยตนเอง ธรรมที่ได้
ประจักษ์แก่ตนเองตามที่เรารู้ คือ ตามที่เราทราบ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ
แทงตลอด มิใช่โดยอาการเชื่อผู้อื่นว่าธรรมนี้เป็นดังนี้ ๆ มิใช่โดยการเล่าลือ มิใช่
โดยการถือสืบ ๆ กันมา มิใช่โดยการอ้างตำรา มิใช่โดยตรรกะ มิใช่โดยการอนุมาน
มิใช่โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล มิใช่เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รวม
ความว่า เราจะบอกแดนเกิดแห่งทุกข์นั้นแก่เธอตามที่เรารู้
ว่าด้วยอุปธิ ๑๐
คำว่า ทุกข์ ... ล้วนเกิดมาจากอุปธิเป็นต้นเหตุ อธิบายว่า
คำว่า อุปธิ ได้แก่ อุปธิ ๑๐ อย่าง คือ

๑. อุปธิคือตัณหา ๒. อุปธิคือทิฏฐิ
๓. อุปธิคือกิเลส ๔. อุปธิคือกรรม
๕. อุปธิคือทุจริต ๖. อุปธิคืออาหาร
๗. อุปธิคือปฏิฆะ ๘. อุปธิคืออุปาทินนธาตุ ๔
๙. อุปธิคืออายตนะภายใน ๖ ๑๐. อุปธิคือหมวดวิญญาณ ๖

ทุกข์แม้ทั้งหมด ก็เป็นอุปธิ เพราะมีความหมายว่า ทนได้ยาก เหล่านี้เรียกว่า
อุปธิ ๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ทุกข์ ได้แก่ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทว-
ทุกขโทมนัสอุปายาสทุกข์ ฯลฯ พยาธิครอบงำ มรณะย่ำยี ตกอยู่ในความทุกข์
ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่หลีกเร้น ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย เหล่านี้เรียกว่า ทุกข์
ทุกข์เหล่านี้ มีอุปธิเป็นต้นเหตุ คือมีอุปธิเป็นเหตุ มีอุปธิเป็นปัจจัย มีอุปธิเป็นการณ์
ชื่อว่าเกิดมา คือ กำเนิดมา เกิดขึ้น บังเกิดแต่อุปธิเป็นต้นเหตุ รวมความว่า ทุกข์
... ล้วนเกิดมาแต่อุปธิเป็นต้นเหตุ
คำว่า อะไรก็ตาม ในคำว่า หลายรูปแบบอะไรก็ตามในโลก อธิบายว่า
ทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง คำว่า
อะไรก็ตาม นี้ เป็นคำกล่าวรวม ๆ ไว้ทั้งหมด
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก
คำว่า หลายรูปแบบ ได้แก่ ทุกข์หลายอย่าง ต่างประการ รวมความว่า
หลายรูปแบบอะไรก็ตามในโลก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เมตตคู)
เธอได้ถามถึงแดนเกิดแห่งทุกข์กับเราแล้ว
เราจะบอกแดนเกิดแห่งทุกข์นั้นแก่เธอตามที่เรารู้
ทุกข์หลายรูปแบบอะไรก็ตามในโลก
ล้วนเกิดมาจากอุปธิเป็นต้นเหตุ
[๒๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
ผู้ใดแล ไม่มีปัญญา ย่อมก่ออุปธิ
ผู้นั้นจัดว่าเป็นคนเขลา ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ
เพราะฉะนั้น บุคคลรู้อยู่ เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นทุกข์ว่า
มีชาติเป็นแดนเกิด ไม่ควรก่ออุปธิ (๓)
คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดแล ไม่มีปัญญา ย่อมก่ออุปธิ ได้แก่ ผู้ใด คือ
ผู้เช่นใด ผู้ขวนขวายอย่างใด ผู้ตั้งใจอย่างใด ผู้มีประการอย่างใด ผู้ถึงฐานะใด
ผู้ประกอบด้วยธรรมใด จะเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต
เทวดา หรือมนุษย์ก็ตาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ไม่มีปัญญา ได้แก่ ไปตามอวิชชา คือ ไม่มีความรู้ ไม่มีปัญญาแจ่ม
กระจ่าง มีปัญญาทึบ
คำว่า ย่อมก่ออุปธิ อธิบายว่า ย่อมก่ออุปธิคือตัณหา ก่ออุปธิคือทิฏฐิ ก่อ
อุปธิคือกิเลส ก่ออุปธิคือกรรม ก่ออุปธิคือทุจริต ก่ออุปธิคืออาหาร ก่ออุปธิคือ
ปฏิฆะ ก่ออุปธิคืออุปาทินนธาตุ ๔ ก่ออุปธิคืออายตนะภายใน ๖ ก่ออุปธิคือ
หมวดวิญญาณ ๖ คือ ให้เกิด ให้เกิดขึ้น ให้บังเกิด ให้บังเกิดขึ้น รวมความว่า
ผู้ใดแล ไม่มีปัญญา ย่อมก่ออุปธิ
คำว่า ผู้นั้นจัดว่าเป็นคนเขลา ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ อธิบายว่า ถึง เข้าถึง
เข้าไปถึง คือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์
โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสทุกข์ รวมความว่า ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ
คำว่า เป็นคนเขลา ได้แก่ เป็นคนเขลา คือ เป็นคนหลง ไม่มีปัญญา ไป
ตามอวิชชา ไม่มีญาณ ไม่มีปัญญาแจ่มกระจ่าง มีปัญญาทึบ รวมความว่า ผู้นั้น
จัดว่าเป็นคนเขลา ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น บุคคลรู้อยู่ ... ไม่ควรก่ออุปธิ
ได้แก่ เพราะฉะนั้น คือเพราะข้อนั้นเป็นการณ์ เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ เพราะข้อนั้น
เป็นปัจจัย เพราะข้อนั้นเป็นต้นเหตุ คือ มองเห็นโทษนี้ในอุปธิทั้งหลาย รวมความว่า
เพราะฉะนั้น
คำว่า รู้อยู่ ได้แก่ รู้อยู่ คือ ทราบอยู่ รู้แจ่มแจ้งอยู่ รู้เฉพาะอยู่ แทงตลอดอยู่
คือ รู้อยู่ ทราบอยู่ รู้แจ่มแจ้งอยู่ รู้เฉพาะอยู่ แทงตลอดอยู่ว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
ฯลฯ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
คำว่า ไม่ควรก่ออุปธิ อธิบายว่า ไม่ควรก่ออุปธิคือตัณหา ไม่ควรก่ออุปธิ
คือทิฏฐิ ไม่ควรก่ออุปธิคือกิเลส ไม่ควรก่ออุปธิคือกรรม ไม่ควรก่ออุปธิคือ
ทุจริต ไม่ควรก่ออุปธิคืออาหาร ไม่ควรก่ออุปธิคือปฏิฆะ ไม่ควรก่ออุปธิคือ
อุปาทินนธาตุ๑ ๔ ไม่ควรก่ออุปธิคืออายตนะภายใน ไม่ควรก่ออุปธิหมวด

เชิงอรรถ :
๑ อุปาทินนธาตุ ๔ ได้แก่ ธาตุ ๔ มีปฐวีธาตุ เป็นต้น (ขุ.จู.อ. ๑๙/๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
วิญญาณ ๖ คือ ไม่ควรให้เกิด ไม่ควรให้เกิดขึ้น ไม่ควรให้บังเกิด ไม่ควรให้บังเกิดขึ้น
รวมความว่า เพราะฉะนั้น บุคคลรู้อยู่ ... ไม่ควรก่ออุปธิ
คำว่า ทุกข์ ได้แก่ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทว
ทุกขโทมนัสอุปายาสทุกข์
คำว่า เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็น (ทุกข์ว่ามีชาติ)เป็นแดนเกิด อธิบายว่า
พิจารณาเห็นมูล พิจารณาเห็นเหตุ พิจารณาเห็นต้นเหตุ พิจารณาเห็นการเกิดขึ้น
พิจารณาเห็นแดนเกิด พิจารณาเห็นสมุฏฐาน พิจารณาเห็นอาหาร พิจารณาเห็น
อารมณ์ พิจารณาเห็นปัจจัย พิจารณาเห็นเหตุเกิดแห่งทุกข์
ญาณ ตรัสเรียกว่า อนุปัสสนา ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ
ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ๑
ผู้ใดประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม
เพียบพร้อมด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาเห็นนี้ ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ผู้มีปกติพิจารณา
เห็น รวมความว่า เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นทุกข์ว่ามีชาติเป็นแดนเกิด ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
ผู้ใดแล ไม่มีปัญญา ย่อมก่ออุปธิ
ผู้นั้นจัดว่าเป็นคนเขลา ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ
เพราะฉะนั้น บุคคลรู้อยู่ เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นทุกข์ว่า
มีชาติเป็นแดนเกิด ไม่ควรก่ออุปธิ
[๒๑] (ท่านเมตตคูทูลถามว่า)
พวกข้าพระองค์ได้ทูลถามปัญหาใดกับพระองค์
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสบอกปัญหานั้นแก่พวกข้าพระองค์แล้ว
ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหาอื่นต่อไป
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นด้วยเถิด

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๕/๕๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
นักปราชญ์ทั้งหลาย จะข้ามโอฆะ ชาติ ชรา
โสกะ และปริเทวะได้อย่างไรหนอ
พระองค์ผู้เป็นพระมุนี ขอโปรดตรัสแก้ปัญหานั้น
แก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
เพราะธรรมนั้น พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว (๔)
คำว่า พวกข้าพระองค์ได้ทูลถามปัญหาใดกับพระองค์ พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสบอกปัญหานั้นแก่พวกข้าพระองค์แล้ว อธิบายว่า พวกข้าพระองค์ได้ทูล
ถามปัญหาใดกับพระองค์ คือ ได้ทูลขอ ได้ทูลอัญเชิญ ได้ทูลให้ทรงประกาศ
ปัญหาใด
คำว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสบอกปัญหานั้นแก่พวกข้าพระองค์แล้ว
อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบ ชี้แจง บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศแล้ว รวมความว่า พวกข้าพระองค์ได้ทูลถามปัญหา
ใดกับพระองค์ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบปัญหานั้นแก่พวกข้าพระองค์แล้ว
คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหาอื่นต่อไป ขอพระองค์โปรดตรัสบอก
ปัญหานั้นด้วยเถิด อธิบายว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหาอื่น คือ ทูลขอปัญหาอื่น
ทูลอัญเชิญปัญหาอื่น ทูลให้ทรงประกาศปัญหาอื่น ทูลถามให้ยิ่งขึ้นไป
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นด้วยเถิด อธิบายว่า ขอพระองค์
โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ประกาศเถิด รวมความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหาอื่นต่อไป ขอพระองค์
โปรดตรัสบอกปัญหานั้นด้วยเถิด
คำว่า อย่างไรหนอ ในคำว่า นักปราชญ์ทั้งหลาย จะข้ามโอฆะ ชาติ ชรา
โสกะ และปริเทวะได้อย่างไรหนอ เป็นคำถามด้วยความสงสัย เป็นคำถามด้วย
ความข้องใจ เป็นคำถาม ๒ แง่ เป็นคำถามมีแง่มุมหลายหลากว่า “อย่างนี้
หรือหนอ มิใช่หรือหนอ เป็นอะไรเล่าหนอ เป็นอย่างไรเล่าหนอ” รวมความว่า
อย่างไรหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า นักปราชญ์ทั้งหลาย ได้แก่ นักปราชญ์ทั้งหลาย คือ บัณฑิต ผู้มีปัญญา
มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
คำว่า โอฆะ ได้แก่ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ
คำว่า ชาติ ได้แก่ การเกิด คือ เกิดขึ้น การก้าวลง(สู่ครรภ์) การบังเกิด
การบังเกิดขึ้น ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การได้อายตนะในหมู่สัตว์นั้น ๆ
ของสัตว์เหล่านั้น ๆ
คำว่า ชรา ได้แก่ ความแก่ คือ ความทรุดโทรม ความเป็นผู้มีฟันหัก
ความเป็นผู้มีผมหงอก ความเป็นผู้มีหนังเหี่ยว ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อม
แห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ
คำว่า โสกะ ได้แก่ ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก
ความเศร้าโศกภายใน ความเศร้าโศกมากภายใน ความหม่นไหม้ภายใน ความ
เร่าร้อนภายใน ความหม่นไหม้แห่งจิต ความทุกข์ใจ ลูกศรคือความเศร้าโศก ของ
ผู้ที่ถูกความเสียหายของญาติกระทบบ้าง ถูกความเสียหายแห่งโภคทรัพย์กระทบบ้าง
ถูกความเสียหายเพราะโรคกระทบบ้าง ถูกสีลวิบัติกระทบบ้าง ถูกทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง
ประจวบกับความเสียหายอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่น
นอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง
คำว่า ปริเทวะ ได้แก่ ความบ่นเพ้อ ความคร่ำครวญ กิริยาที่บ่นเพ้อ
กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่บ่นเพ้อ ภาวะที่คร่ำครวญ การพูดพล่าม การพูดเพ้อ
การพูดเพ้อเจ้อ ความพร่ำเพ้อ กิริยาที่พร่ำเพ้อ ภาวะที่พร่ำเพ้อ ของผู้ถูกความ
เสียหายของญาติกระทบบ้าง ถูกทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง ประจวบกับความเสียหาย
อื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว
กระทบบ้าง
คำว่า นักปราชญ์ทั้งหลาย จะข้ามโอฆะ ชาติ ชรา โสกะ และปริเทวะ
ได้อย่างไรหนอ อธิบายว่า นักปราชญ์ทั้งหลายจะข้าม คือ ข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง
ล่วงเลยโอฆะ ชาติ ชรา โสกะ และปริเทวะได้อย่างไร รวมความว่า นักปราชญ์
ทั้งหลาย จะข้ามโอฆะ ชาติ ชรา โสกะ และปริเทวะได้อย่างไรหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ปัญหานั้น ในคำว่า พระองค์ผู้เป็นพระมุนี ขอโปรดตรัสแก้ปัญหา
นั้นแก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด อธิบายว่า ข้าพระองค์ทูลถาม ทูลขอ
ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศปัญหาใด (ขอโปรดตรัสแก้ปัญหานั้น)
ว่าด้วยโมเนยยธรรม ๓ ประการ
คำว่า พระมุนี อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ ได้แก่ ความรู้ทั่ว
กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ๑
พระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยญาณนั้น จึงชื่อว่าพระมุนี คือ ผู้ทรงบรรลุ
โมนญาณแล้ว โมเนยยธรรม (ธรรมที่ทำให้เป็นมุนี) มี ๓ ประการ คือ
๑. โมเนยยธรรมทางกาย ๒. โมเนยยธรรมทางวาจา
๓. โมเนยยธรรมทางใจ
โมเนยยธรรมทางกาย เป็นอย่างไร
คือ การละกายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย กายสุจริต ๓ อย่าง
ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย ญาณมีกายเป็นอารมณ์ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย
กายปริญญา (การกำหนดรู้กาย) ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย มรรคที่สหรคตด้วย
ปริญญา ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ
ในกาย ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย ความดับแห่งกายสังขาร การบรรลุจตุตถฌาน
ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย
โมเนยยธรรมทางวาจา เป็นอย่างไร
คือ การละวจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา วจีสุจริต ๔ อย่าง
ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา
วาจาปริญญา (การกำหนดรู้วาจา) ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา มรรคที่สหรคต
ด้วยปริญญา ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา การละความกำหนัดด้วยอำนาจความ
พอใจในวาจา ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา ความดับแห่งวจีสังขาร การบรรลุ
ทุติยฌาน ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๕/๕๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
โมเนยยธรรมทางใจ เป็นอย่างไร
คือ การละมโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ มโนสุจริต ๓ อย่าง
ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ ญาณมีใจเป็นอารมณ์ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ จิตต-
ปริญญา (การกำหนดรู้จิต) ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ มรรคที่สหรคตด้วยปริญญา
ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในจิต ชื่อว่า
โมเนยยธรรมทางใจ ความดับแห่งจิตตสังขาร การบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ ชื่อว่า
โมเนยยธรรมทางใจ นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า)
บัณฑิตทั้งหลาย เรียกบุคคลผู้เป็นมุนีทางกาย
เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ผู้ไม่มีอาสวะ
ว่าเป็นมุนีผู้สมบูรณ์ด้วยโมเนยยธรรม ละกิเลสทั้งปวงได้
บัณฑิตทั้งหลาย เรียกบุคคลผู้เป็นมุนีทางกาย
เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ผู้ไม่มีอาสวะ
ว่าเป็นมุนีผู้สมบูรณ์ด้วยโมเนยยธรรม ล้างบาปได้แล้ว๑
มุนีผู้ประกอบด้วยโมเนยยธรรม ๓ ประการเหล่านี้ มี ๖ จำพวก คือ
(๑) อาคารมุนี (๒) อนาคารมุนี (๓) เสขมุนี (๔) อเสขมุนี (๕) ปัจเจกมุนี
(๖) มุนิมุนี
อาคารมุนี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้ครองเรือน เห็นทาง(นิพพาน)แล้ว รู้แจ้งหลักคำสอนแล้ว
เหล่านี้ชื่อว่าอาคารมุนี
อนาคารมุนี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้เป็นบรรพชิต เห็นทาง(นิพพาน)แล้ว รู้แจ้งหลักคำสอนแล้ว
เหล่านี้ชื่อว่าอนาคารมุนี

เชิงอรรถ :
๑ ล้างบาป หมายถึงล้างบาปด้วยมรรคญาณ (ขุ.ม.อ. ๑๔/๑๗๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่าเสขมุนี
พระอรหันต์ทั้งหลาย ชื่อว่าอเสขมุนี
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าปัจเจกมุนี
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสเรียกว่ามุนิมุนี
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า)
บุคคลโง่เขลาไม่รู้อะไร เพียงแต่นั่งนิ่ง ๆ หาชื่อว่าเป็นมุนีไม่
ส่วนบุคคลผู้ฉลาดเลือกชั่งเอาแต่สิ่งที่ดี ละทิ้งสิ่งที่ชั่ว
เหมือนบุคคลชั่งสิ่งของ จึงจะชื่อว่าเป็นมุนีแท้
ผู้ที่รู้โลกทั้ง ๒ ก็เรียกว่า เป็นมุนี (เช่นกัน)๑
ผู้รู้ธรรมทั้งของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ
ทั้งภายในและภายนอกในโลกทั้งปวง
เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง๒
และตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๓
คำว่า แก้ (ปัญหานั้น) ให้แจ่มแจ้ง ได้แก่ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก คือ
โปรดแสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศปัญหานั้นให้
แจ่มแจ้ง รวมความว่า พระองค์ผู้ทรงเป็นพระมุนี ขอโปรดตรัสแก้ปัญหานั้นแก่
ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
คำว่า เพราะธรรมนั้น พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว อธิบายว่า เพราะ
พระองค์ทรงทราบ คือ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว
รวมความว่า เพราะธรรมนั้น พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้น
จึงกราบทูลว่า

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ธ. ๒๕/๒๖๘-๒๖๙/๖๓
๒ เครื่องข้อง มี ๗ อย่าง ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส และทุจริต (ขุ.ม. (แปล)
๒๙/๑๘๓/๕๒๐)
๓ ขุ.สุ. ๒๕/๕๓๓/๔๓๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
พวกข้าพระองค์ได้ทูลถามปัญหาใดกับพระองค์
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสบอกปัญหานั้นแก่พวกข้าพระองค์แล้ว
ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหาอื่นต่อไป
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นด้วยเถิด
นักปราชญ์ทั้งหลาย จะข้ามโอฆะ ชาติ ชรา
โสกะ และปริเทวะได้อย่างไรหนอ
พระองค์ผู้เป็นพระมุนี ขอโปรดตรัสแก้ปัญหานั้น
แก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
เพราะธรรมนั้น พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว
[๒๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เมตตคู)
บุคคลรู้ชัดธรรมใดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่
พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้
เราจักกล่าวธรรม(นั้น)ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเอง
ในธรรมที่เราเห็นแล้ว แก่เธอ (๕)
คำว่า ธรรม ในคำว่า เราจักกล่าวธรรม...แก่เธอ อธิบายว่า เราจักกล่าว
คือ จักบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศพรหมจรรย์
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพาน
และปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน รวมความว่า เราจักกล่าวธรรม...แก่เธอ
คำว่า เมตตคู เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว ในคำว่า ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเอง ในธรรมที่
เราเห็นแล้ว อธิบายว่า ในธรรมที่เราได้เห็นแล้ว คือ ในธรรมที่ได้รู้แล้ว ใน
ธรรมที่ได้เทียบเคียงแล้ว ในธรรมที่ได้พิจารณาแล้ว ในธรรมที่ทำให้แจ้งแล้ว ใน
ธรรมที่ทำให้กระจ่างแล้ว ได้แก่ ในธรรมที่เราได้เห็นแล้ว คือ ในธรรมที่ได้รู้แล้ว
ในธรรมที่ได้เทียบเคียงแล้ว ในธรรมที่ได้พิจารณาแล้ว ในธรรมที่ทำให้แจ้งแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
ในธรรมที่ทำให้กระจ่างแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ฯลฯ ได้แก่ ในธรรมที่
เราได้เห็นแล้ว คือ ในธรรมที่ได้รู้แล้ว ในธรรมที่ได้เทียบเคียงแล้ว ในธรรมที่ได้
พิจารณาแล้ว ในธรรมที่ทำให้แจ้งแล้ว ในธรรมที่ทำให้กระจ่างแล้วว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” รวมความว่า
เราจักกล่าว ... ในธรรมที่เราเห็นแล้ว อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง เราจักกล่าวถึงทุกข์ในทุกข์ที่ได้เห็นแล้ว จักกล่าวถึงสมุทัยในสมุทัย
ที่ได้เห็นแล้ว จักกล่าวถึงมรรคในมรรคที่ได้เห็นแล้ว จักกล่าวถึงนิโรธในนิโรธที่ได้
เห็นแล้ว รวมความว่า เราจักกล่าว ... ในธรรมที่เราเห็นแล้ว อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง (เราจักกล่าวธรรม) ที่เห็นได้เอง ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา เชิญมาดูได้
ควรน้อมเข้ามาในตน วิญญูชนพึงรู้ได้ด้วยตนเอง ในธรรมที่เราเห็นแล้ว รวมความว่า
เราจักกล่าว ... ในธรรมที่เราเห็นแล้ว อย่างนี้บ้าง รวมความว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว
คำว่า ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเอง อธิบายว่า เราจักกล่าวถึงธรรมที่รู้ด้วยตนเอง
ธรรมที่ประจักษ์แก่ตนเอง มิใช่โดยอาการเชื่อผู้อื่นว่าธรรมนี้เป็นดังนี้ ๆ มิใช่โดย
การเล่าลือ มิใช่โดยถือสืบ ๆ กันมา มิใช่โดยการอ้างตำรา มิใช่โดยตรรก
มิใช่โดยการอนุมาน มิใช่โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล มิใช่เพราะเข้าได้กับ
ทฤษฎีที่พินิจแล้ว รวมความว่า ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเอง ในธรรมที่เราเห็นแล้ว
คำว่า บุคคลรู้ชัดธรรมใดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่ อธิบายว่า บุคคลรู้ชัดธรรม
ใดแล้ว คือ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ได้แก่
บุคคลรู้ชัดแล้ว เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่างแจ้ง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า
“สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น
ทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
คำว่า มีสติ ได้แก่ มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ชื่อว่ามีสติ เมื่อ
เจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ บุคคลนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า
มีสติ
คำว่า เที่ยวไปอยู่ ได้แก่ เที่ยวไป คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า บุคคลรู้ชัดธรรมใดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่า
วิสัตติกา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑
ว่าด้วยตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา
คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมายอย่างไร
ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะแผ่ไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะซ่านไป ชื่อว่าวิสัตติกา
เพราะขยายไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะไม่สม่ำเสมอ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะครอบงำ
ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะสะท้อนไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะเป็นตัวการให้พูดผิด
ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีรากเป็นพิษ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีผลเป็นพิษ ชื่อว่า
วิสัตติกา เพราะเป็นตัวการให้บริโภคสิ่งมีพิษ
อีกนัยหนึ่ง ตัณหานั้นแผ่ไป ซ่านไป ขยายไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ตระกูล หมู่คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ
ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ได้ยินแล้ว กลิ่น รส
โผฏฐัพพะที่รับรู้แล้ว และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ฉะนั้น จึงชื่อว่าวิสัตติกา
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก
คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า ผู้มีสติ พึงข้าม
คือ พึงข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ รวม
ความว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง
ตรัสว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เมตตคู)
บุคคลรู้ชัดธรรมใดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่
พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้
เราจักกล่าวธรรม(นั้น)ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเอง
ในธรรมที่เราเห็นแล้ว แก่เธอ
[๒๓] (ท่านเมตตคูทูลถามว่า)
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ข้าพระองค์ชอบใจธรรมอันสูงสุดนั้นที่บุคคลรู้ชัดแล้ว
มีสติเที่ยวไปอยู่ พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ (๖)
คำว่า นั้น ในคำว่า ข้าพระองค์ชอบใจธรรมอันสูงสุดนั้น ได้แก่ พระดำรัส
คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน คำพร่ำสอน
คำว่า ชอบใจ ได้แก่ พอใจ ชอบใจ คือ เบิกบานใจ อนุโมทนา ต้องการ ยินดี
ทูลขอ ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง รวมความว่า ข้าพระองค์ชอบใจธรรมอันสูงสุด
นั้น
ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ในคำว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ (ข้าพระองค์ชอบใจ) ธรรมอันสูงสุด อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่า ทรงแสวงหาคุณยิ่งใหญ่ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาสีลขันธ์ใหญ่ จึงชื่อว่าทรง
แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาสมาธิขันธ์ใหญ่
... ปัญญาขันธ์ใหญ่ ... วิมุตติขันธ์ใหญ่ ... วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ใหญ่ จึงชื่อ
ว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องทำลายกองความมืดใหญ่
จึงชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องทำลายความวิปลาสใหญ่
จึงชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องถอนลูกศรคือตัณหาใหญ่
จึงชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องปลดเปลื้องโครงทิฏฐิใหญ่
จึงชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องกำจัดธงคือมานะใหญ่
จึงชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องเข้าไปสงบอภิสังขารใหญ่
จึงชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องปิดกั้นโอฆะใหญ่ จึงชื่อว่า
ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องวางภาระใหญ่ จึงชื่อว่า
ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องตัดสังสารวัฏใหญ่ จึงชื่อ
ว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องดับความเดือดร้อนใหญ่
จึงชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องระงับความเร่าร้อนใหญ่
จึงชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องยกธงคือธรรมใหญ่ จึง
ชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาสติปัฏฐานใหญ่ ฯลฯ
สัมมัปปธานใหญ่ ฯลฯ อิทธิบาทใหญ่ ฯลฯ อินทรีย์ใหญ่ ฯลฯ พละใหญ่ ฯลฯ
โพชฌงค์ใหญ่ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ ใหญ่ ฯลฯ ปรมัตถอมตนิพพานใหญ่
จึงชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ที่เหล่าสัตว์ผู้มเหศักดิ์แสวงหา ค้นหา
เสาะหาว่า “พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ไหน พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ไหน พระ
ผู้ทรงเป็นเทพยิ่งกว่าเทพประทับอยู่ที่ไหน พระผู้ทรงองอาจกว่านรชนประทับอยู่ที่ไหน”
จึงชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
คำว่า ธรรมอันสูงสุด อธิบายว่า อมตนิพพาน ตรัสเรียกว่า ธรรมอันสูงสุด
ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา
เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท
คำว่า สูงสุด ได้แก่ ธรรมอันเลิศ ประเสริฐ วิเศษสุด ชั้นแนวหน้า สูงสุด
ยอดเยี่ยม รวมความว่า ธรรมอันสูงสุด
คำว่า ที่บุคคลรู้ชัดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่ อธิบายว่า ที่บุคคลรู้ชัดแล้ว คือ
เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
ฯลฯ ได้แก่ ที่บุคคลรู้ชัดแล้ว คือเทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่ม
แจ้งแล้วว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับ
ไปเป็นธรรมดา”
คำว่า มีสติ ได้แก่ มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ ในเวทนา
ทั้งหลาย ฯลฯ ในจิต
๔. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย ฯลฯ
บุคคลนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกว่า มีสติ๑
คำว่า เที่ยวไปอยู่ ได้แก่ เที่ยวไป คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า ที่บุคคลรู้ชัดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่
คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียก
ว่า วิสัตติกา ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๒

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๗๐-๗๑
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมายอย่างไร
ฯลฯ ซ่านไป ขยายไป จึงชื่อว่าวิสัตติกา
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก
คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า ตัณหานี้ ที่ชื่อ
ว่าวิสัตติกาในโลก บุคคลเป็นผู้มีสติพึงข้าม คือ พึงข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง
ล่วงเลยตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ รวมความว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกา
ในโลกได้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ข้าพระองค์ชอบใจธรรมอันสูงสุดนั้นที่บุคคลรู้ชัดแล้ว
มีสติเที่ยวไปอยู่ พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้
[๒๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เมตตคู)
เธอรู้ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นธรรมชั้นสูง ชั้นต่ำและชั้นกลาง
เธอจงบรรเทาความเพลิดเพลิน ความถือมั่น
และวิญญาณในธรรมเหล่านี้เสีย ไม่พึงตั้งอยู่ในภพ (๗)
คำว่า เธอรู้ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เธอรู้ คือ ทราบ รู้แจ่มแจ้ง
รู้เฉพาะ แทงตลอดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมความว่า เธอรู้ธรรมอย่างใดอย่าง
หนึ่ง
คำว่า เมตตคู เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
เมตตคู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
ว่าด้วยธรรมชั้นสูงชั้นต่ำและชั้นกลาง
คำว่า ชั้นสูง ชั้นต่ำและชั้นกลาง อธิบายว่า
อนาคต ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง อดีต ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ ปัจจุบัน ตรัสเรียก
ว่า ชั้นกลาง
เทวโลก ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง นิรยโลก ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ มนุษยโลก ตรัสเรียกว่า
ชั้นกลาง
อีกนัยหนึ่ง กุศลธรรม ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง อกุศลธรรม ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ
อัพยากตธรรม ตรัสเรียกว่า ชั้นกลาง
อรูปธาตุ ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง กามธาตุ ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ รูปธาตุ ตรัส
เรียกว่า ชั้นกลาง
สุขเวทนา ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง ทุกขเวทนา ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ อทุกขมสุข-
เวทนา ตรัสเรียกว่า ชั้นกลาง
เบื้องสูงจากฝ่าเท้าขึ้นไปตรัสเรียกว่า ชั้นสูง เบื้องต่ำจากปลายผมลงมาตรัส
เรียกว่า ชั้นต่ำ ตรงกลางตรัสเรียกว่า ชั้นกลาง รวมความว่า ชั้นสูง ชั้นต่ำและ
ชั้นกลาง
คำว่า ในธรรมเหล่านี้ ในคำว่า เธอจงบรรเทาความเพลิดเพลิน ความถือ
มั่นและวิญญาณ ในธรรมเหล่านี้เสีย ไม่พึงตั้งอยู่ในภพ อธิบายว่า ในธรรม
ที่เราบอกแล้ว แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว กำหนดแล้ว เปิดเผยแล้ว จำแนกแล้ว
ทำให้ง่ายแล้ว ประกาศแล้ว ตัณหาตรัสเรียกว่า ความเพลิดเพลิน คือ ความกำหนัด
ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑
คำว่า ความถือมั่น ได้แก่ ความถือมั่น ๒ อย่าง คือ
๑. ความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา
๒. ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
ความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา เป็นอย่างไร
คือ ฯลฯ ด้วยส่วนแห่งตัณหาเท่าใด ฯลฯ นี้ชื่อว่าความถือมั่นด้วยอำนาจ
ตัณหา
ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ๑
คำว่า เธอจงบรรเทา... และวิญญาณ อธิบายว่า วิญญาณที่สหรคตด้วย
ปุญญาภิสังขาร วิญญาณที่สหรคตด้วยอปุญญาภิสังขาร วิญญาณที่สหรคตด้วย
อาเนญชาภิสังขาร เธอจงสลัด บรรเทา ถอน ถอนเสีย ละ ละทิ้ง ละให้หมด
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ซึ่งความเพลิดเพลิน ความถือมั่นและ
วิญญาณที่สหรคตด้วยอภิสังขารในธรรมเหล่านี้ รวมความว่า เธอจงบรรเทาความ
เพลิดเพลิน ความถือมั่นและวิญญาณ ในธรรมเหล่านี้เสีย
คำว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในภพ อธิบายว่า
คำว่า ภพ ได้แก่ ภพ ๒ คือ (๑) กรรมภพ (๒) ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ
กรรมภพ เป็นอย่างไร
คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร นี้ชื่อว่ากรรมภพ
ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ เป็นอย่างไร
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีในปฏิสนธิ นี้ชื่อว่า
ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ
คำว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในภพ อธิบายว่า ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึง
ความไม่มีอีกซึ่งความเพลิดเพลิน ความถือมั่นวิญญาณที่สหรคตด้วยอภิสังขาร
กรรมภพ และภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ ไม่พึงตั้งอยู่ในกรรมภพ ไม่พึงตั้งอยู่ คือ
ไม่พึงดำรงอยู่ในภพใหม่ อันมีในปฏิสนธิ รวมความว่า เธอจงบรรเทา...และ
วิญญาณในธรรมเหล่านี้เสีย ไม่พึงตั้งอยู่ในภพ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง
ตรัสว่า

เชิงอรรถ :
๑ เทียบกับความในข้อ ๑๑/๘๐-๘๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เมตตคู)
เธอรู้ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นธรรมชั้นสูง ชั้นต่ำและชั้นกลาง
เธอจงบรรเทาความเพลิดเพลิน ความถือมั่น
และวิญญาณในธรรมเหล่านี้เสีย ไม่พึงตั้งอยู่ในภพ
[๒๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท
รู้แจ้ง ละความยึดถือว่าเป็นของเราแล้ว
เที่ยวไปอยู่ พึงละชาติ ชรา โสกะและปริเทวะ
อันเป็นทุกข์ในอัตภาพนี้ได้แน่นอน (๘)
คำว่า ผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ ในคำว่า ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีสติ
ไม่ประมาท อธิบายว่า ภิกษุผู้ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก
ซึ่งความเพลิดเพลิน ความยึดมั่นถือมั่น วิญญาณที่สหรคตด้วยอภิสังขาร กรรมภพ
และภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ รวมความว่า ผู้มีปกติอยู่อย่างนี้
คำว่า มีสติ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ ภิกษุนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า มีสติ๑
ว่าด้วยความไม่ประมาท
คำว่า ไม่ประมาท อธิบายว่า ผู้ทำด้วยความเอื้อเฟื้อ ทำติดต่อ ทำไม่หยุด
ประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ละความพอใจ ไม่ทอดธุระ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรม
ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๗๐-๗๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
คือ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความไม่ถอยกลับ
สติสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส ความเพียรแรงกล้า ความตั้งใจ
ความประกอบเนือง ๆ ด้วยคิดว่า “เราพึงทำสีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์โดย
อุบายอย่างไร หรือพึงใช้ปัญญาตามรักษาสีลขันธ์ให้บริบูรณ์ในข้อนั้น ๆ โดยอุบาย
อย่างไร” ดังนี้ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย ... ความพอใจ ความ
พยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความไม่ถอยกลับ สติสัมปชัญญะ ความ
เพียรเป็นเครื่องเผากิเลส ความเพียรแรงกล้า ความตั้งใจ ความประกอบเนือง ๆ
ด้วยคิดว่า “เราพึงทำสมาธิขันธ์ ฯลฯ ปัญญาขันธ์ ฯลฯ วิมุตติขันธ์ ฯลฯ
วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ โดยอุบายอย่างไร หรือพึงใช้
ปัญญาตามรักษาวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่บริบูรณ์ในข้อนั้น ๆ โดยอุบายอย่างไร”
ดังนี้ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย ความพอใจ ความพยายาม ความ
อุตสาหะ ความขยัน ความไม่ถอยกลับ สติสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่อง
เผากิเลส ความเพียรแรงกล้า ความตั้งใจ ความประกอบเนือง ๆ ด้วยคิดว่า
“เราพึงกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังมิได้กำหนดรู้ พึงละกิเลสที่ยังมิได้ละ พึงเจริญมรรคที่ยัง
มิได้เจริญ หรือทำให้แจ้งนิโรธที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง โดยอุบายอย่างไร” ดังนี้ ชื่อว่า
ไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย รวมความว่า (ภิกษุ) ผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีสติ
ไม่ประมาท
คำว่า ภิกษุ ในคำว่า ภิกษุ ... ละความยึดถือว่าเป็นของเราแล้ว เที่ยวไปอยู่
ได้แก่ ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน หรือภิกษุผู้เป็นพระเสขะ
คำว่า เที่ยวไปอยู่ ได้แก่ เที่ยวไป คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป
คำว่า ความยึดถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา ๒ อย่าง
คือ (๑) ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือว่าเป็นของ
เราด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ
นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
ภิกษุละความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความยึดถือว่า
เป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ คือ ละ สละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึง
ความไม่มีอีก ซึ่งความยึดถือว่าของเรา รวมความว่า ภิกษุ ... ละความยึดถือว่า
เป็นของเราแล้ว เที่ยวไปอยู่
คำว่า ชาติ ในคำว่า รู้แจ้ง ... พึงละชาติ ชรา โสกะ และปริเทวะอัน
เป็นทุกข์ในอัตภาพนี้ได้แน่นอน ได้แก่ การเกิด คือเกิดขึ้น การก้าวลง(สู่ครรภ์)
การบังเกิด การบังเกิดขึ้น ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การได้อายตนะในหมู่
สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ
คำว่า ชรา ได้แก่ ความแก่ คือ ความทรุดโทรม ความเป็นผู้มีฟันหัก
ความเป็นผู้มีผมหงอก ความเป็นผู้มีหนังเหี่ยว ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อม
แห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ
คำว่า โสกะ ได้แก่ ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก
ความเศร้าโศกภายใน ความเศร้าโศกมากภายใน ความหม่นไหม้ภายใน ความ
เร่าร้อนภายใน ความหม่นไหม้แห่งจิต ความทุกข์ใจ ลูกศรคือความเศร้าโศก
ของผู้ที่ถูกความเสียหายของญาติกระทบบ้าง ถูกความเสียหายแห่งโภคทรัพย์
กระทบบ้าง ถูกความเสียหายเพราะโรคกระทบบ้าง ถูกสีลวิบัติกระทบบ้าง ถูก
ทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง ประจวบกับความเสียหายอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง ถูก
เหตุแห่งทุกข์อื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง
คำว่า ปริเทวะ ได้แก่ ความบ่นเพ้อ ความคร่ำครวญ กิริยาที่บ่นเพ้อ
กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่บ่นเพ้อ ภาวะที่คร่ำครวญ การพูดพล่าม การพูดเพ้อ
การพูดเพ้อเจ้อ ความพร่ำเพ้อ กิริยาที่พร่ำเพ้อ ภาวะที่พร่ำเพ้อ ของผู้ถูกความ
เสียหายของญาติกระทบบ้าง ... ถูกทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง ประจวบกับความเสีย
หายอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง
คำว่า นี้ ได้แก่ ในความเห็นนี้ ฯลฯ ในมนุษยโลกนี้
คำว่า รู้แจ้ง ได้แก่ มีความรู้แจ้ง คือ มีวิชชา มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง
มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า อันเป็นทุกข์ ได้แก่ ชาติทุกข์ ฯลฯ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสทุกข์
คำว่า รู้แจ้ง ... พึงละชาติ ชรา โสกะ และปริเทวะอันเป็นทุกข์ใน
อัตภาพนี้ได้แน่นอน อธิบายว่า มีความรู้แจ้ง คือ มีวิชชา มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง
มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส พึงละ คือ พึงบรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึง
ความไม่มีอีกซึ่งชาติ ชรา โสกะ ปริเทวะ และทุกข์ในโลกนี้เอง รวมความว่า รู้แจ้ง
... พึงละชาติ ชรา โสกะ และปริเทวะอันเป็นทุกข์ในอัตภาพนี้ได้แน่นอน ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท
รู้แจ้ง ละความยึดถือว่าเป็นของเราแล้ว
เที่ยวไปอยู่ พึงละชาติ ชรา โสกะและปริเทวะ
อันเป็นทุกข์ในอัตภาพนี้ได้แน่นอน
[๒๖] (ท่านเมตตคูทูลถามว่า)
ข้าพระองค์ชอบใจพระวาจานี้ของพระองค์
ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าแต่พระโคดม
ธรรมที่ปราศจากอุปธิ พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว
พระผู้มีพระภาคทรงละทุกข์ได้แล้วเป็นแน่
เพราะธรรมนี้ พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว (๙)
คำว่า นี้ ในคำว่า ข้าพระองค์ชอบใจพระวาจานี้ของพระองค์ผู้ทรงแสวง
หาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้แก่ พระวาจา คือ คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน
คำพร่ำสอน
คำว่า ชอบใจ ได้แก่ พอใจ ชอบใจ คือ เบิกบานใจ อนุโมทนา ต้องการ ยินดี
ทูลขอ ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง
คำว่า ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ อย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาสีลขันธ์ใหญ่ จึงชื่อว่าทรง
แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ฯลฯ “พระผู้ทรงองอาจกว่านรชนประทับอยู่ที่ไหน” จึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
ชื่อว่าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ รวมความว่า ข้าพระองค์ชอบใจพระวาจานี้ของพระ
องค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
คำว่า ตรัสไว้ดีแล้ว ในคำว่า ข้าแต่พระโคดม ธรรมที่ปราศจากอุปธิ
พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว อธิบายว่า ตรัสไว้ดีแล้ว คือ ตรัสบอกไว้ดีแล้ว แสดงไว้
ดีแล้ว บัญญัติไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว เปิดเผยไว้ดีแล้ว จำแนกไว้ดีแล้ว ทำให้
ง่ายไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว รวมความว่า ตรัสไว้ดีแล้ว
คำว่า ข้าแต่พระโคดม ธรรมที่ปราศจากอุปธิ อธิบายว่า กิเลส ขันธ์
และอภิสังขาร ตรัสเรียกว่า อุปธิ การละอุปธิ ความเข้าไปสงบอุปธิ ความสลัด
ทิ้งอุปธิ ความระงับอุปธิ ชื่อว่าอมตนิพพาน รวมความว่า ข้าแต่พระโคดม
ธรรมที่ปราศจากอุปธิ พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว
คำว่า เป็นแน่ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคทรงละทุกข์ได้แล้วเป็นแน่ เป็น
คำกล่าวโดยนัยเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่สงสัย เป็นคำกล่าวโดยไม่เคลือบแคลง
เป็นคำกล่าวโดยไม่เป็น ๒ นัย เป็นคำกล่าวโดยไม่เป็น ๒ อย่าง เป็นคำกล่าว
โดยรัดกุม เป็นคำกล่าวโดยไม่ผิด คำว่า เป็นแน่ นี้ เป็นคำกล่าวที่กำหนดไว้แน่แล้ว
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า
พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ
คำว่า ทรงละทุกข์ได้แล้ว อธิบายว่า ทรงละ คือ ทรงละทิ้ง บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทว-
ทุกขโทมนัสอุปายาสทุกข์ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคทรงละทุกข์ได้แล้วเป็นแน่
คำว่า เพราะธรรมนี้ พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว อธิบายว่า เพราะธรรมนี้
พระองค์ทรงทราบ คือ ทรงรู้ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว
รวมความว่า เพราะธรรมนี้ พระองค์ทรงรู้ชัดแล้ว ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้น จึง
กราบทูลว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
ข้าพระองค์ชอบใจพระวาจานี้ของพระองค์
ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าแต่พระโคดม
ธรรมที่ปราศจากอุปธิ พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว
พระผู้มีพระภาคทรงละทุกข์ได้แล้วเป็นแน่
เพราะธรรมนี้ พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว
[๒๗] (ท่านเมตตคูทูลถามว่า)
พระองค์ผู้เป็นพระมุนีตรัสสอนชนเหล่าใดไม่หยุดหย่อน
ชนแม้เหล่านั้นพึงละทุกข์ได้เป็นแน่
เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงมาพบพระผู้มีพระภาคผู้นาคะ
ขอนมัสการพระองค์ (โดยหวังว่า)พระผู้มีพระภาค
พึงตรัสสอนข้าพระองค์ไม่หยุดหย่อนบ้าง (๑๐)
คำว่า ชนแม้เหล่านั้น ในคำว่า ชนแม้เหล่านั้นพึงละทุกข์ได้เป็นแน่ ได้แก่
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาและมนุษย์
คำว่า พึงละทุกข์ได้ อธิบายว่า พึงละ คือ พึงบรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทวทุกข-
โทมนัสอุปายาสทุกข์ รวมความว่า ชนแม้เหล่านั้นพึงละทุกข์ได้เป็นแน่
คำว่า ชนเหล่าใด ในคำว่า พระองค์ผู้เป็นพระมุนีตรัสสอนชนเหล่าใดไม่
หยุดหย่อน ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา
และมนุษย์
คำว่า พระองค์ เป็นคำที่พราหมณ์เรียกพระผู้มีพระภาค
คำว่า พระมุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ ฯลฯ พระองค์ทรง
ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่าพระมุนี๑
คำว่า ตรัสสอนไม่หยุดหย่อน ได้แก่ ตรัสสอนไม่หยุดหย่อน คือ ตรัสสอน
โดยเอื้อเฟื้อ ตรัสสอนเนือง ๆ ตรัสสอนบ่อย ๆ คือ พร่ำสอน รวมความว่า
พระองค์ผู้เป็นพระมุนีตรัสสอนชนเหล่าใดไม่หยุดหย่อน

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๑/๑๒๗-๑๒๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า พระองค์ ในคำว่า เพราะฉะนั้นข้าพระองค์จึงมาพบพระผู้มีพระภาค
ผู้นาคะ ขอนมัสการพระองค์ เป็นคำที่พราหมณ์เรียกพระผู้มีพระภาค
คำว่า ขอนมัสการ อธิบายว่า ขอนมัสการ คือ ขอสักการะ เคารพ นับถือ
บูชาด้วยกาย วาจา ใจ ด้วยการปฏิบัติเอื้อประโยชน์ หรือด้วยการปฏิบัติธรรม
ถูกต้องตามหลักธรรม
คำว่า จึงมาพบ ได้แก่ จึงมาพบ คือ จึงมาประสบ มาหา มาเฝ้าแล้ว ขอ
นมัสการพระองค์เฉพาะพระพักตร์
ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคชื่อว่านาคะ
คำว่า ผู้นาคะ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงทำ
ความชั่ว พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงถึง พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้
นาคะ เพราะไม่ทรงกลับมาหา
พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงทำความชั่ว เป็นอย่างไร
คือ บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง ก่อภพใหม่ มี
ความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป
ตรัสเรียกว่า ความชั่ว
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สภิยะ)
บุคคลผู้ไม่ทำบาปแม้เล็กน้อยในโลก
สลัดสังโยชน์เครื่องผูกพันได้ทั้งหมด
ไม่ติดข้องอยู่ในธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งปวง เป็นผู้หลุดพ้น
ดำรงตนมั่นคงเช่นนั้น บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่านาคะ๑
พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงทำความชั่ว เป็นอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๕๒๘/๔๓๗, ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๘๐/๒๓๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงถึง เป็นอย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงถึงฉันทาคติ(ลำเอียงเพราะชอบ) ไม่ทรงถึงโทสาคติ
(ลำเอียงเพราะชัง) ไม่ทรงถึงโมหาคติ(ลำเอียงเพราะหลง) ไม่ทรงถึงภยาคติ
(ลำเอียงเพราะกลัว) พระองค์ไม่ทรงดำเนินไปด้วยอำนาจราคะ ไม่ดำเนินไปด้วย
อำนาจโทสะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจโมหะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจทิฏฐิ ไม่
ดำเนินไปด้วยอำนาจมานะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจอุทธัจจะ ไม่ดำเนินไปด้วย
อำนาจวิจิกิจฉา ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจอนุสัย ได้แก่ ไม่ทรงดำเนินไป ไม่เสด็จ
ออกไป ไม่ทรงถูกพาไป ไม่ทรงถูกนำไปด้วยธรรมที่ก่อความเป็นฝักเป็นฝ่าย
พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะเพราะไม่ทรงถึง เป็นอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงกลับมาหา เป็นอย่างไร
คือ กิเลสเหล่าใดพระผู้มีพระภาคทรงละได้แล้ว ด้วยโสดาปัตติมรรค
พระผู้มีพระภาคไม่เสด็จมา ไม่เสด็จกลับมา ไม่ทรงหวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก
กิเลสเหล่าใด พระผู้มีพระภาคทรงละได้แล้วด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ ด้วย
อนาคามิมรรค ฯลฯ ด้วยอรหัตตมรรค พระองค์ไม่เสด็จมา ไม่เสด็จกลับมา ไม่
ทรงหวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่กลับมา
หา เป็นอย่างนี้ รวมความว่า ข้าพระองค์จึงมาพบพระผู้มีพระภาคผู้นาคะ ขอ
นมัสการพระองค์
คำว่า พระผู้มีพระภาคพึงตรัสสอนข้าพระองค์ไม่หยุดหย่อนบ้าง ได้แก่
ขอพระผู้มีพระภาคพึงตรัสสอนข้าพระองค์ไม่หยุดหย่อน คือ พึงตรัสสอนโดยเอื้อเฟื้อ
ตรัสสอนเนือง ๆ ตรัสสอนบ่อย ๆ คือ พร่ำสอนบ้าง รวมความว่า พระผู้มี-
พระภาคพึงตรัสสอนข้าพระองค์ไม่หยุดหย่อนบ้าง ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึง
กราบทูลว่า
พระองค์ผู้เป็นพระมุนีตรัสสอนชนเหล่าใดไม่หยุดหย่อน
ชนแม้เหล่านั้นพึงละทุกข์ได้เป็นแน่
เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงมาพบพระผู้มีพระภาคผู้นาคะ
ขอนมัสการพระองค์ (โดยหวังว่า)พระผู้มีพระภาค
พึงตรัสสอนข้าพระองค์ไม่หยุดหย่อนบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
[๒๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
บุคคลที่เธอรู้จักว่าเป็นพราหมณ์ผู้จบเวท
ไม่มีเครื่องกังวล ไม่ข้องในกามภพ
ข้ามโอฆะได้แล้วโดยแท้ และเป็นผู้ข้ามถึงฝั่ง
ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต หมดความสงสัยแล้ว (๑๑)
ว่าด้วยบุคคลได้ชื่อว่าเป็นพราหมณ์
คำว่า บุคคลที่เธอรู้จักว่าเป็นพราหมณ์ผู้จบเวท อธิบายว่า
คำว่า พราหมณ์ อธิบายว่า ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะลอยธรรม ๗ ประการ
ได้แล้ว คือ
๑. ลอยสักกายทิฏฐิได้แล้ว
๒. ลอยวิจิกิจฉาได้แล้ว
๓. ลอยสีลัพพตปรามาสได้แล้ว
๔. ลอยราคะได้แล้ว
๕. ลอยโทสะได้แล้ว
๖. ลอยโมหะได้แล้ว
๗. ลอยมานะได้แล้ว
คือ พราหมณ์ลอยบาปอกุศลธรรมซึ่งเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง ก่อภพใหม่
มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะ ต่อไปได้แล้ว
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า สภิยะ)
บุคคลผู้ลอยบาปทั้งปวงได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากมลทิน
เป็นผู้ประเสริฐ มีจิตตั้งมั่นด้วยสมาธิ ดำรงตนมั่นคง
ข้ามพ้นสังสารวัฏ เป็นผู้บริสุทธิ์บริบูรณ์
ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย เป็นผู้มั่นคง
บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์๑

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๕๒๕-๔๓๖, ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๒๕/๑๐๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ผู้จบเวท อธิบายว่า ญาณในมรรค ๔ ตรัสเรียกว่า เวท ฯลฯ
พราหมณ์นั้นก้าวล่วงเวททั้งปวงแล้ว ชื่อว่าผู้จบเวท
คำว่า ที่เธอรู้จัก ได้แก่ที่เธอพึงรู้จัก คือ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอด
รวมความว่า บุคคลที่เธอรู้จักว่าเป็นพราหมณ์ผู้จบเวท
คำว่า ไม่มีเครื่องกังวล ในคำว่า ไม่มีเครื่องกังวล ไม่ข้องในกามภพ ได้แก่
เครื่องกังวลคือราคะ เครื่องกังวลคือโทสะ เครื่องกังวลคือโมหะ เครื่องกังวลคือมานะ
เครื่องกังวลคือทิฏฐิ เครื่องกังวลคือกิเลส เครื่องกังวลคือทุจริต เครื่องกังวลเหล่านี้
ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดไม่ได้อีก
เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ไม่มีเครื่องกังวล
คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒)
กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑
คำว่า ภพ ได้แก่ ภพ ๒ คือ (๑) กรรมภพ (๒) ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ
ฯลฯ นี้ชื่อว่ากรรมภพ ฯลฯ นี้ชื่อว่าภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ๒
คำว่า ไม่มีเครื่องกังวล ไม่ข้องในกามภพ อธิบายว่า บุคคลผู้ไม่มีเครื่อง
กังวล ไม่ข้อง คือ ไม่เกาะติด ไม่เกี่ยวพัน ไม่พัวพัน ออก สลัดออก หลุดพ้น
ไม่เกี่ยวข้องในกามภพ มีใจเป็นอิสระ(จากเครื่องกังวล)อยู่ รวมความว่า ไม่มี
เครื่องกังวล ไม่ข้องในกามภพ
คำว่า โดยแท้ ในคำว่า ข้ามโอฆะได้แล้วโดยแท้ เป็นคำกล่าวโดยนัยเดียว
ฯลฯ คำว่า โดยแท้ นี้ เป็นคำกล่าวที่กำหนดไว้แน่แล้ว
คำว่า โอฆะ ได้แก่ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ
คำว่า ข้าม ได้แก่ ข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลย รวมความว่า ข้าม
โอฆะได้แล้วโดยแท้

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๖-๖๗
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๒๔/๑๓๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ข้าม ในคำว่า เป็นผู้ข้ามถึงฝั่ง ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต หมด
ความสงสัยแล้ว อธิบายว่า บุคคลข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วง
พ้นกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ และทางแห่งสงสารได้แล้ว คือ บุคคล
นั้นอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว ผ่านทางไกลได้แล้ว ถึง
ทิศ(นิพพาน)แล้ว ถึงจุดจบ(นิพพาน)แล้ว รักษาพรหมจรรย์ได้แล้ว ถึงทิฏฐิอัน
สูงสุด๑แล้ว เจริญมรรคได้แล้ว ละกิเลสได้แล้ว รู้แจ้งธรรมที่ไม่กำเริบแล้ว ทำ
นิโรธให้แจ้งได้แล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์ได้แล้ว ละสมุทัยได้แล้ว เจริญมรรคได้แล้ว
ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งแล้ว กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ได้แล้ว
ละธรรมที่ควรละได้แล้ว เจริญธรรมที่ควรเจริญได้แล้ว ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้
แจ้งได้แล้ว
บุคคลนั้นถอนลิ่มสลักคืออวิชชาได้แล้ว ถมคูคือกรรมได้แล้ว ถอนเสา
ระเนียดคือตัณหาได้แล้ว ไม่มีบานประตูคือสังโยชน์ เป็นผู้ไกลจากข้าศึกคือกิเลส
ปลดธงคือมานะลงเสียแล้ว ปลงภาระได้แล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับโยคกิเลสแล้ว ละ
องค์ ๕ (แห่งนิวรณ์)ได้แล้ว ประกอบด้วยองค์ ๖ มีธรรมเครื่องรักษาอย่าง
เอก(คือสติ) มีอปัสเสนธรรม๒ ๔ อย่าง มีปัจเจกสัจจะ๓อันบรรเทาได้แล้ว มี
การแสวงหาอันสละได้โดยชอบ ไม่บกพร่อง มีความดำริไม่ขุ่นมัว มีกายสังขารอัน
ระงับได้แล้ว มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นผู้บริสุทธิ์บริบูรณ์ อยู่
จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ถึงการบรรลุปรมัตถธรรมแล้ว
บุคคลนั้น มิต้องก่อผลกรรม มิต้องกำจัด กำจัดได้แล้วดำรงตนอยู่ มิต้องละกิเลส
มิต้องถือมั่น ละได้แล้วดำรงตนอยู่ มิต้องเย็บ(ด้วยตัณหา) มิต้องยก(ตนด้วยมานะ)

เชิงอรรถ :
๑ ทิฏฐิอันสูงสุด หมายถึงสัมมาทิฏฐิ (ขุ.ม.อ. ๖/๘๒)
๒ อปัสเสนธรรม คือ ธรรมดุจพนักพิง หรือธรรมพึ่งอาศัย มี ๔ อย่างคือ
๑. สงฺขาเยกํ ปฏิเสวติ ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเสพ เช่น ปัจจัย ๔
๒. สงฺขาเยกํ ปริวชฺเชติ ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้น เช่น คนพาลหรือสัตว์ร้าย
๓. สงฺขาเยกํ วิโนเทติ ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทา เช่นกามวิตก
๔. สงฺขาเยกํ ปชหติ ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วละเสีย (ที.ปา. ๑๑/๓๐๘/๒๐๐, ขุ.ม.อ. ๖/๘๖)
๓ ปัจเจกสัจจะ หมายถึงทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งที่ยึดถือ เช่น ถือว่า ทรรศนะนี้
เท่านั้นจริง ทรรศนะนี้เท่านั้นจริง (ขุ.ม.อ. ๖/๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
เย็บเรียบร้อยแล้วดำรงตนอยู่ มิต้องดับ (ไฟคือกิเลส) มิต้องก่อ ดับได้แล้ว
ดำรงตนอยู่ ชื่อว่าดำรงตนอยู่ได้เพราะประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ... ด้วย
สมาธิขันธ์ ... ด้วยปัญญาขันธ์ ... ด้วยวิมุตติขันธ์ ... ดำรงตนอยู่ด้วยวิมุตติ
ญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ แทงตลอดสัจจะแล้ว ดำรงตนอยู่โดยการก้าวล่วง
ตัณหาอันเป็นเหตุให้หวั่นไหว ดำรงตนอยู่โดยการดับไฟคือกิเลส ดำรงตนอยู่โดย
ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด ดำรงตนอยู่โดยการสมาทานธรรมขั้นสุดยอด ดำรงตนอยู่
โดยการเสพวิมุตติ ดำรงตนอยู่ด้วยเมตตาอันบริสุทธิ์ ... ด้วยกรุณา... ด้วย
มุทิตาอันบริสุทธิ์ ... ดำรงตนอยู่ด้วยอุเบกขาอันบริสุทธิ์ ดำรงตนอยู่ด้วยความ
บริสุทธิ์อย่างยิ่ง ดำรงตนอยู่ด้วยความบริสุทธิ์เพราะไม่มีตัณหาทิฏฐิและมานะ
ดำรงตนอยู่โดยความเป็นผู้หลุดพ้น ดำรงตนอยู่โดยความเป็นผู้สันโดษ ดำรงตน
อยู่ในขันธ์สุดท้าย ดำรงตนอยู่ในธาตุสุดท้าย ดำรงตนอยู่ในอายตนะสุดท้าย
ดำรงตนอยู่ในคติสุดท้าย ดำรงตนอยู่ในการถือกำเนิดสุดท้าย ดำรงตนอยู่ใน
ปฏิสนธิสุดท้าย ดำรงตนอยู่ในภพสุดท้าย ดำรงตนอยู่ในสงสารสุดท้าย ดำรง
ตนอยู่ในวัฏฏะสุดท้าย ดำรงตนอยู่ในภพสุดท้าย ดำรงตนอยู่ในประชุมแห่งขันธ์
ขั้นสุดท้าย ทรงไว้ซึ่งร่างกายขั้นสุดท้าย เป็นผู้ไกลจากข้าศึก
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)
พระขีณาสพนั้น มีภพนี้เป็นภพสุดท้าย
มีประชุมแห่งขันธ์นี้เป็นครั้งสุดท้าย
ไม่มีการเวียนเกิด เวียนแก่ เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก๑
คำว่า และเป็นผู้ข้ามถึงฝั่ง อธิบายว่า อมตนิพพานตรัสเรียกว่า ฝั่ง คือ
ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่
คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท
บุคคลนั้นถึงฝั่ง บรรลุฝั่ง ถึงส่วนสุด บรรลุส่วนสุด ถึงปลายสุด บรรลุ
ปลายสุด ถึงท้ายสุด บรรลุท้ายสุด ถึงความสำเร็จ บรรลุความสำเร็จ ถึงที่ปกป้อง
บรรลุที่ปกป้อง ถึงที่หลีกเร้น บรรลุที่หลีกเร้น ถึงที่พึ่ง บรรลุที่พึ่ง ถึงที่ไม่มีภัย

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๖/๒๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
บรรลุที่ไม่มีภัย ถึงที่ไม่จุติ บรรลุที่ไม่จุติ ถึงที่ไม่ตาย บรรลุที่ไม่ตาย ถึงที่ดับ
บรรลุที่ดับ บุคคลนั้นอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว ฯลฯ
ไม่มีการเวียนเกิด เวียนแก่ เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า และ
เป็นผู้ข้ามถึงฝั่ง
คำว่า ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต อธิบายว่า ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ
อุปนาหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท ชื่อว่ากิเลสดุจตะปูตรึงจิต กิเลสดุจ
ตะปูตรึงจิตเหล่านี้ ผู้ใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ผู้ไม่มีกิเลสดุจ
ตะปูตรึงจิต
คำว่า หมดความสงสัย อธิบายว่า ความสงสัยในทุกข์ ความสงสัยในทุกข-
สมุทัย ความสงสัยในทุกขนิโรธ ความสงสัยในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความ
สงสัยในส่วนเบื้องต้น ความสงสัยในส่วนเบื้องปลาย ความสงสัยทั้งในส่วนเบื้อง
ต้นและส่วนเบื้องปลาย ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี ความสงสัย กิริยาที่สงสัย ภาวะที่สงสัย ความเคลือบแคลง ความลังเล
ความเห็นเป็น ๒ ฝ่าย ๒ ทาง ความไม่แน่ใจ ความยึดถือหลายอย่าง ความ
ไม่ตกลงใจ ความตัดสินใจไม่ได้ ความกำหนดถือไม่ได้ ความหวาดหวั่นแห่งจิต
ความติดขัดในใจเห็นปานนี้
ความสงสัยเหล่านี้ ผู้ใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว
ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ผู้
หมดความสงสัย รวมความว่า และเป็นผู้ข้ามถึงฝั่ง ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต หมด
ความสงสัยแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลที่เธอรู้จักว่าเป็นพราหมณ์ผู้จบเวท
ไม่มีเครื่องกังวล ไม่ข้องในกามภพ
ข้ามโอฆะได้แล้วโดยแท้ และเป็นผู้ข้ามถึงฝั่ง
ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต หมดความสงสัยแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
[๒๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
นรชนใดในที่นี้ เป็นผู้มีปัญญา จบเวท
สลัดเครื่องข้องในภพน้อยภพใหญ่นี้ได้แล้ว
นรชนนั้นเป็นผู้คลายตัณหาแล้ว ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง
เรากล่าวว่า นรชนนั้นข้ามชาติและชราได้แล้ว (๑๒)
คำว่า ผู้มีปัญญา ในคำว่า นรชนใดในที่นี้ เป็นผู้มีปัญญา จบเวท ได้แก่
ผู้มีวิชชา มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
คำว่า ใด ได้แก่ ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ฯลฯ หรือมนุษย์ก็ตาม
คำว่า จบเวท อธิบายว่า ญาณในมรรค ๔ ตรัสเรียกว่า เวท ฯลฯ เขา
ก้าวล่วงเวททั้งปวงแล้ว ชื่อว่าจบเวท
คำว่า นรชน ได้แก่ ผู้ข้องอยู่ นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด
สัตว์เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์
คำว่า ในที่นี้ ได้แก่ ในความเห็นนี้ ฯลฯ ในมนุษยโลกนี้ รวมความว่า
นรชนใดในที่นี้ เป็นผู้มีปัญญาจบเวท
คำว่า ในภพน้อยภพใหญ่ ในคำว่า สลัดเครื่องข้องในภพน้อยภพใหญ่นี้
ได้แล้ว อธิบายว่า ภพน้อยภพใหญ่ คือ ในกรรมวัฏและวิปากวัฏ ในกรรมวัฏ
เป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในกรรมวัฏเป็น
เครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิด
ในอรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในภพต่อไป ในคติต่อไป ใน
การถือกำเนิดต่อไป ในปฏิสนธิต่อไป ในการบังเกิดของอัตภาพต่อไป
ว่าด้วยเครื่องข้อง ๗
คำว่า เครื่องข้อง ได้แก่ เครื่องข้อง ๗ อย่าง คือ
๑. เครื่องข้องคือราคะ
๒. เครื่องข้องคือโทสะ
๓. เครื่องข้องคือโมหะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
๔. เครื่องข้องคือมานะ
๕. เครื่องข้องคือทิฏฐิ
๖. เครื่องข้องคือกิเลส
๗. เครื่องข้องคือทุจริต
คำว่า สลัด ได้แก่ ปลด หรือสลัดเครื่องข้องทั้งหลายได้แล้ว
อีกนัยหนึ่ง ปลดเปลื้องหรือสลัดเครื่องข้อง คือ เครื่องผูก เครื่องมัด
เครื่องผูกพัน เครื่องเกาะติด เครื่องเกี่ยวพัน เครื่องพัวพัน เครื่องผูกมัดทั้งหลาย
ได้แล้ว เหมือนคนทำการปลดปล่อยยาน คานหาม รถ เกวียน หรือ ล้อเลื่อน
ให้หันเหไป ฉะนั้น
อีกนัยหนึ่ง ปลดเปลื้องหรือสลัดเครื่องข้อง คือ เครื่องผูก เครื่องผูกพัน
เครื่องเกาะติด เครื่องเกี่ยวพัน เครื่องพัวพัน เครื่องผูกมัดทั้งหลายได้แล้ว รวม
ความว่า สลัดเครื่องข้องในภพน้อยภพใหญ่นี้ได้แล้ว
คำว่า นรชนนั้นเป็นผู้คลายตัณหาแล้ว ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง เรา
กล่าวว่า นรชนนั้นข้ามชาติและชราได้แล้ว อธิบายว่า
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา และธัมมตัณหา
ตัณหานี้ผู้ใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แแล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ผู้คลายตัณหาแล้ว
คือ ปราศจากตัณหาแล้ว เป็นผู้สละตัณหาแล้ว คายตัณหาแล้ว ปล่อยตัณหาแล้ว
ละตัณหาแล้ว สลัดทิ้งตัณหาแล้ว ได้แก่ ผู้คลายราคะแล้ว สละราคะแล้ว คาย
ราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว ละราคะแล้ว สลัดทิ้งราคะแล้ว เป็นผู้หมดความอยาก
แล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว มีตนอันประเสริฐเสวยสุข อยู่ รวมความว่า นรชนนั้น
เป็นผู้คลายตัณหาแล้ว
คำว่า ไม่มีทุกข์ ได้แก่ ทุกข์คือราคะ ทุกข์คือโทสะ ทุกข์คือโมหะ ทุกข์คือ
โกธะ ทุกข์คืออุปนาหะ ฯลฯ ทุกข์คืออกุสลาภิสังขารทุกประเภท ผู้ใดละทุกข์
เหล่านี้ได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้น
ไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ไม่มีทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ไม่มีความหวัง อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความหวัง ได้แก่
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
ความหวัง คือ ตัณหาเหล่านี้ ผู้ใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้
สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น
ตรัสเรียกว่า ไม่มีความหวัง
คำว่า ชาติ ได้แก่ การเกิด คือ เกิดขึ้น การก้าวลง(สู่ครรภ์) การบังเกิด
การบังเกิดขึ้น ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การได้อายตนะในหมู่สัตวนั้น ๆ
ของสัตว์เหล่านั้น ๆ
คำว่า ชรา ได้แก่ ความแก่ คือ ความทรุดโทรม ความเป็นผู้มีฟันหัก
ความเป็นผู้มีผมหงอก ความเป็นผู้มีหนังเหี่ยว ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อม
แห่งอินทรีย์ทั้งหลายในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ
คำว่า นรชนนั้นเป็นผู้คลายตัณหาแล้ว ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง เรา
กล่าวว่า นรชนนั้นข้ามชาติและชราได้แล้ว อธิบายว่า เรากล่าว คือ บอก แสดง
บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศว่า ผู้ที่ปราศจากตัณหา
ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ข้าม คือ ข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยชาติ ชรา
และมรณะได้แล้ว รวมความว่า นรชนนั้นเป็นผู้คลายตัณหาแล้ว ไม่มีทุกข์ ไม่มี
ความหวัง เรากล่าวว่า นรชนนั้นข้ามชาติและชราได้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสตอบว่า
นรชนใดในที่นี้ เป็นผู้มีปัญญา จบเวท
สลัดเครื่องข้องในภพน้อยภพใหญ่นี้ได้แล้ว
นรชนนั้นเป็นผู้คลายตัณหาแล้ว ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง
เรากล่าวว่า นรชนนั้นข้ามชาติและชราได้แล้ว
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ เมตตคูมาณพ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
เมตตคูมาณวปัญหานิทเทสที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส๑
ว่าด้วยปัญหาของโธตกมาณพ
[๓๐] (ท่านโธตกะทูลถาม ดังนี้)
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ข้าพระองค์มุ่งหวังจะรับฟังพระวาจาของพระองค์อย่างยิ่ง
บุคคลได้ฟังพระสุรเสียงของพระองค์แล้ว
พึงศึกษาธรรมเป็นเหตุดับกิเลสเพื่อตน (๑)
ว่าด้วยการถาม ๓
คำว่า ขอทูลถาม ในคำว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถาม
พระองค์ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด ได้แก่
การถาม ๓ อย่าง คือ
๑. การถามเพื่อทำให้ชัดเจนในสิ่งที่ยังไม่เคยเห็น
๒. การถามเพื่อเทียบเคียงในสิ่งที่เคยเห็นแล้ว
๓. การถามเพื่อตัดความสงสัย ฯลฯ
การถามอีก ๓ อย่าง ฯลฯ
๓ การถามถึงนิพพาน๒
คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ อธิบายว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระ
องค์ คือ ทูลขอพระองค์ ทูลอัญเชิญให้ตรัส ทูลให้ทรงประกาศว่า ขอพระองค์
โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ รวมความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๑๐๖๘-๑๐๗๕/๕๓๗-๕๓๘
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๑๒/๘๔-๙๑,๑๘/๑๑๐-๑๑๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ อธิบายว่า ขอ
พระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ประกาศ รวมความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ ขอ
พระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านโธตกะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า
ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง
คำว่า โธตกะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ๒ รวมความว่า
ท่านโธตกะทูลถาม ดังนี้
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าพระองค์มุ่งหวังจะรับ
ฟังพระวาจาของพระองค์อย่างยิ่ง อธิบายว่า ข้าพระองค์มุ่งหวัง มุ่งหวังอย่างยิ่ง
คือ ต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวังพระวาจา คือ คำที่เป็นแนวทาง
เทศนา คำสั่งสอน คำพร่ำสอนของพระองค์
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาสีลขันธ์ใหญ่ จึงชื่อว่าทรง
แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ฯลฯ “พระผู้ทรงองอาจกว่านรชนประทับอยู่ที่ไหน” จึงชื่อ
ว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่๓ รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอัน
ยิ่งใหญ่ ข้าพระองค์มุ่งหวังจะรับฟังพระวาจาของพระองค์

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘
๒ เทียบกับความในข้อ ๙/๗๓
๓ ดูรายละเอียดข้อ ๒๓/๑๓๓-๑๓๕ และ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๐/๔๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า บุคคลฟังพระสุรเสียงของพระองค์แล้ว อธิบายว่า ฟัง ได้แก่ สดับ
เรียน ทรงจำ เข้าไปกำหนดซึ่งพระดำรัส คือ คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน
คำพร่ำสอนของพระองค์แล้ว รวมความว่า บุคคลฟังพระสุรเสียงของพระองค์แล้ว
ว่าด้วยสิกขา ๓
คำว่า พึงศึกษา ในคำว่า พึงศึกษาธรรมเป็นเหตุดับกิเลสเพื่อตน อธิบายว่า
สิกขา ๓ คือ
๑. อธิสีลสิกขา
๒. อธิจิตตสิกขา
๓. อธิปัญญาสิกขา ฯลฯ
นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา๑
คำว่า ธรรมเป็นเหตุดับกิเลสเพื่อตน อธิบายว่า พึงศึกษาทั้งอธิสีลสิกขา
ทั้งอธิจิตตสิกขา ทั้งอธิปัญญาสิกขา เพื่อให้ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ
ของตนดับไป ฯลฯ เพื่อความสงบ เข้าไปสงบ สงบเย็น เพื่อให้ดับ เพื่อสลัดทิ้ง
เพื่อความระงับอกุสลาภิสังขารทุกประเภท
สิกขา ๓ เหล่านี้ เมื่อบุคคลนึกถึง ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทราบ ชื่อว่าพึงศึกษา
เมื่อเห็น ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าพึง
ศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อประคองความเพียร ชื่อว่า
พึงศึกษา เมื่อตั้งสติ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อตั้งใจ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา
ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อรู้ชัดธรรมที่ควรรู้ชัด ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควร
กำหนดรู้ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อละธรรมที่ควรละ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อเจริญธรรมที่
ควรเจริญ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าพึงศึกษา คือ
พึงประพฤติ ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติ
รวมความว่า พึงศึกษาธรรมเป็นเหตุดับกิเลสเพื่อตน ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้น
จึงกราบทูลว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๗/๖๓-๖๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
(ท่านโธตกะทูลถาม ดังนี้)
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ข้าพระองค์มุ่งหวังจะรับฟังพระวาจาของพระองค์อย่างยิ่ง
บุคคลฟังพระสุรเสียงของพระองค์แล้ว
พึงศึกษาธรรมเป็นเหตุดับกิเลสเพื่อตน
[๓๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ)
ถ้าเช่นนั้น เธอผู้มีปัญญารักษาตน
มีสติ จงทำความเพียรในที่นี้แล
บุคคลได้ฟังเสียงจากที่นี้แล้ว
พึงศึกษาธรรมเป็นเหตุดับกิเลสเพื่อตน (๒)
คำว่า ถ้าเช่นนั้น เธอ...จงทำความเพียร อธิบายว่า เธอจงทำความเพียร
คือ จงทำความอุตสาหะ ความหมั่นเพียร ความพยายาม ความทรงจำ ความ
เป็นผู้กล้า ได้แก่ จงให้ฉันทะเกิด คือ จงให้เกิดขึ้น ตั้งขึ้นไว้ ตั้งขึ้นไว้พร้อม ให้บังเกิด
ให้บังเกิดขึ้น รวมความว่า ถ้าเช่นนั้น เธอ...จงทำความเพียร
คำว่า โธตกะ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ
คำว่า ในที่นี้ ในคำว่า ผู้มีปัญญารักษาตน มีสติ ... ในที่นี้แล อธิบายว่า
ในความเห็นนี้ คือ ในความถูกใจนี้ ความพอใจนี้ ความยึดถือนี้ ธรรมนี้ วินัยนี้
ธรรมวินัยนี้ ปาพจน์นี้ พรหมจรรย์นี้ สัตถุศาสน์นี้ อัตภาพนี้ มนุษยโลกนี้
คำว่า ผู้มีปัญญารักษาตน ได้แก่ ผู้มีปัญญารักษาตน คือ ผู้เป็นบัณฑิต มี
ปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเป็นเครื่อง
ทำลายกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า มีสติ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ
บุคคลนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า มีสติ๑ รวมความว่า ผู้มีปัญญา
รักษาตน มีสติ ... ในที่นี้แล
คำว่า บุคคลได้ฟังเสียงจากนี้๒แล้ว อธิบายว่า บุคคลได้ฟัง สดับ เรียน
ทรงจำ เข้าไปกำหนดพระวาจา คือ คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน คำ
พร่ำสอนของเรา จากนี้ รวมความว่า บุคคลได้ฟังเสียงจากที่นี้แล้ว
ว่าด้วยสิกขา ๓
คำว่า พึงศึกษา ในคำว่า พึงศึกษาธรรมเป็นเหตุดับกิเลสเพื่อตน อธิบายว่า
สิกขา ๓ คือ
๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา
๓. อธิปัญญาสิกขา ฯลฯ
นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา๓
คำว่า ธรรมเป็นเหตุดับกิเลสเพื่อตน อธิบายว่า พึงศึกษาทั้งอธิสีลสิกขา
ทั้งอธิจิตตสิกขา ทั้งอธิปัญญาสิกขา เพื่อให้ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ
ของตนดับไป ฯลฯ เพื่อความสงบ เข้าไปสงบ สงบเย็น เพื่อให้ดับ เพื่อสลัดทิ้ง
เพื่อความระงับอกุสลาภิสังขารทุกประเภท
สิกขา ๓ เหล่านี้ เมื่อบุคคลนึกถึง ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทราบ ชื่อว่าพึงศึกษา
เมื่อเห็น ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าพึง
ศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อประคองความเพียร ชื่อว่า
พึงศึกษา เมื่อตั้งสติ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๗๐-๗๑
๒ จากนี้ หมายถึงจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า (ขุ.จู.อ. ๓๑/๒๘)
๓ ดูรายละเอียดข้อ ๗/๖๓-๖๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อรู้ชัดธรรมที่ควรรู้ชัด ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควร
กำหนดรู้ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อละธรรมที่ควรละ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อเจริญธรรมที่
ควรเจริญ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าพึงศึกษา คือ
พึงประพฤติ ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติ
รวมความว่า พึงศึกษาธรรมเป็นเหตุดับกิเลสเพื่อตน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ
ภาคจึงตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า โธตกะ)
ถ้าเช่นนั้น เธอผู้มีปัญญารักษาตน
มีสติ จงทำความเพียรในที่นี้แล
บุคคลได้ฟังเสียงจากที่นี้แล้ว
พึงศึกษาธรรมเป็นเหตุดับกิเลสเพื่อตน
[๓๒] (ท่านโธตกะทูลถามว่า)
ข้าพระองค์ย่อมเห็นพระองค์ผู้ไม่มีเครื่องกังวล
เป็นพราหมณ์ เสด็จจาริกอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก
ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ
ข้าพระองค์ขอนมัสการพระองค์นั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ขอพระองค์โปรดปลดเปลื้อง
ข้าพระองค์จากความสงสัยทั้งหลายเถิด (๓)
ว่าด้วยเทพ ๓
คำว่า ข้าพระองค์ย่อมเห็น ... ในเทวโลกและมนุษยโลก อธิบายว่า
คำว่า เทวะ ได้แก่ เทพ ๓ จำพวก คือ
๑. สมมุติเทพ
๒. อุบัติเทพ
๓. วิสุทธิเทพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
สมมุติเทพ เป็นอย่างไร
คือ พระราชา พระราชกุมาร พระราชเทวี เรียกว่าสมมุติเทพ
อุบัติเทพ เป็นอย่างไร
คือ เทวดาชั้นจาตุมหาราช เทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดาชั้นดุสิต
เทวดาชั้นนิมมานรดี เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหม
และเทวดาชั้นสูงขึ้นไปกว่านั้น เรียกว่าอุบัติเทพ
วิสุทธิเทพ เป็นอย่างไร
คือ พระอรหันตขีณาสพ ผู้เป็นสาวกของพระตถาคต เรียกว่าวิสุทธิเทพ
และพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็เรียกว่าวิสุทธิเทพ พระผู้มีพระภาคทรงเป็นเทพ เป็น
อติเทพ และเป็นเทพยิ่งกว่าเทพ ยิ่งกว่าสมมุติเทพ อุบัติเทพ และวิสุทธิเทพทั้งหลาย
ทรงเป็นราชสีห์ยิ่งกว่าราชสีห์ เป็นนาคยิ่งกว่านาค เป็นผู้นำหมู่ยิ่งกว่าผู้นำหมู่
เป็นพระมุนียิ่งกว่าพระมุนี เป็นพระราชายิ่งกว่าพระราชา
คำว่า ข้าพระองค์ย่อมเห็น ... ในเทวโลกและมนุษยโลก อธิบายว่า ข้า
พระองค์ย่อมเห็น คือ แลเห็น มองดู เพ่งพินิจ พิจารณาเห็นพระองค์ผู้ทรงเป็นเทพ
ผู้ทรงเป็นอติเทพ ผู้ทรงเป็นเทพยิ่งกว่าเทพ รวมความว่า ข้าพระองค์ย่อมเห็น...
ในเทวโลกและมนุษยโลก
คำว่า ไม่มีเครื่องกังวล ในคำว่า ไม่มีเครื่องกังวล เป็นพราหมณ์ เสด็จ
จาริกอยู่ อธิบายว่า เครื่องกังวลคือราคะ เครื่องกังวลคือโทสะ เครื่องกังวลคือโมหะ
เครื่องกังวลคือมานะ เครื่องกังวลคือทิฏฐิ เครื่องกังวลคือกิเลส เครื่องกังวลคือทุจริต
เครื่องกังวลเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอน
โคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้น
ต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าไม่มีเครื่องกังวล
ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคชื่อว่าเป็นพราหมณ์
คำว่า เป็นพราหมณ์ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าเป็นพราหมณ์
เพราะทรงลอยธรรม ๗ ประการได้แล้ว คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
๑. ลอยสักกายทิฏฐิได้แล้ว
๒. ลอยวิจิกิจฉาได้แล้ว
๓. ลอยสีลัพพตปรามาสได้แล้ว
๔. ลอยราคะได้แล้ว
๕. ลอยโทสะได้แล้ว
๖. ลอยโมหะได้แล้ว
๗. ลอยมานะได้แล้ว
คือ พระผู้มีพระภาคทรงลอยบาปอกุศลธรรมซึ่งเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง
ก่อภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และ
มรณะต่อไปได้แล้ว
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า สภิยะ)
บุคคลผู้ลอยบาปทั้งปวงได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากมลทิน
เป็นผู้ประเสริฐ มีจิตตั้งมั่นด้วยสมาธิ ดำรงตนมั่นคง
ข้ามพ้นสังสารวัฏ เป็นผู้บริสุทธิ์บริบูรณ์
ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย เป็นผู้มั่นคง
บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์๑
คำว่า เสด็จจาริกอยู่ ได้แก่ เสด็จเที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า ไม่มีเครื่องกังวล เป็นพราหมณ์ เสด็จ
จาริกอยู่
คำว่า พระองค์ ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ เพราะเหตุนั้น
ข้าพระองค์ขอนมัสการพระองค์ เป็นคำที่โธตกพราหมณ์เรียกพระผู้มีพระภาค
คำว่า ขอนมัสการ อธิบายว่า ขอนมัสการ คือ ขอสักการะ เคารพ นับถือ
บูชา ด้วยกาย วาจา ใจ ด้วยการปฏิบัติเอื้อประโยชน์ หรือด้วยการปฏิบัติธรรม
ถูกต้องตามหลักธรรม

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๕๒๕/๔๓๖, ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๒๕/๑๐๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ผู้มีสมันตจักขุ อธิบายว่า พระสัพพัญญุตญาณตรัสเรียกว่า
สมันตจักขุ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม
เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมแล้วด้วยพระสัพพัญญุตญาณนั้น
(สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า)
สิ่งไร ๆ ในไตรโลกธาตุนี้
พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้น ไม่เห็น ไม่มีเลย
อนึ่ง ธรรมชาติอะไร ๆ ที่ควรรู้
พระพุทธญาณไม่รู้แจ้ง ก็ไม่มี
ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่
พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด
เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่าผู้มีสมันตจักขุ๑
รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ ข้าพระองค์ขอนมัสการพระองค์
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ขอพระองค์
โปรดปลดเปลื้องข้าพระองค์จากความสงสัยทั้งหลายเถิด อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาคเสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล จึงชื่อว่าผู้สักกะ
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมั่งคั่ง ทรงมีทรัพย์มาก ทรงมีทรัพย์ จึงชื่อ
ว่าผู้สักกะ
พระองค์ทรงมีทรัพย์เหล่านี้ คือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริ
ทรัพย์คือโอตตัปปะ ทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา ทรัพย์คือ
สติปัฏฐาน ทรัพย์คือสัมมัปปธาน ทรัพย์คืออิทธิบาท ทรัพย์คืออินทรีย์ ทรัพย์
คือพละ ทรัพย์คือโพชฌงค์ ทรัพย์คือมรรค ทรัพย์คือผล ทรัพย์คือนิพพาน
พระผู้มีพระภาคทรงมั่งคั่ง ทรงมีทรัพย์มาก ทรงมีทรัพย์ด้วยทรัพย์ที่เป็นรัตนะ
หลายอย่างเหล่านี้ จึงชื่อว่าผู้สักกะ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๑๕๖/๔๓๐-๔๓๑, ขุ.ป. ๓๑/๑๒๑/๑๓๖-๑๓๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงสามารถ คือ ทรงองอาจ อาจหาญ มี
ความสามารถ กล้า กล้าหาญ ก้าวหน้า ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี
ทรงละภัยและความหวาดกลัวได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้า จึงชื่อว่าผู้สักกะ
ว่าด้วยความสงสัย
วิจิกิจฉา เรียกว่า ความสงสัย ได้แก่ ความสงสัยในทุกข์ ความสงสัยใน
ทุกขสมุทัย ความสงสัยในทุกขนิโรธ ความสงสัยในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความ
สงสัยในส่วนเบื้องต้น ความสงสัยในส่วนเบื้องปลาย ความสงสัยทั้งในส่วนเบื้อง
ต้นและส่วนเบื้องปลาย ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี ความสงสัย กิริยาที่สงสัย ภาวะที่สงสัย ความเคลือบแคลง ความลังเล
ความเห็นเป็น ๒ ฝ่าย ๒ ทาง ความไม่แน่ใจ ความยึดถือหลายอย่าง ความ
ไม่ตกลงใจ ความตัดสินใจไม่ได้ ความกำหนดถือไม่ได้๑ ความหวาดหวั่นแห่งจิต
ความติดขัดในใจเห็นปานนี้
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ขอพระองค์โปรดปลดเปลื้องข้าพระองค์จาก
ความสงสัยทั้งหลายเถิด อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดเปลื้องข้าพระองค์ โปรด
ปลดเปลื้องข้าพระองค์ คือ โปรดปล่อย ปลดปล่อย ถอน ฉุดรั้งข้าพระองค์ ได้แก่
ทรงให้ข้าพระองค์ออกจากลูกศรคือความสงสัยเถิด รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
สักกะ ขอพระองค์โปรดปลดเปลื้องข้าพระองค์จากความสงสัยทั้งหลายเถิด ด้วย
เหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
ข้าพระองค์ย่อมเห็นพระองค์ผู้ไม่มีเครื่องกังวล
เป็นพราหมณ์ เสด็จจาริกอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก
ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ
ข้าพระองค์ขอนมัสการพระองค์นั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ขอพระองค์โปรดปลดเปลื้อง
ข้าพระองค์จากความสงสัยทั้งหลายเถิด

เชิงอรรถ :
๑ เทียบกับความใน อภิ.สงฺ (แปล) ๓๔/๔๒๕/๑๒๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
[๓๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
โธตกะ เราไม่สามารถปลดเปลื้องใคร ๆ
ผู้มีความสงสัยในโลกได้
แต่เธอเมื่อรู้ทั่วถึงธรรม๑อันประเสริฐ
ก็จะพึงข้ามโอฆะนี้ได้เองด้วยประการฉะนี้ (๔)
คำว่า เราไม่สามารถปลดเปลื้อง อธิบายว่า เราไม่อาจเปลื้อง ปลดเปลื้อง
ปล่อย ปลดปล่อย ถอนเธอขึ้น ได้แก่ ให้เธอถอนออก ให้ขึ้นจากลูกศรคือ
ความสงสัยได้ รวมความว่า เราไม่สามารถปลดเปลื้อง อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง เราไม่อาจ คือ ไม่สามารถ ไม่อุตสาหะ ไม่พยายาม ไม่ทำ
ความอุตสาหะ ไม่ทำความหมั่นเพียร ไม่ทำความพยายาม ไม่ทำความทรงจำ
ไม่ทำความเป็นผู้กล้า ได้แก่ ไม่ให้ฉันทะเกิด คือ ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่
ให้บังเกิดขึ้น เพื่อแสดงธรรม(ปลดเปลื้อง) บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ เกียจคร้าน
ละความเพียร ไม่ปฏิบัติ รวมความว่า เราไม่สามารถปลดเปลื้อง อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง ไม่มีใครอื่นที่จะทำให้สัตว์เหล่านั้นหลุดพ้นได้ ถ้าสัตว์เหล่านั้นจะ
พึงหลุดพ้นได้ สัตว์เหล่านั้นเมื่อปฏิบัติชอบ ปฏิบัติเหมาะสม ปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก
ปฏิบัติเอื้อประโยชน์ ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรมด้วยตนเอง ก็จะพึงหลุดพ้น
ได้เอง ด้วยเรี่ยวแรง ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ด้วย
เรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่น
ของบุรุษของตนเองเท่านั้น รวมความว่า เราไม่สามารถปลดเปลื้อง อย่างนี้บ้าง
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “จุนทะ ข้อที่บุคคลซึ่งตนเองก็จมดิ่งอยู่
จักฉุดผู้อื่นที่จมดิ่งอยู่แล้วขึ้นมาได้ เป็นไปไม่ได้ ข้อที่บุคคลผู้มิได้ฝึกฝน มิได้อบรม
ยังมิได้ดับกิเลสด้วยตนเอง จักฝึกฝน อบรมผู้อื่น ทำผู้อื่นให้ดับกิเลส เป็นไปไม่ได้
เลย”๒รวมความว่า เราไม่สามารถปลดเปลื้องอย่างนี้บ้าง สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๑๐๗๑/๕๓๘ เป็น อภิชานมาโน แปลว่ารู้แจ้ง
๒ ม.มู. ๑๒/๘๗/๖๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
ตนทำชั่วเอง ก็เศร้าหมองเอง ไม่ทำชั่ว ก็บริสุทธิ์เอง
ความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน
คนอื่นจะทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้๑
รวมความว่า เราไม่สามารถปลดเปลื้อง แม้ด้วยประการฉะนี้
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ฉันนั้นเหมือนกันแหละพราหมณ์
นิพพานมีอยู่ ทางไปนิพพานมีอยู่ เรา(ตถาคต)ผู้ชักชวนมีอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้
สาวกที่เราสั่งสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกสำเร็จนิพพานอันถึง
ที่สุดโดยส่วนเดียว บางพวกก็ไม่สำเร็จ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้ ตถาคตก็
เป็นแต่ผู้บอกทาง พระพุทธเจ้าก็เพียงบอกทางให้ บุคคลผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง จะ
พึงหลุดพ้นได้ ด้วยประการฉะนี้”๒ รวมความว่า เราไม่สามารถปลดเปลื้อง
อย่างนี้บ้าง
คำว่า โธตกะ ... ใคร ๆ ผู้มีความสงสัยในโลกได้ อธิบายว่า บุคคลผู้มี
ความสงสัย คือ มีความแคลงใจ มีความระแวง มีความเห็นสองจิตสองใจ มี
ความข้องใจ
คำว่า ใคร ๆ ได้แก่ ใคร ๆ คือ เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์
บรรพชิต เทวดา หรือมนุษย์ก็ตาม
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก๓ รวมความว่า โธตกะ
... ใคร ๆ ผู้มีความสงสัยในโลกได้
คำว่า แต่เธอเมื่อรู้ทั่วถึงธรรมอันประเสริฐ อธิบายว่า อมตนิพพานตรัส
เรียกว่า ธรรมอันประเสริฐ ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้ง
อุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ธ. ๒๕/๑๖๕/๔๖, ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๘/๔๑
๒ ม.อุ. ๑๔/๗๗/๕๗-๕๘
๓ ดูรายละเอียดข้อ ๔/๕๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า อันประเสริฐ ได้แก่ ธรรมอันเลิศ ประเสริฐ วิเศษสุด ชั้นแนวหน้า
สูงสุด ยอดเยี่ยม
คำว่า เมื่อรู้ ได้แก่ เมื่อรู้ คือ เมื่อรู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอด รวมความว่า
แต่เธอเมื่อรู้ทั่วถึงธรรมอันประเสริฐ
คำว่า เธอ ... ก็จะพึงข้ามโอฆะนี้ได้เองด้วยประการฉะนี้ อธิบายว่า
เธอก็พึงข้าม คือ ก้าวล่วง ล่วงเลยกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะได้
ด้วยประการฉะนี้ รวมความว่า เธอ ... ก็จะพึงข้ามโอฆะนี้ ด้วยประการฉะนี้
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
โธตกะ เราไม่สามารถปลดเปลื้องใคร ๆ
ผู้มีความสงสัยในโลกได้
แต่เธอเมื่อรู้ทั่วถึงธรรมอันประเสริฐ
ก็จะพึงข้ามโอฆะนี้ได้เองด้วยประการฉะนี้
[๓๔] (ท่านโธตกะทูลถามว่า)
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ
ขอพระองค์ทรงพระกรุณาตรัสสอนวิเวกธรรม
ที่ข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้
และโดยวิธีที่ข้าพระองค์ไม่ขัดข้องเหมือนอากาศ
ข้าพระองค์จะพึงสงบอยู่ในที่นี้แล
เป็นผู้ไม่ยึดอาศัย เที่ยวไปอยู่ (๕)
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์ ... ตรัสสอน ในคำว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์ทรงพระกรุณาตรัสสอน อธิบายว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์โปรดตรัสสอน คือ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ
ขอพระองค์โปรดทรงอนุเคราะห์ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์โปรดทรง
เอื้อเฟื้อ รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์... ตรัสสอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๖๗ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น